การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 หนังสือของกระทรวงมหาดไทยที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่า “ผู้เกิด นอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดา ย่อมได้สัญชาติไทย” นั้น ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด ยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบ ให้ชัดเจน
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย
พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด
(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”
พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้ จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยหรือไม่นั้น เห็นว่า การได้สัญชาติไทยดังกล่าวถือเป็นการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ถึงแม้ว่าการได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามหลักสายโลหิตทางบิดาตาม พ.ร.บ. สัญชาติ มาตรา 7(1) เดิมนั้น ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยมาตลอดว่า คําว่า “บิดา” หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะต้องเป็นบิดาที่สมรสกับมารดาหรือบิดาที่ได้จดทะเบียน ว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรแล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสอง ที่ได้มีการแก้ไขใหม่นั้น ให้ความหมายของคําว่า “บิดา” ว่าให้หมายความรวมถึงบิดาตามความ เป็นจริงด้วย แม้จะต้องไปพิสูจน์ว่าเป็นบิดาที่แท้จริงก็ตาม
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคล ที่ว่า “ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดา ย่อมได้สัญชาติไทย”
สรุป
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับหนังสือของกระทรวงมหาดไทยตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น