LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายว่าสนธิสัญญาจะสิ้นสุดการบังคับใช้ หรือไม่สามารถบังคับใช้ได้อีกต่อไป (Termination of treaty) ในกรณีใดบ้าง

ธงคําตอบ

สนธิสัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เมื่อได้ปฏิบัติไปตามนั้นแล้ว สนธิสัญญาก็ถือว่าสิ้นสุดลง เช่น การยกดินแดนให้แก่อีกรัฐหนึ่ง เป็นต้น แต่สําหรับสนธิสัญญาที่คู่สัญญาต้อง ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจํานั้นอาจสิ้นสุดการบังคับใช้ หรือไม่สามารถบังคับใช้ได้อีกต่อไป มีได้ใน กรณีดังต่อไปนี้คือ

1 ในสนธิสัญญานั้นได้กําหนดวาระสิ้นสุดเอาไว้ กล่าวคือได้มีการกําหนดเอาไว้แน่นอน ในสนธิสัญญาว่าให้มีผลสิ้นสุดลงเมื่อใด ซึ่งเมื่อครบเวลาที่กําหนดไว้เมื่อใดก็ถือว่าสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ หรือในกรณีที่รัฐคู่สัญญาเห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถทําการตกลงยกเลิกสนธิสัญญานั้นได้ แม้ว่าระยะเวลาในการบังคับใช้จะยัง ไม่สิ้นสุดลงก็ตาม

2 เมื่อรัฐภาคีเดิมได้ทําสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาในเรื่องเดียวกันนั้น ซึ่งจะมีผลทําให้ สนธิสัญญาเดิมนั้นสิ้นสุดการใช้บังคับโดยปริยาย

3 สนธิสัญญาที่ ห้สิทธิแก่รัฐหนึ่งรัฐใดบอกเลิกฝ่ายเดียวได้ ซึ่งในกรณีที่เป็นสนธิสัญญา สองฝ่าย (ทวิภาคี) เมื่อรัฐหนึ่งรัฐใดใช้สิทธิบอกเลิกแล้วสนธิสัญญานั้นก็สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก อีกรัฐหนึ่ง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสนธิสัญญานั้นได้กําหนดว่าให้บอกเลิกได้ และจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ สนธิสัญญานั้นได้กําหนดไว้ด้วย

แต่ถ้าเป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี) การใช้สิทธิบอกเลิกนั้นให้ถือว่าเป็นเพียง การถอนตัวของรัฐที่บอกเลิกเท่านั้น ไม่ทําให้สนธิสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงแต่อย่างใด

4 เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีการละเมิดสนธิสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกได้

5 เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น มีการทําสงครามกันระหว่างรัฐคู่สัญญา เป็นต้น

6 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอํานาจอธิปไตยของรัฐคู่สัญญา ซึ่งมีผลทําให้สนธิสัญญาที่มี ระหว่างกันสิ้นสุดลง

7 สนธิสัญญาที่ทําขึ้นนั้นขัดต่อหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ กล่าวคือ ถ้าได้เกิดมีหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ หากสนธิสัญญาที่ได้ทําขึ้นมาก่อนหน้านั้น มีข้อความขัดกับหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ สนธิสัญญานั้นย่อมสิ้นสุดลง ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป

 

ข้อ 2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศมีลักษณะอย่างไร และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้อย่างไร นอกจากนี้ หากนํามาเปรียบเทียบกับหลักความยุติธรรมจะแตกต่างกันในลักษณะสําคัญของการบังคับใช้อย่างไร

ธงคําตอบ

“จารีตประเพณีระหว่างประเทศ” เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ การก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1 การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง เป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็นระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก เพียงแต่ เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

2 การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือ องค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่า เป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

เมื่อจารีตประเพณีใดประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จารีตประเพณีนั้นก็จะเป็นที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ และจะมีลักษณะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศย่อมถือว่าประเทศนั้นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

“หลักความยุติธรรม” ถือเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศชั้นรองลงมาจากสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระบุว่า “ศาลอาจวินิจฉัยคดีโดยอาศัยหลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติ เช่นนั้น” กล่าวคือ เมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลจะวินิจฉัยคดีโดยยึดหลักความยุติธรรมได้ ต่อเมื่อไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศใดที่จะยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้ เช่น ไม่มีสนธิสัญญา ไม่มีจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปใด ๆ ที่จะยึดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีได้ และคู่กรณี ตกลงยินยอมให้ศาลใช้หลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดีมาใช้พิจารณาตัดสินแทนได้ และแนวการตัดสินดังกล่าวจะพัฒนาเป็นหลักกฎหมายในเรื่องนั้นในที่สุด แต่ศาลจะนํามาใช้โดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อน อีกทั้งต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่าความเป็นรัฐจะเริ่มเกิดขึ้นได้จะต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขหรือคุณสมบัติใดบ้าง และประเทศไทยปัจจุบันไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการบริหารปกครองโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. ส่งผลกระทบต่อสถานะความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่าง ประเทศหรือไม่ อย่างไร อธิบายประกอบโดยสังเขปด้วย

ธงคําตอบ

สภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะเริ่มเกิดขึ้นได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข หรือคุณสมบัติครบถ้วน 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ

1 ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้น รวมทั้งพื้นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไม่จําเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็นดินแดน โพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อย เพียงใดไม่ใช่ข้อสําคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมั่นคงถาวร และกําหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2 ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมาย ระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีจํานวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจํานวนมากพอสมควรที่ จะสามารถดํารงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จําเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมี เชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3 รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรมาทําการ บริหารงานทั้งภายในและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษา ความสงบเรียบร้อยในดินแดนของตน ดําเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษา สิทธิผลประโยชน์ของประชาชน

4 อํานาจอธิปไตย (เอกราชอธิปไตย) กล่าวคือ รัฐสามารถที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่าง อิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อํานาจอิสระภายใน หมายถึง อํานาจของรัฐในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่าง อิสรเสรีแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอํานาจอิสระภายนอก หมายถึง อํานาจของรัฐ ในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น และได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกับรัฐอื่น

และเมื่อมีสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพราะมีองค์ประกอบที่สําคัญครบ ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเป็นรัฐจะเป็นที่รับรู้ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรอง สภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับรอง ความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกําเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจะมี องค์ประกอบของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและ มีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สําคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคม ระหว่างประเทศได้

2 ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิดสภาพ ของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะไม่มีการรับรอง จากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้นถือว่า เป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

สําหรับประเทศไทยในปัจจุบันนั้น แม้จะไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่เป็นรัฐบาลแบบ เผด็จการบริหารปกครองโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะของความเป็นรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด เพราะประเทศไทยนั้นแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาและมีอํานาจปกครอง ดินแดนของรัฐโดยการแย่งอํานาจปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ก็เฉพาะรัฐบาลใหม่เท่านั้นที่รัฐอื่น จะให้การรับรองหรือไม่ แต่สําหรับประเทศไทยยังคงถือว่ามีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะประเทศไทยมีเงื่อนไขหรือคุณสมบัติครบถ้วนตามองค์ประกอบ 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่า Retorsion และ Reprisal มีลักษณะของการดําเนินการอย่างไร มีความคล้ายและแตกต่างกันในประเด็นสําคัญอย่างไร

ธงคําตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า รีทอร์ชั่น (Retorsion) และรีไพรซัส (Reprisals) ต่างก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงคราม เพียงแต่จะมีลักษณะที่ แตกต่างกัน ดังนี้คือ

รีทอร์ชั่น (Retorsion) เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้น โดยไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือการลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของ พลเมืองของประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อ รัฐบาลไม่พอใจในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่นกระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่ รัฐนั้นถูกกระทําหรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

รีโพรซัล (Reprisals) เป็นมาตรการตอบโต้การกระทําอันละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้รัฐนั้นเคารพในสิทธิของตนและรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรการตอบโต้นั้น เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แต่เป็นการกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็นผล ค่อยนํามาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1 การกระทํานั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2 ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น

3 รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4 มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทําในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทําหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทําต่อบุคคล หรือทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทําผิดและต้องทําโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (The Convention Relating the Status of Refugees 1951) และพิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 (The Protocol Relating to the Status of Refugee of 1967) มีหลักการห้ามผลักดันกลับ (Non-refoulement Principle) เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ไม่ยอมให้มีการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญกับ อันตรายยังรัฐที่ตนเองหลบหนีข้ามพรมแดนมา เมื่อรัฐ A ไม่ได้เป็นรัฐภาคีสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว รัฐบาล A จึงประกาศว่า รัฐ A ไม่มีพันธกรณีต้องผูกพันตามสนธิสัญญา ซึ่งรวมไปถึงหลักการห้าม ผลักดันกลับ รัฐบาล A จึงทําการผลักดันผู้ลี้ภัยที่มาตั้งค่ายอยู่ตามแนวพรมแดนของตนออกไปจาก ดินแดนของตน ขอให้นักศึกษาโปรดจงอธิบายการกระทําของรัฐบาล A ว่าถูกต้องตามกฎหมาย ระหว่างประเทศหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 มาตรา 1 ประกอบกับพิธีสารว่าด้วยสถานภาพ ผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 คําว่า “ผู้ลี้ภัย” หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน เนื่องด้วยความหวาดกลัว ที่มีมูลเหตุอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะถูกประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพใน กลุ่มสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือความคิดเห็นทางการเมือง และไม่สามารถหรือด้วยความหวาดกลัวนั้น ไม่เต็มใจ ที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ในกรณีของบุคคลไร้สัญชาติ และอยู่นอกประเทศที่เดิมมีที่อาศัยอยู่ประจํา ด้วยความหวาดกลัวที่กล่าวมาจึงไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะกลับไปอยู่อาศัยในประเทศนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่รัฐบาล A ประกาศว่าตนเองไม่ได้เป็นรัฐภาคีสมาชิกในอนุสัญญาว่า ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธิสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 จึงไม่มีพันธกรณีต้องผูกพันตาม สนธิสัญญานั้นถูกต้อง เพราะรัฐจะผูกพันในสนธิสัญญาได้ก็ต่อเมื่อเป็นรัฐภาคีเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 33 (1) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยฯ ได้กําหนดไว้ว่า “รัฐภาคีผู้ทําสัญญาจะไม่ขับไล่หรือส่งกลับ (ผลักดัน) ไม่ว่าจะโดยลักษณะใด ๆ ไปยังชายแห่งดินแดนซึ่ง ณ ที่นั้น ชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคามด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สมาชิกภาพของกลุ่มทาง การเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือความคิดเห็นทางการเมือง” โดยบทบัญญัติมาตรานี้ถือเป็นการรับรองหลักกฎหมาย จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่มีความสําคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศ คือ หลักห้ามผลักดันกลับ (Non-Refoulement Principle) ซึ่งมีผลผูกพันเป็นการทั่วไป ไม่จํากัดเฉพาะรัฐภาคีผู้ทําสัญญาเท่านั้น

ดังนั้น แม้ว่ารัฐ A จะไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว แต่ก็ยังคงต้องผูกพันในเนื้อหาที่เป็น กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและไม่สามารถปฏิเสธพันธกรณีในส่วนนี้ได้ การที่รัฐบาล A ผลักดันผู้ลี้ภัย ที่มาตั้งค่ายอยู่ตามแนวพรมแดนของตนออกไปจากดินแดนของตน จึงเท่ากับว่าเป็นการกระทําที่ขัดกับหลักการ ห้ามผลักดันกลับ การกระทําของรัฐ A จึงเป็นการละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ข้อ 2 โปรดจงอธิบายหลักการจดทะเบียนสนธิสัญญาตามมาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และผลกระทบทางกฎหมายจากการที่รัฐไม่นําสนธิสัญญานั้นไปจดทะเบียน

ธงคําตอบ

ตามกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา 102 กําหนดว่า

“สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้ เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรฉบับปัจจุบันใช้บังคับ จะต้องจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่ จะทําได้ และจะได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยสํานักงานนี้

ภาคีโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เช่นว่าใด ๆ ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ ไม่อาจ ยกเอาสนธิสัญญา หรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ”

ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 102 นั้น ได้บังคับให้สนธิสัญญาทุกฉบับที่รัฐภาคีขององค์การ สหประชาชาติได้ไปจัดทําไว้นั้น จะต้องนํามาจดทะเบียนต่อองค์การสหประชาชาติ (สํานักเลขาธิการ) ถ้าหากไม่ นําไปจดทะเบียนก็จะไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสนธิสัญญา สนธิสัญญานั้นจะไม่ตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ แต่ประการใด แต่จะส่งผลให้รัฐที่ไม่นําสนธิสัญญาไปจดทะเบียนไม่สามารถนําสนธิสัญญานั้นขึ้นกล่าวอ้างกับ หน่วยงานของสหประชาชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากตราสาร ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกําลังพิจารณาคดี รัฐก็สามารถนําสนธิสัญญา ไปจดทะเบียนได้หากได้รับอนุญาตจากศาล

 

ข้อ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับที่ผ่านมา บัญญัติในมาตรา 1 ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ แต่ประเทศไทยมีการกระจายอํานาจ หลายรูปแบบ เช่น กรุงเทพมหานคร เทศบาลต่าง ๆ หรือองค์การบริหารส่วนตําบล เป็นต้น ให้นักศึกษาอธิบายเรื่องรูปแบบของรัฐให้เข้าใจ และวิเคราะห์ว่าประเทศไทยเป็นรัฐในรูปแบบใด ด้วยเหตุผลอย่างไร และแตกต่างจากประเทศมาเลเซียอย่างไร

ธงคําตอบ

รูปแบบของรัฐ อาจแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ รัฐเดี่ยว และรัฐรวม

1 รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐซึ่งมีการปกครองเป็นเอกภาพไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน โดยมี รัฐบาลกลางปกครองประเทศเพียงรัฐบาลเดียว แม้จะมีการกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นแต่ก็ยังอยู่ใน ความควบคุมของรัฐบาลกลาง มีประมุขของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และมีองค์กรนิติบัญญัติเพียงองค์กรเดียว

ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว ได้แก่ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน เบลเยียม อิตาลี และประเทศไทย เป็นต้น

2 รัฐรวม หมายถึง รัฐหลายรัฐมารวมกันโดยเหตุการณ์หรือผลประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง ซึ่งรัฐรวมระหว่างหลายรัฐดังกล่าวอาจจะเป็นรัฐรวมแบบสมาพันธรัฐ หรือแบบสหพันธรัฐก็ได้

สําหรับรัฐรวมแบบสหพันธรัฐหรือสหรัฐ เป็นการรวมกันของรัฐหลายรัฐในลักษณะที่ ก่อให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นมารัฐเดียว ซึ่งรัฐเดิมที่เข้ามารวมนี้จะสูญสภาพความเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศไป โดยยอมสละอํานาจอธิปไตยบางส่วนให้แก่รัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการภายนอก เช่น อํานาจในการป้องกันประเทศ อํานาจในการติดต่อกับต่างประเทศ ส่วนกิจการภายในรัฐสมาชิกยังคงมีอิสระเช่นเดิม

ลักษณะสําคัญของสหพันธรัฐ มีดังต่อไปนี้

1 การรวมในรูปสหพันธรัฐไม่ใช่การรวมแบบสมาคมระหว่างรัฐ แต่เป็นการรวมที่ก่อให้เกิด รัฐใหม่ขึ้นมารัฐเดียว และจะมีรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการปกครอง กําหนดหน้าที่ ของรัฐบาลกลางและหน้าที่ของรัฐสมาชิก

2 รัฐที่มารวมจะหมดสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศไป ซึ่งรัฐใหม่ที่เกิดขึ้นมา จะมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเพียงรัฐเดียว

3 อํานาจการติดต่อภายนอก เช่น การทําสนธิสัญญา การรับส่งผู้แทนทางการทูต การป้องกันประเทศ ฯลฯ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลางแต่ผู้เดียว แต่รัฐสมาชิกก็ยังมีอํานาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ในกิจการภายในของตนเอง แต่รัฐธรรมนูญของมลรัฐจะขัดกับรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐไม่ได้

4 มลรัฐมีส่วนในการบริหารงานของสหพันธรัฐ โดยสภาสูงจะประกอบด้วยผู้แทนของ แต่ละมลรัฐ

5 ในกรณีที่มลรัฐไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐต่างประเทศ สหพันธรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ผู้เดียว

สหพันธรัฐอาจจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น เกิดจากหลายรัฐมารวมกันในรูปของสหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ หรือเกิดการเปลี่ยนรูปจากรัฐเดี่ยวมาเป็นสหพันธรัฐ เช่น เม็กซิโก บราซิล เป็นต้น โดยปกติแล้วรัฐสมาชิกของสหพันธรัฐจะไม่สามารถถอนตัวออกไปได้ เว้นแต่จะกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ของสหพันธรัฐให้รัฐสมาชิกถอนตัวออกได้

ในปัจจุบันมีรัฐเป็นจํานวนมากที่มีรูปการปกครองแบบสหพันธรัฐ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน และมาเลเซีย เป็นต้น

ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญฯ ทุกฉบับที่บัญญัติไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” นั้น แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีรูปแบบของรัฐเป็นลักษณะของรัฐเดี่ยว โดยมีประมุขคนเดียวกัน และมีรัฐบาลกลางบริหารปกครองประเทศรัฐบาลเดียว

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซียที่มีลักษณะของรัฐเป็นรัฐรวมแบบสหพันธรัฐ ซึ่งจะคล้ายคลึงกัน คือมีประมุขและรัฐบาลกลางเดียวกัน เพียงแต่รัฐบาลกลางของสหพันธรัฐจะรับผิดชอบการบริหาร กิจการภายนอกหรือกิจการระหว่างประเทศเป็นสําคัญ ส่วนรัฐที่มารวมกันยังคงมีอํานาจอิสระในการบริหารปกครอง การดําเนินกิจการภายในของตน มีผู้ปกครองเขตแดนและมีประชากรของตนเองอยู่เช่นเดิม

 

ข้อ 4. จงอธิบายกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีด้วยวิธีที่เรียกว่า “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” หรือศาลโลก ว่ามีลักษณะและการดําเนินการอย่างไร และวิธีการนี้มีความแตกต่าง จากวิธีการ “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นสําคัญอย่างไร ซึ่งต้องอธิบายแยกแยะ เป็นประเด็นให้ชัดเจนในการตอบคําถามด้วย

ธงคําตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจําอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมายเช่นเดียวกัน

สําหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะเป็นคนในสัญชาติเดียวกันไม่ได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตําแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งซ่อม ทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตําแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตําแหน่ง ได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตําแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้ง กระทําโดยความเห็นชอบร่วมกันของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้สมาชิกถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธานและรองประธาน ซึ่งอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องการเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอํานาจในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1 การตีความสนธิสัญญา

2 ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4 กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในสนธิสัญญา และ ยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสหประชาชาติด้วยในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนําคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณี ทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คําตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา คําพิพากษาของศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคําพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพัน เฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจําเป็นก็อาจทําคําแนะนําหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดําเนินการเพื่อให้เกิดผล ตามคําพิพากษา

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาท โดยองค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีการจัดตั้งขึ้นมา สืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ.1907 ซึ่งได้มีการผลักดันให้ มีการตั้งอนุญาโตตุลาการในลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีที่ทําการอยู่ที่กรุงเฮก

 

โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศใน ประเทศของตนเพื่อไปเป็นผู้พิพากษายังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจํานวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมด จะรวบรวมทําเป็นบัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาทมาสู่ศาลจึงจะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และกรณีที่ถือว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมีที่ทําการศาล อย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกันระหว่าง ผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สําคัญ คือ

1 การนําคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนําคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น

2 ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจําอยู่ในศาล แต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจากบัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3 การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฏเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษา เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

 

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาอย่างละเอียดภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 และสนธิสัญญาใดบ้างก่อนการให้สัตยาบันจะต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญฯฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4  การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละ ประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดใน สนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

และภายใต้รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 23 ได้บัญญัติไว้ว่า หนังสือสัญญา (สนธิสัญญา) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ก่อนการให้สัตยาบันจะต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ (สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ) ก่อน ทั้งนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

1 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือ

2 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ 3 สนธิสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ

4 สนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่าง กว้างขวาง เช่น สนธิสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

 

ข้อ 2 กฎหมายระหว่างประเทศมีที่มากประการ และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายระหว่างประเทศนั้น สามารถแบ่งที่มาออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่

1 สนธิสัญญา ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่สําคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะหลังจะมีการรวบรวมจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสนธิสัญญา และ โดยที่สนธิสัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ทําขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ (สองฝ่ายหรือหลายฝ่าย) ซึ่งก่อให้เกิดผลผูกพันตามกฎหมายแก่คู่สัญญา ดังนั้นเมื่อคู่สัญญามีข้อพิพาทเกิดขึ้น เกี่ยวกับสนธิสัญญา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็มักจะอาศัยการตีความหมายจากสนธิสัญญาเพื่อใช้เป็นหลักใน การวินิจฉัยชี้ขาดคดีในศาลของตน

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ การก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

(1) การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกัน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็น ระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐ ในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

(2) การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือ องค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่า เป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศอาจเกิดจาก

(1) เกิดจากจารีตประเพณีหรือกฎหมายภายในหรือคําตัดสินของศาลยุติธรรมของ รัฐหนึ่ง แต่ประเทศอื่นเห็นว่าดีก็นําหลักการดังกล่าวมาปฏิบัติ จนนานเข้าก็กลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

(2) เกิดจากสนธิสัญญาประเภทกฎหมาย คําตัดสินของอนุญาโตตุลาการและคําพิพากษา ของศาลระหว่างประเทศ

3 หลักกฎหมายทั่วไป เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประเทศ ต่าง ๆ ที่มีความศิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย ซึ่งหมายถึง

(1) หลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั่วไปที่ยอมรับและใช้บังคับอยู่ในกฎหมายภายในของรัฐ ทั้งหลาย โดยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายภายในของรัฐต่าง ๆ หรือกฎหมายภายในของประเทศที่มี ความเจริญในทางกฎหมาย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป อันอาจนํามาเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัยคดีได้ เช่น หลักที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทําสัญญา หลักความสุจริตใจ หลักกฎหมายปิดปาก หลักผู้รับโอน ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

(2) หลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยทั่วไป โดยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น หลักความเสมอภาค เท่าเทียมกันของรัฐไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น

4 หลักความยุติธรรม ถือเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศชั้นรองลงมาจากสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระบุว่า “ศาลอาจวินิจฉัยคดีโดยอาศัยหลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติ เช่นนั้น” กล่าวคือ เมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลจะวินิจฉัยคดีโดยยึดหลักความยุติธรรมได้ต่อเมื่อไม่มี กฎหมายระหว่างประเทศใดที่จะยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้ เช่น ไม่มีสนธิสัญญา ไม่มีจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปใด ๆ ที่จะยึดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีได้ และคู่กรณีตกลงยินยอมให้ศาลใช้หลัก ความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดีมาใช้พิจารณาตัดสินแทนได้ และแนวการตัดสินดังกล่าวจะพัฒนาเป็น หลักกฎหมายในเรื่องนั้นในที่สุด แต่ศาลจะนํามาใช้โดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อน อีกทั้ง ต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย

5 คําพิพากษาของศาล มีอิทธิพลในการสร้างกฎหมายภายในอย่างมาก แต่คําพิพากษา ของศาลยังไม่ถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเพียงแต่แหล่งที่มาอีกประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ไม่ใช่แหล่งที่มาโดยตรงเหมือนเช่นสนธิสัญญาและจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กล่าวคือ คําพิพากษาของศาล ในคดีก่อนเป็นเพียงวิธีการเสริมที่ช่วยผู้พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการในการใช้กฎหมายหรือแปลความหมายของ กฎหมายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม คําพิพากษาของศาลก็มีบทบาทในการบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศโดยทางอ้อม

6 ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการ วินิจฉัยหลักกฎหมาย เพื่อตัดสินคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ อีกทั้งนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมักจะได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงอาจถือได้ว่าบทความ การเสนอแนะ หรือการตีความ ต่าง ๆ ของนักนิติศาสตร์เหล่านี้ก็มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีเช่นเดียวกัน

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่าดินแดนของรัฐประกอบไปด้วยบริเวณใดบ้าง และรัฐสามารถใช้อํานาจได้อย่างไรในบริเวณดังกล่าวนี้ และยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยประกอบในการตอบปัญหาข้อนี้ด้วย

ธงคําตอบ

ดินแดนของรัฐ คือ บริเวณที่รัฐสามารถมีอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งดินแดนของรัฐจะสอดคล้องกับเขตอํานาจอธิปไตยของรัฐ กล่าวคือ รัฐย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและอํานาจเหนือ บุคคลก็เฉพาะในดินแดนของรัฐเท่านั้น

ดินแดนของรัฐจะประกอบไปด้วย

1 พื้นดิน พื้นดินที่เป็นดินแดนของรัฐย่อมรวมถึงพื้นดินทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของเอกชน หรือของรัฐ หรือของชาวต่างประเทศที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ ดินแดนของรัฐถูกกําหนดโดยเส้นเขตแดน และ รวมถึงพื้นที่ใต้พื้นดินด้วย ทั้งนี้ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาเขตของรัฐไม่จําเป็นต้องติดต่อกัน อาจจะอยู่ใน ดินแดนของประเทศอื่นก็ได้

2 พื้นน้ำบางส่วนที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน หมายถึง น่านน้ำ ที่อยู่ถัดจากเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางแผ่นดิน

ทะเลอาณาเขต หมายถึง ส่วนหนึ่งของพื้นน้ำซึ่งอยู่ระหว่างทะเลหลวงกับรัฐ

3 ห้วงอากาศ เหนือบริเวณต่าง ๆ ดังกล่าว

และการจะเป็นดินแดนของรัฐได้นั้น จะต้องมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ

1 มีความแน่นอน กล่าวคือ จะต้องสามารถรู้ได้แน่นอนว่าส่วนใดบ้างเป็นดินแดนของรัฐ และจะต้องมีความมั่นคงถาวรด้วย

2 สามารถกําหนดขอบเขตได้ชัดเจน คือ สามารถกําหนดเขตแดนของรัฐได้ชัดเจนนั่นเอง โดยอาจจะใช้เส้นเขตแดนในการกําหนดดังกล่าว ซึ่งดินแดนของรัฐจะเล็กหรือใหญ่ หรือมีอาณาเขตติดต่อกัน หรือไม่ไม่สําคัญ แต่ดินแดนของรัฐจะต้องมีความชัดเจนแน่นอน

สําหรับประเทศไทยนั้นปัจจุบันกําลังมีข้อพิพาทกับประเทศกัมพูชาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนใน บริเวณทะเลอ่าวไทย ซึ่งข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะถือได้หรือไม่ว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัฐ และถือว่า เป็นการพิพาทเขตทางทะเลใดตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ

ซึ่งกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ ทับซ้อนบริเวณใดของทะเล หากเป็นการทับซ้อนกันของน่านน้ำภายใน หรือทะเลอาณาเขตก็จะถือว่าเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับบริเวณที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยของรัฐและจะเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัฐ (Territory) แต่ในกรณีเป็นการทับซ้อนกันทางทะเลก็จะมีผลรวมไปถึงไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจําเพาะด้วย ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้รัฐมีเพียง สิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ไม่ถือว่ามีอํานาจอธิปไตยเช่นน่านน้ำภายใน หรือทะเลอาณาเขต ซึ่งการแก้ไขปัญหาจําเป็นจะต้องแยกพิจารณาแต่ละเขตของทะเลประกอบด้วย เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนว่าเป็น การพิพาทเรื่องดินแดนของรัฐ หรือพิพาทเกี่ยวกับสิทธิอธิปไตย ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน

 

ข้อ 4 จากข้อเท็จจริงในกรณีของประเทศซาอุดิอาระเบียตัดโควตาแรงงานของประเทศไทยไม่ให้เข้าไปทํางานในประเทศของตน เพื่อเป็นการกดดันประเทศไทยให้ดําเนินการตามคําเรียกร้องของตนตามข้อพิพาทที่มีต่อกัน จากกรณีดังกล่าวนี้เป็นวิธีการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศลักษณะใด และมีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง อธิบายและวิเคราะห์ให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

ในกรณีที่ประเทศซาอุดิอาระเบียตัดโควตาแรงงานของประเทศไทยไม่ให้เข้าไปทํางานในประเทศของตน เพื่อเป็นการกดดันประเทศไทยให้ดําเนินการตามคําเรียกร้องของตนตามข้อพิพาทที่มีต่อกันนั้น ถือเป็นวิธีการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า “รีทอร์ชั่น (Retorsion)” ซึ่งเป็นการระงับ ข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงครามรูปแบบหนึ่ง

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการ “รีทอร์ชั่น” นั้น เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้น ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้นโดยไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับ ภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือ การลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของพลเมืองของประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อรัฐบาลไม่พอใจในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่น กระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่รัฐนั้นถูกกระทําหรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายลักษณะของจารีตประเพณีระหว่างประเทศโดยละเอียด นอกจากนี้หลักของกฎหมายดังกล่าวมีความแตกต่างจากหลักกฎหมายทั่วไปในประเด็นสําคัญอย่างไร และยกตัวอย่างประกอบในการ อธิบายด้วย

ธงคําตอบ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ ซึ่งการก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1 การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็น ระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

2 การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือ องค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่าเป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ (เสมือนเป็นกฎหมาย) แต่จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

ส่วนหลักกฎหมายทั่วไป เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประเทศ ต่าง ๆ ที่มีความศิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย ซึ่งหมายถึง

1 หลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั่วไปที่ยอมรับและใช้บังคับอยู่ในกฎหมายภายในของรัฐ ทั้งหลาย โดยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายภายในของรัฐต่าง ๆ หรือกฎหมายภายในของประเทศที่มี ความเจริญในทางกฎหมาย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป อันอาจนํามาเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัย คดีได้ เช่น หลักที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทําสัญญา หลักความสุจริตใจ หลักกฎหมายปิดปาก หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

2 หลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยทั่วไป โดยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น หลักความเสมอภาค เท่าเทียมกันของรัฐไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น

จะเห็นว่าหลักกฎหมายทั่วไปเกิดจากการที่รัฐต่าง ๆ ยอมรับคล้ายกับจารีตประเพณี แต่ยังไม่ถึงขั้นที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เพราะไม่ได้เกิดจากการยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเหมือนจารีต ประเพณี แต่เกิดจากการที่สังคมระหว่างประเทศยอมรับเพราะถือว่าชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ซึ่งจะแตกต่าง กับจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เกิดจากการที่รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าเรื่อง ดังกล่าวจะชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น จารีตประเพณีระหว่างประเทศจึงแตกต่างจาก หลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องของเหตุผลทางกฎหมายนั่นเอง

ในกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นและไม่มีสนธิสัญญาหรือจารีตประเพณีที่จะนํามาใช้พิจารณาคดีได้ ศาลก็อาจจะนําหลักกฎหมายทั่วไปมาวินิจฉัยคดีได้ เคยมีหลายคดีซึ่งศาลได้ใช้หลักกฎหมายทั่วไปเป็นแนวทาง ตัดสินคดี เช่น คดีเขาพระวิหารซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ให้เขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา โดยอ้างหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายปิดปาก เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญาให้ชัดเจนและขั้นตอนใดของสนธิสัญญาที่จะทําให้รัฐผูกพันตามสนธิสัญญาและรัฐที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทําสนธิสัญญาสามารถเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาได้โดยวิธีใดบ้าง และหากไม่ได้นําสนธิสัญญาไปจดทะเบียนจะมีผลใช้บังคับอย่างไร หรือไม่

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละ ประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดในสนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐจะต้องมีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

และจากขั้นตอนในการจัดทําสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่ทําให้สนธิสัญญามีผล ผูกพันกับภาคีสมาชิกคือขั้นตอนการให้สัตยาบันนั่นเอง

และการที่รัฐใดไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการจัดทําสนธิสัญญากับรัฐอื่น สามารถ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานั้นได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1 การลงนามภายหลัง (Deferred Signature) เป็นกรณีที่รัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การทําสนธิสัญญานั้นแต่แรก แต่เข้ามามีส่วนในขั้นตอนหลังจากการเจรจาผ่านไปแล้วและอยู่ในระยะของขั้นตอนที่ 2 คือการลงนาม การลงนามภายหลังนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเข้าร่วม แต่ต่างกันตรงที่การเข้าร่วมนั้นจะมีผลผูกพัน นับแต่มีการปฏิญญาขอเข้าร่วมในสนธิสัญญา ส่วนการลงนามภายหลังนี้รัฐที่ลงนามภายหลังยังไม่มีพันธกรณี ตามสนธิสัญญา เพราะจะต้องให้สัตยาบันก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาคีสนธิสัญญาและมีผลผูกพันรัฐนั้น

2 ภาคยานุวัติหรือการเข้าร่วม (Adhesion) คือ การที่รัฐหนึ่งรัฐใดไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการทําสนธิสัญญาตั้งแต่แรก แต่เมื่อสนธิสัญญาผ่านขั้นตอนการลงนามจนมีผลใช้บังคับ และมิได้ระบุห้ามการภาคยานุวัติไว้ รัฐนั้นก็อาจเข้าไปร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานั้นในภายหลังหลังจากระยะเวลาการลงนามได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยยอมรับผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสนธิสัญญา ซึ่งมีผลผูกพันนับแต่วันทําภาคยานุวัติ ไม่มีผลย้อนหลังแต่อย่างใด

อนึ่งอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 ได้กําหนดว่า ความยินยอมของรัฐที่จะรับ พันธกรณีตามสนธิสัญญาด้วยการทําภาคยานุวัติ จะทําได้ในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

1) สนธิสัญญานั้นกําหนดไว้โดยตรงให้มีการทําภาคยานุวัติได้

2) ทุกรัฐที่เป็นภาคีของสนธิสัญญานั้นตกลงให้มีการภาคยานุวัติได้

ส่วนสนธิสัญญาที่มิได้นําไปจดทะเบียนต่อสหประชาชาตินั้นจะมีผลสมบูรณ์ทุกประการ แต่ถ้าภาคีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญานั้น ภาคีสมาชิกที่เหลือจะนําสนธิสัญญาดังกล่าวมาฟ้อง หรือมาอ้างต่อ องค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติหรือต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อบังคับให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้นไม่ได้ เพราะสหประชาชาติมิได้รับรู้ถึงความมีอยู่ของสนธิสัญญาฉบับนั้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่า ดินแดนของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่บริเวณใดบ้าง และจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร นอกจากนี้การได้ดินแดนของรัฐวิธีใดบ้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศไทย

ธงคําตอบ

ดินแดนของรัฐ คือ บริเวณที่รัฐสามารถมีอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งดินแดนของรัฐจะสอดคล้องกับเขตอํานาจอธิปไตยของรัฐ กล่าวคือ รัฐย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและอํานาจเหนือ บุคคลก็เฉพาะในดินแดนของรัฐเท่านั้น

ดินแดนของรัฐจะประกอบไปด้วย

1 พื้นดิน พื้นดินที่เป็นดินแดนของรัฐย่อมรวมถึงพื้นดินทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของเอกชนหรือของรัฐ หรือของชาวต่างประเทศที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ ดินแดนของรัฐถูกกําหนดโดยเส้นเขตแดน และรวมถึงพื้นที่ใต้พื้นดินด้วย ทั้งนี้ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาเขตของรัฐไม่จําเป็นต้องติดต่อกัน อาจจะอยู่ในดินแดนของประเทศอื่นก็ได้

2 พื้นน้ำบางส่วนที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน หมายถึงน่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางแผ่นดิน ทะเลอาณาเขต หมายถึง ส่วนหนึ่งของพื้นน้ําซึ่งอยู่ระหว่างทะเลหลวงกับรัฐ 3 ห้วงอากาศ เหนือบริเวณต่าง ๆ ดังกล่าว

และการจะเป็นดินแดนของรัฐได้นั้น จะต้องมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ

1 มีความแน่นอน กล่าวคือ จะต้องสามารถรู้ได้แน่นอนว่าส่วนใดบ้างเป็นดินแดนของรัฐ และจะต้องมีความมั่นคงถาวรด้วย

2 สามารถกําหนดขอบเขตได้ชัดเจน คือ สามารถกําหนดเขตแดนของรัฐได้ชัดเจนนั่นเอง โดยอาจจะใช้เส้นเขตแดนในการกําหนดดังกล่าว ซึ่งดินแดนของรัฐจะเล็กหรือใหญ่ หรือมีอาณาเขตติดต่อกันหรือไม่ไม่สําคัญ แต่ดินแดนของรัฐจะต้องมีความชัดเจนแน่นอน

ส่วนการได้ดินแดนของรัฐนั้น รัฐอาจได้ดินแดนโดยวิธีต่าง ๆ หลายวิธี แต่การได้ดินแดนของรัฐ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศไทย ได้แก่

1 การได้ดินแดนโดยธรรมชาติ รัฐอาจจะได้ดินแดนโดยผลของธรรมชาติ เช่น ที่งอกริมตลิ่ง ริมแม่น้ำ หรือฝั่งทะเล เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย

2 การครอบครองโดยปรปักษ์ เป็นวิธีการที่รัฐได้ดินแดนโดยการครอบครองและใช้ อํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นมาเป็นเวลานาน โดยดินแดนนั้นเคยเป็นของรัฐอื่นมาก่อน แต่รัฐนั้นได้ทอดทิ้งไป และรัฐที่ได้ดินแดนได้ทําการครอบครองโดยรัฐที่เป็นเจ้าของเดิมไม่ได้คัดค้าน และรัฐอื่นก็ไม่ได้โต้แย้ง ซึ่งคล้ายกับ การครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย

3 การได้ดินแดนโดยคําพิพากษาของศาล หรืออนุญาโตตุลาการหรือองค์การระหว่าง ประเทศ เช่น คําพิพากษาของศาสประจํายุติธรรมระหว่างประเทศในคดีกรีนแลนด์ตะวันออก และมติของสมัชชา สหประชาชาติเกี่ยวกับการตั้งรัฐอิสราเอลในปี ค.ศ. 1947 เป็นต้น

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิพิเศษอย่างไรบ้างตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 และสิทธิพิเศษเหล่านี้มีความแตกต่างจากสิทธิพิเศษที่กงสุล ได้รับอย่างไร อธิบายประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วย

ธงคําตอบ

สิทธิพิเศษที่ผู้แทนทางการทูตได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศเช่นเดียวกับ ประมุขของรัฐ ได้แก่ การได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในเรื่องดังต่อไปนี้

1 สิทธิล่วงละเมิดมิได้ ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูต และสิทธิใน ทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้แทนทางการทูต เช่น ตามมาตรา 29 อนุสัญญา กรุงเวียนนาฯ ห้ามจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ และกระทําการอันกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพและเกียรติยศของ ผู้แทนทางการทูต รัฐผู้รับต้องปฏิบัติต่อผู้แทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร หรือตามมาตรา 27 ได้ กําหนดว่า ถุงทางการทูต เอกสารทางราชการ สมุดทะเบียน เครื่องใช้ในการสื่อสาร จะต้องได้รับการคุ้มกันไม่ถูก ตรวจค้น ยึด หรือเกณฑ์เอาไปใช้ เป็นต้น

2 สิทธิไม่อยู่ภายใต้เขตอํานาจศาลของรัฐผู้รับ (สิทธิได้รับยกเว้นในทางศาล) สิทธิ ดังกล่าวเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระของคณะทูตและเป็นการให้เกียรติในฐานะตัวแทนของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรา 31 อนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ที่ระบุให้สิทธิผู้แทนทางการทูตจะไม่ถูกฟ้องทั้งในคดีอาญา และคดีแพ่ง แม้ว่าจะเป็นการกระทํานอกหน้าที่ก็ตาม

3 สิทธิพิเศษเรื่องภาษี ผู้แทนทางการทูตจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทางตรงไม่ว่า จะเป็นของรัฐ ของท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ เป็นต้น และสําหรับภาษีทางอ้อมโดยปกติก็จะได้รับยกเว้นภาษีบางชนิด เช่น ภาษีศุลกากร เป็นต้น

ส่วนสิทธิพิเศษที่กงสุลได้รับนั้น เนื่องจากกงสุลไม่ใช่ผู้แทนทางการทูต จึงไม่ได้รับเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูตอย่างเต็มที่เหมือนผู้แทนทางการทูต อย่างไรก็ดีกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังรับรู้ให้กงสุล ได้รับสิทธิในการล่วงละเมิดมิได้ในตัวบุคคล จะจับหรือยังกงสุลไม่ได้ยกเว้นความผิดซึ่งหน้า

สถานที่ทําการกงสุลได้รับความคุ้มครองจะล่วงละเมิดมิได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ตั้งไม่มีสิทธิเข้าไป ตรวจค้นในสถานกงสุล รัฐที่ตั้งกงสุลจะต้องอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของกงสุล และที่ทําการกงสุล มีสิทธิชักธงและติดตราของรัฐที่ส่งกงสุล

และนอกจากนั้น จารีตประเพณีและสนธิสัญญาระหว่างรัฐเกี่ยวกับกงสุลยอมให้สิทธิกงสุลไม่อยู่ ใต้อํานาจของรัฐที่ตนไปประจําเฉพาะในกรณีที่กระทําตามหน้าที่ของกงสุลเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่มิได้เกิดจากการกระทําตามหน้าที่กงสุลยังคงต้องรับผิดชอบ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 โปรดจงอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศว่ามีอะไรบ้าง และมีลําดับศักดิ์อย่างไร และความสําคัญของ Jus Cogen มีอยู่ในฐานะอะไร

ธงคําตอบ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่

1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งวางหลักอันเป็นที่ยอมรับของรัฐ

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติที่ได้การยอมรับว่าเป็น

3 หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาติอารยะ

4 คําพิพากษาของศาล และคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุด ในฐานะที่เป็นแนวทางเสริมในการกําหนดหลักกฎหมาย

ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่มีความสําคัญเท่าเทียมกันโดยไม่มีการจัดลําดับศักดิ์ไว้ แต่อย่างใด เพราะถือว่าต่างก็เป็นแนวทางหลักที่กําหนดที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศและตามธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1945 ก็ได้กําหนดไว้ว่า ให้ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาล ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ส่วนคําพิพากษาของศาลและคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุดนั้น เป็นเพียงแนวทางเสริมที่เป็น เครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย และถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายในลําดับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษากรณีพิพาทโดยใช้หลักต่าง ๆ อันถือว่า เป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอํานาจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี โดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

สําหรับ “Jus Cogen” นั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะพิเศษกว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นหลักกฎหมายที่ไม่มีรัฐใดขอยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งคือ เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ละเมิดมิได้ เช่น หลักห้ามการใช้กําลังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลักการห้ามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลักการห้ามค้าทาส และหลักห้ามกระทําการอันเป็นโจรสลัด เป็นต้น

 

ข้อ 2 มาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969 : VCLT) ระบุว่า “treaty” means an international agreement concluded between States in written form and governed by international law, whether embodied in a single instrument or in two or more related instruments and whatever its particular designation. มาตรา 2 ของอนุสัญญา กรุงเวียนนาว่าด้วยการสืบสิทธิของรัฐในส่วนของสนธิสัญญา ค.ศ. 1978 (Vienna Convention

on Succession of States in Respect of Treaties 1978 : VCSST) ระบุว่า “treaty” . means an international agreement concluded between States in written form and governed by international law, whether embodied in a single instrument or in two or more related instruments, and whatever its particular designation. มาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การ ระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ค.ศ. 1986 (Vienna Convention on the Law of Treaties between States and international Organizations or between international Organizations 1986 : VCLTIO) ระบุว่า “treaty” means an international agreement governed by international law and concluded in written form:

(I) Between one or more States and one or more international organizations; or

(II) Between international organizations

Whether that agreement is embodied in a single instrument or in two or more related instruments and whatever its particular designation.

จากนิยามของคําว่าสนธิสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ส่งผลให้องค์ประกอบของสนธิสัญญาภายใต้กฎหมาย ระหว่างประเทศมีเช่นไร

ธงคําตอบ

จากคํานิยามของคําว่าสนธิสัญญาทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้สนธิสัญญาภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศ จะมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1 สนธิสัญญาจะต้องเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ

2 ข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นจะต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษร

3 ข้อตกลงที่กระทําขึ้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับหรือภายใต้การกํากับดูแลของกฎหมายระหว่างประเทศ

4 สนธิสัญญาที่ทําขึ้นนั้น อาจทําขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ได้ และอาจทําในรูปแบบใดก็ได้ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา หรือพิธีสาร เป็นต้น

5 สนธิสัญญานั้นต้องกระทําโดยบุคคลระหว่างประเทศซึ่งหมายถึงรัฐ และองค์การระหว่างประเทศ

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่าดินแดนของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่บริเวณใดบ้าง และจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร นอกจากนี้การได้ดินแดนของรัฐวิธีใดบ้าง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศ

ธงคําตอบ

ดินแดนของรัฐ คือ บริเวณที่รัฐสามารถมีอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งดินแดนของรัฐจะสอดคล้องกับเขตอํานาจอธิปไตยของรัฐ กล่าวคือ รัฐย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและอํานาจเหนือ บุคคลก็เฉพาะในดินแดนของรัฐเท่านั้น

ดินแดนของรัฐจะประกอบไปด้วย

1 พื้นดิน พื้นดินที่เป็นดินแดนของรัฐย่อมรวมถึงพื้นดินทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของเอกชนหรือของรัฐ หรือของชาวต่างประเทศที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ ดินแดนของรัฐถูกกําหนดโดย เส้นเขตแดน และรวมถึงพื้นที่ใต้พื้นดินด้วย ทั้งนี้ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาเขตของรัฐไม่จําเป็นต้องติดต่อกัน อาจจะอยู่ในดินแดนของประเทศอื่นก็ได้

2 พื้นน้ำบางส่วนที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางแผ่นดิน

ทะเลอาณาเขต หมายถึง ส่วนหนึ่งของพื้นน้ำซึ่งอยู่ระหว่างทะเลหลวงกับรัฐ

3 ห้วงอากาศ เหนือบริเวณต่าง ๆ ดังกล่าว

และการจะเป็นดินแดนของรัฐได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ

1 มีความแน่นอน กล่าวคือ จะต้องสามารถรู้ได้แน่นอนว่าส่วนใดบ้างเป็นดินแดนของรัฐและจะต้องมีความมั่นคงถาวรด้วย

2 สามารถกําหนดขอบเขตได้ชัดเจน คือ สามารถกําหนดเขตแดนของรัฐได้ชัดเจนนั่นเอง โดยอาจจะใช้เส้นเขตแดนในการกําหนดดังกล่าว ซึ่งดินแดนของรัฐจะเล็กหรือใหญ่ หรือมีอาณาเขตติดต่อกันหรือไม่ไม่สําคัญ แต่ดินแดนของรัฐจะต้องมีความชัดเจนแน่นอน

ส่วนการได้ดินแดนของรัฐนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการได้ดินแดนของรัฐที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศไทย คือการได้ดินแดนโดยการครอบครองปรปักษ์ นั่นเอง ซึ่งการครอบครองโดยปรปักษ์นั้น เป็นวิธีการที่รัฐได้ดินแดนโดยการครอบครองและใช้อํานาจอธิปไตย เหนือดินแดนนั้นเป็นเวลานาน โดยดินแดนนั้นเคยเป็นของรัฐอื่นมาก่อน แต่รัฐนั้นได้ทอดทิ้งไป และรัฐที่ได้ดินแดน ได้ทําการครอบครองโดยรัฐที่เป็นเจ้าของเดิมไม่ได้คัดค้าน อีกทั้งรัฐอื่นก็ไม่ได้โต้แย้ง การครอบครองจะต้องติดต่อกัน เป็นระยะเวลานานซึ่งแม้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่ได้กําหนดระยะเวลาไว้ แต่โดยปกติรัฐก็จะต้องครอบครอง ดินแดนนั้นเป็นเวลานานจนจําไม่ได้อาจจะเป็นเวลา 30 ปีหรือ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการได้ดินแดนของรัฐโดยการ ครอบครองปรปักษ์นี้จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกฎหมายภายในของประเทศไทย คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั่นเอง

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิพิเศษอย่างไรบ้างตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 และสิทธิพิเศษเหล่านี้มีความแตกต่างจากสิทธิพิเศษที่กงสุล ได้รับอย่างไร อธิบายประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วย

ธงคําตอบ

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 ผู้แทนทางการทูตจะได้รับ เอกสิทธิ์และได้รับความคุ้มกันในเรื่องดังต่อไปนี้

1 สิทธิล่วงละเมิดมิได้ ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูต และสิทธิใน ทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้แทนทางการทูต เช่น ตามมาตรา 29 อนุสัญญา กรุงเวียนนาฯ ห้ามจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ และกระทําการอันกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพและเกียรติยศของ ผู้แทนทางการทูต รัฐผู้รับต้องปฏิบัติต่อผู้แทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร หรือตามมาตรา 27 ได้ กําหนดว่า ถุงทางการทูต เอกสารทางราชการ สมุดทะเบียน เครื่องใช้ในการสื่อสาร จะต้องได้รับการคุ้มกันไม่ถูก ตรวจค้น ยึด หรือเกณฑ์เอาไปใช้ เป็นต้น

2 สิทธิไม่อยู่ภายใต้เขตอํานาจศาลของรัฐผู้รับ (สิทธิได้รับยกเว้นในทางศาล) สิทธิ ดังกล่าวเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระของคณะทูตและเป็นการให้เกียรติในฐานะตัวแทนของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรา 31 อนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ที่ระบุให้สิทธิผู้แทนทางการทูตจะไม่ถูกฟ้องทั้งในคดีอาญาและ คดีแพ่ง แม้ว่าจะเป็นการกระทํานอกหน้าที่ก็ตาม

3 สิทธิพิเศษเรื่องภาษี ผู้แทนทางการทูตจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทางตรงไม่ว่าจะ เป็นของรัฐ ของท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ เป็นต้น และสําหรับภาษีทางอ้อมโดยปกติก็จะได้รับยกเว้นภาษีบางชนิด เช่น ภาษีศุลกากร เป็นต้น

ส่วนสิทธิพิเศษที่กงสุลได้รับนั้น เนื่องจากกงสุลไม่ใช่ผู้แทนทางการทูต จึงไม่ได้รับเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูตอย่างเต็มที่เหมือนผู้แทนทางการทูต อย่างไรก็ดีกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังรับรู้ให้กงสุลได้รับสิทธิในการล่วงละเมิดมิได้ในตัวบุคคล จะจับหรือยังกงสุลไม่ได้ยกเว้นความผิดซึ่งหน้า

สถานที่ทําการกงสุลได้รับความคุ้มครองจะล่วงละเมิดมิได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ตั้งไม่มีสิทธิเข้าไป ตรวจค้นในสถานกงสุล รัฐที่ตั้งกงสุลจะต้องอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของกงสุล และที่ทําการกงสุล มีสิทธิชักธงและติดตราของรัฐที่ส่งกงสุล

และนอกจากนั้น จารีตประเพณีและสนธิสัญญาระหว่างรัฐเกี่ยวกับกงสุลยอมให้สิทธิกงสุลไม่อยู่ ใต้อํานาจของรัฐที่ตนไปประจําเฉพาะในกรณีที่กระทําตามหน้าที่ของกงสุลเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่มิได้เกิด จากการกระทําตามหน้าที่กงสุลยังคงต้องรับผิดชอบ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายขององค์ประกอบของสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา และขั้นตอนการจัดทําแต่ละขั้นตอนจะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มาตรา 2 ข้อ 1 (ก) ได้ให้คํานิยาม หรือความหมายของคําว่า “สนธิสัญญา” ไว้ว่า “สนธิสัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศทําเป็นลายลักษณ์ อักษรระหว่างรัฐและอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ไม่ว่า สนธิสัญญานั้นจะกระทําในรูป เอกสารฉบับเดียว สองฉบับ หรือหลายฉบับ และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกเฉพาะเป็นอย่างใดก็ตาม”

จากความหมายของสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ดังกล่าวนั้น สามารถจะแบ่ง องค์ประกอบของสนธิสัญญา ได้ดังนี้ คือ

1 สนธิสัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐ อนุสัญญากรุงเวียนนาใช้บังคับเฉพาะสนธิสัญญา ที่ทํากันระหว่างรัฐเท่านั้น สนธิสัญญาที่ทํากันโดยบุคคลหรือองค์กรระหว่างประเทศและก่อให้เกิดผลทาง กฎหมายในรูปของสนธิสัญญานั้น ให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเอกเทศจากอนุสัญญานี้ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามกฎหมายจารีตประเพณีที่กําหนดหลักเกณฑ์การทําสัญญาเอาไว้

2 ข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในขณะเดียวกัน อนุสัญญากรุงเวียนนาฉบับนี้ก็มิได้ปฏิเสธผลบังคับใช้ทางกฎหมายของความตกลงด้วยวาจา

3 ข้อตกลงที่กระทําขึ้นต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ไม่จําเป็น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเดียว อาจจะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายภายในด้วยก็ได้

4 สนธิสัญญาอาจทําขึ้นในรูปเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ได้ และอาจมีชื่อเรียก แตกต่างกันก็ได้ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา หรือพิธีสาร เป็นต้น

สําหรับการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอนการจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจในการเจรจา อาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทนเข้าทําการ เจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจาจะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาด ในสนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนาของรัฐที่จะรับ ข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้นจะต้องมีการจัดทําสัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

และจากขั้นตอนในการจัดทําสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่ทําให้สนธิสัญญา มีผลผูกพันกับภาคีสมาชิกคือขั้นตอนการให้สัตยาบันนั่นเอง

 

ข้อ 2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศแตกต่างจากสนธิสัญญาอย่างไร และจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศและสนธิสัญญาต่างก็เป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นเดียวกัน แต่ทั้งสองจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ คือ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ การก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

(1)  การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกัน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็น ระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐ ในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

(2) การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติให้เป็น จารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นจะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือองค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่า เป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศอาจเกิดจาก

(1) จารีตประเพณีหรือกฎหมายภายในหรือคําตัดสินของศาลยุติธรรมของรัฐหนึ่ง แต่ประเทศอื่นเห็นว่าดีก็นําหลักการดังกล่าวมาปฏิบัติ จนนานเข้าก็กลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

(2) สนธิสัญญาประเภทกฎหมาย คําตัดสินของอนุญาโตตุลาการและคําพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ

ส่วนสนธิสัญญา ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่สําคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะหลังจะมีการรวบรวมจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสนธิสัญญา และ โดยที่สนธิสัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ทําขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ (สองฝ่ายหรือหลายฝ่าย) ซึ่งก่อให้เกิดผลผูกพันตามกฎหมายแก่คู่สัญญา ดังนั้นเมื่อคู่สัญญามีข้อพิพาทเกิดขึ้น เกี่ยวกับสนธิสัญญา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็มักจะอาศัยการตีความหมายจากสนธิสัญญาเพื่อใช้เป็นหลักใน การวินิจฉัยชี้ขาดคดีในศาลของตน

สําหรับสนธิสัญญานั้น เมื่อได้ทําขึ้นมาแล้ว ถ้าในเวลาต่อมาสถานการณ์ระหว่างประเทศ เปลี่ยนแปลงไปหรืออาจมีการพบข้อบกพร่องในการบังคับใช้สนธิสัญญาซึ่งจําเป็นต้องมีการแก้ไข รัฐภาคีอาจจะตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก หรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของ สนธิสัญญาก็ได้

 

ข้อ 3 หากมีผู้มาขอความรู้จากท่านเกี่ยวกับความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐจีน (The Republic of China) ท่านจะนําหลักเกณฑ์ใดมาอธิบายให้ท่านผู้นี้เข้าใจ อย่างชัดเจน และท่านจะสรุปให้ผู้มาขอความรู้จากท่านว่าไต้หวันมีสถานะของความเป็นรัฐหรือไม่ อย่างไร และหากเทียบเคียงกับกรณีของฮ่องกง (Hong Kong) จะมีความแตกต่างในสาระสําคัญ

อย่างไร

ธงคําตอบ

หากมีผู้มาขอความรู้จากข้าพเจ้าเกี่ยวกับสถานะของความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” และกับ กรณีของฮ่องกง ข้าพเจ้าจะให้คําอธิบายแก่บุคคลดังกล่าว ดังนี้ คือ

สภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะเริ่มเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบ ของความเป็นรัฐครบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้น รวมทั้งพื้นดิน ผืนน้ำและท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไม่จําเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็น ดินแดนโพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อย เพียงใดไม่ใช่ข้อสําคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมันคงถาวร และกําหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2 ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมาย ระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีจํานวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจํานวนมากพอสมควรที่ จะสามารถดํารงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จําเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมี เชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3 รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรมาทําการ บริหารงานทั้งภายในและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษา ความสงบเรียบร้อยในดินแดนของตน ดําเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษา สิทธิผลประโยชน์ของประชาชน

4 อํานาจอธิปไตย (หรือเอกราชอธิปไตย) กล่าวคือ รัฐสามารถที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อํานาจอิสระภายใน หมายถึง อํานาจของรัฐในการจัดกิจการ ภายในประเทศได้อย่างอิสรเสรีแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอํานาจอิสระ ภายนอก หมายถึง อํานาจของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น และ ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกับรัฐอื่น

และเมื่อมีสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพราะมีองค์ประกอบที่สําคัญครบ ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเป็นรัฐจะเป็นที่รับรู้ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรอง สภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการ รับรองความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกําเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจะมี องค์ประกอบของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและ มีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สําคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้

2 ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิด สภาพของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะ ไม่มีการรับรองจากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้นถือว่าเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง (ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

สําหรับสถานะของ “ไต้หวัน” (Taiwan) นั้น ถือว่ามีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ เพราะมีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบที่สําคัญครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น คือมีดินแดนและมีประชากร ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีรัฐบาลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรทําการบริหารงานทั้งภายในและ ภายนอกรัฐ และที่สําคัญคือการมีอํานาจอธิปไตย ในอันที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อาทิเช่น มีอํานาจในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก และ มีอํานาจในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น เป็นต้น

และเช่นเดียวกันเมื่อถือว่า “ไต้หวัน” มีสถานะเป็นรัฐและมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่าง ประเทศแล้ว การมีฐานะเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” จะเป็นที่รับรู้หรือเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อ ได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง (ปัจจุบันความเป็นรัฐของไต้หวันยังมีสถานะไม่มั่นคง เพราะมีการรับรองจากรัฐอื่นไม่มากนัก)

ส่วนกรณีฮ่องกง (Hong Kong) นั้น มีองค์ประกอบของความเป็นรัฐดังกล่าวข้างต้นไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอํานาจอธิปไตย เพราะฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของจีน และเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้น ดังนั้น ฮ่องกงจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ข้อ 4 จงอธิบายการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี โดยวิธีที่เรียกว่า “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” มีโครงสร้างและลักษณะของการดําเนินการอย่างไร และหากเปรียบเทียบกับ “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” จะแตกต่างกันในสาระสําคัญอย่างไร หรือไม่

ธงคําตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจําอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมายเช่นเดียวกัน

สําหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะเป็นคนในสัญชาติเดียวกันไม่ได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตําแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งซ่อม ทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตําแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตําแหน่ง ได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตําแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้ง กระทําโดยความเห็นชอบร่วมกันของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้สมาชิกถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธานและรองประธาน ซึ่งอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอํานาจในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1 การตีความสนธิสัญญา

2 ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4 กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในสนธิสัญญา และ ยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสหประชาชาติด้วยในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนําคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณี ทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คําตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา คําพิพากษาของศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคําพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพัน เฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจําเป็นก็อาจทําคําแนะนําหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดําเนินการเพื่อให้เกิดผล ตามคําพิพากษา

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาท โดยองค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีการจัดตั้งขึ้นมา สืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ.1899 และปี ค.ศ.1907 ซึ่งได้มีการผลักดันให้ มีการตั้งอนุญาโตตุลาการในลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีที่ทําการอยู่ที่กรุงเฮก โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศใน ประเทศของตนเพื่อไปเป็นผู้พิพากษายังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจํานวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมด จะรวบรวมทําเป็นบัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาทมาสู่ศาลจึงจะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และกรณีที่ถือว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมีที่ทําการศาล อย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกันระหว่าง ผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สําคัญ คือ

1 การนําคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนําคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น เป็นเจ้าของ

2 ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจําอยู่ในศาล แต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจากบัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3 การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษา เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ริกะเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 จากมารดาและบิดาคนสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งจดทะเบียนสมรสกันโดยบิดาและมารดาของริกะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทําวิจัยในประเทศไทย ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า ริกะเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิด บิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งมิได้ สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่รกะเกิดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 นั้น ถือว่าริกะเกิดในราชอาณาจักรไทย ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกาศใช้บังคับแล้ว และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบิดาและ มารดาของริกะเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยบิดาและมารดาของริกะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาต ให้เข้ามาทําวิจัยในประเทศไทย ดังนั้น แม้ว่าริกะจะเกิดในราชอาณาจักรไทย ริกะก็ไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 (2) เนื่องจากริกะเป็นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง (2) กล่าวคือ ริกะเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา และมารดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่ริกะเกิดนั้นบิดาตามกฎหมายหรือมารดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

สรุป

ริกะไม่ได้รับสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 นายทงยูคนสัญชาติเกาหลีได้สละสัญชาติเกาหลี และได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และต่อมา นายทงยูก็ถูกถอนสัญชาติไทย โดยปัจจุบันนายทงยูมีถิ่นที่อยู่ประเทศคิวบา ในขณะเดียวกันนั้นเอง เกิดคดีขึ้นสู่ศาลไทย และประเด็นข้อพิพาทมีว่านายทงยูมีความสามารถทํานิติกรรมซื้อเครื่องเพชร จากนายสุดหล่อที่กรุงเทพฯ หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศใด ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 6 วรรคสาม “ สําหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ”

มาตรา 10 วรรคหนึ่ง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักใน การพิจารณาและวินิจฉัย เห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ว่า นายทงยูจะมีความสามารถทํานิติกรรมซื้อเครื่องเพชร จากนายสุดหล่อที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายทงยุคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศคิวบา โดยได้สละสัญชาติเกาหลีและได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งในขณะเกิดข้อพิพาทที่ว่านี้นายทงยได้ ตกเป็นบุคคลไร้สัญชาติ เพราะนายทงยูได้ถูกถอนสัญชาติไทยแล้ว ดังนั้น การจะนํากฎหมายประเทศใดมาปรับ แก่ข้อพิพาทดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกัน” พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม ซึ่งมีหลักคือ

1 ถ้าปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ หรือ

2 ถ้าไม่ปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายทงยูเป็นบุคคลผู้ไร้สัญชาติและไม่ปรากฏว่ามีภูมิลําเนาอยู่ที่ใด กรณี เช่นนี้จึงต้องใช้กฎหมายประเทศคิวบาซึ่งเป็นกฎหมายที่นายทงยูมีถิ่นที่อยู่บังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม

ผลจึงเป็นว่า ศาลไทยจึงควรนํากฎหมายประเทศคิวบาขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายทงยูที่ว่านี้

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศคิวบาขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยประเด็น ข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายทงยู

 

ข้อ 3 นายเดวิด สัญชาติอเมริกัน ได้ใช้อาวุธปืนจี้เครื่องบินซึ่งจดทะเบียนที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในขณะที่ผู้โดยสารและลูาเรือได้ขึ้นเครื่องเรียบร้อยและประตูเครื่องบินได้ปิดลงแล้ว แต่เครื่องบิน ยังคงจอดรอที่ช่องจอดเพื่อรอสัญญาณให้นักบินพาเครื่องบินเคลื่อนตัวไปยังทางขึ้นลงของเครื่องบิน (Runway) ของสนามบินประเทศสิงคโปร์ โดยนายเดวิดได้จับตัวนายลีผู้โดยสารอีกคนบนเครื่องบิน ดังกล่าวเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้นักบินนําเครื่องไปที่ประเทศญี่ปุ่นแทนประเทศจีนอันเป็น ปลายทางเดิม อย่างไรก็ตามนักบินได้นําเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานประเทศจีนได้อย่างปลอดภัย โดยผู้โดยสารและลูกเรือได้ร่วมกันจับตัวนายเดวิดได้ในที่สุด ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า การกระทําของนายเดวิด เป็นความผิด ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 บัญญัติว่า ความผิดฐานสลัดอากาศ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัย ของอากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึดอากาศยาน หรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชา ของอากาศยานให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามความต้องการของตน ทั้งนี้รวมถึง การพยายามกระทําความผิด

ความผิดตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ เป็นการกระทําในขณะเครื่องบินกําลังบินหรืออยู่ระหว่างบิน หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เมื่อประตูเครื่องถูกปิดหลังจากได้มีการขึ้นเครื่องเรียบร้อย จนกระทั่งประตูถูกเปิด เพื่อให้ลงจากเครื่องนั้นอีกครั้ง

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทําของนายเดวิดถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ เนื่องจากเป็น การใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อที่จะยึดเครื่องบินให้เปลี่ยนเส้นทางบินไปลงจอดที่ประเทศญี่ปุ่นแทนประเทศจีน แม้ว่าขณะกระทําความผิดเครื่องบินยังคงจอดอยู่ที่ช่องจอด เพื่อรอสัญญาณให้นักบินพาเครื่องบินเคลื่อนตัวออกจาก ช่องจอดไปยังทางขึ้นลงของเครื่องบิน (Runway) ก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทําภายหลังที่ประตูเครื่องบินได้ถูกปิดลง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างบินตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ แม้ว่าในที่สุดนักบินได้นําเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยาน ประเทศจีนได้อย่างปลอดภัย โดยผู้โดยสารและลูกเรือได้ร่วมกันจับตัวนายเดวิดได้ในที่สุด การกระทําดังกล่าว ก็ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามมาตรา 1 แห่งอนุสัญญากรุงเฮกฯ ค.ศ. 1970 ซึ่งรวมถึงการพยายาม กระทําความผิดด้วย

สรุป

การกระทําของนายเดวิดเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัด การยืดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970)

 

ข้อ 4 จงอธิบายหลักเกณฑ์ในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างน้อย 5 ประการ มาให้ถูกต้องและครบถ้วน

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ได้แก่

1 บุคคลที่ถูกขอให้ลงตัวเป็นผู้กระทําผิดทางอาญา หรือถูกลงโทษในทางอาญาในเขตของประเทศที่ร้องขอ หรือเป็นคดีอาญาที่มีมูลที่จะนําตัวผู้ต้องหาขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้

2 ต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ หรือคดีที่ศาลของประเทศใด ได้พิจารณาและพิพากษาให้ปล่อยหรือได้รับโทษในความผิดที่ร้องขอให้ส่งข้ามแดนได้

3 บุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวจะเป็นคนสัญชาติใดก็ได้ อาจจะเป็นพลเมืองของประเทศที่ร้องขอหรือประเทศที่ถูกขอหรือประเทศที่สามก็ได้

4 ความผิดซึ่งบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวได้กระทําไปนั้น ต้องเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาของทั้งสองประเทศ คือประเทศที่มีคําขอและประเทศที่ถูกขอให้ส่งตัว

5 ต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายกําหนดโทษจําคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปี

6 บุคคลที่ถูกขอตัวได้ปรากฏตัวอยู่ในประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัว

7 ประเทศเจ้าของที่เกิดเหตุ เป็นผู้ดําเนินการร้องขอให้ส่งตัวโดยปฏิบัติตามพิธีการต่าง ๆครบถ้วนดังที่กําหนดไว้ในสนธิสัญญา หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

8 ผู้ที่ถูกส่งตัวไปนั้น จะต้องถูกฟ้องเฉพาะในความผิดที่ระบุมาในคําขอให้ส่งตัวเท่านั้นหรืออย่างน้อยที่สุด จะต้องเป็นความผิดที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างกัน

9 ต้องไม่ใช่ความผิดบางประเภทที่ไม่นิยมส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น คดีการเมือง เพราะมีหลักห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีการเมือง

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 กิมเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 จากบิดาคนสัญชาติจีนและมารดาคนสัญชาติลาว ทั้งนี้ บิดาและมารดาของกิมไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยบิดาของกิมนั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามา ทําวิจัยในประเทศไทย ส่วนมารดาเป็นผู้ที่ลักลอบเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ให้นักศึกษา วินิจฉัยว่ากิมเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิด บิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งมิได้ สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กิมเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 นั้น แม้กิมจะเกิดในประเทศไทย กิมก็ไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) เพราะกิมเกิดในขณะที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) เนื่องจากกิมเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกาศใช้บังคับ กิมก็ไม่ได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 7 (2) แม้กิมจะเกิดในราชอาณาจักรไทยก็ตาม เพราะกิมเป็นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ กิมเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิดมารดาของกิมเป็นผู้ที่ เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

สรุป

กิมจะไม่ได้รับสัญชาติไทย

 

ข้อ 2 นายสุดหล่อคนสัญชาติไทยได้ทําสัญญาซื้อจรวดจํานวน 100 ลําจากนายเดวิดคนสัญชาติอเมริกันซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยทําสัญญาฉบับนี้กันที่ประเทศสิงคโปร์ และขณะทําสัญญา จรวดทั้งหมดนั้นก็อยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์ของจรวดทั้ง 100 ลํานั้น อยู่ในสภาพชํารุดใช้การไม่ได้ นายสุดหล่อจึงขอเปลี่ยน แต่นายเดวิดไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยโต้แย้งว่า ตนในฐานะผู้ขายไม่จําต้องรับผิดในกรณีการชํารุดที่ว่านี้ ข้อเท็จจริงปรากฏอีกว่าคู่สัญญาไม่ได้ แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สัญญาฉบับนี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าหากศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่านี้ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 13 วรรคหนึ่ง “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือผล แห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผลของ สัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ซึ่งอาจแยกพิจารณา เป็นกรณีตามลําดับได้ดังนี้

1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ

2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะใช้ บังคับแก่สัญญา

(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ

(ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายเดวิด (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (จรวด) ที่ซื้อขายกันเพียงใดหรือไม่อันเป็นปัญหาในเรื่อง ผลของสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าให้นํากฎหมาย ประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยังทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ว่า คู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายสุดหล่อและนายเดวิดคู่สัญญาก็ไม่ได้มีสัญชาติ เดียวกัน กรณีเช่นนี้กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่ กฎหมายประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญา ฉบับนี้ได้ทําขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น หากได้ความว่าศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยจึงควรนํากฎหมายประเทศ สิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 3 นายโมฮัมหมัด สัญชาติซีเรีย ได้ใช้อาวุธปืนจี้เครื่องบินซึ่งจดทะเบียนประเทศฝรั่งเศสภายหลังที่ประตูเครื่องบินได้ถูกปิด เเละนักบินกําลังจะนําเครื่องบินเคลื่อนตัวออกจากช่องจอดไปยังทางขึ้นลง ของเครื่องบิน (Runway) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยนายโมฮัมหมัดได้จับตัวนายเฟรเดอริก ผู้โดยสารอีกคนบนเครื่องบินดังกล่าวเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้นักบินนําเครื่องไปลงจอดที่ ประเทศซีเรียแทนประเทศฝรั่งเศสอันเป็นปลายทางเดิม อย่างไรก็ตามนักบินได้นําเครื่องลงจอดที่ ท่าอากาศยานฝรั่งเศส เด้อย่างปลอดภัย โดยผู้โดยสารและลูกเรือได้ร่วมกันจับตัวนายโมฮัมหมัด ได้ในที่สุด และไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บแต่อย่างใด ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า การกระทําของนายโมฮัมหมัดเป็นความผิด ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 บัญญัติว่า ความผิดฐานสลัดอากาศ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเครื่องบินลํานั้นกระทําการอันเป็นปรปักษ์ต่อความปลอดภัย ของอากาศยาน โดยใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อจะยึดอากาศยาน หรือขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของ อากาศยานให้เปลี่ยนเส้นทางการบินตามปกติไปสู่เส้นทางการบินตามความต้องการของตน ทั้งนี้รวมถึงการ พยายามกระทําความผิด

ความผิดตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ เป็นการกระทําในขณะเครื่องบินกําลังบินหรืออยู่ระหว่างบิน หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เมื่อประตูเครื่องถูกปิดหลังจากได้มีการขึ้นเครื่องเรียบร้อย จนกระทั่งประตูถูกเปิด เพื่อให้ลงจากเครื่องนั้นอีกครั้ง

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทําของนายโมฮัมหมัดถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ เนื่องจาก เป็นการใช้กําลังมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อที่จะยึดเครื่องบินให้เปลี่ยนเส้นทางบินไปลงจอดที่ประเทศซีเรีย แทนประเทศฝรั่งเศส และเป็นการกระทําภายหลังที่ประตูเครื่องบินได้ถูกปิดลง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างบิน ตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ แม้ว่าในที่สุดนักบินได้นําเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานฝรั่งเศสได้อย่างปลอดภัย โดยผู้โดยสารและลูกเรือได้ร่วมกันจับตัวนายโมฮัมหมัดได้ในที่สุด และไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บแต่อย่างใด การกระทําดังกล่าวก็ถือเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามมาตรา 1 แห่งอนุสัญญากรุงเฮกฯ ค.ศ. 1970 ซึ่งรวมถึง การพยายามกระทําความผิดด้วย

สรุป

การกระทําของนายโมฮัมหมัดเป็นความผิดฐานสลัดอากาศตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วย การขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970

 

ข้อ 4 จงอธิบายฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิดมาโดยถูกต้องครบถ้วน

ธงคําตอบ

ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําความผิดที่รัฐผู้รับคําขอสามารถยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่ง คนสัญชาติของตนให้ตามคําร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน มี 4 ประการ ได้แก่

1 บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใดศาลหนึ่ง พิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้พิพากษา ลงโทษและผู้นั้นได้รับโทษแล้ว รัฐผู้รับคําขอย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการส่งตัวได้

2 มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว ถ้าความผิดที่ขอให้ส่งตัวนั้น เป็นความผิดที่มีโทษหนัก คือ โทษประหารชีวิตสถานเดียว รัฐที่รับคําขอชอบที่จะปฏิเสธการส่งตัวนั้นได้ เพราะถือหลักมนุษยธรรมที่ว่า รัฐไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยรัฐอื่นโดยส่งคนที่เข้ามาอยู่ในรัฐตนไปให้รัฐอื่นประหารชีวิตเสีย

3 ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของรัฐที่รับคําขออย่างร้ายแรง เช่น การค้าทาส รัฐที่รับคําขอ ย่อมปฏิเสธที่จะส่งตัวทาสไปให้รัฐที่มีคําขอได้

4 บุคคลในคณะทูต ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ทางการทูต ในการที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 แอปเปิ้ลเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2533 จากมารดาคนสัญชาติไทยและบิดาคนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยบิดาของแอปเปิ้ลนั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทําวิจัยใน ประเทศไทย ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าแอปเปิ้ลเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2503

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ยอมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ ชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 537

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(1) บุคคลผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

(3) บุคคลผู้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แอปเปิ้ลเกิดในประเทศไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยนั้น แอปเปิลจะไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (2) ทั้งนี้เพราะแอปเปิลมิใช่เป็นบุคคล ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย แต่แอปเปิ้ลจะได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)

และแม้ว่าเเอปเปิ้ลจะเกิดในปี 2533 ภายหลังจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผล ใช้บังคับแล้วก็ตาม แอปเปิ้ลก็ยังได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) เช่นเดิม ทั้งนี้ เพราะไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2. ประกอบข้อ 1 (2) เพราะแม้แอปเปิ้ลจะมีบิดา เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น และบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราวก็ตาม แต่บิดาของแอปเปิ้ลเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2)

และเมื่อ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ แอปเปิ้ลย่อมได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 (1) ด้วย เพราะเป็นผู้ที่เกิดโดยมีมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติว่า มาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย

สรุป

แอปเปิ้ลได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) และตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10

 

ข้อ 2 นายสุดหล่อคนสัญชาติไทยได้ทําสัญญาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จํานวน 100 เครื่องจากนายเอเดนคนสัญชาติอเมริกันซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยทําสัญญาฉบับนี้กันที่ประเทศสิงคโปร์ และขณะทําสัญญานั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดก็อยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าโปรเซสเซอร์ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 100 เครื่องนั้นอยู่ในสภาพชํารุดใช้การไม่ได้ นายสุดหล่อจึงขอเปลี่ยน แต่นายเอเดนไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยโต้แย้งว่าตนในฐานะผู้ขายไม่จําต้องรับผิดในกรณีการชํารุดที่ว่านี้ ข้อเท็จจริงปรากฏอีกว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะให้ใช้กฎหมาย ของประเทศใดบังคับแก่สัญญาฉบับนี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก้ ข้อพิพาทที่ว่านี้ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 13 วรรคหนึ่ง “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือ ผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยังทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญา ไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมาย เห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผล ของสัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ซึ่งอาจแยกพิจารณา เป็นกรณีตามลําดับได้ดังนี้

1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ

2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่สัญญา

(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ (ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายเอเดน (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความจํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (เครื่องคอมพิวเตอร์) ที่ซื้อขายกันเพียงใดหรือไม่ อันเป็นปัญหาในเรื่องผลของสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดย ปริยายว่าให้นํากฎหมายประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายได้ว่าคู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายสุดหล่อและนายเอเดน คู่สัญญาก็ไม่ได้มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่ กฎหมายประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็น กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาฉบับนี้ได้ทําขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น หากได้ความว่าศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยจึงควรนํากฎหมาย ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว

สรุป

ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 3 จงอธิบายความผิดอาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (White Collar Crimes) มาโดยละเอียดพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

ความผิดฐานอาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (White Collar Crimes) หรืออาชญากรรมทาง เศรษฐกิจ หรือความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ หมายถึง การกระทําความผิดที่ผู้กระทําความผิดเป็น บุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ มีตําแหน่งหน้าที่การงาน และมีฐานะทางสังคม โดยใช้โอกาสทางวิชาชีพ ตําแหน่งหน้าที่การงาน เละฐานะชื่อเสียงของตนมาเป็นประโยชน์ในการกระทําความผิดลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้นั้นจะไม่ใช่ความผิดที่มีลักษณะรุนแรงหรือน่ากลัว แต่เป็นการกระทําที่ใช้กลอุบาย และช่องว่างทางวิชาชีพในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยความเสียหาย ที่เกิดขึ้นมักมีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจะกระทบต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ เช่น ความผิดฐานคอร์รัปชั่น ความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร การยักยอก การฉ้อโกง ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับ การผลิตและการค้ายาเสพติด เป็นต้น

 

 

ข้อ 4 จงบอกและอธิบายมาโดยครบถ้วนถึงข้อยกเว้นเพื่อปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนว่ามีกี่กรณี อะไรบ้าง

ธงคําตอบ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ การที่รัฐซึ่งบุคคลนั้นไปปรากฏตัวอยู่ส่งมอบตัวผู้ต้องหา หรือ ผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษแล้วไปยังรัฐซึ่งผู้นั้นต้องหาว่าได้กระทําความผิดอาญา หรือถูกพิพากษาให้ลงโทษ ทางอาญาแล้ว ในดินแดนของรัฐที่ขอให้ส่งตัว

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรัฐหนึ่งร้องขอแล้ว รัฐที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นอยู่ 3 กรณีที่รัฐที่รับคําขออาจปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ได้แก่

1 ลักษณะของความผิด กล่าวคือ หากเป็นความผิดในลักษณะต่อไปนี้ รัฐนั้นก็สามารถ ยกเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เพราะความผิดเหล่านี้มิได้ก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อันจะถือเป็นภัยร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด และยังมีหลักสากลกําหนดไว้อีกว่า หากเป็นความผิดเหล่านี้ ห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน

2 สัญชาติของผู้กระทําผิด โดยใช้หลักที่ว่าคนสัญชาติของรัฐใด ก็ควรใช้กฎหมายของรัฐนั้น ลงโทษ ถ้ามีการส่งตัวไปให้รัฐอื่นลงโทษ ก็เท่ากับว่าเป็นการยอมลดหรือสละอํานาจอธิปไตยของรัฐผู้รับคําขอ

3 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําผิด มีอยู่ 4 ประการ

1) บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใด ศาลหนึ่งพิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้ พิพากษาลงโทษและผู้นั้นได้รับโทษแล้ว รัฐผู้รับคําขอย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการส่งตัวได้

2) มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว ถ้าความผิดที่ขอให้ส่งตัวนั้น เป็นความผิด ที่มีโทษหนักคือโทษประหารชีวิตสถานเดียว รัฐที่รับคําขอขอบที่จะปฏิเสธการส่งตัวนั้นได้ เพราะถือหลัก มนุษยธรรมว่า รัฐไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยรัฐอื่นโดยส่งคนที่เข้ามาอยู่ในรัฐตนไปให้รัฐอื่นประหารชีวิตเสีย

3) ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของรัฐที่รับคําขออย่างร้ายแรง เช่น การค้าทาส รัฐที่รับคําขอย่อมปฏิเสธที่จะส่งตัวทาสไปให้รัฐที่มีคําขอได้

4) บุคคลในคณะทูต ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ให้เอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูต ในการที่จะไม่ถูาฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่

 

LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ดวงใจเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 จากมารดาคนสัญชาติไทยและบิดาคนสัญชาติเกาหลีใต้ ซึ่งจดทะเบียนสมรสกัน โดยบิดาของดวงใจนั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทําวิจัยในประเทศไทย

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าดวงใจเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ดวงใจจะเป็นผู้ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เห็นว่า การที่ดวงใจเกิดที่ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นการเกิดในราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ทําให้ดวงใจได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) ทั้งนี้เพราะดวงใจได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ในขณะที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิด บิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2. ประกอบกับข้อ 1. (2)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้ดวงใจกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติ มาตรา 7 (1) มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น ดวงใจ จึงได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดจากมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่าดวงใจได้รับสัญชาติไทยย้อนหลังไปตั้งแต่ ดวงใจเกิด

สรุป

ดวงใจเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทย

 

 

ข้อ 2 นายสรศักดิ์คนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อเตียงโบราณประดับมุก 1 เตียง จากนายกิมคนสัญชาติเกาหลี โดยสัญญาทําที่เกาหลีและขณะทําสัญญาเตียงฯ นี้ก็อยู่ที่เกาหลี นายสรศักดิ์และนายกิม กําหนดไว้ในสัญญาชัดแจ้งว่าหากมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฯ ฉบับนี้ให้ใช้ กฎหมายไทยบังคับ กฎหมายขัดกันฯ ของเกาหลีกําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย ของประเทศที่สัญญาทําขึ้น และกฎหมายแพ่งของเกาหลีกําหนดว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ปรากฏว่าการซื้อขายรายนี้ ทําเป็นหนังสือแต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสรศักดิ์ผิดสัญญาโดยไม่ยอม ชําระราคาและรับมอบเตียงนี้ นายกิมจึงฟ้องนายสรศักดิ์ต่อศาลไทยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญา นายสรศักดิ์ยกข้อต่อสู้ว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตน (นายสรศักดิ์) จึงไม่ผูกพันหรือต้องรับผิดตามสัญญา ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าหากท่านเป็นศาลไทย ท่านควรพิจารณา และวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรายนี้เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นใด แห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทําขึ้น”

มาตรา 13 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผล แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสรศักดิ์คนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อเตียงโบราณประดับมุก 1 เตียง จากนายกิมคนสัญชาติเกาหลี และขณะทําสัญญาเตียงๆ ที่ว่านี้ก็อยู่ที่เกาหลี โดยนายสรศักดิ์กับนายกิมได้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และ สัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรม ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ของเกาหลีได้กําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมายแพ่ง ของเกาหลีก็กําหนดว่า การซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น เป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายเตียงฯ ฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้กําหนดไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของสัญญาเมื่อกรณี ตามข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีตาม มาตรา 13 วรรคหนึ่ง และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขายวัตถุโบราณ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายเตียงฯ ระหว่างนายสรศักดิ์กับ นายกิมจึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ ข้อต่อสู้ของนายสรศักดิ์จึงฟังไม่ขึ้น

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาลไทย ข้าพเจ้าจะพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายฉบับนี้มีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะ

 

 

ข้อ 3 นายฮัสซันคนสัญชาติตุรกีได้วางระเบิดเครื่องบินของประเทศเกาหลีใต้ขณะที่กําลังจอดอยู่ที่สนามบิน สุวรรณภูมิเพื่อเตรียมจะบินจากประเทศไทยไปยังประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวางระเบิดเสร็จแล้วนายฮัสซัน ได้หนีกลับไปยังประเทศตุรกี และเครื่องบินลําดังกล่าวได้ระเบิดขณะที่กําลังบินอยู่เหนือทะเลหลวง การกระทําของนายฮัสซันผิดกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 มาตรา 1 ได้บัญญัติ ถึงลักษณะของการจี้เครื่องบินอันเป็นการกระทําความผิดฐานสลัดอากาศว่า เป็นการกระทําโดย

(1) บุคคลที่อยู่ในเครื่องบินนั้น

(2) การกระทํานั้นเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้กระทําต่อเครื่องบินลํานั้นเอง

(3) การกระทํานั้นเกิดในขณะที่เครื่องบินกําลังบินอยู่

ทั้งนี้หมายความรวมถึงการพยายามกระทําความผิดด้วยการจี้เครื่องบินจึงเป็นการกระทําจาก ผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบิน (on board an aircraft in flight) หรือที่เราเรียกว่าเป็นการกระทําภายในนั่นเอง

ดังนั้นการกระทําภายนอก เช่น การโจมตีด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน หรือก่อวินาศกรรมแก่ เครื่องบินที่จอดอยู่ในสนามบิน ย่อมไม่ใช่การจี้เครื่องบินตามอนุสัญญากรุงเฮกฯ

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทําของนายฮัสซันคนสัญชาติตุรกี เป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เห็นว่า การวางระเบิดเครื่องบินโดยนายฮัสซันนั้นได้กระทํา ในขณะที่เครื่องบินยังจอดอยู่ที่สนามบิน การกระทําดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความหมายของการกระทําภายในของ ความผิดฐานจี้เครื่องบิน ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการขจัดการยึดอากาศยานโดยมิชอบ ค.ศ. 1970 เพราะเป็น การกระทําภายนอก ไม่ใช่การกระทําของผู้ที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งกําลังบินอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุสัญญากรุงมอนทรีว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความ ปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971 ซึ่งใช้บังคับในเวลาต่อมา ได้บัญญัติให้คลุมถึงการกระทําทุกชนิดที่กระทบ ต่อความปลอดภัยของการบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการกระทําภายนอกด้วย ดังนั้นการกระทําของนายฮัสซัน จึงเป็นความผิดฐานสลัดอากาศ ตามอนุสัญญากรุงมอนทรีสว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัย แห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

สรุป

การกระทําของนายฮัสซันเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานสลัดอากาศ ตามอนุสัญญากรุงมอนทรีลว่าด้วยการขจัดการกระทําโดยมิชอบต่อความปลอดภัยแห่งการบินพลเรือน ค.ศ. 1971

 

ข้อ 4 จงอธิบายหลักในการพิจารณาคดีการเมืองของประเทศอังกฤษมาโดยครบถ้วนและถูกต้อง

ธงคําตอบ

อธิบาย

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีการเมืองของประเทศอังกฤษนั้น จะต้องประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1 ความผิดต้องได้กระทําในขณะที่ไม่มีความสงบในทางการเมือง เช่น เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการปฏิวัติ รัฐประหาร ฯลฯ

2 ต้องมีความขัดแย้งระหว่างพรรคหรือกลุ่มตั้งแต่สองพรรคหรือสองกลุ่มขึ้นไป

3 แต่ละพรรคหรือกลุ่มต้องการให้อีกพรรคหรือกลุ่มยอมรับระบบการปกครองของตน

เมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศอังกฤษจะถือว่าความผิดนั้น เป็นการกระทําความผิดทางการเมืองซึ่งห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้นหากมีคําร้องขอให้ประเทศอังกฤษส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน และมีการต่อสู้ว่าความคิดที่ผู้ถูกขอให้ส่งข้ามแดนได้กระทําลงไปนั้น เป็นความผิดทางการเมือง ประเทศอังกฤษจะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการพิจารณาคดี

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าลําพังการกระทําของพวก ก่อการร้าย (Terrorists) ที่เพียงแต่ก่อความไม่สงบต่อการปกครองของรัฐก็ดี หรือการกระทําของพวกอนาคิสต์ (Anarchist) ซึ่งยึดถือลัทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลไม่ว่าในแบบใดก็ดีจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการเมืองเพราะ ผู้กระทําไม่ได้มุ่งหมายที่จะให้มีการปกครองไม่ว่าในรูปแบบใดเลย

WordPress Ads
error: Content is protected !!