POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Nicholas Henry

 

1 บุคคลใดที่นําแนวคิดเรื่อง พาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ

ตอบ 5 หน้า 46 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3: การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

2 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ

1 เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

2 เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป

 

3 บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ

ตอบ 4 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

4 บทความทางการบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของแนวคิดเรื่องพาราไดม (Paradigm) ตามแนวคิดของ Robert T. Holt และ John M. Richardson

(1) แนวความคิด ทฤษฎี

(2) กฎของการแปลความหมาย

(3) ปัญหา

(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน

ตอบ 5 หน้า 44 – 45, 64 – 65 Robert T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่าพาราไดม์ (Paradigm) ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ประการ คือ

1 แนวความคิด

2 ทฤษฎี

3 กฎของการแปลความหมาย

4 ปัญหา

5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

7 การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน ในความหมายของนักวิชาการทาง การบริหารรัฐกิจ หมายถึง

(1) ควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกัน

(2) การเมืองกับการบริหารมีหน้าที่แตกต่างกัน

(3) ควรปลอดจากค่านิยม

(4) ควรเป็นวิทยาศาสตร์

(5) แบ่งแยกค่านิยมและความจริงออกจากกัน

ตอบ 5 หน้า 47 Frank J. Goodnow และ Leonard D. White เป็นนักวิชาการทางการบริหารรัฐกิจที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดยเชื่อมโยง ความคิดความเข้าใจนเข้ากับเรื่องการแบ่งแยกค่านิยมและความจริงออกจากกัน ดังนั้นทุกสิ่ง ทุกอย่างที่นักวิชาการทางการบริหารรัฐกิจพินิจพิเคราะห์ในสาขาการบริหาร จะถูกย้อมด้วย ความถูกต้องขอบธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการกําหนดนโยบายสาธารณะและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถือเป็นเรื่องของรัฐศาสตร์

8 บุคคลใดที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Goodnow and White

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Thomas S. Kun.

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนเล่มแรกของสาขาวิชา การบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

10 ในหนังสือชื่ออะไรที่เสนอหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียนที่สมบูรณ์ของการบริหารรัฐกิจ

(1) Creative Experience

(2) Industrial and General Management

(3) Principles of Organization

(4) Principles of Management

(5) Principles of Public Administration

ตอบ 5 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการบุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดม หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์ เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แสดงความเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ ซึ่งทําให้แนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับเป็นพาราไดม์ที่ 2 (พาราไดม์หลักของการบริหาร) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

11 ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอหลักการทํางานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร

(1) Mary Parker Follet

(2) Henri Fayol

(3) Frederick W. Taylor

(4) James D. Mooney

(5) Alan C. Reiley

ตอบ 3 หน้า 48 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่องการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งจะเน้นในเรื่องการทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ

12 ในหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร

(1) Lillian Gilbreth

(2) Frederick W. Taylor

(3) Henri Fayol

(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley

(5) Gulick and Lyndall Urwick

ตอบ 5 หน้า 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “จุดสูงสุดแห่งการได้รับความยอมรับนับถือ” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

13 ในหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร

(1) หลักของการบริหาร

(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) หลักการของนักบริหารที่ดี

(4) หลักการบริหาร POSDCORE

(5) หลักการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

14 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองสามารถแยกออกจากกันได้

(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความสอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมและการทุจริต

(4) หลักการบริหารที่กําหนดขึ้นมามีความสมบูรณ์เพียงพอ

(5) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

ตอบ 5 หน้า 51 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1938 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้

1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก

2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร

15 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย คือ

(1) สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(4) ปฐม มณีโรจน์

(5) มาลัย หุวะนันท์

ตอบ 1 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

16 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1947 – 1950 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การแยกการบริหารออกจากการเมือง

(2) ชี้หลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความหมายเป็นศาสตร์ (Science)

(3) การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร ไม่เกี่ยวกับทางจิตวิทยาสังคม

(4) การศึกษาศาสตร์ของการบริหารสามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

(5) การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

ตอบ 5 หน้า 54 – 55 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1947 – 1950 มีดังนี้

1 การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

2 การชี้ให้เห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)

3 การใช้จิตวิทยาสังคมเป็นพื้นฐานสําหรับทําความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร

4 การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

17 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์

(2) บุคลากร

(3) โครงสร้างองค์การ

(4) สภาพแวดล้อม

(5) ระยะเวลา

ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

18 องค์การแบบเรียบง่าย (Simple structure) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก

(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างองค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) จะมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การจะไม่ซับซ้อน โดยลักษณะโครงสร้างองค์การนี้จะเป็นโครงสร้างแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างแนวดิ่ง (Tall Structure)

19 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก

(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน

(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

ตอบ 1 หน้า 125 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักของ องค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน

20 Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร

(1) องค์การแบบเรียบง่าย

(2) องค์การแบบระบบราชการ

(3) องค์การแบบแมทริกซ์

(4) องค์การแบบเครือข่าย

(5) องค์การแบบผสม

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การแบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วง ซอุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

 

21 การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ เป็นแนวคิดของใคร

(1) Stephen P. Robbins

(2) Pater Senge

(3) Herbert Hicks

(4) Hardy

(5) Jones G. R,

ตอบ 2 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)

3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

22 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร

(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม

(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา

(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม

(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ

2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผยคํานึงถึงเวลา และถูกต้อง

4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

23 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 132 – 134, 138 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

2 ช่วงการควบคุมแคบ

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง

5 มีความเป็นทางการสูง

6 รวมอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่

8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

24 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 133 – 134, 143 – 141 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 มีความเป็นทางการน้อย

5 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

6 มีสภาพแวดล้อมซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก

7 มุ่งเน้นประสิทธิผล ฯลฯ

25 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency)

(1) องค์การเป็นระบบเปิด

(2) การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

(3) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

(4) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

(5) องค์การมีความเป็นทางการสูง

ตอบ 5 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency) มีดังนี้

1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ

2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

5 องค์การเป็นระบบเปิด

6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

26 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์เกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(1) สิ่งแวดล้อม

(2) กลยุทธ์

(3) สายการบังคับบัญชา

(4) เทคโนโลยี

(5) คน/วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 135 136, 14: มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการจัด โครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ โดยองค์การที่มีส่วนประกอบภายในสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุดและมีผลการดําเนินงานที่ดีที่สุด

27 การบริหารงานบุคคล (Public Personnel Administration) หมายถึงข้อใด

(1) การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคล นับแต่การสรรหาบุคคล การดูแลและบํารุงรักษาจนพ้นไปจากการปฏิบัติงานในองค์การ

(2) กระบวนการวางนโยบายและการดําเนินการเกี่ยวกับบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ

(3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

(4) เรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ

(5) เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการโดยมีการวางนโยบายและดําเนินการให้ได้คนดีมีความสามารถทํานุบํารุงรักษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งพ้นจากงาน

ตอบ 5 หน้า 150 การบริหารงานบุคคลในราชการหรือภาครัฐ (Public Personnel Administration)เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการ โดยมีเป้าหมายในการวางนโยบายและดําเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่ดี มีความสามารถ ทะนุบํารุงรักษาและพัฒนาข้าราชการให้มีจํานวน และมีประสิทธิภาพสูงสุดไปจนกระทั่งพ้นจากงาน เพื่อให้งานราชการเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ด้วย

28 การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง

(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล

(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัยการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล

(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบไว้ดังนี้

1 เป็นแนวการศึกษา ที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหาการคัดเลือก การลอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น

2 ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

3 เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล

29 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP

(1) สภาพการเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) บุคลากร

(4) สังคมและวัฒนธรรม

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 55 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือ PEST หรือ STEP ประกอบด้วย

1 สภาพการเมือง (Political)

2 เศรษฐกิจ (Economic)

3 สังคม (Social)

4 เทคโนโลยี (Technological)

30 ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็ไม่สามารถทํางานได้คือ

(1) คน (Men)

(2) เงิน (Money)

(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)

(4) การจัดการ (Management)

(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)

ตอบ 1 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 MPs คือ คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) จะถือว่าปัจจัยเรื่อง คน (Men) มีความสําคัญมากที่สุด และเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้

31 กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทยคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตอบ 1 หน้า 167 ภาครัฐไทยนําระบบการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่มาใช้ตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 โดยระบบบริหารงานบุคคล ภาครัฐมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ และนโยบายการบริหารงานบุคคลก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

32 ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็น พ.ร.บ. ฉบับล่าสุดที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

33 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนในระบบราชการคือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(3) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(4) คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง

(5) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ตอบ 2 หน้า 158 – 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผล การปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้นคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกําหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล

34 นโยบายการบริหารงานบุคคลที่สําคัญคือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยเรื่องอะไร

(1) การจัดการศึกษา

(2) การฝึกอบรม

(3) การพัฒนา

(4) การวางนโยบาย

(5) การศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนา

ตอบ 5 หน้า 164, 170 – 172 (คําบรรยาย) การพัฒนาบุคลากร เป็นความพยายามในการเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถให้แก่บุคลากร เพื่อที่จะปฏิบัติงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการในการพัฒนาบุคลากรมีหลายวิธี เช่น การส่งบุคลากรไปอบรมหรือศึกษาต่อการดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสัมมนา การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน เป็นต้น

35 การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมของการบริหารงานบุคคลในองค์การภาครัฐตามแนวคิดของแมคคินซี(McKinsey) เกี่ยวข้องกับ

(1) 4 M’s

(2) T.Q.M.

(3) 7s

(4) Q.C.

(5) PES7 หรือ STEP

ตอบ 3 หน้า 154 กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์),Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทํานองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง s ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องบุคลากรมี 3s คือ Staffing, Style และ Skill

36 แนวคิดของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย

(1) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ ท่วงทํานองการบริหาร ทักษะ (2) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ สไตล์การทํางาน ทักษะ

(3) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ สไตล์การทํางาน ทักษะ

(4) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ ท่วงทํานองการบริหาร ทักษะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยคือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(4) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย

(5) คณะกรรมการจัดการบุคคลในมหาวิทยาลัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

38 ตําราเรียนที่ใช้เป็นหนังสือหลักในการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลมากเป็นของใคร

(1) Nicholas Henry

(2) Herbert Simon

(3) Glenn Stahl

(4) Mary Parker Follet

(5) Martin Landau

ตอบ 3 หน้า 151 0. Glen Stahl เป็นผู้แต่งหนังสือหลักที่ใช้เป็นตําราการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานบุคคล ทุกยุคทุกสมัย โดยเห็นว่า การบริหารงานบุคคลเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร ที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคลมากกว่าที่จะมองให้กว้างถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ของสมาชิกในองค์การ

39 การบริหารงานบุคคลในภาครัฐ ค่าภาษาอังกฤษคือข้อใด

(1) Public Personnel

(2) Public Personnel Administration

(3) Public Personnel Management

(4) Business Personnel Administration

(5) Business Personnel Management

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

40 นโยบายหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy PICY

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 5 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ต้องการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี มีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควร โดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน มีวินัยและจริยธรรมที่ดี เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Thomas R. Dye

(2) Ira Sharkansky

(3) David Easton

(4) James Anderson

(5) Theodore Lowi

 

41 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 หน้า 73 Thomas 3 Dye เสนอว่า นโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

42 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 14 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

43 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น

44 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

ตอบ 4 หน้า 73 James Anderson กล่าววา นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ความหมายเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐดําเนินการภายใต้อํานาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อจัดสรรทรัพยากรของสังคมให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม

45 ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเาทของนโยบายสาธารณะ

ตอบ 5 หน้า 26, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่(Re-Distributive Policy).

46 การบริหารยุคแรกให้ความสําคัญในการ “ควบคุม” ไปที่

(1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

(2) การพัฒนาความรู้ในการทํางาน

(3) การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ

(4) ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากร

(5) ผลผลิตและผลลัพธ์ในการทํางาน

ตอบ 4 หน้า 177 การบริหารงานในยุคแรกจะให้ความสําคัญต่อการควบคุมและตรวจสอบกํากับดูแลให้เกิดการดําเนินงานตามแบบแผน กฎ ระเบียบที่ได้กําหนดไว้ พิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรห้ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดและเป็นไปตามระเบียบที่กําหนดไว้

47 ใครเป็นผู้กําหนดมาตรฐานกลางในการกําหนดคุณสมบัติและราคาของสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์

(1) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(2) กรมบัญชีกลาง

(3) สํานักงบประมาณ

(4) คณะกรรมการราคากลาง กระทรวงการคลัง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 178, (คําบรรยาย) สํานักงบประมาณ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกําหนดมาตรฐานกลางในการกําหนดคุณสมบัติและราคาของสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดําเนินงานของส่วนราชการ

48 การควบคุม หมายถึง

(1) การสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ

(2) การทําให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์

(3) การปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การควบคุม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ออกคําสั่ง กฎเกณฑ์ ตรวจสอบเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์การสามารถดําเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กําหนดไว้ โดยจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ

49 ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกสุดของ “กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ”

(1) การปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(2) การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐาน

(3) การกําหนดมาตรฐานของการดําเนินงาน

(4) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่กําหนด

(5) การกําหนดวิธีการวิเคราะห์และวิธีการรายงาน

ตอบ 3 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

50 ทุกข้อเป็นการควบคุมตรวจสอบโดยกลไกภายนอก ยกเว้น

(1) กฎหมายปกครองที่ใช้ในการบริหารราชการ

(2) ศาลปกครอง

(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน

(5) กระแสโลกาภิวัตน์

ตอบ 5 หน้า 176 – 178, 183, 203 “กลไกภายนอก” ที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบหน่วยงานมี 2 ประเภท คือ

1 การควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ เช่น สํานักงบประมาณ สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นต้น

2 การควบคุมตรวจสอบที่เกิดจากกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เป็นกลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี เช่น แนวนโยบายแห่งรัฐและข้อกําหนดทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เป็นต้น

51 หน่วยงานใดทําหน้าที่ตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐ

(1) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(2) กรมบัญชีกลาง

(3) สํานักงบประมาณ

(4) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(5) สํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดเอามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริตการใช้จ่ายเงิน

52 ศาลมีกี่ประเภท

(1) 2 ประเภท

(2) 3 ประเภท

(3) 4 ประเภท

(4) 5 ประเภท

(5) 6 ประเภท

ตอบ 3 หน้า 186 – 187, 205 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ศาลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ

3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนและระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง

4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด

53 ข้อใดเป็นองค์กรรับเรื่องราวร้องทุกข์ตามรัฐธรรมนูญ

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ

(3) ศาลปกครอง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นองค์การที่ทําหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคําร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม

54 ทุกข้อเป็นกลไกภายในที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ยกเว้น

(1) ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน

(2) ระบบการติดต่อสื่อสาร

(3) คู่มือการทํางาน

(4) สิทธิความเป็นพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ

(5) โครงการของหน่วยงาน

ตอบ 4 หน้า 181 182 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

55 ตัวชี้วัด “การกระจายทรัพยากรหรือรายได้” ตามหน้าที่ของการคลังของรัฐ ได้แก่ (1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ผลผลิตสุทธิของชาติ

(3) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออก

(4) มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้

1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบอัตราการใช้จ่าย ตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ

4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

56 “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดได้ด้วยตัวชี้วัดใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ผลผลิตสุทธิของชาติ

(3) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออก

(4) มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 ทุกข้อเป็นรูปแบบภาษีแบบต่าง ๆ ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยกเว้น

(1) ส่วย

(2) ฤชา

(3) การเกณฑ์แรงงานมาขุดคลอง

(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(5) ภาษีขาเข้า

ตอบ 4 หน้า 215 ในปี พ.ศ. 2485 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น รัฐบาลไทยจําเป็นต้องใช้เงินจํานวนมาก จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อใช้มาตรการจัดเก็บภาษี เพื่อนํามาช่วยชาติในยามคับขันหลายประเภท โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้นําระบบ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้ในการจัดเก็บแทนภาษีการค้า เพื่อลดความซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรม

58 ภาษีจากฐานเงินได้ ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีสรรพสามิต

(3) ภาษีศุลกากร

(4) ภาษีดอกเบี้ย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 217, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่ายภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น

3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

59 การรวมหน่วยงานด้านการจัดเก็บภาษีจนเกิดเป็น “กรมสรรพากร” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ร. 5

(2) ร.6

(3) ร.7

(4) ร. 8

(5) ร. 9

ตอบ 2 หน้า 215 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการยกกรมสรรพากรในที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และยกกรมสรรพากรนอกที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย มาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติโดยให้รวมทั้งสองหน่วยงานเข้าเป็นกรมเดียวกันแล้วเรียกว่า กรมสรรพากร

60 “ปีภาษี” คือ

(1) 1 ต.ค. – 30 ก.ย.

(2) 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

(3) 1 มิ.ย. – 31 พ.ค.

(4) 1 ก.ค. – 30 มิ.ย.

(5) รอบระยะเวลาประกาศของกระทรวงการคลัง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปีภาษี ตามความหมายของประมวลรัษฎากร คือ ปีปฏิทินที่ใช้สําหรับคํานวณ- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยปีภาษีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ

61 ถ้ารัฐมีประมาณการรายจ่ายมากกว่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรจะเกิดภาวะใดต่อระบบเศรษฐกิจ

(1) เศรษฐกิจหดตัว

(2) เกิดเงินเฟ้อ

(3) เกิดการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้จ่ายของรัฐ

ตอบ 1 หน้า 236 งบประมาณขาดดุล คือ การจัดทํางบประมาณที่การจัดหางบประมาณรายรับมีน้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากระตุ้นให้ มีการผลิตสินค้าและบริการตลอดจนการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยการจัดทํางบประมาณรูปแบบนี้ จะนํามาใช้ในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ําหรือภาวะการเงินที่ตึงตัวและมีการจ้างงานน้อย

62 คุณลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน

(1) เป็นแผนทางการเงิน

(2) เป็นกฎหมาย

(3) เป็นเครื่องมือรับรองการเป็นรัฐบาล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 184, 205 – 205, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก

1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และเป็นเครื่องมือรับรองการเป็นรัฐบาลเพื่อใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือหน่วยราชการ

2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารและแผนทางการเงินที่ใช้ ในการดําเนินโครงการ แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ใน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

63 “งบประมาณแบบแสดงรายการ” ให้ความสําคัญที่

(1) นโยบาย

(2) ประสิทธิภาพการทํางาน

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 228, 237 งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่ายหรือการใช้ ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่าย ออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้

64 “งบประมาณแบบแผนงาน” ให้ความสําคัญที่

(1) นโยบาย

(2) ประสิทธิภาพการทํางาน

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 230 – 233, 23) งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณเข้ากับระบบการวางแผน และนโยบาย เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรสามารถกระทําได้อย่างสมเหตุสมผล และบรรลุตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย เมื่อมีการดําเนินการเสร็จเพื่อนําผลมากําหนดแผนงานและนโยบายอีกครั้งหนึ่ง

65 “Incremental Budgeting” หมายถึง

(1) วิธีการกําหนดวงเงินงบประมาณแบบแสดงรายการ

(2) เป็นวิธีการกําหนดงบประมาณของส่วนราชการทั่วไป

(3) เป็นวิธีการที่ให้มีการวิเคราะความจําเป็นทั้งระบบการจัดสรรเงิน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 238 งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget) เป็นการจัดทํางบประมาณที่นํามาใช้ในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจมีข้อจํากัดในการวิเคราะห์จัดทํางบประมาณ จึงทําให้ไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงหาทางออกโดยการวิเคราะห์ในส่วนที่เพิ่มตามความเหมาะสม

66 “Performance Budget” หมายถึง

(1) จัดทํางบประมาณแยกประเภทตามหมวดรายจ่าย

(2) จัดทํางบประมาณเป็นโครงการ

(3) มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกระหว่างโครงการประเภทเดียวกัน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 229, 237 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบที่เน้นการจัดการ (Management-Oriented) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ของหน่วยงาน โดยความสําเร็จของงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเป็นเป้าหมายของการทํา งบประมาณแบบนี้ ทั้งนี้การจัดทํางบประมาณจะเน้นไปที่การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างโครงการประเภทเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดําเนินงาน

67 ทุกข้อเป็น “สภาพแวดล้อมของงาน” ตามที่ Richard L. Daft กําหนด ยกเว้น

(1) International Factor

(2) Market Factor

(3) Human Resource Factor

(4) Law Factor

(5) Socio-Cultural Factor

ตอบ 4 หน้า 255 – 256 Richard L. Daft พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วย ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม (Industry Sector)

2 ปัจจัยด้านการผลิต (Raw Material Sector)

3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Sector)

4 ปัจจัยด้านการเงิน (Financial Resources Sector)

5 ปัจจัยด้านการตลาด (Market Sector)

6 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology Sector)

7 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Conditions Sector)

8 ปัจจัยด้านการควบคุมหรือภาคราชการ (Government Sector)

9 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Sector)

10 ปัจจัยจากต่างประเทศ (International Sector)

68 “สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่ปิดตัวเองไม่มีความสัมพันธ์กับสังคมภายนอก” Emery และ Trist เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Disturbed-Reactive Environment

(3) Tuibutent Field

(4) Globalization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 257 – 258, 283 Fred Emer/ เละ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กําลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน

3 Disturbed-Reactive Environront เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อนยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา

69 “สภาพแวดล้อมที่เด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก” Emery และ Trist เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Disturbed-Reactive Environment

(3) Turbulent Field

(4) Globalization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 “ระบบราชการส่วนภูมิภาค” ได้แก่

(1) เทศบาลตําบล

(2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด

(3) การประปาส่วนภูมิภาค

(4) การปฏิบัติงานของอําเภอ

(5) ไม่มี ข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง และกรม

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด และอําเภอ

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกําหนด

71 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของวัฒนธรรมที่เรียกว่า “องค์พิธีการ”

(1) ความเชื่อในไสยศาสตร์

(2) วิธีการแต่งงาน

(3) วัด

(4) เครื่องแต่งกาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2, 4 หน้า 266 องค์ประกอบของวัฒนธรรม มีดังนี้

1 องค์วัตถุ คือ วัฒนธรรมวัตถุที่สามารถสัมผัสจับต้องได้และมีรูปร่าง เช่น เครื่องมือเครื่องใช้โรงเรียน และส่วนที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ภาษา สัญลักษณ์

2 องค์การ คือ กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ เช่น ครอบครัว ลูกเสือ สภากาชาด วัด สหประชาชาติ

3 องค์พิธีการ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การหมั้น การแต่งงาน การบวชนาค การตาย การปลูกบ้าน การขึ้นบ้านใหม่ ตลอดจนพิธีการแต่งกายและรับประทานอาหาร

4 องค์มติ คือ ความเข้าใจ ความเชื่อ ความคิดเห็น และอุดมการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว

72 ข้อใดจัดเป็น “ขนบประเพณี”

(1) การเคารพผู้อาวุโส

(2) การแห่นางแมว

(3) การไหว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 268 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1

1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบ – ตัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น

2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู – การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น

3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

73 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง

(1) การเรียนระดับมัธยมปลาย

(2) การศึกษาในระดับ ปวส.

(3) ภารศึกษาชั้นอนุบาล

(4) การศึกษาชั้นปริญญาตรี

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 1, 3 หน้า 262 263, 282 283 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีกอนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นเด็กเล็ก และการศึกษาชั้นอนุบาล

2 การศึกษาระดับประถมศึกษา

3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

74 ตัวอย่างของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ ได้แก่

(1) ป่าไม้

(2) แรงงานมนุษย์

(3) อากาศ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ํา เป็นต้น

2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม กําซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ เป็นต้น

3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

75 “การเมืองและการบริหารเปรียบเสมือนคนละด้านของเหรียญอันเดียวกัน” หมายความว่า

(1) การเมืองและการบริหารเป็นเรื่องที่ต้องแยกขาดออกจากกัน

(2) การเมืองและการบริหารเป็นเรื่องเดียวกันต้องอยู่ด้วยกัน

(3) การเมืองไม่สามารถแยกขาดออกจากการบริหารได้ต้องเกี่ยวข้องกัน

(4) การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 273 Marshal. E. Dimock กย่าวว่า “การเมืองและการบริหารเปรียบเหมือนคนละด้านบนเหรียญเดียวกัน” หมายความว่า การเมืองและการบริหารนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้

76 ทุกข้อเป็นจุดมุ่งหมายของ การจัดการภาครัฐ ยกเว้น

(1) บรรลุผลสัมฤทธิ์

(2) การให้ตรวจสอบได้

(3) การมีคู่มือการทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดการภาครัฐ จะมุ่งเน้นสนใจในเรื่องของประสิทธิภาพ การตรวจสอบได้การบรรลุเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ของงาน และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคและการจัดการ

77 หนังสือชื่อ “Reinventing Government” เขียนโดย

(1) Osborne & Gaebler

(2) Thomas Jefferson

(3) Christopher Pollitt

(4) Owen G. Hughes

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 331, 338 339 Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐด้วยแนวทาง และอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อน โดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นําแบบเถ้าแก (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

78 ประเทศแรกที่ริเริ่มการปฏิรูประบบราชการด้วย “แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่” คือ

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) แคนาดา

ตอบ 1 หน้า 330 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแน คิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรก ที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

79 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

(2) สัมฤทธิผลของงาน

(3) ประสิทธิภาพการทํางาน

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 347 348 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) จะให้ความสําคัญกับความเป็นพลเมือง โดยมองว่าประชาชนเป็น “พลเมือง” ไม่ใช่เป็นเพียง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือลูาค้าหรือผู้มาขอรับบริการ แต่จะต้องเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศด้วย

 

ตั้งแต่ข้อ 80 – 83 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Hardware

(2) Software

(3) E-Government

(4) Telecommunication

(5) Information Technology

 

80 เครื่องคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด – ตอบ 1 หน้า 297 – 301 ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เครื่องจักร (Hardware) คือ ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆที่สามารถแตะต้องหรือสัมผัสได้ เช่น หน้าจอหรือจอภาพ แป้นพิมพ์ เม้าส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software) คือ ชุดของคําสั่งงานที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เป็นต้น

81 หน่วยงานภาครัฐนําเอาเรื่องใดมาใช้เพื่อปรับกระบวนการทํางานให้มีประสิทธิภาพสูง

ตอบ 3 หน้า 305, (คําบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบ การบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้ อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจําตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดในการ ติดต่อราชการ การชําระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทําหนังสือเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

82 การใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวเพื่อเข้าไปติดต่อระบบราชการในเรื่องต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถือว่าเป็นระบบใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 ข้อใดคือคําสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

84 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 3 หน้า 305 306 ตามแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ จะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้าน ดังนี้

1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

2 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)

3 การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education)

4 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Industry)

5 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)

85 อาจารย์มาสอนถึงบ้านโดยผ่านเครือข่าย Internet และนักเรียนสามารถตอบโต้อาจารย์ได้เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 4 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ผ่านทางไกลโดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในส่วนกลางได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ Online ของมหาวิทยาลัย การสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

86 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ E-Government

(1) G2C

(2) G28

(3) G2G

(4) G2E

(5) G2F

ตอบ 4 หน้า 3อย – 309 การให้บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนโดยตรง

2 G2B (Government to Business) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อภาคธุรกิจเอกชน

3 G2G (Government to Government) คือ การให้บริการระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ

4 G2F (Government to Officer) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของภาครัฐ

87 ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการ E-(Government

(1) Information

(2) Interaction

(3) Intervening

(4) Integration

(5) Intelligence

ตอบ 3 หน้า 309 310, 319 ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(E-Government) มี 5 ระดับ ดังนี้

1 การให้ข้อมูล (Information)

2 การโต้ตอบ (Interaction)

3 การทําธุรกรรม (Interchange Transaction)

4 การบูรณาการ (Integration)

5 ระดับอัจฉริยะ (Intelligence)

 

ตั้งแต่ข้อ 88 – 90 จงใช้ตัวเผือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Administration

(2) Management

(3) public administration

(4) Business Administration

(5) Public Administration

 

88 การบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีตรงกับคําในข้อใด

ตอบ 1 หน้า 3 คําว่า “การบริหาร” ในภาษาอังกฤษจะมีใช้กันอยู่ 2 คํา คือ “Administration”และ “ Management” ซึ่งในทางภาครัฐหรือราชการจะนิยมใช้คําว่า “Administration” มากกว่า เนื่องจากใกล้เคียงกับคําว่า ผู้รับใช้ (Administrate) ส่วนในภาคธุรกิจเอกชนจะนิยมใช้คําว่า “Management” เนื่องจากใกล้เคียงกับคําว่า ผู้จัดการ (Manager)

89 ข้อใดที่แสดงถึงการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลกําไรเป็นสําคัญ

ตอบ 4 หน้า 12, 15, (คําบรรยาย) การบริหารธุรกิจ (Business Administration) เป็นการบริหารงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลกําไรเป็นสําคัญ โดยองค์กรธุรกิจเอกชนจะมุ่งจัดทําบริการและกิจกรรม ต่าง ๆ ภายใต้ผลกําไรสงสุด กลไกตลาดของอุปสงค์และอุปทาน ภาวะการแข่งขันและความอยู่รอด ขององค์การหรือหน่วยงาน ตลอดจนการตัดสินใจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว

90 ข้อใดคือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ

ตอบ 5 หน้า 6 – 7, 36, 38 39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ

1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาการที่มี การรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนํามาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอํานวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจํานวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนําทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

91 ข้อใดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความสอดคล้องระหว่างการบริหารรัฐกิจกับการบริหารธุรกิจ

(1) วัตถุประสงค์

(2) โครงสร้างองค์การ

(3) กระบวนการบริหาร

(4) ลักษณะของบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่ เหมือนหรือสอดคล้องกัน ดังนี้

1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนําเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่าง ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน

3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดําเนินงาน

4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทํา

 

ตั้งแต่ข้อ 92, 94, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กรุงศรีอยุธยา

(2) รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์

(3) รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์

(4) รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์

(5) รัชกาลที่ 6 กรุงรัตนโกสินทร์

 

92 การจัดตั้งศาลประเภทต่าง ๆ มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรมและจัดวางรูปแบบศาลและกําหนดวิธีการพิจารณาคดีขึ้นใหม่

93 การนําระบบศาลมาไว้ภายใต้กระทรวงยุติธรรม มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

94 การแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมออกเป็นฝ่ายธุรการส่วนหนึ่ง ฝ่ายตุลาการส่วนหนึ่ง มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมเป็นธุรการส่วนหนึ่ง และฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเรียบร้อย

95 การระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้ศาล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) กระบวนการยุติธรรม

(2) ยุติธรรมทางเลือก

(3) กฎหมายอาญา

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

1 กระบวนการยุติธรรมหลัก เป็นการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาททางศาลเป็นหลัก 2 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก เป็นการระงับข้อพิพาทหรือหันเหข้อพิพาทให้ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์การพักการลงโทษ เป็นต้น

96 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมทางเลือก

(1) การระงับข้อพิพาท

(2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(3) การพักการลงโทษ

(4) ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(5) เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ในการศึกษานโยบาย

(1) รับนโยบายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

(2) เข้าใจการทํางานของรัฐบาล

(3) เข้าใจผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก หน้า 79 80 ประโยชน์ของการศึกษานโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ช่วยให้รับรู้และเข้าใจนโยบายทั้งอดีตและปัจจุบัน

2 รับทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการกําหนดนโยบายของรัฐบาล

3 สามารถทราบและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายว่าส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ อย่างไร

4 ทราบถึงวิธีการในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีเหตุและมีผล

 

 

98 การศึกษาอิทธิพลของกลุ่มทางการเมือง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) ทฤษฎีสถาบัน

(2) การศึกษาขอบเขตของนโยบาย

(3) การศึกษากระบวนการของนโยบาย

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 79 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) คือ การศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอยาง แต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนํามาศึกษา และเปรียบเทียบเพื่อเงตัวแบบขึ้นมาของแต่ละเรื่อง เช่น การศึกษากลุ่มอิทธิพลทางการเมืองการศึกษาถึงกระบวนการจัดทํางบประมาณ การศึกษาถึงแนวทางการบริหารงานของรัฐ เป็นต้น

99 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ

5 การจัดระบบสนับสนุน

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

100 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 67, 107 108 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

POL2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ยุคกรีกตอนปลายและโรมัน (ข้อ 1 – 20)

1 ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “กฎที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฎนี้ และกฏนี้เป็นกฎนิรันดรและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Rousseau

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84 – 85) Marcus Tullius Cicero มีความเชื่อมั่นในกฎธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเขาได้กล่าวว่า “กฏที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผล ที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฏนี้ และกฎนี้เป็นกฏนิรันดร และไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้กฏที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และ มันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือไม่ไปกระทําสิ่งที่ผิด ซึ่งคําสั่งและข้อห้ามของกฎธรรมชาตินี้จะมีอิทธิพลต่อคนดีอยู่เสมอ และมันแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อบรรดาคนชั่วช้าเลย…”

2 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นที่จะต้องมี”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79 – 80) อิพิคิวรุส (Epicurus) ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาล เพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่ง แข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้าเข้มงวดในการใช้กฎหมาย ถ้าไม่มีรัฐหรือ สังคมจะทําให้เกิดความวุ่นวายและอาจจะทําให้ตัวเราเองหาความสงบสุขไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นจะต้องมี

3 นักคิดคนใดต่อไปนี้เชื่อว่า ความดีความชั่วเป็นการตกลงกันระหว่างมนุษย์ (1) Socrates

(2) Aristotle

(3) Plato

(4) Epicurus

(5) Diogenes

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78) Epicurus เชื่อว่า ความดีความชั่วไม่มีจริง ความดีความชั่วเป็นสิ่งที่กําหนดขึ้นเองจากมนุษย์แต่ละคน (Convention) หรือเป็นการตกลงกันระหว่างมนุษย์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ (Natural)

4 นักคิดคนใดที่น่าจะไม่สนใจของฟุ่มเฟือยเพราะเห็นวาสิ่งต่าง ๆ ไม่เที่ยงแท้ (1) Epicurus

(2) Diogenes

(3) Cicero

(4) Democritus

(5) Leucippus

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81), (คําบรรยาย) แนวความคิดของพวก Cynics ทั้งไดโอจินิส (Diogenes), แอนทิสธิเนส (Antisthenes) และเครทิส (Crates) นั้น สอนให้มนุษย์ตัดสิ่งที่ ไม่จําเป็น หรือที่เรียกว่า “กิเลสหรือความทะเยอทะยาน” (Arrogance) ทั้งหลายให้น้อยลง ที่สุดจนไม่มีเหลืออยู่เลย ชีวิตที่ไม่มีกิเลสจึงจะเป็นชีวิตที่มีความสุขที่สุด โดยมนุษย์ไม่ควรสนใจของฟุ่มเฟือย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้

5 การหลีกเลี่ยงความทุกข์ ความเจ็บปวด ความไม่ปรารถนา คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของใคร

(1) Cicero

(2) Diogenes

(3) Epicurus

(4) Democritus

(5) Leucippus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79) Epicurus เชื่อว่า จุดมุ่งหมายปลายทางสูงสุดในชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia) ซึ่งความสุขในความหมายของ Epicurus นั้นไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เป็นการหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ ความเจ็บปวด และความไม่ปรารถนาโดยอยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia)

6 Cosmopolitan แปลว่าอะไร

(1) การเมือง

(2) พลเมืองโลก

(3) ระบอบการเมือง

(4) คนที่ไม่นิยมการเมือง

(5) รูปแบบการเมือง

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 82), (คําบรรยาย) แนวคิดพลเมืองโลก (Cosmopolitanism หรือ Kosmopolites) เกิดขึ้นมาและเฟื่องฟูมากในช่วงยุคโรมัน ภายหลังนครรัฐกรีกได้ล่มสลายลง ซึ่งการที่โรมันได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางจนเกือบทุกดินแดน จนอาจจะกล่าว ได้ว่า “ทุกคนคือพลเมืองโรมัน” ทําให้ถูกมองว่ามนุษย์ไม่ควรจะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกนี้

7 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดดั้งเดิมของ Aristotle

(2) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในยุคสมัยใหม่

(3) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดที่เฟื่องฟูอย่างมากในยุคโรมัน (4) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดในยุคกลาง

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “Stoicism”

(1) มีต้นกําเนิดมาจากความคิดของ Epicurus

(2) ก่อตั้งโดย Seneca

(3) Stoic แปลว่า บ่อน้ำ

(4) ไม่เชื่อใน Natural Law

(5) เชื่อในหลักการ Cosmopolitanism

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 83 – 84) ลัทธิสตอยอิกส์ (Stoicism) เชื่อในหลักการพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) โดยมักจะอ้างว่าตนเป็นพลเมืองของโลก ไม่ว่ารัฐใดหรือ มนุษย์คนใดก็อยู่ภายใต้กฎเดียวกันนั้นก็คือกฎธรรมชาติ (Natural Law) และเมื่อใดก็ตามที่รัฐออกกฎหมายขัดกับธรรมชาติ พลเมืองที่มีสิทธิที่จะปฏิวัติหรือก่อกบฏขึ้นมาได้

9 การอธิบายเกี่ยวกับวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งไล่เรียงไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นความคิดของนักคิดโรมันคนใดต่อไปนี้

(1) Socrates

(2) Epicurus.

(3) Zino

(4) Marcus Aurelius

(5) Cicero

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85) Cicero มีความเลื่อมใสและสนับสนุนการปกครองแบบผสมของอาณาจักรโรมัน เนื่องจากเขามองว่ารูปแบบการปกครองของรัฐต่าง ๆ นั้น มีการหมุนเวียนเป็นวงจรหรือวัฏจักร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของการปกครอง จากดีไปสู่เลวแล้วก็ค่อย ๆ ดีขึ้นมาอีกวนเวียนแบบนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

10 วิธีแก้ไขปัญหาเรื่อง “Anacyclosis” ของ Polybius นั้นเสนอว่าควรจะทําอย่างไร

(1) Philosopher King

(2) ควรจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

(3) ประชาชนควรได้รับการศึกษา

(4) Mix Constitution

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85 – 86) Cicero มีแนวคิดเช่นเดียวกับ Polybius ในเรื่อง“วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดย Cicero เสนอว่า เพื่อที่จะยุติวงจรดังกล่าว รัฐจะต้องใช้รูปแบบการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution หรือ Mixed Government) โดยนําเอารูปแบบการปกครองคนเดียว (Monarchy) การปกครองโดยกลุ่ม (Aristocracy) และการปกครองโดยคนจํานวนมาก(Democracy) มาผสมกัน ซึ่งรูปแบบการปกครองแบบผสมนี้เท่านั้นที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงให้กับรัฐในทางการเมืองได้

11 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) อาณาจักรโรมันโบราณสิ้นสลายลงจากการโจมตีของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

(2) Just Gentium บัญญัติขึ้นด้วยการดัดแปลงจากกฎหมายภายในดั้งเดิมผสมกับกฎหมายของบาบิโลเนียน ฟินิเชียน และกรีก

(3) Ulpian เป็นคนกล่าวคําว่า “Ars boni et aequi”

(4) โคลัมบัสคือบุคคลแรก ๆ ที่ค้นพบทวีปอเมริกา

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 83 – 85, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89) อาณาจักรโรมันเริ่มเสื่อมความยิ่งใหญ่ลงมาจนกระทั่งถึงช่วง ค.ศ. 410 ก็สิ้นสุดลงจากการบุกปล้นของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons) หรือเยอรมัน โดยประวัติศาสตร์ยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลางหรือยุคมืด(Dark Age) ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15

12 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Stoicism

(1) เสรีภาพคือสิ่งที่สําคัญที่สุด

(2) รัฐคือสิ่งสําคัญที่สุด เพราะเป็นธรรมชาติ

(3) มนุษย์มีสิทธิตามกฎธรรมชาติ

(4) กฎธรรมชาติสําคัญที่สุด

(5) ข้อ 1, 2 และ 4 ถูกทั้งสามข้อ

ตอบ 4 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานของลัทธิสโตอีกส์ (Stoicism) ได้แก่

1 เชื่อถือและเคารพในธรรมชาติ

2 เชื่อในความเสมอภาคกันของมนุษย์

3 มนุษย์ทุกคนคือพลเมืองของสังคมโลกเหมือนกันหมด

4 กฎธรรมชาติสําคัญที่สุด ไม่ว่ารัฐใดหรือมนุษย์คนใดก็จะอยู่ภายใต้กฎเดียวกันคือกฎธรรมชาติ เป็นต้น

13 “การประท้วงเป็นสิ่งที่อันตรายต่อรัฐ ดังนั้นการประท้วงจึงเป็นอันตรายต่อพลเมืองเช่นกัน” ความคิดเช่นนี้ ตรงกับความคิดของนักคิดคนใดที่สุด

(1) Brutus Teneleus

(2) Seneca

(3) Cicero

(4) Polybius

(5) Marcus Aurelius

ตอบ 5 หน้า 72 มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เชื่อว่า สิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นอันตรายต่อรัฐสิ่งนั้นก็ไม่เป็นอันตรายต่อพลเมืองเช่นกัน และคนสามารถที่จะมีชีวิตที่มีความสุข หากว่าเขา สามารถดําเนินชีวิตไปในทางที่ถูก คิดและประพฤติในสิ่งที่ชอบ

14 “คนที่มีเงินมีทองมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปในที่สุด” ความคิดเช่นนี้ตรงกับความคิด ของนักคิดคนใดที่สุด

(1) Zino

(2) Aristotle

(3) Seneca

(4) Marcus Aurelius

(5) Polybius

ตอบ 3 หน้า 71 ซีนีคา (Seneca) เชื่อว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุขและมีจิตใจที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ แต่ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ รู้จักกับคําว่า “ ทรัพย์สิน ส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดีก็จะกลายเป็น ทรราชกดขี่ประชาชน ซึ่งจะสอดคล้องกับความคิดเห็นที่ว่า “คนที่มีเงินทองมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปในที่สุด”

15 Anacyclosis เป็นความคิดของนักคิดคนใด

(1) Cicero

(2) Gorgias

(3) Polybius

(4) Marcus Aurelius

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

16 การปกครองในข้อใดมีแนวโน้มที่จะมีความเสื่อมจนกลายเป็นการปกครองแบบฝูงชนบ้าคลั่งได้ง่ายที่สุด

(1) Polity

(2) Oligarchy

(3) Aristocracy

(4) Democracy

(5) ทุกระบอบมีแนวโน้ม ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ปกครอง

ตอบ 4 หน้า 71, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 86) Seneca ไม่มีความเชื่อถือในการปกครองประชาธิปไตย (Democracy) หรือรูปแบบการปกครองที่มอบอํานาจทั้งหมดไว้ให้กับประชาชน ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่ารูปการปกครองแบบนี้มีแนวโน้มที่จะแปรเปลี่ยนไปสู่การปกครองโดยฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) ได้ง่ายที่สุด

17 ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Epicurean

(1) นิยมประชาธิปไตย

(2) เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิติดตัวมาแต่เกิด

(3) เชื่อว่าคนไม่เท่าเทียมกัน

(4) เชื่อว่าถ้ามีเงินเท่ากับมีความสุข

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 58 – 59, (คําบรรยาย) แนวคิดที่สําคัญของลัทธิ Epicurean ได้แก่

1 นิยมการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism)

2 เชื่อว่าคนเท่าเทียมกัน

3 รัฐและกฎหมายถูกสร้างขึ้นเพราะต้องการให้คนเคารพในสิทธิของผู้อื่น และให้คนอื่นเคารพในสิทธิของตน

4 ชีวิตที่ประเสริฐคือชีวิตที่อยู่อย่างง่าย ๆ สงบ ไม่ทะเยอทะยานที่จะอยากได้ความร่ำรวยหรือการมีชื่อเสียงเกียรติยศในสังคม เป็นต้น

18 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความดังต่อไปนี้ “พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาจะด่าทอและทําลายทุกคน ที่พูดว่าสอนได้”

(1) The Republic

(2) Socrates และ Plato

(3) Ship of State Analogy

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกทั้งสองข้อ

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูกทั้งสามข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45), (คําบรรยาย) Plato ได้อธิบายประเด็นที่ว่าใครควรเป็นผู้ปกครองผ่านคําพูดของ Socrates ซึ่งเป็นตัวละครหนึ่งในหนังสือ “The Republic” โดย เปรียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ (Ship of State Analogy) และได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า “..ลูกเรือที่ทะเลาะวิวาทกันเพื่อแย่งกันถือหางเรือ ต่างคนก็อ้างว่าตนมีสิทธิจะถือหางเสือเรือได้แม้ไม่เคย จะเรียนวิชาดังกล่าว พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาจะด่าทอและทําลายทุกคน ที่พูดว่าสอนได้ โดยไม่รู้เลยว่าคนที่ถือหางเสือที่แท้ต้องเข้าใจฤดูกาล ท้องฟ้า ลม ดวงดาว และสิ่งต่าง ๆ อันอยู่ในศิลปะดังกล่าวจึงจะนับเป็นผู้บังคับเรือที่แท้จริง” ซึ่งก็เหมือนกับรัฐ ผู้ปกครองรัฐไม่ควรที่จะเป็นใครก็ได้ แต่ควรเป็น “ราชาปราชญ์” หรือคนที่มีความรู้ความสามารถหรือเป็นคนที่ถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในเรื่องการปกครองรัฐ

19 “ถ้าไม่อยากให้มีคนทําผิด ก็ต้องลงโทษให้รุนแรงเด็ดขาด” ตรงกับความคิดของใครที่สุด

(1) Onesicritus

(2) Epicurus

(3) Diogenes

(4) Democritus

(5) Antisthenes

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79) อิพิคิวรุส (Epicurus) ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาลเพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่งแข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้าเข้มงวดในการใช้กฎหมาย ซึ่งจะสอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “ถ้าไม่อยากให้มีคนทําผิด ก็ต้องลงโทษให้รุนแรงเด็ดขาด”

20 ใครควรจะต้องเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “มนุษย์อยู่คนเดียวจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ออกมาได้ ดังนั้นมนุษย์จําเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55 – 57) Aristotle กล่าวว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์การเมือง” โดยเขาอธิบายว่า มนุษย์อยู่คนเดียวจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพแห่งความเป็น มนุษย์ออกมาได้ ดังนั้นมนุษย์จําเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้าน การเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังที่เขาได้กล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า”

 

ยุคกลางและความคิดทางการเมืองในศาสนาคริสต์ (ข้อ 21 – 30)

21 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Jesus

(1) ในศาสนาคริสต์ถือ Jesus ว่าเป็นพระเจ้า

(2) เริ่มใช้ ค.ศ. หลังจากที่พระองค์เสียชีวิต

(3) อายุ 48 ปี ได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคน

(4) ในตอนท้ายของชีวิตพระเยซูถูกเนรเทศไปยังอังกฤษ

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) มาจากเมืองนาซาเร็ท(Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็นบุตร ของพระเจ้า (Son of God) และให้ประชาชนนั้นกลับใจใหม่ละทิ้งความชั่ว บุคคลใดที่เชื่อฟัง เมื่อตายไปแล้วก็จะมีชีวิตนิรันดรได้ไปเสวยสุขอยู่กับพระเจ้า ส่วนบุคคลใดที่ไม่เชื่อฟังและ ไม่กลับใจใหม่ก็จะต้องไปมีชีวิตอยู่ในนรกตลอดกาล โดยภายหลังจากเยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกพวกยิวกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไปฟ้องโรม ในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขน จนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี (คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับจากปีที่พระเยซูเกิดเป็นปีแรก)

22 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) Edict of Milan คือ การประกาศว่าศาสนาคริสต์นั้นไม่ใช่ศาสนาต้องห้ามของโรมอีก

(2) Saint Pant ไม่ใช่สาวก 12 คนแรกของ Jesus

(3) Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus คือคนที่ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเผากรุงโรม

(4) พระเยซูเป็นคนเขียน Bible ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ของศาสนาคริสต์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 92) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปรามและกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิเนโรได้ใส่ร้าย ชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณ รวมทั้งประกาศห้าม ไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา แห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้ามของโรมอีกต่อไป และในช่วง ปี ค.ศ. 379 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็น ศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คนในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ส่วนเซ็นต์ พอล (Saint (St. Paul) เป็นหมอสอนศาสนา คนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน แต่เขาไม่ใช่หนึ่งในสาวก 12 คนของ Jesus และคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ (Bible) เกิดจากการรวบรวมและเขียนขึ้นของหลายคน)

23 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Divine Right ของยุโรปในยุคกลาง

(1) ผู้ปกครองได้รับสิทธิจากพระเจ้าผ่านการที่ประชาชนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา

(2) กษัตริย์คือพระเจ้า

(3) ผู้ปกครองคือคนที่มีคุณธรรมดังนั้นพระเจ้าจึงแต่งตั้ง

(4) กษัตริย์ได้รับอํานาจมาจากพระเจ้า

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 77 ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) ของยุโรปในยุคกลาง อธิบายว่า อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

24 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Marsiglio of Padua เชื่อว่าคนไม่เท่ากันในการใช้เหตุผล

(2) St. Ambrose เชื่อว่าเรื่องทางโลกเป็นเรื่องของฆราวาส พระไม่ควรไปข้องเกี่ยวด้วย

(3) อไควนัสเสนอว่าในทางปฏิบัติการปกครองที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการปกครองแบบผสม

(4) แนวคิดทางการเมืองของนักบวชคริสต์สมัยต้นมีลักษณะต่อต้าน Idealism

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 หน้า 78 – 79, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 100) เซ็นต์ แอมโบรล (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครอง (สถาบันกษัตริย์) และสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่องทางโลกนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส (กษัตริย์) พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิติเตียนหรือโต้แย้งกษัตริย์ได้ในกรณีที่เห็นว่ากษัตริย์ทําผิด แต่ไม่มีสิทธิยุยง ให้ประชาราษฎร์กบฏหรือต่อต้านคําสั่งของกษัตริย์ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า

25 แนวคิดเรื่องการแบ่ง (Sacred Authority of the Priests) และอํานาจของอาณาจักร (Royal Power/ Regalis Potestas) เป็นแนวคิดของใคร

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 104 – 105) สันตะปาปาเจลาเซียสหรือเจลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I) ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งในจดหมายที่เขียนไปหาจักรพรรดิอนาสทาชิอุส แห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ว่า “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า (Sacred Authority of the Priests) และอํานาจของอาณาจักร (Royal Power/Regalis Potestas) ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”

26 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 2 หน้า 80, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 99 – 100) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine)ให้ความสําคัญแก่สถาบันทางศาสนามากกว่าสถาบันทางการปกครอง โดยกล่าวว่า “พระเจ้า ได้ทรงจัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปได้สําเร็จ และประสบความสําเร็จ ในการมีชีวิตนิรันดรหลังความตาย ตัวแทนที่ว่านี้ก็คือศาสนจักร (วัด) และรัฐ อย่างไรก็ดี ศาสนจักรมีความสําคัญมากกว่ารัฐ เพราะในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

27 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ถ้าผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไบอย่างถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย”

(1) Gelasius I

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 89 เซ็นต์ ธอมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) มองว่า ถ้าผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามกระบวนการแห่งกฎหมาย

28 แนวคิดเรื่องดาบสองเล่ม เป็นแนวคิดของใคร

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface Vit) กล่าวว่า“พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้และภายใต้การควบคุม ของศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้ การควบคุมของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวชส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย”

29 ใครเสนอแนวคิดเรื่อง การเมืองก็เสมือนร่างกาย (Organism)

(1) Aquinas

(2) Ambrose

(3) Boniface VIII

(4) John of Salsbury

(5) Gelasius I

ตอบ 4 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลางคนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Organic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐ หรือประชาคมการเมือง ซึ่งเขาเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ โดยกษัตริย์ เปรียบเสมือนศีรษะหรือส่วนสมอง ฝ่ายศาสนาเปรียบเสมือนดวงวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบทุกส่วนนี้จะร่วมกันเพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

30 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น”

(1) Aquinas

(2) Ambrose

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 92 – 93) Saint Paul ได้เขียนจดหมายไปหาพวกคริสเตียนในโรมซึ่งกําลังโดนผู้ปกครองข่มเหงรังแกอย่างหนัก โดยพยายามสอนเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตัว ตลอดจนให้กําลังใจพวกคริสเตียนในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเนื้อความตอนหนึ่งในจดหมายเขียนไว้ว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจาก พระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น”

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) เทวสิทธิ์

(2) นารายณ์อวตาร

(3) ธรรมราชา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

 

31 ผู้ปกครองคือพระเจ้า

ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) เป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากคริสต์ศาสนา (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) ซึ่งเชื่อว่า อํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้ากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ปกครองโดยรับมอบอํานาจของพระเจ้า ดังนั้นผู้ปกครองคือพระเจ้าจึงมีอํานาจ อย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัยความถูก-ผิดของผู้ปกครอง

32 ผู้ปกครองรับมอบอํานาจมาจากพระเจ้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู

ตอบ 2 หน้า 98 ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะ (พระปรเมศวร, พระอิศวร ฯลฯ) เป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ และมีการอวตารเป็นปางต่าง ๆ

35 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดเรื่องธรรมราชาตามหลักทางพระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยึดหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าใช้ปกครองบ้านเมืองเสมอมา

36 เทวนิยม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 และ 34 ประกอบ

37 อเทวนิยม

ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ

38 ผู้ปกครองมาจากมหาชนสมมติ

ตอบ 5 หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) ในอัคคัญญสูตร ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องกําเนิดผู้ปกครองของรัฐไว้ว่า “อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักได้ส่วนแบ่งแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น” สัตว์ทั้งนั้น จึงได้ “เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า” มาทําหน้าที่ดังกล่าว “ชนผู้เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ” จึงได้มีขึ้น

39 ทฤษฎีสองดาบ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

40 ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ การแสวงหาเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้น

 

ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา (ข้อ 41 – 50)

41 จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ

(1) ทําความดี

(2) ไปสวรรค์

(3) บวช

(4) ไม่กลับมาเกิดอีก

(5) นั่งสมาธิ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

42 การเกิดนิกายในศาสนาต่าง ๆ มักมีสาเหตุมาจาก

(1) ศาสดาต่าง ๆ บัญญัติไว้

(2) ความแตกต่างด้านพื้นที่

(3) เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

(4) ตีความคําสอนไม่เหมือนกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 108 สาเหตุที่ทําให้เกิดนิกายต่าง ๆขึ้นในแต่ละศาสนานั้น เนื่องจากการศึกษาถึงแนวคิดของแต่ละศาสนาจะต้องคํานึงถึงช่วงเวลาที่เกิดขึ้น และความแตกต่างด้านพื้นที่หรือสถานที่ที่นิกายนั้นเกิดขึ้นมาด้วย

43 ในจักกวัตติสูตร ผู้ปกครองต้องคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่

(1) ชาวเมือง

(2) พราหมณ์

(3) สัตว์

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 116, (คําบรรยาย) จักกวัตติสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมจึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ โดยหน้าที่หนึ่งที่สําคัญ คือ ต้องอํานวยการรักษาคุ้มครองและให้ความชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่า ตลอดจนสัตว์มีเท้า หรือสัตว์ปีกด้วย

44 การละการกล่าวเท็จ การส่อเสียด คําหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ เป็นคุณธรรมของผู้ปกครองในหมวดใด

(1) อริยสัจ

(2) ทศพิธราชธรรม

(3) โลกาธิปไตย

(4) กุศลกรรมบถ

(5) โลกธรรม

ตอบ 4 หน้า 117 กุศลกรรมบถ 10 ประกอบด้วย

1 การประพฤติเรียบร้อยทางกาย เช่น ละการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการละเมิดประเวณี

2 การประพฤติเรียบร้อยทางวาจา เช่น ละการกล่าวเท็จ คําส่อเสียด คําหยาบ และคําเพ้อเจ้อ

3 การประพฤติเรียบร้อยทางใจ เช่น ไม่เพ่งเอาทรัพย์ผู้อื่น ไม่มีจิตพยาบาท และมีความเห็นถูกต้อง

45 ทัศนะของพุทธองค์ที่มีต่อปัญหาทางอภิปรัชญา เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง คือ

(1) โลกเที่ยง

(2) โลกไม่เที่ยง

(3) โลกหมุนวน

(4) โลกมีทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง

(5) ไม่เป็นประโยชน์

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) ประกาศจะไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน แต่จะพยากรณ์เฉพาะเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

46 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของมิตรเทียม

(1) ปอกลอก

(2) ดีแต่พูด

(3) ประจบ

(4) ชักชวนในทางฉิบหาย

(5) อุปการะ

ตอบ 5 หน้า 119 ลักษณะมิตรเทียม มีดังนี้

1 ปอกลอก

2 คนดีแต่พูด

3 คนหัวประจบ

4 ชักชวนในทางฉิบหาย

ส่วนลักษณะของมิตรแท้ มีดังนี้

1 อุปการะ

2 ร่วมทุกข์ร่วมสุข

3 แนะประโยชน์

4 มีความรักใคร่

47 มิตรที่วัน ๆ ไม่สนใจทําการงานเอาแต่โทษนั่นโทษนี้ จัดเป็นมิตรประเภทใด (1) ปอกลอก

(2) ดีแต่พูด

(3) ประจบ

(4) ชักชวนในทางฉิบหาย

(5) อุปการะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ความเสมอภาคของศาสนาพุทธเป็นความเสมอภาคในลักษณะใด

(1) ความเป็นมนุษย์

(2) สิทธิ

(3) หน้าที่

(4) การประพฤติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 113 ความเสมอภาคของพุทธศาสนา หมายถึง ความเสมอภาคในการประพฤติธรรมไม่ใช่ความเสมอภาคในความสามารถ สติปัญญา หรือหน้าที่ โดยทุกคนเสมอภาคในการที่จะประพฤติธรรม เข้าถึงธรรม และเข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นที่สุดของวัฏสงสาร

49 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล มีต้นเหตุมาจาก

(1) การทําสัญญาตกลงกัน

(2) มหาสมมติ

(3) ความโลภ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 113 114 ในอัคคัญญสูตรจะอธิบายในเรื่องการกําเนิดสังคมและรัฐไว้ข้อหนึ่งว่าจากการที่ใครจะเก็บกินข้าวสาลีก็ได้ โดยเก็บกินกันวันต่อวัน “ต่อมาได้มีผู้คิดสะสม คือ นําข้าวสาลีไปกินที่ละหลาย ๆ วัน มีผู้สะสมข้าวสาลีเพื่อการบริโภค นําไปสู่ความโลภรักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้บริโภค” จนเกิดกรรมสิทธิ์ส่วนตัวและปัญหาในการถือครองกรรมสิทธิ์

50 ธรรมาธิปไตย คือ

(1) เอาประชาชนเป็นใหญ่

(2) เอากฎหมายเป็นใหญ่

(3) เอาตัวเองเป็นใหญ่

(4) เอาความพอใจเป็นใหญ่

(5) เอาธรรมะเป็นใหญ่

ตอบ 5 หน้า 124, (คําบรรยาย) ตามความหมายจากอธิปไตยสูตรนั้น “โลกาธิปไตย” หมายถึง การทําจิตให้เป็นสมาธิโดยยึดถือผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ส่วน “อัตตาธิปไตย” หมายถึง การทําสมาธิ โดยยึดถือตนเองเป็นที่ตั้ง และ “ธรรมาธิปไตย” หมายถึง การทําสมาธิโดยยึดถือธรรมของ พระพุทธองค์เป็นที่ตั้ง

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง (ข้อ 51 – 60)

51 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Political Philosophy มุ่งสนใจถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติของการเมืองส่วน Political Thought คือศาสนาทางการเมือง

(2) Natural Philosophy เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(3) Political Philosophy เป็นสาขาหนึ่งของ Political Science

(4) Empirical Political Theory คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1, 8 – 9) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับ เรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิง ประวัติศาสตร์ ส่วนปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาในสิ่งที่เป็นพื้นฐานในทางการเมือง หรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) โดยจะไม่มีการแยกคุณค่า ออกจากสิ่งที่ศึกษา และไม่สนใจในเรื่องการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ดังนั้นปรัชญาการเมืองจึงถูกเรียกว่า การศึกษาแบบปทัสถาน หรือบรรทัดฐาน (Normative)

52 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Political Philosophy เป็นส่วนหนึ่งของ Philosophy

(2) Ethics เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(3) Metaphysics เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นสาขาย่อยของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา

53 “โลกนี้คืออะไร ประกอบจากองค์ประกอบใดบ้าง” องค์ความรู้ที่ศึกษาถึงเรื่องดังกล่าวนี้เรียกว่า

(1) Political Philosophy

(2) Political Idea

(3) Ethics

(4) Metaphysics

(5) Epistemology

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) อภิปรัชญา (Metaphysic) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงแก่นแท้หรือความเป็นจริงสูงสุดของสิ่งต่าง ๆ ในโลก ยกตัวอย่างเช่น ในสาขานี้อาจจะตั้งคําถามว่า ความจริงแท้มีอยู่จริงหรือไม่ หรือสิ่งที่เป็นแก่นสารของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้มีที่มาจากอะไร เช่น ทาเลส (Thales) พยายามอธิบายว่า น้ําคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ หรือเฮราไคลตุส (Heraclitus) เสนอว่า ไฟต่างหากที่เป็นปฐมธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เป็นต้น

54 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ “Ethics” มากที่สุด

(1) การฆ่าคนสามารถทําได้ไหมถ้าเป็นไปเพื่อป้องกันประเทศชาติ

(2) เราเรียนรู้ได้อย่างไร

(3) ความงาม ความสวยความหล่อ คืออะไร

(4) ความจริงคืออะไร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ผิด อะไรคือสิ่งที่ถูก หรือความดีความชั่วคืออะไร

55 ศีลธรรม มีรากศัพท์มาจากคําว่าอะไร

(1) Monitor

(2) Military

(3) Marcellus

(4) Moralitas

(5) Marsalis

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) คําว่า “ศีลธรรม” (Morality) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคําว่า “Moralitas” ซึ่งแปลว่า พฤติกรรมอันเหมาะสม (Proper Behavior)

56 ใครเป็นคนสร้างคําศัพท์คําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก

(1) Rousseau

(2) Kart Marx

(3) Aquinas

(4) Augustine

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) อองตวน เดอสตุท เดอ ทราซี (Antoine Destutt de Tracy) เป็นคนสร้างคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันก็แปลว่า“ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ “Science of Idea

 

ตั้งแต่ข้อ 57 – 60 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) Political Philosophy

(2) Political Thought

(3) Political Theory

(4) Political Ideology

(5) Political Science

 

57 การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

58 การศึกษาเพื่อพยายามตอบคําถามอมตะทางการเมือง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้อันแท้จริงและ ไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด

59 เป็นการศึกษาการเมืองเชิงปทัสถาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

60 ระบบความเชื่อที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก และไม่จําเป็นต้องเป็น สิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกลอมเกลาสมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวความคิดหรือพฤติกรรมไปในทิศทาง เดียวกัน

 

กรีกโบราณ (ข้อ 61 – 70)

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) สภาประชาชน

(2) คณะมนตรีห้าร้อย

(3) วุฒิสภา

(4) ศาล

(5) คณะสิบนายพล

 

61 เป็นสถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

ตอบ 5 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่

1 สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยทําหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร

2 คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน  ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจําปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม

3 ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

4 คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถจะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ำอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

62 ประกอบไปด้วยพลเมืองเพศชายอายุ 20 ปีขึ้นไป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 มาจากการจับสลากจากพลเมืองขายอายุ 30 ปีขึ้นไป

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 เป็นสถาบันทางการเมืองที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65 เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 ใครกล่าวว่า น้ำคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้

(1) Heraclitus

(2) Thales

(3) Plato

(4) Aristotle

(5) Socrates

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

67 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Democracy ของ Athens

(1) พลเมืองทุกคนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเพศหญิงเพศชายก็มีสิทธิเลือกตั้ง

(2) ทําผิดกฎหมายเดียวกันต้องได้รับโทษในลักษณะแบบเดียวกัน

(3) ทุกคนสามารถมีทนายได้เมื่อถูกฟ้องร้อง

(4) มีผู้พิพากษาและอัยการ

(5) ทุกข้อกล่าวถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 19 – 20, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) การเมืองของเอเธนส์ (Athens) ในช่วง500 ปีก่อนคริสตกาล มีลักษณะดังนี้

1 การดํารงตําแหน่งบริหารกิจการสาธารณะจะไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง แต่จะใช้“การจับฉลาก” (By Lot) มีเพียงไม่กี่ตําแหน่งเท่านั้นที่ยังคงใช้การแต่งตั้งตามความสามารถนั้นก็คือ การเป็นแม่ทัพ

2 หัวใจสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย) และ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียมกัน)

3 ทาสเป็นชนชั้นที่ใหญ่ที่สุดของนครรัฐ โดยมีกฎหมายของรัฐให้การพิทักษ์บรรดาทาส

4 พลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง และคนต่างชาติจะไม่มีสิทธิในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น

  1. “Isonomia” ในระบบการเมืองแบบ Democracy ของ Athens คืออะไร

(1) ทุกคนมีสิทธิได้รับการเป็นพลเมืองจากการเกิดในนครรัฐ

(2) ทุกคนมีสิทธิยื่นฎีกาได้

(3) ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

(5) ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 สงครามเพโลโพนีเชียน คือสงครามที่มีใครเป็นคู่สงครามบ้าง

(1) กรีก-โรมัน

(2) เอเธนส์-เติร์ก

(3) สปาร์ต้า-โรมัน

(4) ติวตัน-โรมัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18 เอเธนส์และสปาร์ต้าได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่และเป็นผู้นําของนครรัฐอื่น ๆ แม้ว่าทั้งสองนครรัฐนี้จะเคยเป็นพันธมิตรร่วมมือกันต่อต้านการบุกรุกของ ชนชาติเปอร์เซีย แต่ในตอนท้ายเอเธนส์และสปาร์ต้ากลับกลายเป็นคู่สงครามกันในสงครามเพโลโพนีเชียน ซึ่งจบลงโดยชัยชนะเป็นของสปาร์ต้า

  1. ศัตรูที่เข้ามารุกรานนครรัฐกรีกจนทําให้สปาร์ต้ากับเอเธนส์เป็นพันธมิตรกันคือ

(1) โรมัน

(2) เติร์ก

(3) เปอร์เซีย

(4) มาซิโดเนีย

(5) คาร์เธจ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

 

โซฟิสต์, ซอคราตีส, เพลโต, อริสโตเติล (ข้อ 71 – 100)

71 นักคิดคนใดอ้างตัวว่าเป็นผู้กระหายในความรู้อันแท้จริง

(1) Protagoras

(2) Gorgias

(3) Prodicus

(4) Thrasymachus

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 38), (คําบรรยาย) กลุ่ม Philosopher มีนักคิดคนสําคัญคือ ซอคราตีส (Socrates) เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) เป็นกลุ่มที่มักจะอ้างตัวว่าเป็นผู้รักในความรู้หรือกระหายในความรู้ (Lover of Wisdom) อันจริงแท้

72 มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า Sophist คนใดที่คิดเงินค่าสอนหนึ่งคนต่อหนึ่งคาบ คือ หนึ่งครั้งการบรรยายด้วยราคาครึ่งมินา (Mina) ซึ่งถ้ามีผู้เข้าเรียนกับเขา 20 คน เขาก็ได้ 10 มินา และถ้าเข้าเรียน 10 คาบ เขาก็จะได้ 100 มินา

(1) Protagoras

(2) Gorgias

(3) Thrasymachus

(4) Socrates

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า โปรดิคุส (Prodicus) ซึ่งเป็นซอฟฟิสต์ (Sophist) คนหนึ่งคิดเงินค่าสอนหนึ่งคนต่อหนึ่งคาบ คือ หนึ่งครั้งการบรรยาย ด้วยราคาครึ่งมินา (Nina) ซึ่งถ้ามีผู้เข้าเรียนกับเขา 20 คน เขาก็ได้เงิน 10 มินา และถ้า เข้าเรียน 10 คาบ เขาก็จะได้ 100 มินา ซึ่งจํานวนเงินดังกล่าวถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงของช่างฝีมือต่อวันที่จะได้รับเงินเพียง 3 – 4 มินาต่อปี

73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะทั่ว ๆ ไปของ Sophist

(1) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องอยู่ในนครรัฐ

(2) เชื่อว่าความจริงในโลกนี้มีเพียงหนึ่งเดียว

(3) เชื่อว่า Political Wisdom ไม่สามารถสอนกันได้

(4) ไม่มีความจริงแท้สากล ทุกอย่างถูกกําหนดขึ้นมาจากสังคม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 26), (คําบรรยาย) กลุ่ม Sophist มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้

1 ไม่เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์การเมือง หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอยู่ภายในนครรัฐ

2 เชื่อว่าความจริงในโลกนี้ไม่มีอยู่จริง ความจริงคือสิ่งที่มนุษย์และสังคมเป็นผู้กําหนดขึ้น

3 เชื่อว่าความรู้ทางการเมือง (Political Wisdom) เป็นสิ่งที่สามารถสอนกันได้

4 เชื่อว่าคนที่สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือคนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ส่วนคนที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์จนทําให้ตัวเองตายนั้นคือคนโง่

74 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “Melian Dialogue”

(1) เป็นบทสนทนาระหว่าง Socrates กับชาวเมือง Athens

(2) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานศพหลังจากสงครามใหญ่ระหว่าง Athens และ Sparta

(3) Plato เป็นคนจดบันทึกเรื่องราวทั้งหมด

(4) เป็นบทสนทนาของพวก Meliaา กับ Athens

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ธูซิดดีส (Thucydides) ได้เขียน “ Melian Dialogue” ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างพวกมีเสียน (Melian) กับเอเธนส์ (Athens) ในช่วง สงครามเพโลโพนีเชียน (Peloponesian War) โดยในขณะนั้นเอเธนส์ได้ส่งกําลังจะไปบุก

สปาร์ต้า (Sparta) แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะเป็นเกาะใกล้กับ สปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

75 ใครเป็นคนกล่าวข้อความดังต่อไปนี้ “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”

(1) Melian

(2) Athens

(3) Sparta

(4) Delos

(5) Tisias

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26, 29 – 30, 37 – 38) ใน “Melian Dialogue ชาว Athens ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาว Melian โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความ ทุกข์ยาก” ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาว Athens นํามาอ้างนั้นมีความคล้ายคลึงกับ ความคิดของธราซิมาคัส (Thrasymachus) ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)

  1. แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมใน Melian Dialogue นั้นคล้ายกับความคิดของใครมากที่สุด

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Thrasymachus

(4) Aristotle

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ Socrates ได้จากแหล่งใดต่อไปนี้

(1) บทละครของ Aristophanes

(2) จดหมายเหตุของพวก Sophist

(3) ข้อเขียนชิ้นต่าง ๆ ของตัว Socrates เอง

(4) บันทึกส่วนตัวของ Aristotle

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของซอคราตีส (Socrates) ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

1 งานเขียนของเพลโต (Plato)

2 บทละครของอริสโตฟาเนส (Aristophanes)

3 งานเขียนของเซโนฟอน (Xenophon)

78 ในบทสนทนา Crito สะท้อนให้เห็นว่า Socrates มีมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร

(1) ไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

(2) ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมก็ให้ฆ่าตนเองตายเสียดีกว่าที่จะถูกประหารชีวิต

(3) กฎหมายที่ยุติธรรมคือกฎหมายในระบอบ Democracy เท่านั้น

(4) กฎหมายทุกฉบับล้วนยุติธรรม มีแต่คนชั่วและเห็นแก่ตัวเท่านั้นที่อ้างว่าไม่เป็นธรรม

(5) ควรเชื่อฟังกฎหมายแม้ว่าจะดูเหมือนว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ซึ่ง Socrates พยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้อง เชื่อฟังกฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็นจะต้องเชื่อฟัง แม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

79 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความคิดของ Socrates เรื่องผู้ปกครอง

(1) Democracy คือการปกครองที่ดีที่สุด

(2) การปกครองด้วยกษัตริย์ที่สืบทอดตามสายเลือดคือผู้ปกครองที่ดีที่สุด

(3) คนที่มีกําลังและแข็งแรงทางกายที่สุดควรเป็นผู้ปกครอง

(4) ตามอุดมคติควรให้ราชาปราชญ์เป็นผู้ปกครอง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

80 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Aristotle

(1) เขาเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์การเมือง

(2) เขาเชื่อว่า Philosopher King คือผู้ปกครองที่ดีที่สุด

(3) เขาเชื่อว่ารัฐเกิดขึ้นมาจากการตกลงกันระหว่างมนุษย์

(4) เขาเชื่อว่าสิ่งที่แตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ก็คือ เสรีภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 57) Aristotle ไม่เคยกล่าวไว้ว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม” แต่เขากล่าวว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” โดยมนุษย์ จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลยถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นจะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นโดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังที่ Aristotle กล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า” นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่ามนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์ คือ มนุษย์มีภาษาอันกอปรไปด้วยเหตุผล ไม่ใช่ภาษาแบบเดียวกับสัตว์ที่ส่งเสียงออกไปตามสัญชาตญาณ ด้วยความสามารถพิเศษของมนุษย์นี้เอง เมื่อเขามีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ ในทางสาธารณะหรือในทางการเมือง จึงทําให้มนุษย์สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ได้

81 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องคนดีและพลเมืองดีของอริสโตเติล (1) คนดีเหมือนกับพลเมืองดี

(2) คนดีคือคนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

(3) คนดีคือคนที่รู้ว่าอะไรดีและทําตามสิ่งที่ตนคิดว่าดีแม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 64 – 66), (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า แม้เขาจะเป็นพลเมืองดี (Good Citizen) แต่เขาอาจไม่ใช่คนดี (Good Man) ก็ได้ เพราะพลเมืองดีกับคนดีนั้น แตกต่างกัน การเป็นพลเมืองดี คือ การทําตามคําสั่งของรัฐเพื่อที่จะจรรโลงระบอบให้อยู่รอด ดําเนินต่อไปได้ พลเมืองดีจึงต้องทําหน้าที่ของตนหรือปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐที่ตนเองอยู่ ดังนั้นการเป็นพลเมืองดีจึงแปรผันไปตามรูปแบบการปกครองและกฎหมายของแต่ละรัฐ ส่วนคนดี คือ คนที่รู้ว่าอะไรดีและทําตามสิ่งที่ตนคิดว่าดีแม้ว่าจะผิดกฎหมายของรัฐก็ตาม ซึ่งการเป็นคนดีนี้จะไม่แปรผันไปตามรูปแบบการปกครอง กฎหมายของรัฐ หรือสภาวะใด ๆ

82 “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่าประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” คํากล่าวนี้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของนักคิดคนใด

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Sophist

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

83 ใครเป็นคนกล่าวว่า “A Democracy that in which the many and the poor are the rulers”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 71) Aristotle เห็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวหรือการปกครองที่เกิดจากความเสื่อม เพราะเป็นการปกครองของคนส่วนใหญ่ที่ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง นอกจากนี้ยังกล่าวว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของคนจํานวนมากที่เป็นชนชั้นยากจน (A Democracy that in which the many and the poor are the rulers) และเป็นการปกครองของฝูงชนบ้าคลั่งภายใต้การครอบงําของนักพูดฝีปากดี (Demagogue)

84 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ในความเป็นจริง แผ่นดินเองให้ชีวิตและให้การศึกษาเราโดยปราศจากเงื่อนไขและไม่คาดหวังว่าจะได้รับการตอบแทนใด ๆ กลับคืนมาแม้แต่น้อย”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 87) ซิซีโร (Cicero) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Republic” ว่า “ในความเป็นจริง แผ่นดินเองให้ชีวิตและให้การศึกษาเราโดยปราศจากเงื่อนไขและไม่คาดหวังว่าจะได้รับการตอบแทนใด ๆ กลับคืนมาแม้แต่น้อย” ดังนั้นการที่แต่ละคนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นการตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน

85 “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้” ปรากฏอยู่ในงานเขียนของนักคิดคนใด

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 69 – 70) Aristotle กล่าวว่า “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้ ในทางตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งนั้นร่างกายไม่มีประโยชน์อันใดต่องานที่ต้องใช้แรงกาย แต่เขาก็มี สติปัญญาที่เป็นประโยชน์กับชีวิตทางการเมืองทั้งด้านศิลปะในภาวะสงครามและภาวะที่สงบสุข มันเป็นที่ชัดเจนว่าคนบางคนนั้นเกิดมาตามธรรมชาตินั้นเป็นเสรีและคนบางคนนั้นเกิดมาเป็นทาสและการเป็นทาสดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

86 “พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตา จะด่าทอและทําลายทุกคนที่พูดว่าสอนได้” คํากล่าวนี้ปรากฎอยู่ในงาน ของนักคิดคนใด

(1) socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Plato

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

87 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรม เฉพาะตัวของเขาเท่านั้น”

(1). Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25) โปรทากอรัส (Protagoras) กล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น”

88 ใครมีแนวคิดดังต่อไปนี้ “สังคมการเมืองจะเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์บรรลุศักยภาพของคนแต่ละคนออกมาได้”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

89 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

90 สํานักการศึกษาของเพลโตมีชื่อว่า

(1) Syracuse

(2) Polis

(3) Academy

(4) Athens

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 33 เพลโต ได้ก่อตั้งสํานักอเด็ดเดมี (Academy) ซึ่งถือกันว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก เพื่อให้การศึกษาในเรื่องของวิทยาศาสตร์และปรัชญาแก่บรรดาลูกศิษย์ที่สมัครเข้าเรียนและรับการอบรม

91 ในหนังสือเรื่อง The Statesman เพลโตใช้หลักเกณฑ์ใดในการจําแนกรูปแบบการปกครอง

(1) จุดมุ่งหมายในการปกครอง

(2) การได้มาซึ่งผู้ปกครอง

(3) คุณธรรมของผู้ปกครอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยามประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ

1 จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก

2 กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย

 

ตั้งแต่ข้อ 92 – 96 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) อภิชนาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) ประชาธิปไตย

(4) ทุชนาธิปไตย

(5) โพลิตี้

 

92 การปกครองแบบคน ๆ เดียวที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

ตอบ 4

93 การปกครองโดยคนจํานวนมากเพื่อส่วนรวม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 การปกครองโดยคณะบุคคลที่ปกครองเพื่อส่วนรวม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

95 การปกครองโดยมหาชนที่เลว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

96 การปกครองโดยคณะบุคคลที่ใช้อํานาจฉ้อฉล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

97 ชื่อผลงานเขียนของเพลโต คือ

(1) Academy

(2) The Laws

(3) Politics

(4) Dialogue

(5) Confession

ตอบ 2 หน้า 33 เพลโต มีงานเขียนหนังสือที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทาง การเมืองชิ้นเอก ได้แก่

1 อุตมรัฐ (The Republic)

2 รัฐบุรุษ (The Statesman)

3 กฎหมาย (The Laws)

98 ทุกคนมีพันธะที่ต้องสนับสนุน และเคารพกฎหมายของรัฐของเพลโตเพราะ

(1) ทําให้รัฐคงอยู่ได้

(2) เราจะถูกลงโทษถ้าละเมิดกฎหมาย

(3) เราเป็นผู้ออกกฎหมายเอง

(4) รัฐเกิดมาจากกฎหมาย

(5) รัฐคือกฎหมาย

ตอบ 1 หน้า 34 – 35 เพลโต เห็นว่า กฎหมายเป็นสิ่งที่ทําให้โครงสร้างทางสังคมและการเมืองของรัฐคงอยู่ได้ คนทุกคนมีพันธะต่อรัฐที่เขาอาศัยอยู่ เป็นพันธะแห่งธรรมในฐานะที่รัฐ ให้สิ่งที่มีประโยชน์แก่เขามากกว่าบิดามารดาเสียอีก ดังนั้นคนทุกคนจึงมีพันธะที่จะต้อง สนับสนุนและเคารพกฎหมายของรัฐ เพราะรัฐจะยืนยงอยู่ได้ก็ด้วยการสนับสนุนของคนในรัฐเท่านั้น

99 Common Good (สัมมาร่วม) ตามความหมายของเพลโตคือ

(1) ความไม่ลําเอียง

(2) เสมอภาค

(3) ความยุติธรรม

(4) ความเท่าเทียม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 35 “ความยุติธรรม” ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรม แต่หมายถึง สิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ

100 ถ้าคุณธรรมประจําตัวเขาถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยาก เขาเหมาะที่จะเป็นอะไร

(1) ผู้ปกครอง

(2) นักการเมือง

(3) ทหาร

(4) ข้าราชการ

(5) ผู้ผลิต

ตอบ 5 หน้า 36 เพลโต กําหนดหรือจําแนกความยุติธรรมของบุคคลโดยใช้คุณธรรมประจําจิตโดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดจะเป็นชนชั้นใดในสังคมนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้เดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นทหาร และ ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

POL2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

– ทฤษฎีการเมือง

ตั้งแต่ข้อ 1. – 10. จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Theory of Knowledge

(2) Empirical Political Theory

(3) Political Philosophy

(4) Political Thought

(5) Political Ideology

 

1 “ความคิดความเข้าใจในเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร”

ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความ เข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับ เรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมักทําให้ไม่มีความเป็นระบบระเบียบ เช่น ความคิดทางการเมืองของโสเครติส เพลโต และอริสโตเติล เป็นต้น

2 “เป็นสาขาความรู้ย่อยสาขาหนึ่งที่อยู่ในองค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งใดเรียกว่าการกระทําดีของมนุษย์ สิ่งใดที่เรียกว่าการกระทําชั่วของมนุษย์”
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นสาขาย่อยของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา

3 ในภาษาไทยบางที่เรียกว่า ญาณวิทยา

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2 – 3) ญาณวิทยา (Epistemology) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางปรัชญานี้จะมุ่งศึกษาใน ประเด็นเกี่ยวกับว่ามนุษย์นั้นรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น คุณเห็นตัวหนังสือในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ตาผมไม่บอด ผมก็ย่อมมองเห็นน่ะซิ”) เป็นต้น

4 ทฤษฎีระบบของ David Easton ที่มีสมมุติฐานในการอธิบายว่า ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นจากการทํางานที่ถูกต้องของระบบหรือการทํางานที่ผิดปกติของระบบ

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองแบบเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) เป็นการใช้วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์ กระแสหลักที่เรียกว่า การศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งเป็นการดําเนินการตาม แนวทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยนักทฤษฎีสําคัญที่ใช้ แนวทางนี้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ David Easton

5 เป็นวิชาที่พยายามมุ่งค้นหาคําตอบอมตะในทางการเมือง (Philosophia Perennis)

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้อันแท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด

6 คําอธิบายทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์กระแสหลักในยุค Positivism

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

7 วิชาที่ศึกษาถึงคําอธิบายเรื่องผู้ปกครองของ Plato ที่ว่าผู้ปกครองนั้นจะต้องมาจากการคัดสรรไม่ใช่ประชาชนที่ไหนก็ได้จะสามารถมาเป็นผู้ปกครอง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

8 คําศัพท์ใดในตัวเลือกข้างต้นเป็นคําที่ Antoine Destutt de Tracy ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) อุดมการณ์ (Ideology) เป็นคําใหม่ที่เกิดขึ้นโดย Antoine Destutt de Tracy ในช่วง ค.ศ. 1796 – 1798 ซึ่งเขาได้เขียนงานออกมาชิ้นหนึ่งเพื่อส่งไปยัง สถาบันแห่งชาติในปารีส และภายหลังได้ถูกนําไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ The Elements of Ideology จนถูกนํามาใช้ประกอบคําว่า Political Ideology ในเวลาต่อมา

9 ไม่ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าปรากฏการณ์ทางการเมือง (Political Phenomenon) แต่เน้นศึกษาไปที่ธรรมชาติของการเมือง

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นวิชาหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดของวิชารัฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษาสิ่งที่เป็นพื้นฐานทางการเมืองหรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) แต่ไม่ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าปรากฏการณ์ทางการเมือง (Political Phenomenon)

10 คําศัพท์ใดในข้างต้นสามารถใช้สลับไปมา หรือทดแทนกับคําว่า “ลัทธิทางการเมือง” ได้มากที่สุด

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) และลัทธิทางการเมือง (Political Doctrine) ในทางทฤษฎีมีความใกล้เคียงกันแต่ก็มี ข้อแตกต่างกันอยู่ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีลักษณะเป็นคําสอนกว้าง ๆ ไม่ได้ เฉพาะเจาะจงวิธีการเฉพาะไว้ ส่วนลัทธิทางการเมืองจะมีสูตรสําเร็จวิธีการดําเนินการทางการเมืองที่แน่ชัดระบุไว้อย่างชัดเจน

– นครรัฐกรีก

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Corinth

(2). Tyranny

(3) Democracy

(4) Isagoras

(5) Solon

 

11 Aristotle เรียกการปกครองของคนส่วนใหญ่ในสังคมที่เต็มไปด้วยคนไร้การศึกษาและยากจน

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20 – 21, 62) อริสโตเติล (Aristotle) เห็นว่า การปกครองแบบ Democracy เป็นการปกครองของพวกชนชั้นต่ำ คนจนที่ไร้การศึกษา ซึ่งจะทําให้รัฐ ล่มสลายลงในที่สุดเพราะไม่มีเงินมาใช้จ่ายเพื่อกิจการสาธารณะ

12 บุคคลใดที่เป็นบุคคลที่เข้ามาปฏิรูปการเมืองโดยออกกฏว่า ประชาชนสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งศาลประชาชนนี้เองเป็นการแผ้วถางไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) เมื่อปี 594 ก่อนคริสตกาล ได้มีชนชั้นสูงคนหนึ่งของเอเธนส์ชื่อว่า โซลอน (Solon) ได้เข้ามาปฏิรูปการศาลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเอเธนส์ โดยเขาได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้ประชาชนที่ไม่พอใจการตัดสินของศาลสามารถอุทธรณ์ต่อ ศาลประชาชนได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ได้นําไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต

13 ช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรงอีก โดยในเอเธนส์ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งคือ “ไคลอิสธีเนส” (Kleisthenes) และอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายของใคร

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) ช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง โดยในเอเธนส์ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายชนชั้นสูงนําโดย . อิซาโกรัส (Isagoras) และฝ่ายชนชั้นล่างที่นําโดยไคลอิสธีเนส (Kleisthenes) ซึ่งผลสุดท้ายฝ่ายไคลอิสรีเนสเป็นผู้ชนะและสถาปนาการปกครองของพวกชนชั้นต่ำ(Democracy) ขึ้นมา

14 เป็นนครรัฐหนึ่งที่สําคัญในยุคกรีกโบราณ

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19) ในยุคโบราณจะเรียกนครรัฐต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณทะเลอีเจียน ทะเลครีต และทะเลไอโอเนียนว่า กรีก โดยนครรัฐที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ (Athens) นครรัฐรัฐสปาร์ต้า (Sparta) นครรัฐโครินทร์ (Corinth)

15 การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ทําไปเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 60) ทรราช (Tyranny) เป็นรูปแบบการปกครองที่อํานาจอยู่ในมือคน ๆ เดียว โดยผู้ปกครองในรูปแบบการปกครองลักษณะนี้จะใช้อํานาจไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง

16 ใครเป็นคนที่น่าจะกล่าวว่า “ในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่าง เพราะความจริงเป็นเรื่องของ การให้คุณค่าของคนแต่ละคน”

(1) Socrates

(2) Pairus

(3) Plato

(4) Pythagoras

(5) Protagoras

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) เป็นโซฟิสท์คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยมที่ว่าคนแต่ละคนมีอิสระที่จะ ทําตามสิ่งที่ตนเองคิด โดยในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น

17 ใครเป็นคนกล่าวว่า “สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะ ของเมืองนั้น”

(1) Pithagorus

(2) Pairus

(3) Plato

(4) Pythagoras

(5) Protagoras

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 บุคคลใดต่อไปนี้เชื่อว่าความรู้ทางการเมืองหรือศิลปะทางการเมือง เป็นสิ่งที่สามารถสอนและถ่ายทอด ให้ใครก็ได้

(1) Socrates

(2) Aristotle

(3) Plato

(4) Sophists

(5) พวก Philosopher

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24) โซฟิสท์ (Sophists) เชื่อว่า ความรู้ความสามารถทางการเมืองเป็นสิ่งที่สามารถสอนหรือถ่ายโอนกันได้ และสามารถสอนให้ใครก็ได้หรือฝึกฝนให้ใครก็ตามมีความรู้ได้ด้วย

19 การปกครองของเอเธนส์ด้วยวิธีการ “By Lot” เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของเรื่องใดต่อไปนี้ มากที่สุด

(1) ความเสมอภาค

(2) ความเมตตา

(3) ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

(4) เสรีภาพ

(5) ชนชั้นที่แตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 19 – 20, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) ชนชั้นในสังคมของเอเธนส์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

1 พลเมือง (Citizen)

2 ต่างด้าว (Metics)

3 ทาส (Slaves) ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มจะมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ไม่มีกลุ่มใดที่มีอํานาจเหนือกว่ากัน เนื่องจากเอเธนส์ใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือใช้วิธีการ

จับฉลาก (By Lot) ในการตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

20 ชนชั้นใดในเอเธนส์ที่ต้องทํางานหนักมากที่สุด

(1) Citizen

(2) Metics

(3) Slaves

(4) Ecclesia

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 27 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Athens

(2) Sparta

(3) Melos

(4) Crete

(5) ในบรรดาตัวเลือกต่อไปนี้ไม่มีข้อใดถูกต้องเลย

 

21 เป็นนครรัฐที่ยึดถือความเป็นกลาง

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ชาวเมเลียน (Melian) เป็นอาณานิคมของสปาร์ต้าที่อาศัยอยู่บนเกาะเมลอส (Melos) ซึ่งยึดถือหลักความเป็นกลางเพราะรบไม่เก่ง แต่เนื่องจาก เมืองนี้ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ นครรัฐเอเธนส์จําเป็นต้องยึดเมืองนี้เอาไว้ โดยให้ทางเลือกแก่ ชาวเมเลียนให้ยอมแพ้ แต่ชาวเมเลียนไม่ยอมแพ้จึงถูกบุกทําลายจากฝ่ายเอเธนส์ จนในที่สุดก็ตกเป็นทาส และเป็นเมืองขึ้น

22 นครรัฐใดก่อตั้ง “สมาพันธ์เพโลพอลนีเซียน” (Peloponnesian) ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27) หลังจากที่กรีกชนะเปอร์เซียแล้ว นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ได้ก่อตั้งพันธมิตรที่ชื่อว่า สมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos) ส่วนนครรัฐสปาร์ต้า (Sparta) ก็ได้ก่อตั้งสมาพันธ์เพโลพอลนีเชียน (Peloponnesian) ขึ้นเพื่อแข่งขันกัน จนในท้ายที่สุดก็ได้ลุกลามเป็นสงครามเพโลพอลนีเชียน

23 นครรัฐใดเป็นผู้ก่อตั้งพันธมิตรที่ชื่อว่า สมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos)

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

24 “คนที่แพ้ก็จําต้องยอมรับความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น นี่คือหลักความยุติธรรม” เป็นความคิดของนครรัฐใดในบทสนทนาของชาวเมเลียน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37), (คําบรรยาย) ทราไซมาคุส (Thrasymachus) นักคิดชาวเอเธนส์ (Athens) เชื่อว่า คนที่มีกําลังมากกว่าจะทําอะไรก็ได้ และคนที่แพ้ก็จําต้องยอมรับ ความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น นี่คือหลักความยุติธรรม

25 “คนฉลาดคือคนที่รักษาตัวรอด ไม่ใช่คนที่มัวแต่ห่วงเกียรติยศ” เป็นความคิดของนครรัฐใดในบทสนทนาของชาวเมเลียน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) ชาวเอเธนส์ (Athens) เชื่อว่า ธรรมชาติของคนทุกคนจะต้องรักษาตัวเอง ดังนั้นคนฉลาดคือคนที่รักษาตัวรอด ไม่ใช่คนที่ห่วงเรื่องเกียรติยศศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น

26 ในบทสนทนาของชาวเมเลียนได้กล่าวว่า ทราไซมาคุส (Thrasymachus) มาจากนครรัฐใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

27 นครรัฐใดเลือกที่จะไม่ยอมแพ้ ยอมต่อสู้ดีกว่าตกเป็นทาส หรือเป็นเมืองขึ้น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

 

โรมัน

ตั้งแต่ข้อ 28 – 32 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) Polis

(2) Cosmopolitanism

(3) Alexander The Great

(4) Hellenic

(5) Hellenistic

 

28 ลักษณะร่วมที่สําคัญประการหนึ่งของความคิดทางการเมืองในยุคโรมัน ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76, 82) แนวคิดแบบพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ถือเป็นแนวคิดหลักในช่วงต้นของยุคอาณาจักรโรมันหรือในช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้ เปลี่ยนมุมมองทางการเมืองจากการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องราวสาธารณะหรือความเป็นนครรัฐ (Polis) ตามแนวความคิดของชาวกรีกโบราณ มาเป็นวิธีคิดเกี่ยวกับการแสวงหาความสุขใส่ตัว โดยเห็นว่า รัฐไม่ใช่สิ่งที่ดีที่ทําให้บุคคลบรรลุความสุขได้ และมนุษย์ไม่ควรที่จะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลก

29 ยุคที่กรีกเรืองอํานาจ ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้น และอารยธรรมเจริญถึงขีดสุด

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) หมายถึง ยุคที่กรีกเรืองอํานาจก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของมาซิโดเนีย ส่วนยุคที่เกิดหลังยุคนี้เรียกว่า ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) ซึ่งหมายถึง ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรืองอํานาจอีกต่อไปโดยยุคนี้จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีก หรือวัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลเท่านั้น

30 นครรัฐของพวกกรีกโบราณ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

31 ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรื่องอํานาจอีกต่อไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

32 ลูกศิษย์คนหนึ่งของ Aristotle เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของมาซิโดเนีย

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) กษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาซิโดเนีย (Alexander The Great) เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของอริสโตเติล ซึ่งได้บุกทําลายนครรัฐเอเธนส์จนล่มสลายลงซึ่งมีผลทําให้อารยธรรมทางการเมืองของกรีกโบราณสูญสลายไปเช่นกัน

33 “Kratia” หมายถึงอะไร

(1) กษัตริย์ของชาวกรีก

(2) อุดมการณ์หนึ่งของกรีก

(3) สํานักคิดสกุลหนึ่งของกรีก

(4) เผ่าหนึ่งของกรีก

(5) ระบอบการปกครอง

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) Democracy มาจากภาษากรีกคําว่า Demokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ำ ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครองหรือระบอบการปกครอง)

34 เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ Socrates ได้จากแหล่งใดต่อไปนี้

(1) บทละครของ Aristophanes

(2) จดหมายเหตุของพวก Sophists

(3) ข้อเขียนชิ้นต่าง ๆ ของตัว Socrates เอง

(4) บันทึกส่วนตัวของ Aristotle

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของซอคราตีส (Socrates) ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

1 งานเขียนของเพลโต (Plato)

2 บทละครของอริสโตฟาเนส (Aristophanes)

3 งานเขียนของเซโนฟอน (Xenophon)

35 ในบทสนทนา Crito สะท้อนให้เห็นว่า Socrates มีมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร

(1) กฎหมายที่ยุติธรรม คือ กฎหมายในระบอบ Democracy เท่านั้น

(2) ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมก็ให้ฆ่าตนเองตายเสียดีกว่าที่จะถูกประหารชีวิต

(3) กฎหมายทุกฉบับล้วนยุติธรรม มีแต่คนชั่วและคนที่เห็นแก่ตัวเท่านั้นที่อ้างว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม

(4) ไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่าประชาชน “ทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ซึ่ง Socrates พยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้องเชื่อฟังกฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ใช้ประโยชน์ จากสิ่งต่าง ๆ ภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็นจะต้องเชื่อฟังแม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

 

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ

(1) Aristotle

(2) Diogenes

(3) Epicurus

(4) Marcus Tullius Cicero

(5) Plato

 

36 “มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น ๆ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ เพราะมิฉะนั้นมนุษย์จะไม่สามารถบรรลุความเป็นมนุษย์ได้เลย” ความคิดลักษณะดังกล่าวน่าจะเป็นความคิดของ นักคิดคนใดมากที่สุด ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 57) Aristotle เห็นว่า “มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เพราะการมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ทําให้มนุษย์มีความคิดอ่านที่กว้างไกลขึ้น จิตใจและร่างกายก็พัฒนาขึ้นด้วย”

37 นักคิดคนใดน่าจะมีความคิดในลักษณะดังต่อไปนี้ “จุดมุ่งหมายปลายทางในชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia)”

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79) Epicurus เชื่อว่า จุดมุ่งหมายปลายทางในชีวิตมนุษย์ก็คือการแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia) ซึ่งความสุขในความหมายของ Epicurus นั้นไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เป็น การหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด (Aponia) หรืออยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia)

38 นักคิดคนใดน่าจะมีความคิดในลักษณะดังต่อไปนี้ “เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchism) คือ ประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา เพราะว่าสิ่งเหล่านั้น ทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงคุณธรรม สติปัญญา ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระอันเป็นไปตาม ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความ เป็นจริงแล้ว คนเราไม่ว่าจะรวยหรือจนก็มีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น”

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80 – 81) Diogenes นักคิดคนสําคัญของลัทธิ Cynics เป็นผู้มีมุมมองทางการเมืองที่ปฏิเสธรัฐหรือสังคม ตลอดจนสถาบันทางปกครอง จึงประสงค์ จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา ซึ่งเป็นแนวคิดของพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchism) นั้นเอง

39 ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “กฎที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฏนี้ และกฎนี้เป็นกฎนิรันดรและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ กฎที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และมันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือไม่ไปกระทํา สิ่งที่ผิด ซึ่งคําสั่งและข้อห้ามของกฎธรรมชาตินี้จะมีอิทธิพลต่อคนดีอยู่เสมอ และมันแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อ บรรดาคนชั่วช้าเลย…”

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84 – 85) Marcus Tullius Cicero มีความเชื่อมั่นในกฎธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเขาได้กล่าวว่า “กฏที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฎนี้ และกฎนี้เป็นกฎนิรันดร และไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ กฎที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และมันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือ ไม่ไปกระทําสิ่งที่ผิด”

40 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “โดยธรรมชาติแล้วมันเป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ทําสิ่งที่ดี โดยที่ความต้องการดังกล่าวนั้นเปรียบได้กับเกราะที่คอยป้องกันคุ้มกันความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน ซึ่งพลังดังกล่าวมีอยู่เหนือ ความอยากที่จะใช้ชีวิตแค่สําราญและสะดวกสบาย”

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 87) Marcus Tullius Cicero ได้กล่าวไว้ในงานชิ้นสําคัญเรื่อง The Republic ว่า “โดยธรรมชาติแล้วมันเป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ทําสิ่งที่ดี โดยที่ความต้องการดังกล่าวนั้นเปรียบได้กับเกราะที่คอยป้องกันคุ้มกันความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน…”

 

ยุคกลางและคริสต์ศาสนา

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ (1) John

(2) Peter

(3) Paul

(4) Sir Robert Filmer

(5) Augustine of Hippo

 

41 นักคิดคนใดที่มองว่า การปกครองของกษัตริย์มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ซึ่งเป็นการปกครองที่เป็นธรรมชาติที่สุด และการปกครองแบบนี้เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจากคัมภีร์ปฐมกาล (Genesis) ในไบเบิ้ล

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 96) Sir Robert Filmer เห็นว่า การปกครองของกษัตริย์ในลักษณะพ่อปกครองลูก คือ การปกครองที่เป็นธรรมชาติที่สุด และการปกครองแบบนี้ เป็นการปกครองที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ตั้งแต่สร้างโลก โดยเขาได้อ้างเหตุผลมาจากคัมภีร์ ปฐมกาลในไบเบิ้ล

42 ผู้นําในศาสนาคริสต์คนใดที่มีสัญลักษณ์หรือตราประจําตัวเป็นรูปกุญแจ

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89, 103) สันตะปาปา (Pope) มาจากภาษาละตินคําว่า “Papa” และภาษากรีกคําว่า “Pappas” ที่แปลว่า บิดา โดยสันตะปาปานั้นคือผู้นําของคริสตจักร และ ตราสัญลักษณ์ประจําตัวของสันตะปาปาทุกพระองค์จะเป็นรูปกุญแจ ซึ่งในทางคริสต์ศาสนา จะถือว่า Saint Peter เป็นสันตะปาปาองค์แรกหรือผู้นําคริสตจักรคนแรกของโลกที่ได้รับมอบกุญแจแห่งสวรรค์จากพระเยซู และนําศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม

43 ผู้ที่นําศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแพร่ในกรุงโรม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

44 “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้าและผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษเพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสําหรับคนที่ทําความดี” เป็นคํากล่าวของนักคิดคนใด

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 92 – 93) พระคัมภีร์โรม บทที่ 13 วรรคที่ 1 – 7 ของ Saint Paul ได้เขียนไว้ว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลย ที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้นก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ”

45 “ประชาชนแห่งรัฐใด ๆ ไม่มีสิทธิที่จะสถาปนาตัวเองเป็นผู้พิพากษาตัดสินการกระทําของผู้ปกครอง เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนต่างได้รับอํานาจหน้าที่ของเขามาจากพระเจ้าทั้งสิ้น และไม่ว่าเขาจะใช้ อํานาจไปในแบบใด ประชาชนก็ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ เพราะในบางครั้ง พระเจ้าทรงประทาน กษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น” เป็นคํากล่าว ของนักคิดคนใด

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 100) Augustine เห็นว่า สถาบันทางการเมือง หรือผู้ปกครองเกิดขึ้นมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น โดยกล่าวว่า “พระเจ้าคือผู้ประทานสถาบันการปกครองต่าง ๆ ให้แก่มนุษย์ เพื่อที่จะให้ประชาชนสามารถดํารงชีวิตอยู่ในโลกซึ่งความเสมอภาคและสันติภาพ ไม่ใช่สิ่งหาง่ายอีกต่อไป ดังนั้นประชาชนแห่งรัฐใด ๆ จึงไม่มีสิทธิที่จะสถาปนาตัวเองเป็น ผู้พิพากษาตัดสินการกระทําของผู้ปกครอง เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนต่างได้รับอํานาจหน้าที่ ของเขามาจากพระเจ้าทั้งสิ้น และไม่ว่าเขาจะใช้อํานาจไปในแบบใด ประชาชนก็ไม่มีสิทธิที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ เพราะในบางครั้ง พระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น”

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงเลือกคําตอบดังต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กับโจทย์หรือข้อความ

(1) Gregory VII

(2) Marsiglio da Padova

(3) Thomas Aquinas

(4) Gelasius I.

(5) Boniface VIII

 

46 นักคิดในตัวเลือกใดได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมหาศาลมาจาก Aristotle

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของ Thomas Aquinas นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ ที่เป็นกระแสหลักของยุค

47 “มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1270 – 1342 ซึ่งเขาได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 ในงานชิ้นนี้เขาเขียนขึ้นมาเพื่อสนับสนุน จักรพรรดิหลุยส์ที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือหลุยส์แห่งบาวาเรีย (Louis IV, Holy Roman Emperor/Louis of Bavaria) ที่มีปัญหาขัดแย้งกับสันตะปาปาจอห์นที่ 22” ข้อความดังกล่าวหมายถึง นักคิดคนใด

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) Marsiglio da Padova ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการ ปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

48 “อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์มากไปกว่านั้น เขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดิน ทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักร เป็นความคิดของนักคิดคนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช (Bishop)

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 108) ในปี ค.ศ. 1976 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายามที่จะตั้งสังฆราชด้วยพระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ทรง ยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช ผลสุดท้ายจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ถูกขับออกจากศาสนา และประชาชนก่อการจลาจลขึ้น

50 “แต่เดิมอํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปาทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ใช้ปกครอง ประชาชน แต่กระนั้นอํานาจดังกล่าวที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังเป็นของสันตะปาปาอยู่ เพราะการมอบดาบนี้ เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อํานาจของกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจ ของสันตะปาปาที่เป็นเจ้าของดาบที่แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง”

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VII) กล่าวว่า “พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้ และภายใต้การควบคุมของ ศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร โดยดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้ด้วยมือ ของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบ แต่ดาบเล่มที่สองนี้จะต้องอยู่ ภายใต้ดาบเล่มแรก”

 

– ซอคราตีส

51 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ

(1) The Republic

(2) The Laws

(3) The Prince

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) ซอคราตีส (Socrates) เป็นนักคิดชาวเอเธนส์ และเป็นอาจารย์ของเพลโต ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ 469 – 399 ปีก่อนคริสตกาล โดยซอคราตีสไม่เคย เขียนหนังสือทิ้งไว้ให้ได้ศึกษาเลย แต่คนรุ่นหลังสามารถทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของเขาได้ผ่านทาง งานเขียนของเพลโต

52 ข้อหาที่ซอคราติสถูกกล่าวหาในศาลประชาชนเอเธนส์ตรงกับข้อใดมากที่สุด

(1) สร้างความแตกแยก

(2) ชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด

(3) วางแผนการก่อจารกรรม

(4) กบฏ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโตได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเองและสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ

53 ระบอบการปกครองที่เขาต่อต้านมากที่สุดคือ

(1) Aristocracy

(2) Monarchy

(3) Democracy

(4) Polity

(5) Oligarchy

ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเขาเห็นว่าการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนแบบกรีกนั้น เป็นการปกครองโดยรัฐบาลที่ปราศจากคุณธรรมและความยุติธรรม และไม่อาจเชื่อได้ว่าจะสามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ถูกต้องได้

54 ระบอบการปกครองที่เขาสนับสนุนมากที่สุดคือ

(1) Aristocracy

(2) Monarchy

(3) Democracy

(4) Polity

(5) Oligarchy

ตอบ 1 หน้า 24 ซอคราตีส สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือ อํานาจในการปกครองเหนือกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคม

55 ซอคราตีสถูกประหารชีวิตนั้นปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด

(1) The Laws

(2) Apology

(3) Crito

(4) Euthyphro

(5) The Republic

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

 

เพลโต

56 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ

(1) Politics

(2) The Laws

(3) The Prince

(4) Ethics

(5) Leviathan

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) หนังสือเล่มสําคัญและได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทางการเมืองชิ้นเอกของเพลโต มีอยู่ 3 เล่ม คือ อุตมรัฐ (The Republic) รัฐบุรุษ (The Statesman) และกฎหมาย (The Laws)

57 สํานักที่เขาก่อตั้งมีชื่อว่า

(1) Athens

(2) University

(3) Lyceum

(4) Academy

(5) Apology

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) สํานักอคาเดมี (Academy) ของเพลโตได้ก่อตั้งขึ้นในปี 387 ก่อนคริสตกาล และเปิดยาวนานกว่า 900 ปี ก่อนที่จะถูกปิดโดยจักรพรรดิจัสติเนียนในปี ค.ศ. 529 ด้วยข้อหาว่าต่อต้านศาสนาคริสต์

58 ความยุติธรรมของเขาเป็นผลมาจากอะไร

(1) ปกครองแบบประชาธิปไตย

(2) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอหน้า

(3) การแบ่งชนชั้นและหน้าที่

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 35 ความยุติธรรมตามทัศนะของเพลโต คือ ผลของการแบ่งแยกชนชั้นและการแบ่งหน้าที่ซึ่งทําให้เกิดความกลมกลืนในการรวมกลุ่มกันอยู่ของมนุษย์ในสังคม โดยที่แต่ละคนได้ปฏิบัติภารกิจที่สอดคล้องกับความสามารถตามธรรมชาติของเขาหรือที่เขาได้รับการอบรมมา

59 ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมในทัศนะของเพลโต

(1) ความฉลาดรอบรู้

(2) ความยุติธรรม

(3) ความกล้าหาญ

(4) ความรอบคอบ

(5) ความรู้จักประมาณ

ตอบ 4 หน้า 35 เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ คือ ความฉลาดรอบรู้ ความยุติธรรมความกล้าหาญ และความรู้จักประมาณ ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าหากมีในบุคคลใดแล้วย่อมทําให้บุคคลนั้นประสบผลสําเร็จในการทําหน้าที่การงานและจะมีความสุขเป็น “คนดีที่แท้จริง”

60 Common Good (สัมมาร่วม) ตามความหมายของเขาคือ

(1) ความเท่าเทียม

(2) ความสามัคคี

(3) ความเสมอภาค

(4) ความยุติธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 35 ความยุติธรรม (Justice) ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรมแต่หมายถึงสิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) ตัณหา

(2) เหตุผล

(3) ความกล้าหาญ

(4) ความอดกลั้น

(5) ความรอบคอบ

 

61 คุณธรรมที่จะทําให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ผลิต

ตอบ 1 หน้า 36 เพลโต กําหนดหรือจําแนกความยุติธรรมของบุคคลโดยใช้คุณธรรมประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดจะเป็นชนชั้นใดในสังคมนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นทหาร และถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล ซึ่งเป็นคุณธรรมที่อยู่ในชนส่วนน้อยของรัฐ เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะ เป็นผู้ปกครอง ทั้งนี้ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรู้จักขันติหรือความอดกลั้นที่ยอมรับความสามารถของตนและไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น

62 คุณธรรมที่จะทําให้เหมาะสมกับการเป็นผู้พิทักษ์หรือทหาร

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 คุณธรรมที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 คุณธรรมที่จะทําให้ไม่มีการก้าวก่ายหน้าที่กัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

65 คุณธรรมที่อยู่ในชนส่วนน้อยของรัฐ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเขาคือรัฐที่มีใครเป็นผู้ปกครอง

(1) นักรบ

(2) ประชาชน

(3) ชนชั้นสูง

(4) คนที่มีความรู้

(5) ตัวแทนของประชาชน

ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ในอุตมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) เพลโตกําหนดให้ราชาปราชญ์ผู้ทรงปัญญาสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครอง เพราะเขาถือว่าการเมืองเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คนมีความสามารถเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผู้ที่จะรู้ซึ้งถึงศิลปะแห่งการเมืองการปกครองจึงมีอยู่น้อยคน ที่มีความรอบรู้อย่างดีเลิศ โดยเฉพาะความรู้ในหลักการปกครอง ซึ่งผู้ทรงปัญญาจะค้นพบด้วยวิธีการใช้เหตุผล และสามารถทําให้คุณธรรมแห่งการเป็นผู้ปกครองปรากฏขึ้นในตน

67 สิ่งที่เพลโตใช้คัดเลือกคนมาเป็นผู้ปกครองคือ

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) การเลือกตั้ง

(3) การศึกษา

(4) การสืบทายาท

(5) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในรัฐในอุดมคติของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมและเลือกเฟ้นคนในรัฐว่าเหมาะสมกับหน้าที่อะไร

68 ตอนหนึ่งในบทสนทนาเรื่อง Republic เพลโตใช้คําอุปมาเปรียบเทียบรัฐกับอะไร

(1) ครอบครัว

(2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

(3) รถม้า

(4) เรือ

(5) อากาศยาน

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45 – 46) หนังสือ The Republic ของเพลโตได้อุปมาเปรียบเทียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ โดยการเดินเรือหรือการนํารัฐให้เดินหน้าหรือไปในทิศทางที่ต้องการนั้น จะต้องมีผู้ควบคุมเรือหรือผู้ควบคุมรัฐที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม

69 รูปแบบการปกครองที่จะมาหลังจากระบอบประชาธิปไตยได้เสื่อมลงคือ (1) Monarchy

(2) Aristocracy

(3) Oligarchy

(4) Tyranny

(5) Democracy

ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองใน The Republic นั้น เพลโตได้เรียกชื่อตามวิธีการปกครอง โดยเขาเห็นว่ารัฐสมบูรณ์แบบหรือรัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์นั้น หากก้าวไปสู่ความเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลงเป็นขั้น ๆ โดยในขั้นแรกจะเสื่อมลงไปเป็นระบอบ วีรชนาธิปไตย (Timocracy) หรือการปกครองโดยทหาร ต่อมาจะเสื่อมเป็นระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) ที่ผู้ปกครองที่เคยเป็นทหารหันไปปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน ชนชั้นที่ยากจนก็จะรวมตัวกันเป็นพลังทําการปฏิวัติไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากมีนักการเมืองบางคนฉวยโอกาสหากําลังสนับสนุนจากประชาชนสถาปนา ตนเองเป็นผู้ปกครอง และเมื่อใดที่ได้รับการต่อต้านก็จะกลายเป็นทรราชปกครองในระบอบทุชนาธิปไตย (Tyranny) ในท้ายที่สุด

70 การจําแนกรูปแบบการปกครองใน The Statesman ใช้หลักเกณฑ์ใดในการจําแนก

(1) กฎหมาย

(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง

(3) จํานวน

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยามประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ

1 จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก

2 กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย

 

อริสโตเติล

71 เขามีพื้นเพเป็นคนรัฐใด

(2) สปาร์ต้า

(3) คอรินธ์

(4) คาร์เธจ

(5) มาซิโดเนีย

ตอบ 5 หน้า 45 อริสโตเติลเกิดเมื่อปี 384 ก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากรัสทางชายฝั่งของมาซิโดเนีย”และได้เดินทางมาศึกษาที่สํานักอคาเดมีของเพลโตที่กรุงเอเธนส์ หลังจากที่เพลโตเสียชีวิต เขาได้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายสํานัก จนถูกพระเจ้าฟิลลิปเรียกตัวให้ไปเป็นครูสอนหนังสือแก่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์

72 เขามีโอกาสเป็นครูสอนหนังสือให้กับ

(1) เฮอร์เมียส

(2) ไดโอนิซุส

(3) อเล็กซานเดอร์

(4) อคิลิส

(5) ฟิลลิป

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 สํานักที่เขาก่อตั้งขึ้นมีชื่อว่า

(1) Athens

(2) University

(3) Lyceum

(4) Academy

(5) Apology

ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติลได้เปิดสํานักศึกษาชื่อว่า สีเซียม (Lyceum) ขึ้นในกรุงเอเธนส์ (Athens)ภายหลังที่ถูกยึดครองจากอาณาจักรมาซิโดเนีย โดยผลงานสําคัญและหนังสือของเขาได้รับ การจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์(The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

74 ผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ

(1) Social Contract

(2) The laws

(3) Politics

(4) The Prince

(5) The Leviathan

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 เหตุที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์คือ

(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ

(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก

(3) ใช้วิธีการสังเกตและตรวจสอบ

(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 46 อริสโตเติลได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ หรือนักรัฐศาสตร์คนแรกเนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และการสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

76 “Telos” มีความหมายถึง

(1) จุดมุ่งหมายปลายทาง

(2) เป้าประสงค์

(3) จุดประสงค์

(4) จุดมุ่งหมายสูงสุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) คําว่า เทลอส (Telos) ในภาษากรีก แปลว่าจุดมุ่งหมายปลายทาง จุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ หรือจุดประสงค์ ส่วนคําว่า Arete หรือ Virtue ที่แปลว่า ความประเสริฐเฉพาะ หรือคุณธรรมนั้น เมื่อนํามาเกี่ยวข้องกับ Telosจะหมายความว่า การเป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos นั่นเอง

77 “Arete” มีความหมายเกี่ยวข้องกับ “Telos” อย่างไร

(1) เป็นจุดมุ่งหมายของ Telos

(2) เป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos

(3) เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้ Telos

(4) เป็นผลลัพธ์จากการที่มนุษย์มี Telos

(5) เป็นสิ่งที่ควบคุม Telos

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 “Arete” มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า

(1) ความรอบรู้

(2) ความอดทนอดกลั้น

(3) จุดมุ่งหมายปลายทาง

(4) ความมุ่งมั่น

(5) ความประเสริฐเฉพาะ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 เหตุที่มนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในรัฐคือ

(1) ป้องกันตัวมนุษย์จากสัตว์ร้าย

(2) ป้องกันตัวจากมนุษย์ด้วยกันเอง

(3) พัฒนาจิตใจมนุษย์

(4) มนุษย์สามารถช่วยเหลือกันได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 47 อริสโตเติล เห็นว่า รัฐเปรียบเสมือนแหล่งพํานักตามธรรมชาติซึ่งคนมุ่งหวังที่จะพบกับชีวิตที่สมบูรณ์ โดยคนกับรัฐเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกเพราะต่างก็มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน คือ ต้องมีวิถีชีวิตเป็นไปเพื่อความสูงส่งทางจริยธรรมด้วยการพัฒนาจิตใจเมื่ออยู่ร่วมกันภายในรัฐ

80 สิ่งที่จะสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในรัฐคือ

(1) ผู้ปกครอง

(2) พลเมือง

(3) ศาล

(4) ประชาชน

ตอบ 5 หน้า 47 อริสโตเติล เห็นว่า กฎหมายเป็นสิ่งจําเป็น และเป็นสถาบันที่จะขาดเสียไม่ได้ในการรวมกันอยู่เป็นรัฐ เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่บันดาลให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และสร้างสรรค์สันติสุขให้กับชนในรัฐ

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) Aristocracy

(2) Monarchy

(3) Oligarchy

(4) Polity

(5) Tyranny

 

81 เป็นการปกครองโดยคน ๆ เดียวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ตอบ 2

82 เป็นการปกครองโดยคน ๆ เดียวเพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง

ตอบ 5

83 เป็นการปกครองโดยคณะบุคคลเพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง

ตอบ 3

84 เป็นการปกครองโดยมหาชนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ตอบ 4

85 เป็นการปกครองโดยคณะบุคคลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ตอบ 1

 

พุทธศาสนา

86 ภูมิหลังของศาสนาพุทธเกิดมาจากอารยธรรมใด

(1) เมโสโปเตเมีย

(2) บาบิโลเนีย

(3) สินธุ

(4) อัลไต

(5) ชมพูทวีป

ตอบ 3 หน้า 99 ศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาจากอารยธรรมสินธุที่ตั้งอยู่บริเวณอินเดียตอนเหนือและตอนกลาง โดยกษัตริย์ในยุคพุทธกาลจะครองราชย์ด้วยวิธีการสืบสันตติวงศ์และการได้รับเลือก แต่มิได้มีอํานาจเด็ดขาด จะมีระบบสภาคอยควบคุมหรือเลือกกษัตริย์ด้วย

87 ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท เรียกรวมกันว่า

(1) ไตรสิกขา

(2) ไตรสรณาคมน์

(3) ไตรปิฎก

(4) ไตรเพท

(5) ไตรลักษณ์

ตอบ 4 หน้า 95 – 96 ในสมัยไตรเพทนั้น พวกพราหมณ์ได้มีการจัดหมวดหมู่คัมภีร์ฤคเวทใหม่โดยคัดบทที่เป็นมนต์สวดขับเพื่อใช้ในการสวดในพิธีพลีบูชาน้ําโสมแก่เทวะ เรียกว่า สามเวท คัดเอามนต์โศลกและร้อยแก้วที่ว่าด้วยพิธีพลีกรรมออกมา เรียกว่า ยชุรเวท แล้วจึงรวมฤคเวท สามเวท และยชุรเวทเข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เรียกว่า “ไตรเพท”

88 จุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาฮินดูคือ

(1) ไปอยู่กับพรหม

(2) จุติเป็นเทพ

(3) ทําพลีกรรม

(4) บําเพ็ญตบะ

(5) รวมกับพรหม

ตอบ 5 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดโดยเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลายย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดรวมเข้าสู่พรหมเช่นเดิม ดังนั้นผู้ที่แสวงหาทางหลุดพ้นจึงต้องออกจากโลกียธรรมถือเพศเป็นวานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) ก่อนถึงจะสามารถเข้ารวมกับพรหมได้

89 ปริพาชก เป็นนักบวชในศาสนาใด

(1) พราหมณ์

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) ฮินดู

(5) ศาสนาพื้นถิ่น

ตอบ 4 หน้า 97 ศาสนาฮินดูในยุคพุทธกาลนั้น แนวความคิดเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระยังคงมีอิทธิพลอยู่ จึงมีผู้พยายามแสวงหาความหลุดพ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยหลีกออกจากชีวิตทางโลก เช่น ปริพาชก (ผู้เร่ร่อน) ภิกขุ (ผู้ขอ) สันนยาสี (ผู้สละ) เป็นต้น

90 วานปรัสถ์ คือ

(1) นักบวชในศาสนาฮินดู

(2) ผู้ขอ

(3) ผู้อยู่ป่า

(4) ผู้บําเพ็ญตบะ

(5) ผู้เร่ร่อน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 97 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) เถรวาท

(2) มหายาน

(3) ไม่ตรงกับตัวเลือก 1 หรือ 2

 

91 ญาณที่ทําให้บรรลุธรรมก็คือ เกวลัชญาณ

ตอบ 3 หน้า 98 หลักความเชื่อที่สําคัญของศาสนาเชน ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระหรือวัฏสงสารไปสู่โมกษะ (ความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งการที่จะบรรลุโมกษะได้นั้นต้องได้ญาณที่เรียกว่า “เกวลัชญาณ” และผู้ได้ญาณนี้เรียกว่า “เกวลิน”

92 พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง

ตอบ 1 หน้า 102 นิกายหินยานหรือเถรวาท มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้

1 พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทุกประเภท เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง

2 บุคคลที่บรรลุธรรมและเข้าถึงภาวะโมกษะด้วยการสดับคําสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติด้วยตนเองจะเป็นได้สูงสุดแค่พระอรหันต์เท่านั้น

3 แนวคิดของเถรวาทนี้จะสามารถช่วยให้ผู้คนและสรรพสัตว์ก้าวข้ามจากวัฏสงสารได้น้อยเพราะต้องปฏิบัติเอง

93 ที่ที่พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ก็คือ พุทธเกษตร

ตอบ 2 หน้า 103 นิกายมหายาน มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้

1 พระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายทั้งในอดีตและปัจจุบันนับไม่ถ้วน สถิตอยู่ในที่ที่เรียกว่าพุทธเกษตรตามทิศและแดนต่าง ๆ

2 พระพุทธเจ้าที่มนุษย์เห็นและรู้จัก ล้วนแต่เป็นการทําให้ปรากฏขึ้นโดยพระศาสดาเจ้า(พระอาทิพุทธ) ทั้งสิ้น

3 แนวคิดของมหายานนี้จะสามารถช่วยนําพาผู้คนและสรรพสัตว์ก้าวข้ามจากวัฏสงสารได้เป็นจํานวนมาก

94 การบรรลุธรรมคือการบรรลุอรหันต์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

95 นับถือพระอาทิพุทธ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

96 ขนสัตว์ออกจากวัฏสงสารได้น้อย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

97 ขนสัตว์ออกจากวัฏสงสารได้มาก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

98 อัคคัญญสูตร คือพระสูตรที่อธิบายเรื่องใด

(1) กําเนิดรัฐ

(2) รูปแบบของรัฐ

(3) คุณธรรมของผู้ปกครอง

(4) การดับทุกข์

(5) ธรรมชาติมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) อัคคัญญสูตร คือ พระสูตรที่ว่าด้วยการกําเนิดจักรวาล โลก สังคม วรรณะ และมนุษย์ ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

99 คุณธรรมของผู้ปกครองของศาสนาพุทธ ได้แก่

(1) อรรถศาสตร์

(2) ราชนิติ

(3) ทศพิธราชธรรม

(4) กุศลกรรมบท

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 หน้า 116 ศาสนาพุทธ ได้กล่าวถึงคุณธรรมของกษัตริย์ไว้ดังนี้

1 ต้องไม่มีอคติในการวินิจฉัยอรรถคดี

2 อยู่ในทศพิธราชธรรม

3 ถือกุศลกรรมบท

100 แนวคิดของศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการปกครองของไทยปรากฏในแนวคิดใด

(1) จักรพรรดิ

(2) ธรรมราชา

(3) เทวสิทธิ์

(4) ราชาภิเษก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดเรื่องธรรมราชาตามหลักทางพระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยึดหลักธรรมคําสอน ของพระพุทธเจ้าใช้ปกครองบ้านเมืองเสมอมา

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของ Munsterberg “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเกือกจนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว เเต่ควรพิจารณาที่ บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่ (1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้า 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

5 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การทิ้งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง

(2) ปัญหาการติดต่อสื่อสาร

(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง

(4) การทุจริต

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าชาของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

6 “การให้การศึกษา” เป็นการควบคุมแบบใด

(1) เป็น Pre Control แบบหนึ่ง

(2) เป็น Post Control แบบหนึ่ง

(3) เป็น Real Time Control แบบหนึ่ง

(4) เป็นได้ทั้ง 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 266 267, (คําบรรยาย) การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) อาจกระทําได้โดย

1 การวางแผนหรือการกําหนดโปรแกรมการทํางานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control) เช่น การวางแผนปฏิบัติการ การใช้ Gantt Chart หรือ ม.ร.30 เป็นต้น

2 การจัดทํางบประมาณไว้ล่วงหน้า (Bucigetary Control)

3 การให้การศึกษาหรือความรู้แก่ผู้ปฏิบัiการ (Educational Control) เช่น การฝึกอบรม การปฐมนิเทศหรือนิเทศงาน การอธิบายรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

7 องค์ประกอบในระบบโครงสร้างขององค์การ ได้แก่

(1) Positions and Authority

(2) Division of Work

(3) Span of Control

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หมายถึง การสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ตําแหน่งเละอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) ช่วงการบังคับบัญชา (Span of Control) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of World) เป็นต้น โดยโครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ

8 เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ

(3) วิธีการทํางาน

(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้

1 ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงานรวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2 ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและกลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3 ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่แผนกงาน เป็นต้น

4 ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ครอบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

9 เหตุผลของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่

(1) เพื่อค้นหาข่าวสาร

(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก

(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา

(4) เพื่อกําหนดเป้าหมาย

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทำแสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

10 Conscious Decisions มักเกิดในระดับใดของการบริหาร

(1) การบริหารระดับสูง

(2) การบริหารระดับกลาง

(3) การบริหารระดับต้น

(4) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 1 และ 2

(5) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 5 ระดับ คือ

1 ระดับปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decisions)

2 ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้ การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decisions) 3 ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึกและแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

11 ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหารที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่

(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด

(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน

(3) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยเก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

12 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Action Theory

(2) Administrative Theorists

(3) Human Relation Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของ สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

13 ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่ Herbert Kaufman เห็นว่าเป็น External Management

(1) การตัดสินใจ

(2) การจูงใจ

(3) การกําหนดนโยบาย

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหาร เช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 9) ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

14 Efficiency ของการบริหาร ให้พิจารณาที่

(1) งบประมาณที่ใช้

(2) ระยะเวลาที่ใช้

(3) ปริมาณผลงานที่ได้รับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

15 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม….. ที่หายไปคือ

(1) เทคโนโลยีและการศึกษา

(2) เศรษฐกิจและการเมือง

(3) การเมืองและเทคโนโลยี

(4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

16 ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น

(1) ขนาดของกิจการ

(2) การเป็นเจ้าของกิจการ

(3) วัตถุประสงค์

(4) ผลผลิต

(5) ทฤษฎีองค์การ

ตอบ 5 (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิง (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1 วัตถุประสงค์

2 การเป็นเจ้าของกิจการ

3 ขนาดของกิจการ

4 ผลผลิต

17 Barron และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

18 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Mechanistic Organization – Formal Organization

(2) Mechanistic Organization – Bureaucratic Model

(3) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักร

(4) Organic Structure – การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(5) Organic Structure – หน่วยผลิตที่มีการผลิตเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน

ตอบ 4 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Mode ) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เป็น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้างแบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ และ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structures

19 ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Motivator Factors สูงที่สุด

(1) นโยบายและการบริหาร

(2) ความก้าวหน้าในงาน

(3) ลักษณะของงาน

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองเล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา เเละสภาพการทํางาน

20 “…..ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อ ประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Inner Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment)ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Baton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

21 วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่

(1) Scientific Management

(2) Management Science

(3) Operation Research

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

  1. “…พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่งใด

(1) A System Approach

(2) Contingency Theory

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative: Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

23 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ

(2) กิลเบิร์ต – นีโอคลาสสิก

(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก

(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ

(5) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานขวงงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลา และการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

24 แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิยการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) ประชานิยม

(4) ประจักษนิยม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 เเบบ คือ

1 เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2 สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

25 การบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการบริหารตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ตัวแบบระบบราชการ

(3) นักทฤษฎีการบริหาร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 22 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton 5 Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A. H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

26 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Participative Management

(3) Management by Objectives

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในเงดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy,

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

27 กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”

(1) Piece Rate System

(2) Gantt Chart

(3) Staffing

(4) Reporting

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎี องค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางาน และการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นเเผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือ กิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้น แนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

28 “ความสามารถของผู้ประสานงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ (1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

29 “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

30 “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

31 ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น

(1) มีการวางแผน

(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร

(3) มีความเจริญเติบโตภายใน

(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต

(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback. Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด)

32 แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น…. แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

33 นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt Gilbreths, Emerson

(1) Neo-Classical Organization Theory

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42 – 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มีดังนี้

1 Frederick W. Taylor

2 Henry L. Gantt

3 Frank และ Lillian Gilbreths

4 Harrington Emerson

5 Morris t. Cooke ฯลฯ

34 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น

(2) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(3) เน้นเอกภาพในการบังคับบัญชา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1,2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexibles Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

35 การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำในการทางาน ทั้งๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกนฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การค้นหามาตรฐานของงาน

(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา

(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหล็กเสี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น

การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

35 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) Social Needs

(2) Ego Needs

(3) Safety Needs

(4) Physiological Needs

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

37 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) นิเวศวิทยาของการบริหาร

(4) ความสมดุลของระบบทางกายภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homecstasis) ย่อเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพ ที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

38 “วิธีการที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Decision Making

(2) Staffing

(3) Controlling

(4) Organizing

(5) Communication

ตอบ 5 หน้า 243 การสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) หมายถึง ตัวเชื่อมโยงที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใดซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

39 การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Equity

(4) Ethic

(5) Effectiveness

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

40 ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ ได้แก่

(1) ทําให้ลดการจ้างงาน

(2) ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

(3) สิ้นเปลืองเวลาในการบริหารงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 86, (คําบรรยาย) ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ (MS/OR) มีดังนี้

1 ให้ความสําคัญต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมจิตวิทยาน้อย

2 วิธีการอธิบายและแนะนําให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัญหาและทางแก้ไขยังไม่ดีพอทําให้ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

3 ก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์การ

4 นํามาซึ่งการลดการจ้างงาน

5 ผลของการวิจัยไม่อาจจะครอบคลุมถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมายได้ ฯลฯ

41 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอน 3 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

42 ตัวอย่างของ Staff Officer คือ

(1) ครูผู้สอน

(2) เจ้าหน้าที่การเงิน

(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

43 “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปองค์การจะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดของ

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

44 พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่ Robbins นําเสนอไว้ในช่วง ค.ศ. 1900 1930 เป็นยุคของนักทร ษฎีกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5

45 ทุกข์อจัดอยู่ในกลุ่ม “งานสนับสนุน” ของคณะรัฐศาสตร์ ยกเว้น

(1) การบริการทางวิชาการต่อสังคม

(2) การพัฒนากําลังคน

(3) การพัฒนาระบบการบริหาร

(4) การพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

(5) การพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ

ตอบ 1 หน้า 224, (คําบรรยาย) แผนงานด้านการพัฒนาสถาบันของมหาวิทยาลัย เช่น คณะรัฐศาสตร์)เป็นแผนงานด้านภารกิจสนับสนุน (Staff ในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยแผนย่อย 5 แผน ได้แก่

1 แผนการจัดรูปองค์การ

2 แผนการพัฒนากําลังคน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร

3 แผนการพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

4 แผนการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเงิน

5 แผนการพัฒนาระบบการบริหารงาน

46 ข้อใดที่เป็นประเด็นในการพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์การตามหลักของ SWOT Analysis

(1) Weaknesses

(2) Opportunities

(3) Strengths

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

47 กรณีใดที่จัดเป็นวิธีการศึกษาการตัดสินใจแบบ Descriptions of Behavior

(1) การพรรณนาลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจ

(2) การอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ผ่านมา

(3) การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจรูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใดของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถานหรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้าง รูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่าสิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและ ดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนกาเรตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

48 ทุกข้อเกี่ยวข้องกันโดยตรง ยกเว้น

(1) พฤติกรรมศาสตร์ – กลุ่มสังคมในองค์การ

(2) หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ – ประสิทธิภาพสูงสุด

(3) ทฤษฎีระบบราชการ – ประสิทธิภาพสูงสุด

(4) นักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก – หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

(5) การบริหารตามสถานการณ์ – ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12 และ 25 ประกอบ

49 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางลบที่เกิดกับกลุ่มเนื่องจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่

(3) ประสิทธิภาพที่พบจากการทดลองที่ Western Electric Company

(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบราที่เป็นผู้บัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแล ที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

50 การที่องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน เป็นหลัก ในเรื่องใด (1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักเอกภาพขององค์การ

(4) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 58 หลักเอกภาพขององค์การ (Unity of Direction) เป็นหลักการบริหารที่ว่าองค์การจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนต่างช่วยกันทํางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน

51 ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่

(1) ข้อมูลบุคลากร

(2) ข้อมูลทรัพย์สิน

(3) ข้อมูลการให้บริการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นอมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้าข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

52 คําพูดที่ว่า “a picture is worth a thousand words” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกระบวนการบริหาร

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การวินิจฉัยสั่งการ

(4) การสื่อความเข้าใจ

(5) การติดตามประเมินผล

ตอบ 4 หน้า 246, (คําบรรยาย) Kast และ Rosenzweig ได้กล่าวเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจ(Communicating) ไว้ว่า “รูปภาพเพียงใบเดียวมีค่ายิ่งกว่าคําพูดเป็นพัน ๆ คํา” (a picture is worth a thousand Words) นั่นหมายความว่า รูปภาพช่วยสื่อความหมายของข่าวสารได้ดีกว่าคําพูด

53 “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ….การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่

(1) สังคมเด็กวัยรุ่น

(2) สังคมคนชรา

(3) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา

(4) สังคมเศรษฐกิจไทย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขา เร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการใดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

54 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industrial Humanism

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

55 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

56 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(2) การควบคุมองค์การ

(3) การวางแผนองค์การ

(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

57 “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล….” ผู้ริเริ่มได้แก่

(1) Gilbreths

(2) Emerson

(3) Cooke

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกลาวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Wayไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

58 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

59 ปัญหาใหญ่ที่สุดของ “การสื่อความเข้าใจ” ได้แก่

(1) ภาษาที่ใช้

(2) เทคโนโลยี

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ระบบงาน

(5) ขนาดองค์การ

ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ปัญหาที่สําคัญ และใหญ่ที่สุดของกระบวนการสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ คือ ความพยายามในอันที่จะเข้าใจถึงความหมายของภาษาหรือการเรียนรู้ถึงความหมายของภาษาที่ใช้ (Semantics) นั้นเอง

60 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(3) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89, 98 – 107, (คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ทั้งนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพเวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต(Dynamic Equilibrium)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯฯ

61 ตัวอย่างของ “องค์การปฐมภูมิ” ได้แก่

(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

(3) กรมพัฒนาชุมชน

(4) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(5) กรมสรรพากร

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)มีลักษณะสําคัญ คือ เป็นองค์การที่พึ่งจะกําเนิดขึ้นมา, บุคลากรภายในเป็นคนรุ่นแราหรือเป็น รุ่นที่ริเริ่มก่อตั้งองค์การ, ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ภายในมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงไม่คํานึงถึงสายการบังคับ บัญชา, องค์การอาจล้มเลิกไปเมื่อใดก็ได้หากพัฒนาไปสู่องค์การถาวรไม่สําเร็จ เขน องค์การบริหาร ส่วนตําบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นต้น

62 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบเปิด” ได้แก่

(1) การกําหนดมาตรฐานของงาน

(2) การแบ่งงานเฉพาะด้าน

(3) การมีแผนล่วงหน้า

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) ความต้องการประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

63 การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นพฤติกรรมในข้อใด

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(3) ความล้มเหลวของผู้นํา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

64 ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่

(1) Fayol

(2) Taylor

(3) Urwick

(4) Weber

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Cutick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 0 = Organizing (การจัดรูป งาน)

3 S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)

4 D : Directing (การสั่งการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การจัดทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

65 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์

(4) การประสานงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น FA-POSDCORE โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

66 Post Control ได้แก่

(1) การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน

(2) การตรวจงาน

(3) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

(4) การใช้โปรแกรมการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสจสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของโครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

67 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด ๆ

(1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) หลักเอกภาพขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานทํา

68 “การกระจายอํานาจ” คือ

(1) Span of Control

(2) Chain of Command

(3) Division of Work

(4) Centralization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ำมากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรองๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสิน จในปัญหา ต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

69 Chair of Command คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลกหน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมชั้นธภาพของการติดต่อสือข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร และมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

70 Span of Control คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จำนวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลกี่หน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

71 Span of Management คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลที่หน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 Division of Work คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแข่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นสวน ๆ และมอบหมาย ให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

73 Unity of Command หมายถึง

(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว

(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน

(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1,2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

74 Centralization หมายถึง

(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กาเรต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว

(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน

(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้กําหน้าที่ตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาย การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้

75 ทุกข้อเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ ยกเว้น

(1) ปรัชญาการบริหาร

(2) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันด้านนโยบาย

(3) เทคนิคในการควบคุม

(4) ประวัติความเป็นมา

(5) งบประมาณ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174 ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของการตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

3 ขนาดขององค์การ

4 ประวัติความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน ฃ

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปเคามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

76 ข้อใดเป็นลักษณะของสายการบังคับบัญชา

(1) Communication

(2) Authority

(3) Responsibility

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา มีลักษณะที่สําคัญซึ่งสามารถแยกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะของอํานาจหน้าที่ (Authority Aspect)

2 ลักษณะของความรับผิดชอบ (Responsibility Aspect)

3 ลักษณะของการติดต่อสื่อสาร (Communication Aspect)

77 “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) Format Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอยางเป็นทางการ” (Formal Authority Theory)มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เป็นเพราะผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Format Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในล้าษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมีใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการ ใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูาต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

78 “อํานาจที่เกิดขึ้นเพราะลูกน้องเห็นว่าการใช้อํานาจนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ”การใช้อํานาจลักษณะดังกล่าวเป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) Formal Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 Chester I. Barnard ได้ให้ความหมายของอํานาจตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) โดยกล่าวว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับอํานาจของผู้บังคับบัญชา เหนือตนก็ต่อเมื่อ เขาสามารถเข้าใจในคําสั่งและเชื่อว่าการใช้อํานาจนั้น ๆ เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้อํานาจดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของตน และค่าสั่งนั้น เป็นคําสั่งที่เขาสามารถนําไปปฏิบัติได้ ซึ่งทั้งนี้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพิจารณาในเรื่องต่าง ๆดังกล่าวนี้เสียก่อนแล้วจึงตัดสินใจว่าจะเชื่อฟังหรือไม่

79 Barnard และ Simon ได้พูดถึงการใช้อํานาจหน้าที่ในลักษณะใด

(1) Formal Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงในการบริหารนั้นจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาขอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีสิทธิหรือ อํานาจเหนือตน และอํานาจหน้าที่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการ แนะนํา ชักจูง หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนด้วยความเต็มใจ โดยนักทฤษฎีที่พูดถึงการใช้อํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ Chester I. Barnard และ

Herbert A. Simon

80 “สํานักงานตํารวจแห่งชาติจัดให้มีสถานีตํารวจ” สถานีตํารวจทั้งหลายเป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 2 หน้า 194 การแบ่งงานกันทําโดยยึดอาเนาเขต (Territory) หรือภูมิศาสตร์ (Geographical)เป็นวิธีที่ง่าย ๆ ธรรมดาที่มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากมีกิจกรรมอยู่ในอาณาเขตใดต่างหากออกไปแล้ว ก็จัดรวมกิจกรรมในอาณาเขตนั้น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน และจัดให้มีผู้รับผิดชอบในอาณาเขตนั้น ๆ ซึ่งวิธีนี้เหมาะสําหรับองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะงานกระจายหรือกว้างออกไปในอาณาเขต ต่าง ๆ และมีลักษณะของการปฏิบัติงานในสิ่งเดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีตํารวจ งานราชการในจังหวัดและอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น

81 “โรงพยาบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 1 หน้า 192 193, (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําโดยยึดหน้าที่การงาน (Function) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติกันโดยทั่ว ๆ ไป โดยเริ่มต้นที่การพิจารณาว่าองค์การนั้น ๆ คือองค์การลักษณะใด และจะต้องดําเนินกิจการอะไรบ้างจึงจะครอบคลุมและทําให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งองค์การที่แบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์นี้ ได้แก่ โรงพยาบาล เทศบาล เป็นต้น

82 “เทศบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทำโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 หน่วยงานใดเป็น Line Agency

(1) หน่วยนโยบายและแผน

(2) หน่วยการเงินและพัสดุ

(3) หน่วยการเจ้าหน้าที่

(4) หน่วยงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและหน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนงานหลักให้ดําเนินไปโดยบรรลุเป้าหมาย เช่น ภาควิชา หน่วยนโยบายและแผนหน่วยงบประมาณ/การเงิน หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House- Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในลักษณะของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ : หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

84 ใน “เทศบาล” หน่วยงานใดเป็น Line Agency

(1) หน่วยโยธา

(2) หน่วยสาธารณสุข

(3) หน่วยนโยบายและแผน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ใน “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” หน่วยงานใดเป็น Lina Agency

(1) คณะรัฐศาสตร์

(2) สํานักหอสมุด

(3) กองแผน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

86 ข้อใดเป็น Auxiliary Agency

(1) งานสารบรรณ

(2) งานสวัสดิการ

(3) งานเทศกิจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

87 ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่

(1) Formal Organization

(2) Primary Organization

(3) Private Organization

(4) Local Organization

(5) Profit Organization

ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ ( Primary Organization)

2 องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

88 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ความต้องการที่จะอยู่รอด

(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ

(3) การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสวิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎเละระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ)

89 แนวคิดของ Fayol ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การน้อยที่สุด

(1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) ทักษะการบริหาร

ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การ จึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

90 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by objectives

(3) Adhocracy

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

91 Gantt จัดเป็นนักวิชาการที่อยู่ในกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Situational Approach

(3) A Systems Approach

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

92 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน

(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะขยันทํางานยิ่งขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 189 – 191, (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) มีประโยชน์ดังนี้

1 เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์หรือช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ

2 ทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange)

3 ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

4 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อนและการเหลื่อมล้ำในการทํางานในหน้าที่(ดูคําอธิบายข้อ 19 และ 27 ประกอบ)

93 “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) นักทฤษฎีการบริหาร

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

94 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกได้ว่าเป็นแบบใด

(1) แบบแนวดิ่ง (Vertical)

(2) แบบแนวดิ่ง (Horizontal)

(3) แบบแนวนอน (Vertical)

(4) แบบแนวนอน (Horizontal)

(5) แบบอิสระ

ตอบ 1 หน้า 145 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง (Vertical) ส่วนความสัมพันธ์ของ อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การนั้น จัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวนอน (Horizontal)

95 Red Tape คืออะไร

(1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

(2) ระบบการจัดเก็บเอกสารใช้กับ Computer ในหน่วยงาน

(3) ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน

(4) การเก็บเอกสารที่เป็นความลับทางราชการ

(5) ระเบียบวินัยในหน่วยงาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

96 ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดในการบริหารที่เรียกว่า Human Relations Approach คือผู้ใด

(1) Frederick Taylor

(2) Max Weber

(3) George Elton Mayo

(4) Herbert Simon

(5) Stephen F. Robbins

ตอบ 3 หน้า 72, (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับลักษณะความต้องการ ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มในองค์การ รวมถึงการดูแลจิตใจของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ จึงทําให้ Mayo ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ บิดาแห่งมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ”

97 “……. ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล ” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Perception

(2) Attitude

(3) Needs

(4) Image

(5) Personality

ตอบ 2 หน้า 75 ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคล ความรู้สึกทางใจของ แต่ละบุคคลในเรื่องราวต่าง ๆ จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ระดับที่เป็นความชอบ หรือไม่ชอบ ระดับที่เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการไตร่ตรอง จนถึงระดับที่เป็นการนําไปปฏิบัติ ทัศนคติของบุคคลจึงเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดและพฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

98 ใครเสนอว่า “องค์การเป็นระบบของการร่วมมือของปัจเจกบุคคลอย่างมีสํานึก”

(1) Taylor

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 71 Chester I. Barnard เสนอว่า “องค์การเป็นระบบที่มีการประสานกิจกรรมต่าง ๆหรือมีการร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลต่าง ๆ อย่างมีสํานึก”

99 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”

(1) Flexible Boundaries

(2) Negative Entropy

(3) Maximized Efficiency

(4) Dynamic Equilibrium

(5) Growth Through Internal Elaboration

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

100 ใครเป็นผู้เสนอ The Machine Bureaucracy

(1) Mintzberg

(2) Weber

(3) Fayol

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 210 – 214 Henry Mintzberg ได้เสนอรูปแบบขององค์การ 5 รูปแบบ ดังนี้

1 องค์การแบบเรียบง่าย (The Simple structure)

2 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy)

3 องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ (The Professional Bureaucracy) 4 องค์การแบบสาขา (The Divisionalized Form)

5 องค์การแบบโครงการ (The Adhocracy หรือ The Project Structure)

 

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของ Munsterberg “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทร ษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เห็นว่า มนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันในพฤติกรรม ดังนั้นการบริหารองค์การ เช่น การคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือ การกําหนดคนให้เหมาะสมกับงาน จึงควรพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล อันได้แก่ พฤติกรรม บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ ความต้องการ แรงจูงใจ ฯลฯ จึงจะทําให้การดําเนินงานในองค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5 “การจัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน” เป็นการควบคุมแบบใด

(1) เป็น Pre Control แบบหนึ่ง

(2) เป็น Post Control แบบหนึ่ง

(3) เป็น Real Time Control แบบหนึ่ง

(4) เป็นได้ทั้ง 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 266 267, (คําบรรยาย) การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) อาจกระทําได้โดย

1 การวางแผนหรือการกําหนดโปรแกรมการทํางานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control) เช่น การวางแผนปฏิบัติการ การใช้ Gantt Chart หรือ ม.ร.30 เป็นต้น

2 การจัดทํางบประมาณไว้ล่วงหน้า (Budgetary Control)

3 การให้การศึกษาหรือความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการ (Educational Control) เช่น การฝึกอบรม การปฐมนิเทศหรือนิเทศงาน การอธิบายรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

6 ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่

(1) ข้อมูลบุคลากร

(2) ข้อมูลทรัพย์สิน

(3) ข้อมูลการให้บริการ

(4) ทั้งข้อ 1 เละ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้าข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

7 คําพูดที่ว่า “a picture is worth a thousand words” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกระบวนการบริหาร

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การวินิจฉัยสั่งการ

(4) การสื่อความเข้าใจ

(5) การติดตามประเมินผล

ตอบ 4 หน้า 246, (คําบรรยาย) Kast และ Rosenzweig ได้กล่าวเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจ(Communicating) ไว้ว่า “รูปภาพเพียงใบเดียวมีค่ายิ่งกว่าคําพูดเป็นพัน ๆ คํา” (a picture is worth a thousand words) นั่นหมายความว่า รูปภาพช่วยสื่อความหมายของข่าวสารได้ดีกว่าคําพูด ”

8 “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่

(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา

(2) สังคมคนชรา

(3) สังคมเด็กวัยรุ่น

(4) สังคมเศรษฐกิจไทย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

9 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industriat Humanism

(4) The Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

10 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ“The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

11 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(2) การควบคุมองค์การ

(3) การวางแผนองค์การ

(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans ได้เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

12 “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล ผู้ริเริ่มได้แก่

(1) Gilbreths

(2) Emerson

(3) Cooke

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

13 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ (4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 83 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

14 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง

(2) ปัญหาที่เกิดจากระบบอุปถัมภ์

(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง

(4) ความล่าช้าในการสื่อสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 49 Red Tags: หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชาที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

15 องค์ประกอบใน “ระบบโครงสร้างขององค์การ” ได้แก่

(1) Positions and Authority

(2) Organizational Culture

(3) Span of Control

(4) ทั้งข้อ 1 เละ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หมายถึง การสร้างแบบ(Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) ช่วงการบังคับบัญชา (Span of Control) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work) เป็นต้น โดยโครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ

16 เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ

(3) วิธีการทํางาน

(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้

1 ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2 ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบ ที่รวมความต้องการของบุคคลและกลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3 ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น

4 ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหารหรือผู้ควบคุมงาน ฯ

17 เหตุผลของการเกิด “องค์การที่ไม่เป็นทางการ” ได้แก่

(1) เพื่อค้นหา One Best Way

(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก

(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา

(4) กําหนดเป้าหมาย

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนอง ต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

18 Conscious Decisions มักเกิดในระดับใดของการบริหาร

(1) การบริหารระดับสูง

(2) การบริหารระดับกลาง

(3) การบริหารระดับต้น

(4) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 1 และ 2

(5) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 3 ระดับ คือ

1 ระดับปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decisions)

2 ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decisions) 3 ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึกและแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

19 ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่

(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด

(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน

(3) ใช้เงินจูงใจ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า“มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมา ย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการ ภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

20 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Action Theory

(2) Administrative Theorists

(3) Human Relation Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลย์) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภทวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

21 ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่ Herbert Kaufman เห็นว่าเป็น External Management

(1) การตัดสินใจ

(2) การจูงใจ

(3) การกําหนดนโยบาย

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียง ร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของ เวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

22 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappel แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม…..ที่หายไปคือ

(1) เทคโนโลยีและการศึกษา (2) เศรษฐกิจและการเมือง . (3) การเมืองและเทคโนโลยี (4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี (5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่  สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

23 ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น

(1) ขนาดของกิจการ

(2) การเป็นเจ้าของกิจการ

(3) วัตถุประสงค์

(4) ผลผลิต

(5) ทฤษฎีองค์การ

ตอบ 5 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ(Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1 วัตถุประสงค์

2 การเป็นเจ้าของกิจการ

3 ขนาดของกิจการ

4 ผลผลิต

24 Barton และ Chappell จัดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่ม

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

25 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Mechanistic Organization – Formal Organization

(2) Mechanistic Organization – Adhocracy

(3) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักร

(4) Organic Structure – เน้นความสัมพันธ์ในแนวนอน

(5) Organic Structure – หน่วยผลิตที่มีการผลิตเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน

ตอบ 2 หน้า 45 – 47, 111 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การ ที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิต ขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

26 ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยดต่อไปนี้ที่เป็น Motivator Factors สูงที่สุด

(1) นโยบายและการบริหาร

(2) ความก้าวหน้าในงาน

(3) ลักษณะของงาน

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงานเงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

27 ” ……. ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Inner Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment)ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ)

28 วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่

(1) Scientific Management

(2) Management Science

(3) Operation Research

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

29 ” …….พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) A Systems Approach

(2) Contingency Theory

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ (Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

30 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ

(2) กิลเบิร์ต – จิตวิทยาในองค์การ

(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก

(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ

(5) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับจิตวิทยาในองค์การเช่นเดียวกับนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกคนอื่น ๆ โดยผลงานที่สําคัญของ Gilbreths คือ การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

31 แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) ประชานิยม

(4) ประจักษนิยม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (PS 252 เลขพิมพ์ 30270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ

1 เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2 สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

32 การบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการบริหารตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ตัวแบบระบบราชการ

(3) นักทฤษฎีการบริหาร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classica Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

33 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Participative Management

(3) Management by Objectives

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

34 กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”

(1) Piece Rate System

(2) Gantt Chart

(3) Staffing

(4) Reporting

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) “Henry L. Gantt เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้เกิดการทํางานเป็นกิจวัตรโดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตาม ความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือกิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

35 “ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ (1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

36 “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

37 “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

38 ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น

(1) มีการวางแผน

(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร

(3) มีความเจริญเติบโตภายใน

(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต

(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการคามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ

(ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

39 แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น………. แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ: ทําความเข้าใจ ให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

40 นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt, Gilbreths, Emerson

(1) Neo-Classical Organization Theory

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่ม Scientific Management มีดังนี้

1 Frederick W. Taylor

2 Henry L. Gantt

3 Frank และ Lillian Gilbreths

4 Harrington Emerson

5 Morris L. Cooke ฯลฯ

41 การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การค้นหามาตรฐานของงาน

(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา

(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick w. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

42 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น

(2) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(3) เน้นเอกภาพในการบังคับบัญชา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy”(ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

43 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกันไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) Social Needs

(2) Ego Needs

(3) Safety Needs

(4) Self-Actualization Needs

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

44 การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Effectiveness

(4) Ethic

(5) Equity

ตอบ 1 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

45 การพยายามทํางานให้บรรลุจุดประสงค์ของแผนงาน เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Effectiveness

(4) Ethic

(5) Equity

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

46 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) นิเวศวิทยาของการบริหาร

(4) ความสมดุลของระบบทางชีวภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis) ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

47 ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่

(1) Fayol

(2) Taylor

(3) Urwick

(4) Weber

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 63 – 62 Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดรูปงาน)

3 S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การสั่งการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การจัดทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

48 ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ ได้แก่

(1) ทําให้ลดการจ้างงาน

(2) ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

(3) สิ้นเปลืองเวลาในการบริหารงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 86, (คําบรรยาย) ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ (MS/OR) มีดังนี้

1 ให้ความสําคัญต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมจิตวิทยาน้อย

2 วิธีการอธิบายและแนะนําให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัญหาและทางแก้ไขยังไม่ดีพอ ทําให้ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

3 ก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์การ

4 นํามาซึ่งการลดการจ้างงาน

5 ผลของการวิจัยไม่อาจจะครอบคลุมถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมายได้ ฯลฯ

49 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

50 ตัวอย่างของ Staff Officer คือ

(1) ครูผู้สอน

(2) เจ้าหน้าที่การเงิน

(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษา ทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

51 “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปองค์การจะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดของ

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

52 พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่ Robbins นําเสนอไว้ในช่วง ค.ศ. 1900 – 1930 เป็นยุคของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Systems Theory

(3) Action Theory

(4) Contingency Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5

53 ทุกข้อจัดอยู่ในกลุ่ม “งานสนับสนุน” ของคณะรัฐศาสตร์ ยกเว้น

(1) การบริการทางวิชาการต่อสังคม

(2) การพัฒนากําลังคน

(3) การพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

(4) การพัฒนาระบบการบริหาร

(5) การพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ

ตอบ 1 หน้า 224, (คําบรรยาย) แผนงานด้านการพัฒนาสถาบันของมหาวิทยาลัย (เช่น คณะรัฐศาสตร์)เป็นแผนงานด้านภารกิจสนับสนุน (Staff) ในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยแผนย่อย 5 แผน ได้แก่

1 แผนการจัดรูปองค์การ

2 แผนการพัฒนากําลังคน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร

3 แผนการพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

4 แผนการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเงิน

5 แผนการพัฒนาระบบการบริหารงาน

54 กรณีใดที่จัดเป็นวิธีการศึกษาการตัดสินใจแบบ Descriptions of Behavior

(1) การพรรณนาลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจ

(2) การอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ผ่านมา

(3) การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์กร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจ รูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่ สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใด ของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถาน หรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่า สิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

55 ข้อใดที่เป็นประเด็นในการพิจารณาปัจจัยภายในองค์การตามหลักของ SWOT Analysis

(1) Threats

(2) Opportunities

(3) strengths

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

56 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากการได้รับการดูแลเอาใจใส่

(3) ผลที่ Mayo พบจากการทดลองที่ Western Electric Company

(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม

(5) อิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม เมื่อกลุ่มถูกเฝ้าดู

ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

57 การที่องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน เป็นหลักในเรื่องใด (1) หลักของกฎและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักเอกภาพขององค์การ

(4) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 58 หลักเอกภาพขององค์การ (Unity of Direction) เป็นหลักการบริหารที่ว่าองค์การจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนต่างช่วยกันทํางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน

58 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(3) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89, 98 – 107, คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ดังนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต(Dynamic Equilibrium)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯลฯ

59 ตัวอย่างของ “องค์การปฐมภูมิ” ด้แก่

(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

(3) กรมพัฒนาชุมชน

(4) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization) มีลักษณะสําคัญ คือ เป็นองค์การที่พึ่งจะกําเนิดขึ้นมา, บุคลากรภายในเป็นคนรุ่นแรกหรือเป็น รุ่นที่ริเริ่มก่อตั้งองค์การ, ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ภายในมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงไม่คํานึงถึงสายการบังคับบัญชา องค์การอาจล้มเลิกไปเมื่อใดก็ได้หากพัฒนาไปสู่องค์การถาวรไม่สําเร็จ เช่น องค์การบริหาร ส่วนตําบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เป็นต้น

60 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบเปิด” ได้แก่

(1) การกําหนดมาตรฐานของงาน

(2) การแบ่งงานเฉพาะด้าน

(3) การมีแผนล่วงหน้า

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) ความต้องการประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

61 ปัญหาใหญ่ที่สุดของ “การสื่อความเข้าใจ” ได้แก่

(1) ภาษาที่ใช้

(2) เทคโนโลยี

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ระบบงาน

(5) ขนาดองค์การ

ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ปัญหาที่สําคัญและใหญ่ที่สุดของกระบวนการสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ คือ ความพยายามในอันที่จะเข้าใจถึงความหมายของภาษาหรือการเรียนรู้ถึงความหมายของภาษาที่ใช้ (Semantics) นั่นเอง

62 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์

(4) การประสานงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

63 Post Control ได้แก่

(1) การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน

(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

(3) การใช้โปรแกรมการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ

(4) การตรวจงาน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของโครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

64 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด

(1) หลักของกฎและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) หลักเอกภาพขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 50 51, 58, 186 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากร และประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

65 เงื่อนไขจําเป็นของการเกิดองค์การ ได้แก่

(1) วัตถุประสงค์

(2) คนมากกว่าหนึ่งคน

(3) เงิน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ มีดังนี้

1 มีบุคคล (Man) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

2 มีวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือเป้าหมาย (Goals) ในการทํางานร่วมกัน

3 มีกิจกรรม (Activities) หรือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ร่วมกัน ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

4 มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายใน(Relations) อันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร

66 Gantt Chart เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านใดมากที่สุด

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การกําหนดนโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

67 ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการควบคุมองค์การ ได้แก่

(1) การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน

(2) การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(4) การกําหนดเป้าหมาย

(5) การกําหนดนโยบายที่จําเป็น

ตอบ 2 หน้า 262 กระบวนการในการควบคุมองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

68 โครงสร้างขององค์การมีลักษณะอย่างไร

(1) โครงสร้างขององค์การหมายถึงการสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ

(2) หมายถึงการกําหนดโครงสร้างอาคารปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับลักษณะของการปฏิบัติงาน

(3) คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาในระหว่างกลุ่มคน

(4) โครงสร้างขององค์การต้องแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงาน

(5) ทั้งข้อ 1และ 3

ตอบ 5 หน้า 120 121 โครงสร้างองค์การ มีลักษณะดังนี้

1 หมายถึงขอบข่ายขององค์การที่เปรียบเสมือนกับมนุษย์ ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกที่ระบุรูปร่างของมนุษย์แต่ละคนนั้น

2 เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชา ในระหว่างกลุ่มคน รวมถึงกลไกของระบบการประสานงานที่เป็นทางการและวิธีการที่จะต้องเกี่ยวข้องกันตามแบบแผนที่กําหนดไว้

3 โครงสร้างขององค์การไม่สามารถแยกออกจาก เรื่องการจัดหน้าที่การงานได้ แม้ว่าสองอย่างนั้นจะมีลักษณะต่างกัน แต่จะต้องจัดไปด้วยกัน (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

69 Acceptance Theory มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การอย่างไร

(1) คือทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ

(2) คือทฤษฎีว่าด้วยอํานาจบารมี

(3) คือทฤษฎีว่าด้วยอํานาจอย่างเป็นทางการ

(4) คือทฤษฎีว่าด้วยความสามารถ

(5) คือทฤษฎีว่าด้วยอิทธิพลเฉพาะตัว

ตอบ 1 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ความสามารถในการแนะนํา ชักจูง หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามคําสั่งของตนด้วยความเต็มใจ ซึ่ง Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในเรื่องอํานาจหน้าที่ตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเลือกที่จะปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือไม่ก็ได้

70 ใครคือผู้สร้างทฤษฎี Scientific A Management

(1) Max Weber

(2) Herbert Simon

(3) Chester Barnard

(4) Frederick Taylor

(5) Max Weber ร่วมกับ Chester Barnard

ตอบ 4 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและ เร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆในตอนต่าง ๆ

71 วัตถุประสงค์ขององค์การ คืออะไร

(1) คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

(2) คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

(3) คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

(4) คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 129 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้

1 คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

2 คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

3 คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

4 คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

5 ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย

6 จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้งสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอ ตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

72 วัตถุประสงค์ขององค์การต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสม

(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและชัดแจ้งเสมอ

(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ

(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ

(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย

(5) ทั้งข้อ 2 เละ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 Specialization คืออะไร

(1) ความเหลื่อมล้ำในการทํางาน

(2) การแบ่งแยกงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน

(3) การทํางานซ้ำซ้อน

(4) ความสิ้นเปลืองในงบประมาณที่ไม่มีการวางแผนก่อน

(5) ศิลปะในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ตอบ 2 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

74 การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดประโยชน์อย่างไร

(1) ช่วยให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมาย

(2) ช่วยให้การบริหารเป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

(3) ช่วยแก้ปัญหางานซ้ำซ้อน

(4) ช่วยแก้ไขงานคั่งค้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126, (คําบรรยาย) การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ ดังนี้

1 ช่วยให้การบริหารงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย เป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

2 ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

3 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อน

4 ช่วยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

75 “การมอบหมายอํานาจหน้าที่” ต้องปฏิบัติอย่างไร

(1) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ท่าได้เฉพาะผู้บริหารระดับสูงสุดมอบให้ผู้บริหารงานระดับรองลงมาระดับเดียวเท่านั้น เช่น อธิบดมอบให้รองอธิบดี เป็นต้น

(2) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้รับผิดชอบคือผู้รับมอบหมายมาแต่ผู้เดียว

(3) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้รับผิดชอบคือผู้มอบหมายแต่ผู้เดียว

(4) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่รับมอบมาผิดพลาด ผู้รับผิดชอบคือทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ

(5) เมื่อมอบหมายอํานาจหน้าที่ไปแล้ว ผู้มอบจะไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมงานชิ้นนั้นอีกต่อไปเพราะจะต้องขาดไปจากความรับผิดชอบเด็ดขาดแล้ว

ตอบ 4 หน้า 153 – 157, (คําบรรยาย) การมอบหมายอํานาจหน้าที่มีลักษณะสําคัญที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

1 ผู้มอบอํานาจหน้าที่ควรจะให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่มอบหมาย โดยคอยให้คําปรึกษาและแนะนําตามสมควรเท่านั้น

2 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ควรจะมอบ ให้แก่ตําแหน่งที่รองลงมาหรือลดหลั่นลงมาตามลําดับแห่งสายการบังคับบัญชา โดยสามารถ กระทําได้หลายระดับ และอาจจะมอบให้แก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

3 หากรับมอบอํานาจหน้าที่มาปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้มอบหมายและ ผู้รับมอบจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ

76 ปรัชญาของผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness เป็นอย่างไร

(1) ผู้บริหารที่เข้มงวดไม่ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานเลย

(2) ผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานได้

(3) ผู้บริหารที่ยอมให้ลูกน้องปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ 100% ไม่ขัดแย้งหรือทักท้วงเลย

(4) ผู้บริหารที่ลงโทษลูกน้องอย่างรุนแรงเกินไปทุกครั้งเมื่อมีการกระทําที่ผิดพลาด

(5) ผู้บริหารที่คอยเยินยอและให้รางวัลแก่ลูกน้องทุกครั้ง เพื่อให้พวกเขาปฏิบัติงานตามที่องค์การต้องการ

ตอบ 2 หน้า 158 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness คือ ผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยมักจะยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ได้เสมอ และในกรณีที่มีความคิดแตกต่างไปจากตนและเป็นเหตุเป็นผลกว่าก็ยังยอมรับความคิดเห็น นั้น ๆ โดยนํามาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้นผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบนี้จึงมักยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสปฏิบัติงานแทนหรือตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ในองค์การได้เอง

77 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ (Centralization of Authority) ในองค์การได้แก่

1 ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

2 ทําให้ทรัพยากรการบริหาร รวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

4 ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

5 มีลักษณะของการประสานงานเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

78 Informal Organization คืออะไร

(1) แผนภูมิขององค์การ

(2) องค์การอย่างไม่เป็นทางการ

(3) องค์การเอกชนทั้งหลาย

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 องค์การอย่างไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal (organization) เป็นองค์การที่มีความม่แน่นอนในวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และระบบของความสัมพันธ์ภายใน มีการจัดการและมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ยืดหยุ่นได้ง่าย และยากที่จะระบุลักษณะเฉพาะลงไป การดําเนินการขององค์การประเภทนี้จึงไม่มีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าแน่นอน และไม่มีการระบุอํานาจหน้าที่และตําแหน่งของสมาชิก ตัวอย่างขององค์การอย่างไม่เป็นทางการ

เช่น การเดินขบวนประท้วงการกระทําของรัฐบาล การจัดทําสโมสรเพื่อน เป็นต้น

79 สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) Chain of Command

(2) Chain of History

(3) Negative Line

(4) Line of Blank-Space

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การแต่ละ หน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุม และการรับผิดชอบอย่างไร

80 ใครเป็นผู้กล่าวว่า สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพัน ใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผล

(1) Max Weber

(2) Frederick Taylor

(3) Elton Mayo

(4) Chester I. Barnard

(5) Kast E. Element

ตอบ 1 หน้า 139 Max Weber กล่าวว่า “สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลในการบริหารและการดําเนินงานขององค์การขนาดใหญ่”

81 “การกระจายอํานาจ” คืออะไร

(1) ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ำมากขึ้น

(2) ระบบการบริหารงานที่สงวนหรือรักษาอํานาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ

(3) การจัดโครงสร้างขององค์การในรูปพีระมิดให้ส่วนบนแหลมมาก ๆ และมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม

(4) คือ สภาวะขององค์การซึ่งระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะกระทําจากระดับสูงนั้น

(5) การเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทผู้บังคับบัญชา และลดบทบาทรวมทั้งความสําคัญของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจในองค์การ (Decentralization of Authority)

หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมา โดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

82 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกได้ว่า เป็นแบบใด

(1) แบบแนวดิ่ง (Vertical)

(2) แบบแนวดิ่ง (Horizontal)

(3) แบบแนวนอน (Vertical)

(4) แบบแนวนอน (Horizontal)

(5) แบบอิสระ

ตอบ 1 หน้า 145 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง (Vertical) ส่วนความสัมพันธ์ของ อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การนั้น จัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวนอน (Horizontal)

83 นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้ให้ความหมายของการรวมอํานาจว่า “การรวมอํานาจหมายถึง สภาวะขององค์การซึ่งระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะกระทํา จากระดับสูงนั้น”

(1) Earnest Dale

(2) Koontz and O’Donnell

(3) John Child

(4) Louis A. Allen

(5) Henri Fayol

ตอบ 3 หน้า 168 John Child ได้ให้ความหมายของการรวมอํานาจว่า “การรวมอํานาจหมายถึงสภาวะขององค์การซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจากระดับสูงนั้น”

84 ใครคือผู้สร้าง POSDCORE ขึ้นมา

(1) Harold Koontz

(2) Peter Drucker

(3) Luther Gulick

(4) Henri Fayol

(5) Herbert Ficks

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

85 ช่วงของการบังคับบัญชา มีลักษณะอย่างไร

(1) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายการบังคับบัญชาทุกประการ

(2) เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือบังคับบัญชาเพียงใดทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบที่หน่วยงานจึงจะเป็นการเหมาะสม

(3) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจในการบังคับบัญชากี่คน

(4) คือ ลําดับขั้นการบังคับบัญชาในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ pan of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะสามารกควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

86 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 181 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเภทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

  1. ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

87 วิธีการที่จะจัดการให้ช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้อีกจะต้องใช้วิธีใด

(1) ฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถมากขึ้น

(2) หากเพิ่มความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัวระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากจะทําให้จัดช่วงการบังคับบัญชากว้างขึ้นได้

(3) ในหน่วยงานใดมีลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง จะทําให้จัดช่วงการบังคับบัญชากว้างขึ้นได้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 184 185 วิธีการที่ช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้น มีดังนี้

1 ฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถมากขึ้น

2 ตัดความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาให้น้อยลงโดยให้เหลือเพียงเท่าที่จําเป็นจริง ๆ และใช้เทคนิคการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยีมากขึ้น

3 ในหน่วยงานมีการจัดทําแผน ในการทํางานไว้พร้อม และครบถ้วน

4 ในหน่วยงานมีลักษณะของการปฏิบัติงานที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่ามีอัตราการเปลี่ยนแปลงต่ำ ฯลฯ

88 รูปแบบขององค์การที่เป็นแบบใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ คือองค์การแบบใด

(1) แบบ The Simple Structure

(2) แบบ The Machine Bureaucracy

(3) แบบ The Adhocracy

(4) แบบ The Project Structure

(5) Divisional Structure

ตอบ 2 หน้า 211 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy) เป็นรูปแบบขององค์การที่มีลักษณะใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ และเป็นแบบระบบราชการ ในอุดมคติของ Max Weber ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นองค์การที่มีการแบ่งแยกหน้าที่ ตามความชํานาญพิเศษอย่างมาก

2 มีลักษณะเป็นทางการสูงในการปฏิบัติงาน

3 มีกฎระเบียบมากมาย

4 รวมอํานาจการตัดสินใจไว้ส่วนกลางค่อนข้างมาก ฯลฯ

89 หน่วยงานอนุกร หรือหน่วยงานแม่บ้านในองค์การ คือหน่วยงานที่เรียกว่าอะไร

(1) Auxiliary Agency

(2) Short-Cut Agency

(3) Staff Agency

(4) Line Agency

(5) Contract Agency

ตอบ 1 หน้า 197 – 201 ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การมี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency)

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงาน สนับสนุน (Staff Agency)

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน(House-Keeping Agency)

90 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษามีลักษณะแบบใด

(1) Authority to Command

(2) Authority to complain

(3) Authority of Advisory

(4) Authority to Control

(5) Authority of Dictator

ตอบ 3 หน้า 203 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency) คือ การให้ความคิดเห็นหรือให้คําปรึกษา (Authority of Ideas หรือ Authority of Advisory) แก่หน่วยงานหลัก ไม่มีอํานาจในการสั่งการหรือบังคับบัญชาหน่วยงานอื่น ๆ ในสายงานหลัก หากหน่วยงาน : ที่ปรึกษาต้องการให้คําแนะนําได้รับการปฏิบัติตามจะต้องนําคําแนะนํานั้นไปเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการต่อไป

91 ข้อใดเป็นข้อสรุปของ Earnest Date ว่า ธรรมชาติหรือลักษณะของการกระจายอํานาจจะมีมากขึ้นในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

(1) ลักษณะที่การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําโดยฝ่ายบริหารในระดับต่ํามีน้อยลง

(2) เมื่อผู้บริหารในระดับรองลงมามีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

(3) เมื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่ำรองลงมามีผลในการกระทําต่อหน้าที่ในการทํางานต่าง ๆ น้อยลง

(4) เมื่อมีการตรวจสอบการตัดสินใจต่าง ๆ มากขึ้น

(5) ทั้งข้อ 3 และ 4

ตอบ 2 หน้า 169 Earnest Date ได้สรุปว่า ธรรมชาติหรือลักษณะของการกระจายอํานาจจะมีมากขึ้นในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1 การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําโดยฝ่ายบริหารในระดับต่ำลงมามีมากขึ้น

2 เมื่อผู้บริหารในระดับรองลงมามีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

3 เมื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่ํารองลงมามีผลในการกระทําต่อหน้าที่ในการทํางาน ต่าง ๆ มากขึ้น

4 เมื่อมีการตรวจสอบการตัดสินใจต่าง ๆ น้อยลงเหลือเพียงรายงานให้ทราบหลังการตัดสินใจไปแล้วเป็นเรื่อง ๆ ไป

92 ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ

(1) ความสําคัญของการตัดสินใจ

(2) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

(3) การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

(4) อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174 ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของการตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

3 ขนาดขององค์การ

4 ความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

93 การกระจายอํานาจในองค์การ คืออะไร

(1) Centralization of Authority

(2) Decentralization of Authority

(3) Reconstruction of Power

(4) Deconstruction of Authority

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

94 เรื่อง “ความรับผิดชอบในองค์การ” มีลักษณะอย่างไร

(1) ความรับผิดชอบ มองในแง่การบริหารงานหมายถึง พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน

(2) ความรับผิดชอบ คือ Power to Command

(3) ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวก็ได้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 150 ความรับผิดชอบ (Responsibility) มองในแง่ของการบริหารงาน หมายถึง พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน โดยความรับผิดชอบ จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องจักร หรือสัตว์ ทั้งนี้ ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวไปหลังจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้

95 การมอบหมายอํานาจหน้าที่มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ

(2) การมอบหมายอํานาจหน้าที่จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ

(3) ไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้

(4) ผู้บริหารสูงสุดขององค์การที่ต้องเลือกปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะแต่งานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุด ส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ โดยจะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ ทั้งนี้วัตถุประสงค์เบื้องแรกของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ ก็เพื่อที่จะทําให้การทํางานในองค์การสามารถดําเนินไปได้ เพราะไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุ วัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้ ดังนั้นผู้บริหารสูงสุดขององค์การจึงต้องเลือกปฏิบัติ หน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะงานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุดส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

96 ในเรื่องทัศนคติของผู้บริหารในการมอบอํานาจหน้าที่ ข้อใดเป็นหลักการที่ถูกต้อง (1) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness ที่มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน แต่จะไม่ยินยอมให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจเอง

(2) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power เป็นพวกที่ยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่รวมงานไว้ที่ตนคนเดียว

(3) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes เป็นพวกไม่กลัวว่าเมื่อมอบอํานาจไปลูกน้องจะทําความผิด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 158 159 ปริชญาหรือทัศนคติของผู้บริหารในการตัดสินใจจะมอบอํานาจหน้าที่ มีดังนี้

1 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน และมักจะยินยอมให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจเอง

2 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power เป็นผู้บริหารที่มีความเข้าใจหลักเกณฑ์และประโยชน์ของการแบ่งงานกันทํา จึงยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติแทน ไม่รวมงานไว้ที่ตนคนเดียว

3 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes เห็นว่า ทุกคนที่ปฏิบัติงานย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติงานผิดพลาดได้ และก็ไม่กลัวว่าหากมอบอํานาจไปแล้วผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) จะทําผิดพลาด (ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ)

97 การควบคุมงานที่มอบหมายไป ต้องทําอย่างไร

(1) ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

(2) ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการมอบหมายงาน

(3) ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวระหว่างกระบวนการของงาน

(4) ให้เสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 160 161 การควบคุมงานที่มอบหมายไป อาจกระทําได้ดังนี้

1 ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

2 ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการมอบหมายงาน

3 ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวหรือผู้บริหารอาจตั้งคําถามในระหว่าง

กระบวนการของงานก็ได้

4 ให้มีการเสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

98 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Responsive Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) เป็น Negative Line

(4) เป็นแบบ Negative Principle

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 202 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) เป็นอํานาจหน้าที่ตามกระบวนการที่เป็นทางการ (Format Process) หรือเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) ซึ่งเป็น อํานาจหน้าที่ในการสั่งการ (Authority/Power to Command) โดยตรง (Direct Line)จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักของ Scalar Principle

99 Authority ในองค์การ คืออะไร

(1) คือ Power to Command

(2) คือ อํานาจหน้าที่ที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การแอบอ้างว่าผู้มีอํานาจได้มอบอํานาจให้ตนออกคําสั่งต่าง ๆ ได้

(3) คือ อํานาจหน้าที่ในการสั่งการที่ได้มาโดยการข่มขู่หรือใช้คําสั่งบังคับ

(4) คือ อํานาจในการสั่งการ เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) ในองค์การ หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจ จะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็น อํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย

100 ลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ คืออะไร

(1) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ต้องพิจารณาตําแหน่ง (Position) ก่อนว่าควรมอบให้ผู้ดํารงตําแหน่งอะไรแล้วจึงพิจารณาบุคคลในตําแหน่งนั้น ๆ ว่ามีความสามารถหรือสมัครใจหรือไม่ แล้วจึงมอบให้

(2) เมื่อมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใดไป จะต้องพิจารณาลักษณะและปริมาณของอํานาจหน้าที่ให้เหมาะสมกันด้วย

(3) หากผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายมาไม่สําเร็จ ผู้รับผิดชอบคือผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งผู้บังคับบัญชา (ผู้มอบ) ด้วย

(4) ต้องจัดระบบการรายงานอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับการมอบหมายอํานาจหน้าที่ด้วย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 154 – 156 ทาข้อเป็นลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ นอกจากนี้การมอบอํานาจหน้าที่ยังมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 การมอบอํานาจหน้าที่สามารถกระทําได้ หลายระดับ โดยไม่จําเป็นจะต้องมอบให้แก่ผู้บังคับบัญชาในระดับกลาง ๆ เท่านั้น แต่อาจจะ มอบไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นในระดับต่ำลงไปได้อีก

2 การมอบอํานาจหน้าที่เป็นทั้ง ศิลปะและหน้าที่ของนักบริหาร

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ในงาน

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 2, 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เห็นว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมดังนั้นการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานควรพิจารณา คุณลักษณะเฉพาะของบุคคล ได้แก่ พฤติกรรม บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ ความต้องการแรงจูงใจ ฯลฯ ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ในงาน

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 1 (คําบรรยาย), นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ตัว “S” ใน “POSDCORS” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด

(1) โครงสร้างองค์การ

(2) หน้าที่นักบริหาร

(3) แนวคิดทางการบริหาร

(4) สิ่งจูงใจ

(5) ทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 61, (คําบรรยาย) Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model โดย S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน) หมายถึง การสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุ แต่งตั้งบุคคสทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

5 Rational System Model เป็นวิธีการศึกษาของ

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

6 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การวางแผน

(4) การกําหนดอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

7 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ“The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

8 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุด ในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

9 ใครที่เสนอเรื่อง “การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยามาคัดเลือกคนเข้าทํางาน”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Weber

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที่ บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

10 ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น

(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ

(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ

(4) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

(5) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่

1 ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ

2 ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม

3 ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

4 ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

11 “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับ สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น ” เรียกว่า

(1) Turbulent Field

(2) Placid Clustered Environment

(3) Placid Randomized Environment

(4) Disturbed-Reactive Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

12 “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับ สภาพแวดล้อมของชาวเขาเร่ร่อน ” เรียกว่า

(1) Turbulent Field

(2) Placid Clustered Environment

(3) Placid Randomized Environment

(4) Disturbed-Reactive Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 ในระบบคุณธรรม (Merit System) “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) การเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

14 จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่

(1) Commanding Controlling Correcting

(2) Controlling Correcting Coordinating

(3) Coordinating Concepting Correcting

(4) Commanding Coordinating Controlling

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 0 = Organizing (การจัดรูปงาน)

3 C = Commanding (การสั่งการ)

4 C = Coordinating (การประสานงาน)

5 C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

15 “POSDCORB” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด

(1) โครงสร้างองค์การ

(2) หน้าที่นักบริหาร

(3) แนวคิดทางการบริหาร

(4) สิ่งจูงใจ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

16 ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่

(1) Formal Organization

(2) Primary Organization

(3) Public Organization

(4) Profit Organization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)

2 องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

17 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

(2) ประสิทธิภาพสูงสุด

(3) การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way

7 การใช้หลักเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

18 ผลการศึกษาจาก “Hawthorne Experiments” ได้แก่

(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนำเข้า

(3) พบผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

19 Operation Research หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน (3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่“วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

20 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากกลุ่มต่างไม่ยอมแพ้กัน

(3) ผลทางลบที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) ปัญหาจากการทดลองที่ Western Electric Company

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

21 ตัวอย่างของกฎหมายปกครอง ได้แก่

(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

(2) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

(3) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 23 – 24 กฎหมายปกครอง (Administrative Law) เป็นกฎหมายที่กําหนดขึ้นเพื่อให้องค์การสาธารณะทั้งหลายใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457, พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496, พ.ร.บ. สภาตําบลและ อบต, พ.ศ. 2537 เป็นต้น

22 การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน”จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด

(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

(2) กําเนิดขององค์การ

(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร

(4) ความเป็นเจ้าของ

(5) ความเป็นทางการ

ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)

2 องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

23 “การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน” ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป จะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้ เป็นข้อเสนอของนักวิชาการใด

(1) Taylor

(2) Gilbreths

(3) Cooke

(4) Weber

(5) Gantt

ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงานโดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

24 การยึดหลัก “เอกภาพในการบังคับบัญชา” มีข้อเสียอะไร

(1) สิ้นเปลืองบุคลากร

(2) เกิดความขัดแย้ง

(3) ประสิทธิภาพต่ำ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบรหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

25 แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด (1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) ทักษะการบริหาร

ตอบ 1 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การ จึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถ สร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

26 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Objectives

(3) Mechanistic Organization

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X (มนุษย์ไม่ชอบทํางานและพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังต่อไปนี้เพื่อแก้ไข พฤติกรรมที่บกพร่อง

1 การบริหารแบบเผด็จการ

2 การบริหารโดยยึดกฎระเบียบ (Management by Rules) คือ การใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด หรือใช้กฎระเบียบ ที่ได้มาตรฐาน

3 การบริหารโดยยึดกระบวนการ (Management by Procedure)

4 การบริหารแบบองค์การแบบเครื่องจักรกล (Mechanistic Organization)

5 การบริหารงานในลักษณะของพวกคลาสสิก เช่น ตัวแบบระบบราชการ (Bureaucracy หรือ Bureaucratic Model) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ฯลฯ

27 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Objectives

(3) Mechanistic Organization

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

28 การที่ผู้ปฏิบัติงานตั้งใจส่งใบลาในวันที่หน่วยงานมีภารกิจมาก Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(2) การขาดสามัญสํานึก

(3) การขาดวินัยการทํางาน

(4) การเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 41, (คําบรรยาย พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ําของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่นการส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

29 ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน

(1) ผลผลิต

(2) ทรัพยากรที่ใช้

(3) แผนที่วางไว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

30 Herzberg จัดเป็นนักวิชาการที่อยู่ในกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Situational Approach

(3) A Systems Approach

(4) Humanism

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor blay Frederick Herzberg ฯลฯ

31 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ (2) Mechanistic Organization – Formal Organization

(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง

(4) Fluid Structure – Adhocracy

(5) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตที่ใช้แรงงานฝีมือ

ตอบ 5 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานานความสัมพันธ์ ดามเนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure สวนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ organic Structure

32 Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Outer Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

33 ตัว W ใน SWOT Analysis หมายถึง

(1) ความเข้มแข็งขององค์การ

(2) โอกาสขององค์การ

(3) ภัยจากปัจจัยภายนอก

(4) ระบบงานขององค์การ

(5) จุดอ่อนขององค์การ

ตอบ 5 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

34 ใครที่เสนอเรื่อง “Hierarchy of Needs”

(1) Herzberg

(2) Cooke

(3) Munsterberg

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้

(Self-Realization’ Needs)

35 ข้อใดที่จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ Barton และ Chappell นําเสนอไว้

(1) การเมือง

(2) สังคม

(3) สื่อมวลชน

(4) สาธารณชนทั่วไป

(5) ฝ่ายนิติบัญญัติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

36 “Herbert Kaufman พิจารณากิจกรรมในการบริหาร 4 ประการ ได้แก่

(1) การเป็นตัวแทนขององค์การ

(2) การจูงใจ

(3) ……………. และ (4) ” ทั้งสองประการที่ขาดหายไป ได้แก่

(1) การตัดสินใจ และการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร

(2) การติดตามประเมินผล และการพัฒนาองค์การ

(3) การรับและกรองข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาองค์การ

(4) การตัดสินใจ และการจัดรูปงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 14 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหาร และชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1 การวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ (Decision Making)

2 การรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคม

3 การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ

4 การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

37 ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้

(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม

(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม

(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

38 ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Munsterberg

(4) Gantt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lilian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

39 “……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) External Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ)

40 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industrial Humanism

(4) A System Approach

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

41 “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด (1) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) นักบริหารเชิงปริมาณ

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

42 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน

(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(3) Hygiene Factors – ถ้าไม่ได้รับจะไม่ยอมทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 81 – 82, (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถ ในการทํางานขององค์การ รวมทั้งทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange) ส่วนปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงาน ในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน (ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ)

  1. แนวคิดของ Henri Fayol ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด (1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) สิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

44 กลุ่มนักวิชาการใดต่อไปนี้ที่ให้ความสําคัญในเรื่อง “การเมืองในองค์การ”

(1) A Systems Approach

(2) Administrative Theorists

(3) Scientific Management,

(4) Behavioral Science

(5) ไม่มีข้อใดถูก

 

 

ตอบ 5 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

45 ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น

(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน

(2) หลักความสามารถ

(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) การกระจายอํานาจ

ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย

1 การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)

  1. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)

3 การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)

4 การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ

5 การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

6 การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

7 การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on Selection and Promotion)

8 การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

46 ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น (1) เงินเดือน

(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

(4) ลักษณะของงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

47 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การคั่งค้างของงาน

(2) ประสิทธิภาพของงาน

(3) หัวหน้างาน

(4) โครงสร้างหน่วยงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอน 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชาที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

48 Unity of Command หมายถึง

(1) หลักการที่ให้องค์การหนึ่ง ๆ ต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว

(2) หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียว

(3) หลักการที่ทุกแผนกงานต้องมีการสร้างทีมงาน

(4) หลักการที่กําหนดให้ทุก ๆ คนต้องมีหัวหน้าเพียงคนเดียว

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2, 4 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

49 ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของ Maslow “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน” เรียกว่า

(1) Self-Realization Needs

(2) Ego Needs

(3) Social Needs

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

50 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Theory of Management) เสนอให้ใช้

(1) ระบบการบริหารที่เรียกว่า Paternalism

(2) ระบบการบริหารที่ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการสร้างประสิทธิภาพ

(3) ระบบการบริหารที่เน้นการทํางานเป็นกิจวัตร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 25 – 28, 37 – 39, 42 – 43, 55 – 56, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก(Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Management) เป็นกลุ่ม ที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” โดยได้ศึกษาทฤษฎีองค์การที่เป็น ทางการหรือทฤษฎีองค์การรูปนัย (Format Organization Theory) เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน เพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นหน้าที่ ของนักบริหารที่จะต้องใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นหา หรือสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับงาน ตัวอย่างของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Max Weber, Henri Fayol, Henry L. Gantt, Frank และ Lillian Gilbreths, Luther Gulick, Lyndall Urwick เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 23 และ 30 ประกอบ)

51 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

52 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์(Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

53 นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”

(1) A Systems Approach

(2) Industrial Humanism

(3) Action Theory

(4) Quantitative Science

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 การบริหารงานที่ให้ความสําคัญเรื่อง “ความสุขของสมาชิกในองค์การ” เป็นการบริหารตามแนวคิด ของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Administrative Theorists

(3) Neo-Classical Organization Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

55 ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management (1) การตัดสินใจ

(2) การหาข่าวสาร

(3) การจูงใจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้าน การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

56 การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด

(1) ระดับที่ 4

(2) ระดับที่ 5

(3) ระดับที่ 6

(4) ระดับที่ 7

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

57 ใครเสนอว่า “องค์การเป็นระบบของการร่วมมือของปัจเจกบุคคลอย่างมีสํานึก”

(1) Barnard

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 71 Chester I. Barnard เสนอว่า “องค์การเป็นระบบที่มีการประสานกิจกรรมต่าง ๆหรือมีการร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลต่าง ๆ อย่างมีสํานึก”

58 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยึดหยุ่น

(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน

(3) เน้นการใช้ความรู้มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy”(ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

59 ทุกข้อเป็นรายละเอียดของทฤษฎีองค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber ยกเว้น

(1) หลักเอกภาพการบังคับบัญชา

(2) การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน

(3) การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(4) การจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายใน

(5) การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

60 นักวิชาการใดต่อไปนี้ที่ถือกําเนิดก่อนกลุ่มอื่น

(1) The Action Approach

(2) Scientific Management

(3) Quantitative Science

(4) Behavioral Science

(5) A Systems Approach

ตอบ 2

หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) Stephen P. Robbins ได้เสนอพัฒนาการของทฤษฎีองค์การ ไว้ 4 ช่วงเวลา

61 “ระบบราชการประกอบไปด้วยระบบของอํานาจและอิทธิพล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้อํานาจและอิทธิพลนั้นไปอย่างไร” เป็นปัญหาของตัวแบบราชการด้านใด

(1) Formal Relationship

(2) Promotion

(3) Unity of Command

(4) Self-Perpetuation

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 4 หน้า 51 Bendix ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของตัวแบบระบบราชการที่ต้องการจะขยายตัวและสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง (Self-Perpetuation) ไว้ว่า “ระบบราชการประกอบไปด้วย ระบบของอํานาจและอิทธิพล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้อํานาจและอิทธิพลนั้นไปอย่างไร”

  1. “…ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล ” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Perception

(2) Attitude

(3) Needs

(4) Personality

(5) Image

ตอบ 2 หน้า 75 ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคล ความรู้สึกทางใจของ แต่ละบุคคลในเรื่องราวต่าง ๆ จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ระดับที่เป็นความชอบ หรือไม่ขอบ ระดับที่เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการไตร่ตรอง จนถึงระดับที่เป็นการนําไปปฏิบัติ ทัศนคติของบุคคลจึงเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดและพฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

63 ใครที่เสนอให้องค์การมีโครงสร้างที่กระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย ยืดหยุ่น ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ”

(1) Barnard

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

64 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”

(1) Flexible Boundaries

(2) Negative Entropy

(3) Maximized Efficiency

(4) Dynamic Equilibrium

(5) Growth Through Internal Elaboration

ตอบ 3 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ

(ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

65 ข้อใดเป็นทรัพยากรในการบริหาร

(1) Man

(2) Moral

(3) Material

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 3 – 5 ทรัพยากรในการบริหาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท หรือที่เรียกว่า 4 M ได้แก่

1 ทรัพยากรมนุษย์ (Man)

2 เงินทุน (Money)

3 วัสดุสิ่งของ (Material)

4 ความรู้ในการจัดการ (Management)

66 นักวิชาการใดต่อไปนี้ที่มียุทธวิธีในการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด”

(1) The Action Approach

(2) Scientific Management

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

67 “ระบบค่าจ้างต่อชิ้น” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้ มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen)เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

68 ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้

(1) ระดับขององค์การ

(2) ประเภทของกิจการ

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 5 หน้า 184 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้

1 การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา

2 เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่

3 การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม

4 ลักษณะของงานในองค์การ

5 เทคนิคในการควบคุม

6 เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

7ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

69 ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ระดับขององค์การ

(2) ลักษณะงานในองค์การ

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 13 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเภทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

70 ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ

(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ

(2) ขนาดขององค์การ

(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบายหรือความเป็นเอกภาพในการบริหาร

3 ขนาดขององค์การ

4 ประวัติความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 78 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Division of Work

(2) Departmentation

(3) Line Agency

(4) Staff Agency

(5) Auxiliary Agency

 

71 หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ

ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและหน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (Housekeeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

72 หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้านเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถ ของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

76 การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้

77 กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานประเภทใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

78 กองทัพบก เป็นหน่วยงานประเภทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

79 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การที่องค์การได้กําหนดกฏเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization

(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization

(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization

(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command

(5) ไม่ถูกต้องทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

80 ข้อใดถูกต้อง

(1) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Chain of Command

(2) ในความเป็นจริง อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริงซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority

(3) การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา – เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority

(4) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Limits of Authority

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักจะมอบหมายอํานาจหน้าที่แก่หัวหน้างานระดับรองลงไปการมอบอํานาจหน้าที่นี้อาจจะมอบแก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Complexity

(2) Formalization

(3) Centralization

(4) Organization Design

(5) Authority

 

81 การที่องค์การได้กําหนดกฏเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการ (Formalization) ขององค์การนั้น พิจารณาจากการที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

82 ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ำ รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่น แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การจะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสูต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

84 การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

85 Power of Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและมีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Span of Control

(2) Unity of Command

(3) Responsibility

(4) Hierarchy

(5) Specialization

 

86 การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

87 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด

ตอบ 3 คําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

88 จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

89 การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

90 การแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถ เรียกว่าอะไร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Chain of Command

(2) Delegation of Authority

(3) Power to Command

(4) Limits of Authority

(5) Decentralization of Authority

 

91 Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

92 การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

93 การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

94 ในความเป็นจริงอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริง ซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 149 – 150 ในความเป็นจริงอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชามักจะขาดหายไปเมื่อได้มีการสั่งการให้ปฏิบัติจริง เพราะมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดของอํานาจหน้าที่ (Limits of Authority) ในด้านต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและ ศีลธรรมในสังคม สภาพทางภูมิศาสตร์ หลักชีววิทยา ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมายนโยบาย ความด้อยความสามารถของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

95 ความพยายามที่จะให้ผู้บริหารระดับล่างมีอํานาจในการตัดสินใจและอํานาจเหล่านั้นได้ถูกมอบหมายไปยังผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 หน้า 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization of Authority) หมายถึง ความพยายามที่จะให้ผู้บริหารระดับล่างมีอํานาจในการตัดสินใจและอํานาจเหล่านั้นได้ถูกมอบหมายไปยัง ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ยกเว้นอํานาจหน้าที่บางอย่างซึ่งจําเป็นจะต้องสงวนไว้ที่ส่วนกลาง

96 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี

(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป

(2) แต่ละสายต้องชัดเจน

(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก ,

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้

1 จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

2 สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงานผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ

3 สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

97 ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position )

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory)มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Format Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ แต่อํานาจ หน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจ ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่ อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

98 อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

99 Chester I, Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ระดับขององค์การ

(2) ประเภทของกิจกรรม

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 Marshall E. Dimock กล่าวไว้ว่า “องค์การคือการจัดระเบียบโดยการนําเอาส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันในรูปของส่วนรวม เพื่อให้มีการ…. และเป็นศูนย์อํานวยการให้การดําเนินงานลุล่วง ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้” ที่ว่างไว้คือ

(1) ใช้อํานาจบริหารงาน

(2) ประสานงานระหว่างกัน

(3) ดําเนินการวางแผน

(4) ตรวจสอบและติดตาม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 1 Marshall E. Dimock กล่าวไว้ว่า “องค์การคือการจัดระเบียบโดยการนําเอาส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันในรูปของส่วนรวม เพื่อให้มีการใช้อํานาจบริหารงานและเป็นศูนย์อํานวยการให้การดําเนินงานลุล่วงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้”

2 “องค์การ หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหาร อันได้แก่ ทรัพยากรที่เป็นมนุษย์เงิน……. เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจเอาไว้” ที่ว่างไว้คือ

(1) วัสดุสิ่งของ และเทคโนโลยี

(2) เครื่องจักร

(3) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

(4) สภาพทางสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 2 องค์การ หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหาร อันได้แก่ทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ เงิน วัสดุสิ่งของ และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจเอาไว้”

3 เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ

(1) มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

(2) มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทํางานร่วมกัน และ……….. ที่ว่างไว้คือ

(1) มีกิจกรรมร่วมกันทั้งในลักษณะที่เป็นทางการเละไม่เป็นทางการ

(2) มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายในอันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร (3) มีการวางแผนในการดําเนินงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ มีดังนี้

1 มีบุคคล (Man) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

2 มีวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือเป้าหมาย (Goals) ในการทํางานร่วมกัน

3 มีกิจกรรรม (Activities) หรือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ร่วมกัน ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

4 มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายใน (Relations) อันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร

4 Peter F. Drucker พิจารณาการบริหารในเชิงพฤติกรรมไว้ว่า “การบริหารคือศิลปะในการทํางานให้บรรลุ เป้าหมาย……” ที่ว่างไว้คือ

(1) ทางสังคม

(2) อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) อย่างมีดุลยภาพ

(4) ร่วมบผู้อื่น

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 2 Peter F. Drucker พิจารณาการบริหารในเชิงพฤติกรรมไว้ว่า “การบริหารคือศิลปะในการทํางานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น”

5 ในการวิเคราะห์องค์การที่เรียกว่า SWOT Analysis ปัจจัยใดที่จัดเป็น Internal Factor

(1) Weaknesses

(2) Strengths

(3) Threats

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่  S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

6 หลักการที่สําคัญที่จะทําให้องค์กาเรทั้งหลายสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ในระยะยาว ประกอบด้วย

(1) การสร้างความเสมอภาคเท่าเทียม

(2) การสร้างความยุติธรรม และ

(3) … ที่ว่างไว้คือ

(1) การคํานึงถึงหลักประสิทธิภาพ

(2) การให้ความสําคัญแก่กระบวนการยุติธรรม

(3) การคํานึงถึงหลักประสิทธิผล

(4) การให้ความสําคัญแก่สิ่งแวดล้อม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การในการบริหารงานสาธารณะ ได้แก่

1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)

2 ประสิทธิผล (Effectiveness)

3 การสร้างความเสมอภาคเท่าเทียม (Equality)

4 การสร้างความยุติธรรม (Equity)

5 การให้ความสําคัญ แก่สิ่งแวดล้อม (Ecology) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่ 3, 4เละ 5 ถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพในระยะยาวของการบริหารงานสาธารณะและเป็นหลักการสําคัญที่จะทําให้องค์การทั้งหลายสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ในระยะยาว

7 Operation Research หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกเว์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

8 Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ ได้แก่

(1) ความสําเร็จของงาน

(2) ความล้มเหลวของงาน

(3) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2 ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน เป็นต้น

9 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) สิ่งแวดล้อมขององค์การ

(4) ความสมดุลของระบบทางกายภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis) ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

10 การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางชีวภาพ ได้แก่ระดับใด

(1) ระดับที่ 4

(2) ระดับที่ 5

(3) ระดับที่ 6

(4) ระดับที่ 7

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 88 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับโดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

11 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(3) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 89, 98 – 107, คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ดังนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต

(Dynamic Equilipriurn)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯลฯ

12 เหตุผลของการเกิด Informal Organization ได้แก่

(1) เพื่อค้นหา One Best Way

(2) เป็นการใช้แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(3) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพร ติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ ส่วนตัวเลือก (1) – (3) เป็นเหตุผลของการเกิดองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

13 “……. พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Action Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การ กลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้เก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

14 ทุกข้อเป็นเรื่องของ Format Organization Theory ที่ Weber นําเสนอ ยกเว้น

(1) job Satisfaction

(2) Job Description

(3) Positions and Authority

(4) Hierarchy of Command

(5) Rules

ตอบ 1 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์กรที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ M.1x Weber นั้น จะประกอบด้วย

1 การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)

2 การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)

3 การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations) 4 การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ

5 การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

6 การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

7 การคัดเลือกและเพื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on Selection and Fromotion)

8 ควรมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวตั้ง ฯลฯ ซึ่งรูปเเบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

15 Gantt (Chart เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านใดมากที่สุด

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การกําหนดนโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. (Gantt เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้เกิดการทํางานเป็นกิจวัตรโดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตาม ความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือกิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

16 สิ่งที่ทําให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ทั้ง ๆ ที่ต่างได้รับการคัดเลือกเข้าทํางาน โดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ได้แก่

(1) บุคลิกภาพ

(2) ทัศนคติ

(3) ความรู้ความสามารถ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 73 สิ่งที่ทําให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ทั้ง ๆ ที่ต่างได้รับการคัดเลือกเข้าทํางานโดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ได้แก่

1 บุคลิกภาพ (Personality)

2 การรับรู้หรือจิตภาพ (Perception)

3 ทัศนคติ (Attitude)

4 ความต้องการของบุคคล (Needs)

17 ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการควบคุมองค์การ ได้แก่

(1) การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดาเนินงาน

(2) การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(4) การกําหนดเป้าหมาย

(5) การกําหนดนโยบายที่จําเป็น

ตอบ 2 หน้า 262 กระบวนการในการควบคุมองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

18 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด

(1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 1:36 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดวนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

19 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Procedure

(3) Participative Management

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2 (5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบระยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X (มนุษย์ไม่ชอบการทํางานและพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังต่อไปนี้เพื่อแก้ไข พฤติกรรมที่บกพร่อง

1 การบริหารแบบเผด็จการ

2 การบริหารโดยยึดกฎระเบียบ (Management by Rules) คือ การใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด หรือใช้กฎระเบียบที่ได้มาตรฐาน

3 การบริหารโดยยึดกระบวนการ (Management by Procedure)

4 การบริหารแบบองค์การแบบเครื่องจักรกล (Mechanistic Organization)

5 การบริหารงานในลักษณะของพวกคลาสสิก เช่น ตัวแบบระบบราชการ (Bureaucracy หรือ Bureaucratic Model) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ฯลฯ

20 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การติดต่อสื่อสารในองค์การ

(2) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(3) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(4) การวางแผนองค์การ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 19 – 30 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนต์วหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

21 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ

(1) ช่วยสร้างความร่วมมือ

(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

(3) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่

1 ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ

2 ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม

3 ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

4 ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

22 “วิธีการใด ๆ ที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ที่กล่าวมาเป็นนิยามของเรื่องใด

(1) การจูงใจ

(2) การวางแผน

(3) การตัดสินใจ

(4) การสื่อควกมเข้าใจ

(5) การควบคุม

ตอบ 4 หน้า 243 การสือข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) หมายถึง ตัวเชื่อมโยงที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใดซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

23 “ความพยายามที่จะปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาได้รู้ถึงปริมาณงานแท้จริงที่จะต้องทํา” จัดเป็นการหลีกเลี่ยงงาน โดยอาศัยระบบ ที่นําเสนอโดย

(1) Urwick

(2) Taylor

(3) Cooke

(4) Gilbreths

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่นการส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

24 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกันไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) สังคม

(2) การเป็นที่ยอมรับ

(3) ความปลอดภัย

(4) กายภาพ

(5) อุดมคติของตนเอง ตอบ 4 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow

เป็นความต้องการขั้นต่ําสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มี ความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

25 ถ้าผู้บริหารมีสมมติฐานว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” การขาดความรับผิดชอบในการทํางานของมนุษย์ เป็นเพราะ

(1) ระเบียบในการทํางานไม่รัดกุมเพียงพอ

(2) ผู้บริหารไม่กํากับดูแล

(3) มนุษย์ขาดโอกาสในการเรียนรู้

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า“มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมา ย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการ ภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

26 ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง Effectiveness ในการทํางาน

(1) เวลา

(2) ทรัพยากรที่ใช้

(3) แผนที่วางไว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการที่ได้วางเอาไว้ ส่วนประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือ ผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ ใช้ในการบริหาร ดังนั้นหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิภาพ

27 ใครที่เสนอเรื่อง “การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา มาคัดเลือกคนเข้าทํางาน”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Weber

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ : หน้า 87 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอา แบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้นไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

28 Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารระดับสูงใช้เวลาของตนให้กับภารกิจที่เป็น Internal Management คิดเป็นร้อยละเท่าไรของเวลาทั้งหมด

(1) 10 – 20

(2) 25 – 30

(3) 45 – 50

(4) 65 – 70

(5) 85 – 90

ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียง ร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมุลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

29 การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สรภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน”จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด

(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

(2) กําเนิดขององค์การ

(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร

(4) โครงสร้างขององค์การ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สนาาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)

2 องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

30 “สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนยุ่งยาก…….ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ ขึ้นได้” เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Placid Randomized Environment

(3) Disturbed-Reactive Environment

(4) Turbulent Field

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบ แต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อ เป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Fielc เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

  1. “….ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell

32 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหารและชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการได้แก่ (1) …………. (2) การรับและกรองข้อมูลข่าวสาร

(3) การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับ หน่วยงานอื่น ๆ และ

(4) การจูงจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่ ที่ว่างไว้คือ

(1) Policy Making

(2) Planning

(3) Decision Making

(4) Organizing

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 14 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหาร และชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1 การวินิจฉัยสังการหรือการตัดสินใจ (Decision Making)

2 การรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรียการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคม

3 การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ

4 การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

33 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(2) สังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ

(3) การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี

(4) การเมือง สังคม เทคโนโลยี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 14 – 17. Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

34 Chester I. Barnard เขียนหนังสือชื่อ

(1) Psychology and Industrial Efficiency

(2) Principles of Scientific Management

(3) The Human Problems of Industrial Civilization

(4) The Functions of the Executive

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

35 สิ่งที่ ดร.ชุน กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSUCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์กร

36 หน่วยงานใดที่จัดเป็น หน่วยสนับสนุน (Staff Agency)

(1) หน่วยการเจ้าหน้าที่

(2) หน่วยพัสดุ

(3) หน่วยอาคารสถานที่

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า : 98 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษา ทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

37 “แผนที่เชื่อมโยงกัน มีการใช้ต่อเนื่องกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาว” เรียกว่า

(1) Single-Use Plan

(2) Master Plan

(3) Standing Plan

(4) Operational Plan

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 220 แผนหลัก ขององค์การ (Standing Plan) หรือโครงสร้างแผนงานขององค์การ(Program Structures) หมายถึง แผนที่เชื่อมโยงกัน มีการใช้ต่อเนื่องกันเพื่อให้บรรลวัตถุประสงค์ในระยะยาว

38 การทดลองที่ฮอร์บอร์น พบว่า

(1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลิตภาพในการทํางาน

(2) ความเข้มของแสงสว่างมีอิทธิพลอย่างมากต่อเลิตภาพในการทํางาน

(3) ระบบค่าจ้างต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อผู้ปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 71 การทดลองที่ฮอร์ทอร์น (Hawthorne Experiments) ของ Elton Mayo พบว่า

1 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความเข้มของแสงสว่าง ไม่ได้มีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับผลิตภาพในการทํางาน

2 ระบบการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อ การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพในการทํางานของกลุ่มน้อยกว่าความกดดัน การยอมรับ และสวัสดิการ ที่กลุ่มจะพึงได้รับ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างกลมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยกลุ่มจะมีอิทธิพล อย่างมากต่อผลิตภาพในการทํางานของสมาชิกในกลุ่ม

39 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน Ideal Bureaucracy เป็น

(1) Management by Objectives

(2) Flexible Adhocracies

(3) Action Theory

(4) Industrial Humanism

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

40 ข้อใดเป็นทัศนะของ Barnard

(1) นําบทบาทขององค์การรูปนัยเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ

(2) ไม่ควรกําหนดอํานาจหน้าที่ไม่ตายตัวจากบนลงมาล่าง

(3) ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 34 บระกอบ

41 ใครที่เชื่อว่า บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจ และกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายาม ในการทํางานอย่างเต็มที่

(1) Weber

(2) Barnard

(3) Si non

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

42 ใครที่เสนอให้ โครงสร้างองค์การมีลักษณะ “กระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย มีการจัดรูปในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ การใช้อํานาจหน้าที่เปลี่ยนไปเป็นการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ”

(1) Warren Bennis

(2) Max Weber

(3) Hugo Munsterberg

(4) Elton Mayo

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

43 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Bernard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 40 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

44 Situational Approach ปฏิเสธหลักการในเรื่องใด

(1) One Best Way

(2) การใช้ทฤษฎีระบบ

(3) Contingency Theory

(4) The Social Psychology of Organizations

(5) มององค์การแบบ Organic Structure

ตอบ 1 หน้า 110 – 111, คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของ : สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

45 ตามทฤษฎีของ Herzberg ข้อใดที่มีระดับของ Motivator Factors ต่ำที่สุด

(1) เงินเดือน

(2) ลักษณะของงาน

(3) ความรับผิดชอบ

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

ตอบ 2 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

46 ตามทฤษฎีของ Herzberg ข้อใดที่มีระดับของ Hygiene Factors สูงที่สุด

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) นโยบายและการบริหาร

(4) ความก้าวหน้าในการงาน

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”

(1) A Systems Approach

(2) Industrial Humanism

(3) Contingency Theory

(4) Quantitative Science

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

48 fluid Structure จะทําให้ความสัมพันธ์ในองค์การเป็นแบบใดเป็นส่วนใหญ่ (1) ตามแนวดิ่ง

(2) ตามแนวราบ

(3) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การ ที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิต ขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

49 Political Nature of Organization เป็นแนวคิดแบบใด

(1) A Systems Approach

(2) Contingency Theory

(3) The Action Approach

(4) Formal Organization Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

50 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Industrial Humanism

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

  1. “ให้ความสนใจที่การเมืองและอํานาจเพื่อควบคุมองค์การ……. ” ที่กล่าวมาจัดเป็นรูปแบบที่เท่าไร ตามพัฒนาการของทฤษฎีองค์การของ Stephen P. Robbins

(1) รูปแบบที่ 1

(2) รูปแบบที่ 2

(3) รูปแบบที่ 3

(4) รูปแบบที่ 4

(5) รูปแบบที่ 5

ตอบ 4

52 ตามทัศนะของ Stephen P. Robbins ทฤษฎีองค์การในช่วง ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นยุคของ ทฤษฎีองค์การกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) The Action Approach

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2

53 ในระบบคุณธรรม (Merit System) “การกําหนดอนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) การเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน

(3) บุคลึกภาพ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทร ษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

54 ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดของ Elton Mayo

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า

(3) ผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) ผลทางบวกที่เกิดเนื่องจากการที่กลุ่มต่างไม่ยอมแพ้กันและกัน

(5) เงินเป็นแรงจูงใจในการเพิ่มผลิตภาพ

ตอบ 4 หน้า 68 – 70, (คําบรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

55 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ความต้องการที่จะอยู่รอด

(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ

(3) การคิดล่วงหน้า

(4) บริบทที่ยืดหยุ่น

(5) สมดุลที่เป็นพลวัต

ตอบ 2 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way ฯลฯ

56 ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น

(1) เงินเดือน

(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

(4) ลักษณะของงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

57 ข้อใดเป็น “ปัจจัยค้ําจุน” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

58 Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมว่าเป็น (1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

59 ข้อใดที่จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสภาพแวดล้อมทาเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม ทางสังคมที่ Barton และ Chappell นําเสนอไว้

(1) การเมือง

(2) เทคโนโลยี

(3) สื่อมวลชน

(4) สาธารณชนทั่วไป

(5) ฝ่ายนิติบัญญัติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

60 ตัว T ใน SWOT Analysis หมายถึง

(1) ความเข้มแข็งขององค์การ

(2) โอกาสขององค์การ

(3) ภัยจากปัจจัยภายนอก

(4) ระบบงานขององค์การ

(5) จุดอ่อนขององค์การ

ตอบ 3 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่

S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ

W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

61 กรณีใดที่เรียกว่าเป็นการศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา

(1) การศึกษารูปแบบการตัดสินใจที่ควรจะเป็น

(2) การศึกษากระบวนการการตัดสินใจที่ควรจะเป็น

(3) การศึกษาคุณสมบัติผู้นําที่ประสบความสําเร็จ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจ รูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่ สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใด ของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถาน หรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่า สิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

62 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Division of work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(2) Gantt Chart – การทํางานที่เป็นกิจวัตร

(3) Motivator Factors – ค้ำจุนให้ยอมทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 189 – 191, (PS 252 เลขพิมพ์ 30270 หน้า 19 – 20) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ

เฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) มีประโยชน์ดังนี้

1 เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถ ในการทํางานขององค์การ

2 ทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange)

3 ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

4 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อนและการเหลื่อมล้ำในการทํางานในหน้าที่ (ดูคําอธิบายข้อ 15 และ 45 ประกอบ)

63 “ระบบค่าจ้างต่อชิ้น” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัย หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรียประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

64 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ (4) ทั้งขอ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

65 Line Officer คือ

(1) พนักงานที่มีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ

(2) พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

(3) พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานเป็นพิเศษ

(4) นักวิเคราะห์แผน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีการบริหารได้แบ่งประเภทของผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 พนักงานปฏิบัติการ (Line Officer) คือ พนักงานที่มี อํานาจหน้าที่ในการสั่งการบังคับบัญชาและปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

2 พนักงานที่ปรึกษา (Staff Officer) คือ พนักงานที่ทําหน้าที่ช่วยสนับสนุนฝ่ายงานหลัก หรือเป็นผู้ให้คําแนะนำ ให้ข้อมูล และคอยช่วยเหลือพนักงานปฏิบัติการให้ทํางานได้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพนักงานที่ปรึกษาจึงมีส่วนสําคัญในการช่วยให้องค์การสามารถดําเนินงานไปได้จนบรรลุเป้าหมายขององค์การ

66 Natural System) Model เป็นวิธีการศึกษาของ…….

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็นวิธิการศึกษาของกลุ่ม นักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่ม Behavioral Science

2 กลุ่ม A Systems Approach

3 กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach

4 กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

67 Unity of Command หมายถึง

(1) หล้าการที่ให้องค์การหนึ่ง ๆ ต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว

(2) หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียว

(3) หลักการที่ทุกแผนกงานต้องมีการสร้างทีมงาน

(4) หลักการที่กําหนดให้ทุก ๆ ตําแหน่งต้องมีคู่มียทํางาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

68 วัตถุประสงค์ขององค์การมีลักษณะเป็นเช่นไร

(1) คือเป้าหมายปลายทางขององค์การ

(2) คือจุดหมายปลายทางขององค์การ

(3) คือจุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

(4) คือความจําเป็นเบื้องแรกขององค์การเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย ระเบียบในการทํางาน เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ได้ผล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 129 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้

1 คือ จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายปลายทางขององค์การ

2 คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

3 คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

4 คือ ความจําเป็นเบื้องแรกขององค์การเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย มาตรการการดําเนินงานระเบียบในการทํางาน เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ได้ผล

5 จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้งสามารถที่จะพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

69 การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์อย่างไร

(1) ช่วยให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมาย

(2) ช่วยให้การบริหารเป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

(3) ช่วยแก้ปัญหางานซ้ำซ้อน

(4) ช่วยแก้ไขงานคั่งค้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126, (คําบรรยาย) การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ ดังนี้

1 ช่วยให้การบริหารงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย เป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

2 ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

3 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ําซ้อน

4 ช่วยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

70 วัตถุประสงค์ขององค์การต้องจัดอย่างไรจึงมีลักษณะที่เหมาะสม

(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและจัดแจ้งเสมอ

(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ

(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ

(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

71 การจัดโครงสร้างขององค์การคืออะไร

(1) คือ การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น ๆ

(2) คือ การมุ่งพยายามจัดและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์การให้บรรลุเป้าหมายให้ได้

(3) คือ Organization Design

(4) คือ Organizing

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 61, 122 – 122, (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างองค์การ (Organizing) หรือบางที่อาจเรียกว่า การจัดองค์การ การจัดรูปงาน หรือการออกแบบองค์การ (Organization Design) หมายถึง การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น ๆ โดยการแบ่งแยกกิจกรรมเป็นกลุ่มตามแนวนอน (Horizontal Differentiation) และการจัดเรื่องลำดับขั้นการบังคับบัญชาในแนวตั้ง (Vertical Differentiation) หรือหมายถึง การมงพยายามจัดและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การให้ มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์การให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ เช่น การจัดเรื่องระเบียบวินัยและข้อบังคับ สายการบังคับบัญชา ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ การแบ่งงานกันทํา เป็นต้น

72 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการแบ่งแยกหน่วยงานต่าง ๆ จากกันเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงสามารถแยกประเภทของหน่วยงานตามลักษณะของการปฏิบัติงานในองค์การ ได้เป็นประเภทอะไรบ้าง

(1) Line Agency

(2) Staff Agency

(3) Auxiliary Agency

(4) House-Keeping Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือกองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2  หน่วยงานที่ปรึกษา หรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนงานหลักให้ดําเนินไปโดยบรรลุเป้าหมาย เช่น ภาควิชา ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House Keeping Agency) หมายถึง หนวยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในลักษณะของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ เป็นต้น

73 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษามีลักษณะแบบใด

(1) Authority to Command

(2) Authority to complain

(3) Authority of Advisory

(4) Authority to Control

(5) Authority of Dictator

ตอบ 3 หน้า 203 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency) คือ การให้ความคิดเห็นหรือให้คําปรึกษา (Authority of Ideas หรือ Authority of Advisory) แก่หน่วยงานหลัก ไม่มีอํานาจในการสั่งการหรือบังคับบัญชาหน่วยงานอื่น ๆ ในสายงานหลัก หากหน่วยงาน ที่ปรึกษาต้องการให้คําแนะนําได้รับการปฏิบัติตามจะต้องนําคําแนะนํานั้นไปเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการต่อไป

74 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

75 Authority ในองค์การ คืออะไร

(1) คือ Power to Command

(2) คือ Chain of Information ในองค์การ

(3) คือ อํานาจหน้าที่ที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การแอบอ้างว่าผู้มีอํานาจได้มอบอํานาจให้ตนออกคําสั่งต่าง ๆ ได้

(4) คือ อํานาจหน้าที่ในการสั่งการที่ได้มาโดยการข่มขู่หรือใช้คําสั่งบังคับ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) ในองค์การ หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจ จะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประลงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้ จะเป็นอํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย

76 ช่วงของการบังคับบัญชามีลักษณะอย่างไร

(1) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายการบังคับบัญชาทุกประการ

(2) เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือบังคับบัญชาเพียงใดทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรมีผู้ใต้บังคับบัญชายคน หรือมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบที่หน่วยงานจึงจะเป็นการเหมาะสม

(3) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาที่คน

(4) คือ ลําดับขั้นการบังคับบัญชาในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งขวงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชาก็คน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้เดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

77 ผู้รเริ่มเผยแพร่แนวคิดในการบริหารที่เรียกว่า Human Relations Approach คือผู้ใด

(1) Frederick Taylor

(2) Max Weber

(3) George Elton Mayo

(4) Herbert Simon

(5) Stephen P. Robbins

ตอบ 3 หน้า 72, (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับลักษณะความต้องการ ของปัจเจกบุคคลและ กลุ่มในองค์การ รวมถึงการดูแลจิตใจของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ จึงทําให้ Mayo ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ”

78 องค์การจะจัดให้มีช่วงการควบคุมที่กว้างได้ในลักษณะใดบ้าง

(1) เบี้ยผู้บังคับบัญชามีจํานวนน้อยมากในองค์การ

(2) เมื่องานที่อยู่ภายใต้การดูแลบังคับบัญชานั้นเป็นงานยุ่งยาก ซับซ้อน

(3) เมื่อเป็นงานที่ต้องอาศัยความ ละเอียดถี่ถ้วนมาก ๆ

(4) เมื่องานอยู่ในระดับสูง ๆ ในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 281 – 182, (คําบรรยาย) การจัดช่วงของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาให้กว้างจะทําด้ในกรณีดังต่อไปนี้

1 เป็นงานที่อยู่ในระดับต่ำ ๆ ขององค์การ

2 งาน/กิจกรรมที่ ได้รับมอบหมายเป็นงาน/กิจกรรมธรรมดา ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องอาศัยความละเอียดถี่ถ้วน

3 ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถมาก ต้องการความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ไม่ต้องการ การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

4 องค์การมีลักษณะกระจายอํานาจมากกว่ารวมอํานาจ

5 ผู้บังคับบัญชามีความสามารถมาก

6 ผู้บังคับบัญชามีจํานวนน้อยมากในองค์การ

79 อํานาจที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชา มักจะขาดหายไปในการปฏิบัติงานจริงด้วยสาเหตุใด

(1) อาจขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) อาจขัดกับหลักชีววิทยาได้

(3) อาจขัดกับหลักศีลธรรมได้

(4) อาจขัดกับสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 150 อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชามักจะขาดหายไปเมื่อได้มีการสั่งการในการปฏิบัติงานจริง เพราะมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น พฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมในสังคม สภาพทางภูมิศาสตร์ หลักชีววิทยา (เช่น สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แรงยกของที่หนักเกินกําลังของผู้ยก) ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมาย (เช่น การสั่งงานโดยผิดข้อกฎหมาย) นโยบาย หรือความต้อยความสามารถของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

80 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ (Centralization of Authority) ในองค์การ ได้แก่

1 ก่อให้เกิดเอกภาพนการปกครองและการบริหาร

2 ทําให้ทรัพยากรการบริหาร รวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

4 ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

5 มีลักษณะของการประสานงานเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

81 ใครเป็นผู้กล่าวว่า สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผล

(1) Max Weber

(2) Frederick Taylor

(3) Elton Mayo

(4) Chester I. Barnard

(5) Kast E. Erement

ตอบ หน้า 139 Max Weber กล่าวว่า “สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลในการบริหารและการดําเนินงานขององค์การขนาดใหญ่”

82 การปฏิบัติงานในองค์การนั้น มักจะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาเสมอ ทั้งนี้ให้นักศึกษาพิจารณาว่า สาเหตุของความขัดแย้งนั้น อาจเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด

(1) ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่เข้าใจลักษณะการทํางานของหน่วยงานฝ่ายที่ปรึกษา และไม่พอใจว่าเข้าไปก้าวก่ายในงานของตน

(2) ฝ่ายหน่วยงานหลักคิดว่าฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาคอยจ้องจับผิดและตรวจสอบการทํางานไปเสนอผู้บังคับบัญชา

(3) ฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษามักดูถูกฝ่ายงานหลักว่าด้อยค่าในทางสติปัญญา

(4) ฝ่ายที่ปรึกษาอาจให้คําปรึกษาชนิดที่นําไปปฏิบัติไม่ได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 204 ทุกข้อเป็ นสําเหตุของความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษานอกจากนี้ความขัดแย้งยังมีสาเหตุมาจาก

1 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่เชื่อคําแนะนําที่มาจากฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษา โดยฝังใจว่าเป็นคําแนะนําจากนักวิชาการที่มิได้ลงมือปฏิบัติหรือเผชิญกับปัญหาอย่างแท้จริง

2 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่พอใจว่าฝ่ายให้คําปรึกษามักได้รับมอบหมายหน้าที่ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ โดยผู้รับผิดชอบคือฝ่ายนําไปปฏิบัติ

3 ฝ่ายหน่วยงานหลักอิจฉาฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาว่ามีความใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นหรือนิจฉัยสั่งการของผู้บังคับบัญชา

4 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่พอใจที่จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานจากแบบที่ตนเคยชิน

5 ฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาไม่พอใจในสถานะของตนว่าไม่มั่นคงและไม่มีความสําคัญเท่าฝ่ายหน่วยงานหลัก

83 สายการบังคับบัญชาหมายถึงอะไร

(1) ขั้นตอนในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทําความผิด โดยมีโทษตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง

(2) ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ

(3) สัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความอย่างไม่เป็นทางการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในตําแหน่งงานอย่างเป็นทางการ

(4) เป็นความหมายอย่างเดียวกับ “ช่วงการควบคุม”

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การแต่ละ หน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร

84 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Direct Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) มีลักษณะเป็น Formal Process

(4) เป็น Authority to Command

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 202 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) เป็นอํานาจหน้าที่ตามกระบวนการที่เป็นทางการ (Formal Process) หรือเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) ซึ่งเป็น อํานาจหน้าที่ในการสั่งการ (Authority/Power to Command) โดยตรง (Direct Line)จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักของ Scalar Principle

85 แผนภูมิเกี่ยวกับ “ หน้าที่การงาน คืออะไร

(1) คือ Process Chart

(2) คือ Work Flow Chart

(3) คือ Functional Chart

(4) คือ Physical Layout

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 215 ประเภทของแผนภูมิหรือแผนผังขององค์การ มีดังนี้

1 แผนภูมิขององค์กรทั้งหมด (Ovel-All Organization Chart) คือ ภาพสําหรับแสดงโครงสร้างทั้งหมดขององค์การ เช่น แสดงกิจกรรม การแบ่งงาน ผู้รับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ สายการบังคับบัญชา เป็นต้น

2 แผนภูมิเกี่ยวกับหน้าที่การงาน (Functional Chart) คือ แผนภูมิที่จัดทําขึ้นเพื่อความสะดวกแก่การเข้าใจในกิจกรรมขององค์การ

3 แผนภูมิแสดงสถานที่ทําการ (Space and Physical Layout) คือ แผนผังที่แสดงว่าที่ทําการหรือห้องทํางานต่าง ๆ ในองค์การอยู่ที่ใดบ้าง

4 แผนภูมิแสดงความเคลื่อนไหวของงาน (Process or Work Flow Chart) คือ แผนภูมิที่แสดงว่างานชนิดต่าง ๆ นั้นเริ่มจากผู้ใด ยุติลงที่ผู้ใด และมีการเคลื่อนไหวไปอย่างใด

86 รูปแบบขององค์การที่เป็นแบบใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ คือองค์การแบบใด

(1) แบบ The Simle Structure

(2) แบบ The Machine Bureaucracy

(3) แบบ The Adhocracy

(4) แบบ The Project Structure

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 211 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy) เป็นรูปแบบขององค์การที่มีลักษณะใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ และเป็นแบบระบบราชการ ในอุดมคติของ Max Weber ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นองค์การที่มีการแบ่งแยกหน้าที่ , ตามความชํานาญพิเศษอย่างมาก

2 มีลักษณะเป็นทางการสูงในการปฏิบัติงาน

3 มีกฎระเบียบมากมาย

4 รวมอํานาจการตัดสินใจไว้ส่วนกลางค่อนข้างมาก ฯลฯ

87 หน่วยงานในองค์การที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรืออาจเรียกว่าเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหมนั้น เรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานประเภทใด

(1) Compact Agency

(2) Staff Agency

(3) Lire Agency

(4) Contingency Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

88 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการแบ่งแยกหน่วยงานต่าง ๆ จากกันเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะต่าง ๆได้อยางเหมาะสม ดังนั้นจึงสามารถแยกประเภทของหน่วยงานตามลักษณะของการปฏิบัติงานในองค์การ ได้เป็นประเภทอะไรบ้าง

(1) Line Agency

(2) Staff Agency

(3) Auxiliary Agency

(4) House-Keeping Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72  ประกอบ

89 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Direct Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) มีลักษณะเป็น Formal Process

(4) เป็น Authority to Command

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

90 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

91 การกระจายอํานาจคืออะไร

(1) การที่ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การมีโอกาสตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

(2) การลดบทบาทผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะการตัดสินใจ

(3) Centralization

(4) คือการทําให้เกิดเอกภาพในการปกครองและบริหาร

(5) คือการทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

ตอบ 1 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจในองค์การ (Decentralization of Authority) หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจ กระทําโดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการ ตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

92 การกระจายอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) Centralization of Authority

(2) Decentralization of Authority

(3) Reconstruction of Power

(4) Deconstruction of Authority

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ คืออะไร

(1) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดังสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น

(2) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(3) ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

(4) เพิ่มอํานาจการตัดสินใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้

1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูงทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น

2 เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการ ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว

3 ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

4 มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มี ความสามารถ ทักษะ และฝึกฝนการตัดสินใจด้วย

5 โอกาสของการเติบโตหรือ ขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

94 Specialization คืออะไร

(1) ความเหลื่อมล้ำในการทํางาน

(2) การแบ่งแยกงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน

(3) การทํางานซ้ำซ้อน

(4) ความสิ้นเปลืองในงบประมาณที่ไม่มีการวางแผนก่อน

(5) ศิลปะในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ตอบ 2 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกยภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมาย ให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

95 Formal Authority คือ

(1) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการที่มีการกําหนดไว้แก่ตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

(2) อํานาจของผู้บังคับบัญชาเฉพาะเรื่องการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา

(3) ระเบียบวินัยในหน่วยงานที่กําหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไว้

(4) การจัดสวัสดิการแก่พนักงาน

(5) การให้รางวัลดีเด่นแก่พนักงานอย่างเป็นทางการ

ตอบ 1 หน้า 147 อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Forma/Legal Authority) หรือที่เรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) นั้น ถือเป็นอํานาจของ องค์การที่จัดตั้งขึ้นอยางมีแบบแผนและเป็นทางการตามกฎหมาย โดยจะกําหนดไว้แก่ตําแหน่ง ต่าง ๆ ในองค์การ ซึ่งมีลักษณะที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงสุดขององค์การ รวมทั้งเป็นลักษณะ ของการมีแบบแผนที่ผู้บริหารได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Formal Position) ซึ่งอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการนี้ ถือเป็นอํานาจของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ในองค์การบริหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ธุรกิจเอกชน โรงพยาบาลสถาบันทางศาสนา ฯลฯ

96 วิธีการปรับปรุงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา ผู้บริหารควรทําอย่างใด

(1) สร้างความเข้าใจเรื่องการแบ่งงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ให้ชัดแจ้ง

(2) ให้ความสําคัญแก่ทั้งสองฝ่าย โดยไม่ลําเอียง รวมทั้งสนับสนุนทั้งสองฝ่ายในโอกาสอันควร

(3) ให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนตําเเหน่งระหว่างสองฝ่ายบ้าง จะได้ศึกษางานและการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน

(4) จัดให้สองฝ่ายได้ติดต่อกันเสมอ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 204 205 วิธีการปรับปรุงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา มีดังนี้

1 สร้างความเข้าใจเองการแบ่งงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ให้ชัดแจ้ง

2 ให้ความสําคัญแก่ทั้งสองฝ่ายโดยไมลําเอียง รวมทั้งสนับสนุนทั้งสองฝ่ายในโอกาสอันควร

3 ให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนตําแหน่งระหว่างสองฝ่ายบ้าง จะได้ศึกษางานและการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน

4 จัดให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อกันเสมอ ๆ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน

5 จัดให้ฝ่ายที่ปรึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากความรู้ความชํานาญเฉพาะด้านที่มีอยู่

97 ช่วงของการบังคับบัญชาคืออะไร

(1) Spean of Contrast

(2) Span of Supervision

(3) Power to Command

(4) Span of Ideas

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

98 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

  1. Informat Organ zation คืออะไร

(1) แผนภูมิขององค์การ

(2) องค์การอย่างไม่เป็นทางการ

(3) องค์การเอกชนทั้งหลาย

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 องค์การอย่างไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) เป็นองค์การที่มีความไม่แน่นอนในวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และระบบของความสัมพันธ์ภายใน มีการจัดการและมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ยืดหยุ่นได้ง่าย และยากที่จะระบุลักษณะเฉพาะ ลงไป การดําเนินการขององค์การประเภทนี้จึงไม่มีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าแน่นอน และไม่มีการระบุอํานาจหน้าที่และตําแหน่งของสมาชิก ตัวอย่างขององค์การอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การเดินขบวนประท้วงการกระทําของรัฐบาล การจัดทําสโมสรเพื่อน เป็นต้น

100 อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการในองค์การคืออะไร

(1) คือ อํานาจหน้าที่ที่ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงได้เสมอและอย่างรวดเร็ว

(2) คือ Unstable Authority

(3) คือ Situationalized Authority

(4) คือ Legal Authority

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

 

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ

ข้อ 1 การแบ่งยุคทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ยุคได้แก่อะไรบ้าง แต่ละยุคมีลักษณะและคุณสมบัติขององค์การอย่างไร เหมาะกับการนําไปใช้ในองค์การประเภทใด

แนวคําตอบ

  1. Richard Scott ได้แบ่งยุคทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ยุค ได้แก่

1 สํานักเหตุผลนิยม หรือสํานักคลาสสิก

ลักษณะของสํานักเหตุผลนิยม ได้แก่

1 เป็นองค์การระบบปิด

2 อาศัยโครงสร้างเข้ามาควบคุมคน

3 การบริหารคํานึงถึงประสิทธิภาพและประหยัด

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักเหตุผลนิยม ได้แก่

1 เป็นกลุ่มสังคม ประกอบด้วยคน 2 คนขึ้นไปมารวมตัวกันและมีปฏิสัมพันธ์ในการทํางานและการรวมกลุ่มต้องมีการประสานกันอย่างมีสํานึก

2 มีขอบเขตที่ชัดเจน

3 มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง

4 มีการจัดแบ่งอํานาจหน้าที่

5 ใช้กฎระเบียบ การดําเนินการ การควบคุมและเทคนิค

6 ใช้การสื่อสารอย่างเป็นทางการ

7 เน้นความชํานาญเฉพาะด้านและการจัดแบ่งงาน

8 มีการว่าจ้างผู้มีทักษะ และมีความรู้ความชํานาญเข้ามาทํางานในองค์การ

การประยุกต์ใช้

แนวคิดของสํานักเหตุผลนิยมให้ความสําคัญกับโครงสร้างองค์การ จึงเหมาะที่จะนําไป ประยุกต์ใช้กับองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) และองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

2 สํานักธรรมชาตินิยม หรือสํานักนีโอคลาสสิก

ลักษณะของสํานักรวรมชาตินิยม ได้แก่

1 สนใจพฤติกรรมของคน

2 เห็นคนเป็นปัจจัยที่สําคัญขององค์การ

3 ถ้าคนมีประสิทธิภาพจะแก้ปัญหาขององค์การได้

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักธรรมชาตินิยม ได้แก่

1 ต้องมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรม เช่น ลักษณะและพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและกลุ่ม

2 ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของสมาชิกในการอุทิศเวลาในการทํางาน

3 แสวงหาความอยู่รอด

4 เน้นการมีส่วนร่วม

5 ใช้การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ การประยุกต์ใช้

แนวคิดของสํานักธรรมชาตินิยมเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal Organization) เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลุ่มให้คําปรึกษาทางกฎหมาย กลุ่มสหกรณ์ เป็นต้น

3 สํานักระบบเปิด

ลักษณะของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เน้นคนและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ

2 เน้นให้องค์การต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อม และรู้จักการบริหารงานให้เป็นระบบในลักษณะบูรณาการ

3 ให้ความสําคัญกับข้อมูลป้อนกลับ

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เป็นระบบที่มีลําดับชั้น

2 มีความสามารถในการดํารงรักษาตนเอง โดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับสิ่งแวดล้อม

3 ระบบประกอบด้วยปัจจัยนําเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)

4 ไม่มีขอบเขตชัดเจน

5 เป็นระบบที่ทํางานเองโดยอัตโนมัติ การประยุกต์ใช้

แนวคิดของสํานักระบบเปิดเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การสมัยใหม่ เช่น องค์การ แบบเครือข่าย (Network Organization) และองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) เป็นต้น

 

ข้อ 2 องค์การในอนาคตควรมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน แนวคําตอบ

รูปแบบการจัดองค์การที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นการจัดรูปองค์การแบบระบบ ราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Max Weber ซึ่งเชื่อว่าเป็นองค์การที่มีขีดความสามารถสูงและสามารถ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในระยะหลังนี้พบว่าองค์การแบบระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปแล้ว โดยมีนักวิชาการหลายท่านได้ออกมาโจมตีองค์การตามรูปแบบดังกล่าว เช่น Victor Thompson เห็นว่า องค์การ แบบระบบราชการมีลักษณะเป็น “โรคระบบราชการ” (Bureau Pathology) และ Warren Bennis เห็นว่า โครงสร้าง ขององค์การแบบระบบราชการมีลักษณะเป็น “การตายขององค์การที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่” (The Dead of Bureaucracy) ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องหารูปแบบขององค์การแบบใหม่มาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การ เพื่อทําให้องค์การมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการแข่งขันกับองค์การอื่น สามารถแข่งขันกับความก้าวหน้าได้ รวมทั้งสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

นักวิชาการที่เสนอลักษณะขององค์การในอนาคต เช่น Toffler เสนอว่า รูปแบบขององค์การ ที่เข้ามาแทนที่องค์การแบบระบบราชการในอนาคตนั้น ควรมีลักษณะเป็น “องค์การเฉพาะกิจ” (Adhocracy) ซึ่งสามารถยกเลิกไปได้ง่ายเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจและเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอื่น

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการเสนอว่า “ลักษณะงานขององค์การในอนาคต” ควรมีลักษณะดังนี้

1 เปลี่ยนจากแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Work) เป็นแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ(Knowledge Work)

2 เปลี่ยนจากงานที่ทําซ้ําซาก (Meaningless Repetitive Tasks) เป็นงานที่ทันสมัย และท้าทาย (Innovation and Caring)

3 เปลี่ยนจากงานที่ต่างคนต่างทํา (Individual Work) เป็นการทํางานเป็นทีม (Teamwork)

4 เปลี่ยนจากงานที่แบ่งตามขั้นตอน (Functional-Base Work) เป็นการทํางานแบบโครงการ (Project-Base Work)

5 เปลี่ยนจากงานที่ต้องอาศัยทักษะอย่างเดียว (Single-Skilled) เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้หลายอย่าง (Multi-Skilled)

6 เปลี่ยนจากการยึดถืออํานาจของผู้บังคับบัญชา (Power of Bosses) เป็นการยึดถืออํานาจของลูกค้าเป็นสําคัญ (Power of Customers)

7 เปลี่ยนจากความสัมพันธ์จากบนลงล่าง (Coordination from Above) เป็นความสัมพันธ์จากเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน (Coordination Among Peers)

 

ข้อ 3 จงอธิบายเปรียบเทียบถึงความสอดคล้องของผลงานของนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยยกตัวอย่างผลงานมาอย่างน้อย 2 คน

แนวคําตอบ

นักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่อง ของการกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, McClelland เป็นต้น

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างผลงานของ Abraham Maslow และ Frederick Herzberg มาอธิบาย ซึ่งนักคิดทั้งสองท่านนี้มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน

Abraham Maslow

Maslow ได้เสนอ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไป ตามลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํา ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ ความต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการได้รับ การชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั่นเอง

Frederick Herzberg

Herzberg ได้เสนอ “ทฤษฎีสองปัจจัย” (Two Factors Theory) โดยเห็นว่า ความต้องการ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนงานโดยความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ได้แก่ ความสําเร็จ ของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และลักษณะของงาน ที่ท้าทายน่าสนใจ ดังนั้นถ้าองค์การสามารถดําเนินการให้เกิดสิ่งนี้จะมีผลกระตุ้นให้คนงานทํางานได้ดีขึ้น แต่ถึงแม้ว่า จะไม่มีก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด

2 ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบเพื่อควบคุมการทํางาน สภาพหรือเงื่อนไขการทํางาน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทํางาน เงินเดือน สวัสดิการ เป็นต้น ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับ – เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีจะทําให้คนงานไม่พอใจ แต่จะไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิด การทํางานที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันระหว่างผลงานของ Maslow กับ Herzberg

1 ความต้องการระดับต่ํา ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ (ความต้องการขั้นที่ 1) และ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (ความต้องการขั้นที่ 2) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยอนามัย เช่น เงื่อนไขการทํางาน เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร ตามแนวคิดของ Herzberg

2 ความต้องการระดับสูง ได้แก่ การได้รับการยอมรับ (ความต้องการขั้นที่ 3) การได้รับ การยกย่อง (ความต้องการขั้นที่ 4) และการทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง (ความต้องการขั้นที่ 5) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยจูงใจ เช่น ความสําเร็จของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงาน และลักษณะของงาน ตามแนวคิดของ Herzberg

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างขององค์การมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ มี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือตาม ความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความ สิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่งส่วนงาน

มีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็นการ แบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิตผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วผู้บังคับบัญชา 1 คน ควรมี ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เกิน 15 คน จึงจะทําให้การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุม จะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ กระจายอํานาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้จุดสําคัญ ของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจในงาน หรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ

ข้อ 1. มีแนวคิดในยุคต่าง ๆ ที่ได้นําเสนอเกี่ยวกับค่านิยมในการบริหารในระบบราชการ จึงให้นักศึกษาอธิบายความหมายของระบบราชการ ข้าราชการ และแนวทางหรือหลักการของระบบราชการ มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ความหมายของระบบราชการ

คําว่า ระบบราชการ (Bureaucracy) นั้น ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย ซึ่ง หากพิจารณาตามช่วงเวลา เราสามารถแบ่งความหมายของระบบราชการได้เป็น 2 ช่วง คือ ในอดีตระบบราชการ ถูกมองว่าเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะของการบริหารจัดการที่มีความสลับซับซ้อนบนพื้นฐานของ หลักเหตุผล ความสัมพันธ์ของคนในองค์การอยู่ภายใต้บรรทัดฐานของความเป็นทางการ โดยมิได้มุ่งประเด็น ความเป็นภารกิจของรัฐหรือเอกชน ดังจะเห็นได้จากคํานิยามของ Weber บิดาของระบบราชการ ซึ่งมองว่า ระบบราชการเป็นองค์การที่มีการดําเนินงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบที่ชัดเจนตายตัว และความสัมพันธ์ที่ คํานึงถึงสายการบังคับบัญชา ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในยุคใหม่ที่มองว่า ระบบราชการเป็นองค์การที่บริหารงาน เพื่อเสริมสร้างประโยชน์แก่สาธารณะเป็นสําคัญ ซึ่งพยายามแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้บริหารองค์การระบบราชการ ที่สะท้อนการตอบสนองความต้องการของสาธารณะ และโดยมากมุ่งเป้าประสงค์ไปที่การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ

ความหมายของข้าราชการ นักวิชาการได้ให้ความหมายของข้าราชการไว้หลากหลาย ดังนี้

1 ข้าราชการ หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะของ การทํางานแบบถาวร และโดยมากมีสถานภาพเป็นพนักงานประจําหรือเป็นลูกจ้างทํางานเต็มเวลาของหน่วยงาน มีบทบาทในการใช้งบประมาณของแผ่นดิน เนื่องจากเป็นบุคคลที่ดําเนินงานในระบบราชการ

2 ข้าราชการ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ได้รับการเลือกสรรให้บรรจุในตําแหน่งโดยระบบ คุณธรรม ซึ่งอาศัยสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคคลเป็นฐานสําคัญ และผลงานของบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถ ประเมินค่าได้โดยตรงเหมือนกับการประเมินกําไรขาดทุนในทางเศรษฐศาสตร์ การสรรหาและคัดเลือกจะจัดให้มี การสอบแข่งขันและการสอบคัดเลือก

3 ข้าราชการ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการบริหารงานให้เป็นไปตาม นโยบายของฝ่ายการเมือง เป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีอิสระในการตัดสินใจและใช้ทรัพยากร และเป็นบุคคลที่เสียสละเข้ามารับใช้ประชาชนเป็นอาชีพ

4 ข้าราชการ หมายถึง บุคคลที่ทํางานตามธรรมเนียมหรือปฏิบัติงานในส่วนของราชการ เป็นบุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตุลาการ เป็นต้น

แนวทางหรือหลักการของระบบราชการ

หากพิจารณาแนวคิดของนักคิดในยุคต่าง ๆ เกี่ยวกับค่านิยมของการบริหารในระบบราชการ สามารถสรุปแนวทางหรือหลักการของระบบราชการได้ดังนี้

1 หลักเหตุผล (Rationality) ระบบราชการที่มีสมรรถนะสูงจะต้องเป็นระบบราชการ ที่อาศัยหลักเหตุผลในการดําเนินการตัดสินใจ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่สอดคล้องกันของนักคิดรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่ ยุคคลาสสิกจนถึงยุคสมัยใหม่ เนื่องจากนักคิดส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการบริหารงานในภาครัฐเป็นเรื่องที่มี ความสลับซับซ้อน ดังนั้นการจะแก้ปัญหาในการบริหารได้จําเป็นจะต้องอาศัยหลักเหตุผล เช่น ข้อเสนอของ Taylor ซึ่งได้พยายามที่จะนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน โดยเชื่อว่าหลักวิทยาศาสตร์ จะสามารถสร้างการบริหารงานที่มีเหตุผลจนนําไปสู่การบรรลุประสิทธิผลขององค์การได้ หรือผลงานของ Weber ได้นําเสนอการใช้หลักเหตุผลในการบริหารงานในองค์การขนาดใหญ่ เช่น การบริหารงานที่คํานึงถึงกฎระเบียบ แบบแผนที่ชัดเจนตายตัว การบริหารงานที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นทางการตามที่ระบุไว้ในสายการบังคับบัญชา เป็นต้น แม้แต่แนวคิดการบริหารงานในยุคปัจจุบันก็ยังให้ความสําคัญกับการบริหารงานตามหลักเหตุผล เช่น การนําเสนอหลักการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวิเคราะห์แบบเป็นระบบ หรือการบริหารงาน ที่อาศัยคณิตศาสตร์ เป็นต้น

2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารงานที่ต้องคํานึงถึงหลักประสิทธิภาพ ได้แก่ การมีสมรรถนะ (Competence) การเพิ่มผลผลิต (Productivity) การมีสมรรถภาพ (Capable) หรือ การบริหารงานที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน หรือวัสดุอุปกรณ์ให้น้อยที่สุด ถือเป็นหลักการที่สําคัญในการ บริหารงานในระบบราชการ ด้วยเหตุนี้แนวคิดการบริหารงานของนักคิดในยุคต่าง ๆ จึงพยายามคิดค้นแนวทาง เพื่อทําให้เกิดบระสิทธิภาพในการบริหารงานไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของนักคิดยุคคลาสสิกที่นําเสนอให้มีการแบ่งงาน กันทําตามความถนัด การสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานโดยจายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น แนวคิดของนักคิดยุคสมัยใหม่ ที่นําเสนอการจูงใจโดยคํานึงถึงคุณค่าทางจิตใจ หรือแนวคิดของนักคิดในยุคปัจจุบันที่นําเสนอการบริหารงาน ภายใต้ระบบประกันคุณภาพ ได้แก่ ISO 9000, 9001, 9002 และ PSO รวมทั้งการบริหารงานโดยการควบคุมคุณภาพแบบครบวงจร (TQM) เป็นต้น

3 ยึดหลักการในการปฏิบัติงาน (Principle Mindedness) ระบบราชการที่มี ประสิทธิภาพและคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมจะต้องบริหารงานโดยอาศัยหลักกฎหมาย เพื่อให้ ความเสมอภาคแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่คํานึงถึงเรื่องส่วนตัว ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของ Weber มองว่า การบริหาร ราชการในประเทศที่พัฒนาแล้ว ข้าราชการจะยึดหลัก Principle Mindedness กล่าวคือ จะละทิ้งเรื่องส่วนตัว สนใจเรื่องส่วนรวม ซึ่งตรงกันข้ามกับการบริหารราชการในประเทศกําลังพัฒนาที่มักมีการเลือกใช้กฎหมาย และข้าราชการคํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม

4 หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร (Participation) หลักการนี้ถือเป็นความแตกต่าง ที่ชัดเจนของแนวคิดการบริหารราชการของนักคิดในอดีตและปัจจุบัน กล่าวคือ นักคิดในยุคคลาสสิกมุ่งเน้นการ แบ่งงานกันทําและการเคร่งครัดกับการทํางานที่ยึดติดกับสายการบังคับบัญชาจึงส่งผลให้การบริหารงานในองค์การ มีลักษณะของการรวมอํานาจ แต่นักคิดในยุคปัจจุบันให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตยจึงส่งผลให้แนวคิด การบริหารงานอยู่บนพื้นฐานของการกระจายอํานาจและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

5 หลักผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ช่วยให้ การบริหารในระบบราชการมีความชอบธรรมและได้รับการสนับสนุนจากสังคม ในอดีตนักคิดในยุคคลาสสิก ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของผลประโยชน์สาธารณะ แต่กลุ่มนักคิดสมัยใหม่กลับพยายามนําเสนอการบริหาร ที่คํานึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ และการบริหารที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสังคม เช่น ข้อเสนอของ Ostrom เป็นการนําเสนอการบริหารแบบประชาธิปไตย คํานึงถึงการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์สาธารณะ

6 หลักความเสมอภาคทางสังคม (Social Equity) เป็นแนวคิดที่ได้เสนอเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่เสียเปรียบทางสังคม โดยเห็นว่าประชาชนในประเทศควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เสียเปรียบมีโอกาสมากขึ้น ส่งผลให้สังคมน่าอยู่ และเป็นการคํานึงถึงคนส่วนน้อย ซึ่ง สอดคล้องกับข้อสังเกตของนักคิดสมัยใหม่ เช่น Rehfuss และ Shick ที่เสนอให้การบริหารงานในภาครัฐมุ่งเน้น การสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

 

ข้อ 2 ให้นําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์มา 2 แนวคิดโดยละเอียด

แนวคําตอบ

นักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่องของ การกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด ยุคพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Hugo Munsterberg, Elton Mayo, Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ 2 แนวคิด ดังนี้

1 Elton Mayo

Mayo เป็นหัวหน้า Department of Industrial Relations Research ของบัณฑิตมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมกับ J.F. Roethlisberger ทําการทดลองเกี่ยวกับการทํางาน ของพนักงานภายใต้การทดลองชื่อ “Hawthorne Experiment” ซึ่งประกอบด้วยโครงการดังนี้

1 The Illumination Study

2 The Relay Assembly Test Room Study

3 The Interviewing Programs

4 The Blank Writing Observation Room Study

ผลจากการทดลอง พบว่า

1 คนมีความต้องการทางสังคม ต้องการเพื่อน และต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ในพฤติกรรม หรือความสําคัญของตน ในการทํางานทุกคนมีความสําคัญกับงานเท่าเทียมกัน ดังนั้นการให้ความสําคัญจึงควรมี การเปลี่ยนแปลง เช่น จากการควบคุมมาเป็นการปรึกษาหารือ การรวมอํานาจมาเป็นการกระจายอํานาจ การบริหารงานคนเดียวมาเป็นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น

2 กลุ่มจะมีอยู่ในทุกระดับขององค์การ บุคคลในองค์การยินยอมที่จะให้กลุ่มครอบงํา พฤติกรรมของกลุ่มจะมีความหมายมากกว่าพฤติกรรมของคน นักบริหารจึงหันมาสนใจพฤติกรรมของกลุ่มมากกว่าพฤติกรรมของคน เพราะการทํางานกับคนจํานวนมากเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการบริหารที่จะทําให้งานที่ยากกลายเป็น งานที่ง่ายจึงต้องติดต่อกับกลุ่ม

3 พบความสําคัญขององค์การที่ไม่เป็นทางการ เพราะการทํางานตามรูปแบบองค์การ ที่เป็นทางการมักยึดติดกับกฎระเบียบ ข้อบังคับ ส่วนองค์การที่ไม่เป็นทางการจะทําให้การปฏิบัติงานรู้จักการ ผ่อนคลายความตึงเครียดในบางโอกาส

4 ผู้นํามี 2 ลักษณะ คือ ผู้นําที่ชอบออกคําสั่ง และผู้นําที่มีความเข้าใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สามารถเร่งรัดงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ในขณะเดียวกัน ต้องทําความเข้าใจในความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

5 องค์การควรหารูปแบบที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้คนมีความเป็นอิสร วนรอ ในการปฏิบัติงาน และมีการจูงใจจากภายในองค์การ

การศึกษาที่ Hawthorne ของ Mayo ทําให้ Mayo เป็นนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์คนแรกที่ ค้นพบเรื่องสําคัญว่าพฤติกรรมของมนุษย์ ในการทํางานนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์หรือการจูงใจ ทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับความพอใจทางด้านจิตใจด้วย นอกจากนี้การศึกษาของ Mayo ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสําคัญในการศึกษาฤติกรรมของคนกับความสัมพันธ์ในงานที่ทํา การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นแนวความคิดที่ตรงกันข้ามกับการจัดการงบบวิทยาศาสตร์ เพราะการทํางานเป็นกลุ่มจะทําให้คนงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะทํางานร่วมกัน และทําให้ผลของงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

2 Douglas  McGregor

McCregor เสนอขาษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการอนในวง 2 แบบ คือ

1 กาะฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ

– ปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ำให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็น “มหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การตามข้อเสนอของ Mintzberg ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

แนวคําตอบ

Mintzberg ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่างเป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ ผลิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ส่วนที่จัดว่าเป็นส่วนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ในส่วนที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานในส่วนนี้ได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายเปรียบเทียบแนวความคิดเกี่ยวกับการจูงใจมาอย่างน้อย 2 แนวคิดโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การจูงใจ (Motivation) หมายถึง การสร้างแรงปรารถนาในตัวคนให้กระทําบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้การกระทํานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของปัจเจกบุคคล หรือหมายถึงความสามารถในการชักจูง ให้บางคนเกิดความคล้อยตาม ซึ่งนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์มองว่า การจูงใจถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การนอกเหนือจากค่านิยม ทัศนคติ บุคลิก มุมมอง การเรียนรู้ และเป็นปัจจัยที่มีส่วนสําคัญต่อการเกิดผลสําเร็จของงาน โดยแนวคิดการจูงใจนี้ได้รับความสนใจจากนักคิด กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์หลายท่าน เช่น Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอยก แนวคิดของ Abraham Maslow และ Frederick Herzberg มาอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นถึงความสอดคล้องกันของแนวคิด

Abraham Maslow

Maslow เสนอ “ทฤษฎีลําดับขั้นของความต้องการ” (Hierarchy of Needs Theory) หรือ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถ สร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไปตามลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํา ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ วาามต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการ ได้รับการชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม

การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั่นเอง

Frederick Herzberg

Herzberg ได้เสนอ “ทฤษฎีสองปัจจัย” (Two Factors Theory) โดยเห็นว่า ความต้องการ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนงานโดยความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ปัจจัยจงใจ (Autotivation Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ได้แก่ ความสําเร็จ ของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และลักษณะของงาน ที่ท้าทายน่าสนใจ ดังนั้นถ้าองค์การสามารถดําเนินการให้เกิดสิ่งนี้จะมีผลกระตุ้นให้คนงานทํางานได้ดีขึ้น แต่ถึงแม้ว่า จะไม่มีก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด

2 ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบเพื่อควบคุมการทํางาน สภาพหรือเงื่อนไขการทํางาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทํางาน เงินเดือน สวัสดิการ เป็นต้น ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับ เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีจะทําให้คนงานไม่พอใจ แต่จะไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิด การทํางานที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของ Maslow กับ Herzberg

1 ความต้องการระดับต่ำ ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ (ความต้องการขั้นที่ 1) และ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (ความต้องการขั้นที่ 2) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยอนามัย เช่น เงื่อนไขการทํางาน เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร ตามแนวคิดของ Herzberg

2 ความต้องการระดับสูง ได้แก่ การได้รับการยอมรับ (ความต้องการขั้นที่ 3) การได้รับ การยกย่อง (ความต้องการขั้นที่ 4) และการทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง (ความต้องการขั้นที่ 5) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยจูงใจ เช่น ความสําเร็จของงาน การได้รับการยอมร ผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงาน และลักษณะของงาน ตามแนวคิดของ Herzberg

 

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

ข้อ 1 พฤติกรรมองค์การคืออะไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ จงอธิบายมาให้เข้าใจโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ความหมายของพฤติกรรมองค์การ

Gibson, Ivancevich and Downelly ให้ความหมายว่า พฤติกรรมองค์การเป็นการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติงานภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ โดยใช้ทฤษฎี วิธีการ และหลักการของวิชาสาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยามาผสมผสานเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ของคน ค่านิยม ความสามารถในการเรียนรู้ การกระทําต่าง ๆ ในขณะที่กําลังทํางานอยู่ในองค์การ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่มีผลต่อองค์การ ทรัพยากรบุคคล จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ต่าง ๆ ภายนอกด้วย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ ได้แก่

1 บุคลากร ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความรู้ความสามารถ การบรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพ จึงส่งผลให้บุคลากรที่ทํางานในองค์การมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม องค์การที่แตกต่างกันออกไปด้วย

2 โครงสร้าง หมายถึง การจัดกลุ่มงานเข้าด้วยกันตามจุดมุ่งหมายขององค์การและตาม หน้าที่ มีสายการบังคับบัญชา มีการจัดสรรอํานาจหน้าที่ระหว่างตําแหน่งหน้าที่การบริหารต่าง ๆ หรืออาจกล่าว ได้ว่า โครงสร้างเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในองค์การที่สร้างขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

โครงสร้างองค์การจะช่วยขจัดความไม่ชัดเจนต่าง ๆ ของบทบาทหน้าที่ ทําให้การปฏิบัติงาน ขององค์การสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทํางานในองค์การ การจัดองค์การ มีระเบียบขั้นตอนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ปัญหาข้อบกพร่องในการดําเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นโครงสร้างองค์การจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการบริหาร ถ้าองค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม มีการจัดโครงสร้าง ที่ชัดเจนสมดุลกับปริมาณงานที่มีอยู่ในองค์การแล้ว ก็จะช่วยให้การบริหารงานในองค์การประสบความสําเร็จ

3 เทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสําคัญในการทํางาน โดยในปัจจุบันมีการนํา เครื่องจักรมาใช้แทนที่คนงานระดับล่าง ทําให้การผลิตหรือการทํางานมีความรวดเร็วขึ้น การนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การทํางานทําให้องค์การต้องมีการออกแบบองค์การใหม่ และบุคคลในองค์การจะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นองค์การจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนา องค์การด้วยวิธีการดังนี้

1) การจัดการคุณภาพ (Total Quality Management หรือ TQM) เป็นการพัฒนา กระบวนการทํางานให้ต่อเนื่องกัน เพื่อลดความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ตลอดจนให้มีมาตรฐานใน การผลิตและการให้บริการในแนวเดียวกัน ซึ่งจะทําให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น

2) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับระบบในองค์การโดยการคิดใหม่ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน มีการทํางานและกระบวนการใหม่ ๆ โดยนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทํางาน

3) ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing System) เป็นระบบ การผลิตที่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย แต่ใช้ต้นทุนต่ําหรือมีต้นทุนต่อหน่วยเหมือนกับการผลิตจํานวนมาก ในการผลิตแบบนี้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยที่องค์การไม่จําเป็นที่จะต้องผลิตสินค้า ในปริมาณมากอีกต่อไป

4) การพ้นสมัยของคนงาน (Worker Obsolescence) หมายถึง ความสําคัญของ พนักงานลดลง เนื่องจากการนําเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นเข้ามาใช้แทนที่ ทําให้งานมีลักษณะต้องทําซ้ําและ ทําเหมือนกันทุกวัน กลายเป็นงานที่มีความสําคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ชาให้งานกลายเป็นงาน ในระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยทําให้ผลผลิตมากขึ้นโดยการใช้พนักงานเพียงไม่กี่คน แต่เป็นพนักงานที่มีความชํานาญ ในการทํางานที่แตกต่างไปจากเดิม

4 สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การแตกต่างกันออกไป โดยสิ่งแวดล้อม ของการบริหารองค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ มีลักษณะเป็นสิ่งแวดล้อมร่วมของสังคมที่ทุก ๆ หน่วยงานจะต้องเผชิญ เช่น ลักษณะของวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของคนในชาติ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ภูมิศาสตร์ของประเทศ เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงและมักจะมีความ สัมพันธ์ต่อองค์การในลักษณะที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น จํานวนทรัพยากรที่จําเป็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ บริหารงานในหน่วยงานนั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานนั้น ๆ กับองค์การอื่น ๆ ในสังคม

 

ข้อ 2 ให้เลือกตอบเพียง 1 ข้อ

ก จงอธิบายหลักการบริหารจากแนวคิดของ Henri Fayol มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

Henri Fayol เป็นนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส เขาได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหาร ไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ

3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา

4 C = Coordinating คือ การประสานงาน

5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน นอกจากนี้ Fayol ยังได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้เก่

1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)

3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)

5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 6 ความเสมอภาค (Equity)

7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)

8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)

9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)

  1. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์สวนราม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)

13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Tenure of Pers(in)

14 ความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)

จากหลักการบริหารดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์ จากการแบ่งงานกันทํา และเน้นความสําคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และ ความสามัคคี นอกจากนี้หลักการบริหารของ Fayol นับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามา รวมอยู่ในองค์การให้สามารถทํางานโดยมีประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้

 

ข “ค่านิยมของระบบราชการ” มีอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับ “The Changing Nature of Work” หรือไม่อย่างไร จงอธิบาย

แนวคําตอบ

ค่านิยมของระบบราชการ

หากพิจารณาแนวคิดของนักคิดในยุคต่าง ๆ เกี่ยวกับค่านิยมของการบริหารในระบบราชการ สามารถสรุปแนวทางหรือหลักการของระบบราชการได้ดังนี้

1 หลักเหตุผล (Rationality) ระบบราชการที่มีสมรรถนะสูงจะต้องเป็นระบบราชการ ที่อาศัยหลักเหตุผลในการดําเนินการตัดสินใจ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่สอดคล้องกันของนักคิดรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่ ยุคคลาสสิกจนถึงยุคสมัยใหม่ เนื่องจากนักคิดส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการบริหารงานในภาครัฐเป็นเรื่องที่มี ความสลับซับซ้อน ดังนั้นการจะแก้ปัญหาในการบริหารได้จําเป็นจะต้องอาศัยหลักเหตุผล เช่น ข้อเสนอของ Taylor ซึ่งได้พยายามที่จะนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน โดยเชื่อว่าหลักวิทยาศาสตร์ จะสามารถสร้างการบริหารงานที่มีเหตุผลจนนําไปสู่การบรรลุประสิทธิผลขององค์การได้ หรือผลงานของ Weber ได้นําเสนอการใช้หลักเหตุผลในการบริหารงานในองค์การขนาดใหญ่ เช่น การบริหารงานที่คํานึงถึงกฎระเบียบ แบบแผนที่ชัดเจนตายตัว การบริหารงานที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นทางการตามที่ระบุไว้ในสายการบังคับบัญชา เป็นต้น แม้แต่แนวคิดการบริหารงานในยุคปัจจุบันก็ยังให้ความสําคัญกับการบริหารงานตามหลักเหตุผล เช่น การนําเสนอหลักการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวิเคราะห์แบบเป็นระบบ หรือการบริหารงาน ที่อาศัยคณิตศาสตร์ เป็นต้น

2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารงานที่ต้องคํานึงถึงหลักประสิทธิภาพ ได้เก่ การมีสมรรถนะ (Competence) การเพิ่มผลผลิต (Productivity) การมีสมรรถภาพ (Capable) หรือ การบริหารงานที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน หรือวัสดุอุปกรณ์ให้น้อยที่สุด ถือเป็นหลักการที่สําคัญในการ บริหารงานในระบบราชการ ด้วยเหตุนี้แนวคิดการบริหารงานของน้าติดในยุคต่าง ๆ จึงพยายามคิดค้นแนวทาง เพื่อทําให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของนักคิดยุคคลาสสิกที่นําเสนอให้มีการแบ่งงาน กันทําตามความถนัด การสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานโดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น แนวคิดของนักคิดยุคสมัยใหม่ ที่นําเสนอการจูงใจโดยคํานึงถึงคุณค่าทางจิตใจ หรือแนวคิดของนักคิดในยุคปัจจุบันที่นําเสนอการบริหารงาน ภายใต้ระบบประกันคุณภาพ ได้แก่ ISO 9000, 9001, 9002 และ PSO รวมทั้งการบริหารงานโดยการควบคุม คุณภาพแบบครบวงจร (TQM) เป็นต้น

3 ยึดหลักการในการปฏิบัติงาน (Principle Mindedness) ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ และคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมจะต้องบริหารงานโดยอาศัยหลักกฎหมาย เพื่อให้ความเสมอภาค แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่คํานึงถึงเรื่องส่วนตัว ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของ Weber มองว่า การบริหารราชการใน ประเทศที่พัฒนาแล้ว ข้าราชการจะยึดหลัก Principle Mindedness กล่าวคือ จะละทิ้งเรื่องส่วนตัว สนใจเรื่อง ส่วนรวม ซึ่งตรงกันข้ามกับการบริหารราชการในประเทศกําลังพัฒนาที่มักมีการเลือกใช้กฎหมาย และข้าราชการ คํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม

4 หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร (Participation) หลักการนี้ถือเป็นความแตกต่าง ที่ชัดเจนของแนวคิดการบริหารราชการของนักคิดในอดีตและปัจจุบัน กล่าวคือ นักคิดในยุคคลาสสิกมุ่งเน้นการ แบ่งงานกันทําและการเคร่งครัดกับการทํางานที่ยึดติดกับสายการบังคับบัญชาจึงส่งผลให้การบริหารงานในองค์การ

มีลักษณะของการรวมอํานาจ แต่นักคิดในยุคปัจจุบันให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตยจึงส่งผลให้แนวคิด การบริหารงานอยู่บนพื้นฐานของการกระจายอํานาจและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน –

5 หลักผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ช่วยให้ การบริหารในระบบราชการมีความชอบธรรมและได้รับการสนับสนุนจากสังคม ในอดีตนักคิดในยุคคลาสสิก ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของผลประโยชน์สาธารณะ แต่กลุ่มนักคิดสมัยใหม่กลับพยายามนําเสนอการบริหาร ที่คํานึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ และการบริหารที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสังคม เช่น ข้อเสนอของ (Ostrom เป็นการนําเสนอการบริหารแบบประชาธิปไตย คํานึงถึงการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์สาเธารณะ

6 หลักความเสมอภาคทางสังคม (Social Equity) เป็นแนวคิดที่ได้เสนอเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่เสียเปรียบทางสังคม โดยเห็นว่าประชาชนในประเทศควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เสียเปรียบมีโอกาสมากขึ้น ส่งผลให้สังคมน่าอยู่ และเป็นการคํานึงถึงคนส่วนน้อย ซึ่ง สอดคล้องกับข้อสังเกตของนักคิดสมัยใหม่ เช่น Rehfuss และ Shick ที่เสนอให้การบริหารงานในภาครัฐมุ่งเน้น การสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

จากค่านิยมของระบบราชการดังกล่าว ทําให้โครงสร้างองค์การแบบระบบราชการหรือองค์การ แบบ Bureaucracy โดยเฉพาะตามแนวคิดของนักคิดยุคคลาสสิก มีการบริหารงานที่คํานึงถึงระเบียบแบบแผน ที่ชัดเจนตายตัว คํานึงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นทางการตามสายการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานกันทําตามความถนัด มีการรวมศูนย์อํานาจ ฯลฯ ซึ่งลักษณะโครงสร้างองค์การดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีความเหมาะสมกับ องค์การในอนาคต ดังนั้นจึงต้องมีการจัดโครงสร้างองค์การใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน (The Changing Nature of Work) ขององค์การแบบ Eureaucracy ไปเป็นแบบ Post Bureaucracy เพื่อให้การบริหารงาน ในองค์การมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการแข่งขันกับองค์การอื่น และ สามารถแข่งขันกับความก้าวหน้าได้

การเปลี่ยนแปลงลักษณะของงานจาก Bureaucracy ไปเป็น Post Bureaucracy มีลักษณะดังนี้

Bureaucracy

1 แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Work)

2 งานที่ทําซ้ำซาก (Meaningless Repetitive Tasks)

3 งานที่ต่างคนต่างทํา (Individual Work)

4 งานที่แบ่งตามขั้นตอน (Functional-Ease Work)

5 งานที่ต้องอาศัยทักษะอย่างเดียว (Single-Skilled)

6 ยึดถืออํานาจของผู้บังคับบัญชา (Power of Bosses)

7 มีความสัมพันธ์จากส่วนบนลงลาง (Coordination from Above)

Post Bureaucracy

1 แรงงานที่มีความรู้ความสามารถ (Knowledge Work)

2 งานที่ทันสมัยและท้าทาย (Innovation and Caring)

3 มีการทํางานเป็นทีม (Teamwork)

4 มีการทํางานแบบโครงการ (Project-Base Work)

5 งานที่ต้องอาศัยความรู้หลายอย่าง (Multi-Skilled)

6 ยึดถืออํานาจของลูกค้าเป็นสําคัญ (Power of Customers)

7 ความสัมพันธ์เกิดจากผู้ร่วมงานในระดับเดียวกัน (Coordination Among Peers)

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงมิติของโครงสร้างองค์การว่าประกอบไปด้วยมิติใดบ้างตามข้อเสนอของ Mintzberg

แนวคําตอบ

Mintzberg ได้เสนอมิติของโครงสร้างองค์การซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ ดังนี้

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่างเป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ ผลิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า มิติที่จัดว่าเป็นส่วนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ส่วนมิติที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานแทน

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!