การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของ Munsterberg “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเกือกจนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว เเต่ควรพิจารณาที่ บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่ (1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้า 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

5 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การทิ้งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง

(2) ปัญหาการติดต่อสื่อสาร

(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง

(4) การทุจริต

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าชาของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

6 “การให้การศึกษา” เป็นการควบคุมแบบใด

(1) เป็น Pre Control แบบหนึ่ง

(2) เป็น Post Control แบบหนึ่ง

(3) เป็น Real Time Control แบบหนึ่ง

(4) เป็นได้ทั้ง 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 266 267, (คําบรรยาย) การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) อาจกระทําได้โดย

1 การวางแผนหรือการกําหนดโปรแกรมการทํางานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control) เช่น การวางแผนปฏิบัติการ การใช้ Gantt Chart หรือ ม.ร.30 เป็นต้น

2 การจัดทํางบประมาณไว้ล่วงหน้า (Bucigetary Control)

3 การให้การศึกษาหรือความรู้แก่ผู้ปฏิบัiการ (Educational Control) เช่น การฝึกอบรม การปฐมนิเทศหรือนิเทศงาน การอธิบายรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

7 องค์ประกอบในระบบโครงสร้างขององค์การ ได้แก่

(1) Positions and Authority

(2) Division of Work

(3) Span of Control

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หมายถึง การสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ตําแหน่งเละอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) ช่วงการบังคับบัญชา (Span of Control) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of World) เป็นต้น โดยโครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ

8 เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ

(3) วิธีการทํางาน

(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้

1 ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงานรวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2 ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและกลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3 ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่แผนกงาน เป็นต้น

4 ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ครอบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

9 เหตุผลของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่

(1) เพื่อค้นหาข่าวสาร

(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก

(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา

(4) เพื่อกําหนดเป้าหมาย

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทำแสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

10 Conscious Decisions มักเกิดในระดับใดของการบริหาร

(1) การบริหารระดับสูง

(2) การบริหารระดับกลาง

(3) การบริหารระดับต้น

(4) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 1 และ 2

(5) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 5 ระดับ คือ

1 ระดับปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decisions)

2 ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้ การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decisions) 3 ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึกและแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

11 ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหารที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่

(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด

(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน

(3) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยเก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

12 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Action Theory

(2) Administrative Theorists

(3) Human Relation Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของ สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

13 ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่ Herbert Kaufman เห็นว่าเป็น External Management

(1) การตัดสินใจ

(2) การจูงใจ

(3) การกําหนดนโยบาย

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหาร เช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 9) ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

14 Efficiency ของการบริหาร ให้พิจารณาที่

(1) งบประมาณที่ใช้

(2) ระยะเวลาที่ใช้

(3) ปริมาณผลงานที่ได้รับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

15 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม….. ที่หายไปคือ

(1) เทคโนโลยีและการศึกษา

(2) เศรษฐกิจและการเมือง

(3) การเมืองและเทคโนโลยี

(4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

16 ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น

(1) ขนาดของกิจการ

(2) การเป็นเจ้าของกิจการ

(3) วัตถุประสงค์

(4) ผลผลิต

(5) ทฤษฎีองค์การ

ตอบ 5 (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิง (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1 วัตถุประสงค์

2 การเป็นเจ้าของกิจการ

3 ขนาดของกิจการ

4 ผลผลิต

17 Barron และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

18 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Mechanistic Organization – Formal Organization

(2) Mechanistic Organization – Bureaucratic Model

(3) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักร

(4) Organic Structure – การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(5) Organic Structure – หน่วยผลิตที่มีการผลิตเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน

ตอบ 4 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Mode ) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เป็น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้างแบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ และ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structures

19 ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Motivator Factors สูงที่สุด

(1) นโยบายและการบริหาร

(2) ความก้าวหน้าในงาน

(3) ลักษณะของงาน

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองเล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา เเละสภาพการทํางาน

20 “…..ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อ ประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Inner Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment)ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Baton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

21 วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่

(1) Scientific Management

(2) Management Science

(3) Operation Research

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

  1. “…พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่งใด

(1) A System Approach

(2) Contingency Theory

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative: Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

23 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ

(2) กิลเบิร์ต – นีโอคลาสสิก

(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก

(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ

(5) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานขวงงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลา และการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

24 แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิยการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) ประชานิยม

(4) ประจักษนิยม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 เเบบ คือ

1 เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2 สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

25 การบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการบริหารตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ตัวแบบระบบราชการ

(3) นักทฤษฎีการบริหาร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 22 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton 5 Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A. H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

26 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Participative Management

(3) Management by Objectives

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในเงดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy,

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

27 กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”

(1) Piece Rate System

(2) Gantt Chart

(3) Staffing

(4) Reporting

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎี องค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางาน และการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นเเผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือ กิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้น แนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

28 “ความสามารถของผู้ประสานงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ (1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

29 “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

30 “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

31 ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น

(1) มีการวางแผน

(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร

(3) มีความเจริญเติบโตภายใน

(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต

(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback. Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด)

32 แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น…. แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

33 นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt Gilbreths, Emerson

(1) Neo-Classical Organization Theory

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42 – 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มีดังนี้

1 Frederick W. Taylor

2 Henry L. Gantt

3 Frank และ Lillian Gilbreths

4 Harrington Emerson

5 Morris t. Cooke ฯลฯ

34 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น

(2) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(3) เน้นเอกภาพในการบังคับบัญชา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1,2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexibles Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

35 การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำในการทางาน ทั้งๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกนฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การค้นหามาตรฐานของงาน

(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา

(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหล็กเสี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น

การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

35 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) Social Needs

(2) Ego Needs

(3) Safety Needs

(4) Physiological Needs

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

37 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) นิเวศวิทยาของการบริหาร

(4) ความสมดุลของระบบทางกายภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homecstasis) ย่อเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพ ที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

38 “วิธีการที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Decision Making

(2) Staffing

(3) Controlling

(4) Organizing

(5) Communication

ตอบ 5 หน้า 243 การสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) หมายถึง ตัวเชื่อมโยงที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใดซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

39 การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Equity

(4) Ethic

(5) Effectiveness

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

40 ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ ได้แก่

(1) ทําให้ลดการจ้างงาน

(2) ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

(3) สิ้นเปลืองเวลาในการบริหารงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 86, (คําบรรยาย) ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ (MS/OR) มีดังนี้

1 ให้ความสําคัญต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมจิตวิทยาน้อย

2 วิธีการอธิบายและแนะนําให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัญหาและทางแก้ไขยังไม่ดีพอทําให้ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

3 ก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์การ

4 นํามาซึ่งการลดการจ้างงาน

5 ผลของการวิจัยไม่อาจจะครอบคลุมถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมายได้ ฯลฯ

41 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอน 3 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

42 ตัวอย่างของ Staff Officer คือ

(1) ครูผู้สอน

(2) เจ้าหน้าที่การเงิน

(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

43 “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปองค์การจะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดของ

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

44 พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่ Robbins นําเสนอไว้ในช่วง ค.ศ. 1900 1930 เป็นยุคของนักทร ษฎีกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5

45 ทุกข์อจัดอยู่ในกลุ่ม “งานสนับสนุน” ของคณะรัฐศาสตร์ ยกเว้น

(1) การบริการทางวิชาการต่อสังคม

(2) การพัฒนากําลังคน

(3) การพัฒนาระบบการบริหาร

(4) การพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

(5) การพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ

ตอบ 1 หน้า 224, (คําบรรยาย) แผนงานด้านการพัฒนาสถาบันของมหาวิทยาลัย เช่น คณะรัฐศาสตร์)เป็นแผนงานด้านภารกิจสนับสนุน (Staff ในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยแผนย่อย 5 แผน ได้แก่

1 แผนการจัดรูปองค์การ

2 แผนการพัฒนากําลังคน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร

3 แผนการพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

4 แผนการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเงิน

5 แผนการพัฒนาระบบการบริหารงาน

46 ข้อใดที่เป็นประเด็นในการพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์การตามหลักของ SWOT Analysis

(1) Weaknesses

(2) Opportunities

(3) Strengths

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

47 กรณีใดที่จัดเป็นวิธีการศึกษาการตัดสินใจแบบ Descriptions of Behavior

(1) การพรรณนาลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจ

(2) การอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ผ่านมา

(3) การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจรูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใดของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถานหรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้าง รูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่าสิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและ ดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนกาเรตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

48 ทุกข้อเกี่ยวข้องกันโดยตรง ยกเว้น

(1) พฤติกรรมศาสตร์ – กลุ่มสังคมในองค์การ

(2) หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ – ประสิทธิภาพสูงสุด

(3) ทฤษฎีระบบราชการ – ประสิทธิภาพสูงสุด

(4) นักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก – หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

(5) การบริหารตามสถานการณ์ – ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12 และ 25 ประกอบ

49 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางลบที่เกิดกับกลุ่มเนื่องจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่

(3) ประสิทธิภาพที่พบจากการทดลองที่ Western Electric Company

(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบราที่เป็นผู้บัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแล ที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

50 การที่องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน เป็นหลัก ในเรื่องใด (1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักเอกภาพขององค์การ

(4) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 58 หลักเอกภาพขององค์การ (Unity of Direction) เป็นหลักการบริหารที่ว่าองค์การจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนต่างช่วยกันทํางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน

51 ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่

(1) ข้อมูลบุคลากร

(2) ข้อมูลทรัพย์สิน

(3) ข้อมูลการให้บริการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นอมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้าข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

52 คําพูดที่ว่า “a picture is worth a thousand words” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกระบวนการบริหาร

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การวินิจฉัยสั่งการ

(4) การสื่อความเข้าใจ

(5) การติดตามประเมินผล

ตอบ 4 หน้า 246, (คําบรรยาย) Kast และ Rosenzweig ได้กล่าวเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจ(Communicating) ไว้ว่า “รูปภาพเพียงใบเดียวมีค่ายิ่งกว่าคําพูดเป็นพัน ๆ คํา” (a picture is worth a thousand Words) นั่นหมายความว่า รูปภาพช่วยสื่อความหมายของข่าวสารได้ดีกว่าคําพูด

53 “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ….การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่

(1) สังคมเด็กวัยรุ่น

(2) สังคมคนชรา

(3) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา

(4) สังคมเศรษฐกิจไทย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขา เร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการใดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

54 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industrial Humanism

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

55 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

56 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(2) การควบคุมองค์การ

(3) การวางแผนองค์การ

(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

57 “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล….” ผู้ริเริ่มได้แก่

(1) Gilbreths

(2) Emerson

(3) Cooke

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกลาวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Wayไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

58 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

59 ปัญหาใหญ่ที่สุดของ “การสื่อความเข้าใจ” ได้แก่

(1) ภาษาที่ใช้

(2) เทคโนโลยี

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ระบบงาน

(5) ขนาดองค์การ

ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ปัญหาที่สําคัญ และใหญ่ที่สุดของกระบวนการสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ คือ ความพยายามในอันที่จะเข้าใจถึงความหมายของภาษาหรือการเรียนรู้ถึงความหมายของภาษาที่ใช้ (Semantics) นั้นเอง

60 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(3) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89, 98 – 107, (คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ทั้งนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพเวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต(Dynamic Equilibrium)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯฯ

61 ตัวอย่างของ “องค์การปฐมภูมิ” ได้แก่

(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

(3) กรมพัฒนาชุมชน

(4) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(5) กรมสรรพากร

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)มีลักษณะสําคัญ คือ เป็นองค์การที่พึ่งจะกําเนิดขึ้นมา, บุคลากรภายในเป็นคนรุ่นแราหรือเป็น รุ่นที่ริเริ่มก่อตั้งองค์การ, ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ภายในมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงไม่คํานึงถึงสายการบังคับ บัญชา, องค์การอาจล้มเลิกไปเมื่อใดก็ได้หากพัฒนาไปสู่องค์การถาวรไม่สําเร็จ เขน องค์การบริหาร ส่วนตําบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นต้น

62 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบเปิด” ได้แก่

(1) การกําหนดมาตรฐานของงาน

(2) การแบ่งงานเฉพาะด้าน

(3) การมีแผนล่วงหน้า

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) ความต้องการประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

63 การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นพฤติกรรมในข้อใด

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(3) ความล้มเหลวของผู้นํา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

64 ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่

(1) Fayol

(2) Taylor

(3) Urwick

(4) Weber

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Cutick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 0 = Organizing (การจัดรูป งาน)

3 S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)

4 D : Directing (การสั่งการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การจัดทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

65 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์

(4) การประสานงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น FA-POSDCORE โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

66 Post Control ได้แก่

(1) การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน

(2) การตรวจงาน

(3) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

(4) การใช้โปรแกรมการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสจสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของโครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

67 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด ๆ

(1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) หลักเอกภาพขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานทํา

68 “การกระจายอํานาจ” คือ

(1) Span of Control

(2) Chain of Command

(3) Division of Work

(4) Centralization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ำมากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรองๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสิน จในปัญหา ต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

69 Chair of Command คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลกหน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมชั้นธภาพของการติดต่อสือข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร และมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

70 Span of Control คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จำนวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลกี่หน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

71 Span of Management คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลที่หน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 Division of Work คือ

(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน

(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน

(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแข่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นสวน ๆ และมอบหมาย ให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

73 Unity of Command หมายถึง

(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว

(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน

(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1,2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

74 Centralization หมายถึง

(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กาเรต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว

(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน

(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้กําหน้าที่ตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาย การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้

75 ทุกข้อเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ ยกเว้น

(1) ปรัชญาการบริหาร

(2) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันด้านนโยบาย

(3) เทคนิคในการควบคุม

(4) ประวัติความเป็นมา

(5) งบประมาณ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174 ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของการตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

3 ขนาดขององค์การ

4 ประวัติความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน ฃ

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปเคามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

76 ข้อใดเป็นลักษณะของสายการบังคับบัญชา

(1) Communication

(2) Authority

(3) Responsibility

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา มีลักษณะที่สําคัญซึ่งสามารถแยกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะของอํานาจหน้าที่ (Authority Aspect)

2 ลักษณะของความรับผิดชอบ (Responsibility Aspect)

3 ลักษณะของการติดต่อสื่อสาร (Communication Aspect)

77 “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) Format Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอยางเป็นทางการ” (Formal Authority Theory)มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เป็นเพราะผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Format Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในล้าษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมีใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการ ใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูาต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

78 “อํานาจที่เกิดขึ้นเพราะลูกน้องเห็นว่าการใช้อํานาจนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ”การใช้อํานาจลักษณะดังกล่าวเป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) Formal Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 Chester I. Barnard ได้ให้ความหมายของอํานาจตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) โดยกล่าวว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับอํานาจของผู้บังคับบัญชา เหนือตนก็ต่อเมื่อ เขาสามารถเข้าใจในคําสั่งและเชื่อว่าการใช้อํานาจนั้น ๆ เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้อํานาจดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของตน และค่าสั่งนั้น เป็นคําสั่งที่เขาสามารถนําไปปฏิบัติได้ ซึ่งทั้งนี้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพิจารณาในเรื่องต่าง ๆดังกล่าวนี้เสียก่อนแล้วจึงตัดสินใจว่าจะเชื่อฟังหรือไม่

79 Barnard และ Simon ได้พูดถึงการใช้อํานาจหน้าที่ในลักษณะใด

(1) Formal Authority Theory

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Adhocracy Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงในการบริหารนั้นจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาขอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีสิทธิหรือ อํานาจเหนือตน และอํานาจหน้าที่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการ แนะนํา ชักจูง หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนด้วยความเต็มใจ โดยนักทฤษฎีที่พูดถึงการใช้อํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ Chester I. Barnard และ

Herbert A. Simon

80 “สํานักงานตํารวจแห่งชาติจัดให้มีสถานีตํารวจ” สถานีตํารวจทั้งหลายเป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 2 หน้า 194 การแบ่งงานกันทําโดยยึดอาเนาเขต (Territory) หรือภูมิศาสตร์ (Geographical)เป็นวิธีที่ง่าย ๆ ธรรมดาที่มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากมีกิจกรรมอยู่ในอาณาเขตใดต่างหากออกไปแล้ว ก็จัดรวมกิจกรรมในอาณาเขตนั้น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน และจัดให้มีผู้รับผิดชอบในอาณาเขตนั้น ๆ ซึ่งวิธีนี้เหมาะสําหรับองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะงานกระจายหรือกว้างออกไปในอาณาเขต ต่าง ๆ และมีลักษณะของการปฏิบัติงานในสิ่งเดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีตํารวจ งานราชการในจังหวัดและอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น

81 “โรงพยาบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 1 หน้า 192 193, (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําโดยยึดหน้าที่การงาน (Function) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติกันโดยทั่ว ๆ ไป โดยเริ่มต้นที่การพิจารณาว่าองค์การนั้น ๆ คือองค์การลักษณะใด และจะต้องดําเนินกิจการอะไรบ้างจึงจะครอบคลุมและทําให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งองค์การที่แบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์นี้ ได้แก่ โรงพยาบาล เทศบาล เป็นต้น

82 “เทศบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทำโดยยึดเกณฑ์ใด

(1) by Function

(2) by Territory

(3) by Product

(4) by Customer

(5) by Process

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 หน่วยงานใดเป็น Line Agency

(1) หน่วยนโยบายและแผน

(2) หน่วยการเงินและพัสดุ

(3) หน่วยการเจ้าหน้าที่

(4) หน่วยงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและหน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนงานหลักให้ดําเนินไปโดยบรรลุเป้าหมาย เช่น ภาควิชา หน่วยนโยบายและแผนหน่วยงบประมาณ/การเงิน หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House- Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในลักษณะของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ : หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

84 ใน “เทศบาล” หน่วยงานใดเป็น Line Agency

(1) หน่วยโยธา

(2) หน่วยสาธารณสุข

(3) หน่วยนโยบายและแผน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ใน “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” หน่วยงานใดเป็น Lina Agency

(1) คณะรัฐศาสตร์

(2) สํานักหอสมุด

(3) กองแผน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

86 ข้อใดเป็น Auxiliary Agency

(1) งานสารบรรณ

(2) งานสวัสดิการ

(3) งานเทศกิจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

87 ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่

(1) Formal Organization

(2) Primary Organization

(3) Private Organization

(4) Local Organization

(5) Profit Organization

ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ ( Primary Organization)

2 องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

88 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ความต้องการที่จะอยู่รอด

(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ

(3) การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสวิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎเละระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ)

89 แนวคิดของ Fayol ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การน้อยที่สุด

(1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) ทักษะการบริหาร

ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การ จึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

90 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by objectives

(3) Adhocracy

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

91 Gantt จัดเป็นนักวิชาการที่อยู่ในกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Situational Approach

(3) A Systems Approach

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

92 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน

(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะขยันทํางานยิ่งขึ้น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 189 – 191, (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) มีประโยชน์ดังนี้

1 เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์หรือช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ

2 ทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange)

3 ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

4 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อนและการเหลื่อมล้ำในการทํางานในหน้าที่(ดูคําอธิบายข้อ 19 และ 27 ประกอบ)

93 “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) นักทฤษฎีการบริหาร

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

94 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกได้ว่าเป็นแบบใด

(1) แบบแนวดิ่ง (Vertical)

(2) แบบแนวดิ่ง (Horizontal)

(3) แบบแนวนอน (Vertical)

(4) แบบแนวนอน (Horizontal)

(5) แบบอิสระ

ตอบ 1 หน้า 145 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง (Vertical) ส่วนความสัมพันธ์ของ อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การนั้น จัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวนอน (Horizontal)

95 Red Tape คืออะไร

(1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

(2) ระบบการจัดเก็บเอกสารใช้กับ Computer ในหน่วยงาน

(3) ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน

(4) การเก็บเอกสารที่เป็นความลับทางราชการ

(5) ระเบียบวินัยในหน่วยงาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

96 ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดในการบริหารที่เรียกว่า Human Relations Approach คือผู้ใด

(1) Frederick Taylor

(2) Max Weber

(3) George Elton Mayo

(4) Herbert Simon

(5) Stephen F. Robbins

ตอบ 3 หน้า 72, (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับลักษณะความต้องการ ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มในองค์การ รวมถึงการดูแลจิตใจของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ จึงทําให้ Mayo ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ บิดาแห่งมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ”

97 “……. ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล ” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Perception

(2) Attitude

(3) Needs

(4) Image

(5) Personality

ตอบ 2 หน้า 75 ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคล ความรู้สึกทางใจของ แต่ละบุคคลในเรื่องราวต่าง ๆ จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ระดับที่เป็นความชอบ หรือไม่ชอบ ระดับที่เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการไตร่ตรอง จนถึงระดับที่เป็นการนําไปปฏิบัติ ทัศนคติของบุคคลจึงเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดและพฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

98 ใครเสนอว่า “องค์การเป็นระบบของการร่วมมือของปัจเจกบุคคลอย่างมีสํานึก”

(1) Taylor

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 71 Chester I. Barnard เสนอว่า “องค์การเป็นระบบที่มีการประสานกิจกรรมต่าง ๆหรือมีการร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลต่าง ๆ อย่างมีสํานึก”

99 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”

(1) Flexible Boundaries

(2) Negative Entropy

(3) Maximized Efficiency

(4) Dynamic Equilibrium

(5) Growth Through Internal Elaboration

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

100 ใครเป็นผู้เสนอ The Machine Bureaucracy

(1) Mintzberg

(2) Weber

(3) Fayol

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 210 – 214 Henry Mintzberg ได้เสนอรูปแบบขององค์การ 5 รูปแบบ ดังนี้

1 องค์การแบบเรียบง่าย (The Simple structure)

2 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy)

3 องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ (The Professional Bureaucracy) 4 องค์การแบบสาขา (The Divisionalized Form)

5 องค์การแบบโครงการ (The Adhocracy หรือ The Project Structure)

 

Advertisement