การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2105 (LAW 2005) ป.พ.พ.ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่า ให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญาด้วยวาจา นายไก่ส่งมอบ บ้านและที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาท หลังจากนั้นนายไข่ก็ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้

Advertisement

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด
(2) นายไก่จะฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ชายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ เมื่อได้ไป ทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญากันด้วยวาจา และนายไก่ส่งมอบบ้าน และที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ได้ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาทแล้วนั้น สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดิน ระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) อสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาที่คู่กรณียัง มิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายกําหนดในภายหน้า และสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว

แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ เพราะสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายไม่ได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด

สัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น แม้จะไม่ได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาจะซื้อขาย ระหว่างนายไก่และนายไข่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง คือได้มีการชําระหนี้ บางส่วนกันแล้ว โดยนายไก่ได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่แล้ว และนายไข่ก็ได้ชําระหนี้ให้แก่นายไก่ ไปแล้วบางส่วนคือ 1 แสนบาท ดังนั้น เมื่อนายไข่ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ตกลงกันไว้ นายไก่ย่อมสามารถฟ้อง นายไข่ว่าผิดสัญญาได้ เพราะมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือการชําระหนี้บางส่วน

สรุป

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

(2) นายไก่สามารถฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้

ข้อ 2 นายโจ้เป็นพ่อค้าขายรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศ แต่วิธีการขายจะเป็นการขาย แบบขายทอดตลาดทุกครั้ง ครั้งละ 5 คัน นายหนึ่งประมูลได้ไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาส่งมอบรถกันเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณ หนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาท แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุด บกพร่องที่เกิดขึ้น นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่ เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งได้ประมูลรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศจากการ ขายทอดตลาดของนายโจ้ซึ่งเป็นพ่อค้าไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาและส่งมอบรถกัน

เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณหนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาทนั้น ย่อมถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักแล้วนายโจ้ผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่ว่านายโจ้ผู้ขายจะได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรถสปอร์ตหรูคันดังกล่าวที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจ้นั้น เป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายโจ้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น การที่นายหนึ่งได้แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้น แต่นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

สรุป นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

ข้อ 3 นายสองนําควายไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปี ในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท เมื่อรับซื้อฝากไว้เพียงเดือนเดียว ควายที่รับซื้อฝากไว้ถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว ก่อนครบ 1 ปี นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืน จากนายสามพร้อมเงินสินไถ่ตัวละ 3 หมื่นบาท นายสามปฏิเสธไม่ให้ไม่โดยอ้างว่า ยังไม่ครบ 1 ปี สินไถ่ต้องตัวละ 5 หมื่นบาทจึงจะให้ไถ่ คําปฏิเสธของนายสามรับฟังได้หรือไม่ และนายสองจะ ฟ้องเรียกค่าเสียหายควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย (2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

มาตรา 501 “ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่า ทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายสองนําควายซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝาก ไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ตกลงไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปีนั้น สัญญาขายฝากดังกล่าว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง และกําหนดเวลาไถ่คืนก็ไม่เกิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 494 (2)

2 ก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืนจากนายสามนั้น นายสองย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายสองผู้ขายฝากแต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายใน กําหนด 1 ปี ตามมาตรา 491 และมาตรา 494. ดังนั้น การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

3 การที่นายสองขายฝากควายไว้ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท และตกลงว่าจะไม่คืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นแม้จะต่ํากว่าราคาที่รับซื้อฝากก็ตาม แต่คู่กรณีย่อมสามารถที่จะ ตกลงกันได้ตามมาตรา 499 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อนายสองจะใช้สิทธิไถ่ควายคืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท ตามที่ ตกลง นายสามจะปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่านายสองจะต้องใช้สินไถ่ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

4 การที่นายสองนําควายไปขายฝากไว้กับนายสาม 10 ตัว หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ควายที่ นายสามรับซื้อฝากไว้นั้นถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว การที่ควายตายไป 5 ตัวนั้น ถือเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก ภัยธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสามผู้ซื้อฝากแต่อย่างใด ดังนั้น นายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากการที่ควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาท ตามมาตรา 501 ไม่ได้

สรุป การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้นายสองไถ่ควายคืนโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปี และสินไถ่ต้อง ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น รับฟังไม่ได้ และนายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ควายถูกฟ้าผ่าตาย 5 ตัว จากนายสาม ตัวละ 5 พันบาทไม่ได้

Advertisement