การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 หนังสือสัญญาเช่าลงลายมือชื่อนายเอกผู้ให้เช่าและนายโทผู้เช่าข้อหนึ่งความว่า “ผู้ให้เช่าขอให้สัญญา

Advertisement

ว่าหากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้ให้เช่าจะขายให้ในราคาอาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเขาซื้อขายกัน เมื่อผู้เช่ายอมซื้อผู้ให้เช่าจะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ จะต้องขายให้ผู้เช่าและจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้ทันที” นอกจากนี้ นายเอกและนายโทได้ทําสัญญาต่อกันอีกข้อหนึ่งว่า “หากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้เช่าจะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าว่าจะซื้ออาคารพาณิชย์ภายในกําหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2560” ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าคํามั่นในการซื้อขายเช่นนี้จะมีผลก่อให้เกิดเป็นสัญญา ซื้อขายเมื่อใด และเมื่อนายโทผู้เช่าได้ตอบรับคํามั่นในวันที่ 6 มีนาคม 2561 นายเอกกลับไม่ยอม ขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทจะฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามันที่ เคยให้ไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 454 “การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คํามั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขาย ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไปและคําบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงบุคคลผู้ให้คํามั่นแล้ว

ถ้าในคํามั่นมิได้กําหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คํามั่นจะกําหนดเวลาพอสมควร และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากําหนดนั้นก็ได้ ว่าจะทําการซื้อขายให้สําเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกําหนดเวลานั้นไซร้ คํามั่นซึ่งได้ให้
ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วยสัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน
เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้อตกลงในสัญญาเช่าระหว่างนายเอกผู้ให้เช่าและนายโทผู้เช่าที่ว่า “ผู้ให้เช่า ขอให้สัญญาว่าหากผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้ ผู้ให้เช่าจะขายให้ในราคาอาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเขาซื้อขายกัน เมื่อผู้เช่ายอมซื้อผู้ให้เช่าจะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ จะต้องขายให้ผู้เช่าและจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้ทันที” นั้น ถือเป็น คํามั่นในการซื้อขาย (คํามั่นจะขาย) ซึ่งคํามั่นที่นายเอกได้ให้ไว้แก่นายโทจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่อนายโท ได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไป และคําบอกกล่าวของนายโทได้ไปถึงนายเอก ผู้ให้คํามั่นแล้วตามมาตรา 454 วรรคหนึ่ง

และเมื่อคํามั่นในการซื้อขายของนายเอกมีกําหนดเวลาว่าหากนายโทผู้เช่าจะซื้ออาคารพาณิชย์หลังนี้
นายโทจะต้องแสดงเจตนาต่อนายเอกผู้ให้เช่าว่าจะซื้อขายอาคารพาณิชย์ภายในกําหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ดังนั้น เมื่อนายโทผู้เช่าได้ตอบรับคํามั่นภายในกําหนดเวลา 1 ปี คือในวันที่ 6 มีนาคม 2561 สัญญา ซื้อขายอาคารพาณิชย์ย่อมเกิดมีขึ้น การที่นายเอกปฏิเสธไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทจึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้ เนื่องจากคํามั่นในการซื้อขายอาคารพาณิชย์

ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้นได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายเอกผู้ให้คํามั่นที่เป็นฝ่ายผู้ต้องรับผิดแล้วตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งประกอบวรรคสอง

สรุป คํามั่นในการซื้อขายดังกล่าวจะมีผลก่อให้เกิดเป็นสัญญาซื้อขายเมื่อนายโทได้บอกกล่าว ความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไป และคําบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงนายเอกแล้ว การที่นายเอกไม่ยอมขายอาคารพาณิชย์ให้แก่นายโท นายโทสามารถฟ้องร้องบังคับคดีเรียกให้นายเอกปฏิบัติตามคํามั่นที่เคยให้ไว้ได้

ข้อ 2 นายนกเป็นคนชอบสะสมรถยนต์โบราณเมื่อเก็บไว้มากก็หาที่เก็บไม่ได้ต้องการขายให้แก่ผู้มีรสนิยม เดียวกัน โดยการขายทอดตลาดเป็นจํานวน 10 คัน โดยนายนกทราบดีว่าคันหนึ่งคานเดาะ อีกคันเป็นรถยนต์ที่มีคนไปขโมยมาขายให้ตน ในการขายทอดตลาดครั้งนี้นายนกไม่ได้แจ้งให้ผู้เข้าสู้ราคา ทราบถึงสองเหตุดังกล่าว นายหนูประมูลได้ 1 คัน นายกระต่ายได้ไป 1 คัน หลังการส่งมอบชําระ ราคากันเป็นที่เรียบร้อย ปรากฏว่านายแมวได้มาติดตามเอารถยนต์ของตนคืนจากนายหนูโดยมี พยานหลักฐานชัดเจนพร้อมมูล นายหนูจึงคืนให้แก่นายแมวไป ส่วนคันที่นายกระต่ายซื้อไปนั้น วันรุ่งขึ้นคานรถยนต์ก็หัก

(1) นายหนูจะฟ้องนายนกให้รับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิ์ได้หรือไม่
(2) นายกระต่ายจะฟ้องนายนกให้รับผิดในความชํารุดบกพร่องในรถยนต์ที่ตนซื้อมาได้หรือไม่

ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของ ผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) กรณีการรอนสิทธินั้นตามมาตรา 475 วางหลักไว้ว่า ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาได้โดยปกติสุข เพราะมีบุคคลอื่นที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน นั้นอยู่ในเวลาซื้อขายมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ

ตามอุทาหรณ์ การที่นายหนูได้ซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดของนายนกไป 1 คัน แต่นายหนูผู้ซื้อได้ถูกรอนสิทธิ คือได้ถูกนายแมวเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันที่นายหนูซื้อมานั้นติดตามเอาคืนไป

ดังนั้นนายหนูย่อมสามารถฟ้องให้นายนกรับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้ตามมาตรา 475

(2) ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้อง รับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใด อย่างหนึ่ง และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

ตามอุทาหรณ์ การที่นายกระต่ายได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายนก และปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวที่นายกระต่ายซื้อไปจากนายนกนั้นคานหักซึ่งถือว่ามีความชํารุดบกพร่อง เกิดขึ้นกับทรัพย์สินนั้น เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักนายนกจะต้อง รับผิดชอบต่อนายกระต่ายผู้ซื้อตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ นายกระต่ายจะฟ้องให้นายนกรับผิดในความชํารุดบกพร่องไม่ได้ เนื่องจากรถยนต์ที่นายกระต่ายซื้อมาจากนายนกนั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 473 (3)

สรุป
(1) นายหนูจะฟ้องนายนกให้รับผิดว่าตนถูกรอนสิทธิได้
(2) นายกระต่ายจะฟ้องให้นายนกรับผิดในความชํารุดบกพร่องในรถยนต์ที่ตน ซื้อมาไม่ได้

ข้อ 3 นายไก่นําบ้านและที่ดินทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายไข่ไว้ในราคา 1 ล้านบาท ไถ่คืนภายในกําหนดหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาท ต่อมานายไข่ตาย บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝาก ตกเป็นของนายขวดทายาทโดยธรรม ก่อนครบ 1 ปี นายไก่ไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน พร้อมเงิน 1,150,000 บาท นายขวดปฏิเสธว่า

(1) ตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไม่
(2) ยังไม่ครบ 1 ปี
(3) สินไถ่ไม่ครบตามสัญญา

คําปฏิเสธของนายขวดรับฟังได้หรือไม่ตามเอกเทศสัญญาว่าด้วยขายฝาก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 498 “สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านี้ คือ

(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโอนว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน”

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริง เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่นําบ้านและที่ดินไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝาก นายไข่ไว้ในราคา 1 ล้านบาท และกําหนดไถ่คืนภายในหนึ่งปีในราคา 2 ล้านบาทนั้น

(1) เมื่อต่อมานายไข่ผู้รับซื้อฝากตาย ทําให้บ้านและที่ดินที่ติดสัญญาขายฝากตกเป็นของ นายขวดทายาทโดยธรรมนั้น ย่อมถือว่านายขวดอยู่ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 498 (2) ดังนั้น ถ้านายไก่ ไปขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายไก่ย่อมใช้สิทธิไถ่คืนกับนายขวดซึ่งเป็นทายาทของนายไข่ได้ตามมาตรา 498 (2) นายขวด จะปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไถ่ไม่ได้ ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธว่าตนไม่ใช่คู่สัญญาไม่มีหน้าที่รับไม่จึงรับฟังไม่ได้

(2) เมื่อสัญญาขายฝากดังกล่าวได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินกําหนดเวลาตามที่ กฎหมายได้กําหนดไว้ (มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายไก่ ได้ใช้สิทธิในการขอไถ่บ้านและที่ดินคืน นายไก่ย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายไก่ผู้ขายฝากแต่เพียง ฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปีตามมาตรา 491 และ 494 ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธ โดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายขวดจึงรับฟังไม่ได้

(3) การที่นายไก่ขายฝากบ้านและที่ดินไว้ในราคา 1 ล้านบาท และตกลงว่าจะไม่คืนใน ราคา 2 ล้านบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นสูงกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังนั้น นายไก่สามารถใช้สิทธิ ไถ่คืนทรัพย์สินนั้นได้ในราคา 1 ล้านบาทบวกประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปีตามมาตรา 499 กล่าวคือ นายไก่สามารถไถ่คืนบ้านและที่ดินได้ในราคา 1,150,000 บาท ดังนั้น การที่นายขวดปฏิเสธโดยอ้างว่าสินไถ่ไม่ครบตามสัญญานั้น คําปฏิเสธของนายขวดจึงรับฟังไม่ได้

สรุป คําปฏิเสธของนายขวดทั้ง 3 ประการรับฟังไม่ได้ตามเอกเทศสัญญาว่าด้วยขายฝาก

Advertisement