การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Nicholas Henry

 

1 บุคคลใดที่นําแนวคิดเรื่อง พาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ

ตอบ 5 หน้า 46 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3: การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

2 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ

1 เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

2 เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป

 

3 บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ

ตอบ 4 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

4 บทความทางการบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของแนวคิดเรื่องพาราไดม (Paradigm) ตามแนวคิดของ Robert T. Holt และ John M. Richardson

(1) แนวความคิด ทฤษฎี

(2) กฎของการแปลความหมาย

(3) ปัญหา

(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน

ตอบ 5 หน้า 44 – 45, 64 – 65 Robert T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่าพาราไดม์ (Paradigm) ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ประการ คือ

1 แนวความคิด

2 ทฤษฎี

3 กฎของการแปลความหมาย

4 ปัญหา

5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

7 การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน ในความหมายของนักวิชาการทาง การบริหารรัฐกิจ หมายถึง

(1) ควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกัน

(2) การเมืองกับการบริหารมีหน้าที่แตกต่างกัน

(3) ควรปลอดจากค่านิยม

(4) ควรเป็นวิทยาศาสตร์

(5) แบ่งแยกค่านิยมและความจริงออกจากกัน

ตอบ 5 หน้า 47 Frank J. Goodnow และ Leonard D. White เป็นนักวิชาการทางการบริหารรัฐกิจที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดยเชื่อมโยง ความคิดความเข้าใจนเข้ากับเรื่องการแบ่งแยกค่านิยมและความจริงออกจากกัน ดังนั้นทุกสิ่ง ทุกอย่างที่นักวิชาการทางการบริหารรัฐกิจพินิจพิเคราะห์ในสาขาการบริหาร จะถูกย้อมด้วย ความถูกต้องขอบธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการกําหนดนโยบายสาธารณะและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถือเป็นเรื่องของรัฐศาสตร์

8 บุคคลใดที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Goodnow and White

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Thomas S. Kun.

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนเล่มแรกของสาขาวิชา การบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

10 ในหนังสือชื่ออะไรที่เสนอหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียนที่สมบูรณ์ของการบริหารรัฐกิจ

(1) Creative Experience

(2) Industrial and General Management

(3) Principles of Organization

(4) Principles of Management

(5) Principles of Public Administration

ตอบ 5 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการบุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดม หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์ เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แสดงความเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ ซึ่งทําให้แนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับเป็นพาราไดม์ที่ 2 (พาราไดม์หลักของการบริหาร) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

11 ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอหลักการทํางานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร

(1) Mary Parker Follet

(2) Henri Fayol

(3) Frederick W. Taylor

(4) James D. Mooney

(5) Alan C. Reiley

ตอบ 3 หน้า 48 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่องการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งจะเน้นในเรื่องการทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ

12 ในหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร

(1) Lillian Gilbreth

(2) Frederick W. Taylor

(3) Henri Fayol

(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley

(5) Gulick and Lyndall Urwick

ตอบ 5 หน้า 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “จุดสูงสุดแห่งการได้รับความยอมรับนับถือ” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

13 ในหนังสือชื่อ Papers on the science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร

(1) หลักของการบริหาร

(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) หลักการของนักบริหารที่ดี

(4) หลักการบริหาร POSDCORE

(5) หลักการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

14 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองสามารถแยกออกจากกันได้

(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความสอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมและการทุจริต

(4) หลักการบริหารที่กําหนดขึ้นมามีความสมบูรณ์เพียงพอ

(5) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

ตอบ 5 หน้า 51 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1938 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้

1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก

2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร

15 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย คือ

(1) สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(4) ปฐม มณีโรจน์

(5) มาลัย หุวะนันท์

ตอบ 1 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

16 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1947 – 1950 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การแยกการบริหารออกจากการเมือง

(2) ชี้หลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความหมายเป็นศาสตร์ (Science)

(3) การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร ไม่เกี่ยวกับทางจิตวิทยาสังคม

(4) การศึกษาศาสตร์ของการบริหารสามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

(5) การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

ตอบ 5 หน้า 54 – 55 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1947 – 1950 มีดังนี้

1 การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร

2 การชี้ให้เห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)

3 การใช้จิตวิทยาสังคมเป็นพื้นฐานสําหรับทําความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร

4 การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้

17 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์

(2) บุคลากร

(3) โครงสร้างองค์การ

(4) สภาพแวดล้อม

(5) ระยะเวลา

ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

18 องค์การแบบเรียบง่าย (Simple structure) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก

(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างองค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) จะมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การจะไม่ซับซ้อน โดยลักษณะโครงสร้างองค์การนี้จะเป็นโครงสร้างแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างแนวดิ่ง (Tall Structure)

19 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก

(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน

(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

ตอบ 1 หน้า 125 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักของ องค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน

20 Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร

(1) องค์การแบบเรียบง่าย

(2) องค์การแบบระบบราชการ

(3) องค์การแบบแมทริกซ์

(4) องค์การแบบเครือข่าย

(5) องค์การแบบผสม

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การแบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วง ซอุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

 

21 การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ เป็นแนวคิดของใคร

(1) Stephen P. Robbins

(2) Pater Senge

(3) Herbert Hicks

(4) Hardy

(5) Jones G. R,

ตอบ 2 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)

3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

22 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร

(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม

(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา

(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม

(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ

2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผยคํานึงถึงเวลา และถูกต้อง

4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

23 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 132 – 134, 138 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

2 ช่วงการควบคุมแคบ

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง

5 มีความเป็นทางการสูง

6 รวมอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่

8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

24 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 133 – 134, 143 – 141 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 มีความเป็นทางการน้อย

5 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

6 มีสภาพแวดล้อมซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก

7 มุ่งเน้นประสิทธิผล ฯลฯ

25 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency)

(1) องค์การเป็นระบบเปิด

(2) การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

(3) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

(4) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

(5) องค์การมีความเป็นทางการสูง

ตอบ 5 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency) มีดังนี้

1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ

2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน

3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์

4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ

5 องค์การเป็นระบบเปิด

6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล

26 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์เกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์

(1) สิ่งแวดล้อม

(2) กลยุทธ์

(3) สายการบังคับบัญชา

(4) เทคโนโลยี

(5) คน/วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 135 136, 14: มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการจัด โครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ โดยองค์การที่มีส่วนประกอบภายในสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุดและมีผลการดําเนินงานที่ดีที่สุด

27 การบริหารงานบุคคล (Public Personnel Administration) หมายถึงข้อใด

(1) การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคล นับแต่การสรรหาบุคคล การดูแลและบํารุงรักษาจนพ้นไปจากการปฏิบัติงานในองค์การ

(2) กระบวนการวางนโยบายและการดําเนินการเกี่ยวกับบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ

(3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

(4) เรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ

(5) เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการโดยมีการวางนโยบายและดําเนินการให้ได้คนดีมีความสามารถทํานุบํารุงรักษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งพ้นจากงาน

ตอบ 5 หน้า 150 การบริหารงานบุคคลในราชการหรือภาครัฐ (Public Personnel Administration)เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการ โดยมีเป้าหมายในการวางนโยบายและดําเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่ดี มีความสามารถ ทะนุบํารุงรักษาและพัฒนาข้าราชการให้มีจํานวน และมีประสิทธิภาพสูงสุดไปจนกระทั่งพ้นจากงาน เพื่อให้งานราชการเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ด้วย

28 การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง

(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล

(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัยการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล

(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบไว้ดังนี้

1 เป็นแนวการศึกษา ที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหาการคัดเลือก การลอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น

2 ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

3 เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล

29 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP

(1) สภาพการเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) บุคลากร

(4) สังคมและวัฒนธรรม

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 55 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือ PEST หรือ STEP ประกอบด้วย

1 สภาพการเมือง (Political)

2 เศรษฐกิจ (Economic)

3 สังคม (Social)

4 เทคโนโลยี (Technological)

30 ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็ไม่สามารถทํางานได้คือ

(1) คน (Men)

(2) เงิน (Money)

(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)

(4) การจัดการ (Management)

(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)

ตอบ 1 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 MPs คือ คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) จะถือว่าปัจจัยเรื่อง คน (Men) มีความสําคัญมากที่สุด และเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้

31 กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทยคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตอบ 1 หน้า 167 ภาครัฐไทยนําระบบการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่มาใช้ตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 โดยระบบบริหารงานบุคคล ภาครัฐมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ และนโยบายการบริหารงานบุคคลก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

32 ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลคือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็น พ.ร.บ. ฉบับล่าสุดที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

33 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนในระบบราชการคือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(3) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(4) คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง

(5) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ตอบ 2 หน้า 158 – 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผล การปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้นคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกําหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล

34 นโยบายการบริหารงานบุคคลที่สําคัญคือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยเรื่องอะไร

(1) การจัดการศึกษา

(2) การฝึกอบรม

(3) การพัฒนา

(4) การวางนโยบาย

(5) การศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนา

ตอบ 5 หน้า 164, 170 – 172 (คําบรรยาย) การพัฒนาบุคลากร เป็นความพยายามในการเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถให้แก่บุคลากร เพื่อที่จะปฏิบัติงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการในการพัฒนาบุคลากรมีหลายวิธี เช่น การส่งบุคลากรไปอบรมหรือศึกษาต่อการดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสัมมนา การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน เป็นต้น

35 การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมของการบริหารงานบุคคลในองค์การภาครัฐตามแนวคิดของแมคคินซี(McKinsey) เกี่ยวข้องกับ

(1) 4 M’s

(2) T.Q.M.

(3) 7s

(4) Q.C.

(5) PES7 หรือ STEP

ตอบ 3 หน้า 154 กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์),Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทํานองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง s ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องบุคลากรมี 3s คือ Staffing, Style และ Skill

36 แนวคิดของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย

(1) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ ท่วงทํานองการบริหาร ทักษะ (2) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ สไตล์การทํางาน ทักษะ

(3) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ สไตล์การทํางาน ทักษะ

(4) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ ท่วงทํานองการบริหาร ทักษะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยคือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(4) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย

(5) คณะกรรมการจัดการบุคคลในมหาวิทยาลัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

38 ตําราเรียนที่ใช้เป็นหนังสือหลักในการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลมากเป็นของใคร

(1) Nicholas Henry

(2) Herbert Simon

(3) Glenn Stahl

(4) Mary Parker Follet

(5) Martin Landau

ตอบ 3 หน้า 151 0. Glen Stahl เป็นผู้แต่งหนังสือหลักที่ใช้เป็นตําราการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานบุคคล ทุกยุคทุกสมัย โดยเห็นว่า การบริหารงานบุคคลเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร ที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคลมากกว่าที่จะมองให้กว้างถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ของสมาชิกในองค์การ

39 การบริหารงานบุคคลในภาครัฐ ค่าภาษาอังกฤษคือข้อใด

(1) Public Personnel

(2) Public Personnel Administration

(3) Public Personnel Management

(4) Business Personnel Administration

(5) Business Personnel Management

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

40 นโยบายหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy PICY

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 5 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ต้องการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี มีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควร โดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน มีวินัยและจริยธรรมที่ดี เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Thomas R. Dye

(2) Ira Sharkansky

(3) David Easton

(4) James Anderson

(5) Theodore Lowi

 

41 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 หน้า 73 Thomas 3 Dye เสนอว่า นโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

42 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 14 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

43 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น

44 ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

ตอบ 4 หน้า 73 James Anderson กล่าววา นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ความหมายเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐดําเนินการภายใต้อํานาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อจัดสรรทรัพยากรของสังคมให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม

45 ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเาทของนโยบายสาธารณะ

ตอบ 5 หน้า 26, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่(Re-Distributive Policy).

46 การบริหารยุคแรกให้ความสําคัญในการ “ควบคุม” ไปที่

(1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

(2) การพัฒนาความรู้ในการทํางาน

(3) การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ

(4) ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากร

(5) ผลผลิตและผลลัพธ์ในการทํางาน

ตอบ 4 หน้า 177 การบริหารงานในยุคแรกจะให้ความสําคัญต่อการควบคุมและตรวจสอบกํากับดูแลให้เกิดการดําเนินงานตามแบบแผน กฎ ระเบียบที่ได้กําหนดไว้ พิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรห้ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดและเป็นไปตามระเบียบที่กําหนดไว้

47 ใครเป็นผู้กําหนดมาตรฐานกลางในการกําหนดคุณสมบัติและราคาของสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์

(1) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(2) กรมบัญชีกลาง

(3) สํานักงบประมาณ

(4) คณะกรรมการราคากลาง กระทรวงการคลัง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 178, (คําบรรยาย) สํานักงบประมาณ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกําหนดมาตรฐานกลางในการกําหนดคุณสมบัติและราคาของสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดําเนินงานของส่วนราชการ

48 การควบคุม หมายถึง

(1) การสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ

(2) การทําให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์

(3) การปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การควบคุม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ออกคําสั่ง กฎเกณฑ์ ตรวจสอบเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์การสามารถดําเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กําหนดไว้ โดยจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ

49 ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกสุดของ “กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ”

(1) การปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(2) การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐาน

(3) การกําหนดมาตรฐานของการดําเนินงาน

(4) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่กําหนด

(5) การกําหนดวิธีการวิเคราะห์และวิธีการรายงาน

ตอบ 3 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

50 ทุกข้อเป็นการควบคุมตรวจสอบโดยกลไกภายนอก ยกเว้น

(1) กฎหมายปกครองที่ใช้ในการบริหารราชการ

(2) ศาลปกครอง

(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน

(5) กระแสโลกาภิวัตน์

ตอบ 5 หน้า 176 – 178, 183, 203 “กลไกภายนอก” ที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบหน่วยงานมี 2 ประเภท คือ

1 การควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ เช่น สํานักงบประมาณ สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นต้น

2 การควบคุมตรวจสอบที่เกิดจากกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เป็นกลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี เช่น แนวนโยบายแห่งรัฐและข้อกําหนดทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เป็นต้น

51 หน่วยงานใดทําหน้าที่ตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐ

(1) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(2) กรมบัญชีกลาง

(3) สํานักงบประมาณ

(4) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(5) สํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดเอามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริตการใช้จ่ายเงิน

52 ศาลมีกี่ประเภท

(1) 2 ประเภท

(2) 3 ประเภท

(3) 4 ประเภท

(4) 5 ประเภท

(5) 6 ประเภท

ตอบ 3 หน้า 186 – 187, 205 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ศาลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ

3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนและระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง

4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด

53 ข้อใดเป็นองค์กรรับเรื่องราวร้องทุกข์ตามรัฐธรรมนูญ

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ

(3) ศาลปกครอง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นองค์การที่ทําหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคําร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม

54 ทุกข้อเป็นกลไกภายในที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ยกเว้น

(1) ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน

(2) ระบบการติดต่อสื่อสาร

(3) คู่มือการทํางาน

(4) สิทธิความเป็นพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ

(5) โครงการของหน่วยงาน

ตอบ 4 หน้า 181 182 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

55 ตัวชี้วัด “การกระจายทรัพยากรหรือรายได้” ตามหน้าที่ของการคลังของรัฐ ได้แก่ (1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ผลผลิตสุทธิของชาติ

(3) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออก

(4) มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้

1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบอัตราการใช้จ่าย ตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ

4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

56 “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดได้ด้วยตัวชี้วัดใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ผลผลิตสุทธิของชาติ

(3) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออก

(4) มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 ทุกข้อเป็นรูปแบบภาษีแบบต่าง ๆ ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยกเว้น

(1) ส่วย

(2) ฤชา

(3) การเกณฑ์แรงงานมาขุดคลอง

(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(5) ภาษีขาเข้า

ตอบ 4 หน้า 215 ในปี พ.ศ. 2485 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น รัฐบาลไทยจําเป็นต้องใช้เงินจํานวนมาก จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อใช้มาตรการจัดเก็บภาษี เพื่อนํามาช่วยชาติในยามคับขันหลายประเภท โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้นําระบบ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้ในการจัดเก็บแทนภาษีการค้า เพื่อลดความซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรม

58 ภาษีจากฐานเงินได้ ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีสรรพสามิต

(3) ภาษีศุลกากร

(4) ภาษีดอกเบี้ย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 217, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่ายภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น

3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

59 การรวมหน่วยงานด้านการจัดเก็บภาษีจนเกิดเป็น “กรมสรรพากร” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ร. 5

(2) ร.6

(3) ร.7

(4) ร. 8

(5) ร. 9

ตอบ 2 หน้า 215 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการยกกรมสรรพากรในที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และยกกรมสรรพากรนอกที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย มาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติโดยให้รวมทั้งสองหน่วยงานเข้าเป็นกรมเดียวกันแล้วเรียกว่า กรมสรรพากร

60 “ปีภาษี” คือ

(1) 1 ต.ค. – 30 ก.ย.

(2) 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

(3) 1 มิ.ย. – 31 พ.ค.

(4) 1 ก.ค. – 30 มิ.ย.

(5) รอบระยะเวลาประกาศของกระทรวงการคลัง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปีภาษี ตามความหมายของประมวลรัษฎากร คือ ปีปฏิทินที่ใช้สําหรับคํานวณ- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยปีภาษีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ

61 ถ้ารัฐมีประมาณการรายจ่ายมากกว่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรจะเกิดภาวะใดต่อระบบเศรษฐกิจ

(1) เศรษฐกิจหดตัว

(2) เกิดเงินเฟ้อ

(3) เกิดการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้จ่ายของรัฐ

ตอบ 1 หน้า 236 งบประมาณขาดดุล คือ การจัดทํางบประมาณที่การจัดหางบประมาณรายรับมีน้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากระตุ้นให้ มีการผลิตสินค้าและบริการตลอดจนการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยการจัดทํางบประมาณรูปแบบนี้ จะนํามาใช้ในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ําหรือภาวะการเงินที่ตึงตัวและมีการจ้างงานน้อย

62 คุณลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน

(1) เป็นแผนทางการเงิน

(2) เป็นกฎหมาย

(3) เป็นเครื่องมือรับรองการเป็นรัฐบาล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 184, 205 – 205, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก

1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และเป็นเครื่องมือรับรองการเป็นรัฐบาลเพื่อใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือหน่วยราชการ

2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารและแผนทางการเงินที่ใช้ ในการดําเนินโครงการ แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ใน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

63 “งบประมาณแบบแสดงรายการ” ให้ความสําคัญที่

(1) นโยบาย

(2) ประสิทธิภาพการทํางาน

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 228, 237 งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่ายหรือการใช้ ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่าย ออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้

64 “งบประมาณแบบแผนงาน” ให้ความสําคัญที่

(1) นโยบาย

(2) ประสิทธิภาพการทํางาน

(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 230 – 233, 23) งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณเข้ากับระบบการวางแผน และนโยบาย เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรสามารถกระทําได้อย่างสมเหตุสมผล และบรรลุตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย เมื่อมีการดําเนินการเสร็จเพื่อนําผลมากําหนดแผนงานและนโยบายอีกครั้งหนึ่ง

65 “Incremental Budgeting” หมายถึง

(1) วิธีการกําหนดวงเงินงบประมาณแบบแสดงรายการ

(2) เป็นวิธีการกําหนดงบประมาณของส่วนราชการทั่วไป

(3) เป็นวิธีการที่ให้มีการวิเคราะความจําเป็นทั้งระบบการจัดสรรเงิน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 238 งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget) เป็นการจัดทํางบประมาณที่นํามาใช้ในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจมีข้อจํากัดในการวิเคราะห์จัดทํางบประมาณ จึงทําให้ไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงหาทางออกโดยการวิเคราะห์ในส่วนที่เพิ่มตามความเหมาะสม

66 “Performance Budget” หมายถึง

(1) จัดทํางบประมาณแยกประเภทตามหมวดรายจ่าย

(2) จัดทํางบประมาณเป็นโครงการ

(3) มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกระหว่างโครงการประเภทเดียวกัน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 229, 237 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบที่เน้นการจัดการ (Management-Oriented) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ของหน่วยงาน โดยความสําเร็จของงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเป็นเป้าหมายของการทํา งบประมาณแบบนี้ ทั้งนี้การจัดทํางบประมาณจะเน้นไปที่การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างโครงการประเภทเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดําเนินงาน

67 ทุกข้อเป็น “สภาพแวดล้อมของงาน” ตามที่ Richard L. Daft กําหนด ยกเว้น

(1) International Factor

(2) Market Factor

(3) Human Resource Factor

(4) Law Factor

(5) Socio-Cultural Factor

ตอบ 4 หน้า 255 – 256 Richard L. Daft พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วย ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม (Industry Sector)

2 ปัจจัยด้านการผลิต (Raw Material Sector)

3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Sector)

4 ปัจจัยด้านการเงิน (Financial Resources Sector)

5 ปัจจัยด้านการตลาด (Market Sector)

6 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology Sector)

7 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Conditions Sector)

8 ปัจจัยด้านการควบคุมหรือภาคราชการ (Government Sector)

9 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Sector)

10 ปัจจัยจากต่างประเทศ (International Sector)

68 “สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่ปิดตัวเองไม่มีความสัมพันธ์กับสังคมภายนอก” Emery และ Trist เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Disturbed-Reactive Environment

(3) Tuibutent Field

(4) Globalization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 257 – 258, 283 Fred Emer/ เละ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กําลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน

3 Disturbed-Reactive Environront เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อนยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา

69 “สภาพแวดล้อมที่เด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก” Emery และ Trist เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Disturbed-Reactive Environment

(3) Turbulent Field

(4) Globalization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 “ระบบราชการส่วนภูมิภาค” ได้แก่

(1) เทศบาลตําบล

(2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด

(3) การประปาส่วนภูมิภาค

(4) การปฏิบัติงานของอําเภอ

(5) ไม่มี ข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง และกรม

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด และอําเภอ

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกําหนด

71 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของวัฒนธรรมที่เรียกว่า “องค์พิธีการ”

(1) ความเชื่อในไสยศาสตร์

(2) วิธีการแต่งงาน

(3) วัด

(4) เครื่องแต่งกาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2, 4 หน้า 266 องค์ประกอบของวัฒนธรรม มีดังนี้

1 องค์วัตถุ คือ วัฒนธรรมวัตถุที่สามารถสัมผัสจับต้องได้และมีรูปร่าง เช่น เครื่องมือเครื่องใช้โรงเรียน และส่วนที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ภาษา สัญลักษณ์

2 องค์การ คือ กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ เช่น ครอบครัว ลูกเสือ สภากาชาด วัด สหประชาชาติ

3 องค์พิธีการ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การหมั้น การแต่งงาน การบวชนาค การตาย การปลูกบ้าน การขึ้นบ้านใหม่ ตลอดจนพิธีการแต่งกายและรับประทานอาหาร

4 องค์มติ คือ ความเข้าใจ ความเชื่อ ความคิดเห็น และอุดมการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว

72 ข้อใดจัดเป็น “ขนบประเพณี”

(1) การเคารพผู้อาวุโส

(2) การแห่นางแมว

(3) การไหว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 268 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1

1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบ – ตัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น

2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู – การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น

3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

73 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง

(1) การเรียนระดับมัธยมปลาย

(2) การศึกษาในระดับ ปวส.

(3) ภารศึกษาชั้นอนุบาล

(4) การศึกษาชั้นปริญญาตรี

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 1, 3 หน้า 262 263, 282 283 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีกอนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นเด็กเล็ก และการศึกษาชั้นอนุบาล

2 การศึกษาระดับประถมศึกษา

3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

74 ตัวอย่างของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ ได้แก่

(1) ป่าไม้

(2) แรงงานมนุษย์

(3) อากาศ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ํา เป็นต้น

2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม กําซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ เป็นต้น

3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

75 “การเมืองและการบริหารเปรียบเสมือนคนละด้านของเหรียญอันเดียวกัน” หมายความว่า

(1) การเมืองและการบริหารเป็นเรื่องที่ต้องแยกขาดออกจากกัน

(2) การเมืองและการบริหารเป็นเรื่องเดียวกันต้องอยู่ด้วยกัน

(3) การเมืองไม่สามารถแยกขาดออกจากการบริหารได้ต้องเกี่ยวข้องกัน

(4) การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 273 Marshal. E. Dimock กย่าวว่า “การเมืองและการบริหารเปรียบเหมือนคนละด้านบนเหรียญเดียวกัน” หมายความว่า การเมืองและการบริหารนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้

76 ทุกข้อเป็นจุดมุ่งหมายของ การจัดการภาครัฐ ยกเว้น

(1) บรรลุผลสัมฤทธิ์

(2) การให้ตรวจสอบได้

(3) การมีคู่มือการทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดการภาครัฐ จะมุ่งเน้นสนใจในเรื่องของประสิทธิภาพ การตรวจสอบได้การบรรลุเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ของงาน และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคและการจัดการ

77 หนังสือชื่อ “Reinventing Government” เขียนโดย

(1) Osborne & Gaebler

(2) Thomas Jefferson

(3) Christopher Pollitt

(4) Owen G. Hughes

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 331, 338 339 Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐด้วยแนวทาง และอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อน โดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นําแบบเถ้าแก (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

78 ประเทศแรกที่ริเริ่มการปฏิรูประบบราชการด้วย “แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่” คือ

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) แคนาดา

ตอบ 1 หน้า 330 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแน คิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรก ที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

79 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

(2) สัมฤทธิผลของงาน

(3) ประสิทธิภาพการทํางาน

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 347 348 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) จะให้ความสําคัญกับความเป็นพลเมือง โดยมองว่าประชาชนเป็น “พลเมือง” ไม่ใช่เป็นเพียง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือลูาค้าหรือผู้มาขอรับบริการ แต่จะต้องเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศด้วย

 

ตั้งแต่ข้อ 80 – 83 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Hardware

(2) Software

(3) E-Government

(4) Telecommunication

(5) Information Technology

 

80 เครื่องคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด – ตอบ 1 หน้า 297 – 301 ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เครื่องจักร (Hardware) คือ ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆที่สามารถแตะต้องหรือสัมผัสได้ เช่น หน้าจอหรือจอภาพ แป้นพิมพ์ เม้าส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software) คือ ชุดของคําสั่งงานที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เป็นต้น

81 หน่วยงานภาครัฐนําเอาเรื่องใดมาใช้เพื่อปรับกระบวนการทํางานให้มีประสิทธิภาพสูง

ตอบ 3 หน้า 305, (คําบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบ การบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้ อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจําตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดในการ ติดต่อราชการ การชําระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทําหนังสือเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

82 การใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวเพื่อเข้าไปติดต่อระบบราชการในเรื่องต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถือว่าเป็นระบบใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 ข้อใดคือคําสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

84 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 3 หน้า 305 306 ตามแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ จะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้าน ดังนี้

1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

2 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)

3 การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education)

4 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Industry)

5 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)

85 อาจารย์มาสอนถึงบ้านโดยผ่านเครือข่าย Internet และนักเรียนสามารถตอบโต้อาจารย์ได้เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Commerce

(2) E-Government

(3) E-Service

(4) E-Education

(5) E-Industry

ตอบ 4 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ผ่านทางไกลโดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในส่วนกลางได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ Online ของมหาวิทยาลัย การสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

86 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ E-Government

(1) G2C

(2) G28

(3) G2G

(4) G2E

(5) G2F

ตอบ 4 หน้า 3อย – 309 การให้บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนโดยตรง

2 G2B (Government to Business) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อภาคธุรกิจเอกชน

3 G2G (Government to Government) คือ การให้บริการระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ

4 G2F (Government to Officer) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของภาครัฐ

87 ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการ E-(Government

(1) Information

(2) Interaction

(3) Intervening

(4) Integration

(5) Intelligence

ตอบ 3 หน้า 309 310, 319 ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(E-Government) มี 5 ระดับ ดังนี้

1 การให้ข้อมูล (Information)

2 การโต้ตอบ (Interaction)

3 การทําธุรกรรม (Interchange Transaction)

4 การบูรณาการ (Integration)

5 ระดับอัจฉริยะ (Intelligence)

 

ตั้งแต่ข้อ 88 – 90 จงใช้ตัวเผือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Administration

(2) Management

(3) public administration

(4) Business Administration

(5) Public Administration

 

88 การบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีตรงกับคําในข้อใด

ตอบ 1 หน้า 3 คําว่า “การบริหาร” ในภาษาอังกฤษจะมีใช้กันอยู่ 2 คํา คือ “Administration”และ “ Management” ซึ่งในทางภาครัฐหรือราชการจะนิยมใช้คําว่า “Administration” มากกว่า เนื่องจากใกล้เคียงกับคําว่า ผู้รับใช้ (Administrate) ส่วนในภาคธุรกิจเอกชนจะนิยมใช้คําว่า “Management” เนื่องจากใกล้เคียงกับคําว่า ผู้จัดการ (Manager)

89 ข้อใดที่แสดงถึงการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลกําไรเป็นสําคัญ

ตอบ 4 หน้า 12, 15, (คําบรรยาย) การบริหารธุรกิจ (Business Administration) เป็นการบริหารงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลกําไรเป็นสําคัญ โดยองค์กรธุรกิจเอกชนจะมุ่งจัดทําบริการและกิจกรรม ต่าง ๆ ภายใต้ผลกําไรสงสุด กลไกตลาดของอุปสงค์และอุปทาน ภาวะการแข่งขันและความอยู่รอด ขององค์การหรือหน่วยงาน ตลอดจนการตัดสินใจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว

90 ข้อใดคือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ

ตอบ 5 หน้า 6 – 7, 36, 38 39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ

1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาการที่มี การรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนํามาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอํานวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจํานวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนําทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

91 ข้อใดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความสอดคล้องระหว่างการบริหารรัฐกิจกับการบริหารธุรกิจ

(1) วัตถุประสงค์

(2) โครงสร้างองค์การ

(3) กระบวนการบริหาร

(4) ลักษณะของบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่ เหมือนหรือสอดคล้องกัน ดังนี้

1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนําเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่าง ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน

3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดําเนินงาน

4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทํา

 

ตั้งแต่ข้อ 92, 94, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กรุงศรีอยุธยา

(2) รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์

(3) รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์

(4) รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์

(5) รัชกาลที่ 6 กรุงรัตนโกสินทร์

 

92 การจัดตั้งศาลประเภทต่าง ๆ มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรมและจัดวางรูปแบบศาลและกําหนดวิธีการพิจารณาคดีขึ้นใหม่

93 การนําระบบศาลมาไว้ภายใต้กระทรวงยุติธรรม มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

94 การแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมออกเป็นฝ่ายธุรการส่วนหนึ่ง ฝ่ายตุลาการส่วนหนึ่ง มีขึ้นในสมัยใด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมเป็นธุรการส่วนหนึ่ง และฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเรียบร้อย

95 การระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้ศาล เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) กระบวนการยุติธรรม

(2) ยุติธรรมทางเลือก

(3) กฎหมายอาญา

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

1 กระบวนการยุติธรรมหลัก เป็นการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาททางศาลเป็นหลัก 2 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก เป็นการระงับข้อพิพาทหรือหันเหข้อพิพาทให้ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์การพักการลงโทษ เป็นต้น

96 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมทางเลือก

(1) การระงับข้อพิพาท

(2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(3) การพักการลงโทษ

(4) ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(5) เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ในการศึกษานโยบาย

(1) รับนโยบายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

(2) เข้าใจการทํางานของรัฐบาล

(3) เข้าใจผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก หน้า 79 80 ประโยชน์ของการศึกษานโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ช่วยให้รับรู้และเข้าใจนโยบายทั้งอดีตและปัจจุบัน

2 รับทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการกําหนดนโยบายของรัฐบาล

3 สามารถทราบและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายว่าส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ อย่างไร

4 ทราบถึงวิธีการในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีเหตุและมีผล

 

 

98 การศึกษาอิทธิพลของกลุ่มทางการเมือง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) ทฤษฎีสถาบัน

(2) การศึกษาขอบเขตของนโยบาย

(3) การศึกษากระบวนการของนโยบาย

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 79 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) คือ การศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอยาง แต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนํามาศึกษา และเปรียบเทียบเพื่อเงตัวแบบขึ้นมาของแต่ละเรื่อง เช่น การศึกษากลุ่มอิทธิพลทางการเมืองการศึกษาถึงกระบวนการจัดทํางบประมาณ การศึกษาถึงแนวทางการบริหารงานของรัฐ เป็นต้น

99 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ

5 การจัดระบบสนับสนุน

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

100 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 67, 107 108 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

Advertisement