POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

การพัฒนามนุษย์ในชาติมีความมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณและเป็น มนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล คําถามหากจะพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพดังกล่าวข้างต้นนั้น การพัฒนามนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญมีอะไรบ้าง (โปรดระบุเป็นข้อ ๆ)

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ

การพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และต้องเป็น มนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล มนุษย์จะมีคุณภาพ มีบทบาทต่อสังคมทั้งสามด้านดังกล่าวได้ จะต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และ การดํารงชีวิตในสังคมในวัยต่าง ๆ ไปจนตาย ซึ่งอธิบายได้ว่าต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่ ปฏิสนธิ สู่วัยเด็ก เข้าสู่วัยแรงงาน วัยชรา จนถึงตาย ซึ่งเกี่ยวพันกับหลายกระบวนการคือ บาทบาทของบิดา มารดา ครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ มีผลต่อการพัฒนามนุษย์ด้วย

การพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพต้องพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สําคัญ คือ

1 สถาบันครอบครัว (Family) บิดามารดา สิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นที่หล่อหลอมคุณค่า หรือคุณภาพของบุตร คนในสมัยก่อนจึงพูดเสมอว่า มารดาเป็นครูคนแรกของบุตร ถ้ามารดามีการศึกษาและมีเวลา ดูแลและอบรมบ่มนิสัยบุตร หรือให้การศึกษาเบื้องต้นแก่บุตรย่อมทําให้เด็กมีคุณภาพและมีคุณธรรม ในปัจจุบันเริ่ม จะไม่เป็นจริง แม้มารดาหรือบิดาจะมีการศึกษา แต่มักจะไม่มีเวลาดูแลบุตรธิดา บางครอบครัวอาจจะปล่อยให้ เด็กรับใช้ในบ้านเป็นผู้ดูแล ฉะนั้นเด็กรับใช้ในบ้านจึงกลายเป็นครูคนแรกของบุตร แล้วคุณภาพของบุตรธิดาจะ เป็นอย่างไรในครอบครัวเช่นนี้ และกําลังสําคัญของชาติในอนาคตจะมีคุณภาพอย่างไรก็พอจะเดาได้เช่นกัน

ครอบครัวที่ดีมีความรักและความอบอุ่นเป็นรากฐานสําคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้เด็ก และเยาวชนอันเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาคน พัฒนาสังคมในอนาคตให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ สิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กทุกด้าน เมื่อใดที่ครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหา เมื่อนั้นย่อมมีผลกระทบต่อสถานภาพของครอบครัว รวมทั้งความมั่นคง ของสังคมด้วย เนื่องจากครอบครัวเป็นภารกิจที่สําคัญของชีวิตมนุษย์

ดังนั้น ครอบครัวที่ดีเท่านั้นจะสามารถป้องกันและแก้ไขต้นเหตุของปัญหาสังคมได้ เด็กจะมีสุขภาพกายและใจที่ดี และมีคุณภาพตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละคนได้ในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับการ เลี้ยงดูและการอบรมเด็กในสถาบันครอบครัวเป็นเบื้องต้น

2 การศึกษา (Education) การศึกษาในความหมายอย่างกว้าง คือ กระบวนการเรียนรู้ทุก รูปแบบตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นขบวนการของชีวิต เป็นขบวนการหาความรู้และประสบการณ์ทุกอย่างที่ได้รับ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วันรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา กระบวนการดังกล่าวอาจจะอาศัยสื่อการศึกษา คือ บ้าน โรงเรียน วัด สังคมและสิ่งแวดล้อม ในกรณีนี้ชีวิตและกิจกรรมเพื่อชีวิตทุกอย่างของเราล้วนเป็น โรงเรียนหรือแหล่งการศึกษาที่แท้จริงการศึกษาจึงหมายถึง ประสบการณ์รวมที่บุคคลได้รับทั้งในและนอก โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และได้สะสมมาตลอดชีวิต การศึกษาในกรณีนี้คือ ชีวิต (Education is Life)

การศึกษาในความหมายอย่างแคบ คือ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเท่านั้น การศึกษาจะเริ่มเมื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนและสถานศึกษา จะสิ้นสุดเมื่อออกจากโรงเรียน และสถาบันการศึกษา กรณีนี้มักจะเป็นการศึกษาที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และอาจารย์ ได้เตรียมการจัดการเรียน การสอนไว้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาได้มีความรู้ และความสามารถเพื่อจะดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีสวัสดิภาพ และเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้วย

คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษา ได้ให้ความหมายของการศึกษาที่พึงประสงค์สําหรับประเทศไทยไว้ว่า เป็นการเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติให้คนไทยรู้จักตนเอง รู้จักชีวิต เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อันตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วย แล้วนําความรู้ความเข้าใจใช้แก้ปัญหา และ เสริมสร้างชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นโดยกลมกลืนกับธรรมชาติ

3 การฝึกอบรม (Training) คือ กรรมวิธีที่จะเพิ่มพูนสมรรถภาพในการทํางานของผู้ปฏิบัติ งานให้พัฒนาในด้านความคิด การกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และทัศนคติต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะยกระดับประสิทธิภาพการทํางาน และการผลิตในปัจจุบันและอนาคต

4 การมีสุขภาพอนามัยและโภชนาการที่ดี (Health and Nutrition) คงจะได้ยินสุภาษิต ที่ว่า จิตใจที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) จิตใจและร่างกายมีความสัมพันธ์กัน เวลาเจ็บป่วยไม่สบายจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่อยากจะทํางานหรือแม้จะทํางานก็ไม่ได้ผลเต็มที่ ในทํานองเดียวกันหาก เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาถ้าสุขภาพไม่ดีเจ็บออด ๆ แอด ๆ ก็ไม่สามารถจะรับการศึกษาได้เต็มที่ การเรียนก็จะ – ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ความรู้ ความสามารถ หรือคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่ควรจะได้รับเต็มที่ก็ได้รับน้อยกว่าปกติ

การลงทุนในสุขภาพอนามัยจึงเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) กับการลงทุน ในการศึกษา สุขภาพดีเรียนย่อมได้ผลดี และในทางกลับกันบุคคลที่ได้รับการศึกษาดีย่อมรู้จักรักษาสุขภาพ อนามัยของตนมากกว่าบุคคลที่ด้อยการศึกษา มารดาที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี บุตรในครรภ์ย่อมจะสมบูรณ์ คลอดออกมาแล้วก็สมบูรณ์ มีน้ำนมดี ลูกก็จะเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมอง และถ้ามารดามีการศึกษาที่ดีย่อมรู้จัก รักษาสุขภาพ หรือสามารถเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพได้ดีกว่ามารดาที่ด้อยการศึกษา ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายในการ บํารุงสุขภาพอนามัย หรือมีโภชนาการที่ดี มีการป้องกันและรักษาสุขภาพเวลาเจ็บป่วย ทําให้เป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพหรือมีคุณค่าในสังคม แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี นอกจากจะเรียนศึกษา หรือทํางานไม่ได้เต็มที่แล้ว ยัง จะเป็นคนแพร่เชื้อโรคในสังคม ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้ใด

5 การอพยพ (Migration) การที่บุคคลใดจะต้องตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยจากที่ หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่ง ผู้อพยพได้พินิจและพิจารณาแล้วว่า ผลประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น รายได้ และผลประโยชน์อื่นใดที่ เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินจากการอพยพครั้งนั้นต้องสูงกว่าต้นทุนหรือรายจ่ายที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินที่ ต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการอพยพครั้งนั้น หรือจะพูดได้ว่า ผลได้จะต้องมากกว่าผลเสียเขาจึงจะตัดสินใจอพยพ

แรงงานที่อพยพเข้ามาในกรุงเทพมหานคร หรือไปต่างประเทศ ย่อมได้รับความรู้ ประสบการณ์และรายได้มากกว่าที่จะอยู่ในเดิม จึงเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ อันที่จริงแล้วแรงงานไทยที่ อพยพไปขุดทองในต่างประเทศนั้นก็คือ “นักเรียนนอก”ระดับหนึ่งไปหาความรู้ ประสบการณ์ และรายได้ใน ต่างประเทศ กลับมาคงจะได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และรายได้ที่จะทําให้เขามีฐานะดีขึ้น มีเงินที่จะลงทุนในการศึกษาของตนหรือสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือสามารถจะใช้ในการบํารุงสุขภาพ อนามัย ป้องกันหรือรักษา สุขภาพเวลาเจ็บป่วย ย่อมเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของสังคมและประเทศชาติ

6 ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน (Job-Market Information) ข่าวสารเกี่ยวกับ ตลาดแรงงาน เช่น ตําแหน่งว่างงาน คุณสมบัติแรงงานที่ต้องการ และแหล่งที่ต้องการแรงงาน ข่าวสารดังกล่าวนี้ มีประโยชน์มากสําหรับนายจ้างและลูกจ้าง การจะได้ข่าวสารเช่นนี้จะต้องมีการเสาะแสวงหาและเสียค่าใช้จ่าย ปกติรัฐบาลจะเป็นผู้ให้บริการข่าวสารนี้และตั้งเป็นศูนย์บริการหางาน จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการหางาน และช่วยลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการหาแรงงานของนายจ้างด้วย ทําให้ตลาดแรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการว่างงานและเพิ่มการจ้างงาน เมื่อแรงงานหางานทําได้เร็วย่อมมีรายได้และเวลาในการหาประสบการณ์มากขึ้น กว่าปกติ ข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดงานจึงช่วยในการเพิ่มความรู้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในการหางาน ของแรงงานด้วย

7 ประสบการณ์ในการทํางาน (Work Experience) บุคคลที่ได้ลงทุนในการศึกษาตั้งแต่ต้น จนจบมหาวิทยาลัย ย่อมต้องการที่จะได้งานทําสมกับความรู้ที่ตนได้เรียนมา การทํางานเป็นการนําเอาความรู้ที่ได้ ศึกษาเล่าเรียนมา เอามาใช้ในทางปฏิบัติ เป็นการฝึกฝนจากของจริง การทํางานในหน้าที่จะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ ในการทํางาน ทําให้เกิดความชํานาญ ล้วนเป็นการเพิ่มพูนคุณค่าในตัวทรัพยากรมนุษย์

8 สภาวะสิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อพฤติกรรมมนุษย์ ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งถึงวันตาย ในปัจจุบันภัยอันตรายที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนกําลังคืบคลานเข้ามา ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลก และการนําเอา วิทยาการใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยในบางครั้งไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สภาพแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ หรือของโลกได้เลวร้ายลงตามลําดับ อันสืบเนื่องมาจากอากาศเป็นพิษ อากาศ บริสุทธิ์ สําหรับมนุษย์หายใจในปัจจุบันนี้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ มนุษย์ที่มองไม่เห็นทําให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2. นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Worker – ประกอบด้วย เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing) ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วยังต้อง มีความรู้ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น

2.2 อธิบายคําว่า “Stock of Knowledge” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมา ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-1 หน้า 19 – 21), (เอกสารหมายเลข 7-3328-2 หน้า 2, 17 – 21),

(คําบรรยาย) การเพิ่มความรู้ (Stock of Knowledge)

ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยถือว่าการศึกษาเป็น สินค้าที่ใช้บริโภคอย่างหนึ่ง การศึกษาทําให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา หรือให้การศึกษาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อผลผลิตและผลตอบแทนจากการทํางานอันสูงสุด ซึ่งเกิดจาก แรงงานผู้บริโภคการศึกษานั้น

การศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ และการศึกษาเป็นกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีผลการศึกษาเป็นสินค้า (Gods) ที่เรียกว่า Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษา ก็คือ การเพิ่มความรู้ (Stock of Knowledge) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะ (Skills) ด้านต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการศึกษา และเป็นการสะสมทุนมนุษย์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์

การลงทุนในการศึกษาเป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความชํานาญ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และข่าวสารใหม่ ๆ ได้ดี ทําให้เขาสามารถ ทํางานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้มีการศึกษาด้อยกว่า การลงทุนในการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ เพิ่มผลผลิตและรายได้ในอนาคต และหากการศึกษาสามารถทําให้ได้คนเก่ง คนดี และมีชีวิตอยู่ด้วยความสุขนั้น แหละคือมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพที่เรียกว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ ดังเช่น

Alvin Toffler กล่าวว่า ไม่มีใครซื้อหุ้นบริษัท Apple และ IBM เพียงเพราะว่าสองบริษัทนี้ มีทรัพย์สินที่เป็นวัตถุจับต้องได้ คือไม่มีใครสนใจตึกหรือคอมพิวเตอร์ แต่ผู้ซื้อหุ้นสนใจสายสัมพันธ์ อํานาจทาง การตลาด และทีมขายกับประสิทธิภาพของผู้บริหาร และความคิดใหม่ ๆ ที่ตัวพนักงานบริษัท สิ่งเหล่านี้คือ ทุนมนุษย์ อันเป็นผลพวงของการศึกษา

 

2.3 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกับแนวคิด Human Capital จะมีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ในชาติกันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายมาเป็นประเด็น ๆ ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

สังคมผู้สูงอายุกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)

สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ

ประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยพบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจํานวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจาก

การลดภาวะเจริญพันธุ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทําให้จํานวน และสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้นทําให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลง การออมลดลง รัฐบาลจําเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและ ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุมากขึ้น ทําให้การลงทุนลดลง รายได้ประชาชาติลดลง ทั้งนี้การที่แรงงานลดลงอาจแก้ไข โดยการนําเทคโนโลยีเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน หรือใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดการเคลื่อนย้าย แรงงานมากขึ้น หากไม่มีการเตรียมความพร้อม การจัดสรรทรัพยากรแรงงานที่จะลดลงจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทําให้รายได้ประชาชาติลดลงได้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้นโครงสร้างของประชากร เปลี่ยนแปลงไปมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้น ย่อมทําให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ดังนั้นในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ควรจะร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน องค์การ และประเทศ โดยเฉพาะการร่วมกันกระตุ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญของ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีการเตรียมวางแผนการออม การใช้ชีวิตในบั้นปลาย การร่วมมือกันในชุมชน การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ การปรับตัวทางด้าน จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัย ผู้สูงอายุ ซึ่งสําหรับบางประเทศได้มีการขยายอายุผู้เกษียณอายุและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีงานทํามากขึ้นเพื่อ ไม่ให้รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า และเป็นภาระกับสังคมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้สูงอายุ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

โดยที่การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม

สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อจะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1. นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

ให้นักศึกษาอธิบายเรื่อง “การวางแผนพัฒนามนุษย์ในชาติ” ว่าจะต้องพัฒนามนุษย์ทางด้านใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะส่งผลถึงการพัฒนาชาติและส่งผลให้มนุษย์อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในชาติ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 1-3328-2 หน้า 5 – 10, 45 – 46), (คําบรรยาย)

การวางแผนพัฒนามนุษย์ในชาติ

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะ ทําให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่ มีความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้าน ของคนทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้ว ก็สามารถนําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมืองทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่า ความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบและนําไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้เน้นที่การพัฒนาคน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงประสงค์ในระยะยาว ซึ่งวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเน้น การพัฒนาที่ตัวคนทั้งสิ้น ดังนี้

1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพอนามัย แข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

2 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ พัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุล เสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่ เป็นธรรม

4 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความ สมบูรณ์ สามารถจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

5 เพื่อปรับระบบบริหารจัดการ เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อม เผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

คําแนะนํา ทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Worker ประกอบด้วย เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing) ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วยังต้องมีความรู้ ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น

2.2 อธิบายคําว่า “อุปสงค์และอุปทานแรงงาน” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 4 – 5)

อุปสงค์และอุปทานแรงงาน

อุปสงค์แรงงาน คือ ความต้องการด้านแรงงาน ส่วนอุปทาน คือ การตอบสนองต่อความต้องการ ด้านแรงงาน ซึ่งถ้าอุปสงค์มีมากกว่าอุปทานก็แสดงว่ามีการขาดแคลนเกิดขึ้น แต่ถ้าหากอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ ก็แสดงว่ามีการเกินความต้องการเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

– ถ้าอุปสงค์แรงงานในสาขาการแพทย์ คือ 6,500 คน และอุปทานคือ 6,000 คน แสดงว่าขาดแพทย์ที่ต้องการอีก 500 คน

– ถ้าอุปสงค์แรงงานในด้านครู คือ 40,000 คน และอุปทาน คือ 90,000 คน แสดงว่ามีครูเกินความต้องการอยู่ 50,000 คน

 

2.3 การลงทุนด้านการศึกษา และการลงทุนด้านสุขภาพอนามัย มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 7-3328-1 หน้า 3, 17 – 20, 24), (คําบรรยาย)

สภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ได้ถูกครอบงําด้วยกระแสหลักของ กระบวนการพัฒนาตามประเทศทุนนิยมตะวันตกที่มุ่งเน้นความสําคัญของภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และให้ความสําคัญของมนุษย์เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือเน้นคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น จึงทําให้เกิดปัญหามากมายที่มาพร้อมกับ กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลระหว่างระบบต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหากระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหาย ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาความล่มสลายของ ชุมชนชนบท ปัญหาความอ่อนล้าของคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการเมือง การปกครอง การบริหารที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังคํากล่าวที่ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน

เมื่อผลของการพัฒนาเป็นเช่นนี้ก็ได้มีการทบทวนกระบวนการพัฒนาจากเดิมที่เน้นภาคเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มาเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ และนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม

เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษาจึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added)เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

ประชาคมอาเซียนกับทรัพยากรมนุษย์

การก้าวหน้าไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งได้นั้นปัจจัยสําคัญที่สุดก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรที่จะมีความรู้และศักยภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในภูมิภาค ประโยชน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็คือ การได้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนศักยภาพแรงงาน และจัดระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ

ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการก่อให้เกิดความร่วมมือแบบหุ้นส่วนผลิตภาพ (Productivity) ของกําลังแรงงานทั้งในระดับแรงงานฝีมือ

การไหลเวียนของกําลังแรงงานข้ามพรมแดนระหว่างกันและกันในภูมิภาค ยึดหลัก “คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” ส่งเสริมให้มีงานทํา มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเปิดแรงงานเสรีอาเซียน ปี 2558

– การไหลบ่าของแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขัน

– แรงงานไทยจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น

– เกิดการสมองไหลไปทํางานในต่างประเทศ

– ลาว กัมพูชา พม่า จีน และอินเดียจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้นนี้ คนไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้

– ใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องในการสื่อสารได้

– ต้องเรียนรู้และสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

– ต้องรู้จักอาเซียนมากกว่ารู้ว่าอาเซียนคืออะไร

– ต้องรู้จักวิธีการทํามาค้าขายกับประเทศในอาเซียน

– ต้องเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ทัศนคติประเทศในอาเซียนข้อตกลงการยอมรับร่วมกันในบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งมี 7 อาชีพที่สามารถทํางานได้เสรีใน 10 ประเทศ อาเซียน ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี

 

แรงงานไทยต้องปรับตัว ดังนี้

– การยกระดับมาตรฐานการศึกษา

– พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมทางการเรียนรู้

– เน้นการลงมือทําได้จริง

– พัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต

– พัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกลทันโลก

– ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

– พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร

– พัฒนาแนวทางคุ้มครองแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล

มิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเตรียมรับมือ ดังนี้

1 ปรับเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกสรรหาให้พร้อมต่อการรับมือกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใหม่ให้มีคุณลักษณะ มีสมรรถนะ (Competency) ที่พร้อมจะทํางานในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากลด้วย และมีการพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานที่เอื้อต่อการจ้างงานจากนอกประเทศเข้ามาในองค์กร

2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับที่จะเอื้อให้พนักงานเกิดความต้องการพัฒนาทักษะที่พร้อมทํางานข้ามประเทศ

3 เตรียมนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งพนักงานไปประจําที่ต่างประเทศให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทน

4 สร้างเงื่อนไขในการเลื่อนตําแหน่ง โดยมีการวางเกณฑ์ของการเคยไปประจําที่ต่างประเทศหรือรับผิดชอบงานต่างประเทศเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการรับการพิจารณา

5 สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรที่จะเตรียมแรงงานทักษะให้มีความพร้อมต่อการเกิดขึ้นของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ยังอยู่ในสถาบันการศึกษา

 

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 3 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายคําศัพท์ที่ได้ศึกษามาในวิชาการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ดังนี้ .

1.1 อธิบายคําว่า “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource) ว่าคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 2)

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ

ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือ รายได้ประชากรชาติจะต่ําลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี

1.2 อธิบายคําว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 3)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) หมายถึง กระบวนการ เพิ่มความรู้ ความชํานาญ และความสามารถโดยรวมของประชากรในสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ ช่วยอธิบายทฤษฎีทุนมนุษย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณด้านการลงทุน (การศึกษา, อนามัย ฯลฯ) เปรียบเทียบกับรายได้และผลต่อสังคม

2 ด้านการเมือง ช่วยก่อให้เกิดวุฒิภาวะทางการเมืองโดยรวมในฐานะที่เป็นพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย

3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งการพัฒนาทางด้าน จิตใจ คุณธรรม และวัฒนธรรม

1.3 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Worker ประกอบด้วย

เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing)

ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ยังต้องมีความรู้ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น

1.4 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายลักษณะสภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา ด้วยการลงทุนด้านการศึกษา และสุขภาพอนามัย และ จะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 3, 17 – 20, 24), (คําบรรยาย)

สภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ได้ถูกครอบงําด้วยกระแสหลักของ กระบวนการพัฒนาตามประเทศทุนนิยมตะวันตกที่มุ่งเน้นความสําคัญของภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และให้ความสําคัญ ของมนุษย์เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือเน้นคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น จึงทําให้เกิดปัญหามากมายที่มาพร้อมกับกระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลระหว่างระบบต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหากระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหาย ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาความล่มสลายของ ชุมชนชนบท ปัญหาความอ่อนล้าของคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการเมือง การปกครอง การบริหารที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังคํากล่าวที่ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน

เมื่อผลของการพัฒนาเป็นเช่นนี้ก็ได้มีการทบทวนกระบวนการพัฒนาจากเดิมที่เน้นภาคเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มาเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ และนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป .

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถทํา กิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

ประชาคมอาเซียนกับทรัพยากรมนุษย์

การก้าวหน้าไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งได้นั้น ปัจจัยสําคัญที่สุดก็คือ ทรัพยากรมนุษย์

ซึ่งควรที่จะมีความรู้และศักยภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในภูมิภาค

ประโยชน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็คือ การได้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนศักยภาพแรงงาน และจัดระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ

ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการก่อให้เกิดความร่วมมือแบบหุ้นส่วนผลิตภาพ (Productivity) ของกําลังแรงงานทั้งในระดับแรงงานฝีมือ

การไหลเวียนของกําลังแรงงานข้ามพรมแดนระหว่างกันและกันในภูมิภาค ยึดหลัก “คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” ส่งเสริมให้มีงานทํา มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเปิดแรงงานเสรีอาเซียน ปี 2558

– การไหลบ่าของแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขัน

– แรงงานไทยจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น

– เกิดการสมองไหลไปทํางานในต่างประเทศ

– ลาว กัมพูชา พม่า จีน และอินเดียจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

คนไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้

– ใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องในการสื่อสารได้

– ต้องเรียนรู้และสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

– ต้องรู้จักอาเซียนมากกว่ารู้ว่าอาเซียนคืออะไร

– ต้องรู้จักวิธีการทํามาค้าขายกับประเทศในอาเซียน

– ต้องเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ทัศนคติประเทศในอาเซียน

ข้อตกลงการยอมรับร่วมกันในบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งมี 7 อาชีพที่สามารถทํางานได้เสรีใน 10 ประเทศ อาเซียน ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี

แรงงานไทยต้องปรับตัว ดังนี้

– การยกระดับมาตรฐานการศึกษา

– พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมทางการเรียนรู้

– เน้นการลงมือทําได้จริง

– พัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต

– พัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกลทันโลก

– ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

– พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร

– พัฒนาแนวทางคุ้มครองแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล

มิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเตรียมรับมือ ดังนี้

1 ปรับเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกสรรหาให้พร้อมต่อการรับมือกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใหม่ให้มีคุณลักษณะ มีสมรรถนะ (Competency) ที่พร้อมจะทํางานในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากลด้วย และมีการพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานที่เอื้อต่อการจ้างงานนอกประเทศเข้ามาในองค์กร

2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับที่จะเอื้อให้พนักงานเกิดความต้องการพัฒนาทักษะที่พร้อมทํางานข้ามประเทศ

3 เตรียมนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งพนักงานไปประจําที่ต่างประเทศให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทน

4 สร้างเงื่อนไขในการเลื่อนตําแหน่ง โดยมีการวางเกณฑ์ของการเคยไปประจําที่ต่างประเทศหรือรับผิดชอบงานต่างประเทศเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการรับการพิจารณา

5 สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรที่จะเตรียมแรงงานทักษะให้มีความพร้อมต่อการเกิดขึ้นของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ยังอยู่ในสถาบันการศึกษา

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายคําว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” คืออะไร หากจะให้ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะทําได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 8)

การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ (Integrated) ที่ทําให้เกิดเป็นองค์รวม (Holistic) และมีดุลยภาพ (Balanced) โดยการใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งปัจจัยที่จะทําให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืนในสังคมหรือประเทศไทยได้จะมี 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ (Economy) นิเวศวิทย์ (Ecology) และมนุษย์ (Human)

การพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะไม่มีการพัฒนาในแต่ละด้านให้เกิดความสมดุล การพัฒนาที่แท้จริงและยั่งยืน ก็คือ การพัฒนาที่สมดุล มีบูรณาการ และเป็นองค์รวม ซึ่งจะต้องเน้นที่ตัวมนุษย์ให้ เข้ามาเป็นปัจจัยสําคัญในการบูรณาการ เพราะการพัฒนาทุกด้าน เช่น เศรษฐกิจ และนิเวศวิทย์ จะทําได้ก็ต่อเมื่อ มีมนุษย์เป็นตัวจัดการพัฒนา หากไม่มีมนุษย์จัดการก็พัฒนาไม่ได้ คือ หากมนุษย์ไม่พัฒนาตนเอง มนุษย์ก็จะพัฒนา สิ่งอื่นไม่ได้ด้วย

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนามนุษย์ (Human Development) ก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนามนุษย์เป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนามนุษย์ให้มีสุขภาพดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนามนุษย์เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนามนุษย์ในเรื่องของ คุณค่าความเป็นมนุษย์ พัฒนามนุษย์ให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

ดังนั้นการพัฒนามนุษย์จะต้องทําการพัฒนาทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสุขภาพ ด้านความรู้ สติปัญญา พฤติกรรม และจิตใจด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มนุษย์พัฒนาตัวมนุษย์เองเพื่อเศรษฐกิจและระบบนิเวศวิทย์ไปพร้อม ๆ กันได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ซ่อม 1/2557

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบนี้เป็นของ รศ.ชลิดา (สมุดคําตอบสีดํา)

1.1 ให้นักศึกษาให้ความหมายของคําว่า “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ว่าคืออะไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข ๓-3328-2 หน้า 2)

ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยถือว่าการศึกษาเป็น สินค้าที่ใช้บริโภคอย่างหนึ่ง การศึกษาทําให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา หรือให้การศึกษาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อผลผลิตและผลตอบแทนจากการทํางานอันสูงสุด ซึ่งเกิดจาก แรงงานผู้บริโภคการศึกษานั้น

1.2 ให้นักศึกษาอธิบายคําว่า “กําลังคน” (Manpower) คืออะไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 4)

กําลังคน (Manpower) คือ ประชากรที่อยู่ในกําลังแรงงานและนอกกําลังแรงงานที่ให้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้โดยพิจารณาว่าคนเป็นปัจจัยในการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตและบริการอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม

1.3 หากต้องการจะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง และชาวไทยมีความสุขการวางแผนพัฒนาชาติควรเป็นเช่นใด

แนวคําตอบ

(เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 10, 45 – 46),

(คําบรรยาย)การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะ ทําให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่มี ความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้านของคน ทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้วก็สามารถ นําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่าความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบและนําไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้เน้นที่การพัฒนาคน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงประสงค์ในระยะยาว ซึ่งวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเน้นการ พัฒนาที่ตัวคนทั้งสิ้น ดังนี้

1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

2 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้ง ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม

4 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

5 เพื่อปรับระบบบริหารจัดการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

 

ข้อ 2 ข้อสอบนี้เป็นของ ดร.ปรัชญา (สมุดคําตอบสีแดง)

2.1 อธิบายคําว่า “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource) ว่าคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2)

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของ ประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ

ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือ รายได้ประชากรชาติจะต่ำลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี

2.2 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น

2.3 จงอธิบายลักษณะการลงทุนด้านการศึกษา จะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 3, 17 – 20, 24), (คําบรรยาย)

สภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ได้ถูกครอบงําด้วยกระแสหลักของ กระบวนการพัฒนาตามประเทศทุนนิยมตะวันตกที่มุ่งเน้นความสําคัญของภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และให้ความสําคัญ ของมนุษย์เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือเน้นคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น จึงทําให้เกิดปัญหามากมายที่มาพร้อมกับ กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลระหว่างระบบต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหากระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหาย ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาความล่มสลายของ ชุมชนชนบท ปัญหาความอ่อนล้าของคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการเมือง การปกครอง การบริหารที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังคํากล่าวที่ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน

เมื่อผลของการพัฒนาเป็นเช่นนี้ก็ได้มีการทบทวนกระบวนการพัฒนาจากเดิมที่เน้นภาคเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มาเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ และ นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

ประชาคมอาเซียนกับทรัพยากรมนุษย์

การก้าวหน้าไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งได้นั้น ปัจจัยสําคัญที่สุดก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรที่จะมีความรู้และศักยภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในภูมิภาค

ประโยชน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็คือ การได้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนศักยภาพแรงงาน และจัดระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ

ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการก่อให้เกิดความร่วมมือแบบหุ้นส่วนผลิตภาพ (Productivity) ของกําลังแรงงานทั้งในระดับแรงงานฝีมือการไหลเวียนของกําลังแรงงานข้ามพรมแดนระหว่างกันและกันในภูมิภาค ยึดหลัก “คน เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” ส่งเสริมให้มีงานทํา มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเปิดแรงงานเสรีอาเซียน ปี 2558

การไหลบ่าของแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขัน

แรงงานไทยจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น

เกิดการสมองไหลไปทํางานในต่างประเทศ

ลาว กัมพูชา พม่า จีน และอินเดียจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น คนไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้

– ใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องในการสื่อสารได้

– ต้องเรียนรู้และสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

– ต้องรู้จักอาเซียนมากกว่ารู้ว่าอาเซียนคืออะไร

– ต้องรู้จักวิธีการทํามาค้าขายกับประเทศในอาเซียน

– ต้องเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ทัศนคติประเทศในอาเซียน

ข้อตกลงการยอมรับร่วมกันในบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งมี 7 อาชีพที่สามารถทํางานได้เสรีใน 10 ประเทศ อาเซียน ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชีแรงงานไทยต้องปรับตัว ดังนี้

– การยกระดับมาตรฐานการศึกษา

– พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมทางการเรียนรู้

– เน้นการลงมือทําได้จริง

– พัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต

– พัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกลทันโลก

– ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

– พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร

– พัฒนาแนวทางคุ้มครองแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล

มิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเตรียมรับมือ ดังนี้

1 ปรับเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกสรรหาให้พร้อมต่อการรับมือกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใหม่ให้มีคุณลักษณะ มีสมรรถนะ (Competency) ที่พร้อมจะทํางานในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากลด้วย และมีการพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานที่เอื้อต่อการจ้างงานจากนอกประเทศเข้ามาในองค์กร

2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับที่จะเอื้อให้พนักงานเกิดความต้องการพัฒนาทักษะที่พร้อมทํางานข้ามประเทศ

3 เตรียมนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งพนักงานไปประจําที่ต่างประเทศให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทน

4 สร้างเงื่อนไขในการเลื่อนตําแหน่ง โดยมีการวางเกณฑ์ของการเคยไปประจําที่ต่างประเทศหรือรับผิดชอบงานต่างประเทศเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการรับการพิจารณา

5 สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรที่จะเตรียมแรงงานทักษะให้มีความพร้อมต่อการเกิดขึ้นของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ยังอยู่ในสถาบันการศึกษา

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ตัวเลือกใดไม่ใช่วิธีการแบบวิทยาศาสตร์

(1) การอธิบายด้วยทฤษฎี

(2) การคาดเดาคําตอบล่วงหน้า

(3) การรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต

(4) แล้วแต่บริบท บางครั้งก็ใช้เหตุผล ถ้าไม่จําเป็นก็ไม่ใช้ประสาทสัมผัส

(5) ทุกข้อคือวิธีการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 3 – 5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification) เป็นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเกิดความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัย

2 การตั้งสมมุติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหา คําตอบได้

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น การสอบถามผู้รู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)

4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการนําข้อมูลมาจัดเรียงหรือพิจารณาว่าข้อมูลดิบที่ได้นั้นสามารถนํามาใช้ตอบคําถามได้หรือไม่

5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการนําคําตอบที่ค้นพบได้มากล่าวอย่างย่อ ๆ ซ้ำอีกรอบหนึ่ง

2 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยมากที่สุด

(1) การค้นหาเรื่องหนึ่งอย่างซ้ํา ๆ จนกว่าจะเจอคําตอบที่ผู้วิจัยสงสัย

(2) การค้นพบคําตอบที่ไม่มีใครเคยตอบมาก่อน

(3) การค้นหาสัจธรรมหรือความจริงแท้ของโลกใบนี้

(4) การพยายามพิสูจน์ความเชื่อที่ไม่มีใครเคยพิสูจน์ได้มาก่อน

(5) ข้อ 2 และข้อ 3 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 1 หน้า 3 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือจากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ

3 องค์ความรู้ใดใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด

(1) Behaviorism

(2) History

(3) Lavy

(4) Philosophy

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 23 ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเฉพาะเมื่อสาขาวิชารัฐศาสตร์รับเอาแนวคิดแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) ในช่วงตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

4 เมื่อได้คําตอบหลังจากกําหนดคําถามการวิจัยเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

(1) Data Collection

(2) Data Analysis

(3) Review Literature

(4) Data Synthetic

(5) Conclusion

ตอบ 3 หน้า 20 – 22 ขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question)

2 การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)

3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption / Hypothesis)

4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research)

5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Coltecting Data)

6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting)

5 เมื่อได้คําตอบหลังจากทบทวนวรรณกรรมเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

(1) Data Collection

(2) Data Analysis

(3) Problem Statement

(4) Data Synthetic

(5) Assumption

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

 

ข้อ 6 – 12 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Data Collection

(2) Assumption

(3) Data Analysis

(4) Observation and Problem Identification

(5) Conclusion

 

6 นําข้อมูลมาจัดเรียงหรือพิจารณาว่าข้อมูลดิบที่ได้นั้นสามารถนํามาใช้ตอบคําถามได้หรือไม่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

7 เป็นการกําหนดคําตอบล่วงหน้าว่าน่าจะเป็นเช่นไร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

8 ขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

9 ขั้นตอนแรกของการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

10 การแจกแบบสอบถามจํานวน 400 ชุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

11 การค้นคว้าจากเอกสารชั้นรองในห้องสมุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

12 การนําคําตอบที่ค้นพบได้มากล่าวอย่างย่อ ๆ ซ้ําอีกรอบหนึ่ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

13 สาขาความรู้ใดมีอิทธิพลต่อรัฐศาสตร์สมัยใหม่น้อยที่สุด

(1) ชีววิทยา

(2) ปรัชญาการเมือง

(3) ฟิสิกส์

(4) จิตวิทยา

(5) วิทยาศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 29, 44, 47 แนวการวิเคราะห์หรือกรอบการวิเคราะห์ (Approach) มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่า การเข้าไปใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมากต่อการศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่ หรือ ในการทําวิจัยทางรัฐศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ทั้งในแง่ของ การแสวงหาความรู้ในแนวชีววิทยา ฟิสิกส์ และความรู้ด้านจิตวิทยา เนื่องจากกรอบการวิเคราะห์จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวกําหนดมุมมองในการทําวิจัย ซึ่งถ้าเปรียบไปแล้วแนวการวิเคราะห์ก็คือเข็มทิศหรือแผนที่ของการวิจัย

14 ปรากฏการณ์ใด ๆ ก็ตาม เกิดขึ้นจากการทํางานของระบบการเมือง แนวคิดดังกล่าวนี้ตรงกับ Approach ใด มากที่สุด

(1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Approach

(4) Development Approach

(5) Power Approach

ตอบ 3 หน้า 50 แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/ Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ ปรากฏการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นจากการทํางานของระบบการเมือง โดยได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไปทั้งหมด เช่นเดียวกัน กับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

15 Approach ใดได้รับอิทธิพลจากสาขาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ (1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Theory

(4) Development Approach

(5) Rational Choice Approach

ตอบ 5 หน้า 48 แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า Rational Choice Approach จะมีสมมุติฐานที่สําคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์ ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทําอะไรแล้วจะคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และ เสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะ ทําตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด (Maximize Utility) หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทาง จะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด (Maximin) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากวิธีคิดในทางเศรษฐศาสตร์

16 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Transitional Period มากที่สุด

(1) ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป

(2) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

(3) ยุคที่เริ่มเปลี่ยนไปสู่การศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่

(4) เน้นการใช้เครื่องมือทางสถิติเป็นหลัก

(5) ทุกข้อไม่เกี่ยวข้องกับ Transitional Period

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 15 ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการเริ่ม กรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษา แบบเก่าคือ สถาบันนิยม ยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

17 เป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด

(1) ปรัชญาการเมือง

(2) กฎหมาย

(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

(4) พฤติกรรมของมนุษย์

(5) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 1 หน้า 9, 50, (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการ พรรณนาหรืออธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

18 “คําอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ เกี่ยวข้องกับ ตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Methodology

(2) ระเบียบวิธีวิจัย

(3) Political Theory

(4) Normative

(5) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 5 หน้า 17 ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ การวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่สามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

19 การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) Political Philosophy

(2) Normative Research

(3) Survey Research

(4) Research Proposal

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 18 – 19 การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ตัวแทนของหน่วยในการศึกษา การวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการ เกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในแต่ละปี การสํารวจสํามะโนครัว (Census) การสํารวจรายได้ เป็นต้น

20 โครงร่างของการวิจัย ที่นักวิจัยจะต้องนําเสนอก่อนที่จะเริ่มทําวิจัย

(1) Pure Research

(2) Applied Research

(3) Survey Research

(4) Research Proposal

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 65 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่ผู้วิจัยต้องจัดทําแผนในการวิจัยเพื่อให้ผู้สอนหรือกรรมการพิจารณาโครงร่างก่อนที่จะทําการวิจัย

 

ข้อ 21 – 25 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Documentary Research

(2) Dependent Variable

(3) Independent Variable

(4) Survey Research

(5) Unit of Analysis

 

21 ถ้าต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2563ด้วยวิธีการดูรายงานของทางรัฐบาลเปรียบเทียบ “การดูรายงานของรัฐบาล” ในทางการวิจัยเรียกว่าเป็นวิธีการอะไร

ตอบ 1 หน้า 18 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารโดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตํารา เอกสารการวิจัย เอกสารทางราชการ หนังสือพิมพ์ หนังสือ วารสารต่าง ๆ โบราณวัตถุ ศิลาจารึก เป็นต้น

22 มุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างของการวิจัยเช่นนี้ก็เช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนที่คน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

23 นักอ่านจารึกได้ทํางานค้นหาว่าภาษาที่เขียนในจารึกนั้นเป็นภาษาอะไร การวิจัยในลักษณะนี้คืองานวิจัยประเภทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 เป็นตัวแปรที่ผู้ศึกษาได้ทําการเปลี่ยนไปมาเพื่อจะดูผลที่ตามมา ตอบ 2 หน้า 127, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม โดยผู้ศึกษาสามารถ เปลี่ยนไปมาเพื่อจะดูผลที่ตามมามักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล, การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น

25 การสํารวจรายได้ทั่วประเทศของประชาชนในเขตจังหวัดนครปฐม การวิจัยประเภทนี้เรียกว่าอะไร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

 

ข้อ 26 – 31 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Observation

(3) Research Objective

(4) Approach

(5) Method

 

26 โดยรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลว่า “การเข้าไปใกล้ ๆ” ในทางรัฐศาสตร์เรียกแนวการวิเคราะห์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

27 การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

28 วิธีการตั้งประโยคต้องใช้คําขึ้นต้น คําว่า “เพื่อ” โดยการตั้งนั้นต้องเป็นประโยคบอกเล่า

ตอบ 3 หน้า 56 – 57 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น

29 ต้องตั้งด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร” ตอบ 1 หน้า 54 – 55 คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย มักจะตั้ง ด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร”

30 วิธีการเก็บข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 26 คําว่า Method หมายถึง วิธีการของคน ๆ หนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนํามาทําความเข้าใจหรือใช้อธิบายบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “วิธีการ”

31 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

 

ข้อ 32 – 35 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Institutional Approach

(2) Rational Choice Approach

(3) Historical Approach

(4) Political Culture

(5) Psychological Approach

 

32 ถ้าเรารู้กติกาของกีฬา เราก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้เล่นได้ไม่ยาก วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 1 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพล ของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม

33 ทัศนคติ แบบแผน หรือมุมมองทางการเมืองของคนในแต่ละสังคมนั้นแตกต่างกัน และก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 5 หน้า 47 แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นต้น

34 มนุษย์จะเลือกตัวเลือกที่ก่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

35 ถ้าอยากเข้าใจเหตุการณ์ทํารัฐประหารปี พ.ศ. 2557 จําเป็นต้องย้อนกลับไปดูการทํารัฐประหารปี พ.ศ. 2549

ตอบ 3 หน้า 49 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมุติฐานว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยง มาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับ ไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

36 คําถามที่ใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale จัดเป็นคําถามในลักษณะใด

(1) Check-list Question

(2) Multiple choice Question

(3) Multi-response Question

(4) Rank Priority Question

(5) Ranking Scale Question

ตอบ 5 หน้า 146 – 147, (คําบรรยาย) คําถามในลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale Question) จัดเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดหนึ่ง โดยแบบที่นิยมใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรวัดแบบ Likert Scale, มาตรวัดแบบ Gutman Scale, มาตรวัดแบบ Osgood Scale และมาตรวัดแบบ Thurstone Scale เป็นต้น

37 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) ประสิทธิภาพ

(2) ความเชื่อถือได้

(3) การมีความหมาย

(4) ความเป็นปรนัย

(5) ทํานายอนาคตได้อย่างแน่นอน

ตอบ 5 หน้า 152 – 157, คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)

2 ความแม่นตรง (Validity)

3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)

4 ความแม่นยํา (Precision)

5 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)

6 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)

7 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)

8 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)

38 ในการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ต้องพิจารณาในเรื่องใด

(1) ความมีเสถียรภาพ

(2) การทดแทนซึ่งกันและกันได้

(3) การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(4) ข้อ 1. และข้อ 3. ถูกเท่านั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 152 การทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความมีเสถียรภาพ (Stability)

2 การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence)

3 การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)

39 ข้อใดเป็นข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม

(1) สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

(2) ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชํานาญเป็นพิเศษ

(3) เกิดความลําเอียงหรืออคติได้ง่าย

(4) ไม่สามารถเก็บข้อมูลกับผู้ที่อ่านเขียนหนังสือไม่ได้

(5) สามารถกลับไปซักถามต่อได้

ตอบ 4 หน้า 63, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้

1 ไม่แน่ใจว่าได้ข้อมูลตรงกับความจริงหรือไม่ ถ้าเครื่องมือวัดไม่ดีพอ

2 มีลักษณะยืดหยุ่นน้อย

3 มักได้แบบสอบถามกลับคืนมาจํานวนน้อย

4 ไม่สามารถใช้กับประชากรที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้

5 ไม่สามารถกลับไปซักถามต่อได้ เป็นต้น

40 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(3) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(4) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

(5) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ

1 เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

3 เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา

4 ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

5 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

6 จะใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น

41 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 หน้า 19 – 20, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ

1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด

5 มีวิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้การสอบถามและการสัมภาษณ์ตามแนวเป็นหลัก

6 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น

42 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(3) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(4) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

(5) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 41 ประกอบ

43 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 41 ประกอบ

44 การใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ไขปัญหาและใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิดเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Approach) เป็นการใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด

45 คําตอบในหนังสือหน้าหนึ่งในแต่ละวันตลอดสัปดาห์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้อง เช่น การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560  เป็นต้น

46 สิ่งที่ทุกคนรับรู้ร่วมกันและเหมือนกันทุกๆ คน เรียกว่าอะไร

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความจริงแบบวัตถุวิสัยหรือปรนัย (Objective Truth) คือ สิ่งที่ทุกคนรับรู้ร่วมกันและเหมือนกันทุกๆ คน ส่วนความจริงแบบอัตวิสัย/จิตวิสัยหรืออัตนัย(Subjective Truth) คือ สิ่งที่รับรู้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งแฝงไปด้วยอคติและค่านิยมของแต่ละบุคคล

47 สิ่งที่ทุกคนรับรู้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรียกว่าอะไร

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับ เรื่องใดมากที่สุด

(1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูล มายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

49 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด (1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหากรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมติฐาน โดยการเลือกรูปแบบ การวิจัยต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปรการเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

50 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 5 163, (คําบรรยาย) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกําหนดหน่วยในการศึกษาหรือหน่วยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลและจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

51 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด เป็นการแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

52 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัยโดยมีวิธีการต่าง ๆ คือ การได้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการได้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การรวบรวมเอกสารหรืองานวิจัย เป็นต้น

53 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

54 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

55 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง สามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

56 การกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 122 การอธิบาย หมายถึง ความพยายามที่จะตอบคําถามว่าทําไม เช่น ทําไมคนถึงยากจน ทําไมระบบราชการถึงไม่มีประสิทธิภาพ โดยจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันซึ่งเป็นแก่นสําคัญในการศึกษารัฐศาสตร์

57 การกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัย กล่าวถึง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 122 การบรรยาย หมายถึง ความพยายามในการตอบคําถามว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหนเมื่อไร และอย่างไร ซึ่งเป็นการกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัย

58 การตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ (Exploration)เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

59 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 หน้า 140, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ มาสู่ตัวบ่งชี้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง

60 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 หน้า 124 ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชาย เพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

61 ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 2 หน้า 124 แนวคิด (Concept) หมายถึง ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี ภายใต้แนวคิดหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆ ตามแต่ละสาขาวิชา

62 คุณลักษณะที่แบ่งแยกประเภทของตัวแปร เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 4 หน้า 124 คุณค่าของตัวแปร (Attribute) หมายถึง คุณลักษณะที่แบ่งแยกประเภทของตัวแปร

63 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

(3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 17, 161 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) การวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยการวิจัยเช่นนี้ไม่ต้องการที่จะตอบคําถามประเภทว่าอะไรเป็นสาเหตุของ ปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ หรือปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด ยกตัวอย่างการวิจัยประเภทนี้ เช่น ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยว่าตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน มีการทํารัฐประหารทั้งหมดกี่ครั้งและใครเป็นหัวหน้าผู้ก่อการทํารัฐประหาร เป็นต้น

64 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย หรือทํานาย ปรากฏการณ์ ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร

(1) ทฤษฎี

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 3 หน้า 122 ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้

65 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่

(1) กรอบแนวความคิด

(2) มาตรวัด

(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์

(4) นิยามความหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

66 ข้อใดต่อไปนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) การแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(2) การแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทําหัวข้อคล้ายกัน

(3) การจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทําการศึกษา

(4) การป้องกันผู้อื่นนําไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) การเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

ตอบ 5 หน้า 70 การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการนําความรู้ที่ได้จากการศึกษามารวบรวม หรือเป็นการจัดทําแผนในการวิจัย และเขียนเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการต่อไป

 

ข้อ 67 – 72 ขอให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

(5) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

 

67 รายงานการวิจัยฉบับใดเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 71 – 75 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานโดยละเอียดมีรูปแบบเคร่งครัดส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม สมบูรณ์แบบ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย โดยเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด มักจะปรากฏประวัติผู้วิจัยและภาคผนวกโดยละเอียด

68 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 76 – 77 บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

69 รายงานการวิจัยประเภทใดที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ

ตอบ 5 หน้า 79 รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ที่ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ มักจะเขียนขึ้นในขณะที่ งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยหลักการ เหตุผลและวิธีการ และอาจจะยังไม่มีผลการวิจัยก็ได้ หรือมีผลการวิจัยแล้วแต่เป็นผลการวิจัยเบื้องต้น

70 รายงานการวิจัยประเภทใดประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

71 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 2 หน้า 76 รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยมีความยาวประมาณ 50 หน้า

72 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักเขียนขึ้นในขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัย

(1) ปกหลักจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโครงการวิจัย

(2) รายละเอียดที่ปรากฏบนปกในต้องมีความแตกต่างจากปกหลักเพื่อมิให้ซ้ำซ้อน

(3) ในกรณีของงานวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

(4) บทย่อความควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(5) สารบัญเนื้อหาและสารบัญรูปภาพไม่จําเป็นต้องแยกออกมาจากกัน

ตอบ 4 หน้า 71 ส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

1 ปกหลัก เป็นส่วนที่สําคัญที่ต้องมีโดยระบุคําว่า “รายงานการวิจัย”

2 หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก

3 หน้าอนุมัติ จะระบุถึงคําอนุมัติจากต้นสังกัด

4 บทคัดย่อภาษาไทย

5 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

6 หน้าประกาศคุณปการหรือกิตติกรรมประกาศ

7 สารบัญ

8 สารบัญตาราง (ถ้ามี)

9 สารบัญภาพ (ถ้ามี)

10 คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อที่ใช้ในการวิจัย

 

ข้อ 74 – 80 ขอให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

 

74 ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาและรวบรวมมา ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 4 หน้า 72 – 73 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้คือ

บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาวัตถุประสงค์ สมมุติฐานในการวิจัย ขอบเขต ข้อจํากัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นบทที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณกรรม เอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธี (Methodology) ที่ใช้ในการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย ประเภทการวิจัย ประชากร (Population) กลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นบทที่มีเนื้อหาเป็นการนําเสนอผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาหรือรวบรวมมา

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

75 การทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขต และข้อจํากัดของงานวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

77 หากนักศึกษาต้องการอธิบายถึงขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาควรรายงานไว้ในบทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

78 การอภิปรายผล และข้อเสนแนะจากการวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

79 หากอาจารย์ถามนักศึกษาว่า “งานวิจัยฉบับนี้มีความสําคัญอย่างไร เพราะเหตุใดนักศึกษาต้องศึกษาและใช้เวลาในการทํางานวิจัยฉบับนี้ขึ้นมา ” นักศึกษาจะให้อาจารย์ท่านนั้นไปอ่านงานวิจัยบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

80 หากนายภพธรอยากทราบว่า เพราะเหตุใดผลงานวิจัยที่คุณไปรยาได้ทํานั้น จึงได้ผลการศึกษาที่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้ที่ทําไว้ก่อนหน้านี้แล้ว นายภพธรควรศึกษาที่งานวิจัยบทใดของคุณไปรยา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

81 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อๆกันไปเรื่อยๆ เรียกว่าอะไร

(1) ขนมเปียกปูน

(2) ขนมชั้น

(3) ขนมสาลี

(4) ขนมปัง

(5) ขนมขลับ

ตอบ 2 หน้า 73 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ เรียกว่าขนมชั้น หรือคอนโดงานวิจัย

82 หากนายเอกมัยต้องการทราบว่านายหมอชิตไปทําการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาหรือไม่ นายเอกมัยต้องใช้โปรแกรมใดในการตรวจสอบผลงานของนายหมอชิต

(1) Turn it down

(2) Turn it up

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักขราบริสุทธิ์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 102 โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ใช้ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ และตรวจสอบงานเขียนเพื่อค้นหาข้อความที่อาจจะเป็นการลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น

83 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย”

(1) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai-Journal Citation Index หรือ TCI

(2) ทําหน้าที่คํานวณและรายงานค่า Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

(3) ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 4 กลุ่ม

(4) วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

(5) ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

ตอบ 3 หน้า 77 – 78 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index หรือ TCI)เป็นศูนย์ที่ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวที นานาชาติ และทําหน้าที่คํานวณและรายงานค่า Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย โดยดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งวารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

84 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

(1) บทคัดย่อที่ดีควรทําเป็นภาษาเดียวเท่านั้น

(2) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) บทคัดย่อที่ดีควรมีความยาวมากกว่า 5 หน้าขึ้นไป

(4) บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน

(5) บทคัดย่อที่ดีไม่ควรแสดงผลการศึกษาเนื่องจากผู้อ่านจะไม่อยากติดตามอ่านต่อ

ตอบ 4 หน้า 96 บทคัดย่อ (Abstract) มีลักษณะดังนี้

1 บทคัดย่อช่วยให้ผู้อ่านทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมดโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด

2 บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน

3 บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4 ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

85 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

(1) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

(2) ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ (3) ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

(4) ต้องไม่ปรากฏรูปภาพหรือตารางใดๆในบทสรุปผู้บริหาร

(5) ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร ตอบ 4 หน้า 98 การเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหารมีข้อควรระวังอยู่ 4 ประการ

1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

2 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จําเป็นได้

3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร 4 ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4และถ้าเป็นบทสรุปเพื่อสื่อมวลชนไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 2 หน้ากระดาษ A4

86 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย

(1) ความถูกต้อง

(2) ความกํากวมระมัดระวัง

(3) การอ้างอิง

(4) ถ้อยคําสุภาพ

(5) ความตรงประเด็น

ตอบ 2 หน้า 100 เทคนิคในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้

1 การจัดรูปแบบ

2 ความเป็นเอกภาพ

3 ความถูกต้อง

4 ความแจ่มแจ้งชัดเจน

5 ความตรงประเด็น

6 ความสํารวมระมัดระวัง

7 ถ้อยคําสุภาพ

8 การอ้างอิง

87 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ควรปรากฏอยู่ในการนําเสนอผลงานวิจัยด้านโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง (Title)

(2) ภาคผนวก (Annex)

(3) บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)

(4) วิธีดําเนินการวิจัย (Research Method)

(5) ผลการวิจัย (Research Results)

ตอบ 2 หน้า 104 องค์ประกอบของการนําเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ มักประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้

1 ชื่อเรื่อง (Title)

2 บทคัดย่อ (Summary)

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)

4 วิธีดําเนินการวิจัย (Research Methods)

5 ผลการวิจัย (Research Results)

88 คําใดต่อไปนี้หมายถึง “การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา”

(1) Oral presentation

(2) Mouth presentation

(3) Speaking presentation

(4) Talking presentation

(5) Poster presentation

ตอบ 1 หน้า 105 การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นการรายงานข้อค้นพบจากการวิจัยและข้อเสนอแนะด้วยวาจา ต่อที่ประชุม และนําเสนอโดยไม่มีรูปแบบที่เคร่งครัด ความยาวไม่มากเกินไป ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะเตรียมตัวนําเสนอเฉพาะช่วงที่นําเสนอเท่านั้น เพื่อความสมจริง อาจจะนําเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้

 

ข้อ 89 – 90 ขอให้นักศึกษาใข้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) งานวิจัยเชิงวัฒนธรรม

 

89 อาจารย์แจ๊สต้องการทราบว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ งานวิจัยของอาจารย์แจ๊สจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 110 – 111 งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาของรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน,แนวทางในการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

90 ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษต้องการให้มีนักวิจัยถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากันเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้คนในพื้นที่และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น งานวิจัยดังกล่าว จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 113 งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เช่น การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ำในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น

91 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด

(1) ทฤษฎี

(2) นิยามปฏิบัติการ

(3) ตัวแปร

(4) ดัชนีชี้วัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 115 สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัด ก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ

92 เพศเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 145 Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึกษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่ม เดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ชื่อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น

93 อายุเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 146 Patio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการ แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ำหนัก ความสูง เงินเดือน รายได้ เป็นต้น

94 การศึกษาเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 146 Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอก ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น

95 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 189 สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

96 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบคนความพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 129 สถิติ F-Test หรือ Oneway ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมือน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบ โค้งปกติ

97 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 190 สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของความสัมพันธ์เท่านั้น

98 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 146, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรต่าง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี

99 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 3 หน้า 152 153 เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้

1 เทคนิคการทดสอบ (Test-Retest)

2 เทคนิคการทดสอบแบบแบ่งครึ่ง (Split-Half)

3 เทคนิคการทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form)

4 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)

100 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 2 หน้า 156 Zeller & Cammines จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัดออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)

3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

(4) เพื่อการทํานาย

(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 94 – 95 จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

2 เพื่อบรรยาย

3 เพื่ออธิบาย

4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย

(1) ความเป็นไปได้

(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

(3) ความสนใจของผู้วิจัย

(4) ความยากง่ายในการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 96 – 97 หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้

1 ความสําคัญของปัญหา

2 ความเป็นไปได้

3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล

3 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

4 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปที่สถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฏ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง

5 วัตถุประสงค์ในการวิจัย “เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นวัตถุประสงค์ประเภทใด

(1) วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(2) วัตถุประสงค์เชิงอธิบาย

(3) วัตถุประสงค์เชิงทํานาย

(4) วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 99 – 100, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา เช่น เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น

2 วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ เช่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

6 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในวัตถุประสงค์ข้างต้น เป็นตัวแปรประเภทใด (1) ตัวแปรอิสระ

(2) ตัวแปรแทรกซ้อน

(3) ตัวแปรต้น

(4) ตัวแปรตาม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทน เป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล,การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น

7 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

8 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่

(1) กรอบแนวความคิด

(2) มาตรวัด

(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์

(4) นิยามความหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้

9 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบายหรือทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร

(1) ทฤษฎี

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity! เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้

10 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามารอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นและรอการพิสูจน์ เรียกว่าอะไร

(1) ตัวแปรตาม

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 2 หน้า 108 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไป

11 ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เรียกว่าตัวแปรประเภทใด

(1) ตัวแปรเชิงพัฒนา

(2) ตัวแปรมาตรฐาน

(3) ตัวแปรหลัก

(4) ตัวแปรองค์ประกอบ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 109 ตัวแปรม ตรฐาน คือ ตัวแปรที่จําเป็นต้องมีในการวิจัยทุก ๆ เรื่อง ได้แก่ คุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา เช่น ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น

12 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจะทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เช่น ปริมาณที่ขายสินค้ากับรายได้ เป็นต้น

13 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร

14 ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

ตอบ 1 หน้า 115 116, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยที่ตัวแปรสาเหตุ (X) จะต้องเกิดก่อนตัวแปรที่เป็นผล (Y) นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน

15 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด

(1) ข้อคําถาม

(2) นิยามปฏิบัติการ

(3) ตัวแปร

(4) ดัชนีชี้วัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 128, (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัดก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ

16 เพศ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 129, คําบรรยาย) Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ชื่อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น

17 อายุ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ratio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการแต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ําหนัก ความสูง เงินเดือน รายได้ เป็นต้น

18 การศึกษา เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น

19 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

20 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 278, (คําบรรยาย) สถิติ F-Test หรือ One way ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่าง ระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมียน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ

21 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 179, (คําบรรยาย) สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวเปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถ บอกได้ว่าตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของ ความสัมพันธ์เท่านั้น

22 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 130, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรต่าง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร – เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี

23 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลิยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้

1 เทคนิคการทดสอบซ้ำ (Test-Retest)

2 เทคนิคการทดสอบ แบบแบ่งครึ่ง (Split-Hal)

3 เทคนิคการทดสอบ คู่ขนาน (Parallel Form)

4 เทคนิคการทดสอบ สหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)

24 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) Zeller & ammunes ได้จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัด ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)

3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)

25 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) การมีความหมายของการวัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 135 136, 13 – 140, (คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)

2 ความแม่นตรง (Validity)

3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)

4 ความแม่นยํา (Precision)

5 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)

6 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)

7 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)

8 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)

26 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ตัวแปรที่มีความซับซ้อนอาจใช้ดัชนีหลาย ๆ อันประกอบกัน

(2) การสร้างมาตรวัดต้องทําความเข้าใจประเภทของตัวแปร และระดับการวัดของตัวแปร

(3) มาตรวัดระดับสูงสามารถลดระดับลงมาเป็นระดับต่ำได้

(4) มาตรวัดระดับต่ำสามารถยกระดับให้สูงได้

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) ข้อสังเกตที่สําคัญของมาตรวัด คือ มาตรวัดระดับสูงนั้นสามารถลดระดับลงมาแบบต่ำได้ แต่มาตรวัดระดับต่ำไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้

27 ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้เพียงใด

1 นั่งใกล้ ๆ ได้

2 กินข้าวร่วมกันได้

3 อยู่บ้านเดียวกันได้

4 นอนห้องเดียวกันได้

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 132 Guttman Scale เป็นคําตอบในมิติเดียว โดยแต่ละคําถามจะถูกการกลั่นกรองและเรียงลําดับ ข้อที่ได้คะแนนสูงกว่าจะมีการสะสมข้อที่ได้คะแนนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น

คําถาม : ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้มากน้อยเพียงใด

คําตอบ : 1 นั่งใกล้ ๆ ได้ 2 กินข้าวร่วมกันได้ 3 อยู่บ้านเดียวกันได้ 4 นอนห้องเดียวกันได้

ถ้าตอบข้อ 1 ท่านสามารถทําข้อ 1 ได้เพียงข้อเดียว

ถ้าตอบข้อ 2 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1 และ 2 ได้

ถ้าตอบข้อ 3 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1, 2 และ 3 ได้

ถ้าตอบข้อ 4 ท่านสามารถทําได้ทุกข้อ

28 ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร

ชีวิตไร้ค่า________ชีวิตมีค่า

สิ้นหวัง_________มีความหวัง

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 132 133 Semantic Differential Scale เป็นมาตรวัดที่พัฒนาขึ้นโดย Osgood และคณะเพื่อศึกษามิติของความแตกต่างโดยมาจากการตัดสินคําศัพท์คู่ที่ตรงกันข้าม โดยแต่ละแนวคิด จะปรากฏอยู่ตรงกันข้ามภายใต้คะแนน 7-11 และให้ผู้ตอบตัดสินแนวคิด โดยเลือกช่วงที่เหมาะสม กับความรู้สึกมากที่สุด ตัวอย่างเช่น

คําถาม : ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร

คําตอบ : ชีวิตไร้ค่า <——-> ชีวิตมีค่า

สิ้นหวัง <———-> มีความหวัง

เบื่อหน่าย <———-> น่าสนใจ

ยาก <————> ง่าย

29 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านการอ่านมาก ที่สุดในการศึกษา จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube รวมไปถึงหลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ และสิ่งปรักหักพัง ศิลาจารึก เป็นต้น

30 ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนํามาใช้มากในทางศึกษาศาสตร์

31 การวิจัยโดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยในการศึกษา เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นตัวแทนของหน่ายในการศึกษา การวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของ การเกิดขึ้นของข้อมูล เต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนกี่คน ไม่มาใช้สิทธิกี่คน เป็นต้น

32 การวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่งหรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวิจัยประเภทนี้มีข้อจํากัดอยู่ว่า ไม่สามารถนํามาขยายผลในพื้นที่อื่นได้ เพราะผลการวิจัยเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แต่จะมีข้อดีคือ เข้าใจตัวอย่างที่ศึกษาได้อย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

33 การวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด

34 ข้อใดที่การสุ่มตัวอย่างไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้

(1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

(2) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ

(3) การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา

(4) การสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภทสุ่ม

(5) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) การกําหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เจตนาใช้ความสะดวก หรือความสนใจของผู้วิจัยเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถ เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้ เช่น การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา การเลือกตัวอย่างโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญระบุ การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เป็นต้น

35 ข้อใดเป็นสถิติอนุมาน

(1) การแจกแจงความถี่

(2) การวัดการกระจาย

(3) การประมาณค่า

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 3 เทคนิคย่อย ได้แก่

1 การประมาณค่า

2 การทดสอบสมมุติฐาน

3 การกระจายของกลุ่มประชากร

36 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามหลัก “SMART”

(1) สามารถวัดและตรวจสอบได้

(2) สามารถทําได้จริง

(3) สอดคล้องกับปัญหา

(4) ใช้ระยะเวลาอย่างเต็มที่ไม่จํากัด

(5) มีความเหมาะสมกับผู้วิจัย

ตอบ 4 หน้า 195 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S),การวัดและตรวจสอบได้ (Measurably : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่ เหมาะสม (Time : T)

37 ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาที่เหมาะสม

(1) การเขียนอารัมภบทให้น่าอ่านและได้อรรถรส

(2) การเลือกเขียนบางประเด็นที่น่าสนใจมากกว่าความครอบคลุมทั้งหมด

(3) การอ้างอิงแหล่งที่มาเท่าที่จําเป็นเท่านั้น

(4) การนําตัวเลขและตารางมาประกอบให้มากที่สุด

(5) การขมวดประเด็นที่จะศึกษาในย่อหน้าสุดท้าย

ตอบ 5 หน้า 194, (คําบรรยาย) การเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาที่เหมาะสม ผู้วิจัยต้องคํานึงถึงหลักสําคัญ ได้แก่

1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน

2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญทั้งหมด

3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสมไม่สั้นจนเกินไป

4 การหลีกเลี่ยงการนําตัวเลขและตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่

5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ

6 การขมวดหรือสรุปประเด็นที่จะศึกษาในย่อหน้าสุดท้าย เป็นต้น

38 การเขียนบทนําให้มีความชัดเจนเละดึงดูดผู้อ่านสามารถเริ่มจากสิ่งใดได้

(1) ปัญหาสังคมในวงกว้าง

(2) ข่าวสารบ้านเมืองทั่วไป

(3) ความลับของนักการเมือง

(4) เรื่องเล่าเกี่ยวกับดารา

(5) ประเด็นที่นักวิจัยต้องการศึกษาเป็นการส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 194 การเขียนบทนําให้มีความชัดเจนและดึงดูดผู้อ่านให้ได้ โดยทั่วไปแล้วควรเริ่มต้นจากสภาพการณ์หรือเหตุการณ์บางอยางที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างกว้าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า สังคมกําลังมีความเดือดร้อนหรือความยุ่งยากอย่างไรบ้าง ถ้าหากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่รีบหา ทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นย่อมนําไปสู่ความสูญเสียที่มากขึ้นได้

39 คําว่า “การออกแบบงานวิจัย” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) Research Result

(2) Research Project

(3) Research Design

(4) Research Outcome

(5) Research Method

ตอบ 3 หน้า 193 บทนํา เป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึง – ความสําคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย (Research Design) ต่อไป

40 ข้อตกลงที่เรียกว่า “สัญญา” ในการทําวิจัย สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด (1) ความสําคัญของการศึกษา

(2) วัตถุประสงค์

(3) สมมุติฐาน

(4) ประโยชน์ในการทําวิจัย

(5) ข้อตกลงในการทําวิจัย

ตอบ 2 หน้า 194 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการอธิบายที่ต้องการบอกเป้าหมายหรือความต้องการของงานวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องการทราบอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการวิจัยที่มีความ เหมาะสมต่อไป หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับ “สัญญา”ที่ผู้วิจัยได้กระทําไว้ว่าผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลเหล่านั้นในรายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้

41 ประโยคที่ว่า “เพื่อแก้ปัญหาในการดําเนินงานของหน่วยงานที่ทําวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ เพื่อบริการให้ความรู้แก่ประชาชน” เป็นตัวอย่างของข้อใดต่อไปนี้

(1) ความสําคัญของการศึกษา

(2) วัตถุประสงค์

(3) สมมุติฐาน

(4) ประโยชน์ในการทําวิจัย

(5) ข้อตกลงในการทําวิจัย

ตอบ 4 หน้า 195 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในการทําวิจัย เป็นการแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ผู้วิจัยจําเป็นต้องแสดงประโยชน์ให้อยู่ใน ขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยสามารถแสดงได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น เพื่อ แก้ปัญหาในการดําเนินงานของหน่วยงานที่ทําวิจัย, เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการเพื่อบริการให้ความรู้แก่ประชาชน, เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ เป็นต้น

42 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ขอบเขตของการทําวิจัย

(1) ขอบเขตด้านประชากร

(2) ขอบเขตด้านเนื้อหา

(3) ขอบเขตด้านเวลา

(4) ขอบเขตด้านสถานที่

(5) ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 195 ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนดขอบเขตที่ ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลัง ข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ เวลา เป็นต้น

43 การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1) ข้อตกลงในการท้าวิจัย

(2) ข้อจํากัดของการวิจัย

(3) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

(4) ขอบเขตของการวิจัย

(5) ประโยชน์ในการทําวิจัย

ตอบ 2 หน้า 196 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error)ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น

44 คําว่า “ขนมชั้น” มักปรากฏให้เห็นในส่วนใดของการวิจัย

(1) ความสําคัญของการศึกษา

(2) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

(3) การทบทวนวรรณกรรม

(4) การเก็บข้อมูลการวิจัย

(5) การเขียนข้อเสนอแนะ

ตอบ 3 หน้า 184, (คําบรรยาย) คําว่า “ขนมชั้น” ในงานวิจัย หมายถึง การเรียงเอกสารงานวิจัยตามรายชื่อหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งมักปรากฏให้เห็นในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณารรมและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

45 คําว่า “ประชากรเละกลุ่มตัวอย่าง” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด (1) Research Methodology

(2) Research Result

(3) Research Conclusion

(4) Recommendation

(5) Research Findings

ตอบ 1 หน้า 184, 199 200 (คําบรรยาย) บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะเกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ซึ่งเป็นการแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การค้นหาคําตอบตามวัตถุประสงค์ข้างต้นนั้นได้ใช้วิธีการในการแสวงหาคําตอบอย่างไร มีรูปแบบ การวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย วิธีการสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบ เครื่องมือ การทดสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 46 – 55

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและการสํารวจองค์ความรู้

(3) บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

(5) บทที่ 5 การสรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 

46 วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 เงื่อนไขของงานวิจัยที่กําลังศึกษาว่าเป็นไปในลักษณะใด

ตอบ 1 หน้า 196 บทที่ 1 บทนํา ในส่วนของข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงเงื่อนไขของงานวิจัยที่กําลังศึกษาว่าเป็นไปในลักษณะใด โดยอาจจะเป็นเงื่อนไขที่ผู้วิจัยไม่ได้ทําการตรวจสอบ หรือไม่ได้ศึกษาอย่างเพียงพอ

48 การนําเสนอข้อมูลของงานวิจัย สามารถกระทําได้ทั้งแบบ “นิรนัย” และแบบ “อุปนัย”

ตอบ 4 หน้า 185, 201. (คําบรรยาย) บทที่ 4 ผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีเทคนิคในการเขียนผลการวิจัยที่สําคัญ 2 ส่วน ได้แก่

1 การนําเสนอ ข้อมูล (Presentation of Data) สามารถกระทําได้ทั้งแบบ “นิรนัย” และแบบ “อุปนัย”

2 การตีความข้อมูล (Interpretation of Data) เป็นการที่ผู้วิจัยชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงและข้อค้นพบจากการวิจัยนั้น

49 การเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง

ตอบ 5 หน้า 185, 202, (คําบรรยาย) บทที่ 5 การสรุปผลการอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นพบว่า การอภิปรายผลเป็นการเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง

50 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 2 หน้า 184, 197 – 198, (คําบรรยาย) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและการสํารวจองค์ความรู้ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยเนื้อหาสําคัญ 6 ส่วน ได้แก่

1 แนวคิดของผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่ทําวิจัย

2 ทฤษฎีและกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

3 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4 กรอบแนวคิดในการทําวิจัย

5 สมมติฐานของการวิจัย

6 นิยามปฏิบัติการ

52 การแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การค้นหาคําตอบตามวัตถุประสงค์ข้างต้น งานวิจัยฉบับนี้ได้ใช้วิธีการในการแสวงหาคําตอบอย่างไร

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

53 วิธีการสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบเครื่องมือ และการทดสอบเครื่องมือ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

54 เป็นการให้ความหมายเฉพาะของคําศัพท์บางคําที่ผู้วิจัยนํามาใช้ในงานวิจัยโดยเป็นคําที่คนจํานวนน้อยเท่านั้นที่ทราบ

ตอบ 1 หน้า 196 บทที่ 1 บทนํา ในส่วนของนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการให้ความหมายเฉพาะของคําศัพท์บางคําที่ผู้วิจัยนํามาใช้ในงานวิจัยโดยเป็นคําที่คนจํานวนน้อยเท่านั้นที่ทราบ หรือเป็น คําที่มีความหมายอันหลากหลายจนกระทั่งผู้อ่านอาจเกิดความสับสนและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยคลาดเคลื่อนไป

55 สมมุติฐานของการวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

56 ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นการเขียนข้อเสนอแนะของการวิจัยที่เหมาะสมได้

(1) ข้อเสนอแนะอาจสามารถนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ก็ได้

(2) ข้อเสนอแนะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปรับรู้กันอยู่แล้ว

(3) ข้อเสนอแนะไม่จําเป็นต้องตระหนักถึงข้อจํากัดและความจําเป็นต่าง ๆ (4) ข้อเสนอแนะต้องมาจากสามัญสํานึกของผู้วิจัยเป็นหลัก

(5) ข้อเสนอแนะต้องมีรายละเอียดมากพอสมควร

ตอบ 5 หน้า 203 204 ข้อควรระวังในการเขียนข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ

1 ข้อเสนอแนะต้องเป็นเนื้อหาสาระจากการวิจัยมากกว่าสามัญสํานึกของผู้วิจัยเอง

2 ข้อเสนอแนะต้องเป็นเรื่องใหม่ที่มิใช่เรื่องที่รับรู้กันอยู่แล้ว

3 ข้อเสนอแนะต้องสามารถปฏิบัติหรือทําได้จริง ๆ

4 ข้อเสนอแนะต้องเป็นผลที่ได้ตระหนักถึงข้อจํากัดและความจําเป็นต่าง ๆ แล้ว

5 ข้อเสนอแนะต้องรายละเอียดมากพอสมควรที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง

57 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงหน้าที่ของบทคัดย่อได้อย่างเหมาะสม

(1) ช่วยอธิบายถึงที่มาและความสําคัญของการศึกษา

(2) ทําให้ผู้อ่านวิจัยเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว

(3) ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหาร

(4) ช่วยอธิบายถึงนิยามเชิงปฏิบของการวิจัย

(5) ช่วยอธิบายถึงเครื่องมือของการวิจัยได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน

ตอบ 2 หน้า 205 บทคัดย่อ (Abstract) มีความสําคัญในการทําให้ผู้อ่านวิจัยสามารถทําความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดย สรุปของรายงานการจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงานการวิจัยทั้งหมด

58 ข้อใดต่อไปนี้ตรงกับคําว่า “ผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ”

(1) Key Informants

(2) Key Factors

(3) Population

(4) Sampling

(5) Literature Review

ตอบ 1 หน้า 207 องค์ประกอบของบทสรุปสําหรับผู้บริหารประการหนึ่งคือ บทสรุปควรประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ควรครอบคลุมถึงรูปแบบการวิจัย ประชากร ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ (Key Informants)ขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวม แนวทางการสัมภาษณ์ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

59 การเขียน “กิตติกรรมประกาศ” มีประโยชน์อย่างไร

(1) การแสดงความภาคภูมิใจของ นักวิจัยต่อความสําเร็จของงาน

(2) การระบุถึงอุปสรรคที่นักวิจัยพบและสามารถผ่านมาได้

(3) การขอบคุณหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริมให้การวิจัยนี้สําเร็จ

(4) การนําเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ของการวิจัย

(5) การนําเสนอรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 183, 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หรือผลักดัน ” ให้งานวิจัยสําเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา หน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้ให้ทุนวิจัย

60 การเขียนรายงานการวิจัยประเภทใดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่การวิจัยยังไม่เสร็จสิ้น

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยแบบสั้น

(3) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 190 รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ผู้วิจัยมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัด เป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสําคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรร งบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทําสัญญากันไว้

61 ตัวเลือกใดไม่ใช่วิธีการแบบวิทยาศาสตร์

(1) การตั้งคําถามการวิจัย

(2) การคาดเดาคําตอบล่วงหน้า

(3) การรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต

(4) การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น

(5) ทุกข้อคือวิธีการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 6 – 10, 30 – 21, (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5ขั้นตอน ดังนี้

1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนําไปสู่ การตั้งคําถามการวิจัย

2 การตั้งสมมุติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจาก ตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนด แนวทางในการค้นหาคำตอบได้

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การเก็บ ข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น การสอบถามผู้รู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม(Focus Group)

4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

5 การสรุปผล (Conclusion)

62 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยมากที่สุด

(1) การค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2) การค้นพบคําตอบที่ไม่มีใครเคยตอบได้มาก่อน

(3) การค้นหาสัจธรรมหรือความจริงแท้ของโลกใบนี้

(4) การพิสูจน์ความเชื่อที่ไม่มีใครเคยพิสูจน์ได้มาก่อน

(5) ไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยเลย

ตอบ 1 หน้า 25, 31 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไป สัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ

63 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มีความละเอียดมากที่สุด

(1) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(2) บทความวิจัยตีพิมพ์ลงวารสาร

(3) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(4) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 182, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บทนํา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดําเนินการวิจัย ผลการวิจัย       สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ รวมทั้งบรรณานุกรมและภาคผนวก

64 เมื่อได้คําตอบหลังจากเก็บข้อมูลเละการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

(1) Data Collection

(2) Data Analysis

(3) Observation

(4) Data Synthetic

(5) Conclusion

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

65 ใครเป็นคนแรกที่แปลคําว่า “Staatswissenschaft” เป็นภาษาไทย

(1) หลวงวิจิตรวาทการ

(2) รัชกาลที่ 6

(3) พระยาอนุมานราชธน

(4) พระยายมราช

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 13 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราทิปพงศ์ประพันธ์หรือพระองค์วรรณฯ คือคนไทยคนแรกที่สร้างคําว่า “รัฐศาสตร์” ขึ้นมา โดยแปลมาจากภาษาเยอรมันคําว่า “Staatswissenschaft”

 

ตั้งแต่ข้อ 66 – 72 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Data Collection

(2) Assumption

(3) Data Analysis

(4) Observation and Problem Identification

(5) Conclusion

 

66 การเก็บข้อมูลจากเอกสาร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

67 เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

68 การสอบถามผู้รู้โดยใช้วิธีการ Focus Group

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

69 การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

70 หลังจากได้คําตอบแล้ว กล่าวสรุปเฉพาะใจความสําคัญ

ตอบ 5 หน้า 10, 76, (คําบรรยาย) การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลโดยอาจจะสรุปว่า สมมุติฐานที่ตั้งมาในข้างต้นนั้นถูกหรือผิด หรือ ผลของการทดลองหรือผลจากการเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร หลังจากได้คําตอบแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ ผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งหมด ซึ่งผู้วิจัยไม่ควรจะนําเสนออะไรใหม่ที่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วในส่วนของเนื้อหาอีก ควรกล่าวสรุปเฉพาะใจความสําคัญ ๆ ที่เป็นข้อค้นพบของการวิจัย

71 หลังจากเก็บข้อมูลครบเรียบร้อยจนมั่นใจแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

72 จะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้ถ้าไม่คาดการณ์คําตอบล่วงหน้าเสียก่อน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

73 ความหมายของการวิจัยสมัยใหม่อาจจะเทียบได้กับสิ่งใดในพระธรรมปิฎก

(1) เหตุผล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) ความจริง

(5) ทักษะ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึง “การวิจัย” ไว้ว่า เป็นคําที่ใช้ในความหมายสมัยใหม่ในวงวิชาการ เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งอาจเทียบได้กับภาษาบาลีว่า “ปัญญา” ทั้งนี้เพราะการวิจัยนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของการใช้ปัญญา ทําให้เกิดปัญญาหรือทําให้ปัญญา พัฒนาขึ้น

74 ถ้าอยากเข้าใจการเมืองต้องทําความเข้าใจกลุ่มทางการเมือง แนวคิดดังกล่าวนี้ตรงกับ Approach ใดที่สุด

(1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Approach

(4) Developmental Approach

(5) Power Approach

ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเขาเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคน นั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนนั้นเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมี พฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าอยากเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองต้องทําความเข้าใจกลุ่มทางการเมือง

75 Approach ใดได้รับอิทธิพลจากสาขาความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด

(1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Approach

(4) Developmental Approach

(5) Power Approach

ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดนักวิชาการแนวนี้ เช่น David Easton, Gabriel Almond, Bingham Powell เป็นต้น

76 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ The Post behavioral Period

(1) ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป

(2) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

(3) ในยุคนี้มีการศึกษาแบบปรัชญาการเมืองด้วย

(4) เน้นการใช้เครื่องมือทางสถิติเป็นหลัก

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 52 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (The Post Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคนี้ถือ เป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายาม ครอบงําของพวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบัน จึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและทําการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

77 เป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด

(1) ปรัชญาการเมือง

(2) ประวัติศาสตร์การเมือง

(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

(4) ศึกษาถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมือง

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการพรรณนา หรืออธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

78 “คําอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับอํานาจ” สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

(1) Methodology

(2) ระเบียบวิธีวิจัย

(3) Political Theory

(4) Normative

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 3 หน้า 55 Political Theory หมายถึง ชุดของภาษาหรือชุดในการอธิบายเพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมืองหรือเรื่องราวของความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอํานาจ

79 “การวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก”

(1) Pure Research

(2) Applied Research

(3) Survey Research

(4) Research Proposal

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

80 วีรยาสนใจเรื่องการทํารัฐประหารในประเทศไทย แต่ก่อนที่จะศึกษานั้นวีรยาได้ไปอ่านงานเขียนของนักวิชาการที่ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะศึกษา สิ่งที่วีรยาทําเรียกว่าอะไร

(1) Review Observation

(2) Review Reading

(3) Review Literature

(4) Repeat Literature

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ  3 หน้า 29, 66, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) เป็นการศึกษาถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่เคยทํามาในอดีต ว่าเคยมการศึกษาเรื่องที่เราสงสัยไว้แล้วหรือไม่ เพราะบางครั้ง ในอดีตอาจจะมีคนที่สงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับเรา ตัวอย่างเช่น วีรยาสนใจเรื่องการทํา รัฐประหารในประเทศไทย แต่ก่อนที่จะศึกษานั้นวีรยาได้ไปอ่านงานเขียนของนักวิชาการที่ได้ ศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะศึกษา เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Documentary Research

(2) Dependent Variable

(3) Independent Variable

(4) Unit of Analysis

(5) Survey Research

 

81 ประยุทธต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่

“หมอกควัน” ในทางการวิจัยเรียกว่าอะไร

ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้นมาวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น ประยุทธต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ “หมอกควัน”ในทางการวิจัยก็คือ Unit of Analysis เป็นต้น

82 มุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างของการวิจัยเช่นนี้ก็เช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนที่คน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

83 การศึกษารัฐธรรมนูญผ่านตําราและเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยนี้เรียกว่าอะไร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

84 ตัวแปรตาม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

85 ตัวแปรตั้งต้น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 86 – 91 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Observation

(3) Research Objective

(4) Approach

(5) Method

 

86 ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด

ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็น คําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็น ส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามในการวิจัยนั้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 คําถามประเภท “อะไร” เช่น ทฤษฎีในการพัฒนาเศรษฐกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ฯลฯ

2 คําถามประเภท “ทําไม” เช่น ทําไมน้ําจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก ฯลฯ

3 คําถามประเภท “อย่างไร” เช่น ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475ได้อย่างไร ฯลฯ

87 เป็นขั้นตอนแรกที่สุดของการเริ่มต้นวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

88 วิธีการตั้งประโยคต้องใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ”

ตอบ 3 หน้า 66, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น

89 ต้องตั้งด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม อย่างไร”

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 วิธีการเก็บข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 26 คําว่า Method หมายถึง วิธีการของคน ๆ หนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนํามาทําความเข้าใจหรือใช้อธิบายบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “วิธีการ”

91 การวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ตอบ 4 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบายหรือการวิเคราะห์ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยใน Approach หนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยสมมุติฐาน เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองในเรื่องนั้น ๆ เช่น ทฤษฎีเกม (Game Theory), ทฤษฎีการตัดสินใจ เลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory), แนวการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structural Approach) เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 92 – 95 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Institutional Approach

(2) Rational Choice Approach

(3) Historical Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

 

92 ถ้าอยากเข้าใจการเมืองไทยต้องไปศึกษารัฐธรรมนูญ

ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่

1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herman Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government

2 วูดโรว์ วิลสัน (VWcodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government  A Study in American Politics เป็นต้น

93 เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ นักคิดคนสําคัญได้แก่ Gabriel Almond

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

94 Maximize Utility และ Maximin

ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า Rational Choice Approach จะมีสมมุติฐานที่สําคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็น มนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทําอะไรแล้วจะคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็ จะทําตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด (Maximize Utility) หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด (Maximin)

95 ถ้าอยากเข้าใจปรากฏการณ์ปัจจุบัน จําเป็นจะต้องไปศึกษาเหตุการณ์ก่อนหน้า

ตอบ 3 หน้า 53 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมุติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยง มาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทาง การเมืองต่าง ๆ ตามขวงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดู วิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

96 คําถามที่ใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale จัดเป็นคําถามในลักษณะใด (1) Check-List Question

(2) Multiple Choice Question

(3) Multi-Response Question

(4) Rank Primary Question

(5) Rating Scale Question

ตอบ 5 หน้า 130 133, (คําบรรยาย) คําถามในลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale Question) จัดเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดหนึ่ง โดยแบบที่นิยมใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรวัดแบบ Likert Scale, มาตรวัดแบบ Guttman Scale, มาตรวัดแบบ Osgood Scale มาตรวัดแบบ Thurstone Scale เป็นต้น

97 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) ความแม่นตรง

(2) ความเชื่อถือได้

(3) การมีประสิทธิภาพ

(4) การมีความหมาย

(5) ความเป็นปรนัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

98 ในการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ต้องพิจารณาในเรื่องใด (1) ความมีเสถียรภาพ –

(2) การทดแทนซึ่งกันและกันได้

(3) การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 35, (คําบรรยาย) การทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความมีเสถียรภาพ (Stability)

2 การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence)

3 การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)

99 ข้อใดเป็นข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม

(1) สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

(2) เกิดความลําเอียงหรืออคติได้ง่าย

(3) ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชํานาญเป็นพิเศษ

(4) ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลกับผู้ที่อ่านเขียนหนังสือไม่ได้

(5) สามารถกลับไปซักถามต่อได้

ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้

1 ไม่แน่ใจว่าได้ข้อมูลตรงกับความจริงหรือไม่ ถ้าเครื่องมือวัดไม่ดีพอ

2 มีลักษณะยืดหยุ่นน้อย

3 มักได้แบบสอบถามกลับคืนมาจํานวนน้อย

4 ไม่สามารถใช้กับประชากรที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้

5 ไม่สามารถกลับไปซักถามต่อได้ เป็นต้น

100 ข้อใดคือลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ตีความจากเอกสาร

(2) ใช้การสอบถามเป็นหลัก

(3) มีลักษณะเป็น Normative

(4) ทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

(5) ให้ความสําคัญกับความหมายของสิ่งที่ศึกษา

ตอบ 4 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ

1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด

5 มีวิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้การสอบถามและการสัมภาษณ์ตามแนวเป็นหลัก 6 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 1 – 5

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti-Positivism

(5) Rational Approach

 

1 การเริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์เรียกว่าการแสวงหาความรู้แบบใด

ตอบ 1 หน้า 92 เหตุผลเชิงอุปมาน (Inductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ศึกษา และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เป็นการหาจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น

2 วิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์ทั่วไปและนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เรียกว่าอะไร

ตอบ 2 หน้า 92 เหตุผลเชิงอนุมาน (Deductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงทั่วไป และนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เป็นการหาจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นต้น

3 ความเชื่อที่ว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 92 ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

4 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อยู่ภายใต้แนวคิดใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) อัตภาระนิยม ภายใต้แนวคิดของกลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม (Anti-Positivism) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นความจริงอัตวิสัย (Subjective Truth)

5 การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติ โดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 57 (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) คือ การเข้าใจกฎต่าง ๆ ของธรรมชาติ โดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 6 – 10

(1) Institutionalism

(2) Phenomenology

(3) Ethnomethodology

(4) Symbolic Interactionism

(5) Empirical Approach

 

6 แนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่

1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herman Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government

2 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government : A Study in American Politics เป็นต้น

7 แนวคิดที่เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีจิตสํานึกที่จะรู้สึกนึกคิด เป็นตัวกําหนดประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีจิตสํานึกที่จะรู้สึกนึกคิด เป็นตัวกําหนดประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ไม่ควรเชื่อจากคําพรรณนาของสื่อมวลชนแต่ให้แสวงหาข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้น

8 แนวคิดที่เชื่อว่า การให้ความหมายต่อโลกแห่งชีวิตประจําวัน ในแต่ละสังคมมีความเชื่อต่อกันอย่างไร เป็นการศึกษาให้เข้าใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์มีต่อกันภายใต้สังคมใดสังคมหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomethodology) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยการให้ความหมายต่อโลกแห่งชีวิตประจําวัน ในแต่ละสังคมมีความเชื่อต่อกันอย่างไร ปฏิบัติต่อกันอย่างไร และเป็นการศึกษาให้เข้าใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์มีต่อกันภายใต้สังคมใดสังคมหนึ่ง

9 แนวคิดที่เชื่อว่า มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของความหมายที่เขาให้แก่สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ปฏิสัมพันธ์นิยม (Symbolic Interactionism) เชื่อว่า มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของความหมายที่เขาให้แก่สิ่งนั้น ซึ่งจะมีกระบวนการให้ความหมายและตีความหมายแก่สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านสัญลักษณ์ และเกิดขึ้นในบริบทของสังคม

10 ความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แนวทางเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้อง เช่น การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560เป็นต้น

11 การใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Normative Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Approach) เป็นการใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด

12 การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Normative Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Phenomenological Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

13 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด เป็นการแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

14 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัยโดยมีวิธีการต่าง ๆ คือ การได้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถามและการได้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การรวบรวมเอกสารหรืองานวิจัย เป็นต้น

15 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 16 – 20

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

 

16 การกําหนดหัวเรื่องที่ต้องการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย เป็นการกําหนดหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาหรือวิจัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาหรือวิจัย และจะมีผลต่อกระบวนการวิจัยลําดับต่อไป

17 การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้ได้คําตอบของปัญหาการวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้ได้คําตอบของปัญหาการวิจัย ซึ่งอาจจะประมวลจากเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย และเอกสารทางราชการอื่น ๆ

18 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูลมายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

19 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหา กรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมุติฐาน โดยการเลือกรูปแบบการวิจัย ต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปร การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

20 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกําหนดหน่วยในการศึกษาหรือหนวยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล อาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่ แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

21 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) การจัดทําโครงร่างการวิจัยหรือการเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal) เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่ผู้วิจัยต้องจัดทําแผนในการวิจัยเพื่อให้ผู้สอนหรือกรรมการพิจารณาโครงร่างก่อนที่จะดําเนินการทําวิจัยจริง

22 การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การตั้งคําถามการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 181 การเขียนรายงานการวิจัย ถือเป็นสิ่งสําคัญในทุกขั้นตอนของการทําวิจัย เพื่อเป็นหลักฐานการวิจัยและนําไปเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

23 ความสนใจของผู้วิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) เพื่อบรรยาย

(3) เพื่ออธิบาย

(4) เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) เพื่อตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ (Exploration) เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

24 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง สามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 95 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อทํานายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Predictable) เป็นการนําผลการศึกษาเพื่อทํานายอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยผลการศึกษาจะต้องมาจากวิธีการอธิบาย เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีและผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง

25 ความหมายของการวิจัยสมัยใหม่อาจจะเทียบได้กับสิ่งใดในพระธรรมปิฎก

(1) เหตุผล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) ความจริง

(5) ทักษะ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึง “การวิจัย” ไว้ว่า เป็นคําที่ใช้ในความหมายสมัยใหม่ในวงวิชาการ เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งอาจเทียบได้กับภาษาบาลีว่า “ปัญญา”เพราะการวิจัยนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของการใช้ปัญญา ทําให้เกิดปัญญาหรือทําให้ปัญญาพัฒนาขึ้น

26 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อทํานาย

(4) เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(5) ทุกข้อเป็นเป้าหมายการวิจัย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นงลักษณ์ วิรัชชัย ได้กําหนดเป้าหมายที่สําคัญของการวิจัย คือ เพื่อบรรยายเพื่ออธิบาย เพื่อทํานาย และเพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ อันจะช่วยพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น

27 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง การศึกษาในลักษณะ ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย (Explanation) เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใดเป็นสาเหตุให้เกิดผล ตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบบระชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

28 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

(4) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

(5) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 80, 91 ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ

1 เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

3 เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา

4 ซึ่งปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

5 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์เงผู้จับเป็นต้น

29 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยมือทางสถิติ

(4) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

(5) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 90 – 91 ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ

1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด

5 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

32 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ มาสู่ตัวบ่งชี้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง

33 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 หน้า 108 ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชายเพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

34 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

35 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปทัสถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฏ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง

36 Predictable คืออะไร

(1) การทํานายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น

(2) หยั่งรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ว่าดํารงอยู่อย่างไร

(3) การให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ

(4) การอธิบายถึงรายละเอียดของปรากฏการณ์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

37 Non-Value Free เกี่ยวข้องกับข้อใดที่สุด

(1) ห้ามใช้อคติเข้ามาศึกษา

(2) ห้ามใช้ทัศนคติตัดสินสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง

(3) การศึกษาต้องเป็นแบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น

(4) การเมืองเป็นสิ่งแยกไม่ออกจากการใช้ความรู้สึก ความเชื่อ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) การศึกษาที่ได้แยกคุณค่าออกจากสิ่งที่ศึกษา (Non-Value Free) เป็นรูปแบบศึกษาที่ผู้ศึกษาจะคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองด้วยตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงทําให้การเมืองเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากการใช้ความรู้สึก ความเชื่อ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา

38 ในช่วงเวลาใดต่อไปนี้ถือได้ว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) มากที่สุด

(1) ค.ศ. 1800 – 1810

(2) ค.ศ. 1850 – 1860

(3) ค.ศ. 1890 – 1900

(4) ค.ศ. 1901 – 1910

(5) ค.ศ. 1950 – 1960

ตอบ 5 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็น แบบ “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) มากที่สุด โดยนักรัฐศาสตร์ในยุคนี้มองว่า การศึกษาการเมือง จําต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ กล่าวคือ การศึกษาการเมืองไม่ควรเป็นไปในลักษณะเดิมคือ ศึกษาโครงสร้างและสถาบัน หรือศึกษาในเชิงปรัชญาการเมืองอีกต่อไป ตัวอย่าง ของแนวทางการศึกษาแบบนี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น

39 ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในทางการศึกษารัฐศาสตร์ถือว่าเป็นยุคใด

(1) Pre-Behavioral Period

(2) Political Philosophy Period

(3) Institutional Period

(4) Post-Behavioral Period

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 52 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคนี้ถือเป็นยุคแห่ง การกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายามครอบงําของ พวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมา ได้รับความสนใจและทําการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่ายุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

40 จากตัวเลือกดังต่อไปนี้ ช่วงเวลาใดที่การศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมา จากการศึกษาการเมืองแบบอเมริกันมากที่สุด

(1) ช่วงสิบปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

(2) ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กับสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) รัฐศาสตร์ในประเทศไทยไม่เคยได้รับอิทธิพลจากการศึกษาการเมืองแบบอเมริกัน (5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 22, (คําบรรยาย) ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2490 รัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากการศึกษาการเมืองแบอเมริกันมากที่สุด นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดจนได้รับ เงินช่วยเหลือสนับสนุนทางการศึกษาจากอเมริกาเป็นจํานวนมาก ทั้งในด้านของการให้ทุนการศึกษา ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา และการส่งผู้เชี่ยวชาญอาจารย์จากอเมริกามาสอนที่คณะรัฐศาสตร์ใน ประเทศไทย

41 Institutional Approach เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องอะไรต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เน้นเรื่องการทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง ใช้เครื่องมือทางสถิติ

(2) กฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง

(3) เน้นหนักในด้านปฏิกิริยาทางการเมือง และการศึกษาถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติในทางการเมือง

(4) อธิบายปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

42 “การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ” ข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Epistemology

(2) Philosophy

(3) Ethics

(4) Research

(5) Economics

ตอบ 4 หน้า 25, 31 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ

43 “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Methodology

(2) Epistemology

(3) Phenomenology

(4) Philosophy

(5) Positivism

ตอบ 1 หน้า 26 Methodology หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัยตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การวิจัยในแต่ละแบบซึ่งในภาษาไทยมักจะมีคนแปลว่า “ระเบียบวิธีวิจัย” นั่นเอง

44 Approach ใดต่อไปนี้เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุค Classic

(1) Institutional Approach

(2) Behaviorism

(3) Communication Approach

(4) Developmental Approach

(5) Political Philosophical Approach

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) ยุคคลาสสิค (Classical Period) เป็นยุคแรกเริ่มของการศึกษาการเมืองไม่มีการแยกสาขาของความรู้ โดยถือกําเนิดจากยุคกรีกซึ่งเกิดจากคําถามพื้นฐานของมนุษย์กับรัฐ และผู้มีอํานาจ เช่น ผู้นําที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่งความเป็น สากลของคําถามพื้นฐานเหล่านี้สามารถตั้งคําถามชุดเดียวกันโดยไม่จํากัดกรอบเวลาหรือวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีคําตอบได้หลากหลาย ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมีลักษณะเป็นแนวการวิเคราะห์เชิงปรัชญาการเมือง (Political Philosophical Approach)

45 ตัวเลือกใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายของการวิจัย

(1) เป็นการต้องการค้นหาคําตอบที่สงสัย

(2) ต้องเชื่อถือได้ และใช้วิธีการแบบ Positivism เท่านั้น

(3) อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(4) บรรยายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(5) ข้อ 1 และ 2 กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 52 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Positivism

(2) Post-Behavioral Period

(3) Transitional Period

(4) Classical Period

(5) Institutional Period

 

46 การก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association – APSA) ในปี 1908เกิดขึ้นในยุคใด

ตอบ 3 หน้า 16 – 17 ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association – APSA) ในปี 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถ สะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการเริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษาแบบเก่าคือ สถาบันนิยมยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

47 เป็นยุคที่นักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ 49 นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปในยุคนี้จะมองว่า การศึกษาการเมืองจําต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้กล่าวคือ การศึกษาการเมืองไม่ควรเป็นไปในลักษณะเดิมคือ ศึกษาโครงสร้างและสถาบัน หรือศึกษาในเชิง ปรัชญาการเมืองอีกต่อไป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

50 วิธีการศึกษาแบบเก่าคือ สถาบันนิยม ยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

51 เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

52 ตัวอย่างของแนวทางการศึกษาแบบนี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

53 ก่อนปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์ในลักษณะใด

(1) การศึกษาโดยได้รับอิทธิพลจากอเมริกันเต็มที่

(2) มีการศึกษาหาความรู้ทางการเมืองในประเทศไทย

(3) มีการศึกษาโดยใช้วิธีการทางสถิติผสมกับการศึกษาแบบปรัชญาการเมือง

(4) มีการสอนในเรื่องโครงสร้างของรัฐและรูปแบบการปกครองรัฐ

(5) ศึกษาแบบปรัชญาการเมืองเท่านั้น

ตอบ 4 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) ก่อนปี พ.ศ. 2490 การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นพบว่ายังไม่มีการศึกษาหาความรู้ทางการเมือง หรือสอนวิชาเพื่อทําความเข้าใจการเมืองแต่อย่างใด มีเพียงผลิตข้าราชการแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นตามเจตนารมณ์ของคณะราษฎร โดยวิชาที่สอนจะเน้นในเรื่องโครงสร้างของรัฐ รูปแบบการปกครองรัฐสิทธิหน้าที่พลเมือง เป็นต้น

54 “การสรุปผลข้อมูล” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Approach

(2) Method

(3) Conclusion

(4) Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 10 การสรุปผล Conclusion) เป็นการสรุปผลข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูล โดยอาจจะสรุปว่าสมมุติฐานที่ตั้งมานั้นถูกหรือผิด หรือผลของการทดลองหรือผลจากการเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร

55 ลักษณะใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์

(1) Reliability

(2) Objective

(3) Verify

(4) Predictive

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 8 ลักษณะของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ คือ การเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถทําซ้ำได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value Free) และมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) การอธิบาย (Explanation) และการทํานาย(Predictive)

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Experimental Research

(2) Pure Research

(3) Analytical Research

(4) Documentary Research

(5) Quantitative Research

 

56 บางครั้งการวิจัยก็มีไว้เพื่อตอบคําถาม ไม่ได้มีไว้เพื่อการพัฒนาต่อยอดหรือใช้ในเชิงพาณิชย์เสมอไป

ตอบ 2 หน้า 26, (คําบรรยาย การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งพบว่าบางครั้งการวิจัยก็มีไว้เพื่อตอบคําถาม ไม่ได้มีไว้เพื่อการพัฒนาต่อยอดหรือใช้ในเชิงพาณิชย์เสมอไป

57 เป็นการวิจัยที่แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยจะทําการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อหาตัวแปรหรือปัจจัยตั้งต้น และเพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่าง ตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนําไปใช้มากในทางศึกษาศาสตร์

58 ใช้เครื่องมือทางสถิติมาศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง

ตอบ 5 หน้า 28 – 29, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลที่วัดได้เป็นตัวเลข และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรนั้น ๆ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ มาศึกษาปรากฏการณ์ เช่น ระดับรายได้ ระดับการศึกษา และอัตราการอ่านออกเขียนได้ของ ประชาชน มีผลต่อการที่ประเทศหนึ่ง ๆ มีระดับของความเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยแค่ไหน โดยคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

59 การศึกษาคําปราศรัยของนายกรัฐมนตรีผ่านคลิป YouTube ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 วิธีการดังกล่าวเป็นการวิจัยผ่านวิธีการ

ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่ใช้ข้อมูลหลักมาจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เช่น หนังสือพิมพ์เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube เป็นต้น

60 เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายว่าทําไมปรากฏการณ์ทางการเมืองจึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร

ตอบ 3 หน้า 27 การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้จะมุ่งอธิบายว่าทําไมปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น

 

ตั้งแต่ข้อ 61- 66 จงเลือกคําตอบต่อใบนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Review Literature

(2) Designing Research

(3) Data Analysis

(4) Collecting Data

(5) Hypothesis

 

61 ผู้วิจัยจําเป็นจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา

ตอบ 5 หน้า 30, (คําบรรยาย) การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดเดาคําตอบไว้ล่วงหน้าก่อนการลงมือค้นหาคําตอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา ซึ่งคําตอบล่วงหน้าหรือ สมมุติฐานนี้อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยคาดว่าการถ่ายท้องอย่างรุนแรงของชาวเมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษน่าจะมาจากการบริโภคน้ําไม่สะอาด เป็นต้น

62 เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ

ตอบ 4 หน้า 30 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เมื่อได้ออกแบบการวิจัยเรียบร้อยแล้วและโครงร่างได้รับการอนุมัติ ผู้วิจัยก็จะทําตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้โดยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนํามาวิเคราะห์เพื่อหาคําตอบ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคําตอบ

63 ก่อนการลงมือค้นหาคําตอบ นักวิจัยคาดว่าการถ่ายท้องอย่างรุนแรงของชาวเมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษน่าจะมาจากการบริโภคน้ําไม่สะอาด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 เมื่อทําการเก็บข้อมูลมาอย่างเพียงพอจนคิดว่าครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยก็จะนําข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ระหว่างกันว่า ในข้อมูลที่นักวิจัยได้อะไรคือสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์

ตอบ 3 หน้า 31 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เมื่อทําการเก็บข้อมูลมาอย่างเพียงพอจนคิดว่าครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยก็จะนําข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ระหว่างกันว่า ในข้อมูลที่นักวิจัยได้อะไร คือสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ หรือในทางปริมาณก็อาจจะนําข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทว่าอะไรเป็นตัวแปรตั้งต้น และอะไรเป็นตัวแปรตาม

65 การพิจารณาว่างานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตัวเองสงสัยนั้นในช่วงเวลาก่อนหน้า มีใครเคยศึกษาไว้บ้าง

ตอบ 1 หน้า 29 การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) เป็นการศึกษาถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่เคยมาในอดีต ว่าเคยมีการศึกษาเรื่องที่เราสงสัยไว้แล้วหรือไม่ เพราะบางครั้งในอดีตอาจจะมีคน ที่สงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับเรา

66 เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยพิจารณาเพื่อเลือกเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนําไปเก็บข้อมูล

ตอบ 2 หน้า 30 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการในการที่จะเก็บข้อมูล หรือเลือกเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนําไปเก็บข้อมูล เช่น การใช้วิธีการ สัมภาษณ์ การเก็บแบบสอบถาม เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 67 – 69 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) August Comte

(2) Sir Isaac Newton

(3) Vienna Circle

(4) Johannes Kepler

(5) Galileo Galilei

 

67 The Starry Messenger เป็นหนังสือที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเกิด Modern Science ซึ่งงานชิ้นดังกล่าวใครเป็นคนแต่ง

ตอบ 5 หน้า 33 – 30, (คําบรรยาย) กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นผู้แต่งหนังสือ The Starry Messenger ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1610 ซึ่งเป็นหนังสือที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเกิดวิธีการแสวงหา ความรู้แบบสมัยใหม่ (Modern Science)

68 ใครเป็นคนเขียน Mathematical Principles of Natural Philosophy ตีพิมพ์ ค.ศ. 1687 ที่งานดังกล่าวเป็นการพยายามอธิบายว่าทําไมดวงดาวในจักรวาลจึงเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมเช่นเดียวกันกับการเดินของนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรง

ตอบ 2 หน้า 34, (คําบรรยาย) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) เป็นผู้แต่งหนังสือ Mathematical Principles of Natural Philosophy ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1687 ซึ่งเป็นการพยายามอธิบายว่าทําไมดวงดาวในจักรวาลจึงเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมเช่นเดียวกันกับการเดินของนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรง

69 เป็นกลุ่มในศตวรรษที่ 20 ที่เชื่อมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวของศาสตร์ และปรัชญาความรู้แบบประจักษ์นิยม (Empiricism or Phenomenalism) ในฐานะที่ประสาทสัมผัสเป็นจุดเริ่มต้นและที่มาของความรู้ ตอบ 3 หน้า 33, 39 กลุ่มนักวิชาการเวียนนา (Vienna Circle) เป็นกลุ่มนักคิดในยุคศตวรรษที่ 20 ที่เชื่อมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวของศาสตร์ และปรัชญาความรู้แบบประจักษ์นิยม (Empiricism or Phenomenalism) ในฐานะที่ประสาทสัมผัสเป็นจุดเริ่มต้นและที่มาของความรู้

 

ตั้งแต่ข้อ 70 – 75 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Psychological Approach

(2) System Approach/Functional Approach

(3) Institutional Approach

(4) Historical Approach

(5) Rational Choice Approach

 

70 โครงสร้างทางการเมืองเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

71 งานของ Herman Finer ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government สามารถจัดเป็น Approach ใด ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

72 “ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคม หรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไป ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้” ข้อความดังกล่าวนี้เป็นสมมุติฐานของ Approach ใด ตอบ 2 หน้า 59 สมมุติฐานของแนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ โดยได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคม หรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไปทั้งหมด เช่นเดียวกันกับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

73 “ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อน หน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน” ข้อความดังกล่าวนี้เป็นสมมุติฐานของ Approach ใด

ตอบ 4 หน้า 58 สมมุติฐานของแนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) เชื่อว่าปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดู วิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

74 Anthony Downs ผู้เขียนงานเรื่อง An Economic Theory of Democracy, James M. Buchanan และ Gordon Tullock เจ้าของงานเรื่อง The Calculus of Consent และ Mancur Olson เจ้าของผลงานเรื่อง The logic of Collective Action งานเหล่านี้เป็นตัวแบบการศึกษา Approach ใด

ตอบ 5 หน้า 57 – 58, (คําบรรยาย) นักรัฐศาสตร์ในแนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล(Rational Approach หรือ Rational Choice Approach) ได้แก่

1 แอนโทนี ดาวน์ส (Anthony Downs) ผู้เขียนงานเรื่อง An Economic Theory of Democracy

2 เจมส์ เอ็ม. บูแคนัน (James M. Buchanan) และ กอร์ดอน ทัสลอค (Gordon Tullock) ผู้เขียนงานเรื่อง The Calculus of Consent

3 แมนเคอร์ โอลสัน (Mancur Olson) ผู้เขียนงานเรื่อง The logic of Collective Action เป็นต้น

75 งานเรื่อง Power and Personality ของ Harold Dwight Lasswell เป็นตัวอย่างการศึกษาใน Approach ใด

ตอบ 1 หน้า 56 – 57, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) เชื่อว่าสาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก  ซึ่งไม่เว้นแม้แต่พฤติกรรมทางการเมืองของคนในรัฐด้วย นักรัฐศาสตร์ในแนวการวิเคราะห์เชิง จิตวิทยา ได้แก่ แฮโรลด์ ดไวท์ ลาสเวลล์ (Harold Dwight Lasswell) ผู้เขียนงานเรื่อง Power : and Personality และ Psychopathology and Politics เป็นต้น

76 ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงการนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา

(1) Speaking Proposal

(2) Oral Presentation

(3) Oral Proposal

(4) Mouth Presentation

(5) Chart Presentation

ตอบ 2 หน้า 215, (คําบรรยาย) การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้วิจัยที่มีรายชื่อในเวทีมีการนําเสนอ ด้วยวาจาเสร็จแล้ว ผลงานของผู้นําเสนอจะถูกนํามาตีพิมพ์ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ที่ เรียกว่า “Proceedings” แต่หากไม่ได้ขึ้นเวที่นําเสนอ ก็จะถูกคัดออกและไม่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับดังกล่าว

77 เมื่อมีการนําเสนอด้วยวาจาเสร็จเเล้ว ผลงานวิจัยของผู้นําเสนอจะถูกนํามาตีพิมพ์ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ รายงานการประชุมฉบับดังกล่าวเรียกว่าอะไร

(1) Article

(2) Research Proposal

(3) Proceed

(4) Proceedings

(5) Progress Report

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 การนําเสนอด้วยวาจา โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเท่าใด

(1) 3 – 5 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 60 นาที

(4) 60 นาทีขึ้นไป

(5) ไม่มีข้อกําหนดที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับผู้นําเสนอเป็นหลัก

ตอบ 2 หน้า 215 การนําเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจําเป็นต้องเตรียมสไลด์สําหรับการนําเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลําดับความคิดและเนื้อหาสําหรับผู้นําเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักจะถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

79 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักในการจัดทําสไลด์สําหรับการนําเสนอผลงานด้วยวาจา

(1) การใช้ลูกเล่นให้มากที่สุดเพื่อดึงดูดผู้ชม

(2) การกําหนดเนื้อหาที่ไม่แน่นจนเกินไป

(3) จํานวนที่เหมาะสมกับช่วงเวลา

(4) การคํานึงถึงลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง

(5) ทุกข้อข้างต้นมีความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 215 216 หลักในการจัดทําสไลด์สําหรับการนําเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่

1 การเลือกโครงร่าง (Template) ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม

2 การใช้ลูกเล่นสไลต์อย่างเหมาะสม

3 การกําหนดเนื้อหา และการจัดวางสไลด์ที่ไม่แนนจนเกินไป

4 การออกแบบสไลด์ให้มีจํานวนที่เหมาะสมกับช่วงเวลา

5 การคํานึงถึงลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง เป็นต้น

80 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การฝึกฝนของวิจัยที่เหมาะสมในช่วงก่อนนําเสนอด้วยวาจา

(1) การฝึกจับเวลาในการนําเสนอเพื่อนําเสนอได้ครบถ้วนตามเวลา

(2) การฝึกฝนท่าทางในการนําเสนอเพื่อเพิ่มความราบรื่นในการนําเสนอ

(3) การฝึกตอบคําถามผู้เข้าฟังเพื่อให้มีความพร้อมและตรงประเด็นมากที่สุด

(4) การเตรียมตัวคาดเดาคําวิจารณ์จากผู้วิพากษ์เพื่อเตรียมตัวป้องกัน

(5) การเตรียมตัวแนะนําด้านสถานที่และที่ตั้งต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าฟัง

ตอบ 5 หน้า 216, (คําบรรยาย) การฝึกฝนของผู้วิจัยที่เหมาะสมในช่วงก่อนนําเสนอด้วยวาจา ได้แก่

1 การฝึกจับเวลาในการนําเสนอเพื่อนําเสนอได้ครบถ้วนตามเวลา

2 การฝึกฝนท่าทางในการนําเสนอเพื่อเพิ่มความราบรื่นในการนําเสนอ

3 การฝึกตอบคําถามผู้เข้าฟังเพื่อให้มีความพร้อมและตรงประเด็นมากที่สุด

4 การเตรียมตัวคาดเดาคําวิจารณ์จากผู้วิพากษ์เพื่อเตรียมตัวป้องกัน เป็นต้น

81 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของการนําเสนอด้วยโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) ผลการวิจัย

(4) วิธีดําเนินการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งถัดไป

ตอบ 5 หน้า 214 องค์ประกอบของการนําเสนอผลงานการวิจัยด้วยโปสเตอร์ ประกอบด้วย

1 ชื่อเรื่อง

2 บทคัดย่อ

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4 วิธีดําเนินการวิจัย

5 ผลการวิจัย

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 82 – 85

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

 

82 นางสาววีร์ยาพบว่า เธอมีข้อค้นพบและคําอธิบายใหม่เกี่ยวกับคําอธิบายบทบาทของ “นายหนังตะลุง” ซึ่งแตกต่างออกไปจากงานศึกษาที่มีผู้เคยศึกษาไว้แล้ว เธอจึงเขียนรายงานการวิจัยเพื่อนําเสนอคําอธิบายใหม่ ของเธอในวงวิชาการ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 218, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือ เครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น ข้อค้นพบและคําอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาทของ “นายหนังตะลุง”, มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท เป็นต้น

83 คุณตาคําไผ่พบว่า ในจังหวัดสมุทรสงครามเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำมาโดยตลอด ในช่วงหน้าแล้ง น้ำมีปริมาณไม่พอต่อการบริโภค ในขณะที่หน้าฝน เกิดปรากฏการณ์น้ําท่วมมาโดยตลอด คุณตาคําไผ่จึง ต้องการให้มีการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ําในจังหวัดสมุทรสงครามระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเขียนขึ้นมาเป็นวิจัยเพื่อเผยแพร่ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไข ปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ําในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น

84 นางโสภณมีสวนยางที่บ้านจํานวน 100 ไร่ แต่เธอพบว่าในช่วงที่ผ่านมายางพารามีราคาตกต่ำ เธอจึงต้องการ ” เพิ่มมูลค่าของยางพารา ด้วยการศึกษายุทธวิธีการค้าแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำจากบริษัทเครือเจริญ โภคภัณฑ์ ในที่สุดเธอได้เขียนรายงานการวิจัยออกมา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 220, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนหรือการลงทุนเป็นหลัก โดยผู้วิจัยสามารถสํารวจความต้องการของภาคการผลิต ต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เช่น การเพิ่มมูลค่าของยางพาราด้วยการศึกษายุทธวิธีการค้าแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำจากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น

85 เด็กชายลาบและเด็กชายลามี ได้ขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อไปเรียนหนังสือทุกวัน พวกเขาพบว่ารถไฟฟ้ามักมีปัญหาในช่วงเวลาเร่งด่วน (rush hour) ในขณะที่ช่วงเวลากลางวันมักไม่เกิดปัญหา ทั้งสองจึงพูดคุยว่า หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องควรเร่งส่งคณะผู้วิจัยมาศึกษาว่า ปัญหาของรถไฟฟ้าคืออะไรเพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและ การผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 219, (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบาย ไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาของรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน, แนวทางในการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

86 ข้อใดเรียงลําดับการนําเสนอบทคัดย่อ (Abstract) ได้อย่างเหมาะสม

(1) ปัญหาของการวิจัย >  วัตถุประสงค์ >  วิธีการวิจัย > ผลการวิจัย

(2) ผลการวิจัย >  วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ปัญหาของการวิจัย

(3) วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ผลการวิจัย > ปัญหาของการวิจัย

(4) วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ปัญหาของการวิจัย >  ผลการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 205 206, (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) ที่ดีควรประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ

1 ปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2 วิธีการในการดําเนินการวิจัย

3 ผลของการวิจัย การค้นพบและข้อเสนอแนะ จากตัวเลือกที่โจทย์ให้มา จะเห็นว่าการเรียงลําดับการนําเสนอบทคัดย่อที่เหมาะสม ก็คือ

ปัญหาของการวิจัย >  วัตถุประสงค์ >  วิธีการวิจัย >  ผลการวิจัย

87 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อควรระวังในการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

(1) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าว

(2) ไม่ระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่อง

(3) แสดงรายชื่อเอกสารอ้างอิงเพื่อให้ผู้บริหารสามารถค้นคว้าได้

(4) แสดงรูปภาพและตารางเท่าที่จําเป็นได้

(5) มีความยาวระหว่าง-3 – 5 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 208 ข้อควรระวังในการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร คือ

1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

2 ต้องไม่แสดงบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

3 อาจแสดงรูปภาพและตารางเท่าที่จําเป็นได้

4 มีความยาวระหว่าง 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

88 คําว่า “กิตติกรรมประกาศ” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) Curriculum Vitae

(2) Interim Report

(3) Management

(4) Knowledge

(5) Acknowledgement

ตอบ 5 หน้า 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ กล่าวขอบคุณผู้เชี่ยวชาญที่ให้ คําแนะนําผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ และชี้ให้เห็นถึงชื่อของหน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

89 ข้อใดคือตัวแสดงหลักที่ไม่จําเป็นต้องปรากฏอยู่ในกิตติกรรมประกาศ

(1) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา

(2) ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการทําวิจัย

(4) ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ

(5) ผู้ให้ทุนวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

90 คําว่า “ความเป็นเอกภาพ” ในการเขียนรายงานการวิจัย สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

(1) การมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับผู้รู้

(2) การมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับวรรณกรรมที่มีอยู่แล้ว

(3) การเขียนบทสรุปที่น่าเชื่อถือได้

(4) การใช้เหตุผลของวิจัยเป็นใหญ่

(5) การร้อยเรียงเรื่องราวส่วนต่าง ๆ ในงานวิจัยเข้าด้วยกัน

ตอบ 5 หน้า 210 “ความเป็นเอกภาพ” ในการเขียนรายงานการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยเขียนเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ตั้งแต่ส่วนนําของงานวิจัยไปจน กระทั่งถึงส่วนสรุปของงานวิจัย ดังนั้นสิ่งที่ผู้วิจัยควรคํานึงก็คือ การร้อยเรียงเรื่องราวส่วนต่าง ๆในงานวิจัยเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ (Unity) นั่นเอง

91 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง เรียกว่าอะไร

(1) Plagiarism

(2) Redundancy

(3) Unity

(4) Consistency

(5) Reference

ตอบ 1 หน้า 212 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Plagiarism” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านที่จะนําวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องพึงระวังอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างมาก ในวงวิชาการ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสามารถกระทําได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมี โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์หรือโปรแกรมเทิร์น อิท อิน (Turn it in) เป็นต้น

92 ข้อใดต่อไปนี้เป็นชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (1) สยามสมาคม

(2) สยามนุกูลกิจ

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักษรสาส์น

(5) จินดามณี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดต่อไปนี้คือประโยชน์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนการของการวิจัย

(2) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดมาทําวิจัยในหัวข้อใกล้เคียงกันอีก

(3) เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด

(4) เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 181, (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการเขียนรายงานการวิจัย คือ

1 เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีนวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น

3 เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรม หรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น

94 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น

(1) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(2) บทความวิจัยตีพิมพ์ลงวารสาร

(3) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(4) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(5) ทุกประเภท

ตอบ 4 หน้า 182, (คําบรรยาย รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บทนํา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดําเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ รวมทั้งบรรณานุกรมและภาคผนวก

95 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของ “ส่วนประกอบตอนท้าย” ในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) Appendix

(2) Acknowledgement

(3) Curriculum Vitae

(4) Bibliography

(5) ทุกข้อเป็นส่วนประกอบตอนท้าย

ตอบ 2 หน้า 186, (คําบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนท้าย” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ

1 บรรณานุกรม (Bibliography)

2 ภาคผนวก (Appendix)

3 ประวัติย่อผู้วิจัย (Curriculum Vitae)

96 ในรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย คําว่า “Inception Report” หมายถึงอะไร

(1) การรายงานผลการวิจัยขั้นต้น

(2) การรายงานความก้าวหน้า

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นสุดท้าย

(4) การรายงานการวิจัยฉบับสั้น

(5) การรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 1 หน้า 191 การรายงานผลการวิจัย ชั้น (Inception Report) หมายถึง การสรุปผลการดําเนินงานหลังจากที่ผู้วิจัยได้รับการอนุมัติหัวข้อวิจัยและโครงร่างนําเสนอการวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดง ให้เห็นถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรก ตลอดจนรายละเอียดของการปรับแก้รายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้

97 จากข้อ 96 คําว่า “Inception Report” มีเป้าหมายเพื่ออะไร

(1) เพื่อแสดงว่างานวิจัยอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว

(2) เพื่อแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการทําวิจัยดําเนินไปแล้วกว่าร้อยละ 50 ของขั้นตอนทั้งหมด

(3) เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวิจัยนั้น

(4) เพื่อแสดงถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรก

(5) เพื่อแสดงว่าผู้วิจัยเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสร็จแล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เป้าหมายของการเขียนบทนําของการวิจัย

(1) เพื่อแสดงถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(2) เพื่อแสดงถึงข้อจํากัดของการวิจัย

(3) เพื่อแสดงถึงการอภิปรายผลของการวิจัย

(4) เพื่อแสดงถึงที่มาและความสําคัญของปัญหา

(5) เพื่อแสดงถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ตอบ 3 หน้า 194 – 196, (คําบรรยาย) เป้าหมายของการเขียนบทนําของการวิจัยก็คือ เพื่อแสดงถึงที่มาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขต ของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

99 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

(1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย

(2) เพื่อบอกผู้อ่านว่างานวิจัยนั้นทําอย่างไร

(3) เพื่อแสดงถึงการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบเครื่องมือ

(4) เพื่อแสดงถึงวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

(5) เพื่อปรากฏในงานวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) เป้าหมายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ก็คือ เพื่อบอกให้ผู้อ่านได้ทราบว่างานวิจัยนั้นทําอย่างไร ผลการวิจัยและข้อสรุปที่ได้มีคุณค่ามากน้อย เพียงใด ซึ่งจะปรากฏในงานวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

100 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การสรุปผลการวิจัยที่เหมาะสม

(1) สรุประเบียบวิธีวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน

(2) หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงการนําไปวิจัยไปใช้ครั้งต่อไป

(3) สรุปตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

(4) ตอบคําถามวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้

(5) หลีกเลี่ยงความลําเอียงและอคติส่วนบุคคล

ตอบ 2 หน้า 201 – 202, (คําบรรยาย) การสรุปผลการวิจัยที่เหมาะสม มีดังนี้

1 ต้องสรุประเบียบวิธีวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน

2 ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม

3 ต้องสรุปตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

4 ต้องตอบคําถามวิจัย ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

5 หลีกเลี่ยงความลําเอียงและอคติส่วนบุคคล เป็นต้น

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การวิจัยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์

(2) ความดี ความชั่ว ความสวย ความหล่อเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

(3) การวิจัยคุณภาพคือการวิจัยที่เน้นรายละเอียดที่ถูกต้องมีคุณภาพ

(4) ความสูง 173 cm เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

(5) Researcher คือผู้ที่ต้องการค้นหาคําตอบในเรื่องที่สงสัยด้วยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้องคือ

1 การวิจัยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์

2 ความดี ความชั่ว ความสวย ความหล่อ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

3 ความสูง 173 cm เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

4 Researcher คือผู้ที่ต้องการค้นหาคําตอบในเรื่องที่สงสัยด้วยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ

2 ตัวเลือกใดไม่ใช่ Scientific Method

(1) การสังเกต

(2) รวบรวมข้อมูล

(3) การใช้เหตุผล

(4) ทดลอง

(5) ทุกข้อคือ Scientific Method

ตอบ 4 เอกสารหมายเลข P-1100-1 หน้า 1 – 2, 18) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement)

2 การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการใช้เหตุผลหยั่งรู้คาดเดาคําตอบก่อนที่ผู้วิจัยจะสร้างเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต หรือจากสถิติ

4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

5 การสรุปผล (Conclusion)

3 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อทํานาย

(4) เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(5) ทุกข้อเป็นเป้าหมายการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 4) เป้าหมายของการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบรรยาย

2 เพื่ออธิบาย

3 เพื่อทํานาย

4 เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

4 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เราเรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบนี้ว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใด เป็นสาเหตุให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

5 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ใช้หลักการทางสถิติ

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 5, 12) การวิจัยเชิงคุณภาพ มีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก ซึ่งเป็นการเจาะจงเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนทั้งหมดได้

3 ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

4 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย ฯลฯ

6 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ใช้หลักการทางสถิติ

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 12) การวิจัยเชิงปริมาณ มีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นการวิจัยที่เน้นข้อมูลตัวเลขเป็นหลัก ใช้หลักการทางสถิติ

2 ต้องการทดสอบทฤษฎี

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ ฯลฯ

7 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ตูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

9 การเริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เรียกว่าการแสวงหาความรู้แบบใด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข F-4100-2 หน้า 13) เหตุผลเชิงอุปมาน (Inductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ศึกษา แลนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เป็นการหาจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ

10 วิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์ทั่วไปและนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เรียกว่าอะไร

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 2-4100-2 หน้า 13) เหตุผลเชิงอนุมาน (Deductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงทั่วไป และนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงเป็นการหาจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ

11 ความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 13) ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

12 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อยู่ภายใต้แนวคิดใด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 14) กลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม (Anti – Positivism)แบ่งเป็นกลุ่มปรัชญาได้หลายแบบ เช่น อัตภาวะนิยม (Existentialism) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล เป็นต้น

13 การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติโดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 14 – 15) แนวทางเชิงเหตุผล (Rational Approach) คือ การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติโดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

14 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล เกี่ยวข้องกับเรื่องใด มากที่สุด

(1) Existentialism

(2) Phenomenology

(3) Ethnomethodology

(4) Symbolic Interactionism

(5) Empirical Approach

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูลมายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

16 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหา กรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมุติฐาน โดยการเลือกรูปแบบการวิจัยต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปร การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

17 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การกําหนดประชากร เป้าหมาย และการสุ่มตัวอย่างเป็นการกําหนดหน่วยที่ต้องการศึกษาหรือหน่วยที่ต้องการใช้ข้อมูล อาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

18 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับ เรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัดคือ การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

19 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-q100-2 หน้า 17) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัย ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม

20 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบพรรณนาหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

21 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการนําความรู้ที่ได้จากการศึกษามารวบรวมหรือเป็นการจัดทําแผนในการวิจัย และเขียนเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการต่อไป

22 การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 ความสนใจของผู้วิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) เพื่อบรรยาย

(3) เพื่ออธิบาย

(4) เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) เพื่อตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษาโดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

24 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้องสามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการนําผลการศึกษาเพื่อทํานายอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยผลการศึกษาจะต้อง มาจากวิธีการอธิบาย เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีและผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง

25 การกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การตั้งคําถามการวิจัย

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

26 การกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัยกล่าวถึง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบรรยาย เป็นการกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัยกล่าวถึง เช่น การบรรยายลักษณะการปกครองของจังหวัดนนทบุรี โดยกล่าวถึงสภาพพื้นที่ ประชากร รูปแบบการปกครอง ปัญหาในการปกครอง เป็นต้น

27 การตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

28 การกล่าวถึงลักษณะการปกครองของจังหวัดนนทบุรี โดยกล่าวถึงสภาพพื้นที่ ประชากร รูปแบบการปกครองและปัญหาในการปกครอง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การวิพากษ์วิจารณ์

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

29 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิตกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-C100-2 หน้า 25) มาตรวัด(Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้

30 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชาย เพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

31 ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) แนวคิด (Concept) หมายถึง ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี ภายใต้แนวคิดหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆตามแต่ละสาขาวิชา

32 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

(4) เพื่อการทํานาย

(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-1100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

2 เพื่อบรรยาย

3 เพื่ออธิบาย

4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

33 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย

(1) ความเป็นไปได้

(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

(3) ความสนใจของผู้วิจัย

(4) ความยากง่ายในการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 22) หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้

1 ความสําคัญของปัญหา

2 ความเป็นไปได้

3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล

34 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่า ปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 22 – 23) ปัญหาเชิงประจักษ์ คือ ลักษณะของปัญหาที่จะต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

35 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 23) ปัญหาเชิงปทัสถาน คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง เช่น การศึกษารูปแบบทางการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดในอุดมคติตามแนวจริยธรรมของนักวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น

36 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคําว่า Research

(1) การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฏ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ

(2) การค้นหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ

(3) กระบวนการในการแสวงหาความรู้โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์

(4) การค้นหาสัจธรรมความจริงแท้ของโลก

(5) ทุกข้อไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 1, 18) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฏ ทฤษฎี หรือ แนวทางในการปฏิบัติ หรือการค้นหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์

37 Positivism ได้รับอิทธิพลจากองค์ความรู้ใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) ภาษาศาสตร์

(2) เศรษฐศาสตร์

(3) ประวัติศาสตร์

(4) วิทยาศาสตร์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

38 คนใดไม่เกี่ยวข้องกับ Behavioralism

(1) David Easton

(2) Lucian Pye

(3) Charles Merriam

(4) Alexis de Tocqueville

(5) Harold Lasswell

ตอบ 3 หน้า 37 – 42, 61, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 10 – 11)

การศึกษาแนวพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1 ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และหลักวัตถุวิสัย (Objectivity) ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์

2 ใช้วิธีเชิงปริมาณและเทคนิคที่เคร่งครัดตายตัวในการวิเคราะห์ เช่น สถิติ

3 มุ่งสร้างทฤษฎีที่เป็นระบบและเป็นเชิงประจักษ์

4 แยกความจริงออกจากค่านิยม

5 มุ่งศึกษาพฤติกรรมของตัวบุคคลหรือกลุ่มมากกว่าสถาบันการเมือง

6 เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมือง

7 การศึกษาแบบ Unity of Science

8 นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ David Easton, Gabriel Almond ฯลฯ

39 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ Positivism

(1) August Comte

(2) Vienna Circle

(3) Value – Free

(4) Empiricism

(5) ทุกข้อเกี่ยวข้องกับ Positivism

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 27 – 30) แนวคิดสํานักปฏิฐานนิยม (Positivism) มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1 เป็นแนวคิดประจักษ์นิยม (Empiricism)

2 ปราศจากคุณค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง (Value – Free)

3 นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ August Comte, นักวิชาการกลุ่ม Vienna Circle ฯลฯ

40 Behavioralism เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้

(1) Sophist

(3) Aristotle

(4) Rousseau

(5) Unity

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 Approach ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ Science น้อยที่สุด

(1) Behaviorism

(2) System Approach

(3) Developmental Approach

(4) Historical Approach

(5) Power Approach

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 46 – 58) แนวการวิเคราะห์หรือกรอบการวิเคราะห์(Approach) เป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมากต่อการศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่ หรือในการทําวิจัย ทางรัฐศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากกรอบ การวิเคราะห์เป็นตัวกําหนดมุมมองในการทําวิจัย การเก็บข้อมูล ออกแบบวิจัยแบบใด ซึ่งเปรียบได้ว่าแนวการวิเคราะห์ก็คือ เข็มทิศ หรือแผนที่ของการวิจัย เช่น

1 System Approach.

2 Developmental Approach

3 Historical Approach

4 Power Approach ฯลฯ

42 ตัวเลือกใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

(1) เป็นการศึกษาที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริง

(2) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทํานายปรากฏการณ์

(3) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรากฏการณ์

(4) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณนาปรากฏการณ์

(5) ทุกข้อมีความเกี่ยวข้องกับการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสาร์หมายเลข P-4100-1 หน้า 19 – 20, 60) จุดมุ่งหมายของการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อหาคําตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ

2 เพื่อทํานายปรากฏการณ์

3 เพื่อศึกษาปรากฏการณ์

4 เพื่อพรรณนาปรากฏการณ์ (ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ)

43 การสังเกต คืออะไร

(1) การดูอย่างรอบด้าน

(2) การใช้จมูกดมกลิ่น

(3) การใช้หูรับฟัง

(4) การลิ้มรับรสสัมผัส

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-1100-1 หน้า 69 – 70) การสังเกต (Observation) คือ การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเป็นวิธีเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่ผู้วิจัยออกไปรับรู้ โดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือเหตุการณ์/ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง

44 ข้อใดไม่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

(1) คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยของตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

(2) เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

(3) ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

(4) นําข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผย

(5) ทุกข้อผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

ตอบ 5 หน้า 81 ลักษณะของการกระทําที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย มีดังนี้

1 คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยของตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

2 เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

3 ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

4 นําข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผย

45 ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์

(1) ศึกษาโครงสร้างและสถาบันการเมือง

(2) ทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(3) อธิบายถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติหรืออุดมคติทางการเมือง

(4) ให้คําแนะนําถึงสิ่งที่ควรกระทําแก่ผู้ปกครองหรือผู้บริหาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

46 ตัวเลือกใดถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถนํามาใช้ได้จริงน้อยที่สุดในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

(1) ทดลอง

(2) ตั้งสมมุติฐาน

(3) กําหนดชื่อเรื่อง

(4) ทํารายงานการวิจัย

(5) สรุปผล

ตอบ 1 หน้า 78 79 ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม

2 มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

3 ไม่สามารถทดลองในห้องปฏิบัติการได้

4 การสัมภาษณ์จากมนุษย์เชื่อถือไม่ได้ ฯลฯ

47 คําว่า “รัฐศาสตร์” ในภาษาไทย ใครเป็นคนบัญญัติขึ้นมา

(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

(4) พระองค์เจ้าอาทิตย์ที่พลาภา

(5) พระองค์วรรณฯ ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 6) พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากรกรมหมื่นนราทิปพงศ์ประพันธ์ หรือพระองค์วรรณฯ เป็นคนแรกที่บัญญัติคําว่า “รัฐศาสตร์”ขึ้นมาในภาษาไทย

48 Research Proposal คืออะไร

(1) รายงานการวิจัยก่อนที่จะเป็นฉบับสมบูรณ์

(2) ผลงานวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ

(3) โครงร่างรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการวิจัย

(4) สัญญาระหว่างผู้วิจัยกับหน่วยงานที่ให้ทุนในการทําวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 73) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)คือ โครงร่างคร่าว ๆ ของนักวิจัยก่อนที่จะทําการวิจัย ซึ่งจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้าในการทําวิจัยทุกครั้ง

49 อะไรต่อไปนี้ที่ไม่ควรมีในโครงร่างการวิจัย

(1) Reference

(2) Research Title

(3) Finding

(4) Problem Statement

(5) Review Literature

ตอบ 1, 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 73 – 74) โครงร่างการวิจัย ประกอบด้วย

1 ชื่อเรื่องในการวิจัย (Research Title)

2 ที่มาของปัญหาหรือสภาพปัญหา (Problem Statement)

3 คําถามในการวิจัย (Research Question)

4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)

5 สมมุติฐาน (Hypothesis)

6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature)

7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope) ฯลฯ

 

ตั้งแต่ข้อ 50 – 55 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Review Literature

(3) Hypothesis

(4) Approach

(5) Objective

 

50 “สํารวจงานวิจัยต่าง ๆ ในอดีตว่าใครเคยใช้ทฤษฎีอธิบายเรื่องที่เราทําวิจัยไว้บ้าง” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 22) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)เป็นขั้นตอนที่นักวิจัยจะต้องทําเพื่อให้ทราบว่างานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องมีใครทําไว้แล้วบ้างและเป็นขั้นตอนที่จําเป็นต้องทําเพื่อสํารวจว่างานวิจัยของเราจะไม่ซ้ํากับใครด้วย

51 “เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกโด ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 47) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบาย หรือการวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

52 “ปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการจะหาคําตอบ” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 57 – 59, 73, 83), (คําบรรยาย) คําถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่ นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบ ได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรใช้ปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยนี้ ถือเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนที่จะลงมือทําการวิจัยในขั้นตอนต่อ ๆ ไป ตัวอย่างเช่น การจัดสถาบันระหว่างรัฐและสังคมเปรียบเทียบก่อนและหลังนโยบายจํานําข้าว ปี พ.ศ. 2544 – 2545 มีลักษณะอย่างไร, การทํางานและปฏิบัติการของนโยบายจํานําข้าวใน ประกาศราคาที่สูงกว่าราคาตลาดภายใต้บริบทการเมืองและกระบวนการสร้างประชาธิปไตย หลังปี พ.ศ. 2544 มีลักษณะอย่างไร, รัฐบาลมีการจัดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างไร ในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจต้มยํากุ้ง เป็นต้น

53 “วัตถุประสงค์ของการวิจัย” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 5 หน้า 97, 124 – 125, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 60, 73, 82) จุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือวัตถุประสงค์ (Objective) ของงานวิจัย หมายถึง เจตจํานงของนักวิจัยว่าต้องการ จะศึกษาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งมักจะเขียนขึ้นต้นประโยคด้วยคําว่า “เพื่อ” แล้วตามด้วยข้อความที่ แสดงการกระทําในการวิจัยนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เพื่อศึกษาการจัดสถาบันระหว่างรัฐและสังคม เปรียบเทียบก่อนและหลังนโยบายจํานําข้าวปี พ.ศ. 2544 – 2545, เพื่อสํารวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่มีต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น

54 “เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยกําหนดความคิดและมุมมองของนักวิจัยในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) สมมุติฐาน(Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไปซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยกําหนดความคิดและมุมมองของนักวิจัยในการวิจัย

55 “เป็นการป้องกันการทํางานวิจัยซ้ํา” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Classical Period

(2) Institutional Period

(3) Transitional Period

(4) Behavioral Period

(5) Post – Behavioral Period

 

56 เป็นยุคที่ไม่มีการผูกขาดแนวการศึกษาไว้แบบใดแบบหนึ่งอีกต่อไป

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 11 – 12) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post – Behavioral Period) เป็นยุคที่ไม่มีการผูกขาดแนวการศึกษาไว้แบบใดแบบหนึ่งอีกต่อไป

57 ในยุคหนึ่งที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 2-4100-1 หน้า 10 – 11) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมือง ในยุคนี้รัฐศาสตร์ถูกเรียกว่า วิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

58 ถ้าอยากจะเข้าใจการเมืองก็จําเป็นที่จะต้องพิจารณาที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมนั้น ๆ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 8 – 9) ยุคสถาบันนิยม (Institutional Period) เป็นยุคที่เน้นหนักเรื่องรัฐธรรมนูญ (Constitution) กฎหมายมหาชน (Public Law) รัฐสภา (Parliament) อย่างไรก็ดีแนวทางการศึกษาการเมืองในยุคนี้ก็ยังไม่ได้รับอิทธิพลมาจากวิทยาศาสตร์ ถ้าอยากจะเข้าใจการเมืองก็จําเป็นที่จะต้องพิจารณาที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมนั้น ๆ

59 เป็นยุคที่เริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 9) ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่เริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

60 เป็นยุคที่เน้นหนักเรื่องรัฐธรรมนูญ (Constitution) กฎหมายมหาชน (Public Law) รัฐสภา (Parliament)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Secondary Source

(2) Observatory Research

(3) Primary Source

(4) Pure Research

(5) Applied Research

 

61 บันทึกข้อความของนายกรัฐมนตรี คือหลักฐานประเภทอะไร

ตอบ 3 หน้า 191 หลักฐานชั้นต้น (Primary Source) ได้แก่ หลักฐานที่บันทึกโดยผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น บันทึกข้อความของนายกรัฐมนตรี บันทึกประจําวันจดหมายโต้ตอบ หนังสือราชการ เป็นต้น

62 การวิจัยที่ต้องการทราบเพียงแค่ว่านโยบายนั้นมีกระบวนการก่อตัวอย่างไร งานวิจัยประเภทนี้คือวิจัยประเภทอะไร

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข E-4100-1 หน้า 19) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ เช่น การวิจัยที่ต้องการทราบเพียงแค่ว่านโยบายนั้นมีกระบวนการก่อตัวอย่างไร การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง เป็นต้น

63 การวิจัยที่ลงไปสังเกตการณ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประท้วง คือวิจัยประเภทอะไร

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 20) การวิจัยเชิงการสังเกต (Observatory Research)เป็นการวิจัยที่เน้นผู้วิจัยเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา เช่นการวิจัยที่ลงไปสังเกตการณ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประท้วงของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น

64 วิจัยเพื่อแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยประเภทอะไร ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 19) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ได้แก่ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือการวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เช่น ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต้องการให้มีนักวิจัยศึกษาถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากิน เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น และ การวิจัยเชิงนโยบาย เช่น ต้องการทราบว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

65 หนังสือที่มีความหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทย หนังสือดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานประเภทอะไร

ตอบ 1 หน้า 191 หลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) คือ หลักฐานที่มีผู้บันทึกจากปากคําของผู้ที่ผ่านเหตุการณ์จริงหรือมีผู้บอกเล่าอีกต่อหนึ่ง เช่น หนังสือที่มีความหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองไทย บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในสายตาของนักเขียนที่ได้รวบรวมจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

66 ผู้ที่นําไปสู่ผู้ที่ให้ข้อมูลหลัก เราเรียกบุคคลดังกล่าวว่าอะไร

(1) Key People

(3) Key Informants

(4) Gate Keeper

(5) Key Men

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกหรือเชิงลึก (In-depth Interview) จัดเป็นการสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) ชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยนักวิจัยจะต้องเข้าไปทําความรู้จักคุ้นเคยกับ “ผู้ให้ข้อมูลหลัก” (Key Informants) ซึ่งจะเน้นการพูดคุยซักถามในประเด็นที่ลึกซึ้งของปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้งหรือข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้สัมภาษณ์ในสนามวิจัย ทั้งนี้จะไม่มีการใช้ แบบสัมภาษณ์ แต่จะใช้วิธีการถามคําถามที่ได้จากคําตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์เจาะลึกลงไปเรื่อย ๆหรือที่เรียกว่า “Snowball Technique”

 

ตั้งแต่ข้อ 67 – 70 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Unit of Analysis

(2) Independent Variable

(3) Dependent Variable

(4) Intervening Variable

(5) Control Variable

 

67 “หน่วยในการศึกษาหรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษา” สิ่งที่กล่าวถึงนี้ในทางการวิจัยเรียกว่าอะไร

ตอบ 1 หน้า 173, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หรือหน่วยที่จะศึกษา(Unit of the Study) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้น มาวิเคราะห์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ระดับ คือ

1 ระดับบุคคล เช่น เพศ ระดับการศึกษา เป็นต้น

2 ระดับกลุ่ม

3 ระดับองค์การ เช่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย เป็นต้น

4 ระดับพื้นที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นต้น

5 ระดับภูมิภาค เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

6 ระดับประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

 

68 เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยต้องควบคุมให้เหมือนกันในกรณีที่ทําการศึกษาแบบเปรียบเทียบ สิ่งที่ควบคุมดังกล่าวในการวิจัยเรียกว่าอะไร

ตอบ 5 หน้า 130 ตัวแปรควบคุม (Control Variable) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยต้องควบคุมให้เหมือนกันในกรณีที่ทําการศึกษาแบบเปรียบเทียบ

69 เด็กชาย A ต้องการศึกษาว่า จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebook มีผลต่อการสอบได้หรือสอบตกของนักศึกษาหรือไม่ จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebook คือตัวแปรอะไร

ตอบ 2 หน้า 130, 154 – 155, (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 59)ตัวแปรที่ศึกษาวิจัยหรือตัวแปรที่ต้องการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น X เช่น ระดับการศึกษาที่สงผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ระดับความร้อนของเตารีดทําให้ผ้าสีดําซีด, สาเหตุที่ทําให้เกิดการคอร์รัปชั่นทางนโยบาย, จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebookมีผลต่อการสอบได้หรือสอบตกของนักศึกษา เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หรือตัวแปรผล เป็นตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรอิสระ มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y เช่น ผลกระทบของโครงการรับจํานําข้าว, ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมือง, ผลกระทบ ของการคอร์รัปชั่นทางนโยบาย, การซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีผลทําให้เกิดการคอร์รัปชั่นของ นักการเมือง, ความซีดของผ้าสีดําที่เกิดจากระดับความร้อนของเตารีด เป็นต้น

70 สิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้วิจัย และส่งผลต่อการวิจัยที่ทําให้ผลลัพธ์มีความแตกต่างกันออกไป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวแปรที่ไม่ได้ศึกษาวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรแทรกหรือตัวแปรคั่นกลาง (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่นักวิจัยไม่ได้ตั้งใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อุณหภูมินอกห้องทํางาน, การใช้นโยบายแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท หรือการใช้นโยบายเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต้น เป็น 15,000 บาท มีผลให้เกิดสินค้าราคาแพง เป็นต้น

2 ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่นักวิจัยไม่ได้ตั้งใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยสามารถควบคุมได้ เช่น อุณหภูมิในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

71 ตัวเลือกใดไม่ใช่ Scientific Method

(1) การใช้ประสาทสัมผัสที่ 6

(2) การตั้งสมมุติฐาน

(3) การใช้เครื่องมือทางสถิติ

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต

(5) ทุกข้อคือ Scientific Method

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัย

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Discriminative

(4) Equality

(5) ทุกข้อคือคุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 77 – 80), (คําบรรยาย) คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัยมีดังนี้

1 Validity (ความเที่ยงตรงหรือความแม่นตรง)

2 Reliability (ความเชื่อถือได้)

3 Discriminative (การแยกแยะจําแนก)

4 Equality (ความเท่าเทียมสม่ำเสมอคงเส้นคงวา)

73 ข้อใดคือประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัย ทางรัฐศาสตร์

(1) เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

(2) เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

(3) เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

(4) เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 3 – 4 ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

2 เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

3 เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

4 เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

74 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Empirical Political Theory ได้มาจากการใช้เหตุผล

(2) Law คือทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

(3) Hypothesis ไม่จําเป็นต้องถูกเสมอ

(4) Normative Theory อิงอยู่กับวิธีการแบบวิทยาศาสตร์

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 5 หน้า 139 – 140, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 2,7 – 12, 23) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 Empirical Political Theory ได้มาจากการใช้เหตุผลในการศึกษาเกี่ยวกับการเมือง

2 Law คือ ทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันหรือทดสอบจนเชื่อถือได้แล้ว

3 Hypothesis คือ ทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากการทดสอบนั้น ซึ่งเป็นการคาดเดาล่วงหน้าไม่จําเป็นต้องถูกเสมอ

4 Normative Theory ไม่ได้อิงอยู่กับวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ แต่อิงอยู่กับคุณค่าหลักปฏิบัติการเสนอแนะ เช่น การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร

 

75 ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีการเก็บข้อมูล

(1) Documentary Research

(2) Survey Research

(3) Experimental Research

(4) Case Study

(5) ทุกข้อคือการแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีการ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 20) การแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีเก็บข้อมูลมี 4 ประเภท ดังนี้

1 การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

2 การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research)

3 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

4 การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research)

76 ข้อใดต่อไปนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) การแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(2) การแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทําหัวข้อคล้ายกัน

(3) การจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทําการศึกษา

(4) การป้องกันผู้อื่นนําไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) การเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 77- 82 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

(5) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

 

77 รายงานการวิจัยฉบับใดเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 319 – 320, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานโดยละเอียดมีรูปแบบเคร่งครัด ส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมา เป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิงที่ต้องปรากฏเสมอในรายงานวิจัย รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นี้ประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย มักมีความ ยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

78 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 80, 325, (คําบรรยาย) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

79 รายงานการวิจัยประเภทใดที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ที่ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ มักจะเขียนขึ้นใน ขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยหลักการ เหตุผลและวิธีการ และอาจจะยังไม่มีผลการวิจัยก็ได้ หรือมีผลการวิจัยแล้วแต่เป็นผลการวิจัยเบื้องต้น

80 รายงานการวิจัยประเภทใดประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

81 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

82 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักจะเขียนขึ้นในขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัย

(1) ปกหลักจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโครงการวิจัย

(2) รายละเอียดที่ปรากฏบนปกในต้องมีความแตกต่างจากปกหลักเพื่อมิให้ซ้ำซ้อน

(3) ในกรณีของงานวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

(4) บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(5) สารบัญเนื้อหาและสารบัญรูปภาพไม่จําเป็นต้องแยกออกมาจากกัน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) มีลักษณะดังนี้

1 บทคัดย่อช่วยให้ผู้อ่านทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมดโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด

2 บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน 3 บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4 ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

ตั้งแต่ข้อ 84 – 90 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

 

84 ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาและรวบรวมมา ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 110 – 111)การเขียนรายงานการวิจัยในส่วนเนื้อเรื่อง โดยทั่วไปประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้

1 บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์สมมุติฐานในการวิจัย ขอบเขต ข้อจํากัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและนิยามศัพท์ที่ใช้ ในการวิจัย

2 บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3 บทที่ 3 วิธีการ/ระเบียบวิธี (Methodology) ที่ใช้ในการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย ประเภทการวิจัย ประชากร (Population) กลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4 บทที่ 4 ผลการวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

85 การทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ขอบเขต และข้อจํากัดของงานวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

87 หากนักศึกษาต้องการอธิบายถึงขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาควรรายงานไว้ในบทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

88 การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

89 หากอาจารย์ถามนักศึกษาว่า “งานวิจัยฉบับนี้มีความสําคัญอย่างไร เพราะเหตุใดนักศึกษาต้องศึกษาและใช้เวลาในการทํางานวิจัยฉบับนี้ขึ้นมา…” นักศึกษาจะให้อาจารย์ท่านนั้นไปอ่านงานวิจัยบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

90 หากนายภพธรอยากทราบว่า เพราะเหตุใดผลงานวิจัยที่คุณไปรยาได้ทํานั้น จึงได้ผลการศึกษาที่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้ที่ทําไว้ก่อนหน้านี้แล้ว นายภพธรควรศึกษาที่งานวิจัยบทใดของคุณไปรยา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

91 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ เรียกว่าอะไร

(1) ขนมเปียกปูน

(3) ขนมสาลี

(4) ขนมปัง

(5) ขนมปั้นสิบ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆเรียกว่า ขนมชั้น หรือคอนโดงานวิจัย

92 หากนายเอกมัยต้องการทราบว่า นายหมอชิดไปทําการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาหรือไม่ นายเอกมัยต้องใช้โปรแกรมใดในการตรวจสอบผลงานของนายหมอชิด

(1) Turn it down

(2) Turn it up

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักขราบริสุทธิ์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ใช้ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการตรวจสอบงานเขียนเพื่อค้นหาข้อความที่อาจจะเป็นการลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น

93 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย”

(1) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai – Journal Citation Index หรือ TCI (2) ทําหน้าที่คํานวณและรายงานคํา Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

(3) ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 4 กลุ่ม

(4) วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

(5) ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai – Journal Citation Index หรือ TCI 2 ทําหน้าที่คํานวณและรายงานคํา journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

3 ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 3 กลุ่ม

4 วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

5 ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

94 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

(1) บทคัดย่อที่ดีควรทําเป็นภาษาเดียวเท่านั้น

(2) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน (3) บทคัดย่อที่ดีควรมีความยาวมากกว่า 5 หน้าขึ้นไป

(4) บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน (5) บทคัดย่อที่ดีไม่ควรแสดงผลการศึกษาเนื่องจากผู้อ่านจะไม่อยากติดตามอ่านต่อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

95 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

(1) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน (2) ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

(3) ควรรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

(4) ต้องไม่ปรากฏรูปภาพและตารางใด ๆ ในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

(5) ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อและเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary) มีลักษณะดังนี้

1 เป็นข้อความโดยสรุปจากรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจน และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด

2 ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหารในการทราบถึงสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด

3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อและเอกสารอ้างอิง

4 ควรรักษาความยาวให้อยู่ระหว่าง 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

5 เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

96 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย

(1) ความถูกต้อง

(2) ความกํากวมระมัดระวัง

(3) การอ้างอิง

(4) ถ้อยคําสุภาพ

(5) ความตรงประเด็น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เทคนิคในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้

1 ความเป็นเอกภาพและกลมกลืน

2 ความตรงประเด็น กะทัดรัด

3 ความสํารวมระมัดระวังถ้อยคําสุภาพ และภาษาที่ใช้

4 ความชัดเจน และความต่อเนื่อง

5 ความถูกต้อง

6 การอ้างอิง ฯลฯ

97 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ควรปรากฏอยู่ในการนําเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง

(2) ภาคผนวก

(3) บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

(4) วิธีดําเนินการวิจัย

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่จําเป็นของการนําเสนองานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ มีดังนี้

1 ชื่อเรื่อง

2 บทคัดย่อ

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4 ผลการวิจัย

98 คําใดต่อไปนี้หมายถึง “การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา”

(1) Oral Presentation

(2) Mouth Presentation

(3) Speaking Presentation

(4) Talking Presentation

(5) Poster Presentation

ตอบ 1 หน้า 320, (คําบรรยาย) การนําเสนองานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นการรายงานข้อค้นพบจากการวิจัยและข้อเสนอแนะด้วยวาจาต่อที่ประชุม และนําเสนอ ไม่มีรูปแบบที่เคร่งครัด ความยาวไม่มากเกินไป ซึ่งผู้วิจัยควรเตรียมตัวนําเสนอเฉพาะช่วงที่นําเสนอเท่านั้นเพื่อความสมจริง อาจนําเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้ ตั้งแต่ข้อ

99 – 100 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) งานวิจัยเชิงวัฒนธรรม

99 อาจารย์แจ๊สต้องการทราบว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ งานวิจัยของอาจารย์แจ๊สจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

100 ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษต้องการให้มีนักวิจัยศึกษาถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น งานวิจัยดังกล่าว จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 คําว่า “ยุทธศาสตร์” กับ “กลยุทธ์” แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้เป็นใคร เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์การเพื่อนําไปกําหนดกลยุทธ์เรียกว่าเทคนิคอะไร จงอธิบาย หลักการของเทคนิคนั้นมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

คําว่า “ยุทธศาสตร์” หรือ “กลยุทธ์” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์ มาจากคําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือ ยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ายุทธศาสตร์กับกลยุทธ์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมาย เหมือนกัน

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์มีหลายท่าน เช่น Michael E. Porter, Bracker, Chandler และ Arsoff

ตัวอย่างเช่น Michael E. Porter ได้เสนอแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยกล่าวว่า การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่ง ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึง ปัจจัย 5 ประการ คือ

1 อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น

2 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด

3 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน

4 อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง

5 อํานาจต่อรองลูกค้า ทั้งนี้ Michael E, Porter เห็นว่า การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ

 

1 การทําให้ต้นทุนต่ำ (Low Cost)

2 การทําให้สินค้า/บริการมีความแตกต่าง (Differentiation) หรือทําให้ดีกว่าคู่แข่ง เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ

ก่อนที่องค์การจะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อน้อย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

ตัวอย่างของการใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์องค์การ เช่น

การใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์กรุงเทพมหานครเพื่อนําไปใช้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนา การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรเป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาวและกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 2 เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานําแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษามาปรับใช้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างตัวชี้วัด 1 องค์ประกอบ

แนวคําตอบ

เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานําแนวคิดการประกันคุณภาพ การศึกษามาปรับใช้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนา อาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2015 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) กําหนด

ตัวอย่างองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ระบบ QA (Quality Assurance) เป็นระบบที่ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบ 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตัวอย่างขององค์ประกอบ เช่น

องค์ประกอบที่ 2 : การเรียนการสอน สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มีความพร้อมเกี่ยวกับหลักสูตร อาจารย์ กระบวนการเรียนการสอน นักศึกษาและปัจจัยสนับสนุน การเรียนการสอน

 

 

ข้อ 3 เครื่องมือการบริหารสมัยใหม่มีหลายแนวคิด อาทิ 5 ส. (5 S.), การควบคุมคุณภาพ (Q.C.),การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.), การรือปรับระบบ (Reengineering), ระบบมาตรฐาน คุณภาพสากล (ISO 9000), ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย (P.S.O.) และแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น ให้เลือกอธิบาย 1 แนวคิด หรือหลักการบริหารสําคัญ 1 หลักการมาให้เข้าใจ อย่างชัดเจน (การตอบให้อธิบายความเป็นมา นักคิด หลักการสําคัญของแนวคิดนั้น)

แนวคําตอบ

แนวคิด 5 ส. (5 S.)

5 ส. เป็นแนวคิดในการจัดระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทํางานเพื่อให้เกิดสภาพการทํางานที่ดี สะดวก ปลอดภัย และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือเป็นเทคนิคในการจัดระบบระเบียบสถานที่ทํางานให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด

แนวคิด 5 ส. เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น มีปัญหาเรื่องการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำและใช้ต้นทุนสูง จึงได้มีการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาต่าง ๆ พบว่า ปัญหา เกิดจากการไม่มีระเบียบในกระบวนการผลิต ไม่มีการแยกของดีของเสีย ขาดการจัดระบบ เป็นต้น จึงทําให้เกิด แนวคิดตามหลักการพื้นฐานของ 5 ส. ขึ้น

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิด 5 ส. มาใช้ประมาณปี พ.ศ. 2534 โดยมีหน่วยงานที่นํามาใช้ เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลเลิศสิน สํานักนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.) บริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น

ปรัชญาของ 5 ส.

Mr. Nakagawa Masakatsu ได้กําหนดปรัชญาของการทํา 5 ส. ไว้ คือ มุ่งเน้นการลดความ สิ้นเปลืองและความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการทํางาน เพื่อนําไปสู่การผลิตที่สมบูรณ์แบบ (Skill Management Method)

องค์ประกอบของ 5 ส. กิจกรรม 5 ส. มาจากคําว่า 5 5. ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย

  1. Seiri (เซริ) สะสาง ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Screen หมายถึง การคัดแยกและกําจัด เอกสารหรือสิ่งของที่ไม่จําเป็นออกจากสถานที่ทํางาน เพื่อลดจํานวนเอกสารและพื้นที่จัดเก็บ เช่น บนโต๊ะทํางาน ไม่ควรวางของที่ไม่จําเป็น เป็นต้น
  2. Seiton (เซตง) สะดวก ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Select หมายถึง การจัดระบบเอกสาร และสิ่งของจําเป็นในการใช้งานไม่ว่าบนโต๊ะทํางาน ภายในตู้เอกสาร หรือบนชั้นวางของให้เป็นระเบียบ สามารถ หยิบใช้ได้สะดวก และประหยัดเวลาในการค้นหา ดังสุภาษิตไทยที่ว่า “หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา”
  3. Selso (เซโซ) สะอาด ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Smooth หมายถึง การทําความสะอาด สถานที่ทํางาน ดูแลบํารุงรักษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ และพร้อมที่จะใช้งานได้ ตลอดเวลา
  4. Selketsu (เซแคทซี) สุขลักษณะ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Sanitary หมายถึง การดูแล รักษาให้มีการทํา 3 ส. แรกอย่างต่อเนื่องโดยการทําซ้ำ ทําบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดสุขลักษณะที่ดีในสํานักงาน
  5. Shitsuke (ซิซึเกะ) สร้างวินัยหรือสุขนิสัย ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Self Discipline หมายถึง การอบรมพนักงานทุกคนให้มีพฤติกรรมที่ดี เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน เมื่อปฏิบัติไปนาน ๆ ก็จะ เคยชินกลายเป็นผู้มีวินัยด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ

 

ประโยชน์ของการทํากิจกรรม 5 ส. มีดังนี้

1 ทําให้สถานที่ทํางานสะอาดและมีระเบียบมากขึ้น

2 ทําให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3 ทุกคนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานสามารถเห็นการปรับปรุงได้ชัดเจน

4 ปลูกฝังให้พนักงานมีระเบียบวินัย

5 ทุกคนมีความภาคภูมิใจในความเป็นระเบียบเรียบร้อย

6 ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงเรื่องอื่น ๆ ด้วย

7 เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน

8 ช่วยในการบํารุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ

9 ทําให้ภาพพจน์ของหน่วยงานดีขึ้น

 

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้ตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 ระบบประกันคุณภาพการศึกษามีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย ปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้สถาบันการศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษามีหลักการอย่างไร และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบใดบ้าง

แนวคําตอบ

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2 ระบบ คือ

1 ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินการดําเนินงานของสถานศึกษา โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทํารายงานประจําปี รายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอ สภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัด และหนวยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย หน่วยงานภายนอก คือ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งจะทําการประเมิน อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี

ปัจจัยที่ทําให้สถาบันการศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การหลายประการที่ทําให้ สถาบันการศึกษาจําเป็นต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามาใช้ ซึ่งปัจจัยที่สําคัญมีดังนี้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันการศึกษา
2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันการศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันการศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัด การศึกษาของสถาบันการศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา

 

หลักการประเมินคุณภาพการศึกษา

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กําหนดหลักการประเมินคุณภาพ การศึกษาภายนอกไว้ดังนี้

1 เป็นการประเมินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อจับผิด หรือ การให้คุณให้โทษ

2 ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง (Evidence-Based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)

3 มุ่งเน้นการประเมินแบบกัลยาณมิตร

4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

5 มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมี ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานัก เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิงองค์ประกอบ ทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) กําหนด

 

ข้อ 2 คําว่ากลยุทธ์ (Strategy) กับยุทธศาสตร์แตกต่างกันหรือไม่ การบริหารเชิงกลยุทธ์มีความเป็นมาอย่างไร จงอธิบายมาแต่เพียงสังเขป และขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ น้ำหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

 

ความเป็นมาของการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืมกลยุทธ์ ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์การส่งมอบสินค้า ให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น Guick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC” โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั่นเอง

“สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยน ระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ส่วนนักวิชาการที่เขียนตําราเกี่ยวกับกลยุทธ์นั้นมีหลายท่านด้วยกัน เช่น Bracker, Chandler, Ansoff แต่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด คือ Michael E. Porter

 

ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน คือ

1 การนิยามธุรกิจ เป็นการกําหนดความหมายของธุรกิจ ได้แก่ การกําหนดภารกิจ วิสัยทัศน์ – ปรัชญา ค่านิยม และเป้าหมายขององค์การ เพื่อให้การดําเนินงานตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ เป็นการวิเคราะห์ว่าองค์การมีจุดแข็ง อะไรบ้างที่องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์ว่า องค์การมีจุดอ่อน/จุดด้อย/ข้อบกพร่องอะไรบ้างเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคขององค์การ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เป็นโอกาสให้องค์การสามารถพัฒนา/เติบโต/ขยายกิจการได้ และมีอุปสรรค/ข้อจํากัดอะไรบ้างที่อาจทําให้องค์การ ไม่สามารถทํางานได้ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

4 การนิยามประเด็นปัญหาหลักและประเด็นทางกลยุทธ์ เป็นการหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้น ในองค์การ เช่น บุคลากรมาทํางานสาย ขาดความสามัคคี ได้รับคําตําหนิจากลูกค้า เป็นต้น มาพิจารณาว่า เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาอาจจะใช้แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต้ เป็นต้น และจะต้องวิเคราะห์ต่อไปว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับใดขององค์การ เป็นปัญหาทาง \เทคนิค หรือเป็นปัญหาการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5 การระบุกลยุทธ์ทางเลือกและคัดเลือกกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละ กลยุทธ์แล้วทําการคัดเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งในการคัดเลือกกลยุทธ์อาจพิจารณาจากหลายหลักเกณฑ์ เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และความสอดคล้องกับแผนใน ระดับต่าง ๆ เป็นต้น

6 การบริหารกลยุทธ์ เป็นการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของกลยุทธ์นั้น ทั้งนี้ความสําเร็จของการบริหารกลยุทธ์ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมในการทํางานและการให้ความร่วมมือ ของบุคลากรในองค์การเป็นสําคัญ

7 การประเมินผลกลยุทธ์ เมื่อมีการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว จําเป็นต้องมีการประเมินผล กลยุทธ์นั้นว่าประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอะไรบ้างเพื่อนําผลการประเมินไปปรับปรุงต่อไป

 

ข้อ 3 เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอาทิ หลักธรรมาภิบาล การควบคุมคุณภาพ 5 ส. ไคเซ็น การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ระบบ ISO ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย (P.S.O.) การรื้อปรับระบบ และระบบซิกซ์ ซิกม่า เป็นต้น จงเลือกอธิบายมา 1 เทคนิค (ตอบที่มา นักคิด หลักการของเทคนิคนั้น ความเหมาะสมในการนํามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ)

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี – การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

– ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี ที่มาและลักษณะของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountability)

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society Organization)

 

สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ สร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็น การปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบ ความถูกต้องชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มี คุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยั่งยืน

 

ความเหมาะสมในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ

1 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบต่อประชาชน และองค์กรมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่มีผลต่อสาธารณะ หรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้นโดยไม่หลบเลี่ยงหรือ โยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานของภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บเป็นความลับ หรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมี การกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือ เว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ของรัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าการใช้ ดุลยพินิจหรือตามอําเภอใจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงานไว้ชัดทําให้การใช้ กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้บุคลากรภาครัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่าประชาชน

5 ทําให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

WordPress Ads
error: Content is protected !!