การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1100 รัฐศาสตร์ทั่วไป

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 แปลน A ในการเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคําแหง เกี่ยวกับ

(1) การเมืองการปกครองทฤษฎี

(2) บริหารรัฐกิจ

(3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(4) การทูต

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 51 – 52 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคําแหง ได้แบ่งสาขาวิชารัฐศาสตร์ออกเป็น 3 สาขา คือ

1 แปลน A สาขาการปกครอง (Government) ครอบคลุมเนื้อหาทฤษฎีการเมืองการปกครอง

2 แปลน B สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation) ครอบคลุมเรื่องราวเกี่ยวกับนานาชาติ เช่น สงคราม องค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ทางการทูต ฯลฯ

3 แปลน C สาขารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ครอบคลุมการจัดและบริหารองค์การของรัฐ ระเบียบปฏิบัติ เช่น พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

2 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการเมืองเฟื่องใน

(1) อียิปต์โบราณ

(2) อียิปต์ปัจจุบัน

(3) อังกฤษขณะนี้

(4) USA. ขณะนี้

(5) มาเลเซียขณะนี้

ตอบ 1 หน้า 149 – 154, (คําบรรยาย) พฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ถือว่า รัฐเกิดขึ้นมาจากสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ คือ เทพยดาหรือผู้อยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเมือง หรือการมีผู้ปกครองรัฐที่เคยมีหรือเคยใช้และได้รับการยอมรับมากในยุคโบราณหรือยุคเก่าก่อนของอารยธรรมต่าง ๆ เช่น กรีก อียิปต์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ ฯลฯ

3 รัฐที่มีอาณาบริเวณพื้นที่มากหรือใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ ได้แก่

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) จีน

(3) รัสเซีย

(4) แคนาดา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 127 ประเทศ/รัฐที่มีอาณาบริเวณพื้นที่มากที่สุดในโลกขณะนี้ ได้แก่ รัสเซีย (Russia) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6.5 ล้านตารางไมล์ (แต่เดิมอดีตสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายแตกแยกเป็น รัฐย่อย ๆ จํานวนมาก มีพื้นที่มากถึง 8.6 ล้านตารางไมล์ แต่รัสเซียที่เหลืออยู่ก็ยังคงมีพื้นที่มากที่สุดในโลกเช่นเดิม ทั้งนี้เพราะรัสเซียยังครอบครองไซบีเรียอันกว้างใหญ่ไพศาลอยู่)

4 หน้าปกตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป เขียนว่า Introduction หมายถึงอะไร

(1) การแนะนํา

(2) การค้นคว้า

(3) การส่งเสริม

(4) การพิจารณา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 คําว่า Introduction ในหน้าปกตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป (Introduction to Political Science)หมายถึง การแนะนํา คือ เป็นการแนะนําให้รู้จักในเบื้องต้นเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์

5 องค์การ “สหประชาชาติ” ที่รับ ดชอบด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระดับโลก คือ

(1) INU

(2) NATO

(3) SEATO

(4) UNESCO

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทบวงชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระดับโลก คือ UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และยัง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัลมรดกโลก (World Heritage)

6 อาคาร POB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก อักษร O หมายถึง

(1) Office

(2) Oberlin

(3) Olox

(4) Oxen

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อาคาร POB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก หมายถึง อาคารคณะรัฐศาสตร์ (Political Science (Office Building) ซึ่งชั้นล่างเป็นศูนย์เอกสารทางวิชาการของคณะ

7 บทที่ 2 ของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป กล่าวถึง นายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรี ซึ่งอยู่ในตําแหน่งเกิน 15 ปี ได้แก่

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 98, (คําบรรยาย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรีที่อยู่ในตําแหน่งนานที่สุดประมาณ 15 ปีเศษ (เกือบ 16 ปี) ซึ่งเป็นยุคที่ใช้เพลงปลุกใจและละคร “เลือดสุพรรณ” ส่วนนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตําแหน่งนานรองลงมา คือ จอมพลถนอม กิตติขจร ประมาณ 11 ปีและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประมาณ 8 ปี

8 ประธานาธิบดีผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) Washington

(2) Ford

(3) Wilsm

(4) Lincoln

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 279, (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา คือ อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln ซึ่งดํารงตําแหน่งในช่วงปี ค.ศ. 1861 – 1865 โดยอยู่ร่วมสมัยกับ ร.5 สมเด็จพระปิยมหาราช/สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์ผู้เลิกทาสของไทย)ที่ขึ้นครองราชย์ฯ ในปี ค.ศ. 1868 (เป็นเวลาห่างกันเพียง 3 ปีเท่านั้น)

9 แม็กนาคาร์ตา มีมาแล้วประมาณกี่ปี

(1) 400 ปี

(2) 600 ปี

(3) 80 ปี

(4) 1,000 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 178, 292 แม็กนาคาร์ตา (Magna Carta) ซึ่งถือกันว่าเป็นปฐมรัฐธรรมนูญของอังกฤษได้มีการจัดทําขึ้นและประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) ดังนั้นในปัจจุบัน (ค.ศ. 2019) จึงมีมาแล้วประมาณ 800 ปี ซึ่งคําว่า Magna Carta เป็นภาษาลาติน (Magna แปลว่า ใหญ่, Carta แปลว่า แผ่นหรือบัตร ซึ่งต่อมาก็คือคําว่า Card นั่นเอง)

10 ทฤษฎีกําเนิดของรัฐที่กล่าวว่า “แรงธรรมชาติผลักดันมนุษย์ให้สร้างรัฐขึ้นมา” ได้แก่ทฤษฎี

(1) อภิปรัชญา

(2) สัญชาตญาณ

(3) สัญญาประชาคม

(4) ชีวอินทรีย์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 154 ทฤษฎีสัญชาตญาณ (Instinct Theory) กล่าวว่า “มีแรงธรรมชาติที่ผลักดันให้มนุษย์รวมตัวกันให้เป็นรัฐหรือให้เป็นองค์การทางการเมืองขึ้นมา” โดยแรงธรรมชาติก็คือ สิ่งที่อุบัติขึ้นเองเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

11 อธิปไตยในแนวพุทธศาสนาที่ใกล้เคียงกับประชาธิปไตย ได้แก่

(1) โลกาธิปไตย

(2) อัตตาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) บวราธิปไตย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 286, 313 314 ในแนวพุทธศาสนาได้มีการกล่าวถึงอธิปไตย 3 ประเภท ได้แก่

1 โลกาธิปไตย เป็นการปกครองที่ใกล้เคียงกับลัทธิหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย เพราะมีความหมายว่า ยกให้พลเมืองเป็นส่วนใหญ่ (การปกครองโดยคนส่วนใหญ่)

2 อัตตาธิปไตย เป็นการให้อํานาจไว้กับคน ๆ เดียว เช่น ราชาธิปไตย ฯลฯ

3 ธรรมาธิปไตย เป็นการปกครองที่ดีเลิศ คือ การยกย่องธรรมะให้เป็นใหญ่

12 Hyde Park ซึ่งเป็นสถาบันแห่งการพูดโดยเสรี ตั้งอยู่ ณ ที่ใด

(1) ลอนดอน

(2) ปารีส

(3) เบอร์ลิน

(4) นิวยอร์ก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 280 สวนไฮด์ (Hyde Park) ในมหานครลอนดอนของอังกฤษ คือ สถานที่อันเลื่องชื่อที่ประชาชนสามารถพูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

13 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช สร้างมาประมาณกี่ปีแล้ว

(1) 450 ปี

(2) 550 ปี

(3) 650 ปี

(4) 750 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 (PS 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 168, 171) ปฐมรัฐธรรมนูญของไทยตามแนวคิดของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ซึ่งมีลักษณะเด่นดังนี้

1 มีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1283 (พ.ศ. 1826) หรือมีขึ้นเมื่อประมาณ 736 ปีมาแล้ว

2 มีขึ้นหลังแม็กนาคาร์ตา (Magna Carta) ปฐมรัฐธรรมนูญของอังกฤษเพียง 68 ปีเท่านั้น โดยแม็กนาคาร์ตามีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) หรือมีมาแล้วประมาณ 801 ปี

3 เป็นรัฐธรรมนูญประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

14 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะคล้ายกันมาก คือ

(1) มี 2 พรรคใหญ่

(2) มีการเลือกตั้งหัวหน้ารัฐบาลทุก 5 ปีเป็นประจํา

(3) มีพรรคใหญ่ ๆ 5 พรรค

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 379 – 381 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะเหนีอนกันหรือคล้ายกันมาก คือ เป็นระบบ 2 พรรค มีพรรคการเมืองใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันเป็นรัฐบาล โดย 2 พรรคนี้จะมีเสียงสนับสนุนใกล้เคียงกัน ขณะที่พรรคอื่น ๆ จะเป็นเพียงพรรคเล็ก ๆ เท่านั้น (การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจะมีขึ้นทุก 4 ปี ส่วนอังกฤษมีการเลือกตั้งทุก 5 ปี แต่การเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นก่อนกําหนด (ถ้ามีการยุบสภาฯ)

15 หนึ่งในสามปราชญ์ยุคกรีกโบราณ ได้แก่

(1) ซอคระตีส

(2) โบโลญ

(3) Aesop

(4) Giddens

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 30 – 32, 99 รัฐศาสตร์ในโลกตะวันตกได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางปรัชญาโดยเฉพาะปรัชญาทางการเมืองของ 3 มหาปราชญ์หรือไตรเมธีหรือผู้เลิศทางปัญญาด้าน สังคมศาสตร์แห่งยุคกรีกโบราณ ซึ่งมีฐานะเป็นอาจารย์กับลูกศิษย์กัน ดังนี้

1 ซอคระตีส (Socrates) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญา” มีเพลโตเป็นศิษย์เอก

2 เพลโต (Plato) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญาการเมือง” มีอริสโตเติลเป็นศิษย์เอก

3 อริสโตเติล (Aristotle) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐศาสตร์” หรือบิดาผู้สถาปนาผู้ก่อตั้งวิชารัฐศาสตร์ (Founding Father) มีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นศิษย์เอก

16 หมาดของทศพิธราชธรรมมีข้อใดดังต่อไปนี้

(1) ทาน

(2) บริจาค

(3) รักษาศีล

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 22 – 23, 514 – 515 ทศพิธราชธรรม หมายถึง กิจวัตรหรือจริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจําพระองค์หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง 10 ประการ ดังนี้

1 ทาน (การให้)

2 ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)

3 บริจาค (ความเสียสละ)

4 อาชชวะ (ความซื่อตรง)

5 มัททวะ (ความอ่อนโยน)

6 ตบะ (การข่มกิเลส)

7 อักโกธะ (ความไม่โกรธ)

8 อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)

9 ขันติ ความอดทน)

10 อวิโรธนะ (ความไม่คลาดจากธรรม)

17 นายกรัฐมนตรีไทยที่ดํารงตําแหน่งนานเป็นอันดับ 3 คือ ประมาณ 8 ปี ได้แก่

(1) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(4) ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

18 ความเป็นประชาธิปไตยเน้นอะไร

(1) ความเสมอภาค

(2) การคํานึงถึงเสียงข้างน้อย

(3) การยอมรับเสรีภาพส่วนบุคคล

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเป็นประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องของความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพควบคู่กันไป โดยลัทธิประชาธิปไตยจะเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ให้การยอมรับเสรีภาพส่วนบุคคล คนทุกคนอย่างน้อยที่สุดก็มีความสามารถ ในการปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองโดยเสียงข้างมากแต่จะต้องเคารพและคํานึงถึงเสียงข้างน้อยด้วย

19 ศิษย์เอกที่ประสบความสําเร็จในการเป็นนักปกครองของอริสโตเติล ได้แก่

(1) Rommal

(2) เดอร์มัน

(3) แม็คอาร์เธอร์

(4) อเล็กซานเดอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

20 บิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) จอห์น เอฟ เคนเนดี้

(2) วูดโรว์ วิลสัน

(3) ธีโอดอร์ รูสเวลต์

(4) แฮรี เอส ทรูแมน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 473 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา (USA) เป็นผู้เริ่มต้นเสนอแนวความคิดอันเป็นแนวกรอบเค้าโครงความคิด (กระบวนทัศน์ : Paradigm) เรื่องการแยกการบริหารออกจากการเมือง ทําให้เกิดแนวความคิดในการศึกษาด้านการบริหารขึ้น เป็นการแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นวิลสันจึงได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา”

21 ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของ “นครรัฐ”

(1) กรุงกบิลพัสดุสมัยพุทธกาล

(2) เวียงพิงค์

(3) กรุงเอเธนส์สมัย 2,000 ปีมาแล้ว

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 111 – 113 ตัวอย่างของนครรัฐ (Polis) หรือ city-state ในอดีต ได้แก่

1 นครรัฐของอินเดียในสมัยพุทธกาล เช่น กรุงกบิลพัสดุ กรุงราชคฤห์ ฯลฯ

2 นครรัฐของกรีกโบราณสมัย 2,400 ปีมาแล้ว เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา โอลิมเปีย ฯลฯ

3 นครรัฐทางภาคเหนือของไทยในอดีต เช่น เวียงพิงค์ (เชียงใหม่), เขลางค์นคร (ลําปาง), หริภุญชัย (ลําพูน), เวียงโกศัย (แพร่), ชากังราว (กําแพงเพชร) ฯลฯ

22 แนวการเรียนการสอนแบบ PPE ที่ Oxford University ในอังกฤษ คือเน้นการเรียนวิชา

(1) ปรัชญา

(2) รัฐศาสตร์

(3) เศรษฐศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 85 ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของอังกฤษ คือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ซึ่งมีอายุเกินกว่า 900 ปี มีการสอน 3 วิทยาการร่วมกัน คือ PPE ได้แก่ Philosophy, Politics and Economics (ปรัชญา รัฐศาสตร์/การเมือง และเศรษฐศาสตร์) โดยนายกรัฐมนตรีของไทยที่จบหลักสูตร PPE จาก Oxford ได้แก่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (นายกฯ คนที่ 13) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกฯ คนที่ 27)

23 หน่วยงานของ “สหประชาชาติ” ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารระดับโลก คือ

(1) EURO

(2) FAO

(3) IMF

(4) WHO

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO : Food and Agriculture Organization) เป็นองค์การชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารและเกษตรกรรมระดับโลก โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี

24 อดีตเลขาธิการผู้หนึ่งของสหประชาชาติเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชาว

(1) ไทย

(2) สิงคโปร์

(3) เมียนมาร์

(4) เวียดนาม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (ข่าว) อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ช่วงก่อตั้งองค์การที่เป็นคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาวเมียนมาร์ คือ นายอูถิ่น (U Thant) ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการ UN ในช่วงปี ค.ศ. 1961 – 1971 (พ.ศ. 2504 – 2514) ส่วนเลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ คือ นายกูแตรีส (Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 แทนนายบันคีมูน (Ban Ki Moon)

ชาวเกาหลีใต้ ที่ครบวาระการดํารงตําแหน่ง 2 สมัย (10 ปี)  (วาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี)

25 ประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบ “กึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา”

(1) ฝรั่งเศส

(2) ยูโกสลาเวีย

(3) เกาหลีเหนือ

(4) ออสเตรเลีย

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 187 รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

1 ระบบรัฐสภา มีในประเทศอังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ

2 ระบบประธานาธิบดี มีในประเทศสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

3 ระบบกึ่งรัฐสภาถึงประธานาธิบดี หรือกึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา (ระบบคณะรัฐมนตรีแบบฝรั่งเศส) มีในประเทศฝรั่งเศส ศรีลังกา ฯลฯ

26 คํากล่าวโดยผู้สถาปนา (Founder) วิชารัฐศาสตร์ที่ว่า “รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ภาคปฏิบัติ” และพิมพ์อยู่ในวงกรอบสี่เหลี่ยมในตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ปรากฏอยู่ในช่วงใดของตํารา

(1) ปกในด้านหน้า

(2) หน้าต้น ๆ ก่อนถึงคํานํา

(3) ปกหลังด้านใน

(4) หน้าท้ายสุด

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ในหน้าต้น ๆ ก่อนถึงคํานําของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป (PS 103 เล่มเก่า) บ่งชี้ลักษณะของการเมืองว่า“การเมืองเป็นศิลปะแห่งการ (ทําให้) เป็นไปได้” (Politics is the art of the possible.) เป็น คํากล่าวของ อาร์.เอ. บัตเลอร์ (R.A. Butler) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ส่วนอริสโตเติลผู้สถาปนาวิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ภาคปฏิบัติ” (Politics is Practical Science.)

27 ตัวอย่างของการแสดงออกซึ่งสาธารณประโยชน์จิต (Public Spirit) ได้แก่

(1) การรู้จักประหยัดทรัพยากร

(2) การไปลงคะแนนเสียง

(3) การทําตามคําขวัญข้อหนึ่งในคําขวัญ 4 ข้อ ของ ม.ร. ที่เริ่มต้นด้วย “รู้จักอภัย…” (4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 319 สาธารณประโยชน์จิตหรือจิตวิญญาณสาธารณะ (Public Spirit) คือ การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดจากความสํานึกว่าเป็นหนี้บุญคุณของสังคม ดังนั้นจึงมีหน้าที่ต้องทําประโยชน์ให้เป็นการตอบแทนหรือเป็นการสนองคุณชาติ (คําขวัญข้อหนึ่ง ใน 4 ข้อ ของ ม.ร. คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ) ได้แก่ การทําหน้าที่พลเมืองดีในด้านต่าง ๆ เช่น การรู้จักประหยัดพลังงานหรือประหยัดทรัพยากร การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น

28 ประเทศที่มีฉายาว่าดินแดนอาทิตย์อุทัย ได้แก่

(1) แอฟริกาใต้

(2) ญี่ปุ่น

(3) แคนาดา

(4) เกาหลีเหนือ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศญี่ปุ่นมีชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Nippon (นิปปง) หรือ Nihon (นิฮง) ซึ่งหมายถึง ถิ่นกําเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทําให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับฉายาว่า ดินแดนอาทิตย์อุทัย (โดยในปัจจุบันคําว่า Nippon มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ แต่ถ้าหากเป็นเวลาปกติก็จะใช้คําว่า Nihon)

29 อาคาร BNB ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่วิทยาเขตบางนา-ตราด อักษร B ตัวหลังหมายถึง

(1) Big

(2) Body

(3) Banner

(4) Building

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) อาคาร BNB (Bangna Building) ในมหาวิทยาลัยรามคําแหงวิทยาเขตบางนา(รามคําแหง 2) เป็นอาคารเรียนชั้นเดียว มีทั้งหมด 11 อาคาร (BNB 1 – BNE 11)

30 หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์ ตั้งแต่ยังมีสถานะเป็นภาควิชาของ ม.รามคําแหง มีตั้งแต่ปีใด

(1) 2510

(2) 2514

(3) 2518

(4) 2520

(5) 2522

ตอบ 2

31 ในข้อแนะนําก่อนถึงบทต่าง ๆ ในตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ระบุว่าห้องสมุดใหญ่สุดของโลกเกี่ยวโยงกับการให้ความรู้กับสถาบันนิติบัญญัติ คือของ

(1) ม.ฮาร์วาร์ด

(2) ม.เยล

(3) ม.แคลิฟอร์เนีย ณ นครเบิร์คลี่ย์

(4) รัฐสภาอเมริกัน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข้อแนะนํา) ห้องสมดหรือแหล่งวิชาการใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ หอสมุดแห่งสภาคองเกรส (Library of Congress) หรือห้องสมุดของรัฐสภาอเมริกัน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีหนังสือเอกสารต่าง ๆ มากกว่า 128 ล้านรายการ

32 พลเมืองของประเทศฟิลิปปินส์มีประมาณ

(1) 42 ล้านคน

(2) 62 ล้านคน

(3) 82 ล้านคน

(4) 102 ล้านคน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ มีจํานวนประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน ดังนี้

1 อินโดนีเซีย 250 ล้านคน

2 ฟิลิปปินส์ 102 ล้านคน

3 เวียดนาม 100 ล้านคน

4 ไทย 65 ล้านคน

5 พม่า 60 ล้านคน

6 มาเลเซีย 30 ล้านคน

7 กัมพูชา 16 ล้านคน

8 ลาว 6 ล้านคน

9 สิงคโปร์ 5 ล้านคน

10 บรูไน 4 แสนคน

33 Magna Carta ประกาศใช้ในปี ค.ศ.

(1) 1210

(2) 1211

(3) 1212

(4) 1215

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. และ 13. ประกอบ

34 ในตําราช่วงหน้าที่ 117 กล่าวถึงผู้เคยมีอํานาจมากเป็นระดับเจ้าเมืองในยุคเก่าก่อนของญี่ปุ่น เรียกว่า

(1) ขุนพลซามูไร

(2) โชกุน

(3) โซชิดะ

(4) โตโจ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 117 ผู้มีอํานาจควบคุมพื้นที่มากในสมัยศักดินาของญี่ปุ่น ได้แก่ บรรดาขุนพลหรือเจ้าเมืองที่เรียกว่า โชกุน (Shogun) ส่วนองค์จักรพรรดิจะมีอํานาจแต่เพียงในนามเท่านั้น

35 หลักสูตร Ph.D. หมายถึงระดับใด

(1) ปริญญาตรี

(2) ปริญญาตรีภาคพิเศษ

(3) ปริญญาโท

(4) ปริญญาเอก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 5, (คําบรรยาย) หลักสูตรในระดับปริญญา มีชื่อเรียกเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ ดังนี้

1 ปริญญาตรี = B.A. (Bachelor of Arts / Bachelor’s Degree)

2 ปริญญาโท – M.A. (Master of Arts / Master’s Degree)

3 ปริญญาเอก – Ph.D. (Philosophies Doctor / Doctor of Philosophy)

36 “ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะให้พี่น้องร่วมชาติมากไปกว่าหยาดโลหิต พลังในร่างกาย น้ำคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย” เป็นวาทะที่กล่าวโดยรัฐบุรุษอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ในมหาสงคราม

(1) โลกครั้งที่ 1

(2) โลกครั้งที่ 2

(3) เวียดนาม

(4) อ่าวเปอร์เซีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 432 วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษซึ่งมีความเป็นผู้นําสูงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเขาสามารถปลุกและเร้าใจให้คนอังกฤษ มีขวัญและกําลังใจในการต่อสู้ ด้วยการกล่าววาทศิลป์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเป็นเสมือนมนต์ขลัง โดยเฉพาะในตอนที่ว่า “ทั้งชีวิตข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะอุทิศให้พี่น้องร่วมชาติมากไปกว่าหยาดโลหิตสปิริตแรงกล้า น้ำอัสสุชลคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย”

37 คําขวัญ (Motto, Slogan) ประจํา ม.ร. ตั้งแต่อธิการบดีคนแรก ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ คือ

(1) รู้จักอภัย

(2) ตั้งใจศึกษา

(3) บูชาพ่อขุน

(4) สนองคุณชาติ

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) คําขวัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งหรือ”ยุคสถาปนาโดย ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ อธิการบดีผู้ก่อตั้ง (Founding President) ได้แก่

1 คําขวัญยุคต้น/ยุคเริ่มแรก (พ.ศ. 2514) คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ

2 คําขวัญที่เป็นพุทธภาษิตเริ่มแรก (ภาษาบาลี) คือ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

3 คําขวัญเพิ่มเติมหรือคําขวัญใหม่/คําขวัญระยะหลัง ซึ่งได้จัดการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527คือ “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”

38 ประเทศใน ASEAN ที่มีเกาะมากที่สุด ได้แก่

(1) มาเลเซีย

(2) ฟิลิปปินส์

(3) อินโดนีเซีย

(4) ออสเตรเลีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะจํานวนมาก มี 2 ประเทศ ได้แก่

1 อินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆมากกว่า 12,000 เกาะ

2 ฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มากกว่า 8,000 เกาะ

39 สหรัฐอเมริกาได้เป็นประเทศเอกราชประมาณช่วง

(1) 230 ปีมาแล้ว

(2) ยุคสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

(3) ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 131 สหรัฐอเมริกาถือว่าวันได้รับเอกราชสําคัญยิ่งและถือว่าเป็นวันชาติ (National Day) แต่ใช้ศัพท์แทนว่า The Fourth of July ซึ่งหมายถึง วันที่ได้รับอิสระจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 (พ.ศ. 2319) หรือเมื่อประมาณ 243 ปีมาแล้ว ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 6 ปี ซึ่งตรงกับยุคสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 – 2325)

40 อักษรย่อ B.A. หมายถึง

(1) ปริญญาตรี

(2) บริหารกิจการ

(3) ธนาคารแห่งแอนตาร์กติก

(4) Bombay Amy

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

41 นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ 2561 ได้แก่

(1) แอนโทนี กิดเดนส์

(2) เทเรซา เมย์

(3) แคมเมอรอน

(4) วินสตัน ซิมอน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ข่าว) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในปี พ.ศ. 2561 ได้แก่ นางเทเรซา เมย์ (Theresa May)สังกัดพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี)

42 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการค้าโลกทําให้มีความนิยมเรียน Mandarin หมายถึงอะไร

(1) การทําอาหารจีน

(2) ภาษาจีนกลาง

(3) การประดิษฐ์แบบ Hakone

(4) ภาษาญี่ปุ่น

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 124, (คําบรรยาย) การไปลงทุนในประเทศจีนนั้น ภาษาที่จําเป็นต้องรู้จัก คือ ภาษากลางของจีนที่เรียกว่า “แมนดาริน” (Mandarin) ซึ่งใช้กันมาก และเป็นภาษาราชการของจีน

43 ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะนี้ ได้แก่

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) อินเดีย

(4) จีน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ปัจจุบันพลเมืองทั่วโลกมีประมาณ 6,700 ล้านคน โดยประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุด เรียงตามลําดับได้ดังนี้

1 สาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมาณ 1,350 ล้านคน)

2 อินเดีย (ประมาณ 1,200 ล้านคน)

3 สหรัฐอเมริกา (ประมาณ 320 ล้านคน)

4 อินโดนีเซีย (ประมาณ 250 ล้านคน)

5 บราซิล (ประมาณ 200 ล้านคน)

44 แผง Solar Cell เกี่ยวกับ

(1) การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม

(2) อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์

(3) การปลูกป่า

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันมีการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยพยายามค้นคว้าหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน เช่น การใช้แผง Solar Cell (เซลล์สุริยะ) ที่อาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านผลิตกระแสไฟฟ้า และแบตเตอรี่รถยนต์ ฯลฯ

45 Horne Stay เกี่ยวโยงกับอะไร

(1) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(2) การพักผ่อน

(3) การท่องเที่ยวแบบพื้นเมือง

(4) สุขภาพอายุวัฒนา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Home Stay หมายถึง การท่องเที่ยวแบบพื้นเมืองโดยให้นักท่องเที่ยวพักค้างแรมตามบ้านเรือนของคนในท้องถิ่น และให้กินอยู่ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น (Home Stay เป็นนโยบายรัฐบาลในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)

46 นครหลวงปัจจุบันของเมียนมาร์ คือ

(1) แรงกูน

(2) ย่างกุ้ง

(3) เนปิดอว์

(4) เนการา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอน 3 (ความรู้ทั่วไป) เมืองหลวงของประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ในปัจจุบัน คือ เมืองเนปิดอว์หรือ -เนปยีดอว์ (Naypyidaw) ส่วนย่างกุ้งหรือแรงกูน (Yangon) เป็นเมืองหลวงเก่า

47 ศัพท์ชาตินิยมในภาษาอังกฤษ คือ

(1) Nationalism

(2) Anarchism

(3) Liberalism

(4) Patriotism)

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 438 – 439, (คําบรรยาย) ชาตินิยม ได้แก่ Nationalism คือ ลัทธิชาตินิยม ซึ่งเป็นความรักแบบคลั่งชาติ (ส่วนคําว่า Anarchism คือ ลัทธิอนาธิปไตย, Liberalism คือ ลัทธิเสรีนิยม, Patriotism คือ ลัทธิรักชาติ เป็นการสนับสนุนให้คนรักชาติ รักประเทศ รักปิตุภูมิ/มาตุภูมิ หรือรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน)

48 ใน 2 – 3 หน้าแรกของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป ระบุคํากล่าวว่า “การเมืองเป็นศิลป์แห่งการ”

(1) เคลื่อนไหว

(2) ภาคปฏิบัติ

(3) อุดมคติ

(4) น่าวิเคราะห์

(5) ทําให้เป็นไปได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

49 NATO บางครั้งใช้ในความหมายว่าเป็นลักษณะของชนบางชาติหรือบางประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

(1) No

(2) Action

(3) Talk

(4) Only

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) NATO บางครั้งใช้ในความหมายว่าเป็นลักษณะของชนบางชาติหรือบางประเทศคือ มีลักษณะที่เรียกว่า No Action, Talk Only กล่าวคือ ไม่มีการกระทํา, มีแต่พูดอย่างเดียวเข้าทํานองที่ว่า ดีแต่พูด แต่ทําอะไรไม่ได้ ทําอะไรไม่เป็น หรือไม่ได้ทําอะไรสักอย่าง

50 ขุนนางและปราชญ์ชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ชื่อ นิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือ สําคัญทางการเมือง ชื่อ

(1) The Princess

(2) The Prince

(3) The Queen

(4) The Knights

(5) Ex Caliber

ตอบ 2 หน้า 39 รัฐศาสตร์ยุคใหม่เริ่มจากข้อเขียนของนิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) นักคิดและนักการเมืองชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ในหนังสือชื่อ The Prince (เจ้าหรือผู้ครองนคร)ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในทางรัฐศาสตร์ที่มีการแยกการเมืองออกจากศีลธรรม

51 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา อยู่ในตําแหน่งนานเท่าใด

(1) 2 ปี

(2) 4 ปี

(3) 6 ปี

(4) 8 ปี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข่าว) บารัค โอบามา (Barack Obama) ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา (USA)สังกัดพรรคเดโมแครต อยู่ในตําแหน่ง 2 สมัย นาน 8 ปี (20 ม.ค. 2552 – 19 ม.ค. 2560)

52 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อ หนึ่งคือ “ปัจเจกชนนิยม” (Individualism) หมายถึง

(1) รัฐบาลควรวางมาตรฐานแห่งการดําเนินชีวิตให้ประชาชนทุกคน

(2) บุคคลพึงควรปฏิบัติตามกฏข้อบังคับของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

(3) ไม่ยอมให้ผู้ใดบังคับให้ลงคะแนนเสียงตามที่กําหนดได้

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 317 – 318 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อหนึ่งคือ ปัจเจกชนนิยม (Individualism)ซึ่งมี 2 ความหมาย คือ

1 รัฐบาลไม่ควรเข้าควบคุมกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคม

2 เอกชนหรือปัจเจกชนนิยมจะต้องมีสิทธิในการตัดสินใจของตนเองโดยเสรี มิใช่ตามใจผู้อื่น การตัดสินใจโดยเสรี คือ การใช้ความคิดอิสระ บราศจากการบีบบังคับโดยบุคคลอื่น

53 หลักวิธีการศึกษาแบบ “พฤติกรรมศาสตร์” เน้นในเรื่องใด

(1) ประวัติความเป็นมา

(2) ปรัชญาที่ลึกซึ้ง

(3) ข้อมูล สถิติ ตัวเลข

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 32 – 34 หลัาวิธีการศึกษาแบบ “ พฤติกรรมศาสตร์” จะใช้วิธีการเชิงปริมาณ คือ เน้นในเรื่องข้อมูลที่เป็นสถิติ ตัวเลข ซึ่งสามารถวัดได้ โดยไม่สนใจเรื่องประวัติความเป็นมา ปรัชญาที่ลึกซึ้ง และคุณภาพหรือการคิดเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ยาก

54 จํานวนเด็กเกิดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาลดลงเหลือประมาณปีละ

(1) 1 ล้านคน

(2) 8 แสนคน

(3) 7 แสนคน

(4) 6 แสนคน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (ข่าว) จํานวนเด็กเกิดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาลดลงเหลือประมาณปีละ 7 แสนคน และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเหลือต่ำกว่านี้อีก จากที่เคยสูงกว่า 1 ล้านคนเมื่อ 30 ปีก่อน

55 ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ

(1) สองแสน ตร.กม.

(2) สามแสน ตร.กม.

(3) สี่แสน ตร.กม.

(4) ห้าแสน ตร.กม.

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 4, 127, (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 500,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 200,000 ตารางไมล์ (1 ตารางไมล์ = 2.59 ตารางกิโลเมตร) โดยมีพื้นที่ใกล้เคียง กับประเทศฝรั่งเศส และใกล้เคียงกับรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐที่มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่มากที่สุด โดยเฉพาะที่เมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles หรือเมือง LA ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี)

56 เหตุการณ์เกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยจนมีการสร้างภาพยนตร์ที่วรุฒ วรธรรม แสดงเป็นนายทหารญี่ปุ่น เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) กรณีพิพาทกับออสเตรเลีย

(4) ช่วงสงครามฝิ่น

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เหตุการณ์เกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยจนมีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “คู่กรรม” ที่วรุฒ วรธรรม แสดงเป็น “โกโบริ” นายทหารญี่ปุ่น เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

57 ในสมัย “สหภาพโซเวียต” ยังคงเป็นประเทศเดียวกันอยู่ รัฐธรรมนูญได้รับอิทธิพลจาก

(1) คาร์ล มาร์กซ์

(2) เลนิน

(3) อริสโตเติล

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 180, 186, 191 รัฐธรรมนูญแห่งอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเรียกว่า “ฏฎหมายขั้นมูลฐาน”เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองซ้ายสุดของคาร์ล มาร์กซ์  (Marx) เจ้าตํารับลัทธิคอมมิวนิสต์ และเลนิน (Lenin) ผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต

58 Kibbutz เป็นสถานที่อยู่ในประเทศ

(1) อิสราเอล

(2) เปรู

(3) เซเนกัล

(4) ศรีลังกา

(5) โปรตุเกส

ตอบ 1 หน้า 289 – 290, 410 ประชาธิปไตยโดยตรงในยุคปัจจุบันหรือในยุคร่วมสมัย มีตัวอย่างในประเทศต่าง ๆ เช่น ชุมชนคิบบุทซ์ (Kibbutz) ในอิสราเอล, Canton ในสวิตเซอร์แลนด์และ Town Meeting ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

59 หนังสือชื่อ “ดอกเบญจมาศกับดาบซามูไร” มีความสําคัญเพราะเกี่ยวกับอะไร

(1) ภาพยนตร์กําลังภายใน

(2) อุปนิสัยของคนญี่ปุ่น

(3) เป็นชื่อเลียนแบบภาพยนตร์คลาสสิกชื่อ ราโชมอน (Rashomon)

(4) การจารกรรม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (Ps 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 512) หนังสือชื่อ “ดอกเบญจมาศและดาบซามูไร” ของรุธ เบเนดิค นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เป็นหนังสือที่ศึกษาเกี่ยวกับอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่ามีลักษณะอ่อนนอกแข็งในเปรียบเสมือนกับดอกเบญจมาศ(ตราประทับของจักรพรรดิญี่ปุ่น) และดาบซามูไร

60 ลักษณะสําคัญของความเป็นรัฐ (state) ได้แก่

(1) อํานาจอธิปไตย

(2) ความรุ่งเรือง

(3) มีจบปริญญามาก

(4) เศรษฐกิจดี

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 120 ความเป็น “รัฐ” (state) มีลักษณะสําคัญดังนี้คือ

1 เน้นอํานาจอธิปไตย (มีอํานาจอธิปไตยสูงสุดในอาณาเขตของรัฐนั้น)

2 เน้นการผูกขาดอํานาจ (มีอํานาจผูกขาดในการใช้กําลังหรือใช้ความรุนแรงทั้งหลาย)

3 เน้นมิติการเมือง (เป็นสังคมการเมือง)

61 Bahasa ใช้ใน

(1) มาเลเซีย

(2) ภูฎาน

(3) มัลดีฟส์

(4) เดนมาร์ก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บาฮาซา (Bahasa) เป็นคําศัพท์ในภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย และภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย มีความหมายว่า ภาษาเป็นคําที่มีที่มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง ภาษาพูด

62 ในการอ่านหนังสือรัฐศาสตร์ทั่วไป ผู้เขียนแนะนําว่าควรยึดหลักกาลามสูตร ซึ่งหมายความว่า

(1) ให้เชื่อตาม

(2) เน้นความเข้าใจ

(3) พึงใช้เหตุผลไตร่ตรอง

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 314 พุทธศาสนามีคําสอนในกาลามสูตร ซึ่งสนับสนุนให้บุคคลใช้เหตุผลใช้วิจารณญาณและความคิดอิสระในการตัดสินปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ โดยเน้นความเข้าใจ ไม่ให้เชื่ออะไร หรือเชื่อใครง่าย ๆ เช่น ไม่ให้เชื่อโดยฟังตามกันมา โดยนําสืบกันมา โดยตื่นข่าวลือ โดยอ้างตํารา โดยนึกเดา โดยคาดคะเน โดยตรึกตรองตามอาการ โดยพอใจว่าเหมาะกับความเห็นของตนโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นครู ฯลฯ แต่ให้มีการพิจารณาเตร่ตรองและสืบสวนค้นคว้าเสียก่อนจึงเชื่อ

63 ประธานาธิบดีอเมริกัน (USA) คนปัจจุบัน ชื่อ

(1) Donald Trump

(2) Cecil Trump

(3) John Trump

(4) William Trump

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา (USA) คือ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) สังกัดพรรครีพับลิกัน โดยเข้าดํารงตําแหน่งเป็นสมัยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

64 พุทธภาษิตเริ่มแรกของ ม.ร. ตั้งแต่ยุคก่อตั้งโดย ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ได้แก่

(1) อัตตาหิ อัตตโน นาโถ

(2) ความรู้ทําให้องอาจ

(3) แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

(4) เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง

(5) อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมขึ้นนานกว่าอํานาจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

65 วีรบุรุษอเมริกันในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรบภาคพื้นแปซิฟิก คือ นายพล (1) รัมสเฟลด์

(2) รอมเมล

(3) โอมาร์ แบรดลีย์

(4) ดักลาส แม็คอาร์เธอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นายพงดักลาส แม็คอาร์เธอร์ คือ นายทหารอเมริกันที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในช่วงมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุทธภูมิด้านเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็น ผู้ที่ได้กล่าวประโยคยอดนิยมว่า I’ll return (I shall return) หลังจากที่ต้องถอยทัพกลับไป เพราะพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นในสมรภูมิแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่ฟิลิปปินส์ ต่อมาเขาก็เป็นหัวหน้าหรือ ผู้บัญชาการที่รับผิดชอบการยึดครองญี่ปุ่นหลังจากแพ้สงครามต่อ USA โดยเขาได้กล่าววาทะ เพื่อสดุดีทหารกล้าผู้รับใช้ประเทศชาติในสงครามว่า “Old soldiers never die, they just fade away” (ทหารผู้คร่ำหวอดในสมรภูมิไม่มีวันตาย เพียงแต่ลืมเลือนหายไปจากความทรงจํา)

66 ตัวอย่างผู้นําประเทศที่เป็นสตรี ได้แก่

(1) อินทิรา คานธี แห่งอินเดีย

(2) Merkel แห่งเยอรมัน

(3) Chavez แห่งอาร์เจนตินา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของผู้นําประเทศที่เป็นสตรี ได้แก่ อินทิรา คานธี (อินเดีย), แทตเชอร์ และ May (อังกฤษ), Merkel (เยอรมัน), ซูการ์โนบุตรี (อินโดนีเซีย), กิลลาร์ด (ออสเตรเลีย), เคิร์ชเนอร์ (อาร์เจนตินา), ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ไทย), อาคิโน และอาโรโย (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น

67 คํากล่าวที่ว่า “เสียงประชาชนไม่ใช่เสียงสวรรค์เสมอไป” มีความหมายดังนี้

(1) มีตัวอย่างเช่นการที่คนเยอรมันเลือกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ให้เป็นผู้นํา

(2) ประชาชนเลือกคนผิดก็ได้

(3) ประชาชนมักเรียกร้องในบางเรื่องซึ่งทําไม่ได้

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 285, 489 คํากล่าวข้างต้น หมายความว่า เสียงของประชาชนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ซึ่งเกิดจากการที่มีคนหลายกลุ่ม หลายความคิดเห็น จึงทําให้มีความยุ่งยากว่าควรจะฟังเสียง ประชาชนจากกลุ่มใด เพราะบางครั้งประชาชนมักเรียกร้องในบางเรื่องซึ่งทําไม่ได้ หรือบางครั้ง ประชาชนอาจจะใช้วิจารณญาณผิดหรืออาจเลือกคนผิดก็ได้ ตัวอย่างเช่น การที่คนเยอรมันเลือกฮิตเลอร์หรือคนอิตาลีเลือกมุสโสลินี้ให้เป็นผู้นํา เป็นต้น

68 การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) มีในประเทศ

(1) อินเดีย

(2) ศรีลังกา

(3) อินโดนีเซีย

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

69 ประเทศที่มีภาษาราชการ 4 ภาษา ได้แก่

(1) สวิตเซอร์แลนด์

(2) โปแลนด์

(3) ออสเตรีย

(4) แอฟริกาใต้

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 124 สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากรเพียง 6 ล้านคนเศษ แต่มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน และ รมานซ์ ทั้งนี้เพราะเป็นสมาพันธรัฐ

70 ความมั่นคง (Security) ของชาติขึ้นอยู่กับปัจจัย

(1) ทางวัตถุ

(2) อวัตถุ

(3) ภูมิศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 431, (คําบรรยาย) ความมั่นคงของประเทศชาติขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยเชิงรูปธรรมหรือเชิงวัตถุ เช่น ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร กําลังทหาร ฯลฯ

2 ปัจจัยเชิงนามธรรมหรือเชิงอวัตถุ เช่น การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ศาสนา ฯลฯ

71 ปรากฏการณ์ “จริยธรรมแห่งจุดมุ่งหมายปลายทาง” (Ethic d absolute ends) ตามทัศนะของนักวิชาการ ชาวเยอรมัน ชื่อ Max Weber ปรากฏอยู่ในกลุ่มใดมากที่สุด

(1) นิสิตนักศึกษา

(2) นักบวช

(3) ผู้ใช้แรงงาน

(4) ผู้มีที่ดินมาก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 420 เนวโน้มของนิสิตนักศึกษาตามทัศนะของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ในประเด็นจริยธรรมแห่งจุดหมายปลายทาง คือ การชื่นชมกับอุดมคติ วาทะจูงใจ คําคม คารมปราชญ์ ฯลฯ โดยที่ไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อแท้และความยุ่งยากในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ๆ

72 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระดังนี้

(1) มีการมอบอํานาจการปกครองให้ผู้ใดผู้หนึ่งหรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ปกครอง (2) การทําสัญญาประชาคมเป็นเหตุการณ์ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

(3) การทําสัญญาดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 155 – 158 ทฤษฏิสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระสําคัญ คือ มีการมอบสิทธิหรือมอบอํานาจการปกครองให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้นําหรือเป็นผู้ปกครองของชุมชนนั้น ซึ่งการทําสัญญานี้เป็นเพียงข้อสมมติเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะย่อมไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์เมื่อสมัยเป็นหมื่น ๆ หรือนับเป็นแสนปีมาแล้ว

73 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ

(1) อาโรโย

(2) เอสตราดา

(3) อาคีโน

(4) มาร์กอส

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 5 (ข่าว) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ นายดูแตร์เต (Duterte) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (มีวาระในการดํารงตําแหน่ง 6 ปี)

74 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2561 มีการเฉลิมฉลองครบรอบ 131 ปี ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในไทย คือ

(1) จปร.

(2) มจร.

(3) มมก.

(4) ม.มหิดล

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานกําเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ณ บริเวณวังสราญรมย์ (พ.ศ. 2452 ได้ย้ายมาอยู่ที่ ถ.ราชดําเนินนอก และปี พ.ศ. 2523 ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เขาชะโงก จ.นครนายก) ดังนั้นวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 จึงเป็นวันครบรอบ 131 ปี ของ จปร.

75 ปัจจัยเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติที่สําคัญเรียกว่า EQ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ

(1) เศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิศาสตร์

(3) การทหาร

(4) จิตวิทยา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติที่สําคัญเรียกว่า EQ (Emotional Quotient)หรือวุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงนามธรรมหรือเชิงอวัตถุ

76 พรรคแบบ Militia คือ

(1) พรรคนาซี

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(3) พรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐประชาชนจีน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 376 การจัดโครงสร้างพรรคการเมืองแบบมิลลิเชีย (Militia) ได้แก่ กองทัพเอกชน หรือหน่วยอาสาสมัครในสหรัฐอเมริกา โดยสมาชิกพรรคยังเป็นฝ่ายพลเรือนอยู่ แต่มีการ ฝึกซ้อมในกลยุทธ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น พรรคของผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์หรือพวก หัวรุนแรงฝ่ายขวาที่นิยมเผด็จการ เช่น กองพันพายุของพรรคนาซี ฮิตเลอร์) ในเยอรมันและพรรคฟาสซิสต์ของมุสโสลินี้ในอิตาลี เป็นต้น

77 โลกาธิปไตย หมายถึง

(1) อํานาจอยู่ที่พลังงานของโลก

(2) การปกครองโดยคนส่วนใหญ่

(3) รัฐบาลเดียวของโลก

(4) องค์การสหประชาชาติ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

78 Air Force I (One) หมายถึง

(1) กองทัพอากาศหมายเลข 1

(2) เครื่องบินพาหนะของประธานาธิบดีอเมริกัน

(3) เครื่องบินพาหนะของผู้นําอังกฤษ

(4) เครื่องบินสอดแนมสืบราชการลับ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Air Force One (Air Force I) และ Air Force Two (Air Force II) หมายถึงเครื่องบินพาหนะประจําตําแหน่งของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

79 ลัทธิเทวสิทธิ์ในโลกตะวันตก มีชัดเจนในยุคอะไร

(1) ยุคนโปเลียน

(2) ยุคกรีก

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคฮิตเลอร์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

80 อารยธรรมอียิปต์มีมาแล้วประมาณ

(1) 1,600 ปี

(2) 2,000 ปี

(3) 3,000 ปี

(4) 4,500 ปี

(5) 6,000 ปี

ตอบ 5 หน้า 3 อารยธรรมอียิปต์มีมาแล้วประมาณ 6,500 ปี ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ยิ่งกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่มีอายุประมาณ 4,100 ปี

81 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็จะชนะร้อยครั้ง เป็นแนวคิดทางการเมืองของ

(1) ขงจื้อ

(2) ซุนหวู่

(3) ขงเบ้ง

(4) เล่าปี่

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 27 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นแนวคิดทางการเมืองที่แนะนําโดย ซุนหวู่ (ซุนวู) ในตําราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นคําสอนที่ทราบกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก แต่ในเชิงปฏิบัติทําได้ยากยิ่ง

82 การศึกษาเรื่องกระบวนการบริหาร นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ อยู่ในหมวดที่เรียกว่า

(1) Plan A ของรัฐศาสตร์ที่ มร.

(2) Plan C ของรัฐศาสตร์ที่ มร.

(3) รัฐประศาสนศาสตร์

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 471, (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องกระบวนการบริหาร นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ

83 ผู้เดินทางไปอ้อนวอนให้ปราชญ์จีนชื่อ ขงเบ้ง มาช่วยกู้ชาติ ได้แก่

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เล่าปี่

(3) โจโฉ

(4) ซุนกวน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 29, 442, (คําบรรยาย) ในนวนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กนั้น เล่าปี่ต้องพนมมือไปทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะการไปกราบอ้อนวอนขอร้องจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ถึง 3 ครั้ง เพื่อให้มาช่วยราชการและเป็นเสนาธิการในการวางแผนรบกับโจโฉ โดยผู้รบเคียงข้างกับเล่าปีตั้งแต่ร่วมกันออกปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองและสาบานตนเป็นพี่น้องกัน ได้แก่ กวนอู และเตียวหุย

84 ทฤษฎี Heartland เกี่ยวกับอะไรโดยตรง

(1) สังคมเศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิรัฐศาสตร์

(3) Geopolitics

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 77 ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้รับฉายาจากนักวิชาการผู้หนึ่งว่าเป็น “บุตรทางปัญญานอกกฎหมายของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองกับรัฐศาสตร์” ซึ่งมี 3 ทฤษฎีสําคัญ ได้แก่ ทฤษฎีดินแดนหัวใจ (Heartland Theory), ทฤษฎีบริเวณขอบนอก (Rimland Theory) และทฤษฎีอํานาจทางทะเล (Sea Power Theory)

85 ในหลัก POSDCORB ตัว B ให้ความสําคัญกับอะไร

(1) การจัดองค์การ

(2) การวางแผน

(3) การบํารุงรักษา

(4) การหางบประมาณ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 474 475 Gulick และ Urwick ได้เสนอหลักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพว่าจะต้องประกอบด้วยหลัก POSDCORB ซึ่งย่อมาจาก

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดองค์การ)

3 S = Staffing (คณะผู้ร่วมงาน)

4 D = Directing (การสั่งการ)

5 co – Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การทํางบประมาณ)

86 ASEAN มีสมาชิกเริ่มต้นจํานวน

(1) 17 ประเทศ

(2) 15 ประเทศ

(3) 13 ประเทศ

(4) 10 ประเทศ

(5) 5 ประเทศ

ตอบ 5 หน้า 114, (คําบรรยาย) สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (1984) เวียดนาม (1995) ลาวและพม่า (1997) กัมพูชา (1999) รวมมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ โดยมีสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

87 ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม 2561 เกิดขึ้นที่

(1) อินโดนีเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) ฟิลิปปินส์

(4) เวียดนาม

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ ขึ้นที่เกาะลอมบอกประเทศอินโดนีเซีย ทําให้เกิดคลื่นสึนามิ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 250 คน

88 Tagalog เป็นภาษาหลักในประเทศ

(1) มาดากัสการ์

(2) เนปาล

(3) ฟิลิปปินส์

(4) อินโดนีเซีย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (PS103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 115) ตากาล็อก (Tagalog) เป็นภาษาประจําชาติและเป็นภาษาหลักในประเทศฟิลิปปินส์

89 รัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษมีลักษณะดังนี้

(1) มีข้อความมากที่สุดในโลก

(2) ไม่มีการร่างขึ้นโดยเฉพาะ แต่มีลักษณะเป็นรูปกฎหมายธรรมดาและคําพิพากษาสําคัญ ๆ

(3) แก้ไขยากที่สุด

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อแรก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 178 – 179 รัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญประเภทที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten) ซึ่งมีลักษณะสําคัญ คือ ไม่มีการร่างขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือไม่มีการร่างขึ้นโดยเฉพาะ แต่จะเป็นในรูปของกฎหมายธรรมดาและคําพิพากษาของศาลในคดีสําคัญ ๆ ต่าง ๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีในการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วย

90 ผู้นําจีนที่ร่นถอยไปอยู่ ณ เกาะฟอร์โมซา หลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) เจียงจูเกา

(2) เจียงไคเช็ค

(3) จูเจนไล

(4) ฮัวไหว

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ภายหลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ในปี ค.ศ. 1949 ประเทศจีนได้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างกลุ่มก๊กมินตั้ง กลุ่มคอมมิวนิสต์ และกลุ่มอื่น ๆ จนทําให้เจียงไคเช็คผู้นําของฝ่ายก๊กมินตั๋ง ต้องถอยร่นไปตั้งอยู่ที่เกาะฟอร์โมซาหรือไต้หวันจนถึงปัจจุบัน

91 ในบทที่ 2 กล่าวถึงความเกี่ยวพันของวิชารัฐศาสตร์กับนานาวิทยาการ ได้แก่

(1) เศรษฐศาสตร์

(2) ภูมิศาสตร์

(3) ปรัชญา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 57 วิชารัฐศาสตร์มีความเกี่ยวพันกับนานาวิทยาการสาขาต่าง ๆ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ

92 ลัทธิประชาธิปไตยส่งเสริมบุคลิกภาพที่เรียกกันว่า พลังอัตตา หมายถึง

(1) ความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์

(2) การทําอะไรได้ตามใจชอบ

(3) ความรู้สึกว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้

(4) ถูกทั้ง 3 ข้อแรก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 322 อุปนิสัยที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย (Democratic Character) ได้แก่

1 การมีอัตตาตัวตนที่เปิดเผย (Open Ego) คือ เป็นผู้มีความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์

2 การมีศรัทธาในผู้อื่น

3 การมีพลังอัตตาและมีความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ โดยพลังอัตตา (Ego Strength) คือ ความรู้สึกหรือเชื่อว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้สามารถกําหนดวิถีชีวิตตนเองได้ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

93 สํานักงานใหญ่ ASEAN ตั้งอยู่ที่

(1) กัวลาลัมเปอร์

(2) มะนิลา

(3) เนปิดอว์

(4) พนมเปญ

(5) จาการ์ตา

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

  1. “Government of Law, Not of Men” หมายความว่า

(1) ผู้ปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิออกกฎหมายใด ๆ ก็ได้ ประชาชนไม่เกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย

(2) ต้องเป็นกฎหมายที่วางอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม มิใช่เป็นเครื่องมือของผู้เผด็จการหรือผู้ร่างกฎหมายลําเอียง

(3) รัฐบาลที่ดีนั้นต้องเป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยหลักกฎหมายที่ให้ความยุติธรรมอย่างเพียงพอต่อประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (Ps 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 406 407), (คําบรรยาย) มีคํากล่าวว่า รัฐบาลที่ดีต้องเป็น“รัฐบาลของกฎหมายม่ใช่ของคน” (Government of Law, Not of Men) ซึ่งกฎหมายในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม มิใช่เป็นเครื่องมือของผู้เผด็จการหรือ ผู้ร่างกฎหมายที่ลําเอียง กล่าวคือ รัฐบาลที่ดีนั้นต้องเป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยหลักกฎหมายที่

ให้ความยุติธรรมอย่างเพียงพอต่อประชาชน

95 บทที่ 8 ตําราล่าสุดกล่าวถึงธาตุน้ํา บํารุงต้นไม้ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง

(1) ทรัพย์ในดิน

(2) ทรัพยากรธรรมชาติ

(3) มรดกแห่งเสรีภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 323 – 324 ประชาธิปไตยในประเทศไทยพิจารณาปัจจัยโดยเปรียบเทียบว่าเป็นเสมือนต้นไม้ที่จะเติบโตได้ต้องอาศัยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ โดยธาตุน้ำในฐานะปัจจัยสําคัญ (คู่กับดิน) ที่ทําให้ต้นไม้ประชาธิปไตยเจริญงอกงามได้นั้น จะพิจารณาในรูปของมรดกที่สืบสานมาจากอดีต คือ

1 มรดกทางการเมืองจากอดีต

2 มรดกเกี่ยวกับเสรีภาพ

3 มรดกเกี่ยวกับความเสมอภาคของคน

96 ทฤษฎีที่ว่า “อํานาจคือความยุติธรรม” (Might Makes Right) หมายความว่า

(1) นโยบายของผู้บริหารอยู่เหนือเหตุผล

(2) มีปรากฏชัดในสมัยที่บ้านเมืองอยู่ใต้อาณานิคม

(3) ผู้ไร้อิทธิพลแม้ประพฤติดีก็อาจถูกลงโทษได้

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) “อํานาจคือความยุติธรรม” หรือ “อํานาจเป็นธรรม” (Might Makes Right)หมายความว่า การที่ผู้ปกครองใช้อํานาจเป็นหลักในการบริหารงาน อาศัยอํานาจเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินความยุติฐรรม เป็นลักษณะของผู้เผด็จการที่ไม่คํานึงถึงเหตุผลอันถูกต้องชอบธรรม ซึ่งตรงกันกับคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “อํานาจเป็นใหญ่ในโลก” (วโส อิสสริยัง โลเก) โดยการปกครองแบบนี้มีปรากฏชัดในสมัยที่บ้านเมืองอยู่ใต้อาณานิคม

97 Soft Power เกี่ยวโยงโดยตรงกับ

(1) การใช้ความรุนแรง

(2) การรุกราน

(3) การเจรจา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Soft Power หมายถึง อํานาจหรืออิทธิพลที่แผ่ขยายไปแบบนิ่มนวล สันติวิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบีบบังคับ ไม่ใช้กําลังหรือไม่ใช้ความรุนแรง เช่น อํานาจหรืออิทธิพลทางวัฒนธรรม การเจรจาต่อรองโดยใช้วิธีการทางการทูต ฯลฯ

98 วิธีการแบบไม่ใช้ความรุนแรง คือ สัตยาเคราะห์ ใช้ในการกู้ชาติของประเทศอะไร

(1) กาน่า

(2) อียิปต์

(3) อินเดีย

(4) กัวเตมาลา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 403, 445 มหาตมะ คานธี เป็นผู้ริเริ่มและเผยแพร่อหิงสาธรรม (อวิหิงสา)หรือสัตยาเคราะห์/สัตยาคฤห์ (Satyagraha) ในช่วงแห่งการกู้ชาติของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็น วิธีการต่อสู้โดยสันติวิธีหรือไม่ใช้กําลังรุนแรงและไม่เบียดเบียนหรือไม่ทําร้ายผู้อื่น และอาจจะเรียกวิธีการต่อสู้นี้ว่า อารยะขัดขืน (Non-violent Resistance หรือ Civil Disobedience)

99 Diet เป็นชื่อเกี่ยวกับนิติบัญญัติในประเทศอะไร

(1) นิวซีแลนด์

(2) สเปน

(3) ญี่ปุ่น

(4) กรีก

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 335 336 รัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) ในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น สหรัฐอเมริกา เรียกว่า คองเกรส (Congress), อิสราเอล เรียกว่า คเนสเล็ท (Knesset), อังกฤษ เรียกว่า ปาร์เสียเมนต์ (Parliament), ฝรั่งเศส เรียกว่า แอสเซมบลี (Assembly), ญี่ปุ่น เรียกว่า ไดเอ็ท (Diet) ฯลฯ

100 ผู้มีอํานาจสูงสุดในจีนขณะนี้ คือ

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เจียงไคเช็ค

(3) เจียงจูเต

(4) สีจิ้นผิง

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (ข่าว) ผู้มีอํานาจสูงสุดในจีนขณะนี้ คือ สีจิ้นผิง ซึ่งดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และดํารงตําแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

101 ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่า หรือเมียนมาร์ คือ

(1) ราชเร็ตนัม

(2) อองซาน

(3) ปรกต

(4) อนุ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่าหรือเมียนมาร์จากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษคือ นายพลออง ซาน (Aung San) ซึ่งเป็นบิดาของนางออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Gyi) ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่เป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน

102 ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีจํานวนมากที่สุดในโลก คือ ของประเทศ

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) แคนาดา

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อินเดีย เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีจํานวนประชากรมากที่สุดในโลก (1,300 ล้านคน) โดยอินเดียมีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่า 900 ล้านคน มากกว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศประชาธิปไตยอันดับ 2 ถึง 4 เท่า

103 คํากล่าวที่ว่า “นักการเมืองคิดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป รัฐบุรุษคิดถึงประชาชนคนรุ่นต่อไป” มุ่งเน้นอะไร

(1) ประโยชน์ส่วนรวม

(2) การเสียสละ

(3) คํานึงถึง Public

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 313, (คําบรรยาย) ข้อแตกต่างระหว่างนักการเมือง (Politician) กับรัฐบุรุษ (Statesman) มีในภาษิตรัฐศาสตร์ข้อหนึ่งของ James Freeman Clarke ซึ่งมีความว่า “นักการเมืองคิดถึง การเลือกตั้งครั้งต่อไป (Next Election) แต่รัฐบุรุษคิดถึงคนรุ่นต่อไป (Next Generation)” ซึ่งรัฐบุรุษเป็นผู้เห็นการณ์ไกล มักใช้วิจารณญาณเลือกกระทําการที่มุ่งเน้นต่อประโยชน์ส่วนรวมคํานึงถึงสาธารณะ (Public) รวมทั้งมีความเสียสละ มีจริยธรรม มีจิตสํานึก และมีวิสัยทัศน์

104 องค์ประกอบที่ทําให้มีสภาพเป็น “ชาติ” ได้แก่

(1) มีประวัติศาสตร์และภาษาร่วมกัน

(2) วางตัวเป็นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(3) อยู่อย่างอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่นใด

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 137 – 141 ชาติหรือประชาชาติมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ประการ คือ

1 การมีความผูกพันต่อถิ่นที่อยู่

2 การมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน

3 การมีภาษาและวรรณคดีร่วมกัน

4 การมีวัฒนธรรมร่วมกัน

5 การมีความต้องการอยู่อย่างอิสระ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่นใด)

105 บทที่ 2 ของตํารารัฐศาสตร์ทั่วไป กล่าวถึง นายกรัฐมนตรีชาวนนทบุรี ซึ่งใช้เพลงปลุกใจ “เลือดสุพรรณ” ซึ่งได้แก่

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร

(4) จอมพลฟื้น รณนภากาศฯ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

106 ลัทธิอะไรที่เน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

(1) อนุรักษนิยม

(2) เสรีนิยม

(3) ฟาสซิสต์

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 245 ลัทธิคอมมิวนิสต์ ถือว่า การเมือง คือ การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ซึ่งได้แก่

1 ในระบบทาส มีการต่อสู้ระหว่างนายกับทาส

2 ในระบบศักดินา มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าขุนมูลนายกับไพร่

3 ในระบบทุนนิยม มีการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ

107 ลักษณะสําคัญของแนวคิดอนุรักษนิยม ได้แก่

(1) มองโลกในแง่ดี

(2) มองโลกในแง่ร้าย

(3) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 367 ลักษณะสําคัญของแนวคิดและอุดมการณ์อนุรักษนิยม (Conservative Ideology) ได้แก่ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม แต่หากจําเป็นก็จะสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลง อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป

108 “แมวสีอะไรไม่สําคัญ ขอให้จับหนูให้ได้” เป็นแนวคิดทางการเมืองของใคร

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เติ้งเสี่ยวผิง

(3) เล่าปี่

(4) ซุนหวู

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 72 เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นําสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปลี่ยนมายึดนโยบายที่ยืดหยุ่นโดยไม่ติดแน่นผูกมัดอยู่กับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองแนวมาร์กซิสม์เดิม กล่าวคือ ใช้นโยบายยึดหยุ่นที่สอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “แมวสีอะไรไม่สําคัญ ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน” (“แมว” หมายถึง อุดมการณ์หรือระบบ, “หนู” หมายถึง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ)

109 ประเทศที่มีฉายาว่าดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน ได้แก่

(1) ญี่ปุ่น

(2) นอร์เวย์

(3) แคนาดา

(4) เกาหลีใต้

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศ/รัฐประชาชาติที่มีฉายาว่าดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน (Midnight Sun) ได้แก่ ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) อันประกอบด้วย นอร์เวย์ สวีเดนเดนมาร์ก และไอซ์แลนด์

110 มุมไบเป็นชื่ออินเดียแทนชื่อเก่าที่อังกฤษใช้เรียกเมือง

(1) บอมเบย์

(2) มุมบา

(3) มัมมา

(4) Baba

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมืองมุมไบ (Mumbai) เป็นชื่ออินเดียแทนชื่อเก่าที่อังกฤษใช้เรียกเมืองบอมเบย์ (Bombay) ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอินเดีย เป็นเมืองท่าการพาณิชย์ที่ได้ฉายาว่าลอนดอนแห่งอินเดีย (อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก (Bollywood) ก็ตั้งอยู่เมืองนี้)

111 ผู้ปกครองของบรูไน (Brunei) เรียกว่า

(1) ราชา

(2) กษัตริย์

(3) Sultan

(4) King

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ปกครองของบรูไนหรือบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) เรียกว่า สุลต่าน (Sultan) โดยบรูในปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปัจจุบันมีสุลต่าน โบลเกียห์ (Sultan Bolkiah) เป็นทั้งกษัตริย์และนายกรัฐมนตรีปกครองประเทศ

112 ประธานาธิบดีร่วมสมัยกับสมเด็จพระปิยมหาราชและเป็นผู้เลิกทาสของสหรัฐอเมริกา ได้แก่

(1) วอชิงตัน

(2) Ford

(3) Lincoln

(4) Wilson

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

113 หนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา คือ ผู้ที่เป็นนักประพันธ์ นักประดิษฐ์ และเป็นผู้คงแก่เรียน

(1) Benjamin Franklin

(2) F.D.R.

(3) 3.*.K.

(4) Abraham Lincoln

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับถาวร (Framer) เมื่อปี ค.ศ. 1787 (เมื่อ 230 ปีเศษมาแล้ว) และยังคงเป็นฉบับที่ใช้สืบเนื่องกันมา เป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน (ถือเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรที่ มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก) ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้สามารถ จํานวน 3 คน ได้แก่

1 เจมส์ แมดดิสัน (James Madison)

2 อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton)

3 เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านการเป็นนักประพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ และเป็นผู้คงแก่เรียน

114 นายกรัฐมนตรีคนแรกผู้ก่อตั้งหรือสถาปนามาเลเซีย (Founding Prime Minister) ได้แก่

(1) นาจีฟ ราซัก

(2) มหาธีร์

(3) อับดุล ราห์มาน

(4) ฮุสเซ็น ออน

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ซึ่งเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้นําการเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ และเป็นนายกรัฐมนตรีผู้ก่อตั้งหรือสถาปนา (Founding Prime Minister) มาเลเซียให้เป็นเอกราช ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) จึงนับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซีย (Bapa of Malaysia)

115 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซียที่มีอายุ 93 ปี คือ

(1) Mahathir

(2) Anwar

(3) Yusuf

(4) Babur

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 (ข่าว) ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซียที่มีอายุ 93 ปี (ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในโลก) โดยสามารถนําแนวร่วมฝ่ายค้าน เอาชนะการเลือกตั้งได้เมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2561 (ทั้งนี้ Mahathir เคยดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียยาวนานที่สุดถึง 22 ปี ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 – 2546)

116 ประชาธิปไตยแบบที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออกกฎหมายโดยตนเองเรียกว่า

(1) ประชาธิปไตยแบบโดยตรง

(2) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

(3) เสรีประชาธิปไตย

(4) ประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 287 การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

1 ประชาธิปไตยแบบโดยตรง (Direct Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) คือ การที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายได้ด้วยตนเอง

2 ประชาธิปไตยแบบโดยอ้อม (Indirect Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy)

117 ประชาธิปไตยที่ยึดหลัก ปชาสุขัง มหุตตมัง หมายถึง เน้น

(1) ความผาสุกของมหาชน

(2) ความมอัจฉริยภาพ

(2) ความมีอัจฉริยภาพ

(3) ความมั่งคั่ง

(4) ความสะดวกสบาย

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 286 พุทธศาสนาที่สนับสนุนประชาธิปไตย ได้แก่ การยึดหลัก 2 ประการ คือ

1 “ปชาสุขัง มหุตตมัง” หมายถึง การเน้นความผาสุกของมหาชน

2 “มหาชนหิตายะ และมหาชนสุขายะ” หมายถึง การเป็นรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์และความสุขของมหาชน

118 “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่งแพร่หลาย” เป็นการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิง หรือแนวทางศาสตร์ใด

(1) ภูมิศาสตร์

(2) ศาสนศาสตร์

(3) เศรษฐศาสตร์

(4) อภิปรัชญา

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 73, (คําบรรยาย) ผู้ที่นําวิธีการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิงหรือแนวทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐวิธี (Economic Approach) มาใช้ในทางการเมืองและการปกครอง คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) ผู้เป็นต้นตํารับของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์ถือว่า “วิถีแห่งการผลิต” อันเป็น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมีบทบาทหรือมีผลกระทบต่อเรื่องราวทางการเมือง การปกครอง และ วิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ฯลฯ จนสามารถกล่าวได้ว่า “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่ง (คอมมิวนิสต์) แพร่หลาย”

119 การส่งราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) กรุงสุโขทัย

(2) กรุงศรีอยุธยา

(3) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยอยุธยาโดยทรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 หรือเมื่อประมาณ 330 – 362 ปีมาแล้ว พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถด้านการสงครามและการต่างประเทศมากโดยในปี พ.ศ. 2529 ด้มีการส่งราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส

120 NGO มีตัวย่อซึ่ง N หมายถึงอะไร

(1) Non

(2) Next

(3) Now

(4) Nano

(5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 248, 310, (คําบรรยาย) NGO ย่อมาจากคําว่า Non-Governmental Organization หมายถึง องค์กรอาสาสมัครของเอกชนที่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการค้ากําไร จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการพัฒนา ด้านสังคม การรณรงค์ส่งเสริมเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ในสังคม

Advertisement