การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ยุคกรีกตอนปลายและโรมัน (ข้อ 1 – 20)

1 ใครเป็นผู้กล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “กฎที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฎนี้ และกฏนี้เป็นกฎนิรันดรและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Rousseau

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84 – 85) Marcus Tullius Cicero มีความเชื่อมั่นในกฎธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเขาได้กล่าวว่า “กฏที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุผล ที่ถูกต้องอันสอดคล้องกับธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่ภายใต้กฏนี้ และกฎนี้เป็นกฏนิรันดร และไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้กฏที่ว่านี้มันได้สั่งให้มนุษย์ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน และ มันยังสั่งให้พวกเขาละเว้นหรือไม่ไปกระทําสิ่งที่ผิด ซึ่งคําสั่งและข้อห้ามของกฎธรรมชาตินี้จะมีอิทธิพลต่อคนดีอยู่เสมอ และมันแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อบรรดาคนชั่วช้าเลย…”

2 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นที่จะต้องมี”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79 – 80) อิพิคิวรุส (Epicurus) ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาล เพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่ง แข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้าเข้มงวดในการใช้กฎหมาย ถ้าไม่มีรัฐหรือ สังคมจะทําให้เกิดความวุ่นวายและอาจจะทําให้ตัวเราเองหาความสงบสุขไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นจะต้องมี

3 นักคิดคนใดต่อไปนี้เชื่อว่า ความดีความชั่วเป็นการตกลงกันระหว่างมนุษย์ (1) Socrates

(2) Aristotle

(3) Plato

(4) Epicurus

(5) Diogenes

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78) Epicurus เชื่อว่า ความดีความชั่วไม่มีจริง ความดีความชั่วเป็นสิ่งที่กําหนดขึ้นเองจากมนุษย์แต่ละคน (Convention) หรือเป็นการตกลงกันระหว่างมนุษย์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ (Natural)

4 นักคิดคนใดที่น่าจะไม่สนใจของฟุ่มเฟือยเพราะเห็นวาสิ่งต่าง ๆ ไม่เที่ยงแท้ (1) Epicurus

(2) Diogenes

(3) Cicero

(4) Democritus

(5) Leucippus

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81), (คําบรรยาย) แนวความคิดของพวก Cynics ทั้งไดโอจินิส (Diogenes), แอนทิสธิเนส (Antisthenes) และเครทิส (Crates) นั้น สอนให้มนุษย์ตัดสิ่งที่ ไม่จําเป็น หรือที่เรียกว่า “กิเลสหรือความทะเยอทะยาน” (Arrogance) ทั้งหลายให้น้อยลง ที่สุดจนไม่มีเหลืออยู่เลย ชีวิตที่ไม่มีกิเลสจึงจะเป็นชีวิตที่มีความสุขที่สุด โดยมนุษย์ไม่ควรสนใจของฟุ่มเฟือย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้

5 การหลีกเลี่ยงความทุกข์ ความเจ็บปวด ความไม่ปรารถนา คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของใคร

(1) Cicero

(2) Diogenes

(3) Epicurus

(4) Democritus

(5) Leucippus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79) Epicurus เชื่อว่า จุดมุ่งหมายปลายทางสูงสุดในชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขเฉพาะตัวตามที่แต่ละคนต้องการ (Pleasure/Eudemonia) ซึ่งความสุขในความหมายของ Epicurus นั้นไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เป็นการหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ ความเจ็บปวด และความไม่ปรารถนาโดยอยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia)

6 Cosmopolitan แปลว่าอะไร

(1) การเมือง

(2) พลเมืองโลก

(3) ระบอบการเมือง

(4) คนที่ไม่นิยมการเมือง

(5) รูปแบบการเมือง

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 82), (คําบรรยาย) แนวคิดพลเมืองโลก (Cosmopolitanism หรือ Kosmopolites) เกิดขึ้นมาและเฟื่องฟูมากในช่วงยุคโรมัน ภายหลังนครรัฐกรีกได้ล่มสลายลง ซึ่งการที่โรมันได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางจนเกือบทุกดินแดน จนอาจจะกล่าว ได้ว่า “ทุกคนคือพลเมืองโรมัน” ทําให้ถูกมองว่ามนุษย์ไม่ควรจะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกนี้

7 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดดั้งเดิมของ Aristotle

(2) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในยุคสมัยใหม่

(3) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดที่เฟื่องฟูอย่างมากในยุคโรมัน (4) แนวคิด Kosmopolites เป็นแนวคิดในยุคกลาง

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “Stoicism”

(1) มีต้นกําเนิดมาจากความคิดของ Epicurus

(2) ก่อตั้งโดย Seneca

(3) Stoic แปลว่า บ่อน้ำ

(4) ไม่เชื่อใน Natural Law

(5) เชื่อในหลักการ Cosmopolitanism

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 83 – 84) ลัทธิสตอยอิกส์ (Stoicism) เชื่อในหลักการพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) โดยมักจะอ้างว่าตนเป็นพลเมืองของโลก ไม่ว่ารัฐใดหรือ มนุษย์คนใดก็อยู่ภายใต้กฎเดียวกันนั้นก็คือกฎธรรมชาติ (Natural Law) และเมื่อใดก็ตามที่รัฐออกกฎหมายขัดกับธรรมชาติ พลเมืองที่มีสิทธิที่จะปฏิวัติหรือก่อกบฏขึ้นมาได้

9 การอธิบายเกี่ยวกับวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งไล่เรียงไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นความคิดของนักคิดโรมันคนใดต่อไปนี้

(1) Socrates

(2) Epicurus.

(3) Zino

(4) Marcus Aurelius

(5) Cicero

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85) Cicero มีความเลื่อมใสและสนับสนุนการปกครองแบบผสมของอาณาจักรโรมัน เนื่องจากเขามองว่ารูปแบบการปกครองของรัฐต่าง ๆ นั้น มีการหมุนเวียนเป็นวงจรหรือวัฏจักร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของการปกครอง จากดีไปสู่เลวแล้วก็ค่อย ๆ ดีขึ้นมาอีกวนเวียนแบบนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

10 วิธีแก้ไขปัญหาเรื่อง “Anacyclosis” ของ Polybius นั้นเสนอว่าควรจะทําอย่างไร

(1) Philosopher King

(2) ควรจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

(3) ประชาชนควรได้รับการศึกษา

(4) Mix Constitution

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85 – 86) Cicero มีแนวคิดเช่นเดียวกับ Polybius ในเรื่อง“วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดย Cicero เสนอว่า เพื่อที่จะยุติวงจรดังกล่าว รัฐจะต้องใช้รูปแบบการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution หรือ Mixed Government) โดยนําเอารูปแบบการปกครองคนเดียว (Monarchy) การปกครองโดยกลุ่ม (Aristocracy) และการปกครองโดยคนจํานวนมาก(Democracy) มาผสมกัน ซึ่งรูปแบบการปกครองแบบผสมนี้เท่านั้นที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงให้กับรัฐในทางการเมืองได้

11 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) อาณาจักรโรมันโบราณสิ้นสลายลงจากการโจมตีของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

(2) Just Gentium บัญญัติขึ้นด้วยการดัดแปลงจากกฎหมายภายในดั้งเดิมผสมกับกฎหมายของบาบิโลเนียน ฟินิเชียน และกรีก

(3) Ulpian เป็นคนกล่าวคําว่า “Ars boni et aequi”

(4) โคลัมบัสคือบุคคลแรก ๆ ที่ค้นพบทวีปอเมริกา

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 83 – 85, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89) อาณาจักรโรมันเริ่มเสื่อมความยิ่งใหญ่ลงมาจนกระทั่งถึงช่วง ค.ศ. 410 ก็สิ้นสุดลงจากการบุกปล้นของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons) หรือเยอรมัน โดยประวัติศาสตร์ยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลางหรือยุคมืด(Dark Age) ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15

12 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Stoicism

(1) เสรีภาพคือสิ่งที่สําคัญที่สุด

(2) รัฐคือสิ่งสําคัญที่สุด เพราะเป็นธรรมชาติ

(3) มนุษย์มีสิทธิตามกฎธรรมชาติ

(4) กฎธรรมชาติสําคัญที่สุด

(5) ข้อ 1, 2 และ 4 ถูกทั้งสามข้อ

ตอบ 4 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานของลัทธิสโตอีกส์ (Stoicism) ได้แก่

1 เชื่อถือและเคารพในธรรมชาติ

2 เชื่อในความเสมอภาคกันของมนุษย์

3 มนุษย์ทุกคนคือพลเมืองของสังคมโลกเหมือนกันหมด

4 กฎธรรมชาติสําคัญที่สุด ไม่ว่ารัฐใดหรือมนุษย์คนใดก็จะอยู่ภายใต้กฎเดียวกันคือกฎธรรมชาติ เป็นต้น

13 “การประท้วงเป็นสิ่งที่อันตรายต่อรัฐ ดังนั้นการประท้วงจึงเป็นอันตรายต่อพลเมืองเช่นกัน” ความคิดเช่นนี้ ตรงกับความคิดของนักคิดคนใดที่สุด

(1) Brutus Teneleus

(2) Seneca

(3) Cicero

(4) Polybius

(5) Marcus Aurelius

ตอบ 5 หน้า 72 มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เชื่อว่า สิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นอันตรายต่อรัฐสิ่งนั้นก็ไม่เป็นอันตรายต่อพลเมืองเช่นกัน และคนสามารถที่จะมีชีวิตที่มีความสุข หากว่าเขา สามารถดําเนินชีวิตไปในทางที่ถูก คิดและประพฤติในสิ่งที่ชอบ

14 “คนที่มีเงินมีทองมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปในที่สุด” ความคิดเช่นนี้ตรงกับความคิด ของนักคิดคนใดที่สุด

(1) Zino

(2) Aristotle

(3) Seneca

(4) Marcus Aurelius

(5) Polybius

ตอบ 3 หน้า 71 ซีนีคา (Seneca) เชื่อว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุขและมีจิตใจที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ แต่ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ รู้จักกับคําว่า “ ทรัพย์สิน ส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดีก็จะกลายเป็น ทรราชกดขี่ประชาชน ซึ่งจะสอดคล้องกับความคิดเห็นที่ว่า “คนที่มีเงินทองมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปในที่สุด”

15 Anacyclosis เป็นความคิดของนักคิดคนใด

(1) Cicero

(2) Gorgias

(3) Polybius

(4) Marcus Aurelius

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

16 การปกครองในข้อใดมีแนวโน้มที่จะมีความเสื่อมจนกลายเป็นการปกครองแบบฝูงชนบ้าคลั่งได้ง่ายที่สุด

(1) Polity

(2) Oligarchy

(3) Aristocracy

(4) Democracy

(5) ทุกระบอบมีแนวโน้ม ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ปกครอง

ตอบ 4 หน้า 71, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 86) Seneca ไม่มีความเชื่อถือในการปกครองประชาธิปไตย (Democracy) หรือรูปแบบการปกครองที่มอบอํานาจทั้งหมดไว้ให้กับประชาชน ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่ารูปการปกครองแบบนี้มีแนวโน้มที่จะแปรเปลี่ยนไปสู่การปกครองโดยฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) ได้ง่ายที่สุด

17 ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Epicurean

(1) นิยมประชาธิปไตย

(2) เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิติดตัวมาแต่เกิด

(3) เชื่อว่าคนไม่เท่าเทียมกัน

(4) เชื่อว่าถ้ามีเงินเท่ากับมีความสุข

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 58 – 59, (คําบรรยาย) แนวคิดที่สําคัญของลัทธิ Epicurean ได้แก่

1 นิยมการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism)

2 เชื่อว่าคนเท่าเทียมกัน

3 รัฐและกฎหมายถูกสร้างขึ้นเพราะต้องการให้คนเคารพในสิทธิของผู้อื่น และให้คนอื่นเคารพในสิทธิของตน

4 ชีวิตที่ประเสริฐคือชีวิตที่อยู่อย่างง่าย ๆ สงบ ไม่ทะเยอทะยานที่จะอยากได้ความร่ำรวยหรือการมีชื่อเสียงเกียรติยศในสังคม เป็นต้น

18 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความดังต่อไปนี้ “พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาจะด่าทอและทําลายทุกคน ที่พูดว่าสอนได้”

(1) The Republic

(2) Socrates และ Plato

(3) Ship of State Analogy

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกทั้งสองข้อ

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูกทั้งสามข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45), (คําบรรยาย) Plato ได้อธิบายประเด็นที่ว่าใครควรเป็นผู้ปกครองผ่านคําพูดของ Socrates ซึ่งเป็นตัวละครหนึ่งในหนังสือ “The Republic” โดย เปรียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ (Ship of State Analogy) และได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า “..ลูกเรือที่ทะเลาะวิวาทกันเพื่อแย่งกันถือหางเรือ ต่างคนก็อ้างว่าตนมีสิทธิจะถือหางเสือเรือได้แม้ไม่เคย จะเรียนวิชาดังกล่าว พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาจะด่าทอและทําลายทุกคน ที่พูดว่าสอนได้ โดยไม่รู้เลยว่าคนที่ถือหางเสือที่แท้ต้องเข้าใจฤดูกาล ท้องฟ้า ลม ดวงดาว และสิ่งต่าง ๆ อันอยู่ในศิลปะดังกล่าวจึงจะนับเป็นผู้บังคับเรือที่แท้จริง” ซึ่งก็เหมือนกับรัฐ ผู้ปกครองรัฐไม่ควรที่จะเป็นใครก็ได้ แต่ควรเป็น “ราชาปราชญ์” หรือคนที่มีความรู้ความสามารถหรือเป็นคนที่ถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในเรื่องการปกครองรัฐ

19 “ถ้าไม่อยากให้มีคนทําผิด ก็ต้องลงโทษให้รุนแรงเด็ดขาด” ตรงกับความคิดของใครที่สุด

(1) Onesicritus

(2) Epicurus

(3) Diogenes

(4) Democritus

(5) Antisthenes

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79) อิพิคิวรุส (Epicurus) ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาลเพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่งแข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้าเข้มงวดในการใช้กฎหมาย ซึ่งจะสอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “ถ้าไม่อยากให้มีคนทําผิด ก็ต้องลงโทษให้รุนแรงเด็ดขาด”

20 ใครควรจะต้องเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “มนุษย์อยู่คนเดียวจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ออกมาได้ ดังนั้นมนุษย์จําเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55 – 57) Aristotle กล่าวว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์การเมือง” โดยเขาอธิบายว่า มนุษย์อยู่คนเดียวจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพแห่งความเป็น มนุษย์ออกมาได้ ดังนั้นมนุษย์จําเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้าน การเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังที่เขาได้กล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า”

 

ยุคกลางและความคิดทางการเมืองในศาสนาคริสต์ (ข้อ 21 – 30)

21 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Jesus

(1) ในศาสนาคริสต์ถือ Jesus ว่าเป็นพระเจ้า

(2) เริ่มใช้ ค.ศ. หลังจากที่พระองค์เสียชีวิต

(3) อายุ 48 ปี ได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคน

(4) ในตอนท้ายของชีวิตพระเยซูถูกเนรเทศไปยังอังกฤษ

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) มาจากเมืองนาซาเร็ท(Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็นบุตร ของพระเจ้า (Son of God) และให้ประชาชนนั้นกลับใจใหม่ละทิ้งความชั่ว บุคคลใดที่เชื่อฟัง เมื่อตายไปแล้วก็จะมีชีวิตนิรันดรได้ไปเสวยสุขอยู่กับพระเจ้า ส่วนบุคคลใดที่ไม่เชื่อฟังและ ไม่กลับใจใหม่ก็จะต้องไปมีชีวิตอยู่ในนรกตลอดกาล โดยภายหลังจากเยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกพวกยิวกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไปฟ้องโรม ในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขน จนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี (คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับจากปีที่พระเยซูเกิดเป็นปีแรก)

22 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) Edict of Milan คือ การประกาศว่าศาสนาคริสต์นั้นไม่ใช่ศาสนาต้องห้ามของโรมอีก

(2) Saint Pant ไม่ใช่สาวก 12 คนแรกของ Jesus

(3) Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus คือคนที่ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเผากรุงโรม

(4) พระเยซูเป็นคนเขียน Bible ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ของศาสนาคริสต์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 92) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปรามและกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิเนโรได้ใส่ร้าย ชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณ รวมทั้งประกาศห้าม ไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา แห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้ามของโรมอีกต่อไป และในช่วง ปี ค.ศ. 379 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็น ศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คนในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ส่วนเซ็นต์ พอล (Saint (St. Paul) เป็นหมอสอนศาสนา คนแรกในประวัติศาสตร์ของคริสเตียน แต่เขาไม่ใช่หนึ่งในสาวก 12 คนของ Jesus และคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ (Bible) เกิดจากการรวบรวมและเขียนขึ้นของหลายคน)

23 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Divine Right ของยุโรปในยุคกลาง

(1) ผู้ปกครองได้รับสิทธิจากพระเจ้าผ่านการที่ประชาชนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา

(2) กษัตริย์คือพระเจ้า

(3) ผู้ปกครองคือคนที่มีคุณธรรมดังนั้นพระเจ้าจึงแต่งตั้ง

(4) กษัตริย์ได้รับอํานาจมาจากพระเจ้า

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 77 ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) ของยุโรปในยุคกลาง อธิบายว่า อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

24 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Marsiglio of Padua เชื่อว่าคนไม่เท่ากันในการใช้เหตุผล

(2) St. Ambrose เชื่อว่าเรื่องทางโลกเป็นเรื่องของฆราวาส พระไม่ควรไปข้องเกี่ยวด้วย

(3) อไควนัสเสนอว่าในทางปฏิบัติการปกครองที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการปกครองแบบผสม

(4) แนวคิดทางการเมืองของนักบวชคริสต์สมัยต้นมีลักษณะต่อต้าน Idealism

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 หน้า 78 – 79, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 100) เซ็นต์ แอมโบรล (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครอง (สถาบันกษัตริย์) และสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่องทางโลกนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส (กษัตริย์) พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิติเตียนหรือโต้แย้งกษัตริย์ได้ในกรณีที่เห็นว่ากษัตริย์ทําผิด แต่ไม่มีสิทธิยุยง ให้ประชาราษฎร์กบฏหรือต่อต้านคําสั่งของกษัตริย์ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า

25 แนวคิดเรื่องการแบ่ง (Sacred Authority of the Priests) และอํานาจของอาณาจักร (Royal Power/ Regalis Potestas) เป็นแนวคิดของใคร

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 104 – 105) สันตะปาปาเจลาเซียสหรือเจลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I) ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งในจดหมายที่เขียนไปหาจักรพรรดิอนาสทาชิอุส แห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ว่า “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า (Sacred Authority of the Priests) และอํานาจของอาณาจักร (Royal Power/Regalis Potestas) ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”

26 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 2 หน้า 80, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 99 – 100) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine)ให้ความสําคัญแก่สถาบันทางศาสนามากกว่าสถาบันทางการปกครอง โดยกล่าวว่า “พระเจ้า ได้ทรงจัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปได้สําเร็จ และประสบความสําเร็จ ในการมีชีวิตนิรันดรหลังความตาย ตัวแทนที่ว่านี้ก็คือศาสนจักร (วัด) และรัฐ อย่างไรก็ดี ศาสนจักรมีความสําคัญมากกว่ารัฐ เพราะในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

27 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ถ้าผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไบอย่างถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย”

(1) Gelasius I

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 หน้า 89 เซ็นต์ ธอมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) มองว่า ถ้าผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามกระบวนการแห่งกฎหมาย

28 แนวคิดเรื่องดาบสองเล่ม เป็นแนวคิดของใคร

(1) Aquinas

(2) Augustine

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface Vit) กล่าวว่า“พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้และภายใต้การควบคุม ของศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้ การควบคุมของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวชส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย”

29 ใครเสนอแนวคิดเรื่อง การเมืองก็เสมือนร่างกาย (Organism)

(1) Aquinas

(2) Ambrose

(3) Boniface VIII

(4) John of Salsbury

(5) Gelasius I

ตอบ 4 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลางคนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Organic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐ หรือประชาคมการเมือง ซึ่งเขาเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ โดยกษัตริย์ เปรียบเสมือนศีรษะหรือส่วนสมอง ฝ่ายศาสนาเปรียบเสมือนดวงวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบทุกส่วนนี้จะร่วมกันเพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

30 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น”

(1) Aquinas

(2) Ambrose

(3) Boniface VIII

(4) Saint Paul

(5) Gelasius I

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 92 – 93) Saint Paul ได้เขียนจดหมายไปหาพวกคริสเตียนในโรมซึ่งกําลังโดนผู้ปกครองข่มเหงรังแกอย่างหนัก โดยพยายามสอนเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตัว ตลอดจนให้กําลังใจพวกคริสเตียนในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเนื้อความตอนหนึ่งในจดหมายเขียนไว้ว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอํานาจปกครองเพราะว่าไม่มีอํานาจใดเลยที่มิได้มาจาก พระเจ้า และผู้ที่ทรงอํานาจนั้นพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอํานาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น”

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) เทวสิทธิ์

(2) นารายณ์อวตาร

(3) ธรรมราชา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

 

31 ผู้ปกครองคือพระเจ้า

ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) เป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากคริสต์ศาสนา (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) ซึ่งเชื่อว่า อํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้ากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ปกครองโดยรับมอบอํานาจของพระเจ้า ดังนั้นผู้ปกครองคือพระเจ้าจึงมีอํานาจ อย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัยความถูก-ผิดของผู้ปกครอง

32 ผู้ปกครองรับมอบอํานาจมาจากพระเจ้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู

ตอบ 2 หน้า 98 ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะ (พระปรเมศวร, พระอิศวร ฯลฯ) เป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ และมีการอวตารเป็นปางต่าง ๆ

35 ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดเรื่องธรรมราชาตามหลักทางพระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยึดหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าใช้ปกครองบ้านเมืองเสมอมา

36 เทวนิยม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 และ 34 ประกอบ

37 อเทวนิยม

ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ

38 ผู้ปกครองมาจากมหาชนสมมติ

ตอบ 5 หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) ในอัคคัญญสูตร ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องกําเนิดผู้ปกครองของรัฐไว้ว่า “อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักได้ส่วนแบ่งแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น” สัตว์ทั้งนั้น จึงได้ “เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า” มาทําหน้าที่ดังกล่าว “ชนผู้เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ” จึงได้มีขึ้น

39 ทฤษฎีสองดาบ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

40 ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ การแสวงหาเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้น

 

ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา (ข้อ 41 – 50)

41 จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ

(1) ทําความดี

(2) ไปสวรรค์

(3) บวช

(4) ไม่กลับมาเกิดอีก

(5) นั่งสมาธิ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

42 การเกิดนิกายในศาสนาต่าง ๆ มักมีสาเหตุมาจาก

(1) ศาสดาต่าง ๆ บัญญัติไว้

(2) ความแตกต่างด้านพื้นที่

(3) เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

(4) ตีความคําสอนไม่เหมือนกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 108 สาเหตุที่ทําให้เกิดนิกายต่าง ๆขึ้นในแต่ละศาสนานั้น เนื่องจากการศึกษาถึงแนวคิดของแต่ละศาสนาจะต้องคํานึงถึงช่วงเวลาที่เกิดขึ้น และความแตกต่างด้านพื้นที่หรือสถานที่ที่นิกายนั้นเกิดขึ้นมาด้วย

43 ในจักกวัตติสูตร ผู้ปกครองต้องคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่

(1) ชาวเมือง

(2) พราหมณ์

(3) สัตว์

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 116, (คําบรรยาย) จักกวัตติสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมจึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ โดยหน้าที่หนึ่งที่สําคัญ คือ ต้องอํานวยการรักษาคุ้มครองและให้ความชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่า ตลอดจนสัตว์มีเท้า หรือสัตว์ปีกด้วย

44 การละการกล่าวเท็จ การส่อเสียด คําหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ เป็นคุณธรรมของผู้ปกครองในหมวดใด

(1) อริยสัจ

(2) ทศพิธราชธรรม

(3) โลกาธิปไตย

(4) กุศลกรรมบถ

(5) โลกธรรม

ตอบ 4 หน้า 117 กุศลกรรมบถ 10 ประกอบด้วย

1 การประพฤติเรียบร้อยทางกาย เช่น ละการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการละเมิดประเวณี

2 การประพฤติเรียบร้อยทางวาจา เช่น ละการกล่าวเท็จ คําส่อเสียด คําหยาบ และคําเพ้อเจ้อ

3 การประพฤติเรียบร้อยทางใจ เช่น ไม่เพ่งเอาทรัพย์ผู้อื่น ไม่มีจิตพยาบาท และมีความเห็นถูกต้อง

45 ทัศนะของพุทธองค์ที่มีต่อปัญหาทางอภิปรัชญา เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง คือ

(1) โลกเที่ยง

(2) โลกไม่เที่ยง

(3) โลกหมุนวน

(4) โลกมีทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง

(5) ไม่เป็นประโยชน์

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) ประกาศจะไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน แต่จะพยากรณ์เฉพาะเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

46 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของมิตรเทียม

(1) ปอกลอก

(2) ดีแต่พูด

(3) ประจบ

(4) ชักชวนในทางฉิบหาย

(5) อุปการะ

ตอบ 5 หน้า 119 ลักษณะมิตรเทียม มีดังนี้

1 ปอกลอก

2 คนดีแต่พูด

3 คนหัวประจบ

4 ชักชวนในทางฉิบหาย

ส่วนลักษณะของมิตรแท้ มีดังนี้

1 อุปการะ

2 ร่วมทุกข์ร่วมสุข

3 แนะประโยชน์

4 มีความรักใคร่

47 มิตรที่วัน ๆ ไม่สนใจทําการงานเอาแต่โทษนั่นโทษนี้ จัดเป็นมิตรประเภทใด (1) ปอกลอก

(2) ดีแต่พูด

(3) ประจบ

(4) ชักชวนในทางฉิบหาย

(5) อุปการะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ความเสมอภาคของศาสนาพุทธเป็นความเสมอภาคในลักษณะใด

(1) ความเป็นมนุษย์

(2) สิทธิ

(3) หน้าที่

(4) การประพฤติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 113 ความเสมอภาคของพุทธศาสนา หมายถึง ความเสมอภาคในการประพฤติธรรมไม่ใช่ความเสมอภาคในความสามารถ สติปัญญา หรือหน้าที่ โดยทุกคนเสมอภาคในการที่จะประพฤติธรรม เข้าถึงธรรม และเข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นที่สุดของวัฏสงสาร

49 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล มีต้นเหตุมาจาก

(1) การทําสัญญาตกลงกัน

(2) มหาสมมติ

(3) ความโลภ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 113 114 ในอัคคัญญสูตรจะอธิบายในเรื่องการกําเนิดสังคมและรัฐไว้ข้อหนึ่งว่าจากการที่ใครจะเก็บกินข้าวสาลีก็ได้ โดยเก็บกินกันวันต่อวัน “ต่อมาได้มีผู้คิดสะสม คือ นําข้าวสาลีไปกินที่ละหลาย ๆ วัน มีผู้สะสมข้าวสาลีเพื่อการบริโภค นําไปสู่ความโลภรักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้บริโภค” จนเกิดกรรมสิทธิ์ส่วนตัวและปัญหาในการถือครองกรรมสิทธิ์

50 ธรรมาธิปไตย คือ

(1) เอาประชาชนเป็นใหญ่

(2) เอากฎหมายเป็นใหญ่

(3) เอาตัวเองเป็นใหญ่

(4) เอาความพอใจเป็นใหญ่

(5) เอาธรรมะเป็นใหญ่

ตอบ 5 หน้า 124, (คําบรรยาย) ตามความหมายจากอธิปไตยสูตรนั้น “โลกาธิปไตย” หมายถึง การทําจิตให้เป็นสมาธิโดยยึดถือผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ส่วน “อัตตาธิปไตย” หมายถึง การทําสมาธิ โดยยึดถือตนเองเป็นที่ตั้ง และ “ธรรมาธิปไตย” หมายถึง การทําสมาธิโดยยึดถือธรรมของ พระพุทธองค์เป็นที่ตั้ง

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง (ข้อ 51 – 60)

51 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Political Philosophy มุ่งสนใจถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติของการเมืองส่วน Political Thought คือศาสนาทางการเมือง

(2) Natural Philosophy เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(3) Political Philosophy เป็นสาขาหนึ่งของ Political Science

(4) Empirical Political Theory คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1, 8 – 9) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับ เรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิง ประวัติศาสตร์ ส่วนปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาในสิ่งที่เป็นพื้นฐานในทางการเมือง หรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) โดยจะไม่มีการแยกคุณค่า ออกจากสิ่งที่ศึกษา และไม่สนใจในเรื่องการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ดังนั้นปรัชญาการเมืองจึงถูกเรียกว่า การศึกษาแบบปทัสถาน หรือบรรทัดฐาน (Normative)

52 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Political Philosophy เป็นส่วนหนึ่งของ Philosophy

(2) Ethics เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(3) Metaphysics เป็นส่วนหนึ่งของ Political Philosophy

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นสาขาย่อยของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา

53 “โลกนี้คืออะไร ประกอบจากองค์ประกอบใดบ้าง” องค์ความรู้ที่ศึกษาถึงเรื่องดังกล่าวนี้เรียกว่า

(1) Political Philosophy

(2) Political Idea

(3) Ethics

(4) Metaphysics

(5) Epistemology

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) อภิปรัชญา (Metaphysic) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงแก่นแท้หรือความเป็นจริงสูงสุดของสิ่งต่าง ๆ ในโลก ยกตัวอย่างเช่น ในสาขานี้อาจจะตั้งคําถามว่า ความจริงแท้มีอยู่จริงหรือไม่ หรือสิ่งที่เป็นแก่นสารของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้มีที่มาจากอะไร เช่น ทาเลส (Thales) พยายามอธิบายว่า น้ําคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ หรือเฮราไคลตุส (Heraclitus) เสนอว่า ไฟต่างหากที่เป็นปฐมธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เป็นต้น

54 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ “Ethics” มากที่สุด

(1) การฆ่าคนสามารถทําได้ไหมถ้าเป็นไปเพื่อป้องกันประเทศชาติ

(2) เราเรียนรู้ได้อย่างไร

(3) ความงาม ความสวยความหล่อ คืออะไร

(4) ความจริงคืออะไร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ผิด อะไรคือสิ่งที่ถูก หรือความดีความชั่วคืออะไร

55 ศีลธรรม มีรากศัพท์มาจากคําว่าอะไร

(1) Monitor

(2) Military

(3) Marcellus

(4) Moralitas

(5) Marsalis

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) คําว่า “ศีลธรรม” (Morality) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคําว่า “Moralitas” ซึ่งแปลว่า พฤติกรรมอันเหมาะสม (Proper Behavior)

56 ใครเป็นคนสร้างคําศัพท์คําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก

(1) Rousseau

(2) Kart Marx

(3) Aquinas

(4) Augustine

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) อองตวน เดอสตุท เดอ ทราซี (Antoine Destutt de Tracy) เป็นคนสร้างคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันก็แปลว่า“ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ “Science of Idea

 

ตั้งแต่ข้อ 57 – 60 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) Political Philosophy

(2) Political Thought

(3) Political Theory

(4) Political Ideology

(5) Political Science

 

57 การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

58 การศึกษาเพื่อพยายามตอบคําถามอมตะทางการเมือง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้อันแท้จริงและ ไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด

59 เป็นการศึกษาการเมืองเชิงปทัสถาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

60 ระบบความเชื่อที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก และไม่จําเป็นต้องเป็น สิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกลอมเกลาสมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวความคิดหรือพฤติกรรมไปในทิศทาง เดียวกัน

 

กรีกโบราณ (ข้อ 61 – 70)

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) สภาประชาชน

(2) คณะมนตรีห้าร้อย

(3) วุฒิสภา

(4) ศาล

(5) คณะสิบนายพล

 

61 เป็นสถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

ตอบ 5 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่

1 สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยทําหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร

2 คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน  ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจําปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม

3 ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

4 คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถจะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ำอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

62 ประกอบไปด้วยพลเมืองเพศชายอายุ 20 ปีขึ้นไป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 มาจากการจับสลากจากพลเมืองขายอายุ 30 ปีขึ้นไป

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 เป็นสถาบันทางการเมืองที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65 เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 ใครกล่าวว่า น้ำคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้

(1) Heraclitus

(2) Thales

(3) Plato

(4) Aristotle

(5) Socrates

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

67 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Democracy ของ Athens

(1) พลเมืองทุกคนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเพศหญิงเพศชายก็มีสิทธิเลือกตั้ง

(2) ทําผิดกฎหมายเดียวกันต้องได้รับโทษในลักษณะแบบเดียวกัน

(3) ทุกคนสามารถมีทนายได้เมื่อถูกฟ้องร้อง

(4) มีผู้พิพากษาและอัยการ

(5) ทุกข้อกล่าวถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 19 – 20, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) การเมืองของเอเธนส์ (Athens) ในช่วง500 ปีก่อนคริสตกาล มีลักษณะดังนี้

1 การดํารงตําแหน่งบริหารกิจการสาธารณะจะไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง แต่จะใช้“การจับฉลาก” (By Lot) มีเพียงไม่กี่ตําแหน่งเท่านั้นที่ยังคงใช้การแต่งตั้งตามความสามารถนั้นก็คือ การเป็นแม่ทัพ

2 หัวใจสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย) และ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียมกัน)

3 ทาสเป็นชนชั้นที่ใหญ่ที่สุดของนครรัฐ โดยมีกฎหมายของรัฐให้การพิทักษ์บรรดาทาส

4 พลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง และคนต่างชาติจะไม่มีสิทธิในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น

  1. “Isonomia” ในระบบการเมืองแบบ Democracy ของ Athens คืออะไร

(1) ทุกคนมีสิทธิได้รับการเป็นพลเมืองจากการเกิดในนครรัฐ

(2) ทุกคนมีสิทธิยื่นฎีกาได้

(3) ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

(5) ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 สงครามเพโลโพนีเชียน คือสงครามที่มีใครเป็นคู่สงครามบ้าง

(1) กรีก-โรมัน

(2) เอเธนส์-เติร์ก

(3) สปาร์ต้า-โรมัน

(4) ติวตัน-โรมัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 18 เอเธนส์และสปาร์ต้าได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่และเป็นผู้นําของนครรัฐอื่น ๆ แม้ว่าทั้งสองนครรัฐนี้จะเคยเป็นพันธมิตรร่วมมือกันต่อต้านการบุกรุกของ ชนชาติเปอร์เซีย แต่ในตอนท้ายเอเธนส์และสปาร์ต้ากลับกลายเป็นคู่สงครามกันในสงครามเพโลโพนีเชียน ซึ่งจบลงโดยชัยชนะเป็นของสปาร์ต้า

  1. ศัตรูที่เข้ามารุกรานนครรัฐกรีกจนทําให้สปาร์ต้ากับเอเธนส์เป็นพันธมิตรกันคือ

(1) โรมัน

(2) เติร์ก

(3) เปอร์เซีย

(4) มาซิโดเนีย

(5) คาร์เธจ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

 

โซฟิสต์, ซอคราตีส, เพลโต, อริสโตเติล (ข้อ 71 – 100)

71 นักคิดคนใดอ้างตัวว่าเป็นผู้กระหายในความรู้อันแท้จริง

(1) Protagoras

(2) Gorgias

(3) Prodicus

(4) Thrasymachus

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 38), (คําบรรยาย) กลุ่ม Philosopher มีนักคิดคนสําคัญคือ ซอคราตีส (Socrates) เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) เป็นกลุ่มที่มักจะอ้างตัวว่าเป็นผู้รักในความรู้หรือกระหายในความรู้ (Lover of Wisdom) อันจริงแท้

72 มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า Sophist คนใดที่คิดเงินค่าสอนหนึ่งคนต่อหนึ่งคาบ คือ หนึ่งครั้งการบรรยายด้วยราคาครึ่งมินา (Mina) ซึ่งถ้ามีผู้เข้าเรียนกับเขา 20 คน เขาก็ได้ 10 มินา และถ้าเข้าเรียน 10 คาบ เขาก็จะได้ 100 มินา

(1) Protagoras

(2) Gorgias

(3) Thrasymachus

(4) Socrates

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า โปรดิคุส (Prodicus) ซึ่งเป็นซอฟฟิสต์ (Sophist) คนหนึ่งคิดเงินค่าสอนหนึ่งคนต่อหนึ่งคาบ คือ หนึ่งครั้งการบรรยาย ด้วยราคาครึ่งมินา (Nina) ซึ่งถ้ามีผู้เข้าเรียนกับเขา 20 คน เขาก็ได้เงิน 10 มินา และถ้า เข้าเรียน 10 คาบ เขาก็จะได้ 100 มินา ซึ่งจํานวนเงินดังกล่าวถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงของช่างฝีมือต่อวันที่จะได้รับเงินเพียง 3 – 4 มินาต่อปี

73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะทั่ว ๆ ไปของ Sophist

(1) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องอยู่ในนครรัฐ

(2) เชื่อว่าความจริงในโลกนี้มีเพียงหนึ่งเดียว

(3) เชื่อว่า Political Wisdom ไม่สามารถสอนกันได้

(4) ไม่มีความจริงแท้สากล ทุกอย่างถูกกําหนดขึ้นมาจากสังคม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 26), (คําบรรยาย) กลุ่ม Sophist มีความเชื่อที่สําคัญดังนี้

1 ไม่เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์การเมือง หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอยู่ภายในนครรัฐ

2 เชื่อว่าความจริงในโลกนี้ไม่มีอยู่จริง ความจริงคือสิ่งที่มนุษย์และสังคมเป็นผู้กําหนดขึ้น

3 เชื่อว่าความรู้ทางการเมือง (Political Wisdom) เป็นสิ่งที่สามารถสอนกันได้

4 เชื่อว่าคนที่สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือคนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ส่วนคนที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์จนทําให้ตัวเองตายนั้นคือคนโง่

74 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “Melian Dialogue”

(1) เป็นบทสนทนาระหว่าง Socrates กับชาวเมือง Athens

(2) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานศพหลังจากสงครามใหญ่ระหว่าง Athens และ Sparta

(3) Plato เป็นคนจดบันทึกเรื่องราวทั้งหมด

(4) เป็นบทสนทนาของพวก Meliaา กับ Athens

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ธูซิดดีส (Thucydides) ได้เขียน “ Melian Dialogue” ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างพวกมีเสียน (Melian) กับเอเธนส์ (Athens) ในช่วง สงครามเพโลโพนีเชียน (Peloponesian War) โดยในขณะนั้นเอเธนส์ได้ส่งกําลังจะไปบุก

สปาร์ต้า (Sparta) แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะเป็นเกาะใกล้กับ สปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

75 ใครเป็นคนกล่าวข้อความดังต่อไปนี้ “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”

(1) Melian

(2) Athens

(3) Sparta

(4) Delos

(5) Tisias

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26, 29 – 30, 37 – 38) ใน “Melian Dialogue ชาว Athens ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาว Melian โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความ ทุกข์ยาก” ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาว Athens นํามาอ้างนั้นมีความคล้ายคลึงกับ ความคิดของธราซิมาคัส (Thrasymachus) ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)

  1. แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมใน Melian Dialogue นั้นคล้ายกับความคิดของใครมากที่สุด

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Thrasymachus

(4) Aristotle

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ Socrates ได้จากแหล่งใดต่อไปนี้

(1) บทละครของ Aristophanes

(2) จดหมายเหตุของพวก Sophist

(3) ข้อเขียนชิ้นต่าง ๆ ของตัว Socrates เอง

(4) บันทึกส่วนตัวของ Aristotle

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) เราสามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของซอคราตีส (Socrates) ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

1 งานเขียนของเพลโต (Plato)

2 บทละครของอริสโตฟาเนส (Aristophanes)

3 งานเขียนของเซโนฟอน (Xenophon)

78 ในบทสนทนา Crito สะท้อนให้เห็นว่า Socrates มีมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร

(1) ไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

(2) ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมก็ให้ฆ่าตนเองตายเสียดีกว่าที่จะถูกประหารชีวิต

(3) กฎหมายที่ยุติธรรมคือกฎหมายในระบอบ Democracy เท่านั้น

(4) กฎหมายทุกฉบับล้วนยุติธรรม มีแต่คนชั่วและเห็นแก่ตัวเท่านั้นที่อ้างว่าไม่เป็นธรรม

(5) ควรเชื่อฟังกฎหมายแม้ว่าจะดูเหมือนว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ซึ่ง Socrates พยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้อง เชื่อฟังกฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็นจะต้องเชื่อฟัง แม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

79 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความคิดของ Socrates เรื่องผู้ปกครอง

(1) Democracy คือการปกครองที่ดีที่สุด

(2) การปกครองด้วยกษัตริย์ที่สืบทอดตามสายเลือดคือผู้ปกครองที่ดีที่สุด

(3) คนที่มีกําลังและแข็งแรงทางกายที่สุดควรเป็นผู้ปกครอง

(4) ตามอุดมคติควรให้ราชาปราชญ์เป็นผู้ปกครอง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

80 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Aristotle

(1) เขาเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์การเมือง

(2) เขาเชื่อว่า Philosopher King คือผู้ปกครองที่ดีที่สุด

(3) เขาเชื่อว่ารัฐเกิดขึ้นมาจากการตกลงกันระหว่างมนุษย์

(4) เขาเชื่อว่าสิ่งที่แตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ก็คือ เสรีภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 57) Aristotle ไม่เคยกล่าวไว้ว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม” แต่เขากล่าวว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” โดยมนุษย์ จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลยถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นจะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นโดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังที่ Aristotle กล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า” นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่ามนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์ คือ มนุษย์มีภาษาอันกอปรไปด้วยเหตุผล ไม่ใช่ภาษาแบบเดียวกับสัตว์ที่ส่งเสียงออกไปตามสัญชาตญาณ ด้วยความสามารถพิเศษของมนุษย์นี้เอง เมื่อเขามีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ ในทางสาธารณะหรือในทางการเมือง จึงทําให้มนุษย์สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ได้

81 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องคนดีและพลเมืองดีของอริสโตเติล (1) คนดีเหมือนกับพลเมืองดี

(2) คนดีคือคนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

(3) คนดีคือคนที่รู้ว่าอะไรดีและทําตามสิ่งที่ตนคิดว่าดีแม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 64 – 66), (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า แม้เขาจะเป็นพลเมืองดี (Good Citizen) แต่เขาอาจไม่ใช่คนดี (Good Man) ก็ได้ เพราะพลเมืองดีกับคนดีนั้น แตกต่างกัน การเป็นพลเมืองดี คือ การทําตามคําสั่งของรัฐเพื่อที่จะจรรโลงระบอบให้อยู่รอด ดําเนินต่อไปได้ พลเมืองดีจึงต้องทําหน้าที่ของตนหรือปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐที่ตนเองอยู่ ดังนั้นการเป็นพลเมืองดีจึงแปรผันไปตามรูปแบบการปกครองและกฎหมายของแต่ละรัฐ ส่วนคนดี คือ คนที่รู้ว่าอะไรดีและทําตามสิ่งที่ตนคิดว่าดีแม้ว่าจะผิดกฎหมายของรัฐก็ตาม ซึ่งการเป็นคนดีนี้จะไม่แปรผันไปตามรูปแบบการปกครอง กฎหมายของรัฐ หรือสภาวะใด ๆ

82 “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่าประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” คํากล่าวนี้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของนักคิดคนใด

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Sophist

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

83 ใครเป็นคนกล่าวว่า “A Democracy that in which the many and the poor are the rulers”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 71) Aristotle เห็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวหรือการปกครองที่เกิดจากความเสื่อม เพราะเป็นการปกครองของคนส่วนใหญ่ที่ใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง นอกจากนี้ยังกล่าวว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของคนจํานวนมากที่เป็นชนชั้นยากจน (A Democracy that in which the many and the poor are the rulers) และเป็นการปกครองของฝูงชนบ้าคลั่งภายใต้การครอบงําของนักพูดฝีปากดี (Demagogue)

84 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “ในความเป็นจริง แผ่นดินเองให้ชีวิตและให้การศึกษาเราโดยปราศจากเงื่อนไขและไม่คาดหวังว่าจะได้รับการตอบแทนใด ๆ กลับคืนมาแม้แต่น้อย”

(1) Socrates

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Epicurus

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 87) ซิซีโร (Cicero) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Republic” ว่า “ในความเป็นจริง แผ่นดินเองให้ชีวิตและให้การศึกษาเราโดยปราศจากเงื่อนไขและไม่คาดหวังว่าจะได้รับการตอบแทนใด ๆ กลับคืนมาแม้แต่น้อย” ดังนั้นการที่แต่ละคนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นการตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน

85 “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้” ปรากฏอยู่ในงานเขียนของนักคิดคนใด

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 69 – 70) Aristotle กล่าวว่า “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้ ในทางตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งนั้นร่างกายไม่มีประโยชน์อันใดต่องานที่ต้องใช้แรงกาย แต่เขาก็มี สติปัญญาที่เป็นประโยชน์กับชีวิตทางการเมืองทั้งด้านศิลปะในภาวะสงครามและภาวะที่สงบสุข มันเป็นที่ชัดเจนว่าคนบางคนนั้นเกิดมาตามธรรมชาตินั้นเป็นเสรีและคนบางคนนั้นเกิดมาเป็นทาสและการเป็นทาสดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

86 “พวกเขาไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นครู และเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็ยังยืนยันอีกว่าเป็นวิชาที่สอนกันไม่ได้ ตลอดจนพวกนี้ตั้งหน้าตั้งตา จะด่าทอและทําลายทุกคนที่พูดว่าสอนได้” คํากล่าวนี้ปรากฎอยู่ในงาน ของนักคิดคนใด

(1) socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Plato

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

87 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรม เฉพาะตัวของเขาเท่านั้น”

(1). Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25) โปรทากอรัส (Protagoras) กล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่งเห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น”

88 ใครมีแนวคิดดังต่อไปนี้ “สังคมการเมืองจะเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์บรรลุศักยภาพของคนแต่ละคนออกมาได้”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

89 ใครเป็นคนกล่าวคําพูดดังต่อไปนี้ “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า”

(1) Socrates

(2) Protagoras

(3) Aristotle

(4) Cicero

(5) Thrasymachus

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

90 สํานักการศึกษาของเพลโตมีชื่อว่า

(1) Syracuse

(2) Polis

(3) Academy

(4) Athens

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 33 เพลโต ได้ก่อตั้งสํานักอเด็ดเดมี (Academy) ซึ่งถือกันว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก เพื่อให้การศึกษาในเรื่องของวิทยาศาสตร์และปรัชญาแก่บรรดาลูกศิษย์ที่สมัครเข้าเรียนและรับการอบรม

91 ในหนังสือเรื่อง The Statesman เพลโตใช้หลักเกณฑ์ใดในการจําแนกรูปแบบการปกครอง

(1) จุดมุ่งหมายในการปกครอง

(2) การได้มาซึ่งผู้ปกครอง

(3) คุณธรรมของผู้ปกครอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยามประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ

1 จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก

2 กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย

 

ตั้งแต่ข้อ 92 – 96 จงนําตัวเลือกดังต่อไปนี้ไปตอบคําถาม

(1) อภิชนาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) ประชาธิปไตย

(4) ทุชนาธิปไตย

(5) โพลิตี้

 

92 การปกครองแบบคน ๆ เดียวที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

ตอบ 4

93 การปกครองโดยคนจํานวนมากเพื่อส่วนรวม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 การปกครองโดยคณะบุคคลที่ปกครองเพื่อส่วนรวม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

95 การปกครองโดยมหาชนที่เลว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

96 การปกครองโดยคณะบุคคลที่ใช้อํานาจฉ้อฉล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

97 ชื่อผลงานเขียนของเพลโต คือ

(1) Academy

(2) The Laws

(3) Politics

(4) Dialogue

(5) Confession

ตอบ 2 หน้า 33 เพลโต มีงานเขียนหนังสือที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทาง การเมืองชิ้นเอก ได้แก่

1 อุตมรัฐ (The Republic)

2 รัฐบุรุษ (The Statesman)

3 กฎหมาย (The Laws)

98 ทุกคนมีพันธะที่ต้องสนับสนุน และเคารพกฎหมายของรัฐของเพลโตเพราะ

(1) ทําให้รัฐคงอยู่ได้

(2) เราจะถูกลงโทษถ้าละเมิดกฎหมาย

(3) เราเป็นผู้ออกกฎหมายเอง

(4) รัฐเกิดมาจากกฎหมาย

(5) รัฐคือกฎหมาย

ตอบ 1 หน้า 34 – 35 เพลโต เห็นว่า กฎหมายเป็นสิ่งที่ทําให้โครงสร้างทางสังคมและการเมืองของรัฐคงอยู่ได้ คนทุกคนมีพันธะต่อรัฐที่เขาอาศัยอยู่ เป็นพันธะแห่งธรรมในฐานะที่รัฐ ให้สิ่งที่มีประโยชน์แก่เขามากกว่าบิดามารดาเสียอีก ดังนั้นคนทุกคนจึงมีพันธะที่จะต้อง สนับสนุนและเคารพกฎหมายของรัฐ เพราะรัฐจะยืนยงอยู่ได้ก็ด้วยการสนับสนุนของคนในรัฐเท่านั้น

99 Common Good (สัมมาร่วม) ตามความหมายของเพลโตคือ

(1) ความไม่ลําเอียง

(2) เสมอภาค

(3) ความยุติธรรม

(4) ความเท่าเทียม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 35 “ความยุติธรรม” ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรม แต่หมายถึง สิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ

100 ถ้าคุณธรรมประจําตัวเขาถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยาก เขาเหมาะที่จะเป็นอะไร

(1) ผู้ปกครอง

(2) นักการเมือง

(3) ทหาร

(4) ข้าราชการ

(5) ผู้ผลิต

ตอบ 5 หน้า 36 เพลโต กําหนดหรือจําแนกความยุติธรรมของบุคคลโดยใช้คุณธรรมประจําจิตโดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดจะเป็นชนชั้นใดในสังคมนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้เดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นทหาร และ ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

Advertisement