การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ตัวเลือกใดไม่ใช่วิธีการแบบวิทยาศาสตร์

(1) การอธิบายด้วยทฤษฎี

(2) การคาดเดาคําตอบล่วงหน้า

(3) การรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต

(4) แล้วแต่บริบท บางครั้งก็ใช้เหตุผล ถ้าไม่จําเป็นก็ไม่ใช้ประสาทสัมผัส

(5) ทุกข้อคือวิธีการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 3 – 5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification) เป็นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเกิดความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัย

2 การตั้งสมมุติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหา คําตอบได้

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น การสอบถามผู้รู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)

4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการนําข้อมูลมาจัดเรียงหรือพิจารณาว่าข้อมูลดิบที่ได้นั้นสามารถนํามาใช้ตอบคําถามได้หรือไม่

5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการนําคําตอบที่ค้นพบได้มากล่าวอย่างย่อ ๆ ซ้ำอีกรอบหนึ่ง

2 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยมากที่สุด

(1) การค้นหาเรื่องหนึ่งอย่างซ้ํา ๆ จนกว่าจะเจอคําตอบที่ผู้วิจัยสงสัย

(2) การค้นพบคําตอบที่ไม่มีใครเคยตอบมาก่อน

(3) การค้นหาสัจธรรมหรือความจริงแท้ของโลกใบนี้

(4) การพยายามพิสูจน์ความเชื่อที่ไม่มีใครเคยพิสูจน์ได้มาก่อน

(5) ข้อ 2 และข้อ 3 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 1 หน้า 3 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือจากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ

3 องค์ความรู้ใดใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด

(1) Behaviorism

(2) History

(3) Lavy

(4) Philosophy

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 23 ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเฉพาะเมื่อสาขาวิชารัฐศาสตร์รับเอาแนวคิดแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) ในช่วงตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

4 เมื่อได้คําตอบหลังจากกําหนดคําถามการวิจัยเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

(1) Data Collection

(2) Data Analysis

(3) Review Literature

(4) Data Synthetic

(5) Conclusion

ตอบ 3 หน้า 20 – 22 ขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question)

2 การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)

3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption / Hypothesis)

4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research)

5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Coltecting Data)

6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting)

5 เมื่อได้คําตอบหลังจากทบทวนวรรณกรรมเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป

(1) Data Collection

(2) Data Analysis

(3) Problem Statement

(4) Data Synthetic

(5) Assumption

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

 

ข้อ 6 – 12 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Data Collection

(2) Assumption

(3) Data Analysis

(4) Observation and Problem Identification

(5) Conclusion

 

6 นําข้อมูลมาจัดเรียงหรือพิจารณาว่าข้อมูลดิบที่ได้นั้นสามารถนํามาใช้ตอบคําถามได้หรือไม่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

7 เป็นการกําหนดคําตอบล่วงหน้าว่าน่าจะเป็นเช่นไร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

8 ขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

9 ขั้นตอนแรกของการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

10 การแจกแบบสอบถามจํานวน 400 ชุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

11 การค้นคว้าจากเอกสารชั้นรองในห้องสมุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

12 การนําคําตอบที่ค้นพบได้มากล่าวอย่างย่อ ๆ ซ้ําอีกรอบหนึ่ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

13 สาขาความรู้ใดมีอิทธิพลต่อรัฐศาสตร์สมัยใหม่น้อยที่สุด

(1) ชีววิทยา

(2) ปรัชญาการเมือง

(3) ฟิสิกส์

(4) จิตวิทยา

(5) วิทยาศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 29, 44, 47 แนวการวิเคราะห์หรือกรอบการวิเคราะห์ (Approach) มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่า การเข้าไปใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมากต่อการศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่ หรือ ในการทําวิจัยทางรัฐศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ทั้งในแง่ของ การแสวงหาความรู้ในแนวชีววิทยา ฟิสิกส์ และความรู้ด้านจิตวิทยา เนื่องจากกรอบการวิเคราะห์จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวกําหนดมุมมองในการทําวิจัย ซึ่งถ้าเปรียบไปแล้วแนวการวิเคราะห์ก็คือเข็มทิศหรือแผนที่ของการวิจัย

14 ปรากฏการณ์ใด ๆ ก็ตาม เกิดขึ้นจากการทํางานของระบบการเมือง แนวคิดดังกล่าวนี้ตรงกับ Approach ใด มากที่สุด

(1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Approach

(4) Development Approach

(5) Power Approach

ตอบ 3 หน้า 50 แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/ Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ ปรากฏการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นจากการทํางานของระบบการเมือง โดยได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไปทั้งหมด เช่นเดียวกัน กับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

15 Approach ใดได้รับอิทธิพลจากสาขาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ (1) Political Philosophy Approach

(2) Group Approach

(3) System Theory

(4) Development Approach

(5) Rational Choice Approach

ตอบ 5 หน้า 48 แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า Rational Choice Approach จะมีสมมุติฐานที่สําคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์ ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทําอะไรแล้วจะคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และ เสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะ ทําตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด (Maximize Utility) หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทาง จะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด (Maximin) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากวิธีคิดในทางเศรษฐศาสตร์

16 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Transitional Period มากที่สุด

(1) ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป

(2) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์

(3) ยุคที่เริ่มเปลี่ยนไปสู่การศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่

(4) เน้นการใช้เครื่องมือทางสถิติเป็นหลัก

(5) ทุกข้อไม่เกี่ยวข้องกับ Transitional Period

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 15 ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการเริ่ม กรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษา แบบเก่าคือ สถาบันนิยม ยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

17 เป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด

(1) ปรัชญาการเมือง

(2) กฎหมาย

(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

(4) พฤติกรรมของมนุษย์

(5) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 1 หน้า 9, 50, (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการ พรรณนาหรืออธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

18 “คําอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ เกี่ยวข้องกับ ตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Methodology

(2) ระเบียบวิธีวิจัย

(3) Political Theory

(4) Normative

(5) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 5 หน้า 17 ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ การวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่สามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

19 การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) Political Philosophy

(2) Normative Research

(3) Survey Research

(4) Research Proposal

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 18 – 19 การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ตัวแทนของหน่วยในการศึกษา การวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการ เกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในแต่ละปี การสํารวจสํามะโนครัว (Census) การสํารวจรายได้ เป็นต้น

20 โครงร่างของการวิจัย ที่นักวิจัยจะต้องนําเสนอก่อนที่จะเริ่มทําวิจัย

(1) Pure Research

(2) Applied Research

(3) Survey Research

(4) Research Proposal

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 65 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่ผู้วิจัยต้องจัดทําแผนในการวิจัยเพื่อให้ผู้สอนหรือกรรมการพิจารณาโครงร่างก่อนที่จะทําการวิจัย

 

ข้อ 21 – 25 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Documentary Research

(2) Dependent Variable

(3) Independent Variable

(4) Survey Research

(5) Unit of Analysis

 

21 ถ้าต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2563ด้วยวิธีการดูรายงานของทางรัฐบาลเปรียบเทียบ “การดูรายงานของรัฐบาล” ในทางการวิจัยเรียกว่าเป็นวิธีการอะไร

ตอบ 1 หน้า 18 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารโดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตํารา เอกสารการวิจัย เอกสารทางราชการ หนังสือพิมพ์ หนังสือ วารสารต่าง ๆ โบราณวัตถุ ศิลาจารึก เป็นต้น

22 มุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างของการวิจัยเช่นนี้ก็เช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนที่คน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

23 นักอ่านจารึกได้ทํางานค้นหาว่าภาษาที่เขียนในจารึกนั้นเป็นภาษาอะไร การวิจัยในลักษณะนี้คืองานวิจัยประเภทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 เป็นตัวแปรที่ผู้ศึกษาได้ทําการเปลี่ยนไปมาเพื่อจะดูผลที่ตามมา ตอบ 2 หน้า 127, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม โดยผู้ศึกษาสามารถ เปลี่ยนไปมาเพื่อจะดูผลที่ตามมามักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล, การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น

25 การสํารวจรายได้ทั่วประเทศของประชาชนในเขตจังหวัดนครปฐม การวิจัยประเภทนี้เรียกว่าอะไร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

 

ข้อ 26 – 31 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Observation

(3) Research Objective

(4) Approach

(5) Method

 

26 โดยรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลว่า “การเข้าไปใกล้ ๆ” ในทางรัฐศาสตร์เรียกแนวการวิเคราะห์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

27 การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

28 วิธีการตั้งประโยคต้องใช้คําขึ้นต้น คําว่า “เพื่อ” โดยการตั้งนั้นต้องเป็นประโยคบอกเล่า

ตอบ 3 หน้า 56 – 57 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น

29 ต้องตั้งด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร” ตอบ 1 หน้า 54 – 55 คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย มักจะตั้ง ด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร”

30 วิธีการเก็บข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 26 คําว่า Method หมายถึง วิธีการของคน ๆ หนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนํามาทําความเข้าใจหรือใช้อธิบายบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “วิธีการ”

31 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

 

ข้อ 32 – 35 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ตอบในแต่ละข้อ โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Institutional Approach

(2) Rational Choice Approach

(3) Historical Approach

(4) Political Culture

(5) Psychological Approach

 

32 ถ้าเรารู้กติกาของกีฬา เราก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้เล่นได้ไม่ยาก วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 1 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพล ของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม

33 ทัศนคติ แบบแผน หรือมุมมองทางการเมืองของคนในแต่ละสังคมนั้นแตกต่างกัน และก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 5 หน้า 47 แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นต้น

34 มนุษย์จะเลือกตัวเลือกที่ก่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด วิธีคิดดังกล่าวคล้ายกับแนวคิดของ Approach ใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

35 ถ้าอยากเข้าใจเหตุการณ์ทํารัฐประหารปี พ.ศ. 2557 จําเป็นต้องย้อนกลับไปดูการทํารัฐประหารปี พ.ศ. 2549

ตอบ 3 หน้า 49 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมุติฐานว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยง มาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับ ไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

36 คําถามที่ใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale จัดเป็นคําถามในลักษณะใด

(1) Check-list Question

(2) Multiple choice Question

(3) Multi-response Question

(4) Rank Priority Question

(5) Ranking Scale Question

ตอบ 5 หน้า 146 – 147, (คําบรรยาย) คําถามในลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale Question) จัดเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดหนึ่ง โดยแบบที่นิยมใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรวัดแบบ Likert Scale, มาตรวัดแบบ Gutman Scale, มาตรวัดแบบ Osgood Scale และมาตรวัดแบบ Thurstone Scale เป็นต้น

37 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) ประสิทธิภาพ

(2) ความเชื่อถือได้

(3) การมีความหมาย

(4) ความเป็นปรนัย

(5) ทํานายอนาคตได้อย่างแน่นอน

ตอบ 5 หน้า 152 – 157, คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)

2 ความแม่นตรง (Validity)

3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)

4 ความแม่นยํา (Precision)

5 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)

6 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)

7 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)

8 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)

38 ในการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ต้องพิจารณาในเรื่องใด

(1) ความมีเสถียรภาพ

(2) การทดแทนซึ่งกันและกันได้

(3) การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(4) ข้อ 1. และข้อ 3. ถูกเท่านั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 152 การทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความมีเสถียรภาพ (Stability)

2 การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence)

3 การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)

39 ข้อใดเป็นข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม

(1) สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

(2) ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชํานาญเป็นพิเศษ

(3) เกิดความลําเอียงหรืออคติได้ง่าย

(4) ไม่สามารถเก็บข้อมูลกับผู้ที่อ่านเขียนหนังสือไม่ได้

(5) สามารถกลับไปซักถามต่อได้

ตอบ 4 หน้า 63, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้

1 ไม่แน่ใจว่าได้ข้อมูลตรงกับความจริงหรือไม่ ถ้าเครื่องมือวัดไม่ดีพอ

2 มีลักษณะยืดหยุ่นน้อย

3 มักได้แบบสอบถามกลับคืนมาจํานวนน้อย

4 ไม่สามารถใช้กับประชากรที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้

5 ไม่สามารถกลับไปซักถามต่อได้ เป็นต้น

40 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(3) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(4) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

(5) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ

1 เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

3 เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา

4 ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

5 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

6 จะใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น

41 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 หน้า 19 – 20, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ

1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด

5 มีวิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้การสอบถามและการสัมภาษณ์ตามแนวเป็นหลัก

6 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น

42 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(3) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(4) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

(5) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 41 ประกอบ

43 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 41 ประกอบ

44 การใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ไขปัญหาและใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิดเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Approach) เป็นการใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด

45 คําตอบในหนังสือหน้าหนึ่งในแต่ละวันตลอดสัปดาห์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้อง เช่น การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560  เป็นต้น

46 สิ่งที่ทุกคนรับรู้ร่วมกันและเหมือนกันทุกๆ คน เรียกว่าอะไร

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความจริงแบบวัตถุวิสัยหรือปรนัย (Objective Truth) คือ สิ่งที่ทุกคนรับรู้ร่วมกันและเหมือนกันทุกๆ คน ส่วนความจริงแบบอัตวิสัย/จิตวิสัยหรืออัตนัย(Subjective Truth) คือ สิ่งที่รับรู้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งแฝงไปด้วยอคติและค่านิยมของแต่ละบุคคล

47 สิ่งที่ทุกคนรับรู้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรียกว่าอะไร

(1) Scientific Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับ เรื่องใดมากที่สุด

(1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูล มายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

49 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด (1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหากรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมติฐาน โดยการเลือกรูปแบบ การวิจัยต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปรการเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

50 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(2) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาวิจัย

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 5 163, (คําบรรยาย) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกําหนดหน่วยในการศึกษาหรือหน่วยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลและจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

51 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด เป็นการแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

52 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัยโดยมีวิธีการต่าง ๆ คือ การได้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการได้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การรวบรวมเอกสารหรืองานวิจัย เป็นต้น

53 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

54 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

55 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง สามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

56 การกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 122 การอธิบาย หมายถึง ความพยายามที่จะตอบคําถามว่าทําไม เช่น ทําไมคนถึงยากจน ทําไมระบบราชการถึงไม่มีประสิทธิภาพ โดยจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันซึ่งเป็นแก่นสําคัญในการศึกษารัฐศาสตร์

57 การกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัย กล่าวถึง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 122 การบรรยาย หมายถึง ความพยายามในการตอบคําถามว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหนเมื่อไร และอย่างไร ซึ่งเป็นการกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัย

58 การตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ (Exploration)เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

59 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 หน้า 140, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ มาสู่ตัวบ่งชี้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง

60 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 หน้า 124 ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชาย เพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

61 ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 2 หน้า 124 แนวคิด (Concept) หมายถึง ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี ภายใต้แนวคิดหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆ ตามแต่ละสาขาวิชา

62 คุณลักษณะที่แบ่งแยกประเภทของตัวแปร เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 4 หน้า 124 คุณค่าของตัวแปร (Attribute) หมายถึง คุณลักษณะที่แบ่งแยกประเภทของตัวแปร

63 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

(3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 17, 161 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) การวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยการวิจัยเช่นนี้ไม่ต้องการที่จะตอบคําถามประเภทว่าอะไรเป็นสาเหตุของ ปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ หรือปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด ยกตัวอย่างการวิจัยประเภทนี้ เช่น ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยว่าตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน มีการทํารัฐประหารทั้งหมดกี่ครั้งและใครเป็นหัวหน้าผู้ก่อการทํารัฐประหาร เป็นต้น

64 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย หรือทํานาย ปรากฏการณ์ ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร

(1) ทฤษฎี

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 3 หน้า 122 ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้

65 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่

(1) กรอบแนวความคิด

(2) มาตรวัด

(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์

(4) นิยามความหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

66 ข้อใดต่อไปนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) การแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(2) การแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทําหัวข้อคล้ายกัน

(3) การจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทําการศึกษา

(4) การป้องกันผู้อื่นนําไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) การเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

ตอบ 5 หน้า 70 การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการนําความรู้ที่ได้จากการศึกษามารวบรวม หรือเป็นการจัดทําแผนในการวิจัย และเขียนเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการต่อไป

 

ข้อ 67 – 72 ขอให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

(5) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

 

67 รายงานการวิจัยฉบับใดเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 71 – 75 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานโดยละเอียดมีรูปแบบเคร่งครัดส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม สมบูรณ์แบบ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย โดยเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด มักจะปรากฏประวัติผู้วิจัยและภาคผนวกโดยละเอียด

68 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 76 – 77 บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

69 รายงานการวิจัยประเภทใดที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ

ตอบ 5 หน้า 79 รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ที่ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ มักจะเขียนขึ้นในขณะที่ งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยหลักการ เหตุผลและวิธีการ และอาจจะยังไม่มีผลการวิจัยก็ได้ หรือมีผลการวิจัยแล้วแต่เป็นผลการวิจัยเบื้องต้น

70 รายงานการวิจัยประเภทใดประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

71 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 2 หน้า 76 รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยมีความยาวประมาณ 50 หน้า

72 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักเขียนขึ้นในขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัย

(1) ปกหลักจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโครงการวิจัย

(2) รายละเอียดที่ปรากฏบนปกในต้องมีความแตกต่างจากปกหลักเพื่อมิให้ซ้ำซ้อน

(3) ในกรณีของงานวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

(4) บทย่อความควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(5) สารบัญเนื้อหาและสารบัญรูปภาพไม่จําเป็นต้องแยกออกมาจากกัน

ตอบ 4 หน้า 71 ส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

1 ปกหลัก เป็นส่วนที่สําคัญที่ต้องมีโดยระบุคําว่า “รายงานการวิจัย”

2 หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก

3 หน้าอนุมัติ จะระบุถึงคําอนุมัติจากต้นสังกัด

4 บทคัดย่อภาษาไทย

5 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

6 หน้าประกาศคุณปการหรือกิตติกรรมประกาศ

7 สารบัญ

8 สารบัญตาราง (ถ้ามี)

9 สารบัญภาพ (ถ้ามี)

10 คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อที่ใช้ในการวิจัย

 

ข้อ 74 – 80 ขอให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

 

74 ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาและรวบรวมมา ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 4 หน้า 72 – 73 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้คือ

บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาวัตถุประสงค์ สมมุติฐานในการวิจัย ขอบเขต ข้อจํากัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นบทที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณกรรม เอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธี (Methodology) ที่ใช้ในการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย ประเภทการวิจัย ประชากร (Population) กลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นบทที่มีเนื้อหาเป็นการนําเสนอผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาหรือรวบรวมมา

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

75 การทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขต และข้อจํากัดของงานวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

77 หากนักศึกษาต้องการอธิบายถึงขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาควรรายงานไว้ในบทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

78 การอภิปรายผล และข้อเสนแนะจากการวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

79 หากอาจารย์ถามนักศึกษาว่า “งานวิจัยฉบับนี้มีความสําคัญอย่างไร เพราะเหตุใดนักศึกษาต้องศึกษาและใช้เวลาในการทํางานวิจัยฉบับนี้ขึ้นมา ” นักศึกษาจะให้อาจารย์ท่านนั้นไปอ่านงานวิจัยบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

80 หากนายภพธรอยากทราบว่า เพราะเหตุใดผลงานวิจัยที่คุณไปรยาได้ทํานั้น จึงได้ผลการศึกษาที่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้ที่ทําไว้ก่อนหน้านี้แล้ว นายภพธรควรศึกษาที่งานวิจัยบทใดของคุณไปรยา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

81 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อๆกันไปเรื่อยๆ เรียกว่าอะไร

(1) ขนมเปียกปูน

(2) ขนมชั้น

(3) ขนมสาลี

(4) ขนมปัง

(5) ขนมขลับ

ตอบ 2 หน้า 73 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ เรียกว่าขนมชั้น หรือคอนโดงานวิจัย

82 หากนายเอกมัยต้องการทราบว่านายหมอชิตไปทําการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาหรือไม่ นายเอกมัยต้องใช้โปรแกรมใดในการตรวจสอบผลงานของนายหมอชิต

(1) Turn it down

(2) Turn it up

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักขราบริสุทธิ์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 102 โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ใช้ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ และตรวจสอบงานเขียนเพื่อค้นหาข้อความที่อาจจะเป็นการลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น

83 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย”

(1) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai-Journal Citation Index หรือ TCI

(2) ทําหน้าที่คํานวณและรายงานค่า Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

(3) ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 4 กลุ่ม

(4) วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

(5) ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

ตอบ 3 หน้า 77 – 78 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index หรือ TCI)เป็นศูนย์ที่ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวที นานาชาติ และทําหน้าที่คํานวณและรายงานค่า Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย โดยดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งวารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

84 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

(1) บทคัดย่อที่ดีควรทําเป็นภาษาเดียวเท่านั้น

(2) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) บทคัดย่อที่ดีควรมีความยาวมากกว่า 5 หน้าขึ้นไป

(4) บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน

(5) บทคัดย่อที่ดีไม่ควรแสดงผลการศึกษาเนื่องจากผู้อ่านจะไม่อยากติดตามอ่านต่อ

ตอบ 4 หน้า 96 บทคัดย่อ (Abstract) มีลักษณะดังนี้

1 บทคัดย่อช่วยให้ผู้อ่านทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมดโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด

2 บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน

3 บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4 ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

85 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

(1) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

(2) ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ (3) ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

(4) ต้องไม่ปรากฏรูปภาพหรือตารางใดๆในบทสรุปผู้บริหาร

(5) ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร ตอบ 4 หน้า 98 การเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหารมีข้อควรระวังอยู่ 4 ประการ

1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

2 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จําเป็นได้

3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร 4 ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4และถ้าเป็นบทสรุปเพื่อสื่อมวลชนไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 2 หน้ากระดาษ A4

86 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย

(1) ความถูกต้อง

(2) ความกํากวมระมัดระวัง

(3) การอ้างอิง

(4) ถ้อยคําสุภาพ

(5) ความตรงประเด็น

ตอบ 2 หน้า 100 เทคนิคในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้

1 การจัดรูปแบบ

2 ความเป็นเอกภาพ

3 ความถูกต้อง

4 ความแจ่มแจ้งชัดเจน

5 ความตรงประเด็น

6 ความสํารวมระมัดระวัง

7 ถ้อยคําสุภาพ

8 การอ้างอิง

87 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ควรปรากฏอยู่ในการนําเสนอผลงานวิจัยด้านโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง (Title)

(2) ภาคผนวก (Annex)

(3) บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)

(4) วิธีดําเนินการวิจัย (Research Method)

(5) ผลการวิจัย (Research Results)

ตอบ 2 หน้า 104 องค์ประกอบของการนําเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ มักประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้

1 ชื่อเรื่อง (Title)

2 บทคัดย่อ (Summary)

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)

4 วิธีดําเนินการวิจัย (Research Methods)

5 ผลการวิจัย (Research Results)

88 คําใดต่อไปนี้หมายถึง “การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา”

(1) Oral presentation

(2) Mouth presentation

(3) Speaking presentation

(4) Talking presentation

(5) Poster presentation

ตอบ 1 หน้า 105 การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นการรายงานข้อค้นพบจากการวิจัยและข้อเสนอแนะด้วยวาจา ต่อที่ประชุม และนําเสนอโดยไม่มีรูปแบบที่เคร่งครัด ความยาวไม่มากเกินไป ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะเตรียมตัวนําเสนอเฉพาะช่วงที่นําเสนอเท่านั้น เพื่อความสมจริง อาจจะนําเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้

 

ข้อ 89 – 90 ขอให้นักศึกษาใข้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ ตอบคําถาม

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) งานวิจัยเชิงวัฒนธรรม

 

89 อาจารย์แจ๊สต้องการทราบว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ งานวิจัยของอาจารย์แจ๊สจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 110 – 111 งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาของรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน,แนวทางในการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

90 ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษต้องการให้มีนักวิจัยถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากันเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้คนในพื้นที่และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น งานวิจัยดังกล่าว จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 113 งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เช่น การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ำในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น

91 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด

(1) ทฤษฎี

(2) นิยามปฏิบัติการ

(3) ตัวแปร

(4) ดัชนีชี้วัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 115 สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัด ก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ

92 เพศเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 145 Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึกษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่ม เดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ชื่อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น

93 อายุเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 146 Patio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการ แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ำหนัก ความสูง เงินเดือน รายได้ เป็นต้น

94 การศึกษาเป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 146 Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอก ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น

95 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 189 สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

96 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบคนความพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 129 สถิติ F-Test หรือ Oneway ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมือน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบ โค้งปกติ

97 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 190 สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของความสัมพันธ์เท่านั้น

98 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด

(1) Nominal scale

(2) Ordinal scale

(3) Interval scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 146, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรต่าง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี

99 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 3 หน้า 152 153 เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้

1 เทคนิคการทดสอบ (Test-Retest)

2 เทคนิคการทดสอบแบบแบ่งครึ่ง (Split-Half)

3 เทคนิคการทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form)

4 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)

100 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 2 หน้า 156 Zeller & Cammines จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัดออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)

3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)

Advertisement