การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 1 – 5

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti-Positivism

(5) Rational Approach

 

1 การเริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์เรียกว่าการแสวงหาความรู้แบบใด

ตอบ 1 หน้า 92 เหตุผลเชิงอุปมาน (Inductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ศึกษา และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เป็นการหาจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น

2 วิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์ทั่วไปและนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เรียกว่าอะไร

ตอบ 2 หน้า 92 เหตุผลเชิงอนุมาน (Deductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงทั่วไป และนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เป็นการหาจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นต้น

3 ความเชื่อที่ว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 92 ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

4 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อยู่ภายใต้แนวคิดใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) อัตภาระนิยม ภายใต้แนวคิดของกลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม (Anti-Positivism) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นความจริงอัตวิสัย (Subjective Truth)

5 การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติ โดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 57 (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) คือ การเข้าใจกฎต่าง ๆ ของธรรมชาติ โดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 6 – 10

(1) Institutionalism

(2) Phenomenology

(3) Ethnomethodology

(4) Symbolic Interactionism

(5) Empirical Approach

 

6 แนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่

1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herman Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government

2 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government : A Study in American Politics เป็นต้น

7 แนวคิดที่เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีจิตสํานึกที่จะรู้สึกนึกคิด เป็นตัวกําหนดประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีจิตสํานึกที่จะรู้สึกนึกคิด เป็นตัวกําหนดประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ไม่ควรเชื่อจากคําพรรณนาของสื่อมวลชนแต่ให้แสวงหาข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้น

8 แนวคิดที่เชื่อว่า การให้ความหมายต่อโลกแห่งชีวิตประจําวัน ในแต่ละสังคมมีความเชื่อต่อกันอย่างไร เป็นการศึกษาให้เข้าใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์มีต่อกันภายใต้สังคมใดสังคมหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomethodology) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยการให้ความหมายต่อโลกแห่งชีวิตประจําวัน ในแต่ละสังคมมีความเชื่อต่อกันอย่างไร ปฏิบัติต่อกันอย่างไร และเป็นการศึกษาให้เข้าใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์มีต่อกันภายใต้สังคมใดสังคมหนึ่ง

9 แนวคิดที่เชื่อว่า มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของความหมายที่เขาให้แก่สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ปฏิสัมพันธ์นิยม (Symbolic Interactionism) เชื่อว่า มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของความหมายที่เขาให้แก่สิ่งนั้น ซึ่งจะมีกระบวนการให้ความหมายและตีความหมายแก่สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านสัญลักษณ์ และเกิดขึ้นในบริบทของสังคม

10 ความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แนวทางเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนํามาพิสูจน์ความเชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้นั้นถูกต้อง เช่น การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560เป็นต้น

11 การใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Scientific Approach

(2) Normative Approach

(3) Rational Approach

(4) Objective Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Approach) เป็นการใช้ตรรกะหรือแนวทางในความเป็นเหตุและผลที่กําหนดวิธีการในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิด

12 การนับจํานวนคําว่า “ประชาธิปไตย” ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในประเทศไทยตลอดปี พ.ศ. 2560 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Normative Approach

(2) Empirical Approach

(3) Rational Approach

(4) Phenomenological Truth

(5) Subjective Truth

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

13 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด เป็นการแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

14 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัยโดยมีวิธีการต่าง ๆ คือ การได้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถามและการได้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การรวบรวมเอกสารหรืองานวิจัย เป็นต้น

15 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 16 – 20

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

 

16 การกําหนดหัวเรื่องที่ต้องการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย เป็นการกําหนดหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาหรือวิจัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาหรือวิจัย และจะมีผลต่อกระบวนการวิจัยลําดับต่อไป

17 การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้ได้คําตอบของปัญหาการวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อให้ได้คําตอบของปัญหาการวิจัย ซึ่งอาจจะประมวลจากเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย และเอกสารทางราชการอื่น ๆ

18 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูลมายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

19 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหา กรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมุติฐาน โดยการเลือกรูปแบบการวิจัย ต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปร การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

20 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกําหนดหน่วยในการศึกษาหรือหนวยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล อาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่ แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

21 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) การจัดทําโครงร่างการวิจัยหรือการเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal) เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่ผู้วิจัยต้องจัดทําแผนในการวิจัยเพื่อให้ผู้สอนหรือกรรมการพิจารณาโครงร่างก่อนที่จะดําเนินการทําวิจัยจริง

22 การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การตั้งคําถามการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 181 การเขียนรายงานการวิจัย ถือเป็นสิ่งสําคัญในทุกขั้นตอนของการทําวิจัย เพื่อเป็นหลักฐานการวิจัยและนําไปเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

23 ความสนใจของผู้วิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) เพื่อบรรยาย

(3) เพื่ออธิบาย

(4) เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) เพื่อตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ (Exploration) เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

24 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง สามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 95 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อทํานายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Predictable) เป็นการนําผลการศึกษาเพื่อทํานายอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยผลการศึกษาจะต้องมาจากวิธีการอธิบาย เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีและผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง

25 ความหมายของการวิจัยสมัยใหม่อาจจะเทียบได้กับสิ่งใดในพระธรรมปิฎก

(1) เหตุผล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) ความจริง

(5) ทักษะ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึง “การวิจัย” ไว้ว่า เป็นคําที่ใช้ในความหมายสมัยใหม่ในวงวิชาการ เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งอาจเทียบได้กับภาษาบาลีว่า “ปัญญา”เพราะการวิจัยนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของการใช้ปัญญา ทําให้เกิดปัญญาหรือทําให้ปัญญาพัฒนาขึ้น

26 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อทํานาย

(4) เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(5) ทุกข้อเป็นเป้าหมายการวิจัย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นงลักษณ์ วิรัชชัย ได้กําหนดเป้าหมายที่สําคัญของการวิจัย คือ เพื่อบรรยายเพื่ออธิบาย เพื่อทํานาย และเพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ อันจะช่วยพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น

27 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง การศึกษาในลักษณะ ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย (Explanation) เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใดเป็นสาเหตุให้เกิดผล ตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบบระชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

28 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

(4) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

(5) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 80, 91 ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ

1 เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

3 เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา

4 ซึ่งปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

5 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์เงผู้จับเป็นต้น

29 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยมือทางสถิติ

(4) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

(5) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 90 – 91 ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ

1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ

2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด

5 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

32 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ มาสู่ตัวบ่งชี้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง

33 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 หน้า 108 ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชายเพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

34 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

35 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปทัสถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฏ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง

36 Predictable คืออะไร

(1) การทํานายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น

(2) หยั่งรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ว่าดํารงอยู่อย่างไร

(3) การให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ

(4) การอธิบายถึงรายละเอียดของปรากฏการณ์

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

37 Non-Value Free เกี่ยวข้องกับข้อใดที่สุด

(1) ห้ามใช้อคติเข้ามาศึกษา

(2) ห้ามใช้ทัศนคติตัดสินสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง

(3) การศึกษาต้องเป็นแบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น

(4) การเมืองเป็นสิ่งแยกไม่ออกจากการใช้ความรู้สึก ความเชื่อ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) การศึกษาที่ได้แยกคุณค่าออกจากสิ่งที่ศึกษา (Non-Value Free) เป็นรูปแบบศึกษาที่ผู้ศึกษาจะคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองด้วยตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงทําให้การเมืองเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากการใช้ความรู้สึก ความเชื่อ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา

38 ในช่วงเวลาใดต่อไปนี้ถือได้ว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) มากที่สุด

(1) ค.ศ. 1800 – 1810

(2) ค.ศ. 1850 – 1860

(3) ค.ศ. 1890 – 1900

(4) ค.ศ. 1901 – 1910

(5) ค.ศ. 1950 – 1960

ตอบ 5 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็น แบบ “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) มากที่สุด โดยนักรัฐศาสตร์ในยุคนี้มองว่า การศึกษาการเมือง จําต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ กล่าวคือ การศึกษาการเมืองไม่ควรเป็นไปในลักษณะเดิมคือ ศึกษาโครงสร้างและสถาบัน หรือศึกษาในเชิงปรัชญาการเมืองอีกต่อไป ตัวอย่าง ของแนวทางการศึกษาแบบนี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น

39 ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในทางการศึกษารัฐศาสตร์ถือว่าเป็นยุคใด

(1) Pre-Behavioral Period

(2) Political Philosophy Period

(3) Institutional Period

(4) Post-Behavioral Period

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 52 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคนี้ถือเป็นยุคแห่ง การกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายามครอบงําของ พวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมา ได้รับความสนใจและทําการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่ายุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

40 จากตัวเลือกดังต่อไปนี้ ช่วงเวลาใดที่การศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมา จากการศึกษาการเมืองแบบอเมริกันมากที่สุด

(1) ช่วงสิบปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

(2) ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กับสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) รัฐศาสตร์ในประเทศไทยไม่เคยได้รับอิทธิพลจากการศึกษาการเมืองแบบอเมริกัน (5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 22, (คําบรรยาย) ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2490 รัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากการศึกษาการเมืองแบอเมริกันมากที่สุด นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดจนได้รับ เงินช่วยเหลือสนับสนุนทางการศึกษาจากอเมริกาเป็นจํานวนมาก ทั้งในด้านของการให้ทุนการศึกษา ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา และการส่งผู้เชี่ยวชาญอาจารย์จากอเมริกามาสอนที่คณะรัฐศาสตร์ใน ประเทศไทย

41 Institutional Approach เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องอะไรต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เน้นเรื่องการทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง ใช้เครื่องมือทางสถิติ

(2) กฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง

(3) เน้นหนักในด้านปฏิกิริยาทางการเมือง และการศึกษาถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติในทางการเมือง

(4) อธิบายปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

42 “การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ” ข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Epistemology

(2) Philosophy

(3) Ethics

(4) Research

(5) Economics

ตอบ 4 หน้า 25, 31 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ

43 “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Methodology

(2) Epistemology

(3) Phenomenology

(4) Philosophy

(5) Positivism

ตอบ 1 หน้า 26 Methodology หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัยตลอดจนจะเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การวิจัยในแต่ละแบบซึ่งในภาษาไทยมักจะมีคนแปลว่า “ระเบียบวิธีวิจัย” นั่นเอง

44 Approach ใดต่อไปนี้เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุค Classic

(1) Institutional Approach

(2) Behaviorism

(3) Communication Approach

(4) Developmental Approach

(5) Political Philosophical Approach

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) ยุคคลาสสิค (Classical Period) เป็นยุคแรกเริ่มของการศึกษาการเมืองไม่มีการแยกสาขาของความรู้ โดยถือกําเนิดจากยุคกรีกซึ่งเกิดจากคําถามพื้นฐานของมนุษย์กับรัฐ และผู้มีอํานาจ เช่น ผู้นําที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่งความเป็น สากลของคําถามพื้นฐานเหล่านี้สามารถตั้งคําถามชุดเดียวกันโดยไม่จํากัดกรอบเวลาหรือวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีคําตอบได้หลากหลาย ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมีลักษณะเป็นแนวการวิเคราะห์เชิงปรัชญาการเมือง (Political Philosophical Approach)

45 ตัวเลือกใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายของการวิจัย

(1) เป็นการต้องการค้นหาคําตอบที่สงสัย

(2) ต้องเชื่อถือได้ และใช้วิธีการแบบ Positivism เท่านั้น

(3) อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(4) บรรยายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(5) ข้อ 1 และ 2 กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 52 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Positivism

(2) Post-Behavioral Period

(3) Transitional Period

(4) Classical Period

(5) Institutional Period

 

46 การก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association – APSA) ในปี 1908เกิดขึ้นในยุคใด

ตอบ 3 หน้า 16 – 17 ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association – APSA) ในปี 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถ สะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการเริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษาแบบเก่าคือ สถาบันนิยมยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

47 เป็นยุคที่นักรัฐศาสตร์อเมริกันเริ่มมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ 49 นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปในยุคนี้จะมองว่า การศึกษาการเมืองจําต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้กล่าวคือ การศึกษาการเมืองไม่ควรเป็นไปในลักษณะเดิมคือ ศึกษาโครงสร้างและสถาบัน หรือศึกษาในเชิง ปรัชญาการเมืองอีกต่อไป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

50 วิธีการศึกษาแบบเก่าคือ สถาบันนิยม ยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

51 เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

52 ตัวอย่างของแนวทางการศึกษาแบบนี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

53 ก่อนปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์ในลักษณะใด

(1) การศึกษาโดยได้รับอิทธิพลจากอเมริกันเต็มที่

(2) มีการศึกษาหาความรู้ทางการเมืองในประเทศไทย

(3) มีการศึกษาโดยใช้วิธีการทางสถิติผสมกับการศึกษาแบบปรัชญาการเมือง

(4) มีการสอนในเรื่องโครงสร้างของรัฐและรูปแบบการปกครองรัฐ

(5) ศึกษาแบบปรัชญาการเมืองเท่านั้น

ตอบ 4 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) ก่อนปี พ.ศ. 2490 การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนั้นพบว่ายังไม่มีการศึกษาหาความรู้ทางการเมือง หรือสอนวิชาเพื่อทําความเข้าใจการเมืองแต่อย่างใด มีเพียงผลิตข้าราชการแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นตามเจตนารมณ์ของคณะราษฎร โดยวิชาที่สอนจะเน้นในเรื่องโครงสร้างของรัฐ รูปแบบการปกครองรัฐสิทธิหน้าที่พลเมือง เป็นต้น

54 “การสรุปผลข้อมูล” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Approach

(2) Method

(3) Conclusion

(4) Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 10 การสรุปผล Conclusion) เป็นการสรุปผลข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูล โดยอาจจะสรุปว่าสมมุติฐานที่ตั้งมานั้นถูกหรือผิด หรือผลของการทดลองหรือผลจากการเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร

55 ลักษณะใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์

(1) Reliability

(2) Objective

(3) Verify

(4) Predictive

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 8 ลักษณะของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ คือ การเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถทําซ้ำได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value Free) และมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) การอธิบาย (Explanation) และการทํานาย(Predictive)

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Experimental Research

(2) Pure Research

(3) Analytical Research

(4) Documentary Research

(5) Quantitative Research

 

56 บางครั้งการวิจัยก็มีไว้เพื่อตอบคําถาม ไม่ได้มีไว้เพื่อการพัฒนาต่อยอดหรือใช้ในเชิงพาณิชย์เสมอไป

ตอบ 2 หน้า 26, (คําบรรยาย การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งพบว่าบางครั้งการวิจัยก็มีไว้เพื่อตอบคําถาม ไม่ได้มีไว้เพื่อการพัฒนาต่อยอดหรือใช้ในเชิงพาณิชย์เสมอไป

57 เป็นการวิจัยที่แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยจะทําการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อหาตัวแปรหรือปัจจัยตั้งต้น และเพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่าง ตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนําไปใช้มากในทางศึกษาศาสตร์

58 ใช้เครื่องมือทางสถิติมาศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง

ตอบ 5 หน้า 28 – 29, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลที่วัดได้เป็นตัวเลข และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรนั้น ๆ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ มาศึกษาปรากฏการณ์ เช่น ระดับรายได้ ระดับการศึกษา และอัตราการอ่านออกเขียนได้ของ ประชาชน มีผลต่อการที่ประเทศหนึ่ง ๆ มีระดับของความเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยแค่ไหน โดยคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

59 การศึกษาคําปราศรัยของนายกรัฐมนตรีผ่านคลิป YouTube ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 วิธีการดังกล่าวเป็นการวิจัยผ่านวิธีการ

ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่ใช้ข้อมูลหลักมาจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เช่น หนังสือพิมพ์เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube เป็นต้น

60 เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายว่าทําไมปรากฏการณ์ทางการเมืองจึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร

ตอบ 3 หน้า 27 การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้จะมุ่งอธิบายว่าทําไมปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น

 

ตั้งแต่ข้อ 61- 66 จงเลือกคําตอบต่อใบนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Review Literature

(2) Designing Research

(3) Data Analysis

(4) Collecting Data

(5) Hypothesis

 

61 ผู้วิจัยจําเป็นจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา

ตอบ 5 หน้า 30, (คําบรรยาย) การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดเดาคําตอบไว้ล่วงหน้าก่อนการลงมือค้นหาคําตอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา ซึ่งคําตอบล่วงหน้าหรือ สมมุติฐานนี้อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยคาดว่าการถ่ายท้องอย่างรุนแรงของชาวเมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษน่าจะมาจากการบริโภคน้ําไม่สะอาด เป็นต้น

62 เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ

ตอบ 4 หน้า 30 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เมื่อได้ออกแบบการวิจัยเรียบร้อยแล้วและโครงร่างได้รับการอนุมัติ ผู้วิจัยก็จะทําตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้โดยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนํามาวิเคราะห์เพื่อหาคําตอบ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคําตอบ

63 ก่อนการลงมือค้นหาคําตอบ นักวิจัยคาดว่าการถ่ายท้องอย่างรุนแรงของชาวเมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษน่าจะมาจากการบริโภคน้ําไม่สะอาด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 เมื่อทําการเก็บข้อมูลมาอย่างเพียงพอจนคิดว่าครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยก็จะนําข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ระหว่างกันว่า ในข้อมูลที่นักวิจัยได้อะไรคือสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์

ตอบ 3 หน้า 31 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เมื่อทําการเก็บข้อมูลมาอย่างเพียงพอจนคิดว่าครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยก็จะนําข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ระหว่างกันว่า ในข้อมูลที่นักวิจัยได้อะไร คือสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ หรือในทางปริมาณก็อาจจะนําข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทว่าอะไรเป็นตัวแปรตั้งต้น และอะไรเป็นตัวแปรตาม

65 การพิจารณาว่างานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตัวเองสงสัยนั้นในช่วงเวลาก่อนหน้า มีใครเคยศึกษาไว้บ้าง

ตอบ 1 หน้า 29 การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) เป็นการศึกษาถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่เคยมาในอดีต ว่าเคยมีการศึกษาเรื่องที่เราสงสัยไว้แล้วหรือไม่ เพราะบางครั้งในอดีตอาจจะมีคน ที่สงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับเรา

66 เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยพิจารณาเพื่อเลือกเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนําไปเก็บข้อมูล

ตอบ 2 หน้า 30 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการในการที่จะเก็บข้อมูล หรือเลือกเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนําไปเก็บข้อมูล เช่น การใช้วิธีการ สัมภาษณ์ การเก็บแบบสอบถาม เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 67 – 69 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) August Comte

(2) Sir Isaac Newton

(3) Vienna Circle

(4) Johannes Kepler

(5) Galileo Galilei

 

67 The Starry Messenger เป็นหนังสือที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเกิด Modern Science ซึ่งงานชิ้นดังกล่าวใครเป็นคนแต่ง

ตอบ 5 หน้า 33 – 30, (คําบรรยาย) กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นผู้แต่งหนังสือ The Starry Messenger ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1610 ซึ่งเป็นหนังสือที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเกิดวิธีการแสวงหา ความรู้แบบสมัยใหม่ (Modern Science)

68 ใครเป็นคนเขียน Mathematical Principles of Natural Philosophy ตีพิมพ์ ค.ศ. 1687 ที่งานดังกล่าวเป็นการพยายามอธิบายว่าทําไมดวงดาวในจักรวาลจึงเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมเช่นเดียวกันกับการเดินของนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรง

ตอบ 2 หน้า 34, (คําบรรยาย) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) เป็นผู้แต่งหนังสือ Mathematical Principles of Natural Philosophy ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1687 ซึ่งเป็นการพยายามอธิบายว่าทําไมดวงดาวในจักรวาลจึงเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมเช่นเดียวกันกับการเดินของนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรง

69 เป็นกลุ่มในศตวรรษที่ 20 ที่เชื่อมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวของศาสตร์ และปรัชญาความรู้แบบประจักษ์นิยม (Empiricism or Phenomenalism) ในฐานะที่ประสาทสัมผัสเป็นจุดเริ่มต้นและที่มาของความรู้ ตอบ 3 หน้า 33, 39 กลุ่มนักวิชาการเวียนนา (Vienna Circle) เป็นกลุ่มนักคิดในยุคศตวรรษที่ 20 ที่เชื่อมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวของศาสตร์ และปรัชญาความรู้แบบประจักษ์นิยม (Empiricism or Phenomenalism) ในฐานะที่ประสาทสัมผัสเป็นจุดเริ่มต้นและที่มาของความรู้

 

ตั้งแต่ข้อ 70 – 75 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถามมากที่สุด

(1) Psychological Approach

(2) System Approach/Functional Approach

(3) Institutional Approach

(4) Historical Approach

(5) Rational Choice Approach

 

70 โครงสร้างทางการเมืองเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

71 งานของ Herman Finer ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government สามารถจัดเป็น Approach ใด ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

72 “ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคม หรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไป ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้” ข้อความดังกล่าวนี้เป็นสมมุติฐานของ Approach ใด ตอบ 2 หน้า 59 สมมุติฐานของแนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ โดยได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคม หรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะหนึ่งทํางานผิดพลาด ร่างกายก็จะรวนไปทั้งหมด เช่นเดียวกันกับสังคม อันประกอบไปด้วยกลไกทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นต่อการรักษาระบบให้ทํางานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

73 “ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อน หน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน” ข้อความดังกล่าวนี้เป็นสมมุติฐานของ Approach ใด

ตอบ 4 หน้า 58 สมมุติฐานของแนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) เชื่อว่าปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดู วิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

74 Anthony Downs ผู้เขียนงานเรื่อง An Economic Theory of Democracy, James M. Buchanan และ Gordon Tullock เจ้าของงานเรื่อง The Calculus of Consent และ Mancur Olson เจ้าของผลงานเรื่อง The logic of Collective Action งานเหล่านี้เป็นตัวแบบการศึกษา Approach ใด

ตอบ 5 หน้า 57 – 58, (คําบรรยาย) นักรัฐศาสตร์ในแนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล(Rational Approach หรือ Rational Choice Approach) ได้แก่

1 แอนโทนี ดาวน์ส (Anthony Downs) ผู้เขียนงานเรื่อง An Economic Theory of Democracy

2 เจมส์ เอ็ม. บูแคนัน (James M. Buchanan) และ กอร์ดอน ทัสลอค (Gordon Tullock) ผู้เขียนงานเรื่อง The Calculus of Consent

3 แมนเคอร์ โอลสัน (Mancur Olson) ผู้เขียนงานเรื่อง The logic of Collective Action เป็นต้น

75 งานเรื่อง Power and Personality ของ Harold Dwight Lasswell เป็นตัวอย่างการศึกษาใน Approach ใด

ตอบ 1 หน้า 56 – 57, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) เชื่อว่าสาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก  ซึ่งไม่เว้นแม้แต่พฤติกรรมทางการเมืองของคนในรัฐด้วย นักรัฐศาสตร์ในแนวการวิเคราะห์เชิง จิตวิทยา ได้แก่ แฮโรลด์ ดไวท์ ลาสเวลล์ (Harold Dwight Lasswell) ผู้เขียนงานเรื่อง Power : and Personality และ Psychopathology and Politics เป็นต้น

76 ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงการนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา

(1) Speaking Proposal

(2) Oral Presentation

(3) Oral Proposal

(4) Mouth Presentation

(5) Chart Presentation

ตอบ 2 หน้า 215, (คําบรรยาย) การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้วิจัยที่มีรายชื่อในเวทีมีการนําเสนอ ด้วยวาจาเสร็จแล้ว ผลงานของผู้นําเสนอจะถูกนํามาตีพิมพ์ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ที่ เรียกว่า “Proceedings” แต่หากไม่ได้ขึ้นเวที่นําเสนอ ก็จะถูกคัดออกและไม่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับดังกล่าว

77 เมื่อมีการนําเสนอด้วยวาจาเสร็จเเล้ว ผลงานวิจัยของผู้นําเสนอจะถูกนํามาตีพิมพ์ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ รายงานการประชุมฉบับดังกล่าวเรียกว่าอะไร

(1) Article

(2) Research Proposal

(3) Proceed

(4) Proceedings

(5) Progress Report

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 การนําเสนอด้วยวาจา โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเท่าใด

(1) 3 – 5 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 60 นาที

(4) 60 นาทีขึ้นไป

(5) ไม่มีข้อกําหนดที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับผู้นําเสนอเป็นหลัก

ตอบ 2 หน้า 215 การนําเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจําเป็นต้องเตรียมสไลด์สําหรับการนําเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลําดับความคิดและเนื้อหาสําหรับผู้นําเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักจะถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

79 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักในการจัดทําสไลด์สําหรับการนําเสนอผลงานด้วยวาจา

(1) การใช้ลูกเล่นให้มากที่สุดเพื่อดึงดูดผู้ชม

(2) การกําหนดเนื้อหาที่ไม่แน่นจนเกินไป

(3) จํานวนที่เหมาะสมกับช่วงเวลา

(4) การคํานึงถึงลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง

(5) ทุกข้อข้างต้นมีความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 215 216 หลักในการจัดทําสไลด์สําหรับการนําเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่

1 การเลือกโครงร่าง (Template) ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม

2 การใช้ลูกเล่นสไลต์อย่างเหมาะสม

3 การกําหนดเนื้อหา และการจัดวางสไลด์ที่ไม่แนนจนเกินไป

4 การออกแบบสไลด์ให้มีจํานวนที่เหมาะสมกับช่วงเวลา

5 การคํานึงถึงลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง เป็นต้น

80 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การฝึกฝนของวิจัยที่เหมาะสมในช่วงก่อนนําเสนอด้วยวาจา

(1) การฝึกจับเวลาในการนําเสนอเพื่อนําเสนอได้ครบถ้วนตามเวลา

(2) การฝึกฝนท่าทางในการนําเสนอเพื่อเพิ่มความราบรื่นในการนําเสนอ

(3) การฝึกตอบคําถามผู้เข้าฟังเพื่อให้มีความพร้อมและตรงประเด็นมากที่สุด

(4) การเตรียมตัวคาดเดาคําวิจารณ์จากผู้วิพากษ์เพื่อเตรียมตัวป้องกัน

(5) การเตรียมตัวแนะนําด้านสถานที่และที่ตั้งต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าฟัง

ตอบ 5 หน้า 216, (คําบรรยาย) การฝึกฝนของผู้วิจัยที่เหมาะสมในช่วงก่อนนําเสนอด้วยวาจา ได้แก่

1 การฝึกจับเวลาในการนําเสนอเพื่อนําเสนอได้ครบถ้วนตามเวลา

2 การฝึกฝนท่าทางในการนําเสนอเพื่อเพิ่มความราบรื่นในการนําเสนอ

3 การฝึกตอบคําถามผู้เข้าฟังเพื่อให้มีความพร้อมและตรงประเด็นมากที่สุด

4 การเตรียมตัวคาดเดาคําวิจารณ์จากผู้วิพากษ์เพื่อเตรียมตัวป้องกัน เป็นต้น

81 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของการนําเสนอด้วยโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) ผลการวิจัย

(4) วิธีดําเนินการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งถัดไป

ตอบ 5 หน้า 214 องค์ประกอบของการนําเสนอผลงานการวิจัยด้วยโปสเตอร์ ประกอบด้วย

1 ชื่อเรื่อง

2 บทคัดย่อ

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4 วิธีดําเนินการวิจัย

5 ผลการวิจัย

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 82 – 85

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

 

82 นางสาววีร์ยาพบว่า เธอมีข้อค้นพบและคําอธิบายใหม่เกี่ยวกับคําอธิบายบทบาทของ “นายหนังตะลุง” ซึ่งแตกต่างออกไปจากงานศึกษาที่มีผู้เคยศึกษาไว้แล้ว เธอจึงเขียนรายงานการวิจัยเพื่อนําเสนอคําอธิบายใหม่ ของเธอในวงวิชาการ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 218, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือ เครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น ข้อค้นพบและคําอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาทของ “นายหนังตะลุง”, มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท เป็นต้น

83 คุณตาคําไผ่พบว่า ในจังหวัดสมุทรสงครามเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำมาโดยตลอด ในช่วงหน้าแล้ง น้ำมีปริมาณไม่พอต่อการบริโภค ในขณะที่หน้าฝน เกิดปรากฏการณ์น้ําท่วมมาโดยตลอด คุณตาคําไผ่จึง ต้องการให้มีการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ําในจังหวัดสมุทรสงครามระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเขียนขึ้นมาเป็นวิจัยเพื่อเผยแพร่ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไข ปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ําในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น

84 นางโสภณมีสวนยางที่บ้านจํานวน 100 ไร่ แต่เธอพบว่าในช่วงที่ผ่านมายางพารามีราคาตกต่ำ เธอจึงต้องการ ” เพิ่มมูลค่าของยางพารา ด้วยการศึกษายุทธวิธีการค้าแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำจากบริษัทเครือเจริญ โภคภัณฑ์ ในที่สุดเธอได้เขียนรายงานการวิจัยออกมา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 220, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนหรือการลงทุนเป็นหลัก โดยผู้วิจัยสามารถสํารวจความต้องการของภาคการผลิต ต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เช่น การเพิ่มมูลค่าของยางพาราด้วยการศึกษายุทธวิธีการค้าแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำจากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น

85 เด็กชายลาบและเด็กชายลามี ได้ขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อไปเรียนหนังสือทุกวัน พวกเขาพบว่ารถไฟฟ้ามักมีปัญหาในช่วงเวลาเร่งด่วน (rush hour) ในขณะที่ช่วงเวลากลางวันมักไม่เกิดปัญหา ทั้งสองจึงพูดคุยว่า หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องควรเร่งส่งคณะผู้วิจัยมาศึกษาว่า ปัญหาของรถไฟฟ้าคืออะไรเพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและ การผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 219, (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบาย ไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ตัวอย่างของงานวิจัยนี้เช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาของรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน, แนวทางในการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

86 ข้อใดเรียงลําดับการนําเสนอบทคัดย่อ (Abstract) ได้อย่างเหมาะสม

(1) ปัญหาของการวิจัย >  วัตถุประสงค์ >  วิธีการวิจัย > ผลการวิจัย

(2) ผลการวิจัย >  วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ปัญหาของการวิจัย

(3) วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ผลการวิจัย > ปัญหาของการวิจัย

(4) วิธีการวิจัย >  วัตถุประสงค์ > ปัญหาของการวิจัย >  ผลการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 205 206, (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) ที่ดีควรประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ

1 ปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2 วิธีการในการดําเนินการวิจัย

3 ผลของการวิจัย การค้นพบและข้อเสนอแนะ จากตัวเลือกที่โจทย์ให้มา จะเห็นว่าการเรียงลําดับการนําเสนอบทคัดย่อที่เหมาะสม ก็คือ

ปัญหาของการวิจัย >  วัตถุประสงค์ >  วิธีการวิจัย >  ผลการวิจัย

87 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อควรระวังในการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

(1) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าว

(2) ไม่ระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่อง

(3) แสดงรายชื่อเอกสารอ้างอิงเพื่อให้ผู้บริหารสามารถค้นคว้าได้

(4) แสดงรูปภาพและตารางเท่าที่จําเป็นได้

(5) มีความยาวระหว่าง-3 – 5 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 208 ข้อควรระวังในการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร คือ

1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

2 ต้องไม่แสดงบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

3 อาจแสดงรูปภาพและตารางเท่าที่จําเป็นได้

4 มีความยาวระหว่าง 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

88 คําว่า “กิตติกรรมประกาศ” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) Curriculum Vitae

(2) Interim Report

(3) Management

(4) Knowledge

(5) Acknowledgement

ตอบ 5 หน้า 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ กล่าวขอบคุณผู้เชี่ยวชาญที่ให้ คําแนะนําผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ และชี้ให้เห็นถึงชื่อของหน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

89 ข้อใดคือตัวแสดงหลักที่ไม่จําเป็นต้องปรากฏอยู่ในกิตติกรรมประกาศ

(1) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา

(2) ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการทําวิจัย

(4) ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ

(5) ผู้ให้ทุนวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

90 คําว่า “ความเป็นเอกภาพ” ในการเขียนรายงานการวิจัย สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

(1) การมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับผู้รู้

(2) การมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับวรรณกรรมที่มีอยู่แล้ว

(3) การเขียนบทสรุปที่น่าเชื่อถือได้

(4) การใช้เหตุผลของวิจัยเป็นใหญ่

(5) การร้อยเรียงเรื่องราวส่วนต่าง ๆ ในงานวิจัยเข้าด้วยกัน

ตอบ 5 หน้า 210 “ความเป็นเอกภาพ” ในการเขียนรายงานการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยเขียนเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ตั้งแต่ส่วนนําของงานวิจัยไปจน กระทั่งถึงส่วนสรุปของงานวิจัย ดังนั้นสิ่งที่ผู้วิจัยควรคํานึงก็คือ การร้อยเรียงเรื่องราวส่วนต่าง ๆในงานวิจัยเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ (Unity) นั่นเอง

91 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง เรียกว่าอะไร

(1) Plagiarism

(2) Redundancy

(3) Unity

(4) Consistency

(5) Reference

ตอบ 1 หน้า 212 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Plagiarism” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านที่จะนําวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องพึงระวังอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างมาก ในวงวิชาการ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสามารถกระทําได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมี โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์หรือโปรแกรมเทิร์น อิท อิน (Turn it in) เป็นต้น

92 ข้อใดต่อไปนี้เป็นชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (1) สยามสมาคม

(2) สยามนุกูลกิจ

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักษรสาส์น

(5) จินดามณี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดต่อไปนี้คือประโยชน์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนการของการวิจัย

(2) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดมาทําวิจัยในหัวข้อใกล้เคียงกันอีก

(3) เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด

(4) เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 181, (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการเขียนรายงานการวิจัย คือ

1 เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีนวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น

3 เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว

4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรม หรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น

94 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น

(1) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(2) บทความวิจัยตีพิมพ์ลงวารสาร

(3) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(4) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(5) ทุกประเภท

ตอบ 4 หน้า 182, (คําบรรยาย รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บทนํา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดําเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ รวมทั้งบรรณานุกรมและภาคผนวก

95 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของ “ส่วนประกอบตอนท้าย” ในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) Appendix

(2) Acknowledgement

(3) Curriculum Vitae

(4) Bibliography

(5) ทุกข้อเป็นส่วนประกอบตอนท้าย

ตอบ 2 หน้า 186, (คําบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนท้าย” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ

1 บรรณานุกรม (Bibliography)

2 ภาคผนวก (Appendix)

3 ประวัติย่อผู้วิจัย (Curriculum Vitae)

96 ในรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย คําว่า “Inception Report” หมายถึงอะไร

(1) การรายงานผลการวิจัยขั้นต้น

(2) การรายงานความก้าวหน้า

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นสุดท้าย

(4) การรายงานการวิจัยฉบับสั้น

(5) การรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 1 หน้า 191 การรายงานผลการวิจัย ชั้น (Inception Report) หมายถึง การสรุปผลการดําเนินงานหลังจากที่ผู้วิจัยได้รับการอนุมัติหัวข้อวิจัยและโครงร่างนําเสนอการวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดง ให้เห็นถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรก ตลอดจนรายละเอียดของการปรับแก้รายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้

97 จากข้อ 96 คําว่า “Inception Report” มีเป้าหมายเพื่ออะไร

(1) เพื่อแสดงว่างานวิจัยอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว

(2) เพื่อแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการทําวิจัยดําเนินไปแล้วกว่าร้อยละ 50 ของขั้นตอนทั้งหมด

(3) เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวิจัยนั้น

(4) เพื่อแสดงถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรก

(5) เพื่อแสดงว่าผู้วิจัยเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสร็จแล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เป้าหมายของการเขียนบทนําของการวิจัย

(1) เพื่อแสดงถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(2) เพื่อแสดงถึงข้อจํากัดของการวิจัย

(3) เพื่อแสดงถึงการอภิปรายผลของการวิจัย

(4) เพื่อแสดงถึงที่มาและความสําคัญของปัญหา

(5) เพื่อแสดงถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ตอบ 3 หน้า 194 – 196, (คําบรรยาย) เป้าหมายของการเขียนบทนําของการวิจัยก็คือ เพื่อแสดงถึงที่มาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขต ของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

99 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

(1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย

(2) เพื่อบอกผู้อ่านว่างานวิจัยนั้นทําอย่างไร

(3) เพื่อแสดงถึงการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบเครื่องมือ

(4) เพื่อแสดงถึงวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

(5) เพื่อปรากฏในงานวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) เป้าหมายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ก็คือ เพื่อบอกให้ผู้อ่านได้ทราบว่างานวิจัยนั้นทําอย่างไร ผลการวิจัยและข้อสรุปที่ได้มีคุณค่ามากน้อย เพียงใด ซึ่งจะปรากฏในงานวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

100 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การสรุปผลการวิจัยที่เหมาะสม

(1) สรุประเบียบวิธีวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน

(2) หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงการนําไปวิจัยไปใช้ครั้งต่อไป

(3) สรุปตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

(4) ตอบคําถามวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้

(5) หลีกเลี่ยงความลําเอียงและอคติส่วนบุคคล

ตอบ 2 หน้า 201 – 202, (คําบรรยาย) การสรุปผลการวิจัยที่เหมาะสม มีดังนี้

1 ต้องสรุประเบียบวิธีวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน

2 ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม

3 ต้องสรุปตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

4 ต้องตอบคําถามวิจัย ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

5 หลีกเลี่ยงความลําเอียงและอคติส่วนบุคคล เป็นต้น

Advertisement