การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1102 (LAW1002) หลักกฎหมายเอกชน

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายว่ากฎหมายเอกชนคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

ธงคําตอบ

กฎหมาย คือ ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อกันภายในองค์กร นอกจากนี้กฎหมายยังหมายรวมถึงกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างทางสังคมที่มนุษย์เป็นสมาชิกสังกัดอยู่

มนุษย์กับองค์กรทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่และในหมู่ประเทศที่มีอารยะด้วย ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ของประเทศเหล่านั้น สําหรับกฎหมายในส่วนนี้ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศนั่นเอง

สําหรับสิ่งที่เป็นกฎหมายต้องมีลักษณะ ดังนี้

1 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอํานาจสูงสุดของรัฐหรือของประเทศในการตรากฎหมาย

2 กฎหมายต้องเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป คือ กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ อย่างเสมอภาค ไม่จํากัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่น ในกรณีของทูต หรือกงสุลที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น

3 กฎหมายต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก คือ เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายใด แล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิก กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับอยู่เสมอ ซึ่งการยกเลิกกฎหมายอาจเป็นการ ยกเลิกโดยบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง หรือมีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือมีการยกเลิกโดยปริยาย เมื่อกฎหมายเก่าขัดกับกฎหมายใหม่

4 กฎหมายนั้นประชาชนจําต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องให้ กระทําการหรือเป็นเรื่องให้ละเว้นกระทําการก็ได้ ซึ่งถ้ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษในทางแพ่ง

5 กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับตามกฎหมายนั้นมีได้ทั้งในทางอาญาและสําหรับ “กฎหมายเอกชน” นั้น เป็นกฎหมายที่กําหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนต่อเอกชนด้วยกันเองในฐานะที่เท่าเทียมกัน เช่น การซื้อขาย ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น หรือ การกู้ยืมกันก็เป็นเรื่องระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นหรือสังคมแต่อย่างใด ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายมหาชน เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ กับราษฎรในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎรและแม้ว่ากฎหมายเอกชนจะเป็นกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง

แต่ถ้ารัฐไม่ตรากฎหมายขึ้นมาใช้บังคับกับเอกชนแล้ว ก็อาจจะเกิดปัญหาหรือข้อพิพาทขึ้นในระหว่างเอกชน ด้วยกันเอง และจะมีผลต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ รัฐจึงต้องตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อป้องกัน มิให้เกิดปัญหาหรือข้อพิพาทดังกล่าวขึ้น ซึ่งกฎหมายเอกชนที่สําคัญ ได้แก่

1 กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่กําหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ของบุคคลนับตั้งแต่ เกิดไปจนตาย เช่น สถานะและความสามารถของบุคคล การทํานิติกรรมสัญญา หรือความสัมพันธ์ในครอบครัว และการตกทอดทางมรดก เป็นต้น

2 กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลที่ประกอบธุรกิจ เช่น การค้าขาย เป็นต้น

 

ข้อ 2 นายตี๋เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ในวันที่ 30 เมษายน 2561 ในขณะที่เครื่องบิน เข้าใกล้ทะเลจีนใต้ ปรากฏถูกกองกําลังไม่ทราบฝ่ายยิงตกและไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายตี๋อีกเลย นางสาวหมวยเล็กเจ้าหนี้ของนายตี๋ และนางหมวยใหญ่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายต่างไปร้องขอ ต่อศาลสั่งให้นายตี๋เป็นบุคคลสาบสูญ ให้นักศึกษาให้คําแนะนําว่าใครเป็นผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นบุคคลสาบสูญ และจะเริ่มไปใช้สิทธิดังกล่าวได้เมื่อใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิต อยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตี๋เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีนโดยเครื่องบิน และในขณะที่เครื่องบินเข้าใกล้ทะเลจีนใต้ ปรากฏว่าถูกกองกําลังไม่ทราบฝ่ายยิงตกและไม่มีใครพบหรือได้ข่าวนายตี๋อีกเลยนั้น ถือว่านายตี๋ได้สูญหายไปโดยไม่มีใครรู้แน่ว่านายตี๋ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ในกรณีพิเศษตามมาตรา 61 วรรคสอง (2) เพราะหายไปเนื่องจากยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางถูกทําลาย ดังนั้นระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะสามารถร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญจึงต้องนับระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ยานพาหนะที่นายที่ใช้เดินทางคือเครื่องบินนั้นถูกทําลาย และเมื่อเครื่องบินนั้นถูกยิงตกในวันที่ 30 เมษายน 2561 ระยะเวลาที่ครบกําหนด 2 ปีคือวันที่ 30 เมษายน 2563 ดังนั้นถ้าผู้มีส่วนได้เสียหรือ พนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญนั้นจึงสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

สําหรับผู้มีส่วนได้เสียนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางสาวหมวยเล็กเป็นเจ้าหนี้ของนายตี๋ ส่วนนางหมวยใหญ่เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายตี๋ กรณีนี้ จึงถือว่าเฉพาะนางหมวยใหญ่เท่านั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับกรณีที่ศาลจะมีคําสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญ ส่วนนางสาวหมวยเล็กเป็นเพียงเจ้าหนี้ของนายตี๋ จึงไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามนัยของมาตรา 61 ดังนั้น นางหมวยใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋เป็นคนสาบสูญ โดยนางหมวยใหญ่สามารถที่จะไปใช้สิทธิทางศาลได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

สรุป นางหมวยใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายตี๋ เป็นคนสาบสูญ โดยเริ่มไปใช้สิทธิทางศาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ปกติผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรมจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์สามารถทําได้เองโดยลําพัง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย นิติกรรมเช่นว่านั้น ได้แก่นิติกรรมใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบพอสังเขป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 22 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

มาตรา 23 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว”

มาตรา 24 “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการ อันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

มาตรา 25 “ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ได้แก่

1 นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว หมายถึง นิติกรรมที่เมื่อผู้เยาว์ได้ทํา แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นนิติกรรมที่เมื่อผู้เยาว์ได้ทําแล้วจะไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ และเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้เยาว์นั่นเอง (ตามมาตรา 22) ซึ่งแยกออกเป็น 2 กรณี คือ

(1) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปแต่เพียงสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น ปู่ยกที่ดินให้แก่ ผู้เยาว์โดยเสน่หาโดยไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ผู้เยาว์ย่อมสามารถจดทะเบียนรับโอนที่ดินนั้นได้โดยลําพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแต่อย่างใด

(2) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง หรือทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้น จากภาระหน้าที่ที่มีอยู่นั่นเอง เช่น การที่ผู้เยาว์รับเอาการปลดหนี้ที่เจ้าหนี้ของผู้เยาว์ได้ปลดหนี้ให้แก่ผู้เยาว์ เป็นต้น

2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว (ตามมาตรา 23) ซึ่งหมายถึง นิติกรรมที่ผู้เยาว์ ต้องทําด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นทําแทนให้ไม่ได้นั่นเอง เช่น การที่ผู้เยาว์จดทะเบียนรับรองบุตร หรือการเพิกถอนการสมรส เป็นต้น

3 นิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพของผู้เยาว์ และเป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ (ตามมาตรา 24) เช่น การที่ผู้เยาว์ซื้ออาหารรับประทาน หรือซื้อตําราเรียน เป็นต้น

4 พินัยกรรมซึ่งผู้เยาว์ได้ทําในขณะที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว (ตามมาตรา 25)

Advertisement