LAW1103 (LAW1003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1103 (LAW1003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเอกทําพินัยกรรมยกที่ดินที่มีข้อกําหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินให้แก่นายโท โดยไม่ได้ตั้งใจยกให้อย่างพินัยกรรมซึ่งจะเป็นมรดกตกทอดแก่นายโทต่อเมื่อนายเอกได้เสียชีวิตลง แต่กลับทําพินัยกรรมไปเพื่อปกปิดสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทําขึ้นระหว่างนายเอกและนายโท

ให้ท่านวินิจฉัยว่า พินัยกรรมและสัญญาซื้อขายที่ดินมีผลทางกฎหมายเป็นเช่นไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”

มาตรา 155 “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็น ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทําขึ้นเพื่ออําพรางนิติกรรมอื่น ให้นําบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาใช้บังคับ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกทําพินัยกรรมยกที่ดินที่มีข้อกําหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินให้แก่นายโทโดยไม่ได้ตั้งใจยกให้อย่างพินัยกรรมซึ่งจะเป็นมรดกตกทอดแก่นายโทต่อเมื่อนายเอก ได้เสียชีวิตลง แต่กลับทําพินัยกรรมไปเพื่อปกปิดสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทําขึ้นระหว่างนายเอกและนายโทนั้น จะเห็นได้ว่าในระหว่างนายเอกและนายโทนั้น ได้มีการทํานิติกรรมกัน 2 ฉบับ คือพินัยกรรม และสัญญาซื้อขายที่ดิน

พินัยกรรมซึ่งนายเอกได้ทําขึ้นนั้น เป็นนิติกรรมซึ่งคู่กรณีมิได้ต้องการให้มีผลผูกพันกันตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นนิติกรรมที่ทําขึ้นเพื่อต้องการปกปิดหรืออําพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งคือสัญญาซื้อขายที่ดิน ดังนั้น จึงถือว่าพินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงโดยการสมรู้ร่วมคิดกันในระหว่างคู่กรณีและมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง

ส่วนสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายเอกและนายโทนั้น แม้จะเป็นนิติกรรมที่คู่กรณีได้ทําขึ้นมา และต้องการให้มีผลผูกพันกันตามกฎหมาย และเป็นนิติกรรมที่ถูกอําพรางซึ่งตามมาตรา 155 วรรคสอง ได้กําหนด ให้มีผลใช้บังคับกันก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย ดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินจึงมีผลเป็นโมฆะเช่นเดียวกันตามมาตรา 150

สรุป พินัยกรรมและสัญญาซื้อขายที่ดินมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 2 นิติกรรมที่เป็นโมฆะมีความแตกต่างกับนิติกรรมที่เป็นโมฆยะ แต่ถูกบอกล้างในภายหลังหรือไม่

ธงคําตอบ

จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 172 วรรคสอง “ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นําบทบัญญัติว่า ด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ”

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “โมมียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน”

อธิบาย

จากหลักกฎหมายดังกล่าว นิติกรรมที่เป็นโมฆะจะมีความแตกต่างกับนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแต่ถูกบอกล้างในภายหลัง ดังนี้ คือ

นิติกรรมที่เป็นโมฆะ เป็นนิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลในกฎหมายที่จะเป็นนิติกรรมผูกนิติ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่ทําให้บุคคลใดหรือสิ่งใดเปลี่ยนแปลงฐานะไป คู่กรณียังคงอยู่ในฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้เข้าทํานิติกรรมแต่ประการใดเลย

และในกรณีที่ต้องมีการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะ คู่กรณีฝ่ายที่ได้โอนรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่เขาไปนั้น ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้

ตัวอย่าง ก. และ ข. ได้ตกลงซื้อขายที่ดินกันแปลงหนึ่งในราคา 100,000 บาท โดยทั้งสอง ได้ทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ก. และ ข. ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้กระทําตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ดังนี้ ก. จะบังคับให้ ข. ส่งมอบที่ดินหรือโอน ที่ดินให้แก่ ก. ไม่ได้ และ ข. ก็จะบังคับให้ ก. ชําระราคาค่าซื้อขายที่ดินให้แก่ ข. ไม่ได้เช่นกัน

ในกรณีที่ ก. ได้ชําระราคาค่าที่ดินให้แก่ ข. แล้ว ดังนี้ ก. ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ ข. คืนเงิน ให้แก่ตนได้ หรือถ้า ข. ได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ ก. แล้ว ข. ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินคืนจาก ก. ได้ โดยอาศัย หลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ตามมาตรา 406

ส่วนนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เป็นนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่อาจถูกบอก ล้างให้ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตามกฎหมายหรือเสียเปล่าได้

นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้น เมื่อมีการบอกล้างแล้วกฎหมายให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น ถ้ามีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันก็ต้องมีการคืนทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าเป็น การพ้นวิสัยไม่อาจคืนทรัพย์สินนั้นได้ เช่น ทรัพย์สินที่จะต้องส่งคืนนั้นสูญหายหรือบุบสลายไป ฝ่ายที่ต้องส่งคืน นั้นก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีฝ่ายที่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์สินนั้น

ตัวอย่าง ก. ทํากลฉ้อฉลเอาแหวนทองเหลืองมาหลอกขายให้ ข. โดยหลอกลวงว่าเป็นแหวนทองคํา เมื่อ ข. รู้ความจริงจึงบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่เป็นโมฆียะ ดังนี้ ก. ก็ต้องใช้เงินราคาแหวนที่รับไปคืน ให้ ข. และ ข. ก็ต้องคืนแหวนทองเหลืองให้ ก. หรือถ้าคืนไม่ได้ เช่น เป็นเพราะแหวนทองเหลืองนั้นสูญหายไป แล้ว ดังนี้ ข. ก็ต้องชดใช้ราคาแหวนทองเหลืองนั้นให้แก่ ก. ตามราคาของแหวนทองเหลือง

 

ข้อ 3 นายกลมได้ทําสัญญากู้เงินจากนายแบนจํานวนหนึ่งแสนบาท เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 มีกําหนด ชําระคืนภายในวันที่ 20 มกราคม 2551 โดยนายกลมได้นําที่ดินหนึ่งแปลงราคา 1 ล้านบาท ไปจดทะเบียนจํานองที่สํานักงานที่ดิน เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ นายกลมไม่นําเงินไปชําระ นายแบน ได้ทวงถามตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งคดีขาดอายุความไปแล้ว นายแบน ได้นําคดีไปฟ้องศาลบังคับจํานองโดยให้นําที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายทอดตลาด แล้วนําเงินมา ชําระหนี้ให้แก่ตน นายกลมต่อสู้ว่าหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว นายแบนจะนําคดีมาฟ้องศาล บังคับจํานองไม่ได้ ดังนี้ อยากทราบว่าข้อต่อสู้ของนายกลมฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/27 “ผู้รับจํานอง ผู้รับจํานํา ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่จํานอง จํานํา หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิ เรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชําระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกลมได้ทําสัญญากู้เงินจากนายแบนจํานวน 100,000 บาท โดยนายกลมได้นําที่ดินหนึ่งแปลงราคา 1 ล้านบาทไปจดทะเบียนจํานองไว้ และเมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ นายกลม ไม่นําเงินไปชําระ จนกระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งคดีขาดอายุความไปแล้ว นายแบนได้นําคดีไปฟ้องศาล บังคับจํานองโดยให้นําที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายทอดตลาดนั้น กรณีดังกล่าวนี้ แม้ว่าสิทธิในการเรียกร้องเงินกู้ ที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่นายแบนเจ้าหนี้ผู้รับจํานองก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับชําระหนี้ เอาจากที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จํานองได้ตามมาตรา 193/27 เพราะนายแบนไม่ได้ฟ้องให้นายเอกชําระหนี้เงินกู้ แต่อย่างใด ดังนั้น การที่นายกลมต่อสู้ว่าหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว นายแบนจะนําคดีมาฟ้องศาลบังคับจํานอง ไม่ได้นั้น ข้อต่อสู้ของนายกลมจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้อต่อสู้ของนายกลมฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 4 นายหมูแดงได้ตกลงซื้อน้ำตาลทรายจากนายหมูกรอบจํานวน 100 กระสอบ ในราคากระสอบละ 700 บาท เป็นเงินจํานวน 70,000 บาท นายหมูกรอบได้คัดเลือกน้ำตาลทรายแยกออกมาเรียบร้อยแล้วและได้ฝากน้ำตาลทรายจํานวนดังกล่าวไว้กับนายหมูกรอบก่อนและจะมารับเอาน้ำตาลทรายไป ในวันที่ 25 ตุลาคม 2560 พร้อมทั้งชําระเงินค่าน้ำตาลทราย ปรากฏว่าวันที่ 23 ตุลาคม 2560 ได้เกิดฟ้าผ่าไฟไหม้โกดังเก็บน้ำตาลทรายของนายหมูกรอบเสียหายทั้งหมด รวมทั้งน้ำตาลทรายของนายหมูแดงที่ฝากไว้ด้วย นายหมูกรอบจึงไม่สามารถส่งมอบน้ำตาลทรายให้แก่นายหมูแดงได้ ตามสัญญา เช่นนี้ นายหมูแดงต้องชําระเงินค่าน้ำตาลทรายให้แก่นายหมูกรอบหรือไม่ เพียงใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 370 วรรคหนึ่ง “ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่งและทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้

ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายหมูแดงได้ตกลงซื้อน้ำตาลทรายจากนายหมูกรอบจํานวน 100 กระสอบ ในราคากระสอบละ 700 บาท เป็นเงินจํานวน 70,000 บาท โดยนายหมูกรอบได้คัดเลือกน้ำตาลทรายแยกออกมาเรียบร้อยแล้ว และได้ฝากน้ำตาลทรายจํานวนดังกล่าวไว้กับนายหมูกรอบก่อนและจะมารับเอาน้ำตาลทรายไป ในวันที่ 25 ตุลาคม 2560 พร้อมทั้งชําระเงินค่าน้ำตาลทรายนั้น สัญญาซื้อขายระหว่างนายหมูแดงและนายหมูกรอบ ถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการโอนทรัพย์สินในทรัพย์เฉพาะสิ่ง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่า หลังจากที่ได้ทําสัญญากันเรียบร้อยแล้วได้เกิดฟ้าผ่าไฟไหม้โกดังเก็บน้ำตาลทรายเสียหายไปทั้งหมด ย่อมถือว่า เป็นกรณีที่ทรัพย์เฉพาะสิ่งอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายหรือเสียหายไปด้วยเหตุอันจะโทษนายหมูกรอบลูกหนี้(ในอันที่จะต้องส่งมอบน้ำตาลทราย) มิได้ การสูญหรือเสียหายนั้นย่อมตกเป็นพับแก่นายหมูแดงเจ้าหนี้ (ในอันที่จะ ได้รับมอบน้ำตาลทราย) ตามมาตรา 370 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น ถึงแม้ว่านายหมูกรอบจะไม่สามารถส่งมอบน้ำตาลทรายให้แก่นายหมูแดงได้ นายหมูแดง ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องชําระเงินค่าน้ำตาลทรายจํานวน 70,000 บาทให้แก่นายหมูกรอบตามสัญญา

สรุป นายหมูแดงต้องชําระเงินค่าน้ำตาลทรายจํานวน 70,000 บาทให้แก่นายหมูกรอบ

LAW1103 (LAW1003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1103 (LAW1003) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายสมชายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งขอกู้เงินจากนายสมหมายจํานวน 300,000 บาท นายสมหมายไม่มีเงินในขณะนั้นจึงให้นายสมชายจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้นายสมหมาย เพื่อนายสมหมายจะได้นําโฉนดที่ดินไปแสดงกับเพื่อนและยืมเงินจากเพื่อนมาให้นายสมชายกู้ต่อไป

นายสมชายจึงทําหนังสือและจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้นายสมหมาย โดยนายสมหมายไม่ได้ชําระราคาที่ดินในวันนั้น เพียงแต่นัดให้นายสมชายไปรับเงินที่บ้านนายสมหมายหลังจากนั้นอีก 3 วัน เมื่อถึงวันนัดนายสมหมายให้นายสมชายทําสัญญาขายฝากที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นให้นายสมหมาย ยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง โดยไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีข้อตกลง ไถ่ถอนคืนภายใน 3 ปี และกําหนดให้นายสมชายชําระดอกเบี้ยให้นายสมหมายเดือนละ 10,000 บาท พร้อมกับส่งมอบเงินจํานวน 300,000 บาทให้กับนายสมชาย หลังจากนั้นนายสมชายชําระดอกเบี้ย ทุก ๆ เดือน และนําเงินมาไถ่ที่ดินคืนจากนายสมหมาย แต่นายสมหมายไม่ยอมให้นายสมชาย ไถ่ที่ดินคืน อ้างว่านายสมชายได้ขายที่ดินนั้นให้แก่ตนเด็ดขาดแล้วมิได้ขายฝากที่ดินนั้น ให้วินิจฉัยว่า นายสมชายจะฟ้องบังคับให้นายสมหมายคืนที่ดินให้แก่ตนได้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 152 “การใดมิได้ทําให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ”

มาตรา 155 “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็น ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่ง ทําขึ้นเพื่ออําพรางนิติกรรมอื่น ให้นําบทบัญญัติของ

กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาใช้บังคับ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมชายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายสมหมาย โดยที่นายสมหมายไม่ได้ชําระราคา เพียงแต่นัดให้นายสมชายไปรับเงินหลังจากนั้น อีก 3 วัน และในวันนัดนั้นนายสมหมายได้ให้นายสมชายทําหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินให้อีกฉบับหนึ่งโดยไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จะเห็นได้ว่าระหว่างนายสมชายและนายสมหมายได้มี การทํานิติกรรมกัน 2 ฉบับ ได้แก่

นิติกรรมอันแรก เป็นนิติกรรมซื้อขาย ซึ่งคู่กรณีได้ทําขึ้นมาแต่ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันกัน แต่อย่างใด แต่เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวงโดยการสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ดังนั้น นิติกรรม ซื้อขายที่ดินแม้จะได้ทําถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้ก็ตาม ก็มีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง

นิติกรรมอีกอันหนึ่ง เป็นนิติกรรมขายฝาก ซึ่งคู่กรณีได้ทําขึ้นมาและต้องการให้มีผลผูกพัน บังคับกันแต่ได้ปิดบังหรืออําพรางไว้ ซึ่งตามกฎหมายมาตรา 155 วรรคสอง ได้บัญญัติให้คู่กรณีต้องบังคับกันตาม นิติกรรมขายฝากซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอําพราง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นิติกรรมการขายฝากที่ดิน ดังกล่าว มิได้ทําให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกําหนด คือไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นิติกรรมขายฝากที่ดินจึงตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกันตามมาตรา 152

เมื่อนิติกรรมทั้งสองตกเป็นโมฆะ คู่กรณีจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้น นายสมชายจึงฟ้องบังคับให้นายสมหมายคืนที่ดินแปลงนั้นให้แก่ตนได้

สรุป นายสมชายฟ้องบังคับให้นายสมหมายคืนที่ดินแปลงนั้นให้แก่ตนได้

 

ข้อ 2 นายเอกทราบดีว่าที่ดินที่จะขายให้แก่นายโทตั้งอยู่ในบริเวณสํารวจเพื่อเวนคืน หากนายโททราบหรือเพียงแต่สงสัยว่าจะมีการเวนคืน นายโทจะไม่ยอมตกลงเข้าทําสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับนายเอกแน่นอนเพราะเงินค่าทดแทนที่จะได้รับจากการเวนคืนไม่คุ้มกับเงินจํานวนที่นายโทต้องชําระราคาที่ดินให้แก่นายเอก ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า การแสดงเจตนาทําสัญญาจะซื้อขายที่ดินของนายโทเพราะนายเอก ปิดบังข้อเท็จจริงดังกล่าวมีผลทางกฎหมายเป็นเช่นไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 159 วรรคหนึ่ง “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ”

มาตรา 162 “ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงหรือ คุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การนั้นจะเป็นกลฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้กระทําขึ้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในการทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างนายเอกกับนายโทนั้น การที่นายเอกได้ทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินที่จะขายให้แก่นายโทนั้น ตั้งอยู่ในบริเวณสํารวจเพื่อเวนคืน แต่นายเอกกลับจงใจ นิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัตินี้ให้แก่นายโททราบ ซึ่งหากนายโททราบหรือเพียงแต่สงสัยว่าจะมีการเวนคืน นายโทจะไม่ยอมตกลงเข้าทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับนายเอกแน่นอน ดังนั้น จึงถือว่าการแสดงเจตนาทําสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินของนายโทดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉลและเป็นกลฉ้อฉลโดยการวิ่งตามมาตรา 162 นิติกรรม หรือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างนายเอกกับนายโทดังกล่าว จึงมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง

สรุป การแสดงเจตนาทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของนายโทเพราะนายเอกปิดบังข้อเท็จจริงดังกล่าวมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 162 ประกอบมาตรา 159 วรรคหนึ่ง

 

ข้อ 3 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 นายกุ้งได้ทําสัญญากู้เงินจากนายหมึกเป็นจํานวน 1 ล้านบาท มีกําหนดชําระคืนภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 เมื่อหนี้ถึงกําหนด นายกุ้งไม่นําเงินมาชําระ นายหมึกได้ติดตามทวงถามด้วยวาจาตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 นายหมึก ได้ส่งจดหมายทวงถามเพื่อให้นายกุ้งชําระหนี้เงินที่กู้ยืมไป นายกุ้งก็ไม่นําเงินมาชําระให้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 นายกุ้งจึงได้นําเงินมาชําระให้บางส่วน จํานวนหนึ่งแสนบาท พร้อมทั้งได้นําที่ดินมาจํานองเพื่อเป็นประกันหนี้ส่วนที่เหลือดังกล่าว และได้นัดที่จะมาชําระหนี้ส่วนที่เหลือวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 แต่เมื่อถึงกําหนดนายกุ้งก็ไม่ได้นําเงินมาชําระให้ ต่อมานายหมึกจึงได้นําคดี มาฟ้องศาลในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อให้นายกุ้งชําระหนี้เงินกู้ที่เหลือ นายกุ้งต่อสู้ว่าคดี ขาดอายุความแล้ว แต่นายหมึกอ้างว่ายังไม่ขาดอายุความ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของนายกุ้ง ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/9 “สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด สิทธิ เรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ

มาตรา 193/10 “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”

มาตรา 193/14 “อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทําเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชําระหนี้ ให้บางส่วน ชําระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทําการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับ สภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง”

มาตรา 193/28 “การชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อย เพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชําระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม

บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็น หนังสือ หรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้”

มาตรา 193/30 “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกําหนดสิบปี”

มาตรา 193/35 “ภายใต้บังคับมาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพ ความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกําหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกุ้งได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายหมึกเป็นเงินจํานวน 1 ล้านบาท มีกําหนดชําระคืนภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 เมื่อหนี้ถึงกําหนดนายกุ้งไม่นําเงินมาชําระ อายุความจึงเริ่มนับ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546 และเนื่องจากการกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกําหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนําอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 คือ อายุความ 10 ปีมาใช้บังคับ ดังนั้นกรณีนี้อายุความ 10 ปี จะครบกําหนดในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เมื่อนายหมึกไม่ใช้สิทธิเรียกร้องภายในกําหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้อง ของนายหมึกที่มีต่อนายกุ้งลูกหนี้ย่อมเป็นอันขาดอายุความ นายหมึกย่อมไม่สามารถฟ้องร้องบังคับให้นายกุ้ง ชําระหนี้แก่ตนได้ และถ้านายหมึกฟ้องนายกุ้งให้ชําระหนี้ นายกุ้งย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชําระหนี้นั้นได้ตามมาตรา 193/9 และมาตรา 193/10

การที่นายกุ้งได้นําเงินมาชําระให้บางส่วน จํานวนหนึ่งแสนบาท พร้อมทั้งได้นําที่ดินมาจํานอง เพื่อเป็นประกันหนี้ส่วนที่เหลือดังกล่าวในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่นายกุ้งลูกหนี้รับสภาพหนี้ แก่นายหมึกเจ้าหนี้แต่อย่างใด เพราะกรณีที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) นั้น ต้องเป็นการกระทําก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ ดังนั้น การกระทําของนายกุ้ง จึงเป็นการรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 และเป็นการชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้ว

เมื่อนายกุ้งได้รับสภาพความรับผิดโดยการนําที่ดินมาจํานองเพื่อเป็นประกันหนี้ส่วนที่เหลือ ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามมาตรา 193/28 วรรคสอง และเมื่อการรับสภาพ ความรับผิดนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงใช้บังคับได้ โดยนายหมึกสามารถฟ้องให้นายกุ้งชําระหนี้ได้ แต่จะต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดนั้นตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/35 ซึ่งอายุความ 2 ปี จะครบกําหนดในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น เมื่อนายหมึกได้นําคดีมาฟ้องศาลในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งเป็นวันครบกําหนดอายุความ 2 ปีพอดี ข้อต่อสู้คดีของนายกุ้งที่ว่า คดีขาดอายุความแล้ว จึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้อต่อสู้ของนายกุ้งที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 4 นายหนึ่งทําสัญญาซื้อโลหะจากบริษัท สอง จํากัด ที่เป็นของนําเข้าจากต่างประเทศ โดยตกลงกัน ให้นายหนึ่งมีหน้าที่ขออนุญาตต่อราชการในการนําสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อโลหะที่นายหนึ่ง สั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย บริษัท สอง จํากัด ได้แจ้งให้นายหนึ่งดําเนินการขออนุญาต นําสินค้าเข้าในราชอาณาจักร แต่นายหนึ่งเพิกเฉยจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด

ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายหนึ่งต้องรับผิดชําระราคาโลหะที่ถูกยึดให้แก่บริษัท สอง จํากัด หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 219 วรรคหนึ่ง “ถ้าการชําระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชําระหนี้นั้น”

มาตรา 372 วรรคสอง “ถ้าการชําระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้ก็หาเสียสิทธิที่จะรับชําระหนี้ตอบแทนไม่…”

วินิจฉัย

สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้ขายและผู้ซื้อต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน ผู้ขายและผู้ซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องชําระตอบแทนกัน และถ้าการชําระหนี้ของลูกหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอันเกิดจากเจ้าหนี้และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เจ้าหนี้ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้น และแม้ว่าลูกหนี้ เป็นอันหลุดพ้นจากการชําระหนี้ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าหนี้ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องชําระหนี้ตอบแทน ให้แก่ลูกหนี้ตามมาตรา 372 วรรคสอง

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อปรากฏว่าบริษัท สอง จํากัด ผู้ขายในฐานะลูกหนี้ในการส่งมอบทรัพย์สิน ไม่สามารถส่งมอบโลหะให้แก่นายหนึ่งผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้ในการรับมอบโลหะได้ เพราะนายหนึ่งเพิกเฉยในการขออนุญาตต่อทางราชการในการนําโลหะเข้ามาในราชอาณาจักรจนถูกกรมศุลกากรยึด จึงถือว่าการชําระหนี้ของบริษัท สอง จํากัด ด้วยการนําเข้าโลหะเพื่อส่งมอบให้แก่นายหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษนายหนึ่งเจ้าหนี้ได้ นายหนึ่งจึงเป็นผู้ผิดสัญญา และนายหนึ่งต้องรับผิดชําระราคา โลหะที่ถูกยึดให้แก่บริษัท สอง จํากัด ตามมาตรา 372 วรรคสอง

สรุป นายหนึ่งต้องรับผิดชําระราคาโลหะที่ถูกยึดให้แก่บริษัท สอง จํากัด

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1102 (LAW 1002) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายอัครเดชเดินทางไปท่องเที่ยวที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในระหว่างที่นายอัครเดชกําลังเดินชมเมืองอยู่นั้น นายปอมเปได้เข้ามาขายพวงกุญแจที่ระลึกให้กับนายอัครเดชในราคา 3 ยูโร นายอัครเดช ตกลงซื้อพวงกุญแจอันหนึ่งแล้ว แต่ระหว่างนั้นไกด์ได้เรียกให้นายอัครเดชรีบขึ้นรถ นายอัครเดช จึงรีบเดินไปที่รถ นายปอมเปจึงตะโกนขึ้นบอกกับนายอัครเดชว่า “Pacta Sunt Servanda !!!” หลังจากนั้น นายอัครเดชได้มาปรึกษานักศึกษาว่า คําพูดที่นายปอมเปพูดมีความหมายว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวข้องกับมาตราใดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้นักศึกษาอธิบาย ความหมายและรายละเอียดของมาตราดังกล่าวมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

การที่นายปอมเปตะโกนขึ้นบอกกับนายอัครเดชว่า “Pacta Sunt Servanda” นั้น มีความหมายว่า “สัญญาต้องเป็นสัญญา” ซึ่งคําพูดนี้มีความเกี่ยวข้องกับมาตรา 4 วรรคสอง ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของการเป็นหลักกฎหมายทั่วไป โดยมาตรา 4 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า

“เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

กล่าวคือ เมื่อมีคดีหรือข้อพิพาทเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวไว้ (ซึ่งถือเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย) ให้ศาลวินิจฉัยตามลําดับ ดังนี้

1 ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หมายความว่า ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์ อักษรที่จะนํามาตัดสินคดีที่มาสู่ศาล ก็ให้ศาลนําเอาจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้แทนกฎหมายลายลักษณ์อักษร เพื่อวินิจฉัยตัดสินคดี ซึ่งจารีตประเพณีก็คือ ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานานจนบุคคลทั่วไปรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับที่จะนํามาใช้ได้ และมีผลเช่นเดียวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร นั่นเอง เช่น จารีตประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ จารีตประเพณีเกี่ยวกับการขนส่ง เป็นต้น

2 ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หมายความว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงหรือคดีเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร อีกทั้งไม่มี จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะนํามาใช้ในการวินิจฉัยคดีนั้นได้ ศาลก็ยังคงต้องวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดคดีโดยการอาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ซึ่งกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งนี้หมายถึงบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกฎหมายเดียวกัน ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง มิใช่กฎหมายอย่างอื่นที่มีลักษณะต่างกัน การขุดหลุมรับน้ำโสโครก หลุมรับปุ๋ย หรือหลุมรับขยะมูลฝอย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะขุดในระยะสองเมตร จากแนวเขตที่ดินไม่ได้ (มาตรา 1342) แต่หลุมที่รับกากสารเคมีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าขุดได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าในเรื่องการขุดหลุมรับกากสารเคมี มีเหตุผลที่ควรจะห้ามมิให้ขุดในระยะที่ใกล้เคียงกับแนวเขตที่ดิน เพราะอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่บุคคลที่อยู่ในที่ดินข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงนําเอามาตรา 1342 มาใช้เทียบเคียงกับการขุดหลุมรับกากสารเคมีได้ เป็นต้น

3 ในกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ให้วินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรณีนี้เป็นวิธีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งประการสุดท้าย หมายความว่า ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ไม่มีจารีตประเพณี และไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ศาลก็ต้องวินิจฉัยตัดสินคดีโดยให้นําเอาหลักกฎหมาย ทั่วไปมาใช้บังคับ ซึ่งหลักกฎหมายทั่วไปนี้อาจจะเป็นหลักกฎหมายดั้งเดิมของกฎหมายโรมัน หรือสุภาษิตของ กฎหมายหรืออาจจะเป็นหลักกฎหมายที่นานาอารยประเทศยอมรับและใช้ปฏิบัติกันทั่วไปก็ได้ เช่น สัญญาต้อง เป็นสัญญา ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเกิดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งขึ้น ศาลจะต้องใช้หลักในการอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย ตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เพื่อวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้น จะยกฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนํามาวินิจฉัยไม่ได้

 

ข้อ 2 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 นายจอนนี่เดินทางไปรัฐเคนทักกี้ สหรัฐอเมริกา เพื่อเอาของขวัญ ปีใหม่ไปมอบให้นายหลุยส์เพื่อนสนิทที่ได้ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2564 ระหว่างที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ขับรถชมวิวอยู่ในรัฐนั้นได้เกิดพายุทอร์นาโดหลายลูก ความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง แล่นผ่านบริเวณที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ขับรถชมวิวอยู่ พายุนี้ ส่งผลให้รถที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ขับอยู่ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ พังพินาศ หลังพายุสงบเจ้าหน้าที่จึงเริ่มออกค้นหาผู้บาดเจ็บและผู้รอดชีวิตในใต้ซากปรักหักพักที่กองทับกันขนาดใหญ่

ส่วนนายจอนนี่และนายหลุยส์ได้หายไปไม่มีใครพบศพของคนทั้งสอง ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม 2565 นายนิกกี้พบนายหลุยส์ที่ประเทศแคนนาดากําลังฉลองอยู่ในงานเลี้ยงปีใหม่ แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายหลุยส์ส์อีกเลย

ให้วินิจฉัยว่า การหายไปของนายจอนนี่และนายหลุยส์นั้นเป็นการสาบสูญหรือไม่ เมื่อใดที่นางแอนนี่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจอนนี่ และนางบีน่าภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหลุยส์ จะสามารถไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้สามีเป็นคนสาบสูญได้ เพราะเหตุใด

จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 61 กรณีที่บุคคลจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนสาบสูญนั้น ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นได้หายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และได้หายไปจนครบกําหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และผู้ที่มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลได้นั้นต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสียด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของนายจอนนี่

ระหว่างที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ได้ขับรถชมวิวอยู่นั้น ได้เกิดพายุทอร์นาโดหลายลูก ความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมงแล่นผ่านบริเวณที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ขับรถชมวิวอยู่ ส่งผลให้รถที่นายจอนนี่และนายหลุยส์ขับอยู่ ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ พังพินาศ หลังพายุสงบนายจอนนี่และนายหลุยส์หายไปไม่มีใครพบศพของคน ทั้งสองนั้น กรณีของนายจอนนี่ย่อมถือว่านายจอนนี่ได้สูญหายไปกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) โดย ถือว่าเริ่มหายไปนับตั้งแต่วันที่ยานพาหนะที่นายจอนนี่เดินทางได้สูญหายไปหรือถูกทําลาย คือวันที่ 11 ธันวาคม 2564 และจะครบกําหนด 2 ปี ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ดังนั้น นางแอนนี่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ นายจอนนี่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมสามารถไปใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายจอนนี่ เป็นคนสาบสูญได้ โดยสามารถเริ่มใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

กรณีของนายหลุยส์

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 2 มกราคม 2555 นายนิกกี้ได้พบนายหลุยส์ที่ประเทศแคนนาดา กําลังฉลองอยู่ในงานเลี้ยงปีใหม่ แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายหลุยส์อีกเลย กรณีของนายหลุยส์จึง ถือว่าเป็นการหายไปในกรณีธรรมดาตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง และถือว่าจะครบกําหนด 5 ปี (โดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ได้ข่าวหรือพบเห็นนายหลุยส์ครั้งสุดท้าย) ในวันที่ 2 มกราคม 2570 ดังนั้น นางบีน่าภรรยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายหลุยส์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงสามารถไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อร้องขอให้ศาลสั่งให้นายหลุยส์ เป็นคนสาบสูญได้ โดยสามารถเริ่มใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2570 เป็นต้นไป

สรุป

การหายไปของนายจอนนี่ถือเป็นการหายไปในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) ซึ่งนางแอนนี่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจอนนี่สามารถไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้สามี เป็นคนสาบสูญได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

ส่วนการหายไปของนายหลุยส์ ถือเป็นการหายไปในกรณีธรรมดาตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง ซึ่งนางบีน่าภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหลุยส์สามารถไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้สามี เป็นคนสาบสูญได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2570 เป็นต้นไป

 

ข้อ 3 บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ ทํานิติกรรมจะเกิดผลในทางกฎหมายอย่างไร

(1) หนึ่ง อายุย่างเข้าสิบห้าปี ได้รับอนุญาตจากนายสองผู้แทนโดยชอบธรรม ให้ทําพินัยกรรมขึ้นหนึ่งฉบับ กําหนดว่าเมื่อหนึ่งถึงแก่ความตายให้ยกเงินของหนึ่งซึ่งฝากไว้ในธนาคารให้แก่นางดําซึ่งเป็นยายของตนเป็นจํานวนหนึ่งล้านบาท

(2) นายสาม คนไร้ความสามารถ ได้รับอนุญาตจากนางสี่ผู้อนุบาล ให้ไปซื้ออาหารญี่ปุ่นร้านดัง ชุดละ 2,000 บาท จํานวน 1 ชุด

(3) นายห้า คนวิกลจริต ไปซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนายหกในขณะกําลังวิกลจริต แต่นายหกไม่ทราบว่านายห้ากําลังวิกลจริตกําลังคุ้มร้ายในราคาห้าแสนบาท

(4) นายเจ็ด คนเสมือนไร้ความสามารถ ให้นายแปดเพื่อนรักยืมนาฬิกาหรูมูลค่าสามสิบล้านบาท ไปเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยนายแดงผู้พิทักษ์ไม่ได้รู้เห็นด้วยแต่อย่างใด

การทําพินัยกรรมของหนึ่ง การไปซื้ออาหารญี่ปุ่นของนายสาม การไปซื้อรถยนต์ของนายห้า และการให้เพื่อนยืมนาฬิกาของนายเจ็ด มีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อม ยกหลักกฎหมายประกอบคําอธิบายโดยครบถ้วน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 25 “ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์”

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 1703 “พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทําขึ้นนั้นเป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

(1) ตามมาตรา 25 นั้น กฎหมายได้บัญญัติให้ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ หากผู้เยาว์ทําพินัยกรรมโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว พินัยกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ เสมือนว่ามิได้มีการ ทําพินัยกรรมนั้นเลยตามมาตรา 1703

กรณีตามปัญหา การที่หนึ่ง อายุย่าง 15 ปี ได้ทําพินัยกรรมขึ้นหนึ่งฉบับ กําหนดว่าเมื่อหนึ่ง ถึงแก่ความตายให้ยกเงินของหนึ่งซึ่งฝากไว้ในธนาคารให้แก่นางดําซึ่งเป็นยายของตนเป็นจํานวน 1 ล้านบาทนั้น แม้หนึ่งจะได้ทําพินัยกรรมโดยได้รับอนุญาตจากนายสองผู้แทนโดยชอบธรรมก็ตาม แต่เมื่อหนึ่งผู้เยาว์ได้ทําพินัยกรรมในขณะที่มีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 25 ดังนั้น พินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1703

(2) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ (นิติกรรมที่เกี่ยวกับคนไร้ความสามารถต้องให้ผู้อนุบาลทําแทน)

กรณีตามปัญหา การที่นายสามคนไร้ความสามารถได้ทํานิติกรรมโดยไปซื้ออาหารญี่ปุ่น ร้านดัง ชุดละ 2,000 บาท จํานวน 1 ชุด แม้การทํานิติกรรมดังกล่าวของนายสามจะได้รับความยินยอมจากนางสี่ ผู้อนุบาลก็ตาม นิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

(3) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

กรณีตามปัญหา การที่นายห้าคนวิกลจริตได้ไปซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนายหกในขณะที่กําลังวิกลจริตอยู่ เมื่อนายหกไม่ทราบว่านายห้าเป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการซื้อรถยนต์ดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

(4) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์ อันมีค่า คนเสมือนไร้ความสามารถจะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

กรณีตามปัญหา การที่นายเจ็ดคนเสมือนไร้ความสามารถให้นายแปดเพื่อนรักยืมนาฬิกาหรู มูลค่า 30 ล้านบาท ไปเป็นเวลา 1 เดือน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายแดงผู้พิทักษ์นั้น เมื่อการให้ยืมนาฬิกา ดังกล่าวแม้จะมีมูลค่า 30 ล้านบาท ไม่ใช่เป็นการให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (เพราะมิใช่สังหาริมทรัพย์ที่ เมื่อมีการจําหน่ายจ่ายโอนกันจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) จึงเป็นนิติกรรมที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนตามมาตรา 34 (3) ดังนั้น นิติกรรมการให้เพื่อนยืมนาฬิกาของนายเจ็ด คนเสมือนไร้ความสามารถดังกล่าว จึงมีผลสมบูรณ์

สรุป

(1) การทําพินัยกรรมของหนึ่งมีผลเป็นโมฆะ

(2) การไปซื้ออาหารญี่ปุ่นของนายสามเป็นโมฆียะ

(3) การไปซื้อรถยนต์ของนายห้ามีผลสมบูรณ์

(4) การให้เพื่อนยืมนาฬิกาของนายเจ็ดมีผลสมบูรณ์

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1102 (LAW 1002) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ช่องว่างของกฎหมายคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายแพ่งต้องทําอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ช่องว่างแห่งกฎหมาย คือ กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนํามาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ กล่าวคือ ผู้ใช้กฎหมายหากฎหมายเพื่อนํามาปรับใช้แก่กรณีไม่พบนั่นเอง

โดยปกติช่องว่างแห่งกฎหมายเกิดจากการที่ผู้ร่างกฎหมายคิดไปไม่ถึงว่าจะมีช่องว่างในกฎหมาย อาจจะเป็นเพราะผู้ร่างกฎหมายไม่สามารถที่จะนึกถึงช่องว่างของกฎหมายนั้นได้ เพราะยังไม่มีเหตุการณ์อันทําให้ช่องว่างนั้นเกิดขึ้น

ซึ่งหลักในการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า

“เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้น ก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

กล่าวคือ เมื่อมีคดีหรือข้อพิพาทเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวไว้ ให้ศาลวินิจฉัยตามลําดับ ดังนี้

1 ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หมายความว่า ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์ อักษรที่จะนํามาตัดสินคดีที่มาสู่ศาล ก็ให้ศาลนําเอาจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้แทนกฎหมายลายลักษณ์อักษร เพื่อวินิจฉัยตัดสินคดี ซึ่งจารีตประเพณีก็คือ ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็น เวลานานจนบุคคลทั่วไปรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับที่จะนํามาใช้ได้ และมีผลเช่นเดียวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง เช่น จารีตประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ จารีตประเพณีเกี่ยวกับการขนส่ง เป็นต้น

2 ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หมายความว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงหรือคดีเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร อีกทั้งไม่มี จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะนํามาใช้ในการวินิจฉัยคดีนั้นได้ ศาลก็ยังคงต้องวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดคดีโดยการอาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ซึ่งกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งนี้หมายถึงบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกฎหมายเดียวกัน ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง มิใช่กฎหมายอย่างอื่นที่มีลักษณะต่างกัน เช่น การขุดหลุมรับน้ำโสโครก หลุมรับปุ๋ย หรือหลุมรับขยะมูลฝอย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะขุดในระยะสองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้ (มาตรา 1342) แต่หลุมที่รับกากสารเคมีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าขุดได้ หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในเรื่องการขุดหลุมรับภากสารเคมี มีเหตุผลที่ควรจะห้ามมิให้ขุดในระยะที่ใกล้เคียงกับแนวเขตที่ดิน เพราะอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่บุคคลที่อยู่ในที่ดินข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงนําเอามาตรา 1342 มาใช้เทียบเคียงกับการขุดหลุมรับกากสารเคมีได้ เป็นต้น

3 ในกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ให้วินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป

กรณีนี้เป็นวิธีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งประการสุดท้าย หมายความว่า ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์ อักษร ไม่มีจารีตประเพณี และไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ศาลก็ต้องวินิจฉัยตัดสินคดีโดยให้นําเอาหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับ ซึ่งหลักกฎหมายทั่วไปนี้อาจจะเป็นหลักกฎหมายดั้งเดิมของกฎหมายโรมัน หรือ สุภาษิตของกฎหมาย หรืออาจจะเป็นหลักกฎหมายที่นานาอารยประเทศยอมรับและใช้ปฏิบัติกันทั่วไปก็ได้ เช่น สัญญาต้องเป็นสัญญา ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเกิดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งขึ้น ศาลจะต้องใช้หลักในการอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย ตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เพื่อวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้น จะยกฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ที่จะนํามาวินิจฉัยไม่ได้

 

ข้อ 2 นายเดวิทและนางเด็บบี้ สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย หลังแต่งงานได้ไป ฮันนีมูนที่ประเทศฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2564 ปรากฏ ว่าเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 ทั้งสองคนได้ขับรถไปดูแสงเหนือช่วงกลางดึก ปรากฏว่าเจอพายุ หิมะพัดรถพลิกคว่ำปลิวหายไป หลังจากนั้นไม่มีใครพบนายเดวิทและนางเด็บบี้อีกเลย

ให้วินิจฉัยว่า

(1) นายเดฟบิดาของนายเดวิท จะไปร้องขอให้นายเดวิทเป็นคนสาบสูญได้หรือไม่ และหากได้จะ ไปใช้สิทธิทางศาลได้เมื่อใด เพราะเหตุใด

(2) นางสาวบานาน่า เจ้าหนี้ของนางเด็บบี้ จะไปร้องขอให้นางเด็บบี้เป็นคนสาบสูญได้หรือไม่ และหากได้จะไปใช้สิทธิทางศาลได้เมื่อใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไป ในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 61 กรณีที่บุคคลจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนสาบสูญนั้น ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นได้หายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่และได้หายไปจนครบกําหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และผู้ที่มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลได้นั้นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเดวิทและนางเด็บบี้ สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตาม กฎหมายได้ไปฮันนีมูนที่ประเทศฟินแลนด์ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2564 และ ปรากฏว่าในวันที่ 5 กันยายน 2564 ทั้งสองคนได้ขับรถไปดูแสงเหนือช่วงกลางดึก และปรากฏว่าเจอพายุหิมะ พัดรถพลิกคว่ำปลิวหายไป หลังจากนั้นไม่มีใครพบนายเดวิทและนางเด็บบี้อีกเลยนั้น ถือเป็นการสูญหายไปใน กรณีพิเศษ ตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) และเมื่อปรากฏว่าทั้งสองได้หายไปตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2564 จําหนดระยะเวลา 2 ปี จึงครบกําหนดในวันที่ 5 กันยายน 2566 และถ้าผู้มีส่วนได้เสียจะไปร้องขอต่อศาล เพื่อให้ทั้งสองเป็นคนสาบสูญก็สามารถที่จะใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

ส่วนการที่นายเดฟบิดาของนายเดวิท และนางสาวบานาน่าเจ้าหนี้ของนางเด็บบี้ จะไปร้องขอให้ นายเดวิทและนางเด็บบี้เป็นคนสาบสูญได้หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) เมื่อนายเดฟเป็นบิดาของนายเดวิท ย่อมถือว่านายเดฟเป็นผู้มีส่วนได้เสียของนายเดวิท เพราะนายเดฟเป็นผู้มีสิทธิหรือได้รับสิทธิต่าง ๆ หากศาลได้สั่งให้นายเดวิทเป็นคนสาบสูญ ดังนั้น นายเดฟ จึงสามารถไปร้องขอเพื่อให้ศาลสั่งให้นายเดวิทเป็นคนสาบสูญได้ โดยสามารถไปใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

(2) เมื่อนางสาวบานาน่าเป็นเพียงเจ้าหนี้ของนางเด็บบี้ จึงไม่ถือว่านางสาวบานาน่าเป็นผู้มีส่วน ได้เสียของนางเด็บบี้ เนื่องจากการเป็นเจ้าหนี้นั้นเป็นเพียงผู้มีส่วนได้เสียในประโยชน์ของลูกหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในประโยชน์อันเกิดจากความตายของผู้เป็นลูกหนี้ ดังนั้น นางสาวบานาน่าจึงไม่สามารถที่จะไปร้องขอให้นางเด็บบี้เป็นคนสาบสูญได้

สรุป

(1) นายเดฟบิดาของนายเดวิทสามารถไปร้องขอให้นายเดวิทเป็นคนสาบสูญได้ โดยสามารถ ใช้สิทธิทางศาลได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

(2) นางสาวบานาน่าจะไปร้องขอให้นางเด็บบี้เป็นคนสาบสูญไม่ได้

 

ข้อ 3 บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ทํานิติกรรมโดยลําพัง จะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(1) นายแว่นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้เพื่อนยืมช้างซึ่งมีมูลค่า 1 ล้านบาท ไปลากซุง โดยไม่ได้ขออนุญาตจากใคร

(2) เด็กชายพาวเวอร์ไปซื้อจักรยานมือสองเพื่อขี่ไปโรงเรียนในราคา 500 บาท โดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครอง

(3) นายโยโย่คนวิกลจริตไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์จากร้านนายโกโก้ในขณะวิกลจริต แต่นายโกโก้ไม่ทราบว่านายโยโย่วิกลจริต

(4) นายโอริโอ้คนไร้ความสามารถได้รับอนุญาตจากนางโอเล่ผู้อนุบาลให้ไปซื้อทีวีดูช่วงกักตัว ในราคา 9,999 บาท จากนายอมยิ้ม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอัน จําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริต กลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน แล้วจึงจะ ทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา วินิจฉัยได้ดังนี้คือ

(1) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์ อันมีค่า คนเสมือนไร้ความสามารถจะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

กรณีตามปัญหา การที่นายแว่นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ให้เพื่อนยืมช้างไปลากซุงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์นั้น เมื่อการให้ยืมช้างดังกล่าว ถือเป็นกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (สังหาริมทรัพย์ที่เมื่อมีการจําหน่ายจ่ายโอนกันจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) และเป็นนิติกรรมที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนตามมาตรา 34 (3) ดังนั้น เมื่อนายแว่นให้เพื่อนยืมช้างไปลากซุงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ นิติกรรมการให้เพื่อนยืมช้างไปลากซุงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะ

(2) โดยหลัก ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทําขึ้นจะตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายกําหนดให้ ผู้เยาว์สามารถทําเองได้โดยลําพังตนเองและมีผลสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว นิติกรรมที่ จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ หรือนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใด อันหนึ่ง เป็นต้น

กรณีตามปัญหา การที่เด็ การที่เด็กชายพาวเวอร์ไปซื้อจักรยานมือสองเพื่อไปโรงเรียนในราคา 500 บาท โดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองนั้น เป็นกรณีที่เด็กชายพาวเวอร์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ทํานิติกรรมตาม มาตรา 24 คือเป็นนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร ของผู้เยาว์ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 21 ที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองโดยไม่ต้องขอความยินยอม จากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายของเด็กชายพาวเวอร์จึงมีผลสมบูรณ์

(3) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

กรณีตามปัญหา การที่นายโยโย่คนวิกลจริตได้ไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์จากร้านนายโกโก้ในขณะที่ กําลังวิกลจริตอยู่ เมื่อนายโกโก้ไม่ทราบว่านายโยโย่เป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์จึง มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

(4) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ (นิติกรรมที่เกี่ยวกับคนไร้ความสามารถต้องให้ผู้อนุบาลทําแทน)

กรณีตามปัญหา การที่นายโอริโอ้คนไร้ความสามารถได้ทํานิติกรรมโดยไปซื้อทีวีราคา 9,999 บาทจากนายอมยิ้มนั้น แม้การทํานิติกรรมดังกล่าวของนายโอริโอ้จะได้รับความยินยอมจากนางโอเล่ ผู้อนุบาลก็ตาม นิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

สรุป

(1) การที่นายแว่นคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมช้างไปลากซุง มีผลเป็นโมฆียะ

(2) การที่เด็กชายพาวเวอร์ไปซื้อจักรยานมือสองเพื่อไปโรงเรียน มีผลสมบูรณ์

(3) การที่นายโยโย่คนวิกลจริตไปซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์ มีผลสมบูรณ์

(4) การที่นายโอริโอ้คนไร้ความสามารถไปซื้อทีวี มีผลเป็นโมฆียะ

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1102 (LAW 1002)หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 การตีความกฎหมายคืออะไร เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตีความกฎหมาย และการตีความกฎหมายแพ่งมีความแตกต่างกับการตีความกฎหมายอาญาอย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

“การตีความกฎหมาย” คือ การหยั่งทราบว่าถ้อยคําของตัวบทกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร และเหตุที่ต้องมีการตีความกฎหมายก็เพราะว่า ถ้อยคําของตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้มีความไม่ชัดเจนแน่นอน คือมีถ้อยคําที่กํากวมหรือมีความหมายได้หลายทาง จึงมีความจําเป็นต้องมีการตีความเพื่อหยั่งทราบว่าถ้อยคําของตัวบทกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร และเมื่อตีความกฎหมายได้แล้วก็จะได้นําเอากฎหมายนั้นไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่ต้องการวินิจฉัยได้ต่อไป

การตีความกฎหมายแพ่งและการตีความกฎหมายอาญา มีความแตกต่างกันดังนี้คือ

“หลักในการตีความกฎหมายแพ่ง” มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้กฎหมายแพ่ง ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ที่ได้บัญญัติว่า “กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ” กล่าวคือ จะต้องค้นหาความหมายของ บทบัญญัติของกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อม ๆ กัน จึงจะได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงของ กฎหมายนั้น โดยแยกได้ดังนี้ คือ

1 การตีความตามตัวอักษร ซึ่งจะต้องตีความทั้งศัพท์ธรรมดาที่มีความหมายเป็นธรรมดา ทั่วไป เช่น คําว่า บุตร บิดามารดา ฯลฯ และศัพท์เฉพาะที่มีความหมายทางเทคนิคหรือทางวิชาการ เช่น คําที่อยู่ ในตํารากฎหมายหรือบทความทางกฎหมาย ฯลฯ เพื่อจะได้ทราบความหมายของตัวอักษรเสียก่อน และ

2 การตีความตามเจตนารมณ์ เพื่อค้นหาความหมายอันแท้จริงของกฎหมายว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายอาจดูได้จากที่มา ตําแหน่งหรือหมวดหมู่ของกฎหมาย จากถ้อยคําของบทบัญญัตินั้น ๆ หรือดูจากสถานการณ์ในขณะบัญญัติกฎหมาย คําปรารภของกฎหมาย รวมถึงหลักการและเหตุผลในการเสนอ ร่างกฎหมายที่มีการบันทึกไว้ท้ายกฎหมายนั้น ๆ ด้วย ๆ

“หลักในการตีความกฎหมายอาญา” เนื่องจากกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทําหรืองดเว้นการกระทําใดเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายอาญาจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กล่าวคือ ต้องตีความเฉพาะการกระทําหรืองดเว้นการกระทําเท่าที่ระบุไว้ในกฎหมายเท่านั้น จึงจะเป็นความผิด ศาลจะตีความกฎหมายอาญาในทางขยายความไปเอาผิดกับการกระทําซึ่งไม่เป็นความผิดมาลงโทษไม่ได้ หรือจะตีความย้อนหลังไปลงโทษการกระทําซึ่งในขณะกระทําไม่เป็นความผิดมาลงโทษไม่ได้ และขณะเดียวกันศาลก็จะตีความไปเพิ่มโทษผู้กระทําความผิดให้รับโทษหนักขึ้นก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

ข้อ 2 นายเกล้าออกเดินทางจากบ้านที่จังหวัดราชบุรีไปติดต่องานที่ประเทศดูไบ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 เข้าเมืองประทับตราวีซ่าในพาสปอร์ตลงวันที่ 3 ตุลาคม 2560 และได้เข้าไปติดต่องานกับบริษัทแห่งหนึ่งในวันที่ 10 ตุลาคม 2560 และได้เกิดเหตุโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายทําให้ตึกที่นายเกล้าไปติดต่องานเกิดถล่มลงมาในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 หลังจากนั้นไม่มีใครพบนายเกล้า อีกเลย จนกระทั่งนางวี (ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย) ได้มาปรึกษาท่านซึ่งเป็นนักกฎหมายว่า จะมีสิทธิไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญได้หรือไม่

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเกล้าถึงแก่ความตายเมื่อใด และนางวีจะมีสิทธิไปใช้สิทธิทางศาลได้ หรือไม่ เมื่อใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

มาตรา 62 “บุคคลซึ่งศาลได้มีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกําหนด ระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61

วินิจฉัย

ตามมาตรา 61 กรณีที่บุคคลจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนสาบสูญนั้น ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นได้หายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และได้หายไปจนครบกําหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และผู้ที่มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลได้นั้นต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสียด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเกล้าออกเดินทางจากบ้านที่จังหวัดราชบุรีไปติดต่องานที่ประเทศดูไบ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560 เข้าเมืองประทับตราวีซ่าในพาสปอร์ตลงวันที่ 3 ตุลาคม 2560 และได้เข้าไปติดต่องาน กับบริษัทแห่งหนึ่งในวันที่ 10 ตุลาคม 2560 และได้เกิดเหตุโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายทําให้ตึกที่นายเกล้า ไปติดต่องานเกิดถล่มลงมาในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 หลังจากนั้นไม่มีใครพบนายเกล้าอีกเลยนั้น ถือว่านายเกล้า ได้สูญหายไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่านายเกล้ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (3) เพราะหายไปเนื่องจากตกอยู่ในเหตุอันตรายแก่ชีวิต ดังนั้นระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะสามารถร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่เหตุ อันตรายแก่ชีวิตคือตึกถล่มได้ผ่านพ้นไปแล้ว คือวันที่ 11 ตุลาคม 2560 และจะครบกําหนด 2 ปี คือวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ดังนั้นถ้าผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญ ก็สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

สําหรับนางวีนั้น เมื่อนางวีเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเกล้า นางวีจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีสิทธิไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญได้ โดยนางวีสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่ วันที่ 12 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป และเมื่อศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญแล้ว ถือว่านายเกล้าได้ถึงแก่ความตาย ในวันที่ 11 ตุลาคม 2562 คือเมื่อครบกําหนด 2 ปี ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 61 มาตรา 62)

สรุป นางวีสามารถไปร้องขอให้ศาลสั่งให้นายเกล้าเป็นคนสาบสูญได้ โดยสามารถไปใช้สิทธิทางศาล ได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป และถือว่านายเกล้าถึงแก่ความตายในวันที่ 11 ตุลาคม 2562

 

ข้อ 3 บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ทํานิติกรรมจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

(1) นายไก่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ทําพินัยกรรมขึ้นหนึ่งฉบับกําหนดไว้ว่า เมื่อตนถึงแก่ความตาย ให้ยกเงินจํานวนหนึ่งล้านบาทในบัญชีส่วนตัว ซึ่งตนฝากไว้ที่ธนาคารเอ จํากัด ให้แก่มูลนิธิช่วยเหลือผู้เยาว์ที่ขาดทุนทรัพย์ในการศึกษาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

(2) นายเป็ดคนไร้ความสามารถได้รับอนุญาตจากนายห่านผู้อนุบาล ให้ไปซื้อเครื่องออกกําลังกายจากร้านนายดํามูลค่าหนึ่งแสนบาท

(3) นายนกคนวิกลจริตไปเช่าบ้านนายหนูในขณะกําลังวิกลจริต และนายหนูทราบดีว่านายนกเป็นคนวิกลจริตในราคาเดือนละห้าพันบาท

(4) นายแมวคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมอูฐมูลค่าตัวละแปดแสนบาทสองตัวไปบริการ นักท่องเที่ยวที่โรงแรมของนายแดงเพื่อนรักโดยไม่ได้รับความยินยามจากผู้พิทักษ์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 25 “ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์”

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า….

การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) โดยหลัก ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทําขึ้นจะตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายกําหนดให้ ผู้เยาว์สามารถทําเองได้โดยลําพังตนเองและมีผลสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว นิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ หรือพินัยกรรมซึ่งผู้เยาว์ได้ทําขึ้นในขณะที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

ตามปัญหา การที่นายไก่ ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ทําพินัยกรรมขึ้นหนึ่งฉบับกําหนดไว้ว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายให้ยกเงินจํานวนหนึ่งล้านบาทในบัญชีส่วนตัวซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารเอ จํากัด ให้แก่มูลนิธิช่วยเหลือผู้เยาว์ ที่ขาดทุนทรัพย์ในการศึกษานั้น เมื่อนายไก่ได้ทําพินัยกรรมในขณะที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว พินัยกรรม ดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 25 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

(2) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายเป็ดคนไร้ความสามารถได้ทํานิติกรรมโดยไปซื้อเครื่องออกกําลังกายมูลค่าหนึ่งแสนบาทจากร้านนายดํานั้น แม้การทํานิติกรรมดังกล่าวของนายเป็ดจะได้รับอนุญาต คือได้รับความยินยอม จากนายห่านผู้อนุบาลก็ตาม นิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

(3) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นายนกคนวิกลจริตไปเช่าบ้านนายหนูในราคาเดือนละ 5,000 บาท ในขณะที่ กําลังวิกลจริตนั้น เมื่อนายหนูทราบดีว่านายนกเป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการเช่าบ้านดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆยะตามมาตรา 30

(4) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์ อันมีค่า คนเสมือนไร้ความสามารถจะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายแมวคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมอูฐมูลค่าตัวละแปดแสนบาท 2 ตัว ไปให้บริการนักท่องเที่ยวที่โรงแรมของนายแดงเพื่อนรักนั้น เป็นเพียงการให้ยืมสังหาริมทรัพย์ธรรมดาเท่านั้น (เพราะอูฐนั้นไม่ใช่สัตว์พาหนะ) จึงไม่ใช่กรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (สังหาริมทรัพย์ที่เมื่อมีการจําหน่ายจ่ายโอนจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) ซึ่งเป็น นิติกรรมที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนตามมาตรา 34 (3) ดังนั้นแม้นายแมวจะให้เพื่อนยืมอูฐ 2 ตัว โดยลําพัง กล่าวคือโดยผู้พิทักษ์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่อย่างใด สัญญาการให้เพื่อนยืมอูฐ 2 ตัว ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

สรุป

(1) พินัยกรรมที่นายไก่ได้ทําขึ้นมีผลสมบูรณ์

(2) สัญญาซื้อขายเครื่องออกกําลังกายระหว่างนายเป็ดกับนายดําเป็นโมฆียะ

(3) สัญญาเช่าบ้านระหว่างนายนกกับนายหนูเป็นโมฆียะ

(4) การให้เพื่อนยืมอูฐ 2 ตัวของนายแมวมีผลสมบูรณ์

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1002 (LA 102) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 กฎหมายต้องมีคุณลักษณะเช่นไร และกฎหมายตามเนื้อความ และกฎหมายตามแบบพิธีหมายความว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมาย คือ ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อกันภายในองค์กร ทางสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิกสังกัดอยู่ นอกจากนี้กฎหมายยังหมายรวมถึงกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับองค์กรทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่และในหมู่ประเทศที่มีอารยะด้วย ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของประเทศเหล่านั้น สําหรับกฎหมายในส่วนนี้ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศนั่นเอง สําหรับสิ่งที่เป็นกฎหมายต้องมีลักษณะ ดังนี้

1 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดของรัฐ หรือของประเทศในการตรากฎหมาย

2 กฎหมายต้องเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วย่อมมี ผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ อย่างเสมอภาค ไม่จํากัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่น ในกรณีของทูต หรือกงสุลที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น

3 กฎหมายต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก คือ เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายใดแล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิก กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับอยู่เสมอ ซึ่งการยกเลิกกฎหมายอาจเป็นการยกเลิกโดย บทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง หรือมีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือมีการยกเลิกโดยปริยายเมื่อกฎหมายเก่า ขัดกับกฎหมายใหม่

4 กฎหมายนั้นประชาชนจําต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องให้กระทําการ หรือเป็นเรื่องให้ละเว้นกระทําการก็ได้ ซึ่งถ้ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษในทางแพ่ง

5 กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับตามกฎหมายนั้นมีได้ทั้งในทางอาญาและในทางแพ่ง

สภาพบังคับในทางอาญา คือ “โทษ” นั่นเอง ซึ่งตามกฎหมายกําหนดไว้มี 5 ชนิด โดยเรียงจากโทษหนักที่สุดไปยังโทษเบาที่สุด ได้แก่ 1 ประหารชีวิต 2 จําคุก 3 กักขัง 4 ปรับ และ 5 ริบทรัพย์สิน

สภาพบังคับในทางแพ่ง หรือความรับผิดในทางแพ่งนั้น คือ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่กัน ได้แก่ การคืนทรัพย์ การชดใช้ราคาแทนทรัพย์ รวมถึงการชดใช้ค่าเสียหายด้วย

ซึ่งกฎหมายที่มีลักษณะครบองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จัดเป็นกฎหมายประเภท ที่เรียกกันว่า “กฎหมายตามเนื้อความ”

ส่วนกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง แม้จะผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายตามปกติ แต่ก็มีลักษณะไม่ครบองค์ประกอบที่เป็นกฎหมายตามเนื้อความ เช่น ไม่มีบทบัญญัติกําหนดความประพฤติของมนุษย์ซึ่งหาก ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ กฎหมายจําพวกนี้มักจะเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น การตรา พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน หรือเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ แผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กฎหมายตามแบบพิธี”

 

ข้อ 2 นายแดนและนายโดม เป็นเพื่อนร่วมรุ่นสมัยโรงเรียนมัธยม นัดกันไปเที่ยวชายทะเลที่จังหวัดตราด ขณะโดยสารเรือจะข้ามไปเกาะช้างเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 เกิดพายุทําให้เรือล่มมีนักท่องเที่ยว ตายและสูญหายไปเป็นจํานวนมาก รวมทั้งนายแดนและนายโดมด้วย ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน 2561 นายโดมได้โทรศัพท์มาบอกนางดาราภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแดนว่าได้พบศพ นายแดนแล้ว และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้ข่าวหรือพบเห็นนายโดมอีกเลย

อยากทราบว่า นางดารา ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแดนและนางดวงดาวภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายโดม จะไปร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้นายแดนและนายโดมเป็นคนสาบสูญ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากมีสิทธิจะเริ่มไปใช้สิทธิทางศาลได้เมื่อใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 15 วรรคหนึ่ง “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย”

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 61 กรณีที่บุคคลจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนสาบสูญนั้นต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นได้หายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และได้หายไปจนครบกําหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และผู้ที่มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลได้นั้นต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสียด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางดาราภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแดนและนางดวงดาวภริยา โดยชอบด้วยกฎหมายของนายโดม จะไปร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้นายแดนและนายโดมเป็นคนสาบสูญ ได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายโดม

การที่นายแดนและนายโดม ได้นัดกันไปเที่ยวชายทะเลที่จังหวัดตราด ขณะโดยสารเรือจะข้ามไป เกาะช้างเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 ได้เกิดพายุทําให้เรือล่ม มีนักท่องเที่ยวตายและสูญหายไปจํานวนมาก รวมทั้งนายแดนและนายโดมด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าในวันที่ 30 กันยายน 2561 นั้นเอง นายโดมได้โทรศัพท์มาบอกนางดาราภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแดนว่าได้พบศพนายแดนแล้ว และหลังจากนั้นก็ไม่มีใคร ได้ข่าวหรือพบเห็นนายโดมอีกเลยนั้น กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่านายโดมได้สูญหายไปเนื่องจากเรืออับปาง ซึ่งเป็นการสูญหายในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่นายโดมได้หายไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือว่าเป็นกรณีของการสูญหายธรรมดา ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

และเมื่อนางดวงดาวเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโดม จึงถือว่านางดวงดาวเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิที่จะไปร้องขอให้ศาลสั่งให้นายโดมเป็นคนสาบสูญได้ และสามารถไปร้องขอต่อศาลได้ เมื่อครบกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่ 30 กันยายน 2561 กล่าวคือจะครบกําหนด 5 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2566 ดังนั้น นางดวงดาวจะไปใช้สิทธิทางศาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

กรณีของนายแดน

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการพบศพนายแดนแล้ว ย่อมถือว่านายแดนได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดสภาพบุคคลโดยการตายธรรมดาตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้นางดาราจะเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายแดน แต่นางดาราก็ไม่สามารถที่จะไปร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นายแดนเป็นคนสาบสูญได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 61

สรุป นางดวงดาวสามารถไปร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นายโดมเป็นคนสาบสูญได้โดยสามารถไปใช้ สิทธิทางศาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป แต่นางดาราไม่สามารถจะไปร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นายแดน เป็นคนสาบสูญได้ เพราะนายแดนได้เสียชีวิตแล้ว

 

ข้อ 3 บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ทํานิติกรรมจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบคําอธิบาย

(1) เด็กชายหนึ่ง อายุ 10 ขวบ ไปซื้อหนังสือประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จากร้านศึกษาภัณฑ์ราชดําเนินในราคา 90 บาท โดยลําพัง

(2) นายสองคนไร้ความสามารถไปซื้อข้าวผัดปูจากร้านนายสามในราคาจานละ 99 บาท

(3) นายสี่คนวิกลจริตไปซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนายห้าในราคา 9 แสนบาทในขณะกําลังวิกลจริตแต่นายห้าไม่ทราบว่านายสี่วิกลจริต

(4) นายหกคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมลูกช้าง 2 ตัว ไปแสดงโชว์ในงานวันเด็กให้นักเรียนดู โดยผู้พิทักษ์ไม่ได้รู้เห็นยินยอม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา วินิจฉัย ได้ดังนี้ คือ

(1) โดยหลัก ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทําขึ้นจะตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายกําหนดให้ ผู้เยาว์สามารถทําเองได้โดยลําพังตนเองและมีผลสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว นิติกรรมที่ จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ หรือนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใด อันหนึ่ง เป็นต้น

ตามปัญหา การที่เด็กชายหนึ่งอายุ 10 ขวบ ไปซื้อหนังสือประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จากร้านศึกษาภัณฑ์ราชดําเนินในราคา 20 บาทโดยลําพังนั้น เป็นกรณีที่เด็กชายหนึ่งซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ทํานิติกรรม ตามมาตรา 24 คือเป็นนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร ของผู้เยาว์ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 21 ที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายของเด็กชายหนึ่งจึงมีผลสมบูรณ์

(2) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายสองคนไร้ความสามารถไปซื้อข้าวผัดปูจากร้านของนายสามในราคาจานละ 99 บาทนั้น แม้จะเป็นนิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพก็ตาม แต่นายสองก็ไม่สามารถที่จะกระทําได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 (ซึ่งตามกฎหมายต้องให้ผู้อนุบาลทําแทน) ดังนั้น เมื่อนายสองได้ไปทํานิติกรรมดังกล่าวนิติกรรมจึงมีผลเป็นโมฆียะ

(3) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรม ใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นายสี่คนวิกลจริตได้ไปซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนายห้าในขณะที่กําลังวิกลจริตอยู่ เมื่อนายห้าไม่ทราบว่านายสี่เป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการซื้อรถยนต์ดังกล่าว จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

(4) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์ อันมีค่า คนเสมือนไร้ความสามารถจะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายหกคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมลูกช้าง 2 ตัว ไปแสดงโชว์ ในงานวันเด็กให้นักเรียนดูนั้น เป็นเพียงการให้ยืมสังหาริมทรัพย์ธรรมดาเท่านั้น (เพราะลูกช้างไม่ใช่สัตว์พาหนะ) จึงไม่ใช่กรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (สังหาริมทรัพย์ที่เมื่อมีการจําหน่ายจ่ายโอน จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) ซึ่งเป็นนิติกรรมที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนตามมาตรา 34 (3) ดังนั้นแม้นายหกจะให้เพื่อนยืมลูกช้าง 2 ตัวโดยลําพัง กล่าวคือโดยผู้พิทักษ์มิได้รู้ เห็นยินยอมด้วยแต่อย่างใด สัญญาการให้เพื่อนยืมลูกช้าง 2 ตัวดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

สรุป

(1) สัญญาซื้อขายหนังสือประกอบการเรียนของเด็กชายหนึ่งมีผลสมบูรณ์

(2) สัญญาซื้อขายข้าวผัดปูของนายสองเป็นโมฆียะ

(3) สัญญาซื้อขายรถยนต์ของนายสี่มีผลสมบูรณ์

(4) สัญญาให้เพื่อนยืมลูกช้าง 2 ตัวของนายหกมีผลสมบูรณ์

 

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 กฎหมายต้องมีคุณลักษณะเช่นไร และกฎหมายตามเนื้อความ และกฎหมายตามแบบพิธีหมายความว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมาย คือ ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อกันภายในองค์กร ทางสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิกสังกัดอยู่ นอกจากนี้กฎหมายยังหมายรวมถึงกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับองค์กรทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่และในหมู่ประเทศที่มีอารยะด้วย ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของประเทศเหล่านั้น สําหรับกฎหมายในส่วนนี้ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศนั่นเอง

สําหรับสิ่งที่เป็นกฎหมายต้องมีลักษณะ ดังนี้

1 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดของรัฐ หรือของประเทศในการตรากฎหมาย

2 กฎหมายต้องเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วย่อมมี ผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ อย่างเสมอภาค ไม่จํากัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่น ในกรณีของทูต หรือกงสุลที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น

3 กฎหมายต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก คือ เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายใดแล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิก กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับอยู่เสมอ ซึ่งการยกเลิกกฎหมายอาจเป็นการยกเลิกโดย บทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง หรือมีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือมีการยกเลิกโดยปริยายเมื่อกฎหมายเก่า ขัดกับกฎหมายใหม่

4 กฎหมายนั้นประชาชนจําต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องให้กระทําการ หรือเป็นเรื่องให้ละเว้นกระทําการก็ได้ ซึ่งถ้ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษ

5 กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับตามกฎหมายนั้นมิได้ทั้งในทางอาญาและสภาพบังคับในทางอาญาและในทางแพ่ง

สภาพบังคับในทางอาญา คือ “โทษ” นั่นเอง ซึ่งตามกฎหมายกําหนดไว้มี 5 ชนิด โดยเรียงจากโทษหนักที่สุดไปยังโทษเบาที่สุด ได้แก่

1 ประหารชีวิต

2 จําคุก

3 กักขัง

4 ปรับ และ

5 ริบทรัพย์สิน

สภาพบังคับในทางแพ่ง หรือความรับผิดในทางแพ่งนั้น คือ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่กัน ได้แก่ การคืนทรัพย์ การชดใช้ราคาแทนทรัพย์ รวมถึงการชดใช้ค่าเสียหายด้วย ซึ่งกฎหมายที่มีลักษณะครบองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จัดเป็นกฎหมายประเภท ที่เรียกกันว่า “กฎหมายตามเนื้อความ”

ส่วนกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง แม้จะผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายตามปกติ แต่ก็มีลักษณะไม่ครบองค์ประกอบที่เป็นกฎหมายตามเนื้อความ เช่น ไม่มีบทบัญญัติกําหนดความประพฤติของมนุษย์ซึ่งหาก ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ กฎหมายจําพวกนี้มักจะเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น การตราพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน หรือเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ แผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กฎหมายตามแบบพิธี”

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักเกณฑ์ในการนับอายุของบุคคลโดยละเอียดพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 16 “การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการนับอายุของบุคคลซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1 ในกรณีที่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดวัน เดือน และปีใด ให้นับอายุของบุคคลนั้นตั้งแต่วันเกิด

2 ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดวันใด แต่รู้เดือนและปีที่เกิด ให้นับวันที่หนึ่งของเดือนนั้น เป็นวันเกิด เช่น รู้ว่าเกิดเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 แต่ไม่รู้ว่าเป็นวันที่เท่าไร ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550

3 ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดวันและเดือนใด แต่รู้ปีที่เกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดตั้งแต่วันต้นปี ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด เช่น รู้ว่าเกิดปี พ.ศ. 2550 แต่ไม่รู้ว่าเกิดวันที่เท่าไรและเดือนอะไร ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

4 ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคลนั้นเกิดวันที่เท่าไร เดือน และปีอะไร ให้คาดเดาจากการวินิจฉัยของแพทย์ หรือสอบถามจากเพื่อนบ้าน หรือใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เป็นเกณฑ์กําหนดอายุของบุคคลนั้น

 

ข้อ 3 นายเมฆคนไร้ความสามารถมีนายหมอกเป็นผู้อนุบาล นายเมฆนําเงินจํานวน 3,500 บาท ไปซื้อจักรยานโดยได้รับความยินยอมจากนายหมอกผู้อนุบาลแล้ว

ดังนี้ สัญญาซื้อขายจักรยานที่นายเมฆได้กระทําลงมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น (ต้องให้ ผู้อนุบาลทําแทน) ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายเมฆคนไร้ความสามารถได้นําเงิน 3,500 บาท ไปทํานิติกรรมโดยไปซื้อจักรยานนั้น แม้การทํานิติกรรมดังกล่าวของนายเมฆจะได้รับความยินยอมจากนายหมอกผู้อนุบาลแล้วก็ตาม นิติกรรมในรูปของสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็มีผลเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 29

สรุป สัญญาซื้อขายจักรยานที่นายเมฆคนไร้ความสามารถได้กระทําลงมีผลเป็นโมฆียะ

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1002 หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 กฎหมายต้องมีคุณลักษณะเช่นไร และกฎหมายตามเนื้อความ และกฎหมายตามแบบพิธีหมายความว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมาย คือ ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อกันภายในองค์กร ทางสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิกสังกัดอยู่ นอกจากนี้กฎหมายยังหมายรวมถึงกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับองค์กรทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่และในหมู่ประเทศที่มีอารยะด้วย ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของประเทศเหล่านั้น สําหรับกฎหมายในส่วนนี้ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศนั่นเอง สําหรับสิ่งที่เป็นกฎหมายต้องมีลักษณะ ดังนี้

1 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดของรัฐ หรือของประเทศในการตรากฎหมาย

2 กฎหมายต้องเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วย่อมมี ผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ อย่างเสมอภาค ไม่จํากัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่น ในกรณีของทูต หรือกงสุลที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น

3 กฎหมายต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก คือ เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายใดแล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิก กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับอยู่เสมอ ซึ่งการยกเลิกกฎหมายอาจเป็นการยกเลิกโดย บทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง หรือมีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือมีการยกเลิกโดยปริยายเมื่อกฎหมายเก่า ขัดกับกฎหมายใหม่

4 กฎหมายนั้นประชาชนจําต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องให้กระทําการ หรือเป็นเรื่องให้ละเว้นกระทําการก็ได้ ซึ่งถ้ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษในทางแพ่ง

5 กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับตามกฎหมายนั้นมิได้ทั้งในทางอาญาและสภาพบังคับในทางอาญา คือ “โทษ” นั่นเอง

ซึ่งตามกฎหมายกําหนดไว้มี 5 ชนิด โดยเรียงจากโทษหนักที่สุดไปยังโทษเบาที่สุด ได้แก่

1 ประหารชีวิต

2 จําคุก

3 กักขัง

4 ปรับ และ

5 ริบทรัพย์สิน

สภาพบังคับในทางแพ่ง หรือความรับผิดในทางแพ่งนั้น คือ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่กัน ได้แก่ การคืนทรัพย์ การชดใช้ราคาแทนทรัพย์ รวมถึงการชดใช้ค่าเสียหายด้วย

ซึ่งกฎหมายที่มีลักษณะครบองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จัดเป็นกฎหมายประเภท ที่เรียกกันว่า “กฎหมายตามเนื้อความ”

ส่วนกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง แม้จะผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายตามปกติ แต่ก็มีลักษณะ ไม่ครบองค์ประกอบที่เป็นกฎหมายตามเนื้อความ เช่น ไม่มีบทบัญญัติกําหนดความประพฤติของมนุษย์ซึ่งหาก ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ กฎหมายจําพวกนี้มักจะเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น การตราพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน หรือเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ แผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กฎหมายตามแบบพิธี

 

ข้อ 2 นางสาวชมพู่และนางสาวพลอยนัดกันไปเที่ยวน้ําตกแห่งหนึ่งที่จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ในขณะที่ทั้งสองกําลังเล่นน้ำตกกันอยู่ ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากพัดคนทั้งสองและนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ ไปกับกระแสน้ำ

ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ได้มีผู้พบศพนางสาวชมพู่แต่หลังจากวันเกิดเหตุไม่มีใครพบหรือ ได้ข่าวของนางสาวพลอยอีกเลย

ให้วินิจฉัยว่า นายสมบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางสาวชมพู่และนายสอนบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ของนางสาวพลอยจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุตรีของตนเป็นคนสาบสูญได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากได้จะไปร้องขอได้ตั้งแต่เมื่อไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 15 วรรคหนึ่ง “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย”

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 61 กรณีที่บุคคลจะไปใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นคนสาบสูญนั้น ต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นได้หายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และได้หายไปจนครบกําหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และผู้ที่มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียด้วย

ตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวพลอยได้สูญหายไปเนื่องจากน้ำป่าไหลหลากซึ่งเป็นเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้น ถือเป็นการสูญหายในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (3) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายสอน เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาวพลอย จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีสิทธิไปร้องขอให้ศาลสั่งให้บุตรีของตนเป็นคนสาบสูญได้

และเมื่อเป็นการสูญหายไปในกรณีพิเศษ จึงมีผลทําให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องขอต่อศาลได้ เมื่อครบ 2 ปี นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไป จากข้อเท็จจริงดังกล่าวได้เกิดน้ำป่าไหลหลากและนางสาวพลอยได้สูญหายไปในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 จึงครบกําหนด 2 ปีในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ดังนั้น นายสอนจะเริ่มไปใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไปตามมาตรา 61 วรรคสอง (3) ส่วนกรณีของนายสมบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาวชมพู่นั้น ไม่สามารถจะไปร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้บุตรีของตนเป็นคนสาบสูญได้ เพราะเมื่อมีการพบศพนางสาวชมพู่ย่อมถือว่านางสาวชมพู่ ได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดสภาพบุคคลโดยการตายธรรมดาตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง

สรุป นายสอนมีสิทธิไปร้องขอให้ศาลสั่งให้บุตรีของตนเป็นคนสาบสูญได้ โดยจะเริ่มไปใช้สิทธิ ทางศาลได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ส่วนนายสมไม่มีสิทธิไปร้องขอให้ศาลสั่งให้บุตรีของตน เป็นคนสาบสูญได้

 

ข้อ 3 บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ทํานิติกรรมจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

(1) นายหนึ่งอายุ 18 ปีบริบูรณ์ได้ถอนเงินจากบัญชีส่วนตัว 10 ล้านบาทไปซื้อรถยนต์หรู 1 คัน จากบริษัท เอบีซี จํากัด โดยผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยแต่อย่างใด

(2) นายสองคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมเงินห้าร้อยบาทโดยมิได้รับความยินยอมจาก ผู้พิทักษ์

(3) นายสามคนไร้ความสามารถได้รับอนุญาตจากผู้อนุบาลให้ไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์ราคา 8 แสนบาทจากร้านนายไก่

(4) นายห้าคนวิกลจริตไปซื้อโทรทัศน์ใช้แล้วจากร้านนายหกในขณะวิกลจริต แต่นายหกไม่ทราบว่า นายห้าวิกลจริตในราคา 2 หมื่นบาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆยะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการ อันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะ ทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) โดยหลัก ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทําขึ้นจะตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายกําหนดให้ ผู้เยาว์สามารถทําเองได้โดยลําพังตนเองและมีผลสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว นิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ หรือนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใด อันหนึ่ง เป็นต้น

ตามปัญหา การที่นายหนึ่งอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ถอนเงินจากบัญชีส่วนตัว 10 ล้านบาท ไปซื้อรถยนต์หรู 1 คัน จากบริษัท เอบีซี จํากัด นั้น ไม่ถือว่าเป็นการทํานิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพ ของผู้เยาว์ตามมาตรา 24 หรือเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว หรือเป็นนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่ผู้เยาว์สามารถทําได้เองโดยลําพัง แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าการที่นายหนึ่งได้ไปซื้อรถยนต์จากบริษัทฯ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้รับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 21

(2) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน คนเสมือนไร้ความสามารถ จะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายสองคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมเงินเป็นจํานวน 500 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์นั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 34 (3) ประกอบวรรคท้าย

(3) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น (ต้องให้ผู้อนุบาลทําแทน) ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล หรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายสามคนไร้ความสามารถได้ทํานิติกรรมโดยการไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์ ราคา 8 แสนบาทจากร้านนายไก่นั้น ถึงแม้ว่าการทํานิติกรรมดังกล่าวของนายสามจะได้รับอนุญาต คือ ได้รับ ความยินยอมจากผู้อนุบาลก็ตาม นิติกรรมดังกล่าวก็ย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

(4) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นายห้าคนวิกลจริตได้ไปซื้อโทรทัศน์ใช้แล้วจากร้านนายหกราคา 2 หมื่นบาท ในขณะที่กําลังวิกลจริตนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายหกไม่ทราบว่านายห้าเป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายโทรทัศน์ระหว่างนายห้าและนายหกจึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

สรุป

(1) สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายหนึ่งกับบริษัท เอบีซี จํากัด เป็นโมฆียะ

(2) การให้เพื่อนยืมเงินของนายสองเป็นโมฆียะ

(3) สัญญาซื้อขายรถมอเตอร์ไซค์ระหว่างนายสามกับนายไก่เป็นโมฆียะ

(4) สัญญาซื้อขายโทรทัศน์ระหว่างนายห้ากับนายหกมีผลสมบูรณ์

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายว่ากฎหมายเอกชนคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

ธงคําตอบ

กฎหมาย คือ ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อกันภายในองค์กร นอกจากนี้กฎหมายยังหมายรวมถึงกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างทางสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิกสังกัดอยู่

มนุษย์กับองค์กรทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่และในหมู่ประเทศที่มีอารยะด้วย ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ของประเทศเหล่านั้น สําหรับกฎหมายในส่วนนี้ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศนั่นเอง

สําหรับสิ่งที่เป็นกฎหมายต้องมีลักษณะ ดังนี้

1 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดของรัฐหรือของประเทศในการตรากฎหมาย

2 กฎหมายต้องเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ อย่างเสมอภาค ไม่จํากัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่น ในกรณีของทูต หรือกงสุลที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น

3 กฎหมายต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก คือ เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายใด แล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิก กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับอยู่เสมอ ซึ่งการยกเลิกกฎหมายอาจเป็นการ ยกเลิกโดยบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง หรือมีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือมีการยกเลิกโดยปริยาย เมื่อกฎหมายเก่าขัดกับกฎหมายใหม่

4 กฎหมายนั้นประชาชนจําต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องให้ กระทําการหรือเป็นเรื่องให้ละเว้นกระทําการก็ได้ ซึ่งถ้ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษในทางแพ่ง

5 กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับตามกฎหมายนั้นมีได้ทั้งในทางอาญาและสําหรับ “กฎหมายเอกชน” นั้น เป็นกฎหมายที่กําหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนต่อเอกชนด้วยกันเองในฐานะที่เท่าเทียมกัน เช่น การซื้อขาย ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น หรือ การกู้ยืมกันก็เป็นเรื่องระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นหรือสังคมแต่อย่างใด ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายมหาชน เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ กับราษฎรในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎรและแม้ว่ากฎหมายเอกชนจะเป็นกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง

แต่ถ้ารัฐไม่ตรากฎหมายขึ้นมาใช้บังคับกับเอกชนแล้ว ก็อาจจะเกิดปัญหาหรือข้อพิพาทขึ้นในระหว่างเอกชน ด้วยกันเอง และจะมีผลต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ รัฐจึงต้องตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อป้องกัน มิให้เกิดปัญหาหรือข้อพิพาทดังกล่าวขึ้น ซึ่งกฎหมายเอกชนที่สําคัญ ได้แก่

1 กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่กําหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ของบุคคลนับตั้งแต่ เกิดไปจนตาย เช่น สถานะและความสามารถของบุคคล การทํานิติกรรมสัญญา หรือความสัมพันธ์ในครอบครัว และการตกทอดทางมรดก เป็นต้น

2 กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลที่ประกอบธุรกิจ เช่น การค้าขาย เป็นต้น

 

ข้อ 2 นายตี๋เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ในวันที่ 30 เมษายน 2561 ในขณะที่เครื่องบิน เข้าใกล้ทะเลจีนใต้ ปรากฏถูกกองกําลังไม่ทราบฝ่ายยิงตกและไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายตี๋อีกเลย นางสาวหมวยเล็กเจ้าหนี้ของนายตี๋ และนางหมวยใหญ่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายต่างไปร้องขอ ต่อศาลสั่งให้นายตี๋เป็นบุคคลสาบสูญ ให้นักศึกษาให้คําแนะนําว่าใครเป็นผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นบุคคลสาบสูญ และจะเริ่มไปใช้สิทธิดังกล่าวได้เมื่อใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิต อยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตี๋เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีนโดยเครื่องบิน และในขณะที่เครื่องบินเข้าใกล้ทะเลจีนใต้ ปรากฏว่าถูกกองกําลังไม่ทราบฝ่ายยิงตกและไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายตี๋อีกเลยนั้น ถือว่านายตี๋ได้สูญหายไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่านายตี๋ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) เพราะหายไปเนื่องจากยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางถูกทําลาย ดังนั้นระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะสามารถร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญจึงต้องนับระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ยานพาหนะที่นายที่ใช้เดินทางคือเครื่องบินนั้นถูกทําลาย และเมื่อเครื่องบินนั้นถูกยิงตกในวันที่ 30 เมษายน 2561 ระยะเวลาที่ครบกําหนด 2 ปีคือวันที่ 30 เมษายน 2563 ดังนั้นถ้าผู้มีส่วนได้เสียหรือ พนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญนั้นจึงสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

สําหรับผู้มีส่วนได้เสียนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางสาวหมวยเล็กเป็นเจ้าหนี้ของนายตี๋ ส่วนนางหมวยใหญ่เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายตี๋ กรณีนี้ จึงถือว่าเฉพาะนางหมวยใหญ่เท่านั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับกรณีที่ศาลจะมีคําสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญ ส่วนนางสาวหมวยเล็กเป็นเพียงเจ้าหนี้ของนายตี๋ จึงไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามนัยของมาตรา 61 ดังนั้น นางหมวยใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญ โดยนางหมวยใหญ่สามารถที่จะไปใช้สิทธิทางศาลได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

สรุป นางหมวยใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋ เป็นคนสาบสูญ โดยเริ่มไปใช้สิทธิทางศาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ปกติผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรมจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์สามารถทําได้เองโดยลําพัง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย นิติกรรมเช่นว่านั้น ได้แก่นิติกรรมใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบพอสังเขป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 22 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

มาตรา 23 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการ อันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

มาตรา 25 “ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ได้แก่

1 นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว หมายถึง นิติกรรมที่เมื่อผู้เยาว์ได้ทํา แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นนิติกรรมที่เมื่อผู้เยาว์ได้ทําแล้วจะไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ และเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้เยาว์นั่นเอง (ตามมาตรา 22) ซึ่งแยกออกเป็น 2 กรณี คือ

(1) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปแต่เพียงสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น ปู่ยกที่ดินให้แก่ ผู้เยาว์โดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ผู้เยาว์ย่อมสามารถจดทะเบียนรับโอนที่ดินนั้นได้โดยลําพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแต่อย่างใด

(2) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง หรือทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้น จากภาระหน้าที่ที่มีอยู่นั่นเอง เช่น การที่ผู้เยาว์รับเอาการปลดหนี้ที่เจ้าหนี้ของผู้เยาว์ได้ปลดหนี้ให้แก่ผู้เยาว์ เป็นต้น

2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว (ตามมาตรา 23) ซึ่งหมายถึง นิติกรรมที่ผู้เยาว์ ต้องทําด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นทําแทนให้ไม่ได้นั่นเอง เช่น การที่ผู้เยาว์จดทะเบียนรับรองบุตร หรือการเพิกถอนการสมรส เป็นต้น

3 นิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ และเป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ (ตามมาตรา 24) เช่น การที่ผู้เยาว์ซื้ออาหารรับประทาน หรือซื้อตําราเรียน เป็นต้น

4 พินัยกรรมซึ่งผู้เยาว์ได้ทําในขณะที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว (ตามมาตรา 25)

LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ช่องว่างของกฎหมายคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีการบัญญัติ ถึงวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายไว้อย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

ช่องว่างแห่งกฎหมาย คือ กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนํามาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ กล่าวคือ ผู้ใช้กฎหมายหากฎหมายเพื่อนํามาปรับใช้แก่กรณีไม่พบนั่นเอง

โดยปกติช่องว่างแห่งกฎหมายเกิดจากการที่ผู้ร่างกฎหมายคิดไปไม่ถึงว่าจะมีช่องว่างในกฎหมายอาจจะเป็นเพราะผู้ร่างกฎหมายไม่สามารถที่จะนึกถึงช่องว่างของกฎหมายนั้นได้ เพราะยังไม่มีเหตุการณ์อันทําให้ช่องว่างนั้นเกิดขึ้น

ซึ่งหลักในการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า

“เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้น ก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

กล่าวคือ เมื่อมีคดีหรือข้อพิพาทเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวไว้ให้ศาลวินิจฉัยตามลําดับ ดังนี้

1 ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หมายความว่า ถ้าไม่มีกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรที่จะนํามาตัดสินคดีที่มาสู่ศาล ก็ให้ศาลนําเอาจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้แทนกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรเพื่อวินิจฉัยตัดสินคดี ซึ่งจารีตประเพณีก็คือ ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติ สืบต่อกันมาเป็นเวลานานจนบุคคลทั่วไปรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับที่จะนํามาใช้ได้ และมีผลเช่นเดียวกับกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรนั่นเอง เช่น จารีตประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ จารีตประเพณีเกี่ยวกับการขนส่ง เป็นต้น

2 ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หมายความว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงหรือคดีเกิดขึ้น แต่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร อีกทั้งไม่มี จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะนํามาใช้ในการวินิจฉัยคดีนั้นได้ ศาลก็ยังคงต้องวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดคดีโดยการอาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ซึ่งกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งนี้หมายถึงบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกฎหมาย เดียวกัน ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง มิใช่กฎหมายอย่างอื่นที่มีลักษณะต่างกัน เช่น การขุดหลุมรับน้ำโสโครก หลุมรับปุ๋ย หรือหลุมรับขยะมูลฝอย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะขุดในระยะสองเมตร จากแนวเขตที่ดินไม่ได้ (มาตรา 1342) แต่หลุมที่รับกากสารเคมีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าขุดได้หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าในเรื่องการขุดหลุมรับกากสารเคมี มีเหตุผลที่ควรจะห้ามมิให้ขุดในระยะที่ใกล้เคียงกับแนวเขตที่ดิน เพราะ อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่บุคคลที่อยู่ในที่ดินข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงนําเอามาตรา 1342 มาใช้เทียบเคียงกับการขุดหลุมรับกากสารเคมีได้ เป็นต้น

3 ในกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ให้วินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรณีนี้เป็นวิธีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งประการสุดท้าย หมายความว่า ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ไม่มีจารีตประเพณี และไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ศาลก็ต้องวินิจฉัยตัดสินคดีโดยให้นําเอาหลักกฎหมายทั่วไป มาใช้บังคับ ซึ่งหลักกฎหมายทั่วไปนี้อาจจะเป็นหลักกฎหมายดั้งเดิมของกฎหมายโรมัน หรือสุภาษิตของกฎหมาย หรืออาจจะเป็นหลักกฎหมายที่นานาอารยประเทศยอมรับและใช้ปฏิบัติกันทั่วไปก็ได้ เช่น สัญญาต้องเป็นสัญญา ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเกิดช่องว่างแห่งกฎหมายแพ่งขึ้น ศาลจะต้องใช้หลักในการอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย ตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เพื่อวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้น จะยกฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนํามาวินิจฉัยไม่ได้

 

ข้อ 2 นายเอออกจากบ้านไปทําธุระที่ต่างจังหวัดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 แล้วหายไป ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม 2554 นายบีพบนายเออยู่ที่จังหวัดแพร่ จึงโทรศัพท์ไปบอกภริยาของนายเอ หลังจาก วันที่ 8 สิงหาคม 2554 ก็ไม่มีใครพบนายเออีกเลย ต่อมาภริยาของนายเอได้ยื่นคําร้องขอให้ นายเอเป็นคนสาบสูญในวันที่ 6 มีนาคม 2555

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งว่าอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้น เป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และ หายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายเอออกจากบ้านไปทําธุระที่ต่างจังหวัดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 แล้วหายไป ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม 2554 นายบีได้พบนายเออยู่ที่จังหวัดแพร่ จึงได้โทรศัพท์ไปบอกภริยาของนายเอ และ หลังจากวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ก็ไม่มีใครพบนายเออีกเลยนั้น กรณีดังกล่าวย่อมถือว่านายเอได้หายไปจาก ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่านายเอยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ในกรณีธรรมดา เนื่องจากนายเอไม่ได้สูญหายไป เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 วรรคสอง ดังนั้น การที่ภริยาของนายเอซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วน ได้เสียจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นายเอเป็นคนสาบสูญนั้น จะร้องขอได้ก็ต่อเมื่อนายเอได้สูญหายไปจนครบ กําหนด 5 ปี โดยให้นับระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีผู้พบเห็นนายเอครั้งสุดท้าย ซึ่งจะครบกําหนด 5 ปีในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2550 แต่อย่างใด

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภริยาของนายเอได้ยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายเอเป็นคนสาบสูญ

ในวันที่ 6 มีนาคม 2555 จึงเป็นการยื่นคําร้องขอในขณะที่นายเอได้สูญหายไปยังไม่ครบกําหนด 5 ปี ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งยกคําร้องของภริยานายเอและจะไม่มีคําสั่งให้นายเอเป็นคนสาบสูญ

สรุป ข้าพเจ้าจะสั่งยกคําร้องของภริยานายเอและจะไม่มีคําสั่งให้นายเอเป็นคนสาบสูญ

 

ข้อ 3 การนํานิติกรรมของบุคคลดังกล่าวตามโจทย์จะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

(1) นายหนึ่งอายุย่างเข้า 20 ปี ใช้เงินส่วนตัวของตนไปซื้อรถยนต์หรูราคา 10 ล้านบาทจากนายสองโดยลําพัง

(2) นายสามคนไร้ความสามารถได้รับอนุญาตจากผู้อนุบาลให้ไปซื้อโทรทัศน์ราคาหนึ่งหมื่นบาทจากร้านนายสี่

(3) นายห้าคนวิกลจริตไปซื้อจักรยานเสือภูเขาในราคาสองแสนบาทจากนายหกในขณะที่กําลังคุ้มร้ายหรือขณะจิตวิกลแต่นายหกไม่ทราบ

(4) นายเจ็ดคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมลูกช้างห้าตัวไปแสดงโชว์ชาวต่างชาติโดยลําพัง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆยะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

มาตรา 29 “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

มาตรา 30 “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต”

มาตรา 34 “คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึง จะทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสั่งหาริมทรัพย์อันมีค่า การใดกระทําลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ”

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) โดยหลัก ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทําขึ้นจะตกเป็นโมฆยะตามมาตรา 21 เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่กฎหมาย กําหนดให้ผู้เยาว์สามารถทําเองได้โดยลําพังตนเองและมีผลสมบูรณ์ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว นิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ หรือนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เป็นต้น

ตามปัญหา การที่นายหนึ่งอายุย่างเข้า 20 ปี ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ใช้เงินส่วนตัว 10 ล้านบาท ไปซื้อรถยนต์จากนายสองนั้น ไม่ถือว่าเป็นการทํานิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ตามมาตรา 24 หรือ เป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว หรือเป็นนิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่ผู้เยาว์สามารถทําได้เองโดยลําพังแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าการที่ นายหนึ่งได้ไปซื้อรถยนต์จากนายสองดังกล่าวนั้น ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรม การซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆยะตามมาตรา 21

(2) ตามมาตรา 29 กฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าคนไร้ความสามารถฝ่าฝืนไปทํานิติกรรม ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะ

ตามปัญหา การที่นายสามคนไร้ความสามารถได้ทํานิติกรรมโดยไปซื้อโทรทัศน์ราคาหนึ่งหมื่นบาทจากร้านนายสี่นั้น แม้การทํานิติกรรมดังกล่าวของนายสามจะได้รับอนุญาต คือได้รับความยินยอม จากผู้อนุบาลก็ตาม นิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

(3) โดยหลักของมาตรา 30 คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทํานิติกรรม ใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทํานิติกรรมนั้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทํานิติกรรมเป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา การที่นายห้าคนวิกลจริตได้ไปซื้อจักรยานเสือภูเขาราคาสองแสนบาท จากนายหกในขณะที่กําลังวิกลจริตอยู่ เมื่อนายหกไม่ทราบว่านายห้าเป็นคนวิกลจริต ดังนั้น นิติกรรมการซื้อจักรยานเสือภูเขาจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด

(4) โดยทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถทํานิติกรรมใด ๆ ได้โดยลําพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมที่สําคัญบางอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์ อันมีค่า คนเสมือนไร้ความสามารถจะทําต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ตามปัญหา การที่นายเจ็ดคนเสมือนไร้ความสามารถให้เพื่อนยืมลูกช้าง 5 ตัว ไปแสดงโชว์ ชาวต่างชาตินั้น เป็นเพียงการให้ยืมสังหาริมทรัพย์ธรรมดาเท่านั้น (เพราะลูกช้างไม่ใช่สัตว์พาหนะ) จึงไม่ใช่กรณีที่ คนเสมือนไร้ความสามารถให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (สังหาริมทรัพย์ที่เมื่อมีการจําหน่ายจ่ายโอนจะต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) ซึ่งเป็นนิติกรรมที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน ตามมาตรา 34 (3) ดังนั้นแม้นายเจ็ดจะให้เพื่อนยืมลูกช้าง 5 ตัว โดยลําพัง กล่าวคือโดยผู้พิทักษ์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แต่อย่างใด สัญญาการให้เพื่อนยืมลูกช้าง 5 ตัว ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

สรุป

1) สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายหนึ่งกับนายสองเป็นโมฆียะ

2) สัญญาซื้อขายโทรทัศน์ระหว่างนายสามกับนายสี่เป็นโมฆียะ

3) สัญญาซื้อขายจักรยานเสือภูเขาระหว่างนายห้ากับนายหกมีผลสมบูรณ์

4) การให้เพื่อนยืมลูกช้าง 5 ตัวของนายเจ็ดมีผลสมบูรณ์

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!