การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 Marshall E. Dimock กล่าวไว้ว่า “องค์การคือการจัดระเบียบโดยการนําเอาส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันในรูปของส่วนรวม เพื่อให้มีการ…. และเป็นศูนย์อํานวยการให้การดําเนินงานลุล่วง ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้” ที่ว่างไว้คือ

(1) ใช้อํานาจบริหารงาน

(2) ประสานงานระหว่างกัน

(3) ดําเนินการวางแผน

(4) ตรวจสอบและติดตาม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 1 Marshall E. Dimock กล่าวไว้ว่า “องค์การคือการจัดระเบียบโดยการนําเอาส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันในรูปของส่วนรวม เพื่อให้มีการใช้อํานาจบริหารงานและเป็นศูนย์อํานวยการให้การดําเนินงานลุล่วงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้”

2 “องค์การ หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหาร อันได้แก่ ทรัพยากรที่เป็นมนุษย์เงิน……. เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจเอาไว้” ที่ว่างไว้คือ

(1) วัสดุสิ่งของ และเทคโนโลยี

(2) เครื่องจักร

(3) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

(4) สภาพทางสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 2 องค์การ หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหาร อันได้แก่ทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ เงิน วัสดุสิ่งของ และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจเอาไว้”

3 เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ

(1) มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

(2) มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทํางานร่วมกัน และ……….. ที่ว่างไว้คือ

(1) มีกิจกรรมร่วมกันทั้งในลักษณะที่เป็นทางการเละไม่เป็นทางการ

(2) มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายในอันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร (3) มีการวางแผนในการดําเนินงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) เงื่อนไขที่จําเป็นของการเกิดองค์การ มีดังนี้

1 มีบุคคล (Man) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาทํางานร่วมกัน

2 มีวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือเป้าหมาย (Goals) ในการทํางานร่วมกัน

3 มีกิจกรรรม (Activities) หรือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ร่วมกัน ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

4 มีรูปแบบของความสัมพันธ์ภายใน (Relations) อันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร

4 Peter F. Drucker พิจารณาการบริหารในเชิงพฤติกรรมไว้ว่า “การบริหารคือศิลปะในการทํางานให้บรรลุ เป้าหมาย……” ที่ว่างไว้คือ

(1) ทางสังคม

(2) อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) อย่างมีดุลยภาพ

(4) ร่วมบผู้อื่น

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 2 Peter F. Drucker พิจารณาการบริหารในเชิงพฤติกรรมไว้ว่า “การบริหารคือศิลปะในการทํางานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น”

5 ในการวิเคราะห์องค์การที่เรียกว่า SWOT Analysis ปัจจัยใดที่จัดเป็น Internal Factor

(1) Weaknesses

(2) Strengths

(3) Threats

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่  S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

6 หลักการที่สําคัญที่จะทําให้องค์กาเรทั้งหลายสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ในระยะยาว ประกอบด้วย

(1) การสร้างความเสมอภาคเท่าเทียม

(2) การสร้างความยุติธรรม และ

(3) … ที่ว่างไว้คือ

(1) การคํานึงถึงหลักประสิทธิภาพ

(2) การให้ความสําคัญแก่กระบวนการยุติธรรม

(3) การคํานึงถึงหลักประสิทธิผล

(4) การให้ความสําคัญแก่สิ่งแวดล้อม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การในการบริหารงานสาธารณะ ได้แก่

1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)

2 ประสิทธิผล (Effectiveness)

3 การสร้างความเสมอภาคเท่าเทียม (Equality)

4 การสร้างความยุติธรรม (Equity)

5 การให้ความสําคัญ แก่สิ่งแวดล้อม (Ecology) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่ 3, 4เละ 5 ถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพในระยะยาวของการบริหารงานสาธารณะและเป็นหลักการสําคัญที่จะทําให้องค์การทั้งหลายสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ในระยะยาว

7 Operation Research หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกเว์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

8 Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ ได้แก่

(1) ความสําเร็จของงาน

(2) ความล้มเหลวของงาน

(3) วัตถุประสงค์ขององค์การ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2 ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน เป็นต้น

9 Homeostasis เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

(2) ที่อยู่อาศัยขององค์การ

(3) สิ่งแวดล้อมขององค์การ

(4) ความสมดุลของระบบทางกายภาพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 259 – 261, (คําบรรยาย) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis) ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางชีวภาพ หรือเป็นวงจรที่แสดงความสมดุลอันเกิดจากภาวะ ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ส่วนกลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียง ของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics) นั้น ถือเป็นลักษณะความสมดุลของระบบทางกายภาพที่เกิดจากการควบคุมข่าวสารและทรัพยากรให้เกิดความพอเพียง

10 การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางชีวภาพ ได้แก่ระดับใด

(1) ระดับที่ 4

(2) ระดับที่ 5

(3) ระดับที่ 6

(4) ระดับที่ 7

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 88 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับโดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

11 องค์การเป็นระบบทางสังคมเพราะเหตุใด

(1) มีวัฒนธรรม

(2) มีโครงสร้างที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(3) มีสมดุลแบบที่เป็นแบบพลวัต

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 89, 98 – 107, คําบรรยาย) องค์การจัดว่าเป็นระบบทางสังคม เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากระบบทางกายภาพหรือระบบทางชีวภาพ ดังนี้

1 มีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์มากกว่าโครงสร้างคงที่

2 มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อม หรือมีความสมดุลแบบพลวัต

(Dynamic Equilipriurn)

3 มีวัฒนธรรมอันเป็นความสามารถในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ขององค์การให้แก่คนรุ่นใหม่ ๆ ได้สืบทอดต่อไป ฯลฯ

12 เหตุผลของการเกิด Informal Organization ได้แก่

(1) เพื่อค้นหา One Best Way

(2) เป็นการใช้แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(3) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่

1 เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น

2 ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น

3 ค้นหาบุคคลที่มีพร ติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน

4 เป็นที่ระบายความรู้สึก

5 เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

6 เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

7 เพิ่มช่องทางการไหลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ ส่วนตัวเลือก (1) – (3) เป็นเหตุผลของการเกิดองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

13 “……. พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ ” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Action Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การ กลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้เก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎีกลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

14 ทุกข้อเป็นเรื่องของ Format Organization Theory ที่ Weber นําเสนอ ยกเว้น

(1) job Satisfaction

(2) Job Description

(3) Positions and Authority

(4) Hierarchy of Command

(5) Rules

ตอบ 1 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์กรที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ M.1x Weber นั้น จะประกอบด้วย

1 การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)

2 การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)

3 การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations) 4 การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ

5 การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

6 การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

7 การคัดเลือกและเพื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on Selection and Fromotion)

8 ควรมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวตั้ง ฯลฯ ซึ่งรูปเเบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

15 Gantt (Chart เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านใดมากที่สุด

(1) การวางแผน

(2) การจัดรูปงาน

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การกําหนดนโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. (Gantt เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้เกิดการทํางานเป็นกิจวัตรโดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตาม ความก้าวหน้าของงาน โดยการทําตารางเวลากําหนดว่างานหรือกิจกรรมใดควรเริ่มเวลาใด วันใด และสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นประการหนึ่งของวิชาการวางแผน

16 สิ่งที่ทําให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ทั้ง ๆ ที่ต่างได้รับการคัดเลือกเข้าทํางาน โดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ได้แก่

(1) บุคลิกภาพ

(2) ทัศนคติ

(3) ความรู้ความสามารถ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 73 สิ่งที่ทําให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ทั้ง ๆ ที่ต่างได้รับการคัดเลือกเข้าทํางานโดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ได้แก่

1 บุคลิกภาพ (Personality)

2 การรับรู้หรือจิตภาพ (Perception)

3 ทัศนคติ (Attitude)

4 ความต้องการของบุคคล (Needs)

17 ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการควบคุมองค์การ ได้แก่

(1) การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดาเนินงาน

(2) การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(4) การกําหนดเป้าหมาย

(5) การกําหนดนโยบายที่จําเป็น

ตอบ 2 หน้า 262 กระบวนการในการควบคุมองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

18 การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เป็นหลักในเรื่องใด

(1) หลักของกฏและระเบียบ

(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา

(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน

(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 1:36 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดวนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

19 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Procedure

(3) Participative Management

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2 (5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบระยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X (มนุษย์ไม่ชอบการทํางานและพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังต่อไปนี้เพื่อแก้ไข พฤติกรรมที่บกพร่อง

1 การบริหารแบบเผด็จการ

2 การบริหารโดยยึดกฎระเบียบ (Management by Rules) คือ การใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด หรือใช้กฎระเบียบที่ได้มาตรฐาน

3 การบริหารโดยยึดกระบวนการ (Management by Procedure)

4 การบริหารแบบองค์การแบบเครื่องจักรกล (Mechanistic Organization)

5 การบริหารงานในลักษณะของพวกคลาสสิก เช่น ตัวแบบระบบราชการ (Bureaucracy หรือ Bureaucratic Model) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ฯลฯ

20 “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การติดต่อสื่อสารในองค์การ

(2) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

(3) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม

(4) การวางแผนองค์การ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 19 – 30 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม(Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ

1 การกระทําของเขาในสังคม (Activity)

2 ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)

3 ความคิดเห็นส่วนต์วหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

21 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ

(1) ช่วยสร้างความร่วมมือ

(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

(3) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่

1 ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ

2 ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม

3 ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

4 ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

22 “วิธีการใด ๆ ที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ที่กล่าวมาเป็นนิยามของเรื่องใด

(1) การจูงใจ

(2) การวางแผน

(3) การตัดสินใจ

(4) การสื่อควกมเข้าใจ

(5) การควบคุม

ตอบ 4 หน้า 243 การสือข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) หมายถึง ตัวเชื่อมโยงที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใดซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

23 “ความพยายามที่จะปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาได้รู้ถึงปริมาณงานแท้จริงที่จะต้องทํา” จัดเป็นการหลีกเลี่ยงงาน โดยอาศัยระบบ ที่นําเสนอโดย

(1) Urwick

(2) Taylor

(3) Cooke

(4) Gilbreths

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่นการส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

24 “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกันไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow

(1) สังคม

(2) การเป็นที่ยอมรับ

(3) ความปลอดภัย

(4) กายภาพ

(5) อุดมคติของตนเอง ตอบ 4 หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ A.H. Maslow

เป็นความต้องการขั้นต่ําสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มี ความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

25 ถ้าผู้บริหารมีสมมติฐานว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” การขาดความรับผิดชอบในการทํางานของมนุษย์ เป็นเพราะ

(1) ระเบียบในการทํางานไม่รัดกุมเพียงพอ

(2) ผู้บริหารไม่กํากับดูแล

(3) มนุษย์ขาดโอกาสในการเรียนรู้

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐานว่า“มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมา ย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการ ภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

26 ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง Effectiveness ในการทํางาน

(1) เวลา

(2) ทรัพยากรที่ใช้

(3) แผนที่วางไว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆจะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการที่ได้วางเอาไว้ ส่วนประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือ ผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ ใช้ในการบริหาร ดังนั้นหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิภาพ

27 ใครที่เสนอเรื่อง “การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา มาคัดเลือกคนเข้าทํางาน”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Weber

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ : หน้า 87 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอา แบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่ง ต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้นไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

28 Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารระดับสูงใช้เวลาของตนให้กับภารกิจที่เป็น Internal Management คิดเป็นร้อยละเท่าไรของเวลาทั้งหมด

(1) 10 – 20

(2) 25 – 30

(3) 45 – 50

(4) 65 – 70

(5) 85 – 90

ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียง ร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมุลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

29 การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สรภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน”จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด

(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

(2) กําเนิดขององค์การ

(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร

(4) โครงสร้างขององค์การ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สนาาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)

2 องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

30 “สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนยุ่งยาก…….ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ ขึ้นได้” เรียกว่า

(1) Placid Clustered Environment

(2) Placid Randomized Environment

(3) Disturbed-Reactive Environment

(4) Turbulent Field

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบ แต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อ เป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Fielc เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

  1. “….ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Secondary Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell

32 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหารและชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการได้แก่ (1) …………. (2) การรับและกรองข้อมูลข่าวสาร

(3) การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับ หน่วยงานอื่น ๆ และ

(4) การจูงจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่ ที่ว่างไว้คือ

(1) Policy Making

(2) Planning

(3) Decision Making

(4) Organizing

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 14 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหาร และชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1 การวินิจฉัยสังการหรือการตัดสินใจ (Decision Making)

2 การรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรียการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคม

3 การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ

4 การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

33 Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(2) สังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ

(3) การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี

(4) การเมือง สังคม เทคโนโลยี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 14 – 17. Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

34 Chester I. Barnard เขียนหนังสือชื่อ

(1) Psychology and Industrial Efficiency

(2) Principles of Scientific Management

(3) The Human Problems of Industrial Civilization

(4) The Functions of the Executive

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

35 สิ่งที่ ดร.ชุน กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSUCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์กร

36 หน่วยงานใดที่จัดเป็น หน่วยสนับสนุน (Staff Agency)

(1) หน่วยการเจ้าหน้าที่

(2) หน่วยพัสดุ

(3) หน่วยอาคารสถานที่

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า : 98 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษา ทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงานบุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

37 “แผนที่เชื่อมโยงกัน มีการใช้ต่อเนื่องกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาว” เรียกว่า

(1) Single-Use Plan

(2) Master Plan

(3) Standing Plan

(4) Operational Plan

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 220 แผนหลัก ขององค์การ (Standing Plan) หรือโครงสร้างแผนงานขององค์การ(Program Structures) หมายถึง แผนที่เชื่อมโยงกัน มีการใช้ต่อเนื่องกันเพื่อให้บรรลวัตถุประสงค์ในระยะยาว

38 การทดลองที่ฮอร์บอร์น พบว่า

(1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลิตภาพในการทํางาน

(2) ความเข้มของแสงสว่างมีอิทธิพลอย่างมากต่อเลิตภาพในการทํางาน

(3) ระบบค่าจ้างต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อผู้ปฏิบัติงาน

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 71 การทดลองที่ฮอร์ทอร์น (Hawthorne Experiments) ของ Elton Mayo พบว่า

1 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความเข้มของแสงสว่าง ไม่ได้มีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับผลิตภาพในการทํางาน

2 ระบบการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อ การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพในการทํางานของกลุ่มน้อยกว่าความกดดัน การยอมรับ และสวัสดิการ ที่กลุ่มจะพึงได้รับ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างกลมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยกลุ่มจะมีอิทธิพล อย่างมากต่อผลิตภาพในการทํางานของสมาชิกในกลุ่ม

39 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน Ideal Bureaucracy เป็น

(1) Management by Objectives

(2) Flexible Adhocracies

(3) Action Theory

(4) Industrial Humanism

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

40 ข้อใดเป็นทัศนะของ Barnard

(1) นําบทบาทขององค์การรูปนัยเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ

(2) ไม่ควรกําหนดอํานาจหน้าที่ไม่ตายตัวจากบนลงมาล่าง

(3) ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 34 บระกอบ

41 ใครที่เชื่อว่า บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจ และกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายาม ในการทํางานอย่างเต็มที่

(1) Weber

(2) Barnard

(3) Si non

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

42 ใครที่เสนอให้ โครงสร้างองค์การมีลักษณะ “กระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย มีการจัดรูปในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ การใช้อํานาจหน้าที่เปลี่ยนไปเป็นการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ”

(1) Warren Bennis

(2) Max Weber

(3) Hugo Munsterberg

(4) Elton Mayo

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

43 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Bernard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 40 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

44 Situational Approach ปฏิเสธหลักการในเรื่องใด

(1) One Best Way

(2) การใช้ทฤษฎีระบบ

(3) Contingency Theory

(4) The Social Psychology of Organizations

(5) มององค์การแบบ Organic Structure

ตอบ 1 หน้า 110 – 111, คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้เงื่อนไขของ : สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถ เปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของ นักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

45 ตามทฤษฎีของ Herzberg ข้อใดที่มีระดับของ Motivator Factors ต่ำที่สุด

(1) เงินเดือน

(2) ลักษณะของงาน

(3) ความรับผิดชอบ

(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(5) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

ตอบ 2 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

46 ตามทฤษฎีของ Herzberg ข้อใดที่มีระดับของ Hygiene Factors สูงที่สุด

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) นโยบายและการบริหาร

(4) ความก้าวหน้าในการงาน

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”

(1) A Systems Approach

(2) Industrial Humanism

(3) Contingency Theory

(4) Quantitative Science

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

48 fluid Structure จะทําให้ความสัมพันธ์ในองค์การเป็นแบบใดเป็นส่วนใหญ่ (1) ตามแนวดิ่ง

(2) ตามแนวราบ

(3) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การ ที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิต ขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

49 Political Nature of Organization เป็นแนวคิดแบบใด

(1) A Systems Approach

(2) Contingency Theory

(3) The Action Approach

(4) Formal Organization Theory

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

50 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Industrial Humanism

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 112 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

  1. “ให้ความสนใจที่การเมืองและอํานาจเพื่อควบคุมองค์การ……. ” ที่กล่าวมาจัดเป็นรูปแบบที่เท่าไร ตามพัฒนาการของทฤษฎีองค์การของ Stephen P. Robbins

(1) รูปแบบที่ 1

(2) รูปแบบที่ 2

(3) รูปแบบที่ 3

(4) รูปแบบที่ 4

(5) รูปแบบที่ 5

ตอบ 4

52 ตามทัศนะของ Stephen P. Robbins ทฤษฎีองค์การในช่วง ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นยุคของ ทฤษฎีองค์การกลุ่มใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) The Action Approach

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2

53 ในระบบคุณธรรม (Merit System) “การกําหนดอนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) การเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน

(3) บุคลึกภาพ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทร ษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

54 ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดของ Elton Mayo

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า

(3) ผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) ผลทางบวกที่เกิดเนื่องจากการที่กลุ่มต่างไม่ยอมแพ้กันและกัน

(5) เงินเป็นแรงจูงใจในการเพิ่มผลิตภาพ

ตอบ 4 หน้า 68 – 70, (คําบรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

55 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ความต้องการที่จะอยู่รอด

(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ

(3) การคิดล่วงหน้า

(4) บริบทที่ยืดหยุ่น

(5) สมดุลที่เป็นพลวัต

ตอบ 2 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way ฯลฯ

56 ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น

(1) เงินเดือน

(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

(4) ลักษณะของงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

57 ข้อใดเป็น “ปัจจัยค้ําจุน” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

58 Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมว่าเป็น (1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Inner Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

59 ข้อใดที่จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสภาพแวดล้อมทาเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม ทางสังคมที่ Barton และ Chappell นําเสนอไว้

(1) การเมือง

(2) เทคโนโลยี

(3) สื่อมวลชน

(4) สาธารณชนทั่วไป

(5) ฝ่ายนิติบัญญัติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

60 ตัว T ใน SWOT Analysis หมายถึง

(1) ความเข้มแข็งขององค์การ

(2) โอกาสขององค์การ

(3) ภัยจากปัจจัยภายนอก

(4) ระบบงานขององค์การ

(5) จุดอ่อนขององค์การ

ตอบ 3 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่

S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ

W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

61 กรณีใดที่เรียกว่าเป็นการศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา

(1) การศึกษารูปแบบการตัดสินใจที่ควรจะเป็น

(2) การศึกษากระบวนการการตัดสินใจที่ควรจะเป็น

(3) การศึกษาคุณสมบัติผู้นําที่ประสบความสําเร็จ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 234 235, (คําบรรยาย) รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 การศึกษาการตัดสินใจเชิงพรรณนา (Descriptions of Behavior) เป็นการศึกษาการตัดสินใจจากสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น ศึกษาว่าการตัดสินใจ รูปแบบใดที่ได้เคยกระทําขึ้นในองค์การ ผลการตัดสินใจในอดีตเป็นอย่างไร อะไรคือลักษณะที่ สําคัญของผู้ที่ทําการตัดสินใจในองค์การ การตัดสินใจที่ผ่านมามีกระบวนการอย่างไร คุณสมบัติใด ของผู้นําที่ทําให้การตัดสินใจประสบความสําเร็จ เป็นต้น

2 การศึกษาการตัดสินใจเชิงปทัสถาน หรือโดยการให้ข้อเสนอแนะ (Normative Model Building หรือ Normative Approach) เป็นการศึกษาการตัดสินใจโดยการพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น เช่น ศึกษาว่า สิ่งใดเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมและดีที่สุด การปรับปรุงการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทําได้อย่างไร ผู้ที่ทําการตัดสินใจที่ดีควรมีพฤติกรรมอย่างไร กระบวนการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

62 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Division of work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(2) Gantt Chart – การทํางานที่เป็นกิจวัตร

(3) Motivator Factors – ค้ำจุนให้ยอมทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 189 – 191, (PS 252 เลขพิมพ์ 30270 หน้า 19 – 20) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ

เฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) มีประโยชน์ดังนี้

1 เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถ ในการทํางานขององค์การ

2 ทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange)

3 ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

4 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ำซ้อนและการเหลื่อมล้ำในการทํางานในหน้าที่ (ดูคําอธิบายข้อ 15 และ 45 ประกอบ)

63 “ระบบค่าจ้างต่อชิ้น” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัย หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรียประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

64 Management Science หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ (4) ทั้งขอ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

65 Line Officer คือ

(1) พนักงานที่มีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ

(2) พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

(3) พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานเป็นพิเศษ

(4) นักวิเคราะห์แผน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีการบริหารได้แบ่งประเภทของผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 พนักงานปฏิบัติการ (Line Officer) คือ พนักงานที่มี อํานาจหน้าที่ในการสั่งการบังคับบัญชาและปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

2 พนักงานที่ปรึกษา (Staff Officer) คือ พนักงานที่ทําหน้าที่ช่วยสนับสนุนฝ่ายงานหลัก หรือเป็นผู้ให้คําแนะนำ ให้ข้อมูล และคอยช่วยเหลือพนักงานปฏิบัติการให้ทํางานได้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพนักงานที่ปรึกษาจึงมีส่วนสําคัญในการช่วยให้องค์การสามารถดําเนินงานไปได้จนบรรลุเป้าหมายขององค์การ

66 Natural System) Model เป็นวิธีการศึกษาของ…….

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็นวิธิการศึกษาของกลุ่ม นักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่ม Behavioral Science

2 กลุ่ม A Systems Approach

3 กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach

4 กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

67 Unity of Command หมายถึง

(1) หล้าการที่ให้องค์การหนึ่ง ๆ ต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว

(2) หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียว

(3) หลักการที่ทุกแผนกงานต้องมีการสร้างทีมงาน

(4) หลักการที่กําหนดให้ทุก ๆ ตําแหน่งต้องมีคู่มียทํางาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

68 วัตถุประสงค์ขององค์การมีลักษณะเป็นเช่นไร

(1) คือเป้าหมายปลายทางขององค์การ

(2) คือจุดหมายปลายทางขององค์การ

(3) คือจุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

(4) คือความจําเป็นเบื้องแรกขององค์การเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย ระเบียบในการทํางาน เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ได้ผล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 129 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้

1 คือ จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายปลายทางขององค์การ

2 คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ

3 คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ

4 คือ ความจําเป็นเบื้องแรกขององค์การเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย มาตรการการดําเนินงานระเบียบในการทํางาน เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ได้ผล

5 จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้งสามารถที่จะพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

69 การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์อย่างไร

(1) ช่วยให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมาย

(2) ช่วยให้การบริหารเป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

(3) ช่วยแก้ปัญหางานซ้ำซ้อน

(4) ช่วยแก้ไขงานคั่งค้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 126, (คําบรรยาย) การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์ ดังนี้

1 ช่วยให้การบริหารงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย เป็นไปโดยสะดวกและง่ายขึ้น

2 ช่วยแก้ปัญหางานคั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จําเป็น

3 ช่วยแก้ปัญหาการทํางานซ้ําซ้อน

4 ช่วยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

70 วัตถุประสงค์ขององค์การต้องจัดอย่างไรจึงมีลักษณะที่เหมาะสม

(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและจัดแจ้งเสมอ

(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ

(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ

(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

71 การจัดโครงสร้างขององค์การคืออะไร

(1) คือ การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น ๆ

(2) คือ การมุ่งพยายามจัดและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์การให้บรรลุเป้าหมายให้ได้

(3) คือ Organization Design

(4) คือ Organizing

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 61, 122 – 122, (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างองค์การ (Organizing) หรือบางที่อาจเรียกว่า การจัดองค์การ การจัดรูปงาน หรือการออกแบบองค์การ (Organization Design) หมายถึง การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น ๆ โดยการแบ่งแยกกิจกรรมเป็นกลุ่มตามแนวนอน (Horizontal Differentiation) และการจัดเรื่องลำดับขั้นการบังคับบัญชาในแนวตั้ง (Vertical Differentiation) หรือหมายถึง การมงพยายามจัดและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การให้ มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์การให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ เช่น การจัดเรื่องระเบียบวินัยและข้อบังคับ สายการบังคับบัญชา ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ การแบ่งงานกันทํา เป็นต้น

72 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการแบ่งแยกหน่วยงานต่าง ๆ จากกันเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงสามารถแยกประเภทของหน่วยงานตามลักษณะของการปฏิบัติงานในองค์การ ได้เป็นประเภทอะไรบ้าง

(1) Line Agency

(2) Staff Agency

(3) Auxiliary Agency

(4) House-Keeping Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือกองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2  หน่วยงานที่ปรึกษา หรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนงานหลักให้ดําเนินไปโดยบรรลุเป้าหมาย เช่น ภาควิชา ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House Keeping Agency) หมายถึง หนวยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในลักษณะของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ เป็นต้น

73 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษามีลักษณะแบบใด

(1) Authority to Command

(2) Authority to complain

(3) Authority of Advisory

(4) Authority to Control

(5) Authority of Dictator

ตอบ 3 หน้า 203 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency) คือ การให้ความคิดเห็นหรือให้คําปรึกษา (Authority of Ideas หรือ Authority of Advisory) แก่หน่วยงานหลัก ไม่มีอํานาจในการสั่งการหรือบังคับบัญชาหน่วยงานอื่น ๆ ในสายงานหลัก หากหน่วยงาน ที่ปรึกษาต้องการให้คําแนะนําได้รับการปฏิบัติตามจะต้องนําคําแนะนํานั้นไปเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการต่อไป

74 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

75 Authority ในองค์การ คืออะไร

(1) คือ Power to Command

(2) คือ Chain of Information ในองค์การ

(3) คือ อํานาจหน้าที่ที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การแอบอ้างว่าผู้มีอํานาจได้มอบอํานาจให้ตนออกคําสั่งต่าง ๆ ได้

(4) คือ อํานาจหน้าที่ในการสั่งการที่ได้มาโดยการข่มขู่หรือใช้คําสั่งบังคับ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) ในองค์การ หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจ จะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประลงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้ จะเป็นอํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่ง (Position) ที่เป็นทางการ ทําให้ ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย

76 ช่วงของการบังคับบัญชามีลักษณะอย่างไร

(1) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายการบังคับบัญชาทุกประการ

(2) เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือบังคับบัญชาเพียงใดทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรมีผู้ใต้บังคับบัญชายคน หรือมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบที่หน่วยงานจึงจะเป็นการเหมาะสม

(3) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาที่คน

(4) คือ ลําดับขั้นการบังคับบัญชาในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งขวงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะแสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชา คนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาเพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชาก็คน หรือมีหน่วยงานภายในความรับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้เดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

77 ผู้รเริ่มเผยแพร่แนวคิดในการบริหารที่เรียกว่า Human Relations Approach คือผู้ใด

(1) Frederick Taylor

(2) Max Weber

(3) George Elton Mayo

(4) Herbert Simon

(5) Stephen P. Robbins

ตอบ 3 หน้า 72, (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับลักษณะความต้องการ ของปัจเจกบุคคลและ กลุ่มในองค์การ รวมถึงการดูแลจิตใจของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ จึงทําให้ Mayo ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ”

78 องค์การจะจัดให้มีช่วงการควบคุมที่กว้างได้ในลักษณะใดบ้าง

(1) เบี้ยผู้บังคับบัญชามีจํานวนน้อยมากในองค์การ

(2) เมื่องานที่อยู่ภายใต้การดูแลบังคับบัญชานั้นเป็นงานยุ่งยาก ซับซ้อน

(3) เมื่อเป็นงานที่ต้องอาศัยความ ละเอียดถี่ถ้วนมาก ๆ

(4) เมื่องานอยู่ในระดับสูง ๆ ในองค์การ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 281 – 182, (คําบรรยาย) การจัดช่วงของการควบคุมหรือการบังคับบัญชาให้กว้างจะทําด้ในกรณีดังต่อไปนี้

1 เป็นงานที่อยู่ในระดับต่ำ ๆ ขององค์การ

2 งาน/กิจกรรมที่ ได้รับมอบหมายเป็นงาน/กิจกรรมธรรมดา ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องอาศัยความละเอียดถี่ถ้วน

3 ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถมาก ต้องการความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ไม่ต้องการ การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

4 องค์การมีลักษณะกระจายอํานาจมากกว่ารวมอํานาจ

5 ผู้บังคับบัญชามีความสามารถมาก

6 ผู้บังคับบัญชามีจํานวนน้อยมากในองค์การ

79 อํานาจที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชา มักจะขาดหายไปในการปฏิบัติงานจริงด้วยสาเหตุใด

(1) อาจขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) อาจขัดกับหลักชีววิทยาได้

(3) อาจขัดกับหลักศีลธรรมได้

(4) อาจขัดกับสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนั้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 150 อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชามักจะขาดหายไปเมื่อได้มีการสั่งการในการปฏิบัติงานจริง เพราะมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น พฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมในสังคม สภาพทางภูมิศาสตร์ หลักชีววิทยา (เช่น สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แรงยกของที่หนักเกินกําลังของผู้ยก) ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมาย (เช่น การสั่งงานโดยผิดข้อกฎหมาย) นโยบาย หรือความต้อยความสามารถของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

80 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ (Centralization of Authority) ในองค์การ ได้แก่

1 ก่อให้เกิดเอกภาพนการปกครองและการบริหาร

2 ทําให้ทรัพยากรการบริหาร รวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

4 ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

5 มีลักษณะของการประสานงานเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

81 ใครเป็นผู้กล่าวว่า สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผล

(1) Max Weber

(2) Frederick Taylor

(3) Elton Mayo

(4) Chester I. Barnard

(5) Kast E. Erement

ตอบ หน้า 139 Max Weber กล่าวว่า “สายการบังคับบัญชาเป็นจุดกําเนิดของรูปองค์การแบบระบบราชการ โดยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลในการบริหารและการดําเนินงานขององค์การขนาดใหญ่”

82 การปฏิบัติงานในองค์การนั้น มักจะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาเสมอ ทั้งนี้ให้นักศึกษาพิจารณาว่า สาเหตุของความขัดแย้งนั้น อาจเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด

(1) ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่เข้าใจลักษณะการทํางานของหน่วยงานฝ่ายที่ปรึกษา และไม่พอใจว่าเข้าไปก้าวก่ายในงานของตน

(2) ฝ่ายหน่วยงานหลักคิดว่าฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาคอยจ้องจับผิดและตรวจสอบการทํางานไปเสนอผู้บังคับบัญชา

(3) ฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษามักดูถูกฝ่ายงานหลักว่าด้อยค่าในทางสติปัญญา

(4) ฝ่ายที่ปรึกษาอาจให้คําปรึกษาชนิดที่นําไปปฏิบัติไม่ได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 204 ทุกข้อเป็ นสําเหตุของความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษานอกจากนี้ความขัดแย้งยังมีสาเหตุมาจาก

1 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่เชื่อคําแนะนําที่มาจากฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษา โดยฝังใจว่าเป็นคําแนะนําจากนักวิชาการที่มิได้ลงมือปฏิบัติหรือเผชิญกับปัญหาอย่างแท้จริง

2 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่พอใจว่าฝ่ายให้คําปรึกษามักได้รับมอบหมายหน้าที่ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ โดยผู้รับผิดชอบคือฝ่ายนําไปปฏิบัติ

3 ฝ่ายหน่วยงานหลักอิจฉาฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาว่ามีความใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นหรือนิจฉัยสั่งการของผู้บังคับบัญชา

4 ฝ่ายหน่วยงานหลักไม่พอใจที่จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานจากแบบที่ตนเคยชิน

5 ฝ่ายหน่วยงานที่ปรึกษาไม่พอใจในสถานะของตนว่าไม่มั่นคงและไม่มีความสําคัญเท่าฝ่ายหน่วยงานหลัก

83 สายการบังคับบัญชาหมายถึงอะไร

(1) ขั้นตอนในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทําความผิด โดยมีโทษตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง

(2) ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ

(3) สัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความอย่างไม่เป็นทางการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในตําแหน่งงานอย่างเป็นทางการ

(4) เป็นความหมายอย่างเดียวกับ “ช่วงการควบคุม”

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การแต่ละ หน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร

84 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Direct Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) มีลักษณะเป็น Formal Process

(4) เป็น Authority to Command

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 202 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) เป็นอํานาจหน้าที่ตามกระบวนการที่เป็นทางการ (Formal Process) หรือเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) ซึ่งเป็น อํานาจหน้าที่ในการสั่งการ (Authority/Power to Command) โดยตรง (Direct Line)จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักของ Scalar Principle

85 แผนภูมิเกี่ยวกับ “ หน้าที่การงาน คืออะไร

(1) คือ Process Chart

(2) คือ Work Flow Chart

(3) คือ Functional Chart

(4) คือ Physical Layout

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 215 ประเภทของแผนภูมิหรือแผนผังขององค์การ มีดังนี้

1 แผนภูมิขององค์กรทั้งหมด (Ovel-All Organization Chart) คือ ภาพสําหรับแสดงโครงสร้างทั้งหมดขององค์การ เช่น แสดงกิจกรรม การแบ่งงาน ผู้รับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ สายการบังคับบัญชา เป็นต้น

2 แผนภูมิเกี่ยวกับหน้าที่การงาน (Functional Chart) คือ แผนภูมิที่จัดทําขึ้นเพื่อความสะดวกแก่การเข้าใจในกิจกรรมขององค์การ

3 แผนภูมิแสดงสถานที่ทําการ (Space and Physical Layout) คือ แผนผังที่แสดงว่าที่ทําการหรือห้องทํางานต่าง ๆ ในองค์การอยู่ที่ใดบ้าง

4 แผนภูมิแสดงความเคลื่อนไหวของงาน (Process or Work Flow Chart) คือ แผนภูมิที่แสดงว่างานชนิดต่าง ๆ นั้นเริ่มจากผู้ใด ยุติลงที่ผู้ใด และมีการเคลื่อนไหวไปอย่างใด

86 รูปแบบขององค์การที่เป็นแบบใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ คือองค์การแบบใด

(1) แบบ The Simle Structure

(2) แบบ The Machine Bureaucracy

(3) แบบ The Adhocracy

(4) แบบ The Project Structure

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 211 องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy) เป็นรูปแบบขององค์การที่มีลักษณะใหญ่โตมโหฬารเหมือนระบบราชการ และเป็นแบบระบบราชการ ในอุดมคติของ Max Weber ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นองค์การที่มีการแบ่งแยกหน้าที่ , ตามความชํานาญพิเศษอย่างมาก

2 มีลักษณะเป็นทางการสูงในการปฏิบัติงาน

3 มีกฎระเบียบมากมาย

4 รวมอํานาจการตัดสินใจไว้ส่วนกลางค่อนข้างมาก ฯลฯ

87 หน่วยงานในองค์การที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรืออาจเรียกว่าเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหมนั้น เรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานประเภทใด

(1) Compact Agency

(2) Staff Agency

(3) Lire Agency

(4) Contingency Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

88 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการแบ่งแยกหน่วยงานต่าง ๆ จากกันเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะต่าง ๆได้อยางเหมาะสม ดังนั้นจึงสามารถแยกประเภทของหน่วยงานตามลักษณะของการปฏิบัติงานในองค์การ ได้เป็นประเภทอะไรบ้าง

(1) Line Agency

(2) Staff Agency

(3) Auxiliary Agency

(4) House-Keeping Agency

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72  ประกอบ

89 อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหลัก (Line Agency) มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็น Direct Line

(2) เป็นไปตามหลัก Scalar Principle

(3) มีลักษณะเป็น Formal Process

(4) เป็น Authority to Command

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

90 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก

(2) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก

(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

91 การกระจายอํานาจคืออะไร

(1) การที่ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การมีโอกาสตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น

(2) การลดบทบาทผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะการตัดสินใจ

(3) Centralization

(4) คือการทําให้เกิดเอกภาพในการปกครองและบริหาร

(5) คือการทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

ตอบ 1 หน้า 168 169 การกระจายอํานาจในองค์การ (Decentralization of Authority) หมายถึง ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจ กระทําโดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการ ตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

92 การกระจายอํานาจในองค์การคืออะไร

(1) Centralization of Authority

(2) Decentralization of Authority

(3) Reconstruction of Power

(4) Deconstruction of Authority

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ คืออะไร

(1) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดังสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น

(2) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร

(3) ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

(4) เพิ่มอํานาจการตัดสินใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้

1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูงทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น

2 เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการ ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว

3 ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

4 มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มี ความสามารถ ทักษะ และฝึกฝนการตัดสินใจด้วย

5 โอกาสของการเติบโตหรือ ขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

94 Specialization คืออะไร

(1) ความเหลื่อมล้ำในการทํางาน

(2) การแบ่งแยกงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน

(3) การทํางานซ้ำซ้อน

(4) ความสิ้นเปลืองในงบประมาณที่ไม่มีการวางแผนก่อน

(5) ศิลปะในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ตอบ 2 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําตามความสามารถหรือความชํานาญพิเศษเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกยภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมาย ให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การได้วางไว้

95 Formal Authority คือ

(1) อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการที่มีการกําหนดไว้แก่ตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

(2) อํานาจของผู้บังคับบัญชาเฉพาะเรื่องการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา

(3) ระเบียบวินัยในหน่วยงานที่กําหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไว้

(4) การจัดสวัสดิการแก่พนักงาน

(5) การให้รางวัลดีเด่นแก่พนักงานอย่างเป็นทางการ

ตอบ 1 หน้า 147 อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Forma/Legal Authority) หรือที่เรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) นั้น ถือเป็นอํานาจของ องค์การที่จัดตั้งขึ้นอยางมีแบบแผนและเป็นทางการตามกฎหมาย โดยจะกําหนดไว้แก่ตําแหน่ง ต่าง ๆ ในองค์การ ซึ่งมีลักษณะที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงสุดขององค์การ รวมทั้งเป็นลักษณะ ของการมีแบบแผนที่ผู้บริหารได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Formal Position) ซึ่งอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการนี้ ถือเป็นอํานาจของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ในองค์การบริหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ธุรกิจเอกชน โรงพยาบาลสถาบันทางศาสนา ฯลฯ

96 วิธีการปรับปรุงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา ผู้บริหารควรทําอย่างใด

(1) สร้างความเข้าใจเรื่องการแบ่งงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ให้ชัดแจ้ง

(2) ให้ความสําคัญแก่ทั้งสองฝ่าย โดยไม่ลําเอียง รวมทั้งสนับสนุนทั้งสองฝ่ายในโอกาสอันควร

(3) ให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนตําเเหน่งระหว่างสองฝ่ายบ้าง จะได้ศึกษางานและการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน

(4) จัดให้สองฝ่ายได้ติดต่อกันเสมอ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 204 205 วิธีการปรับปรุงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา มีดังนี้

1 สร้างความเข้าใจเองการแบ่งงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ให้ชัดแจ้ง

2 ให้ความสําคัญแก่ทั้งสองฝ่ายโดยไมลําเอียง รวมทั้งสนับสนุนทั้งสองฝ่ายในโอกาสอันควร

3 ให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนตําแหน่งระหว่างสองฝ่ายบ้าง จะได้ศึกษางานและการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน

4 จัดให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อกันเสมอ ๆ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน

5 จัดให้ฝ่ายที่ปรึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากความรู้ความชํานาญเฉพาะด้านที่มีอยู่

97 ช่วงของการบังคับบัญชาคืออะไร

(1) Spean of Contrast

(2) Span of Supervision

(3) Power to Command

(4) Span of Ideas

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

98 ปัจจัยอะไรที่เป็นปัจจัยกําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(3) ประเภทของกิจกรรม

(4) ระดับขององค์การ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

  1. Informat Organ zation คืออะไร

(1) แผนภูมิขององค์การ

(2) องค์การอย่างไม่เป็นทางการ

(3) องค์การเอกชนทั้งหลาย

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 องค์การอย่างไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) เป็นองค์การที่มีความไม่แน่นอนในวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และระบบของความสัมพันธ์ภายใน มีการจัดการและมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ยืดหยุ่นได้ง่าย และยากที่จะระบุลักษณะเฉพาะ ลงไป การดําเนินการขององค์การประเภทนี้จึงไม่มีการกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าแน่นอน และไม่มีการระบุอํานาจหน้าที่และตําแหน่งของสมาชิก ตัวอย่างขององค์การอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การเดินขบวนประท้วงการกระทําของรัฐบาล การจัดทําสโมสรเพื่อน เป็นต้น

100 อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการในองค์การคืออะไร

(1) คือ อํานาจหน้าที่ที่ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงได้เสมอและอย่างรวดเร็ว

(2) คือ Unstable Authority

(3) คือ Situationalized Authority

(4) คือ Legal Authority

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

 

Advertisement