การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น

(1) พระบรมราชโองการ

(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์

(3) คําสั่งในทางปกครอง

(4) คําสั่งของเผด็จการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้น จะต้องดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

2 พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระบรมราชโองการ

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น

(5) เทศบัญญัติ

ตอบ 1 หน้า 98 – 99, (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้วจะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะสิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

3 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2551 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีกฎหมาย บัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้า คสช. ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาในเรื่องนั้น ๆ

4 การรัฐประหารครั้งนี้เป็นการรัฐบระหารครั้งที่ …. ในรอบหนึ่งทศวรรษ

(1) ครั้งที่ 1

(2) ครั้งที่ 2

(3) ครั้งที่ 3

(4) ครั้งที่ 4

(5) ครั้งที่ 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารล่าสุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี) ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้าน นอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ “องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาริปไตย” ภายใต้ การนําของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

5 การรัฐประหารครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้านนอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ

(1) กลุ่มไทยเสรีเพื่อประชาธิปไตย

(2) องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

(3) องค์กรไทยเสรีเพื่อประชาธิปไตย

(4) องค์กรสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเสรีไทย

(5) กลุ่มเสรีไทยต่อต้านเผด็จการเพื่อประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

6 ข้อใดเป็นความพยายามที่จะเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในยุค ราชาธิปไตย

(1) การปฏิรูประบบเทศาภิบาล

(2) การตั้งสํานักงาน ก.พ. .

(3) กบฎ ร.ศ. 130

(4) การปฏิรูประบบราชการ

(5) คํากราบบังคมทูล ร.ศ. 103

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กบฎ ร.ศ. 130 หรือ “กบฏหมอเหล็ง” หรือ “คณะเล็กเหม็ง” เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 เป็นการก่อกบฏโดยข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยและปัญญาชนกลุ่มหนึ่งที่พยายามเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในยุคราชาธิปไตย โดยมีผู้นํา ก่อการกบฏ คือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์), ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ท.เจือ ควกุล ซึ่งการก่อกบฏในครั้งนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับคณะราษฎรในเวลาต่อมา

7 ดุสิตธานี นับเป็นความพยายามในการวางรากฐานการพัฒนาประชาธิปไตยในยุค

(1) รัชกาลที่ 4

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7

(5) รัชกาลที่ 8

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองจําลองแห่งประชาธิปไตย หรือ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อเป็นแบบทดลองของ การปกครองแบบประชาธิปไตยและเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

8 การก่อกบฏโดยข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เป็นแรงบันดาลใจให้คณะราษฎร คือ

(1) กบฏแมนฮัตตัน

(2) กบฎ ร.ศ. 130

(3) กบฎระบบสังหารอูอองซาน

(4) กบฏนายสิบ

(5) กบฏเลี้ยวเมืองแพร่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

9 ผู้ใดเรียกการปฏิวัติสยามว่าการอภิวัฒน์

(1) พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) นายพจน์ พหลโยธิน

(4) นายปรีดี พนมยงค์

(5) ม.จ.วรรณไวทยากร

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ที่เรียกการปฏิวัติสยามว่า“การอภิวัฒน์” นับแต่คณะราษฎรได้ทําการยึดอํานาจการปกครองจากพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย หรือระบอบรัฐธรรมนูญ หรือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

10 ผู้ใดเรียกการปฏิวัติสยามว่าการปฏิวัติ

(1) พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) นายพจน์ พหลโยธิน

(4) นายปรีดี พนมยงค์

(5) ม.จ.วรรณไวทยากร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ม.จ.วรรณไวทยากร (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) เป็นผู้ที่เรียกการปฏิวัติสยามว่า “การปฏิวัติ” โดยเทียบเคียงกับคําภาษาอังกฤษว่า “Revolution”รวมทั้งใช้คําภาษาไทยว่า “รัฐประหาร” เทียบเคียงกับคําภาษาฝรั่งเศสว่า “Coup d’etat”

11 กบฏบวรเดช มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า

(1) กบฎหมอเหล็ง

(2) คณะชาติ

(3) คณะเก็กเหม็ง

(4) คณะกู้บ้านกู้เมือง

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านเมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้ง ในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํากําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

12 อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) ในแง่มุมทางรัฐศาสตร์ หมายถึง

(1) การแข็งขืนต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

(2) การไม่ยอมรับอํานาจรัฐที่ฉ้อฉล

(3) การต่อต้านอํานาจรัฐโดยสันติ

(4) การยอมรับผิดชอบผลจากการแข็งขึ้นนั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) ในแง่มุมทางรัฐศาสตร์ หมายถึง การต่อต้านทางการเมืองหรือการต่อต้านอํานาจรัฐโดยสันติ ซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่ใช้ความรุนแรง และเป็นการกระทําในลักษณะของการคัดค้าน การแข็งขืนต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การไม่ยอมรับ อํานาจรัฐที่ฉ้อฉลหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้กระทําอารยะขัดขืนต้องพร้อมยอมรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายจากการกระทําของตนโดยไม่หลีกเลี่ยง

13 ผลพวงที่สําคัญของการยึดอํานาจเมื่อ พ.ศ. 2534 ทําให้เกิด

(1) การก่อตัวของกระแสปฏิรูปการเมือง

(2) การนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535

(3) การนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2553

(4) การรัฐประหารซ้ำโดยคณะปฏิรูปฯ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลพลเรือนของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลของการรัฐประหารหลายประการ เช่น คณะผู้บริหารประเทศ มีพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง, ข้าราชการการเมืองใช้อํานาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจํา ผู้ซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น การยึดอํานาจดังกล่าวยังทําให้เกิดผลพวงที่สําคัญ คือ การก่อตัวของ กระแสปฏิรูปการเมือง และการนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535

14 เหตุใดมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จึงขัดกับหลักการประชาธิปไตย

(1) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจบริหารและนิติบัญญัติร่วมกัน

(2) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจนิติบัญญัติโดยความยินยอมของฝ่ายตุลาการ

(3) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจยุติธรรม บริหาร และนิติบัญญัติร่วมกัน

(4) นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจบริหารและยุติธรรมร่วมกัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ขัดกับหลักการประชาธิปไตย คือ การให้อํานาจแก่หัวหน้า คสช. เหนืออํานาจของ ฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี) นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกับมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯ 2502 คือ การกําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการร่วมกัน

15 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย

(1) การอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ

(2) การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ

(3) การประชุมลับ

(4) การตั้งกระทู้ถาม

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 16 กําหนดให้ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิก ทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้

16 การเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้โดยใครบ้าง

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติไม่น้อยกว่า 30 คน

(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน

(4) สมาชิกสภาปฏิรูปโดยคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 14 วรรค 2 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา 31 วรรค 2 แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี

17 กรณีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ และมีข้อสงสัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวด้วยการเงิน ผู้มีอํานาจวินิจฉัยคือ

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) กรรมาธิการวิสามัญ

(3) กรรมาธิการงบประมาณ

(4) ประธานสภานิติบัญญัติ

(5) ประธานสภาปฏิรูป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 14 วรรค 4 กําหนดให้ในกรณีที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย

18 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการโยกย้ายข้าราชการ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือโครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคมและระบอบในทางสังคมการเมือง เช่น วัฒนธรรมทางการเมือง อุดมการณ์

ทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งจะเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร

19 พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

(1) พรรคกิจสังคม

(2) พรรคประชาธิปัตย์

(3) พรรคอนาธิปัตย์

(4) พรรคเพื่อไทย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังชล ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

20 อริสโตเติลไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบใด

(1) ราชาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) Polity

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบประชาธิปไตย(Democracy) เพราะเชื่อว่าการปกครองโดยคนหลายคนโดยเฉพาะคนจน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นจะทําให้ขาดความมีระเบียบวินัย และก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม

21 ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ

(1) Magna Carta

(2) Erasmus Mundus

(3) Jurassic Rex

(4) Bit of Rights

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ

1 Magna Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชนช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน

2 Bit of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตูแห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัว ในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

22 การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่

(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี

(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต

(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง

(4) สวัสดิการสมาชิกสภา

(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมีข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่(ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 131)

23 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด ๆ

(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ของ ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

24 เจตจํานงทั่วไป (General Witt) ในทางทฤษฎี หมายถึง

(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง

(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง

(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด

(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไปในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

25 รัฐฆราวาส (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง

(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

26 หลักการแบ่งแยกอํานาจเป็นอํานาจบริหาร อํานาจตุลาการ และอํานาจนิติบัญญัติ เป็นแนวคิดของ

(1) นิคโคโล มาเคียเวลลี

(2) โทมัส ฮอบส์

(3) จิออร์จิโอ อากัมเบน

(4) จอห์น ล็อค

(5) มองเตสกิเออ

ตอบ 5 หน้า 16, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) หลักการแบ่งแยกอํานาจมาจากแนวคิดของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ที่เห็นว่ารัฐต้องปกครองด้วยกฎหมาย ต้องจัดระเบียบสังคมให้ เป็นไปตามที่พึงปรารถนา แต่รัฐที่ดีไม่ควรรวมอํานาจไว้ที่เดียวเพราะอาจก่อให้เกิดทรราชได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการรับประกันเสรีภาพของคนในสังคม จึงควรแยกอํานาจการปกครองออกเป็น 3 อํานาจ คือ อํานาจบริหาร อํานาจตุลาการ และอํานาจนิติบัญญัติ

27 สิทธิตามธรรมชาติตามแนวคิดของวอห์น ล็อค ได้แก่

(1) ชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน

(2) ชีวิต อํานาจอธิปไตย ทรัพย์สิน

(3) ความเสมอภาค เสรีภาพ ทรัพย์สิน

(4) ความเสมอภาค ภราดรภาพ เสรีภาพ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) ได้เน้นเรื่อง “สิทธิตามธรรมชาติ” ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ อันได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน

28 โทมัส ฮอบส์ เขียน Leviathan ในสภาวะ

(1) สันติสุข

(2) สงครามระหว่างประเทศ

(3) สงครามโลก

(4) สงครามกลางเมือง

(5) สงครามกับอเมริกาที่ประกาศอิสรภาพ

ตอบ 4

หน้า 14, (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ องค์อธิปัตย์ หรือเลวิเอธาน (Leviathan) ในสภาวะสงครามกลางเมือง งานชิ้นนี้ไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ที่เห็นว่าผู้ปกครองคือตัวแทนพระเจ้า หรือคนที่พระเจ้าคัดสรรมาแล้ว แต่จะสนับสนุนกษัตริย์แทนลัทธิเทวสิทธิ์ และเป็นรากฐานสําคัญที่ช่วยสร้างความชอบธรรม ให้แก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นเพื่อธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ มนุษย์จะต้องเข้ามาร่วมกัน ทําสัญญาประชาคมเพื่อมอบอํานาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดให้แก่รัฐหรือองค์อธิปัตย์ โดยประชาชนไม่สามารถยกเลิกสัญญาประชาคมหรือไม่มีอํานาจถอดถอนองค์อธิปัตย์ได้

29 ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร คือ

(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําาแหน่งราชการประจําได้

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(4) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสม ชิกสภาผู้แทนราษฎร

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3, 4 หน้า 30, (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหาร จะต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นต้น

30 แนวโน้มของรัฐสภาหรือสถาบันนิติบัญญัติของโลกจะเป็นระบบ

(1) สภาคู่

(2) สภานิติบัญญัติ

(3) สภาของชนชั้น

(4) สภาเดี่ยว

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากการศึกษาของสหภาพรัฐสภาสากล หรือ IPU พบว่า ปัจจุบันระบอบการเมืองแบบรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติในโลกมีแนวโน้มที่จะออกแบบให้เป็นระบบสภาเดี่ยวมากขึ้น โดยมีประเทศที่เป็นระบบสาาคู่ 77 ประเทศ (40.31%) และระบบสภาเดียว 114 ประเทศ (59.69%) แม้บางประเทศยังคงเป็นระบบสภาคู่ แต่ที่มาของทั้งสองสภานั้นก็มักมาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนมากกว่าการสรรหา เพื่อก้าวไปสู่ทิศทางของการพัฒนาประชาธิปไตย

31 ข้อใดเป็นแนวโน้มของที่มาของวุฒิสภาหรือสภาสูงในโลกปัจจุบัน

(1) มาจากการสรรหา

(2) มาจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(3) มาจากการสืบตระกูล

(4) มาจากการรัฐประหาร

(5) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป

ตอบ 5 หน้า 47, (คําบรรยาย) ในเรื่องที่เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภาหรือสภาสูงในโลกปัจจุบันนั้น พบว่ามีแนวโน้มมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (General Election) โดยจะเห็นได้จากตัวอย่าง เช่น การเลือกตั้ง โดยตรง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย (รัฐธรรมนูญฯ 2540 มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด, รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาจากการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่ง) ฯลฯ และการเลือกตั้งโดยอ้อม ได้แก่ ฝรั่งเศส ฯลฯ

32 สมาชิกวุฒิสภาไทยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีที่มาอย่างไร

(1) มาจากการสรรหา

(2) เลือกตั้งจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์

(3) มาจากการสืบตระกูล

(4) มาจากการรัฐประหาร

(5) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาแบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์) จํานวน 200 คน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

33 สถาบันนิติบัญญัติได้ชื่อว่าเป็นสถาบันคัดสรรผู้นํา เนื่องจาก

(1) นักการเมืองสามารถช่วงชิงอํานาจได้

(2) นักการเมืองสามารถใช้เวทีในสภาให้สังคมประจักษ์ถึงความสามารถ

(3) ใช้พวกมากเพื่อเป็นเสียงข้างมาก

(4) ประชาชนสามารถเลือกคนดีเข้าสภาได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันคัดสรรผู้นําก็คือ สมาชิกของสภานิติบัญญัตินั้นมาจากประชาชน ซึ่งประชาชนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ในการเลือกคนดีเข้าสภาได้ในทางสัญลักษณ์นั้นยังถือว่าตัวแทนของประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎรจะมีอํานาจอยู่เหนือวุฒิสภาด้วย

34 รัฐสภาทั่วโลกมีลักษณะพิเศษคือ

(1) การพิจารณาร่างกฎหมาย

(2) ติดตามควบคุมด้านการคลัง

(3) การให้การรับรองประมุขแห่งรัฐ

(4) การเป็นฝ่ายค้าน

(5) ทําหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ

ตอบ 1 หน้า 46 การผ่านร่างกฎหมายหรือการพิจารณาร่างกฎหมาย ถือเป็นลักษณะบทบาทและหน้าที่ร่วมกันของรัฐสภาทั่วโลก แม้ว่าระบบการเมืองในประเทศนั้น ๆ จะปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ความจําเป็นในการออกกฎหมายเพื่อนํามาบังคับใช้ในสังคม และควบคุมตรวจสอบการทํางานของฝ่ายบริหารนั้นยังมีความสําคัญอย่างยิ่งในทุกระบบการเมือง

35 แม้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ส่วนที่เป็น “รัฐธรรมนูญ” จะอยู่ใน

(1) พระราชบัญญัติ

(2) กฎหมายจารีต

(3) ธรรมเนียมรัฐธรรมนูญ

(4) สนธิสัญญา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร (or codified Constitution) หรือ “รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี” ซึ่งไม่ได้มีการรวบรวมไว้ในเอกสาร ลายลักษณ์อักษรฉบับใดฉบับหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นหมวดหรือเป็นรายมาตรา แต่มีการ อ้างอิงส่วนที่เป็นรัฐธรรมนูญอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ กฎหมายจารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญา เป็นต้น

36 หลักการร่วมอํานาจในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษสะท้อนมาในรูปของ

(1) การที่สมาชิกสภาขุนนางสามารถสืบตระกูลได้

(2) ผู้พิพากษาสามารถดํารงตําแหน่งในสภาขุนนางได้

(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นรัฐมนตรีได้

(4) เฉพาะข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของหลักการร่วมอํานาจในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ ได้แก่

1 ผู้พิพากษาสามารถดํารงตําแหน่งในสภาขุนนางได้

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นรัฐมนตรีได้ เป็นต้น

37 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) วาระ 2 ปี

(2) วาระ 3 ปี

(3) วาระ 4 ปี

(4) วาระ 5 ปี

(5) ตลอดชีพ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จํานวน 150 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 500 คน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

38 ผู้ควบคุมเสียงในสภา เรียกว่า

(1) ประธานรัฐสภา

(2) หัวหน้ามุ้งต่าง ๆ

(3) วิป

(4) ประธานกรรมการวิสามัญ

(5) กรรมาธิการ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิป (Whip) หมายถึง ผู้ควบคุมเสียงในสภา ซึ่งจะทําหน้าที่ประสานงานของพรรคการเมืองแต่ละพรรคในสภา เช่น ควบคุมเสียงของพรรคในเวลาลงมติในเสภา การจัดวางผู้ที่จะทําการอภิปรายของพรรค รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและวินัยภายในพรรค เป็นต้น

39 เพื่อแสดงถึงหลักการอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนตามแนวทางประชาธิปไตยสากล สภาผู้แทนราษฎรมักถูกออกแบบให้

(1) มีอํานาจน้อยกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

(2) มีอํานาจสูงกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

(3) ทําหน้าที่ร่างกฎหมายเท่านั้น

(4) ทําหน้าที่ตรวจสอบการทํางานของรัฐเท่านั้น

(5) มีอํานาจเท่า ๆ กับสถาบันการเมืองอื่น ๆ

ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย) ในแนวทางประชาธิปไตยสากลนั้น ทฤษฎี (หลักการ) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนอํานาจของประชาชน และให้ประชาชนใช้อํานาจได้ ตลอดเวลา โดยทฤษฎีนี้จะปฏิเสธระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข หรือปฏิเสธความเชื่อว่าอํานาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์ ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจสูงกว่าสถาบันการเมืองอื่น ๆ

40 รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2557 ขาดหลักการพื้นฐานในข้อใด

(1) การแยกอํานาจ

(2) การยึดโยงกับประชาชน

(3) การตรวจสอบถ่วงดุล

(4) การร่วมอํานาจระหว่างสภาปฏิรูปกับสภานิติบัญญัติ

(5) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ขาดหลักการพื้นฐานในเรื่องของการยึดโยงกับประชาชน และการตรวจสอบถ่วงดุส ทั้งนี้เพราะเมื่อดูบทบัญญัติเกี่ยวกับการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรี แล้วพบว่า การใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารเป็นแต่เพียงอํานาจเบ็ดเสร็จของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) เท่านั้น ไม่มีความเชื่อมโยงยึดโยงกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย อีกทั้ง ยังให้ สนช. เป็นผู้ทําหน้าที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภาในคราวเดียวกัน

41 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิกจํานวนกี่คน

(1) 200

(2) 220

(3) 250

(4) 299

(5) 300

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 6 วรรค 1 กําหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา

42 ในการเลือกตั้งครั้งแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดให้ คสช. สามารถสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้จํานวนกี่คน

(1) 200

(2) 220

(3) 250

(4) 299

(5) 300

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

43 ผู้ใดทรงไว้ซึ่งอํานาจนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ 2557

(1) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(2) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

(3) หัวหน้า คสช.

(4) รัฐสภา

(5) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

44 อายุของสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจาก คสช. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ดํารงตําแหน่งก็ปี

(1) 1 ปี

(2) 3 ปี

(3) 5 ปี

(4) 7 ปี

(5) ไม่มีข้อกําหนดชัด

ตอน 3 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

45 การเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติจะต้องมีสมาชิกเข้าชื่ออย่างน้อย…คน

(1) 10

(2) 15

(3) 20

(4) 25

(5) 30

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

46 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กําหนดให้นายทหารเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่งกี่ตําแหน่ง

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 269 (ค) กําหนดให้นายทหารเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง 5 ตําแหน่ง ได้แก่

1 ปลัดกระทรวงกลาโหม

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 ผู้บัญชาการทหารบก

4 ผู้บัญชาการทหารเรือ

5 ผู้บัญชาการทหารอากาศ

47 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มีมาตราที่มีลักษณะคล้ายมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 แต่ให้อํานาจหัวหน้า คสช. เหนือนายกรัฐมนตรี คือมาตรา

(1) 17

(2) 20

(3) 25

(4) 32

(5) 44

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

48 หากสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ดําเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วส่งมอบต่อคณะรัฐมนตรีและ คสช. จึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ คสช. จะต้องพิจารณาเสนอความเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญนั้น ภายในระยะเวลากี่วัน

(1) 15

(2) 20

(3) 25

(4) 30

(5) 60

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 36 วรรค 2 และ 3 กําหนดให้ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ (สปช.) อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ สปช. เสร็จสิ้น การพิจารณาให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและ คสช. ด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือ คสช. จะเสนอความคิดเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ

49 การกีดกันมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติหลังรัฐประหาร ปรากฏในการ

(1) ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การห้ามพรรคการเมืองดําเนินกิจกรรมทางการเมือง

(3) ห้ามสมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะ 3 ปี ก่อนจะเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกีดกันมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลังรัฐประหาร ปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 8 (1) ซึ่งกําหนดให้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารง ตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

50 ข้อใดคืออํานาจของวุฒิสภาในวาระแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2550

(1) การให้ความเห็นชอบถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(2) อํานาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

(3) อํานาจในการออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี

(4) อํานาจในการให้ความเห็นชอบการลงมติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในวาระแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้นแตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือ “อํานาจในการออก เสียงเลือกนายกรัฐมนตรี” โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้กําหนดให้ การพิจารณาให้ความเห็นชอบ บุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทํา โดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองเภา (มาตรา 272 วรรค 1)

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 61 – 70.

(1) ถูก

(2) ผิด

 

51 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยินยอมแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อแสดงความโปร่งใสโดยไม่มีผู้ใดร้องต่อศาลปกครองให้ระงับการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะเลย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พล.อ.นพดล อินทปัญญา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับพวกรวม 28 คน ได้ร้องต่อศาลปกครองว่า การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติให้ตนยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. และให้ประกาศเปิดเผย บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตนมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง จึงเห็นว่าไม่จําเป็นต้องกระทําตามนั้น

52 กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ก็เมื่อผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติและทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงประทานลงมาแล้วก็ถือว่าเป็นกฎหมายไม่จําเป็นต้องตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ราชกิจานุเบกษา เป็นหนังสือรวบรวมคําประกาศของทางราชการ ซึ่งเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคําสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการ ดังนั้นกฎหมายที่นําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงประทาน ลงมาแล้วจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือต้องตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน

53 มองเตสกิเออ เป็นผู้เสนอแนวความคิดที่สนับสนุนกษัตริย์แทนลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

54 ฮอบส์ เชื่อว่าสภาพธรรมชาติเป็นสภาวะสงครามระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงครามมนุษย์จึงตกอยู่ในความกลัวเพราะแม้ผู้ที่แข็งแรงที่สุดก็อาจถูกฆ่าในยามหลับ หวาดระแวง และไม่มั่นใจว่าความต้องการของตนเองจะบรรลุในระยะยาว ดังนั้นเพื่อให้ตนองปลอดภัยมนุษย์จึงคาดหวังจะสร้างสัญญาประชาคมที่จะให้ชีวิตที่ดีกว่าภาวะธรรมชาติ

55 ในอดีต มักมองว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสถานะเป็นเพียงสภาตรายาง คือไม่มีบทบาทในการตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทยในอดีต มักถูกมองว่ามีสถานะเป็นเพียงสภาตรายางคือ ไม่มีบทบาทในการตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล (ที่ได้อํานาจมาจากการก่อรัฐประหาร) แต่อย่างใด เป็นแค่เพียงสภาตรายางเพื่อประทับรับรองความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งทําให้สังคมไทยขายความเชื่อมั่นในการทําหน้าที่ของสภานิติบัญญัติตราบจนปัจจุบัน

56 ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการประจําและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูปและคณะรัฐมนตรี มองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติสภาปฏิรูป และคณะรัฐมนตรีนั้น ถูกมองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตยซึ่งจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เช่น ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แจะจอมพลถนอมกิตติขจร เป็นต้น

57 การรัฐประหารที่ล้มเหลวเรียกว่า “กบฏ” ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยมีกบฏที่ถูกประหารชีวิตจากกรณีกบฏนายสิบเท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารที่ล้มเหลว เรียกว่า “กบฏ” (Rebellion) ตามกฎหมายของไทยนั้น กบฏเป็นความผิดทางอาญา ฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลง รัฐธรรมนูญ ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยนั้นพบว่ามีผู้ก่อการกบฏถูกประหารชีวิตหลายคน เช่น ส.อ.สวัสดิ์ มะหะหมัด (กรณีกบฏนายสิบ), พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ (กรณีกบฏ 26 มีนาคม 2520),ร.ท.ณเณร ตาละลักษณ์ (กรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ) เป็นต้น

58 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพลคณะราษฎรในการเมืองไทยร่วมสมัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพล “คณะราษฎร”ในการเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อกลุ่มทหารนอกราชการที่นําโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอํานาจ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (ซึ่งสืบอํานาจต่อจากรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์) โดยการรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการขจัดกลุ่มอํานาจเก่าของนายปรีดี ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง แม้จะมีความพยายามกลับมาทํากบฏวังหลวงในปี พ.ศ. 2492 แต่ก็ไม่สําเร็จ

59 สัญญาประชาคม (Social Contract) เป็นผลงานทางความคิดของชอง ชากส์ รุสโซ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

60 ทฤษฎีอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนยอมรับและยืนยันว่าประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

61 การปฏิวัติร่มในฮ่องกง เป็นไปเพื่อเรียกร้องเอกราชจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิวัติร่ม (Umbrella Revolution) ในฮ่องกง เป็นไปเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย

และสิทธิทางการเมืองของชาวฮ่องกง ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้จะพบภาพการต่อสู้ของผู้ประท้วงที่มี เพียงร่มหลากสีเป็นอาวุธในการป้องกันแก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ โดยเฉพาะร่มสีเหลือง และเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่า การปฏิวัติร่ม/การปฏิวัติร่มเหลือง โดยมีนายโจชัว หว่อง เป็นแกนนําดังกล่าว

62 ฮอบส์ เชื่อว่าประชาชนมีอํานาจถอดถอนองค์อธิปัตย์ได้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

63 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของรัฐสังคมนิยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) เป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสําคัญ ซึ่งเห็นว่ารัฐจะต้องเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ และรัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

64 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของรัฐประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ความสําคัญต่อการใช้อํานาจอธิปไตยโดยประชาชน จึงมีหมวดว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของ ตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

66 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

67 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

68 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี ฃ

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

69 ในทางทฤษฎี การที่มีข้าราชการประจําและนายทหารเข้ามามีบทบาททั้งในสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูปและคณะรัฐมนตรี มองว่าเป็นการย้อนกลับสู่ยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

70 การศึกษาของประชาชนถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นการศึกษาของประชาชนได้ถูกนํามาใช้เป็นเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฯ 2475 ได้กําหนดให้สมาชิกประเภทที่ 2 (ส.ส. ที่มาจากการแต่งตั้ง) จะถูกยกเลิก หากมีจํานวนราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด หรือในระยะเวลา 10 ปี

 

ข้อ 71. – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71

(1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72

(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73

(1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ(Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง

คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74

(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77. เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆคือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการเนรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75

(1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76

(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขันคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77

(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้ ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79

(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81

(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83

(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84

(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรีหรือ ผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85

(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง ของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86

(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา

1 (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษ หรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87

(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88. – 95. ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภา แต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติหอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96. – 100. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ การตราพระราชบัญญัติ

ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2 หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระคือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 55) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง สองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลง พระปรมาภิไธยแล้ว

Advertisement