LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2105 (LAW 2005) ป.พ.พ.ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่า ให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญาด้วยวาจา นายไก่ส่งมอบ บ้านและที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาท หลังจากนั้นนายไข่ก็ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด
(2) นายไก่จะฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ชายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ เมื่อได้ไป ทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญากันด้วยวาจา และนายไก่ส่งมอบบ้าน และที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ได้ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาทแล้วนั้น สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดิน ระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) อสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาที่คู่กรณียัง มิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายกําหนดในภายหน้า และสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว

แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ เพราะสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายไม่ได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด

สัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น แม้จะไม่ได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาจะซื้อขาย ระหว่างนายไก่และนายไข่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง คือได้มีการชําระหนี้ บางส่วนกันแล้ว โดยนายไก่ได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่แล้ว และนายไข่ก็ได้ชําระหนี้ให้แก่นายไก่ ไปแล้วบางส่วนคือ 1 แสนบาท ดังนั้น เมื่อนายไข่ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ตกลงกันไว้ นายไก่ย่อมสามารถฟ้อง นายไข่ว่าผิดสัญญาได้ เพราะมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือการชําระหนี้บางส่วน

สรุป

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

(2) นายไก่สามารถฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้

ข้อ 2 นายโจ้เป็นพ่อค้าขายรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศ แต่วิธีการขายจะเป็นการขาย แบบขายทอดตลาดทุกครั้ง ครั้งละ 5 คัน นายหนึ่งประมูลได้ไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาส่งมอบรถกันเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณ หนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาท แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุด บกพร่องที่เกิดขึ้น นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่ เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งได้ประมูลรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศจากการ ขายทอดตลาดของนายโจ้ซึ่งเป็นพ่อค้าไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาและส่งมอบรถกัน

เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณหนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาทนั้น ย่อมถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักแล้วนายโจ้ผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่ว่านายโจ้ผู้ขายจะได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรถสปอร์ตหรูคันดังกล่าวที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจ้นั้น เป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายโจ้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น การที่นายหนึ่งได้แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้น แต่นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

สรุป นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

ข้อ 3 นายสองนําควายไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปี ในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท เมื่อรับซื้อฝากไว้เพียงเดือนเดียว ควายที่รับซื้อฝากไว้ถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว ก่อนครบ 1 ปี นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืน จากนายสามพร้อมเงินสินไถ่ตัวละ 3 หมื่นบาท นายสามปฏิเสธไม่ให้ไม่โดยอ้างว่า ยังไม่ครบ 1 ปี สินไถ่ต้องตัวละ 5 หมื่นบาทจึงจะให้ไถ่ คําปฏิเสธของนายสามรับฟังได้หรือไม่ และนายสองจะ ฟ้องเรียกค่าเสียหายควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย (2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

มาตรา 501 “ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่า ทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายสองนําควายซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝาก ไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ตกลงไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปีนั้น สัญญาขายฝากดังกล่าว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง และกําหนดเวลาไถ่คืนก็ไม่เกิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 494 (2)

2 ก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืนจากนายสามนั้น นายสองย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายสองผู้ขายฝากแต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายใน กําหนด 1 ปี ตามมาตรา 491 และมาตรา 494. ดังนั้น การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

3 การที่นายสองขายฝากควายไว้ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท และตกลงว่าจะไม่คืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นแม้จะต่ํากว่าราคาที่รับซื้อฝากก็ตาม แต่คู่กรณีย่อมสามารถที่จะ ตกลงกันได้ตามมาตรา 499 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อนายสองจะใช้สิทธิไถ่ควายคืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท ตามที่ ตกลง นายสามจะปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่านายสองจะต้องใช้สินไถ่ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

4 การที่นายสองนําควายไปขายฝากไว้กับนายสาม 10 ตัว หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ควายที่ นายสามรับซื้อฝากไว้นั้นถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว การที่ควายตายไป 5 ตัวนั้น ถือเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก ภัยธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสามผู้ซื้อฝากแต่อย่างใด ดังนั้น นายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากการที่ควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาท ตามมาตรา 501 ไม่ได้

สรุป การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้นายสองไถ่ควายคืนโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปี และสินไถ่ต้อง ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น รับฟังไม่ได้ และนายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ควายถูกฟ้าผ่าตาย 5 ตัว จากนายสาม ตัวละ 5 พันบาทไม่ได้

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายแดงตกลงด้วยวาจาซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท และโทรศัพท์หนึ่งเครื่องราคา 20,000 บาท จากนายฟ้า กําหนดชําระเงินภายใน 1 เดือน นายฟ้าได้ส่งมอบบ้านและโทรศัพท์ให้นายแดงแล้วหลังจากตกลงกันเพียง 1 สัปดาห์ นายแดงแจ้งให้นายฟ้าทราบว่าไม่ต้องการซื้อบ้านและโทรศัพท์แล้ว ให้วินิจฉัยว่า นายฟ้าจะฟ้องบังคับให้นายแดงชําระค่าบ้านและค่าโทรศัพท์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่หาตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐาน เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็น
ราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 456 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ

แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หรือเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือมีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือได้มีการชําระหนี้กันบางส่วนแล้ว (มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) กรณีการซื้อบ้าน การที่นายแดงตกลงด้วยวาจาซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท จากนายฟ้า กําหนดชําระเงินภายใน 1 เดือน โดยนายฟ้าได้ส่งมอบบ้านให้นายแดงผู้ซื้อแล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ซื้อ กับผู้ขายไม่ได้มีการตกลงกันไว้ว่าจะไปโอนบ้านหรือจะไปทําสัญญาซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบในภายหลัง สัญญา ซื้อขายบ้านซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อไม่มีการทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายบ้านดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

และเมื่อสัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายแดงกับนายฟ้าตกเป็นโมฆะ ดังนั้น เมื่อนายแดงได้แจ้งให้ นายฟ้าทราบว่าตนไม่ต้องการซื้อบ้านหลังดังกล่าวแล้ว นายฟ้าจะฟ้องบังคับให้นายแดงชําระค่าบ้านไม่ได้
(แต่ชอบที่จะเรียกเอาบ้านคืนจากนายแดงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้เท่านั้น)

(2) กรณีการซื้อขายโทรศัพท์ การที่นายแดงได้ตกลงด้วยวาจาซื้อโทรศัพท์หนึ่งเครื่องราคา
20,000 บาท จากนายฟ้า และนายฟ้าได้ส่งมอบโทรศัพท์ให้แก่นายแดงแล้วนั้น เมื่อเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่ เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา สัญญาซื้อขายโทรศัพท์ดังกล่าวระหว่างนายแดงและนายฟ้า จึงเป็นสัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องกระทําตามแบบตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา 20,000 บาท จึงต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม กล่าวคือ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้บางส่วนแล้ว ก็จะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายฟ้าได้ส่งมอบโทรศัพท์ให้แก่นายแดงแล้ว ย่อมถือว่าผู้ขายได้มีการชําระหนี้บางส่วนแล้ว ดังนั้น เมื่อต่อมานายแดงได้แจ้งให้นายฟ้าทราบว่าตนไม่ต้องการซื้อโทรศัพท์ดังกล่าวแล้ว นายฟ้าจึงสามารถฟ้องบังคับให้นายแดงชําระค่าโทรศัพท์ได้

สรุป นายฟ้าจะฟ้องบังคับให้นายแดงชําระค่าบ้านไม่ได้ แต่สามารถฟ้องบังคับให้นายแดงชําระค่าโทรศัพท์ได้

ข้อ 2 บริษัทแห่งหนึ่งต้องการนํารถยนต์ของบริษัทบางคันที่เก่าแล้วออกประมูลขายทอดตลาด จึงได้จ้าง บริษัทขายทอดตลาดที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้อง ให้เป็นผู้ดําเนินการประมูลขายทอดตลาด โดยบริษัทก็ทราบว่ารถยนต์ของบริษัททุกคันที่นํามาประมูลขายทอดตลาดนั้นเป็นรถที่เก่าและชํารุดประมูลซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดครั้งนั้นได้คันหนึ่ง เมื่อดํานํารถคันนั้นออกใช้จึงรู้ว่า รถยนต์มีความชํารุดมากถ้าจะซ่อมต้องเสียค่าซ่อมมาก จึงได้นํารถยนต์คันนั้นออกขายต่อให้แดง

ดังนี้ อยากทราบว่าดําจะเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของรถยนต์ที่นําออกขายรับผิดได้หรือไม่ และแดง จะเรียกร้องให้รับผิดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด อายุความเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า
ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่ มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชํารุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน

(2) ถ้าความชํารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดี ผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชํารุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้น หากได้ใช้ความระมัดระวัง อันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน หรือถ้าทรัพย์สินนั้นได้มาจากการขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัทแห่งหนึ่งต้องการนํารถยนต์ของบริษัทบางคันที่เก่าแล้วออกประมูล ขายทอดตลาด จึงได้จ้างบริษัทขายทอดตลาดที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องให้เป็นผู้ดําเนินการประมูลขายทอดตลาด
โดยบริษัทก็ทราบว่ารถยนต์ของบริษัททุกคันที่นํามาประมูลขายทอดตลาดนั้น เป็นรถที่เก่าและชํารุด และดําได้ ประมูลซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดครั้งนั้นได้หนึ่งคัน และเมื่อดําได้นํารถยนต์คันนั้นออกใช้จึงรู้ว่ารถยนต์ มีความชํารุดมาก ถ้าจะซ่อมต้องเสียค่าซ่อมมากนั้น กรณีดังกล่าวดําจะเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของรถยนต์ที่นํา ออกขายรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องไม่ได้ เพราะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 (3) คือเป็นทรัพย์สินที่ดําได้ซื้อ มาจากการขายทอดตลาด ดังนั้น แม้ทรัพย์ที่ซื้อมาจะชํารุดบกพร่องก็ตาม ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด

ส่วนการที่ดําได้นํารถยนต์คันนั้นออกขายต่อให้แดง ถ้าแดงไม่ทราบว่ารถยนต์คันนั้นชํารุดบกพร่อง และแดงได้ใช้ความระมัดระวังในการรับมอบทรัพย์สินในระดับวิญญูชน และความชํารุดบกพร่องนั้นไม่สามารถ เห็นประจักษ์ได้ในเวลาส่งมอบ อีกทั้งสัญญาซื้อขายระหว่างดําและแดงก็มิใช่เป็นการขายทอดตลาด กรณีจึง ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 ดังนั้น แดงจึงสามารถเรียกร้องให้ตํารับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องได้ สรุป ดําจะเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของรถยนต์ที่นําออกขายรับผิดไม่ได้ แต่แดงสามารถเรียกร้องให้ตํารับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องได้

ข้อ 3 โจทก์ทําสัญญาขายฝากที่ดินแปลงหนึ่งไว้กับจําเลย โดยทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ กําหนดสินไถ่ไว้ 300,000 บาท โดยในสัญญาไม่ได้กําหนดเวลาไถ่คืน ขายฝากไปได้ 1 ปี โจทก์ได้มาหาจําเลยที่บ้านเพื่อจะขอไถ่ และนําเงินสินไถ่ 300,000 บาท มาให้จําเลยที่บ้าน แต่จําเลยปฏิเสธไม่รับโดยอ้างว่าเป็นวันหยุดไม่มีธนาคารแห่งไหนเปิดทําการ จึงไม่อยากเก็บเงินไว้ที่บ้าน แต่โจทก์ไม่ยอม ได้วางเงินสินไถ่ทั้งหมดไว้ที่บ้านจําเลย แล้วบอกจําเลยว่าจะโทร มานัดวันให้จําเลยไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินที่สํานักงานที่ดินกันอีกที่หนึ่ง ให้นักศึกษาอธิบายว่า โจทก์ได้ไถ่คืนที่ดินแปลงนั้นแล้วหรือยัง กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นเป็นของใคร ระหว่างโจทก์กับจําเลย และถ้าจําเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินแปลงนั้นให้โจทก์ โจทก์จะฟ้องจําเลยให้ไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินแปลงนั้นได้หรือไม่ และภายในอายุความเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/30 “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ให้มีกําหนดสิบปี”

มาตรา 492 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด หรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสํานักงานวางทรัพย์ภายในกําหนดเวลาไถ่
โดยสละสิทธิ์ถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ แล้วแต่กรณี

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ทําสัญญาขายฝากที่ดินแปลงหนึ่งไว้กับจําเลย โดยทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ กําหนดสินไถ่ไว้ 300,000 บาท แต่ในสัญญาไม่ได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ ดังนี้ ถ้าโจทก์จะไถ่คืนโจทก์ย่อมมีสิทธิไถ่คืนได้ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่เวลาขายฝากตามมาตรา 494 (1) และ ใช้สินไถ่จํานวน 300,000 บาท ตามที่ตกลงกันไว้

เมื่อขายฝากได้ 1 ปี การที่โจทก์ได้มาหาจําเลยที่บ้านเพื่อจะขอไถ่และนําเงินสินไถ่ 300,000 บาท มาให้จําเลยที่บ้าน แต่จําเลยปฏิเสธไม่รับโดยอ้างว่าเป็นวันหยุดไม่มีธนาคารแห่งไหนเปิดทําการ จึงไม่อยากเก็บเงินไว้ที่บ้าน แต่โจทก์ไม่ยอมได้วางเงินสินไถ่ทั้งหมดไว้ที่บ้านจําเลย แล้วบอกจําเลยว่าจะโทรมานัดวันให้จําเลย ไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินที่สํานักงานที่ดินกันอีกทีหนึ่งนั้น การกระทําของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ ภายในกําหนดเวลาตามาตรา 494 (1) และได้ใช้สินไถ่ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น จึงมีผลตามมาตรา 492 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ทําให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถคือโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ผู้ไถ่ได้ชําระเงินสินไถ่ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนการไถ่คืนก็ตาม

ส่วนการจดทะเบียนไถ่คืนทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า จะต้องดําเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืน และเมื่อโจทก์ได้ไถ่ที่ดินแปลงนั้นคืนแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น ย่อมตกเป็นของโจทก์ตามมาตรา 492 ดังนั้น ถ้าจําเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนไถ่ที่ดินคืนให้โจทก์ โจทก์สามารถ ฟ้องให้จําเลยไปจดทะเบียนไก่ที่ดินแปลงนั้นคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามาตรา 193/30 ในฐานะเจ้าของ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนนับแต่เวลาใช้สิทธิไถ่คืน ตามมาตรา 492
สรุป โจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ที่ดินแปลงนั้นแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นเป็นของโจทก์ และถ้าจําเลย ไม่ยอมไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินแปลงนั้นให้โจทก์ โจทก์ก็สามารถฟ้องให้จําเลยไปจดทะเบียนไถ่คืนที่ดินแปลงนั้น ได้ภายในอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ใช้สิทธิไถ่คืน

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 ข้อสอบกระบวนวิชา
LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายที่ดิน 1 แปลงให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท โดยยอมให้นายไข่ผ่อนชําระราคาที่ดิน ได้เป็น 10 งวด ๆ ละ 1 แสนบาท โดยนายไก่ส่งมอบที่ดินให้แก่นายไข่ได้ครอบครองเรียบร้อยแล้ว และจะทําการโอนให้เมื่อนายไข่ชําระราคาครบถ้วน 1 ล้านบาท และนายไก่ได้ตกลงขายกวางดาว จํานวน 4 ตัวให้แก่นายเป็ดในราคาตัวละ 5 พันบาท โดยมีการส่งมอบกวางดาว และนายเป็ดชําระ ราคาครบถ้วน 2 หมื่นบาทถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

(1) สัญญาซื้อขายระหว่างนายไก่และนายไข่ นายไก่และนายเป็ดเป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(2) หากนายไข่ผ่อนค่าซื้อไปแค่ 2 งวดแล้วไม่ยอมผ่อนต่ออีกเลย นายไก่จะฟ้องนายไข่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐาน
เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้
บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 456 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ

แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หรือเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือมีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือได้มีการชําระหนี้กันบางส่วนแล้ว (มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่ตกลงขายที่ดิน 1 แปลงให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท โดยยอมให้นายไข่ผ่อนชําระราคาที่ดินได้เป็น 10 งวด ๆ ละ 1 แสนบาท โดยนายไก่ส่งมอบที่ดินให้แก่นายไข่ได้ ครอบครองเรียบร้อยแล้ว และจะทําการโอนให้เมื่อนายไข่ชําระราคาครบถ้วน 1 ล้านบาทนั้น ถือว่าสัญญาซื้อขาย ที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) อสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ เมื่อได้ไปทําเป็น หนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั่นเอง และสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวถือเป็นสัญญาที่ สมบูรณ์แม้จะตกลงกันด้วยวาจา เพราะในทางกฎหมายนั้น สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบแต่อย่างใด ส่วนการที่นายไก่ได้ตกลงขายกวางดาวจํานวน 4 ตัวให้แก่นายเป็ดในราคาตัวละ 5 พันบาท

โดยมีการส่งมอบกวางดาว และนายเป็ดชําระราคาครบถ้วน 2 หมื่นบาทถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น สัญญาซื้อขาย กวางดาวระหว่างนายไก่และนายเป็ดเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่วไป มิใช่เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์ตามมาตรา 453 และมีผลสมบูรณ์ เพราะเป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

(2) แม้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จะมิได้ทําเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายไข่ซึ่งเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดก็ตาม เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ และเมื่อ ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันตามมาตรา 456 วรรคสอง คือได้มีการชําระหนี้บางส่วนแล้ว โดยนายไข่ชําระราคาค่าซื้อที่ดินแล้ว 2 งวด และนายไก่ได้ส่งมอบ ที่ดินให้นายไข่ได้ครอบครองแล้ว ดังนั้น เมื่อนายไข่ผิดสัญญาไม่ยอมผ่อนค่าซื้อที่ดินอีกเลย นายไก่จึงสามารถฟ้อง
นายไข่ได้

สรุป

(1) สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนสัญญาซื้อขายกวางดาวระหว่างนายไก่และนายเป็ดเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

(2) หากนายไข่ผ่อนค่าซื้อที่ดินไปแค่ 2 งวดแล้วไม่ยอมผ่อนต่ออีกเลยนั้น นายไก่สามารถฟ้องนายไข่ได้

ข้อ 2 นายนกตกลงขายรถยนต์ใช้แล้วซึ่งนายนกไปขโมยรถยนต์ของนายหนูมาแล้วเอามาขายต่อให้นายหมู
ในราคาพิเศษโดยนายหมูทราบดีว่าเป็นรถยนต์ที่นายนกขโมยมาขาย ต่อมานายหนูติดตามเอารถยนต์ ของตนเองคืนจากนายหมูพร้อมแสดงพยานหลักฐานความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน นายหมูจึงคืน
รถยนต์ให้นายหนูไป นายหมูจะฟ้องให้นายนกรับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

มาตรา 476 “ถ้าสิทธิของผู้ก่อการรบกวนนั้น ผู้ซื้อรู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขาย ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด”

วินิจฉัย

กรณีการรอนสิทธินั้นตามมาตรา 475 วางหลักไว้ว่า ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิถ้าผู้ซื้อ ไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาได้โดยปกติสุข เพราะมีบุคคลอื่นที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น อยู่ในเวลาซื้อขายมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ แต่ถ้าสิทธิของผู้ก่อการรบกวนนั้น ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลา ซื้อขาย ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธินั้น (มาตรา 476)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหมูได้ซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนายนก และต่อมาได้ถูกนายหนูเจ้าของ รถยนต์ที่แท้จริงที่ถูกนายนกขโมยไปได้ติดตามเอารถยนต์ของตนเองคืนจากนายหมูพร้อมแสดงพยานหลักฐาน ความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน ทําให้นายหมูต้องคืนรถยนต์ให้แก่นายหนูไปนั้น กรณีเช่นนี้ถือว่านายหมูผู้ซื้อ ถูกรอนสิทธิแล้วตามมาตรา 475 ซึ่งโดยหลักแล้วนายนกผู้ขายจะต้องรับผิดต่อนายหมู

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่ทําสัญญาซื้อขายรถยนต์กันนั้น นายหมูได้รู้ถึง สิทธิของผู้ก่อการรบกวนนั้นแล้ว คือนายหมูได้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ที่ตนได้ซื้อจากนายนกนั้นเป็นรถยนต์ที่นายนก ได้ขโมยมาขาย จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 476 ที่นายนกผู้ขายไม่ต้องรับผิดในกรณีที่นายหมูถูกรอนสิทธิ ดังนั้น นายหมูจะฟ้องให้นายนกรับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิไม่ได้

สรุป
นายหมูจะฟ้องให้นายนกรับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิไม่ได้

ข้อ 3 นายมวงนําช้างแม่ลูกไปทําเป็นหนังสือขายฝากนายครามไว้ ช้างแม่ในราคา 5 แสนบาท ช้างลูก ในราคา 2 แสนบาท มีกําหนดไถ่คืนภายในเวลา 1 ปี ไถ่คืนในราคาเดิม เมื่อขายฝากไปได้เพียง 5 เดือน เกิดโรคระบาดโควิด 19 นายครามกลัวช้างตายจึงไปบังคับให้นายม่วงมาไถ่ช้างคืน และต้องนําเงินมา 7 แสนบาท บวกประโยชน์ที่ตนควรจะได้อีก 15%

(1) สัญญาขายฝากช้างแม่และช้างลูกระหว่างนายม่วงและนายครามมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(2) นายครามจะบังคับให้นายม่วงมาไถ่ช้างคืนก่อนครบกําหนด 1 ปีได้หรือไม่ นายม่วงจะปฏิเสธ
ได้หรือไม่

(3) นายครามให้นายม่วงน้ําเงินสินไถ่จํานวน 7 แสนบาท บวกประโยชน์อีก 15% เป็นสิทธิโดย ชอบด้วยกฎหมายของนายครามหรือไม่ นายม่วงจะนําเงินมาไถ่เพียง 7 แสนบาทได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉันได้ดังนี้

(1) การที่นายม่วงได้นําช้างแม่ไปทําเป็นหนังสือขายฝากไว้กับนายครามไว้นั้น สัญญาขายฝากช้างแม่ระหว่างนายม่วงและนายครามย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะการขายฝากช้างแม่ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะและเป็น
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อคู่สัญญาได้ทําสัญญาขายฝากเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะ เปรียบเสมือนคู่สัญญาไม่ได้ทําสัญญาขายฝากช้างแม่กันแต่อย่างใดเลย ดังนั้น นายครามจึงต้องส่งคืน ช้างแม่ให้แก่นายม่วง และนายม่วงก็จะต้องคืนเงิน 5 แสนบาทให้แก่นายครามในฐานลาภมิควรได้

ส่วนสัญญาขายฝากช้างลูกนั้น เมื่อช้างลูกถือเป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไปยังไม่ใช่สัตว์พาหนะ การทําสัญญาขายฝากจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่งที่จะต้องทําเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาขายฝากช้างลูกซึ่งคู่สัญญาได้ทําเป็นหนังสือนั้น
จึงมีผลสมบูรณ์

(2) การขายฝากสังหาริมทรัพย์นั้น ตามมาตรา 494 (2) คู่สัญญาสามารถกําหนดเวลาไถ่คืนได้ ไม่เกิน 3 ปี ดังนั้นเมื่อคู่สัญญาได้กําหนดเวลาในการไถ่คืนไว้เพียง 1 ปี จึงถูกต้องตามกฎหมายและมีผลทําให้ นายม่วงต้องไถ่ช้างลูกคืนภายในกําหนด : ปีนับแต่เวลาขายฝาก หรือนายม่วงอาจจะใช้สิทธิไถ่คืนก่อนครบกําหนด 1 ปีก็ได้ซึ่งเป็นสิทธิของนายม่วงที่เป็นฝ่ายเลือกว่าจะไถ่คืนเมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปี นายครามจะบังคับให้ นายม่วงมาไถ่ช้างคืนก่อนครบกําหนด 1 ปีไม่ได้

(3) สินไถ่นั้นคู่สัญญาจะตกลงกันอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี (มาตรา 499) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาได้ตกลงให้ไถ่คืนตามราคาเดิมคือ 5 แสนบาท และ 2 แสนบาท ก็ต้องเป็นไปตามนั้นจะมาคิดประโยชน์ในภายหลังไม่ได้ ดังนั้น นายม่วงสามารถนําเงินมาไถ่ช้างคืน ได้เพียง 7 แสนบาท นายครามจะบังคับให้นายม่วงน้ําเงินสินไถ่จํานวน 7 แสนบาท บวกประโยชน์ตอบแทนอีก 15 % ไม่ได้ เพราะถือเป็นสิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายคราม

สรุป

(1) สัญญาขายฝากช้างแม่ระหว่างนายม่วงและนายครามเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาขายฝาก
ช้างลูกมีผลสมบูรณ์

(2) นายครามจะบังคับให้นายม่วงไถ่ช้างคืนก่อนครบกําหนด 1 ปีไม่ได้

(3) นายครามจะให้นายม่วงน้ําเงินสินไถ่จํานวน 7 แสนบาท บวกประโยชน์อีก 15 % นั้น เป็นสิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายม่วงสามารถนําเงินมาไถ่ได้ในจํานวน 7 แสนบาท

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 นายสมศักดิ์ตกลงทําสัญญาขายบ้านของตนหลังหนึ่งให้แก่นายคําแพง ในราคา 1,000,000 บาท โดยมีข้อตกลงกันว่า ให้นายสมศักดิ์มอบบ้านให้นายคําแพงในวันทําสัญญาดังกล่าวและนายคําแพงจะชําระราคาให้ในวันที่ 1 เมษายน 2560 ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ให้นายสมศักดิ์เป็นผู้เสีย และทั้งคู่มิได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ นายคําแพงอยู่ในบ้านหลังนี้มาจนถึง วันที่ 25 มีนาคม 2560 ก็เกิดไฟไหม้บ้านข้างเคียงและลุกลามมาไหม้บ้านหลังดังกล่าว

ดังนี้ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า สัญญานี้เป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และถึงวันกําหนดชําระราคา นายคําแพงไม่ยอมชําระราคา นายสมศักดิ์จะมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายคําแพงชําระราคา 1,000,000 บาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและ
สัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 458 “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทําสัญญาซื้อขายกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมศักดิ์ตกลงทําสัญญาขายบ้านของตนหลังหนึ่งให้แก่นายคําแพง ในวันที่ 10 มีนาคม 2560 ในราคา 1,000,000 บาท โดยมีข้อตกลงกันว่า ให้นายสมศักดิ์ส่งมอบบ้านให้นายคําแพง ในวันทําสัญญาและนายคําแพงจะชําระราคาให้ในวันที่ 1 เมษายน 2560 ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้นายสมศักดิ์ ถือว่านายสมศักดิ์กับนายคําแพงได้แสดงเจตนาทําสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ และ
เป็นผู้เสียนั้น

การที่ทั้งสองมีข้อตกลงกันว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้นายสมศักดิ์เป็นผู้เสียนั้น แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญายังมิได้มีเจตนา ที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ให้เสร็จสิ้นอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น สัญญา ซื้อขายบ้านระหว่างนายสมศักดิ์กับนายคําแพงจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายตามมาตรา 456 วรรคสอง และแม้ว่า ทั้งสองจะมิได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ เพราะสัญญาจะซื้อขายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด

และเมื่อสัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายสมศักดิ์กับนายคําแพงเป็นสัญญาจะซื้อขายมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น จะถือว่ากรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าวได้โอนไปเป็นของนายคําแพงผู้ซื้อแล้วตามมาตรา 458 ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้จึงยังไม่โอนไปยังนายคําแพงผู้ซื้อในเวลาซื้อขายแต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ ของนายสมศักดิ์ผู้ขาย และเมื่อได้เกิดไฟไหม้บ้านหลังดังกล่าวในขณะที่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายสมศักดิ์และจะโทษ นายคําแพงไม่ได้ บาปเคราะห์จึงตกแก่นายสมศักดิ์เจ้าของกรรมสิทธิ์ ดังนั้น แม้สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจะมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีเนื่องจากได้มีการชําระหนี้บางส่วนคือได้มีการส่งมอบบ้านให้แก่กันแล้วก็ตาม นายสมศักดิ์ก็จะฟ้องบังคับให้นายคําแพงชําระราคา 1,000,000 บาทไม่ได้ เพราะนายสมศักดิ์ไม่มีบ้านที่จะโอนให้แก่นายคําแพงนั่นเอง

สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนายสมศักดิ์กับนายคําแพงเป็นสัญญาจะซื้อขาย และนายสมศักดิ์ จะฟ้องบังคับให้นายคําแพงชําระราคา 1,000,000 บาทไม่ได้

ข้อ 2 นายทองซื้อมือถือใช้แล้วจากการขายทอดตลาดเครื่องหนึ่งของนายเงินในราคา 20,000 บาท เมื่อนายทองใช้มือถือเครื่องนั้นไประยะหนึ่งพบว่ามือถือเครื่องนั้นมีปัญหาชํารุดอยู่ภายในเครื่อง ซ่อมแล้วแก้ไม่หาย นายทองจึงได้ขายมือถือเครื่องนั้นต่อให้นายนาคโดยตกลงว่านายทองจะไม่รับผิดต่อนายนาคในความชํารุดบกพร่อง และการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับมือถือเครื่องนั้น เมื่อนายนาคซื้อมาได้เพียงหนึ่งเดือนนายดินได้พาเจ้าพนักงานตํารวจมายึดมือถือเครื่องนั้นไปเพราะเป็นของนายดินที่หายไปและได้แจ้งความกับเจ้าพนักงานตํารวจไว้แล้ว นายนาคจะฟ้องร้องต่อศาลให้นายทองรับผิด ในการรอนสิทธิและในความชํารุดบกพร่องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สิน โดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

มาตรา 479 “ถ้าทรัพย์สินซึ่งซื้อขายกันหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพราะเหตุการรอนสิทธิก็ดี หรือว่าทรัพย์สินนั้นตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อม ความเหมาะสมแก่การที่จะใช้ หรือเสื่อมความสะดวกในการใช้สอย หรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้น และซึ่งผู้ซื้อหาได้รู้ในเวลาซื้อขายไม่ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด”

มาตรา 483 “คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือ เพื่อการรอนสิทธิก็ได้”

มาตรา 485 “ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอัน ผู้ขายได้กระทําไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทองซื้อมือถือใช้แล้วจากการขายทอดตลาดเครื่องหนึ่งของนายเงิน ในราคา 20,000 บาท เมื่อนายทองใช้มือถือเครื่องนั้นไประยะหนึ่งพบว่ามือถือเครื่องนั้นมีปัญหาชํารุดอยู่ภายในเครื่อง ซ่อมแล้วแก้ไม่หาย นายทองจึงได้ขายมือถือเครื่องนั้นต่อให้นายนาคโดยตกลงกันว่านายทองจะไม่รับผิดต่อนายนาค ในความชํารุดบกพร่องและการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับมือถือเครื่องนั้น และเมื่อนายนาคซื้อมาได้เพียงหนึ่งเดือน นายดินได้พาเจ้าพนักงานตํารวจมายึดมือถือเครื่องนั้นไปเพราะเป็นของนายดินที่หายไปและได้แจ้งความกับเจ้าพนักงานตํารวจไว้แล้วนั้น เช่นนี้ นายนาคจะฟ้องร้องต่อศาลให้นายทองรับผิดในการรอนสิทธิและในความชํารุด บกพร่องได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีที่ 1 ความรับผิดในการรอนสิทธิ การที่นายนาคผู้ซื้อได้ถูกรอนสิทธิ คือถูกนายดินเจ้าของที่แท้จริงของมือถือเครื่องดังกล่าวได้พาเจ้าพนักงานตํารวจมายึดมือถือไปนั้น โดยหลักแล้วนายนาคย่อมสามารถ ฟ้องให้นายทองรับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้ตามมาตรา 475 และมาตรา 479 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มี ข้อตกลงกันไว้ว่านายทองจะไม่รับผิดต่อนายนาคในการรอนสิทธิใด ๆ ตามมาตรา 483 และไม่ปรากฏว่าการที่
นายนาคผู้ซื้อถูกรอนสิทธินั้นเป็นเพราะความผิดของผู้ขายหรือผู้ขายได้รู้ถึงข้อความจริงว่ามือถือนั้นเป็นของนายดิน แต่ได้ปกปิดเสียตามมาตรา 485 แต่อย่างใด ดังนั้น นายนาคจะฟ้องให้นายทองรับผิดในการรอนสิทธิไม่ได้

กรณีที่ 2 ความรับผิดในความชํารุดบกพร่อง การที่มือถือที่นายนาคได้ซื้อไปจากนายทองนั้นมีปัญหา ชํารุดบกพร่องภายในเครื่องซึ่งซ่อมแล้วก็ไม่หายนั้น ถือว่านายทองผู้ขายจะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น ต่อนายนาคตามมาตรา 472 และมาตรา 479 และแม้ว่าจะได้มีข้อตกลงกันไว้ว่านายทองจะไม่รับผิดต่อนายนาคในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นกับมือถือเครื่องนั้นตามมาตรา 483 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าการที่มือถือมีความ ชํารุดบกพร่องนั้น นายทองผู้ขายได้รู้อยู่แล้วแต่ได้ปกปิดไม่บอกให้นายนาครู้ตามมาตรา 485 ดังนั้น ข้อสัญญา ที่ว่านายทองไม่ต้องรับผิดนั้นจึงไม่คุ้มครองความรับผิดของผู้ขาย นายนาคจึงสามารถฟ้องให้นายทองรับผิดในความชํารุดบกพร่องได้

สรุป นายนาคจะฟ้องให้นายทองรับผิดในการรอนสิทธิไม่ได้ แต่สามารถฟ้องให้นายทองรับผิด
ในความชํารุดบกพร่องได้

ข้อ 3 นายเอกขายพ่อม้าแข่งตัวหนึ่งกับนายโทในราคาหนึ่งแสนบาท โดยทําสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ทั้งนายเอกและนายโท และจดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ในสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกันนั้น มีข้อตกลงให้นายเอกมีสิทธิซื้อพ่อม้าตัวนั้นกลับคืนได้ภายในเวลา 1 ปี ในราคาหนึ่งแสนบาท เท่าราคาขาย ต่อมาเมื่อขายไปได้ 6 เดือน นายโทได้จดทะเบียนขายต่อพ่อม้าตัวนั้นไปให้กับนายตรี โดยนายตรีและนายเอกทราบถึงสัญญาที่นายเอกทําไว้กับนายโท หลังจากที่นายโทขายพ่อม้าให้ นายตรีไป 3 เดือน นายเอกได้โทรศัพท์ขอเลื่อนเวลาซื้อพ่อมาคืนจากนายตรีไปเป็น 2 ปี นายตรี ตอบตกลง เมื่อขายพ่อม้าไปรวมเวลาได้ 1 ปีกับ 2 เดือน นายเอกจึงได้นําเงินหนึ่งแสนบาทมาขอไถ่ พ่อม้าตัวนี้คืนจากนายตรี นายตรีจะไม่ยอมรับไถ่คืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 495 “ถ้าในสัญญามีกําหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านั้น ท่านให้ลดลงมาเป็นสิบปีและสามปี
ตามประเภททรัพย์”

มาตรา 496 “กําหนดเวลาไถ่นั้น อาจทําสัญญาขยายกําหนดเวลาไม่ได้ แต่กําหนดเวลาไถ่รวมกัน ทั้งหมด ถ้าเกินกําหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกําหนดเวลาตามมาตรา 494

การขยายกําหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่…”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ นายตรีจะไม่ยอมรับไถ่คืนได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายเอกขายพ่อม้าแข่งตัวหนึ่งให้กับนายโทในราคาหนึ่งแสนบาท โดยทําสัญญา เป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งนายเอกและนายโท และจดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่และในสัญญาซื้อขาย ฉบับเดียวกันนั้นมีข้อตกลงให้นายเอกมีสิทธิซื้อพ่อม้าตัวนั้นกลับคืนได้ภายในเวลา 1 ปี ในราคาหนึ่งแสนบาท เท่ากับราคาขายนั้น ถือว่าเป็นสัญญาขายฝากตามมาตรา 491 และมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง และ กําหนดเวลาไถ่คืนก็ไม่เกินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 494 (2) และมาตรา 495

2 ต่อมาเมื่อขายไปได้ 6 เดือน นายโทได้จดทะเบียนขายต่อพ่อม้าตัวนั้นไปให้กับนายตรี โดยนายตรีได้ทราบถึงสัญญาที่นายเอกทําไว้กับนายโท และหลังจากที่นายโทขายพ่อมาให้นายตรีไปได้ 3 เดือน นายเอกได้โทรศัพท์ขอเลื่อนเวลาซื้อพ่อมาคืนจากนายตรีไปเป็น 2 ปี โดยนายตรีตกลงด้วยนั้น ถือเป็นการขยาย กําหนดเวลาไถ่ ซึ่งแม้ว่ากําหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมดจะไม่เกินกําหนดเวลาตามมาตรา 494 (2) และมาตรา 495 ประกอบมาตรา 496 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ตามมาตรา 496 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า การขยายกําหนดเวลาไถ่ อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ เมื่อการขยายเวลาไถ่ระหว่างนายเอกกับนายตรีไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายตรีผู้รับไถ่ ข้อตกลงของการขยายเวลาไถ่จึงใช้บังคับนายตรีไม่ได้ ดังนั้น เมื่อการขายพ่อม้าไปแล้วรวมเวลาได้ 1 ปีกับ 2 เดือน ซึ่งเกินกําหนดเวลาไถ่คืนคือ 1 ปี การที่นายเอกได้นําเงิน หนึ่งแสนบาทมาขอไถ่พ่อม้าตัวนี้คืนจากนายตรี นายตรีจึงสามารถที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่คืนได้

สรุป เมื่อนายเอกมาขอไถ่พ่อม้าตัวนี้คืนจากนายตรี นายตรีสามารถปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่คืนได้

 

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายหนึ่งตกลงขายบ้านเรือนแพให้แก่นายสองในราคา 8 แสนบาท และเรือแจว 2 ลํา ในราคาลําละ 5 พันบาท เรือสองลํานั้น นายหนึ่งส่งมอบและนายสองชําระราคาครบถ้วน ส่วนบ้านเรือนแพนั้น นายสองขอผ่อนชําระเป็นสองงวด ๆ ละ 4 แสนบาท เมื่อผ่อนครบนายหนึ่งก็จะไปโอนบ้านเรือนแพให้แก่นายสอง

(1) สัญญาซื้อขายเรือนแพและเรือแจวระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน
และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(2) หากนายสองผ่อนไป 4 แสนบาท อีก 4 แสนบาทผลัดวันหลายครั้งผิดนัดหลายครา นายหนึ่ง จะฟ้องนายสองให้รับผิดตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐาน

เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้
บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 46 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ

แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หรือเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่า หนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือมีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือได้มีการชําระหนี้กันบางส่วนแล้ว (มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) สัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสองซึ่งได้มีการส่งมอบและชําระราคากัน ครบถ้วนแล้วนั้น เป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป มิใช่เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

แต่อย่างใด ดังนั้นสัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์ และเมื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่วไปจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 453 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขาย เรือแจว 2 ลําดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

ส่วนสัญญาซื้อขาย เรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองราคา 8 แสนบาทนั้น เมื่อมีการ ตกลงกันว่านายสองผู้ซื้อจะขอผ่อนชําระราคาเป็น 2 งวด ๆ ละ 4 แสนบาท และเมื่อผ่อนครบนายหนึ่งจะไปโอน เรือนแพให้แก่นายสองนั้น สัญญาซื้อขายเรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองย่อมเป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่สัญญายังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กัน เมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า

และเมื่อสัญญาซื้อขายเรือนแพระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาจะซื้อขาย จึงไม่อยู่
ในบังคับของมาตรา 456 วรรคหนึ่งที่จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นสัญญา จะซื้อขายเรือนแพดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

(2) การที่นายสองได้ผ่อนชําระราคาไป 4 แสนบาท ส่วนอีก 4 แสนบาทนายสองได้ผลัดวันหลายครั้ง ผิดนัดหลายครานั้น นายหนึ่งย่อมสามารถฟ้องให้นายสองรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ เพราะสัญญาจะซื้อจะขาย เรือนแพดังกล่าวนั้น มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง คือ ได้มีการชําระหนี้กันแล้ว บางส่วน คือการที่นายสองได้ชําระราคาแล้ว 4 แสนบาทนั่นเอง

สรุป

(1) สัญญาซื้อขายเรือแจว 2 ลําระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จ เด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนสัญญาซื้อขายเรือนแพนั้นเป็นสัญญา จะซื้อจะขายและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
(2) นายหนึ่งสามารถฟ้องให้นายสองรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายได้

 

ข้อ 2 นายสามเปิดร้านขายเครื่องใช้สํานักงานมือสองจะเลิกกิจการจึงประกาศขายของทั้งร้านโดยวิธีการขายทอดตลาด นายสีประมูลได้โต๊ะทํางานไป 3 ตัว เมื่อชําระราคาส่งมอบกันเรียบร้อยแล้วนาย สํารวจโดยละเอียดอีกรอบปรากฏว่าขาโต๊ะ 2 ตัวคลอนแคลนมาบอกให้นายสามเปลี่ยนให้ใหม่ หรือไม่ก็คืนเงินบางส่วน เพราะของชํารุดบกพร่อง แต่นายสามปฏิเสธ คําปฏิเสธของนายสาม รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตร นี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสีได้ประมูลโต๊ะทํางานจากการขายทอดตลาดเครื่องใช้สํานักงาน มือสองจากร้านของนายสามไป 3 ตัว และเมื่อชําระราคาส่งมอบกันเรียบร้อยแล้วปรากฏว่าขาโต๊ะทํางาน 2 ตัว คลอนแคลนนั้น ย่อมถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่นายสี่ได้ซื้อมาจากนายสามอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักแล้วนายสามผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่ว่านายสาร จะได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโต๊ะทํางานที่นายสี่ซื้อมาจากนายสามทั้ง 3 ตัวนั้น เป็นการ ซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายสามผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้น ตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น การที่นายสาม ได้ปฏิเสธไม่รับผิดในความชํารุดบกพร่องดังกล่าว คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังได้

สรุป คําปฏิเสธของนายสามรับฟังได้

 

ข้อ 3 นายห้านําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายหกไว้เป็นเวลา 1 ปี ในราคา 1 ล้านบาท ไถ่คืนในราคา 2 ล้านบาท ต่อมานายหกถึงแก่ความตาย บ้านและที่ดินที่ติดสัญญา ขายฝากตกเป็นของนาย จัดทายาท ก่อนครบ 1 ปี นายห้าไปขอไถ่คืน พร้อมเงิน 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่นบาทถ้วน นายเจ็ดปฏิเสธไม่ให้ไปโดยอ้างว่า
(1) ยังไม่ครบ 1 ปี
(2) สินไถ่ไม่ครบต้อง 2 ล้านบาท
(3) นายเจ็ดไม่ใช่คู่สัญญากับนายห้าจึงไม่มีหน้าที่รับไถ่

คําปฏิเสธทั้ง 3 ประการของนายเจ็ดรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 498 “สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านี้ คือ

(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโกนว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน”

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสิน ไก่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายห้านําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายหก ไว้ในราคา 1 ล้านบาท และกําหนดไถ่คืนภายในหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาทนั้น

(1) เมื่อสัญญาขายฝากดังกล่าวได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินกําหนดเวลาตามที่กฎหมาย ได้กําหนดไว้ (มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายห้าได้ใช้สิทธิ ในการขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายห้าย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายห้าผู้ขายฝากแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปีตามมาตรา 491 และ 494 ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธโดยอ้างว่า ยังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายเจ็ดจึงรับฟังไม่ได้

(2) การที่นายห้าขายฝากบ้านและที่ดินไว้ในราคา 1 ล้านบาท และตกลงว่าจะไม่คืนในราคา 2 ล้านบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นสูงกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังนั้น นายห้าสามารถใช้สิทธิไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นได้ในราคา 1 ล้านบาทบวกประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปีตามมาตรา 499 กล่าวคือนายห้า สามารถไถ่คืนบ้านและที่ดินได้ในราคา 1,150,000 บาท ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธโดยอ้างว่าสินไถ่ไม่ครบ 2 ล้านบาทตามสัญญานั้น คําปฏิเสธของนายเจ็ดจึงรับฟังไม่ได้

(3) เมื่อต่อมานายหกผู้รับซื้อฝากถึงแก่ความตาย ทําให้บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝาก ตกเป็นของนายเจ็ดทายาทนั้น ย่อมถือว่านายเจ็ดอยู่ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 498 (2) ดังนั้น ถ้านายห้าไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นาย ห้าย่อมใช้สิทธิไถ่คืนกับนายเจ็ดซึ่งเป็นทายาทของนายหกได้ตามมาตรา 498 (2) นายเจ็ดจะปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไถ่ไม่ได้ ดังนั้น การที่นายเจ็ดปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญา ไม่มีหน้าที่รับไถ่ จึงรับฟังไม่ได้

สรุป คําปฏิเสธของนายเจ็ดทั้ง 3 ประการรับฟังไม่ได้

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ระหว่างนายเอกและนายโทกําหนดระยะเวลาการเช่า 2 ปี โดยสัญญาเช่า ที่มีการลงลายมือชื่อนายโทผู้เช่ามีข้อความตอนหนึ่งว่า หากนายเอกผู้ให้เช่าจะขายอาคารพาณิชย์นี้ จะแจ้งให้นายโทผู้เช่าทราบโดยให้นายโทเป็นผู้มีสิทธิซื้อก่อนในราคา 1,000,000 บาท ต่อมานายตรี ได้ติดต่อขอซื้ออาคารพาณิชย์หลังดังกล่าวจากนายเอก นายเอกจึงโทรศัพท์แจ้งไปยังนายโทว่า หากนายโทมีความประสงค์จะซื้ออาคารพาณิชย์ให้ตอบกลับมาภายใน 7 วันต่อจากนี้

ดังนี้การที่นายเอกปฏิเสธไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้นายโทเมื่อนายโทโทรศัพท์มายังนายเอกเพื่อแสดง
ความจํานงว่าจะทําการซื้อขายอาคารพาณิชย์ให้สําเร็จตลอดไปเมื่อเวลาผ่านไป 5 วันจากที่นายเอกได้โทรศัพท์มา นายโทจะสามารถฟ้องบังคับนายเอกเพื่อให้ปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 454 “การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คํามั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขาย ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไปและคําบอกกล่าวเช่นนั้นได้
ไปถึงบุคคลผู้ให้คํามั่นแล้ว

ถ้าในคํามั่นมิได้กําหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คํามั่นจะกําหนดเวลาพอสมควร และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากําหนดนั้นก็ได้ ว่าจะทําการซื้อขายให้สําเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกําหนดเวลานั้นไซร้ คํามั่นซึ่งได้ให้ ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้
บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ระหว่างนายเอกและนายโท มีข้อความตอนหนึ่งว่า หากนายเอกผู้ให้เช่าจะขายอาคารพาณิชย์นี้จะแจ้งให้นายโทผู้เช่าทราบโดยให้นายโทเป็นผู้มีสิทธิซื้อก่อนในราคา 1,000,000 บาทนั้น มีลักษณะชัดเจนแน่นอนในสาระสําคัญ จึงมีผลเป็นคํามั่นว่าจะขาย ผูกพันนายเอกให้ต้อง ขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโทตามคํามั่นที่ได้ให้ไว้

อย่างไรก็ดี แม้ว่าคํามั่นว่าจะซื้อขายของนายเอกนั้นเป็นคํามั่นที่ไม่ได้กําหนดเวลาเอาไว้เพื่อ การบอกกล่าว แต่เมื่อนายเอกได้บอกกล่าวไปยังนายโทแล้วว่าหากนายโทมีความประสงค์จะซื้ออาคารพาณิชย์ ให้นายโทตอบกลับมาภายใน 7 วัน คํามั่นจะขายของนายเอกจึงถือเป็นคํามั่นที่มีกําหนดระยะเวลา ซึ่งนายโท จะต้องตอบรับมาภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงจะมีผลเป็นการซื้อขายตามมาตรา 454 วรรคสอง และเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไป 5 วันหลังจากที่ได้รับคําบอกกล่าวจากนายเอก นายโทได้บอกกล่าวไปยัง นายเอกโดยแสดงความจํานงว่าจะทําการซื้ออาคารพาณิชย์ให้สําเร็จตลอดไป กรณีเช่นนี้ ย่อมมีผลผูกพันที่นายเอกจะต้องขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโทตามคํามั่นที่นายเอกได้ให้ไว้ตามมาตรา 454 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม คํามั่นว่าจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 456 วรรคสองด้วย กล่าวคือ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด เป็นสําคัญ หรือได้มีการวางประจําไว้ หรือได้มีการชําระหนี้บางส่วนแล้ว จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ระหว่างนายเอกและนายโทนั้นมีเพียงการลงลายมือชื่อของ นายโทผู้เช่าฝ่ายเดียว โดยนายเอกไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้แต่อย่างใด อีกทั้งคํามั่นจะซื้อขายดังกล่าวก็ไม่ได้มีการวาง ประจําไว้ และไม่ได้มีการชําระหนี้บางส่วน ดังนั้น เมื่อนายเอกปฏิเสธไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทจึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับนายเอกเพื่อให้ปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้

สรุป นายโทจะฟ้องร้องบังคับนายเอกเพื่อให้ปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ไม่ได้

ข้อ 2 ฟ้าขอยืมรถยนต์ตู้คันหนึ่งจากฝน แล้วได้ปลอมทะเบียนนํามาขายให้น้ำในราคา 300,000 บาท โดยน้ำไม่ทราบว่ารถยนต์คันนั้นฟ้ายืมฝนมาใช้ และฟ้าได้ตกลงไว้ในสัญญาซื้อขายว่าจะไม่รับผิด ในการรอนสิทธิใด ๆ เมื่อน้ำซื้อรถยนต์คันนั้นมาได้ 3 เดือน ฝนเจ้าของรถยนต์จึงได้มาทวงรถยนต์ คันนั้นจากน้ำ และนําเอกสารทะเบียนรถยนต์มายืนยันกับน้ำ น้ำจึงตกลงคืนให้ แต่เนื่องจาก ตอนนี้น้ำต้องใช้รถยนต์คันนี้อยู่ จึงขอเช่ารถยนต์คันนี้จากฝนอีก 6 เดือน ฝนตกลงให้น้ำเช่า รถยนต์คันนี้ น้ําจึงยังคงครอบครองรถยนต์คันนี้อยู่ต่อ ยังไม่ได้คืนให้กับฝน ดังนี้น้ำจะฟ้องให้ฟ้า รับผิดในการรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ภายในอายุความเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

มาตรา 481 “ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับ บุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ เมื่อพ้นกําหนดสามเดือนนับแต่วันคําพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น”

มาตรา 483 “คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

มาตรา 485 “ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการ อันผู้ขายได้กระทําไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ฟ้าขอยืมรถยนต์ตู้คันหนึ่งจากฝน แล้วได้ปลอมทะเบียนนํามาขายให้น้ำ ในราคา 300,000 บาท โดยน้ำไม่ทราบว่ารถยนต์คันนั้นฟ้ายืมฝนมาใช้ และฟ้าได้ตกลงไว้ในสัญญาซื้อขายว่าจะ ไม่รับผิดในการรอนสิทธิใด ๆ และเมื่อน้ำซื้อรถยนต์คันนั้นมาได้ 3 เดือน ฝนเจ้าของรถยนต์จึงได้มาทวงรถยนต์คันนั้น จากนำ โดยนําเอกสารทะเบียนรถยนต์มายืนยันกับน้ำ น้ำจึงตกลงคืนให้ แต่เนื่องจากตอนนี้น้ำต้องใช้รถยนต์คันนี้อยู่ จึงขอเช่ารถยนต์คันนี้จากฝนอีก 6 เดือน และฝนตกลงให้น้ำเช่ารถยนต์คันนี้ น้ำจึงยังคงครอบครองรถยนต์คันนี้อยู่ ยังไม่ได้คืนให้กับฝนนั้น กรณีดังกล่าวถือว่ามีบุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามารบกวนขัดสิทธิทําให้ผู้ซื้อคือน้ำไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข จึงเป็นกรณีที่น้ำผู้ซื้อ ถูกรอนสิทธิตามมาตรา 475 ซึ่งฟ้าผู้ขายจะต้องรับผิดต่อน้ำ ดังนั้นน้ำจึงสามารถฟ้องให้ฟ้ารับผิดที่ตนถูกรอนสิทธิได้ แต่น้ำจะต้องฟ้องฟ้าภายในกําหนดเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่น้ำตกลงคืนรถยนต์คันนั้นให้แก่ฝนตามมาตรา 481

และถึงแม้ว่าฟ้าจะได้ตกลงไว้ในสัญญาซื้อขายว่าตนไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อสัญญาว่าฟ้าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มครองความรับผิดของฟ้าผู้ขายแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นความผิด ของฟ้าผู้ขายเองที่ได้นํารถยนต์ที่ตนยืมมาจากฝน แล้วยังได้ปลอมทะเบียนมาขายให้น้ำ และปกปิดไม่บอกให้น้ำ ผู้ซื้อทราบ ดังนั้นฟ้าจึงยังคงต้องรับผิดต่อน้ำในกรณีที่น้ำถูกรอนสิทธิดังกล่าวตามมาตรา 485 ประกอบมาตรา 483

สรุป น้ำสามารถฟ้องให้ฟ้ารับผิดในการรอนสิทธิได้ภายในอายุ 3 เดือนนับแต่วันที่ได้ตกลงคืนรถยนต์ให้แก่ฝน

ข้อ 3 นายจันทร์ขายฝากพ่อวัวตัวหนึ่งไว้กับนายอังคารในราคา 100,000 บาท ไม่ได้กําหนดเวลาไถ่คืน กําหนดสินไถ่ 100,000 บาท เท่าราคาขายฝาก โดยทั้งคู่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียน กับพนักงานเจ้าหน้าที่เรียบร้อย หลังจากทําสัญญาขายฝากมาได้ 3 ปี 2 เดือน นายจันทร์นําเงิน 100,000 บาท มาขอไถ่คืนพ่อวัว แต่นายอังคารไม่ยอมรับและไม่ยอมส่งมอบพ่อวัวคืนให้แก่ นายจันทร์ ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า ตามข้อเท็จจริงนี้ นายจันทร์จะมีสิทธิเรียกร้องพ่อวัวตัวนี้ คืนจากนายอังคารได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 492 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด หรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสํานักงานวางทรัพย์ภายใน กําหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิ์ถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ ผู้ไถ่ได้ชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์ นั้นคืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

ตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ขายฝากพ่อวัวตัวหนึ่งไว้กับนายอังคารในราคา 100,000 บาท โดยทั้งคู่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝากดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างก็ดี เมื่อสัญญาขายฝากพ่อวัวซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้มีการกําหนดเวลาในการ ไถ่คืนไว้ ดังนั้น ถ้านายจันทร์จะใช้สิทธิเพื่อไถ่พ่อวัวคืนจากนายอังคาร และให้ทรัพย์สินที่ไถ่คืนตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของนายจันทร์ นายจันทร์จะต้องใช้สิทธิไถ่พ่อวัวคืนจากนายอังคารภายในกําหนด 3 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
ตามมาตรา 494 (2) และมาตรา 492

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากทําสัญญาขายฝากมาได้ 3 ปี 2 เดือน นายจันทร์ได้นําเงิน 100,000 บาท ซึ่งเป็นจํานวนสินไถ่ตามที่ตกลงกันมาขอไถ่คืนพ่อวัว แต่นายอังคารไม่ยอมรับและไม่ยอมส่งมอบ พ่อวัวคืนให้แก่นายจันทร์นั้น นายจันทร์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องพ่อวัวตัวนี้คืนจากนายอังคารได้ เนื่องจากนายจันทร์ ได้ใช้สิทธิไถ่คืนเมื่อพ้นกําหนดเวลา 3 ปีนับแต่เวลาที่ได้ทําสัญญาขายฝากกันแล้วตามมาตรา 494 (2)

สรุป นายจันทร์ไม่มีสิทธิเรียกร้องพ่อวัวตัวนี้คืนจากนายอังคารได้

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 หนังสือสัญญาเช่าลงลายมือชื่อนายเอกผู้ให้เช่าและนายโทผู้เช่าข้อหนึ่งความว่า “ผู้ให้เช่าขอให้สัญญา

ว่าหากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้ให้เช่าจะขายให้ในราคาอาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเขาซื้อขายกัน เมื่อผู้เช่ายอมซื้อผู้ให้เช่าจะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ จะต้องขายให้ผู้เช่าและจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้ทันที” นอกจากนี้ นายเอกและนายโทได้ทําสัญญาต่อกันอีกข้อหนึ่งว่า “หากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้เช่าจะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าว่าจะซื้ออาคารพาณิชย์ภายในกําหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2560” ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าคํามั่นในการซื้อขายเช่นนี้จะมีผลก่อให้เกิดเป็นสัญญา ซื้อขายเมื่อใด และเมื่อนายโทผู้เช่าได้ตอบรับคํามั่นในวันที่ 6 มีนาคม 2561 นายเอกกลับไม่ยอม ขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทจะฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามันที่ เคยให้ไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 454 “การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คํามั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขาย ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไปและคําบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงบุคคลผู้ให้คํามั่นแล้ว

ถ้าในคํามั่นมิได้กําหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คํามั่นจะกําหนดเวลาพอสมควร และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากําหนดนั้นก็ได้ ว่าจะทําการซื้อขายให้สําเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกําหนดเวลานั้นไซร้ คํามั่นซึ่งได้ให้
ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วยสัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน
เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้อตกลงในสัญญาเช่าระหว่างนายเอกผู้ให้เช่าและนายโทผู้เช่าที่ว่า “ผู้ให้เช่า ขอให้สัญญาว่าหากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้ให้เช่าจะขายให้ในราคาอาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเขาซื้อขายกัน เมื่อผู้เช่ายอมซื้อผู้ให้เช่าจะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ จะต้องขายให้ผู้เช่าและจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้ทันที” นั้น ถือเป็น คํามั่นในการซื้อขาย (คํามั่นจะขาย) ซึ่งคํามั่นที่นายเอกได้ให้ไว้แก่นายโทจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่อนายโท ได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไป และคําบอกกล่าวของนายโทได้ไปถึงนายเอก ผู้ให้คํามั่นแล้วตามมาตรา 454 วรรคหนึ่ง

และเมื่อคํามั่นในการซื้อขายของนายเอกมีกําหนดเวลาว่าหากนายโทผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้
นายโทจะต้องแสดงเจตนาต่อนายเอกผู้ให้เช่าว่าจะซื้อขายอาคารพาณิชย์ภายในกําหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ดังนั้น เมื่อนายโทผู้เช่าได้ตอบรับคํามั่นภายในกําหนดเวลา 1 ปี คือในวันที่ 6 มีนาคม 2561 สัญญา ซื้อขายอาคารพาณิชย์ย่อมเกิดมีขึ้น การที่นายเอกปฏิเสธไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทจึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้ เนื่องจากคํามั่นในการซื้อขายอาคารพาณิชย์

ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้นได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายเอกผู้ให้คํามั่นที่เป็นฝ่ายผู้ต้องรับผิดแล้วตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งประกอบวรรคสอง

สรุป คํามั่นในการซื้อขายดังกล่าวจะมีผลก่อให้เกิดเป็นสัญญาซื้อขายเมื่อนายโทได้บอกกล่าว ความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไป และคําบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงนายเอกแล้ว การที่นายเอกไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทสามารถฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้

ข้อ 2 นายนกเป็นคนชอบสะสมรถยนต์โบราณเมื่อเก็บไว้มากก็หาที่เก็บไม่ได้ต้องการขายให้แก่ผู้มีรสนิยม เดียวกัน โดยการขายทอดตลาดเป็นจํานวน 10 คัน โดยนายนกทราบดีว่าคันหนึ่งคานเดาะ อีกคันเป็นรถยนต์ที่มีคนไปขโมยมาขายให้ตน ในการขายทอดตลาดครั้งนี้นายนกไม่ได้แจ้งให้ผู้เข้าสู้ราคา ทราบถึงสองเหตุดังกล่าว นายหนูประมูลได้ 1 คัน นายกระต่ายได้ไป 1 คัน หลังการส่งมอบชําระ ราคากันเป็นที่เรียบร้อย ปรากฏว่านายแมวได้มาติดตามเอารถยนต์ของตนคืนจากนายหนูโดยมี พยานหลักฐานชัดเจนพร้อมมูล นายหนูจึงคืนให้แก่นายแมวไป ส่วนคันที่นายกระต่ายซื้อไปนั้น วันรุ่งขึ้นคานรถยนต์ก็หัก

(1) นายหนูจะฟ้องนายนกให้รับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิ์ได้หรือไม่
(2) นายกระต่ายจะฟ้องนายนกให้รับผิดในความชํารุดบกพร่องในรถยนต์ที่ตนซื้อมาได้หรือไม่

ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) กรณีการรอนสิทธินั้นตามมาตรา 475 วางหลักไว้ว่า ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาได้โดยปกติสุข เพราะมีบุคคลอื่นที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน นั้นอยู่ในเวลาซื้อขายมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ

ตามอุทาหรณ์ การที่นายหนูได้ซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดของนายนกไป 1 คัน แต่นายหนูผู้ซื้อได้ถูกรอนสิทธิ คือได้ถูกนายแมวเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันที่นายหนูซื้อมานั้นติดตามเอาคืนไป

ดังนั้นนายหนูย่อมสามารถฟ้องให้นายนกรับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้ตามมาตรา 475

(2) ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้อง รับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใด อย่างหนึ่ง และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

ตามอุทาหรณ์ การที่นายกระต่ายได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายนก และปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวที่นายกระต่ายซื้อไปจากนายนกนั้นคานหักซึ่งถือว่ามีความชํารุดบกพร่อง เกิดขึ้นกับทรัพย์สินนั้น เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักนายนกจะต้อง รับผิดชอบต่อนายกระต่ายผู้ซื้อตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ นายกระต่ายจะฟ้องให้นายนกรับผิดในความชํารุดบกพร่องไม่ได้ เนื่องจากรถยนต์ที่นายกระต่ายซื้อมาจากนายนกนั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 473 (3)

สรุป
(1) นายหนูจะฟ้องนายนกให้รับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิได้
(2) นายกระต่ายจะฟ้องให้นายนกรับผิดในความชํารุดบกพร่องในรถยนต์ที่ตน ซื้อมาไม่ได้

ข้อ 3 นายไก่นําบ้านและที่ดินทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายไข่ไว้ในราคา 1 ล้านบาท ไถ่คืนภายในกําหนดหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาท ต่อมานายไข่ตาย บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝาก ตกเป็นของนายขวดทายาทโดยธรรม ก่อนครบ 1 ปี นายไก่ไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน พร้อมเงิน 1,150,000 บาท นายขวดปฏิเสธว่า

(1) ตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไม่
(2) ยังไม่ครบ 1 ปี
(3) สินไถ่ไม่ครบตามสัญญา

คําปฏิเสธของนายขวดรับฟังได้หรือไม่ตามเอกเทศสัญญาว่าด้วยขายฝาก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 498 “สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านี้ คือ

(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโอนว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน”

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริง เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่นําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝาก นายไข่ไว้ในราคา 1 ล้านบาท และกําหนดไถ่คืนภายในหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาทนั้น

(1) เมื่อต่อมานายไข่ผู้รับซื้อฝากตาย ทําให้บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝากตกเป็นของ นายขวดทายาทโดยธรรมนั้น ย่อมถือว่านายขวดอยู่ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 498 (2) ดังนั้น ถ้านายไก่ ไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายไก่ย่อมใช้สิทธิไถ่คืนกับนายขวดซึ่งเป็นทายาทของนายไข่ได้ตามมาตรา 498 (2) นายขวด จะปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไถ่ไม่ได้ ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไม่จึงรับฟังไม่ได้

(2) เมื่อสัญญาขายฝากดังกล่าวได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินกําหนดเวลาตามที่ กฎหมายได้กําหนดไว้ (มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายไก่ ได้ใช้สิทธิในการขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายไก่ย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายไก่ผู้ขายฝากแต่เพียง ฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปีตามมาตรา 491 และ 494 ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธ โดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายขวดจึงรับฟังไม่ได้

(3) การที่นายไก่ขายฝากบ้านและที่ดินไว้ในราคา 1 ล้านบาท และตกลงว่าจะไม่คืนใน ราคา 2 ล้านบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นสูงกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังนั้น นายไก่สามารถใช้สิทธิ ไถ่คืนทรัพย์สินนั้นได้ในราคา 1 ล้านบาทบวกประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปีตามมาตรา 499 กล่าวคือ นายไก่สามารถไถ่คืนบ้านและที่ดินได้ในราคา 1,150,000 บาท ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธโดยอ้างว่าสินไถ่ไม่ครบตามสัญญานั้น คําปฏิเสธของนายขวดจึงรับฟังไม่ได้

สรุป คําปฏิเสธของนายขวดทั้ง 3 ประการรับฟังไม่ได้ตามเอกเทศสัญญาว่าด้วยขายฝาก

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายหนึ่งตกลงขายช้างพ่อแม่ลูกให้แก่นายสอง ช้างพ่อและช้างแม่เชือกละ 7 แสนบาท และช้างลูก ตัวละ 5 แสนบาท โดยนายสองชําระค่าลูกช้างครบถ้วนและรับมอบลูกช้างไปแล้ว ส่วนช้างพ่อและช้างแม่นั้นนายหนึ่งตกลงให้นายสองชําระราคาเป็นสองงวด งวดละ 7 แสนบาท เมื่อชําระแต่ละงวด นายหนึ่งจะส่งมอบข้างให้ทีละเชือก เมื่อนายสองชําระค่าช้างพ่อ นายหนึ่งก็ส่งมอบช้างพ่อให้และ ตกลงจะไปทําการโอนที่อําเภอให้ในวันรุ่งขึ้น ก่อนครบกําหนดงวด 2 นายสามมาขอซื้อช้างแม่ จากนายหนึ่งในราคา 9 แสนบาท โดยไม่ทราบว่านายหนึ่งตกลงขายให้นายสองแล้ว นายหนึ่ง ตกลงขายให้นายสามและมีการโอนทางทะเบียน ส่งมอบและชําระราคาช้างแม่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

(1) สัญญาซื้อขายช้างพอ ช้างแม่ และช้างลูกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน และมีผลในทาง กฎหมายอย่างไรระหว่างนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม

(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและ
สัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่
“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่ คู่กรณียังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมี การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ
เมื่อได้ไปทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

และสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 455 ส่วนสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวนั้นกฎหมายมิได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด เพียงแต่ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่จะมีการฟ้องร้องบังคับคดีกัน จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

1 จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ
2 มีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือ
3 มีการชําระหนี้บางส่วน

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) สัญญาซื้อขายช้างพ่อ ช้างแม่ และช้างลูกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และมีผลในทางกฎหมาย อย่างไรระหว่างนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม

1 สัญญาซื้อขายระหว่างนายหนึ่งและนายสอง

การที่นายหนึ่งตกลงขายช้างพ่อและช้างแม่ให้แก่นายสองในราคาเชือกละ 7 แสนบาท โดยนายหนึ่งตกลงให้นายสองชําระราคาเป็นสองงวด ๆ ละ 7 แสนบาท เมื่อชําระแต่ละงวดนายหนึ่งจะส่งมอบช้าง ให้ทีละเชือก และเมื่อนายสองชําระค่าช้างพ่อ นายหนึ่งก็ส่งมอบช้างพ่อให้และตกลงจะไปทําการโอนที่อําเภอ ให้ในวันรุ่งขึ้นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมื่อนายสองชําระค่าข้างแม่ในงวดที่สอง นายหนึ่งก็จะส่งมอบช้างแม่ และจะไปทําการโอนให้แก่นายสองเช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าในขณะที่มีการทําสัญญาซื้อขายช้างพ่อ
และช้างแม่กันนั้น คู่สัญญายังไม่มีเจตนาที่จะให้กรรมสิทธิ์ในช้างพ่อและช้างแม่ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้โอนไปในขณะทําสัญญาซื้อขายกัน แต่มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า ดังนั้น สัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามมาตรา 456 วรรคสอง

และเมื่อสัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญา จะซื้อจะขายในทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จึงไม่ต้องทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด คือไม่ต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

ส่วนการที่นายหนึ่งได้ตกลงขายช้างลูกให้แก่นายสองนั้น สัญญาซื้อขายช้างลูกระหว่าง นายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่วไป มิใช่เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ดังนั้น จึงถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 456 วรรคหนึ่ง กล่าวคือแม้จะไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายช้างลูกดังกล่าว ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

2 สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสาม

การที่นายหนึ่งได้ตกลงขายช้างแม่ให้แก่นายสามในราคา 9 แสนบาท โดยมีการโอน ทางทะเบียน ส่งมอบและชําระราคากันเรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อทั้งสองได้ทําสัญญาซื้อขายช้างแม่ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษกันเพียงครั้งเดียวและเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วโดยไม่มีข้อตกลงว่าจะไปกระทําตามแบบพิธีใด ๆ ในภายหน้า สัญญาซื้อขายระหว่างนายหนึ่งและนายสามจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อคู่กรณีได้ทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ เพราะได้ปฏิบัติถูกต้องตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ได้หรือไม่
ตามอุทาหรณ์ แม้สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสอง จะเป็นสัญญาจะซื้อ จะขายและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า สัญญาจะซื้อจะขายสังหาริมทรัพย์

ชนิดพิเศษระหว่างนายหนึ่งและนายสองนั้น มิได้มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย คือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายหนึ่งผู้ต้องรับผิดตามสัญญา ไม่มีการวาง ประจําหรือมัดจําไว้ และไม่มีการชําระหนี้บางส่วน ดังนั้น นายสองจึงไม่สามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการ ผิดสัญญาขายช้างแม่ได้

สรุป

(1) สัญญาซื้อขายช้างพ่อและช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาจะซื้อ จะขายและมีผลสมบูรณ์, สัญญาซื้อขายข้างลูกระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและ มีผลสมบูรณ์, สัญญาซื้อขายช้างแม่ระหว่างนายหนึ่งและนายสามเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์

(2) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในการผิดสัญญาขายช้างแม่ไม่ได้

ข้อ 2 นายห้าและนายหกเป็นพ่อลูกกัน นายห้าเป็นนักสะสมรถยนต์โบราณและพูดกับนายหกเสมอว่า รถยนต์ที่พ่อมีพ่อจะยกให้ลูกทั้งหมด แต่นายหกทําตัวเกเรไม่ยอมเรียนหนังสือ นายห้าเลยนํารถ 5 คันที่สะสมไว้มาขายทอดตลาด ทําให้นายหกโมโหเลยเอาไม้ทุบฝากระโปรงรถคันหนึ่งบุบและมีรอยถลอก ต่อมาหลังจากการขายทอดตลาด นายหกก็ไปรบกวนขัดสิทธินายเจ็ดซึ่งประมูล ได้รถยนต์คันที่นายหกรักมากไปโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของและขอรถคืน นายแปดซึ่งประมูลรถไป 1 คัน ก็จะให้นายห้ารับผิดชอบว่ารถถูกทุบชํารุดบกพร่อง ดังนี้

(1) นายเจ็ดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่าตนถูกนายหูกรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) นายแปดจะฟ้องนายห้าให้รับผิดชอบว่ารถยนต์คันที่ขายให้ตนชํารุดบกพร่องได้หรือไม่
เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า
ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

วินิจฉัย
ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

ส่วนการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิทําให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ ซึ่งตามมาตรา 475 กําหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธินั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(1) การที่นายห้าพูดกับนายหกเสมอว่ารถยนต์ที่พ่อมี พ่อจะยกให้ลูกทั้งหมดนั้น การให้รถยนต์ของนายห้าแก่นายหกยังไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด เพราะการให้รถยนต์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์นั้น จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายห้ายังมิได้ส่งมอบรถยนต์ ให้แก่นายหก นายหกจึงไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันเลย การที่นายหกได้ไปรบกวนขัดสิทธิของนายเจ็ดซึ่งประมูลได้รถยนต์คันที่นายหก รักมากไปจึงเป็นเพียงการก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้อื่นอันเป็นการขัด ต่อกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการรอนสิทธิตามมาตรา 475 แต่อย่างใด เพราะกรณีที่จะถือว่าเป็นการรอนสิทธิ ตามมาตรา 475 ซึ่งทําให้นายห้าจะต้องรับผิดต่อนายเจ็ดผู้ซื้อนั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายหกผู้ก่อการรบกวน ขัดสิทธิของผู้ซื้อนั้นเป็นผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในเวลาซื้อขายด้วย ดังนั้น กรณีดังกล่าว นายเจ็ด จะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบโดยอ้างว่าตนถูกนายหกรอนสิทธิไม่ได้

(2) การที่นายแปดได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายห้ามา 1 คัน และปรากฏว่า เป็นรถยนต์ที่มีความชํารุดบกพร่องเนื่องจากนายหกได้เอาไม้ทุบฝากระโปรงบุบและมีรอยถลอก เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้น เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา โดยหลักแล้วนายห้าผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้นายห้าจะต้องรับผิดต่อนายแปดเพื่อความชํารุดบกพร่องนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่นายแปดซื้อมานั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายห้า ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น นายแปดจะฟ้องนายห้าให้รับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

สรุป
(1) นายเจ็ดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่าตนถูกนายหกรอนสิทธิไม่ได้
(2) นายแปดจะฟ้องให้นายห้ารับผิดชอบว่ารถยนต์คันที่ขายให้ตนชํารุดบกพร่องไม่ได้

ข้อ 3 นายเก้านําวัวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายสิบไว้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท เป็นจํานวน 5 ตัว ไถ่คืนภายใน 1 ปี ในราคาเดิม แต่หลังจากนั้นในตําบลที่นายสิบอาศัยอยู่เกิด โรคพิษสุนัขบ้าระบาด วัวที่นายสิบรับซื้อฝากไว้ถูกสุนัขบ้ากัด 2 ตัว และในที่สุดวัว 2 ตัวนี้ก็ตาย เมื่อใกล้ครบกําหนดนายเก้ามาไถ่ตัวคืน เหลือวัวเพียง 3 ตัว ดังนี้

(1) นายเก้าจะเรียกค่าเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาท ได้หรือไม่
(2) นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนโดยต้องนําเงินมาไถ่ตัวละ 4 หมื่นบาท บวก ประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

มาตรา 501 “ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่า ทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”

วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ
(1) ตามบทบัญญัติมาตรา 501 ได้กําหนดหน้าที่ของผู้ซื้อฝากเอาไว้ว่า ผู้ซื้อฝากจะต้อง สงวนรักษาทรัพย์สินที่ซื้อฝากอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวนรักษาและใช้ทรัพย์สินของตน และต้องส่งคืนตามสภาพ ที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝาก ก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเก้านําวัวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายสิบไว้ ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท เป็นจํานวน 5 ตัว ไถ่คืนภายใน 1 ปี ในราคาเดิม และหลังจากนั้นในตําบลที่นายสิบ อาศัยอยู่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดทําให้วัวที่นายสิบรับซื้อฝากไว้ถูกสุนัขบ้ากัด 2 ตัว และตายไปนั้น ถือเป็น เหตุสุดวิสัย มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสิบผู้ซื้อแต่อย่างใด ดังนั้น นายเก้าจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาทตามมาตรา 501 ไม่ได้

(2) การที่นายเก้านําวัวไปขายฝากกับนายสิบไว้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาทโดยตกลงไถ่คืน ในราคาเดิมนั้น สามารถตกลงกันได้ ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 499 และเมื่อตกลงกันไว้อย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อนายเก้าจะใช้สิทธิไถ่ตัวคืน นายเก้าสามารถไถ่ตัวที่เหลือ 3 ตัวได้ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาทตามที่ได้ตกลงกัน นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท บวกประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 499 วรรคสอง

สรุป
(1) นายเก้าจะเรียกค่าเสียหายที่วัว 2 ตัวตายไปตัวละ 5 พันบาทไม่ได้
(2) นายสิบจะให้นายเก้าไก่วัวที่เหลือ 3 ตัวคืนในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท บวกประโยชน์อีกตัวละ 15 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้

cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดแสดงถึงแนวคิดที่ถูกต้องของมนุษยสัมพันธ์
(1) มนุษยสัมพันธ์แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
(2) บุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
(3) มนุษยสัมพันธ์เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
(4) คนเก่งย่อมมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
ตอบ 2 หน้า 1 – 3, 15, (คําบรรยาย) ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์แสดงถึง ปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น
2 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการสร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และ ไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
3 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ หากไม่รู้จัก พัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
4 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
5 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่าเทียมกัน
6 ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ ฯลฯ

2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ข้อใดที่สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
(1) ตระหนักถึงความเสมอภาคระหว่างบุคคล
(2) เคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล
(3) การยอมรับธรรมชาติของแต่ละบุคคล
(4) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ตอบ 1 หน้า 2, 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควร ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเคารพในความเสมอภาค ระหว่างบุคคล โดยไม่แบ่งแยกฐานะชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะ ที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

3 จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์มาจากข้อใด
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันศาสนา
(3) โรงงานอุตสาหกรรม
(4) สถาบันการศึกษา
ตอบ 4 หน้า 14 ความเป็นมาของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นจากสถาบันการศึกษา เมื่อศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) บิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเป็นแขนงวิชาหรือศาสตร์ที่เด่นชัดแพร่หลายไป ทุกวงการภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

4 บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์จะมีลักษณะอย่างไร
(1) แสดงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์
(2) ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ
(3) สามารถจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามได้
(4) แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับกาลเทศะ

ตอบ 4 หน้า 1, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์นั้นย่อมจะเข้าใจในเรื่อง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีทักษะในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบุคคลและ สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักกาลเทศะและปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

5 การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เมื่อเริ่มรวมกลุ่มเป็นสังคมมีลักษณะอย่างไร
(1) อยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ และไม่เสมอภาค
(2) อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
(3) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ
(4) อยู่ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นกันเอง
ตอบ 3 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้น จะมีลักษณะของการอยู่รวมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม ใหญ่ขึ้น สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจําเป็น ทําให้ลักษณะความสัมพันธ์ในการอยู่รวมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ ที่ไม่เสมอภาค เพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน

6 ข้อใดแสดงถึงความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การสื่อสารของมนุษย์
(2) ธรรมชาติของมนุษย์
(3) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์
(4) ความต้องการของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ไว้มากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

7 การประกอบอาชีพในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะอย่างไร
(1) ระบบนายทุน
(2) ระบบเจ้าขุนมูลนาย
(3) ระบบเครือญาติ
(4) ระบบนายจ้างลูกจ้าง
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) การประกอบอาชีพในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเป็น ระบบเครือญาติ (Clan) คือ มนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับครอบครัวจะทํางานอยู่ที่บ้าน ในลักษณะครบวงจร ไม่มีการแบ่งงานกันทํา ทุกคนทุกครอบครัวต้องทําเองทุกอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีอาชีพเป็นชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกร หรือเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพด้านหัตถกรรม (Hand Craft)

ข้อ 8. – 11. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) โรเบิร์ต โอเวน
(2) เอลตัน เมโย
(3) แอนดรู ยูรี
(4) เฮ็นรี่ แกนต์

8 ใครคือนายจ้างที่ริเริ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่คนงาน
ตอบ 3 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสําคัญแก่ “มนุษย์” และเป็น ผู้ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้ เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับ การดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน

9 ใครคือนายจ้างที่ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์ คนแรกตามประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ความเป็นอยู่ ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทํางานและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้าน การใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้นแนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล

10 ใครคือผู้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

11 ใครคือนายจ้างที่จูงใจให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเงินรางวัลพิเศษ
ตอบ 4 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮนรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้คิดหา วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของเฟเดอริก ดับบลิว. เทย์เลอร์ (Federick W. Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิด การทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด

12 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ตั้งใจศึกษาในกรณีฮอธอร์น
(1) การรวมกลุ่มคนงาน
(2) ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน
(3) แสงสว่างในที่ทํางาน
(4) ทัศนคติของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง
ตอบ 1 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการทํางาน ในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน และแสงสว่างหรืออุณหภูมิในที่ทํางาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติของลูกจ้าง ที่มีต่อนายจ้าง (ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา คือ การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็นทางการ แต่ปัจจัยดังกล่าวดึงดูดความสนใจของคณะผู้ศึกษาวิจัย จึงทําการศึกษาต่อ)

13 ข้อใดเป็นผลของการศึกษาฮอธอร์น
(1) ยอมรับการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นทางการของคนงาน
(2) ปรับสภาพแวดล้อมในการทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
(3) เพิ่มสวัสดิการและอัตราค่าจ้างแก่คนงาน
(4) ยอมรับว่าคนงานเป็นปัจจัยสําคัญในการผลิตที่มีความแตกต่างจากปัจจัยอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 14 สิ่งที่พบจากผลของการศึกษากรณีฮอธอร์น ทําให้รู้ว่าต้องให้ความสําคัญที่จิตใจ และความต้องการของคนงาน โดยให้มองคนงานว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการผลิตที่มีความแตกต่าง ไปจากปัจจัยอื่น ๆ หากความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และแรงจูงใจไม่ได้รับการสนองตอบ หรือปล่อยให้เกิดความขัดแย้งขึ้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อนตามมา

14 สายใยรักในครอบครัว แสดงถึงปัจจัยใดที่ทําให้มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) สภาพแวดล้อม
(2) ประสบการณ์
(3) พันธุกรรม
(4) การอบรมสั่งสอน

ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว หรือความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์วิจารณ์ จากบุคคลอื่น

15 ความเชื่อของบุคคล นําไปสู่อุปสรรคใดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ความแตกต่างด้านประสบการณ์
(2) ความแตกต่างด้านภูมิหลัง
(3) ความแตกต่างด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างด้านผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 16, 79, (คําบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ได้แก่
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของบุคคล ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหาก ไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

ข้อ 16. – 18. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรู้ตนเอง
(2) การจูงใจ
(3) การเปิดเผยตนเอง
(4) การติดต่อสื่อสาร

16 องค์ประกอบข้อใดกระตุ้นให้บุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
ตอบ 2 หน้า 18, (คําบรรยาย) การจูงใจ (Motivation) ถือเป็นคุณสมบัติที่นักมนุษยสัมพันธ์จึงสร้าง ให้เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะมีส่วนสําคัญมากในการกระตุ้นให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การจูงใจยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และมีผลต่อความสําเร็จขององค์กร ดังนั้นสมาชิกในสังคมจึงจําเป็นต้องสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกัน เพื่อกระตุ้นให้มีทัศนคติตรงกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบ

17 องค์ประกอบข้อใดแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) มีความสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือ ที่ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น ต้องกระทําผ่านการติดต่อสื่อสาร

18 องค์ประกอบข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ตอบ 1 หน้า 17 การรู้ตนเอง (Self Awareness) เป็นการรู้จักความเป็นตัวตนของตนเอง ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และช่วยให้บุคคลได้พัฒนาให้สามารถเข้าใจ ตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพราะการรู้ตนเองทําให้มองเห็นว่าตัวเราเป็นอย่างไร ทั้งนี้ผลจากการรู้ตนเอง จะนําไปสู่ทัศนคติและพฤติกรรมการแสดงออก รวมทั้งยังมีผลต่อการรู้และเข้าใจบุคคลอื่นด้วย

19 ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึงข้อใด
(1) นิสัย
(2) พฤติกรรม
(3) ความต้องการ
(4) ลักษณะโดยรวม
ตอบ 4 หน้า 23 – 25, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึง ลักษณะโดยรวมหรือลักษณะทั่วไป ของมนุษย์ที่ติดตัวมา ซึ่งมนุษย์ทุกคนมี ทุกคนต้องการ ทุกคนคิดและมีความรู้สึกเหมือน ๆ กัน อันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แต่ในความเหมือนกันนั้นก็จะมีความแตกต่างกันซ่อนอยู่ด้วย ดังนั้น การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์จึงทําให้เกิดการยอมรับถึงความแตกต่างกันของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นง่ายขึ้น

20 ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์
(1) รู้จักและเข้าใจตนเอง
(2) รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น
(3) ยอมรับตนเองและบุคคลอื่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 24 การศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์มีประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 ทําให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
2 ทําให้รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน
3 เกิดการยอมรับตนเองและบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
4 ทําให้รู้จักวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์

21 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
(2) ไม่ชอบการบังคับ
(3) ไม่ชอบซ้ําเติม
(4) ชอบความสะดวกสบาย
ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1 อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน
2 มีสัญชาตญาณแห่งการทําลาย
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4 มีความต้องการทางเพศ
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ
6 กลัวความเจ็บปวด
7 โหดร้าย ชอบซ้ำเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบและการถูกบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ
ข้อ 22 – 24. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เก้าจื๊อ
(2) ขงจื๊อ
(3) ซุ่นจื้อ
(4) เม่งจื๊อ

22 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่าการปรับปรุงตนเองเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ขงจื้อ ได้กล่าววาทะที่ว่า “เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้ แต่เราสามารถทําให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้ ด้วยการหาหมวกมาใส่” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ให้ความสําคัญกับการยอมรับธรรมชาติของผู้อื่น คือ ถ้าเราต้องการจะอยู่ ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขแท้จริงแล้ว ก็สมควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ถูกต้อง โดยปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ดีกว่าที่จะไปแก้ไข หรือพยายามเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นซึ่งเป็นเรื่องยาก และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

23 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
ตอบ 4 หน้า 26, (คําบรรยาย) เม่งจื้อ เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมีความดีติดตัวมาโดยกําเนิด ซึ่งได้แก่
1 มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม
2. มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบาป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม
3 มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะ ที่แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
4 มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญารู้จักแยกแยะผิดถูก ไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

24 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเปรียบธรรมชาติของมนุษย์กับกระแสน้ำที่ไม่รู้จักทิศทาง
ตอบ 1 หน้า 26, 28, (คําบรรยาย) เก้าอื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว เปรียบเหมือน กับกระแสน้ำที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออกน้ําก็จะไหลไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเชื่อของ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม

25 นักจิตวิทยาท่านใดเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อนและเห็นแก่ตัว
(1) จอห์น ล็อค
(2) คาร์ล โรเจอร์
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) สกินเนอร์
ตอบ 3 หน้า 28 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobb) ได้แสดงแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว โอ้อวดตน ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต เอาแต่ใจ หยาบคาย ต่ำช้า และอายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกข์ยากแล้ว มนุษย์จึงจะ ลดความเห็นแก่ตัวลง และสังคมจะช่วยให้เขาดีขึ้น

26 ตามแนวคิดของเม่งจื้อ ธรรมชาติของมนุษย์ข้อใดที่ทําให้มนุษย์ไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
(1) มนุษย์มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
(2) มนุษย์มีสติปัญญา
(3) มนุษย์ยึดมั่นในหลักศีลธรรม
(4) มนุษย์ละอายรังเกียจต่อบาป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

ข้อ 27. – 28. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มปัญญานิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

27 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ สอดคล้องกับนักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) กลุ่มมนุษยนิยม ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง หรือมนุษย์ดีโดยกําเนิด ซึ่งพฤติกรรมของมนุษย์เป็น ผลิตผลมาจากการตอบสนองความต้องการ (Needs) พื้นฐานของตนเอง และความต้องการ ของมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา

28 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของเก้าอื้อ สอดคล้องกับนักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

ข้อ 29 – 31. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) บุคคลย่อมมีความแตกต่าง
(2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม
(3) พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ
(4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

29 การให้ความสําคัญกับทุกองค์ประกอบในตัวบุคคล สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 2 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม (A Whole Person) จึงไม่ควรตัดสินบุคคล แค่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยต้องดูทั้งหมดในฐานะที่เป็นบุคคล ๆ หนึ่ง และให้ความสําคัญ กับทุกองค์ประกอบในตัวบุคคล

30 การยึดแนวทางแก้ไขตนเองดีกว่าไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ บุคคลย่อมมีความแตกต่าง (Individual Difference) ซึ่งบุคคลแต่ละคน ล้วนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้ต้องคิดหรือทําทุกอย่าง เหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับและเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล หรือยอมรับธรรมชาติของ แต่ละบุคคล (ทั้งของตนเองและผู้อื่น) โดยแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับขงจื้อที่เน้นการยอมรับ ที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไขตนเองดีกว่าไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น (ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ)

31 แนวคิดข้อใดนํามาใช้จูงใจบุคลากรให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้
ตอบ 3 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ (Cause Behavior) ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการ แรงจูงใจ (Motivation) อันเป็นพื้นฐานไปสู่การจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตาม หรือจูงใจบุคลากร ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้

ข้อ 32 – 33. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ในด้านมานุษยวิทยา

32 แนวคิดใดเชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผลของแต่ละบุคคลเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ
1 ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทําของตนเอง สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม
4 มนุษย์ต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

33 การทํางานในลักษณะ “เช้าชามเย็นชาม” สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 30 (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X มีลักษณะทั่วไป คือ
1 มีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสก็จะหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการทํางานทันที หรือมักจะ ทํางานแบบ “เช้าชามเย็นชาม”
2 เพราะมีนิสัยไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้แรงเสริมทางลบเพื่อจูงใจให้ทํางาน คือ ใช้การบังคับ ควบคุม และมีบทลงโทษ เพื่อให้ทํางานจนบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
3 ชอบทํางานตามนายสั่ง ขาดความรับผิดชอบ และขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติ หน้าที่การงาน แต่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด เช่น บุคลากรที่ต้องการ ผลตอบแทนสูงกว่า การลงแรงของตน เป็นต้น

ข้อ 34 – 38 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Wants
(2) Survival Needs
(3) Primary Needs
(4) Secondary Needs.

34 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34 – 35, 41, (คําบรรยาย) ความต้องการด้านจิตวิทยาหรือสังคม (Psychological or Social Needs) หรือความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) เป็นความต้องการทางด้าน จิตและวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านจิตใจจนถึงวุฒิภาวะระดับหนึ่ง เช่น ต้องการ ชื่อเสียงเกียรติยศ, ต้องการการยอมรับจากสังคม, ต้องการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้อยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น ฯลฯ

35 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลทํางานเพื่อความอยู่รอด แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) เป็นแรงจูงใจสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้บุคคลทํางาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทํางานอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทําเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทําก็อาจไม่มีจะกิน

36 การดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 3 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางด้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือ บางทีเรียกว่า ความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จําเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นนี้ยังรวมถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย

37 ความต้องการข้อใดนําไปสู่ความฟุ่มเฟือย
ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจําเป็นขั้นต้น สําหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์ เกิดกิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือ บ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางาน และอาจจะ ทํางานหนักกว่าคนอื่นเพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิตตามแนวคิด ความพอเพียงก็จะช่วยลดความต้องการขั้นนี้ได้

38 ความต้องการข้อใดมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน
ตอบ 4 หน้า 35, (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ) ลักษณะของความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) สรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน กลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว ความต้องการในขั้นนี้ไว้
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ใน
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้น
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน
ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

39 การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ แสดงถึงความต้องการข้อใด
(1) กามตัณหา
(2) ภวตัณหา
(3) วิภวตัณหา
(4) อิฏฐารมณ์
ตอบ 3 หน้า 36 วิภวตัณหา แปลว่า อยากให้ไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกามตัณหาและภวตัณหา กล่าวคือ เมื่อเราอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (กามตัณหา) และได้มาแล้ว เราก็ยึดถือหวงแหนไว้ เพราะอยากให้สิ่งนั้นคงอยู่ (ภวตัณหา) แต่ต่อมาเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในสิ่งนั้น จึงอยากให้ สิ่งนั้นพ้นหูพ้นตาไปเสีย (วิภวตัณหา) ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งตรงกับคํากล่าวที่ว่า “การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์”

ข้อ 40. – 45. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Physiological Needs
(2) Belonging and Social Activity Needs
(3) Esteem and Status Needs
(4) Safety and Security Needs

40 นโยบายการแก้หนี้นอกระบบของประชาชน เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1 ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่าเอกชน ฯลฯ
2 ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทําร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทําประกันชีวิต การรณรงค์เรื่อง โทรไม่ขับ/เมาไม่ขับ การให้ความคุ้มครองประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
3 ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตํารวจ โครงการหอพักติดดาว/เพื่อนบ้าน เตือนภัย การเตรียมกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ําท่วมบ้าน การติดตั้งกล้องวงจรปิด ฯลฯ
4 ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ได้แก่ นโยบายแก้หนี้นอกระบบ นโยบายเพิ่มรายได้ ให้ประชาชน นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ

41 การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2
หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามที่สังคมกําหนด ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตประเพณี และ ค่านิยม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่ เป็นพวกเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็เป็นการตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

42 นักเรียนสาธิตรามคําแหงคว้าแชมป์การประกวดดนตรีแจ๊สระดับประเทศ ทําให้ได้รับการตอบสนองข้อใด ตอบ 3 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการให้สังคมยกย่องนับถือและยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญของกลุ่ม สมาชิก ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีองค์ประกอบสําคัญ ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถจนประสบผลสําเร็จ ในกิจการงาน มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะมั่นคง มีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในศักยภาพ ของตนเอง ฯลฯ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการ สร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการ ในขั้นนี้ เช่น การได้รับรางวัลจากการประกวด จากการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น

43 โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัยของกองบัญชาการตํารวจนครบาล เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

44 นโยบายประชานิยมของพรรคการเมือง เน้นตอบสนองความต้องการของประชาชนข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

45 คํากล่าวที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ทําให้ต้องได้รับการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 1, (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ) อริสโตเติล กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Man is by Nature a Social Animal) กล่าวคือ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชนและสังคม ซึ่งการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ แต่ทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หรือการสร้างมนุษยสัมพันธ์

46 ศาสนาพุทธเปรียบบุคคลที่เรียนรู้ได้เร็วกับดอกบัวข้อใด
(1) ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ
(2) ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ำ
(3) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
(4) ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม
ตอบ 1 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาที่แตกต่างกันของมนุษย์
ไว้กับดอกบัว 4 เหล่า คือ
1 ดอกบัวที่โผล่พ้นน้พร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจ และเรียนรู้ได้เร็วในสิ่งที่รู้เห็นหรือการอบรมสั่งสอน และปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2 ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดปานกลาง
3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดน้อย
4 ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาโง่ทึบ

47 การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างกัน กรณีนี้เป็นความแตกต่าง
จากสาเหตุใด
(1) การศึกษา
(2) ภาษา
(3) สภาพแวดล้อม
(4) อิทธิพลของกลุ่ม
ตอบ 3 หน้า 44 สาเหตุที่ทําให้มนุษย์แตกต่างกันประการหนึ่ง ได้แก่ สิ่งแวดล้อม คือ การได้รับการ ถ่ายทอดจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดและจําเจเป็นเวลานาน เช่น เพื่อนบ้าน เพื่อนที่โรงเรียน แบบอย่างที่พบเห็นจําเจจากภาพยนตร์และโทรทัศน์, การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน เพียงสื่อใดสื่อหนึ่งหรือช่องใดช่องหนึ่ง เป็นต้น

ข้อ 48 – 50 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) โครงสร้างแบบหลวม ๆ
(2) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
(3) โครงสร้างที่ไม่สนใจการศึกษา
(4) โครงสร้างสังคมเกษตร

48 คนไทยไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลานัดหมาย เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างสังคมเกษตร คือ มีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
ไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลาหรือไม่ให้ความสําคัญกับเวลาที่นัดหมาย ไม่เร่งรีบหรือมีพิธีรีตอง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่หักหาญน้ำใจกัน และไม่ให้ความสําคัญกับวัตถุ โดยถือว่าไม่มีเงินก็อยู่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง

49 คนไทยมักยอมรับชะตากรรม เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ คือ ความเปลี่ยนแปลง ของชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางสังคมมีน้อย โดยความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นกับคน ที่อยู่ในเมืองหลวงมากกว่าในชนบท จึงทําให้คนไทยขาดความทะเยอทะยาน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ชอบการแข่งขัน ยอมรับชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ และมักยอมรับในชะตากรรมที่เกิดขึ้น หรือยอมรับ “ชะตาฟ้าลิขิต” เช่น เกิดมาจนก็ต้องจนต่อไป, แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ฯลฯ

50 สังคมไทยขาดระเบียบวินัย เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองพอใจได้ โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทําให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอม รอมชอม อะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่ข้อเสียคือ ขาดระเบียบวินัย ในการดําเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทําอะไรตามอําเภอใจ เช่น ทําอะไรตามใจคือไทยแท้ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ

ข้อ 51 – 53, ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
(2) เคารพผู้อาวุโส
(3) เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
(4) นับถือศาสนาพุทธ

51 คนไทยเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 4 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย ได้แก่
1 เคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ เทิดทูนและจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์
2 นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในบาปบุญคุณโทษ และยอมรับ ในกฎแห่งกรรม เช่น ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว, คิดดี ทําดี, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, เวรกรรมมีจริง ฯลฯ
3 เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคําสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติผู้อาวุโส เช่น การจัดงานมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ฯลฯ
4 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การมีน้ําใจ รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ฯลฯ

52 คนไทยบริจาคสิ่งของ เงินทอง ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเนืองแน่น เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 การจัดงานมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ สอดคล้องกับค่านิยมใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 เป้าหมายของการศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop
ตอบ 4 หน้า 53 – 54, 78, (คําบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
1 การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสํารวจตัวเองในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร
2 การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุว่าทําไมเราจึงมี ลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนําไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง

3 การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อยของตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้แล้วก็จะนําไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
4 การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และข้อบกพร่อง ของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ของการศึกษาตนเอง

ข้อ 55 – 56. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรู้ตนเอง 55. บุคคลที่เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง เป็นผลมาจากแนวคิดเกี่ยวกับตนเองข้อใด
(2) การยอมรับตนเอง
(3) การรู้จักตนเอง
(4) การเปิดเผยตนเอง
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้จักตนเอง (Self Actualization) จะมีลักษณะสําคัญ 3 ประการ ดังนี้
1 เต็มใจที่จะยืนหยัดอยู่ด้วยตนเอง
2 ไว้วางใจตนเองหรือเชื่อมั่นในตนเอง คือ เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง
3 เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อพบว่าการตัดสินใจของตนเป็นสิ่งที่ผิด

56 แนวคิดเกี่ยวกับตนเองข้อใดที่นําไปสู่การพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, 54 – 55 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การยอมรับตนเอง (Self Acceptance) คือ การรู้ว่าตนเองเป็นคนอย่างไร ทําให้เกิดการรับรู้ เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถแยกแยะข้อดีข้อเด่นและข้อด้อยของตนเองเพื่อหาทาง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ดังนั้นการยอมรับตนเองจึงนําไปสู่การพัฒนาตนเอง และยอมรับ ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเรา

ข้อ 57 – 58. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Labeling
(2) Social Comparison
(3) Interpersonal Relationships
(4) Significant Others

57 การมองตนเองจากกระจกเงา เปรียบได้กับวิธีการเรียนรู้ตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 59 – 60, (คําบรรยาย) การมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Interpersonal Relationships) คือ การเรียนรู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไรจากการดูปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) หรือปฏิกิริยาป้อนกลับ ของคู่สื่อสารที่แสดงกลับมา ซึ่งเปรียบได้กับการมองตนเองโดยอาศัยภาพสะท้อนจากกระจกเงาทั้งนี้ต้องอาศัยการรับฟังความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น และในขณะเดียวกัน ก็ดูดซึมเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราเข้ามาด้วย ซึ่งจะทําให้รู้ว่าเราควรดําเนินการในรูปแบบ อย่างไร จึงจะสืบเนื่องความสัมพันธ์ไปได้เนิ่นนาน

58 เราจะใส่เสื้อผ้าสีดําเมื่อไปงานศพ เป็นการเรียนรู้ตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) การกําหนดของสังคม (Labeling) คือ การปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรม ตามบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกามารยาทต่าง ๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ค่านิยมของสังคม ฯลฯ โดยกําหนดตัวเองจากการกระทําของเราว่าเข้ากับ ข้อกําหนดของสังคมในรูปแบบใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1 สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การคดโกง ความก้าวร้าว การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
2 สิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น การเคารพกฎหมาย การแต่งกายที่สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ฯลฯ

ข้อ 59. – 60. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Inferior
(2) Superior
(3) Equal
(4) Introvert

59 การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 60, (คําบรรยาย) Equal คือ การมีความคิดและยอมรับตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนว่า เราเท่าเทียมหรือเสมอภาคเท่ากับผู้อื่น โดยจะมีความเป็นเพื่อนกัน มีความคล้ายคลึงหรือมีอะไร ที่ใกล้เคียงกัน ทําให้มีความสบายใจในการแสดงออก กล้าพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งส่งผลให้ คู่สื่อสารสามารถเปิดเผยตนเอง สามารถสื่อสารและแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริงได้อย่างอิสระ จึงเป็นการยอมรับตนเองของคู่สื่อสารที่นําไปสู่สัมพันธภาพที่ดี และสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง เป็นต้น

60 การติดป้าย “โรงพักเพื่อประชาชน” เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองของตํารวจข้อใด
ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) Inferior คือ การยอมรับว่าตนเองต่ําต้อยกว่าคนอื่น หรือมีสถานภาพ ที่ต่ํากว่าคู่สื่อสาร ซึ่งจะทําให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ํา และตีคุณค่าของตนเองต่ํากว่าผู้อื่น ดังนั้น จึงทําให้เกิดพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติ เชื่อฟังและคล้อยตาม โดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่น พฤติกรรมการหาเสียงของนักการเมืองที่เน้นว่าประชาชนสําคัญที่สุด, แนวคิดทางธุรกิจที่เน้นว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า ลูกค้าถูกเสมอ” แนวคิดของเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ว่า “โรงพักเพื่อประชาชน ตํารวจ…ผู้รับใช้ชุมชน” และแนวคิดที่ว่า “ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทํางานให้ประชาชนชื่นใจ” ฯลฯ

ข้อ 61. – 62. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ศึกษาและประเมินตนเอง
(2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง
(4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

61 การเข้ารับการอบรมจากศูนย์พัฒนาบุคลิกภาพ กรณีนี้อยู่ในขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง คือ การยอมรับ ข้อบกพร่องและตระหนักถึงความสําคัญของบุคลิกภาพว่า เป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การยอมรับ นับถือ ศรัทธา ความสัมพันธ์อันดี และความสําเร็จ พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนเอง โดยการศึกษาหาข้อมูลและ วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อนํามาปรับปรุงตนเอง เช่น ปรึกษาแพทย์ ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ หรือ เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพตามความเหมาะสม

62 ความรับผิดชอบในการทํางาน อยู่ในขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 3 หน้า 64, (คําบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคลของตนเอง ดังนี้
1 ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ทําให้บุคคลต้องการปรับปรุง ตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ฯลฯ
2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่น ชนชม
และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทําให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน และแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการทํางาน
4 ความต้องการอํานาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายําเกรง

63 ข้อใดเป็นการใช้คําพูดเชิงบวกกับคู่สนทนาที่มีรูปร่างอ้วน
(1) ตุ้ยนุ้ย
(2) จ้ำม่ำ
(3) อวบ
(4) ราชินีช้าง
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) การใช้ศิลปะในการสนทนาประการหนึ่ง คือ หลีกเลี่ยงคําพูดที่ทําให้ ผู้อื่นสะเทือนใจ ไม่พูดถึงปมด้อยของผู้อื่น แต่ถ้าจําเป็นต้องพูดก็ควรใช้คําพูดในเชิงบวกแทน เช่น เมื่อพูดถึงคนตัวดําก็ควรใช้ว่าคนผิวสีเข้ม, เมื่อพูดถึงคนที่มีนิสัยขี้เหนียวก็ควรใช้ว่า เป็นคนมัธยัสถ์ รู้จักใช้เงิน และเมื่อพูดถึงคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (คนอ้วน) ก็ควรใช้ว่า
คนจ้ำม่ำเป็นต้น

64 ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาตนเองด้านการพูด
(1) รู้จักใช้คําถามที่เหมาะสม
(2) เลือกพูดในสิ่งที่ตนเองชอบและสนใจ
(3) รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
(4) พูดถึงส่วนที่ส่วนเด่นของผู้ฟัง
ตอบ 2 หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้
1 พูดจาด้วยถ้อยคําที่สุภาพ
2 มีน้ำเสียงนุ่มนวล
3 ฝึกการใช้คําถามให้เหมาะสม
4 พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัด ชอบและสนใจ
5 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด
6 รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
7 ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่ควรขัดคอหรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันที หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น, รู้จักสรรหาเรื่องที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา, ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ

65 ภีมชอบโต้เถียงและควบคุมผู้อื่น แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(2) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(3) ฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด
(4) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง คือ การเปลี่ยนการโต้เถียงผู้อื่น ให้เป็นการอภิปรายแทน การหัดยอมแพ้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม และรู้จักกล่าวคําขอโทษทันที เมื่อมีผู้อื่นกระทําให้เราเดือดร้อนหรือลําบากใจโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งจะเหมาะกับบุคคลที่ชอบใช้ อํานาจเหนือผู้อื่น ไม่ยอมแพ้ ชอบโต้เถียงเพื่อเอาชนะ และพยายามควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น เพราะคิดว่าตนเองสําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักคิดถึง ยอมรับ และเห็นด้วยกับผู้อื่นมากขึ้น

66 วรรณนรีพอใจในสิ่งที่ตนมี แสดงถึงการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกให้มีใจสงบ
(3) ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต
(4) ฝึกการรักตนเอง
ตอบ 4 หน้า 69, (คําบรรยาย) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ การฝึกให้รู้จักรักตนเอง รู้จัก ให้คุณค่า รู้จักพึงพอใจในตนเองและสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ดังคํากล่าวที่ว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนเอง มีอยู่เป็นอยู่” โดยพยายามพัฒนาตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วจะทําให้เรารู้จักรักและพอใจผู้อื่น ชื่นชมยินดี และเห็นคุณค่าผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักให้คุณค่าแก่ตนเองด้วยการมองภาพพจน์ ของตนเองในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

67 ทวยหาญเป็นคนไม่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกเป็นคนคล่องแคล่วว่องไว
(2) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา
(3) ฝึกพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม
(4) ฝึกการสร้างความประทับใจ
ตอบ 2หน้า 71, (คําบรรยาย ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา คือ การแสดงออกถึงการมีวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โดยเริ่มต้นจากการไม่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่งและทําตัวให้เป็นคนที่ เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่เป็นคนประมาทหรือละเลยต่อเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน รวมทั้งฝึกเป็นคนเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและรู้จักเกรงใจผู้อื่น ไม่ทําให้ผู้อื่นรอคอยโดยไม่จําเป็น

68 การรู้จักยอมรับว่ามนุษย์ผิดพลาดได้ นําไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
(3) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(4) ฝึกให้มีใจสงบ
ตอบ 2 หน้า 73 ฝึกการให้อภัยผู้อื่นและตนเอง คือ การไม่ลงโทษผู้อื่นและตนเองเมื่อกระทําผิดพลาด เพราะการไม่ให้อภัยผู้อื่นและตนเองย่อมทําให้เกิดความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบุคคลจึงควรพิจารณา ตนเองว่าการกระทําของตนเองเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ และเมื่อกระทําอะไรลงไปแล้วผู้อื่นพอใจหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วก็ควรยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นและพยายามลืมโดยถือว่าความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน

69 การทําให้คู่สื่อสารรู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลสําคัญ นําไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกการให้ในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ
(3) ฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
(4) ฝึกการสร้างความประทับใจ
ตอบ 4หน้า 74 ฝึกการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น จะมีเคล็ดลับอยู่หลายวิธี เช่น การแต่งกายงดงาม การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีน้ําเสียงนุ่มนวล และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แต่สิ่งที่สําคัญที่สุด คือ การทําให้ผู้อื่นรู้สึกตัวว่าเขาเป็นคนสําคัญ มีคุณค่า และมีความหมาย นอกจากนี้ยังควรรู้จักหมั่นฝึกพูดคําว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในโอกาสที่เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ เป็นต้น

70 การศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยแนวคิดใด
(1) ความแตกต่างของมนุษย์
(2) ความต้องการของมนุษย์
(3) ศักดิ์ศรีของมนุษย์
(4) ความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สําคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติของบุคคลอื่นโดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสําคัญที่ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเรายอมรับในเรื่องความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์นั้นดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทําให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย

ข้อ 71 – 72. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ทัศนคติ
(2) ค่านิยม
(3) ประสบการณ์
(4) ความเชื่อ

71 สถาบันการศึกษาทําการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ แสดงถึง
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 1 หน้า 43, 79 – 81, (คําบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับทิศทางนั้น เช่น ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น

72 ธรรมชาติของคนไทยมีน้ําใจช่วยเหลือกัน เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 2 หน้า 79, 81, (ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ) ค่านิยม (Value) หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมใด สังคมหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่ายกย่อง ถูกต้องดีงาม และเป็นที่ยอมรับในสังคม หรือ เป็นความรู้สึกในทางที่ดีที่บุคคลมีต่อสิ่งต่าง ๆ หรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นค่านิยมจึงผูกพัน กับคุณค่าความดีหรือไม่ดีมากกว่าความเชื่อ เช่น ค่านิยมเรื่องความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต การเคารพผู้อาวุโส การมีน้ําใจช่วยเหลือกัน ฯลฯ

ข้อ 73 – 77 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Open Area
(2) Blind Area
(3) Hidden Area
(4) Unknown Area

73 การรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของผู้อื่น จะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 3 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) ให้น้อยลง โดยใช้วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวดิ่ง (4) มีอยู่ 2 วิธี คือ
1 ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ โดยการเปิดเผยความในใจ หรือเปิดเผยข้อบกพร่องของตนเอง ให้แก่คนอื่นหรือคู่สื่อสารทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไข
2 มีความหวังดีต่อกัน โดยการรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของคนอื่น

74 พฤติกรรมส่วนใดมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 83 – 85 บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมภายนอกที่บุคคลตั้งใจ หรือเจตนาแสดงออกอย่างเปิดเผย ทําให้คู่สื่อสารสามารถรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของแต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่มรู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสารมีความสนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผยก็จะเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมส่วนนี้จะเป็นประโยชน์และมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะทําให้ คู่สื่อสารมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจต่อกันมากขึ้น ดังคํากล่าวที่ว่า “มองตาก็รู้ใจ”

75 รัฐบาลที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน จะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 2 หน้า 86 บุคคลที่รับข้อติชมมาก แต่ให้ข้อติชมน้อย (ฟังมากกว่าพูด) คือ บุคคลที่รับฟังคําวิจารณ์ ของคนอื่นมากแล้วนํามาแก้ไขปรับปรุงตนเอง ทําให้พฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) ลดลง แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) มากที่สุด จึงควรขยายพฤติกรรมบริเวณ เปิดเผย (Open Area) ให้กว้าง โดยพูดบอกให้ผู้อื่นรู้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง ผู้อื่นจะได้ช่วยแก้ไข

76 สถานการณ์ที่คับขัน กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) บริเวณมืดมน (Unknown Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมลึกลับ หรือความรู้สึกฝังลึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งตนเองและบุคคลอื่นก็ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเข้าใจมาก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ทําให้บุคคลไม่รู้จักตนเองมากที่สุด และคนอื่นก็ไม่รู้จัก ตัวเราด้วย เพราะอาจจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง และยังค้นไม่พบ จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คับขันบางอย่างมากระตุ้นให้เกิด พฤติกรรมนี้ เช่น พรสวรรค์ทางด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา ฯลฯ

77 บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมน้อย จะมีพฤติกรรมส่วนใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมจากผู้อื่นน้อย (พูดมากกว่าฟัง) คือ บุคคลที่ไม่ยอมรับฟังคําวิจารณ์ของผู้อื่น แต่ชอบพูดวิจารณ์ผู้อื่นมากกว่า (ชอบประเมินคนอื่น โดยไม่สนใจที่จะประเมินตนเอง) จะมีพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) มากที่สุด แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) น้อยที่สุด

ข้อ 78 – 83. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมแบบพ่อแม่
(2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่
(3) พฤติกรรมแบบเด็ก
(4) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ

78 บุคคลที่เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) จะมีลักษณะดังนี้
1 มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทํางานตามข้อมูลและข้อเท็จจริง
2 ยึดถือว่างาน สําคัญกว่าการเล่น
3 ยึดความถูกต้องและระเบียบแบบแผนมากกว่าความคิดสร้างสรรค์
4 เป็นคนมีเหตุผล
5 เคร่งครัดในกฎระเบียบและกฎเกณฑ์

79 บุคคลที่มีอารมณ์ศิลปินสูง แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และ กล้าหาญ ซึ่งจะทําให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิ่งประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานด้านศิลปะต่าง ๆ และทําให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าขบขัน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ความสุข ของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คําพูดที่แสดงออกนั้น จะเปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา

80 การส่งการ์ดอวยพรวันเกิดเพื่อน แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 93 (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ คือ การกระทําเพื่อมารยาท หรือการกระทํา ตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น การรู้จักไปลามาไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัยหรือกล่าว คําว่า “สวัสดี” เมื่อเจอกัน การกล่าวต้อนรับ การเลี้ยงต้อนรับ การจัดงานเลี้ยงผู้เกษียณอายุ การปรบมือให้กําลังใจผู้พูด การกล่าวอวยพรเมื่อไปร่วมงานวันเกิดหรืองานเทศกาลปีใหม่ การรดน้ําขอพรจากผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ และการจัดงานในเทศกาลสําคัญ ๆ ฯลฯ

81 ผู้บริหารที่ชอบให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89, 91 – 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะมีลักษณะดังนี้
1 ถือว่าลูกน้องเหมือนลูกหลานที่จะอบรมสั่งสอนได้
2 เอาใจใส่ดูแลการทํางานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด
3 เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน
4 เห็นอกเห็นใจ เป็นห่วงลูกน้อง และมักจะให้ความช่วยเหลือ
5 ร่วมคิด ร่วมปรึกษากับลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบเด็กเท่านั้น
6 ถือว่างานต้องมาก่อนความสนุกสนานบันเทิง
7 ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ
8 มักชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องจนกลายเป็นเผด็จการ

82 บุคคลที่มีลักษณะหัวโบราณ แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะแสดงออก ในลักษณะของพฤติกรรมทางบวก เช่น ความรักใคร่ อบรมสั่งสอน ห่วงใย หวังดี ปลอบประโลม ให้กําลังใจ ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีลักษณะของพฤติกรรมทางลบด้วย เช่น เกรี้ยวกราด ดุด่าว่ากล่าว ใช้อํานาจสั่งการเหนือผู้อื่น ตําหนิติเตียน ประชดประชัน เยาะเย้ย เจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการยึดถือระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี และเชื่อถือคติโบราณ จึงมักทําให้มีบุคลิกภาพแบบหัวโบราณ ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่จะมีความเมตตากรุณา

83 ผู้บริหารที่ชอบของกํานัลและคําชมเชย แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) จะมีลักษณะดังนี้
1 มักยืดหยุ่น โอนอ่อนผ่อนตาม และไม่ค่อยมีจุดยืน
2 มีอารมณ์ขัน
3 มักชอบขอร้องให้ลูกน้องช่วยเหลือเสมอ
4 ถ้าพบอุปสรรคก็จะสู้ชนิดหัวชนฝา
5 ชอบคําชมเชยและของกํานัล
6 ชอบให้ลูกน้องประจบเอาใจ
7 ยึดถือความพอใจของตนเองมากกว่ากฎเกณฑ์

84 บุคคลที่ต้องการกําลังใจจากผู้อื่น เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด
(1) I’m not OK., You’re OK.
(2) I’m OK., You’re not OK.
(3) I’m not OK., You’re not OK.
(4) I’m OK., You’re OK.
ตอบ 1 หน้า 93 ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK, You’re OK.) เป็นทัศนคติที่แสดงถึงภาวะจิต ของคนที่ไม่มีความสุข จึงเป็นบุคคลที่ต้องการกําลังใจ ต้องการความสนใจและเอาใจใส่จาก ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น มักจะมองตนเองในแง่ลบ ชอบตําหนิตนเอง แต่กลับมองผู้อื่นในแง่ดี และยกย่องชมเชยผู้อื่น เช่น คําพูดที่ว่า “ฉันเป็นดอกหญ้าที่ไร้ค่าแต่เธอเป็นดอกฟ้าผู้สูงส่ง”, “ทําอย่างไรฉันถึงจะเก่งได้เหมือนเธอ” เป็นต้น

85 ตามแนวคิดของเชลดัน บุคคลที่ชอบอยู่ตามลําพัง จะมีบุคลิกภาพแบบใด
(1) อ้วน
(2) ล่ำสัน
(3) สมส่วน
(4) ผอม
ตอบ 4 หน้า 95 เชลตัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักชอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร็ว ฯลฯ

2 รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ
3 รูปร่างผอม (Ectormorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลําพัง ฯลฯ

86 ข้อใดแสดงถึงพฤติกรรมแบบ Ambivent
(1) อารมณ์ดี
(2) ขี้อาย
(3) ปรับตัวเก่ง
(4) ชอบทํากิจกรรม
ตอบ 3หน้า 95, (คําบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Cart G. Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลําพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ
2 ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี
ชอบทํากิจกรรม ฯลฯ
3 ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักจะมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ข้อ 87 – 89. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เต่า
(2) ตุ๊กตาหมี
(3) ฉลาม
(4) นกฮูก

87 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 4 หน้า 97 (คําบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังผู้อื่นด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดงความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพและ แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน ทําให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด

88 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่เอาอกเอาใจลูกน้อง
ตอบ 2 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทยอมตาม (Country Club Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “ตุ๊กตาหมี” คือ เป็นบุคคลที่ยอมผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจโดยไม่ปริปากบ่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความเสียสละ มักยอมให้คนอื่นทําสิ่งต่าง ๆ ก่อนเสมอ มองคนในแง่ดี สนใจคนมากกว่างาน เอาอกเอาใจและกลัวลูกน้อง ชอบสร้างบารมีให้ลูกน้องรัก เพราะขาด ความสามารถในการทํางาน โดยมักมีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ ยอมตามใจลูกน้องเสมอ

89 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่ชอบโยนความผิดให้ลูกน้อง
ตอบ 1 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “เต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะ บริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทําอะไรก็ทําไป และเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ

ข้อ 90 – 92. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) การรับรู้ทางสังคมด้วยความรู้สึกประทับใจ
(2) การรับรู้ทางสังคมด้วยการประเมินบุคคลอื่น
(3) อิทธิพลทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางสังคม

90. การคล้อยตามคนอื่น เป็นผลมาจากแนวคิดข้อใด
ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (คําบรรยาย) อิทธิพลทางสังคม จะเน้นพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง เนื่องจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 การส่งเสริมโดยสังคม (Social Facilitation) ได้แก่ การอยู่ในสายตาของผู้อื่นจะทําให้ การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2 การคล้อยตามผู้อื่น หรือการถูกโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม ได้แก่ การคล้อยตามบุคคลที่เรา เชื่อถือหรือสนิทสนม การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการคล้อยตามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

91 ทัศนคติที่คล้ายกันของคู่สื่อสาร นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 4 หน้า 133, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงดึงดูดใจทางสังคมของคู่สื่อสาร จนนําไปสู่ แนวคิดความสัมพันธ์ทางสังคม มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1 ความใกล้ชิดทางกายภาพ คือ ความใกล้ชิดกันทางด้านสถานที่ เช่น ในห้องเรียน หรือ เพื่อนร่วมงานในที่ทํางานเดียวกัน
2 ทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน คือ มีความสนใจร่วมกัน หรือมีทัศนคติหลาย ๆ อย่างตรงกันมาก่อน
3 รูปร่างหน้าตา หรือบุคลิกภาพที่ดี นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน

92 ประสบการณ์ครั้งแรก นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 127 – 129, 155, (คําบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมด้วยความรู้สึกประทับใจ มักเกิดจาก ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1 ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อสาร คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก
2 ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา
3 การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คําพูด เช่น สีหน้า สายตา ท่าทางและการสัมผัส น้ำเสียง ฯลฯ

93 ลูกพ่อขุนฯ ปลื้ม ศิษย์เก่าประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน แนวคิดนี้ทําให้ได้รับการยอมรับทางสังคม
ข้อใด
(1) อ้างความด้อยของตัวเอง
(2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม
(3) สวมบทบาทตามความคาดหวัง
(4) สวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
ตอบ 2 หน้า 135 อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม คือ การทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองโดยบุคคลอาจอ้างชื่อเสียง ของกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และเป็นกลุ่มที่ประสบความสําเร็จ เช่น อ้างกลุ่มโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภูมิลําเนา เชื้อชาติ ฯลฯ เพื่อทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองหรือเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ

ข้อ 94 – 95. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การชดเชย
(2) การทดแทน
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การถ่ายโทษ

94 การทําบุญเพื่อล้างบาป แสดงถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 4 หน้า 140 การถ่ายโทษ (Undoing) คือ กลไกที่บุคคลแสดงการกระทําเพื่อลบล้างการกระทําเดิม ของตน ซึ่งเป็นการกระทําที่ผู้อื่นไม่ยอมรับและเป็นการล้างบาป หรือลบล้างความผิดที่ตนเอง ทําไว้ในอดีต เช่น การทําบุญกุศลเกินกว่าฐานะเพื่อล้างบาป เป็นต้น

95 การพยายามเอาชนะข้อบกพร่องของตนเอง แสดงถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 139, (คําบรรยาย) การชดเชย (Compensation) คือ กลไกที่บุคคลพยายามจะเอาชนะ ข้อบกพร่องหรือความด้อยของตนเองทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย บุคลิกภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการสร้างความเด่นหรือความสําเร็จด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อชดเชยความบกพร่อง จุดอ่อน และความด้อยของตัวเอง เช่น การเล่นกีฬาให้เก่งชดเชยการเรียนไม่เก่ง หรือคนที่ไม่มีโอกาส เรียนสูง ๆ จะพยายามส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบการศึกษาขั้นสูงที่สุด ฯลฯ

96 การรู้จักให้คุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ของบุคคล เป็นผลมาจากวัตถุประสงค์ใดของการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) เพื่อค้นพบตนเอง
(2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก
(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์
(4) เพื่อโน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 151, (คําบรรยาย) เพื่อค้นพบโลกภายนอก (Discovery of The External World) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลทําให้บุคคลเข้าใจในตนเองและผู้อื่น เข้าใจสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งทําให้เกิดการถ่ายทอด และเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม นอกจากนี้การรู้จักให้คุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ของบุคคลที่ผ่านเข้ามาสู่ความคิดของเราด้วยการสื่อสารกับผู้อื่นเช่นกัน

97 ข้อใดไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะ
(1) การสื่อสารเชิงอวัจนะทําให้การสื่อสารชัดเจนขึ้น
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงออกอย่างรู้ตัวของผู้ส่งสาร
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbat Communication) มีดังนี้
1 แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2 มีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น
จะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
3 มีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มีขอบเขตจํากัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็นการ แสดงออกทางด้านน้ำเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า
4 มีหน้าที่ในการสื่อสาร ทําให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5 อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ทําให้ขาดการควบคุมและแสดงออกอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
6 สามารถส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากกว่าวจนสารถึง 5 เท่า ฯลฯ

98 ข้อใดแสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้วัจนภาษาเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) เลือกใช้ถ้อยคําที่เข้าใจง่าย
(2) หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางวิชาการ
(3) หลีกเลี่ยงถ้อยคําที่คลุมเครือ
(4) เลือกใช้ถ้อยคําที่ทําให้ผู้รับสารพึงพอใจ
ตอบ 4หน้า 153 การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น ผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ต้องเลือกใช้ถ้อยคําต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) มีความพึงพอใจ โดยตระหนักถึง ธรรมชาติทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น และต้องการเป็นบุคคลสําคัญ ดังนั้นผู้พูดจึงควรใช้คําพูดที่สุภาพเพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติผู้ฟัง และควรหลีกเลี่ยงคําพูด ที่ไม่สุภาพ คําพูดตําหนิหรือดูถูกผู้ฟัง เพราะคําพูดเหล่านี้จะสร้างความขัดแย้งมากกว่าความพึงพอใจ

99 คู่สื่อสารที่มีรสนิยมเดียวกัน แสดงถึงปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
(2) ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร
(3) ความคล้ายคลึงของคู่สื่อสาร
(4) ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 158, 160 – 161 ความคล้ายคลึงกันของคู่สื่อสาร (Similarity) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่
1 ความคล้ายคลึงกันทางคุณลักษณะประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ สถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม ระดับการศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ
2 ความคล้ายคลึงกันทางภูมิหลัง หรือประสบการณ์ร่วมของคู่สื่อสาร
3 ความคล้ายคลึงกันทางทัศนคติ เป็นระดับความคล้ายคลึงกันในแง่ของความเชื่อ การมีรสนิยมเดียวกัน หรือการให้คุณค่าสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันระหว่างคู่สื่อสาร

100 การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงพฤติกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) Empathy
(2) Honesty
(3) Positiveness
(4) Equality
ตอบ 1 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หรือความสามารถในการเอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งจะช่วยให้ คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้

MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์พันธุ์อะไรที่เชื่อว่าอาจพูดได้เป็นครั้งแรก
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4 หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

2 ปรมาจารย์ที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

3 ข้อใดเป็นกาลามสูตร
(1) พิธีกรเล่าข่าวบอกได้ยินมาว่า
(2) โบราณบอกว่ามีลูกสาวเหมือนมีส้วมหน้าบ้าน
(3) อย่าเชื่อแม้แต่อาจารย์จเลิศอธิบายก็ตาม
(4) ไข้สูงอย่างนี้น่าจะติดโควิดแล้วนะ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักกาลามสูตร 10 ในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุมีผลอยู่ในตัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทดลองได้ สามารถตรวจสอบ พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์เหตุผลว่า เป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้นหลักกาลามสูตรจึงสามารถนํามาปรับใช้กับสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จัก พิจารณาข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดปัญญารู้เท่าทัน

4 อะไรเป็น Verbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 ถึงฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูด (Verbal) เช่น ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด ฯลฯ

5 อะไรไม่เป็น Nonverbal Communication

(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างของการใช้

สัญลักษณ์ที่เป็นกิริยาท่าทาง (Nonverbal) หรือภาษาที่ไม่ออกเสียง เช่น ฉันกอดแม่, แม่ยืน มองแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง ฯลฯ

6 ข้อใดคือการสื่อสารมวลชน
(1) ฉันเรียนออนไลน์
(2) ฉันเล่นไลน์
(3) ฉันจัดรายการวิทยุออนไลน์
(4) ฉันขายของออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 14, 19 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) คือ การสื่อสารที่มีความเกี่ยวข้อง กับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ รวมทั้งสื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ ฯลฯ เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารจํานวนมากที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือ ทั่วโลก โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร และเนื้อหาของสารนั้นก็จะต้อง มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชนด้วย เช่น การจัดรายการวิทยุออนไลน์ เป็นต้น

ข้อ 7 – 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Small Group Communication
(4) Public Communication

7 ฉันนั่งคุยกับเพื่อนเรื่องเด็กอายุ 14 วางแผนให้แฟนหนุ่มอายุ16 ฆ่าแม่และพี่ชายตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 18, 22, 37 – 38, (คําบรรยาย) Interpersonal Communication คือ การสื่อสาร ระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง หรือกับคนอื่นที่มีจํานวนไม่มากนัก ในบางครั้งผู้ส่งสารกับผู้รับสารที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน การสื่อสารกันในงานเลี้ยงสังสรรค์, การพูดคุยและส่ง SMS/MMS กันทางโทรศัพท์, การเขียน จดหมายถึงกัน ฯลฯ หรืออาจจะไม่มีความคุ้นเคยกันก็ได้ เช่น คนแปลกหน้าพูดคุยกันบนถนน บนรถโดยสาร หรือในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ รวมไปถึงการใช้เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนตัวเพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน ก็จัดเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย

8 ฉันนั่งคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 จึงมีความคิดโหดเหี้ยมอย่างนี้
ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) Intrapersonal Communication คือ การสื่อสารส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในร่างกายหรือในตัวของเราเอง โดยเรื่องราวหรือเนื้อหาจะประกอบด้วยความคิด และสื่อกลางหรือช่องทางก็คือ ระบบประสาทที่ผ่านความคิดและกระบวนการในสมอง เช่น การพูดเบา ๆ การซ้อมร้องเพลง หรือฝึกซ้อมอ่านคําปราศรัย การนั่งทําสมาธิ และการคิดถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดในใจแล้วพูดรําพึงรําพัน หรือหัวเราะกับตัวเอง ฯลฯ

9 ฉันเข้าเรียนออนไลน์กับอาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Small Group Communication คือ การสื่อสารกลุ่มย่อยที่เกี่ยวข้อง กับคนจํานวนหนึ่ง ซึ่งจะมีจํานวนจํากัดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 25 คน มาสื่อสารกันเพื่อที่จะพบปะพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และตัดสินใจร่วมกัน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มย่อยไม่ควรมีจํานวนมากนัก เพื่อให้เข้าลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ซึ่งคนทุกคนสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด และแสดงความคิดเห็นกันได้ทั่วถึง เช่น การบรรยายในห้องเรียน การเข้าเรียนออนไลน์ ฯลฯ

10 ฉันฟังการปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ตอบ 4 หน้า 19, 41, (คําบรรยาย) Public Communication คือ การสื่อสารในที่สาธารณะ หรือการพูดในที่สาธารณะ เช่น การปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร, การชุมนุมครั้งใหญ่ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1 จะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะมากกว่าพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ในห้องบรรยายขนาดใหญ่ สนามกีฬา ฯลฯ แต่ถ้ามีผู้ฟังมากอาจต้องถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อให้ทุกคน มีโอกาสเข้าฟังพร้อมกัน
2 เป็นการพูดแบบเป็นทางการมากกว่าการพูดในที่ส่วนบุคคล โดยจะต้องมีการวางแผนการพูดไว้ล่วงหน้า
3 เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น ต้องมีการซักถามปัญหาจากผู้ฟังหลังจาก การพูดจบลงแล้ว เป็นต้น

11 “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” คําว่า “ไอแพด” คือ
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2 หน้า 21 ถ้าหากเรากําลังยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนคนหนึ่ง และพูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ ของเธอ” จากการสนทนาธรรมดานี้ เราก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender), สาร (Message) ได้แก่ ประโยคที่พูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” ส่วนบุคคลที่อยู่ตรงหน้าและเป็นเจ้าของ ไอแพดก็คือ ผู้รับสาร (Receiver or Audience) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นตัวอย่างของ การสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร

12 ฉันโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชนนําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ในสื่อมวลชน สิ่งนี้คือ
(1) Sender
(2) Message
(3) Receiver
(4) Feedback
ตอบ 4 หน้า 21 ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วส่งสารกลับไปให้ ผู้ส่งสาร เช่น เมื่อฉันเห็นภาพผู้ตายในสื่อมวลชน จึงโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชน นําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ เป็นต้น

ข้อ 13 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Way Communication
(2) Two Way Communication

13 สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวเด็กอายุ 14 ร่วมกับแฟนหนุ่มอายุ 16 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 1 หน้า 26 การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวประจําวัน ข่าวรัฐบาลขอความร่วมมือให้งดใช้มือถือขณะขับรถ, ผู้สื่อข่าวรายงานสดจากรัฐสภา ซึ่งผู้ชม ทางบ้านย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น แต่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาได้ทันที ฯลฯ

14 สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 26 การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) คือ การสื่อสารที่เน้นในเรื่อง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ซึ่งถือเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์ที่สุด เช่น ประชาชนไม่พอใจประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%, สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามา แสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง, สถานีวิทยุ จ.ส. 100 เปิดสายให้ ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามารายงานข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ หรือสอบถามเส้นทางต่างๆ ฯลฯ

15 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 16 – 18 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Step Flow Communication
(2) Two Step Flow Communication
(3) Multi Step Flow Communication

16 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัว อยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.), ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

17 ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิด
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) เป็นการรวมการสื่อสารแบบ ขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิด ด้วยกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิดทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือผ่านทาง สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อมวลชนอื่น ๆ, การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งได้นํา คลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือนําข่าวหน้าหนึ่งจาก นสพ. มาอ่าน ฯลฯ

18 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะของ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารไปถึงผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) ใน ชุมชนหรือในกลุ่มสังคมก่อน เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พระ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ หลังจากนั้นจึง ถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสารไม่มีอิทธิพล โดยตรงต่อผู้รับสารส่วนใหญ่ เช่น ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ, การดู โฆษณาครีมยี่ห้อ A แล้วจึงถามเพื่อนที่เคยใช้ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อดังกล่าว เป็นต้น

19 มนุษย์ต้องมีการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูล เพียงพอ แนวคิดนี้เป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัสและเข้ารหัส เชื่อว่า มนุษย์ต้องการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการกระทําดังกล่าวนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ เรามีข้อมูลเพียงพอ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องทําการสื่อสารด้วยการถอดรหัสและเข้ารหัสความหมาย ของสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ

20 สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศของสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 48 ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบททางสังคม เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสําคัญ ต่อการสื่อสารของมนุษย์ คือ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเชื่อกันว่า สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศทางสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร ดังนั้นการไหล ของกระแสข่าวสารหรือผลของการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยทุกครั้ง

21 สื่อสารมวลชนถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 48 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน เชื่อว่า สังคมถือเป็นระบบใหญ่ ระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ หรือระบบย่อยมีความเกี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบและถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม

22 ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สัมพันธ์กัน เนื่องจากปัจจัยจิตวิทยาและสังคมวิทยา
(1) ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(2) ทฤษฎีแรงเสริม
(3) ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
(4) ทฤษฎีการไหลเวียนของข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ จะเป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายกระบวนการเชื่อมโยง หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลหรือไม่สัมพันธ์กัน เพราะความสัมพันธ์จะถูกกําหนดโดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาและ สังคมวิทยา เช่น อารมณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ระยะทางหรือความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ฯลฯ

23 ผู้กําหนดหน้าที่สื่อมวลชนในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 หน้า 50 – 51 Harold Lasswett ได้กําหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนเอาไว้ 3 ประการ คือ
1 หน้าที่สังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
2 หน้าที่ประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม
3 หน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป ซึ่งต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ของสื่อมวลชนประการที่ 4 คือ
4 หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

24 ผู้กําหนดหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ Charles Wright
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความบันเทิง
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

27 สื่อมวลชนหยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 1 หน้า 52 ทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า สื่อมวลชนเป็นสาเหตุและเป็นสิ่งที่ดํารงสังคมมวลชน โดยสื่อมวลชนได้หยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม และ ช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้ดํารงชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะที่ยากลําบากซึ่งกําลังเผชิญอยู่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงก่อให้เกิดภาพพจน์ของการควบคุม กลั่นกรอง และกําหนดทิศทางของอิทธิพลจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง

28 เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง เรื่องราวทางเพศ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 4 หน้า 54 เกิร์บเนอร์ (Gerbner) และคณะ ได้พัฒนาทฤษฎีการปลูกฝัง ซึ่งมีสมมติฐานว่า ข่าวสารในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในวิทยุโทรทัศน์นั้นได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง กล่าวคือ เนื้อหาที่อยู่ในวิทยุโทรทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศเสมอ จนทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน และการดิ้นรนต่อสู้

29 ใครคือผู้กรองสาร (Gate Keeper)
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) โฆษกรัฐบาล
(3) นักข่าว
(4) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 หน้า 55 ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) หรือผู้กรองสาร หมายถึง บุคคลที่ทําหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร จึงเป็นเสมือนกับนายทวารในการรับ ข่าวสารของประชาชน โดยจะควบคุมการไหลของข่าวสารและตัดสินว่าข่าวอะไรควรส่งต่อไป และข่าวอะไรควรจะตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งบุคคลที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ นักข่าวหรือผู้สื่อข่าว ผู้พิมพ์ บรรณาธิการข่าว ผู้เขียนข่าว นักวิจารณ์ ฯลฯ

30 สื่อมวลชนไม่สามารถวิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

31 ผู้มีสิทธิใช้สื่อมวลชน ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 เริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ คือ เพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อให้ความบันเทิง เพื่อการค้า และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อควบคุมรัฐบาล
3 หน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ เพื่อเปิดเผยความจริง และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของรัฐบาล
4 การควบคุมสื่อมวลชน คือ สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และใช้กระบวนการยุติธรรมของศาล เพื่อทําหน้าที่ตัดสินความถูกผิดของสื่อมวลชนตามกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯลฯ)
5 ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของสื่อมวลชน ฯลฯ

32 สื่อมวลชนเป็นของรัฐ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 64 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 สื่อมวลชนจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็น เครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท ฯลฯ

33 การควบคุมสื่อมวลชนทําโดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอบ 4 หน้า 65 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
4 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ

34 ผู้ริเริ่มใช้อักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform) คือ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 3 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็น เกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

35 ตัวอักษร Lonion เป็นของ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 1 หน้า 79 เมื่อประมาณ 500 B.C. ชาวกรีกได้มีการพัฒนาตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมทั้งสระด้วย) ซึ่งการที่ตัวอักษรกรีกมีมาตรฐานนั้นทําให้วัฒนธรรมของกรีกมีความเจริญ มากขึ้น เช่น Athens ได้ผ่านกฎหมายให้ใช้ภาษาที่ใช้ตัวอักษร “Lonion” (The Lonion Alphabet) เป็นภาษาของทางราชการ เป็นต้น

36 ผู้ที่พัฒนากระดาษจากต้น Papyrus ได้แก่
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 2 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nite)

37 กฎหมายของกษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ถูกสลักลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ชื่อว่า
(1) Scroll
(2) Parchment
(3) Vellum
(4) Stallae
ตอบ 4 หน้า 81 เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว กษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ได้แกะสลัก กฎหมายลงบนก้อนหินขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่า “Stallae” คือ บล็อกหินสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดํา ขนาด 8 ฟุต ที่ถูกนํามาตั้งไว้ในศูนย์กลางของเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร ซึ่งถือเป็นระบบที่ ยุ่งยากมาก เพราะยังไม่มีการพัฒนานําเอาสื่อที่เคลื่อนย้ายได้มาใช้

38 หนังสือ Books of Kells ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 3 หน้า 83 หนังสือที่พวกพระคัดลอกด้วยลายมือเป็นจํานวนพัน ๆ เล่ม เรียกว่า Manuscripti โดยหนังสือบางฉบับถือเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงาม ตกแต่งด้วยตัวอักษรและมีภาพวาดที่มีความประณีตสวยงามมาก จนจัดว่าเป็นหนังสือที่สวยที่สุดที่ได้ผลิตออกมา และมีความพิเศษที่ไม่ธรรมดาเลย คือ หนังสือ Books of Kelts ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยพวกพระเมื่อประมาณ 800 A.D. ปัจจุบันหนังสือ Books of Kells ถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่ Trinity College ในเมือง Dublin

39 ประเทศที่มีการพัฒนาการทํากระดาษเป็นชาติแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 คือ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 4 หน้า 85, (คําบรรยาย) ชาวจีนได้พัฒนาการทํากระดาษจากต้นไผ่เป็นชาติแรก ซึ่งใช้กันมาอย่างแพร่หลายเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ทหารเปอร์เซียนได้ จับกุมกลุ่มชาวจีนที่ทํากระดาษ และบังคับให้สอนวิธีการทํากระดาษให้กับพวกตน ส่งผลให้ชาวจีนถูกทหารเปอร์เซียนทําทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส

40 ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก คือ
(1) Johanne Fust
(2) William Caxton
(3) Gutenberg
(4) Adolph Von Nassau
ตอบ 3หน้า 86, 95 ในสมัยก่อนเรื่องของการพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ Gutenberg เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก ทําให้การพิมพ์เริ่มเป็น ที่รู้จักกันทั่วไป เพราะหลังจากการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก (Gutenberg’s Press) เกิดขึ้นได้ไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งไปยังที่ไกล ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

41 หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเล่มแรก ชื่อว่า
(1) Book of Kells
(2) Scriptoria
(3) 42 – line Bible
(4) Koran
ตอบ 3 หน้า 88 เมื่อ ค.ศ. 1455 Gutenberg ทําหนังสือจากกระดาษเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ของเขาเองได้สําเร็จ โดยมีชื่อว่า 42 – line Bible ซึ่งเขาออกแบบเอง และพิมพ์เป็นจํานวน 200 ฉบับ จึงถือได้ว่าหนังสือนี้เป็นตัวอย่างของศิลปะการพิมพ์ที่สวยงามที่สุดในโลก

42 ผู้แต่งหนังสือ Uncle Tom’s Cabin คือ
(1) Whitman
(2) Harriet Beecher Stowe
(3) Longfellow
(4) Barlett
ตอบ 2 หน้า 92 Harriet Beecher Stowe เป็นผู้ที่ได้เขียนหนังสือต่อต้านในเรื่องของทาสที่มีชื่อว่า “Uncle Tom’s Cabin” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ที่โด่งดังมากอีกฉบับหนึ่ง

43 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ
(1) News Sheet
(2) Gazette
(3) Coranto
(4) Oxford Gazette
ตอบ 4 หน้า 96 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ Oxford Gazette (ต่อมาภายหลังใช้ชื่อว่า The London Gazette) โดยพิมพ์จําหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1665 ในสมัยของ King Charles II

44 หนังสือพิมพ์อะไรที่ทําให้หนังสือพิมพ์ถูกเรียกขานว่าสุนัขเฝ้ายาม
(1) The Daily Courant
(2) The Boston News – Letter
(3) The New England Courant
(4) Boston Gazette

ตอบ 3 หน้า 98 เมื่อ ค.ศ. 1721 James Franklin (พี่ชายของ Benjamin Franklin) ได้เริ่มทํา หนังสือพิมพ์อาณานิคมที่ถูกเรียกขานในฐานะสุนัขเฝ้ายาม (The Press as Watchdog) ซึ่งมีชื่อว่า “The New England Courant” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของอาณานิคมที่ ประสบความสําเร็จและมีความอวดดี ฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์คนนั้นคนนี้ และสุดท้ายก็ไป โจมตีผู้ว่าการรัฐ จนส่งผลให้ James Franklin ถูกจับเข้าคุกเป็นเดือนและถูกห้ามพิมพ์

45 ผู้ให้กําเนิด The Penny Press คือ
(1) Benjamin Harris
(2) James Franklin
(3) Benjamin Franklin
(4) Benjamin Day
ตอบ 4 หน้า 100 The Penny Press หมายถึง หนังสือพิมพ์ราคาถูก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1830 และจําหน่ายในราคาถูกเพียงฉบับละ 1 เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ที่ให้กําเนิด The Penny Press คือ Benjamin Day ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “The New York Sun” เมื่อ ค.ศ. 1833 และเขาได้ประกาศเอาไว้ว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การตีแผ่เรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสาธารณะในราคาที่ไม่แพง เฉลี่ยแล้วเหมาะสําหรับทุกคน และยังเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์สําหรับการโฆษณาอีกด้วย

46 หมอบรัดเลย์เป็นผู้ริเริ่มหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) ดุสิตสมิต
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 4 หน้า 101 – 102, 126 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคราชสํานัก จะเริ่มนับจากการที่หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เริ่มดําเนินการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรก ที่มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) ออกมาให้คนไทยในสมัยนั้นได้อ่าน (แต่นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า บางกอกรีคอร์เดอร์มีลักษณะเป็นนิตยสาร มิใช่เป็นหนังสือพิมพ์)

47 เทียนวรรณ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 1หน้า 101 – 102 หนังสือพิมพ์ในยุคราชสํานัก ได้ปรากฏมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ อีกหลายฉบับ ซึ่งฉบับที่สําคัญ ได้แก่
1 สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ดําเนินการโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ
2 ตุลยวิภาคพจนกิจ ดําเนินการโดย เทียนวรรณ

48 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 4 หน้า 102 ในตอนปลายยุคราชสํานัก รัชกาลที่ 6 ทรงออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ดุสิตสมิต”
และทรงนิพนธ์บทความลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับในพระนามแฝง เช่น ศรีอยุธยา รามจิตติ อัศวพาหุ พันแหลม น้อยลา สุครีพ นายแก้ว นายขวัญ พระขรรค์เพชร เป็นต้น

49 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคมืด มีการออกกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 เป็นยุคของ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

ตอบ 2 หน้า 103 หนังสือพิมพ์ยุคมืด (พ.ศ. 2501 – 2512) เป็นยุคที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อํานาจเข้าควบคุมและบังคับไม่ให้หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยการออก กฎหมายเป็น “ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17” นอกจากนี้ยังใช้กําลังคุกคามสิทธิเสรีภาพของ นักหนังสือพิมพ์โดยการจับกุมและตั้งข้อหาว่ามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

50 นายกรัฐมนตรีท่านใดในยุคหนังสือพิมพ์สําลักเสรีภาพที่เสนอว่าจะให้ตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับเป็นยุคแรกของ นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเมื่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้ามาเป็น นายกรัฐมนตรี ก็มีการร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ ในการควบคุมกันเอง และจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) แต่ร่าง พ.ร.บ. ยังไม่ทันได้รับการพิจารณา รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็หมดอํานาจไปเสียก่อน

51 คําสั่ง ป.ร. 42 ออกมาในยุคหนังสือพิมพ์ยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(2) ยุคสําลักเสรีภาพ
(3) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 105 หนังสือพิมพ์ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับเป็นยุคมืดของวงการ หนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะได้มีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับเป็น เวลา 5 วัน และออกประกาศเป็นคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 (ป.ร. 42) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อมาควบคุมการปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์โดยตรง

52 นิตยสารเริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ
(1) อียิปต์
(2) ฮอลแลนด์
(3) อังกฤษ
(4) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า “The Review ซึ่งถือเป็นนิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)

53 นิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า
(1) The Tatler
(2) The Spectator
(3) The Review
(4) The Economist
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 นิตยสารโดยคนไทยฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 2 หน้า 127 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หมายประกาศที่ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ ออกเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาแน่นอน เพื่อออกประกาศของทางราชการ กฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงถือเป็นนิตยสารที่ออกโดยคนไทยฉบับแรก

55 นิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว

ตอบ 1 หน้า 124 – 126 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดนิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรกของกรุงสยาม มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น ดําเนินการ โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ซึ่งเขาได้พิมพ์นิตยสารฉบับนี้เป็นภาษาไทย และ เรียกสิ่งพิมพ์ที่ตนจัดทําขึ้นมาว่า Journal หมายถึง นิตยสาร

56 ในรัชสมัยใดที่กิจการด้านนิตยสารเจริญรุ่งเรืองมากจนเรียกว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย”
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” ส่งผลให้ในยุคนี้มีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ และ มีหนังสือพิมพ์รายวันออกถึง 24 ฉบับ เนื่องจากได้รับเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตลอดจนการศึกษา ที่รุดหน้า และการที่นิตยสารเข้ามาสู่แวดวงของสามัญชนอย่างแท้จริง จึงทําให้วงการนิตยสาร เจริญเติบโตไปมาก

57 ยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือบริษัทใด
(1) โพสต์ พับลิชชิ่ง
(2) บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(3) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(4) อมรินทร์พริ้นติ้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยออก นิตยสารเล่มแรก คือ บ้านและสวน ปัจจุบันอมรินทร์มีนิตยสาร Life Style ในเครือมากที่สุด ในประเทศ เช่น บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, ชีวจิต, Health & Cuisine ฯลฯ

58 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Roget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

59 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และ มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส – เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และการใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้

60 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope” และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville

61 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลกคือเรื่องใด
(1) A Trip to The Moon
(2) The Great Train Robbery
(3) The Jazz Singer
(4) Life of an American Fireman
ตอบ 3 หน้า 148 ในระหว่างปี ค.ศ. 1927 – 1928 บริษัท Warner Brothers ได้ผลิตภาพยนตร์ที่ มีบทพูดเป็นเรื่องแรก คือ เรื่อง The Jazz Singer นําแสดงโดย AL Jason ซึ่งเป็นภาพยนตร์ ที่มีเสียงเพียงบางช่วงเพราะระบบเสียงยังไม่สามารถทํางานได้เต็มระบบ โดยใส่เสียงได้เพียง 2 – 3 เพลง และมีบทพูดอีก 2 – 3 นาที ส่วนที่เหลือก็เป็นภาพยนตร์เงียบหรือไม่มีเสียง

62 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยชาวอเมริกัน แต่ถ่ายทําในประเทศสยาม โดยมีนักแสดงเป็นชาวสยามทั้งเรื่อง ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 4 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และมีผู้กํากับเป็นชาวอเมริกัน คือ นาย Henry McRay โดยหนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

63 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยผู้สร้างชาวสยาม และมีนักแสดงเป็นชาวสยาม ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ โชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 มีลักษณะเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว – ดํา ขนาด 35 มม. และมีนักแสดงเป็นคนไทย

64 ใครเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเป็นคนแรกของไทย
(1) นายประสาท สุขุม
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายปรีดี พนมยงค์
(4) พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 พี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทําภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย โดยยืมอุปกรณ์จาก บริษัทฟ็อกซ์ มาถ่ายทําภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์บันทึกการแสดงจําอวด และการแสดงเดี่ยวซอสามสายและจะเข้ หลังจากนั้นจึงได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้อง วสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

65 คลื่นวิทยุ ถูกค้นพบโดยผู้ใด
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglielmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 1 หน้า 159 Heinrich Rudolf Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทําให้เกิด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งเรียกกันแบบธรรมดาว่า “คลื่นวิทยุ หรือ Radio Wave”) และรับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกไปนั้นได้เป็นคนแรกของโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง Hertz ที่ประชุมนานาชาติจึงมีมติให้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า “Hertzian Wave” และให้ใช้คําว่า “เฮิรตซ์” (Hertz ใช้สัญลักษณ์คือ Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

66 บุคคลใดได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการวิทยุ
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglietmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 2 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1901 Guglielmo Marconi ชายชาวอิตาเลียน ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

67 บิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

68 วันวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) วันที่ 1 มกราคม
(2) วันที่ 25 กุมภาพันธ์
(3) วันที่ 1 เมษายน
(4) วันที่ 3 พฤษภาคม
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

69 David Sarnoff ได้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัทใด
(1) KDKA
(2) FCC
(3) RCA
(4) BCC
ตอบ 3 หน้า 162 – 163, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2473 – 2483 เดวิด ซานอฟ (David Sarnoff) เป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัท RCA และเขายังเป็นผู้พัฒนากิจการ เครื่องรับส่งวิทยุ โดยให้ความสําคัญกับวิทยุในฐานะให้ความบันเทิง เพราะจะทําเงินได้มาก

70 KDKA คือ สถานีวิทยุฯ แห่งแรกของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง ยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง
(1) สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
(2) เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม
(3) นําเสนอความจริงได้ทันทีทันใด
(4) มีผลกระทบต่อสังคมน้อย
ตอบ 4 หน้า 172 – 173 ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง สรุปได้ดังนี้
1 สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
2 เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม

3 สามารถฟังได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
4 นําเสนอเสียงจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ฟังได้โดยตรงและทันทีทันใด
5 มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างกว้างขวาง

72 กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ BBC เป็นของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อังกฤษมีแนวคิดที่แตกต่างจากอเมริกาในการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งรูปแบบวิทยุ ในอังกฤษจะเรียกว่า “กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ” (Public Service Broadcasting) หรือ BBC ก่อตั้งโดยจอห์น รีธ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการใหญ่คนแรก ทั้งนี้ BBC จะมีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา และให้ความบันเทิง ทําการออกอากาศแบบไม่มีโฆษณา โดยได้เงิน จากค่าภาษีเครื่องรับ มีบอร์ดบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐและเอกชน

73 โทรทัศน์ช่องแรกของไทย คือช่องใด
(1) ช่อง 4
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 1 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการ ดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

74 ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศโทรทัศน์ในรูปแบบทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่าอะไร
(1) BBC
(2) PBS
(3) EBC
(4) NBC
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศรายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรูปแบบของ ทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์บีบีซี” (BBC : British Broadcating Corporation)

75 สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของญี่ปุ่น มีชื่อว่าอะไร
(1) JBC
(2) NHK
(3) PBC
(4) AKB
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1953 ประเทศญี่ปุ่นได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรก เพื่อแพร่ภาพ ออกอากาศอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นเอชเค” (NHK : Nippon Hoso Kyokai)

76 เหตุใดระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกาจึงไม่เหมาะกับการออกอากาศในประเทศไทย
(1) อุณหภูมิในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยสูง
(2) ประเทศไทยมีฝนตกชุก
(3) ความถี่ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับในประเทศไทย คือ 50 Hz
(4) การสนับสนุนของรัฐบาลในสมัยนั้นที่มีความขัดแย้งกับอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 188, (คําบรรยาย) สาเหตุประการหนึ่งที่ระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกา ไม่เหมาะสมกับการออกอากาศในประเทศไทย คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบไฟฟ้า กระแสสลับความถี่ 60 Hz ในขณะที่ประเทศไทยใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz ดังนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์จึงต้องจัดหาเครื่องแปลงความถี่มาใช้ ซึ่งมีราคาแพงมาก นับว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น

77 เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC ได้ ประเทศไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบใด
(1) HD
(2) DIGITAL
(3) SECAM
(4) PAL
ตอบ 4 หน้า 189, (คําบรรยาย) เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC แบบอเมริกาได้ ประเทศ ไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบ PAL สัญญาณภาพ 625 เส้น และส่งเป็นภาพสี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513

78 สถานีโทรทัศน์ที่ได้ชื่อว่า Public Service
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
(2) สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
(3) สถานีโทรทัศน์รัฐสภา
(4) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Public Service Broadcasting) หรือทีวีสาธารณะ แห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มการแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงาน ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

79 ช่องใดไม่ได้ส่งสัญญาณภาพในระบบ HD
(1) ไทยพีบีเอส (หมายเลข 3)
(2) เวิร์คพอยท์ ทีวี (หมายเลข 23)
(3) ช่องวัน (หมายเลข 31)
(4) ไทยรัฐ ทีวี (หมายเลข 32)
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ดิจิทัลที่เป็นระบบ HD ความคมชัดสูง ได้แก่ ช่อง CH5,
NBT, Thai PBS, MCOT, ONE, Thairath TV, 3 HD, Amarin TV, BBTV CH7 และ PPTV (ส่วนช่อง Workpoint TV เป็นระบบ SD ความคมชัดระดับปกติ)

80 ปัจจุบันช่องใดที่ไม่ได้ทําการออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว
(1) ททบ.5 (หมายเลข 5)
(2) TRUE 4U (หมายเลข 24)
(3) ช่อง 3 SD (หมายเลข 28)
(4) MCOT HD (หมายเลข 30)
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 บริษัท บีอีซี – มัลติมีเดีย จํากัด แจ้งว่า บริษัทฯ เตรียมยุติการออกอากาศช่อง 3 แฟมิลี่ (หมายเลข 13) และช่อง 3 SD (หมายเลข 28) เนื่องจากบริษัทฯ ได้คืนใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินฯ ทั้ง 2 ช่องแล้ว โดยจะ ทําการออกอากาศในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นวันสุดท้าย

81 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และมีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์

82 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ

ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

83 ผู้รับสารที่กลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า
(1) UGC
(2) UCG
(3) UGGC
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การที่สื่อใหม่เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่พื้นที่ สาธารณะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า “User Generate Content” (UGC) คือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ

84 บิดาแห่งเว็บ (Web) คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทีม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3 หน้า 194, (คําบรรยาย) Sir Timothy John Berners – Lee หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี เป็นชาวอังกฤษที่ได้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็นคนแรกของโลก ทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งเว็บ”

85 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

86 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Bill Gates
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Interested Network
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson

ตอบ 1 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ที่ก่อตั้ง Facebook ซึ่งถือว่าเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social – networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Facebook ขึ้นขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี

88 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 110 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4 หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่มักใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา (ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 Twitter ประกาศขยาย ทวีตเป็น 280 ตัวอักษร อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลกับผู้ใช้เกือบทั่วโลก)

89 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson
ตอบ 3 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

90 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

91 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) RAM Talk
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Today
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
PR Ramkhamhaeng University

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้…

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ
(1) (2) (3) หรือ (4)…

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

ข้อ 97 – 100
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) สื่อมวลชน
(3) สื่อบุคคล
(4) Social Media

97 ไทยรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน (Daily Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็น ประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวันหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ออกมาแทนที่ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น ไทยรัฐ, เดลินิวส์, คมชัดลึก, ไทยโพสต์ เป็นต้น

98 ทวิตเตอร์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกนํามาใช้เป็น
เครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกับสาธารณชนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการ Social Media รายใหญ่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Facebook, YouTube, Instagram, TikTok และ Twitter (ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ)

99 Thai PBS
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15 และ 78 ประกอบ

100 TikTok.
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!