การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของ Munsterberg “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทร ษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เห็นว่า มนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันในพฤติกรรม ดังนั้นการบริหารองค์การ เช่น การคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือ การกําหนดคนให้เหมาะสมกับงาน จึงควรพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล อันได้แก่ พฤติกรรม บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ ความต้องการ แรงจูงใจ ฯลฯ จึงจะทําให้การดําเนินงานในองค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5 “การจัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน” เป็นการควบคุมแบบใด

(1) เป็น Pre Control แบบหนึ่ง

(2) เป็น Post Control แบบหนึ่ง

(3) เป็น Real Time Control แบบหนึ่ง

(4) เป็นได้ทั้ง 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 266 267, (คําบรรยาย) การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) อาจกระทําได้โดย

1 การวางแผนหรือการกําหนดโปรแกรมการทํางานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control) เช่น การวางแผนปฏิบัติการ การใช้ Gantt Chart หรือ ม.ร.30 เป็นต้น

2 การจัดทํางบประมาณไว้ล่วงหน้า (Budgetary Control)

3 การให้การศึกษาหรือความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการ (Educational Control) เช่น การฝึกอบรม การปฐมนิเทศหรือนิเทศงาน การอธิบายรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

6 ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่

(1) ข้อมูลบุคลากร

(2) ข้อมูลทรัพย์สิน

(3) ข้อมูลการให้บริการ

(4) ทั้งข้อ 1 เละ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้าข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

7 คําพูดที่ว่า “a picture is worth a thousand words” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในกระบวนการบริหาร

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การวินิจฉัยสั่งการ

(4) การสื่อความเข้าใจ

(5) การติดตามประเมินผล

ตอบ 4 หน้า 246, (คําบรรยาย) Kast และ Rosenzweig ได้กล่าวเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจ(Communicating) ไว้ว่า “รูปภาพเพียงใบเดียวมีค่ายิ่งกว่าคําพูดเป็นพัน ๆ คํา” (a picture is worth a thousand words) นั่นหมายความว่า รูปภาพช่วยสื่อความหมายของข่าวสารได้ดีกว่าคําพูด ”

8 “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่

(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา

(2) สังคมคนชรา

(3) สังคมเด็กวัยรุ่น

(4) สังคมเศรษฐกิจไทย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

9 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industriat Humanism

(4) The Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

10 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ“The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

11 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(2) การควบคุมองค์การ

(3) การวางแผนองค์การ

(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans ได้เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

12 “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล ผู้ริเริ่มได้แก่

(1) Gilbreths

(2) Emerson

(3) Cooke

(4) Taylor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

13 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ (4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 83 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

14 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง

(2) ปัญหาที่เกิดจากระบบอุปถัมภ์

(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง

(4) ความล่าช้าในการสื่อสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 49 Red Tags: หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชาที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

15 องค์ประกอบใน “ระบบโครงสร้างขององค์การ” ได้แก่

(1) Positions and Authority

(2) Organizational Culture

(3) Span of Control

(4) ทั้งข้อ 1 เละ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หมายถึง การสร้างแบบ(Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) ช่วงการบังคับบัญชา (Span of Control) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work) เป็นต้น โดยโครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ ของหน่วยงานในองค์การ

16 เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง

(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ

(3) วิธีการทํางาน

(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้

1 ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2 ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบ ที่รวมความต้องการของบุคคลและกลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3 ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น

4 ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหารหรือผู้ควบคุมงาน ฯ

17 เหตุผลของการเกิด “องค์การที่ไม่เป็นทางการ” ได้แก่

(1) เพื่อค้นหา One Best Way

(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก

(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา

(4) กําหนดเป้าหมาย

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนอง ต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

18 Conscious Decisions มักเกิดในระดับใดของการบริหาร

(1) การบริหารระดับสูง

(2) การบริหารระดับกลาง

(3) การบริหารระดับต้น

(4) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 1 และ 2

(5) เป็นได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 3 ระดับ คือ

1 ระดับปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decisions)

2 ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decisions) 3 ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึกและแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

19 ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่

(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด

(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน

(3) ใช้เงินจูงใจ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า“มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมา ย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการ ภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

20 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Action Theory

(2) Administrative Theorists

(3) Human Relation Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลย์) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภทวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

21 ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่ Herbert Kaufman เห็นว่าเป็น External Management

(1) การตัดสินใจ

(2) การจูงใจ

(3) การกําหนดนโยบาย

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียง ร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของ เวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

22 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappel แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม…..ที่หายไปคือ

(1) เทคโนโลยีและการศึกษา (2) เศรษฐกิจและการเมือง . (3) การเมืองและเทคโนโลยี (4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี (5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่  สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

23 ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น

(1) ขนาดของกิจการ

(2) การเป็นเจ้าของกิจการ

(3) วัตถุประสงค์

(4) ผลผลิต

(5) ทฤษฎีองค์การ

ตอบ 5 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ(Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1 วัตถุประสงค์

2 การเป็นเจ้าของกิจการ

3 ขนาดของกิจการ

4 ผลผลิต

24 Barton และ Chappell จัดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่ม

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

25 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Mechanistic Organization – Formal Organization

(2) Mechanistic Organization – Adhocracy

(3) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักร

(4) Organic Structure – เน้นความสัมพันธ์ในแนวนอน

(5) Organic Structure – หน่วยผลิตที่มีการผลิตเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน

ตอบ 2 หน้า 45 – 47, 111 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การ ที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิต ขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

26 ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยดต่อไปนี้ที่เป็น Motivator Factors สูงที่สุด

(1) นโยบายและการบริหาร

(2) ความก้าวหน้าในงาน

(3) ลักษณะของงาน

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงานเงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

27 ” ……. ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Inner Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment)ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ)

28 วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่

(1) Scientific Management

(2) Management Science

(3) Operation Research

(4) Action Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

29 ” …….พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) A Systems Approach

(2) Contingency Theory

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ (Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

30 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ

(2) กิลเบิร์ต – จิตวิทยาในองค์การ

(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก

(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ

(5) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับจิตวิทยาในองค์การเช่นเดียวกับนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกคนอื่น ๆ โดยผลงานที่สําคัญของ Gilbreths คือ การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

31 แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) ประชานิยม

(4) ประจักษนิยม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (PS 252 เลขพิมพ์ 30270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ

1 เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2 สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

32 การบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการบริหารตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ตัวแบบระบบราชการ

(3) นักทฤษฎีการบริหาร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classica Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

33 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Participative Management

(3) Management by Objectives

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

34 กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”

(1) Piece Rate System

(2) Gantt Chart

(3) Staffing

(4) Reporting

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) “Henry L. Gantt เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้เกิดการทํางานเป็นกิจวัตรโดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตาม ความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือกิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

35 “ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ (1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

36 “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

37 “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ

(1) Goals and Values

(2) Technical

(3) Structural

(4) Psychosocial

(5) Managerial

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

38 ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น

(1) มีการวางแผน

(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร

(3) มีความเจริญเติบโตภายใน

(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต

(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการคามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ

(ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

39 แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น………. แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ: ทําความเข้าใจ ให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

40 นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt, Gilbreths, Emerson

(1) Neo-Classical Organization Theory

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่ม Scientific Management มีดังนี้

1 Frederick W. Taylor

2 Henry L. Gantt

3 Frank และ Lillian Gilbreths

4 Harrington Emerson

5 Morris L. Cooke ฯลฯ

41 การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ

(2) การค้นหามาตรฐานของงาน

(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา

(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick w. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

42 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น

(2) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(3) เน้นเอกภาพในการบังคับบัญชา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy”(ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

43 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกันไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) Social Needs

(2) Ego Needs

(3) Safety Needs

(4) Self-Actualization Needs

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

44 การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Effectiveness

(4) Ethic

(5) Equity

ตอบ 1 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

45 การพยายามทํางานให้บรรลุจุดประสงค์ของแผนงาน เป็นหลักในเรื่องใด

(1) Efficiency

(2) Ecology

(3) Effectiveness

(4) Ethic

(5) Equity

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

46 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) นิเวศวิทยาของการบริหาร

(4) ความสมดุลของระบบทางชีวภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis) ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

47 ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่

(1) Fayol

(2) Taylor

(3) Urwick

(4) Weber

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 63 – 62 Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดรูปงาน)

3 S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การสั่งการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การจัดทํารายงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

48 ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ ได้แก่

(1) ทําให้ลดการจ้างงาน

(2) ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

(3) สิ้นเปลืองเวลาในการบริหารงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 86, (คําบรรยาย) ปัญหาของการบริหารในเชิงปริมาณ (MS/OR) มีดังนี้

1 ให้ความสําคัญต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมจิตวิทยาน้อย

2 วิธีการอธิบายและแนะนําให้ผู้บริหารเข้าใจถึงปัญหาและทางแก้ไขยังไม่ดีพอ ทําให้ผู้บริหารขาดความเข้าใจ

3 ก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์การ

4 นํามาซึ่งการลดการจ้างงาน

5 ผลของการวิจัยไม่อาจจะครอบคลุมถึงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมายได้ ฯลฯ

49 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

50 ตัวอย่างของ Staff Officer คือ

(1) ครูผู้สอน

(2) เจ้าหน้าที่การเงิน

(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษา ทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

51 “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปองค์การจะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดของ

(1) Adhocracies

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) Systems Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

52 พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่ Robbins นําเสนอไว้ในช่วง ค.ศ. 1900 – 1930 เป็นยุคของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Systems Theory

(3) Action Theory

(4) Contingency Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5

53 ทุกข้อจัดอยู่ในกลุ่ม “งานสนับสนุน” ของคณะรัฐศาสตร์ ยกเว้น

(1) การบริการทางวิชาการต่อสังคม

(2) การพัฒนากําลังคน

(3) การพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

(4) การพัฒนาระบบการบริหาร

(5) การพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ

ตอบ 1 หน้า 224, (คําบรรยาย) แผนงานด้านการพัฒนาสถาบันของมหาวิทยาลัย (เช่น คณะรัฐศาสตร์)เป็นแผนงานด้านภารกิจสนับสนุน (Staff) ในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยแผนย่อย 5 แผน ได้แก่

1 แผนการจัดรูปองค์การ

2 แผนการพัฒนากําลังคน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร

3 แผนการพัฒนาอาคารและสภาพแวดล้อม

4 แผนการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเงิน

5 แผนการพัฒนาระบบการบริหารงาน

54 กรณีใดที่จัดเป็นวิธีการศึกษาการตัดสินใจแบบ Descriptions of Behavior

(1) การพรรณนาลักษณะที่สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจ

(2) การอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ผ่านมา

(3) การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์กร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจ รูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่ สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใด ของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถาน หรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่า สิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

55 ข้อใดที่เป็นประเด็นในการพิจารณาปัจจัยภายในองค์การตามหลักของ SWOT Analysis

(1) Threats

(2) Opportunities

(3) strengths

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

56 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากการได้รับการดูแลเอาใจใส่

(3) ผลที่ Mayo พบจากการทดลองที่ Western Electric Company

(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม

(5) อิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม เมื่อกลุ่มถูกเฝ้าดู

ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

57 การที่องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน เป็นหลักในเรื่องใด (1) หลักของกฎและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักเอกภาพขององค์การ

(4) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 58 หลักเอกภาพขององค์การ (Unity of Direction) เป็นหลักการบริหารที่ว่าองค์การจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนต่างช่วยกันทํางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน

58 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(3) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 89, 98 – 107, คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ดังนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต(Dynamic Equilibrium)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯลฯ

59 ตัวอย่างของ “องค์การปฐมภูมิ” ด้แก่

(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

(3) กรมพัฒนาชุมชน

(4) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization) มีลักษณะสําคัญ คือ เป็นองค์การที่พึ่งจะกําเนิดขึ้นมา, บุคลากรภายในเป็นคนรุ่นแรกหรือเป็น รุ่นที่ริเริ่มก่อตั้งองค์การ, ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ภายในมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงไม่คํานึงถึงสายการบังคับบัญชา องค์การอาจล้มเลิกไปเมื่อใดก็ได้หากพัฒนาไปสู่องค์การถาวรไม่สําเร็จ เช่น องค์การบริหาร ส่วนตําบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เป็นต้น

60 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบเปิด” ได้แก่

(1) การกําหนดมาตรฐานของงาน

(2) การแบ่งงานเฉพาะด้าน

(3) การมีแผนล่วงหน้า

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) ความต้องการประสิทธิภาพสูงสุด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

61 ปัญหาใหญ่ที่สุดของ “การสื่อความเข้าใจ” ได้แก่

(1) ภาษาที่ใช้

(2) เทคโนโลยี

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ระบบงาน

(5) ขนาดองค์การ

ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ปัญหาที่สําคัญและใหญ่ที่สุดของกระบวนการสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ คือ ความพยายามในอันที่จะเข้าใจถึงความหมายของภาษาหรือการเรียนรู้ถึงความหมายของภาษาที่ใช้ (Semantics) นั่นเอง

62 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์

(4) การประสานงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

63 Post Control ได้แก่

(1) การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน

(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

(3) การใช้โปรแกรมการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ

(4) การตรวจงาน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อสิ้นงวดการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของโครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

64 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด

(1) หลักของกฎและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) หลักเอกภาพขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 50 51, 58, 186 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากร และประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

65 เงื่อนไขจําเป็นของการเกิดองค์การ ได้แก่

(1) วัตถุประสงค์

(2) คนมากกว่าหนึ่งคน

(3) เงิน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ มีดังนี้

1 มีบุคคล (Man) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

2 มีวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือเป้าหมาย (Goals) ในการทํางานร่วมกัน

3 มีกิจกรรม (Activities) หรือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ร่วมกัน ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

4 มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายใน(Relations) อันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร

66 Gantt Chart เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านใดมากที่สุด

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การกําหนดนโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

67 ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการควบคุมองค์การ ได้แก่

(1) การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน

(2) การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(4) การกําหนดเป้าหมาย

(5) การกําหนดนโยบายที่จําเป็น

ตอบ 2 หน้า 262 กระบวนการในการควบคุมองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

68 โครงสร้างขององค์การมีลักษณะอย่างไร

(1) โครงสร้างขององค์การหมายถึงการสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ

(2) หมายถึงการกําหนดโครงสร้างอาคารปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับลักษณะของการปฏิบัติงาน

(3) คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาในระหว่างกลุ่มคน

(4) โครงสร้างขององค์การต้องแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงาน

(5) ทั้งข้อ 1และ 3

ตอบ 5 หน้า 120 121 โครงสร้างองค์การ มีลักษณะดังนี้

1 หมายถึงขอบข่ายขององค์การที่เปรียบเสมือนกับมนุษย์ ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกที่ระบุรูปร่างของมนุษย์แต่ละคนนั้น

2 เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชา ในระหว่างกลุ่มคน รวมถึงกลไกของระบบการประสานงานที่เป็นทางการและวิธีการที่จะต้องเกี่ยวข้องกันตามแบบแผนที่กําหนดไว้

3 โครงสร้างขององค์การไม่สามารถแยกออกจาก เรื่องการจัดหน้าที่การงานได้ แม้ว่าสองอย่างนั้นจะมีลักษณะต่างกัน แต่จะต้องจัดไปด้วยกัน (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

69 Acceptance Theory มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การอย่างไร

(1) คือทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ

(2) คือทฤษฎีว่าด้วยอํานาจบารมี

(3) คือทฤษฎีว่าด้วยอํานาจอย่างเป็นทางการ

(4) คือทฤษฎีว่าด้วยความสามารถ

(5) คือทฤษฎีว่าด้วยอิทธิพลเฉพาะตัว

ตอบ 1 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ความสามารถในการแนะนํา ชักจูง หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามคําสั่งของตนด้วยความเต็มใจ ซึ่ง Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในเรื่องอํานาจหน้าที่ตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเลือกที่จะปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือไม่ก็ได้

70 ใครคือผู้สร้างทฤษฎี Scientific A Management

(1) Max Weber

(2) Herbert Simon

(3) Chester Barnard

(4) Frederick Taylor

(5) Max Weber ร่วมกับ Chester Barnard

ตอบ 4 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและ เร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆในตอนต่าง ๆ

71 วัตถุประสงค์ขององค์การ คืออะไร

(1) คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

(2) คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

(3) คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

(4) คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 129 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้

1 คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ

2 คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

3 คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

4 คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง

5 ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย

6 จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้งสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอ ตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

72 วัตถุประสงค์ขององค์การต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสม

(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและชัดแจ้งเสมอ

(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ

(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ

(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย

(5) ทั้งข้อ 2 เละ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 Specialization คืออะไร

(1) ความเหลื่อมล้ำในการทํางาน

(2) การแบ่งแยกงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน

(3) การทํางานซ้ำซ้อน

(4) ความสิ้นเปลืองในงบประมาณที่ไม่มีการวางแผนก่อน

(5) ศิลปะในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ตอบ 2 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

74 การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดประโยชน์อย่างไร

(1) ช่วยให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมาย

(2) ช่วยให้การบริหารเป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

(3) ช่วยแก้ปัญหางานซ้ำซ้อน

(4) ช่วยแก้ไขงานคั่งค้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126, (คําบรรยาย) การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ ดังนี้

1 ช่วยให้การบริหารงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย เป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

2 ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

3 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อน

4 ช่วยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

75 “การมอบหมายอํานาจหน้าที่” ต้องปฏิบัติอย่างไร

(1) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ท่าได้เฉพาะผู้บริหารระดับสูงสุดมอบให้ผู้บริหารงานระดับรองลงมาระดับเดียวเท่านั้น เช่น อธิบดมอบให้รองอธิบดี เป็นต้น

(2) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้รับผิดชอบคือผู้รับมอบหมายมาแต่ผู้เดียว

(3) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้รับผิดชอบคือผู้มอบหมายแต่ผู้เดียว

(4) หากผู้รับมอบปฏิบัติงานที่รับมอบมาผิดพลาด ผู้รับผิดชอบคือทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ

(5) เมื่อมอบหมายอํานาจหน้าที่ไปแล้ว ผู้มอบจะไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมงานชิ้นนั้นอีกต่อไปเพราะจะต้องขาดไปจากความรับผิดชอบเด็ดขาดแล้ว

ตอบ 4 หน้า 153 – 157, (คําบรรยาย) การมอบหมายอํานาจหน้าที่มีลักษณะสําคัญที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

1 ผู้มอบอํานาจหน้าที่ควรจะให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่มอบหมาย โดยคอยให้คําปรึกษาและแนะนําตามสมควรเท่านั้น

2 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ควรจะมอบ ให้แก่ตําแหน่งที่รองลงมาหรือลดหลั่นลงมาตามลําดับแห่งสายการบังคับบัญชา โดยสามารถ กระทําได้หลายระดับ และอาจจะมอบให้แก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

3 หากรับมอบอํานาจหน้าที่มาปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบมาผิดพลาดไป ผู้มอบหมายและ ผู้รับมอบจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ

76 ปรัชญาของผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness เป็นอย่างไร

(1) ผู้บริหารที่เข้มงวดไม่ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานเลย

(2) ผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานได้

(3) ผู้บริหารที่ยอมให้ลูกน้องปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ 100% ไม่ขัดแย้งหรือทักท้วงเลย

(4) ผู้บริหารที่ลงโทษลูกน้องอย่างรุนแรงเกินไปทุกครั้งเมื่อมีการกระทําที่ผิดพลาด

(5) ผู้บริหารที่คอยเยินยอและให้รางวัลแก่ลูกน้องทุกครั้ง เพื่อให้พวกเขาปฏิบัติงานตามที่องค์การต้องการ

ตอบ 2 หน้า 158 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness คือ ผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยมักจะยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ได้เสมอ และในกรณีที่มีความคิดแตกต่างไปจากตนและเป็นเหตุเป็นผลกว่าก็ยังยอมรับความคิดเห็น นั้น ๆ โดยนํามาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้นผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบนี้จึงมักยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสปฏิบัติงานแทนหรือตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ในองค์การได้เอง

77 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ (Centralization of Authority) ในองค์การได้แก่

1 ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

2 ทําให้ทรัพยากรการบริหาร รวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

4 ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

5 มีลักษณะของการประสานงานเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

78 Informal Organization คืออะไร

(1) แผนภูมิขององค์การ

(2) องค์การอย่างไม่เป็นทางการ

(3) องค์การเอกชนทั้งหลาย

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 องค์การอย่างไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal (organization) เป็นองค์การที่มีความม่แน่นอนในวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และระบบของความสัมพันธ์ภายใน มีการจัดการและมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ยืดหยุ่นได้ง่าย และยากที่จะระบุลักษณะเฉพาะลงไป การดําเนินการขององค์การประเภทนี้จึงไม่มีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าแน่นอน และไม่มีการระบุอํานาจหน้าที่และตําแหน่งของสมาชิก ตัวอย่างขององค์การอย่างไม่เป็นทางการ

เช่น การเดินขบวนประท้วงการกระทําของรัฐบาล การจัดทําสโมสรเพื่อน เป็นต้น

79 สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) Chain of Command

(2) Chain of History

(3) Negative Line

(4) Line of Blank-Space

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การแต่ละ หน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุม และการรับผิดชอบอย่างไร

80 ใครเป็นผู้กล่าวว่า สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพัน ใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผล

(1) Max Weber

(2) Frederick Taylor

(3) Elton Mayo

(4) Chester I. Barnard

(5) Kast E. Element

ตอบ 1 หน้า 139 Max Weber กล่าวว่า “สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลในการบริหารและการดําเนินงานขององค์การขนาดใหญ่”

81 “การกระจายอํานาจ” คืออะไร

(1) ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ำมากขึ้น

(2) ระบบการบริหารงานที่สงวนหรือรักษาอํานาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ

(3) การจัดโครงสร้างขององค์การในรูปพีระมิดให้ส่วนบนแหลมมาก ๆ และมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม

(4) คือ สภาวะขององค์การซึ่งระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะกระทําจากระดับสูงนั้น

(5) การเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทผู้บังคับบัญชา และลดบทบาทรวมทั้งความสําคัญของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจในองค์การ (Decentralization of Authority)

หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมา โดยให้การตัดสินใจกระทําโดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

82 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกได้ว่า เป็นแบบใด

(1) แบบแนวดิ่ง (Vertical)

(2) แบบแนวดิ่ง (Horizontal)

(3) แบบแนวนอน (Vertical)

(4) แบบแนวนอน (Horizontal)

(5) แบบอิสระ

ตอบ 1 หน้า 145 ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง (Vertical) ส่วนความสัมพันธ์ของ อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับเดียวกันในโครงสร้างขององค์การนั้น จัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวนอน (Horizontal)

83 นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้ให้ความหมายของการรวมอํานาจว่า “การรวมอํานาจหมายถึง สภาวะขององค์การซึ่งระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะกระทํา จากระดับสูงนั้น”

(1) Earnest Dale

(2) Koontz and O’Donnell

(3) John Child

(4) Louis A. Allen

(5) Henri Fayol

ตอบ 3 หน้า 168 John Child ได้ให้ความหมายของการรวมอํานาจว่า “การรวมอํานาจหมายถึงสภาวะขององค์การซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจากระดับสูงนั้น”

84 ใครคือผู้สร้าง POSDCORE ขึ้นมา

(1) Harold Koontz

(2) Peter Drucker

(3) Luther Gulick

(4) Henri Fayol

(5) Herbert Ficks

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

85 ช่วงของการบังคับบัญชา มีลักษณะอย่างไร

(1) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายการบังคับบัญชาทุกประการ

(2) เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือบังคับบัญชาเพียงใดทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบที่หน่วยงานจึงจะเป็นการเหมาะสม

(3) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจในการบังคับบัญชากี่คน

(4) คือ ลําดับขั้นการบังคับบัญชาในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ pan of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะสามารกควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

86 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 181 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเภทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

  1. ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

87 วิธีการที่จะจัดการให้ช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้อีกจะต้องใช้วิธีใด

(1) ฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถมากขึ้น

(2) หากเพิ่มความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัวระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากจะทําให้จัดช่วงการบังคับบัญชากว้างขึ้นได้

(3) ในหน่วยงานใดมีลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง จะทําให้จัดช่วงการบังคับบัญชากว้างขึ้นได้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 184 185 วิธีการที่ช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้น มีดังนี้

1 ฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถมากขึ้น

2 ตัดความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาให้น้อยลงโดยให้เหลือเพียงเท่าที่จําเป็นจริง ๆ และใช้เทคนิคการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยีมากขึ้น

3 ในหน่วยงานมีการจัดทําแผน ในการทํางานไว้พร้อม และครบถ้วน

4 ในหน่วยงานมีลักษณะของการปฏิบัติงานที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่ามีอัตราการเปลี่ยนแปลงต่ำ ฯลฯ

88 รูปแบบขององค์การที่เป็นแบบใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ คือองค์การแบบใด

(1) แบบ The Simple Structure

(2) แบบ The Machine Bureaucracy

(3) แบบ The Adhocracy

(4) แบบ The Project Structure

(5) Divisional Structure

ตอบ 2 หน้า 211 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy) เป็นรูปแบบขององค์การที่มีลักษณะใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ และเป็นแบบระบบราชการ ในอุดมคติของ Max Weber ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นองค์การที่มีการแบ่งแยกหน้าที่ ตามความชํานาญพิเศษอย่างมาก

2 มีลักษณะเป็นทางการสูงในการปฏิบัติงาน

3 มีกฎระเบียบมากมาย

4 รวมอํานาจการตัดสินใจไว้ส่วนกลางค่อนข้างมาก ฯลฯ

89 หน่วยงานอนุกร หรือหน่วยงานแม่บ้านในองค์การ คือหน่วยงานที่เรียกว่าอะไร

(1) Auxiliary Agency

(2) Short-Cut Agency

(3) Staff Agency

(4) Line Agency

(5) Contract Agency

ตอบ 1 หน้า 197 – 201 ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การมี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency)

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงาน สนับสนุน (Staff Agency)

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน(House-Keeping Agency)

90 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษามีลักษณะแบบใด

(1) Authority to Command

(2) Authority to complain

(3) Authority of Advisory

(4) Authority to Control

(5) Authority of Dictator

ตอบ 3 หน้า 203 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency) คือ การให้ความคิดเห็นหรือให้คําปรึกษา (Authority of Ideas หรือ Authority of Advisory) แก่หน่วยงานหลัก ไม่มีอํานาจในการสั่งการหรือบังคับบัญชาหน่วยงานอื่น ๆ ในสายงานหลัก หากหน่วยงาน : ที่ปรึกษาต้องการให้คําแนะนําได้รับการปฏิบัติตามจะต้องนําคําแนะนํานั้นไปเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการต่อไป

91 ข้อใดเป็นข้อสรุปของ Earnest Date ว่า ธรรมชาติหรือลักษณะของการกระจายอํานาจจะมีมากขึ้นในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

(1) ลักษณะที่การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําโดยฝ่ายบริหารในระดับต่ํามีน้อยลง

(2) เมื่อผู้บริหารในระดับรองลงมามีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

(3) เมื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่ำรองลงมามีผลในการกระทําต่อหน้าที่ในการทํางานต่าง ๆ น้อยลง

(4) เมื่อมีการตรวจสอบการตัดสินใจต่าง ๆ มากขึ้น

(5) ทั้งข้อ 3 และ 4

ตอบ 2 หน้า 169 Earnest Date ได้สรุปว่า ธรรมชาติหรือลักษณะของการกระจายอํานาจจะมีมากขึ้นในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1 การตัดสินใจส่วนใหญ่กระทําโดยฝ่ายบริหารในระดับต่ำลงมามีมากขึ้น

2 เมื่อผู้บริหารในระดับรองลงมามีโอกาสในการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

3 เมื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่ํารองลงมามีผลในการกระทําต่อหน้าที่ในการทํางาน ต่าง ๆ มากขึ้น

4 เมื่อมีการตรวจสอบการตัดสินใจต่าง ๆ น้อยลงเหลือเพียงรายงานให้ทราบหลังการตัดสินใจไปแล้วเป็นเรื่อง ๆ ไป

92 ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ

(1) ความสําคัญของการตัดสินใจ

(2) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

(3) การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

(4) อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174 ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของการตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย

3 ขนาดขององค์การ

4 ความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

93 การกระจายอํานาจในองค์การ คืออะไร

(1) Centralization of Authority

(2) Decentralization of Authority

(3) Reconstruction of Power

(4) Deconstruction of Authority

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

94 เรื่อง “ความรับผิดชอบในองค์การ” มีลักษณะอย่างไร

(1) ความรับผิดชอบ มองในแง่การบริหารงานหมายถึง พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน

(2) ความรับผิดชอบ คือ Power to Command

(3) ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวก็ได้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 150 ความรับผิดชอบ (Responsibility) มองในแง่ของการบริหารงาน หมายถึง พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน โดยความรับผิดชอบ จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องจักร หรือสัตว์ ทั้งนี้ ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวไปหลังจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้

95 การมอบหมายอํานาจหน้าที่มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ

(2) การมอบหมายอํานาจหน้าที่จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ

(3) ไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้

(4) ผู้บริหารสูงสุดขององค์การที่ต้องเลือกปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะแต่งานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุด ส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่เป็นกุญแจสําคัญของการบริหารองค์การ โดยจะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในองค์การ ทั้งนี้วัตถุประสงค์เบื้องแรกของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ ก็เพื่อที่จะทําให้การทํางานในองค์การสามารถดําเนินไปได้ เพราะไม่มีองค์การใดเลยที่ภาระหน้าที่ทั้งหมดในองค์การจะมอบหมายให้บุคคลคนเดียวกระทําให้สําเร็จและบรรลุ วัตถุประสงค์ (ร่วมกันขององค์การ) ได้ ดังนั้นผู้บริหารสูงสุดขององค์การจึงต้องเลือกปฏิบัติ หน้าที่ในตําแหน่งของตนเฉพาะงานบางอย่างที่ต้องทําด้วยตนเองจึงจะได้ผลดีที่สุดส่วนงานอื่น ๆ ก็มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติแทน

96 ในเรื่องทัศนคติของผู้บริหารในการมอบอํานาจหน้าที่ ข้อใดเป็นหลักการที่ถูกต้อง (1) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness ที่มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน แต่จะไม่ยินยอมให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจเอง

(2) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power เป็นพวกที่ยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่รวมงานไว้ที่ตนคนเดียว

(3) ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes เป็นพวกไม่กลัวว่าเมื่อมอบอํานาจไปลูกน้องจะทําความผิด

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 158 159 ปริชญาหรือทัศนคติของผู้บริหารในการตัดสินใจจะมอบอํานาจหน้าที่ มีดังนี้

1 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Receptiveness มักจะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับตน และมักจะยินยอมให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจเอง

2 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let go power เป็นผู้บริหารที่มีความเข้าใจหลักเกณฑ์และประโยชน์ของการแบ่งงานกันทํา จึงยินยอมเต็มใจมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติแทน ไม่รวมงานไว้ที่ตนคนเดียว

3 ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Willingness to let others make mistakes เห็นว่า ทุกคนที่ปฏิบัติงานย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติงานผิดพลาดได้ และก็ไม่กลัวว่าหากมอบอํานาจไปแล้วผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) จะทําผิดพลาด (ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ)

97 การควบคุมงานที่มอบหมายไป ต้องทําอย่างไร

(1) ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

(2) ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการมอบหมายงาน

(3) ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวระหว่างกระบวนการของงาน

(4) ให้เสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 160 161 การควบคุมงานที่มอบหมายไป อาจกระทําได้ดังนี้

1 ระมัดระวังมิให้การมอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอยไป

2 ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทําการมอบหมายงาน

3 ใช้วิธีการให้คําปรึกษาเป็นครั้งคราวหรือผู้บริหารอาจตั้งคําถามในระหว่าง

กระบวนการของงานก็ได้

4 ให้มีการเสนอรายงานเป็นครั้งคราว และมีรายงานเมื่อเสร็จงาน

98 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Responsive Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) เป็น Negative Line

(4) เป็นแบบ Negative Principle

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 202 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) เป็นอํานาจหน้าที่ตามกระบวนการที่เป็นทางการ (Format Process) หรือเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) ซึ่งเป็น อํานาจหน้าที่ในการสั่งการ (Authority/Power to Command) โดยตรง (Direct Line)จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักของ Scalar Principle

99 Authority ในองค์การ คืออะไร

(1) คือ Power to Command

(2) คือ อํานาจหน้าที่ที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การแอบอ้างว่าผู้มีอํานาจได้มอบอํานาจให้ตนออกคําสั่งต่าง ๆ ได้

(3) คือ อํานาจหน้าที่ในการสั่งการที่ได้มาโดยการข่มขู่หรือใช้คําสั่งบังคับ

(4) คือ อํานาจในการสั่งการ เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) ในองค์การ หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจ จะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็น อํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย

100 ลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ คืออะไร

(1) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ต้องพิจารณาตําแหน่ง (Position) ก่อนว่าควรมอบให้ผู้ดํารงตําแหน่งอะไรแล้วจึงพิจารณาบุคคลในตําแหน่งนั้น ๆ ว่ามีความสามารถหรือสมัครใจหรือไม่ แล้วจึงมอบให้

(2) เมื่อมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใดไป จะต้องพิจารณาลักษณะและปริมาณของอํานาจหน้าที่ให้เหมาะสมกันด้วย

(3) หากผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายมาไม่สําเร็จ ผู้รับผิดชอบคือผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งผู้บังคับบัญชา (ผู้มอบ) ด้วย

(4) ต้องจัดระบบการรายงานอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับการมอบหมายอํานาจหน้าที่ด้วย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 154 – 156 ทาข้อเป็นลักษณะสําคัญเกี่ยวกับการมอบอํานาจหน้าที่ นอกจากนี้การมอบอํานาจหน้าที่ยังมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 การมอบอํานาจหน้าที่สามารถกระทําได้ หลายระดับ โดยไม่จําเป็นจะต้องมอบให้แก่ผู้บังคับบัญชาในระดับกลาง ๆ เท่านั้น แต่อาจจะ มอบไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นในระดับต่ำลงไปได้อีก

2 การมอบอํานาจหน้าที่เป็นทั้ง ศิลปะและหน้าที่ของนักบริหาร

Advertisement