LAW4001กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 นายแดงได้เดินทางไปทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างที่ทํางานอยู่ประเทศสิงคโปร์ นายแดงได้ส่งเงินมาให้นางสุขใจมารดาเดือนละสองหมื่นบาททุกเดือน ต่อมาเมื่อ สัญญาจ้างสิ้นสุด นายแดงจึงได้นําเงินที่ทํางานได้ไปซื้อนาฬิกาข้อมือหนึ่งเรือนราคาสามหมื่นบาท และซื้อแหวนเพชรหนึ่งวงราคาสองหมื่นบาทมาฝากน้องสาว และได้เดินทางกลับมาประเทศไทย ในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 พร้อมทั้งนําเงินกลับมาด้วยจํานวนสี่แสนบาท ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายแดงจะต้องนําเงินพร้อมทั้งทรัพย์สินที่ซื้อมาดังกล่าวข้างต้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด และเงินที่ส่งมาให้นางสุขใจมารดา นางสุขใจจะต้อง นํามาเสียภาษีเงินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปี 2554 นายแดงได้อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม และได้เดินทางไปทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 1 สิงหาคมนั้น เมื่อนายแดงได้อยู่ในประเทศไทย เป็นระยะเวลาทั้งหมดไม่น้อยกว่า 180 วัน จึงถือว่านายแดงเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสาม

เงินจํานวน 400,000 บาท รวมทั้งนาฬิกาและแหวนเพชรที่นายแดงนํากลับเข้ามาในประเทศไทย นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เพราะนาฬิกาและแหวนเพชรเป็นทรัพย์สินที่สามารถ คิดคํานวณได้เป็นเงิน และเมื่อเงินและทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่นายแดงได้รับเนื่องจากหน้าที่ งานที่ทําในต่างประเทศ เมื่อนายแดงได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็น ปีเดียวกันกับที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้นนายแดงจะต้องนําเงินพร้อมทั้งทรัพย์สินที่ซื้อมาดังกล่าวข้างต้นมาเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร (ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสอง)

ส่วนเงินที่นายแดงส่งมาให้นางสุขใจมารดาเดือนละ 20,000 บาทนั้น นางสุขใจไม่ต้องนํามา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)

สรุป นายแดงจะต้องนําเงินพร้อมทั้งทรัพย์สินที่ซื้อมาดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสอง ส่วนนางสุขใจไม่ต้องนําเงินที่นายแดงส่งมาให้เดือนละ 20,000 บาท มาเสียภาษีเงินได้ เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)

 

ข้อ 2 นายสมชายและนางสมหญิงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองมีบุตรที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูด้วยกันหนึ่งคนคือเด็กชายสมศักดิ์อายุ 10 ปี กําลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ในปีภาษี 2555 นายสมชายมีบ้านให้เช่าหกหลัง มีรายได้จากการเก็บค่าเช่าบ้านเดือนละ 60,000 บาท เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555 นายสมชายประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย หลังจาก นายสมชายตายแล้ว นางสมหญิงซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังได้เก็บเงินค่าเช่าบ้านเข้ากองมรดกของ นายสมชายโดยยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้จากค่าเช่าบ้านของนายสมชาย จะต้องนํามาเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร และจะนํานางสมหญิงและเด็กชายสมศักดิ์มาหักลดหย่อนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือ เงินได้ประเภทต่อไปนี้รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน”

มาตรา 41 วรรคแรก “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจาก หน้าที่งานหรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์ใน ที่อยู่ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ”

มาตรา 47(4) “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(4) ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย”

มาตรา 56 วรรคแรก “ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาพร้อมทั้ง ข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง”

มาตรา 57 ทวิ วรรคแรก “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคแรก ถึงแก่ความตาย เสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน และโดยเฉพาะในการยื่นรายการเงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้ พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่ จะต้องยื่นทั้งสิ้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปีภาษี 2555 นายสมชายเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการให้เช่าทรัพย์สิน คือบ้าน 6 หลังตามมาตรา 40(5ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น นายสมชายจึงมีหน้าที่ต้องนําเงินค่าเช่าบ้านที่ ได้รับมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยตาม มาตรา 41 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตามมาตรา 56 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

แต่เมื่อปรากฏว่า นายสมชายได้ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี และนางสมหญิงซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังได้เก็บเงินค่าเช่าบ้านเข้ากองมรดกของนายสมชายโดยยังไม่ได้แบ่งให้แก่ ทายาท ดังนั้นตามมาตรา 57 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ ดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของนางสมหญิงผู้จัดการมรดกที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แทนนายสมชายผู้ตาย โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากค่าเช่าทั้งหมดที่นายสมชายผู้ตายได้รับ ทั้งก่อนตายและของกองมรดกตลอดปีภาษี 2555 นั้น ภายในเดือนมีนาคม 2556

และในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีดังกล่าวนั้น ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย ในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย (มาตรา 47(4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นจึงสามารถนํานางสมหญิงและเด็กชายสมศักดิ์มาหักลดหย่อนได้เสมือนนายสมชาย ยังมีชีวิตอยู่

สรุป เงินได้จากค่าเช่าบ้านของนายสมชายจะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้ นางสมหญิงผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นภาษีแทน และสามารถนํานางสมหญิงและเด็กชายสมศักดิ์มาหักลดหย่อนได้

 

ข้อ 3 ในรอบระยะเวลาบัญชี 2554 บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ และได้ไปเปิดสาขา (Branch) จําหน่ายตั๋วในหลาย ๆ ประเทศ บริษัทฯ มีเครื่องบินจํานวน 60 ลํา ปรากฏว่า บริษัทฯ มีรายได้จากการขายตั๋วเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศแถบยุโรป และตะวันออกกลาง จํานวน 500 ล้านบาท และรายได้จากการขายตัวในสาขาต่าง ๆ ที่ต่างประเทศ เพื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จํานวน 800 ล้านบาท จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามการบินระหว่าง ประเทศ จํากัด (มหาชน) ต้องมีภาระเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ทั้งหมด ดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี…”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมดมา เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าบริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะประกอบ กิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก คือจะต้องนํารายได้จากการขายตัวในประเทศไทย จํานวน 500 ล้านบาท และในต่างประเทศจํานวน 800 ล้านบาท รวมเป็นเงิน : 1,300 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

สรุป บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะต้องนํารายได้ทั้งหมดจํานวน 1,300 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร S/2554

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

นักศึกษาที่ลงทะเบียนกระบวนวิชา LA 401 (รหัส 52 เป็นต้นไป) ให้ทําข้อ 1 – 3

นักศึกษาที่ลงทะเบียนกระบวนวิชา LW 406 (รหัส 51. ลงไป) ให้ทําข้อ 1 – 4

ข้อ 1 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 นายเอกราช ผู้มีเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทย ได้เดินทางไปทํางานเป็นวิศวกรที่ปรึกษาด้านเครื่องกลให้กับบริษัทแห่งหนึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับค่าตอบแทนจํานวน 2 ล้านบาท และได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยกับนางเฮเลนสัญชาติอเมริกัน โดยซื้อบ้านอยู่อาศัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นายเอกราช ได้โอนเงินจํานวน 2 ล้านบาทดังกล่าว เข้ามาฝากไว้กับธนาคารฯ ในประเทศไทย จงวินิจฉัยว่า เงินจํานวน 2 ล้านบาท ของนายเอกราชที่โอนเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจาก หน้าที่งานหรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตาม บทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศ หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปี ภาษีเดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ เงินจํานวน 2 ล้านบาทที่นายเอกราชได้รับจากการทํางานเป็นวิศวกรที่ปรึกษา ด้านเครื่องกลให้กับบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทํา ในต่างประเทศ จึงถือว่าเป็นกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศมิได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นนายเอกราช จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก

และเงินได้จํานวน 2 ล้านบาทดังกล่าวที่นายเอกราชได้โอนเข้ามาฝากไว้กับธนาคารฯ ใน ประเทศไทยนั้น แม้จะถือว่านายเอกราชได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย แต่เมื่อนายเอกราชมิได้เป็นผู้อยู่ ในประเทศไทย เพราะนายเอกราชไม่ได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้นนายเอกราชจึงไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

เงินจํานวน 2 ล้านบาท ของนายเอกราชที่โอนเข้ามานั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 ดังเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

 

ข้อ 2. ในปีภาษี 2554 นายดําอายุ 25 ปี เป็นคนโสด แต่มีความขยันในการประกอบอาชีพหลายประเภทดังนี้

1 เป็นนายหน้าขายที่ดิน ได้รับค่านายหน้า จํานวน 5 ล้านบาท

2 เขียนหนังสือเทคนิคการเป็นนายหน้า ได้รับค่าลิขสิทธิ์ จํานวน 2 แสนบาท

3 มีอาคารชุดย่านศูนย์การค้าให้เช่า ได้รับค่าเช่าตลอดทั้งปี จํานวน 3 แสนบาท

4 เปิดร้านมินิมาร์ทขายของอุปโภค/บริโภคได้รับเงินตลอดทั้งปี จํานวน 2 ล้านบาท

จงวินิจฉัยว่า

(1) ในปีภาษี 2554 นายดํามีเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้างตามประมวลรัษฎากร และ

(2) นายดํามีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 จากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวในประเภทใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ 3 คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจําหรือชั่วคราว

(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปี อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคําพิพากษาของศาล

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 56 ทวิ วรรคแรก “เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกําหนดเวลาตามมาตรา 56 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ และมาตรา 57 ตรี ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดี กําหนด แสดงรายการเงินได้เฉพาะตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี”

วินิจฉัย

(1) เงินได้พึงประเมินที่นายดําได้รับในปีภาษี 2554 ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทดังต่อไปนี้

1 ค่านายหน้าขายที่ดิน จํานวน 5 ล้านบาท ถือเป็นเงินได้จากการรับทํางานให้ จึง เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

2 เงินได้จากค่าแห่งลิขสิทธิ์ จากการเขียนหนังสือเทคนิคการเป็นนายหน้า จํานวน 2 แสนบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร

3 เงินได้จากการให้เช่าอาคารชุดฯ จํานวน 3 แสนบาท เป็นเงินได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร

4 เงินได้จากการเปิดร้านมินิมาร์ทขายของอุปโภค/บริโภคจํานวน 2 ล้านบาท ถือเป็น เงินได้พึงประเมินจากการธุรกิจ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 ทวิ วรรคแรก ได้กําหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) จะต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี

ดังนั้นตามอุทาหรณ์ นายดํามีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภายในเดือนกันยายน 2554 จากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(ก) และมาตรา 40(8) ได้แก่ เงินได้ จากการให้เช่าอาคารชุดฯ จํานวน 3 แสนบาท และเงินได้จากการเปิดร้านมินิมาร์ทขายของอุปโภค/บริโภคจํานวน 2 ล้านบาท ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

 

ข้อ 3. บริษัท สายการบินสยาม จํากัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้ประกอบธุรกิจเฉพาะการขนส่งสินค้าเข้าและออกจากประเทศไทย ปรากฎว่าในรอบระยะเวลาบัญชี 2554 มีรายได้ จากการขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์ จํานวน 100 ล้านบาท และจาก ประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทย จํานวน 200 ล้านบาท

จงวินิจฉัยว่า บริษัท สายการบินสยาม จํากัด

ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ไม่ว่าบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะกระทํากิจการในประเทศไทยหรือไม่ และไม่ว่ารายได้นั้นจะได้รับในประเทศไทย หรือไม่

ตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท สายการบินสยาม จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้จดทะเบียนตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี 2554 จากการขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังประเทศ สิงคโปร์จํานวน 100 ล้านบาท และจากประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 200 ล้านบาท นั้น บริษัท สายการบินสยาม จํากัด จะต้องนํารายได้ทั้งหมดจํานวน 300 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 65 วรรคแรก

สรุป

บริษัท สายการบินสยาม จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร จากรายได้ทั้งหมดจํานวน 300 ล้านบาท

 

ข้อ 4. บริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศเยอรมนี ไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทย ประกอบธุรกิจด้านการผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ปรากฏว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2554 บริษัท ไทยคอม จํากัด ได้ตกลงทําสัญญาซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในราคา 200 ล้านบาท โดยเซ็นสัญญาซื้อขายกันที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น บริษัท ไทยคอม จํากัด จะโอนเงินผ่านบัญชีจากประเทศไทยไปให้ที่ประเทศเยอรมนี จงวินิจฉัยว่า บริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 70 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือ ในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จาย ตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มา บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็น ตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไรที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีสาขาใน ประเทศไทย หากมีลักษณะตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก กําหนดไว้ให้ถือว่าบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2 มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทย

3 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกําไรในประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ของประเทศเยอรมนี และไม่มีสาขาหรือกิจการใด ๆ ในประเทศไทยได้ตกลงทําสัญญาขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ราคา 200 ล้านบาท ให้แก่บริษัท ไทยคอม จํากัด โดยได้ทําการเซ็นสัญญาซื้อขายกันที่ประเทศอังกฤษนั้น กรณี ดังกล่าวไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 76 ทวิ เพราะแม้ว่าเงินจํานวน 200 ล้านบาทนั้น จะได้จ่ายจากหรือใน ประเทศไทย แต่เมื่อไม่ถือว่าบริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด ประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากไม่ได้มี ลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทยอีกทั้งสัญญาซื้อขายก็มิได้ทําในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก

และเงินได้จากการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จํานวน 200 ล้านบาทนั้น เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) เพราะเป็นเงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคแรก ซึ่งกําหนดให้บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ ประเทศไทย ดังนั้นบริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคแรก

สรุป

บริษัท ยูโรคอมพิวเตอร์ จํากัด ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ของประเทศไทย ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่เรียกว่า “จารีตประเพณีระหว่างประเทศ” ให้เข้าใจและยกตัวอย่างประกอบด้วย และมีความแตกต่างจาก “ความเห็นของนักนิติศาสตร์” ในประเด็น สําคัญอย่างไร

ธงคําตอบ

“จารีตประเพณีระหว่างประเทศ” เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ การก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1 การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง เป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็นระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

2 การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือองค์การ ระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่า เป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่จารีตประเพณี ระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

เมื่อจารีตประเพณีใดประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จารีตประเพณีนั้นก็จะเป็นที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ และจะมีลักษณะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศย่อมถือว่าประเทศนั้นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

สําหรับจารีตประเพณีระหว่างประเทศตามนัยของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีบัญญัติไว้ใน มาตรา 38 วรรคหนึ่งแห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่า “จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะเป็น หลักฐานแห่งการปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นกฎหมาย” ซึ่งจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่รัฐทั่วไป ยอมรับและปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน ได้แก่ ทะเลอาณาเขตหรือความคุ้มกันทางการทูต เป็นต้น

จารีตประเพณีระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างกับ “ความเห็นของนักนิติศาสตร์” ในประเด็น ที่สําคัญคือ จารีตประเพณีระหว่างประเทศถือเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศประการหนึ่ง แต่ความเห็น หรือคําสอนของนักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแท้จริง แต่ความเห็นของนักกฎหมายระหว่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิและมีชื่อเสียง จะเป็นเครื่องช่วยให้ศาลสามารถวินิจฉัย หลักกฎหมายและความเห็นที่หลากหลายอาจทําให้ได้ข้อยุติร่วมกัน และพัฒนามาเป็นหลักเกณฑ์ของกฎหมายได้

 

ข้อ 2. สนธิสัญญามีขั้นตอนในการจัดทําอย่างไร ขั้นตอนใดที่จะทําให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ และกรณีใดบ้างที่จะทําให้สนธิสัญญานี้สิ้นสุดการบังคับใช้ อธิบายอย่างน้อย 3 กรณีประกอบด้วย

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของ แต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณี ผู้มีอํานาจในการเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทนเข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบ ให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ ที่ประชุมจะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดในสนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมี การจัดทําสัตยาบันสาร (Instrument (of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะ ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะ ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญา จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์ เช่นเดียวกัน

และขั้นตอนที่ทําให้สนธิสัญญามีผลสมบูรณ์บังคับใช้กับภาคีสมาชิกคือขั้นตอนการให้สัตยาบัน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องนําสนธิสัญญานั้นไปจดทะเบียนต่อสหประชาชาติด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้ว ภาคีสมาชิกจะนํา สนธิสัญญาดังกล่าวมาฟ้องหรือมาอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ หรือต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อบังคับให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้นไม่ได้

กรณีที่ทําให้สนธิสัญญาสิ้นสุดการบังคับใช้

สนธิสัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เมื่อได้ปฏิบัติไปตามนั้นแล้วสนธิสัญญา ก็ถือว่าสิ้นสุดลง เช่น การยกดินแดนให้แก่อีกรัฐหนึ่ง เป็นต้น แต่สําหรับสนธิสัญญาที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งเป็นประจํานั้นอาจสิ้นสุดการบังคับใช้ หรือไม่สามารถบังคับใช้ได้อีกต่อไป มีได้ในกรณีดังต่อไปนี้คือ

1 ในสนธิสัญญานั้นได้กําหนดวาระสิ้นสุดเอาไว้ กล่าวคือได้มีการกําหนดเอาไว้แน่นอนใน สนธิสัญญาว่าให้มีผลสิ้นสุดลงเมื่อใด ซึ่งเมื่อครบเวลาที่กําหนดไว้เมื่อใดก็ถือว่าสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ หรือในกรณี ที่รัฐคู่สัญญาเห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถทําการตกลงยกเลิกสนธิสัญญานั้นได้ แม้ว่าระยะเวลาในการบังคับใช้จะยัง ไม่สิ้นสุดลงก็ตาม

2 เมื่อรัฐภาคีเดิมได้ทําสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาในเรื่องเดียวกันนั้น ซึ่งจะมีผลทําให้สนธิสัญญา เดิมนั้นสิ้นสุดการใช้บังคับโดยปริยาย

3 สนธิสัญญาที่ให้สิทธิแก่รัฐหนึ่งรัฐใดบอกเลิกฝ่ายเดียวได้ ซึ่งในกรณีที่เป็นสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) เมื่อรัฐหนึ่งรัฐใดใช้สิทธิบอกเลิกแล้วสนธิสัญญานั้นก็สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกรัฐหนึ่ง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสนธิสัญญานั้นได้กําหนดว่าให้บอกเลิกได้ และจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่สนธิสัญญานั้น ได้กําหนดไว้ด้วย

แต่ถ้าเป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี) การใช้สิทธิบอกเล็กนั้นให้ถือว่าเป็นเพียงการถอนตัวของรัฐที่บอกเล็กเท่านั้น ไม่ทําให้สนธิสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงแต่อย่างใด

4 เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีการละเมิดสนธิสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกได้

5 เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น มีการทําสงครามกันระหว่างรัฐคู่สัญญา เป็นต้น

6 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอํานาจอธิปไตยของรัฐคู่สัญญา ซึ่งมีผลทําให้สนธิสัญญาที่มีระหว่างกันสิ้นสุดลง

7 สนธิสัญญาที่ทําขึ้นนั้นขัดต่อหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ กล่าวคือ ถ้าได้เกิดมีหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ หากสนธิสัญญาที่ได้ทําขึ้นมา ก่อนหน้านั้นมีข้อความขัดกับหลักเกณฑ์บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ สนธิสัญญานั้น ย่อมสิ้นสุดลง ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป

 

ข้อ 3 จงอธิบายหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานะความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยสังเขป และนํามาวิเคราะห์สถานะของเกาะเหล่านี้คือ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ว่ามีความเป็นรัฐหรือไม่ ด้วยเหตุผลใด

ธงคําตอบ

สภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะเริ่มเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบของ ความเป็นรัฐครบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้นรวมทั้งพื้นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไม่จําเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็นดินแดนโพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อยเพียงใดไม่ใช่ข้อสําคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมั่นคงถาวร และกําหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2 ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมายระหว่าง ประเทศก็ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีจํานวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจํานวนมากพอสมควรที่จะสามารถ ดํารงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จําเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมีเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3 รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรมาทําการบริหารงาน ทั้งภายในและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษาความสงบ เรียบร้อยในดินแดนของตน ดําเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษาสิทธิผลประโยชน์ ของประชาชน

4 อํานาจอธิปไตย (หรือเอกราชอธิปไตย) กล่าวคือ รัฐสามารถที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้ อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อํานาจอิสระภายใน หมายถึง อํานาจของรัฐในการจัดกิจการภายในประเทศ ได้อย่างอิสรเสรีแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอํานาจอิสระภายนอก หมายถึง อํานาจของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น และได้รับการปฏิบัติ อย่างเสมอภาคกับรัฐอื่น

และเมื่อมีสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพราะมีองค์ประกอบที่สําคัญครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเป็นรัฐจะเป็นที่รับรู้ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรอง สภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับรอง ความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกําเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบ ของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและมีสภาพบุคคล ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สําคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้

2 ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิดสภาพของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะไม่มีการรับรอง จากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้นถือว่า เป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง (ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

สําหรับสถานะของ “ไต้หวัน” และ “สิงคโปร์” นั้น ถือว่ามีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ เพราะมีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบที่สําคัญครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น คือมีดินแดนและมีประชากร ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีรัฐบาลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรทําการบริหารงานทั้งภายในและ ภายนอกรัฐ และที่สําคัญคือการมีอํานาจอธิปไตย ในอันที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อาทิเช่น มีอํานาจในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก และ มีอํานาจในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น เป็นต้น

และเช่นเดียวกันเมื่อถือว่า “ไต้หวัน” และ “สิงคโปร์” มีสถานะเป็นรัฐและมีสภาพบุคคลตาม กฎหมายระหว่างประเทศแล้ว การมีฐานะเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” และ “สิงคโปร์” จะเป็นที่รับรู้หรือเป็นที่ยอมรับ ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไป ทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าความเป็นรัฐของไต้หวันนั้นยังมีสถานะไม่ค่อยมั่นคง ทั้งนี้เพราะสังคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยยังไม่ยอมรับความเป็นรัฐของไต้หวัน ซึ่งจะแตกต่างจาก สิงคโปร์ที่สังคมระหว่างประเทศได้ให้การยอมรับโดยทั่วไป ทําให้สิงคโปร์เป็นรัฐที่สมบูรณ์

ส่วนกรณีของ “ฮ่องกง” นั้น มีองค์ประกอบของความเป็นรัฐดังกล่าวข้างต้นไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอํานาจอธิปไตย เพราะฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของจีน และเป็น ดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้น ดังนั้น ฮ่องกงจึงไม่มีสถานะของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ข้อ 4. จงอธิบายกระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Reprisal” อย่างละเอียดและวิธีการนี้มีความแตกต่างจากวิธีการ “Retorsion” ในประเด็นสําคัญอย่างไร ยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นความแตกต่างด้วย

ธงคําตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า รีไพรซัล (Reprisals) และรีทอร์ชั่น (Retorsion) ต่างก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงคราม เพียงแต่จะมีลักษณะ ที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ

รีไพรซัล (Reprisals) เป็นมาตรการตอบโต้การกระทําอันละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้รัฐนั้นเคารพในสิทธิของตนและรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรการตอบโต้นั้น เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศเช่นกัน แต่เป็นการกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

 

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็นผล ค่อยนํามาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1 การกระทํานั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2 ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น

3 รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4 มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทําในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทําหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทําต่อบุคคล หรือทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทําผิดและต้องทําโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีไพรซัล (Reprisals) ได้แก่ การที่ประเทศหนึ่งได้กักเรือสินค้าของ อีกประเทศหนึ่งที่ตนคาดว่าจะทําสงครามที่อยู่ในท่าก่อนเกิดสงครามเพื่อจะยึดมาใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดสงครามขึ้น หรือการปิดอ่าวในเวลาสงบโดยที่รัฐหนึ่งกระทําต่ออีกรัฐหนึ่งเพื่อบีบบังคับให้รัฐที่ถูกปิดอ่าวทําตามข้อเรียกร้อง ของตน เป็นต้น

ส่วนรีทอร์ชั่น (Retorsion) เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้น โดยไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือการลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของ พลเมืองของประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อ รัฐบาลไม่พอใจในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่นกระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่ รัฐนั้นถูกกระทําหรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีทอร์ชั่น (Retorsion) ได้แก่ การที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่อนุญาตให้คนไทยเข้าไปทํางานในประเทศของตน ซึ่งถือเป็นมาตรการตอบโต้เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ประเทศไทย และเป็นการกระทําที่ไม่ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 โปรดจงอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และลําดับศักดิ์ของกฎหมายระหว่างประเทศว่าเป็นอย่างไร

ธงคําตอบ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แก่

1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งวางหลักอันเป็นที่ยอมรับของรัฐ

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติที่ได้การยอมรับว่าเป็นกฎหมาย

3 หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาติอารยะ

4 คําพิพากษาของศาล และคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุด ในฐานะที่เป็นแนวทางเสริมในการกําหนดหลักกฎหมาย

ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่มีความสําคัญเท่าเทียมกันโดยไม่มีการจัดลําดับศักดิ์ไว้แต่อย่างใด เพราะถือว่าต่างก็เป็นบ่อเกิดลําดับหลักที่กําหนดที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศและตามธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1945 ก็ได้กําหนดไว้ว่า ให้ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาล ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ส่วนคําพิพากษาของศาลและคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุดนั้น เป็นเพียงแนวทางเสริมที่เป็น เครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย เละถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายในลําดับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษากรณีพิพาทโดยใช้หลักต่าง ๆ อันถือว่าเป็นที่มา หรือบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอํานาจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยอาศัย หลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

อนึ่ง ลําดับศักดิ์ของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น มีข้อยกเว้น 2 ประการ คือ

1 จะสร้างหลักกฎหมายระหว่างประเทศมาขัดแย้งกับ Just Cogent ไม่ได้ (Just Cogent เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะพิเศษกว่าหลักกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ เป็น หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะละเมิดไม่ได้ เช่น หลักการห้ามการใช้กําลังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลักการ ห้ามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลักการห้ามการค้าทาส เป็นต้น)

2 ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 103 ของกฎบัตรสหประชาชาติ “ในกรณีแห่งการขัดแย้งระหว่าง ข้อผูกพันของสมาชิกสหประชาชาติตามกฏบัตรฉบับปัจจุบัน และตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างประเทศ อื่นใด ข้อผูกพันตามกฎบัตรฉบับปัจจุบันจักต้องใช้บังคับ” จึงทําให้ไม่สามารถมีพันธกรณีทางกฎหมายใดจะ เหนือกว่าพันธกรณีตามกฎบัตรสหประชาชาติได้

 

ข้อ 2 จงอธิบายขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 นอกจากนี้หากไม่ได้นําสนธิสัญญาที่มีผลใช้บังคับแล้วไปจดทะเบียนสนธิสัญญา จะมีผลอย่างไร ต่อองค์กรภายใต้สหประชาชาติ และผลต่อคู่สัญญาด้วยกันเอง

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอนการ จัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละ ประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันในหลักการ และข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญามีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดในสนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทํา เมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในรายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการ จัดทําสัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนาม โดยรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติ ตามข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้นไป ชุดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 80 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนสนธิสัญญาไว้ว่า หลังจาก สนธิสัญญาเริ่มมีผลใช้บังคับแล้ว สนธิสัญญาจะต้องถูกจัดส่งไปยังสํานักเลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติเพื่อ ดําเนินการจดทะเบียน จัดเก็บ บันทึก และจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

ส่วนผลของสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้จดทะเบียนไว้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญา หรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติได้ (มาตรา 102 วรรคสองแห่งกฎบัตร สหประชาชาติ) แต่ผลบังคับระหว่างคู่สัญญายังมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ ไม่ตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะแต่อย่างใด ตามหลัก Pacta Sunt servanda

 

ข้อ 3. ประเทศไทยกําลังที่จะมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในเดือนมีนาคมศกหน้านี้หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มานานกว่า 4 ปี ดังนั้นรัฐบาลไทยที่จะมาทําหน้าที่แทน คสช. ตามข้อเท็จจริงนี้จะมีหลักเกณฑ์ใดของกฎหมาย ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง ให้นักศึกษาอธิบายให้ชัดเจน และวิเคราะห์ว่ารัฐบาลนี้ จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่นหรือไม่

ธงคําตอบ

หากมีเหตุการณ์ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แทนรัฐบาลเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ การปฏิวัติ หรือวิธีอื่นใดก็ตาม จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีไม่จําเป็นต้องรับรอง คือ กรณีที่รัฐบาลใหม่ได้ขึ้นมาบริหารประเทศตามกระบวนการ ตามปกติวิสัยหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือโดย วิธีการอื่น ๆ ก็ตาม ก็ไม่จําเป็นต้องรับรองรัฐบาลชุดใหม่นี้ เพราะถือว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว

2 กรณีที่จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

(1) กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย คือ เป็นกรณีที่มี คณะบุคคลขึ้นครองอํานาจโดยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ซึ่งโดยปกติที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ คือ การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการได้อํานาจโดยการใช้กําลังบังคับ

(2) กรณีที่มีการตั้งรัฐบาลขึ้นมีอํานาจปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐ โดยการแย่งอํานาจปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ทําให้มี 2 รัฐบาลในรัฐเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในกรณีดังกล่าว เรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัย จึงสมควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่น

การตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรองหรือไม่ และอาจจะรับรองโดยมีเงื่อนไขก็ได้ การรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึง สถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ

สําหรับแนวคิดในการพิจารณาเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลใหม่นี้ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ

1 ทฤษฎี Tobar เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงความชอบธรรมของรัฐบาล ที่ขึ้นมามีอํานาจปกครองประเทศว่าเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นความคิดที่พยายาม จะป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยในลาตินอเมริกา ซึ่ง Tobar รัฐมนตรีต่างประเทศเอกวาดอร์ เห็นว่า รัฐไม่ควรรับรองรัฐบาลที่ได้อํานาจมาโดยการปฏิวัติรัฐประหาร เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลใหม่จะทําให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความยินยอมจากสภาที่มาจากการเลือกตั้งเสียก่อน

ทฤษฎี Tobar ใช้เฉพาะในทวีปอเมริกาเท่านั้น ประเทศในยุโรปไม่ยอมรับนับถือปฏิบัติ โดยหลักการแล้วทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะการรับรองรัฐบาลใหม่ก็เหมือนกับการรับรองรัฐ ซึ่ง เป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศสภาพของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วเท่านั้น และการปฏิเสธการรับรองรัฐบาลโดยอ้างว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ดังนั้นทฤษฎี Tobar จึงไม่ได้รับการ ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา

2 ทฤษฎี Estrada เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้นว่า มีอํานาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถเซ่นว่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลโดยสมบูรณ์ได้ โดยมิต้องไปพิจารณาถึง ความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาล เพราะเป็นกิจการภายในของรัฐนั้น รัฐอื่นไม่มีหน้าที่ไปพิจารณา รัฐทุกรัฐ ย่อมมีอํานาจอธิปไตยของตนเอง ซึ่งสังคม ระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้ยึดถือตามทฤษฎี Estrada นี้ เช่น การรับรอง รัฐบาลทหารของประเทศพม่า หรือการรับรองรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารของประเทศไทย เป็นต้น

รูปแบบของการรับรองรัฐบาล

การรับรองรัฐบาล อาจจําแนกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การรับรองโดยชัดแจ้ง (โดยนิตินัย) และการ รับรองโดยปริยาย (โดยพฤตินัย)

1 การรับรองโดยชัดแจ้ง (โดยนิตินัย) อาจจะกระทําโดยการให้การรับรองรัฐบาลใหม่เป็น ลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจา โดยผ่านผู้แทนของรัฐหรือประมุขของรัฐ หรืออาจจะทําได้โดยการประกาศทาง สื่อมวลชน โดยวิธีการทางการทูต โดยคําแถลงการณ์ หรือโดยหนังสือตราสาร เป็นต้น

2 การรับรองโดยปริยาย (โดยพฤตินัย) ได้แก่ การกระทําใด ๆ ซึ่งถือว่าผู้ให้การรับรอง ประสงค์จะยอมรับสถานะของผู้ซึ่งได้รับการรับรอง เช่น การเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูต โดยการตั้งทูตไปประจํา หรือแลกเปลี่ยนทูตซึ่งกันและกัน หรือไม่เรียกทูตของตนกลับเมื่อมีรัฐบาลใหม่ เป็นต้น หรือการทําสนธิสัญญา ทวิภาคีกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการรับรองรัฐบาลใหม่โดยปริยายเช่นเดียวกัน

สําหรับกรณีของประเทศไทยซึ่งกําลังจะมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในเดือนมีนาคม ศกหน้านี้นั้น รัฐบาลเทยที่กําลังจะมาทําหน้าที่แทน คสช. ถือว่าเป็นรัฐบาลที่ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางที่ กฎหมายได้กําหนดไว้ จึงไม่จําเป็นต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่นตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ

เพราะแม้จะไม่มีการรับรองรัฐบาลใหม่ก็ถือว่ารัฐบาลใหม่ดังกล่าวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ จึงสามารถปฏิบัติพันธกรณีระหว่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

 

ข้อ 4. ภายใต้หลักกฎหมายของกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Carter) โปรดจงอธิบายว่าเหตุใดในฐานะรัฐสมาชิก (Member State) ของสหประชาชาติ จึงต้องระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธี และมีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

เหตุที่รัฐสมาชิกของสหประชาชาติจะต้องระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีนั้นเป็นไปตาม หลักการที่ว่ารัฐทั้งหลายมีพันธกรณีที่จะต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธี ซึ่งหลักการดังกล่าวได้ยืนยัน ไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 2 (3) ว่า “รัฐสมาชิกทั้งปวงจะต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตนโดย สันติวิธี ในลักษณะการเช่นที่จะไม่เป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และความยุติธรรม”

นอกจากนั้นมาตรา 33 (1) ยังระบุไว้ว่า “ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดําเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไข โดยการเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้า อาศัยทบวงการตัวแทน หรือการตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก”

และมาตรา 51 ระบุว่า “ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันอันจักรอนสิทธิประจําตัวในการ ป้องกันตนเองโดยลําพังตน หรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกําลังอาวุธยังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง ประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดําเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคง ทราบโดยทันที และจักต้องไม่กระทบกระเทือนอํานาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้ กฎบัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดําเนินการเช่นที่เห็นจําเป็น เพื่อธํารงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศในขณะหนึ่งขณะใด”

หมวด 7 การดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน ในฐานะรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ จึงมีพันธกรณีต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งระบุให้รัฐสมาชิกต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตนโดยสันติวิธี ในลักษณะการเช่นที่จะไม่เป็นอันตราย แก่สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และความยุติธรรม ตามกฎหมายตามกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 2 (3) ซึ่งกลไกการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีนั้นแม้ไม่ได้ระบุในมาตรา 2 (3) ก็ตาม หากแต่ระบุในมาตรา 33 (1) คือ การเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้า อาศัยทบวงการตัวแทน หรือการตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก

ส่วนข้อยกเว้น สําหรับการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตนโดยสันติวิธี มี 2 ประการ คือ

1 การใช้สิทธิป้องกันตนเอง ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ตามที่ ปรากฏในมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ

2 การใช้มาตรการรักษาสันติภาพร่วมกัน (Collective Self-defense) ภายใต้กองกําลัง รักษาสันติภาพ ตามหมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญาโดยสังเขป และขั้นตอนใดสนธิสัญญาจึงจะมีผลบังคับใช้และจะต้องดําเนินการอย่างไร นอกจากนี้หากรัฐใดไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทําสนธิสัญญาจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญานั้นได้อย่างไรหรือไม่ และด้วยวิธีการใด

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดใน สนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน แรก รายการอาหารและขั้นตอนที่ทําให้สนธิสัญญามีผลสมบูรณ์บังคับใช้กับภาคีสมาชิกคือขั้นตอนการให้ สัตยาบัน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องนําสนธิสัญญานั้นไปจดทะเบียนต่อสหประชาชาติด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้ว ภาคี สมาชิกจะนําสนธิสัญญาดังกล่าวมาฟ้องหรือมาอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ หรือต่อศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศเพื่อบังคับให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้นไม่ได้

และการที่รัฐใดไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการจัดทําสนธิสัญญากับรัฐอื่น สามารถ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานั้นได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1 การลงนามภายหลัง (Deferred Signature) เป็นกรณีที่รัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การทําสนธิสัญญานั้นแต่แรก แต่เข้ามามีส่วนในขั้นตอนหลังจากการเจรจาผ่านไปแล้วและอยู่ในระยะของขั้นตอนที่ 2 คือการลงนาม การลงนามภายหลังนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเข้าร่วม แต่ต่างกันตรงที่การเข้าร่วมนั้นจะมีผลผูกพัน นับแต่มีการปฏิญญาขอเข้าร่วมในสนธิสัญญา ส่วนการลงนามภายหลังนี้รัฐที่ลงนามภายหลังยังไม่มีพันธกรณี ตามสนธิสัญญา เพราะจะต้องให้สัตยาบันก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาคีสนธิสัญญาและมีผลผูกพันรัฐนั้น

2 ภาคยานุวัติหรือการเข้าร่วม (Adhesion) คือ การที่รัฐหนึ่งรัฐใดไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการทําสนธิสัญญาตั้งแต่แรก แต่เมื่อสนธิสัญญาผ่านขั้นตอนการลงนามจนมีผลใช้บังคับ และมิได้ระบุห้ามการ ภาคยานุวัติไว้ รัฐนั้นก็อาจเข้าไปร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานั้นในภายหลังหลังจากระยะเวลาการลงนามได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยยอมรับผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสนธิสัญญา ซึ่งมีผลผูกพันนับแต่วันทําภาคยานุวัติ ไม่มีผลย้อนหลัง แต่อย่างใด

อนึ่งอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 ได้กําหนดว่า ความยินยอมของรัฐที่จะรับ พันธกรณีตามสนธิสัญญาด้วยการทําภาคยานุวัติ จะทําได้ในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

1) สนธิสัญญานั้นกําหนดไว้โดยตรงให้มีการทําภาคยานุวัติได้

2) ทุกรัฐที่เป็นภาคีของสนธิสัญญานั้นตกลงให้มีการภาคยานุวัติได้

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงทฤษฎีซึ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในให้ชัดเจน และประเทศไทยยึดถือแนวทางของทฤษฎีใด ด้วยการดําเนินการอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ธงคําตอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในประกอบไปด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฎี

1 ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีนี้ถือว่ากฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นกฎหมายคนละระบบแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด แตกต่างกันทั้งที่มา การบังคับใช้ และความผูกพัน ในการนี้ถ้ากฎหมายภายในขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ยังถือว่า กฎหมายภายในสมบูรณ์อยู่ใช้บังคับได้ภายในรัฐ แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายภายในดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อรัฐอื่น รัฐนั้นในฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย นอกจากนี้ รัฐที่นิยมในทฤษฎีดังกล่าว เมื่อเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศ มาใช้บังคับภายในประเทศ จะนํามาใช้บังคับเลยไม่ได้ จะต้องนํากฎหมายนั้นมาแปลงให้เป็นกฎหมายภายใน เสียก่อน เช่น ออกประกาศ หรือ พ.ร.บ. รองรับ เป็นต้น

2 ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) อธิบายว่า กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ไม่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์ เดียวกัน คือ เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในหรือระหว่างประเทศ แต่ก็เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่า ดังนั้นรัฐที่นิยมทฤษฎีนี้จึงไม่ต้องทําการแปลงรูปกฎหมาย ระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลเป็นกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ เพราะกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

สําหรับประเทศไทยยึดถือปฏิบัติตามแนวทาง “ทฤษฎีทวินิยม หรือ Dualism” ซึ่งเห็นว่า กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกัน และเป็นอิสระจากกันและกัน ดังนั้นจึงไม่อาจ ที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ภายในประเทศได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนหรือ แปลงรูปกฎหมายนั้นให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อนจึงจะสามารถนํามาบังคับใช้ได้ เช่น พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ และ พ.ร.บ. สิทธิบัตร เป็นต้น

 

ข้อ 3 หากมีผู้มาขอความรู้จากท่านเกี่ยวกับความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐจีน (The Republic of China) ท่านจะนําหลักเกณฑ์ใดมาอธิบายให้ท่านผู้นี้เข้าใจ อย่างชัดเจน และท่านจะสรุปให้ผู้มาขอความรู้จากท่านว่าไต้หวันมีสถานะของความเป็นรัฐหรือไม่ แตกต่างจากกรณีของฮ่องกง (Hong Kong) อย่างไร

ธงคําตอบ

1 หากมีผู้มาขอความรู้จากข้าพเจ้าเกี่ยวกับสถานะของความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” และกับ กรณีของฮ่องกง ข้าพเจ้าจะให้คําอธิบายแก่บุคคลดังกล่าว ดังนี้ คือ

สภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะเริ่มเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบ ของความเป็นรัฐครบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้น รวมทั้งพื้นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไม่จําเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็น ดินแดนโพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อย เพียงใดไม่ใช่ข้อสําคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมั่นคงถาวร และกําหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2 ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมาย ระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีจํานวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจํานวนมากพอสมควรที่ จะสามารถดํารงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จําเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมี เชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3 รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรมาทําการ บริหารงานทั้งภายในและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษา ความสงบเรียบร้อยในดินแดนของตน ดําเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษา สิทธิผลประโยชน์ของประชาชน

4 อํานาจอธิปไตย (หรือเอกราชอธิปไตย) กล่าวคือ รัฐสามารถที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อํานาจอิสระภายใน หมายถึง อํานาจของรัฐในการจัดกิจการภายในประเทศ ได้อย่างอิสรเสรีแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอํานาจอิสระภายนอก หมายถึง อํานาจ ของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น และได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค กับรัฐอื่น

และเมื่อมีสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพราะมีองค์ประกอบที่สําคัญครบ ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเป็นรัฐจะเป็นที่รับรู้ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรอง สภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับรอง ความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกําเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจะมี องค์ประกอบของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและ มีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สําคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้

2 ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิด สภาพของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะ ไม่มีการรับรองจากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้นถือว่าเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง (ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

สําหรับสถานะของ “ไต้หวัน” (Taiwan) นั้น ถือว่ามีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ เพราะมีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบที่สําคัญครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น คือมีดินแดนและมีประชากร ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีรัฐบาลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรทําการบริหารงานทั้งภายในและ ภายนอกรัฐ และที่สําคัญคือการมีอํานาจอธิปไตย ในอันที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อาทิเช่น มีอํานาจในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก และ มีอํานาจในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น เป็นต้น

และเช่นเดียวกันเมื่อถือว่า “ไต้หวัน” มีสถานะเป็นรัฐและมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่าง ประเทศแล้ว การมีฐานะเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” จะเป็นที่รับรู้หรือเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อ ได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง (ปัจจุบันความเป็นรัฐของไต้หวันยังมีสถานะไม่มั่นคง เพราะมีการรับรองจากรัฐอื่นไม่มากนัก)

ส่วนกรณีฮ่องกง (Hong Kong) นั้น มีองค์ประกอบของความเป็นรัฐดังกล่าวข้างต้นไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอํานาจอธิปไตย เพราะฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของจีน และเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้น ดังนั้น ฮ่องกงจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ข้อ 4. จงอธิบายการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี โดยวิธีที่เรียกว่า “อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” มีโครงสร้างและลักษณะของการดําเนินการอย่างไร และหากเปรียบเทียบกับ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” จะแตกต่างกันในสาระสําคัญอย่างไรหรือไม่

ธงคําตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาทโดย องค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นมา สืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้มีการผลักดัน ให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการในลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” มีที่ทําการอยู่ที่ กรุงเฮก โดยมีโครงสร้างเหมือนศาลทั่วไป แต่ไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําศาล โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศในประเทศของตนเพื่อไปเป็นผู้พิพากษายัง ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจํานวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมดจะรวบรวมทําเป็นบัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาท เกิดขึ้น และคู่พิพาทสมัครใจให้นําคดีพิพาทมาให้ศาลนี้พิจารณาก็จะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และ กรณีที่ถือว่าศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมี ที่ทําการศาลอย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกัน ระหว่างผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจําอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมาย เช่นเดียวกัน

สําหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะเป็นคนในสัญชาติเดียวกันไม่ได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตําแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งซ่อม ทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตําแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตําแหน่ง ได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตําแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้ง กระทําโดยความเห็นชอบร่วมกันของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้สมาชิกถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธานและรองประธาน ซึ่งอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องการเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอํานาจในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1 การตีความสนธิสัญญา

2 ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4 กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในสนธิสัญญา และ ยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสันนิบาตชาติด้วยในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนําคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณี ทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คําตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา คําพิพากษาของศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคําพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพัน เฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจําเป็นก็อาจทําคําแนะนําหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดําเนินการเพื่อให้เกิดผล ตามคําพิพากษา

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สําคัญ คือ

1 การนําคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนําคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น

2 ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจําอยู่ในศาล แต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจากบัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3 การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฏเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษา เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญาและภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 178

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละ ประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดใน สนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

สําหรับการจัดทําสนวิสัญญาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 178 นั้น โดยหลักแล้ว เป็นอํานาจของฝ่ายบริหารในการที่จะจัดทําสนธิสัญญาและสามารถที่จะให้สัตยาบันได้เอง (มาตรา 178 วรรคหนึ่ง)

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นสนธิสัญญาที่เข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 178 วรรคสอง ก่อนการให้สัตยาบัน ฝ่ายบริหารจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน เมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารจึงจะสามารถให้สัตยาบันได้ ซึ่งสนธิสัญญาที่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 178 วรรคสอง ได้แก่

1 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือ

2 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ

3 สนธิสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ

4 สนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่าง กว้างขวาง เช่น สนธิสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

 

 

ข้อ 2 เหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของสนธิสัญญาในกรณิการสําคัญผิดตามมาตรา 48 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญาจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญอย่างไร ในคดีปราสาทพระวิหารประเทศไทยได้ยกหลักสําคัญผิดขึ้นมากล่าวอ้างในส่วนของตัวแผนที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีความเห็นเป็นอย่างไรในข้อกล่าวอ้างของไทย

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 48 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ได้บัญญัติไว้ว่า

“ข้อ 1 รัฐภาคีอาจจะยกเหตุเรื่องสําคัญผิด หรือการผิดพลาดในสนธิสัญญาขึ้นกล่าวอ้างว่า การแสดงเจตนาผูกพันตามสนธิสัญญาของรัฐนั้นไม่สมบูรณ์ หากการผิดพลาดนั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือสถานการณ์ ซึ่งรัฐภาคีดังกล่าวนั้นสําคัญว่ามีอยู่จริงในขณะที่มีการทําสนธิสัญญา และข้อเท็จจริงนั้นเป็นส่วนที่เป็นสาระสําคัญ พื้นฐานที่ทําให้รัฐภาคีนั้นแสดงเจตนาผูกพันตามสนธิสัญญา

ข้อ 2 ข้อความตามวรรคหนึ่งข้างต้นไม่นํามาปรับใช้หากรัฐดังกล่าวมีส่วนในการทําให้เกิด ความผิดพลาดนั้น ทั้งนี้เกิดจากการปฏิบัติของรัฐนั้น ๆ เอง หรือภายใต้สถานการณ์แวดล้อม เช่นนั้นรัฐดังกล่าว น่าจะรู้ถึงความผิดพลาดนั้น และสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้แต่ไม่ได้กระทํา”

ตามมาตรา 48 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ได้บัญญัติถึงเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ ของสนธิสัญญา ในกรณีของการสําคัญผิดที่รัฐผู้เสียหายสามารถยกขึ้นมากล่าวอ้างได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ที่สําคัญ ดังนี้ คือ

1 เหตุแห่งการสําคัญผิดนั้นจะต้องเป็นการสําคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ ซึ่งรัฐภาคีนั้นสําคัญว่ามีอยู่จริงในขณะที่มีการทําสนธิสัญญา

2 ข้อเท็จจริงนั้นจะต้องเป็นส่วนที่เป็นสาระสําคัญพื้นฐานที่ทําให้รัฐภาคีนั้นแสดงเจตนา ผูกพันตามสนธิสัญญา

3 รัฐภาคีผู้เสียหายจะต้องไม่มีส่วนในการทําให้เกิดความสําคัญผิดหรือความผิดพลาดนั้น

สําหรับในคดีปราสาทพระวิหารนั้น ประเทศไทยได้โต้แย้งเกี่ยวกับพยานเอกสารคือตัวแผนที่ว่า เหตุที่ไทยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับแผนที่ในตอนที่ได้รับมาจากฝรั่งเศสนั้นเป็นเพราะไทยสําคัญผิดไปว่าแผนที่นั้นถูกต้องแล้ว ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศชี้ว่าไทยไม่สามารถอ้างเหตุสําคัญผิดดังกล่าวได้ เพราะไทยมีส่วนในการก่อให้เกิด เหตุสําคัญผิดด้วย เพราะการนิ่งเฉยไม่โต้แย้งของไทยทําให้ฝรั่งเศสสําคัญผิดไปด้วยว่าแผนที่นั้นถูกต้องแล้ว

 

ข้อ 3 จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 1 บัญญัติว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ให้นักศึกษาอธิบายให้ชัดเจนว่า ประเทศไทยจะต้องมีลักษณะอย่างไร และมีหลักเกณฑ์ใดของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวข้องบ้าง

ธงคําตอบ

รูปแบบของรัฐตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ รัฐเดี่ยว และรัฐรวม

1 รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐซึ่งมีการปกครองเป็นเอกภาพไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน โดยมี รัฐบาลกลางปกครองประเทศเพียงรัฐบาลเดียว แม้จะมีการกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นแต่ก็ยังอยู่ใน ความควบคุมของรัฐบาลกลาง มีประมุขของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และมีองค์กรนิติบัญญัติเพียงองค์กรเดียว

ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว ได้แก่ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน เบลเยียม อิตาลี และไทย เป็นต้น

2 รัฐรวม หมายถึง รัฐหลายรัฐมารวมกันโดยเหตุการณ์หรือผลประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง ซึ่งรัฐรวมระหว่างหลายรัฐดังกล่าวอาจจะเป็นรัฐรวมแบบสมาพันธรัฐ หรือแบบสหพันธรัฐก็ได้

สําหรับรัฐรวมแบบสหพันธรัฐหรือสหรัฐ เป็นการรวมกันของรัฐหลายรัฐในลักษณะที่ ก่อให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นมารัฐเดียว ซึ่งรัฐเดิมที่เข้ามารวมนี้จะสูญสภาพความเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศไป โดยยอมสละอํานาจอธิปไตยบางส่วนให้แก่รัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการภายนอก เช่น อํานาจในการป้องกันประเทศ อํานาจในการติดต่อกับต่างประเทศ ส่วนกิจการภายในรัฐสมาชิกยังคงมีอิสระเช่นเดิม

ลักษณะสําคัญของสหพันธรัฐ มีดังต่อไปนี้

1 การรวมในรูปสหพันธรัฐไม่ใช่การรวมแบบสมาคมระหว่างรัฐ แต่เป็นการรวมที่ก่อให้เกิด รัฐใหม่ขึ้นมารัฐเดียว และจะมีรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการปกครอง กําหนดหน้าที่ ของรัฐบาลกลางและหน้าที่ของรัฐสมาชิก

2 รัฐที่มารวมจะหมดสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศไป ซึ่งรัฐใหม่ที่เกิดขึ้นมา จะมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเพียงรัฐเดียว

3 อํานาจการติดต่อภายนอก เช่น การทําสนธิสัญญา การรับส่งผู้แทนทางการทูต การป้องกันประเทศ ฯลฯ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลางแต่ผู้เดียว แต่รัฐสมาชิกก็ยังมีอํานาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ในกิจการภายในของตนเอง แต่รัฐธรรมนูญของมลรัฐจะขัดกับรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐไม่ได้

4 มลรัฐมีส่วนในการบริหารงานของสหพันธรัฐ โดยสภาสูงจะประกอบด้วยผู้แทนของ แต่ละมลรัฐ

5 ในกรณีที่มลรัฐไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐต่างประเทศ สหพันธรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ผู้เดียว

สหพันธรัฐอาจจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น เกิดจากหลายรัฐมารวมกันในรูปของสหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ หรือเกิดการเปลี่ยนรูปจากรัฐเดี่ยวมาเป็นสหพันธรัฐ เช่น เม็กซิโก บราซิล เป็นต้น โดยปกติแล้วรัฐสมาชิกของสหพันธรัฐจะไม่สามารถถอนตัวออกไปได้ เว้นแต่จะกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ของสหพันธรัฐให้รัฐสมาชิกถอนตัวออกได้

ในปัจจุบันมีรัฐเป็นจํานวนมากที่มีรูปการปกครองแบบสหพันธรัฐ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน และมาเลเซีย เป็นต้น

ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้” นั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีรูปแบบของรัฐ เป็นลักษณะของรัฐเดี่ยว ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกการปกครองออกจากกันได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ที่ยังคงใช้ระบบกษัตริย์ และกําหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้ใช้อํานาจสูงสุดแห่งรัฐที่เรียกว่า อํานาจอธิปไตย โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้บริหารปกครองประเทศเพียงรัฐบาลเดียว

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่า Retorsion และ Reprisal มีลักษณะของการดําเนินการอย่างไร และมีข้อแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ และยกตัวอย่างประกอบด้วย

ธงคําตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า รีทอร์ชั่น (Retorsion) และรีไพรซัล (Reprisals) ต่างก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงคราม เพียงแต่จะมีลักษณะที่ แตกต่างกัน ดังนี้คือ

รีทอร์ชั่น (Retorsion) เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้น โดยไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือการลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของ พลเมืองของประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อ รัฐบาลไม่พอใจในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่นกระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่ รัฐนั้นถูกกระทําหรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

รีโพรซัล (Reprisals) เป็นมาตรการตอบโต้การกระทําอันละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้รัฐนั้นเคารพในสิทธิของตนและรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรการตอบโต้นั้น เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แต่เป็นการกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็นผล ค่อยนํามาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1 การกระทํานั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2 ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น

3 รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4 มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทําในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทําหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทําต่อบุคคล หรือทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทําผิดและต้องทําโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Statute of the International Court of Justice) และจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กับหลักกฎหมายทั่วไปมีความแตกต่างกันอย่างไร และศาลนํามาปรับใช้อย่างไร

ธงคําตอบ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แก่

1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งวางหลักอันเป็นที่ยอมรับของรัฐ

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติที่ได้การยอมรับว่าเป็นกฎหมาย

3 หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาติอารยะ

4 คําพิพากษาของศาล และคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุด ในฐานะที่เป็นแนวทางเสริมในการกําหนดหลักกฎหมาย

ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่มีความสําคัญเท่าเทียมกันโดยไม่มีการจัดลําดับศักดิ์ไว้ แต่อย่างใด เพราะถือว่าต่างก็เป็นบ่อเกิดลําดับหลักที่กําหนดที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศและตามธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1945 ก็ได้กําหนดไว้ว่า ให้ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาททีมาสู่ศาล ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ส่วนคําพิพากษาของศาลและคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุดนั้น เป็นเพียงแนวทางเสริมที่เป็น เครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย และถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายในลําดับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษากรณีพิพาทโดยใช้หลักต่าง ๆ อันถือว่า เป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอํานาจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี โดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ ซึ่งการก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1 การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร สําหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกําหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็น ระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จําเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

2 การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทําดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือองค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่าเป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติ (เสมือนเป็นกฎหมาย) แต่จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จําต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

ส่วนหลักกฎหมายทั่วไป เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประเทศ ต่าง ๆ ที่มีความศิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย ซึ่งหมายถึง

1 หลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั่วไปที่ยอมรับและใช้บังคับอยู่ในกฎหมายภายในของรัฐ ทั้งหลาย โดยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายภายในของรัฐต่าง ๆ หรือกฎหมายภายในของประเทศที่มี ความเจริญในทางกฎหมาย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป อันอาจนํามาเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัย คดีได้ เช่น หลักที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทําสัญญา หลักความสุจริตใจ หลักกฎหมายปิดปาก หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

2 หลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยทั่วไป โดยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น หลักความเสมอภาค เท่าเทียมกันของรัฐไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น

จะเห็นว่าหลักกฎหมายทั่วไปเกิดจากการที่รัฐต่าง ๆ ยอมรับคล้ายกับจารีตประเพณี แต่ยัง ไม่ถึงขั้นที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เพราะไม่ได้เกิดจากการยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเหมือนจารีต ประเพณี แต่เกิดจากการที่สังคมระหว่างประเทศยอมรับเพราะถือว่าชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ซึ่งจะแตกต่าง กับจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เกิดจากการที่รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าเรื่อง ดังกล่าวจะชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น จารีตประเพณีระหว่างประเทศจึงแตกต่างจาก หลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องของเหตุผลทางกฎหมายนั่นเอง

ในกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นและไม่มีสนธิสัญญาหรือจารีตประเพณีที่จะนํามาใช้พิจารณาคดีได้ ศาลก็อาจจะนําหลักกฎหมายทั่วไปมาวินิจฉัยคดีได้ เคยมีหลายคดีซึ่งศาลได้ใช้หลักกฎหมายทั่วไปเป็นแนวทาง ตัดสินคดี เช่น คดีเขาพระวิหารซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ให้เขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา โดยอ้างหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ปิดปาก เป็นต้น

 

ข้อ 2 รัฐเชียงพระคํากับรัฐเชียงเงินเป็นรัฐที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน เป็นอาณาจักรอิสระ เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษต่างก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และลงนามเป็นรัฐภาคี ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969) ในระยะเวลาต่อมาด้วย ปัจจุบันรัฐเชียงพระคํากับรัฐเชียงเงินปกครอง ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความสัมพันธ์แบบเป็นเครือญาติระหว่าง ประมุขทั้งสองรัฐ มีการแลกเปลี่ยนแต่งงานระหว่างราชอาณาจักรอยู่เป็นประจํา ระยะการเดินทาง จากรัฐทั้งสองอยู่ไม่ไกลกันมากนัก แต่สภาพภูมิประเทศของเชียงพระคําซึ่งเป็นป่าเขาลึกยากแก่ การเดินทางเข้าถึง รัฐเชียงพระคํากับรัฐเชียงเงินจึงมาตกลงทําสนธิสัญญารากนครา (Treaty of Rak Nakara) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ร่วมกันสร้างทางรถไฟความเร็วสูงโดยรัฐเชียงพระคํามีพันธกรณี รับผิดชอบจัดทําระบบรางและรัฐเชียงเงินมีพันธกรณีจัดทําระบบรถไฟและฝึกอบรมพนักงานขับรถไฟ ปรากฏว่าผ่านมา 5 ปีแล้ว รัฐเชียงพระคําจัดทําระบบรางเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมจะเตรียมทดลองใช้งาน แต่ทว่ารัฐเชียงเงินประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจึงไม่สามารถจัดหาซื้อขบวนรถไฟจากประเทศญี่ปุ่นได้ตามกําหนดเวลา รัฐเชียงพระคําจึงเตรียมจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก การที่รัฐเชียงเงินไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาฯ เพราะไม่มีบทบัญญัติในสนธิสัญญาฯ ระบุถึงการเลิก สัญญาเอาไว้ รัฐเชียงเงินจึงประกาศขอยกเลิกสนธิสัญญาฯ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีประชากรของตนสนใจสมัคร มาฝึกอบรมเป็นพนักงานขับรถไฟจึงทําให้เป็นอันพ้นวิสัยที่รัฐเชียงเงินจะสามารถปฏิบัติตาม สนธิสัญญาฯ ได้ ทั้งสองฝ่ายจึงนําข้อพิพาทขึ้นมาสู่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และแต่งตั้งท่านเป็นอนุญา โตตุลาการทําหน้าที่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่ารัฐเชียงเงินสามารถขอเลิกสนธิสัญญารากนครา ได้หรือไม่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น

ธงคําตอบ

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 มาตรา 56 และมาตรา 61 ได้กําหนดเหตุที่ภาคีสนธิสัญญา อาจบอกเลิกสนธิสัญญาหรือถอนตัวออกจากสนธิสัญญาได้ ดังนี้คือ

มาตรา 56 “สนธิสัญญาที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นสุดของสนธิสัญญาและไม่กําหนดถึงการบอกเลิกสนธิสัญญาหรือการถอนตัวออกจากสนธิสัญญา ย่อมไม่อาจเป็นเหตุให้มีการบอกเลิกสนธิสัญญาหรือ ถอนตัวจากสนธิสัญญาได้ ทั้งนี้เว้นแต่

ก จะปรากฏให้เห็นถึงเจตจํานงของภาคีในการยอมรับการบอกเลิกหรือการถอนตัวจาก สนธิสัญญา หรือ

ข เมื่อสิทธิในการบอกเลิกหรือถอนตัวจากสนธิสัญญา เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยปริยายจากลักษณะของสนธิสัญญานั้น”

มาตรา 61 “ภาคีสนธิสัญญาอาจอ้างการบังคับการตามสนธิสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยมาเป็นเหตุ เพื่อทําให้สนธิสัญญาสิ้นสุดหรือเพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญาได้ หากการพ้นวิสัยนั้นเกิดจากการสิ้นไปหรือการทําลาย อย่างสิ้นเชิงซึ่งวัตถุแห่งสนธิสัญญาที่ขาดไม่ได้สําหรับการบังคับการตามสนธิสัญญานี้ ในกรณีที่การพ้นวิสัยนั้น เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การพ้นวิสัยนั้นอาจจะถูกนํามากล่าวอ้างได้เพียงเพื่อระงับการใช้สนธิสัญญาชั่วคราวเท่านั้น”

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 56 และมาตรา 61 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 แล้ว จะเห็นได้ว่า รัฐเชียงเงินไม่สามารถขอยกเลิกสนธิสัญญารากนคราได้ ทั้งนี้เพราะ

1 เมื่อสนธิสัญญารากนคราระหว่างรัฐเชียงพระคํากับรัฐเชียงเงินนั้นไม่มีบทบัญญัติระบุถึง การเลิกสัญญาเอาไว้ และถ้าในสนธิสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีเจตนาให้มีการบอกเลิกหรือถอนตัวออกจากสนธิสัญญา และโดยลักษณะของสนธิสัญญาก็ไม่อาจอนุมานให้เลิกหรือถอนตัวได้ เพราะเป็นการตกลงร่วมกันก่อสร้างทางรถไฟ ความเร็วสูงที่รัฐภาคีทั้งสองฝ่ายต่างมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติเพื่อทําให้รถไฟความเร็วสูงสามารถดําเนินการได้ ดังนั้น รัฐภาคีจึงไม่สามารถเลิกหรือถอนตัวจากสนธิสัญญาได้ (มาตรา 56 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969)

แต่อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นว่าแม้ในสนธิสัญญาดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติระบุถึงการ เลิกสัญญาไว้ก็ตาม แต่ถ้าหากปรากฏว่าในสนธิสัญญานั้น รัฐภาคีมีเจตนาให้เลิกหรือถอนตัวได้ หรือโดยลักษณะของสนธิสัญญาอาจอนุมานให้เลิกหรือถอนตัวได้แล้ว รัฐภาคีก็อาจบอกเลิกหรือถอนตัวจากสนธิสัญญาฝ่ายเดียวได้ แต่จะต้องแจ้งเจตจํานงของตนก่อนการบอกเลิกหรือถอนตัวจากสนธิสัญญาแก่รัฐภาคีอื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยจะต้องแจ้งเจตจํานงนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา 56 วรรคท้าย แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969)

2 การที่รัฐเชียงเงินขอยกเลิกสนธิสัญญารากนครา โดยอ้างเหตุผลว่าไม่มีประชากรของตนสนใจสมัครมาฝึกอบรมเป็นพนักงานขับรถไฟ จึงทําให้เป็นอันพ้นวิสัยที่รัฐเชียงเงินจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาได้นั้น ก็มิอาจอ้างได้ เพราะกรณีที่จะสามารถอ้างเหตุว่าการบังคับการตามสนธิสัญญาตกเป็นอันพ้นวิสัย ทําให้รัฐภาคี สามารถขอยกเลิกสัญญาหรือถอนตัวจากสนธิสัญญาได้ตามมาตรา 61 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 นั้น การพ้นวิสัยนั้นจะต้องเป็นผลมาจากการสิ้นสลายหรือการถูกทําลายอย่างสิ้นเชิงซึ่งวัตถุที่จําเป็นต่อการปฏิบัติตาม สนธิสัญญาเท่านั้น ดังนั้น การที่รัฐเชียงเงินขอยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวโดยอ้างเหตุผลว่าไม่มีประชากรของตน สนใจสมัครมาฝึกอบรมเป็นพนักงานขับรถไฟจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 61 ดังกล่าว และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อพันธกรณี ตามสนธิสัญญา จึงไม่อาจกระทําได้

สรุป

ข้าพเจ้าในฐานะเป็นอนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยว่ารัฐเชียงเงินไม่สามารถขอยกเลิก สนธิสัญญารากนคราได้ ด้วยเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าว

 

 

ข้อ 3 จากข้อเท็จจริงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยและคณะเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาตามคําเชิญของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ เมื่อต้นเดือนตุลาคมศกนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการรับรองรัฐบาลตามหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่อย่างไร โดยนักศึกษาจะต้องอธิบายหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและวิเคราะห์กรณีดังกล่าวข้างต้นกับหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบโดยละเอียดด้วย

ธงคําตอบ

หากมีเหตุการณ์ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แทนรัฐบาลเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ การปฏิวัติ หรือวิธีอื่นใดก็ตาม จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีไม่จําเป็นต้องรับรอง คือกรณีที่รัฐบาลใหม่ได้ขึ้นมาบริหารประเทศตามกระบวนการตามปกติวิสัยหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือโดย วิธีการอื่น ๆ ก็ตาม ก็ไม่จําเป็นต้องรับรองรัฐบาลชุดใหม่นี้ เพราะถือว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว

2 กรณีที่จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

(1) กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย คือ เป็นกรณี ที่มีคณะบุคคลขึ้นครองอํานาจโดยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ซึ่งโดยปกติที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ คือ การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการได้อํานาจโดยการใช้กําลังบังคับ

(2) กรณีที่มีการตั้งรัฐบาลขึ้นมีอํานาจปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐ โดยการแย่ง อํานาจปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ทําให้มี 2 รัฐบาลในรัฐเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในกรณี ดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัย จึงสมควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่น

การตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรองหรือไม่ และอาจจะรับรองโดยมีเงื่อนไขก็ได้ การรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึง สถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ

สําหรับแนวคิดในการพิจารณาเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลใหม่นี้ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ

1 ทฤษฎี Tobar เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงความชอบธรรมของรัฐบาล ที่ขึ้นมามีอํานาจปกครองประเทศว่าเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นความคิดที่พยายามจะป้องกัน การปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยในลาตินอเมริกา ซึ่ง Tobar รัฐมนตรีต่างประเทศเอกวาดอร์ เห็นว่ารัฐไม่ควรรับรอง รัฐบาลที่ได้อํานาจมาโดยการปฏิวัติรัฐประหาร เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลใหม่จะทําให้ถูกต้องตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความยินยอมจากสภาที่มาจากการเลือกตั้งเสียก่อน

ทฤษฎี Tobar ใช้เฉพาะในทวีปอเมริกาเท่านั้น ประเทศในยุโรปไม่ยอมรับนับถือปฏิบัติ โดยหลักการแล้วทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะการรับรองรัฐบาลใหม่ก็เหมือนกับการรับรองรัฐ ซึ่งเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศสภาพของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วเท่านั้น และการปฏิเสธการรับรองรัฐบาลโดยอ้างว่าเป็น รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ดังนั้นทฤษฎี Tobar จึงไม่ได้รับการยึดถือปฏิบัติ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา

2 ทฤษฎี Estrada เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้น ว่ามีอํานาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถเช่นว่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลโดยสมบูรณ์ได้ โดยมิต้องไปพิจารณาถึง ความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาล เพราะเป็นกิจการภายในของรัฐนั้น รัฐอื่นไม่มีหน้าที่ไปพิจารณา รัฐทุกรัฐ ย่อมมีอํานาจอธิปไตยของตนเอง ซึ่งสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้ยึดถือตามทฤษฎี Estrada นี้ เช่น การรับรอง รัฐบาลทหารของประเทศพม่า หรือการรับรองรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารของประเทศไทย เป็นต้น

รูปแบบของการรับรองรัฐบาล

การรับรองรัฐบาล อาจจําแนกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การรับรองโดยชัดแจ้ง (โดยนิตินัย) และ การรับรองโดยปริยาย (โดยพฤตินัย)

1 การรับรองโดยชัดแจ้ง (โดยนิตินัย) อาจกระทําโดยการให้การรับรองรัฐบาลใหม่ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจา โดยผ่านผู้แทนของรัฐหรือประมุขของรัฐ หรืออาจทําได้โดยการประกาศ ทางสื่อมวลชน โดยวิธีการทางการทูต โดยคําแถลงการณ์ หรือโดยหนังสือตราสาร เป็นต้น

2 การรับรองโดยปริยาย (โดยพฤตินัย) ได้แก่ การกระทําใด ๆ ซึ่งถือว่าผู้ให้การรับรอง ประสงค์จะยอมรับสถานะของผู้ซึ่งได้รับการรับรอง เช่น การเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูต โดยการตั้งทูตไปประจํา หรือแลกเปลี่ยนทูตซึ่งกันและกัน หรือไม่เรียกทูตของตนกลับเมื่อมีรัฐบาลใหม่ เป็นต้น หรือการทําสนธิสัญญาทวิภาคี กับรัฐบาลใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการรับรองรัฐบาลใหม่โดยปริยายเช่นเดียวกัน

ดังนั้น กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยและคณะเดินทางไปเยือน ประเทศสหรัฐอเมริกาตามคําเชิญของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2560 นั้น ย่อมถือว่าประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรองรัฐบาลใหม่ของประเทศไทยแล้ว โดยเป็นการรับรองรัฐบาลตามทฤษฎี Estrada และ เป็นการรับรองโดยปริยายหรือโดยพฤตินัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

ข้อ 4 จงอธิบายลักษณะและวิธีการของการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่า Retorsion และ Reprisal ให้ชัดเจน และวิธีการดังกล่าวมีความคล้ายและแตกต่างกันในสาระสําคัญอย่างไร

ยกตัวอย่างประกอบในแต่ละวิธีด้วย

ธงคําตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า รีทอร์ชั่น (Retorsion) และรีไพรซัล (Reprisals) ต่างก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงคราม เพียงแต่จะมีลักษณะที่ แตกต่างกัน ดังนี้คือ

รีทอร์ชั่น (Retorsion) เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้นโดย ไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือ ตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือการลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของพลเมืองของ ประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อรัฐบาลไม่พอใจ ในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่นกระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่รัฐนั้นถูกกระทํา หรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีทอร์ชั่น (Retorsion) ได้แก่ การที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่อนุญาตให้คนไทยเข้าไปทํางานในประเทศของตน ซึ่งถือเป็นมาตรการตอบโต้เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ประเทศไทย และเป็นการกระทําที่ไม่ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น

เสนอราคา ส่วนรีไพรซัล (Reprisals) เป็นมาตรการตอบโต้การกระทําอันละเมิดต่อกฎหมายระหว่าง ประเทศของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้รัฐนั้นเคารพในสิทธิของตนและรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรการ ตอบโต้นั้นเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศเช่นกัน แต่เป็นการกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็นผล ค่อยนํามาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1 การกระทํานั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2 ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น

3 รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4 มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทําในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทําหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทําต่อบุคคลหรือ ทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทําผิดและต้องทําโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีไพรซัล (Reprisals) ได้แก่ การที่ประเทศหนึ่งได้กักเรือสินค้าของอีกประเทศหนึ่งที่ตนคาดว่าจะทําสงครามที่อยู่ในท่าก่อนเกิดสงครามเพื่อจะยึดมาใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดสงครามขึ้น หรือการปิดอ่าวในเวลาสงบโดยที่รัฐหนึ่งกระทําต่ออีกรัฐหนึ่งเพื่อบีบบังคับให้รัฐที่ถูกปิดอ่าวทําตามข้อเรียกร้อง ของตน เป็นต้น

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา 2549 โดยสังเขป และขั้นตอนใดสนธิสัญญาจึงจะมีผลบังคับใช้และจะต้องดําเนินการอย่างไร นอกจากนี้ หากรัฐใดไม่เห็นด้วยในสนธิสัญญาบางอย่างจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญานั้นได้อย่างไรหรือไม่ และด้วยวิธีใด

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดใน สนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

และขั้นตอนที่ทําให้สนธิสัญญามีผลสมบูรณ์บังคับใช้กับภาคีสมาชิกคือขั้นตอนการให้ สัตยาบัน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องนําสนธิสัญญานั้นไปจดทะเบียนต่อสหประชาชาติด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้ว ภาคีสมาชิกจะนําสนธิสัญญาดังกล่าวมาฟ้องหรือมาอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ หรือต่อศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศเพื่อบังคับให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้นไม่ได้

และถ้าหากรัฐใดไม่เห็นด้วยในสนธิสัญญาบางอย่าง สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญานั้นได้ ถ้าสนธิสัญญาดังกล่าวเปิดโอกาสให้รัฐยื่นเข้าร่วมด้วย และรัฐที่ขอเข้าร่วมอาจตั้งข้อสงวนในการขอเข้าร่วมไว้ โดยอาจจํากัดข้อผูกพันหรือขอบเขตที่ตนจะต้องปฏิบัติก็ได้ เว้นแต่ สนธิสัญญานั้นจะห้ามไว้หรือข้อสงวนนั้นขัดต่อ วัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของสนธิสัญญา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงทฤษฎีซึ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในให้ชัดเจน และประเทศไทยยึดถือแนวทางของทฤษฎีใด ด้วยการดําเนินการอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ธงคําตอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในประกอบไปด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีนี้ถือว่ากฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นกฎหมายคนละระบบแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด แตกต่างกันทั้งที่มา การบังคับใช้ และความผูกพันในการนี้ถ้ากฎหมายภายในขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ยังถือว่า กฎหมายภายในสมบูรณ์อยู่ใช้บังคับได้ภายในรัฐ แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายภายในดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อรัฐอื่น รัฐนั้นในฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย นอกจากนี้ รัฐที่นิยมในทฤษฎีดังกล่าว เมื่อเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศ มาใช้บังคับภายในประเทศ จะนํามาใช้บังคับเลยไม่ได้ จะต้องนํากฎหมายนั้นมาแปลงให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อน เช่น ออกประกาศ หรือ พ.ร.บ. รองรับ เป็นต้น

2 ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) อธิบายว่า กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ไม่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์ เดียวกัน คือ เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในหรือระหว่างประเทศ แต่ก็เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่า ดังนั้นรัฐที่นิยมทฤษฎีนี้จึงไม่ต้องทําการแปลงรูปกฎหมาย ระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลเป็นกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ เพราะกฎหมาย ที่มีศักดิ์ต่ํากว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

สําหรับประเทศไทยยึดถือปฏิบัติตามแนวทาง “ทฤษฎีทวินิยม หรือ Dualism” ซึ่งเห็นว่า กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกัน และเป็นอิสระจากกันและกัน ดังนั้นจึงไม่อาจ ที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ภายในประเทศได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนหรือ แปลงรูปกฎหมายนั้นให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อนจึงจะสามารถนํามาบังคับใช้ได้ เช่น พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ และ พ.ร.บ. สิทธิบัตร เป็นต้น

 

ข้อ 3 หากมีผู้มาขอความรู้จากท่านเกี่ยวกับความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐจีน (The Republic of China) ท่านจะนําหลักเกณฑ์ใดมาอธิบายให้ท่านผู้นี้เข้าใจอย่างชัดเจน และท่านจะสรุปให้ผู้มาขอความรู้จากท่านว่าไต้หวันมีสถานะของความเป็นรัฐหรือไม่

ธงคําตอบ

หากมีผู้มาขอความรู้จากข้าพเจ้าเกี่ยวกับสถานะของความเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” ข้าพเจ้าจะ ให้คําอธิบายแก่บุคคลดังกล่าว ดังนี้ คือ

สภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะเริ่มเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบ ของความเป็นรัฐครบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้น รวมทั้งพื้นดิน ผืนน้ํา และท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไม่จําเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็นดินแดน โพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กําหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อย เพียงใดไม่ใช่ข้อสําคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมั่นคงถาวร และกําหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2 ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมายระหว่าง ประเทศก็ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีจํานวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจํานวนมากพอสมควรที่จะสามารถ ดํารงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จําเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมีเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน เเต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3 รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรมาทําการบริหารงาน ทั้งภายในและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษาความสงบ เรียบร้อยในดินแดนของตน ดําเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษาสิทธิผลประโยชน์ ของประชาชน

4 อํานาจอธิปไตย (หรือเอกราชอธิปไตย) กล่าวคือ รัฐสามารถที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้ อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกรัฐ อํานาจอิสระภายใน หมายถึง อํานาจของรัฐในการจัดกิจการภายในประเทศ ได้อย่างอิสรเสรีแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอํานาจอิสระภายนอก หมายถึง อํานาจของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น และได้รับการปฏิบัติอย่าง เสมอภาคกับรัฐอื่น

และเมื่อมีสภาพความเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพราะมีองค์ประกอบที่สําคัญครบ ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเป็นรัฐจะเป็นที่รับรู้ในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อได้รับการรับรอง สภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับรอง ความเป็นรัฐโดยรัฐอื่นนั้น มีทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองรัฐอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีว่าด้วยเงื่อนไข (การก่อกําเนิดรัฐ) หมายความว่า แม้รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจะมี องค์ประกอบของความเป็นรัฐครบ 4 ประการแล้วก็ตาม สภาพของรัฐก็ยังไม่เกิดขึ้น สภาพของรัฐจะเกิดขึ้นและ มีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขที่สําคัญคือ จะต้องมีการรับรองรัฐโดยรัฐอื่นด้วย และเมื่อรัฐอื่นได้ให้การรับรองแล้ว รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีสภาพบุคคล มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถที่จะติดต่อกับรัฐอื่นในสังคมระหว่างประเทศได้

2 ทฤษฎีว่าด้วยการประกาศ (ยืนยัน) ซึ่งทฤษฎีนี้ถือว่าการรับรองนั้นไม่ก่อให้เกิดสภาพ ของรัฐ เพราะเมื่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีองค์ประกอบความเป็นรัฐครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นรัฐที่สมบูรณ์แม้จะไม่มีการ รับรองจากรัฐอื่นก็ตาม และรัฐนั้นก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ การรับรองนั้น ถือว่าเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศความเป็นจริง (ความเป็นรัฐ) ที่เป็นอยู่แล้วเท่านั้น

สําหรับสถานะของ “ไต้หวัน” (Taiwan) นั้น ถือว่ามีสถานะเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะมีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบที่สําคัญครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น คือมีดินแดนและมีประชากร ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีรัฐบาลที่ใช้อํานาจเหนือดินแดนและประชากรทําการบริหารงานทั้งภายในและ ภายนอกรัฐ และที่สําคัญคือการมีอํานาจอธิปไตย ในอันที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายในและ ภายนอกรัฐ อาทิเช่น มีอํานาจในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจาก ภายนอก และมีอํานาจในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องฟังคําสั่งจากรัฐอื่น เป็นต้น

และเช่นเดียวกันเมื่อถือว่า “ไต้หวัน” มีสถานะเป็นรัฐและมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่าง ประเทศแล้ว การมีฐานะเป็นรัฐของ “ไต้หวัน” จะเป็นที่รับรู้หรือเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อ ได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐอื่น โดยเฉพาะจากรัฐที่ตนจะเข้าไปทําการติดต่อสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าความเป็นรัฐของไต้หวันนั้นยังมีสถานะไม่ค่อยมั่นคง ทั้งนี้เพราะสังคมระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทย ยังไม่ยอมรับความเป็นรัฐของไต้หวัน

 

ข้อ 4 จงอธิบายการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี โดยวิธีที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” มีโครงสร้างและลักษณะของการดําเนินการอย่างไร และหากเปรียบเทียบกับ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” จะแตกต่างกันในสาระสําคัญอย่างไร หรือไม่

ธงคําตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาทโดย องค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีการจัดตั้งขึ้นมา สืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้มีการผลักดัน ให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการในลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” มีที่ทําการอยู่ที่ กรุงเฮก โดยมีโครงสร้างเหมือนศาลทั่วไป แต่ไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําศาล โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศในประเทศของตนเพื่อไปเป็นผู้พิพากษายัง ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจํานวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมดจะรวบรวมทําเป็นบัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาท เกิดขึ้น และคู่พิพาทสมัครใจให้นําคดีพิพาทมาให้ศาลนี้พิจารณาก็จะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และ กรณีที่ถือว่าศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมี ที่ทําการศาลอย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกัน ระหว่างผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจําอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมาย เช่นเดียวกัน

สําหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะเป็น คนในสัญชาติเดียวกันไม่ได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตําแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งซ่อม ทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตําแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตําแหน่ง ได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตําแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้ง กระทําโดยความเห็นชอบร่วมกันของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้สมาชิกถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธานและรองประธาน ซึ่งอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องการเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอํานาจในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1 การตีความสนธิสัญญา

2 ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4 กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในสนธิสัญญา และยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสันนิบาตชาติด้วยในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนําคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณี ทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คําตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา คําพิพากษาของศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคําพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพัน เฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจําเป็นก็อาจทําคําแนะนําหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดําเนินการเพื่อให้เกิดผล ตามคําพิพากษา

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สําคัญ คือ

1 การนําคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนําคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น

2 ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจําอยู่ในศาล แต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจากบัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3 การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษา เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

 

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงขั้นตอนการจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญาและภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557) หรือตามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านประชามติ มาตรา 178 (ซึ่งมีหลักการเหมือนกับฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557) ว่ามีกรณีใดบ้าง ที่ก่อนมีการให้สัตยาบัน รัฐบาลจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน

ธงคําตอบ

การจัดทําสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่าด้วยสนธิสัญญา มีขั้นตอน การจัดทําดังนี้ คือ

1 การเจรจา

2 การลงนาม

3 การให้สัตยาบัน

4 การจดทะเบียน

1 การเจรจา การเจรจาเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทําสนธิสัญญาเพื่อกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทําสนธิสัญญา ซึ่งองค์กรที่มีอํานาจในการเจรจาเพื่อทําสนธิสัญญาจะถูกกําหนดโดยรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ หรือในบางกรณีผู้มีอํานาจใน การเจรจาอาจจะไม่ทําการเจรจาด้วยตนเองก็ได้แต่มอบอํานาจให้ผู้อื่น เช่น ตัวแทนทางการทูต หรือคณะผู้แทน เข้าทําการเจรจาแทน แต่ต้องทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งผู้แทนจะนํามามอบให้แก่รัฐคู่เจรจา หรือต่อที่ประชุมในกรณีที่มีรัฐหลายรัฐร่วมเจรจาด้วย

การร่างสนธิสัญญาเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญของรัฐคู่เจรจา จะทําความตกลงกันใน หลักการและข้อความในสนธิสัญญา โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างข้อความในสนธิสัญญา และตามมาตรา 9 ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาระบุว่า ร่างสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากรัฐคู่เจรจา เว้นแต่ที่ประชุม จะให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

2 การลงนาม การลงนามในสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ที่จะกําหนดข้อความเด็ดขาดใน สนธิสัญญา และการแสดงความยินยอมที่จะผูกพันในสนธิสัญญาของรัฐคู่เจรจา ซึ่งการลงนามในสนธิสัญญานั้น จะกระทําเมื่อผู้แทนในการเจรจาเห็นชอบกับข้อความในร่างสนธิสัญญานั้นแล้ว

การลงนามในสนธิสัญญานั้น อาจจะเป็นการลงนามเลย หรือลงนามย่อก่อนและลงนามจริง ในภายหลังก็ได้ และสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้วนั้นยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันความรับผิดชอบของรัฐ จะต้อง มีการให้สัตยาบันเสียก่อนจึงจะสมบูรณ์

3 การให้สัตยาบัน การให้สัตยาบัน หมายถึง การยอมรับขั้นสุดท้าย เป็นการแสดงเจตนา ของรัฐที่จะรับข้อผูกพันและปฏิบัติตามพันธะในสนธิสัญญา และการให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญานั้น จะต้องมีการจัดทํา สัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) ซึ่งกระทําในนามประมุขของรัฐ หรือรัฐบาล หรืออาจจะลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศก็ได้ และในสัตยาบันสารนั้นจะระบุข้อความในสนธิสัญญา และคํารับรองที่จะปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสนธิสัญญานั้น

4 การจดทะเบียน เมื่อมีการทําสนธิสัญญาเสร็จแล้ว โดยหลักจะต้องนําสนธิสัญญานั้น ไปจดทะเบียนไว้กับสํานักเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (มาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ) แต่อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาบางฉบับอาจจะไม่ได้นําไปจดทะเบียนก็ได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าสนธิสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนแล้วเท่านั้น สนธิสัญญาบางฉบับแม้จะไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

และภายใต้รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 23 หรือตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ ปัจจุบันมาตรา 178 ได้กําหนดไว้ว่า หนังสือสัญญา (สนธิสัญญา) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ก่อนการให้สัตยาบันจะต้อง ขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาก่อน ได้แก่

1 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือ

2 สนธิสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ

3 สนธิสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ

4 สนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่าง กว้างขวาง เช่น สนธิสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงสาระสําคัญของเหตุแห่งการสิ้นสุดของสนธิสัญญาในกรณีที่มีสภาวการณ์อันเป็นรากฐานของสนธิสัญญาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ธงคําตอบ

เหตุแห่งการสิ้นสุดของสนธิสัญญาในกรณีที่สภาวการณ์อันเป็นรากฐานของสนธิสัญญาได้ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้น เป็นกรณีที่สนธิสัญญาได้สิ้นสุดลงเนื่องจากมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ทําให้การปฏิบัติ ตามข้อตกลงในสนธิสัญญานั้นไม่อาจเป็นไปได้ ซึ่งแยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1 เมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐภาคีสนธิสัญญา

เมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐภาคีสนธิสัญญา สนธิสัญญาจะสิ้นสุดลงหรือไม่นั้น จะต้องแยกพิจารณาว่า เป็นสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) หรือสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี)

สําหรับสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) โดยหลักการแล้วถือว่าสนธิสัญญาที่ทําไว้ก่อน เกิดสงครามของรัฐคู่สงคราม (รัฐภาคีสนธิสัญญา) สิ้นสุดลง เว้นแต่

(1) สนธิสัญญาที่ทําขึ้นเพื่อบังคับใช้โดยตรงในเวลาสงคราม เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายและจารีตประเพณีในการทําสงครามทางบก ค.ศ. 1907, อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ค.ศ. 1949

(2) สนธิสัญญาบางชนิด เช่น การยกดินแดน

(3) สนธิสัญญานั้นเองได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้คงดําเนินต่อไปแม้เมื่อเกิดสงคราม เช่น สนธิสัญญาลงวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 ระหว่างอังกฤษ ฮอลแลนด์ และ รัสเซีย ซึ่งกําหนดว่าอังกฤษจะต้องจ่ายเงินให้รัสเซียแม้ว่าจะทําสงครามกับรัสเซีย ก็ตาม ในสงครามไคเมียระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย อังกฤษก็ยังชําระหนี้ให้รัสเซียต่อไป

สําหรับสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี) ซึ่งมีทั้งรัฐคู่สงคราม รัฐภาคีสนธิสัญญา) และรัฐเป็นกลางเป็นภาคีในสนธิสัญญา ผลของสนธิสัญญาระหว่างคู่สงครามเป็นแต่เพียงระงับไปชั่วคราวจนกว่าสงครามสงบ โดยมีการทําสนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญานั้นยังไม่ถือว่าสิ้นสุดลง แต่ผลระหว่างรัฐเป็นกลางกับรัฐคู่สงคราม หรือระหว่างรัฐเป็นกลางที่เป็นภาคีสนธิสัญญายังใช้บังคับอยู่เช่นเดิม เช่น สงครามในปี ค.ศ. 1870 ไม่ได้ทําให้สนธิสัญญาปารีสวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1856 สิ้นสุดลง และสนธิสัญญาวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1839 ที่ค้ำประกันความเป็นกลางของเบลเยียมไม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียมในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 แต่ยังคงใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการทําสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่นเดียวกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ค.ศ. 1939 ก็ไม่ได้ทําให้องค์การสันนิบาตชาติเลิกล้มไป จนกระทั่งเกิดองค์การสหประชาชาติขึ้นมาแทน

2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมผิดไปจากขณะทําสัญญา

ตามหลักกฎหมายโรมัน ถือว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสําคัญในสิ่งแวดล้อมผิดไป จากขณะทําสัญญาก็อาจทําให้สัญญานั้นล้าสมัย หรือหมดสภาพบังคับ (Rebus sic stantibus) ซึ่งโดยหลักการ นักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่ทําให้สนธิสัญญาสิ้นสุด ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญใน สภาพการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมซึ่งเป็นอยู่ในขณะทําสัญญา จนทําให้ไม่สามารถปฏิบัติตามพันธะที่ระบุไว้ใน สนธิสัญญาได้ และการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องชัดแจ้งที่ทุกฝ่ายยอมรับ

ตามปกติแล้วหลัก Rebus sic stantibus นั้น ส่วนใหญ่มักจะใช้กับสนธิสัญญาที่มีกําหนด ระยะเวลานาน หรือทํากันแบบไม่มีกําหนดระยะเวลา ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานนั้นอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ทําให้ ไม่สามารถปฏิบัติตามสนธิสัญญาได้ เช่น สนธิสัญญาสันติภาพ เป็นต้น

ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 62 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ว่า

“1 การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอยู่ในขณะที่ตกลงทําสนธิสัญญา และภาคีมิได้คาดคิดมาก่อนนั้น จะอ้างเป็นมูลเหตุเพื่อเลิกสนธิสัญญาหรือถอนตัวออกจากสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจาก

ก ความเป็นอยู่แห่งสิ่งแวดล้อมนี้เป็นปัจจัยในการที่ภาคีตกลงยอมให้มี ความผูกพันตามสนธิสัญญา

ข ผลแห่งการเปลี่ยนแปลงทําให้แปรสภาพขอบเขตแห่งหนี้ ซึ่งจะต้องปฏิบัติ ต่อกัน”

 

ข้อ 3 ปัจจุบันสถานการณ์ในสังคมระหว่างประเทศมีการเดินขบวนเพื่อต่อต้านรัฐบาลของประเทศต่าง ๆเป็นจํานวนมากรวมทั้งประเทศไทยด้วย หากมีเหตุการณ์ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แทน รัฐบาลเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ การปฏิวัติ หรือวิธีอื่นใดก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและมีผู้สนใจมาถามนักศึกษาในฐานะที่ผ่านการศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมาแล้ว ท่านจะอธิบายให้ผู้สนใจนี้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่เหล่านี้อย่างชัดเจนอย่างไร และยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายด้วย

ธงคําตอบ

หากมีเหตุการณ์ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แทนรัฐบาลเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ การปฏิวัติ หรือวิธีอื่นใดก็ตาม จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีไม่จําเป็นต้องรับรอง คือกรณีที่รัฐบาลใหม่ได้ขึ้นมาบริหารประเทศตามกระบวนการ ตามปกติวิสัยหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือโดย วิธีการอื่น ๆ ก็ตาม ก็ไม่จําเป็นต้องรับรองรัฐบาลชุดใหม่นี้ เพราะถือว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว

2 กรณีที่จะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

(1) กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย คือ เป็นกรณี ที่มีคณะบุคคลขึ้นครองอํานาจโดยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ซึ่งโดยปกติที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ คือ การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการได้อํานาจโดยการใช้กําลังบังคับ

(2) กรณีที่มีการตั้งรัฐบาลขึ้นมีอํานาจปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐ โดยการแย่ง อํานาจปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ทําให้มี 2 รัฐบาลในรัฐเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในกรณี ดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัย จึงสมควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่น

การตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรองหรือไม่ และอาจจะรับรองโดยมีเงื่อนไขก็ได้ การรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึง สถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ

สําหรับแนวคิดในการพิจารณาเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลใหม่นี้ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ

1 ทฤษฎี Tobar เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงความชอบธรรมของรัฐบาล ที่ขึ้นมามีอํานาจปกครองประเทศว่าเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นความคิดที่พยายามจะป้องกัน การปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยในลาตินอเมริกา ซึ่ง Tobar รัฐมนตรีต่างประเทศเอกวาดอร์ เห็นว่ารัฐไม่ควรรับรอง รัฐบาลที่ได้อํานาจมาโดยการปฏิวัติรัฐประหาร เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลใหม่จะทําให้ถูกต้องตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความยินยอมจากสภาที่มาจากการเลือกตั้งเสียก่อน

ทฤษฎี Toba” ใช้เฉพาะในทวีปอเมริกาเท่านั้น ประเทศในยุโรปไม่ยอมรับนับถือปฏิบัติ โดยหลักการแล้วทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะการรับรองรัฐบาลใหม่ก็เหมือนกับการรับรองรัฐ ซึ่งเป็น เพียงการยืนยันหรือประกาศสภาพของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วเท่านั้น และการปฏิเสธการรับรองรัฐบาลโดยอ้างว่าเป็น รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ดังนั้นทฤษฎี Tobar จึงไม่ได้รับการยึดถือปฏิบัติ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา

2 ทฤษฎี Estrada เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้น ว่ามีอํานาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถเช่นว่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลโดยสมบูรณ์ได้ โดยมิต้องไปพิจารณาถึง ความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาล เพราะเป็นกิจการภายในของรัฐนั้น รัฐอื่นไม่มีหน้าที่ไปพิจารณา รัฐทุกรัฐ ย่อมมีอํานาจอธิปไตยของตนเอง ซึ่งสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้ยึดถือตามทฤษฎี Estrada นี้ เช่น การรับรอง รัฐบาลทหารของประเทศพม่า เป็นต้น

 

ข้อ 4 จงอธิบายกระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่เรียกว่า “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ”โดยละเอียด และศาลฯ นี้มีความแตกต่างและคล้ายกับกระบวนการของ “ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ” ในประเด็นสําคัญอย่างไร

ธงคําตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจําอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมาย เช่นเดียวกัน

สําหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะเป็นคนในสัญชาติเดียวกันไม่ได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตําแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งซ่อมทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตําแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตําแหน่งได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตําแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้งกระทําโดยความเห็นชอบร่วมกันของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้ สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธาน และรองประธานซึ่งอยู่ในตําแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องการเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอํานาจในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1 การตีความสนธิสัญญา

2 ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4 กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในสนธิสัญญา และ ยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสันนิบาตชาติด้วย ในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนําคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณี ทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คําตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา คําพิพากษาของศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคําพิพากษาถือเป็นสิ้นสุด และผูกพัน เฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจําเป็นก็อาจทําคําแนะนํา หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดําเนินการเพื่อให้เกิดผล ตามคําพิพากษา

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาท โดยองค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีการจัดตั้ง ขึ้นมาสืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮกในปี 1899 และปี 1907 ซึ่งได้มีการผลักดันให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ในลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีที่ทําการอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศฮอลแลนด์ โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ในประเทศของตนเพื่อไปเป็นผู้พิพากษายังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจํานวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมด จะรวบรวมทําเป็นบัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาทมาสู่ศาลจึงจะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และกรณีที่ถือว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมีที่ทําการศาล อย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มีผู้พิพากษาอยู่ประจําตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกันระหว่าง ผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า “ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สําคัญ คือ

1 การนําคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทําไว้บังคับให้ต้องนําคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนําคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่าง ประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น

2 ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจําอยู่ ในศาลแต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจาก บัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3 การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่าง ผู้พิพากษาเหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 โปรดอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และบ่อเกิดลําดับรองแตกต่างอย่างไรกับบ่อเกิดลําดับหลัก

ธงคําตอบ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แก่

1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งวางหลักอันเป็นที่ยอมรับของรัฐ

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติที่ได้การยอมรับว่าเป็นกฎหมาย

3 หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาติอารยะ

4 คําพิพากษาของศาล และคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุด ในฐานะที่เป็นแนวทางเสริมในการกําหนดหลักกฎหมาย

ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่มีความสําคัญเท่าเทียมกันโดยไม่มีการจัดลําดับศักดิ์ไว้แต่อย่างใด เพราะถือว่าต่างก็เป็นบ่อเกิดลําดับหลักที่กําหนดที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศและตามธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1945 ก็ได้กําหนดไว้ว่า ให้ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาล ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ส่วนคําพิพากษาของศาลและคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุดนั้น เป็นเพียงแนวทางเสริมที่เป็นเครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย และถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายในลําดับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษากรณีพิพาทโดยใช้หลักต่าง ๆ อันถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอํานาจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี โดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

 

 

ข้อ 2 ตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. มาตรา 178 กําหนดให้หนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภามีทั้งหมดกี่แบบ และประเทศไทยใช้หลักการอะไรในการนํากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้เป็นกฎหมายภายใน โปรดจงอธิบาย

ธงคําตอบ

ตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .. มาตรา 178 วรรคสอง ได้กําหนดให้ หนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภามีทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่

1 หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย

2 หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ

3 หนังสือสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา

4 หนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง

5 หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ

ส่วนกรณีประเทศไทยใช้หลักการอะไรในการนํากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้เป็นกฎหมาย ภายในนั้นจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน ซึ่งความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายดังกล่าวนั้น ประกอบไปด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีนี้ถือว่ากฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นกฎหมายคนละระบบแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดแตกต่างกันทั้งที่มา การบังคับใช้ และความผูกพันในการนี้ถ้ากฎหมายภายในขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ยังถือว่า กฎหมายภายในสมบูรณ์อยู่ใช้บังคับได้ภายในรัฐ แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายภายในดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อรัฐอื่น รัฐนั้นในฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย นอกจากนี้ รัฐที่นิยมในทฤษฎีดังกล่าว เมื่อเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศ มาใช้บังคับภายในประเทศ จะนํามาใช้บังคับเลยไม่ได้ จะต้องนํากฎหมายนั้นมาแปลงให้เป็นกฎหมายภายใน เสียก่อน เช่น ออกประกาศ หรือ พ.ร.บ. รองรับ เป็นต้น

2 ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) อธิบายว่า กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ไม่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในหรือระหว่างประเทศ แต่ก็เห็นว่ากฎหมายระหว่าง ประเทศมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่า ดังนั้นรัฐที่นิยมทฤษฎีนี้จึงไม่ต้องทําการแปลงรูปกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลเป็นกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ เพราะกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

สําหรับประเทศไทยยึดถือปฏิบัติตามแนวทาง “ทฤษฎีทวินิยม หรือ Dualism” ซึ่งเห็นว่า กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกัน และเป็นอิสระจากกันและกัน ดังนั้นจึงไม่อาจ ที่จะนํากฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ภายในประเทศได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนหรือ แปลงรูปกฎหมายนั้นให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อนจึงจะสามารถนํามาบังคับใช้ได้

 

 

ข้อ 3 จงอธิบายการสืบเนื่องของรัฐหรือการสืบทอดข้อผูกพันระหว่างประเทศให้ชัดเจน และยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศประกอบให้เห็นจริงในการตอบปัญหาด้วย

ธงคําตอบ

เนื่องจากรัฐมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น สนธิสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อ ผูกพันทั้งหลายที่รัฐได้ทําขึ้นกับรัฐอื่น ๆ นั้น ย่อมใช้กับดินแดนที่เป็นของรัฐทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่ารัฐต่าง ๆ จะมีดินแดนของตนเองเป็นที่แน่นอนชัดเจนก็ตาม แต่ดินแดนของรัฐนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยรัฐอาจ ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นหรืออาจเสียดินแดนของตนให้แก่รัฐอื่น หรือถูกผนวกดินแดนของตนทั้งหมดเข้ากับรัฐอื่นทําให้ รัฐเดิมสิ้นสุดลง และสูญสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือรัฐของตนสูญสิ้นไปโดยถูกแยกเป็นรัฐหลายรัฐ กรณีเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการสืบเนื่องของรัฐหรือการสืบทอดข้อผูกพันระหว่างประเทศของดินแดน ที่ถูกผนวกหรือที่แยกตัวออกมา ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้จะต้องแยกพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ

1 กรณีที่รัฐเดิมยังคงอยู่ โดยหลักทั่วไปย่อมถือว่าสนธิสัญญาที่รัฐทําขึ้นย่อมใช้กับดินแดน ที่ตนได้รับเพิ่มขึ้น และระงับการใช้กับดินแดนที่เสียไป เว้นแต่ถ้าเป็นสนธิสัญญาประเภทกฎหมายก็อาจจะใช้ บังคับแก่ดินแดนที่แยกตัวออกไปได้ เช่น กรณีที่เบลเยียมแยกตัวออกจากฮอลแลนด์ แต่สนธิสัญญาปี ค.ศ. 1815 ก็ยังคงใช้บังคับกับเบลเยียม เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม มีสนธิสัญญาบางประเภท เช่น สนธิสัญญาที่มีลักษณะทางการเมือง ได้แก่ สนธิสัญญาค้ำประกันเอกราชของรัฐอื่น สนธิสัญญาพันธมิตร สนธิสัญญาความเป็นกลาง สนธิสัญญา อนุญาโตตุลาการ ถือว่าไม่สืบเนื่องไม่มีผลบังคับกับดินแดนของรัฐที่แยกตัวออกไป

2 กรณีที่รัฐเดิมสูญสภาพความเป็นรัฐ โดยหลักการแล้วสําหรับสนธิสัญญาสองฝ่ายถือว่า ไม่มีผลผูกพันกันต่อไป เว้นแต่รัฐที่ได้ดินแดนหรือรัฐที่ได้แยกตัวออกมาได้นําสนธิสัญญานั้นมาใช้เอง แต่ในบางกรณี ก่อนที่รัฐอื่นจะรับรองรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ ก็อาจจะวางเงื่อนไขการรับรองให้รัฐใหม่สัญญาว่าจะปฏิบัติตามพันธะใน สนธิสัญญาซึ่งรัฐที่สูญเสียสภาพบุคคลได้ทําไว้ก็ได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี ซึ่งจารีตประเพณีระหว่างประเทศ บังคับให้รัฐที่แยกตัวปฏิบัติตามพันธะบางอย่างต่อไป เช่น สนธิสัญญากําหนดเขตแดน เส้นทางการคมนาคมทางบก และทางน้ำ และพันธะที่เกิดจากสนธิสัญญาประเภทกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 เกี่ยวกับจารีตประเพณีในการทําสงคราม ย่อมผูกพันรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2

สําหรับความรับผิดชอบที่รัฐเก่าทําไว้ รัฐที่เกิดใหม่ไม่จําเป็นต้องรับผิดชอบ และในกรณีกลับกัน ถ้ารัฐที่สูญสิ้นสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย รัฐที่แยกตัวออกมาก็ไม่มีสิทธิ ที่จะฟ้องร้องหรือเรียกร้องแทนได้เช่นเดียวกัน

 

 

ข้อ 4 จงอธิบายวิธีการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับการทําสงครามที่เรียกว่า Retorsion และ Reprisal โดยละเอียด และมีความคล้ายและแตกต่างกันในประเด็นสําคัญอย่างไร ยกตัวอย่าง ประกอบในแต่ละกรณีด้วย

ธงคําตอบ

การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่เรียกว่า รีทอร์ชั่น (Retorsion) และรีไพรซัล (Reprisals) ต่างก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีที่ไม่ถึงกับทําสงคราม เพียงแต่จะมีลักษณะที่ แตกต่างกัน ดังนี้คือ

รีทอร์ชั่น (Retorsion) เป็นการกระทําที่รัฐหนึ่งกระทําตอบแทนการกระทําที่ไม่เป็นมิตร ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนของรัฐอื่น ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการตอบโต้ทางเศรษฐกิจการคลัง โดยมีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐนั้นโดย ไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เช่น การขึ้นอัตราอากรขาเข้า หรือ ตัดโควตาปริมาณสินค้าเข้าของประเทศที่กระทําต่อตน หรือการลดค่าเงินตรา จํากัดโควตาคนเข้าเมืองของพลเมืองของ ประเทศนั้น หรือการไม่ให้เรือของรัฐนั้นเข้ามาในท่า ซึ่งโดยหลักการแล้วรัฐจะใช้วิธีรีทอร์ชั่นก็ต่อเมื่อรัฐบาลไม่พอใจ ในการกระทําของรัฐนั้น และวิธีการใช้รีทอร์ชั่นกระทําต่อรัฐอื่นนั้น อาจจะเป็นแบบเดียวกันกับที่รัฐนั้นถูกกระทํา หรือจะเป็นแบบอื่นก็ได้

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีทอร์ชั่น (Retorsion) ได้แก่ การที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่อนุญาตให้คนไทยเข้าไปทํางานในประเทศของตน ซึ่งถือเป็นมาตรการตอบโต้เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ประเทศไทย และเป็นการกระทําที่ไม่ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น

ส่วนรีไพรซัล (Reprisals) เป็นมาตรการตอบโต้การกระทําอันละเมิดต่อกฎหมายระหว่าง ประเทศของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้รัฐนั้นเคารพในสิทธิของตนและรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรการ ตอบโต้นั้นเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศเช่นกัน แต่เป็นการกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็นผล ค่อยนํามาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1 การกระทํานั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2 ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น ๆ

3 รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4 มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทําในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทําหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทําต่อบุคคลหรือ ทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทําผิดและต้องทําโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ

ตัวอย่างของการกระทําที่เรียกว่ารีไพรซัล (Reprisals) ได้แก่ การที่ประเทศหนึ่งได้กักเรือสินค้า ของอีกประเทศหนึ่งที่ตนคาดว่าจะทําสงครามที่อยู่ในท่าก่อนเกิดสงครามเพื่อจะยึดมาใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดสงครามขึ้น หรือการปิดอ่าวในเวลาสงบโดยที่รัฐหนึ่งกระทําต่ออีกรัฐหนึ่งเพื่อบีบบังคับให้รัฐที่ถูกปิดอ่าวทําตามข้อเรียกร้องของตน เป็นต้น

WordPress Ads
error: Content is protected !!