POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change) แนวคิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การเป็นอย่างไร สภาวการณ์อะไรบ้างที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การและกระบวนการเปลี่ยนแปลงในองค์การมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ (อ้างอิงนักคิด)

แนวคําตอบ

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change)

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง องค์การทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

แนวคิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

เนื่องจากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี วิทยาการสมัยใหม่ การติดต่อสื่อสาร ค่านิยมใหม่ ๆ เป็นต้น ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกองค์การ โดยในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีมากมาย เช่น การปฏิรูประบบราชการ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การออกนอกระบบ การควบรวมกิจการ การนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในองค์การ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อ ปรับองค์การให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทําให้องค์การอยู่รอดและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สภาวการณ์ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้นที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การมีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ เช่น แรงกดดันจากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายในและต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้นมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงานให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video-Conferencing การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชีและระบบสารสนเทศ

2) เรื่องเกี่ยวกับงานโดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตหรือการบริการ

3) เรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมและการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลายการทํางานเป็นทีม

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางานและการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่

Kinicki and Kreitner กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร เนื่องจากปัจเจกบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร รวมทั้ง ทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือ องค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตและการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิตสินค้า และบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้าน สังคมและการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้อง ปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออก จากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะมาจาก ปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

กระบวนการเปลี่ยนแปลงในองค์การ Kurt Lewin ได้เสนอกระบวนการเปลี่ยนแปลงในองค์การไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1 การละลายพฤติกรรม (Unfreezing) เป็นการเตรียมการไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดย การเพิ่มแรงขับเคลื่อน สร้างแรงจูงใจให้พนักงานเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมใหม่ตามที่ฝ่ายบริหารต้องการ เป็น ความพยายามลดแรงต้านของพนักงานที่จะทํางานตามแบบเดิมไม่ยอมเปลี่ยนแปลง โดยการให้ข้อมูลแสดงให้เห็นถึง ปัญหาที่องค์การเผชิญอยู่และประโยชน์ที่องค์การจะได้รับในระยะยาวเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความจําเป็น ขององค์การที่ต้องเปลี่ยนแปลง

2 การเปลี่ยนแปลง (Changing) ด้วยการออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การให้ความ ช่วยเหลือผู้รับบริการในเรื่องต่าง ๆ การมอง การแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ การจัดระบบสารสนเทศใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

3 การสร้างพฤติกรรมใหม่ (Refreezing) คือ การช่วยให้บุคลากรรวมตัวกันเพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมและทัศนคติในการกระทําสิ่งต่าง ๆ การใช้วิธีการเสริมแรงในการสนับสนุนเพื่อให้การเปลี่ยนแปลง ดําเนินไปอย่างสม่ําเสมอหรือเป็นไปอย่างถาวร เช่น การให้รางวัล การให้คําชมเชย การสนับสนุนให้มีความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน การมอบหมายงานที่สําคัญให้ทํา เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Assurance) สาเหตุอะไรบ้างที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ (อย่างน้อย 5 ประการ) การประกันคุณภาพการศึกษามีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหงมีระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ

แนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา

เนื่องจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อทําให้องค์การอยู่รอดและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ในส่วนของสถาบันการศึกษา ก็เช่นกัน ซึ่งสถาบันการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์/ทุนมนุษย์ จําเป็นต้อง เป็นผู้จัดการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูง ด้วยเหตุนี้สถาบันการศึกษาจึงต้องมี “การประกันคุณภาพการศึกษา” เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพสู่สังคมต่อไป

ดังนั้นสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจึงได้ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้สถานศึกษาทาระดับมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยให้มี “ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก”

รวมทั้งให้มี “สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)” ซึ่งมีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทําหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทําการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการ ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาโดยคํานึงถึงความมุ่งหมาย หลักการและแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ อีกทั้งให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 5 ปีนับตั้งแต่การประเมิน ครั้งสุดท้าย และรายงานผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

สาเหตุที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการอุดมศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลัก ธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่  12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตาม ประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิ เเละสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2 ระบบ คือ

1 ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินการดําเนินงานของสถานศึกษา โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทํารายงานประจําปี รายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอ สภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย หน่วยงานภายนอก คือ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะทําการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิงองค์ประกอบ ทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษากําหนด

 

ข้อ 3 เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ QC., 5 S., การรื้อปรับระบบ (Reengineering), ระบบมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO), ไคเซ็น (Kaizen) และระบบซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น จงเลือกตอบมา 1 เทคนิค หรือหลักการบริหารสมัยใหม่ อาทิ ทฤษฎี 7 S’s, หลักการ 5 G’s, หลักการ 4 VIPs และหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น เลือกมา 1 หลักการพร้อมกับอธิบายความเป็นมา แนวคิด หลักการ ชื่อนักคิด (ถ้ามี) เทคนิคฯ นั้นเหมาะสมกับการนํามาใช้ในระบบราชการไทยหรือไม่ อย่างไร ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทําให้การนําเทคนิคฯ นั้นมาใช้ให้ประสบความสําเร็จ (อย่างน้อย 4 ประการ)

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี

– การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

– ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี

ที่มาและลักษณะของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountab lity)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountab lity)

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of  Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society Organization) สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยั่งยืน

หลักธรรมาภิบาลเหมาะสมกับการนํามาใช้ในระบบราชการไทย เนื่องจาก

1 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบ ต่อประชาชนและองค์กรมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่มีผล ต่อสาธารณะหรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้นโดย ไม่หลบเลี่ยงหรือโยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานของภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บเป็นความลับหรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมี การกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือ เว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ของรัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ มากกว่าการใช้ดุลยพินิจหรือตามอําเภอใจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงานไว้ชัด ทําให้การใช้กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรมใน การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่า ประชาชน

5 ทําให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

ปัจจัยที่จะทําให้การนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาลเป็นอย่างดี

2 ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนให้มีการนําหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในองค์การ และต้องจูงใจให้บุคลากรภาครัฐปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเต็มใจและมีส่วนร่วม

3 บุคลากรภาครัฐจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล

4 ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทํางานของภาครัฐ รวมทั้งการเสนอความคิดเห็นหรือตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐได้อย่างแท้จริง

5 โครงสร้างขององค์การจะต้องเอื้อต่อการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ เช่น มีการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม มีการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานลงมีการกระจายอํานาจการตัดสินใจ เป็นต้น

 

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกตอบเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 คําว่า “องค์การ” และ “องค์กร” ภาษาอังกฤษใช้คําใด 2 คําดังกล่าวแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย ผู้บริหารในองค์การภาครัฐแบ่งเป็นกี่ระดับ จงอธิบาย พร้อมเชื่อมโยงกับทักษะของผู้บริหารในแต่ละระดับมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

คําว่า “องค์การ” ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Organization” ส่วนคําว่า “องค์กร” ในภาษา อังกฤษใช้คําว่า “Organ” ซึ่งทั้ง 2 คํานี้มีความหมายแตกต่างกัน โดยคําว่า “องค์การ” หมายถึง ศูนย์รวมของกิจการ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ ส่วนคําว่า “องค์กร” หมายถึง บุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบย่อยของหน่วยงานใหญ่ที่ทําหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือ ขึ้นต่อกัน เช่น มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นองค์การ ส่วนคณะ สํานัก สถาบันและศูนย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นองค์กร หรือกระทรวงมหาดไทยเป็นองค์การ ส่วนกรม กองต่าง ๆ ซึ่งเป็น หน่วยงานย่อยของกระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กร นอกจากนี้ยังมีบางหน่วยงานที่กฎหมายระบุให้เป็นองค์กรมิใช่ องค์การ เช่น องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

ระดับของผู้บริหารในองค์การภาครัฐ

ผู้บริหารในองค์การภาครัฐแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ องค์การทั้งหมด การตัดสินใจ การกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ การกําหนดวัตถุประสงค์ พันธกิจ และแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในองค์การ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี เป็นต้น

2 ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management) เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้บริหาร ระดับสูงกับผู้บริหารระดับต้น เพื่อนําแผนไปสู่การปฏิบัติ กําหนดนโยบายของแต่ละฝ่าย วางแผนระยะกลาง มอบหมายงาน ประสานงาน และตรวจสอบควบคุมงานให้เป็นไปตามแผน เช่น ผู้อํานวยการกอง เป็นต้น

3 ผู้บริหารระดับต้น หรือระดับปฏิบัติการ (Supervisory or Operational – Management) เป็นผู้ที่มีหน้าที่มอบหมายงาน ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานในแผนกงานที่รับผิดชอบ เช่น หัวหน้าแผนก/ฝ่าย หรือหัวหน้างาน เป็นต้น

ทักษะของผู้บริหาร Katz ได้แบ่งทักษะของผู้บริหารออกเป็น 3 ทักษะ คือ

1 ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skills) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถใน การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้และความเชี่ยวชาญในงาน วิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนกระบวนการทํางาน

2 ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Skills) เป็นทักษะเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการทํางานด้านการสื่อสารกับบุคคลและกลุ่มผลประโยชน์ หรือเกี่ยวข้องกับการทํางานกับคนนั่นเอง

3 ทักษะด้านความคิด (Conceptual Skills) เป็นทักษะเกี่ยวกับความสามารถในการ เข้าใจองค์การในภาพรวม ความสามารถในการเข้าใจหน้าที่ขององค์การ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อองค์การ

ทักษะแต่ละด้านนั้นมีความจําเป็นต่อผู้บริหารแต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้

1 ผู้บริหารระดับต้น หรือระดับปฏิบัติการ จําเป็นต้องมีทักษะด้านเทคนิคและด้านมนุษยสัมพันธ์เป็นหลัก

2 ผู้บริหารระดับกลาง จําเป็นต้องมีทักษะด้านเทคนิค ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความคิด เป็นหลัก

3 ผู้บริหารระดับสูง จําเป็นต้องมีทักษะด้านความคิดและด้านมนุษยสัมพันธ์เป็นหลัก ทั้งนี้ทักษะที่ผู้บริหารทุกระดับจําเป็นต้องมีก็คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของ “การเปลี่ยนแปลงในองค์การ” (Organizational Change) และสภาวการณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การมีอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐด้านวัฒนธรรมองค์การมา 2 ตัวอย่างกับชื่อนักคิดมา 1 ท่าน

แนวคําตอบ

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change)

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง องค์การทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้นที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การมีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ เช่น แรงกดดันจากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายในและต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้นมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงานให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

 

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video-Conferencing การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชีและระบบสารสนเทศ

2) เรื่องเกี่ยวกับงานโดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตหรือการบริการ

3) เรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์

เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม และการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย การทํางานเป็นทีม

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางานและการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่

Kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร เนื่องจากปัจเจกบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร รวมทั้ง ทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือ องค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตและการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิตสินค้า และบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้าน สังคมและการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้อง ปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออก จากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะมาจาก ปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐด้านวัฒนธรรมองค์การ

แต่เดิมนั้นองค์การภาครัฐต่าง ๆ ไม่ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ แต่ในปัจจุบันมีหลายองค์การ ที่ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานราชการ บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ

3 L = Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 7 ประการ โดยดัดแปลงมาจากคําว่า “MAHIDOL” ประกอบด้วย

1 M = Mastery คือ เป็นนายแห่งตน

2 A = Altruism คือ มุ่งผลเพื่อผู้อื่น

3 H = Harmony คือ กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

4 I = Integrity คือ มั่นคงยั่งยืนในคุณธรรม

5 D = Determination คือ แน่วแน่กล้าตัดสินใจ

6 O = Originality คือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่

7 L = Leadership คือ ใฝ่ใจเป็นผู้นํา

 

ตัวอย่างนักคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ เช่น

Kurt Lewin ได้เสนอกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์การไว้ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การละลาย พฤติกรรม (Unfreezing) การเปลี่ยนแปลง (Changing) และการสร้างพฤติกรรมใหม่ (Refreezing)

 

ข้อ 3 จงอธิบายหลักการของเทคนิคการวิเคราะห์องค์การ (SWOT Technique) และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคนิคดังกล่าวมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

หลักการของเทคนิคการวิเคราะห์องค์การ

ก่อนที่องค์การต่าง ๆ จะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การก่อน ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 W = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรืออันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดอันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกรุงเทพมหานครโดยใช้เทคนิค SWOT จุดแข็ง

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

จุดอ่อน

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาส

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

อุปสรรค

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหา – อาชญากรรมเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุน

ต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว – และกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 4 เทคนิคการบริหารงานสมัยใหม่ อาทิ การบริหารคุณภาพ การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ T.Q.M. 5 ส. การรื้อปรับองค์การ ธรรมาภิบาล ระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 ระบบมาตรฐานสากล ของประเทศไทย (P.S.O.) ระบบซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) และ 7S’s Model เป็นต้น จงเลือกอธิบาย เพียง 1 เทคนิค (ระบุนักคิด ความเป็นมา หลักการสําคัญของเทคนิคนั้น ๆ มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน)

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7 S’s (The 7 S’s Model) ของ McKinsey

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony Athos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการ สามารถอธิบายได้ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มีความ สามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญู การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้าง ขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของ ผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแนวคิดของปัจจัย 7 S’s ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นําในการบริหาร ปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุงโครงสร้าง ที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา ทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ นักศึกษาที่เข้าชั้นเรียนและทํารายงานให้เลือกตอบเพียง 2 ข้อ โดยระบุหัวข้อรายงานในสมุดคําตอบหน้าแรก ส่วนนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนและไม่ได้ทํารายงานให้เลือกตอบ 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายคําว่า การเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organization Change) และยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐในด้านระบบการทํางาน หรือค่านิยมองค์การมา 1 แห่ง ปัจจัยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์การมีกี่ปัจจัย อะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ

สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี วิทยาการสมัยใหม่ การติดต่อสื่อสาร ค่านิยมใหม่ ๆ เป็นต้น ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกองค์การ โดยในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นมีมากมาย เช่น การปฏิรูประบบราชการ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การออกนอกระบบ การควบรวมกิจการ การนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในองค์การ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อปรับ องค์การให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทําให้องค์การอยู่รอดและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงองค์การ ทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐ

มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514 โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบตลาดวิชา เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา จึงทําให้มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นมา เพื่อขยายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นปรัชญาการดําเนินงานสําคัญ ที่มหาวิทยาลัยยึดมั่นตลอดมานับตั้งแต่เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและรับโดยไม่จํากัดจํานวน จึงทําให้มีนักศึกษาจํานวนมากจนสถานที่เรียนที่หัวหมากไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้เปิดวิทยาเขต รามคําแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนาในปี พ.ศ. 2527 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ปฏิบัติภารกิจหลักทั้ง 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา คือ ผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัย รามคําแหงได้เพิ่มภารกิจที่ 5 คือ “มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม” โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ด้านคุณธรรม จะช่วยปลูกฝังรากฐานอันดีงามของจิตใจ และช่วยเสริมคุณค่าให้นักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นมหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้กําหนดนโยบายการจัดการเรียนการสอนวิชา “ความรู้คู่คุณธรรม” ในทุกระดับการศึกษา โดยกําหนดให้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรและไม่เก็บค่าหน่วยกิตเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านคุณธรรม และปลูกฝังจิตสํานึกให้นักศึกษานําไปประพฤติปฏิบัติ สําเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นผู้ซึ่งรู้จัก ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมนําชีวิต พร้อมอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ ช่วยกันพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยนําพาประเทศชาติให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเจริญอย่างมั่นคงต่อไป

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยรามคําแหงยังมีนโยบายขยายโอกาสการศึกษาสู่ภูมิภาค ให้คนไทยทุกคน สามารถสมัครเข้าศึกษาในภูมิภาคของตนได้ โดยไม่ต้องไปศึกษาหรือสอบที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นนโยบาย จัดการศึกษาในลักษณะที่เรียกว่า “เรียนใกล้บ้านสอบใกล้บ้าน” จึงได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2546 ได้ขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ โดยจัดตั้ง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทย ในต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยการตระหนักถึง ประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสําคัญ โดยยึดหลักที่ว่า “การศึกษาสร้างคน และคนสร้างชาติ”

ในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยรามคําแหงโดยความคิดริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดี ได้มีนโยบายปรับระบบการวัดและประเมินผลของนักศึกษาจากเดิมระบบ G, P และ F เป็น ระบบใหม่ A, B, C, และ D ตั้งแต่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงไปสู่มาตรฐานสากลที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ปรับระบบบริการ ให้เป็นแบบ Super Service เช่น การรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยนําระบบ One Stop Service มาใช้ใน การรับสมัคร อีกทั้งนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการจัดการศึกษาแบบสมัยใหม่ และอํานวยความสะดวกแก่ผู้เรียน เช่น e-Book และ e-Testing รวมทั้งให้บริการทางอินเทอร์เน็ตแก่นักศึกษา โดย มีเว็บไซต์ เช่น

– www.ru.ac.th เป็นเว็บไซต์หลักที่มีรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– www.ram.edu เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ e-Learning ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– WWW.e-ru.tv เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงรวมทั้งเป็นเว็บไซต์สําหรับถ่ายทอดสดการประชุม สัมมนา และการบรรยายพิเศษ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนจึงได้ปรับตัว สร้างวิสัยทัศน์ และเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เทียบเท่านานาประเทศ เน้นการสร้างคน สร้างนักศึกษาและ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากล นอกจากนี้ยังได้กระตุ้นให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ตระหนักในการที่ประเทศไทยจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และเตรียมความพร้อมด้านภาษาโดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษที่จะต้องใช้สื่อสารในการทํางาน รวมทั้งต้องเรียนรู้ภาษาของกลุ่มประเทศอาเซียน จึงจัดฝึกอบรม หลักสูตรภาษาต่าง ๆ แก่บุคลากรและนักศึกษา และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนผ่านสื่อต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

 

ปัจจัยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

ปัจจัยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้น (A Range of Triggers) ที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change) มีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล (Government Laws and Regulations) เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ (Globalization of Markets and The Internationalization of Business) เช่น แรงกดดันจากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายใน และต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม (Major Political and Social Events) เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ (Organizational Growth and Expansion) เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงาน ให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ (Fluctuations) เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่อง มาจากความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

 

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video-Conferencing เทคโนโลยี หุ่นยนต์ (Robotic Technology) การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชี (Computerization of Management Accounting) และระบบสารสนเทศ (Information System)

2) เรื่องที่เกี่ยวกับงานโดยตรง (Primary Task) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต หรือการบริการ

3) ผู้รับบริการ (People) เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม (Programmer of Retraining) และการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย (Multi-Skilling) การทํางานเป็นทีม (Team-Based Work Arrangements)

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน (Administrative Structures) เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางาน และการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่ การจัดการ ความเป็นเลิศ (Best Practice Management)

 

Kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Forces for Change) ในองค์การ ต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Forces) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร (Demographic Characteristics) เนื่องจากปัจเจกบุคคล มีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของบุคลากร รวมทั้งทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Technological Advancements) องค์การ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือองค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิต และการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด (Customer and Market Changes) เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายและต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้ องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้านสังคม และการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้องปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

 

2 ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Forces) เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ํา ผลผลิตตกต่ํา การเข้าออกจากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มักจะมาจากปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

ข้อ 2 วัฒนธรรมองค์การมีความเป็นมาอย่างไร วัฒนธรรมองค์การมีกี่ระดับ อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบในแต่ละระดับ

แนวคําตอบ

วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติของบุคลากรในแต่ละองค์การที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะ ขององค์การนั้น ๆ

วัฒนธรรม (Culture) เป็นแนวคิดสําคัญที่มีในสังคมมนุษย์มานานแล้ว คํานี้บัญญัติโดย นักมานุษยวิทยา ซึ่งกล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นหัวใจสําคัญของกลุ่มหรือสังคม ซึ่งในแต่ละสังคมมีแนวทางในการ ดําเนินชีวิต การปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และสิ่งนี้มีความสําคัญต่อความสําเร็จขององค์การ

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1970 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็สามารถฟื้นฟูประเทศได้ จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศผู้นําทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิดการจัดการ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นักวิชาการจึงมีความเห็นว่าความสําเร็จของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยดังกล่าวจึงทําให้นักวิชาการได้หันมาให้ความสําคัญกับความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมองค์การ และ วัฒนธรรมองค์การที่ต่างกันมากขึ้น

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ Schein ได้แบ่งระดับวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) เป็นระดับวัฒนธรรมองค์การที่บุคคลสามารถมองเห็น ได้ยินและรู้สึกได้ทันทีเมื่อเข้าไปในแต่ละองค์การ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และพฤติกรรมของ สมาชิก โดยวัฒนธรรมทางกายภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ประเภทวัตถุ เช่น ศิลปะต่าง ๆ โลโก้ของหน่วยงาน รูปทรงหรือการออกแบบตึก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

2) ประเภทพฤติกรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี การให้รางวัล หรือการลงโทษพนักงาน เป็นต้น

3) ประเภทภาษา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับความยากลําบากในการก่อตั้งองค์การ เรื่องตลกในหน่วยงาน ชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกในที่ทํางาน คําศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในหน่วยงาน คําอธิบายเกี่ยวกับ สิ่งต่าง ๆ อุปมาอุปมัย หรือคําขวัญที่มักใช้กันในองค์การ เป็นต้น

 

2 ค่านิยม (Espoused Values) เป็นสิ่งที่บอกว่าสิ่งใดมีคุณค่าหรือสิ่งใดควรกระทํา ค่านิยม เป็นเป้าหมายและมาตรฐานของสังคมที่สมาชิกในองค์การควรเอาใจใส่ เช่น การทํางานให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส เป็นต้น

3 ฐานคติ (Basic Underlying Assumption) เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์การมีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นจริง เป็นวิธีที่ถูกต้องในการทําสิ่งนั้น (The right way to do things) เช่น มาตรฐานการทํางาน วิธีการ ทํางานที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

ข้อ 3 จากการบรรยายในชั้นเรียนเกี่ยวกับแนวคิดการบริหารงานที่สําคัญ ได้แก่ หลักการ 5 G’s, ทฤษฎี 7 S’s ของ McKinsey, หลักการ 4 VIPs และหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น จงเลือกตอบมา 1 แนวคิด พร้อมกับอธิบายหลักการของแนวคิดนั้นมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7 S’s (The Seven-S Model) ของ McKinsey

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony Athos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิด การบริหารที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการ

 

สามารถอธิบายได้ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวมอํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มี ความสามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญ การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

 

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้าง ขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแนวคิดของปัจจัย 7 S’s ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นําในการบริหาร ปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุงโครงสร้าง ที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา ทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

 

ข้อ 4 จงเลือกตอบเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ที่ได้จากการฟังคําบรรยายในชั้นเรียน ได้แก่ QC.C. (Quality Control Circle), T.Q.M. (Total Quality Management), 5 S., Kaizen, ISO 9000, Six Sigma เป็นต้น จงอธิบายความเป็นมา แนวคิด และหลักการของแนวคิดนั้น ๆ มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็นเป็นแนวคิดและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยคําว่า “ไคเซ็น” หมายถึง การปรับปรุงหรือ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงในทุก ๆ ด้านของการดํารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในที่ทํางาน ในสังคม หรือในบ้านให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลา

– กลยุทธ์ของไคเซ็นคือคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวันใดเลยที่ผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

หลักการบริหารแบบไคเซ็น มีดังนี้

1 การมองว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ (Customer First)

2 การควบคุมคุณภาพรวม (Total Quality Control)

3 การมีระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion Systems)

4 การใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ช่วยในการผลิต

5 การจัดตั้งกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles)

6 การมีระบบการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automation)

7 การมีวินัยในการทํางาน (Discipline in the workplace)

8 การติดป้าย (Kanban) รับรองมาตรฐานสินค้า

9 การมีระบบการผลิตทันเวลา (Just in Time : JIT)

10 การมีของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defects)

11 การมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activities)

12 การจัดการโดยอาศัยความร่วมมือของพนักงาน (Cooperative Labour Management)

13 การปรับปรุงผลผลิต (Productivity Improvement)

14 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

 

หลักปฏิบัติของการบริหารแบบไคเซ็น มี 2 ประการ คือ

1 การบํารุงรักษา (Maintenance) หมายถึง การส่งเสริมให้ทุกคนช่วยกันดูแลบํารุงรักษา เครื่องจักรเครื่องใช้ให้มีอายุการใช้งานได้นาน

2 การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) หมายถึง การปรับปรุง การทํางานให้ได้มาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปรับปรุงมี 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่และการแสวงหา สิ่งใหม่หรือนวัตกรรม (Innovation)

จุดเน้นที่สําคัญของแนวคิดไคเซ็น

แนวคิดของไคเซ็นเน้นกระบวนการ (Process) ซึ่งต้องปรับปรุงขั้นตอนหรือลดขั้นตอนก่อนที่ จะปรับปรุงผลที่ได้รับ (Output) และเน้นที่การปฏิบัติและการใช้ความพยายามของบุคคล เช่น เมื่อผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการประเมินผลงาน พนักงานขายก็จะประเมินเวลาที่ใช้ในการติดต่อกับลูกค้า เวลาที่ใช้ในการเยี่ยมลูกค้า และเวลาที่ใช้ในสํานักงาน ความสําเร็จที่ได้รับจะทําให้บุคลากรมีขวัญและกําลังใจในการปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสําคัญกับการเข้าถึงลูกค้าพอ ๆ กับยอดขาย

สรุป แนวคิดและกลยุทธ์ของไคเซ็นสามารถนําไปใช้ได้ทั่วไป และมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ในองค์การตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุด

 

POL1100 รัฐศาสตร์ทั่วไป s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1100 รัฐศาสตร์ทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 แปลน A ในการเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคําแหง เกี่ยวกับ

(1) การเมืองการปกครองทฤษฎี

(2) บริหารรัฐกิจ

(3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(4) การทูต

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 51 – 52 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคําแหง ได้แบ่งสาขาวิชารัฐศาสตร์ออกเป็น 3 สาขา คือ

1 แปลน A สาขาการปกครอง (Government) ครอบคลุมเนื้อหาทฤษฎีการเมืองการปกครอง

2 แปลน B สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation) ครอบคลุมเรื่องราวเกี่ยวกับนานาชาติ เช่น สงคราม องค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ทางการทูต ฯลฯ

3 แปลน C สาขารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ครอบคลุมการจัดและบริหารองค์การของรัฐ ระเบียบปฏิบัติ เช่น พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

2 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการเมืองเฟื่องใน

(1) อียิปต์โบราณ

(2) อียิปต์ปัจจุบัน

(3) อังกฤษขณะนี้

(4) USA. ขณะนี้

(5) มาเลเซียขณะนี้

ตอบ 1 หน้า 149 – 154, (คําบรรยาย) พฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ถือว่า รัฐเกิดขึ้นมาจากสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ คือ เทพยดาหรือผู้อยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเมือง หรือการมีผู้ปกครองรัฐที่เคยมีหรือเคยใช้และได้รับการยอมรับมากในยุคโบราณหรือยุคเก่าก่อนของอารยธรรมต่าง ๆ เช่น กรีก อียิปต์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ ฯลฯ

3 รัฐที่มีอาณาบริเวณพื้นที่มากหรือใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ ได้แก่

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) จีน

(3) รัสเซีย

(4) แคนาดา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 127 ประเทศ/รัฐที่มีอาณาบริเวณพื้นที่มากที่สุดในโลกขณะนี้ ได้แก่ รัสเซีย (Russia) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6.5 ล้านตารางไมล์ (แต่เดิมอดีตสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายแตกแยกเป็น รัฐย่อย ๆ จํานวนมาก มีพื้นที่มากถึง 8.6 ล้านตารางไมล์ แต่รัสเซียที่เหลืออยู่ก็ยังคงมีพื้นที่มากที่สุดในโลกเช่นเดิม ทั้งนี้เพราะรัสเซียยังครอบครองไซบีเรียอันกว้างใหญ่ไพศาลอยู่)

4 หน้าปกตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป เขียนว่า Introduction หมายถึงอะไร

(1) การแนะนํา

(2) การค้นคว้า

(3) การส่งเสริม

(4) การพิจารณา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 คําว่า Introduction ในหน้าปกตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป (Introduction to Political Science)หมายถึง การแนะนํา คือ เป็นการแนะนําให้รู้จักในเบื้องต้นเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์

5 องค์การ “สหประชาชาติ” ที่รับ ดชอบด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระดับโลก คือ

(1) INU

(2) NATO

(3) SEATO

(4) UNESCO

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทบวงชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระดับโลก คือ UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และยัง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัลมรดกโลก (World Heritage)

6 อาคาร POB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก อักษร O หมายถึง

(1) Office

(2) Oberlin

(3) Olox

(4) Oxen

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อาคาร POB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก หมายถึง อาคารคณะรัฐศาสตร์ (Political Science (Office Building) ซึ่งชั้นล่างเป็นศูนย์เอกสารทางวิชาการของคณะ

7 บทที่ 2 ของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป กล่าวถึง นายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรี ซึ่งอยู่ในตําแหน่งเกิน 15 ปี ได้แก่

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 98, (คําบรรยาย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรีที่อยู่ในตําแหน่งนานที่สุดประมาณ 15 ปีเศษ (เกือบ 16 ปี) ซึ่งเป็นยุคที่ใช้เพลงปลุกใจและละคร “เลือดสุพรรณ” ส่วนนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตําแหน่งนานรองลงมา คือ จอมพลถนอม กิตติขจร ประมาณ 11 ปีและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประมาณ 8 ปี

8 ประธานาธิบดีผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) Washington

(2) Ford

(3) Wilsm

(4) Lincoln

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 279, (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา คือ อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln ซึ่งดํารงตําแหน่งในช่วงปี ค.ศ. 1861 – 1865 โดยอยู่ร่วมสมัยกับ ร.5 สมเด็จพระปิยมหาราช/สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์ผู้เลิกทาสของไทย)ที่ขึ้นครองราชย์ฯ ในปี ค.ศ. 1868 (เป็นเวลาห่างกันเพียง 3 ปีเท่านั้น)

9 แม็กนาคาร์ตา มีมาแล้วประมาณกี่ปี

(1) 400 ปี

(2) 600 ปี

(3) 80 ปี

(4) 1,000 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 178, 292 แม็กนาคาร์ตา (Magna Carta) ซึ่งถือกันว่าเป็นปฐมรัฐธรรมนูญของอังกฤษได้มีการจัดทําขึ้นและประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) ดังนั้นในปัจจุบัน (ค.ศ. 2019) จึงมีมาแล้วประมาณ 800 ปี ซึ่งคําว่า Magna Carta เป็นภาษาลาติน (Magna แปลว่า ใหญ่, Carta แปลว่า แผ่นหรือบัตร ซึ่งต่อมาก็คือคําว่า Card นั่นเอง)

10 ทฤษฎีกําเนิดของรัฐที่กล่าวว่า “แรงธรรมชาติผลักดันมนุษย์ให้สร้างรัฐขึ้นมา” ได้แก่ทฤษฎี

(1) อภิปรัชญา

(2) สัญชาตญาณ

(3) สัญญาประชาคม

(4) ชีวอินทรีย์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 154 ทฤษฎีสัญชาตญาณ (Instinct Theory) กล่าวว่า “มีแรงธรรมชาติที่ผลักดันให้มนุษย์รวมตัวกันให้เป็นรัฐหรือให้เป็นองค์การทางการเมืองขึ้นมา” โดยแรงธรรมชาติก็คือ สิ่งที่อุบัติขึ้นเองเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

11 อธิปไตยในแนวพุทธศาสนาที่ใกล้เคียงกับประชาธิปไตย ได้แก่

(1) โลกาธิปไตย

(2) อัตตาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) บวราธิปไตย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 286, 313 314 ในแนวพุทธศาสนาได้มีการกล่าวถึงอธิปไตย 3 ประเภท ได้แก่

1 โลกาธิปไตย เป็นการปกครองที่ใกล้เคียงกับลัทธิหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย เพราะมีความหมายว่า ยกให้พลเมืองเป็นส่วนใหญ่ (การปกครองโดยคนส่วนใหญ่)

2 อัตตาธิปไตย เป็นการให้อํานาจไว้กับคน ๆ เดียว เช่น ราชาธิปไตย ฯลฯ

3 ธรรมาธิปไตย เป็นการปกครองที่ดีเลิศ คือ การยกย่องธรรมะให้เป็นใหญ่

12 Hyde Park ซึ่งเป็นสถาบันแห่งการพูดโดยเสรี ตั้งอยู่ ณ ที่ใด

(1) ลอนดอน

(2) ปารีส

(3) เบอร์ลิน

(4) นิวยอร์ก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 280 สวนไฮด์ (Hyde Park) ในมหานครลอนดอนของอังกฤษ คือ สถานที่อันเลื่องชื่อที่ประชาชนสามารถพูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

13 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช สร้างมาประมาณกี่ปีแล้ว

(1) 450 ปี

(2) 550 ปี

(3) 650 ปี

(4) 750 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 (PS 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 168, 171) ปฐมรัฐธรรมนูญของไทยตามแนวคิดของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ซึ่งมีลักษณะเด่นดังนี้

1 มีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1283 (พ.ศ. 1826) หรือมีขึ้นเมื่อประมาณ 736 ปีมาแล้ว

2 มีขึ้นหลังแม็กนาคาร์ตา (Magna Carta) ปฐมรัฐธรรมนูญของอังกฤษเพียง 68 ปีเท่านั้น โดยแม็กนาคาร์ตามีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) หรือมีมาแล้วประมาณ 801 ปี

3 เป็นรัฐธรรมนูญประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

14 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะคล้ายกันมาก คือ

(1) มี 2 พรรคใหญ่

(2) มีการเลือกตั้งหัวหน้ารัฐบาลทุก 5 ปีเป็นประจํา

(3) มีพรรคใหญ่ ๆ 5 พรรค

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 379 – 381 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะเหนีอนกันหรือคล้ายกันมาก คือ เป็นระบบ 2 พรรค มีพรรคการเมืองใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันเป็นรัฐบาล โดย 2 พรรคนี้จะมีเสียงสนับสนุนใกล้เคียงกัน ขณะที่พรรคอื่น ๆ จะเป็นเพียงพรรคเล็ก ๆ เท่านั้น (การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจะมีขึ้นทุก 4 ปี ส่วนอังกฤษมีการเลือกตั้งทุก 5 ปี แต่การเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นก่อนกําหนด (ถ้ามีการยุบสภาฯ)

15 หนึ่งในสามปราชญ์ยุคกรีกโบราณ ได้แก่

(1) ซอคระตีส

(2) โบโลญ

(3) Aesop

(4) Giddens

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 30 – 32, 99 รัฐศาสตร์ในโลกตะวันตกได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางปรัชญาโดยเฉพาะปรัชญาทางการเมืองของ 3 มหาปราชญ์หรือไตรเมธีหรือผู้เลิศทางปัญญาด้าน สังคมศาสตร์แห่งยุคกรีกโบราณ ซึ่งมีฐานะเป็นอาจารย์กับลูกศิษย์กัน ดังนี้

1 ซอคระตีส (Socrates) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญา” มีเพลโตเป็นศิษย์เอก

2 เพลโต (Plato) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญาการเมือง” มีอริสโตเติลเป็นศิษย์เอก

3 อริสโตเติล (Aristotle) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐศาสตร์” หรือบิดาผู้สถาปนาผู้ก่อตั้งวิชารัฐศาสตร์ (Founding Father) มีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นศิษย์เอก

16 หมาดของทศพิธราชธรรมมีข้อใดดังต่อไปนี้

(1) ทาน

(2) บริจาค

(3) รักษาศีล

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 22 – 23, 514 – 515 ทศพิธราชธรรม หมายถึง กิจวัตรหรือจริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจําพระองค์หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง 10 ประการ ดังนี้

1 ทาน (การให้)

2 ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)

3 บริจาค (ความเสียสละ)

4 อาชชวะ (ความซื่อตรง)

5 มัททวะ (ความอ่อนโยน)

6 ตบะ (การข่มกิเลส)

7 อักโกธะ (ความไม่โกรธ)

8 อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)

9 ขันติ ความอดทน)

10 อวิโรธนะ (ความไม่คลาดจากธรรม)

17 นายกรัฐมนตรีไทยที่ดํารงตําแหน่งนานเป็นอันดับ 3 คือ ประมาณ 8 ปี ได้แก่

(1) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(4) ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

18 ความเป็นประชาธิปไตยเน้นอะไร

(1) ความเสมอภาค

(2) การคํานึงถึงเสียงข้างน้อย

(3) การยอมรับเสรีภาพส่วนบุคคล

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเป็นประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องของความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพควบคู่กันไป โดยลัทธิประชาธิปไตยจะเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ให้การยอมรับเสรีภาพส่วนบุคคล คนทุกคนอย่างน้อยที่สุดก็มีความสามารถ ในการปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองโดยเสียงข้างมากแต่จะต้องเคารพและคํานึงถึงเสียงข้างน้อยด้วย

19 ศิษย์เอกที่ประสบความสําเร็จในการเป็นนักปกครองของอริสโตเติล ได้แก่

(1) Rommal

(2) เดอร์มัน

(3) แม็คอาร์เธอร์

(4) อเล็กซานเดอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

20 บิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) จอห์น เอฟ เคนเนดี้

(2) วูดโรว์ วิลสัน

(3) ธีโอดอร์ รูสเวลต์

(4) แฮรี เอส ทรูแมน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 473 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา (USA) เป็นผู้เริ่มต้นเสนอแนวความคิดอันเป็นแนวกรอบเค้าโครงความคิด (กระบวนทัศน์ : Paradigm) เรื่องการแยกการบริหารออกจากการเมือง ทําให้เกิดแนวความคิดในการศึกษาด้านการบริหารขึ้น เป็นการแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นวิลสันจึงได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา”

21 ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของ “นครรัฐ”

(1) กรุงกบิลพัสดุสมัยพุทธกาล

(2) เวียงพิงค์

(3) กรุงเอเธนส์สมัย 2,000 ปีมาแล้ว

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 111 – 113 ตัวอย่างของนครรัฐ (Polis) หรือ city-state ในอดีต ได้แก่

1 นครรัฐของอินเดียในสมัยพุทธกาล เช่น กรุงกบิลพัสดุ กรุงราชคฤห์ ฯลฯ

2 นครรัฐของกรีกโบราณสมัย 2,400 ปีมาแล้ว เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา โอลิมเปีย ฯลฯ

3 นครรัฐทางภาคเหนือของไทยในอดีต เช่น เวียงพิงค์ (เชียงใหม่), เขลางค์นคร (ลําปาง), หริภุญชัย (ลําพูน), เวียงโกศัย (แพร่), ชากังราว (กําแพงเพชร) ฯลฯ

22 แนวการเรียนการสอนแบบ PPE ที่ Oxford University ในอังกฤษ คือเน้นการเรียนวิชา

(1) ปรัชญา

(2) รัฐศาสตร์

(3) เศรษฐศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 85 ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของอังกฤษ คือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ซึ่งมีอายุเกินกว่า 900 ปี มีการสอน 3 วิทยาการร่วมกัน คือ PPE ได้แก่ Philosophy, Politics and Economics (ปรัชญา รัฐศาสตร์/การเมือง และเศรษฐศาสตร์) โดยนายกรัฐมนตรีของไทยที่จบหลักสูตร PPE จาก Oxford ได้แก่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (นายกฯ คนที่ 13) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกฯ คนที่ 27)

23 หน่วยงานของ “สหประชาชาติ” ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารระดับโลก คือ

(1) EURO

(2) FAO

(3) IMF

(4) WHO

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO : Food and Agriculture Organization) เป็นองค์การชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารและเกษตรกรรมระดับโลก โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี

24 อดีตเลขาธิการผู้หนึ่งของสหประชาชาติเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชาว

(1) ไทย

(2) สิงคโปร์

(3) เมียนมาร์

(4) เวียดนาม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (ข่าว) อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ช่วงก่อตั้งองค์การที่เป็นคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาวเมียนมาร์ คือ นายอูถิ่น (U Thant) ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการ UN ในช่วงปี ค.ศ. 1961 – 1971 (พ.ศ. 2504 – 2514) ส่วนเลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ คือ นายกูแตรีส (Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 แทนนายบันคีมูน (Ban Ki Moon)

ชาวเกาหลีใต้ ที่ครบวาระการดํารงตําแหน่ง 2 สมัย (10 ปี)  (วาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี)

25 ประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบ “กึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา”

(1) ฝรั่งเศส

(2) ยูโกสลาเวีย

(3) เกาหลีเหนือ

(4) ออสเตรเลีย

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 187 รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

1 ระบบรัฐสภา มีในประเทศอังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ

2 ระบบประธานาธิบดี มีในประเทศสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

3 ระบบกึ่งรัฐสภาถึงประธานาธิบดี หรือกึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา (ระบบคณะรัฐมนตรีแบบฝรั่งเศส) มีในประเทศฝรั่งเศส ศรีลังกา ฯลฯ

26 คํากล่าวโดยผู้สถาปนา (Founder) วิชารัฐศาสตร์ที่ว่า “รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ภาคปฏิบัติ” และพิมพ์อยู่ในวงกรอบสี่เหลี่ยมในตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ปรากฏอยู่ในช่วงใดของตํารา

(1) ปกในด้านหน้า

(2) หน้าต้น ๆ ก่อนถึงคํานํา

(3) ปกหลังด้านใน

(4) หน้าท้ายสุด

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ในหน้าต้น ๆ ก่อนถึงคํานําของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป (PS 103 เล่มเก่า) บ่งชี้ลักษณะของการเมืองว่า“การเมืองเป็นศิลปะแห่งการ (ทําให้) เป็นไปได้” (Politics is the art of the possible.) เป็น คํากล่าวของ อาร์.เอ. บัตเลอร์ (R.A. Butler) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ส่วนอริสโตเติลผู้สถาปนาวิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ภาคปฏิบัติ” (Politics is Practical Science.)

27 ตัวอย่างของการแสดงออกซึ่งสาธารณประโยชน์จิต (Public Spirit) ได้แก่

(1) การรู้จักประหยัดทรัพยากร

(2) การไปลงคะแนนเสียง

(3) การทําตามคําขวัญข้อหนึ่งในคําขวัญ 4 ข้อ ของ ม.ร. ที่เริ่มต้นด้วย “รู้จักอภัย…” (4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 319 สาธารณประโยชน์จิตหรือจิตวิญญาณสาธารณะ (Public Spirit) คือ การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดจากความสํานึกว่าเป็นหนี้บุญคุณของสังคม ดังนั้นจึงมีหน้าที่ต้องทําประโยชน์ให้เป็นการตอบแทนหรือเป็นการสนองคุณชาติ (คําขวัญข้อหนึ่ง ใน 4 ข้อ ของ ม.ร. คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ) ได้แก่ การทําหน้าที่พลเมืองดีในด้านต่าง ๆ เช่น การรู้จักประหยัดพลังงานหรือประหยัดทรัพยากร การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น

28 ประเทศที่มีฉายาว่าดินแดนอาทิตย์อุทัย ได้แก่

(1) แอฟริกาใต้

(2) ญี่ปุ่น

(3) แคนาดา

(4) เกาหลีเหนือ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศญี่ปุ่นมีชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Nippon (นิปปง) หรือ Nihon (นิฮง) ซึ่งหมายถึง ถิ่นกําเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทําให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับฉายาว่า ดินแดนอาทิตย์อุทัย (โดยในปัจจุบันคําว่า Nippon มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ แต่ถ้าหากเป็นเวลาปกติก็จะใช้คําว่า Nihon)

29 อาคาร BNB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่วิทยาเขตบางนา-ตราด อักษร B ตัวหลังหมายถึง

(1) Big

(2) Body

(3) Banner

(4) Building

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) อาคาร BNB (Bangna Building) ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงวิทยาเขตบางนา(รามคําแหง 2) เป็นอาคารเรียนชั้นเดียว มีทั้งหมด 11 อาคาร (BNB 1 – BNE 11)

30 หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์ ตั้งแต่ยังมีสถานะเป็นภาควิชาของ ม.รามคําแหง มีตั้งแต่ปีใด

(1) 2510

(2) 2514

(3) 2518

(4) 2520

(5) 2522

ตอบ 2

31 ในข้อแนะนําก่อนถึงบทต่าง ๆ ในตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ระบุว่าห้องสมุดใหญ่สุดของโลกเกี่ยวโยงกับการให้ความรู้กับสถาบันนิติบัญญัติ คือของ

(1) ม.ฮาร์วาร์ด

(2) ม.เยล

(3) ม.แคลิฟอร์เนีย ณ นครเบิร์คลี่ย์

(4) รัฐสภาอเมริกัน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข้อแนะนํา) ห้องสมดหรือแหล่งวิชาการใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ หอสมุดแห่งสภาคองเกรส (Library of Congress) หรือห้องสมุดของรัฐสภาอเมริกัน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีหนังสือเอกสารต่าง ๆ มากกว่า 128 ล้านรายการ

32 พลเมืองของประเทศฟิลิปปินส์มีประมาณ

(1) 42 ล้านคน

(2) 62 ล้านคน

(3) 82 ล้านคน

(4) 102 ล้านคน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ มีจํานวนประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน ดังนี้

1 อินโดนีเซีย 250 ล้านคน

2 ฟิลิปปินส์ 102 ล้านคน

3 เวียดนาม 100 ล้านคน

4 ไทย 65 ล้านคน

5 พม่า 60 ล้านคน

6 มาเลเซีย 30 ล้านคน

7 กัมพูชา 16 ล้านคน

8 ลาว 6 ล้านคน

9 สิงคโปร์ 5 ล้านคน

10 บรูไน 4 แสนคน

33 Magna Carta ประกาศใช้ในปี ค.ศ.

(1) 1210

(2) 1211

(3) 1212

(4) 1215

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. และ 13. ประกอบ

34 ในตําราช่วงหน้าที่ 117 กล่าวถึงผู้เคยมีอํานาจมากเป็นระดับเจ้าเมืองในยุคเก่าก่อนของญี่ปุ่น เรียกว่า

(1) ขุนพลซามูไร

(2) โชกุน

(3) โซชิดะ

(4) โตโจ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 117 ผู้มีอํานาจควบคุมพื้นที่มากในสมัยศักดินาของญี่ปุ่น ได้แก่ บรรดาขุนพลหรือเจ้าเมืองที่เรียกว่า โชกุน (Shogun) ส่วนองค์จักรพรรดิจะมีอํานาจแต่เพียงในนามเท่านั้น

35 หลักสูตร Ph.D. หมายถึงระดับใด

(1) ปริญญาตรี

(2) ปริญญาตรีภาคพิเศษ

(3) ปริญญาโท

(4) ปริญญาเอก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 5, (คําบรรยาย) หลักสูตรในระดับปริญญา มีชื่อเรียกเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ ดังนี้

1 ปริญญาตรี = B.A. (Bachelor of Arts / Bachelor’s Degree)

2 ปริญญาโท – M.A. (Master of Arts / Master’s Degree)

3 ปริญญาเอก – Ph.D. (Philosophies Doctor / Doctor of Philosophy)

36 “ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะให้พี่น้องร่วมชาติมากไปกว่าหยาดโลหิต พลังในร่างกาย น้ำคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย” เป็นวาทะที่กล่าวโดยรัฐบุรุษอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ในมหาสงคราม

(1) โลกครั้งที่ 1

(2) โลกครั้งที่ 2

(3) เวียดนาม

(4) อ่าวเปอร์เซีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 432 วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษซึ่งมีความเป็นผู้นําสูงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเขาสามารถปลุกและเร้าใจให้คนอังกฤษ มีขวัญและกําลังใจในการต่อสู้ ด้วยการกล่าววาทศิลป์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเป็นเสมือนมนต์ขลัง โดยเฉพาะในตอนที่ว่า “ทั้งชีวิตข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะอุทิศให้พี่น้องร่วมชาติมากไปกว่าหยาดโลหิตสปิริตแรงกล้า น้ำอัสสุชลคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย”

37 คําขวัญ (Motto, Slogan) ประจํา ม.ร. ตั้งแต่อธิการบดีคนแรก ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ คือ

(1) รู้จักอภัย

(2) ตั้งใจศึกษา

(3) บูชาพ่อขุน

(4) สนองคุณชาติ

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) คําขวัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งหรือ”ยุคสถาปนาโดย ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ อธิการบดีผู้ก่อตั้ง (Founding President) ได้แก่

1 คําขวัญยุคต้น/ยุคเริ่มแรก (พ.ศ. 2514) คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ

2 คําขวัญที่เป็นพุทธภาษิตเริ่มแรก (ภาษาบาลี) คือ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

3 คําขวัญเพิ่มเติมหรือคําขวัญใหม่/คําขวัญระยะหลัง ซึ่งได้จัดการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527คือ “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”

38 ประเทศใน ASEAN ที่มีเกาะมากที่สุด ได้แก่

(1) มาเลเซีย

(2) ฟิลิปปินส์

(3) อินโดนีเซีย

(4) ออสเตรเลีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะจํานวนมาก มี 2 ประเทศ ได้แก่

1 อินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆมากกว่า 12,000 เกาะ

2 ฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มากกว่า 8,000 เกาะ

39 สหรัฐอเมริกาได้เป็นประเทศเอกราชประมาณช่วง

(1) 230 ปีมาแล้ว

(2) ยุคสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

(3) ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 131 สหรัฐอเมริกาถือว่าวันได้รับเอกราชสําคัญยิ่งและถือว่าเป็นวันชาติ (National Day) แต่ใช้ศัพท์แทนว่า The Fourth of July ซึ่งหมายถึง วันที่ได้รับอิสระจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 (พ.ศ. 2319) หรือเมื่อประมาณ 243 ปีมาแล้ว ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 6 ปี ซึ่งตรงกับยุคสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 – 2325)

40 อักษรย่อ B.A. หมายถึง

(1) ปริญญาตรี

(2) บริหารกิจการ

(3) ธนาคารแห่งแอนตาร์กติก

(4) Bombay Amy

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

41 นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ 2561 ได้แก่

(1) แอนโทนี กิดเดนส์

(2) เทเรซา เมย์

(3) แคมเมอรอน

(4) วินสตัน ซิมอน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ข่าว) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในปี พ.ศ. 2561 ได้แก่ นางเทเรซา เมย์ (Theresa May)สังกัดพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี)

42 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการค้าโลกทําให้มีความนิยมเรียน Mandarin หมายถึงอะไร

(1) การทําอาหารจีน

(2) ภาษาจีนกลาง

(3) การประดิษฐ์แบบ Hakone

(4) ภาษาญี่ปุ่น

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 124, (คําบรรยาย) การไปลงทุนในประเทศจีนนั้น ภาษาที่จําเป็นต้องรู้จัก คือ ภาษากลางของจีนที่เรียกว่า “แมนดาริน” (Mandarin) ซึ่งใช้กันมาก และเป็นภาษาราชการของจีน

43 ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะนี้ ได้แก่

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) อินเดีย

(4) จีน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ปัจจุบันพลเมืองทั่วโลกมีประมาณ 6,700 ล้านคน โดยประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุด เรียงตามลําดับได้ดังนี้

1 สาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมาณ 1,350 ล้านคน)

2 อินเดีย (ประมาณ 1,200 ล้านคน)

3 สหรัฐอเมริกา (ประมาณ 320 ล้านคน)

4 อินโดนีเซีย (ประมาณ 250 ล้านคน)

5 บราซิล (ประมาณ 200 ล้านคน)

44 แผง Solar Cell เกี่ยวกับ

(1) การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม

(2) อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์

(3) การปลูกป่า

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันมีการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยพยายามค้นคว้าหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน เช่น การใช้แผง Solar Cell (เซลล์สุริยะ) ที่อาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านผลิตกระแสไฟฟ้า และแบตเตอรี่รถยนต์ ฯลฯ

45 Horne Stay เกี่ยวโยงกับอะไร

(1) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(2) การพักผ่อน

(3) การท่องเที่ยวแบบพื้นเมือง

(4) สุขภาพอายุวัฒนา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Home Stay หมายถึง การท่องเที่ยวแบบพื้นเมืองโดยให้นักท่องเที่ยวพักค้างแรมตามบ้านเรือนของคนในท้องถิ่น และให้กินอยู่ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น (Home Stay เป็นนโยบายรัฐบาลในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)

46 นครหลวงปัจจุบันของเมียนมาร์ คือ

(1) แรงกูน

(2) ย่างกุ้ง

(3) เนปิดอว์

(4) เนการา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอน 3 (ความรู้ทั่วไป) เมืองหลวงของประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ในปัจจุบัน คือ เมืองเนปิดอว์หรือ -เนปยีดอว์ (Naypyidaw) ส่วนย่างกุ้งหรือแรงกูน (Yangon) เป็นเมืองหลวงเก่า

47 ศัพท์ชาตินิยมในภาษาอังกฤษ คือ

(1) Nationalism

(2) Anarchism

(3) Liberalism

(4) Patriotism)

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 438 – 439, (คําบรรยาย) ชาตินิยม ได้แก่ Nationalism คือ ลัทธิชาตินิยม ซึ่งเป็นความรักแบบคลั่งชาติ (ส่วนคําว่า Anarchism คือ ลัทธิอนาธิปไตย, Liberalism คือ ลัทธิเสรีนิยม, Patriotism คือ ลัทธิรักชาติ เป็นการสนับสนุนให้คนรักชาติ รักประเทศ รักปิตุภูมิ/มาตุภูมิ หรือรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน)

48 ใน 2 – 3 หน้าแรกของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ระบุคํากล่าวว่า “การเมืองเป็นศิลป์แห่งการ”

(1) เคลื่อนไหว

(2) ภาคปฏิบัติ

(3) อุดมคติ

(4) น่าวิเคราะห์

(5) ทําให้เป็นไปได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

49 NATO บางครั้งใช้ในความหมายว่าเป็นลักษณะของชนบางชาติหรือบางประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

(1) No

(2) Action

(3) Talk

(4) Only

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) NATO บางครั้งใช้ในความหมายว่าเป็นลักษณะของชนบางชาติหรือบางประเทศคือ มีลักษณะที่เรียกว่า No Action, Talk Only กล่าวคือ ไม่มีการกระทํา, มีแต่พูดอย่างเดียวเข้าทํานองที่ว่า ดีแต่พูด แต่ทําอะไรไม่ได้ ทําอะไรไม่เป็น หรือไม่ได้ทําอะไรสักอย่าง

50 ขุนนางและปราชญ์ชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ชื่อ นิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือ สําคัญทางการเมือง ชื่อ

(1) The Princess

(2) The Prince

(3) The Queen

(4) The Knights

(5) Ex Caliber

ตอบ 2 หน้า 39 รัฐศาสตร์ยุคใหม่เริ่มจากข้อเขียนของนิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) นักคิดและนักการเมืองชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ในหนังสือชื่อ The Prince (เจ้าหรือผู้ครองนคร)ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในทางรัฐศาสตร์ที่มีการแยกการเมืองออกจากศีลธรรม

51 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา อยู่ในตําแหน่งนานเท่าใด

(1) 2 ปี

(2) 4 ปี

(3) 6 ปี

(4) 8 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข่าว) บารัค โอบามา (Barack Obama) ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา (USA)สังกัดพรรคเดโมแครต อยู่ในตําแหน่ง 2 สมัย นาน 8 ปี (20 ม.ค. 2552 – 19 ม.ค. 2560)

52 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อ หนึ่งคือ “ปัจเจกชนนิยม” (Individualism) หมายถึง

(1) รัฐบาลควรวางมาตรฐานแห่งการดําเนินชีวิตให้ประชาชนทุกคน

(2) บุคคลพึงควรปฏิบัติตามกฏข้อบังคับของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

(3) ไม่ยอมให้ผู้ใดบังคับให้ลงคะแนนเสียงตามที่กําหนดได้

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 317 – 318 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อหนึ่งคือ ปัจเจกชนนิยม (Individualism)ซึ่งมี 2 ความหมาย คือ

1 รัฐบาลไม่ควรเข้าควบคุมกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคม

2 เอกชนหรือปัจเจกชนนิยมจะต้องมีสิทธิในการตัดสินใจของตนเองโดยเสรี มิใช่ตามใจผู้อื่น การตัดสินใจโดยเสรี คือ การใช้ความคิดอิสระ บราศจากการบีบบังคับโดยบุคคลอื่น

53 หลักวิธีการศึกษาแบบ “พฤติกรรมศาสตร์” เน้นในเรื่องใด

(1) ประวัติความเป็นมา

(2) ปรัชญาที่ลึกซึ้ง

(3) ข้อมูล สถิติ ตัวเลข

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 32 – 34 หลัาวิธีการศึกษาแบบ “ พฤติกรรมศาสตร์” จะใช้วิธีการเชิงปริมาณ คือ เน้นในเรื่องข้อมูลที่เป็นสถิติ ตัวเลข ซึ่งสามารถวัดได้ โดยไม่สนใจเรื่องประวัติความเป็นมา ปรัชญาที่ลึกซึ้ง และคุณภาพหรือการคิดเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ยาก

54 จํานวนเด็กเกิดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาลดลงเหลือประมาณปีละ

(1) 1 ล้านคน

(2) 8 แสนคน

(3) 7 แสนคน

(4) 6 แสนคน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (ข่าว) จํานวนเด็กเกิดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาลดลงเหลือประมาณปีละ 7 แสนคน และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเหลือต่ำกว่านี้อีก จากที่เคยสูงกว่า 1 ล้านคนเมื่อ 30 ปีก่อน

55 ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ

(1) สองแสน ตร.กม.

(2) สามแสน ตร.กม.

(3) สี่แสน ตร.กม.

(4) ห้าแสน ตร.กม.

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 4, 127, (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 500,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 200,000 ตารางไมล์ (1 ตารางไมล์ = 2.59 ตารางกิโลเมตร) โดยมีพื้นที่ใกล้เคียง กับประเทศฝรั่งเศส และใกล้เคียงกับรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐที่มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่มากที่สุด โดยเฉพาะที่เมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles หรือเมือง LA ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี)

56 เหตุการณ์เกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยจนมีการสร้างภาพยนตร์ที่วรุฒ วรธรรม แสดงเป็นนายทหารญี่ปุ่น เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) กรณีพิพาทกับออสเตรเลีย

(4) ช่วงสงครามฝิ่น

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เหตุการณ์เกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยจนมีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “คู่กรรม” ที่วรุฒ วรธรรม แสดงเป็น “โกโบริ” นายทหารญี่ปุ่น เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

57 ในสมัย “สหภาพโซเวียต” ยังคงเป็นประเทศเดียวกันอยู่ รัฐธรรมนูญได้รับอิทธิพลจาก

(1) คาร์ล มาร์กซ์

(2) เลนิน

(3) อริสโตเติล

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 180, 186, 191 รัฐธรรมนูญแห่งอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเรียกว่า “ฏฎหมายขั้นมูลฐาน”เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองซ้ายสุดของคาร์ล มาร์กซ์  (Marx) เจ้าตํารับลัทธิคอมมิวนิสต์ และเลนิน (Lenin) ผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต

58 Kibbutz เป็นสถานที่อยู่ในประเทศ

(1) อิสราเอล

(2) เปรู

(3) เซเนกัล

(4) ศรีลังกา

(5) โปรตุเกส

ตอบ 1 หน้า 289 – 290, 410 ประชาธิปไตยโดยตรงในยุคปัจจุบันหรือในยุคร่วมสมัย มีตัวอย่างในประเทศต่าง ๆ เช่น ชุมชนคิบบุทซ์ (Kibbutz) ในอิสราเอล, Canton ในสวิตเซอร์แลนด์และ Town Meeting ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

59 หนังสือชื่อ “ดอกเบญจมาศกับดาบซามูไร” มีความสําคัญเพราะเกี่ยวกับอะไร

(1) ภาพยนตร์กําลังภายใน

(2) อุปนิสัยของคนญี่ปุ่น

(3) เป็นชื่อเลียนแบบภาพยนตร์คลาสสิกชื่อ ราโชมอน (Rashomon)

(4) การจารกรรม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (Ps 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 512) หนังสือชื่อ “ดอกเบญจมาศและดาบซามูไร” ของรุธ เบเนดิค นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เป็นหนังสือที่ศึกษาเกี่ยวกับอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่ามีลักษณะอ่อนนอกแข็งในเปรียบเสมือนกับดอกเบญจมาศ(ตราประทับของจักรพรรดิญี่ปุ่น) และดาบซามูไร

60 ลักษณะสําคัญของความเป็นรัฐ (state) ได้แก่

(1) อํานาจอธิปไตย

(2) ความรุ่งเรือง

(3) มีจบปริญญามาก

(4) เศรษฐกิจดี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 120 ความเป็น “รัฐ” (state) มีลักษณะสําคัญดังนี้คือ

1 เน้นอํานาจอธิปไตย (มีอํานาจอธิปไตยสูงสุดในอาณาเขตของรัฐนั้น)

2 เน้นการผูกขาดอํานาจ (มีอํานาจผูกขาดในการใช้กําลังหรือใช้ความรุนแรงทั้งหลาย)

3 เน้นมิติการเมือง (เป็นสังคมการเมือง)

61 Bahasa ใช้ใน

(1) มาเลเซีย

(2) ภูฎาน

(3) มัลดีฟส์

(4) เดนมาร์ก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บาฮาซา (Bahasa) เป็นคําศัพท์ในภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย และภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย มีความหมายว่า ภาษาเป็นคําที่มีที่มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง ภาษาพูด

62 ในการอ่านหนังสือรัฐศาสตร์ทั่วไป ผู้เขียนแนะนําว่าควรยึดหลักกาลามสูตร ซึ่งหมายความว่า

(1) ให้เชื่อตาม

(2) เน้นความเข้าใจ

(3) พึงใช้เหตุผลไตร่ตรอง

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 314 พุทธศาสนามีคําสอนในกาลามสูตร ซึ่งสนับสนุนให้บุคคลใช้เหตุผลใช้วิจารณญาณและความคิดอิสระในการตัดสินปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ โดยเน้นความเข้าใจ ไม่ให้เชื่ออะไร หรือเชื่อใครง่าย ๆ เช่น ไม่ให้เชื่อโดยฟังตามกันมา โดยนําสืบกันมา โดยตื่นข่าวลือ โดยอ้างตํารา โดยนึกเดา โดยคาดคะเน โดยตรึกตรองตามอาการ โดยพอใจว่าเหมาะกับความเห็นของตนโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นครู ฯลฯ แต่ให้มีการพิจารณาเตร่ตรองและสืบสวนค้นคว้าเสียก่อนจึงเชื่อ

63 ประธานาธิบดีอเมริกัน (USA) คนปัจจุบัน ชื่อ

(1) Donald Trump

(2) Cecil Trump

(3) John Trump

(4) William Trump

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา (USA) คือ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) สังกัดพรรครีพับลิกัน โดยเข้าดํารงตําแหน่งเป็นสมัยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

64 พุทธภาษิตเริ่มแรกของ ม.ร. ตั้งแต่ยุคก่อตั้งโดย ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ได้แก่

(1) อัตตาหิ อัตตโน นาโถ

(2) ความรู้ทําให้องอาจ

(3) แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

(4) เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง

(5) อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมขึ้นนานกว่าอํานาจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

65 วีรบุรุษอเมริกันในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรบภาคพื้นแปซิฟิก คือ นายพล (1) รัมสเฟลด์

(2) รอมเมล

(3) โอมาร์ แบรดลีย์

(4) ดักลาส แม็คอาร์เธอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นายพงดักลาส แม็คอาร์เธอร์ คือ นายทหารอเมริกันที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในช่วงมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุทธภูมิด้านเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็น ผู้ที่ได้กล่าวประโยคยอดนิยมว่า I’ll return (I shall return) หลังจากที่ต้องถอยทัพกลับไป เพราะพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นในสมรภูมิแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่ฟิลิปปินส์ ต่อมาเขาก็เป็นหัวหน้าหรือ ผู้บัญชาการที่รับผิดชอบการยึดครองญี่ปุ่นหลังจากแพ้สงครามต่อ USA โดยเขาได้กล่าววาทะ เพื่อสดุดีทหารกล้าผู้รับใช้ประเทศชาติในสงครามว่า “Old soldiers never die, they just fade away” (ทหารผู้คร่ำหวอดในสมรภูมิไม่มีวันตาย เพียงแต่ลืมเลือนหายไปจากความทรงจํา)

66 ตัวอย่างผู้นําประเทศที่เป็นสตรี ได้แก่

(1) อินทิรา คานธี แห่งอินเดีย

(2) Merkel แห่งเยอรมัน

(3) Chavez แห่งอาร์เจนตินา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของผู้นําประเทศที่เป็นสตรี ได้แก่ อินทิรา คานธี (อินเดีย), แทตเชอร์ และ May (อังกฤษ), Merkel (เยอรมัน), ซูการ์โนบุตรี (อินโดนีเซีย), กิลลาร์ด (ออสเตรเลีย), เคิร์ชเนอร์ (อาร์เจนตินา), ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ไทย), อาคิโน และอาโรโย (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น

67 คํากล่าวที่ว่า “เสียงประชาชนไม่ใช่เสียงสวรรค์เสมอไป” มีความหมายดังนี้

(1) มีตัวอย่างเช่นการที่คนเยอรมันเลือกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ให้เป็นผู้นํา

(2) ประชาชนเลือกคนผิดก็ได้

(3) ประชาชนมักเรียกร้องในบางเรื่องซึ่งทําไม่ได้

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 285, 489 คํากล่าวข้างต้น หมายความว่า เสียงของประชาชนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ซึ่งเกิดจากการที่มีคนหลายกลุ่ม หลายความคิดเห็น จึงทําให้มีความยุ่งยากว่าควรจะฟังเสียง ประชาชนจากกลุ่มใด เพราะบางครั้งประชาชนมักเรียกร้องในบางเรื่องซึ่งทําไม่ได้ หรือบางครั้ง ประชาชนอาจจะใช้วิจารณญาณผิดหรืออาจเลือกคนผิดก็ได้ ตัวอย่างเช่น การที่คนเยอรมันเลือกฮิตเลอร์หรือคนอิตาลีเลือกมุสโสลินี้ให้เป็นผู้นํา เป็นต้น

68 การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) มีในประเทศ

(1) อินเดีย

(2) ศรีลังกา

(3) อินโดนีเซีย

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

69 ประเทศที่มีภาษาราชการ 4 ภาษา ได้แก่

(1) สวิตเซอร์แลนด์

(2) โปแลนด์

(3) ออสเตรีย

(4) แอฟริกาใต้

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 124 สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากรเพียง 6 ล้านคนเศษ แต่มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน และ รมานซ์ ทั้งนี้เพราะเป็นสมาพันธรัฐ

70 ความมั่นคง (Security) ของชาติขึ้นอยู่กับปัจจัย

(1) ทางวัตถุ

(2) อวัตถุ

(3) ภูมิศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 431, (คําบรรยาย) ความมั่นคงของประเทศชาติขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยเชิงรูปธรรมหรือเชิงวัตถุ เช่น ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร กําลังทหาร ฯลฯ

2 ปัจจัยเชิงนามธรรมหรือเชิงอวัตถุ เช่น การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ศาสนา ฯลฯ

71 ปรากฏการณ์ “จริยธรรมแห่งจุดมุ่งหมายปลายทาง” (Ethic d absolute ends) ตามทัศนะของนักวิชาการ ชาวเยอรมัน ชื่อ Max Weber ปรากฏอยู่ในกลุ่มใดมากที่สุด

(1) นิสิตนักศึกษา

(2) นักบวช

(3) ผู้ใช้แรงงาน

(4) ผู้มีที่ดินมาก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 420 เนวโน้มของนิสิตนักศึกษาตามทัศนะของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ในประเด็นจริยธรรมแห่งจุดหมายปลายทาง คือ การชื่นชมกับอุดมคติ วาทะจูงใจ คําคม คารมปราชญ์ ฯลฯ โดยที่ไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อแท้และความยุ่งยากในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ๆ

72 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระดังนี้

(1) มีการมอบอํานาจการปกครองให้ผู้ใดผู้หนึ่งหรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ปกครอง (2) การทําสัญญาประชาคมเป็นเหตุการณ์ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

(3) การทําสัญญาดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 155 – 158 ทฤษฏิสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระสําคัญ คือ มีการมอบสิทธิหรือมอบอํานาจการปกครองให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้นําหรือเป็นผู้ปกครองของชุมชนนั้น ซึ่งการทําสัญญานี้เป็นเพียงข้อสมมติเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะย่อมไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์เมื่อสมัยเป็นหมื่น ๆ หรือนับเป็นแสนปีมาแล้ว

73 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ

(1) อาโรโย

(2) เอสตราดา

(3) อาคีโน

(4) มาร์กอส

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 (ข่าว) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ นายดูแตร์เต (Duterte) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (มีวาระในการดํารงตําแหน่ง 6 ปี)

74 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2561 มีการเฉลิมฉลองครบรอบ 131 ปี ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในไทย คือ

(1) จปร.

(2) มจร.

(3) มมก.

(4) ม.มหิดล

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานกําเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ณ บริเวณวังสราญรมย์ (พ.ศ. 2452 ได้ย้ายมาอยู่ที่ ถ.ราชดําเนินนอก และปี พ.ศ. 2523 ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เขาชะโงก จ.นครนายก) ดังนั้นวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 จึงเป็นวันครบรอบ 131 ปี ของ จปร.

75 ปัจจัยเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติที่สําคัญเรียกว่า EQ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ

(1) เศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิศาสตร์

(3) การทหาร

(4) จิตวิทยา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติที่สําคัญเรียกว่า EQ (Emotional Quotient)หรือวุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงนามธรรมหรือเชิงอวัตถุ

76 พรรคแบบ Militia คือ

(1) พรรคนาซี

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(3) พรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐประชาชนจีน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 376 การจัดโครงสร้างพรรคการเมืองแบบมิลลิเชีย (Militia) ได้แก่ กองทัพเอกชน หรือหน่วยอาสาสมัครในสหรัฐอเมริกา โดยสมาชิกพรรคยังเป็นฝ่ายพลเรือนอยู่ แต่มีการ ฝึกซ้อมในกลยุทธ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น พรรคของผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์หรือพวก หัวรุนแรงฝ่ายขวาที่นิยมเผด็จการ เช่น กองพันพายุของพรรคนาซี ฮิตเลอร์) ในเยอรมันและพรรคฟาสซิสต์ของมุสโสลินี้ในอิตาลี เป็นต้น

77 โลกาธิปไตย หมายถึง

(1) อํานาจอยู่ที่พลังงานของโลก

(2) การปกครองโดยคนส่วนใหญ่

(3) รัฐบาลเดียวของโลก

(4) องค์การสหประชาชาติ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

78 Air Force I (One) หมายถึง

(1) กองทัพอากาศหมายเลข 1

(2) เครื่องบินพาหนะของประธานาธิบดีอเมริกัน

(3) เครื่องบินพาหนะของผู้นําอังกฤษ

(4) เครื่องบินสอดแนมสืบราชการลับ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Air Force One (Air Force I) และ Air Force Two (Air Force II) หมายถึงเครื่องบินพาหนะประจําตําแหน่งของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

79 ลัทธิเทวสิทธิ์ในโลกตะวันตก มีชัดเจนในยุคอะไร

(1) ยุคนโปเลียน

(2) ยุคกรีก

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคฮิตเลอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

80 อารยธรรมอียิปต์มีมาแล้วประมาณ

(1) 1,600 ปี

(2) 2,000 ปี

(3) 3,000 ปี

(4) 4,500 ปี

(5) 6,000 ปี

ตอบ 5 หน้า 3 อารยธรรมอียิปต์มีมาแล้วประมาณ 6,500 ปี ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ยิ่งกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่มีอายุประมาณ 4,100 ปี

81 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็จะชนะร้อยครั้ง เป็นแนวคิดทางการเมืองของ

(1) ขงจื้อ

(2) ซุนหวู่

(3) ขงเบ้ง

(4) เล่าปี่

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 27 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นแนวคิดทางการเมืองที่แนะนําโดย ซุนหวู่ (ซุนวู) ในตําราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นคําสอนที่ทราบกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก แต่ในเชิงปฏิบัติทําได้ยากยิ่ง

82 การศึกษาเรื่องกระบวนการบริหาร นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ อยู่ในหมวดที่เรียกว่า

(1) Plan A ของรัฐศาสตร์ที่ มร.

(2) Plan C ของรัฐศาสตร์ที่ มร.

(3) รัฐประศาสนศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 471, (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องกระบวนการบริหาร นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ

83 ผู้เดินทางไปอ้อนวอนให้ปราชญ์จีนชื่อ ขงเบ้ง มาช่วยกู้ชาติ ได้แก่

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เล่าปี่

(3) โจโฉ

(4) ซุนกวน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 29, 442, (คําบรรยาย) ในนวนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กนั้น เล่าปี่ต้องพนมมือไปทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะการไปกราบอ้อนวอนขอร้องจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ถึง 3 ครั้ง เพื่อให้มาช่วยราชการและเป็นเสนาธิการในการวางแผนรบกับโจโฉ โดยผู้รบเคียงข้างกับเล่าปีตั้งแต่ร่วมกันออกปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองและสาบานตนเป็นพี่น้องกัน ได้แก่ กวนอู และเตียวหุย

84 ทฤษฎี Heartland เกี่ยวกับอะไรโดยตรง

(1) สังคมเศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิรัฐศาสตร์

(3) Geopolitics

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 77 ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้รับฉายาจากนักวิชาการผู้หนึ่งว่าเป็น “บุตรทางปัญญานอกกฎหมายของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองกับรัฐศาสตร์” ซึ่งมี 3 ทฤษฎีสําคัญ ได้แก่ ทฤษฎีดินแดนหัวใจ (Heartland Theory), ทฤษฎีบริเวณขอบนอก (Rimland Theory) และทฤษฎีอํานาจทางทะเล (Sea Power Theory)

85 ในหลัก POSDCORB ตัว B ให้ความสําคัญกับอะไร

(1) การจัดองค์การ

(2) การวางแผน

(3) การบํารุงรักษา

(4) การหางบประมาณ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 474 475 Gulick และ Urwick ได้เสนอหลักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพว่าจะต้องประกอบด้วยหลัก POSDCORB ซึ่งย่อมาจาก

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดองค์การ)

3 S = Staffing (คณะผู้ร่วมงาน)

4 D = Directing (การสั่งการ)

5 co – Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การทํางบประมาณ)

86 ASEAN มีสมาชิกเริ่มต้นจํานวน

(1) 17 ประเทศ

(2) 15 ประเทศ

(3) 13 ประเทศ

(4) 10 ประเทศ

(5) 5 ประเทศ

ตอบ 5 หน้า 114, (คําบรรยาย) สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (1984) เวียดนาม (1995) ลาวและพม่า (1997) กัมพูชา (1999) รวมมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ โดยมีสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

87 ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม 2561 เกิดขึ้นที่

(1) อินโดนีเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) ฟิลิปปินส์

(4) เวียดนาม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ ขึ้นที่เกาะลอมบอกประเทศอินโดนีเซีย ทําให้เกิดคลื่นสึนามิ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 250 คน

88 Tagalog เป็นภาษาหลักในประเทศ

(1) มาดากัสการ์

(2) เนปาล

(3) ฟิลิปปินส์

(4) อินโดนีเซีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (PS103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 115) ตากาล็อก (Tagalog) เป็นภาษาประจําชาติและเป็นภาษาหลักในประเทศฟิลิปปินส์

89 รัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษมีลักษณะดังนี้

(1) มีข้อความมากที่สุดในโลก

(2) ไม่มีการร่างขึ้นโดยเฉพาะ แต่มีลักษณะเป็นรูปกฎหมายธรรมดาและคําพิพากษาสําคัญ ๆ

(3) แก้ไขยากที่สุด

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อแรก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 178 – 179 รัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญประเภทที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten) ซึ่งมีลักษณะสําคัญ คือ ไม่มีการร่างขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือไม่มีการร่างขึ้นโดยเฉพาะ แต่จะเป็นในรูปของกฎหมายธรรมดาและคําพิพากษาของศาลในคดีสําคัญ ๆ ต่าง ๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีในการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วย

90 ผู้นําจีนที่ร่นถอยไปอยู่ ณ เกาะฟอร์โมซา หลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) เจียงจูเกา

(2) เจียงไคเช็ค

(3) จูเจนไล

(4) ฮัวไหว

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ภายหลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ในปี ค.ศ. 1949 ประเทศจีนได้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างกลุ่มก๊กมินตั้ง กลุ่มคอมมิวนิสต์ และกลุ่มอื่น ๆ จนทําให้เจียงไคเช็คผู้นําของฝ่ายก๊กมินตั๋ง ต้องถอยร่นไปตั้งอยู่ที่เกาะฟอร์โมซาหรือไต้หวันจนถึงปัจจุบัน

91 ในบทที่ 2 กล่าวถึงความเกี่ยวพันของวิชารัฐศาสตร์กับนานาวิทยาการ ได้แก่

(1) เศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิศาสตร์

(3) ปรัชญา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 57 วิชารัฐศาสตร์มีความเกี่ยวพันกับนานาวิทยาการสาขาต่าง ๆ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ

92 ลัทธิประชาธิปไตยส่งเสริมบุคลิกภาพที่เรียกกันว่า พลังอัตตา หมายถึง

(1) ความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์

(2) การทําอะไรได้ตามใจชอบ

(3) ความรู้สึกว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อแรก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 322 อุปนิสัยที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย (Democratic Character) ได้แก่

1 การมีอัตตาตัวตนที่เปิดเผย (Open Ego) คือ เป็นผู้มีความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์

2 การมีศรัทธาในผู้อื่น

3 การมีพลังอัตตาและมีความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ โดยพลังอัตตา (Ego Strength) คือ ความรู้สึกหรือเชื่อว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้สามารถกําหนดวิถีชีวิตตนเองได้ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

93 สํานักงานใหญ่ ASEAN ตั้งอยู่ที่

(1) กัวลาลัมเปอร์

(2) มะนิลา

(3) เนปิดอว์

(4) พนมเปญ

(5) จาการ์ตา

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

  1. “Government of Law, Not of Men” หมายความว่า

(1) ผู้ปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิออกกฎหมายใด ๆ ก็ได้ ประชาชนไม่เกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย

(2) ต้องเป็นกฎหมายที่วางอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม มิใช่เป็นเครื่องมือของผู้เผด็จการหรือผู้ร่างกฎหมายลําเอียง

(3) รัฐบาลที่ดีนั้นต้องเป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยหลักกฎหมายที่ให้ความยุติธรรมอย่างเพียงพอต่อประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (Ps 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 406 407), (คําบรรยาย) มีคํากล่าวว่า รัฐบาลที่ดีต้องเป็น“รัฐบาลของกฎหมายม่ใช่ของคน” (Government of Law, Not of Men) ซึ่งกฎหมายในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม มิใช่เป็นเครื่องมือของผู้เผด็จการหรือ ผู้ร่างกฎหมายที่ลําเอียง กล่าวคือ รัฐบาลที่ดีนั้นต้องเป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยหลักกฎหมายที่

ให้ความยุติธรรมอย่างเพียงพอต่อประชาชน

95 บทที่ 8 ตําราล่าสุดกล่าวถึงธาตุน้ํา บํารุงต้นไม้ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง

(1) ทรัพย์ในดิน

(2) ทรัพยากรธรรมชาติ

(3) มรดกแห่งเสรีภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 323 – 324 ประชาธิปไตยในประเทศไทยพิจารณาปัจจัยโดยเปรียบเทียบว่าเป็นเสมือนต้นไม้ที่จะเติบโตได้ต้องอาศัยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ โดยธาตุน้ำในฐานะปัจจัยสําคัญ (คู่กับดิน) ที่ทําให้ต้นไม้ประชาธิปไตยเจริญงอกงามได้นั้น จะพิจารณาในรูปของมรดกที่สืบสานมาจากอดีต คือ

1 มรดกทางการเมืองจากอดีต

2 มรดกเกี่ยวกับเสรีภาพ

3 มรดกเกี่ยวกับความเสมอภาคของคน

96 ทฤษฎีที่ว่า “อํานาจคือความยุติธรรม” (Might Makes Right) หมายความว่า

(1) นโยบายของผู้บริหารอยู่เหนือเหตุผล

(2) มีปรากฏชัดในสมัยที่บ้านเมืองอยู่ใต้อาณานิคม

(3) ผู้ไร้อิทธิพลแม้ประพฤติดีก็อาจถูกลงโทษได้

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) “อํานาจคือความยุติธรรม” หรือ “อํานาจเป็นธรรม” (Might Makes Right)หมายความว่า การที่ผู้ปกครองใช้อํานาจเป็นหลักในการบริหารงาน อาศัยอํานาจเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินความยุติฐรรม เป็นลักษณะของผู้เผด็จการที่ไม่คํานึงถึงเหตุผลอันถูกต้องชอบธรรม ซึ่งตรงกันกับคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “อํานาจเป็นใหญ่ในโลก” (วโส อิสสริยัง โลเก) โดยการปกครองแบบนี้มีปรากฏชัดในสมัยที่บ้านเมืองอยู่ใต้อาณานิคม

97 Soft Power เกี่ยวโยงโดยตรงกับ

(1) การใช้ความรุนแรง

(2) การรุกราน

(3) การเจรจา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Soft Power หมายถึง อํานาจหรืออิทธิพลที่แผ่ขยายไปแบบนิ่มนวล สันติวิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบีบบังคับ ไม่ใช้กําลังหรือไม่ใช้ความรุนแรง เช่น อํานาจหรืออิทธิพลทางวัฒนธรรม การเจรจาต่อรองโดยใช้วิธีการทางการทูต ฯลฯ

98 วิธีการแบบไม่ใช้ความรุนแรง คือ สัตยาเคราะห์ ใช้ในการกู้ชาติของประเทศอะไร

(1) กาน่า

(2) อียิปต์

(3) อินเดีย

(4) กัวเตมาลา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 403, 445 มหาตมะ คานธี เป็นผู้ริเริ่มและเผยแพร่อหิงสาธรรม (อวิหิงสา)หรือสัตยาเคราะห์/สัตยาคฤห์ (Satyagraha) ในช่วงแห่งการกู้ชาติของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็น วิธีการต่อสู้โดยสันติวิธีหรือไม่ใช้กําลังรุนแรงและไม่เบียดเบียนหรือไม่ทําร้ายผู้อื่น และอาจจะเรียกวิธีการต่อสู้นี้ว่า อารยะขัดขืน (Non-violent Resistance หรือ Civil Disobedience)

99 Diet เป็นชื่อเกี่ยวกับนิติบัญญัติในประเทศอะไร

(1) นิวซีแลนด์

(2) สเปน

(3) ญี่ปุ่น

(4) กรีก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 335 336 รัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) ในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น สหรัฐอเมริกา เรียกว่า คองเกรส (Congress), อิสราเอล เรียกว่า คเนสเล็ท (Knesset), อังกฤษ เรียกว่า ปาร์เสียเมนต์ (Parliament), ฝรั่งเศส เรียกว่า แอสเซมบลี (Assembly), ญี่ปุ่น เรียกว่า ไดเอ็ท (Diet) ฯลฯ

100 ผู้มีอํานาจสูงสุดในจีนขณะนี้ คือ

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เจียงไคเช็ค

(3) เจียงจูเต

(4) สีจิ้นผิง

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข่าว) ผู้มีอํานาจสูงสุดในจีนขณะนี้ คือ สีจิ้นผิง ซึ่งดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และดํารงตําแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

101 ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่า หรือเมียนมาร์ คือ

(1) ราชเร็ตนัม

(2) อองซาน

(3) ปรกต

(4) อนุ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่าหรือเมียนมาร์จากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษคือ นายพลออง ซาน (Aung San) ซึ่งเป็นบิดาของนางออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Gyi) ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่เป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน

102 ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีจํานวนมากที่สุดในโลก คือ ของประเทศ

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) แคนาดา

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อินเดีย เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีจํานวนประชากรมากที่สุดในโลก (1,300 ล้านคน) โดยอินเดียมีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่า 900 ล้านคน มากกว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศประชาธิปไตยอันดับ 2 ถึง 4 เท่า

103 คํากล่าวที่ว่า “นักการเมืองคิดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป รัฐบุรุษคิดถึงประชาชนคนรุ่นต่อไป” มุ่งเน้นอะไร

(1) ประโยชน์ส่วนรวม

(2) การเสียสละ

(3) คํานึงถึง Public

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 313, (คําบรรยาย) ข้อแตกต่างระหว่างนักการเมือง (Politician) กับรัฐบุรุษ (Statesman) มีในภาษิตรัฐศาสตร์ข้อหนึ่งของ James Freeman Clarke ซึ่งมีความว่า “นักการเมืองคิดถึง การเลือกตั้งครั้งต่อไป (Next Election) แต่รัฐบุรุษคิดถึงคนรุ่นต่อไป (Next Generation)” ซึ่งรัฐบุรุษเป็นผู้เห็นการณ์ไกล มักใช้วิจารณญาณเลือกกระทําการที่มุ่งเน้นต่อประโยชน์ส่วนรวมคํานึงถึงสาธารณะ (Public) รวมทั้งมีความเสียสละ มีจริยธรรม มีจิตสํานึก และมีวิสัยทัศน์

104 องค์ประกอบที่ทําให้มีสภาพเป็น “ชาติ” ได้แก่

(1) มีประวัติศาสตร์และภาษาร่วมกัน

(2) วางตัวเป็นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(3) อยู่อย่างอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่นใด

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 137 – 141 ชาติหรือประชาชาติมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ประการ คือ

1 การมีความผูกพันต่อถิ่นที่อยู่

2 การมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน

3 การมีภาษาและวรรณคดีร่วมกัน

4 การมีวัฒนธรรมร่วมกัน

5 การมีความต้องการอยู่อย่างอิสระ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่นใด)

105 บทที่ 2 ของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป กล่าวถึง นายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรี ซึ่งใช้เพลงปลุกใจ “เลือดสุพรรณ” ซึ่งได้แก่

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร

(4) จอมพลฟื้น รณนภากาศฯ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

106 ลัทธิอะไรที่เน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

(1) อนุรักษนิยม

(2) เสรีนิยม

(3) ฟาสซิสต์

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 245 ลัทธิคอมมิวนิสต์ ถือว่า การเมือง คือ การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ซึ่งได้แก่

1 ในระบบทาส มีการต่อสู้ระหว่างนายกับทาส

2 ในระบบศักดินา มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าขุนมูลนายกับไพร่

3 ในระบบทุนนิยม มีการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ

107 ลักษณะสําคัญของแนวคิดอนุรักษนิยม ได้แก่

(1) มองโลกในแง่ดี

(2) มองโลกในแง่ร้าย

(3) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 367 ลักษณะสําคัญของแนวคิดและอุดมการณ์อนุรักษนิยม (Conservative Ideology) ได้แก่ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม แต่หากจําเป็นก็จะสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลง อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป

108 “แมวสีอะไรไม่สําคัญ ขอให้จับหนูให้ได้” เป็นแนวคิดทางการเมืองของใคร

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เติ้งเสี่ยวผิง

(3) เล่าปี่

(4) ซุนหวู

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 72 เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นําสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปลี่ยนมายึดนโยบายที่ยืดหยุ่นโดยไม่ติดแน่นผูกมัดอยู่กับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองแนวมาร์กซิสม์เดิม กล่าวคือ ใช้นโยบายยึดหยุ่นที่สอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “แมวสีอะไรไม่สําคัญ ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน” (“แมว” หมายถึง อุดมการณ์หรือระบบ, “หนู” หมายถึง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ)

109 ประเทศที่มีฉายาว่าดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน ได้แก่

(1) ญี่ปุ่น

(2) นอร์เวย์

(3) แคนาดา

(4) เกาหลีใต้

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศ/รัฐประชาชาติที่มีฉายาว่าดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน (Midnight Sun) ได้แก่ ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) อันประกอบด้วย นอร์เวย์ สวีเดนเดนมาร์ก และไอซ์แลนด์

110 มุมไบเป็นชื่ออินเดียแทนชื่อเก่าที่อังกฤษใช้เรียกเมือง

(1) บอมเบย์

(2) มุมบา

(3) มัมมา

(4) Baba

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมืองมุมไบ (Mumbai) เป็นชื่ออินเดียแทนชื่อเก่าที่อังกฤษใช้เรียกเมืองบอมเบย์ (Bombay) ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอินเดีย เป็นเมืองท่าการพาณิชย์ที่ได้ฉายาว่าลอนดอนแห่งอินเดีย (อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก (Bollywood) ก็ตั้งอยู่เมืองนี้)

111 ผู้ปกครองของบรูไน (Brunei) เรียกว่า

(1) ราชา

(2) กษัตริย์

(3) Sultan

(4) King

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ปกครองของบรูไนหรือบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) เรียกว่า สุลต่าน (Sultan) โดยบรูในปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปัจจุบันมีสุลต่าน โบลเกียห์ (Sultan Bolkiah) เป็นทั้งกษัตริย์และนายกรัฐมนตรีปกครองประเทศ

112 ประธานาธิบดีร่วมสมัยกับสมเด็จพระปิยมหาราชและเป็นผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) วอชิงตัน

(2) Ford

(3) Lincoln

(4) Wilson

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

113 หนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา คือ ผู้ที่เป็นนักประพันธ์ นักประดิษฐ์ และเป็นผู้คงแก่เรียน

(1) Benjamin Franklin

(2) F.D.R.

(3) 3.*.K.

(4) Abraham Lincoln

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับถาวร (Framer) เมื่อปี ค.ศ. 1787 (เมื่อ 230 ปีเศษมาแล้ว) และยังคงเป็นฉบับที่ใช้สืบเนื่องกันมา เป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน (ถือเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรที่ มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก) ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้สามารถ จํานวน 3 คน ได้แก่

1 เจมส์ แมดดิสัน (James Madison)

2 อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton)

3 เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านการเป็นนักประพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ และเป็นผู้คงแก่เรียน

114 นายกรัฐมนตรีคนแรกผู้ก่อตั้งหรือสถาปนามาเลเซีย (Founding Prime Minister) ได้แก่

(1) นาจีฟ ราซัก

(2) มหาธีร์

(3) อับดุล ราห์มาน

(4) ฮุสเซ็น ออน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ซึ่งเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้นําการเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ และเป็นนายกรัฐมนตรีผู้ก่อตั้งหรือสถาปนา (Founding Prime Minister) มาเลเซียให้เป็นเอกราช ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) จึงนับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซีย (Bapa of Malaysia)

115 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซียที่มีอายุ 93 ปี คือ

(1) Mahathir

(2) Anwar

(3) Yusuf

(4) Babur

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซียที่มีอายุ 93 ปี (ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในโลก) โดยสามารถนําแนวร่วมฝ่ายค้าน เอาชนะการเลือกตั้งได้เมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2561 (ทั้งนี้ Mahathir เคยดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียยาวนานที่สุดถึง 22 ปี ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 – 2546)

116 ประชาธิปไตยแบบที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออกกฎหมายโดยตนเองเรียกว่า

(1) ประชาธิปไตยแบบโดยตรง

(2) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

(3) เสรีประชาธิปไตย

(4) ประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 287 การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

1 ประชาธิปไตยแบบโดยตรง (Direct Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) คือ การที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายได้ด้วยตนเอง

2 ประชาธิปไตยแบบโดยอ้อม (Indirect Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy)

117 ประชาธิปไตยที่ยึดหลัก ปชาสุขัง มหุตตมัง หมายถึง เน้น

(1) ความผาสุกของมหาชน

(2) ความมอัจฉริยภาพ

(2) ความมีอัจฉริยภาพ

(3) ความมั่งคั่ง

(4) ความสะดวกสบาย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 286 พุทธศาสนาที่สนับสนุนประชาธิปไตย ได้แก่ การยึดหลัก 2 ประการ คือ

1 “ปชาสุขัง มหุตตมัง” หมายถึง การเน้นความผาสุกของมหาชน

2 “มหาชนหิตายะ และมหาชนสุขายะ” หมายถึง การเป็นรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์และความสุขของมหาชน

118 “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่งแพร่หลาย” เป็นการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิง หรือแนวทางศาสตร์ใด

(1) ภูมิศาสตร์

(2) ศาสนศาสตร์

(3) เศรษฐศาสตร์

(4) อภิปรัชญา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 73, (คําบรรยาย) ผู้ที่นําวิธีการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิงหรือแนวทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐวิธี (Economic Approach) มาใช้ในทางการเมืองและการปกครอง คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) ผู้เป็นต้นตํารับของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์ถือว่า “วิถีแห่งการผลิต” อันเป็น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมีบทบาทหรือมีผลกระทบต่อเรื่องราวทางการเมือง การปกครอง และ วิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ฯลฯ จนสามารถกล่าวได้ว่า “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่ง (คอมมิวนิสต์) แพร่หลาย”

119 การส่งราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) กรุงสุโขทัย

(2) กรุงศรีอยุธยา

(3) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยอยุธยาโดยทรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 หรือเมื่อประมาณ 330 – 362 ปีมาแล้ว พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถด้านการสงครามและการต่างประเทศมากโดยในปี พ.ศ. 2529 ด้มีการส่งราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส

120 NGO มีตัวย่อซึ่ง N หมายถึงอะไร

(1) Non

(2) Next

(3) Now

(4) Nano

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 248, 310, (คําบรรยาย) NGO ย่อมาจากคําว่า Non-Governmental Organization หมายถึง องค์กรอาสาสมัครของเอกชนที่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการค้ากําไร จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการพัฒนา ด้านสังคม การรณรงค์ส่งเสริมเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ในสังคม

POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1. – 3. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

1 โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เป็นนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 76 นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตาม เพียงแต่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้สึกสํานึก มีจิตสํานึกในทางที่ถูกต้อง เช่น โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ลดละเลิกอบายมุข เป็นต้น

2 นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 76 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ ตามความจําเป็น หรือนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งไปเป็นประโยชน์ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น

3 การสร้างโรงพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ เป็นนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 76 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น การสร้างโรงพยาบาลประจําอําเภอ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 4. – 6. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การประเมินนโยบาย

 

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

5 การตีความหรือแปลงนโยบาย อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 4 หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ

5 การจัดระบบสนับสนุน

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

6 การกําหนดเกณฑ์วัด อยู่ในขั้นตอนใด ๆ

ตอบ 5 หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง

7 การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนําไปสู่การลดหนี้ อยู่ในนโยบายเรื่องใด

(1) นโยบายด้านสาธารณสุข

(2) นโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(3) นโยบายแรงงาน

(4) นโยบายการศึกษา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 ตัวอย่างนโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชายหญิง เป็นต้น

8 การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬา อยู่ในนโยบายด้านใด

(1) นโยบายด้านสาธารณสุข

(2) นโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(3) นโยบายแรงงาน

(4) นโยบายการศึกษา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 97 ตัวอย่างนโยบายการกีฬาและนันทนาการ ได้แก่ เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกําลังกายและเล่นกีฬา พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 9 – 12 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Hardware

(2) Software

(3) E-Government

(4) Telecommunication

(5) Information Technology

 

9 เครื่องคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 297 – 301 ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เครื่องจักร (Hardware) คือ ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถแตะต้องหรือสัมผัสได้ เช่น หน้าจอหรือจอภาพ แป้นพิมพ์ เม้าส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software) คือ ชุดของคําสั่งงานที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เป็นต้น

10 หน่วยงานภาครัฐนําเอาเรื่องใดมาใช้เพื่อปรับกระบวนการทํางานให้มีประสิทธิภาพสูง

ตอบ 3 หน้า 305, (คําบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและ ระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจําตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดในการติดต่อราชการ การชําระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทําหนังสือเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

11 การใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวเพื่อเข้าไปติดต่อระบบราชการในเรื่องต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถือว่าเป็นระบบใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

12 ข้อใดคือคําสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

13 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 3 หน้า 305 306 ตามแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ จะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้าน ดังนี้

1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

2 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)

3 การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education)

4 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Industry)

5 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)

 

14 อาจารย์มาสอนถึงบ้านโดยผ่านเครือข่าย Internet และนักเรียนสามารถตอบโต้อาจารย์ได้เหมือนอยู่ใน ห้องเรียนจริง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 4 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ผ่านทางไกลโดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในส่วนกลางได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ Online ของมหาวิทยาลัย การสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

15 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ E-Government

(1) G2C

(2) G2B

(3) G2G

(4) G2E

(5) G2F

ตอบ 4 หน้า 308 309 การให้บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนโดยตรง

2 G2B (Government to Business) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อภาคธุรกิจเอกชน

3 G2G (Government to Government) คือ การให้บริการระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ

4 G2F (Government to Officer) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของภาครัฐ

16 ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการ E-Government

(1) Information

(2) Interaction

(3) Intervening

(4) Integration

(5) Intelligence

ตอบ 3 หน้า 309 – 310, 319 ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) มี 5 ระดับ ดังนี้

1 การให้ข้อมูล (Information)

2 การโต้ตอบ (Interaction)

3 การทําธุรกรรม (Interchange Transaction)

4 การบูรณาการ (Integration)

5 ระดับอัจฉริยะ (Intelligence)

 

ตั้งแต่ข้อ 17. – 21. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alexander Hamilton

(2) Thomas Jefferson

(3) Leonard D. White

(4) Woodrow Wilson

(5) Owen E. Hughes

 

17 ใครคือผู้เสนอ Public Management

ตอบ 5 หน้า 329 – 330 Owen E. Hughes เป็นผู้เสนอแนวคิดการจัดการภาครัฐ (Public Management) โดยอธิบายว่า การจัดการภาครัฐแตกต่างจากการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และไม่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยการจัดการภาครัฐเกี่ยวข้องกับ ยุทธศาสตร์ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์การ ดังนั้น การจัดการภาครัฐจึงเป็นเรื่องที่กว้างกว่าการบริหารงานภายในองค์การ ซึ่งจุดมุ่งหมาย ของการจัดการภาครัฐจะเน้นที่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ การปรับปรุงทักษะ และการปรับปรุงความรับผิดหรือการให้ตรวจสอบได้

18 ใครเน้นคุณค่ากับการมีรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งโดยให้อํานาจอย่างมากกับฝ่ายบริหาร

ตอบ 1 หน้า 326 Alexander Hamilton เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจไว้ในหนังสือ The Federalist Papers ซึ่งเขาเน้นถึงคุณค่ากับการมีรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งโดยให้อํานาจอย่างมากกับฝ่ายบริหาร

19 ใครเน้นว่ารัฐบาลต้องกระจายอํานาจให้แก่ประชาชนเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการบริหารภาครัฐ

ตอบ 2 หน้า 326 – 327 Thomas Jefferson ได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐและต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

20 ใครสนับสนุนให้มีโครงสร้างระบบราชการแบบรวมศูนย์อํานาจ

ตอบ 4 หน้า 327 Woodrow Wilson สนับสนุนให้มีโครงสร้างระบบราชการแบบรวมศูนย์อํานาจเพื่อให้สามารถจับตาได้ง่ายอันจะทําให้เกิดความไว้วางใจได้ และประกันความมีประสิทธิภาพ

21 ใครอธิบายจุดยืนของกลุ่ม Federalists วาพวกชนชั้นนําไม่ไว้ใจประชาชน เพราะนโยบายที่ดีต้องมาจากคนที่มีการศึกษาดี

ตอบ 3 หน้า 326 Leonard D. White อธิบายจุดยืนของกลุ่ม Federalists ว่าเป็นพวกชนชั้นนําที่ไม่ไว้ใจประชาชน เพราะเชื่อว่านโยบายที่ดีจะมาจากคนที่มีการศึกษาดี ได้รับการอบรมมาดีและมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางอย่างเช่นพวกคนชั้นสูงเท่านั้น

22 เรื่องใดที่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ไม่สนใจ

(1) ประสิทธิภาพ

(2) ความเสมอภาค

(3) การตรวจสอบ

(4) การบรรลุเป้าหมาย

(5) เทคนิคและการจัดการ

ตอบ 2 หน้า 329 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ จะให้ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1 ประสิทธิภาพ

2 การตรวจสอบ

3 การบรรลุเป้าหมาย

4 เทคนิคและการจัดการ

23 ข้อใดเป็นแนวคิดของ Owen E. Hughes

(1) การจัดการภาครัฐเป็นเรื่องที่กว้างกว่าการบริหารงานภายในองค์การ

(2) จุดมุ่งหมายของการจัดการภาครัฐคือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์

(3) การจัดการภาครัฐเน้นคุณค่าการกระจายอํานาจสู่ประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

24 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เป็นแนวทางหลักในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มที่ประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) อังกฤษ

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) นิวซีแลนด์

ตอบ 2 หน้า 330 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

25 อุดมการณ์การจัดการนิยม (Managerialism) เกี่ยวข้องกับความคิดของใคร

(1) Alexander Hamilton

(2) Thomas Jefferson

(3) Christopher Pollitt

(4) Woodrow Wilson

(5) Owen E. Hughes

ตอบ 3 หน้า 336 Christopher Pollitt เป็นผู้เสนอความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์ การจัดการนิยม (Managerialism) ไว้ดังนี้

1 สังคมจะก้าวหน้าได้ต่อเมื่อมีการเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

2 การเพิ่มผลิตภาพจะต้องเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 การนําเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุผลต้องเกิดจากบุคลากรที่มีอุดมการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ

4 การจัดการเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์การที่แยกออกจากหน้าที่อื่น ๆ

5 ผู้จัดการจะต้องมีอํานาจและสิทธิในการจัดการ

 

ตั้งแต่ข้อ 26. – 28, “จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กรุงศรีอยุธยา

(2) รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์

(3) รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์

(4) รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์

(5) รัชกาลที่ 6 กรุงรัตนโกสินทร์

 

26 การจัดตั้งศาลประเภทต่าง ๆ มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรมและจัดวางรูปแบบศาลและกําหนดวิธีการพิจารณาคดีขึ้นใหม่

27 การนําระบบศาลมาไว้ภายใต้กระทรวงยุติธรรม มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 การแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมออกเป็นฝ่ายธุรการส่วนหนึ่ง ฝ่ายตุลาการส่วนหนึ่ง มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมเป็น ธุรการส่วนหนึ่ง และฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเรียบร้อย

29 การระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้ศาลเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) กระบวนการยุติธรรม

(2) ยุติธรรมทางเลือก

(3) กฎหมายอาญา

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

1 กระบวนการยุติธรรมหลัก เป็นการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาททางศาลเป็นหลัก

2 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก เป็นการหันเหข้อพิพาทให้ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การพักการลงโทษเป็นต้น

30 “สภาพแวดล้อมที่…การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก มีลักษณะไม่คงที่แน่นอน…” ที่กล่าวมาเป็นสภาพแวดล้อมแบบใด

(1) Turbulent Field

(2) Disturbed Reaction Environment

(3) Placid Clustered Environment

(4) Placid Randomized Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 257 Placid Randomized Environment หมายถึง สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบการติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก มีลักษณะไม่คงที่แน่นอน และถือเป็น การสุ่ม (Randomized) มากกว่า เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่ร่อนเร่และสภาพแวดล้อมของทารกในครรภ์ ซึ่งไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก

31 สภาพแวดล้อมเฉพาะ ได้แก่

(1) ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

(2) การศึกษาของประชาชน

(3) ประเพณี

(4) อัตราเงินเฟ้อ

(5) การเมือง

ตอบ 1 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุมได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ

2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหารความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้ เป็นต้น

32 ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนให้คงอยู่ได้ในระยะยาว

(1) ป่าไม้

(2) ก๊าซธรรมชาติ

(3) แร่ธาตุ

(4) อากาศ

(5) แสงอาทิตย์

ตอบ 1 หน้า 274 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ำ เป็นต้น

2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ เป็นต้น

3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

33 “การแห่นางแมว” จัดเป็นประเพณีประเภทใด

(1) จารีตประเพณี

(2) กฎศีลธรรม

(3) ขนบประเพณี

(4) ธรรมเนียมประเพณี

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 268 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบตัวเดียวเมียเดียว เป็นต้น

2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น

3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

34 “การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว” จัดเป็นประเพณีประเภทใด

(1) จารีตประเพณี

(2) กฎศีลธรรม

(3) ขนบประเพณี

(4) ธรรมเนียมประเพณี

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

35 “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศ” ใครเป็นผู้กล่าว

(1) Stephen P. Robbins

(2) Dwight Waldo

(3) Fred W. Riggs

(4) Richard L. Daft

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 255 Dwight \Waldo กล่าวว่า “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันติดต่อกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ”

36 ใครพิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การเป็น 10 ส่วน ถือเป็น Task Environment ขององค์การเอกชน

(1) Stephen P. Robbins

(2) Dwight Waldo

(3) Fred W. Riggs

(4) Richard L. Daft

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 255 256 Richard L. Daft พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัยหรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ดังนี้

1 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม

2 ปัจจัยด้านการผลิต

3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์

4 ปัจจัยด้านการเงิน

5 ปัจจัยด้านการตลาด

6 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี

7 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

8 ปัจจัยด้านการควบคุม

9 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม

10 ปัจจัยจากต่างประเทศ

37 หน่วยงานกลางที่ทําหน้าที่ควบคุม “มาตรฐานการบริหารงานบุคคลของรัฐ”

(1) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) สํานักงบประมาณ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 159, (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.) เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน โดยทําหน้าที่ควบคุมมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทํางานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหาร กําลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

38 ข้อใดจัดเป็น “วัฒนธรรม”

(1) ศีลธรรม

(2) กฎหมาย

(3) ประเพณี

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม เป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อนประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี ความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม รวมทั้งเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

39 หน่วยงานที่มีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบบริหารราชการส่วนกลาง

(1) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

(2) รัฐวิสาหกิจ

(3) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบบริหารราชการส่วนกลาง ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

40 “กลไกภายใน” ที่ใช้ในการควบคุม ได้แก่

(1) แผนดําเนินงานขององค์การ

(2) กฎ ระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(3) การตรวจสอบโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 181 182 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงานโครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

41 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้แก่

(1) บทบาทของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) บทบาทของสํานักงบประมาณ

(3) บทบาทของกรมบัญชีกลาง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 176, 185 – 190 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมีดังนี้

1 แนวนโยบายแห่งรัฐในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 บทบาทของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

3 การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร

4 บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา

5 บทบาทของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

6 บทบาทของศาลในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ

42 ที่กล่าวว่า “ งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุม” เพราะว่า

(1) เป็นกฎหมายที่หน่วยราชการต้องปฏิบัติตาม

(2) เป็นการแสดงรายได้ของส่วนราชการ

(3) เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 184, 205 206, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก

1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ

2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดําเนินงาน แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจํานวนบุคลากรและทรัพยากรในการสนับสนุนการดําเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

4 งบประมาณเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร

43 แนวคิดในการควบคุมต่อไปนี้แบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ

(1) การควบคุมผลลัพธ์

(2) การควบคุมด้านนโยบาย

(3) การควบคุมด้านผลผลิต

(4) การใช้ผู้บริโภคในการควบคุม

(5) การใช้กฎหมายเป็นตัวควบคุม

ตอบ 5 หน้า 177, 205 206 (คําบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ให้ความสําคัญกับการควบคุมปัจจัยนําเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กําหนด

ยุคที่ 2 ให้ความสําคัญกับการควบคุมกระบวนการทํางาน โดยพิจารณาความสําเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน

ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสําคัญกับการควบคุมขลผลิตและผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ

44 องค์กรใดทําหน้าที่ “รับเรื่องราวร้องทุกข์” จากการกระทําของรัฐบาล

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

(3) ศาลปกครอง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นองค์การที่ทําหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคําร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม

45 ข้อใดเป็น “การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ”

(1) การกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน

(2) การให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(3) การตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 186 รัฐธรรมนูญได้วางแนวทางการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งยังกําหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีอํานาจพิจารณาพิพากษานักการเมืองที่กระทําผิดและผู้เกี่ยวข้องด้วย

46 “นโยบายการบริหารจัดการ” ที่มีผลต่อการควบคุม

(1) การเลือกระบบงบประมาณ

(2) การพัฒนาบุคลากร

(3) บทบาทของรัฐสภา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 184 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบมีดังนี้

1 การพัฒนาระบบงบประมาณ

2 การพัฒนาบุคลากร

3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล

4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

47 “วัฒนธรรมองค์การ” มีผลต่อการควบคุมอย่างไร

(1) เป็นกลไกภายนอกที่กํากับการทํางานขององค์การ

(2) เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตในองค์การ

(3) เป็นวิธีปฏิบัติงานขององค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 202 วัฒนธรรมองค์การ คือ สภาพทางสังคมภายในองค์การที่เกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกันภายในองค์การทําให้เกิดแบบแผนการใช้ชีวิต เช่น งานอดิเรก พฤติกรรมการบริโภค กลุ่มเพื่อนการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น

48 ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการกําหนดโครงสร้าง และกฎ ระเบียบในการควบคุมการทํางาน

(1) วิธีปฏิบัติงาน

(2) งบประมาณ

(3) การประสานงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิธีปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการกําหนดโครงสร้าง และกฎ ระเบียบในการควบคุมการทํางาน ทําให้การปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเกิดการปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

49 ข้อใดเป็นการควบคุมโดย “รัฐสภา”

(1) บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) บทบาทของศาลปกครอง

(3) การออกกฎหมาย

(4) การตรวจเงินแผ่นดิน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 3 หน้า 187 188 การควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา” ได้แก่

1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด

3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

4 การตั้งคณะกรรมาธิการติดตามการปฏิบัติงาน

50 ขั้นตอนสุดท้ายของการควบคุม ได้แก่

(1) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(2) การปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การกําหนดวิธีการในการวัดความสําเร็จ

(4) การกําหนดมาตรฐานในการทํางาน

(5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์

ตอบ 2 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

51 ข้อใดจัดเป็นระบบการประกันคุณภาพขององค์การ

(1) มาตรฐาน ISO

(2) เกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด

(3) มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 202 ระบบการประกันคุณภาพขององค์การ เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาองค์การที่ให้ความสําคัญต่อลูกค้าขององค์การ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค การบริหารจัดการ ที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ การคํานึงถึงความเป็นสถาบันขององค์การในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทําให้องค์การมีการจัดตั้งฝ่ายประกันคุณภาพขึ้นเป็นแผนกหนึ่งขององค์การ และมีการนําระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้ เช่น มาตรฐาน ISO มาตรฐาน HA (กรณี โรงพยาบาล) มาตรฐาน สมศ. (กรณีสถาบันการศึกษา) นอกจากนี้องค์การของรัฐทั้งหลาย ยังต้องรับข้อกําหนดต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นําเสนอรวมถึงข้อกําหนดตามกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

52 ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ “คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน”

(1) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(2) เป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต

(3) ทําหน้าที่เบิกจ่ายเงินให้กับส่วนราชการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดตามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริตการใช้จ่ายเงิน

53 อัตราเงินเฟ้อ เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้

1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบอัตราการใช้จ่าย อัตราการออม

3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืดและอัตราเงินเฟ้อ

4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

54 GDP เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

55 “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากเงินได้” (Income Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีโรงเรือน

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 217, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่ายภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น

3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น

56 “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการช้จ่าย” (Consumption Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีโรงเรือน

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 “การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย” เป็นลักษณะของงบประมาณระบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) Tradition Budget

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 228, 237 งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่ายหรือการใช้ ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่าย ออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้

58 “การใช้โครงสร้างแผนึ่งานเป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์…กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์” เป็นลักษณะของระบบงบประมาณแบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) Tradition Budget

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 230 231, 237 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบงบประมาณที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณ เข้ากับระบบการวางแผน จึงมีการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยใช้โครงสร้างแผนงาน เป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุในรอบปีงบประมาณ หนึ่ง ๆ กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ เพื่อเป็นกรอบการตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณ

59 ภาษีทรัพย์สิน ได้แก่

(1) ภาษีศุลกากร

(2) ภาษีที่ดิน

(3) ภาษีเงินได้

(4) ภาษีสรรพากร

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

60 ภาวะเงินฝืด คนว่างงาน รัฐบาลควรมีนโยบายงบประมาณและนโยบายการเงินอย่างไร

(1) เกินดุล ดอกเบี้ยสูง

(2) ขาดดุล ดอกเบี้ยต่ำ

(3) ขาดดุล ดอกเบี้ยสูง

(4) เกินดุล ดอกเบี้ยต่ำ

(5) สมดุล ดอกเบี้ยสูง

ตอบ 2 หน้า 236, (คําบรรยาย) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) คือ การจัดทํางบประมาณที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้น้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน ซึ่งการจัดทํางบประมาณขาดดุลนี้จะใช้ร่วมกับ นโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยต่ําในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีภาวะการเงินผิดหรือตึงตัวและมีการจ้างงานน้อย

61 “การวิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เพิ่ม” เป็นข้อเสนอของใคร

(1) Richard L. Daft

(2) Fred W. Riggs

(3) Dwight Waldo

(4) Charles E. Linblom

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 238 Charles E. Linblom เป็นผู้เสนอแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เพิ่ม (Incremental Model) โดยยึดถือแนวทางนโยบายเดิมในการจัดทํางบประมาณ และใช้การวิเคราะห์ในส่วนที่เพิ่มในการวิเคราะห์งบประมาณที่เกิดขึ้นใหม่เท่านั้น

62 ใครเขียนหนังสือชื่อ “Public Budgeting System

(1) Lee and Johnson

(2) Fred W. Riggs

(3). Richard A. Musgrave

(4) Charles E. Linblom

(5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 1 หน้า 238, 252 Robert D. Lee and Ronald w. Johnson เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ“Public Budgeting System” โดยเชื่อว่า การตัดสินใจทางการเมืองจะเกี่ยวข้องกับหลักการที่ขัดกันของผลประโยชน์บนพื้นฐานของข้อมูลของแต่ละฝ่าย

63 “สภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยสถาบันทางสังคม การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเริ่มมีความยุ่งยาก ผลการติดต่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพขึ้นได้ ” ที่กล่าวมาเป็น สภาพแวดล้อมแบบใด

(1) Turbulent Field

(2) Disturbed-Reactive Environment

(3) Placid Clustered Environment

(4) Placid Randomized Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 258 Disturbed-Reactive Environment ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยสถาบันทางสังคม การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง ผลของการติดต่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อม ของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เริ่มประสบปัญหาในการแยกแยะความเหมาะสมของการเข้าไปสัมผัส

64 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมทางเลือก

(1) การระงับข้อพิพาท

(2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(3) การพักการลงโทษ

(4) ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(5) เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

65 บุคคลใดที่นําแนวคิดเรื่อง พาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Nicholas Henry

ตอบ 5 หน้า 46 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm)มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร พาราไดม์ที่ 3: การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

66 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Martin Landau

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ

1 เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

2 เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป

67 บุคคลใดที่กล่าวว่าพาราไดส์ (Paradigm) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ข้อ

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer.

(4) Martin Landau

(5) Robert T. Holt and John M. Richardson

ตอบ 5 หน้า 44 – 45, 64 – 65 Robet T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่าพาราไดม์ (Paradigm) ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ประการ คือ

1 แนวความคิด

2 ทฤษฎี

3 กฎของการแปลความหมาย

4 ปัญหา

5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

68 ในองค์ประกอบ 5 ข้อของแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ในข้อที่ 3 ดังกล่าวข้างต้นมีข้อใดต่อไปนี้ ที่ไม่ใช่องค์ประกอบของพาราไดม์

(1) แนวความคิด ทฤษฎี

(2) กฎของการแปลความหมาย

(3) ปัญหา

(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Martin Landau

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

70 Nicholas Henry ได้ศึกษาแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แบ่งการศึกษาเรื่องพาราไดม์ออกเป็น

(1) 3 ยุค 4 พาราไดม์

(2) 3 ยุค 5 พาราไดม์

(3) 4 ยุค 5 พาราไดม์

(4) 4 พาราไดม์

(5) 5 พาราไดม์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

71 บุคคลใดที่ได้เป็นผู้ริเริ่มการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจจนเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Martin Landau

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

72 บทความทางบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย

(1) Woodrow Wilson

(2) Nicholas Henry

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Martin Landau

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

73 ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Robert T. Golembiewski

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

74 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของ สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

75 พาราไดม์ (Paradigm) ที่เท่าใดของวิชาการบริหารรัฐกิจที่กล่าวว่า การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

(1) พาราไดม์ที่ 1

(2) พาราไดม์ที่ 2

(3) พาราไดม์ที่ 3

(4) พาราไดม์ที่ 4

(5) พาราไดม์ที่ 5

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

76 ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอหลักการทํางานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร

(1) Mary Parker Follet

(2) Henri Fayol

(3) Frederick W. Taylor

(4) James D. Mooney

(5) Alan C. Reiley

ตอบ 3 หน้า 48 – 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่องการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์(Scientific Management) ซึ่งจะเน้นในเรื่องการทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ

77 ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร

(1) Lillian Gilbreth

(2) Frederick W. Taylor

(3) Henri Fayol

(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley

(5) Gulick and Lyndall Urwick

ตอบ 5 หน้า 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “จุดสูงสุดแห่งการได้รับความยอมรับนับถือ” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ นั้นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

78 ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร

(1) หลักของการบริหาร

(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) หลักการของนักบริหารที่ดี

(4) หลักการบริหาร POSDCORB

(5) หลักการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

79 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1938 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้

(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมต่างหาก

(4) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 51 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1938 – 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้

1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก

2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้น ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร

80 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1947 1950 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

(2) ชี้หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)

(3) การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารควรมีพื้นฐานทางจิตวิทยาสังคม

(4) การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 54 55 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1947 – 1950 มีดังนี้

1 การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

2 การชี้ให้เห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)

3 การใช้จิตวิทยาสังคมเป็นพื้นฐานสําหรับทําความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร

4 การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

81 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย

(1) สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(4) ปฐม มณีโรจน์

(5) มาลัย หุวะนันท์

ตอบ 1 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

82 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์

(2) บุคลากร

(3) โครงสร้างองค์การ

(4) สภาพแวดล้อม

(5) ระยะเวลา

ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

83 องค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก

(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างองค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) จะมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การจะไม่ซับซ้อน โดยลักษณะโครงสร้างองค์การนี้ จะเป็นโครงสร้างแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างแนวดิ่ง (Tall Structure)

84 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก

(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน

(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

ตอบ 1 หน้า 125 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักของ องค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน

85 Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร

(1) องค์การแบบเรียบง่าย

(2) องค์การแบบระบบราชการ

(3) องค์การแบบแมทริกซ์

(4) องค์การแบบเครือข่าย

(5) องค์การแบบผสม

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การแบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

86 การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ เป็นแนวคิดของใคร

(1) Stephen P. Robbins

(2) Peter Senge

(3) Herbert Hicks

(4) Handy C.

(5) jones G. R.

ตอบ 2 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)

3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

87 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร

(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม

(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา

(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม

(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ

2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผย คํานึงถึงเวลา และถูกต้อง

4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

88 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 132 – 134, 138 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

2 ช่วงการควบคุมแคบ

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง

5 มีความเป็นทางการสูง

6 รวมอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่

8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

89 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 133 134, 14) – 141 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 มีความเป็นทางการน้อย

5 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

6 มีสภาพแวดล้อมซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก

7 มุ่งเน้นประสิทธิผล ฯลฯ

90 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency)

(1) องค์การเป็นระบบเปิด

(2) การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

(3) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

(4) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

(5) องค์การมีความเป็นทางการสูง

ตอบ 5 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency) มีดังนี้

1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ

2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบ มีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

5 องค์การเป็นระบบเปิด

6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

91 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์แกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(1) สิ่งแวดล้อม

(2) กลยุทธ์

(3) สายการบังคับบัญชา

(4) เทคโนโลยี

(5) คน/วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 135 136, 141 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการจัด โครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ โดยองค์การที่มีส่วนประกอบภายในสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรับตัว ได้ดีที่สุดและมีผลการดําเนินงานที่ดีที่สุด

92 การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง

(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล

(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล

(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบไว้ดังนี้

1 เป็นแนวการศึกษาที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น

2 ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

3 เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล

93 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP

(1) สภาพการเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) บุคลากร

(4) สังคมและวัฒนธรรม

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือ PEST หรือ STEP ประกอบด้วย

1 สภาพการเมือง (Political)

2 เศรษฐกิจ (Economic)

3 สังคม (Social)

4 เทคโนโลยี (Technological)

94 ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้ว ก็ไม่สามารถทํางานได้คือ

(1) คน (Men)

(2) เงิน (Money)

(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)

(4) การจัดการ (Management)

(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)

ตอบ 1 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 MP3 คือ คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์(Material) และการจัดการ (Management) จะถือว่าปัจจัยเรื่อง คน (Men) มีความสําคัญมากที่สุด และเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้

95 กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทยคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตอบ 1 หน้า 167 ภาครัฐไทยนําระบบการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่มาใช้ตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 โดยระบบบริหารงานบุคคล ภาครัฐมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ และนโยบายการบริหารงานบุคคลก็มี การปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

96 ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นพระราชบัญญัติฉบับล่าสุดที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคมพ.ศ. 2551

97 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนในระบบราชการคือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(3) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(4) คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง

(5) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ตอบ 2 หน้า 158 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผล การปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้นคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกําหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล (ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ)

98 นโยบายการบริหารงานบุคคลที่สําคัญคือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยเรื่องอะไร

(1) การจัดการศึกษา

(2) การฝึกอบรม

(3) การพัฒนา

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 164, 170 – 172, (คําบรรยาย) การพัฒนาบุคลากร เป็นความพยายามในการเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถให้แก่บุคลากร เพื่อที่จะปฏิบัติงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการในการพัฒนาบุคลากรมีหลายวิธี เช่น การส่งบุคลากรไปอบหรือศึกษาต่อการดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสัมมนา การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน เป็นต้น

99 การบริหารงานบุคคลภาครัฐประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญกขั้นตอน

(1) 2 ขั้นตอน

(2) 3 ขั้นตอน

(3) 4 ขั้นตอน

(4) 5 ขั้นตอน

(5) 6 ขั้นตอน

ตอบ 5 หน้า 163 164 ระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญดังนี้

1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล

2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง

3 การพัฒนาบุคลากร

4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร

5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร

100 ข้อใดคือขั้นตอนที่จัดว่าสําคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลในภาครัฐ

(1) ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล

(2) ขั้นตอนที่ 2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้าย และการแต่งตั้ง

(3) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร

(4) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร

(5) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตอบ 1 หน้า 163, 171 172, (คําบรรยาย) การวางแผนทรัพยากรบุคคล จัดว่าเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยเป็นการวางแผนดําเนินงาน เพื่อเตรียมบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและเวลา รวมทั้งพัฒนากําลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยมีปัจจัยสําคัญที่ต้องนํามาพิจารณาประกอบ เช่น ปริมาณงาน ปริมาณบุคลากร ตลาดแรงงาน ลักษณะงาน เป็นต้น การวางแผนทรัพยากรบุคคลผิดพลาด จะทําให้องค์การเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การว่างงาน การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน การหมุนเวียน เข้าออกจากงานสูง เป็นต้น

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 Id, Ego และ Super-Ego เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ

(1) ความรู้ในงาน

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 2, 3 และ 4

ตอบ 3 หน้า 74 Sigmund Freud ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพ (Personality) ไว้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากผลรวมของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสําคัญ 3 ประการ คือ Id, Ego และ Super-Ego โดยมนุษย์ทุกคนจะอยู่ในกระบวนการดัดแปลงและปรับปรุง บุคลิกภาพอยู่ตลอดเวลา บุคลิกภาพของบุคคลมิได้เปลี่ยนแปลงไปในทันทีทันใด แต่จะเกิดจากการสะสมของประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงต่าง ๆ ของชีวิต

2 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System) โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

4 องค์ประกอบในระบบโครงสร้างขององค์การ ได้แก่

(1) Positions and Authority

(2) Span of Control

(3) Technology

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หมายถึง การสร้างแบบ(Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) ช่วงการบังคับบัญชา (Span of Control) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work) เป็นต้น โดยโครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ

5 เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ

(3) วิธีการทํางาน

(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้

1 ระบบวัตถุประสงค์และค่านิยม (Goals and Values)

2 ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงานรวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

3 ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและกลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

4 ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น

5 ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหารหรือผู้ควบคุมงาน

6 เหตุผลของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่

(1) เพิ่มช่องทางไหลเวียนของข่าวสาร

(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก

(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนอง ต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหลงในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

7 Conscious Decisions มักเกิดในระดับใดของการบริหาร

(1) การบริหารระดับสูง ๆ

(2) ระดับการกําหนดนโยบาย

(3) การบริหารระดับต้น

(4) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 1 และ 2

(5) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 3 ระดับ คือ

1 ระดับปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decisions)

2 ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decisions)

3 ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึกและแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

8 ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมติฐานนี้ ได้แก่

(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด

(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน

(3) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า“มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมา ย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

9 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ…. ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Action Theory

(2) Administrative Theorists

(3) Contingency Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situaticnal Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของ สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

10 ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่ Herbert Kaufman เห็นว่าเป็น Internal Management

(1) การตัดสินใจ

(2) การจูงใจ

(3) การกําหนดนโยบาย

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียง ร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของ เวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

11 Efficiency ของการบริหาร ให้พิจารณาที

(1) งบประมาณที่ใช้

(2) คุณภาพของการทํางาน

(3) ผลงานที่ได้รับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ ก็แสดงว่าองค์การนั้น มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้ ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

12 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม……………..ที่หายไปคือ

(1) เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ

(2) เศรษฐกิจและการเมือง

(3) การเมืองและเทคโนโลยี

(4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

13 ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น

(1) ขนาดของกิจการ

(2) การเป็นเจ้าของกิจการ

(3) วัตถุประสงค์

(4) ผลผลิต

(5) ทฤษฎีองค์การ

ตอบ 5 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ(Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1 วัตถุประสงค์

2 การเป็นเจ้าของกิจการ

3 ขนาดของกิจการ

4 ผลผลิต

14 Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ว่าเป็น

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Hygiene Factors สูงที่สุด

(1) ความรับผิดชอบ

(2) ความก้าวหน้าในงาน

(3) ลักษณะของงาน

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) นโยบายและการบริหาร

ตอบ 5 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

16 “ ……. ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Outer Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political /Primary/ Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ)

17 วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่

(1) Scientific Management

(2) Management Science

(3) Action Theory

(4) Operation Research

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

  1. “…พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) A Systems Approach

(2) Contingency Theory

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model) และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

19 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ

(2) กิลเบิร์ต – เส้นทางเดินของงาน

(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ

(5) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร

ตอบ 3 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

20 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Procedure

(3) Management by Objectives

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2 (5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ )

21 แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการกระจายอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) ประชานิยม

(4) ประจักษนิยม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดหรือปรัชญาในการดําเนินชีวิตมี 2 แบบ คือ

1 เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2 สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินเละที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

22 การบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการบริหารตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ตัวแบบระบบราชการ

(3) นักทฤษฎีการบริหาร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติและความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

23 กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน

(1) Piece Rate System

(2) Gantt Chart

(3) Staffing

(4) Reporting

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้เกิดการทํางานเป็นกิจวัตรโดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตาม ความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือกิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

24 “ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

25 “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

26 “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

27 ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น

(1) มีการวางแผน

(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร

(3) มีความเจริญเติบโตภายใน

(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต

(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ (สวนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

28 แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น… แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

29 นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt, Gilbreths, Emerson

(1) Neo-Classical Organization Theory

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่ม Scientific Management มีดังนี้

1 Frederick W. Taylor

2 Henry L. Gantt

  1. Frank และ Lillian Gilbreths

4 Harrington Emerson

5 Morris L. Cooke ฯลฯ

30 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น

(2) เน้นการใช้ความรู้

(3) เน้นความสัมพันธ์ในแนวนอน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การที่เน้นการทํางานแบบ เฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

31 การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การค้นหามาตรฐานของงาน

(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา

(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่เล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

32 ปัญหาใหญ่ที่สุดของ “การสื่อความเข้าใจ” ได้แก่

(1) ภาษาที่ใช้

(2) เทคโนโลยี

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ระบบงาน

(5) ขนาดองค์การ

ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ปัญหาที่สําคัญและใหญ่ที่สุดของกระบวนการสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ คือ ความพยายามในอันที่จะเข้าใจถึงความหมายของภาษา หรือการเรียนรู้ถึงความหมายของภาษาที่ใช้ (Semantics) นั่นเอง

33 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(3) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89, 98 – 107, (คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ดังนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง กับสภาพแวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต (Dynamic Equilibrium)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯลฯ

34 การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นพฤติกรรมในข้อใด

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(3) การรักษาสิทธิตนเอง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

35 ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่

(1) Fayol

(2) Taylor

(3) Urwick

(4) Weber

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Gutick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดรูปงาน)

3 S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การสั่งการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การจัดทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

36 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์

(4) การกําหนดอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 60 – 62 ดร.ขุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

37 Post Control ได้แก่

(1) การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน

(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

(3) การใช้โปรแกรมการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ

(4) การตรวจงาน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมทีหลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของ โครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

38 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด

(1) หลักของกฎและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) หลักเอกภาพขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 186 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึงหลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

39 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกันไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) Social Needs

(2) Ego Needs

(3) Safety Needs

(4) Physiological Needs

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslowเป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มี . ความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

40 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) นิเวศวิทยาของการบริหาร

(4) ความสมดุลของระบบทางชีวภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 259 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis) ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

41 “วิธีการที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Staffing

(2) Decision Making

(3) Controlling

(4) Organizing

(5) Communication

ตอบ 5 หน้า 243 การสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) หมายถึง ตัวเชื่อมโยงที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใดซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

42 ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ ได้แก่

(1) ทําให้ลดการจ้างงาน

(2) ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

(3) สิ้นเปลืองเวลาในการบริหารงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 86, (คําบรรยาย) ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ (MS/OR) มีดังนี้

1 ให้ความสําคัญต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมจิตวิทยาน้อย

2 วิธีการอธิบาย และแนะนําให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัญหาและทางแก้ไขยังไม่ดีพอ ทําให้ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

3 ก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์การ

4 นํามาซึ่งการลดการจ้างงาน

5 ผลของการวิจัยไม่อาจจะครอบคลุมถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมายได้ ฯลฯ

43 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

44 ตัวอย่างของ Staff Officer คือ

(1) ครูผู้สอน

(2) เจ้าหน้าที่การเงิน

(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการ ในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

45 “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปองค์การจะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดของ

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

46 พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่ Robbins นําเสนอไว้ในช่วง ค.ศ. 1900 – 1930 เป็นยุคของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5

47 ทุกข้อจัดอยู่ในกลุ่ม “งานสนับสนุน” ของคณะรัฐศาสตร์ ยกเว้น

(1) การบริการทางวิชาการต่อสังคม

(2) การพัฒนากําลังคน

(3) การพัฒนาระบบการบริหาร

(4) การพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

(5) การพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ

ตอบ 1 หน้า 224, (คําบรรยาย) แผนงานด้านการพัฒนาสถาบันของมหาวิทยาลัย (เช่น คณะรัฐศาสตร์)เป็นแผนงานด้านภารกิจสนับสนุน (Staff) ในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยแผนย่อย 5 แผน ได้แก่

1 แผนการจัดรูปองค์การ

2 แผนการพัฒนากําลังคน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร

3 แผนการพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

4 แผนการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเงิน

5 แผนการพัฒนาระบบการบริหารงาน

48 ข้อใดที่เป็นประเด็นในการพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์การตามหลักของ SWOT Analysis

(1) Threats

(2) Opportunities

(3) Strengths

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่ 0 = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

49 กรณีใดที่จัดเป็นวิธีการศึกษาการตัดสินใจแบบ Descriptions of Behavior

(1) การพรรณนาลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจ

(2) การอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ผ่านมา

(3) การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจ รูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่ สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใด ของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปที่สถาน หรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Mode! Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่า สิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

50 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากการได้รับการดูแลเอาใจใส่

(3) ประสิทธิภาพในการทํางานจากการที่มีระบบค่าตอบแทนที่ดี

(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม

(5) อิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม เมื่อกลุ่มถูกเฝ้าดู

ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo) ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

51 “การให้ความรู้” เป็นการควบคุมแบบใด

(1) เป็น Pre Control แบบหนึ่ง

(2) เป็น Post Control แบบหนึ่ง

(3) เป็น Real Time Control แบบหนึ่ง

(4) เป็นได้ทั้ง 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 266 267, (คําบรรยาย) การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) อาจกระทําได้โดย

1 การวางแผนหรือการกําหนดโปรแกรมการทํางานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control) เช่น การวางแผนปฏิบัติการ การใช้ Gantt Chart หรือ ม.ร.30 เป็นต้น

2 การจัดทํางบประมาณไว้ล่วงหน้า (Budgetary Control)

3 การให้การศึกษาหรือความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการ (Educational Control) เช่น การฝึกอบรมการปฐมนิเทศหรือนิเทศงาน การอธิบายรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

52 ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่

(1) ข้อมูลบุคลากร

(2) ข้อมูลทรัพย์สิน

(3) ข้อมูลการให้บริการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้าข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

53 คําพูดที่ว่า “a picture is worth a thousand Words” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกระบวนการบริหาร

(1) Planning

(2) Organizing

(3) Directing

(4) Communicating

(5) Evaluating

ตอบ 4 หน้า 246, (คําบรรยาย) Kast และ Rosenzweig ได้กล่าวเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจ(Communicating) ไว้ว่า “รูปภาพเพียงใบเดียวมีค่ายิ่งกว่าคําพูดเป็นพัน ๆ คํา” (a picture is worth a thousand words) นั่นหมายความว่า รูปภาพช่วยสื่อความหมายของข่าวสารได้ดีกว่าคําพูด

54 “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ….การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆเกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่

(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา

(2) สังคมคนชรา

(3) สังคมเด็กวัยรุ่น

(4) สังคมชาวเขาเร่ร่อน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

55 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

56 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง

(2) ปัญหาด้านแรงจูงใจ

(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง

(4) ความล่าช้าในการสื่อสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชาที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

57 ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้

(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม

(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม

(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50, ประกอบ

58 ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Munsterberg

(4) Gantt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lilian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

59 “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

60 เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”

(1) Gilbreths

(2) Emerson

(3) Cooke

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Princ ples of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น

1 การสร้างวัตถุประสงค์

2 การใช้สามัญสํานึก

3 การปรึกษาหารือ

4 การมีระเบียบวินัย

5 การจัดการที่เป็นธรรม

6 การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้

7 การกําหนดสายทางเดินของงาน

8 การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

61 กลุ่มนักวิชาการใดต่อไปนี้ที่ให้ความสําคัญในเรื่อง “การเมืองในองค์การ”

(1) The Action Approach

(2) Administrative Theorists

(3) Scientific Management:

(4) Behavioral Science

(5) A Systems Approach

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

62 ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น

(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน

(2) หลักความสามารถ

(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) การกระจายอํานาจ

ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยงพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย

1 การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)

2 การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)

3 การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)

4 การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ

5 การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

6 การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

7 การคัดเลือกและเลือนขันโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on Selection and Fromotion)

8 การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคล

63 Line Officer คือ

(1) พนักงานที่มีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ

(2) พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

(3) พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานเป็นพิเศษ

(4) นักวิเคราะห์แผน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีการบริหารได้แบ่งประเภทของผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 พนักงานปฏิบัติการ (Line Officer) คือ พนักงานที่มีอํานาจหน้าที่ในการสั่งการบังคับบัญชาและปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

2 พนักงานที่ปรึกษา (Staff Officer) คือ พนักงานที่ทําหน้าที่ช่วยสนับสนุนฝ่ายงานหลักหรือเป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้ข้อมูล และคอยช่วยเหลือพนักงานปฏิบัติการให้ทํางานได้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพนักงานที่ปรึกษาจึงมีส่วนสําคัญในการช่วยให้องค์การสามารถดําเนินงานไปได้จนบรรลุเป้าหมายขององค์การ

64 Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ……………

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็นวิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเบิด” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่ม Behavioral Science

2 กลุ่ม A Systems Approach

3 กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach

4 กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

65 ข้อใดที่จัดเป็น “องค์การด้านเศรษฐกิจ”

(1) กรมประชาสงเคราะห์

(2) กรมประมง

(3) กรมส่งเสริมการเกษตร

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 7, (คําบรรยาย) องค์การ/หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ หมายถึง องค์การที่มีเป้าหมายเกี่ยวข้องกับภาวะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมไปถึงองค์การที่ทําหน้าที่ จัดสรรทรัพยากรของชาติ เช่น กรมสรรพากร กรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร บริษัทห้างร้านที่ขายสินค้าและบริการ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

66 ปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ ได้แก่

(1) การแบ่งงานกันทํา

(2) เทคโนโลยี

(3) ค่านิยมในองค์การ

(4) กลุ่มในองค์การ

(5) การประสานงาน

ตอบ 1 หน้า 189 – 191, (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) มีประโยชน์ดังนี้

1 เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถ ในการทํางานขององค์การ

2 ทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange)

3 ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

4 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อนและการเหลื่อมล้ําในการทํางานในหน้าที่

67 ตามทฤษฎีของ Maslow “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน” เรียกว่า

(1) Self-Realization Needs

(2) Ego Needs

(3) Status Needs

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-Realization Needs)

68 โครงสร้างขององค์การมีลักษณะอย่างไร

(1) โครงสร้างขององค์การหมายถึงการสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆขององค์การ

(2) โครงสร้างขององค์การหมายถึงขอบข่ายขององค์การที่เปรียบเสมือนกับมนุษย์ ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกที่ระบุรูปร่างของมนุษย์แต่ละคนนั้น

(3) โครงสร้างขององค์การเกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาในระหว่างกลุ่มคน รวมถึงกลไกของระบบการประสานงานที่เป็นทางการและวิธีการที่จะต้องเกี่ยวข้องกันตามแบบแผนที่กําหนดไว้

(4) โครงสร้างขององค์การไม่สามารถแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงานได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 120 121 โครงสร้างองค์การ มีลักษณะดังนี้

1 หมายถึงขอบข่ายขององค์การที่เปรียบเสมือนกับมนุษย์ ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกที่ระบุรูปร่างของมนุษย์แต่ละคนนั้น

2 เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาในระหว่างกลุ่มคน รวมถึงกลไกของระบบการประสานงานที่เป็นทางการและวิธีการที่จะต้อง เกี่ยวข้องกันตามแบบแผนที่กําหนดไว้

3 โครงสร้างขององค์การไม่สามารถแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงานได้ แม้ว่าสองอย่างนั้นจะมีลักษณะต่างกัน แต่จะต้องจัดไปด้วยกัน (ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ)

69 การออกแบบองค์การ คืออะไร

(1) คือการมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การให้ได้

(2) คือลักษณะของการสร้างแบบ ออกแบบหรือจัดแบบของโครงสร้างองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมด้วย

(3) การออกแบบองค์การที่มีความสําคัญต่อความสําเร็จและล้มเหลวขององค์การ

(4) การออกแบบองค์การที่มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic)

(5) ถูกทุกข้อ 1

ตอบ 5 หน้า 122 123 การออกแบบองค์การ คือ

1 การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การให้ได้

2 ลักษณะของการสร้างแบบ ออกแบบหรือจัดแบบ ของโครงสร้างองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมด้วย

3 มีความสําคัญต่อความสําเร็จ และล้มเหลวขององค์การ โดยจะเกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์การ ตลอดจนทรัพยากรทั้งหมด รวมทั้งปรัชญาและแนวคิดในการบริหารงานด้วย

4 มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) คือ ต้องคอยดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยน พัฒนา หรือเพิ่มเติม รวมทั้งให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอด้วย

70 การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์อะไร

(1) ช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายขึ้น

(2) ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

(3) ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อน

(4) ทําให้เกิดความสะดวกในการควบคุมติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126, (คําบรรยาย) การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ ดังนี้

1 ช่วยให้การบริหารงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย เป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

2 ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

3 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อน

4 ช่วยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

71 ใครคือผู้สร้างทฤษฎี Scientific Management

(1) Max Weber

(2) Herbert Simon

(3) Chester Barnard

(4) Frederick Taylor

(5) Max Weber ร่วมกับ Frederick Taylor

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

72 วัตถุประสงค์ขององค์การ คืออะไร

(1) คือเป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

(2) คือจุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

(3) คือสิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

(4) คือจุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้

1 คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

2 คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

3 คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

4 คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

5 ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย

6 จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้งสามารถที่จะพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอ ตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

73 วัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างไร

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การต้องดํารงอยู่เช่นเดิมที่กําหนดไว้ในการก่อตั้งองค์การ หากเปลี่ยนแปลงไปองค์การจะต้องล้มเหลวทันที

(2) องค์การถูกตั้งขึ้นเพื่อธํารงรักษาไว้ให้ดํารงอยู่ได้นาน ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้เท่านั้น

(3) ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย

(4) เนื่องจากความแตกต่างในวัตถุประสงค์ของสมาชิกที่มีอยู่ ดังนั้นองค์การควรหลีกเลี่ยงที่จะจัดการในเรื่องวัตถุประสงค์ของสมาชิกในองค์การ เพราะเป็นสิ่งที่จัดการไม่ได้เลย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

74 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้

(1) การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่

(3) การวางแผนปฏิบัติงานไว้ให้พร้อมและเทคนิคการควบคุม

(4) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 184 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้

1 การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา

2 เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่

3 การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม

4 ลักษณะของงานในองค์การ

5 เทคนิคในการควบคุม

6 เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

7 ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

75 เรื่องความสําคัญของ “การจัดองค์การ”

(1) การจัดองค์การมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อองค์การ และการบริหารองค์การใด ๆ ก็ตาม

(2) การจัดองค์การมีความสําคัญต่อองค์การขนาดใหญ่มากกว่าองค์การขนาดเล็กเสมอ

(3) การจัดองค์การที่ทําให้ไม่ประสบความสําเร็จ เรียกว่าเป็น Sound Organization

(4) การจัดองค์การเรียกว่า Organization Structure

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 125 การจัดองค์การ (Organizing) เป็นความพยายามของผู้บริหารในการหาหนทางให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ประสบผลสําเร็จตามแผนงานและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังนั้นการจัด องค์การจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารองค์การใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งมีผลต่อ ความสําเร็จของกิจการ เพราะหากมีการจัดองค์การที่ดี (Sound Organization) โอกาสที่จะประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็ย่อมจะเป็นไปได้มาก

76 การจัดการองค์การเกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องอะไร

(1) การจัดการวัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) การจัดการกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ให้แก่ตําแหน่ง และแก่บุคคลที่กําหนดไว้

(3) การจัดช่วงการบังคับบัญชา และการจัดการรวมและกระจายอํานาจการบังคับบัญชาในองค์การ

(4) การจัดเรื่องการประสานงาน มอบอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126 – 127 การจัดการองค์การเกี่ยวข้องกับการจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้

1 การจัดการวัตถุประสงค์ขององค์การ

2 การจัดการกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ให้แก่ตําแหน่งงานต่าง ๆ และแก่บุคคลที่กําหนดไว้

3 การจัดช่วงการบังคับบัญชา และการจัดการรวมและกระจายอํานาจการบังคับบัญชาในองค์การ

4 การจัดเรื่องการประสานงาน มอบอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

77 ความหมายของสายการบังคับบัญชา

(1) Chain of Command

(2) Line of Authority

(3) ระบบการบังคับบัญชาในแง่ที่ว่า ผู้อยู่ระดับสูงกว่าอาจแนะนําสั่งสอนและควบคุมผู้อยู่ในระดับต่ํากว่า

(4) Hierarchy

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 139 140 สายการบังคับบัญชา ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1 ระบบการบังคับบัญชาในแง่ที่ว่า ผู้ที่อยู่ในระดับสูงกว่า (ผู้บังคับบัญชา) อาจแนะนําสั่งสอนและควบคุมผู้อยู่ในระดับต่ำกว่า (ผู้ใต้บังคับบัญชา) แต่ในบางกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้อยู่ในระดับต่ำกว่าก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ไปยังผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือขึ้นไป หรือต่อหน่วยงานที่อยู่สูงกว่าได้

2 ทําให้เกิดระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหนึ่งกับหน่วยงานอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าหน่วยงานที่อยู่ในระดับต่ำกว่าต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา การควบคุม และการตรวจสอบของ หน่วยงานที่อยู่ในระดับสูงกว่าลดหลั่นกันไปตามลําดับ

3 ภายในลําดับชั้นของการบังคับบัญชาเดียวกัน แต่ละหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือปทัสถานที่กําหนดไว้อย่างเดียวกัน

78 Max Weber คือใคร

(1) นักทฤษฎีที่สร้างทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy)

(2) นักวิชาการที่สร้างทฤษฎีแรงจูงใจในการทํางานคือ Theory X และ Theory Y

(3) เป็นผู้สร้างทฤษฎีความเป็นธรรม (Equity Theory)

(4) ผู้สร้างทฤษฎีการกําหนดเป้าหมาย (Goal Setting Theory)

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

79 “สายการบังคับบัญชา” ในองค์การเป็นเครื่องชี้ให้เห็นลักษณะอะไร

(1) การบังคับบัญชาที่ว่าผู้อยู่ระดับสูงกว่าอาจแนะนําสั่งสอนและควบคุมผู้อยู่ในระดับต่ำกว่า

(2) ในบางกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชานั้น ผู้อยู่ในระดับต่ำกว่า มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ไปยังผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือขึ้นไป หรือต่อหน่วยงานที่อยู่สูงกว่าได้

(3) ทําให้เกิดระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหนึ่งกับหน่วยงานอื่นว่าในระดับต่ํากว่าต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและควบคุมตามลําดับ

(4) ภายในลําดับชั้นของการบังคับบัญชาเดียวกัน แต่ละหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือปสถานที่กําหนดไว้อย่างเดียวกัน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

80 ลักษณะของสายการบังคับบัญชาเป็นอย่างไร

(1) ต้องใช้เฉพาะในระบบราชการเท่านั้น

(2) ต้องใช้เฉพาะในองค์การธุรกิจเท่านั้น

(3) มีลักษณะสําคัญที่แยกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ ลักษณะของอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และการติดต่อสื่อสาร

(4) จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาต้องจัดให้มากชั้นที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะจะทําให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา มีลักษณะที่สําคัญซึ่งสามารถแยกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะคือ

1 ลักษณะของอํานาจหน้าที่ (Authority Aspect)

2 ลักษณะของความรับผิดชอบ (Responsibility Aspect)

3 ลักษณะของการติดต่อสื่อสาร (Communication Aspect)

81 การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีเป็นอย่างไร

(1) จํานวนระดับชั้นควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากไม่น้อยจนเกินไป

(2) สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงานผ่านไปยังผู้ใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบ

(3) สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

(4) การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีจะแบ่งเบาภาระของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 143 การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บังคับบัญชาได้มาก เนื่องจากมีการกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงไปช่วยดูแลและบังคับบัญชา ซึ่งหลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้

1 จํานวนระดับชั้นของสายการ บังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากไม่น้อยจนเกินไป

2 สายการบังคับบัญชาแต่ละสาย ควรจะต้องชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงานผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ

3 สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

82 คําว่า “อํานาจหน้าที่” (Authority) หมายถึง

(1) อํานาจในการสั่งการเพื่อให้ผู้อื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง

(2) อํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการได้

(3) อํานาจหน้าที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ หรืออาจกล่าวว่าอํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ

(4) ผู้บริหารระดับสูงจะมีตําแหน่งสูงและมีอํานาจมาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วยกัน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command)เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

83 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) เป็นเช่นใด

(1) เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า “Acceptance Theory” ก็ได้

(2) เป็นทฤษฎีที่ผู้บังคับบัญชาเชื่อว่าเมื่อตนอยู่ในตําแหน่งสูงกว่า มีอํานาจมากกว่า ก็มีสิทธิที่ดุว่าสั่งสอน หรือบังคับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไรก็ได้

(3) เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า “Competence Theory” ก็ได้

(4) เป็นทฤษฎีที่ Chester Barnard และ Herbert Simon ได้ร่วมกันสร้างขึ้นมา

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory)มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เป็นเพราะผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการ ใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

84 กลุ่มทฤษฎีที่ว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า “Institutionalized Authority” ก็ได้

(2) เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อว่าอํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือได้

(3) อํานาจหน้าที่ในกลุ่มนี้จะเกิดขึ้นจาก “ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับอํานาจของผู้บังคับบัญชาเพราะเขาเชื่อในคําสั่งและเชื่อว่าการใช้อํานาจนั้น ๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ”

(4) เป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นโดย Max Weber

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 149 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีความเชื่อว่าอํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือได้ ดังนั้นอํานาจหน้าที่จึงได้มาจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา มิใช่ได้มาจากตําแหน่งที่เป็นทางการ

85 คุณลักษณะของอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) การจัดการองค์การนั้นมีความสัมพันธ์กับการมอบอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยการจัดให้เหมาะสมทั้งแนวดิ่ง และแนวนอน

(2) ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แนวดิ่ง

(3) ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การจัดว่าเป็นความสัมพันธ์ในแนวนอน

(4) การจัดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะมีผลไปถึงการควบคุมดูแล (Control) ให้ปฏิบัติเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ด้วย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 145 คุณลักษณะของอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ มีดังนี้

1 การจัดการองค์การนั้นมีความสัมพันธ์กับการมอบอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยการจัดให้เหมาะสมทั้งแนวดิ่ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal)

2 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การจัดว่าเป็นความสัมพันธ์ในแนวนอน

3 การจัดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะมีผลไปถึงการควบคุมดูแล (Control)ให้การปฏิบัติงานในลักษณะต่าง ๆ เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ด้วย

86 ความหมายของอํานาจหน้าที่

(1) คําว่าอํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power of Command) ให้บุคคลอื่นทําตามที่ผู้ที่มีอํานาจเห็นสมควร

(2) อํานาจหน้าที่ (Authority) เป็นอํานาจที่ได้มาโดยตําแหน่งที่ดํารงอยู่

(3) อํานาจหน้าที่ (Authority) มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ

(4) การที่จะมีอํานาจและสิทธิ์ในการสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามได้นั้นจะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ของตําแหน่งหน้าที่ด้วย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

87 อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ หมายถึง

(1) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ คือ Format Authority

(2) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ เรียกว่า Legal Authority

(3) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการอาจเรียกได้ว่า Institutionalized Authority ก็ได้

(4) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

88 อะไรคือข้อจํากัดของอํานาจหน้าที่ที่เป็นทางการในองค์การ

(1) ข้อจํากัดของอํานาจหน้าที่ที่เป็นทางการในองค์การ คือ การออกคําสั่งที่ขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) ข้อจํากัดของอํานาจหน้าที่ที่เป็นทางการในการปฏิบัติงานจริง คือ ข้อจํากัดในด้านศีลธรรม เช่น ออกคําสั่งที่ขัดต่อหลักศีลธรรม

(3) ข้อจํากัดขัดหลักชีววิทยา คือ สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แรงยกของที่หนักเกินกําลังของผู้ยก

(4) ข้อจํากัดในด้านกฎหมาย คือ การสั่งงานโดยผิดข้อกฎหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 150 อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชามักจะขาดหายไปเมื่อได้มีการสั่งการในการปฏิบัติงานจริง เพราะมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น พฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมในสังคม สภาพทางภูมิศาสตร์ หลักชีววิทยา (เช่น สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แรงยกของที่หนักเกินกําลังของผู้ยก) ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมาย (เช่น การสั่งงานโดยผิดข้อกฎหมาย) นโยบาย หรือ ความด้อยความสามารถของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

89 เรื่อง “ความรับผิดชอบในองค์การ” มีลักษณะอย่างไร

(1) ความรับผิดชอบ มองในแง่การบริหารงานหมายถึง พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน

(2) ความรับผิดชอบ คือ Responsibility

(3) ความรับผิดชอบจะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวก็ได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 150 ความรับผิดชอบ (Responsibility) มองในแง่ของการบริหารงานหมายถึงพันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน โดยความรับผิดชอบ จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องจักร หรือสัตว์ ทั้งนี้ ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวไปหลังจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้

90 การมอบหมายอํานาจหน้าที่มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ

(2) การมอบหมายอํานาจหน้าที่จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ

(3) ไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้

(4) ผู้บริหารสูงสุดขององค์การที่ต้องเลือกปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะแต่งานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุด ส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ โดยจะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ ทั้งนี้วัตถุประสงค์เบื้องแรกของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ก็เพื่อที่จะทําให้การทํางานในองค์การ สามารถดําเนินไปได้ เพราะไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้ บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้ ดังนั้นผู้บริหารสูงสุด ขององค์การจึงต้องเลือกปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะงานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุด ส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

91 ลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ คืออะไร

(1) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ต้องพิจารณาตําแหน่ง (Position) ก่อนว่าควรมอบให้ผู้ดํารงตําแหน่งอะไรแล้วจึงพิจารณาบุคคลในตําแหน่งนั้น ๆ ว่ามีความสามารถหรือสมัครใจหรือไม่ แล้วจึงมอบให้

(2) เมื่อมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใดไป จะต้องพิจารณาลักษณะและปริมาณของอํานาจหน้าที่ให้เหมาะสมกันด้วย

(3) หากผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายมาไม่สําเร็จ ผู้รับผิดชอบคือผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งผู้บังคับบัญชา (ผู้มอบ) ด้วย

(4) ต้องจัดระบบการรายงานอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับการมอบหมายอํานาจหน้าที่ด้วย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 154 – 156 ทุกข้อเป็นลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ นอกจากนี้การมอบอํานาจหน้าที่ยังมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 การมอบอํานาจหน้าที่สามารถกระทําได้หลายระดับ โดยไม่จําเป็นจะต้องมอบให้แก่ผู้บังคับบัญชาในระดับกลาง ๆ เท่านั้น แต่อาจจะมอบไปยัง ผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นในระดับต่ําลงไปได้อีก

2 การมอบอํานาจหน้าที่เป็นทั้งศิลปะและหน้าที่ของนักบริหาร

92 การที่ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปควรทําอย่างไร

(1) ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าควรมอบงานชิ้นใดบ้าง

(2) ควรมีการอธิบายให้ผู้รับมอบหมายเข้าใจวัตถุประสงค์และลักษณะของงานอย่างชัดเจน

(3) ควรมีการกําหนดมาตรฐานของการปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

(4) ต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 156 – 157 เทคนิคของผู้บังคับบัญชาในการมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีดังนี้

1 ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าควรมอบงานชิ้นใดบ้าง

2 ควรมีการอธิบายให้ผู้รับมอบหมายเข้าใจวัตถุประสงค์และลักษณะของงานอย่างชัดเจน

3 ควรมีการกําหนดมาตรฐานของการปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

4 ควรให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่มอบหมายไปนั้นแก่ผู้รับมอบหมาย

5 ต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เสมอ

6 ควรใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการมอบอํานาจหน้าที่แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

93 ปรัชญาหรือทัศนคติของผู้บริหารในการตัดสินใจจะมอบอํานาจหน้าที่ คือผู้ที่มีทัศนคติแบบใด

(1) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness ที่มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน มักจะยินยอมมอบอํานาจให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานแทนเสมอ

(2) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power ก็มักจะยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นกัน

(3) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes ก็ไม่กลัวว่าเมื่อมอบอํานาจไปลูกน้องจะทําความผิด

(4) ผู้บังคับบัญชาที่มีทัศนคติแบบ Willingness to trust subordinates เป็นผู้บังคับบัญชาที่ไว้ใจผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นกัน จึงยินยอมมอบอํานาจให้เสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 158 159 ปรัชญาหรือทัศนคติของผู้บริหารในการตัดสินใจจะมอบอํานาจหน้าที่ มีดังนี้

1 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน และมักจะยินยอมมอบอํานาจให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานแทนเสมอ

2 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power เป็นผู้บริหารที่มีความเข้าใจหลักเกณฑ์และประโยชน์ของการแบ่งงานกันทํา จึงยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติแทน

3 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes เห็นว่า ทุกคนที่ปฏิบัติงานย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติงานผิดพลาดได้ และก็ไม่กลัวว่าหากมอบอํานาจไปแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) จะทําผิดพลาด

4 ผู้บังคับบัญชาที่มีทัศนคติแบบ Willingness to trust subordinates เป็นผู้บังคับบัญชาที่ไว้ใจผู้ใต้บังคับบัญชา จึงยินยอมมอบอํานาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ

94 การควบคุมงานที่มอบหมายไป ต้องทําอย่างไร

(1) ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

(2) ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการมอบหมายงาน

(3) ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวระหว่างกระบวนการของงาน

(4) ให้เสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 160 161 การควบคุมงานที่มอบหมายไป อาจกระทําได้ดังนี้

1ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

2 ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการ มอบหมายงาน

3 ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวหรือผู้บริหารอาจตั้งคําถามในระหว่างกระบวนการของงานก็ได้

4 ให้มีการเสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

95 ประโยชน์ของการมอบอํานาจหน้าที่ คืออะไร

(1) การปฏิบัติงานดําเนินไปโดยสําเร็จตามเป้าหมายได้

(2) ลดภาระของผู้บริหาร

(3) ช่วยพัฒนาและฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ช่วยสร้างขวัญและกําลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 163 164 ประโยชน์ของการมอบอํานาจหน้าที่ มีดังนี้

1 ทําให้การปฏิบัติงานดําเนินไปโดยสําเร็จตามเป้าหมายได้

2 ช่วยลดภาระของผู้บริหาร

3 ช่วยพัฒนาและฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ช่วยสร้างขวัญและกําลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

5 ช่วยเตรียมตัวให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเลื่อนตําแหน่งหรือปฏิบัติงานแทนผู้บังคับบัญชาได้

96 ความหมายของ “การรวมอํานาจในองค์การ”

(1) หมายถึง สภาวะขององค์การที่ระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจไว้ เพื่อให้การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําจากระดับสูงนั้น

(2) หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ทั้งหมดไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ให้มากที่สุดยกเว้นบางอย่างที่ต้องสงวนไว้ส่วนกลาง

(3) คือระบบในการบริหารที่มีการมอบอํานาจในการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงไป

(4) คือการบริหารที่การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําโดยผู้บริหารระดับต่ำลงมามีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 168 John Child กล่าวว่า “การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจ ส่วนใหญ่จะได้กระทําจากระดับสูงนั้น” (ส่วนตัวเลือก (2) – (4) เป็นความหมายของการกระจายอํานาจในองค์การ)

97 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ คืออะไร

(1) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูงได้มาก

(3) เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวดเร็ว

(4) ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 : หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ มีดังนี้

1 ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

2 ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 เกิดความรวดเร็ว และสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

4 ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ ที่อาจใช้ร่วมกัน เป็นต้น

5 มีลักษณะของการประสานงานเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

98 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ คืออะไร

(1) มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝนการตัดสินใจด้วย

(2) ทําให้ทรัพยากรการบริหารระมอยู่ในที่เดียวกัน

(3) เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

(4) ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ที่อาจใช้ร่วมกัน เป็นต้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้

1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูงได้มาก

2 เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว

3 ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

4 มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝนการตัดสินใจด้วย

5 โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

99 ช่วงการควบคุม คืออะไร

(1) เป็นสิ่งที่แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด

(2) คือการพิจารณาว่า ควรมีผู้ใต้บังคับบัญชากคน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงานจึงเป็นการเหมาะสม ทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

(3) คือจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้

(4) คือ Span of Control

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 179 ช่วงการบังคับบัญชา หรือช่วงการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

100 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) ระดับขององค์การ

(2) ประเภทของกิจกรรม

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้บังคับบัญชาและลักษณะขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 181 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเภทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

POL2310 ทฤษฎีองค์การ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน (รวม 100 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การตามแนวคิดและทฤษฎีที่เรียนมาโดยยกตัวอย่างทฤษฎีมาอย่างน้อย 2 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

ตัวอย่างองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การตามแนวคิดและทฤษฎีที่เรียนมา มีดังนี้ Gibson ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือตาม ความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความ สิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่งส่วนงานมีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็น การแบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง การมีขนาดของการควบคุมที่เหมาะสมจะทําให้ การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุมจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ กระจายอํานาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้ จุดสําคัญของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจ ในงานหรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

Mintzberg ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การซึ่ง

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่างเป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ ผลิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ส่วนที่จัดว่าเป็นสวนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ในส่วนที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานในส่วนนี้ได้

 

ข้อ 2 จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยองค์การกับการจัดการมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาหนทางที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดีต่อองค์การ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision-Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายในภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 3 จงอธิบายแนวคิดของนักทฤษฎีองค์การด้าน “กระบวนการ” มา 2 แนวคิด

แนวคําตอบ

แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การด้าน “กระบวนการ” มีดังนี้

1 Henri Fayol

Fayol เป็นนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส เขาได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหารไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ

3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา

4 C = Coordinating คือ การประสานงาน

5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน

นอกจากนี้ Fayol ยังได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้แก่

1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)

3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)

5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)

6 ความเสมอภาค (Equity)

7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)

8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)

9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)

10 ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)

13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Tenure of Person)

14 ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)

จากหลักการบริหารดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์ จากการแบ่งงานกันทํา และเน้นความสําคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นอกจากนี้หลักการบริหารของ Fayol นับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามา รวมอยู่ในองคการให้สามารถทํางานโดยมีประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้

  1. Luther Gulick & Lyndall Urwick

Gulick & Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดยพิจารณา ให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงานหรือจัด ตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของหน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 CO – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gutick & Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกตาม กระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

 

ข้อ 4 จงอธิบายแนวคิดและทฤษฎีด้านพฤติกรรมศาสตร์มา 1 แนวคิดโดยละเอียด

แนวคําตอบ

นักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่องของ การกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด ยุคพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Hugo Munsterberg Elton Mayo, Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ 1 แนวคิด ดังนี้

Douglas Murray McGregor

McGregor เสนอทฤษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอการปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ำให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรก ที่ช่วยทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น

(1) พระบรมราชโองการ

(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์

(3) คําสั่งในทางปกครอง

(4) คําสั่งของเผด็จการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้น จะต้องดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

2 พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระบรมราชโองการ

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น

(5) เทศบัญญัติ

ตอบ 1 หน้า 98 – 99, (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้วจะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะสิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

3 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2551 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีกฎหมาย บัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้า คสช. ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาในเรื่องนั้น ๆ

4 การรัฐประหารครั้งนี้เป็นการรัฐบระหารครั้งที่ …. ในรอบหนึ่งทศวรรษ

(1) ครั้งที่ 1

(2) ครั้งที่ 2

(3) ครั้งที่ 3

(4) ครั้งที่ 4

(5) ครั้งที่ 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารล่าสุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี) ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้าน นอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ “องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาริปไตย” ภายใต้ การนําของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

5 การรัฐประหารครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้านนอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ

(1) กลุ่มไทยเสรีเพื่อประชาธิปไตย

(2) องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

(3) องค์กรไทยเสรีเพื่อประชาธิปไตย

(4) องค์กรสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเสรีไทย

(5) กลุ่มเสรีไทยต่อต้านเผด็จการเพื่อประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

6 ข้อใดเป็นความพยายามที่จะเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในยุค ราชาธิปไตย

(1) การปฏิรูประบบเทศาภิบาล

(2) การตั้งสํานักงาน ก.พ. .

(3) กบฎ ร.ศ. 130

(4) การปฏิรูประบบราชการ

(5) คํากราบบังคมทูล ร.ศ. 103

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กบฎ ร.ศ. 130 หรือ “กบฏหมอเหล็ง” หรือ “คณะเล็กเหม็ง” เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 เป็นการก่อกบฏโดยข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยและปัญญาชนกลุ่มหนึ่งที่พยายามเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในยุคราชาธิปไตย โดยมีผู้นํา ก่อการกบฏ คือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์), ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ท.เจือ ควกุล ซึ่งการก่อกบฏในครั้งนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับคณะราษฎรในเวลาต่อมา

7 ดุสิตธานี นับเป็นความพยายามในการวางรากฐานการพัฒนาประชาธิปไตยในยุค

(1) รัชกาลที่ 4

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7

(5) รัชกาลที่ 8

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองจําลองแห่งประชาธิปไตย หรือ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อเป็นแบบทดลองของ การปกครองแบบประชาธิปไตยและเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

8 การก่อกบฏโดยข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เป็นแรงบันดาลใจให้คณะราษฎร คือ

(1) กบฏแมนฮัตตัน

(2) กบฎ ร.ศ. 130

(3) กบฎระบบสังหารอูอองซาน

(4) กบฏนายสิบ

(5) กบฏเลี้ยวเมืองแพร่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

9 ผู้ใดเรียกการปฏิวัติสยามว่าการอภิวัฒน์

(1) พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) นายพจน์ พหลโยธิน

(4) นายปรีดี พนมยงค์

(5) ม.จ.วรรณไวทยากร

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ที่เรียกการปฏิวัติสยามว่า“การอภิวัฒน์” นับแต่คณะราษฎรได้ทําการยึดอํานาจการปกครองจากพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย หรือระบอบรัฐธรรมนูญ หรือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

10 ผู้ใดเรียกการปฏิวัติสยามว่าการปฏิวัติ

(1) พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) นายพจน์ พหลโยธิน

(4) นายปรีดี พนมยงค์

(5) ม.จ.วรรณไวทยากร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ม.จ.วรรณไวทยากร (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) เป็นผู้ที่เรียกการปฏิวัติสยามว่า “การปฏิวัติ” โดยเทียบเคียงกับคําภาษาอังกฤษว่า “Revolution”รวมทั้งใช้คําภาษาไทยว่า “รัฐประหาร” เทียบเคียงกับคําภาษาฝรั่งเศสว่า “Coup d’etat”

11 กบฏบวรเดช มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า

(1) กบฎหมอเหล็ง

(2) คณะชาติ

(3) คณะเก็กเหม็ง

(4) คณะกู้บ้านกู้เมือง

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านเมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้ง ในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํากําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

12 อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) ในแง่มุมทางรัฐศาสตร์ หมายถึง

(1) การแข็งขืนต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

(2) การไม่ยอมรับอํานาจรัฐที่ฉ้อฉล

(3) การต่อต้านอํานาจรัฐโดยสันติ

(4) การยอมรับผิดชอบผลจากการแข็งขึ้นนั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) ในแง่มุมทางรัฐศาสตร์ หมายถึง การต่อต้านทางการเมืองหรือการต่อต้านอํานาจรัฐโดยสันติ ซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่ใช้ความรุนแรง และเป็นการกระทําในลักษณะของการคัดค้าน การแข็งขืนต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การไม่ยอมรับ อํานาจรัฐที่ฉ้อฉลหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้กระทําอารยะขัดขืนต้องพร้อมยอมรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายจากการกระทําของตนโดยไม่หลีกเลี่ยง

13 ผลพวงที่สําคัญของการยึดอํานาจเมื่อ พ.ศ. 2534 ทําให้เกิด

(1) การก่อตัวของกระแสปฏิรูปการเมือง

(2) การนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535

(3) การนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2553

(4) การรัฐประหารซ้ำโดยคณะปฏิรูปฯ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลพลเรือนของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลของการรัฐประหารหลายประการ เช่น คณะผู้บริหารประเทศ มีพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง, ข้าราชการการเมืองใช้อํานาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจํา ผู้ซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น การยึดอํานาจดังกล่าวยังทําให้เกิดผลพวงที่สําคัญ คือ การก่อตัวของ กระแสปฏิรูปการเมือง และการนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535

14 เหตุใดมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จึงขัดกับหลักการประชาธิปไตย

(1) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจบริหารและนิติบัญญัติร่วมกัน

(2) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจนิติบัญญัติโดยความยินยอมของฝ่ายตุลาการ

(3) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจยุติธรรม บริหาร และนิติบัญญัติร่วมกัน

(4) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจบริหารและยุติธรรมร่วมกัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ขัดกับหลักการประชาธิปไตย คือ การให้อํานาจแก่หัวหน้า คสช. เหนืออํานาจของ ฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี) นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกับมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯ 2502 คือ การกําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการร่วมกัน

15 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย

(1) การอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ

(2) การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ

(3) การประชุมลับ

(4) การตั้งกระทู้ถาม

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 16 กําหนดให้ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิก ทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้

16 การเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้โดยใครบ้าง

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติไม่น้อยกว่า 30 คน

(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน

(4) สมาชิกสภาปฏิรูปโดยคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 14 วรรค 2 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา 31 วรรค 2 แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี

17 กรณีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ และมีข้อสงสัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวด้วยการเงิน ผู้มีอํานาจวินิจฉัยคือ

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) กรรมาธิการวิสามัญ

(3) กรรมาธิการงบประมาณ

(4) ประธานสภานิติบัญญัติ

(5) ประธานสภาปฏิรูป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 14 วรรค 4 กําหนดให้ในกรณีที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย

18 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการโยกย้ายข้าราชการ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือโครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคมและระบอบในทางสังคมการเมือง เช่น วัฒนธรรมทางการเมือง อุดมการณ์

ทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งจะเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร

19 พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

(1) พรรคกิจสังคม

(2) พรรคประชาธิปัตย์

(3) พรรคอนาธิปัตย์

(4) พรรคเพื่อไทย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังชล ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

20 อริสโตเติลไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบใด

(1) ราชาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) Polity

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบประชาธิปไตย(Democracy) เพราะเชื่อว่าการปกครองโดยคนหลายคนโดยเฉพาะคนจน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นจะทําให้ขาดความมีระเบียบวินัย และก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม

21 ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ

(1) Magna Carta

(2) Erasmus Mundus

(3) Jurassic Rex

(4) Bit of Rights

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ

1 Magna Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชนช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน

2 Bit of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตูแห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัว ในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

22 การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่

(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี

(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต

(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง

(4) สวัสดิการสมาชิกสภา

(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมีข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่(ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 131)

23 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด ๆ

(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ของ ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

24 เจตจํานงทั่วไป (General Witt) ในทางทฤษฎี หมายถึง

(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง

(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง

(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด

(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไปในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

25 รัฐฆราวาส (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง

(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

26 หลักการแบ่งแยกอํานาจเป็นอํานาจบริหาร อํานาจตุลาการ และอํานาจนิติบัญญัติ เป็นแนวคิดของ

(1) นิคโคโล มาเคียเวลลี

(2) โทมัส ฮอบส์

(3) จิออร์จิโอ อากัมเบน

(4) จอห์น ล็อค

(5) มองเตสกิเออ

ตอบ 5 หน้า 16, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) หลักการแบ่งแยกอํานาจมาจากแนวคิดของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ที่เห็นว่ารัฐต้องปกครองด้วยกฎหมาย ต้องจัดระเบียบสังคมให้ เป็นไปตามที่พึงปรารถนา แต่รัฐที่ดีไม่ควรรวมอํานาจไว้ที่เดียวเพราะอาจก่อให้เกิดทรราชได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการรับประกันเสรีภาพของคนในสังคม จึงควรแยกอํานาจการปกครองออกเป็น 3 อํานาจ คือ อํานาจบริหาร อํานาจตุลาการ และอํานาจนิติบัญญัติ

27 สิทธิตามธรรมชาติตามแนวคิดของวอห์น ล็อค ได้แก่

(1) ชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน

(2) ชีวิต อํานาจอธิปไตย ทรัพย์สิน

(3) ความเสมอภาค เสรีภาพ ทรัพย์สิน

(4) ความเสมอภาค ภราดรภาพ เสรีภาพ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) ได้เน้นเรื่อง “สิทธิตามธรรมชาติ” ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ อันได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน

28 โทมัส ฮอบส์ เขียน Leviathan ในสภาวะ

(1) สันติสุข

(2) สงครามระหว่างประเทศ

(3) สงครามโลก

(4) สงครามกลางเมือง

(5) สงครามกับอเมริกาที่ประกาศอิสรภาพ

ตอบ 4

หน้า 14, (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ องค์อธิปัตย์ หรือเลวิเอธาน (Leviathan) ในสภาวะสงครามกลางเมือง งานชิ้นนี้ไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ที่เห็นว่าผู้ปกครองคือตัวแทนพระเจ้า หรือคนที่พระเจ้าคัดสรรมาแล้ว แต่จะสนับสนุนกษัตริย์แทนลัทธิเทวสิทธิ์ และเป็นรากฐานสําคัญที่ช่วยสร้างความชอบธรรม ให้แก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นเพื่อธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ มนุษย์จะต้องเข้ามาร่วมกัน ทําสัญญาประชาคมเพื่อมอบอํานาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดให้แก่รัฐหรือองค์อธิปัตย์ โดยประชาชนไม่สามารถยกเลิกสัญญาประชาคมหรือไม่มีอํานาจถอดถอนองค์อธิปัตย์ได้

29 ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร คือ

(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําาแหน่งราชการประจําได้

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(4) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสม ชิกสภาผู้แทนราษฎร

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3, 4 หน้า 30, (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหาร จะต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นต้น

30 แนวโน้มของรัฐสภาหรือสถาบันนิติบัญญัติของโลกจะเป็นระบบ

(1) สภาคู่

(2) สภานิติบัญญัติ

(3) สภาของชนชั้น

(4) สภาเดี่ยว

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากการศึกษาของสหภาพรัฐสภาสากล หรือ IPU พบว่า ปัจจุบันระบอบการเมืองแบบรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติในโลกมีแนวโน้มที่จะออกแบบให้เป็นระบบสภาเดี่ยวมากขึ้น โดยมีประเทศที่เป็นระบบสาาคู่ 77 ประเทศ (40.31%) และระบบสภาเดียว 114 ประเทศ (59.69%) แม้บางประเทศยังคงเป็นระบบสภาคู่ แต่ที่มาของทั้งสองสภานั้นก็มักมาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนมากกว่าการสรรหา เพื่อก้าวไปสู่ทิศทางของการพัฒนาประชาธิปไตย

31 ข้อใดเป็นแนวโน้มของที่มาของวุฒิสภาหรือสภาสูงในโลกปัจจุบัน

(1) มาจากการสรรหา

(2) มาจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(3) มาจากการสืบตระกูล

(4) มาจากการรัฐประหาร

(5) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป

ตอบ 5 หน้า 47, (คําบรรยาย) ในเรื่องที่เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภาหรือสภาสูงในโลกปัจจุบันนั้น พบว่ามีแนวโน้มมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (General Election) โดยจะเห็นได้จากตัวอย่าง เช่น การเลือกตั้ง โดยตรง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย (รัฐธรรมนูญฯ 2540 มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด, รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาจากการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่ง) ฯลฯ และการเลือกตั้งโดยอ้อม ได้แก่ ฝรั่งเศส ฯลฯ

32 สมาชิกวุฒิสภาไทยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีที่มาอย่างไร

(1) มาจากการสรรหา

(2) เลือกตั้งจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์

(3) มาจากการสืบตระกูล

(4) มาจากการรัฐประหาร

(5) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาแบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์) จํานวน 200 คน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

33 สถาบันนิติบัญญัติได้ชื่อว่าเป็นสถาบันคัดสรรผู้นํา เนื่องจาก

(1) นักการเมืองสามารถช่วงชิงอํานาจได้

(2) นักการเมืองสามารถใช้เวทีในสภาให้สังคมประจักษ์ถึงความสามารถ

(3) ใช้พวกมากเพื่อเป็นเสียงข้างมาก

(4) ประชาชนสามารถเลือกคนดีเข้าสภาได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันคัดสรรผู้นําก็คือ สมาชิกของสภานิติบัญญัตินั้นมาจากประชาชน ซึ่งประชาชนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ในการเลือกคนดีเข้าสภาได้ในทางสัญลักษณ์นั้นยังถือว่าตัวแทนของประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎรจะมีอํานาจอยู่เหนือวุฒิสภาด้วย

34 รัฐสภาทั่วโลกมีลักษณะพิเศษคือ

(1) การพิจารณาร่างกฎหมาย

(2) ติดตามควบคุมด้านการคลัง

(3) การให้การรับรองประมุขแห่งรัฐ

(4) การเป็นฝ่ายค้าน

(5) ทําหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ

ตอบ 1 หน้า 46 การผ่านร่างกฎหมายหรือการพิจารณาร่างกฎหมาย ถือเป็นลักษณะบทบาทและหน้าที่ร่วมกันของรัฐสภาทั่วโลก แม้ว่าระบบการเมืองในประเทศนั้น ๆ จะปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ความจําเป็นในการออกกฎหมายเพื่อนํามาบังคับใช้ในสังคม และควบคุมตรวจสอบการทํางานของฝ่ายบริหารนั้นยังมีความสําคัญอย่างยิ่งในทุกระบบการเมือง

35 แม้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ส่วนที่เป็น “รัฐธรรมนูญ” จะอยู่ใน

(1) พระราชบัญญัติ

(2) กฎหมายจารีต

(3) ธรรมเนียมรัฐธรรมนูญ

(4) สนธิสัญญา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร (or codified Constitution) หรือ “รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี” ซึ่งไม่ได้มีการรวบรวมไว้ในเอกสาร ลายลักษณ์อักษรฉบับใดฉบับหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นหมวดหรือเป็นรายมาตรา แต่มีการ อ้างอิงส่วนที่เป็นรัฐธรรมนูญอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ กฎหมายจารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญา เป็นต้น

36 หลักการร่วมอํานาจในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษสะท้อนมาในรูปของ

(1) การที่สมาชิกสภาขุนนางสามารถสืบตระกูลได้

(2) ผู้พิพากษาสามารถดํารงตําแหน่งในสภาขุนนางได้

(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นรัฐมนตรีได้

(4) เฉพาะข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของหลักการร่วมอํานาจในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ ได้แก่

1 ผู้พิพากษาสามารถดํารงตําแหน่งในสภาขุนนางได้

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นรัฐมนตรีได้ เป็นต้น

37 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) วาระ 2 ปี

(2) วาระ 3 ปี

(3) วาระ 4 ปี

(4) วาระ 5 ปี

(5) ตลอดชีพ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จํานวน 150 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 500 คน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

38 ผู้ควบคุมเสียงในสภา เรียกว่า

(1) ประธานรัฐสภา

(2) หัวหน้ามุ้งต่าง ๆ

(3) วิป

(4) ประธานกรรมการวิสามัญ

(5) กรรมาธิการ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิป (Whip) หมายถึง ผู้ควบคุมเสียงในสภา ซึ่งจะทําหน้าที่ประสานงานของพรรคการเมืองแต่ละพรรคในสภา เช่น ควบคุมเสียงของพรรคในเวลาลงมติในเสภา การจัดวางผู้ที่จะทําการอภิปรายของพรรค รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและวินัยภายในพรรค เป็นต้น

39 เพื่อแสดงถึงหลักการอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนตามแนวทางประชาธิปไตยสากล สภาผู้แทนราษฎรมักถูกออกแบบให้

(1) มีอํานาจน้อยกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

(2) มีอํานาจสูงกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

(3) ทําหน้าที่ร่างกฎหมายเท่านั้น

(4) ทําหน้าที่ตรวจสอบการทํางานของรัฐเท่านั้น

(5) มีอํานาจเท่า ๆ กับสถาบันการเมืองอื่น ๆ

ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย) ในแนวทางประชาธิปไตยสากลนั้น ทฤษฎี (หลักการ) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนอํานาจของประชาชน และให้ประชาชนใช้อํานาจได้ ตลอดเวลา โดยทฤษฎีนี้จะปฏิเสธระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข หรือปฏิเสธความเชื่อว่าอํานาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์ ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจสูงกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

40 รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2557 ขาดหลักการพื้นฐานในข้อใด

(1) การแยกอํานาจ

(2) การยึดโยงกับประชาชน

(3) การตรวจสอบถ่วงดุล

(4) การร่วมอํานาจระหว่างสภาปฏิรูปกับสภานิติบัญญัติ

(5) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ขาดหลักการพื้นฐานในเรื่องของการยึดโยงกับประชาชน และการตรวจสอบถ่วงดุส ทั้งนี้เพราะเมื่อดูบทบัญญัติเกี่ยวกับการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรี แล้วพบว่า การใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารเป็นแต่เพียงอํานาจเบ็ดเสร็จของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) เท่านั้น ไม่มีความเชื่อมโยงยึดโยงกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย อีกทั้ง ยังให้ สนช. เป็นผู้ทําหน้าที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภาในคราวเดียวกัน

41 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิกจํานวนกี่คน

(1) 200

(2) 220

(3) 250

(4) 299

(5) 300

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 6 วรรค 1 กําหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา

42 ในการเลือกตั้งครั้งแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดให้ คสช. สามารถสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้จํานวนกี่คน

(1) 200

(2) 220

(3) 250

(4) 299

(5) 300

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

43 ผู้ใดทรงไว้ซึ่งอํานาจนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ 2557

(1) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(2) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

(3) หัวหน้า คสช.

(4) รัฐสภา

(5) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

44 อายุของสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจาก คสช. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ดํารงตําแหน่งก็ปี

(1) 1 ปี

(2) 3 ปี

(3) 5 ปี

(4) 7 ปี

(5) ไม่มีข้อกําหนดชัด

ตอน 3 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

45 การเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติจะต้องมีสมาชิกเข้าชื่ออย่างน้อย…คน

(1) 10

(2) 15

(3) 20

(4) 25

(5) 30

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

46 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กําหนดให้นายทหารเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่งกี่ตําแหน่ง

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 269 (ค) กําหนดให้นายทหารเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง 5 ตําแหน่ง ได้แก่

1 ปลัดกระทรวงกลาโหม

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 ผู้บัญชาการทหารบก

4 ผู้บัญชาการทหารเรือ

5 ผู้บัญชาการทหารอากาศ

47 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มีมาตราที่มีลักษณะคล้ายมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 แต่ให้อํานาจหัวหน้า คสช. เหนือนายกรัฐมนตรี คือมาตรา

(1) 17

(2) 20

(3) 25

(4) 32

(5) 44

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

48 หากสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ดําเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วส่งมอบต่อคณะรัฐมนตรีและ คสช. จึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ คสช. จะต้องพิจารณาเสนอความเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญนั้น ภายในระยะเวลากี่วัน

(1) 15

(2) 20

(3) 25

(4) 30

(5) 60

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 36 วรรค 2 และ 3 กําหนดให้ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ (สปช.) อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ สปช. เสร็จสิ้น การพิจารณาให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและ คสช. ด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือ คสช. จะเสนอความคิดเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ

49 การกีดกันมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติหลังรัฐประหาร ปรากฏในการ

(1) ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การห้ามพรรคการเมืองดําเนินกิจกรรมทางการเมือง

(3) ห้ามสมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะ 3 ปี ก่อนจะเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกีดกันมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลังรัฐประหาร ปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 8 (1) ซึ่งกําหนดให้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารง ตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

50 ข้อใดคืออํานาจของวุฒิสภาในวาระแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2550

(1) การให้ความเห็นชอบถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(2) อํานาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

(3) อํานาจในการออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี

(4) อํานาจในการให้ความเห็นชอบการลงมติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในวาระแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้นแตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือ “อํานาจในการออก เสียงเลือกนายกรัฐมนตรี” โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้กําหนดให้ การพิจารณาให้ความเห็นชอบ บุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทํา โดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองเภา (มาตรา 272 วรรค 1)

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 61 – 70.

(1) ถูก

(2) ผิด

 

51 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยินยอมแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อแสดงความโปร่งใสโดยไม่มีผู้ใดร้องต่อศาลปกครองให้ระงับการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะเลย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พล.อ.นพดล อินทปัญญา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับพวกรวม 28 คน ได้ร้องต่อศาลปกครองว่า การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติให้ตนยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. และให้ประกาศเปิดเผย บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตนมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง จึงเห็นว่าไม่จําเป็นต้องกระทําตามนั้น

52 กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ก็เมื่อผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติและทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงประทานลงมาแล้วก็ถือว่าเป็นกฎหมายไม่จําเป็นต้องตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ราชกิจานุเบกษา เป็นหนังสือรวบรวมคําประกาศของทางราชการ ซึ่งเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคําสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการ ดังนั้นกฎหมายที่นําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงประทาน ลงมาแล้วจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือต้องตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน

53 มองเตสกิเออ เป็นผู้เสนอแนวความคิดที่สนับสนุนกษัตริย์แทนลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

54 ฮอบส์ เชื่อว่าสภาพธรรมชาติเป็นสภาวะสงครามระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงครามมนุษย์จึงตกอยู่ในความกลัวเพราะแม้ผู้ที่แข็งแรงที่สุดก็อาจถูกฆ่าในยามหลับ หวาดระแวง และไม่มั่นใจว่าความต้องการของตนเองจะบรรลุในระยะยาว ดังนั้นเพื่อให้ตนองปลอดภัยมนุษย์จึงคาดหวังจะสร้างสัญญาประชาคมที่จะให้ชีวิตที่ดีกว่าภาวะธรรมชาติ

55 ในอดีต มักมองว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสถานะเป็นเพียงสภาตรายาง คือไม่มีบทบาทในการตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทยในอดีต มักถูกมองว่ามีสถานะเป็นเพียงสภาตรายางคือ ไม่มีบทบาทในการตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล (ที่ได้อํานาจมาจากการก่อรัฐประหาร) แต่อย่างใด เป็นแค่เพียงสภาตรายางเพื่อประทับรับรองความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งทําให้สังคมไทยขายความเชื่อมั่นในการทําหน้าที่ของสภานิติบัญญัติตราบจนปัจจุบัน

56 ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการประจําและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูปและคณะรัฐมนตรี มองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติสภาปฏิรูป และคณะรัฐมนตรีนั้น ถูกมองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตยซึ่งจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เช่น ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แจะจอมพลถนอมกิตติขจร เป็นต้น

57 การรัฐประหารที่ล้มเหลวเรียกว่า “กบฏ” ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยมีกบฏที่ถูกประหารชีวิตจากกรณีกบฏนายสิบเท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารที่ล้มเหลว เรียกว่า “กบฏ” (Rebellion) ตามกฎหมายของไทยนั้น กบฏเป็นความผิดทางอาญา ฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลง รัฐธรรมนูญ ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยนั้นพบว่ามีผู้ก่อการกบฏถูกประหารชีวิตหลายคน เช่น ส.อ.สวัสดิ์ มะหะหมัด (กรณีกบฏนายสิบ), พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ (กรณีกบฏ 26 มีนาคม 2520),ร.ท.ณเณร ตาละลักษณ์ (กรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ) เป็นต้น

58 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพลคณะราษฎรในการเมืองไทยร่วมสมัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพล “คณะราษฎร”ในการเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อกลุ่มทหารนอกราชการที่นําโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอํานาจ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (ซึ่งสืบอํานาจต่อจากรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์) โดยการรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการขจัดกลุ่มอํานาจเก่าของนายปรีดี ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง แม้จะมีความพยายามกลับมาทํากบฏวังหลวงในปี พ.ศ. 2492 แต่ก็ไม่สําเร็จ

59 สัญญาประชาคม (Social Contract) เป็นผลงานทางความคิดของชอง ชากส์ รุสโซ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

60 ทฤษฎีอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนยอมรับและยืนยันว่าประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

61 การปฏิวัติร่มในฮ่องกง เป็นไปเพื่อเรียกร้องเอกราชจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิวัติร่ม (Umbrella Revolution) ในฮ่องกง เป็นไปเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย

และสิทธิทางการเมืองของชาวฮ่องกง ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้จะพบภาพการต่อสู้ของผู้ประท้วงที่มี เพียงร่มหลากสีเป็นอาวุธในการป้องกันแก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ โดยเฉพาะร่มสีเหลือง และเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่า การปฏิวัติร่ม/การปฏิวัติร่มเหลือง โดยมีนายโจชัว หว่อง เป็นแกนนําดังกล่าว

62 ฮอบส์ เชื่อว่าประชาชนมีอํานาจถอดถอนองค์อธิปัตย์ได้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

63 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของรัฐสังคมนิยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) เป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสําคัญ ซึ่งเห็นว่ารัฐจะต้องเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ และรัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

64 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของรัฐประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ความสําคัญต่อการใช้อํานาจอธิปไตยโดยประชาชน จึงมีหมวดว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของ ตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

66 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

67 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

68 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี ฃ

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

69 ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการประจําและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูปและคณะรัฐมนตรี มองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

70 การศึกษาของประชาชนถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นการศึกษาของประชาชนได้ถูกนํามาใช้เป็นเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฯ 2475 ได้กําหนดให้สมาชิกประเภทที่ 2 (ส.ส. ที่มาจากการแต่งตั้ง) จะถูกยกเลิก หากมีจํานวนราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด หรือในระยะเวลา 10 ปี

 

ข้อ 71. – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71

(1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72

(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73

(1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ(Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง

คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74

(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77. เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆคือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการเนรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75

(1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76

(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขันคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77

(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้ ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79

(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81

(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83

(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84

(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรีหรือ ผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85

(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง ของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา

1 (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษ หรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87

(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88. – 95. ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภา แต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติหอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96. – 100. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ การตราพระราชบัญญัติ

ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2 หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระคือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 55) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง สองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลง พระปรมาภิไธยแล้ว

Pol3101 วิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา Pol 3101 วิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทั้ง 4 ข้อ แต่ละข้อต้องเขียนแสดงออกซึ่งความคิดเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน อย่างน้อยข้อละประมาณ 3 – 5 หน้า

ข้อ 1 (ก.) การเปรียบเทียบคืออะไร ? ทําอย่างไร ? ศึกษาอะไรบ้าง ? มีประโยชน์อย่างไร ? มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร ? เหมือนหรือต่างกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) อย่างไร ? สังคมโลกปัจจุบันสนใจศึกษาเปรียบเทียบเรื่องอะไรบ้าง ? และ

(ข.) โครงสร้างคืออะไร ? สําคัญอย่างไร ?

จงเปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบ ตามแนวคิดของ David Easton กับของ Gabriel Almond อธิบายให้ละเอียดโดยยกตัวอย่างเกิดขึ้นจริงในชีวิตสังคมการเมืองไทย

แนวคําตอบ

การเปรียบเทียบ คือ การศึกษาวิเคราะห์ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของคุณลักษณะ ต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาเปรียบเทียบนั้นไม่จําเป็นในการตัดสินว่า ระบบการเมืองใดหรือสถาบันการเมืองใดดีที่สุด แต่เพื่อการเรียนรู้มากขึ้นว่า ทําไม (Why) หรืออย่างไร (How) ในความเหมือนหรือความแตกต่าง และความเหมือน หรือความแตกต่างนั้นได้ส่งผลกระทบอะไรบ้าง

ลักษณะการศึกษาแปรียบเทียบ พิจารณาได้จาก

1 ความเหมือนและความแตกต่าง

ความเหมือน (Similarities) เป็นลักษณะที่สอดคล้องกัน หรือคล้ายกันของสิ่งที่นํามา เปรียบเทียบ ส่วนความแตกต่าง (Differences) จะเป็นลักษณะที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจมีลักษณะของความ แตกต่างกันน้อย แตกต่างกันมาก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ดูว่ารัฐธรรมนูญฯ 2550 มีเนื้อหาใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แตกต่างกับร่างรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไร เป็นต้น

โดยส่วนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ก็คือ องค์ความรู้หรือข้อมูลนั้นเอง ถ้าเรามีความรู้เฉพาะรัฐธรรมนูญฯ 2550 เพียงอย่างเดียวแต่ไม่รู้เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างก็ไม่สามารถทําได้ เนื่องจากข้อมูลที่นํามา เปรียบเทียบมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น

2 หน่วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นกรอบของการวิเคราะห์ที่ใช้ในการศึกษา ทางการเมือง เพื่อให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่แน่นอน ซึ่งก็คือ การเลือกหน่วยที่จะทําการเปรียบเทียบนั่นเอง โดยอาจจะเป็นปัจจัยบุคคล องค์กร สถาบัน หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้หลักความเหมือนหรือความแตกต่าง และใช้ปัจจัยดังกล่าวในการเปรียบเทียบ สําหรับตัวอย่างของหน่วยการวิเคราะห์ทางการเมือง เช่น ผู้นํา บทบาท องค์กร สถาบันต่าง ๆ ทางการเมือง เป็นต้น

หน่วยการวิเคราะห์นั้นถือว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ เพราะจะทําให้สามารถศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากมุมมองในการอธิบายการเมืองนั้น มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากไม่มีหน่วยการวิเคราะห์ก็จะไม่ทราบว่าควรจะเริ่มศึกษาจากตรงไหน หรืออาจทําให้ การวิเคราะห์ไม่มีกรอบที่ชัดเจน ซึ่งทําให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่ไม่แน่นอน

ผู้ศึกษาจะต้องตั้งปัญหาพื้นฐานถามตัวเองก่อนว่า ควรจะนําหน่วยการวิเคราะห์อะไร มาใช้ในการศึกษาทางการเมือง เช่น ถ้าต้องการจะศึกษาผู้นํา หน่วยการวิเคราะห์ก็คือ ตัวผู้นํา โดยอาจจะมุ่งไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรีหรือเปรียบเทียบความเป็นผู้นําของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับนายกรัฐมนตรีคนก่อนในแง่ของ บุคลิกภาพ ดังนั้นหน่วยการวิเคราะห์ตรงนี้ก็คือตัวนายกรัฐมนตรีนั่นเอง นอกจากนี้จะเห็นว่าในการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะวิเคราะห์หน่วยเหนือขึ้นไป เช่น กลุ่มทางสังคม สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ

3 ระดับการวิเคราะห์

ระดับการวิเคราะห์ (Level of Analysis) เป็นการจัดชั้นและระดับของระบบการเมือง เพื่อทําให้เกิดความชัดเจนที่ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ถึงหน้าที่และโครงสร้างของระบบการเมืองนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับการเมืองไทยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น

ในการเปรียบเทียบที่มีการจัดระดับในการวิเคราะห์นั้น จะทําให้การศึกษาเปรียบเทียบ สามารถมองเห็นหรือเปรียบเทียบให้เห็นในทุกระดับ ตั้งแต่การวิเคราะห์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งในการเปรียบเทียบนั้นจะต้องเปรียบเทียบในระดับเดียวกัน

4 การแจกแจงข้อมูล

การแจกแจงข้อมูล (Classification) เป็นการจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจะทําให้ผู้ศึกษาสังเกตเห็นความเหมือน (Similarities) และความแตกต่าง (Differences) ของข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่าง ชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดทิศทางในการเลือกสรร การรวบรวม การจัดระบบระเบียบของข้อมูล และสร้าง กรอบความคิด ยุทธวิธีในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น การศึกษาข้อมูลในเรื่องการมีส่วนร่วม ทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อมูลที่ได้ควรจะต้องมีการจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในการ เลือกตั้ง การเสนอกฎหมาย ฯลฯ โดยจะต้องใช้ข้อมูลที่มีการแจกแจงอย่างเดียว กันมาพิจารณา

สิ่งที่มักนํามาศึกษาเปรียบเทียบ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการเมือง

2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น

7 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง

8 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง

9 การวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาผู้แทนราษฎร

10 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวุฒิสภา เป็นต้น

 

ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ

1 ช่วยให้ผู้ศึกษามองเห็นการเมืองและการปกครองของประเทศอื่นได้ชัดเจนและลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น อันจะนํามาสู่ความเข้าใจต่อการเมืองของประเทศตัวเองที่ดีกว่าเดิม เมื่อผู้ศึกษาสามารถเชื่อมโยงอิทธิพล ความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างประเทศเหล่านั้นกับประเทศตัวเองได้

2 ช่วยให้ผู้ศึกษาหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อชาติตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) ใน การตัดสินผู้อื่น อันนําไปสู่การเปิดใจกว้างต่อการปกครองที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพราะรูปแบบการเมืองและการ ปกครองของประเทศที่ผู้ศึกษาอาศัยอยู่นั้นไม่ได้มีลักษณะเฉพาะตัวมาตั้งแต่ต้น หากแต่ได้รับอิทธิพลและได้ ผสมผสานกับรูปแบบการเมืองการปกครองของประเทศอื่นมานาน

3 ช่วยให้ผู้ศึกษามีทางเลือกหรือการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่หลากหลายกว่าเดิมจาก การเรียนรู้ถึงบริบท และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ

4 ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจภาวะปัจจุบัน รวมไปถึงกฎเกณฑ์สากลเกี่ยวกับการเมืองโลก เป็นต้น

ความเป็นวิทยาศาสตร์ของการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือเป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งเม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษา เหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัยรูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคมหรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา เปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ

1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากความคิดและสติปัญญา โดยการตรึกตรองและ การวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผล ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตัวแปรที่ควบคุมได้ แล้วจึงทําการทดสอบเพื่อหาข้อสรุป ที่ต้องการ

2 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้ทําการศึกษา ซึ่งได้แก่ การดู การฟัง การสัมผัส เป็นต้น โดยจะต้องปลอดจากค่านิยมหรือตัดอคติออกไปแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และ เชื่อถือได้

เทียบกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) ได้ดังนี้ :

1 การเลือกปัญหา (Problem Selection) จะเกี่ยวพันกับการสร้างทฤษฎีเพื่อเป็น องค์ประกอบของการสร้างปัญหาที่จะวิเคราะห์ว่าปัญหานั้น ๆ ควรมีตัวแปรอะไรเข้าไปเกี่ยวพันบ้าง และเมื่อมี ตัวแปรเหล่านั้นแล้วจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์อะไรบ้าง ผู้ที่จะสร้างทฤษฎีทางสังคมจะต้องเลือกปัญหาที่มี ผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม และต้องเป็นประเด็นที่คนส่วนมากให้ความสนใจ ผู้เลือกปัญหามาศึกษา จะต้องเป็นผู้มีจิตนาการที่กว้างไกลและมีความสํานึกต่อปัญหาสังคมนั้น ทั้งนี้เพราะปัญหาสังคมที่ล้ำลึกบางครั้ง เกิดจากสภาพสามัญสํานึกของนักทฤษฎีที่มีความรู้สึกว่าประเด็นนั้น ๆ สําคัญนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ บุคคล ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบจะต้องอาศัยทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ทางสังคมเข้ามาช่วยอธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคม

2 การสังเกตอย่างเป็นระบบ (Systematic Observation) จะช่วยในการสร้างตัวแบบใน การเปรียบเทียบ ซึ่งจะต้องมีการจัดลําดับ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ และที่สําคัญจะต้องมีการพรรณนาข้อมูลที่ได้มา ในเชิงวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ นักสังคมศาสตร์นั้น ๆ จะต้องเป็นผู้มีจินตนาการ รู้จักจัดสรรข้อมูล และที่สําคัญจะต้อง สามารถอธิบายข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างเป็นระบบ มิใช่แต่นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่จะต้องมีความสามารถในการ พรรณนาข้อมูลที่ค้นคว้ามา นักเคมี นักชีววิทยา และนักฟิสิกส์ก็จะต้องมีความสามารถในการสังเกตและพรรณนา ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตอยางเป็นระบบด้วย เมื่อข้อมูลที่จัดเก็บมาอย่างเป็นระบบนั้นถูกนํามาวิเคราะห์ ก็จะ สามารถตั้งเป็นสมมุติฐานและทําการทดสอบต่อไปได้นั่นเอง

การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือเป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษา เหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัยรูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคม หรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา เปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ

สังคมโลกปัจจุบันสนใจศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1 การพัฒนา ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน และชี้วัดความเป็นอยู่ของประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการพัฒนานั้นจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาใน ” ด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม เป็นต้น

2 ความเป็นประชาธิปไตย ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะมีลักษณะที่สําคัญ คือ ต้องยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ต้องมีการเลือกตั้ง ยึดหลักของเสียงข้างมาก สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพและการรับฟัง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีเสรีภาพ ในการแสดงออก มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล

3 สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน และเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

โครงสร้าง คือ แบบแผนของกิจกรรมที่ทํากันสม่ําเสมอ โดยผู้ที่กระทํากิจกรรมจะมีบทบาท แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมบทบาทของกิจกรรมเหล่านี้เข้าด้วยกันจะได้เป็นโครงสร้างนั้น ๆ เช่น โครงสร้างของรัฐสภา ประกอบด้วย ประธานสภา รองประธานสภา เลขาธิการ และสมาชิก ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีบทบาทแตกต่างกันไป แต่เมื่อ เรารวมเอาบทบาทของส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว เราก็จะได้โครงสร้างของรัฐสภานั้นเอง

โครงสร้างก็เปรียบได้กับสรีระร่างกายของคน ส่วนภายในสรีระนั้นก็ประกอบด้วยหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ระบบการหายใจ ระบบหมุนเวียนของเลือด ระบบการขับถ่าย ระบบของการย่อย ระบบการเคลื่อนไหว เป็นต้น ซึ่งการทําหน้าที่ของระบบต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อทําให้โครงสร้างสามารถดํารงอยู่ได้

เปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบของ David Easton และ Gabriel Almond

David Easton นั้นได้เสนอแนะการวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบโดยดูหน่วยการวิเคราะห์ เชิงระบบ ซึ่งเขาเห็นว่าการใช้ระบบในการวิเคราะห์การเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์เข้ากันและเรียกว่า “การเมือง” ได้ การศึกษาของเขาช่วยสร้างศาสตร์แห่งการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างระบบที่เชื่อมโยงการเมืองในที่ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถเปรียบเทียบในเชิงปรากฏการณ์ทางการเมือง สรีระของสังคม และพฤติกรรมของระบบการเมืองได้

 

1 ปัจจัยนําเข้า (Input) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) การเรียกร้อง (Demand) อาจจะเป็นการเรียกร้องเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ทางรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของการเรียกร้องเอง เช่น กรณีประชาชนที่เดือดร้อน ในเรื่องที่ทํากินและปัญหาหนี้นอกระบบ ถ้าประชาชนเพียงคนเดียวเรียกร้องรัฐบาลอาจจะไม่รับฟัง หรือรับฟังแต่ไม่ตอบสนอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนจํานวนมากรวมตัวกันเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชุมนุมเดินขบวนปิดถนน ฯลฯ ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็จะมีผลเกิดขึ้น กล่าวคือ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีจะรับฟังและนําไปพิจารณาต่อไป

2) การสนับสนุน (Support) สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ

– การสนับสนุนประชาคมทางการเมือง คือ การที่สมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในระบบการเมือง มีความผูกพันกันในแง่ของความตั้งใจร่วมมือร่วมแรงกันในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมือง ซึ่งจะแสดงออกโดยการแบ่งงานกันทํา เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มนักศึกษา กลุ่มสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุน ประชาคมทางการเมืองนั้นจะเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเจ้าของสังคมร่วมกันนั่นเอง

– การสนับสนุนระบอบการเมือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้าง ความชอบธรรมของระบอบการเมืองในการทําให้สมาชิกยอมรับ เช่น ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมที่จะ ให้สมาชิกของสังคมยอมรับในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองด้วย แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามระบอบ การเมืองไม่ได้รับการสนับสนุนจะมีผลเสียอย่างมาก นั่นคือ มีผลทําให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรง เกิดจลาจลขึ้นได้

– การสนับสนุนผู้มีอํานาจหน้าที่ทางการเอง หมายถึง การสนับสนุนบุคคล ที่เข้าไปทําหน้าที่บริหารบ้านเมืองหรือรัฐบาล โดยดูจากความพึงพอใจของสมาชิกต่อการตัดสินใจของระบบ เช่น การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ํามัน หรือดูจากความพอใจต่อนโยบาย รถยนต์คันแรก เป็นต้น

 

2 ระบบการเมือง (System) ประกอบด้วย

1) ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) ทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปสู่ระบบ การเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างผู้เฝ้าประตู เช่น กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง เป็นต้น

2) รัฐบาล หรือรัฐสภา (ผู้ตัดสินใจ)

3 ปัจจัยนําออก (Output) อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

1) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบ การเมือง เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานสูง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการเมือง

2) เกิดจาาการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองเอง ซึ่ง Output ประเภทนี้จะมีผล ต่อระบบการเมืองและสภาพแวดล้อมของระบบ

จะเห็นได้ว่า จจัยที่ผ่านออกมาจากระบบนั้น จะมีลักษณะบังคับ เช่น ประกาศ คําสั่ง ข้อบังคับ กฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้การดําเนินการยังมีผลผูกพันเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้ออํานวยประโยชน์และ ความสะดวกแก่คนบางกลุ่มในระบบนั้นเอง

4 การสะท้อนป้อนกลับ (Feedback) ก็คือ การป้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อนํามาสู่กระบวนการ Input อีกครั้งหนึ่งว่า Output ที่ออกไปนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร

5 สิ่งแวดล้อม Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิ่งแวดล้อมภายใน (internal Environment) ซึ่งจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด กับระบบการเมืองมาก ประกอบด้วย

– สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสภาพทั่วไป เช่น อาคาร สิ่งปลูกสร้างชุมชน ถนน ลำคลอง ฯลฯ

– สิ่งแวดล้อมทางชีววิทยา เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความมีเหตุผล การร่วมมือร่วมใจกัน และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคม ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมในสังคม โครงสร้างทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างด้านประชากร ฯลฯ

2) สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่น วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำของโลก ปัญหาที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

ส่วน Almond นั้นเชื่อว่าถ้าผู้ศึกษาเปรียบเทียบให้ความสําคัญกับการศึกษาพฤติกรรมและการ แสดงออกของคนจะช่วยให้การศึกษาเปรียบเทียบก้าวสู่ขั้นที่ก้าวหน้าไปจากการศึกษาเดิมที่ให้ความสําคัญกับ กฎหมายและพิธีการ และจากหน่วยการเคราะห์เดิมที่ศึกษาสถาบันทางการเมืองเป็นหลัก นักรัฐศาสตร์ก็จะหันมา สนใจ “บทบาท” (Role) และ “โครงสร้าง” (Structure) ซึ่ง Almond ได้ให้คําจํากัดความของบทบาทว่าเป็นหน่วยที่มี การปะทะสัมพันธ์ในระบบการเมือง และแบบแผนของการปะทะสัมพันธ์ก็คือระบบนั่นเอง

– Almond ได้รับอิทธิพลทางความคิดในการวางแผนเปรียบเทียบระบบการเมืองจาก David Easton ในหนังสือชื่อ “ระบบการเมือง” (The Political System)

Almond เห็นว่า หน้าที่ (Function) ของระบบการเมืองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

1 หน้าที่ในการส่งปัจจัยเข้าสู่ระบบ (Input Function) ได้แก่

1) การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ซึ่งถือว่าเป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเมือง และการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย

2) การคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบการเมือง (Political Recruitment) ซึ่งหมายถึง  การคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ทางการเมือง

3) การเป็นปากเสียงของผลประโยชน์ที่ชัดเจน (Interest Articulation) หมายถึง การแสดงออกถึงความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยที่ตัดสินใจกําหนด นโยบายต่อไป

4) การรวบรวมผลประโยชน์ (Interest Aggregation) ก็คือ การสมานฉันท์ของ การเรียกร้องที่เสนอเข้าสู่ในระบบการเมือง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น

5) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) คือ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ข่าวสารของส่วนต่าง ๆ ในระบบและระหว่างระบบ

 

2 หน้าที่ในการส่งปัจจัยออกจากระบบการเมือง (Output Functions) ได้แก่

1) การออกกฎระเบียบ (Rule Making) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ

2) การบังคับใช้กฎระเบียบ (Rule Application) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายบริหาร

3) การตีความกฎระเบียบ (Rule Adjudication) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายตุลาการ โดย Almond มีความเห็นสอดคล้องกับ Easton นั่นคือ การเรียกร้องและการสนับสนุน

– การเรียกร้อง แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ

1) การเรียกร้องให้มีการจัดสรรสินค้าและบริการ เช่น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มสถานศึกษา เพิ่มสถานพยาบาล ฯลฯ

2) การเรียกร้องให้มีการออกกฎควบคุมความประพฤติ เช่น การขอให้มีการควบคุมราคาสินค้า คุ้มครองลิขสิทธิ์ ปราบปรามโจรผู้ร้าย ฯลฯ

3) การเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในระบอบการเมือง เช่น เรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

4) การเรียกร้องให้มีการสื่อสารและได้รับทราบข้อมูลจากระบบการเมือง เช่น ต้องการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การยืนยันสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายว่าไม่ผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน ฯลฯ

การสนับสนุน มีอยู่ 4 ประการ คือ

1) การสนับสนุนทางวัตถุ เช่น การสนับสนุนในรูปตัวเงิน การจ่ายภาษีให้รัฐโดยไม่บิดพลิ้ว การเข้ารับราชการทหาร ฯลฯ 2) การเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เช่น การให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ

3) การสนับสนุนในลักษณะที่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้ง การออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

4) สนใจข่าวสารของรัฐ เคารพผู้มีอํานาจทางการเมือง สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพิธีการของสังคม

 

ข้อ 2 (ก.) การพัฒนาคืออะไร ? พัฒนาเรื่องอะไรบ้าง ? พัฒนาอย่างไร ?

(ข) การพัฒนาที่แท้จริงคืออะไร ? ท่านคิดว่าสังคมไทยมีการพัฒนาที่แท้จริงหรือไม่ ? หรือเป็นเพียง“การทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา” ? ทําไม ? จงอธิบายและระบุตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงดังกล่าวให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

(ค) สังคมไทยจําเป็นต้องกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมในมิติใดบ้าง เพื่อให้เกิดมีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงที่ระบุในข้อ ข. และ

(ง.) ใครหรือองค์กรใดบ้างจะทําหน้าที่เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ระบุและอธิบายให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

การพัฒนา (Development) คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมี เป้าหมายที่ชัดเจน เช่น

– การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การทําให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทําให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม

– การพัฒนาการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการ เรียนรู้ของประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมไปถึงส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

– การพัฒนาสังคม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพื่อประชาชนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทํา มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค ความยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนอย่างมี ระบบ เป็นต้น

การพัฒนาที่แท้จริง คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการกระจายรายได้ ที่เป็นไปอย่างเสมอภาค นั้นคือ ประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน และนําไปสู่ความกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยถ้วนหน้า

ในสังคมไทยนั้นถือว่ายังไม่มีการพัฒนาที่แท้จริง เป็นเพียง“การทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา” คือ ลักษณะของการทําตามสมัยที่นิยมกัน หรือกลุ่มชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยในการดํารงชีวิต เช่น การแต่งกาย การจับจ่ายใช้สอย การกิน การปฏิบัติตน ฯลฯ ซึ่งคนที่ทําตามกันนี้จะเรียกว่า คนทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันกลับหา เนื้อหาสาระสําคัญที่ควรจะเป็นไม่ได้ ทําตามแต่เปลือกไม่ได้เอาแก่นสําคัญมาด้วย หรือทําตามทั้ง ๆ ที่ผิด ไม่มีการแยกแยะจึงทําผิดตามไปด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพเมื่อเปรียบกับสังคมที่พัฒนาแล้ว

ตัวอย่างของการทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา เช่น

– การที่คนไทย ส่สูท (อย่างตะวันตก) ประชุมงานระดับโลก แต่การตัดสินใจยังใช้ความรู้สึกการคาดเดา มากกว่าที่จะใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือคู่มือที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาแล้ว

– การที่คนไทยมีรถยนต์หรูหรือยี่ห้อดัง ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่กลับพบว่าไม่มีรถยี่ห้อของคนไทยสักที ทั้งที่เป็นเวลากว่าร้อยปีแล้วที่มีรถยนต์เข้ามาในประเทศ

– การได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนที่สูง หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่มีความเสื่อมถอยทางปัญญา เชื่อโฆษณา ติดความหรูหรา ซื้อของที่ ไร้ค่าในราคาแพง มีนิสัยฟุ่มเฟือย ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนมีคุณค่า/ไร้คุณค่า ซื้อแค่ตามแฟชั่นเท่านั้น

– โรงพยาบาลนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เพียงเพื่อหวังผลทางธุรกิจการแพทย์ โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ – การมีห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่โต แต่กลับพบว่ามีสินค้าถูกปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงที่ขายปนกับอาหาร – การปลูกบ้านที่สวยงามใหญ่โต หรือสร้างถนนหนทางใหม่ ซึ่งไปขวางทางน้ำจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ทุกปี

– การใช้โทรศัพท์เกินความจําเป็น โทรคุยนานทําให้เสียเงินโดยไม่จําเป็น

– การร้องเรียนผ่านเว็บ แต่เป็นการกลั่นแกล้งกัน ใส่ร้ายกัน

– การมีเครื่องมือเตือนภัยมากมาย แต่ใช้งานไม่เป็น ฯลฯ

ตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริง ได้แก่

1 ความมั่นคงทางการเมือง หรือบางครั้งอาจใช้คําว่า “เสถียรภาพทางการเมือง” ก็ได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก

– ความต่อเนื่องของระบบการเมือง ซึ่งเราพบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีความ มันคงทางการเมือง มักจะมีความต่อเนื่องทางการเมือง ไม่มีการแทรกแซงของทหาร กลไกทางการเมืองดําเนินไป ตามกฎหมายที่กําหนดไว้ ขณะที่การเมืองในประเทศที่กําลังพัฒนามักมีปัญหาเรื่องของการแทรกแซงของทหาร หรือถูกแทรกแซงจากภายนอกซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขทางการเมือง

– ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มักถูกเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางการเมืองเสมอ เนื่องจากประเทศใดที่มีเศรษฐกิจไม่ดี มีคนว่างงานจํานวนมาก รายได้ของประชาชนน้อยลง สินค้ามีราคาแพงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน ดังนั้นเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางการเมืองย่อมลดลงถ้าเศรษฐกิจตกต่ํา แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงก็จะทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลมีมากเช่นกัน

– สังคม ปัญหาสังคมมักเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และนําไปสู่ปัญหาทาง การเมืองของประเทศ ตัวอย่างเช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาของยาเสพติด ปัญหาของคนว่างงาน ปัญหาของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2 สถาบันทางการเมือง

– รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญของ ประเทศ เนื่องจากรัฐธรรมนูญจะเป็นตัววางกรอบโครงสร้างทั้งหมดทางการเมืองที่จะพูดถึงในเรื่องสิทธิ อํานาจหน้าที่ และที่มาของสถาบันตัวอื่น ๆ รวมทั้งสมาชิกทางการเมืองในแบบต่าง ๆ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีความชอบธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อวัฒนธรรมและวิถีการดําเนินชีวิตของคนในชาติ นอาจากนี้จะต้องไม่มีความเอนเอียง หรืออํานวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกยับยั้งและเกิดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อต่อต้าน ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญที่ดีจึงก่อให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

– สภาถือเป็นสถาบันทางการเมือง ซึ่งเราให้ความสนใจในเรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ ของสภาว่ามีอะไรบ้าง สมาชิกมาจากการสรรหาหรือการแต่งตั้ง สัดส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. เป็นเท่าใด สิ่งเหล่านี้ จะถูกนํามาพิจารณาทั้งสิ้น นอกจากนี้เรายังมองไปถึงพฤติกรรมของสมาชิกในสภาว่ามีลักษณะเช่นไร

– พรรคการเมือง ถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญที่จะเปิดโอกาสให้แต่ละพรรค ที่มีนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองได้มีบทบาทในการสรรหาคนที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นตัวแทนให้กับ ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ในสภา พรรคการเมืองที่มีโอกาสทําหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องรู้จักวางแนวทางในการ ทําหน้าที่เมื่อเป็นรัฐบาล มีนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนหญ่ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ ของประเทศชาติเสมอ

3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเมือง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ ประเทศมีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำการเมืองก็มักจะขับเคลื่อนไปได้ยาก ฉะนั้นถ้าประเทศใดก็ตามที่มีภาวะเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการศึกษาที่ดี และมีความรู้ การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้า ประเทศใดมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนอดอยาก ขาดการศึกษา การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็มักจะทําได้ง่าย ดังนั้น จะเห็นว่าการพัฒนาทางการเมืองจึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเสมอโดยทั้ง 2 ตัวแปรมักแยกกันไม่ออก เป็นต้น

การกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมเพื่อให้มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนา ที่แท้จริง มีดังนี้

1 ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง และประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจโดยเร็ว รวมทั้งมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคุ้มครองความมั่นคงให้แก่ประชาชน ไม่ใช่ มีไว้เพื่อให้พรรคการเมืองบางพรรคนําไปใช้เป็นเงื่อนไขกับประชาชน เพื่อนําไปใช้เป็นนโยบายประชานิยมในการนําตนเข้าไปสู่อํานาจ หรือชื่อเวลาให้ตนอยู่ในอํานาจเท่านั้น

2 ภาครัฐจะต้องรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมในเรื่องการสร้างจิตสํานึกทางการเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเรียนรู้ประชาธิปไตย ร่วมกันระหว่างพลเมือง โดยเฉพาะชาวบ้านในชนบท ชนชั้นกลางในเมือง นิสิตและนักศึกษา

3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับ อีกทั้งรัฐบาล ภาครัฐ และภาคการศึกษาจะต้องส่งเสริมและผลักดันให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมของนักเรียน นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างจิตสํานึกทางการเมืองที่ดีให้แก่ประชาชนและสังคม

4 ในด้านภาคการศึกษาจะต้องปลูกฝังจิตสํานึกทางการเมือง โดยมีวิชาสิทธิตามรัฐธรรมนูญสิทธิพลเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง บรรจุในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ

5 ในด้านภาคกฎหมายจะต้องมีกฎหมายป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงที่เข้มข้น ผู้ที่ซื้อสิทธิหรือขายเสียงต้องมีโทษความผิดที่หนัก เพื่อป้องกันวัฒนธรรมการซื้อสิทธิขายเสียง

6 ภาครัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันปฏิรูป กํากับ และรณรงค์จริยธรรมคุณธรรมทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยไม่ฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระ มากกว่าการสร้างภาค พลเมืองให้เข้มแข็ง เป็นต้น

 

ผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ได้แก่

– ครอบครัว การสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อในการสร้างความรู้ทางการเมือง โดยครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยแรกในการฝึก ให้เด็กได้รับรู้สภาพและเป็นการปูพื้นฐานทางการเมือง นักรัฐศาสตร์เปรียบเทียบได้ให้ความสําคัญกับครอบครัว และบทบาทของครอบครัวในการสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งครอบครัวจะช่วยในเรื่องการหล่อหลอมทางการเมืองได้ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

1) ครอบครัวจะช่วยถ่ายทอดทัศนะของพ่อแม่ต่อเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้สภาพ ความคิดและโอกาสในการแสดงความคิดเห็นจากทัศนคติของพ่อแม่ เช่น ถ้าพ่อแม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือเปิดโอกาสและพูดคุยการเมืองให้กับเด็กแล้ว เด็กคนนั้นก็จะได้รับรู้และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ แม้ว่า บางครั้งในสังคมไทยอาจจะมีบางครอบครัวที่มีความเผด็จการกับลูก ๆ อยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังถือได้ว่ายังมี ความเป็นประชาธิปไตยมากกวาเผด็จการ

2) พ่อแม่จะมีลักษณะเป็นตัวแบบให้กับเด็ก โดยเด็กจะมีการเลียนแบบจากสิ่งที่ พ่อแม่กระทํา เช่น พฤติกรรมในการกิน การแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้อื่น ความมีน้ำใจ การมีส่วนร่วม การมีนิสัย ชอบการเลือกตั้ง ชอบแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็กจะเรียนรู้และตามแบบจากพ่อแม่

3) บทบาทและสิ่งที่เด็กคาดหวังที่จะกระทําเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะมีความสัมพันธ์กับ การแสดงออกทางการเมืองของเขา นั่นคือ เด็กจะแสดงออกทางการเมืองอย่างรก็ขึ้นอยู่กับความหวังที่เขาได้รับ เมื่อครอบครัวสั่งสอน เขาอาจมีเป้าหมายที่จะเป็นนักการเมือง เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเขาเติบโต ขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลผูกพันกับระบบการเมืองแทบทั้งสิ้น

– โรงเรียน นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างให้เกิดสังคมที่ดี และเป็นหน่วยสร้าง “การกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมีโอกาสได้รับอิทธิพล ในการเรียนรู้จากโรงเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีเวลานาน จึงเป็นผลให้ความรู้ ทางการเมืองที่เด็ก ๆ จะได้รับมีการสะสมมานานจนสามารถฝังอยู่ในความทรงจํา

–  ในสังคมไทยนั้นระบบโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนนับว่ามีอิทธิพลต่อความเชื่อ ของเด็กมาก เด็กมักจะเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ เนื่องจากมีโอกาสอยู่ในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน เมื่อเด็กมีการศึกษามากขึ้นโอกาสที่เขาจะได้รับรู้ความเป็นไปทางการเมืองก็จะมากกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา เนื่องจากเขาสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ การสนทนาทางวิชาการ ฯลฯ ซึ่งคนที่ด้อยการศึกษาอาจไม่ได้รับ ในรายละเอียดได้มากเท่ากับคนที่มีการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนยังช่วยในการสร้างค่านิยมของระบอบประชาธิปไตย ให้เยาวชนผูกพันกับระบอบประชาธิปไตยได้อีกด้วย

– สื่อมวลชน ชน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ต่างก็เข้ามามีบทบาทใน ชีวิตประจําวันของประชาชนมากขึ้น ซึ่งในการสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อมวลชนมาเป็นเครื่องมือในการอบรมหรือเป็นช่องทางในการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นการนําเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อ การพัฒนาการเมืองของไทย เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองและนําเสนอข่าวสารที่บิดเบือน จากข้อเท็จจริงแล้ว อาจทําให้ประชาชนหรือเยาวชนสับสนกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นได้

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษายกแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย (ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ) ขึ้นมาอธิบายพร้อมทั้งอภิปรายว่าแนวคิดดังกล่าวมีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง โดยสามารถเลือกแนวคิดของนักวิชาการคนใดคนหนึ่งขึ้นมาอธิบายก็ได้

แนวคําตอบ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริบทของการแข่งขันระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตย กับโลกสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ส่งผลให้นักวิชาการและผู้กําหนดนโยบายในโลกตะวันตก สนใจ “การพัฒนาทางการเมือง” (Political Development) ในประเทศกําลังพัฒนา โดยเน้นที่การศึกษาเงื่อนไขพื้นฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย

ลูเซียน พาย (Lucian Pye) ได้ให้คําจํากัดความในเรื่องการพัฒนาทางการเมืองไว้ดังนี้

1 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่จําเป็นในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การเมือง ที่พัฒนาแล้วเปรียบเสมือนปัจจัยสําคัญที่จะเอื้อต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของ ประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระบบการเมืองที่แตกต่างกัน และจากข้อเท็จจริง ที่ปรากฏให้เห็นในหลายประเทศยังชี้ให้เห็นว่า หากระบบการเมืองมีการพัฒนาสูงก็จะส่งเสริมให้เกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาการเมืองของแต่ละสังคม

2 การพัฒนาทางการเมืองเป็นการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม กล่าวคือ การเมืองในประเทศ อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือเผด็จการจะมีแบบแผนของพฤติกรรมของ สมาชิกในสังคมที่มีเหตุผล รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อความสงบสุขและความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งการเมือง ของสังคมอุตสาหกรรมนั้นนับได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสําเร็จในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะในปัญหาหลักคือ การแจกแจงความกินดีอยู่ดีให้กับสมาชิกอย่างเป็นธรรมกว่าสังคมอื่น ๆ จะเห็นว่า สังคมที่พัฒนาจนก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้นั้น ระบบการเมืองจะต้องมีระดับการพัฒนาสูง ดังนั้นลักษณะ ระบบการเมืองของอุตสาหกรรมก็คือ รูปธรรมของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วนั่นเอง

3 การพัฒนาทางการเมืองเป็นความทันสมัยทางการเมือง กล่าวคือ การพัฒนาทางการเมือง จะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองให้มีความทันสมัย (Folitical Modernization) นั้นคือ จะต้องมีการแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างซับซ้อน สร้างสรรค์ให้เกิดเอกภาพในอํานาจทางการ ปกครองและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

4 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องรัฐ-ชาติ แนวคิดนี้เกิดจากความเห็นที่ว่า แนวปฏิบัติทาง การเมืองที่เกิดขึ้นอันถือได้ว่ามีลักษณะที่พัฒนาแล้วนั้นจะสอดคล้องกับมาตรฐานของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในรัฐ-ชาติ ยุคใหม่ กล่าวคือ รัฐชาติเหล่านี้สามารถที่จะปรับตัวและดํารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังสร้างลัทธิชาตินิยมอันถือว่าเป็นเงื่อนไขที่จําเป็นต่อการพัฒนาการเมือง ซึ่งจะนําไปสู่ความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันในชาติ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การพัฒนาการเมืองก็คือการสร้างชาติ (Nation Building) นั้นเอง

5 การพัฒนาทางการเมืองเป็นการพัฒนาในเรื่องกฎหมายและการบริหาร แนวคิดนี้มุ่งที่ การพัฒนาสถาบันบริหารและพัฒนาเครื่องมือของสถาบันไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือ การพัฒนากฎหมายเพื่อสร้าง ความสงบเรียบร้อยและประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เละชี้ให้เห็นว่าระบบบริหารเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนา การเมือง ระบบการเมืองที่มีระดับการพัฒนาสูงจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหาร

ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าระบบกฎหมายจะได้รับการพัฒนาเพื่อดํารงความยุติธรรมของสังคม และตอบสนองความ ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ภายใต้ระบบการเมืองที่มีการพัฒนา

6 การพัฒนาทางการเมืองเกี่ยวพันกับการสร้างมวลชนและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง แนวคิดนี้เห็นว่าการฝึกฝนและการให้ความสําคัญกับสมาชิกของสังคมในฐานะเป็นราษฎร ตลอดจนการส่งเสริม ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งต่อรัฐ-ชาติใหม่ และเป็นปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนา ทางการเมือง เพราะหัวใจสําคัญของแนวคิดนี้ก็คือ อํานาจทางการเมืองเป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชน จะต้องแสดงบทบาทในการควบคุม กํากับ และตรวจสอบระบบการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการเมืองที่ส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าวคือระบบการเมืองที่พัฒนา หรืออาจกล่าวได้ว่าแนวทางการพัฒนา ทางการเมืองก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

7 การพัฒนาทางการเมืองเป็นแนวทางในการสร้างประชาธิปไตย แนวคิดนี้ค่อนข้างจะแคบ เนื่องจากเห็นว่าการพัฒนาการเมืองมีอยู่รูปแบบเดียวคือ “การสร้างประชาธิปไตย” ทําให้มีนักวิชาการหลายท่าน วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นคํานิยามที่ลําเอียง มุ่งเน้นที่จะยัดเยียดค่านิยมทางการเมืองแบบตะวันตกให้กับประเทศด้อยพัฒนา ในขณะที่ค่านิยมของตนเองไม่เอื้อประโยชน์ให้เลย แนวคิดนี้สรุปอย่างชัดเจนว่าการพัฒนาทางการเมืองก็คือ การพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ยิ่งระบบการเมืองเป็นประชาธิปไตยมากเท่าใด ก็ย่อมแสดงว่ามีการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น

8 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบ แนวคิดนี้มีความลําเอียงในแง่ของค่านิยมแบบประชาธิปไตยน้อยลง โดยมองว่าลักษณะการเมืองที่พัฒนาแล้วจะ เกิดขึ้นในระบบการเมืองใดก็ได้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยนั้นไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่อาจก่อให้เกิด เสถียรภาพทางการเมืองได้ ดังนั้นการพัฒนาทางการเมืองในแง่นี้จึงเป็นลักษณะของการดําเนินชีวิตทางการเมืองที่ไมวุ่นวายและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน แนวคิดนี้สรุปอย่างชัดเจนว่าลักษณะของระบบการเมืองที่มีการ เปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์กติกา จะก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนจะเกิดความเชื่อมั่น จึงเป็นปัจจัยสําคัญต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ

9 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการระดมทรัพยากรและอํานาจ กล่าวคือ ถ้าระบบ การเมืองใดสามารถที่จะระดมทรัพยากรและอํานาจเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถ ทําให้คนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของระบบ และระบบเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ต่าง ๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถแจกแจงทรัพยากรเหล่านี้อย่างเป็นธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนแล้ว ระบบการเมืองนั้นถือได้ว่าพัฒนาแล้ว

10 การพัฒนาทางการเมืองเป็นแง่หนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กล่าวคือ การพัฒนาทางการเมืองนั้นจะผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การที่ด้านใดด้านหนึ่งของ สังคมแปรเปลี่ยนไปจนกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ถือว่าเป็น ลักษณะหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงของสังคม ดังนั้นในการศึกษาการพัฒนาทางการเมืองจึงจําเป็นต้อง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อมกันด้วย

จุดเด่นและจุดด้อย เช่น

– คําจํากัดความการพัฒนาทางการเมืองดังกล่าวนั้นไม่ได้มีทฤษฎีร่วมกัน เพราะในบางกรณีจะมีความหมายเพียงว่า รัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นปัญหาเรื่องการพัฒนาการเมืองจึงแตกต่างกันตามความแตกต่างกันทางปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

– แนวคิดดังกล่าวมีลักษณะเอนเอียงไปในทิศทางแบบตะวันตกหรือประเทศในฝ่ายเสรีประชาธิปไตย อีกทั้งยังเน้นที่การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็น รูปแบบหนึ่งของการเมืองแบบประชาธิปไตย ถ้าหากเป็นเช่นนั้นเราอาจนํามา สรุปอย่างผิด ๆ ได้ว่าการเมืองในประเทศเผด็จการย่อมไม่ถือว่าเป็นการเมืองที่พัฒนา

– แนวคิดดังกล่าวไม่ได้ระบุว่านิยามใดผิดหรือถูกมากกว่านิยามอื่น ๆ เป็นแต่ เพียงต้องการจะเน้นถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเมืองที่สําคัญ ๆ ตามแนวทัศนะของนักวิชาการในสํานักต่าง ๆ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้แต่ละทัศนะจึง มีอคติอยู่บ้างเป็นธรรมดา เช่น มองแต่เพียงว่าการเมืองที่พัฒนาแล้วเป็น การเมืองแบบประชาธิปไตย เป็นต้น

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาหยิบยกแนวทางการศึกษา (Approach) หรือแนวคิดทฤษฎีของการเมืองเปรียบเทียบแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาอธิบายโดยละเอียด และให้ยกตัวอย่างการนําแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้มาพอเป็นที่เข้าใจ

แนวคําตอบ

แนวคิดทฤษฎีความทันสมัยและแนวทางการศึกษา

ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) มีพื้นฐานความคิดในเรื่องการวิวัฒนาการของการผลิตและการค้าแบบทุนนิยม โดยยึดถือแนวทางการพัฒนาแบบแนวเส้น (Linear) ความคิดดังกล่าวเริ่ม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยประเทศตะวันตกนั้นมีความเชื่อว่า “ความเฟื่องฟู” หรือ Civilization จะเกิดขึ้นได้ก็ จากการพัฒนาตามแนวดังกล่าว มีการสะสมทุน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยี

ในด้านการเมือง ทฤษฎีความทันสมัยจะมุ่งเป้าหมายไปที่ระบบประชาธิปไตยแบบเสรี (ทั้ง ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งทั้งสองแบบ) โดยเน้นการพัฒนาทางสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐสภา พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งบางครั้งทฤษฎี ดังกล่าวจะผูกพันกับลัทธิชาตินิยมของประเทศที่เกิดใหม่ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ความทันสมัย

จะผูกพันกับการสร้างระบบอุตสาหกรรม การเน้นความเป็นอิสระของสถาบัน ความชํานาญเฉพาะอย่าง และเน้นอํานาจหน้าที่และการควบคุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน เช่น การปฏิวัติ การรัฐประหาร และความรุนแรง ทางการเมือง โดยเหตุผลที่ว่าจะทําให้สังคมขาดเสถียรภาพ

ทฤษฎีความทันสมัยนั้นให้ความสําคัญกับการศึกษาเชิงเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยจะศึกษาถึงสภาพเงื่อนไขที่ย่านวยและไม่อํานวยต่อการปรับ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย ซึ่งการศึกษาอาจมุ่งที่สถาบันทางการเมือง โดยวิเคราะห์ในเชิงพฤติกรรมของสถาบันและองค์กรว่าจะมีอุปสรรคหรือปัจจัยในการเอื้ออํานวยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การศึกษาแนวนี้มุ่งที่ “หน่วยการวิเคราะห์” (Unit of Analysis) แม้ว่าการวิเคราะห์ความ ทันสมัย (หรือไม่ทันสมัย) ของประเทศกําลังพัฒนาจะให้ความสําคัญกับการวิเคราะห์ในหลายระดับ เช่น ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับโครงสร้าง ระดับหน้าที่ หรือแม้แต่ระดับระหว่างประเทศก็ตาม นักทฤษฎีความ ทันสมัยก็ให้ความสําคัญในการศึกษารัฐหรือระดับชาติ แม้ว่าหน่วยของการวิเคราะห์จะกว้างไม่สามารถจะหา ข้อสรุปอะไรลงไปได้อย่างชัดเจนก็ตาม หน่วยย่อยของการวิเคราะห์ส่วนมากก็จะดูกระบวนการการพัฒนา ระดับของอุตสาหกรรม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสมเหตุสมผลของระบบราชการ ซึ่งความแตกต่างทาง โครงสร้างเหล่านี้ล้วนเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ที่นักรัฐศาสตร์ต่างเน้นในการศึกษา

ไอเซ็นสตาดท์ (Eisenstadt) ได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า การศึกษาความทันสมัยมีประเด็นที่ศึกษา อยู่ 2 ประการ ได้แก่

1 ศึกษาถึงแบบแผนของความเปลี่ยนแปลง เช่น เปลียนแปลงระดับโครงสร้าง ระดับ สถาบัน และในทุก ๆ ระดับของสังคม

2 ศึกษาถึงแบบแผนของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เช่น ความสามารถ ของสถาบันในการที่จะดูดซับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาของการตอบสนอง ตลอดจน การเรียกร้องของส่วนต่าง ๆ

นอกจากนี้ ทฤษฎีความทันสมัยยังมีกรอบการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ “เชิงคู่” (Dichotomous) ซึ่งมีโครงสร้างการศึกษามาจากกรอบของนักทฤษฎีพัฒนาในศตวรรษที่ 19 คือกรอบการมอง “สังคมประเพณี สังคมทันสมัย” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจความเป็นมาของการศึกษาและแนวทางการศึกษาความทันสมัย ตลอดจนอุดมการณ์ของนักทฤษฎี

การศึกษาเปรียบเทียบความทันสมัย “เชิงคู่” ได้ถูกนํามาเป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ สังคมและระบบวัฒนธรรมทางสังคม โดยการวิเคราะห์เชิงคู่นั้นได้ถูกนํามาใช้วิเคราะห์สังคมในเชิงกว้างเพื่อดู ระดับของการพัฒนา การศึกษาเชิงคู่เริ่มจากการมองเปรียบเทียบสรรพสิ่งตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เช่น สังคมเมือง สังคมชนบท, ชาวบ้าน-ชาวเมือง, เกษตรกรรม-อุตสาหกรรม, การหยุดนิ่ง-การเคลื่อนไหว เป็นต้น

การศึกษาในเชิงคู่นี้มีมานับศตวรรษ เช่น การศึกษาของเซอร์เฮนรี่ เมนท์ (Sir Henry Maine) ศึกษากฎหมายโบราณในปี ค.ศ. 1861 และได้หยิบยกสังคม “เชิงคู่” มาเปรียบเทียบ โดยสังคมแบบแรกเรียกว่า – สังคมสถานภาพ (Status) ส่วนสังคมอีกแบบเรียกว่า สังคมที่มีสัญญา (Contract) โดยสรุปว่า การที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมในระดับที่ด้อยไปสู่สังคมพัฒนาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เอมิลี่ เดอร์คาย (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยา ก็เคยจัดสังคมออกเป็นคู่เช่นเดียวกัน นั่นคือ สังคมที่เรียกว่า “ Mechanical” และสังคม “Organic” โดยสังคมแบบแรกเป็นสังคมชนบทมีการรวมตัว ไม่มาก ส่วนสังคมแบบที่สองเป็นสังคมที่มีการแบ่งงานที่ซับซ้อน มีความแตกต่างและความชํานาญเฉพาะอย่าง

ส่วนเฟอร์ดินานด์ ทอนนี่ (Ferdinand Tonnies) ได้สร้างการศึกษา “เชิงคู่” คือ ชุมชน (Gemeinschaft) และสังคม โดยความหมายของ “ชุมชน” คือสังคมชนบท มีความเป็นพี่น้อง และมีศาสนาเป็นองค์ประกอบที่จะผูกพันคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ส่วน “สังคม มีลักษณะของสังคมเมือง เช่น มี สถาบันนิติบัญญัติ มติมหาชน ฯลฯ

การศึกษาเชิงคู่ที่มีผลกระทบต่อการศึกษาเชิงพัฒนาการเมืองในปัจจุบัน เช่น งานเขียนของ พาร์สันส์ (Parsons) ในกรอบที่เขาสร้างขึ้นที่เรียกว่า แบบแผนของตัวแปร (Pattern Variable) ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

 

ตัวอย่างของการศึกษา “เชิงคู่”

สังคมประเพณี (ด้อยพัฒนา)

1 Ascriptive Status : เป็นลักษณะที่ผูกพันกับเชื้อชาติ ศาสนา และครอบครัว มีความ ผูกพันทางสังคมสูง

2 Diffuse Role : บทบาทของคนในสังคมที่ไม่จํากัด คนหนึ่ง ๆ อาจทําหน้าที่ได้หลาย อย่าง เช่น เป็นพระ และเป็นอาจารย์ สอนหนังสือได้พร้อม ๆ กัน

3 Particularistic Value : เป็นลักษณะ |คานียมสังคมประเพณีที่คนมีการกระจุกตัว และมีลักษณะความคิดจํากัดอยู่ในวงแคบ

4 Collectivity Orientation : เป็นลักษณะการอบรมของคนที่ทํางานผูกติดอยู่กับคนอื่น ขาดความเป็นธ์ สระในการสร้างความเป็น เอกเทศ

5 Affectivity :เป็นลักษณะค่านิยมที่ผูกพันกับความรู้สึกในลักษณะพวกพ้อง

 

สังคมทันสมัย (พัฒนา)

1 Achievement Status : เป็นสังคมที่เน้นความสําเร็จเป็นเป้าหมาย ดความสามารถ เป็นหลัก

2 Spectific Role : เป็นสังคมที่คนมีบทบาทเฉพาะ เชน อาชีพครู หมอ ช่างไฟฟ้า ฯลฯ เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่รับผิดชอบ

3 Universalistic Value : เป็นลักษณะที่สังคมทันสมัย ประชาชนจะมีค่านิยมที่กว้างแบบ ครอบจักรวาล

4 Self orientation : เป็นเรื่องของการมองผลประโยชน์ของตัวเองซึ่งจะต้องรับผิดชอบ

5 Effective Neutrality : เป็นความรู้สึกกลาง ๆและเป็นพวกที่ผูกพันอยู่กับวินัย

POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ

 ข้อ 1 จงอธิบายลักษณะ ความสําคัญ และแนวคิดทางการเมือง โดยยกตัวอย่างทางเลือกที่สําคัญมา 3 แนวคิด

แนวคําตอบ

ความคิดทางการเมือง คือ ความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ของมนุษย์ที่มีต่อการเมืองที่ตนปรารถนา ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรมในสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ความคิดทางการเมืองของมนุษย์มีจุดประสงค์ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดี รัฐที่ดี และการปกครองที่ดีของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ สรุปได้ว่า ความคิดทางการเมือง คือ สังคมการเมืองที่มนุษย์ปรารถนา ทั้งนี้สามารถแบ่งลักษณะแนวความคิดทางการเมืองออกได้เป็น 6 ยุค ดังนี้

ลักษณะแนวความคิดทางการเมือง

1 ยุคกรีก มีลักษณะแนวความคิดทางการเมือง คือ มีการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง พลเมืองชาวกรีกในนครรัฐเอเธนส์ทุกคนมีสิทธิ และมีส่วนในการปกครองและกิจกรรมของรัฐของตน การสนทนาวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมทางการเมืองเป็นสิ่งธรรมดาและเป็นกิจวัตรประจําวันของพลเมืองชาวกรีก ในนครรัฐเอเธนส์ สถาบันการปกครองเกือบทุกสถาบันเปิดโอกาสให้พลเมืองทุกคนมีส่วนร่วมโดยเสมอภาคกัน เสรีภาพในด้านความคิดเห็นทางการเมืองมีอย่างกว้างไพศาล เพราะชาวกรีกมีทัศนะว่า เป็นหน้าที่ของพลเมือง ทุกคนที่จะต้องเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง เพราะ “เขาคือส่วนหนึ่งของรัฐ และรัฐคือส่วนหนึ่งของตัวเขา”

2 ยุคโรมัน มีลักษณะแนวความคิดทางการเมือง คือ ชาวโรมันจะเป็นนักปฏิบัติหรือ นักถ่ายทอดความคิด หลักปฏิบัติที่สําคัญของชาวโรมัน คือ การสร้างสถาบันทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์และดีที่สุด ชาวโรมันพยายามดัดแปลงกฎหมายให้อยู่ในรูปที่สามารถนําไปใช้ได้จริง ๆ ชาวโรมันแสดงให้เห็นว่า มนุษย์เป็นผู้มีอํานาจทางการเมืองที่แท้จริงไม่ใช่พระเจ้า ดังนั้นชาวโรมันจึงถือว่าผู้ปกครอง คือ ผู้ที่รับอํานาจจากประชาชน ประชาชนจึงเปรียบเสมือนหน่วย ๆ หนึ่งในทางกฎหมายที่จะล่วงละเมิดมิได้

3 ยุคมืดหรือยุคกลาง มีลักษณะแนวความคิดทางการเมือง คือ ผู้คนมีความเคร่งครัด และศรัทธาในศาสนาคริสต์มาก จนแทบไม่มีการพัฒนาทางด้านวัตถุเช่นเดียวกับยุคที่ผ่านมา เนื่องจากโรมันถูกทําลายโดยพวกอนารยชน กฎหมายก็ถูกทําลายไปพร้อมกับอารยธรรมโรมันด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบ สังคมขึ้นใหม่ โดยการจัดระเบียบสังคมใหม่นี้มีความสําคัญ 2 ประการ คือ ศาสนาคริสต์ และระบบฟิวดัล

4 ยุคฟื้นฟู มีลักษณะแนวความคิดทางการเมือง คือ มีความเจริญทางด้านวัตถุ และความพยายามในการจัดระเบียบสังคมในปลายยุคกลาง ทําให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแนวความคิดของคน จากความศรัทธาในศาสนาไปสู่ความนิยมในตัวกษัตริย์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในยุคฟื้นฟู สรุปได้ดังนี้

1) การเกิดแนวความคิดฟื้นฟูความรู้ทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใหม่เรียกว่า Renaissance

2) การพบดินแดนใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในประวัติศาสตร์ ซึ่งกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของคนมากขึ้น

3) การเสื่อมลงของศาสนาคริสต์ และการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ทําให้ศาสนาคริสต์ต้องแบ่งเป็นนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์

4) การนําวัตถุแปลก ๆ ที่มาจากตะวันออกเข้ามาใช้ในชีวิตประจําวันมากขึ้น ทําให้ผู้คนพยายามหาโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตดั้งเดิม ชาวนาเริ่มหันมาทําการค้าในขณะที่พ่อค้าเริ่มขยายเส้นทางการค้าและสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาขายมากขึ้น

5) การสร้างระบบกฎหมายใหม่และการพัฒนาระบบเงินตรา

6) การเกิดขึ้นของวิทยาการและศิลปะสมัยโรมันที่เน้นความยิ่งใหญ่ของมนุษย์และหลักการประชาธิปไตยสมัยกรีก

7) การเสื่อมของระบบฟิวดัล อาณาจักรมีอํานาจและทวีความสําคัญเหนือศาสนจักรมากขึ้น

5 ยุคสมัยใหม่ มีลักษณะแนวความคิดทางการเมือง คือ การที่ประชาชนลุกขึ้นมา ต่อต้านอํานาจกษัตริย์ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 17 คือ สงครามกลางเมืองในช่วง ระหว่างปี ค.ศ. 1642 – 1689 ระหว่างพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กับโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งได้ทําให้สิทธิส่วนบุคคลได้ถูก วางรากฐานไว้อย่างดีในทางการเมือง และได้มีความพยายามนําหลักของเหตุผลและความจริงมาใช้ในทาง การเมืองด้วย

สรุปได้ว่า ลักษณะแนวความคิดทางการเมืองจากกรีกถึงสมัยใหม่นั้น มีการแปรเปลี่ยนตาม สภาพสังคมในแต่ละสมัย กล่าวคือ ยุคกรีกโบราณมีแนวความคิดแบบประชาธิปไตยแบบทางตรงที่เน้นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองได้รับการยกย่อง ยุคโรมันมีแนวความคิดทางการเมืองที่มีกฎหมายในการอยู่ร่วมกัน ยุคมืด หรือยุคกลางมีแนวความคิดทางการเมืองที่ถูกอธิบายบนฐานของศาสนาคริสต์เพียงอย่างเดียว ยุคฟื้นฟู มีแนวความคิดทางการเมืองที่เกี่ยวพันกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และกษัตริย์กลับมามีอํานาจมากขึ้นอีกครั้ง และในยุคสมัยใหม่มีแนวคิดทางการเมืองที่ให้สิทธิทางการเมืองแก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น

ความสําคัญของความคิดทางการเมือง

ความคิดทางการเมืองเป็นผลผลิตทางประวัติศาสตร์ของการเมืองโลกในแต่ละยุคสมัยของ สังคม ดังนั้นความคิดทางการเมืองจึงมีความสําคัญอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้

1 มีส่วนช่วยในการทําให้เข้าใจประวัติศาสตร์ เพราะจะทําให้ผู้ที่ศึกษาเข้าสู่บรรยากาศ ความคิดในสมัยก่อน ช่วยให้เข้าใจถึงพลังผลักดันที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ สําคัญ ๆ เพราะเหตุที่ว่าปรากฏการณ์ในอดีตเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ จึงเป็นการจําเป็นที่จะต้อง ทราบถึงความคิดที่ชักจูงให้เกิดการกระทํานั้น เช่น การที่จะเข้าใจถ่องแท้ถึงประวัติศาสตร์โลกสมัยกลาง (Middle Age) นั้น จําเป็นต้องทราบถึงการพิพาทแย่งความเหนือกว่าในการปกครองคนระหว่างจักรพรรดิกับ สันตะปาปา เป็นต้น

2 ความรู้ในความคิดทางการเมืองแห่งอดีตนั้นมีส่วนช่วยให้เข้าใจถึงการเมืองในสมัย ปัจจุบัน เพราะปัญหาทางการเมืองในปัจจุบันล้วนเกิดขึ้นจากสถานการณ์ในอดีตหรืออาจเทียบเคียงได้กับ ปรากฏการณ์ในอดีต และหลักการเมืองต่าง ๆ ที่นํามาใช้เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของความคิดทางการเมือง สมัยก่อน เช่น ทฤษฎีการแบ่งแยกอํานาจในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกามีรากฐานมาจากความคิดของ เมธีการเมืองสมัยกลาง เป็นต้น

3 มีความเข้าใจในนโยบายและการปรับปรุงโครงร่างทางการปกครอง เพราะประเทศทุกประเทศต้องมีหลักการอันเกิดจากปรัชญาการเมืองใดการเมืองหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่นํารัฐบุรุษและประชาชนในการ วางนโยบายหรือปฏิรูปการปกครอง ความก้าวหน้าหรือประสบความสําเร็จของระบบการเมืองในประเทศเป็นผลมาจาก การวางโครงร่างการปกครองอยู่บนทฤษฎีการเมืองที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ และความต้องการของประเทศนั้น

4 ยอร์ช แคทเท็บ กล่าวถึงความสําคัญของความคิดทางการเมืองต่อชีวิตทั่วไปของ มนุษย์ไว้ 3 ประการ คือ

1) ต้องการคําแนะนําซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้าง เช่น ควรวางความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหรือควรกระจายอํานาจหน้าที่หรือควรกําหนดความรับผิดชอบอย่างไร

2) ต้องการความถูกต้องเพื่อตัดสินเมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจระหว่างบุคคล

3) ต้องการทักษะ (Skill) ในการทํานายเหตุการณ์ในอนาคตได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง

5 ทําให้เป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (Good Human Relations) เพราะเหตุว่า ทฤษฎีการเมืองสอนให้รู้จักความหลากหลายของธรรมชาติหรือลักษณะนิสัยใจคอคน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความคิดทางการเมืองมีความสําคัญดังประเด็นดังกล่าวข้างต้น เช่น มีส่วน ช่วยในการทําให้เข้าใจประวัติศาสตร์ หรือมีส่วนช่วยให้มีความเข้าใจนโยบายและการปรับปรุงโครงร่างทางการ ปกครอง อีกทั้งความคิดทางการเมืองมีความสําคัญต่อมนุษย์ในสองมิติหลัก คือ มิติในเรื่องส่วนตัวและในเรื่องสาธารณะ

แนวความคิดทางการเมืองที่สําคัญ (3 แนวคิด) มีดังนี้

1 ชาตินิยม (Nationalism) ตามรากศัพท์ภาษาละตินมีอยู่ 2 ความหมาย ได้แก่

1) มาจากคําว่า “Nasci” แปลว่า “การเกิดหรือกําเนิด” (To be born) และ

2) มาจากคําว่า “Natio” แปลว่า “เป็นของ” หรือ “มาจากสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง โดยการเกิด” (Belonging together by birth or place birth)

ในปี ค.ศ. 1789 หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) คําว่า “ชาติ” หมายถึง องค์รวมของประชาชน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากองค์รวมอื่น ๆ องค์รวมนี้ถูกมองว่าเป็นดุจบุคคลขนาดใหญ่ คนหนึ่ง ซึ่งมีเจตจํานงเดียว มีเป้าประสงค์ร่วมเพียงหนึ่งเดียว และที่สําคัญคือเป็นที่มาของอํานาจอธิปไตย

ความหมายลึกลงไปในทางการเมืองที่สืบย้อนไปถึง ค.ศ. 1712 – 1778 รุสโซ (Jacques Rousseau) ได้กล่าวถึง “ชาติ” ว่าหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ผูกพันอยู่ด้วยกัน โดยถือเกณฑ์การเป็นพลเมือง (Citizenship) ของหน่วยหรือสังคมการเมืองเดียวกัน และในยุโรปได้นํามาใช้จนทําให้บทบาททางการเมืองมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างสูง เช่น การแต่งเพลงประจําชาติ (National Anthems) การมีธงชาติประจําชาติ (National Flag) เป็นต้น วิธีการดังกล่าวเป็นการส่งผ่านหรือกระตุ้นให้คนในประเทศนั้นเกิดความรักชาติของตน

2 อนุรักษนิยม (Conservative) ความหมายโดยทั่วไปของคําว่า “อนุรักษนิยม” หมายถึง การรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้มิให้ถูกแตะต้อง (Keeping something intact) ในสมัยกรีกโบราณอุดมการณ์อนุรักษนิยม เห็นได้จากอุดมการณ์ทางการเมืองของ “โพลโต” ที่เสนอว่าผู้ที่สามารถรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคมได้ คือ พวกปัญญาชนชั้นสูงอย่างเดียวเท่านั้น หรือที่เพลโตเรียกว่า “ราชาปราชญ์” (Philosopher King)

ในราวศตวรรษที่ 18 คําว่า “อนุรักษนิยม” หมายถึง อุดมการณ์ทางการเมืองที่ต้องการ โจมตีแนวความคิดของเสรีนิยมและสังคมนิยม ซึ่งเป็นผลผลิตของแนวความคิดทางการเมืองในยุครู้แจ้งที่เชื่อ ในหลักการของเหตุผล

เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) คือ คนแรกที่ใช้อุดมการณ์อนุรักษนิยมต่อต้าน การกระทําทางการเมืองที่มีลักษณะเสรีนิยมและสังคมนิยม คือ การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 โดยได้เขียน หนังสือชื่อ “ข้อคํานึงการปฏิวัติ” เพื่อเป็นการโต้กลับซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยแนวคิดอนุรักษนิยมที่เบิร์กเสนอ คือ การมุ่งรักษาแบบแผนประเพณีและสถาบันพร้อม ๆ กับการต่อต้าน การปฏิวัติ หรือความพยายามที่จะเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน เพราะต้องการรักษาไว้ซึ่งแบบแผน แบบเก่าที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ในสังคมเสมอโดยเฉพาะ การปฏิวัติ หรือถ้าต้องมีการเปลี่ยนแปลงพวกอนุรักษนิยมก็ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ และค่อยเป็นค่อยไป

(3) สตรีนิยม (Feminism) ถือกําเนิดในประเทศฝรั่งเศสและเริ่มปรากฏใช้ใน ค.ศ. 1890 แนวคิดของสตรีนิยมในช่วงนี้อยู่บนฐานของความเชื่อว่าด้วยความเสมอภาคและความเป็นอิสระของเพศหญิง เนื่องจากใน ค.ศ. 1840 และ ค.ศ. 1850 มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน ระหว่างชายกับหญิง โดยการเคลื่อนไหวนี้ได้ถูกเรียกว่าเป็นคลื่นลูกแรก (First Wave) ของสตรีนิยม

ส่วนในภาษาอังกฤษคําว่า “สตรีนิยม” คือ “Feminist” ซึ่งอุดมการณ์ของคํานี้ คือ อุดมการณ์ ที่พยายามส่งเสริมและยกระดับสถานภาพและบทบาททางสังคมของผู้หญิงไม่ให้ต่ำต้อยกว่าผู้ชาย

ใน ค.ศ. 1960 เกิดความเคลื่อนไหวของคลื่นลูกที่สองของอุดมการณ์สตรีนิยม คือ การพิจารณาประเด็นปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวกับสตรีจะต้องยกเลิกภายใต้กรอบแนวความคิดที่ถือว่าผู้ชายเป็นศูนย์กลาง ของความถูกต้อง รวมไปถึงเรื่องการเมืองเรียกว่า การปลดปล่อยสตรี (Women’s Liberation Movement)

สาระสําคัญของอุดมการณ์สตรีนิยม คือ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทัดเทียมกับผู้ชาย โดยเห็นว่าสังคมมนุษย์นับตั้งแต่อดีตตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลความคิดผู้ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ทําให้ผู้หญิงถูกกีดกัน ไม่ได้รับความเสมอภาคในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การแสดงความคิดเห็น ทรัพยากร เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น สตรีนิยมจึงเห็นว่าความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับเพศชายของบุคคลมิได้เป็นเพียงความแตกต่างทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติเท่านั้น หากเป็นความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งมนุษย์ เป็นผู้สร้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสรีรวิทยาตามธรรมชาติทางเพศนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในสังคมทั่วไป

 

ข้อ 2 ท่านคิดว่าหลักการรัฐโลกวิสัยเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่

แนวคําตอบ

หลักการของรัฐโลกวิสัย

หลักการหรือลักษณะสําคัญของรัฐโลกวิสัยมี 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1 การไม่บัญญัติศาสนาใดเป็นศาสนาประจําชาติในกฎหมาย คือ การไม่ได้ระบุถึงศาสนา ประจําชาติ ไม่มีการยกศาสนาใดให้มีอภิสิทธิ์เหนือศาสนาอื่นและไม่มีการปกป้องศาสนาใดเป็นพิเศษ

หมายความว่า รัฐไม่ควรใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือต่อการจํากัดเสรีภาพของประชาชน ในการเลือกนับถือศาสนา และในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงศาสนาอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน

2 กฎหมายต้องให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชน คือ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในทางการศาสนาควรได้รับอย่างเต็มที่จากรัฐและกฎหมายของรัฐอีกด้วย

หมายความว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนเองแสดงออกและเสนอทางความคิดเห็น เรื่องศาสนาได้โดยไม่มีกฎหมายหมิ่นศาสนาเข้ามาควบคุมและสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางศาสนา ควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐอีกด้วย เพราะว่าศาสนาเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลหรือเป็นเรื่องส่วนตัว

3 รัฐไม่มีการสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ คือ รัฐไม่มีการใช้งบประมาณ จากเงินภาษีของประชาชนในรัฐไปสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น พิธีการทางศาสนา เชิงสัญลักษณ์ ประจําศาสนา และกําหนดวันหยุดทางศาสนาในปฏิทินของประเทศ เป็นต้น

4 รัฐต้องไม่ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยเหตุผลทางศาสนา คือ การปฏิบัติของรัฐต่อประชาชน ควรใช้หลักการของเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเหตุผลทางศาสนา ยิ่งกว่านั้นไม่ควรนําเอาศาสนาใด ศาสนาหนึ่งมาเป็นหลักแล้วนําเอาความคิดนั้นไปจัดการคนต่างศาสนา

หมายความว่า การกระทําความผิดของประชาชนใช้หลักกฎหมายในการตัดสิน การกระทํานั้นไม่ใช้หลักการทางศาสนาเป็นการกําหนดโทษ

ทั้งนี้ จากหลักการรัฐโลกวิสัยดังกล่าวข้างต้นไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังนี้

1 ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ได้ระบุศาสนาประจําชาติ แต่ก็ได้เอาไปซ่อนผูกไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเนื้อหาระบุว่า “มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”

2 ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ได้ระบุไว้ว่าคนไทยจะต้องนับถือ ศาสนาพุทธ และต้องปฏิบัติตามข้อห้ามของศาสนาพุทธเท่านั้น แต่ประเทศไทยนั้นก็ถือว่ามีศาสนาพุทธเป็น ศาสนาประจําชาติโดยพฤตินัย เช่น มีการออกกฎหมายห้ามขายสุราในวันสําคัญทางพุทธศาสนา

3 มีการกําหนดให้วันสําคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา เป็นวันหยุดราชการ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ศาสนาพุทธยังคงมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการปกครองและชีวิตประจําวันของประชาชนไทย ซึ่งแตกต่างกับหลักการของรัฐโลกวิสัยและความหมายของรัฐโลกวิสัยที่ว่า “รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น รัฐโลกวิสัย จะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมี ศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน ในรัฐที่นับถือศาสนาอื่น”

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ (เลือกทํา 3 ข้อ)

(1) รัฐ ศาสนา

(2) ประชาธิปไตยทางตรง

(3) สาธารณรัฐ

(4) กษัตริย์

(5) ราชา

(6) จักรพรรดิ

(หมายเหตุ ข้อ (4) – (6) เป็นความหมายตามแนวคิดทางการเมืองเรื่องธรรมราชา)

แนวคําตอบ

(1) รัฐ ในอินเดียโบราณแนวคิดเกี่ยวกับรัฐเป็นแนวคิดของทฤษฎีองคาพยพ คือ รัฐก็มีลักษณะเดียวกันกับองคาพยพของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ จํานวนหนึ่ง ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะ และบทบาทต่างกันแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน องค์ประกอบของแต่ละส่วนไม่เท่าเทียมกัน โดย องค์ประกอบของรัฐแบ่งเป็น 7 ประการ คือ

1) ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์ (Svamin) ซึ่งสําคัญที่สุดและเป็นหัวของรัฐ

2) อํามาตย์ (Amatya)

3) อาณาเขตของรัฐและประชาชน (Rastra หรือ Janapada)

4) เมืองหลวงที่มีป้อมปราการล้อมรอบ (Durga)

5) ท้องพระคลังของพระมหากษัตริย์ (Kosa)

6) กองทัพ (Bala)

7) มิตรและพันธมิตร (Mitra)

ศาสนา ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของศาสนาว่า “ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ อันมีหลัก คือ แสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอน ในความเชื่อนั้น ๆ”

สุชีพ ปุญญานุภาพ อธิบายความหมายคําว่า “ศาสนา” ไว้ว่า

1) ศาสนา คือ ที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์

2) ศาสนา คือ ที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจ และความเหมาะสมแก่เหตุแวดล้อมของตน

3) ศาสนา คือ คําสั่งสอน อันว่าด้วยศีลธรรม และอุดมคติสูงสุดในชีวิตของบุคคลรวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปฏิบัติต่าง ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา

(2) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เกิดขึ้นในนครรัฐเอเธนส์ของกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว เป็นการปกครองที่พลเมือง (Citizen) ชายทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเป็นผู้ใช้ อํานาจในการปกครองโดยตรงด้วยการประชุมร่วมกัน ทั้งนี้เมื่อพลเมืองชายชาวเอเธนส์อายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้เป็นสมาชิกของสภาประชาชนโดยอัตโนมัติ สามารถเข้าไปโหวต ไปอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งจากการที่ พลเมืองชายอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถเข้าไปโหวต ไปอภิปรายได้ด้วยตนเองนั้น เรียกการปกครองลักษณะแบบนี้ว่า ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)

(3) สาธารณรัฐ (Republic) เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งคําว่า “Republic” มาจากภาษาละติน 2 คํา คือ res + publica ซึ่งหมายความว่า ประชาชน ดังนั้นการปกครอง สาธารณรัฐก็คือ การเอาคนส่วนมากเป็นที่พึ่ง หรือเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง

(4) กษัตริย์ คือ ผู้ทําหน้าที่ปกครอง ในความหมายเดิมจะหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่รบ ป้องกันภัย แก้ไขข้อขัดแย้งให้กับคนอื่น เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสังคมให้ทําหน้าที่เฉพาะเรื่อง ไม่ต้องหา เลี้ยงชีพแต่จะได้รับค่าตอบแทนจากบุคคลที่ตนเองให้ความคุ้มครอง โดยถือเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคนในสังคม

(5) ราชา คือ ผู้ปกครองที่ยุติธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่โดยปวงชนพอใจ หรืออาจหมายถึง กษัตริย์ที่ประชาชนพอใจ เป็นที่นิยมชมชอบเพราะปฏิบัติหน้าที่ได้ดีและทําหน้าที่ด้วยความยุติธรรม

(6) จักรพรรดิ คือ ผู้ปกครองที่ประชาชนพอใจและเป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูงเกินกว่ากษัตริย์ และราชาทั้งปวง มีความหมายรวมถึงผู้ปกครองที่สามารถแผ่อาณาจักรได้อย่างกว้างขวางและมีคุณธรรมสูงส่ง เป็นที่เคารพและพึงพอใจของประชาชน หรืออาจหมายถึง ผู้ปกครองที่มีภารกิจช่วยคนในโลกให้พ้นจากวัฏสงสาร พ้นจากความขัดแย้งทั้งปวง

 

ข้อ 4 การเกิดขึ้นและแพร่ขยายของพุทธศาสนามีนัยสําคัญที่เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีปอย่างไร จงอธิบาย

แนวคําตอบ

พุทธศาสนากําเนิดขึ้นในช่วงที่ยุคสมัยของโลกกําลังอยู่ในยุคเสื่อมถอยอย่างหนักจึงปรากฏมี ศาสดาปรากฏขึ้นมาเพื่อโปรดสัตว์ให้พ้นจากความเสื่อมถอยเหล่านั้น ทั้งนี้พุทธศาสนาเกิดในช่วงกลียุคในช่วงที่ ชมพูทวีปมีสภาพสังคมการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมีความเด่นชัดแล้ว

การเกิดขึ้นและแพร่ขยายของพุทธศาสนาได้เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีป ดังนี้

1 ชนชั้นพราหมณ์ได้หันมาอุปสมบทในพุทธศาสนาจํานวนมาก อาจวิเคราะห์ได้ว่า เนื่องจากในช่วงเวลานั้นศาสนาพราหมณ์มีความเสื่อมแล้ว ผู้ที่แสวงหาทางออกจากทุกข์เมื่อปฏิบัติตามหลักการ ของพราหมณ์มาแล้วยังไม่พบทางออกจึงหันมาศรัทธาหรือเปิดรับศาสนาใหม่ได้ง่าย ประกอบกับเมื่อวิวาทะ กับพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเห็นชอบกับหลักธรรมของพระองค์ อย่างไรก็ตามระยะเวลาการบรรลุธรรมของแต่ละคน ต่างกันไป

2 เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนบจารีตเดิม เนื่องจากศาสนาพุทธที่เกิดใหม่ปฏิเสธจารีต ของศาสนาพราหมณ์ เช่น การต้องเลิกทํายัญพิธี และการบูชาไฟ เป็นต้น ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อที่ฝังราก ลึกมานานของสังคมชมพูทวีป

3 วรรณะแพศย์ได้เปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์มาเป็นพุทธศาสนิกชนจํานวนมากซึ่งต้อง เลิกทําวัตรปฏิบัติแบบศาสนาพราหมณ์ และหันมามีวัตรปฏิบัติแบบศาสนาพุทธซึ่งไม่เคร่งครัดเท่ากับผู้บวชเป็นภิกษุ เงื่อนไขสําคัญในเรื่องนี้คือ วรรณะแพศย์เป็นผู้ทําการค้า ในช่วงเศรษฐกิจกําลังเปลี่ยนแปลง วัตรปฏิบัติ บางอย่างของศาสนาพราหมณ์ไม่เอื้อให้ผู้ทําการค้ามีอิสระในการทําการค้า ในแง่นี้ศาสนาพุทธจึงได้ปลดปล่อย วรรณะแพศย์ให้เป็นอิสระในการทําการค้า ซึ่งทําให้การค้าขยายตัวมาก วรรณะแพศย์จึงกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ พุทธศาสนาที่สําคัญ

4 วรรณะกษัตริย์ได้ให้การยอมรับพระพุทธศาสนา ดังกรณีพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็น กษัตริย์ของรัฐมคธอันมั่งคั่งและมีอิทธิพล แม้ว่ากษัตริย์เหล่านั้นจะไม่ได้ตัดขาดจากศาสนาพราหมณ์ โดยมองว่า ศาสนาพุทธก็มีสถานะไม่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์แต่จํากัดบทบาทที่ไม่เกี่ยวกับทางโลกย์ การยอมรับ พระพุทธศาสนาของกษัตริย์อาจเกิดจากที่ประชาชนศรัทธามากและเข้าอุปถัมภ์มากเพื่อเสริมบารมีตนเอง แต่อีกนัยหนึ่งศาสนาพุทธก็ได้ประโยชน์จากการอุปถัมภ์ของกษัตริย์เช่นกัน

5 ภาษาที่ใช้สามารถเข้าถึงประชาชนได้มาก ขณะที่ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ในการเทศน์ซึ่งผู้คนในวรรณะต่ำเข้าไม่ถึง พุทธศาสนาใช้ภาษามคธหรือภาษาบาลีในการเทศน์ ภาษามคธมาจาก ตระกูลปรากฤตอันเป็นภาษาที่พราหมณ์เหยียดหยามว่าเป็นภาษาชั้นต่ำ เป็นภาษาสามัญที่ชาวเมืองใช้พูดกัน ในความเป็นจริงพระพุทธเจ้าได้ใช้ภาษาสันสฤตร่วมด้วยอันแสดงถึงความรู้ทางภาษาที่ได้รับมาก่อนออกบรรพชา ในแง่นี้หากเชื่อว่าภาษาเป็นที่มาของความรู้ การเลือกใช้ภาษาของพระพุทธเจ้าจึงมีนัยทางเศรษฐกิจการเมือง ที่สําคัญ คือ ทําให้ชนชั้นล่างเข้าใจความรู้ได้มากขึ้นส่งผลต่อระบบการเมืองและเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ไปอีก และที่สําคัญเมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ไม่แตกต่างกันจึงเท่ากับพระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบวรรณะ ไปในคราวเดียวกันด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นและแพร่ขยายของพุทธศาสนาในชมพูทวีปมีนัยสําคัญ คือ เป็น การต่อสู้ทางสังคมการเมือง เช่น การยกเลิกการทํายัญพิธี การใช้ภาษาที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งยังเป็น การต่อสู้ทางชนชั้นอย่างสําคัญ เสมือนการปลดแอกให้แก่ชนชั้นต่ำที่ลําบากยากจนได้ทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะล้มล้าง การแบ่งชั้นวรรณะไม่ได้ก็ตาม

 

ข้อ 5. “ไตรภูมิพระร่วง” ถือได้ว่าเป็นหลักฐานที่ปรากฏแนวคิดทางการเมืองไทยที่มีลักษณะเป็นระบบที่ชัดเจนที่สุด โปรดอธิบาย “ธรรม” และ “หลักการปกครอง” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วงที่สําคัญ โดยอธิบายให้เข้าใจในเนื้อหาของแต่ละเรื่องด้วย

แนวคําตอบ

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย โดยพญาลิไททรงศรัทธาในความเป็นจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชา โดยทรงเห็นว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็น ต้นแบบของธรรมราชาและทรงประสงค์จะยึดถือปฏิบัติธรรมตามแบบนั้นเพราะทรงต้องการที่จะเป็นธรรมราชา เช่นเดียวกัน

การที่พญาลิไททรงประพันธ์ไตรภูมิพระร่วงนั้น ทรงเป็นความพยายามที่จะใช้พุทธศาสนา เป็นเครื่องมือทางการเมือง และกล่าวได้ว่า ไตรภูมิพระร่วงจัดว่าเป็นแนวคิดทางการเมืองไทยที่เป็นระบบและ ชัดเจนที่สุด มีความต่อเนื่องและได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามากที่สุด

ทั้งนี้ “ธรรม” และ “หลักการปกครอง” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง มีดังนี้

ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย

1 ทาน (ทานํ) คือ การให้

2 ศีล (สีลํ) คือ การตั้งสังวรรักษากาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษ

3 การบริจาค (ปริจฺจาคํ) คือ การบริจาคสละ

4 ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การมีความซื่อตรง

5 ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน

6 ความเพียร (ตปํ) คือ การกําจัดความคร้านและความชั่ว

7 ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่โกรธ

8 ความไม่เบียดเบียน (อวิหึสญฺจ) คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดจนสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก

9 ความอดทน (ขนฺติญฺจ) คือ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า

10 ความไม่พิโรธ (อวิโรธนํ) คือ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรงและดํารงอาการคงที่ไม่ให้วิการด้วยอํานาจยินดียินร้าย

ทศพิธราชธรรมเป็นธรรมที่กล่าวถึงคุณลักษณะส่วนตัวของผู้ปกครอง ถือเป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยว ไม่ให้ผู้ปกครองทําร้ายหรือรังแกผู้ใต้ปกครอง

หลักการปกครอง จักรวรรดิวัตร 12 ประการ มีดังนี้

1 ควรพระราชทานโอวาทและอนุเคราะห์คนภายในราชสํานักและคนภายนอก

2 ควรทรงผูกพระราชไมตรีสมานราชสัมพันธ์กับกษัตริย์

3 ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควร

4 ควรทรงเกือกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคฤหบดีชน

5 ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป

6 ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบด้วยพระราชทานไทยธรรมบริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ

7 ควรทรงจัดรักษาฝูงเนื้อ และนกด้วยพระราชทานอภัยไม่ให้ใครเบียดเบียนทําอันตรายจนเสื่อมสูญพืชพันธุ์

8 ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ทํากิจการที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ชักนําให้ตั้งอยู่ในกุศลสุจริตส่วนชอบ ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม

9 ชนใดขัดสนไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะได้ ควรพระราชทานพระราชทรัพย์เจือจานให้เลี้ยงด้วยวิธีอันเหมาะสม ไม่ให้แสวงหาด้วยทุจริต

10 ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญ บาป กุศล อกุศลให้กระจ่างชัด

11 ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอาคมนียสถาน

12 ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่มิควรได้

จักรวรรดิวัตร 12 ประการ จะครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการปกครอง และมีความคล้ายคลึงกับ จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชมาก

ธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งสอนกษัตริย์ทั้งหลาย

ธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้สั่งสอนกษัตริย์ตามหัวเมืองที่ทรงสวามิภักดิ์ ซึ่งกว้างขวางกว่า ทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร 12 ประการ ซึ่งปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ดังนี้

1 ให้รักประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองอย่างเสมอหน้ากัน

2 ให้ผู้ปกครองยึดมั่นในหิริโอตัปปะ และดําเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม

3 ไม่ให้ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน

4 ให้เลี้ยงดูไพร่ที่ใช้งานและทหารอย่างพอควร ไม่ควรเกณฑ์แรงงานผู้เฒ่า

5 ควรเก็บภาษีสินส่วยจากราษฎรตามอัตราเดิมไม่ควรเก็บส่วยเพิ่ม

6 ควรสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อค้าประชาชน ไม่ให้คิดดอกเบี้ย

7 ควรชุบเลี้ยงข้าราชสํานักให้สุขสบายโดยไม่คิดเสียดาย

8 ควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและไม่ลืมตน

9 ควรเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ธรรมและปรึกษาผู้รู้อยู่เสมอ

10 ผู้ปกครองควรให้สิ่งตอบแทนบําเหน็จรางวัลแก่ผู้ทําความดีมากน้อยตามประโยชน์ที่เขานํามาให้

ดังนั้นอาจกลาวได้ว่า “ธรรม” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วงข้างต้น ซึ่งได้แก่ ทศพิธราชธรรม ส่วนจักรวรรดิวัตร 12 ประการ และธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ถือเป็น “หลักการปกครอง” ในสมัยพญาลิไท

WordPress Ads
error: Content is protected !!