MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์พันธุ์อะไรที่เชื่อว่าอาจพูดได้เป็นครั้งแรก
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4 หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

2 ปรมาจารย์ที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

3 ข้อใดเป็นกาลามสูตร
(1) พิธีกรเล่าข่าวบอกได้ยินมาว่า
(2) โบราณบอกว่ามีลูกสาวเหมือนมีส้วมหน้าบ้าน
(3) อย่าเชื่อแม้แต่อาจารย์จเลิศอธิบายก็ตาม
(4) ไข้สูงอย่างนี้น่าจะติดโควิดแล้วนะ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักกาลามสูตร 10 ในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุมีผลอยู่ในตัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทดลองได้ สามารถตรวจสอบ พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์เหตุผลว่า เป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้นหลักกาลามสูตรจึงสามารถนํามาปรับใช้กับสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จัก พิจารณาข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดปัญญารู้เท่าทัน

4 อะไรเป็น Verbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 ถึงฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูด (Verbal) เช่น ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด ฯลฯ

5 อะไรไม่เป็น Nonverbal Communication

(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างของการใช้

สัญลักษณ์ที่เป็นกิริยาท่าทาง (Nonverbal) หรือภาษาที่ไม่ออกเสียง เช่น ฉันกอดแม่, แม่ยืน มองแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง ฯลฯ

6 ข้อใดคือการสื่อสารมวลชน
(1) ฉันเรียนออนไลน์
(2) ฉันเล่นไลน์
(3) ฉันจัดรายการวิทยุออนไลน์
(4) ฉันขายของออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 14, 19 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) คือ การสื่อสารที่มีความเกี่ยวข้อง กับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ รวมทั้งสื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ ฯลฯ เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารจํานวนมากที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือ ทั่วโลก โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร และเนื้อหาของสารนั้นก็จะต้อง มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชนด้วย เช่น การจัดรายการวิทยุออนไลน์ เป็นต้น

ข้อ 7 – 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Small Group Communication
(4) Public Communication

7 ฉันนั่งคุยกับเพื่อนเรื่องเด็กอายุ 14 วางแผนให้แฟนหนุ่มอายุ16 ฆ่าแม่และพี่ชายตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 18, 22, 37 – 38, (คําบรรยาย) Interpersonal Communication คือ การสื่อสาร ระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง หรือกับคนอื่นที่มีจํานวนไม่มากนัก ในบางครั้งผู้ส่งสารกับผู้รับสารที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน การสื่อสารกันในงานเลี้ยงสังสรรค์, การพูดคุยและส่ง SMS/MMS กันทางโทรศัพท์, การเขียน จดหมายถึงกัน ฯลฯ หรืออาจจะไม่มีความคุ้นเคยกันก็ได้ เช่น คนแปลกหน้าพูดคุยกันบนถนน บนรถโดยสาร หรือในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ รวมไปถึงการใช้เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนตัวเพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน ก็จัดเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย

8 ฉันนั่งคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 จึงมีความคิดโหดเหี้ยมอย่างนี้
ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) Intrapersonal Communication คือ การสื่อสารส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในร่างกายหรือในตัวของเราเอง โดยเรื่องราวหรือเนื้อหาจะประกอบด้วยความคิด และสื่อกลางหรือช่องทางก็คือ ระบบประสาทที่ผ่านความคิดและกระบวนการในสมอง เช่น การพูดเบา ๆ การซ้อมร้องเพลง หรือฝึกซ้อมอ่านคําปราศรัย การนั่งทําสมาธิ และการคิดถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดในใจแล้วพูดรําพึงรําพัน หรือหัวเราะกับตัวเอง ฯลฯ

9 ฉันเข้าเรียนออนไลน์กับอาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Small Group Communication คือ การสื่อสารกลุ่มย่อยที่เกี่ยวข้อง กับคนจํานวนหนึ่ง ซึ่งจะมีจํานวนจํากัดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 25 คน มาสื่อสารกันเพื่อที่จะพบปะพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และตัดสินใจร่วมกัน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มย่อยไม่ควรมีจํานวนมากนัก เพื่อให้เข้าลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ซึ่งคนทุกคนสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด และแสดงความคิดเห็นกันได้ทั่วถึง เช่น การบรรยายในห้องเรียน การเข้าเรียนออนไลน์ ฯลฯ

10 ฉันฟังการปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ตอบ 4 หน้า 19, 41, (คําบรรยาย) Public Communication คือ การสื่อสารในที่สาธารณะ หรือการพูดในที่สาธารณะ เช่น การปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร, การชุมนุมครั้งใหญ่ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1 จะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะมากกว่าพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ในห้องบรรยายขนาดใหญ่ สนามกีฬา ฯลฯ แต่ถ้ามีผู้ฟังมากอาจต้องถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อให้ทุกคน มีโอกาสเข้าฟังพร้อมกัน
2 เป็นการพูดแบบเป็นทางการมากกว่าการพูดในที่ส่วนบุคคล โดยจะต้องมีการวางแผนการพูดไว้ล่วงหน้า
3 เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น ต้องมีการซักถามปัญหาจากผู้ฟังหลังจาก การพูดจบลงแล้ว เป็นต้น

11 “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” คําว่า “ไอแพด” คือ
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2 หน้า 21 ถ้าหากเรากําลังยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนคนหนึ่ง และพูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ ของเธอ” จากการสนทนาธรรมดานี้ เราก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender), สาร (Message) ได้แก่ ประโยคที่พูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” ส่วนบุคคลที่อยู่ตรงหน้าและเป็นเจ้าของ ไอแพดก็คือ ผู้รับสาร (Receiver or Audience) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นตัวอย่างของ การสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร

12 ฉันโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชนนําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ในสื่อมวลชน สิ่งนี้คือ
(1) Sender
(2) Message
(3) Receiver
(4) Feedback
ตอบ 4 หน้า 21 ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วส่งสารกลับไปให้ ผู้ส่งสาร เช่น เมื่อฉันเห็นภาพผู้ตายในสื่อมวลชน จึงโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชน นําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ เป็นต้น

ข้อ 13 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Way Communication
(2) Two Way Communication

13 สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวเด็กอายุ 14 ร่วมกับแฟนหนุ่มอายุ 16 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 1 หน้า 26 การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวประจําวัน ข่าวรัฐบาลขอความร่วมมือให้งดใช้มือถือขณะขับรถ, ผู้สื่อข่าวรายงานสดจากรัฐสภา ซึ่งผู้ชม ทางบ้านย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น แต่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาได้ทันที ฯลฯ

14 สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 26 การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) คือ การสื่อสารที่เน้นในเรื่อง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ซึ่งถือเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์ที่สุด เช่น ประชาชนไม่พอใจประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%, สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามา แสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง, สถานีวิทยุ จ.ส. 100 เปิดสายให้ ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามารายงานข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ หรือสอบถามเส้นทางต่างๆ ฯลฯ

15 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 16 – 18 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Step Flow Communication
(2) Two Step Flow Communication
(3) Multi Step Flow Communication

16 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัว อยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.), ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

17 ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิด
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) เป็นการรวมการสื่อสารแบบ ขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิด ด้วยกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิดทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือผ่านทาง สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อมวลชนอื่น ๆ, การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งได้นํา คลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือนําข่าวหน้าหนึ่งจาก นสพ. มาอ่าน ฯลฯ

18 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะของ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารไปถึงผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) ใน ชุมชนหรือในกลุ่มสังคมก่อน เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พระ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ หลังจากนั้นจึง ถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสารไม่มีอิทธิพล โดยตรงต่อผู้รับสารส่วนใหญ่ เช่น ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ, การดู โฆษณาครีมยี่ห้อ A แล้วจึงถามเพื่อนที่เคยใช้ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อดังกล่าว เป็นต้น

19 มนุษย์ต้องมีการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูล เพียงพอ แนวคิดนี้เป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัสและเข้ารหัส เชื่อว่า มนุษย์ต้องการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการกระทําดังกล่าวนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ เรามีข้อมูลเพียงพอ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องทําการสื่อสารด้วยการถอดรหัสและเข้ารหัสความหมาย ของสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ

20 สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศของสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 48 ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบททางสังคม เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสําคัญ ต่อการสื่อสารของมนุษย์ คือ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเชื่อกันว่า สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศทางสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร ดังนั้นการไหล ของกระแสข่าวสารหรือผลของการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยทุกครั้ง

21 สื่อสารมวลชนถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 48 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน เชื่อว่า สังคมถือเป็นระบบใหญ่ ระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ หรือระบบย่อยมีความเกี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบและถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม

22 ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สัมพันธ์กัน เนื่องจากปัจจัยจิตวิทยาและสังคมวิทยา
(1) ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(2) ทฤษฎีแรงเสริม
(3) ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
(4) ทฤษฎีการไหลเวียนของข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ จะเป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายกระบวนการเชื่อมโยง หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลหรือไม่สัมพันธ์กัน เพราะความสัมพันธ์จะถูกกําหนดโดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาและ สังคมวิทยา เช่น อารมณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ระยะทางหรือความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ฯลฯ

23 ผู้กําหนดหน้าที่สื่อมวลชนในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 หน้า 50 – 51 Harold Lasswett ได้กําหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนเอาไว้ 3 ประการ คือ
1 หน้าที่สังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
2 หน้าที่ประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม
3 หน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป ซึ่งต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ของสื่อมวลชนประการที่ 4 คือ
4 หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

24 ผู้กําหนดหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ Charles Wright
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความบันเทิง
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

27 สื่อมวลชนหยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 1 หน้า 52 ทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า สื่อมวลชนเป็นสาเหตุและเป็นสิ่งที่ดํารงสังคมมวลชน โดยสื่อมวลชนได้หยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม และ ช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้ดํารงชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะที่ยากลําบากซึ่งกําลังเผชิญอยู่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงก่อให้เกิดภาพพจน์ของการควบคุม กลั่นกรอง และกําหนดทิศทางของอิทธิพลจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง

28 เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง เรื่องราวทางเพศ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 4 หน้า 54 เกิร์บเนอร์ (Gerbner) และคณะ ได้พัฒนาทฤษฎีการปลูกฝัง ซึ่งมีสมมติฐานว่า ข่าวสารในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในวิทยุโทรทัศน์นั้นได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง กล่าวคือ เนื้อหาที่อยู่ในวิทยุโทรทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศเสมอ จนทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน และการดิ้นรนต่อสู้

29 ใครคือผู้กรองสาร (Gate Keeper)
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) โฆษกรัฐบาล
(3) นักข่าว
(4) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 หน้า 55 ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) หรือผู้กรองสาร หมายถึง บุคคลที่ทําหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร จึงเป็นเสมือนกับนายทวารในการรับ ข่าวสารของประชาชน โดยจะควบคุมการไหลของข่าวสารและตัดสินว่าข่าวอะไรควรส่งต่อไป และข่าวอะไรควรจะตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งบุคคลที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ นักข่าวหรือผู้สื่อข่าว ผู้พิมพ์ บรรณาธิการข่าว ผู้เขียนข่าว นักวิจารณ์ ฯลฯ

30 สื่อมวลชนไม่สามารถวิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

31 ผู้มีสิทธิใช้สื่อมวลชน ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 เริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ คือ เพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อให้ความบันเทิง เพื่อการค้า และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อควบคุมรัฐบาล
3 หน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ เพื่อเปิดเผยความจริง และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของรัฐบาล
4 การควบคุมสื่อมวลชน คือ สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และใช้กระบวนการยุติธรรมของศาล เพื่อทําหน้าที่ตัดสินความถูกผิดของสื่อมวลชนตามกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯลฯ)
5 ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของสื่อมวลชน ฯลฯ

32 สื่อมวลชนเป็นของรัฐ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 64 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 สื่อมวลชนจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็น เครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท ฯลฯ

33 การควบคุมสื่อมวลชนทําโดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอบ 4 หน้า 65 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
4 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ

34 ผู้ริเริ่มใช้อักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform) คือ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 3 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็น เกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

35 ตัวอักษร Lonion เป็นของ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 1 หน้า 79 เมื่อประมาณ 500 B.C. ชาวกรีกได้มีการพัฒนาตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมทั้งสระด้วย) ซึ่งการที่ตัวอักษรกรีกมีมาตรฐานนั้นทําให้วัฒนธรรมของกรีกมีความเจริญ มากขึ้น เช่น Athens ได้ผ่านกฎหมายให้ใช้ภาษาที่ใช้ตัวอักษร “Lonion” (The Lonion Alphabet) เป็นภาษาของทางราชการ เป็นต้น

36 ผู้ที่พัฒนากระดาษจากต้น Papyrus ได้แก่
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 2 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nite)

37 กฎหมายของกษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ถูกสลักลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ชื่อว่า
(1) Scroll
(2) Parchment
(3) Vellum
(4) Stallae
ตอบ 4 หน้า 81 เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว กษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ได้แกะสลัก กฎหมายลงบนก้อนหินขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่า “Stallae” คือ บล็อกหินสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดํา ขนาด 8 ฟุต ที่ถูกนํามาตั้งไว้ในศูนย์กลางของเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร ซึ่งถือเป็นระบบที่ ยุ่งยากมาก เพราะยังไม่มีการพัฒนานําเอาสื่อที่เคลื่อนย้ายได้มาใช้

38 หนังสือ Books of Kells ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 3 หน้า 83 หนังสือที่พวกพระคัดลอกด้วยลายมือเป็นจํานวนพัน ๆ เล่ม เรียกว่า Manuscripti โดยหนังสือบางฉบับถือเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงาม ตกแต่งด้วยตัวอักษรและมีภาพวาดที่มีความประณีตสวยงามมาก จนจัดว่าเป็นหนังสือที่สวยที่สุดที่ได้ผลิตออกมา และมีความพิเศษที่ไม่ธรรมดาเลย คือ หนังสือ Books of Kelts ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยพวกพระเมื่อประมาณ 800 A.D. ปัจจุบันหนังสือ Books of Kells ถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่ Trinity College ในเมือง Dublin

39 ประเทศที่มีการพัฒนาการทํากระดาษเป็นชาติแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 คือ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 4 หน้า 85, (คําบรรยาย) ชาวจีนได้พัฒนาการทํากระดาษจากต้นไผ่เป็นชาติแรก ซึ่งใช้กันมาอย่างแพร่หลายเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ทหารเปอร์เซียนได้ จับกุมกลุ่มชาวจีนที่ทํากระดาษ และบังคับให้สอนวิธีการทํากระดาษให้กับพวกตน ส่งผลให้ชาวจีนถูกทหารเปอร์เซียนทําทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส

40 ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก คือ
(1) Johanne Fust
(2) William Caxton
(3) Gutenberg
(4) Adolph Von Nassau
ตอบ 3หน้า 86, 95 ในสมัยก่อนเรื่องของการพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ Gutenberg เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก ทําให้การพิมพ์เริ่มเป็น ที่รู้จักกันทั่วไป เพราะหลังจากการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก (Gutenberg’s Press) เกิดขึ้นได้ไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งไปยังที่ไกล ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

41 หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเล่มแรก ชื่อว่า
(1) Book of Kells
(2) Scriptoria
(3) 42 – line Bible
(4) Koran
ตอบ 3 หน้า 88 เมื่อ ค.ศ. 1455 Gutenberg ทําหนังสือจากกระดาษเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ของเขาเองได้สําเร็จ โดยมีชื่อว่า 42 – line Bible ซึ่งเขาออกแบบเอง และพิมพ์เป็นจํานวน 200 ฉบับ จึงถือได้ว่าหนังสือนี้เป็นตัวอย่างของศิลปะการพิมพ์ที่สวยงามที่สุดในโลก

42 ผู้แต่งหนังสือ Uncle Tom’s Cabin คือ
(1) Whitman
(2) Harriet Beecher Stowe
(3) Longfellow
(4) Barlett
ตอบ 2 หน้า 92 Harriet Beecher Stowe เป็นผู้ที่ได้เขียนหนังสือต่อต้านในเรื่องของทาสที่มีชื่อว่า “Uncle Tom’s Cabin” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ที่โด่งดังมากอีกฉบับหนึ่ง

43 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ
(1) News Sheet
(2) Gazette
(3) Coranto
(4) Oxford Gazette
ตอบ 4 หน้า 96 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ Oxford Gazette (ต่อมาภายหลังใช้ชื่อว่า The London Gazette) โดยพิมพ์จําหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1665 ในสมัยของ King Charles II

44 หนังสือพิมพ์อะไรที่ทําให้หนังสือพิมพ์ถูกเรียกขานว่าสุนัขเฝ้ายาม
(1) The Daily Courant
(2) The Boston News – Letter
(3) The New England Courant
(4) Boston Gazette

ตอบ 3 หน้า 98 เมื่อ ค.ศ. 1721 James Franklin (พี่ชายของ Benjamin Franklin) ได้เริ่มทํา หนังสือพิมพ์อาณานิคมที่ถูกเรียกขานในฐานะสุนัขเฝ้ายาม (The Press as Watchdog) ซึ่งมีชื่อว่า “The New England Courant” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของอาณานิคมที่ ประสบความสําเร็จและมีความอวดดี ฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์คนนั้นคนนี้ และสุดท้ายก็ไป โจมตีผู้ว่าการรัฐ จนส่งผลให้ James Franklin ถูกจับเข้าคุกเป็นเดือนและถูกห้ามพิมพ์

45 ผู้ให้กําเนิด The Penny Press คือ
(1) Benjamin Harris
(2) James Franklin
(3) Benjamin Franklin
(4) Benjamin Day
ตอบ 4 หน้า 100 The Penny Press หมายถึง หนังสือพิมพ์ราคาถูก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1830 และจําหน่ายในราคาถูกเพียงฉบับละ 1 เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ที่ให้กําเนิด The Penny Press คือ Benjamin Day ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “The New York Sun” เมื่อ ค.ศ. 1833 และเขาได้ประกาศเอาไว้ว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การตีแผ่เรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสาธารณะในราคาที่ไม่แพง เฉลี่ยแล้วเหมาะสําหรับทุกคน และยังเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์สําหรับการโฆษณาอีกด้วย

46 หมอบรัดเลย์เป็นผู้ริเริ่มหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) ดุสิตสมิต
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 4 หน้า 101 – 102, 126 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคราชสํานัก จะเริ่มนับจากการที่หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เริ่มดําเนินการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรก ที่มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) ออกมาให้คนไทยในสมัยนั้นได้อ่าน (แต่นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า บางกอกรีคอร์เดอร์มีลักษณะเป็นนิตยสาร มิใช่เป็นหนังสือพิมพ์)

47 เทียนวรรณ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 1หน้า 101 – 102 หนังสือพิมพ์ในยุคราชสํานัก ได้ปรากฏมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ อีกหลายฉบับ ซึ่งฉบับที่สําคัญ ได้แก่
1 สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ดําเนินการโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ
2 ตุลยวิภาคพจนกิจ ดําเนินการโดย เทียนวรรณ

48 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 4 หน้า 102 ในตอนปลายยุคราชสํานัก รัชกาลที่ 6 ทรงออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ดุสิตสมิต”
และทรงนิพนธ์บทความลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับในพระนามแฝง เช่น ศรีอยุธยา รามจิตติ อัศวพาหุ พันแหลม น้อยลา สุครีพ นายแก้ว นายขวัญ พระขรรค์เพชร เป็นต้น

49 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคมืด มีการออกกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 เป็นยุคของ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

ตอบ 2 หน้า 103 หนังสือพิมพ์ยุคมืด (พ.ศ. 2501 – 2512) เป็นยุคที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อํานาจเข้าควบคุมและบังคับไม่ให้หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยการออก กฎหมายเป็น “ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17” นอกจากนี้ยังใช้กําลังคุกคามสิทธิเสรีภาพของ นักหนังสือพิมพ์โดยการจับกุมและตั้งข้อหาว่ามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

50 นายกรัฐมนตรีท่านใดในยุคหนังสือพิมพ์สําลักเสรีภาพที่เสนอว่าจะให้ตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับเป็นยุคแรกของ นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเมื่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้ามาเป็น นายกรัฐมนตรี ก็มีการร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ ในการควบคุมกันเอง และจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) แต่ร่าง พ.ร.บ. ยังไม่ทันได้รับการพิจารณา รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็หมดอํานาจไปเสียก่อน

51 คําสั่ง ป.ร. 42 ออกมาในยุคหนังสือพิมพ์ยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(2) ยุคสําลักเสรีภาพ
(3) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 105 หนังสือพิมพ์ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับเป็นยุคมืดของวงการ หนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะได้มีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับเป็น เวลา 5 วัน และออกประกาศเป็นคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 (ป.ร. 42) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อมาควบคุมการปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์โดยตรง

52 นิตยสารเริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ
(1) อียิปต์
(2) ฮอลแลนด์
(3) อังกฤษ
(4) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า “The Review ซึ่งถือเป็นนิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)

53 นิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า
(1) The Tatler
(2) The Spectator
(3) The Review
(4) The Economist
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 นิตยสารโดยคนไทยฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 2 หน้า 127 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หมายประกาศที่ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ ออกเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาแน่นอน เพื่อออกประกาศของทางราชการ กฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงถือเป็นนิตยสารที่ออกโดยคนไทยฉบับแรก

55 นิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว

ตอบ 1 หน้า 124 – 126 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดนิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรกของกรุงสยาม มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น ดําเนินการ โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ซึ่งเขาได้พิมพ์นิตยสารฉบับนี้เป็นภาษาไทย และ เรียกสิ่งพิมพ์ที่ตนจัดทําขึ้นมาว่า Journal หมายถึง นิตยสาร

56 ในรัชสมัยใดที่กิจการด้านนิตยสารเจริญรุ่งเรืองมากจนเรียกว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย”
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” ส่งผลให้ในยุคนี้มีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ และ มีหนังสือพิมพ์รายวันออกถึง 24 ฉบับ เนื่องจากได้รับเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตลอดจนการศึกษา ที่รุดหน้า และการที่นิตยสารเข้ามาสู่แวดวงของสามัญชนอย่างแท้จริง จึงทําให้วงการนิตยสาร เจริญเติบโตไปมาก

57 ยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือบริษัทใด
(1) โพสต์ พับลิชชิ่ง
(2) บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(3) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(4) อมรินทร์พริ้นติ้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยออก นิตยสารเล่มแรก คือ บ้านและสวน ปัจจุบันอมรินทร์มีนิตยสาร Life Style ในเครือมากที่สุด ในประเทศ เช่น บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, ชีวจิต, Health & Cuisine ฯลฯ

58 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Roget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

59 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และ มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส – เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และการใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้

60 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope” และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville

61 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลกคือเรื่องใด
(1) A Trip to The Moon
(2) The Great Train Robbery
(3) The Jazz Singer
(4) Life of an American Fireman
ตอบ 3 หน้า 148 ในระหว่างปี ค.ศ. 1927 – 1928 บริษัท Warner Brothers ได้ผลิตภาพยนตร์ที่ มีบทพูดเป็นเรื่องแรก คือ เรื่อง The Jazz Singer นําแสดงโดย AL Jason ซึ่งเป็นภาพยนตร์ ที่มีเสียงเพียงบางช่วงเพราะระบบเสียงยังไม่สามารถทํางานได้เต็มระบบ โดยใส่เสียงได้เพียง 2 – 3 เพลง และมีบทพูดอีก 2 – 3 นาที ส่วนที่เหลือก็เป็นภาพยนตร์เงียบหรือไม่มีเสียง

62 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยชาวอเมริกัน แต่ถ่ายทําในประเทศสยาม โดยมีนักแสดงเป็นชาวสยามทั้งเรื่อง ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 4 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และมีผู้กํากับเป็นชาวอเมริกัน คือ นาย Henry McRay โดยหนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

63 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยผู้สร้างชาวสยาม และมีนักแสดงเป็นชาวสยาม ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ โชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 มีลักษณะเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว – ดํา ขนาด 35 มม. และมีนักแสดงเป็นคนไทย

64 ใครเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเป็นคนแรกของไทย
(1) นายประสาท สุขุม
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายปรีดี พนมยงค์
(4) พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 พี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทําภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย โดยยืมอุปกรณ์จาก บริษัทฟ็อกซ์ มาถ่ายทําภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์บันทึกการแสดงจําอวด และการแสดงเดี่ยวซอสามสายและจะเข้ หลังจากนั้นจึงได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้อง วสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

65 คลื่นวิทยุ ถูกค้นพบโดยผู้ใด
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglielmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 1 หน้า 159 Heinrich Rudolf Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทําให้เกิด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งเรียกกันแบบธรรมดาว่า “คลื่นวิทยุ หรือ Radio Wave”) และรับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกไปนั้นได้เป็นคนแรกของโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง Hertz ที่ประชุมนานาชาติจึงมีมติให้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า “Hertzian Wave” และให้ใช้คําว่า “เฮิรตซ์” (Hertz ใช้สัญลักษณ์คือ Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

66 บุคคลใดได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการวิทยุ
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglietmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 2 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1901 Guglielmo Marconi ชายชาวอิตาเลียน ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

67 บิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

68 วันวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) วันที่ 1 มกราคม
(2) วันที่ 25 กุมภาพันธ์
(3) วันที่ 1 เมษายน
(4) วันที่ 3 พฤษภาคม
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

69 David Sarnoff ได้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัทใด
(1) KDKA
(2) FCC
(3) RCA
(4) BCC
ตอบ 3 หน้า 162 – 163, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2473 – 2483 เดวิด ซานอฟ (David Sarnoff) เป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัท RCA และเขายังเป็นผู้พัฒนากิจการ เครื่องรับส่งวิทยุ โดยให้ความสําคัญกับวิทยุในฐานะให้ความบันเทิง เพราะจะทําเงินได้มาก

70 KDKA คือ สถานีวิทยุฯ แห่งแรกของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง ยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง
(1) สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
(2) เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม
(3) นําเสนอความจริงได้ทันทีทันใด
(4) มีผลกระทบต่อสังคมน้อย
ตอบ 4 หน้า 172 – 173 ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง สรุปได้ดังนี้
1 สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
2 เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม

3 สามารถฟังได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
4 นําเสนอเสียงจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ฟังได้โดยตรงและทันทีทันใด
5 มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างกว้างขวาง

72 กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ BBC เป็นของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อังกฤษมีแนวคิดที่แตกต่างจากอเมริกาในการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งรูปแบบวิทยุ ในอังกฤษจะเรียกว่า “กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ” (Public Service Broadcasting) หรือ BBC ก่อตั้งโดยจอห์น รีธ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการใหญ่คนแรก ทั้งนี้ BBC จะมีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา และให้ความบันเทิง ทําการออกอากาศแบบไม่มีโฆษณา โดยได้เงิน จากค่าภาษีเครื่องรับ มีบอร์ดบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐและเอกชน

73 โทรทัศน์ช่องแรกของไทย คือช่องใด
(1) ช่อง 4
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 1 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการ ดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

74 ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศโทรทัศน์ในรูปแบบทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่าอะไร
(1) BBC
(2) PBS
(3) EBC
(4) NBC
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศรายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรูปแบบของ ทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์บีบีซี” (BBC : British Broadcating Corporation)

75 สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของญี่ปุ่น มีชื่อว่าอะไร
(1) JBC
(2) NHK
(3) PBC
(4) AKB
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1953 ประเทศญี่ปุ่นได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรก เพื่อแพร่ภาพ ออกอากาศอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นเอชเค” (NHK : Nippon Hoso Kyokai)

76 เหตุใดระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกาจึงไม่เหมาะกับการออกอากาศในประเทศไทย
(1) อุณหภูมิในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยสูง
(2) ประเทศไทยมีฝนตกชุก
(3) ความถี่ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับในประเทศไทย คือ 50 Hz
(4) การสนับสนุนของรัฐบาลในสมัยนั้นที่มีความขัดแย้งกับอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 188, (คําบรรยาย) สาเหตุประการหนึ่งที่ระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกา ไม่เหมาะสมกับการออกอากาศในประเทศไทย คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบไฟฟ้า กระแสสลับความถี่ 60 Hz ในขณะที่ประเทศไทยใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz ดังนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์จึงต้องจัดหาเครื่องแปลงความถี่มาใช้ ซึ่งมีราคาแพงมาก นับว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น

77 เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC ได้ ประเทศไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบใด
(1) HD
(2) DIGITAL
(3) SECAM
(4) PAL
ตอบ 4 หน้า 189, (คําบรรยาย) เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC แบบอเมริกาได้ ประเทศ ไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบ PAL สัญญาณภาพ 625 เส้น และส่งเป็นภาพสี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513

78 สถานีโทรทัศน์ที่ได้ชื่อว่า Public Service
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
(2) สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
(3) สถานีโทรทัศน์รัฐสภา
(4) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Public Service Broadcasting) หรือทีวีสาธารณะ แห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มการแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงาน ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

79 ช่องใดไม่ได้ส่งสัญญาณภาพในระบบ HD
(1) ไทยพีบีเอส (หมายเลข 3)
(2) เวิร์คพอยท์ ทีวี (หมายเลข 23)
(3) ช่องวัน (หมายเลข 31)
(4) ไทยรัฐ ทีวี (หมายเลข 32)
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ดิจิทัลที่เป็นระบบ HD ความคมชัดสูง ได้แก่ ช่อง CH5,
NBT, Thai PBS, MCOT, ONE, Thairath TV, 3 HD, Amarin TV, BBTV CH7 และ PPTV (ส่วนช่อง Workpoint TV เป็นระบบ SD ความคมชัดระดับปกติ)

80 ปัจจุบันช่องใดที่ไม่ได้ทําการออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว
(1) ททบ.5 (หมายเลข 5)
(2) TRUE 4U (หมายเลข 24)
(3) ช่อง 3 SD (หมายเลข 28)
(4) MCOT HD (หมายเลข 30)
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 บริษัท บีอีซี – มัลติมีเดีย จํากัด แจ้งว่า บริษัทฯ เตรียมยุติการออกอากาศช่อง 3 แฟมิลี่ (หมายเลข 13) และช่อง 3 SD (หมายเลข 28) เนื่องจากบริษัทฯ ได้คืนใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินฯ ทั้ง 2 ช่องแล้ว โดยจะ ทําการออกอากาศในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นวันสุดท้าย

81 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และมีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์

82 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ

ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

83 ผู้รับสารที่กลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า
(1) UGC
(2) UCG
(3) UGGC
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การที่สื่อใหม่เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่พื้นที่ สาธารณะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า “User Generate Content” (UGC) คือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ

84 บิดาแห่งเว็บ (Web) คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทีม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3 หน้า 194, (คําบรรยาย) Sir Timothy John Berners – Lee หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี เป็นชาวอังกฤษที่ได้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็นคนแรกของโลก ทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งเว็บ”

85 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

86 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Bill Gates
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Interested Network
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson

ตอบ 1 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ที่ก่อตั้ง Facebook ซึ่งถือว่าเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social – networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Facebook ขึ้นขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี

88 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 110 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4 หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่มักใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา (ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 Twitter ประกาศขยาย ทวีตเป็น 280 ตัวอักษร อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลกับผู้ใช้เกือบทั่วโลก)

89 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson
ตอบ 3 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

90 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

91 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) RAM Talk
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Today
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
PR Ramkhamhaeng University

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้…

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ
(1) (2) (3) หรือ (4)…

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

ข้อ 97 – 100
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) สื่อมวลชน
(3) สื่อบุคคล
(4) Social Media

97 ไทยรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน (Daily Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็น ประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวันหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ออกมาแทนที่ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น ไทยรัฐ, เดลินิวส์, คมชัดลึก, ไทยโพสต์ เป็นต้น

98 ทวิตเตอร์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกนํามาใช้เป็น
เครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกับสาธารณชนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการ Social Media รายใหญ่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Facebook, YouTube, Instagram, TikTok และ Twitter (ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ)

99 Thai PBS
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15 และ 78 ประกอบ

100 TikTok.
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์เผ่าอะไรที่สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์พวก Neanderthal (Homo Sapiens Neanderthalensis) ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ สมัยโบราณเมื่อประมาณ 150,000 – 125,000 ปีมาแล้ว จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้เสียงเท่าที่จะสามารถเปล่งออกมาได้เท่านั้น

2 มนุษย์เผ่าอะไรที่เชื่อว่าพูดได้เป็นพวกแรก
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro – Magnon
ตอบ 4หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

3 ปรมาจารย์ที่ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

4 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 5. – 7. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว
(3) การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน
(2) การสื่อสารแบบสองขั้นตอน
(4) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม

5 การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.)
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัว อยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.) เป็นต้น

6 การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งนําคลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือ นําข่าวหน้าหนึ่งจากหนังสือพิมพ์มาอ่าน
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) เป็นการรวมการสื่อสารแบบ ขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิด ด้วยกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น ผู้รับสารอาจได้รับข่าวสารทั้งจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ หรือได้รับ ข่าวสารโดยผ่านสื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อมวลชนอื่น ๆ, การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัล ช่องหนึ่งได้นําคลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือนําข่าวหน้าหนึ่งจาก นสพ. มาอ่าน, การที่นักศึกษาไม่ตื่นตระหนกจากข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากดูคลิปการ แนะนําในการปฏิบัติตัวของคุณหมอท่านหนึ่ง เป็นต้น

7 การที่นักศึกษาไม่ตื่นตระหนกจากข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากดูคลิปการแนะนําในการปฏิบัติ
ตัวของคุณหมอท่านหนึ่ง
ตอบ 3
ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8 ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารตัดสินใจเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ คือปัจจัยใด
(1) ความต้องการ
(2) ความคาดหวัง
(3) ความพึงพอใจ
(4) สภาพจิตใจในขณะนั้น
หน้า 55 – 56, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Approach) มองว่า ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนอง ความพึงพอใจจะมาจาก “ความต้องการ” (Need) ของแต่ละคน

9 ข้อใดไม่ใช่สํานึกร่วมของผู้รับสารที่ถูกปลูกฝังจากโทรทัศน์
(1) เด็กที่โตมาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ก็สามารถโตมาเป็นคนดีได้
(2) สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย
(3) ผิวขาวมีคุณค่ามากกว่าผิวดํา
(4) คนอีสานมีคุณค่าด้อยกว่าคนภาคอื่น
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) สํานึกร่วมของผู้รับสารที่ถูกปลูกฝังจากโทรทัศน์ตามทฤษฎีการปลูกฝัง
ความเป็นจริง (Cultivation Theory) ได้แก่
1 ชีวิตนี้เป็นทุกข์
2 ชีวิตเป็นเรื่องชั่วคราวและระยะสั้น จึงควรหาความสุขใส่ตัวให้มากที่สุด

3 สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย
4 ความเป็นหญิงมีคุณค่าที่ด้อยกว่าความเป็นชาย
5 คนอีสานมีคุณค่าด้อยกว่าคนภาคอื่น ๆ
6 คนพูดเสียงเหน่อคุณค่าน้อยกว่าคนพูดภาษากลาง
7 ผิวขาวมีคุณค่าสูงกว่าคนผิวดํา

10 การที่ประชาชนที่ต่อต้านอํานาจรัฐจะเงียบเสียงลงในท้ายที่สุด เนื่องจากสื่อมวลชนไม่ให้ความสําคัญกับ
ความคิดเห็นของพวกเขา เป็นไปตามหลักการของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีผู้กรองสาร
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีสังคมนิยม
ตอบ 3 หน้า 53 – 54, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการครอบงํา มีสาระสําคัญประการหนึ่ง คือ ประชาชน ที่ต่อต้านท้าทายอํานาจรัฐและแสดงออกด้วยการประท้วง หรือการแสดงความคิดเห็นขัดแย้งมักจะเงียบเสียงลงในท้ายที่สุด เนื่องจากสื่อมวลชนขนาดใหญ่เสนอข่าวสารของเขาในทางลบหรือไม่ให้ความสําคัญกับความคิดเห็นของพวกเขา

ข้อ 11 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) A ดูซีรีย์ในยูทูบเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากข่าวการระบาดของเชื้อโรค COVID-19
(2) B ดูเฟซบุ๊กของเพื่อนที่มีแฟนแล้วรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
(3) C ติดตามข่าวการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ทุกชั่วโมงจากนิวส์ฟีดเฟซบุ๊ก
(4) เหตุการณ์อาหรับสปริง

11ข้อใดคือการไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 2 หน้า 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนนั้น สามารถประยุกต์ได้กับสถานการณ์ในยุค ปัจจุบันที่คนจํานวนมากมักเชื่อรูปภาพ/ข้อความที่ปรากฏในเฟซบุ๊ก หรือในอินสตาแกรมของ คนอื่นว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นความจริง และนํามาเปรียบเทียบกับชีวิตตนเอง ส่งผลให้ตนเองรู้สึก ด้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วชีวิตของคน ๆ นั้นก็ไม่ได้มีอะไรที่แย่ลง

12 ข้อใดคือการทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 3 หน้า 50 – 51, 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชน ได้แก่
1 เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2 เพื่อประสานความขัดแย้งของกลุ่มต่าง ๆ
3 เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
4 เพื่อความบันเทิง (ถือเป็นหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองระบบทุนนิยม)

13 ข้อใดคือการทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของทฤษฎี
หน้าที่นิยม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม มีดังนี้
1 สื่อมวลชนพาผู้คนหลบหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ละครประเภทซินเดอเรลล่า ละครเรื่องดาวพระศุกร์ ฯลฯ
2 สื่อมวลชนทําหน้าที่ผ่อนคลายความตึงเครียด
3 สื่อมวลชนทําหน้าที่ชดเชยหรือทดแทน เช่น รายการคนค้นคน รายการไมค์ปลดหนี้ ฯลฯ

14 ข้อใดเป็นการแสดงออกถึงความคับข้องใจของมวลชนตามหลักการไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction)
ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Daniel Lerner ได้กล่าวถึงการที่สื่อมวลชนไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ตามทฤษฎีหน้าที่นิยมว่า เมื่อมวลชนมีความเชื่อแปรเปลี่ยนไป และความคาดหวังใหม่ได้เกิดขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งความเป็นจริงยังไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และความต้องการ ดังนั้นจึงส่งผลให้มวลชนแสดงออกซึ่งความคับข้องใจในรูปแบบของ การปฏิวัติ เช่น การจลาจลในตะวันออกกลาง หรืออาหรับสปริง เป็นต้น

15 ข้อใดคือตัวอย่างของการเลือกใช้สื่อของผู้รับสารเพื่อยกระดับรสนิยมของตนเอง
(1) การกดไลก์ หรือติดตามแฟนเพจที่ตนเองสนใจ
(2) การฟังรายการธรรมะจากยูทูบเวลามีเรื่องทุกข์ใจ
(3) การเล่นสมาร์ตโฟนเวลาที่ไม่ต้องการพูดคุยกับคนในครอบครัว
(4) การดูรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ เพื่อจะได้เลือกเสื้อผ้าที่เข้ากับตนเอง
ตอบ 4 หน้า 55 – 57, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Approach) มองว่า การเลือกใช้สื่อมวลชนของผู้รับสารเป็นไปเพื่อต ความพึงพอใจของตน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม ดังนี้
1 เพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง หรือใช้เป็นหัวข้อในการสนทนา
2 เพื่อแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจ
3 เพื่อแสวงหาความหมายและทําความเข้าใจ
4 เพื่อสร้างอัตลักษณ์/เอกลักษณ์ของตนเองหรือกลุ่มที่ตนสังกัด
5 เพื่อยกระดับรสนิยมของตนเองให้สูงขึ้น หรือปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้ดีขึ้น

16 ข้อใดคือการถอดรหัสสาร (Decoding) แบบต่อรองความหมายของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสาร
(1) ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(2) ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(3) ผู้รับสารเมินเฉยต่อสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(4) ผู้รับสารเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้างกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอ
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสารตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส (Encoding & Decoding Concept) มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1 ยอมรับ คือ ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
2 ต่อรอง คือ ผู้รับสารเห็นด้วยเพียงบางส่วนกับข้อมูลที่ได้รับ และปรับส่วนที่ไม่เห็นด้วย ให้เข้ากับความคิดของตน
3 โต้แย้ง คือ ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด

17 ข้อใดคือสมญานามของสื่อมวลชนเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
(1) ทนายหน้าหอ
(2) ฐานันดรที่ 4
(3) ผู้ชี้ทางสว่าง
(4) สุนัขเฝ้าบ้าน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมญานามที่สื่อมวลชนได้รับจากการคาดหวังของประชาชน คือ การทําหน้าที่ เป็น “ฐานันดรที่ 4” ซึ่งสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างอิสระ และเป็นเวทีของการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี รวมทั้งการที่สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็น “สุนัขเฝ้าบ้าน” เพื่อติดตามผลงานของรัฐบาล และดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน

18 “ตลาดเสรีทางความคิด” เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 62 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยมถือว่า สื่อมวลชนไม่ได้เป็น เครื่องมือของรัฐบาล แต่เป็นเครื่องมือในการแสดงหลักฐานและข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่ประชาชน จะใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบหรือควบคุมรัฐบาล และตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นจึงต้องมีการแสดงออกอย่างเสรีหรือต้องมี “ตลาดเสรี” ของความคิดเห็นและข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อย คนกลุ่มใหญ่ และคนที่มีอํานาจหรือคนที่ ปราศจากอํานาจจะต้องมีโอกาสเข้าถึงสื่อมวลชนได้อย่างเท่าเทียมกัน

19 การที่รัฐบาลใช้การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็นสิ่งผิด เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน และเฮเกล ตลอดจนความคิดของรัสเซียในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 ผู้นําในบางประเทศอาจใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ของสังคม เช่น กลยุทธ์การใช้สื่อของ Adolf Hitler ซึ่งชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก และเห็นสิ่งถูกเป็นสิ่งผิด เป็นต้น 4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท
5 สื่อมวลชนถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้ ฯลฯ

20 ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2)ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 เน้นการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปกับการมีเสรีภาพ
3 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยสื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
4 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
5 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม
6 ในบางสถานการณ์ สังคมหรือรัฐอาจมีสิทธิ์เข้ามาแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

21 ข้อใดไม่ใช่ “บรรทัดฐาน” ในการทํางานของสื่อมวลชน
(1) จริยธรรมสื่อมวลชน
(2) กฎหมายสื่อมวลชน
(3) วัฒนธรรมของหน่วยงาน
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน มองว่า สาเหตุที่สื่อมวลชน จําเป็นต้องมี “บรรทัดฐาน” ในการทํางาน คือ เพื่อคอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อมวลชน ตกต่ำ หรือเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อ การกํากับดูแล และ จรรยาบรรณของสื่อ เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพ และจริยธรรมสื่อมวลชน

22 ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ แต่รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

24 การที่สื่อมวลชนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศพัฒนาแล้ว เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3หน้า 67, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา มีดังนี้
1 สื่อมวลชนทําหน้าที่และปฏิบัติงานด้านการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ
2 สื่อมวลชนควรให้ความสําคัญต่อเนื้อหาด้านวัฒนธรรมและภาษาของชาติเป็นลําดับแรก
3 ข่าวสารที่นําเสนอต้องให้ความสนใจกับประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตกหรือประเทศพัฒนาแล้ว
4 เสรีภาพของสื่อมวลชนสามารถควบคุมได้
5 รัฐมีสิทธิแทรกแซงหรือจํากัดการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วยวิธีการเซ็นเซอร์ การให้เงินอุดหนุน และการควบคุมสื่อมวลชนโดยตรงจึงเป็นวิธีการที่มีเหตุผล

25 ปรากฏการณ์โตเกิดขึ้นในยุคระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วม
แบบประชาธิปไตย
(1) เริ่มมีกระบวนการตรวจสอบกันเองขององค์กรสื่อ
(2) การเกิดขึ้นของสื่อชุมชนขนาดเล็กที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(3) ยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมในการทํางาน
(4) มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มี ส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย จะสนับสนุนสื่อมวลชนที่มีความหลากหลาย สื่อที่มีขนาดเล็ก และเน้นการพัฒนาสื่อชุมชน เช่น วิทยุชุมชน สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ ให้กระจายไปตามท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

26 อักษรภาพที่ชาวสุเมเรียนใช้ในการสื่อสาร มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกริสยูเฟรติส
ตอบ 1 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

27 อักษรภาพที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ในการวาดภาพสื่อเรื่องราวต่าง ๆ มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกริสยูเฟรติส
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ชาวอียิปต์โบราณถือเป็นพวกที่มีอํานาจมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุค เดียวกัน เพราะพวกเขาได้คิดตัวอักษรภาพที่มีชื่อว่า “เฮียโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) เพื่อใช้ ในการวาดภาพแสดงความหมายหรือสื่อเรื่องราวต่าง ๆ

28 หนังสือสนุกนี้นึก มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) นวนิยาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนุกนี้นึก นับเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย นิพนธ์โดยกรมหลวงพิชิตปรีชากร ในลักษณะเลียนแบบสํานวนหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งเริ่มแรกตั้งใจจะทดลองแต่งเป็นเรื่องยาว แบบนวนิยาย โดยมีเนื้อหาเป็นบทสนทนาของพระในวัดบวรนิเวศ 4 รูป ถกเถียงกันถึงการที่พระรูปหนึ่งจะสึกออกไปแต่งงาน แต่ตีพิมพ์ครั้งแรกได้เพียงตอนเดียว (ตอนแรก) ในหนังสือ วชิรญาณวิเศษก็ต้องยุติไป เพราะถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น

29 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) ก่อน ค.ศ. 1800 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์ ต่อมาใน ค.ศ. 1855 นอกจากหนังสือที่ เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแล้ว ยังมีการพิมพ์หนังสือนวนิยายออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย

30 การเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดเป็นอย่างแรกในสังคมยุโรป
(1) เริ่มมีการพิมพ์หนังสือทางโลกนอกเหนือจากเรื่องราวของศาสนาคริสต์มากขึ้น
(2) พระคัมภีร์ไบเบิลถูกพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น
(3) เกิดวรรณกรรมพื้นบ้านมากขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) หลังจากเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กแพร่หลาย ได้มีการพิมพ์ พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส สเปน และอิตาเลียน (จากเดิมที่มีแต่ภาษาละติน) ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงประการแรก ในสังคมยุโรป

31 ในยุคหนึ่งหนังสือเคยเป็น “สื่อของชนชั้นอภิสิทธิ์” หมายถึง ผู้อ่านต้องมีคุณสมบัติเช่นใด
(1) มีฐานะ
(2) มีการศึกษา
(3) มีเส้นสาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) ในยุคหนึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ แม้แต่ผู้ปกครองเมือง ที่มีอํานาจบางคนก็ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ดังนั้นหนังสือในยุคนั้น จึงเป็น “สื่อของชนชั้นอภิสิทธิ์” หมายถึง ผู้อ่านต้องอ่านออกเขียนได้หรือมีการศึกษานั่นเอง

32 ปัจจัยใดช่วยให้คนในอเมริกาเหนือสนใจในการอ่านและการเขียนหนังสือมากขึ้น
(1) ศาสนาคริสต์
(2) ระบอบประชาธิปไตย
(3) ระบบทุนนิยม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 92, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้กระตุ้นให้ประชาชนที่อยู่
ในอเมริกาเหนือสนใจในการอ่านและการเขียนหนังสือมากขึ้น เพราะระบอบการเมืองใหม่นี้ ต้องการให้พลเมืองที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงมีความรู้และสามารถอ่านหนังสือได้ เพื่อที่จะได้รู้ เรื่องราวที่เกี่ยวกับผู้สมัคร และปัญหาต่าง ๆ ที่มีข้อโต้แย้งกันอยู่

33 คําว่า Paper ที่แปลว่า กระดาษ มีต้นกําเนิดมาจากประเทศใด
(1) อียิปต์
(2) เมโสโปเตเมีย
(3) อิสราเอล
(4) กรีก – โรมัน
ตอบ 1 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nile)

34 ข้อใดไม่ใช่บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ
(1) มีความเป็นปัจเจก
(2) อิน (Involve) กับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย
(3) มีเหตุมีผล
(4) มีจินตนาการ
ตอบ 2(คําบรรยาย) บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ มีดังนี้
1 แยกตัวอย่างโดดเดี่ยว (Isolate)
2 รักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับเรื่องที่อ่าน (Non – involving)
3 ส่งเสริมวิธีคิดแบบมีเหตุมีผล (Rational Culture)
4 ชอบจินตนาการ (Imagine)
5 ส่งเสริมทัศนคติแบบปัจเจกบุคคล (Individualism)

35 สื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 มีชื่อว่าอะไร
(1) คู่สร้างคู่สม
(2) ขวัญเรือน
(3) บ้านเมือง
(4) M2F

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 บริษัท บางกอก โพสต์ จํากัด (มหาชน) ได้ตัดสินใจปิดตัวหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (มีอายุ 16 ปี) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน และหนังสือพิมพ์ M2F (มีอายุ 7 ปี) เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรีขนาดแทบลอยด์ 24 หน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการลดค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของโพสต์ทูเดย์ดิจิทัล (ออนไลน์) ยังคง เปิดดําเนินการตามปกติ

36 ข้อใดคือการปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบันที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด
(1) มีพื้นที่สําหรับทํากิจกรรมอื่น ๆ มากกว่าแค่เข้าไปอ่าน ซื้อหนังสือเพียงอย่างเดียว
(2) ขยายสาขาของร้านตามห้างสรรพสินค้าชื่อดัง
(3) วางจําหน่ายเฉพาะหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบัน มีดังนี้
1 เพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสาร โดยผู้สนใจสามารถสั่งซื้อและติดตามเนื้อหาคร่าว ๆ ผ่านทาง ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของร้าน (เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด)
2 จัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือหรือแยกประเภทตามรูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style)ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
3 จัดทําระบบฐานข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนํามาวิเคราะห์
4 จัดกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
5 มีพื้นที่ส่วนกลางสําหรับทํากิจกรรมอื่น ๆ มากกว่าแค่เข้าไปอ่าน ซื้อหนังสือเพียงอย่างเดียว

37 ร้านหนังสือในยุคปัจจุบันนิยมจัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือตามหลักเกณฑ์ใด
(1) Life Style ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
(2) ความต้องการของสาขาร้านหนังสือ
(3) ยอดหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 หนังสือพิมพ์ถือกําเนิดมาโดยได้รับมอบหมายให้มีภารกิจด้านใด
(1) การนําเสนอข่าวสาร
(2) การรับใช้สถาบันรัฐ
(3) ต่อต้านอํานาจผู้ปกครองที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ถือกําเนิดมาโดยได้รับมอบหมายให้เป็นสื่อที่มีภารกิจในการเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน/ต่อต้านอํานาจผู้ปกครองและความไม่ถูกต้องชอบธรรมต่าง ๆ

39 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ด้านคุณค่าข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ
(1) ความแปลก
(2) เทคโนโลยีและความก้าวหน้า
(3) ความมีเงื่อนงํา
(4) ความยุติธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณค่าเชิงข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ ได้แก่
1 ความใหม่สด/รวดเร็ว
2 ความใกล้ชิด
3 ความต่อเนื่อง/ผลกระทบ
4 เรื่องที่คนสนใจ เรื่องส่วนบุคคล
5 ความก้าวหน้า
6 ความเด่น
7 ความแปลก
8 ความขัดแย้ง
9 ความมีเงื่อนงํา
10 ความเร้าอารมณ์ทางเพศ
11 เทคโนโลยี/ความก้าวหน้า

40 หนังสือพิมพ์ในอาณานิคมอเมริกันเน้นการนําเสนอข่าวสารในลักษณะใด
(1) เชิดชูระบบทุนนิยม
(2) ต่อต้านคอมมิวนิสต์
(3) โจมตีประเทศเจ้าอาณานิคม
(4) สวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ลักษณะของหนังสือพิมพ์ในอาณานิคมอเมริกัน มีดังนี้
1 เน้นการนําเสนอเนื้อหาโจมตีรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมในขณะนั้น เน้นข่าวการเดินเรือ และโฆษณา
2 มีการจับตัวช่างพิมพ์
3 หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนัก

41 ยุคใดของหนังสือพิมพ์ไทยที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) ยุคประชาธิปไตยระยะแรก
(2) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(3) ยุคสําลักเสรีภาพ
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับว่า เป็นยุคแรกของนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นยุคที่หนังสือพิมพ์ไทยปราศจากการ แทรกแซงจากรัฐบาล เพราะหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จบลง หนังสือพิมพ์ เริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น และได้บัญญัติกฎหมายในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เช่น ห้ามปิดหนังสือพิมพ์ด้วยเหตุผลทางการเมือง, ห้ามตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ก่อนการตีพิมพ์ ยกเว้นในภาวะสงคราม ภาวะฉุกเฉิน หรือภาวะประกาศใช้กฎอัยการศึก ฯลฯ

42 ข้อใดคือ หนังสือพิมพ์แบบประชานิยม
(1) บางกอกโพสต์
(2) กรุงเทพธุรกิจ
(3) เดลินิวส์
(4) เนชั่นสุดสัปดาห์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (Popular Newspaper) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ที่เน้นนําเสนอแต่ข่าวเบา เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับ ความพอใจจากการอ่านอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเสนอเรื่องเพื่อให้ความบันเทิงมากกว่าให้ความรู้ และเน้นนําเสนอภาพข่าวพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์ ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภท ประชานิยม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก เป็นต้น

43 หนังสือพิมพ์ในไทยส่วนมากใช้วิธีการใดในการป้องกันตนเองจากการถูกปิด ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้างจากภาครัฐ
(1) ลุกขึ้นมาโจมตีรัฐบาลอย่างเปิดเผย
(2) เขียนคอลัมน์ร้องทุกข์
(3) หยุดการผลิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง
(4) นําเสนอเนื้อหาข่าวแนวไสยศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 102 – 103, 105, (คําบรรยาย) ในช่วงที่ไทยมีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล หนังสือพิมพ์ ในยุคนั้นถูกจํากัดสิทธิเสรีภาพด้านการเสนอข่าวความขัดแย้งทางการเมือง ทําให้เนื้อหาของ หนังสือพิมพ์เริ่มยึดแนวปลอดภัยไว้ก่อน เช่น นําเสนอข่าวเบาสมอง ข่าวบันเทิง อาชญากรรม เรื่องราวทางเพศ ข่าวสารที่แปลกประหลาด ข่าวไสยศาสตร์ ฯลฯ เพื่อป้องกันตนเองจากการ ถูกปิด ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้างจากภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลต่อมาในอนาคต คือ หนังสือพิมพ์ เคยชินต่อการเสนอเนื้อหาข่าวแบบเบาสมอง ข่าวบันเทิง อาชญากรรม ฯลฯ มากกว่าเนื้อหาทางด้านการเมือง

44 ข้อใดคือคุณสมบัติของหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ
(1) เน้นนําเสนอภาพพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์
(2) มีความสลับซับซ้อนของการนําเสนอเนื้อหา
(3) เนื้อหาอยู่ในบริบทของสังคม
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ (Quality Newspaper) มีคุณสมบัติดังนี้
1 ให้ความสําคัญกับข่าวหนัก
2 เป็นข่าวที่มีการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
3 มีความสลับซับซ้อนของการนําเสนอเนื้อหา
4 มีกูรูในด้านนั้น ๆ มาแสดงการวิเคราะห์หรือให้ความเห็น
5 เนื้อหาอยู่ในบริบทของการเมือง เศรษฐกิจ
6 มีจํานวนจําหน่ายที่จํากัด และตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม

45 ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)
(1) องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ และเนื้อหาที่หลากหลาย
(2) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(3) กองบรรณาธิการของแต่ละสื่อแยกส่วนกันทํางาน
(4) เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าวของแต่ละสถานี มีความแตกต่างกันมากขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) มีดังนี้
1 สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล ออนไลน์ และแพลตฟอร์ม
2 เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
3 พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมีการนําเสนอรูปแบบการสื่อสารใหม่ ๆ
4 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ เช่น รูปแบบออนไลน์ ทีวีดิจิทัล ฯลฯ และเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น มีละคร รายการเพลง ท่องเที่ยว ฯลฯ

46 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์
(1) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสื่อใดสื่อหนึ่ง
(2) มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์
(3) ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม
(4) รายงานข่าวผ่านหลากหลายช่องทางสื่อได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์ (Convergence) มีดังนี้
1 รายงานข่าวผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย
2 ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ ฯลฯ
3 มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์ ตัดต่อภาพ ทําวิดีโอ และถ่ายภาพนิ่ง
4 มีทักษะการสื่อข่าวหลายด้าน ฯลฯ

47 ข้อใดไม่ใช่การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัลที่เห็นได้ชัดเจน
(1) ช่องดิจิทัลที่พัฒนามาจากธุรกิจสื่อประเภทอื่น มีเนื้อหารายการที่หลากหลาย
(2) เพิ่มหน้าแบบพิมพ์สีในหนังสือพิมพ์มากขึ้น
(3) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(4) เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิธีการปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัล มีดังนี้
1 เปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy) โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
2 เพิ่มหน้าแบบพิมพ์ 4 สี ในหนังสือพิมพ์มากขึ้น เพื่อให้เข้ากับคนยุคใหม่
3 เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เจาะกลุ่มคนวัยทํางานและวัยเรียน
4 เน้นข่าวสดใหม่ พิมพ์วันต่อวัน ฯลฯ

48 จุดมุ่งหมายสําคัญของการเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy) ในยุคปัจจุบัน คือข้อใด
(1) ต้องการเพิ่มปริมาณการพิมพ์เล่ม
(2) ต้องการเจาะกลุ่มวัยทํางานที่ชอบอ่านเนื้อหาแบบกระชับ หลากหลาย เข้าใจง่าย
(3) ต้องการให้คนมีงานทํามากขึ้น
(4) ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 นิตยสารในสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะเหตุใด
(1) การปลดแอกอาณานิคม
(2) การพบดินแดนใหม่
(3) ผู้คนมีการศึกษามากขึ้น
(4) มีผู้คนอพยพเข้ามามากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 111, 116 วิวัฒนาการของนิตยสารในสหรัฐอเมริกา มีดังนี้
1 มีการผลิตช้ามากในสหรัฐอเมริกา
2 สภาพสังคมไม่เอื้อต่อการผลิตนิตยสาร
3 ในศตวรรษที่ 19 สภาพสังคมเริ่มเจริญขึ้น ผู้คนมีการศึกษามากขึ้น การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้น
4 นิตยสารหลายฉบับจึงเริ่มถือกําเนิดขึ้น และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จนทําให้นิตยสารบางฉบับประสบผลสําเร็จอย่างมาก

50 ข้อใดคือหัวข้อสําคัญในการนําเสนอของนิตยสารในยุคแรก
(1) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง
(2) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการทหารและการเมือง
(3) นําเสนอเนื้อหาด้านการค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ
(4) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
ตอบ 2 หน้า 111 นิตยสารถือกําเนิดขึ้นในช่วงปลายปี 1500 ซึ่งนิตยสารในยุคแรกนั้นได้บรรจุหัวข้อ สําคัญ ๆ ที่มีความแตกต่างกัน โดยปกติแล้วจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทหาร เป็นเรื่องราวภายในกองทัพ และการเมือง

51 นิตยสารสําหรับผู้หญิงอย่างแท้จริงฉบับแรกของไทย มีชื่อว่าอะไร
(1) สกุลไทย
(2) นารีรมย์
(3) ขวัญเรือน
(4) กุลสตรี
ตอบ 4 หน้า 129 – 130) (คําบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดนิตยสารที่มีชื่อว่า “กุลสตรี” ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งถือว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงอย่างแท้จริงฉบับแรกของไทย โดยเป็นนิตยสาร รายเดือน และมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องอ่านเล่น เรื่องความรู้ทั่วไป เช่น การปกครองของจีน การเขียนหนังสือ และหน้าที่ของสตรีไทย

52 นิตยสารฉบับใดในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ในระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตย
(1) ดุสิตธานี
(2) ปราโมทย์นคร
(3) หลักเมืองวันอาทิตย์

(4) ดุสิตสมิตรายสัปดาห์
ตอบ 4 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการทางด้านนิตยสารนับว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาก จนอาจเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” โดยมีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ ซึ่งฉบับสําคัญ ที่รัชกาลที่ 6 ทรงออกเพื่อให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ นิตยสารที่มี ชื่อว่า “ดุสิตสมิตรายสัปดาห์”

53 งบประมาณโฆษณาในปัจจุบันย้ายจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปยังสื่อใด
(1) สื่อโทรทัศน์
(2) สื่อวิทยุ
(3) สื่อสังคมออนไลน์
(4) สื่อภาพยนตร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากการประเมินงบประมาณสื่อโฆษณาในปี พ.ศ. 2560 ในช่วง 11 เดือน โดย Media Intelligence พบว่า มีมูลค่า 78,755 ล้านบาท ลดลง 13.9% ซึ่งกลุ่มที่เติบโต สูงสุด คือ สื่อสังคมออนไลน์ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สื่อนิตยสารที่มีการลดลงถึง 44% หรือ มีสัดส่วน 2% จากงบโฆษณาทั้งหมด

54 ข้อใดคือการปรับตัวของนิตยสารในยุคปัจจุบันที่เห็นได้ชัด
(1) ใช้ช่องทางออนไลน์และทีวีดิจิทัล นําเสนอข่าวสารควบคู่กับสื่อสิ่งพิมพ์
(2) จัดกิจกรรมโรดโชว์ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนํา
(3) เนื้อหาในเล่มต้องแตกต่างจากข่าวสารทั่วไปที่หาได้ในอินเทอร์เน็ต
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปรับตัวของสื่อนิตยสารในยุคปัจจุบัน ได้แก่
1 ใช้ช่องทางออนไลน์และทีวีดิจิทัล นําเสนอข่าวสารควบคู่กับสื่อสิ่งพิมพ์
2 นําเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบโจทย์ Life Style ของคนเมือง
3 ขยายกลุ่มเป้าหมายมายังกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ได้แก่ นิตยสารสําหรับผู้หญิงมีการขยาย การผลิตที่ตอบสนอง Life Style ของผู้ชายมากขึ้น เช่น นิตยสาร Elle Men ฯลฯ

55 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง
(1) คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์
(2) ผู้ผลิตต้องการพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว
(3) ผู้ผลิตไม่ต้องการปรับตัวไปนําเสนอเนื้อหาในสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์
(4) สมาชิกนิตยสารเขียนจดหมายเข้ามาลดน้อยลง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง มีดังนี้
1 คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์ ทําให้สูญเสียผู้อ่านไป
2 มีสมาชิกนิตยสารลดน้อยลง ไม่คุ้มที่จะผลิตต่อ
3 ผู้ผลิตต้องการวางมือเพื่อพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

56 นิตยสารคู่สร้างคู่สมเคยเผยแพร่เนื้อหาผ่านสื่อมวลชนใดบ้างนอกเหนือจากนิตยสาร
(1) เฟซบุ๊ก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) โทรทัศน์
(4) ไม่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อใด
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นิตยสารคู่สร้างคู่สม ก่อตั้งโดยคุณดํารง พุฒตาล เมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยมี จุดเริ่มต้นมาจากการที่คุณดํารง พุฒตาล จัดรายการโทรทัศน์ประเภทสนทนาชื่อ “คู่สร้าง คู่สม” ทางช่อง 5 และได้รับความนิยมอย่างมาก เขาจึงหันมาจัดทํานิตยสารคู่สร้างคู่สมขึ้น มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับชีวิตรักของหนุ่มสาว และสามีภรรยา ซึ่งก็ประสบความสําเร็จเช่นกัน จนในปี พ.ศ. 2548 นิตยสารคู่สร้างคู่สมตระหนักถึงความสําคัญของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงจัดทําเว็บไซต์ www.koosangkoosom.com เพื่อเผยแพร่เรื่องราวจากแฟน ๆ ที่เขียนส่ง มายังคู่สร้างคู่สมอย่างต่อเนื่อง

57 ยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือบริษัทใด
(1) โพสต์ พับลิชชิ่ง
(2) บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(3) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(4) อมรินทร์พริ้นติ้ง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยออก นิตยสารเล่มแรก คือ บ้านและสวน ปัจจุบันอมรินทร์มีนิตยสาร Life Style ในเครือมากที่สุด ในประเทศ เช่น บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, ชีวจิต, Health & Cuisine ฯลฯ

58 นิตยสารในยุคปัจจุบันมักผลิตโดยคํานึงถึงสิ่งใด
(1) Life Style ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
(2) ความต้องการของสาขาร้านหนังสือ
(3) ยอดหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นิตยสารที่ตอบโจทย์ Life Style มีลักษณะดังนี้
1 นิตยสารปัจจุบันเน้นผลิตเพื่อให้ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ที่แตกต่างกัน ของผู้บริโภค เช่น บางกลุ่มสนใจเรื่องรูปร่าง การแต่งตัว อาหารการกิน เป็นต้น
2 มีการคัดเลือกเฉพาะส่วนที่ดีของผู้ชาย/ผู้หญิงที่มีชื่อเสียงของสังคม มารวมกันทั้งหน้าตา รูปร่าง และการแต่งกาย
3 ใช้ดาราที่เป็นตัวแทนในด้านนั้น ๆ มาขึ้นหน้าปก เช่น ดาราที่หุ่นดีกล้ามสวย หรือดาราที่ แต่งตัวเนี้ยบ เรียกว่า “การนําเสนอภาพตัวแทน” (Representation)

59 ข้อใดคือหน้าที่ของนิตยสารที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
(1) ให้ความรู้
(2) สืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
(3) ประสานความสัมพันธ์ในสังคม
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 134 (คําบรรยาย) หน้าที่ “ด้านการเมือง” และ “การให้ความบันเทิง” ถือว่าเป็น หน้าที่หลักของนิตยสารที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

60 Visual Lag or Visual Delay คือ
(1) การมองเห็นภาพด้วยความเร็วสูง
(2) กระบวนการมองเห็นภาพช้า
(3) การสร้างภาพยนตร์
(4) การหมุนภาพเพื่อส่องดูภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 2 หน้า 139 กระบวนการที่มองเห็นภาพช้า (Visual Lag or Visual Delay) คือ ช่วงเวลาของ การมองเห็นในการส่งภาพออกไปและการรับภาพกลับมา จะช้าไปเพียงเสี้ยวของวินาทีเท่านั้น จนสังเกตได้ไม่ทัน จึงทําให้เรามองเห็นภาพได้อย่างต่อเนื่อง (Visual Persistence)

61 นักวิทยาศาสตร์คนใดเป็นผู้คิดค้น “Cinematographe”
(1) Auguste Lumiere – Louis Lumiere
(2) Eadweard Muybride
(3) Edison
(4) Georege Eastman
ตอบ 1 หน้า 142, (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1895 พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ชาวฝรั่งเศส คือ Auguste Lumiere และ Louis Lumiere ได้ออกแบบกล้อง “ซิเนมาโตกราฟ” (Cinematographe) ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ในตัวเดียวกัน ดังนั้นจึงนับเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ทดลองนําภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้จากกล้องดังกล่าวมาฉายเป็นหนังทดลองลงบนจอภาพขนาดใหญ่ได้สําเร็จ และทําให้ความหมายของคําว่า “ภาพยนตร์” สมบูรณ์ขึ้น

62 Edison ใช้อุปกรณ์ใดแสดงภาพเคลื่อนไหว โดยวิธีการหมุนเครื่องเพื่อส่องดู
(1) Cinematographe
(2) Kinetoscopes
(3) Kinetograph
(4) Phenakistiscope

ตอบ 2 หน้า 143 Edison ได้จัดแสดงภาพเคลื่อนไหวของเขาด้วยเครื่องมือที่ใช้ส่องดูภาพ (Peep show Device) หรือที่เรียกกันว่า “Kinetoscopes” โดยใช้วิธีการหมุนเครื่องไปแล้วส่องดู ก็จะเห็นภาพยนตร์สั้น ๆ บนจอภาพขนาดเล็ก แต่เครื่องดูภาพแบบนี้สามารถดูภาพได้ทีละคน เท่านั้น และผู้ดูจะจ่ายค่าดูเพียง 1 เซ็นต์

63 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้นํากฎระเบียบสําหรับการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์เข้ามาใช้ ก่อนที่จะนําภาพยนตร์
ออกฉายในปีใด
(1) ปี 1930
(2) ปี 1932
(3) ปี 1935
(4) ปี 1936
ตอบ 1 หน้า 149 ในปี ค.ศ. 1930 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาได้หันมาสร้างภาพยนตร์ ที่มีความสุภาพมากขึ้น โดยมีการนําเอากฎระเบียบสําหรับการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์มาใช้ ก่อนที่จะนําภาพยนตร์ออกฉายให้ประชาชนได้ชม

64 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย โดยมีนักแสดงคนไทยทั้งเรื่อง คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และมีผู้กํากับเป็นชาวต่างชาติ คือ นาย Henry McRay แต่หนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

65 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย โดยผู้กํากับต่างชาติ คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 การแสดงจําอวดและการแสดงเดี่ยวซอสามสาย เกิดขึ้นจากการถ่ายทําของใคร
(1) พระยาภูมิเสวิน
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายทิ้ง มาฬมงคล
(4) นายอบ บุญติด
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 พี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทําภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยยืมอุปกรณ์จากบริษัท ฟ็อกซ์ มาถ่ายทําภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์บันทึกการแสดงจําอวด และการแสดงเดี่ยวซอสามสายและจะเข้ ต่อมาได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัตถ่ายทํา ด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นเอง คือ ภาพยนตร์ข่าวสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนครในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

67 บริษัท ไทยฟิล์ม ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ใด
(1) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล
(2) นายพจน์ สารสิน
(3) นายประสาท สุขุม และกลุ่มของอดีตนักเรียนต่างประเทศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 155 บริษัท ไทยฟิล์ม ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2481 จากการรวมกลุ่มของอดีตนักเรียน ต่างประเทศที่มีความรักในภาพยนตร์ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล, นายพจน์ สารสิน และนายประสาท สุขุม โดยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก คือ ถ่านไฟเก่า และตามมาอีก 2 เรื่อง คือ แม่สื่อสาว (พ.ศ. 2481) และวันเพ็ญ (พ.ศ. 2482)

68 คลื่น Hertz ถูกค้นพบโดยผู้ใด
(1) Heinrich Rudolf Hertz
(2) Guglielmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell

ตอบ 1 หน้า 159 Heinrich Rudolf Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทําให้เกิด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งเรียกกันแบบธรรมดาว่า “คลื่นวิทยุ หรือ Radio Wave”) และรับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกไปนั้นได้เป็นคนแรกของโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง Hertz ที่ประชุมนานาชาติจึงมีมติให้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า “Hertzian Wave” และให้ใช้คําว่า “เฮิรตซ์” (Hertz ใช้สัญลักษณ์คือ Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

69 David Sarnoff ได้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัทใด
(1) KDKA
(2) FCC
(3) RCA
(4) BCC
ตอบ 3 หน้า 162 – 163, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2473 – 2483 เดวิด ซานอฟ (David Sarnoff) เป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัท RCA และเขายังเป็นผู้พัฒนากิจการ เครื่องรับส่งวิทยุ โดยให้ความสําคัญกับวิทยุในฐานะให้ความบันเทิง เพราะจะทําเงินได้มาก

70 KDKA คือ สถานีวิทยุฯ แห่งแรกของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

71 กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ BBC เป็นของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อังกฤษมีแนวคิดที่แตกต่างจากอเมริกาในการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งรูปแบบวิทยุ ในอังกฤษจะเรียกว่า “กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ” (Public Service Broadcasting) หรือ BBC ก่อตั้งโดยจอห์น รีธ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการใหญ่คนแรก ทั้งนี้ BBC จะมีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา และให้ความบันเทิง ทําการออกอากาศแบบไม่มีโฆษณา โดยได้เงิน จากค่าภาษีเครื่องรับ มีบอร์ดบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐและเอกชน

72 การจัดผังรายการวิทยุรูปแบบวงกลมหรือแบบนาฬิกา (Clock) ใช้ระยะเวลาเท่าใด
(1) 30 นาที
(2) 45 นาที
(3) 1 ชั่วโมง
(4) 24 ชั่วโมง
ตอบ 3(คําบรรยาย) การจัดตารางการกระจายเสียงวิทยุรูปแบบวงกลมหรือแบบนาฬิกา (Clock) เป็นผังการจัดรายการวิทยุในระยะเวลา 1 ชั่วโมง โดยกําหนดว่ารายการที่จะนําเสนอในช่วง 1 ชั่วโมงนั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ข่าวต้นชั่วโมง เพลง สปอต และความรู้สลับกันไป ตลอดชั่วโมง เป็นต้น

73 พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

74 วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับวันที่
(1) 25 กุมภาพันธ์
(2) 1 เมษายน
(3) 1 กรกฎาคม
(4) 5 มิถุนายน
ตอบ 1 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

75 นักฟังเพลงสามารถฟังเพลงรูปแบบ Digital Radio กับอุปกรณ์ประเภทใดบ้าง
(1) คอมพิวเตอร์
(2) สมาร์ตโฟน
(3) แท็บเล็ต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Digital Radio หรือวิทยุดิจิทัล เป็นสื่อที่มียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักฟังเพลงผ่านวิทยุเริ่มหันมาใช้งานวิทยุดิจิทัลกันมากขึ้นบนอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ อย่าง กว้างขวางทั้งจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ รถยนต์ ตลอดไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

76 บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด เปิดทําการเมื่อวันที่
(1) 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
(2) 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513
(3) 14 มิถุนายน พ.ศ. 2498
(4) 9 มีนาคม พ.ศ. 2528
ตอบ 1 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

77 จอห์น แบร์ด คิดค้นโทรทัศน์ระบบใดขึ้นมา
(1) ระบบกลไก
(2) โทรทัศน์จอสี
(3) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(4) โทรทัศน์แบบสีและเสียง
ตอบ 1(คําบรรยาย) จอห์น แบร์ด เป็นนักประดิษฐ์ชาวสก๊อต ได้นําแนวคิดของพอล นิพโกว ซึ่งเป็น นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน มาพัฒนาต่อจนประสบความสําเร็จ เรียกว่า “โทรทัศน์ระบบกลไก โดยได้จัดสาธิตให้สาธารณชนดูที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภาพขาวดําภาพแรกที่เขา สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องทดลองของเขาได้ คือ ภาพ Stooky Bilt

78 โทรทัศน์ช่องแรกของไทย คือช่องใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 4
(3) ช่อง 5
(4) ช่อง 7
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 สถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
(2) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(3) สถานีโทรทัศน์ ETV กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มการ แพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทาน การใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

80 Facebook จัดอยู่ในหมวดใดของ Social Media
(1) Communication
(2) Collaboration
(3) Reviews and Opinions
(4) Entertainment
ตอบ 1 หน้า 204, (คําบรรยาย) Facebook เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking ที่จัดอยู่ ในหมวดการสื่อสาร (Communication) ของ Social Media มีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้น การสร้างความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนที่คบกันมานาน ก่อตั้งโดย Mark Zuckerberg ซึ่งเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ในขณะนั้นด้วยวัยเพียง 22 ปี

81 Collaboration มีลักษณะการทํางานอย่างไรบน Social Network
(1) เป็นกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน
(2) เป็นการรวมตัวกัน โดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน
(3) เป็นลักษณะการจําลองโลกเสมือน
(4) เป็นการแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตนเอง
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,
del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

82 Milgram ใช้สารประเภทใดในการทดลอง Six Degrees of Separation
(1) เอกสาร (จดหมาย)
(2) การบอกเล่าปากต่อปาก
(3) ส่งข้อความผ่าน Inbox Facebook
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 196 – 197 ในปี ค.ศ. 1967 Stanley Milgram นักจิตวิทยาสังคมแห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ได้นําแนวคิด Six Degrees of Separation มาศึกษาอย่างจริงจัง และได้ทดลอง โดยการสุ่มคนจากรัฐแคนซัสและเนบราสก้าประมาณ 300 คน เพื่อให้คนกลุ่มนี้ส่งเอกสาร (จดหมาย) ไปถึงเป้าหมายที่เป็นคนเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยชาวเมืองแคนซัสและ เนบราสก้าผู้ได้รับโจทย์ดังกล่าวจะใช้วิธีส่งต่อเอกสาร (จดหมาย) ไปยังผู้ที่ตนคาดว่าจะรู้จัก กับเป้าหมายต่อกันไปเป็นทอด ๆ

83 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

84 Page Facebook มีไว้เพื่ออะไร
(1) ยืนยันตัวตนสําหรับแบรนด์ ธุรกิจ องค์กร และบุคคลสาธารณะ
(2) เป็นโปรไฟล์บุคคลเพื่อแสดงตัวตน
(3) เป็นโปรไฟล์ของเพื่อนใน Facebook
(4) แสดงความเคลื่อนไหวของเพื่อน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) Facebook แบ่งพื้นที่ให้ใช้งานตามวัตถุประสงค์หลาย ๆ รูปแบบ ดังนี้
1 เฟซบุ๊กส่วนตัว (Facebook Profile) ประกอบด้วย หน้าฟีดข่าวที่เห็นความเคลื่อนไหวของ เพื่อน เพจที่กดติดตาม และโพสต์ที่เกิดจากหน้าโปรไฟล์ของบุคคล ซึ่งผู้ที่จะเห็นข้อมูลที่เรา โพสต์ต้องเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก จึงเหมาะสําหรับแชร์เรื่องราวกับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว
2 เพจ (Facebook Page) มีไว้เพื่อใช้งานในเชิงธุรกิจ เช่น แบรนด์ ธุรกิจ องค์กร หรือบุคคล สาธารณะ เพื่อยืนยันตัวตนบนเฟซบุ๊ก ซึ่งเพจสามารถเพิ่มผู้ดูแลเพื่อช่วยในการแก้ไขข้อมูล อัปเดตข่าวสาร โดยไม่จํากัดจํานวนเพื่อน เพราะเป็นการกดถูกใจ กดติดตาม ทําให้โอกาส ที่คนจะเข้ามาพบเห็นโพสต์ของเราก็จะมีมากขึ้น

85 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

86 การใช้ Hashtag (แฮชแท็ก) เปรียบเสมือนสิ่งใดในโลกโซเชียลมีเดีย
(1) คําค้นหาหลัก
(2) การขายของ
(3) การแสดงความเห็น
(4) สัญลักษณ์อักษร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Hashtag (แฮชแท็ก) หรือเครื่องหมาย # เปรียบเสมือนเป็นคําค้นหาหลัก หรือ เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) ในโลกโซเชียลมีเดีย ใช้เพื่อค้นหากลุ่มคน กลุ่มเพื่อนที่อาจจะไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่มีความสนใจเหมือนกันในเรื่องเดียวกัน มีความรู้สึกเหมือนกัน อารมณ์ เดียวกัน หรือตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน สถานที่เดียวกัน ฯลฯ ดังนั้นการใช้แฮชแท็กจึงอาจ ทําให้เราได้เพื่อนใหม่ หรือผู้ติดตามใหม่ ๆ ที่สนใจเรื่องเดียวกับเรา โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

87 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 4 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

88 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

89 Facebook กลุ่มวิชานี้ คือ
(1) MCS 1150
(2) MCS 1150 (MCS 1100)
(3) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
(4) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Facebook ของกลุ่มวิชานี้ คือ MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง

90 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ PR Ramkhamhaeng University

91 สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU Easy Radio คือ สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งจะ ออกอากาศทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16.00 – 19.00 น. โดยสามารถเข้าไปรับฟังได้ที่ www.masscomradio.com

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4(คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้…

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ (1) (2) (3) หรือ (4)…

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97 ถ้าใครส่งภาพไม่เหมาะสมให้นักศึกษาแล้วนักศึกษาแชร์ต่อให้เพื่อน จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

98 เลิกกับแฟนเก่าแล้วเอาภาพส่วนตัวมาตัดต่อแล้วโพสต์ลง Facebook ทําให้แฟนเก่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

99 ในยุคโซเชียลมีเดีย Fake News เข้ามามีบทบาทในด้านใดบ้าง
(1) เสียดสีหรือล้อเลียน
(2) ข่าวที่ทําให้เข้าใจผิด
(3) ลวงผู้รับสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) First Draft News ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับ Fake News หรือ ข่าวปลอม ร่วมกับ Social Media และ Publisher อีกกว่า 30 ราย รวมไปถึง Facebook, Twitter, New York Times หรือ BuzzFeed ได้ให้นิยามของข่าวปลอมไว้ 7 รูปแบบ ดังนี้
1 Satire or Parody คือ ข่าวเสียดสีหรือล้อเลียนให้เกิดความตลก
2 False Connection คือ ข่าวที่เชื่อมโยงข้อมูลมั่ว โดยพาดหัวข่าว ภาพประกอบ แคปชัน ไม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของข่าวดังกล่าวเลย
3 Misleading Content คือ ข่าวที่ทําให้เข้าใจผิดทั้งประเด็นหรือตัวบุคคล
4 False Context คือ ข่าวที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ผิดบริบท โดยการเอาข้อมูลที่เกิดขึ้นในบริบท หนึ่ง ๆ มาใส่ในอีกบริบทหนึ่ง เช่น เอาเหตุการณ์ในที่หนึ่งมาใส่ในอีกที่หนึ่ง เป็นต้น
5 Imposter Content คือ อ้างแหล่งที่มามั่ว ๆ
6 Manipulated Content คือ การตัดต่อ ดัดแปลง แต่มีข้อเท็จจริงอยู่บ้าง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการลวงผู้รับสาร
7 Fabricated Content คือ ข่าวปลอม 100% โดยไม่มีมูลใด ๆ ทั้งสิ้นเลย ถือเป็นขั้นที่รุนแรง ที่สุดของ Fake News

100 ข่าวที่เชื่อมโยงข้อมูลมั่ว พาดหัวข่าว ภาพประกอบ ไม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของข่าวดังกล่าวเลย คือ
Fake News ประเภทใด
(1) Misteading Content
(2) False Connection
(3) Fabricated Content
(4) Imposter Content
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์เผ่าอะไรที่สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง
(1) Australopithecus
(2) Homo Habitis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์พวก Neanderthal (Homo Sapiens Neanderthalensis) ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อประมาณ 150,000 – 125,000 ปีมาแล้ว จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้เสียงเท่าที่จะสามารถเปล่งออกมาได้เท่านั้น

2 มนุษย์เผ่าอะไรที่เชื่อว่าพูดได้เป็นพวกแรก

(1) Australopithecus
(2) Homo Habitis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะ
พูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

3 ปรมาจารย์ที่ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

4 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 5 – 7 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว
(2) การสื่อสารแบบสองขั้นตอน
(3) การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน
(4) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม

5 แบบจําลองการสื่อสารแบบใดที่ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น รายการ “คืนความสุขให้ประเทศไทย” ทุกวันศุกร์, รายการ “ศาสตร์พระราชา” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ซึ่งออกอากาศทุกช่อง ฯลฯ

6 การสื่อสารในรูปแบบใดที่ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสาร อาจจะผ่านสื่อหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จาก หลากหลายช่องทาง เช่น ผู้รับสารอาจได้รับข่าวสารทั้งจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ และ ชมโทรทัศน์ ในขณะที่ผู้รับสารอีกหลายคนอาจได้รับข่าวสารโดยผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารแบบนี้เป็นการรวมการสื่อสารแบบขั้นตอนเดียวและแบบ สองขั้นตอนเข้าด้วยกัน

7 การสื่อสารในรูปแบบใดที่ผู้รับสารสามารถรับรู้และเข้าใจข่าวสารได้จากผู้นําทางความคิด (Opinion
Leader)
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารไปถึงผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) ในชุมชนหรือในกลุ่มสังคมก่อน เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พระ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ หลังจากนั้น จึงถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม ส่งผลให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสารไม่มีอิทธิพล โดยตรงต่อผู้รับสารส่วนใหญ่

8 ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ คือปัจจัยใด
(1) ความต้องการ
(2) ความคาดหวัง
(3) ความพึงพอใจ
(4) ความทุกข์
ตอบ 1 หน้า 55 – 56, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Approach) มองว่า ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนอง ความพึงพอใจจะมาจาก “ความต้องการ” (Need) ของแต่ละคน

9 ตามหลักการของทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริงที่เชื่อว่า ผู้รับสารที่บริโภคข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์น้อย
จะมีบุคลิกเช่นใด
(1) เชื่อข่าวสารที่นําเสนอจากโทรทัศน์ และค่อนข้างหวาดกลัวโลกแห่งความเป็นจริง
(2) ตรวจสอบข่าวสารจากแหล่งอื่นควบคู่ไปกับแหล่งข่าวจากโทรทัศน์
(3) เชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลต่อความคิด
(4) เชื่อว่าสื่อนําเสนอเนื้อหาข่าวสารตามความเป็นจริง

ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริง (Cultivation Theory) มองว่า คนที่รับชมโทรทัศน์มากจะเชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลต่อความคิด และสื่อนําเสนอเนื้อหาข่าวสารตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อเปิดรับชมโทรทัศน์ที่มีแต่ความรุนแรงมากก็จะค่อนข้างหวาดกลัว โลกแห่งความเป็นจริง และมองโลกว่าเต็มไปด้วยความโหดร้าย ส่วนผู้ที่บริโภคข่าวสารจาก สื่อโทรทัศน์น้อยจะตรวจสอบข่าวสารจากแหล่งอื่นควบคู่กันไป และจะเลือกเชื่อแต่ส่วนที่สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตจริงของตน

10 ข้อใดไม่ใช่โลกที่แวดล้อมตัวผู้รับสารตามหลักการของทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริง
(1)โลกแห่งความเป็นจริงที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น
(2) โลกในอุดมคติ
(3) โลกที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ถูกนําเสนอผ่านสื่อ
(4) โลกของผู้รับสารแต่ละคนที่เลือกตีความเหตุการณ์นั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริง (Cultivation Theory) มองว่า โลกที่แวดล้อมตัวผู้รับสารมีอยู่ 2 โลก ได้แก่
1 โลกที่เป็นจริง คือ โลกแห่งความเป็นจริง ที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น
2 โลกผ่านสื่อ คือ โลกที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ถูกนําเสนอผ่านสื่อ (ซึ่งทั้ง 2 โลกข้างต้นจะขึ้นอยู่กับโลกของผู้รับสารแต่ละคนที่เลือกตีความเหตุการณ์นั้น ๆ)

11 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
(1) เพื่อความบันเทิง
(2) เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
(3) เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(4) เพื่อให้ยอมรับในระบบทุนนิยมว่าดีที่สุด
ตอบ 4หน้า 50 – 51, 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชน ได้แก่
1 เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2 เพื่อประสานความขัดแย้งของกลุ่มต่าง ๆ
3 เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
4 เพื่อความบันเทิง (ถือเป็นหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองระบบทุนนิยม)

12 ข้อใดคือหน้าที่หลักของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม เพื่อตอบสนองระบบทุนนิยม
(1) เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
(2) เพื่อความบันเทิง
(3) เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(4) เพื่อประสานความขัดแย้งของกลุ่มต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 ข้อใดคือการไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
(1) นางสาวเอ พึงพอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(2) นายบี รู้สึกว่าตนเองโชคดีหลังจากที่ดูรายการไมค์ปลดหนี้
(3) นางซี รู้สึกคับข้องใจกับสภาพสังคมที่ตนเองใช้ชีวิตอยู่
(4) นายดี สามารถเล่าประวัติความเป็นมาของอาณาจักรอยุธยาให้นักท่องเที่ยวทราบได้
ตอบ 3 หน้า 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชน คือ การนําเอารายการหรือภาพยนตร์ต่าง ๆ ของประเทศที่เจริญแล้วมาสู่ประเทศกําลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา จนส่งผลให้คนในประเทศที่ ด้อยกว่ารู้สึกคับข้องใจกับสภาพสังคมที่ตนเองใช้ชีวิตอยู่ โดยเน้นทางด้านการอยากได้อยากมี ในวัตถุต่าง ๆ เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

14 ข้อใดคือการทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของ
ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(1) สื่อรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมตามความเป็นจริง
(2) สื่อน่าเสนอโฆษณาเพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคให้ใช้จ่ายมากขึ้น
(3) สื่อนําเสนอว่าระบบทุนนิยมเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดแล้วกับสังคมของเรา
(4) สื่อนําเสนอข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม ได้แก่ การที่สื่อมวลชนนําเสนอว่าระบบทุนนิยมเป็นระบบ ที่เหมาะสมที่สุดแล้วกับสังคมของเรา ดังนั้นเหตุผลของการทําหน้าที่นี้ก็เพื่อต้องการจะบอกว่า สังคมที่เราอยู่ตอนนี้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ หรือการ ที่ต้องตกงานแม้ว่าจะขยันก็ตาม

15 ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการเลือกใช้สื่อของผู้รับสารเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ
(1) เพื่อแสวงหาความมั่นคงในจิตใจ
(2) เพื่อยกระดับรสนิยมของตนเองให้สูงขึ้น
(3) เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 55 – 57, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Apprcach) มองว่า การเลือกใช้สื่อมวลชนของผู้รับสารเป็นไปเพื่อตอบสนอง ความพึงพอใจของตน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม ดังนี้
1 เพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง หรือใช้เป็นหัวข้อในการสนทนา
2 เพื่อแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจ
3 เพื่อแสวงหาความหมายและทําความเข้าใจ
4 เพื่อสร้างอัตลักษณ์/เอกลักษณ์ของตนเองหรือกลุ่มที่ตนสังกัด
5 เพื่อยกระดับรสนิยมของตนเองให้สูงขึ้น หรือปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้ดีขึ้น

16 ข้อใดไม่ใช่รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสารตามแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม การเข้ารหัส & ถอดรหัสสาร
(1) ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอทั้งหมด
(2) ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(3) ผู้รับสารเมินเฉยต่อสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(4) ผู้รับสารเห็นด้วยบ้าง/ไม่เห็นด้วยบ้างกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอ
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสารตามแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส (Encoding & Decoding Concept) มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
1 ยอมรับ คือ ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
2 ต่อรอง คือ ผู้รับสารเห็นด้วยเพียงบางส่วนกับข้อมูลที่ได้รับ และปรับส่วนที่ไม่เห็นด้วย
ให้เข้ากับความคิดของตน
3 โต้แย้ง คือ ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด

17 ข้อใดคือสมญานามที่สื่อมวลชนได้รับจากการคาดหวังของประชาชน
(1) สุนัขเฝ้าบ้าน
(2) ฐานันดรที่ 4
(3) ผู้ชี้ทางสว่าง
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมญานามที่สื่อมวลชนได้รับจากการคาดหวังของประชาชน คือ การทําหน้าที่ เป็น “ฐานันดรที่ 4” ซึ่งสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างอิสระ และเป็นเวทีของการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี รวมทั้งการที่สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็น “สุนัขเฝ้าบ้าน” เพื่อติดตามผลงานของรัฐบาล และดูแลผลประโยชน์ของประชาชน

18 ข้อใดคือลักษณะของสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(1) มีความคาดหวังให้คนในสังคมทุกชนชั้นมีความเท่าเทียม
(2) มุ่งเน้นการสนับสนุนนโยบายของรัฐ และรับใช้ความมั่นคงของรัฐ
(3) สื่อมวลชนปฏิบัติงานโดยยึดหลัก “ความรับผิดชอบ” ควบคู่กับ “การมีเสรีภาพ”
(4) บรรดาเจ้าของทุนขนาดใหญ่ได้เข้ามากว้านซื้อกิจการหนังสือพิมพ์รายย่อย
ตอบ 4 หน้า 61 – 63, (คําบรรยาย) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม ทําให้อุตสาหกรรมสื่อมวลชน ขยายตัวอย่างกว้างขวาง และเริ่มให้ความสําคัญกับมิติทางเศรษฐกิจ ทําให้เกิดผลที่ตามมา คือ บรรดาเจ้าของทุนขนาดใหญ่ได้เข้ามากว้านซื้อกิจการหนังสือพิมพ์รายย่อย จนในที่สุดก็เหลือหนังสือพิมพ์รายใหญ่เพียงไม่กี่ราย

19 การที่ผู้นําบางประเทศใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของสังคม เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 ผู้นําบางประเทศอาจใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของสังคม เช่น กลยุทธ์การใช้สื่อของ Adolf Hitler
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท
5 สื่อมวลชนถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็นเครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้ ฯลฯ

20 ปรากฏการณ์ที่สื่อมวลชนต้องพัฒนา “ความรับผิดชอบ” ควบคู่กับ “การมีเสรีภาพ” เกิดขึ้นในยุคทฤษฎี สื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 เน้นการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปกับการมีเสรีภาพ
3 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยสื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
4 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
5 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ

21 เพราะเหตุใดสื่อมวลชนจําเป็นต้องมี “บรรทัดฐาน” ในการทํางาน
(1) เพื่อขยายกลุ่มผู้รับสารให้กว้างมากขึ้น
(2) เพื่อองค์กรจะได้ทํากําไรมากขึ้น
(3) เพื่อคอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อมวลชนตกต่ำ หรือเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์
หรือจรรยาบรรณมากไปกว่านี้
(4) เพื่อเป็นข้อบังคับในการทํางานของสื่อมวลชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน มองว่า สาเหตุที่สื่อมวลชน จําเป็นต้องมี “บรรทัดฐาน” ในการทํางาน คือ เพื่อคอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อมวลชน ตกต่ำ หรือเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อ การกํากับดูแล และ จรรยาบรรณของสื่อ

22 ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ โดยที่รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ
เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็น
ต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

24 การที่สื่อมวลชนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตก เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3หน้า 67, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา มีดังนี้
1 สื่อมวลชนทําหน้าที่และปฏิบัติงานด้านการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ
2 สื่อมวลชนควรให้ความสําคัญต่อเนื้อหาด้านวัฒนธรรมและภาษาของชาติเป็นลําดับแรก
3 ข่าวสารที่นําเสนอต้องให้ความสนใจกับประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอ
ข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตก

4 เสรีภาพของสื่อมวลชนสามารถควบคุมได้
5 รัฐมีสิทธิแทรกแซงหรือจํากัดการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วยวิธีการเซ็นเซอร์ การให้เงินอุดหนุน และการควบคุมสื่อมวลชนโดยตรงจึงเป็นวิธีการที่มีเหตุผล

25 ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นในยุคระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วม
แบบประชาธิปไตย
(1) เริ่มมีกระบวนการตรวจสอบกันเองขององค์กรสื่อ
(2) เกิดการพัฒนาสื่อชุมชนที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
(3) ยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมในการทํางาน
(4) มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย จะสนับสนุนสื่อมวลชนที่มีความหลากหลาย สื่อที่มีขนาดเล็ก และเน้นการพัฒนาสื่อชุมชน เช่น วิทยุชุมชน สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ ให้กระจายไปตามท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

26 อักษรภาพที่ชาวสุเมเรียนใช้ในการสื่อสาร มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกรีสยูเฟรติส
ตอบ 1 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็น เกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

27 อักษรภาพที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ในการวาดภาพสื่อเรื่องราวต่าง ๆ มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกริสยูเฟรติส
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ชาวอียิปต์โบราณถือเป็นพวกที่มีอํานาจมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุค เดียวกัน เพราะพวกเขาได้คิดตัวอักษรภาพที่มีชื่อว่า “เฮียโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) เพื่อใช้ ในการวาดภาพแสดงความหมายหรือสื่อเรื่องราวต่าง ๆ

28 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวยุโรปมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 81 – 83, (คําบรรยาย) หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวยุโรปจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก โดยบาทหลวงที่ขยันหมั่นเพียรได้คัดลอกหนังสือทางศาสนาคริสต์ มากกว่าพันเล่ม และส่วนใหญ่ยังคงใช้ภาษาละติน

29 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) ก่อนปี ค.ศ. 1800 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือ จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1855 นอกจาก หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาแล้ว ยังมีการพิมพ์หนังสือประเภทนวนิยายออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย

30 การเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดเป็นอย่างแรกในสังคมยุโรป
(1) เริ่มมีการพิมพ์หนังสือทางโลกนอกเหนือจากเรื่องราวของศาสนาคริสต์มากขึ้น
(2) พระคัมภีร์ไบเบิลถูกแปลเป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น
(3) เกิดวรรณกรรมพื้นบ้านมากขึ้น
(4) เกิดการค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ
ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) หลังจากเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กแพร่หลาย ได้มีการพิมพ์ พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส สเปน และอิตาเลียน (จากเดิมที่มีแต่ภาษาละติน) ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงประการแรก ในสังคมยุโรป

31 หนังสือประเภทใดที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายหลังจากที่การพิมพ์หนังสือภาษาท้องถิ่นเริ่มเข้ามาแทนที่
ภาษาละตินในทวีปยุโรป
(1) หนังสือนวนิยาย
(2) หนังสือปรัชญา
(3) หนังสือนิทานอีสป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 89, (คําบรรยาย) การพิมพ์หนังสือภาษาท้องถิ่นแทนที่ภาษาละตินในทวีปยุโรป ทําให้ เนื้อหาของหนังสือมีความหลากหลาย เช่น เนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และการค้นพบโลกใหม่ ฯลฯ

32 เพราะเหตุใดหนังสือจึงไม่ได้รับความนิยมมากนักในยุคแรกเริ่มทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
(1) มีแต่หนังสือที่เกี่ยวกับศาสนา
(2) หนังสือที่ผลิตออกมาต้องผ่านการอนุญาตจากรัฐบาล
(3) ประชาชนให้ความสําคัญกับการทํางาน
(4) สังคมเป็นชนบท การเดินทางยากลําบาก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุที่หนังสือไม่ได้รับความนิยมมากมายนักในยุคแรกเริ่มทั้งในทวีปยุโรปและ อเมริกาเหนือ คือ มีประชาชนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่อ่านออกเขียนได้ เนื่องจากให้ความสําคัญ กับการศึกษาน้อย และมุ่งเน้นกับการทํางานเกษตรกรรมมากกว่า

33 คําว่า Paper ที่แปลว่า กระดาษ มีที่มาจากคํา ๆ ใด
(1) Papyrus
(2) Papier
(3) Paprica
(4) Pacquiao
ตอบ 1 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nile)

34 ข้อใดไม่ใช่บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ
(1) มีความเป็นปัจเจก
(2) มีหลากหลายอารมณ์
(3) มีเหตุมีผล
(4) ชอบจินตนาการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ มีดังนี้
1 แยกตัวอย่างโดดเดี่ยว
2 รักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับเรื่องที่อ่าน
3 ส่งเสริมวิธีคิดแบบมีเหตุมีผล
4 ชอบจินตนาการ
5 ส่งเสริมทัศนคติแบบปัจเจกบุคคล

35 นิตยสารของไทยที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 ยกเว้นข้อใด
(1) คู่สร้างคู่สม
(2) ขวัญเรือน
(3) ลลนา
(4) ดิฉัน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นิตยสารของประเทศไทยที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 ได้แก่ ขวัญเรือน คู่สร้างคู่สม และดิฉัน ซึ่งนิตยสารทั้ง 3 เล่ม วางแผงฉบับสุดท้ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 (ส่วนนิตยสารลลนา ออกวางแผงฉบับแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2538)

36 ข้อใดคือการปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบัน
(1) จัดหมวดหมู่หนังสือตาม Life Style ของลูกค้า
(2) ขยายสาขาของร้านตามห้างสรรพสินค้าชื่อดัง
(3) วางจําหน่ายเฉพาะหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) มีการพิมพ์หนังสือเพิ่มมากขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบัน คือ มีการจัดหมวดหมู่หนังสือหรือ แยกประเภทตามรูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ของลูกค้า จัดทําระบบฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อนํามาวิเคราะห์ รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการ ของผู้บริโภคมากขึ้น

37 ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสังคมก้าวผ่านยุคการพูดมาสู่ยุคการเขียน
(1) การบันทึกประวัติศาสตร์ผ่านการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น
(2) มีการเกิดขึ้นของนิยายปรัมปราหรือตํานานมากขึ้น
(3) เน้นการท่องจําในรูปแบบของสูตร
(4) ให้ความสําคัญกับเจ้าของผลงาน
ตอบ 4 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) ในยุคของการพูดนั้น การส่งผ่านความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คน อีกรุ่นหนึ่งต้องอาศัยการท่องจําและการบอกเล่าแบบปากต่อปาก เช่น การเล่านิยายปรัมปรา หรือตํานาน เพื่อเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนในสังคมไว้ แต่เมื่อมีภาษาเขียนเกิดขึ้น ความรู้ต่าง ๆ ก็ได้รับการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการให้ความสําคัญกับเจ้าของ ผลงานที่สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า

38 หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยที่เกิดจากมิชชันนารีชาวอเมริกัน มีชื่อว่าอะไร
(1) Bangkok Post
(2) Bangkok Recorder
(3) Bangkok Bradley
(4) Bangkok Today
ตอบ 2 หน้า 101 – 102, 126 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคราชสํานัก จะเริ่มนับจากการที่หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เริ่มดําเนินการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรก ที่มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) ออกมาให้คนไทยในสมัยนั้นได้อ่าน (แต่นักวิชาการบางท่านก็ได้ให้ความเห็นว่า บางกอกรีคอร์เดอร์มีลักษณะเป็นนิตยสาร มิใช่หนังสือพิมพ์)

39 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ด้านคุณค่าข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ
(1) ความดราม่า
(2) เทคโนโลยีและความก้าวหน้า
(3) ความเร้าอารมณ์ทางเพศ
(4) ความแปลก
ตอบ 1(คําบรรยาย) คุณค่าเชิงข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ ได้แก่
1 ความใหม่สด/รวดเร็ว
2 ความใกล้ชิด
3 ความต่อเนื่อง/ผลกระทบ
4 เรื่องที่คนสนใจ เรื่องส่วนบุคคล
5 ความก้าวหน้า
6 ความเด่น
7 ความแปลก
8 ความขัดแย้ง
9 ความมีเงื่อนงํา
10 ความเร้าอารมณ์ทางเพศ
11 เทคโนโลยี/ความก้าวหน้า

40 หลังจากการเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก ได้เริ่มมีการเผยแพร่เรื่องราวต่าง ๆ ในรูปแบบของ
เอกสารสั้น ยกเว้นเรื่องใด
(1) การค้นพบดินแดนใหม่ ๆ
(2) การเดินทางจาริกแสวงบุญในทวีปยุโรป
(3) การปฏิวัติฝรั่งเศส
(4) การเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป
ตอบ 3(คําบรรยาย) หลังจากการเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์กูเต็นเบิร์ก ได้เริ่มมีการเผยแพร่เรื่องราว ต่าง ๆ และพิมพ์เหตุการณ์สําคัญในรูปแบบเอกสารสั้น เช่น การค้นพบโลกใหม่ของโคลัมบัส, การเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป และการเดินทางจาริกแสวงบุญ เป็นต้น

41 ในช่วงที่ประเทศไทยมีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นถูกจํากัดสิทธิเสรีภาพในด้านใด
(1) เศรษฐกิจ
(2) สังคม
(3) บันเทิง
(4) การเมือง
ตอบ 4หน้า 102 – 103 ในช่วงที่ไทยมีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นถูกจํากัด สิทธิเสรีภาพในด้านการเสนอข่าวความขัดแย้งทางการเมือง ทําให้เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ เริ่มยึดแนวปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อป้องกันตนเองจากการถูกปิด ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้าง จากภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อมาในอนาคต คือ หนังสือพิมพ์เคยชินต่อการเสนอเนื้อหาข่าวแบบ เบาสมอง ข่าวบันเทิง อาชญากรรม ฯลฯ มากกว่าเนื้อหาด้านการเมือง

42 ชื่อโรงภาพยนตร์ในครั้งแรก ชื่อว่า
(1) The Odeon
(2) The Nickelodeon
(3) Hollywood
(4) Vaudeville
ตอบ 2 หน้า 144 คําว่า “Nickelodeon” เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรงภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นขึ้น ใน ค.ศ. 1905 โดยผู้ที่ร่วมกันลงทุน 2 คน มาจากเมือง Pittsburgh คือ Harry P. Davis และ John P. Harris ได้เริ่มต้นธุรกิจการทําโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า The Nickelodeon อยู่ในเมือง Pittsburgh และเก็บเงินค่าเข้าชมภาพยนตร์จากคนดูเพียง 5 เซ็นต์เท่านั้น จึงส่งผลให้ในเวลา เพียงแค่สัปดาห์เดียว พวกเขาก็สามารถทําเงินได้ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ

43. หนังสือพิมพ์ทั้งในไทยและต่างประเทศส่วนมากใช้วิธีการใดในการป้องกันตนเองจากการถูกปิด
ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้างจากภาครัฐ
(1) ลุกขึ้นมาโจมตีรัฐบาลอย่างเปิดเผย
(2) นําเสนอเนื้อหาข่าวเบาสมอง ข่าวบันเทิง
(3) หยุดการผลิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง
(4) เขียนคอลัมน์ร้องทุกข์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

44 ข้อใดคือคุณสมบัติของหนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม
(1) เน้นนําเสนอภาพข่าวพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์
(2) นําเสนอข่าวเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
(3) เนื้อหาอยู่ในบริบทของการเมือง เศรษฐกิจ
(4) มีความสลับซับซ้อนของการนําเสนอเนื้อหา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (Popular Newspaper) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ที่เน้นนําเสนอแต่ข่าวเบา เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับ ความพอใจจากการอ่านอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเสนอเรื่องเพื่อให้ความบันเทิงมากกว่าให้ความรู้ และเน้นนําเสนอภาพข่าวพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์

45 ข้อใดไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)
(1) กองบรรณาธิการของแต่ละสื่อแยกส่วนกันทํางาน
(2) สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลและออนไลน์
(3) องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อและเนื้อหาที่หลากหลาย
(4) เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) มีดังต่อไปนี้
1 สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล ออนไลน์ และแพลตฟอร์ม
2 เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
3 พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมีการนําเสนอรูปแบบการสื่อสารใหม่ ๆ
4 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อและเนื้อหาที่หลากหลาย

46 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์
(1) รายงานข่าวผ่านหลากหลายช่องทางสื่อได้
(2) มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์
(3) ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม
(4) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสื่อใดสื่อหนึ่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์ (Convergence) มีดังนี้
1 รายงานข่าวผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย
2 ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ ฯลฯ
3 มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์ ตัดต่อภาพ ทําวิดีโอ และถ่ายภาพนิ่ง
4 มีทักษะการสื่อข่าวหลายด้าน ฯลฯ

47 ข้อใดไม่ใช่การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัลที่เห็นได้ชัดเจน
(1) ช่องดิจิทัลที่พัฒนามาจากธุรกิจสื่อประเภทอื่น มีเนื้อหารายการที่หลากหลาย
(2) เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์
(3) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(4) เพิ่มหน้าแบบพิมพ์สีในหนังสือพิมพ์มากขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิธีปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัล มีดังนี้
1 เปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์ แบบแจกฟรี (Free Copy) โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
2 เพิ่มหน้าแบบพิมพ์ 4 สี ในหนังสือพิมพ์มากขึ้น เพื่อให้เข้ากับคนยุคใหม่
3 เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เจาะกลุ่มคนวัยทํางานและวัยเรียน
4 เน้นข่าวสดใหม่ พิมพ์วันต่อวัน ฯลฯ

48 จุดมุ่งหมายสําคัญของการเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy) ในยุคปัจจุบัน คือข้อใด
(1) ต้องการเจาะกลุ่มวัยทํางานที่ชอบอ่านเนื้อหาแบบกระชับ หลากหลาย เข้าใจง่าย
(2) ต้องการเพิ่มปริมาณการพิมพ์เล่ม
(3) ต้องการให้คนมีงานทํามากขึ้น
(4) ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 นิตยสารเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศใด
(1) เยอรมนี
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า “The Review ซึ่งถือเป็นนิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)

50 นิตยสารฉบับแรกของไทยที่เกิดจากมิชชันนารีชาวอเมริกัน มีชื่อว่าอะไร
(1) Bangkok Post
(2) Bangkok Recorder
(3) Bangkok Bradley
(4) Bangkok Today
ตอบ 2 หน้า 124 – 126 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดนิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรกของกรุงสยาม มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น ดําเนินการ โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งได้พิมพ์นิตยสารฉบับนี้ เป็นภาษาไทย และเรียกสิ่งพิมพ์ที่ตนจัดทําขึ้นมาว่า Journal หมายถึง นิตยสาร

51 ข้อใดคือหัวข้อสําคัญในการนําเสนอของนิตยสารในยุคแรก
(1) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง
(2) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการทหารและการเมือง
(3) นําเสนอเนื้อหาด้านการค้นพบทวีปอเมริกา
(4) นําเสนอเนื้อหาด้านการเผยแผ่ศาสนา
ตอบ 2 หน้า 111 นิตยสารถือกําเนิดขึ้นในช่วงปลายปี 1500 ซึ่งนิตยสารในยุคแรกนั้นได้บรรจุหัวข้อ สําคัญ ๆ ที่มีความแตกต่างกัน โดยปกติแล้วจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทหาร เป็นเรื่องราวภายใน กองทัพ และการเมือง

52 นิตยสารฉบับใดในรัชกาลที่ 6 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
(1) ดุสิตสมิตรายสัปดาห์
(2) ปราโมทย์นคร
(3) หลักเมืองวันอาทิตย์
(4) กรุงเทพฯ การเมือง
ตอบ 1 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการทางด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองมาก โดยมี นิตยสารออกถึง 127 ฉบับ ซึ่งฉบับสําคัญที่รัชกาลที่ 6 ทรงออกเพื่อให้ความรู้เรื่องการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย คือ นิตยสารดุสิตสมิตรายสัปดาห์

53 นิตยสารเด็กไม่ค่อยประสบความสําเร็จในช่วงแรกเพราะเหตุใด
(1) บรรดาผู้ปกครองไม่เห็นด้วย
(2) เด็กเป็นกลุ่มที่ไม่มีกําลังซื้อ
(3)เนื้อหาในนิตยสารไม่ดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ
(4) เด็กเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นิตยสารเด็กไม่ค่อยประสบความสําเร็จในช่วงแรก เพราะเด็กไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ที่มีกําลังซื้อมากนัก ต่อมาจึงได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับเด็กในนิตยสารผู้หญิง เช่น สกุลไทย ขวัญเรือน และกุลสตรี

54 ข้อใดคือการปรับตัวของนิตยสารในยุคปัจจุบัน
(1) เพิ่มปริมาณการพิมพ์เล่มนิตยสารมากขึ้น
(2) จัดกิจกรรมโรดโชว์ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนํา
(3) นิตยสารที่เคยผลิตขึ้นสําหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ มีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ชายมากขึ้น
(4) เลือกขายเฉพาะนิตยสารขายดี (Best Setter) ในร้านหนังสือชั้นนํา
ตอบ 3
(คําบรรยาย) การปรับตัวของสื่อนิตยสารในยุคปัจจุบัน ได้แก่
1 ใช้ช่องทางออนไลน์และทีวีดิจิทัล นําเสนอข่าวสารควบคู่กับสื่อสิ่งพิมพ์
2 นําเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบโจทย์ Life Style ของคนเมือง
3 ขยายกลุ่มเป้าหมายมายังกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ได้แก่ นิตยสารสําหรับผู้หญิงมีการขยาย การผลิตที่ตอบสนอง Life Style ของผู้ชายมากขึ้น เช่น นิตยสาร Elle Men ฯลฯ

55 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง
(1) คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์
(2) สมาชิกนิตยสารลดน้อยลง
(3) ผู้ผลิตไม่ต้องการปรับตัวไปนําเสนอเนื้อหาในสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์
(4) ผู้ผลิตต้องการพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว
ตอบ 3 (คําบรรยาย)
สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง มีดังนี้
1 คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์ ทําให้สูญเสียผู้อ่านไป
2 มีสมาชิกนิตยสารลดน้อยลง ไม่คุ้มที่จะผลิตต่อ
3 ผู้ผลิตต้องการวางมือเพื่อพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

56 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่องจนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Roget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

57 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และ มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส – เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และการใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้

58 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope” และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville

59 โรงถ่ายภาพยนตร์ The “Big Five” ได้แก่
(1) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, Columbia, Warner Brothers
(2) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, Universal, Warner Brothers
(3) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, RKO, Warner Brothers
(4) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, Republic, Warner Brothers
ตอบ 3 หน้า 150 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโรงถ่ายภาพยนตร์ที่สําคัญเพียงไม่กี่โรง ซึ่งมีอิทธิพลต่อ การสร้างภาพยนตร์มาก คือ ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 (The “Big Five”) ซึ่งได้แก่ MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, RKO Warner Brothers

60 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย โดยผู้กํากับต่างชาติ คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

61 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เป็นของใคร
(1) พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) นายประสาท สุขุม
ตอบ 2หน้า 153 – 155 ผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย คือ พี่น้องวสุวัต ซึ่งมีกิจการสร้าง ภาพยนตร์เป็นของตัวเอง เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง” ทั้งนี้ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาประดิษฐ์ ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าวสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

62 ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 4(คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ โชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 มีลักษณะเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว – ดํา ขนาด 35 มม.

63 ผู้ที่สร้างเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 3 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1901 Guglietmo Marconi ชายชาวอิตาเลียนได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น“บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

64 สถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดอีกด้วย คือ
(1) สถานี 8XK
(2) สถานี KDKA
(3) สถานี VOA
(4) สถานี NBC
ตอบ 2 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

65 ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 4 หน้า 161 Samuel F.B. Morse นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า “เครื่องส่งโทรเลขทางไกล” (The Long – distance Telegraph) ได้สําเร็จ ซึ่งเขาได้พัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าของเดิมที่นักประดิษฐ์รุ่นก่อน ๆ ได้เริ่มไว้

66 สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยชื่อว่า
(1) สถานี 4 พีเจ
(2) สถานีกรุงเทพที่พญาไท
(3) สถานีวิทยุ 1 ปณ.
(4) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

67 พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

68 วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับวันที่
(1) 1 มกราคม
(2) 25 กุมภาพันธ์
(3) 3 พฤษภาคม
(4) 24 มิถุนายน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

69 ปัจจุบันคลื่นวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดอยู่ในความดูแลของ
(1) กรมประชาสัมพันธ์
(2) กระทรวง ICT
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตามที่ระบุ ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทําหน้าที่กํากับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

70 สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของสหรัฐอเมริกา คือสถานี
(1) NBC
(2) CES
(3) RCA
(4) PBS
ตอบ 3 หน้า 176, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1932 บริษัท RCA (The Radio Corporation of America) ได้สร้างสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นที่ตึกเอ็มไพร์สเตท เมืองนิวยอร์ก ซึ่งมีอุปกรณ์สําหรับใช้ในห้องส่งและการถ่ายทอดสดอย่างสมบูรณ์ที่สุด ต่อมาใน ค.ศ. 1936 เริ่มมีการทดสอบระบบโดยถ่ายทอดรายการเพียง 2 รายการต่อสัปดาห์ และใน ค.ศ. 1939 จึงถ่ายทอดงาน World Fair New York

71 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ อยู่ในช่วงใด
(1) 1930-1940
(2) 1940 – 1950
(3) 1950 – 1960
(4) 1960 1980

ตอบ 4 หน้า 180 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์หรือยุคแห่งความรุ่งเรืองของวิทยุโทรทัศน์ เป็นยุคที่ อาจกล่าวได้ 2 ประการ ดังนี้
1 สื่อวิทยุโทรทัศน์อยู่ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
2 เป็นยุคที่ยาวนานอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1960 — 1980 ซึ่งเป็นยุคที่เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ มีการแข่งขันกันมากขึ้น

72 “เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Marconi
(2) David Sarnoff
(3) Frank Conrad
(4) Newton Minow
ตอบ 4 หน้า 181 Newton Minow ซึ่งเป็นอดีตประธาน FCC (Federal Communications Commission) กล่าวว่า เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด (Vast Wasteland of Mindless) เนื่องจากรายการวิทยุโทรทัศน์มีแต่รายการตลกที่สิ้นคิด ละครชีวิตที่เพ้อฝันเกินจริง การแสดงมวยปล้ำ การ์ตูนที่มีแต่ความรุนแรง กีฬาที่น่าตื่นเต้น การแข่งขันตอบปัญหา และรายการตลกฝืดในเรื่องครอบครัว

73 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และมีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์

74 ผู้ดําริให้มีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย คือ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ 1 หน้า 184, 186 กิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 ในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและเป็นผู้ดําริให้มีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นจึงได้ให้อธิบดีกรมโฆษณาการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการส่งวิทยุโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในเวลาต่อมาก็ได้มีคําสั่งราชการเพื่อแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นกรรมการพิจารณาจัดซื้อเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์

75 การแพร่ภาพสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทยทางช่อง 4 บางขุนพรหมเมื่อใด
(1) 22 มิถุนายน 2466
(2) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 1 มกราคม 2500
ตอบ 3 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการ ดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

76 การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ในไทยครั้งแรกนั้น ตั้งเป็นบริษัทชื่อว่า
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 อ.ส.ม.ท. รับโอนกิจการมาจาก
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด
ตอบ 2 หน้า 190, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรก ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ต่อมาจึงได้โอนกิจการมาเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยให้เป็นสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของสํานักนายกรัฐมนตรีในรูปขององค์การรัฐวิสาหกิจ

78 สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
(2) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
ตอบ 3 หน้า 189, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีลักษณะเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้ง โดยเริ่มแพร่ภาพออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

79 สถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
(2) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(3) สถานีโทรทัศน์ ETV กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์ สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่าง เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

80 บิดาแห่งเว็บ (Web) คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3 หน้า 194, (คําบรรยาย) Sir Timothy John Berners – Lee หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี เป็นชาวอังกฤษที่ได้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็นคนแรกของโลก ทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งเว็บ

81 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality

ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr, del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

82 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมออนไลน์สะท้อนแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญ คือ
(1) รูปแบบการสื่อสารแบบจุดต่อจุดไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน
(2) มีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
(3) การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากผู้ให้บริการมาเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสื่อสังคมออนไลน์ ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญใน 2 ด้าน ได้แก่
1 รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนจากการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point to Point) และสองทาง (Two Way) ไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน (Many to Many) และมีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
2 การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากระบบที่ครอบครองโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบเดิม
ไปสู่ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มแบบเปิดบนอินเทอร์เน็ต

83 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

84 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Bill Gates
(2) Mark Zuckerberg
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page

ตอบ 2 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ที่ก่อตั้ง Facebook ซึ่งถือว่าเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social – networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Facebook ขึ้นขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี

86 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 110 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4 หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่มักใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา

87 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Bill Gates
(2) Mark Zuckerberg
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 4 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

88 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

89 Facebook กลุ่มวิชานี้ คือ
(1) MCS 1150
(2) MCS 1150 (MCS 1100)
(3) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
(4) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Facebook ของกลุ่มวิชานี้ คือ MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง

90 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ PR Ramkhamhaeng University

91 สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 4

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา…
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)…

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97 ถ้าใครส่งภาพไม่เหมาะสมให้นักศึกษาแล้วนักศึกษาแชร์ต่อให้เพื่อน จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98 เลิกกับแฟนเก่าแล้วเอาภาพส่วนตัวมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้แฟนเก่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

99 การพบกันของสื่อส่วนตัว สื่อมวลชน สื่อโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ต เรียกว่า
(1) ICT
(2) Convergence
(3) Mass Media
(4) User Generate Content
ตอบ 2(คําบรรยาย) คําว่า “Convergence” หมายถึง กระบวนการเข้ามาบรรจบกัน รวมศูนย์ ดังนั้นการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) จึงหมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยี สื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่ หรือการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว เช่น การพบกันของสื่อส่วนตัว สื่อมวลชน สื่อโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

100 ปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารลุกขึ้นมาทําการสื่อสารเอง เรียกว่าอะไร
(1) ICT
(3) Mass Media
(2) Convergence
(4) User Generate Content
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่สื่อใหม่เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่พื้นที่สาธารณะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารลุกขึ้นมาทําการ สื่อสารเอง เรียกว่า “ Jser Generate Content” (UGC) ซึ่งก็คือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ที่ผลิต เนื้อหาเอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ

MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น

1) คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์พันธุ์อะไรถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4 หน้า 1 มนุษย์ Cro-Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้ อาจพูดได้จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

2 ปรมาจารย์ที่ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของศาสตร์ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทาง
ที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

3 การสื่อสาร หมายถึงข้อใด
(1) ฉันนอนฝันถึงคนรัก
(2) ฉันทําบุญเลี้ยงพระอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ
(3) ฉันนอนกรน
(4) ฉันไลน์หาคนที่ฉันสนใจจะเป็นแฟน
ตอบ 4 หน้า 16 คําว่า “การสื่อสาร” (Communication) โดยทั่วไปหมายถึง การติดต่อสื่อสารจาก บุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น ฉันไลน์หาคนที่ฉันสนใจจะเป็นแฟน พ่อคุยเรื่องกีฬากับเพื่อน ๆ ฯลฯ

4 อะไรเป็น Verbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่าฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองพระอาทิตย์
(4) แม่นอนยิ้มคนเดียว
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร
ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูด (Verbal) เช่น ฉันบอกแม่ว่าฉันรักท่านมากที่สุด ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็น Nonverbal Communication)

5 อะไรเป็น Nonverbal Communication
(1) แม่กอดฉัน
(2) แม่บอกว่ารักฉันมากที่สุด
(3) ฉันตอบว่าฉันรักแม่มากที่สุด
(4) แม่อวยพรให้ฉันสอบผ่านวิชานี้
ตอบ 1 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นกิริยาท่าทาง (Nonverbal) หรือภาษาที่ไม่ออกเสียง เช่น แม่กอดฉัน ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็น Verbal Communication)

6 การสื่อสารมวลชน หมายถึงการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับ
(1) ผู้รับสารจํานวนมาก
(2) ผู้รับสารมีความแตกต่างกัน
(3) ผู้รับสารไม่มีการเผชิญหน้ากัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 14, 19 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) คือ การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย Internet ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสารจํานวนมากที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือทั่วโลก โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร

ข้อ 7. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Small Group Communication
(4) Public Communication

7 การสื่อสารส่วนบุคคล
ตอบ 1 หน้า 17 มนุษย์เราสื่อสารกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งสามารถจําแนกระดับของการสื่อสารออกได้ดังนี้
1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3 การสื่อสารกลุ่มย่อย (Small Group Communication)
4 การสื่อสารในที่สาธารณะ (Public Communication)
5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

8 การสื่อสารกลุ่มย่อย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 การสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

10 การสื่อสารในที่สาธารณะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

11 “ฉันชอบโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่บ้านของเธอ” โทรทัศน์เครื่องใหม่ คือ
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2หน้า 21 ถ้าเรากําลังยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนคนหนึ่ง และพูดว่า “ฉันชอบโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่บ้านของเธอ” จากการสนทนาธรรมดานี้ เราก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender), สาร (Message) ได้แก่ ประโยคที่พูดว่า “ฉันชอบโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่บ้านของเธอ” ส่วนบุคคลที่อยู่ตรงหน้าเรา ซึ่งเป็นเจ้าของโทรทัศน์เครื่องใหม่ก็คือผู้รับสาร (Receiver or Audience) ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวเป็นตัวอย่างของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร

12 สั่งสินค้าออนไลน์ หลังจากนั้นพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทยนําสินค้ามาส่ง สิ่งนี้คือ
(1) Sender
(2) Message
(3) Receiver
(4) Feedback
ตอบ 4 หน้า 21 ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วส่งสารกลับไปให้ ผู้ส่งสาร เช่น การสั่งสินค้าออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน หลังจากนั้นก็มีพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทย นําสินค้ามาส่งให้ เป็นต้น

ข้อ 13 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) One Way Communication

(2) Two Way Communication

13 ผู้ฟังรายงานข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ ให้สถานีวิทยุ จ.ส. 100
ตอบ 2 หน้า 26 การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) คือ การสื่อสารที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น สถานีวิทยุ จ.ส. 100 เปิดสายให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามารายงาน ข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ หรือสอบถามเส้นทางต่าง ๆ ฯลฯ

14 ผู้สื่อข่าวรายงานสดจากรัฐสภา
ตอบ 1 หน้า 26 การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึงการมี ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์รายงานสดจากรัฐสภา ซึ่งผู้ชม ทางบ้านย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น แต่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาได้ทันที ฯลฯ

15 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38, (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ) สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 16. – 18. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) One Step Flow Communication

(2) Two Step Flow Communication

(3) Multi Step Flow Communication

16 นายกรัฐมนตรีสั่งการคณะรัฐมนตรีให้ส่วนราชการทุกแห่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารจะไปถึงผู้นําความคิดบางคนในชุมชนหรือ ในกลุ่มสังคมก่อน (ในที่นี้คือ คณะรัฐมนตรี) หลังจากนั้นจึงถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม (ในที่นี้คือ ส่วนราชการทุกแห่ง) ทําให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสาร (ในที่นี้คือ นายกรัฐมนตรี) ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสารส่วนใหญ่

17 นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือเรียกว่าทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) คือ ข่าวสารที่จะไปถึง ผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผู้รับสารอาจได้รับข่าวสารจากการอ่าน หนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ ในขณะที่ผู้รับสารอีกหลายคนอาจได้รับข่าวสาร โดยผ่านสื่อหลายชนิดทั้งสื่อบุคคลและสื่อมวลชน ดังนั้นการสื่อสารแบบนี้จึงเป็นการรวม การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน

18 นายกรัฐมนตรีจัดรายการศาสตร์พระราชาทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย เช่น รายการคืนความสุขให้ประเทศไทย ทุกวันศุกร์, รายการศาสตร์พระราชาทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ซึ่งออกอากาศ ทุกช่อง ฯลฯ

19 สังคมเป็นระบบใหญ่ระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ หรือระบบย่อยมีความเกี่ยวพันติดต่อถึงกัน ได้แก่
(1) ทฤษฎีสื่อสารเชิงปริบทสังคม
(2) ทฤษฎีแรงเสริม
(3) ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน
(4) ทฤษฎีการไหลเวียนของข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 48 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน เชื่อว่า สังคมเป็นระบบใหญ่ ระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ หรือระบบย่อยมีความเกี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบและถูกเน้นว่าเป็นตัวเชื่อมเพื่อทําให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคมเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม

20 ผู้กําหนดหน้าที่สื่อมวลชนในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
(1) Dennis McQuail.
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 หน้า 50 หน้า 50 – 51 Harold Lasswell ได้กําหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ 3 ประการ คือ
1 หน้าที่ในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
2 หน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม
3 หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
ส่วน Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ของสื่อมวลชนประการที่ 4 คือ
4 หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

21 ผู้กําหนดหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความบันเทิง
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

24 วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนของรัฐ ดังนั้นจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 3 หน้า 53 – 54 ทฤษฎีการครอบงํา ซึ่งมีผู้นําในทฤษฎีนี้คือ แกรม (Gramsci) สามารถนํามาใช้ วิเคราะห์ถึงปัจจัยทางด้านผู้บริหารประเทศที่เข้ามามีส่วนในการนําเสนอข่าวสารต่าง ๆ เนื่องจากสื่อมวลชนทางด้านวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนของรัฐโดยตรง ดังนั้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ การควบคุมของรัฐ คือ มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ และยังสามารถ ควบคุมสื่อมวลชนทางอ้อมด้วยการออกกฎหมายระเบียบต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตาม

25 เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง เรื่องราวทางเพศ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 4 หน้า 54 เกิร์บเนอร์ (Gerbner) และคณะ ได้พัฒนาทฤษฎีการปลูกฝัง ซึ่งมีสมมติฐานว่า ข่าวสารในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในวิทยุโทรทัศน์ได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง กล่าวคือ เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศเสมอ จนทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วย ความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน และการดิ้นรนต่อสู้

26 ใครคือผู้กรองสาร (Gate Keeper)
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2) โฆษกรัฐบาล
(3) นักข่าว
(4) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 หน้า 55 ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) หรือผู้กรองสาร หมายถึง บุคคลที่ทําหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร จึงเป็นเสมือนนายทวารในการรับข่าวสาร ของประชาชน โดยจะควบคุมการไหลของข่าวสารและตัดสินว่าข่าวอะไรควรจะส่งต่อไป และข่าวอะไรควรจะตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งบุคคลที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ นักข่าวหรือผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว ผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ ฯลฯ

27 วัตถุประสงค์ของสื่อมวลชนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐที่กําลังมีอํานาจและเพื่อรับใช้รัฐ
เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

28 การควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนจะควบคุมกันเอง เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 เริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ คือ เพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อให้ความบันเทิง เพื่อการค้า และสิ่งที่สําคัญ ที่สุดคือ เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อควบคุมรัฐบาล
3 หน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ เพื่อเปิดเผยความจริง และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4 การควบคุมสื่อมวลชน คือ สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และจะใช้กระบวนการยุติธรรมของศาลเพื่อทําหน้าที่ตัดสิน ความถูกผิดของสื่อมวลชนตามกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ รัฐธรรมนูญฯ)
5 ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของสื่อมวลชน ฯลฯ

29 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลสามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 65 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้ โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่านผู้ฟัง และจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
4 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ

30 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 64 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 สื่อมวลชนจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็นเครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท ฯลฯ

31 ผู้ริเริ่มใช้อักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform) คือ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 3 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็น พวกเกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเริ่มใช้ การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

32 ตัวอักษร Lonion เป็นของ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 1 หน้า 79 เมื่อประมาณ 500 B.C. ชาวกรีกได้พัฒนาตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมทั้งสระด้วย) ซึ่งการที่ตัวอักษรกรีกมีมาตรฐานนั้นทําให้วัฒนธรรมของกรีกมีความเจริญ มากขึ้น เช่น Athens ได้ผ่านกฎหมายให้ใช้ภาษาที่ใช้ตัวอักษร Lonion (The Lonion Alphabet) เป็นภาษาของทางราชการ เป็นต้น

33 ผู้ที่พัฒนากระดาษจากต้น Papyrus ได้แก่
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 2 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (ปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nile)

34 กฎหมายของกษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ถูกสลักลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ชื่อว่า
(1) Scroll
(2) Parchment
(3) Vellum
(4) Stallae
ตอบ 4 หน้า 81 เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว กษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ได้แกะสลัก กฎหมายลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Stallae” คือ บล็อกหินสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดํา ขนาด 8 ฟุต ที่ถูกนํามาตั้งไว้ในศูนย์กลางของเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร ซึ่งถือเป็นระบบ ที่ยุ่งยากมาก เพราะยังไม่มีการพัฒนานําเอาสื่อที่เคลื่อนย้ายได้มาใช้

35 หนังสือ Books of Kelts ถือเป็นสมบัติล้ําค่าของประเทศ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 3 หน้า 83 หนังสือที่พวกพระเป็นผู้คัดลอกด้วยลายมือเป็นจํานวนพัน ๆ เล่ม เรียกว่า Manuscripti โดยหนังสือบางฉบับถือเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงาม ตกแต่งด้วยตัวอักษรและมีภาพวาดที่มีความประณีตสวยงามมาก จนจัดเป็นหนังสือที่สวยที่สุดที่ได้ผลิตออกมาและมีความพิเศษ ที่ไม่ธรรมดาเลย คือ หนังสือ Books of Kells ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยพวกพระเมื่อประมาณ 800 A.D. ปัจจุบันหนังสือ Books of Kells ถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่ Trinity College ในเมือง Dublin

36 ประเทศที่มีการพัฒนาการทํากระดาษเป็นชาติแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 คือ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 4 หน้า 85, (คําบรรยาย) ชาวจีนได้พัฒนาการทํากระดาษจากต้นไผ่เป็นชาติแรก ซึ่งใช้กันมาอย่างแพร่หลายเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ทหารเปอร์เซียน ได้จับกุมกลุ่มชาวจีนที่ทํากระดาษ และบังคับให้สอนวิธีการทํากระดาษให้กับพวกตน ส่งผลให้ชาวจีนถูกทหารเปอร์เซียนทําทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส

37 ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก คือ
(1) Johanne Fust
(2) William Caxton
(3) Gutenberg
(4) Adolph Von Nassau
ตอบ 3 หน้า 86, 95 ในสมัยก่อนเรื่องของการพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ Gutenberg ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก ทําให้การพิมพ์เริ่มเป็น ที่รู้จักกันทั่วไป เพราะหลังจากการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก (Gutenberg’s Press) เกิดขึ้นได้ไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งไปยังที่ไกลๆได้อย่างรวดเร็ว

38 หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเล่มแรก ชื่อว่า
(1) Book of Kells
(2) Scriptoria
(3) 42 – line Bible
(4) Koran
ตอบ 3 หน้า 88 เมื่อปี ค.ศ. 1455 Gutenberg ทําหนังสือจากกระดาษเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ของเขาเองได้สําเร็จ โดยมีชื่อว่า 42 – line Bible ซึ่งเขาออกแบบเองและพิมพ์จํานวน 200 ฉบับ จึงถือได้ว่าเป็นหนังสือที่เป็นตัวอย่างของศิลปะการพิมพ์ที่สวยงามที่สุดในโลก

39 ผู้แต่งหนังสือ Uncle Tom’s Cabin คือ
(1) Whitman
(2) Harriet Beecher Stowe
(3) Longfellow
(4) Barlett
ตอบ 2 หน้า 92 Harriet Beecher Stowe ได้เขียนหนังสือต่อต้านเรื่องของทาสที่มีชื่อว่า “Uncle Tom’s cabin” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ที่โด่งดังมากอีกฉบับหนึ่ง

40 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ
(1) News Sheet
(2) Gazette
(3) Coranto
(4) Oxford Gazette
ตอบ 4 หน้า 96 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ Oxford Gazette (ต่อมาภายหลังใช้ชื่อว่า The London Gazette) โดยพิมพ์จําหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1665 ในสมัยของ King Charles II

41 หนังสือพิมพ์อะไรที่ทําให้หนังสือพิมพ์ถูกเรียกขานว่าสุนัขเฝ้ายาม
(1) The Daily Courant
(2) The Boston News–Letter
(3) The New England Courant
(4) Boston Gazette
ตอบ 3 หน้า 98 เมื่อปี ค.ศ. 1721 James Franklin (พี่ชายของ Benjamin Franklin) ได้เริ่มทํา หนังสือพิมพ์อาณานิคมที่ถูกเรียกขานในฐานะสุนัขเฝ้ายาม (The Press as Watchdog) ซึ่งมีชื่อว่า The New England Courant เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของอาณานิคมที่ประสบความสําเร็จ และมีความอวดดี ฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์คนนั้นคนนี้ และสุดท้ายก็ไปโจมตีผู้ว่าการรัฐ จนส่งผลให้ James Franklin ถูกจับเข้าคุกเป็นเดือนและถูกห้ามพิมพ์

42 ผู้ให้กําเนิด The Penny Press คือ
(1) Benjamin Harris
(2) James Franklin
(3) Benjamin Day
(4) Benjamin Franklin
ตอบ 3 หน้า 100 The Penny Press คือ หนังสือพิมพ์ราคาถูก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1830 และ จําหน่ายในราคาถูกเพียงฉบับละ 1 เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ที่ให้กําเนิด The Penny Press ก็คือ Benjamin Day ซึ่งได้ผลิตหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า The New York Sun เมื่อปี ค.ศ. 1833 และเขาได้ประกาศว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การตีแผ่เรื่องราวต่าง ๆ เพื่อ สาธารณะในราคาที่ไม่แพง เฉลี่ยแล้วเหมาะสําหรับทุกคน และยังเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์สําหรับ การโฆษณาอีกด้วย

43 ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 2 หน้า 101 – 102 หนังสือพิมพ์ยุคราชสํานัก ได้ปรากฏมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ ซึ่งฉบับที่สําคัญ ได้แก่ 1. สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ดําเนินการโดย ก.ศ.ร.กุหลาบ 2. ตุลยวิภาคพจนกิจ ดําเนินการโดย เทียนวรรณ

44 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคมืด มีการออกกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 เป็นยุคของ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

ตอบ 2 หน้า 103 หนังสือพิมพ์ยุคมืด (พ.ศ. 2501 – 2512) เป็นยุคที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อํานาจเข้าควบคุมและบังคับไม่ให้หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยการออก กฎหมายเป็น “ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17” อีกทั้งยังใช้กําลังคุกคามสิทธิเสรีภาพของ นักหนังสือพิมพ์โดยการจับกุมและตั้งข้อหาว่ามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

45 นายกรัฐมนตรีท่านใดในยุคหนังสือพิมพ์สําลักเสรีภาพที่เสนอว่าจะให้ตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับเป็นยุคแรกของ นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเมื่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้ามาเป็น นายกรัฐมนตรี ได้ร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ในการ ควบคุมกันเอง และมีการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ยังไม่ทันได้รับการพิจารณา รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็หมดอํานาจไปเสียก่อน

46 คําสั่ง ป.ร. 42 ออกมาในยุคหนังสือพิมพ์ยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(2) ยุคสําลักเสรีภาพ
(3) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 105 หนังสือพิมพ์ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับเป็นยุคมืดของวงการ หนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะได้มีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับเป็นเวลา 5 วัน และยังมีการออกประกาศเป็นคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 (ป.ร. 42) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อมาควบคุมการปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์โดยตรง

47 หนังสือพิมพ์ที่ประกาศปิดตัวเองเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 คือ
(1) สยามรัฐรายวัน
(2) บ้านเมือง
(3) แนวหน้า
(4) ไทยโพสต์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือพิมพ์บ้านเมืองก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยบริษัท บ้านเมืองการพิมพ์ จํากัด ซึ่งปัจจุบันผู้บริหารได้ตัดสินใจยุติการผลิตหนังสือพิมพ์บ้านเมือง เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างสื่อชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่เอื้ออํานวย จึงได้ประกาศปิดตัวเองเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป รวมเวลาที่ ดําเนินธุรกิจ 45 ปี

48 นิตยสารเริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ
(1) อียิปต์
(2) ฮอลแลนด์
(3) อังกฤษ
(4) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารได้เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า The Review ซึ่งถือเป็น นิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)

49 นิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า
(1) The Tatler
(2) The Spectator
(3) The Review
(4) The Economist
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 นิตยสารโดยคนไทยฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว

ตอบ 2 หน้า 127 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หมายประกาศที่ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ ออกเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาแน่นอน เพื่อออกประกาศของทางราชการ กฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงถือเป็นนิตยสารที่ออกโดยคนไทยฉบับแรก

51 ในรัชสมัยใดที่กิจการด้านนิตยสารเจริญรุ่งเรืองมาก จนเรียกว่ายุคทองของนิตยสารไทย
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการทางด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรียกว่ายุคทองของนิตยสารไทย ทําให้ในยุคนี้มีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ และมีหนังสือพิมพ์ รายวันออกถึง 24 ฉบับ ด้วยเพราะได้รับเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตลอดจนการศึกษาที่รุดหน้าและ การที่นิตยสารมาสู่แวดวงของสามัญชนอย่างแท้จริง จึงทําให้วงการนิตยสารเติบโตไปมาก

52 นิตยสารไทยที่ยังดําเนินการอยู่ ได้แก่
(1) สตรีสาร
(2) สตรีไทย
(3) สกุลไทย
(4) ขวัญเรือน
ตอบ 4 หน้า 133, (ความรู้ทั่วไป) นิตยสารไทยที่ยังดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ นิตยสารขวัญเรือน เป็นนิตยสารรายปักษ์เพื่อสาระและความบันเทิงสําหรับทุกคนในครอบครัว โดยวางตลาดเป็น ฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 (ส่วนนิตยสารสตรีสาร ปิดตัวลงเมื่อ พ.ศ. 2539, สตรีไทย เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น, สกุลไทย ปิดตัวลงเมื่อ พ.ศ. 2559)

53 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Roget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

54 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และ มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส-เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และ การใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้

55 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope” และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้นขึ้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville

56 ชื่อโรงภาพยนตร์ในครั้งแรก ชื่อว่า
(1) The Odeon
(2) The Nickelodeon
(3) Hollywood
(4) Vaudeville

ตอบ 2 หน้า 144 คําว่า “Nickelodeon” เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรงภาพยนตร์ในยุคแรก โดยมีจุดเริ่มต้น ขึ้นในปี ค.ศ. 1905 มีผู้ร่วมกันลงทุน 2 คน มาจากเมือง Pittsburgh คือ Harry P. Davis และ John P. Harris ซึ่งได้เริ่มต้นธุรกิจการทําโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า The Nickelodeon อยู่ในเมือง Pittsburgh โดยเก็บเงินค่าเข้าชมภาพยนตร์จากคนดูเพียง 5 เซ็นต์เท่านั้น ทําให้ในเวลาเพียงแค่ สัปดาห์เดียว ก็สามารถทําเงินได้ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ

57 โรงถ่ายภาพยนตร์ The “Big Five” ได้แก่
(1) MGM, Twentieth Century-Fox, Paramount, Columbia, Warner Brothers
(2) MGM, Twentieth Century Fox, Paramount, Universal, Warner Brothers
(3) MGM, Twentieth Century-Fox, Paramount, RKO, Warner Brothers
(4) MGM, Twentieth Century-Fox, Paramount, Republic, Warner Brothers
ตอบ 3 หน้า 150 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโรงถ่ายภาพยนตร์ที่สําคัญเพียงไม่กี่โรง ซึ่งมีอิทธิพลต่อ การสร้างภาพยนตร์มาก คือ ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 (The “Big Five”) ซึ่งได้แก่ MGM, Twentieth Century-Fox, Paramount, RKO a Warner Brothers

58 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

59 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เป็นของใคร
(1) พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) นายประสาท สุขุม
ตอบ 2หน้า 153 – 155 ผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย คือ พี่น้องวสุวัต ซึ่งมีกิจการสร้าง ภาพยนตร์เป็นของตัวเอง เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง” ทั้งนี้ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าวสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

60 ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ เรื่องโชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 โดยเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว-ดํา ขนาด 35 มม.

61 ผู้ที่สร้างเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 3 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1901 Guglielmo Marconi ชายหนุ่มชาวอิตาเลียน
ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

62 ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 4 หน้า 161 Samuel F.B. Morse นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า “เครื่องส่งโทรเลขทางไกล” (The Long-distance Telegraph) ได้สําเร็จ ซึ่งเขาได้พัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าของเดิมที่นักประดิษฐ์รุ่นก่อน ๆ ได้เริ่มไว้

63 สถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดอีกด้วย คือ
(1) สถานี 8XK
(2) สถานี KDKA
(3) สถานี VOA
(4) สถานี NBC
ตอบ 2 หน้า 164 – 165 ในปี ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้น ในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกทั้งยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

64 พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อค้นคว้าเป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าพระองค์เป็นผู้ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นคนแรก ในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

65 วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับวันที่
(1) 1 มกราคม
(2) 25 กุมภาพันธ์
(3) 3 พฤษภาคม
(4) 24 มิถุนายน
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

66 สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยชื่อว่า
(1) สถานี 4 พีเจ
(2) สถานีกรุงเทพที่พญาไท
(3) สถานีวิทยุ 1 ปณ.
(4) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

67 ปัจจุบันคลื่นวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดอยู่ในความดูแลของ
(1) กรมประชาสัมพันธ์
(2) กระทรวง ICT
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทําหน้าที่กํากับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

68 สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของสหรัฐอเมริกา คือสถานี
(1) NBC
(2) C3S
(3) RCA
(4) PBS

ตอบ 3 หน้า 176, (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1932 บริษัท RCA (The Radio Corporation of America) ได้สร้างสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของสหรัฐอเมริกาขึ้นที่ตึกเอ็มไพร์สเตทในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งมีอุปกรณ์สําหรับใช้ในห้องส่งและการถ่ายทอดสดอย่างสมบูรณ์ที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 เริ่มมีการทดสอบระบบโดยถ่ายทอดรายการเพียง 2 รายการต่อสัปดาห์ และในปี ค.ศ. 1939 จึงถ่ายทอดงาน Word Fair New York

69 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ อยู่ในช่วงใด
(1) 1930 – 1940.
(2) 1940-1950
(3) 1950 1960
(4) 1960 – 1980
ตอบ 4 หน้า 180 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ หรือยุคแห่งความรุ่งเรืองของวิทยุโทรทัศน์ เป็นยุคที่ อาจกล่าวได้ 2 ประการ ดังนี้
1 สื่อวิทยุโทรทัศน์อยู่ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
2 เป็นยุคที่ยาวนานอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1980 ซึ่งเป็นยุคที่เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ มีการแข่งขันกันมากขึ้น

70 “เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Marconi
(2) David Sarnoff
(3) Frank Conrad
(4) Newton Minow
ตอบ 4 หน้า 181 Newton Minow เป็นอดีตประธาน FCC (Federal Communications Commission)
ได้กล่าวว่า “เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด” (Vast Wasteland of Mindless) เพราะรายการวิทยุโทรทัศน์มีแต่รายการตลกที่สิ้นคิด ละครชีวิตที่เพ้อฝันเกินจริง การแสดงมวยปล้ำ การ์ตูนที่มีความรุนแรง กีฬาที่น่าตื่นเต้น การแข่งขันตอบปัญหา และ รายการตลกฝืดในเรื่องครอบครัว

71 ผู้ดําริให้มีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย คือ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ 1 หน้า 184, 186 กิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 ในรัฐบาล ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งได้ดําริที่จะให้มีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น จึงได้ให้อธิบดีกรมโฆษณาการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการส่งวิทยุโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา และต่อมา ก็ได้มีคําสั่งราชการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการพิจารณาจัดซื้อเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์

72 การแพร่ภาพสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทยทางช่อง 4 บางขุนพรหมเมื่อใด
(1) 22 มิถุนายน 2466
(2) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 1 มกราคม 2500
ตอบ 3 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และได้เริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการข่าว รายการดนตรี ฯลฯ

73 การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ในไทยครั้งแรกนั้น ตั้งเป็นบริษัทชื่อว่า
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

74 อ.ส.ม.ท. รับโอนกิจการมาจาก
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด
ตอบ 2 หน้า 190, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้โอนกิจการมาเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยให้เป็น สถานีโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของสํานักนายกรัฐมนตรีในลักษณะของรัฐวิสาหกิจ

75 สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
(2) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
ตอบ 3 หน้า 189, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้ง ซึ่งได้เริ่มแพร่ภาพออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

76 สถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
(2) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(3) สถานีโทรทัศน์ ETV กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์ สาธารณะ หรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่าง เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

77 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และได้มีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์

78 บิดาแห่งเว็บ คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3หน้า 194, (คําบรรยาย) เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนอร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee) หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็น คนแรกของโลก จนทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมามากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งเว็บ”

79 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมออนไลน์สะท้อนแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญ คือ
(1) รูปแบบการสื่อสารแบบจุดต่อจุดไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน
(2) มีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
(3) การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากผู้ให้บริการมาเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 195 – 196 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสื่อสังคมออนไลน์สะท้อนให้เห็นถึง
ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญใน 2 ด้าน ได้แก่
1 รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนจากการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point to Point) และสองทาง (Two Way) ไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน (Many to Many) และมีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
2 การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากระบบที่ครอบครองโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบเดิม
ไปสู่ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มแบบเปิดบนอินเทอร์เน็ต

80 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่างไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

81 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(3) Collaboration Network
(2) Interested Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาทของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจตรงกัน เช่น Digg, del.icio.us
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

82 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Bill Gates
(2) Mark Zuckerberg
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 2 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ก่อตั้ง Facebook ซึ่งเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social- networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง Facebook ขึ้น ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี

84 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 1:10 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่ใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา

85 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Bill Gates
(3) Ray Tomlinson
(2) Mark Zuckerberg
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 4 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และแลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิล ได้มีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายมาเป็น Search Engine อันดับหนึ่ง ของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

86 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

87 Facebook กลุ่มวิชานี้ คือ
(1) MCS 1150
(3) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
(2) MCS 1150 (MCS 1100)
(4) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Facebook ของกลุ่มวิชานี้ คือ MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
88 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ PR Ramkhamhaeng
University

89 สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ RU Easy Radio ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16.00 – 19.00 น. โดยสามารถเข้าไปรับฟังได้ที่ www.masscomradio.com

90 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(ฉบับปัจจุบัน) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในรัฐบาลของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

91 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3(คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม พ.ร.บ. (ปัจจุบันคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากมีการเปลี่ยนชื่อ กระทรวงในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)

92 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

93 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน…. (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะ อันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

94 ผู้ที่นําภาพสุนัขจรจัดในรามคําแหงไปโพสต์พร้อมข้อความ “อย่าฝังหนูเลย” เข้าข่ายนําข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

ข้อ 95 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(3) นิตยสาร
(4) วารสาร

95 ไทยรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน (Daily Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็นประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวันหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ออกมาแทนที่ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น ไทยรัฐ, เดลินิวส์, คมชัดลึก, ไทยโพสต์ เป็นต้น

96 ข่าวรามคําแหง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ (Weekly Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ หรือออกจําหน่ายทุก 7 วัน โดยจะไม่เน้นความสดของข่าว แต่เน้นการเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น ในรอบสัปดาห์ และอาจมีสารคดี บทความ หรือบทวิเคราะห์ที่ทันสมัยประกอบ ตัวอย่างของ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เช่น ข่าวรามคําแหง ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้เผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ของมหาวิทยาลัยไปสู่นักศึกษาทุก ๆ สัปดาห์ เป็นต้น

97 เนชั่นสุดสัปดาห์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นิตยสาร (Magazine) คือ สิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเผยแพร่ตามกําหนดเวลาที่ แน่นอนสําหรับผู้อ่านทั่วไป โดยจะมีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งให้ทั้งความรู้และความบันเทิง หากเป็นความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ และมีรายได้จากการโฆษณาหรือวางขาย ทั่วไป ซึ่งผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ ตัวอย่างของนิตยสาร เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์ เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์, มติชนสุดสัปดาห์ เป็นนิตยสารการเมืองรายสัปดาห์, คู่สร้างคู่สม เป็นนิตยสารที่รวมเรื่องราวของคนทางบ้านที่มาแชร์ประสบการณ์และความรู้สึกต่อเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละเล่มจะผลัดเปลี่ยนกันไป เป็นต้น

98 มติชนสุดสัปดาห์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 คู่สร้างคู่สม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

100 วารสารรามคําแหง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วารสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์เป็นเล่มมีกําหนดออกเป็นประจําในรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรือรายปี โดยมีลักษณะและรูปเล่มคล้ายนิตยสาร แต่แตกต่างจากนิตยสารตรงที่ เนื้อหาภายในเป็นด้านวิชาการมากกว่าด้านบันเทิง มีภาพประกอบและใช้สีสันน้อยกว่า ตัวอย่างของวารสาร เช่น รัฐศาสตร์สาร วารสารรามคําแหง เป็นต้น

MCS1150 (MCS1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “ฉันชอบโทรศัพท์ไอโฟนเครื่องใหม่ของเธอ” คําว่า โทรศัพท์ไอโฟนฯ คือ
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2หน้า 21 ถ้าหากเรากําลังยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนคนหนึ่ง และพูดว่า “ฉันชอบโทรศัพท์ไอโฟน เครื่องใหม่ของเธอ” จากการสนทนาธรรมดานี้ เราก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender), สาร (Message) ได้แก่ ประโยคที่พูดว่า “ฉันชอบโทรศัพท์ไอโฟนเครื่องใหม่ของเธอ” ส่วนบุคคลที่อยู่ตรงหน้า เราและเป็นเจ้าของโทรศัพท์ไอโฟนก็คือ ผู้รับสาร (Receiver or Audience) ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวเป็นตัวอย่างของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร

2 สั่งสินค้าออนไลน์ หลังจากนั้นพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทยนําสินค้ามาส่ง สิ่งนี้คือ
(1) Sender
(2) Message
(3) Receiver
(4) Feedback
ตอบ 4 หน้า 21 ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วส่งสารกลับไปให้ ผู้ส่งสาร เช่น การสั่งสินค้าออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน หลังจากนั้นก็มีพนักงานบริษัทไปรษณีย์ไทย นําสินค้ามาส่งให้ เป็นต้น

ข้อ 3 – 4 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) One Way Communication
(2) Two Way Communication

3 รัฐบาลขอความร่วมมือให้งดใช้มือถือขณะขับรถ
ตอบ 1 หน้า 26 การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์รายงานสดจากรัฐสภา ซึ่งผู้ชมทางบ้านย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น แต่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาได้ทันที รัฐบาลขอความร่วมมือให้งดใช้มือถือขณะขับรถ ฯลฯ

4 ประชาชนไม่พอใจประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%
ตอบ 2
หน้า 26 การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) คือ การสื่อสารที่เน้นในเรื่อง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ซึ่งถือเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์ที่สุด เช่น ประชาชนไม่พอใจประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%, ฉันให้ปากคําตํารวจว่า ฉันไม่ผิดนะ, สถานีวิทยุ จ.ส. 100 เปิดสายให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามารายงานข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ หรือ สอบถามเส้นทางต่าง ๆ ฯลฯ

5 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้ 1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ 2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ 3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ 4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 6 – 8 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) One Step Flow Communication
(2) Two Step Flow Communication
(3) Multi Step Flow Communication

6 กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน แนะนําเกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียนภายหลังน้ำท่วม
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารจะไปถึงผู้นําความคิดบางคนในชุมชนหรือ ในกลุ่มสังคมก่อน (ในที่นี้คือ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน) หลังจากนั้นจึงถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น ในกลุ่ม (ในที่นี้คือ เกษตรกร) ทําให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสารไม่มีอิทธิพลโดยตรง ต่อผู้รับสารส่วนใหญ่

7 เกษตรกรฟังคําแนะนําการปลูกพืชหมุนเวียนทั้งจากทีวีและจากกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ 3
หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสาร อาจจะผ่านสื่อหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผู้รับสารอาจได้รับข่าวสารทั้งจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ ในขณะที่ผู้รับสารอีกหลายคนอาจได้รับข่าวสารโดยผ่านสื่อบุคคลและ สื่อมวลชน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการรวมการสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว และสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน

8 นายกรัฐมนตรีแนะนําเกษตรกรให้ปลูกพืชหมุนเวียนภายหลังน้ำท่วมทางทีวี
ตอบ 1
หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย เช่น นายกรัฐมนตรีแนะนําเกษตรกรให้ ปลูกพืชหมุนเวียนภายหลังน้ำท่วมทางทีวี, รายการ “คืนความสุขให้ประเทศไทย” ทุกวันศุกร์, รายการ “ศาสตร์พระราชา” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ซึ่งออกอากาศทุกช่อง ฯลฯ

9 ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สัมพันธ์กัน เนื่องจากปัจจัยจิตวิทยาและสังคมวิทยา
(1) ทฤษฎีสื่อสารเชิงปริบทสังคม
(2) ทฤษฎีแรงเสริม
(3) ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
(4) ทฤษฎีการไหลเวียนของข่าวสาร
ตอบ 3หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ จะเป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายกระบวนการเชื่อมโยง หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลหรือไม่สัมพันธ์กัน เพราะความสัมพันธ์จะถูกกําหนดโดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาและ สังคมวิทยา เช่น อารมณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ระยะทางหรือความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ฯลฯ

10 มนุษย์เผ่าอะไรที่สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง
(1) Australopithecus
(3) Neanderthal
(2) Homo Habilis
(4) Cro — Magnon

ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์พวก Neanderthal (Homo Sapiens Neanderthalensis) ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ สมัยโบราณเมื่อประมาณ 150,000 – 125,000 ปีมาแล้ว จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้เสียงเท่าที่จะสามารถเปล่งออกมาได้เท่านั้น

11 มนุษย์เผ่าอะไรที่เชื่อว่าพูดได้เป็นพวกแรก
(1) Australopithecus
(3) Neanderthal
(2) Homo Habilis
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4 หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

12 ปรมาจารย์ที่ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

13 การสื่อสารข้อใดสมบูรณ์ที่สุด
(1) เขาปาก้อนหินมาโดนหัวฉัน
(2) ฉันโมโหปาก้อนหินแต่ไม่โดนหัวเขา
(3) ตํารวจวิ่งไล่จับฉัน
(4) ฉันให้ปากคําตํารวจว่า ฉันไม่ผิดนะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

14 อะไรเป็น Verbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองหน้าฉัน
(4) แม่ยืนหัวเราะ
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูด (Verbal) เช่น ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด ฯลฯ

15 อะไรไม่เป็น Nonverbat Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองหน้าฉัน
(4) แม่ยืนหัวเราะ
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างของการใช้ สัญลักษณ์ที่เป็นกิริยาท่าทาง (Nonverbal) หรือภาษาที่ไม่ออกเสียง เช่น ฉันกอดแม่, แม่ยืน มองหน้าฉัน, แม่ยืนหัวเราะ ฯลฯ

16 ข้อใดคือการสื่อสารมวลชน
(1) ฉันเล่นละครเวที
(2) ฉันประกาศเสียงตามสายในชุมชน
(3) ฉันจัดรายการวิทยุกระจายเสียง
(4) ฉันขายของออนไลน์

ตอบ 3 หน้า 14, 19, (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) คือ การสื่อสารที่มีความเกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย Internet ฯลฯ เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารจํานวนมากที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือ ทั่วโลก โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร และเนื้อหาของสารนั้นก็จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชนด้วย

ข้อ 17 – 20 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Small Group Communication
(4) Public Communication

17 ฉันโทรศัพท์ไปหาเพื่อน
ตอบ 2 หน้า 18, 22, 37 – 38, (คําบรรยาย) Interpersonal Communication คือ การสื่อสาร ระหว่างบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง หรือกับคนอื่นที่มีจํานวน ไม่มากนัก ในบางครั้งผู้ส่งสารกับผู้รับสารที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน การสื่อสารกันในงานเลี้ยงสังสรรค์, การพูดคุยและส่ง SMS/MMS กันทางโทรศัพท์, การเขียน จดหมายถึงกัน ฯลฯ หรืออาจจะไม่มีความคุ้นเคยกันก็ได้ เช่น คนแปลกหน้าพูดคุยกันบนถนน บนรถโดยสาร หรือในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ นอกจากนี้การใช้เครื่องโทรสารและการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนตัวเพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันก็จัดเป็นการสื่อสารระหว่าง
บุคคลด้วยเช่นกัน

18 ฉันนั่งสมาธิ
ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) Intrapersonal Communication คือ การสื่อสารส่วนบุคคล ซึ่งจะ เกิดขึ้นภายในร่างกายหรือในตัวของเราเอง โดยเรื่องราวหรือเนื้อหาจะประกอบด้วยความคิด และสื่อกลางหรือช่องทางก็คือ ระบบประสาทที่ผ่านความคิดและกระบวนการในสมอง เช่น การพูดเบา ๆ การซ้อมร้องเพลง หรือฝึกซ้อมอ่านคําปราศรัย การนั่งทําสมาธิ และการคิดถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดในใจแล้วพูดรําพึงรําพัน หรือหัวเราะกับตัวเอง ฯลฯ

19 อาจารย์จเลิศบรรยายวิชา MCS : 1150 ในห้องเรียน
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Small Group Communication คือ การสื่อสารกลุ่มย่อยที่เกี่ยวข้อง กับคนจํานวนหนึ่ง ซึ่งจะมีจํานวนจํากัดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 25 คน มาสื่อสารกัน เพื่อที่จะพบปะพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และตัดสินใจร่วมกัน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มย่อยไม่ควรมีจํานวนมากนัก เพื่อให้เข้าลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ซึ่งคนทุกคนสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด และแสดงความคิดเห็นกันได้ทั่วถึง เช่น การบรรยายในห้องเรียน การแสดงสุนทรพจน์ในการ รวมตัวเป็นกลุ่มของประชาชน โดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน ฯลฯ

20 ชาวคาตาลันออกมาชุมนุมแยกตัวออกจากสเปน
ตอบ 4 หน้า 19, 41, (คําบรรยาย) Public Communication คือ การสื่อสารในที่สาธารณะ หรือ การพูดในที่สาธารณะ เช่น การประชุมชาวนากลุ่มใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลในห้องประชุม ของสาธารณะ, การชุมนุมครั้งใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1 จะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะมากกว่าพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ในห้องบรรยายขนาดใหญ่ ห้องประชุม ฯลฯ แต่ถ้ามีผู้ฟังมากอาจต้องถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อให้ทุกคน มีโอกาสเข้าฟังพร้อมกัน
2 เป็นการพูดแบบเป็นทางการมากกว่าการพูดในที่ส่วนบุคคล โดยจะต้องมีการวางแผนการพูดไว้ล่วงหน้า
3 เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น ต้องมีการซักถามปัญหาจากผู้ฟังหลังจาก การพูดจบลงแล้ว เป็นต้น

21 ผู้กําหนดหน้าที่สื่อมวลชนในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 หน้า 50 – 51 Harold Lasswell ได้กําหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนเอาไว้ 3 ประการ คือ
1 หน้าที่สังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
2 หน้าที่ประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม
3 หน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
ซึ่งในเวลาต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ของสื่อมวลชนประการที่ 4 คือ
4 หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

22 ผู้กําหนดหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความบันเทิง
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

25 สื่อมวลชนหยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 1 หน้า 52 ทฤษฎีสังคมมวลชนถือว่า สื่อมวลชนเป็นสาเหตุและเป็นสิ่งที่ดํารงสังคมมวลชน
โดยสื่อมวลชนได้หยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม และช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้ดํารงชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะที่ยากลําบากซึ่งกําลังเผชิญอยู่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงก่อให้เกิดภาพพจน์ของการควบคุม กลั่นกรอง และกําหนดทิศทางของอิทธิพลจาก เบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง

26 เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง เรื่องราวทางเพศ
เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 4 หน้า 54 เกิร์บเนอร์ (Gerbner) และคณะ ได้พัฒนาทฤษฎีการปลูกฝัง ซึ่งมีสมมติฐานว่า ข่าวสารในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในวิทยุโทรทัศน์นั้นได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง กล่าวคือ เนื้อหาที่อยู่ในวิทยุโทรทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศเสมอ จนทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน และการดิ้นรนต่อสู้

27 ใครคือผู้กรองสาร (Gate Keeper)
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2) โฆษกรัฐบาล
(3) นักข่าว
(4) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 หน้า 55 ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) หรือผู้ครองสาร หมายถึง บุคคลที่ทําหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสารก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร จึงเป็นเสมือนกับนายทวารในการรับ ข่าวสารของประชาชน โดยจะควบคุมการไหลของข่าวสารและตัดสินว่าข่าวอะไรควรส่งต่อไป และข่าวอะไรควรจะตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งบุคคลที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ นักข่าวหรือผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว ผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ ฯลฯ

28 สื่อมวลชนไม่สามารถวิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็น ต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

29 ผู้มีสิทธิใช้สื่อมวลชน ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 เริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ คือ เพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อให้ความบันเทิง เพื่อการค้า และ สิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อควบคุมรัฐบาล

3 หน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ เพื่อเปิดเผยความจริง และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน
ของรัฐบาล
4 การควบคุมสื่อมวลชน คือ สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และใช้กระบวนการยุติธรรมของศาล เพื่อทําหน้าที่ตัดสินความถูกผิดของสื่อมวลชนตามกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯลฯ)
5 ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของสื่อมวลชน ฯลฯ

30 สื่อมวลชนเป็นของรัฐ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3
หน้า 64 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 สื่อมวลชนจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็น เครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท ฯลฯ

31 การควบคุมสื่อมวลชนทําโดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4
หน้า 65 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
4 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ

32 ผู้ริเริ่มใช้อักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform) คือ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 3 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

33 ตัวอักษร Lonion เป็นของ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา

ตอบ 1 หน้า 79 เมื่อประมาณ 500 B.C. ชาวกรีกได้มีการพัฒนาตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมทั้งสระด้วย) ซึ่งการที่ตัวอักษรกรีกมีมาตรฐานนั้นทําให้วัฒนธรรมของกรีกมีความเจริญ มากขึ้น เช่น Athens ได้ผ่านกฎหมายให้ใช้ภาษาที่ใช้ตัวอักษรมีชื่อเรียกว่า “Lonion” (The Lonion Alphabet) เป็นภาษาของทางราชการ เป็นต้น

34 ผู้ที่พัฒนากระดาษจากต้น Papyrus ได้แก่
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 2 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nile)

35 กฎหมายของกษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ถูกสลักลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ชื่อว่า
(1) Scroll
(2) Parchment
(3) Vellum
(4) Stallae
ตอบ 4 หน้า 81 เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว กษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ได้แกะสลัก กฎหมายลงบนก้อนหินขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่า “Stallae” คือ บล็อกหินสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดํา ขนาด 8 ฟุต ที่ถูกนํามาตั้งไว้ในศูนย์กลางของเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร ซึ่งถือเป็นระบบที่ยุ่งยากมาก เพราะยังไม่มีการพัฒนานําเอาสื่อที่เคลื่อนย้ายได้มาใช้

36 หนังสือ Books of Kells ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 3 หน้า 83 หนังสือที่พวกพระคัดลอกด้วยลายมือเป็นจํานวนพัน ๆ เล่ม เรียกว่า Manuscripti โดยหนังสือบางฉบับถือเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงาม ตกแต่งด้วยตัวอักษรและมีภาพวาดที่มีความประณีตสวยงามมาก จนจัดว่าเป็นหนังสือที่สวยที่สุดที่ได้ผลิตออกมา และมีความพิเศษ ที่ไม่ธรรมดาเลย คือ หนังสือ Books of Ketts ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยพวกพระเมื่อประมาณ 800 A.D. ปัจจุบันหนังสือ Books of Kells ถือว่าเป็นสมบัติอันล้ําค่าของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่ Trinity College ในเมือง Dublin

37 ประเทศที่มีการพัฒนาการทํากระดาษเป็นชาติแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 คือ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 4 หน้า 85, (คําบรรยาย) ชาวจีนได้พัฒนาการทํากระดาษจากต้นไผ่เป็นชาติแรก ซึ่งใช้กันมา อย่างแพร่หลายเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ทหารเปอร์เซียนได้จับกุมกลุ่มชาวจีนที่ทํากระดาษ และบังคับให้สอนวิธีการทํากระดาษให้กับพวกตน ส่งผลให้ชาวจีนถูกทหารเปอร์เซียนทําทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส

38 ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก คือ
(1) Johanne Fust
(2) William Caxton
(3) Gutenberg
(4) Adolph Von Nassau
ตอบ 3 หน้า 86, 95 ในสมัยก่อนเรื่องของการพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก จนกระทั่ง มาถึงสมัยของ Gutenberg เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก ทําให้การพิมพ์เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะหลังจากการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก (Gutenberg’s Press) เกิดขึ้นได้ไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งไปยังที่ไกล ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

39 หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเล่มแรก ชื่อว่า
(1) Book of Kells
(2) Scriptoria
(3) 42 – Line Bible
(4) Koran
ตอบ 3 หน้า 88 เมื่อ ค.ศ. 1455 Gutenberg ทําหนังสือจากกระดาษเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ของเขาเองได้สําเร็จ โดยมีชื่อว่า 42 – line Bible ซึ่งเขาออกแบบเอง และพิมพ์เป็นจํานวน 200 ฉบับ จึงถือได้ว่าหนังสือนี้เป็นตัวอย่างของศิลปะการพิมพ์ที่สวยงามที่สุดในโลก

40 ผู้แต่งหนังสือ Uncle Tom’s Cabin คือ
(1) Whitman
(2) Harriet Beecher Stowe
(3) Longfellow
(4) Barlett
ตอบ 2 หน้า 92 Harriet Beecher Stowe เป็นผู้ที่ได้เขียนหนังสือต่อต้านในเรื่องของทาสที่มีชื่อว่า “Uncle Tom’s Cabin” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ที่โด่งดังมากอีกฉบับหนึ่ง

41 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ
(1) News Sheet
(2) Gazette
(3) Caranto
(4) Oxford Gazette
ตอบ 4 หน้า 96 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ Oxford Gazette (ต่อมาภายหลังใช้ชื่อว่า The London Gazette) โดยพิมพ์จําหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1665 ในสมัยของ King Charles II

42 หนังสือพิมพ์อะไรที่ทําให้หนังสือพิมพ์ถูกเรียกขานว่าสุนัขเฝ้ายาม
(1) The Daily Courant
(2) The Boston News – Letter
(3) The New England Courant
(4) Boston Gazette
ตอบ 3 หน้า 98 เมื่อ ค.ศ. 1721 James Franklin (พี่ชายของ Benjamin Franklin) ได้เริ่มทําหนังสือพิมพ์อาณานิคมที่ถูกเรียกขานในฐานะสุนัขเฝ้ายาม (The Press as Watchdog) ซึ่งมีชื่อว่า “The New England Courant” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของอาณานิคมที่ ประสบความสําเร็จและมีความอวดดี ฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์คนนั้นคนนี้ และสุดท้ายก็ไป โจมตีผู้ว่าการรัฐ จนส่งผลให้ James Franklin ถูกจับเข้าคุกเป็นเดือนและถูกห้ามพิมพ์

43 ผู้ให้กําเนิด The Penny Press คือ
(1) Benjamin Harris
(2) James Franklin
(3) Benjamin Day
(4) Benjamin Franklin
ตอบ 3 หน้า 100 The Penny Press หมายถึง หนังสือพิมพ์ราคาถูก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1830 และจําหน่ายในราคาถูกเพียงฉบับละ 1 เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ที่ให้กําเนิด The Penny Press คือ Benjamin Day ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “The New York Sun” เมื่อ ค.ศ. 1833 และเขาได้ประกาศเอาไว้ว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การตีแผ่เรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสาธารณะในราคาที่ไม่แพง เฉลี่ยแล้วเหมาะสําหรับทุกคน และยังเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์สําหรับการโฆษณาอีกด้วย

44 เทียนวรรณ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต

ตอบ 1 หน้า 101 – 102 หนังสือพิมพ์ในยุคราชสํานัก ได้ปรากฏมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ อีกหลายฉบับ ซึ่งฉบับที่สําคัญ ได้แก่
1 สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ดําเนินการโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ
2 ตุลยวิภาคพจนกิจ ดําเนินการโดย เทียนวรรณ

45 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคมืด มีการออกกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 เป็นยุคของ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ 2 หน้า 103 หนังสือพิมพ์ยุคมืด (พ.ศ. 2501 – 2512) เป็นยุคที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อํานาจเข้าควบคุมและบังคับไม่ให้หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยการออกกฎหมายเป็น “ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17” นอกจากนี้ยังใช้กําลังคุกคามสิทธิเสรีภาพของ นักหนังสือพิมพ์โดยการจับกุมและตั้งข้อหาว่ามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

46 นายกรัฐมนตรีท่านใดในยุคหนังสือพิมพ์สําลักเสรีภาพที่เสนอว่าจะให้ตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับเป็นยุคแรกของ นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเมื่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีการร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ ในการควบคุมกันเอง และจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) แต่ร่าง พ.ร.บ. นี้ ยังไม่ทันได้รับการพิจารณา รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็หมดอํานาจไปเสียก่อน

47 คําสั่ง ป.ร. 42 ออกมาในยุคหนังสือพิมพ์ยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(2) ยุคสําลักเสรีภาพ
(3) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 105 หนังสือพิมพ์ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับเป็นยุคมืดของวงการ หนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะได้มีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับเป็น เวลา 5 วัน และออกประกาศเป็นคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 (ป.ร. 42) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อมาควบคุมการปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์โดยตรง

48 หนังสือพิมพ์ที่ประกาศปิดตัวเองเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 คือ
(1) สยามรัฐรายวัน
(2) บ้านเมือง
(3) แนวหน้า
(4) ไทยโพสต์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือพิมพ์บ้านเมืองก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยบริษัท บ้านเมืองการพิมพ์ จํากัด ซึ่งปัจจุบันผู้บริหารได้ตัดสินใจยุติการผลิตหนังสือพิมพ์บ้านเมือง เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างสื่อชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจ ปัจจุบันไม่เอื้ออํานวย จึงได้ประกาศปิดตัวเองเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป รวมเวลาที่ดําเนินธุรกิจ 45 ปี

49 นิตยสารเริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ
(1) อียิปต์
(2) ฮอลแลนด์
(3) อังกฤษ
(4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า “The Review ซึ่งถือเป็นนิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)

50 นิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า
(1) The Tatler
(2) The Spectator
(3) The Review
(4) The Economist
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

51 นิตยสารโดยคนไทยฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 2 หน้า 127 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หมายประกาศที่ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ ออกเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาแน่นอน เพื่อออกประกาศของทางราชการ กฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงถือเป็นนิตยสารที่ออกโดยคนไทยฉบับแรก

52 นิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 1 หน้า 124 – 126 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดนิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรกของกรุงสยาม มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น ดําเนินการ โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ซึ่งเขาได้พิมพ์นิตยสารฉบับนี้เป็นภาษาไทย และ เรียกสิ่งพิมพ์ที่ตนจัดทําขึ้นมาว่า Journal หมายถึง นิตยสาร

53 ในรัชสมัยใดที่กิจการด้านนิตยสารเจริญรุ่งเรืองมาก จนเรียกว่ายุคทองของนิตยสารไทย
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” ส่งผลให้ในยุคนี้มีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ และ มีหนังสือพิมพ์รายวันออกถึง 24 ฉบับ เนื่องจากได้รับเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตลอดจนการศึกษา ที่รุดหน้า และการที่นิตยสารเข้ามาสู่แวดวงของสามัญชนอย่างแท้จริง จึงทําให้วงการนิตยสาร เจริญเติบโตไปมาก

54 นิตยสารไทยที่ยังดําเนินการอยู่ ได้แก่
(1) สตรีสาร
(2) สตรีไทย
(3) สกุลไทย
(4) ขวัญเรือน
ตอบ 4 หน้า 133, (ความรู้ทั่วไป) นิตยสารไทยที่ยังคงดําเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ นิตยสาร ขวัญเรือน ซึ่งเป็นนิตยสารรายปักษ์เพื่อสาระและความบันเทิงสําหรับทุก ๆ คนในครอบครัว โดยวางตลาดฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 (ส่วนนิตยสารสตรีสาร ปิดตัวลง เมื่อ พ.ศ. 2539, สตรีไทย เป็นนิตยสารที่เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น สกุลไทย ปิดตัวลงเมื่อ พ.ศ. 2559)

55 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Poget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

56 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และมีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส – เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และการใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้

57 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville

58 ชื่อโรงภาพยนตร์ในครั้งแรก ชื่อว่า
(1) The Odeon
(2) The Nickelodeon
(3) Hollywood
(4) Vaudeville
ตอบ 2 หน้า 144 คําว่า “Nickelodeon” เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรงภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นขึ้น ใน ค.ศ. 1905 โดยผู้ที่ร่วมกันลงทุน 2 คน มาจากเมือง Pittsburgh คือ Harry P. Davis และ John P. Harris ได้เริ่มต้นธุรกิจการทําโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า The Nickelodeon อยู่ในเมือง Pittsburgh และเก็บเงินค่าเข้าชมภาพยนตร์จากคนดูเพียง 5 เซ็นต์เท่านั้น จึงทําให้ในเวลา เพียงแค่สัปดาห์เดียว พวกเขาก็สามารถทําเงินได้ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ

59 โรงถ่ายภาพยนตร์ The “Big Five” ได้แก่
(1) MGM, Twentieth Century — Fox, Paramount, Columbia, Warner Brothers
(2) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, Universal, Warner Brothers
(3) MGM, Twentieth Century — Fox, Paramount, RKO, Warner Brothers
(4) MGM, Twentieth Century – Fox, Paramount, Republic, Warner Brothers
ตอบ 3 หน้า 150 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโรงถ่ายภาพยนตร์ที่สําคัญเพียงไม่กี่โรง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างภาพยนตร์มาก คือ ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 (The “Big Five”) ซึ่งได้แก่ MGM, Twentieth
Century Fox, Paramount, RKO a Warner Brothers

60 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น

ตอบ 2 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

61 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เป็นของใคร
(1) พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) นายประสาท สุขุม
ตอบ 2 หน้า 153 – 155 ผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย คือ พี่น้องวสุวัต ซึ่งมีกิจการสร้าง ภาพยนตร์เป็นของตัวเอง เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง” ทั้งนี้ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาประดิษฐ์ ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าวสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

62 ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ โชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 มีลักษณะเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว – ดํา ขนาด 35 มม.

63 ผู้ที่สร้างเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz.
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 3 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1901 Guglietmo Marconi ชายชาวอิตาเลียน ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น“บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

64 ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขสําเร็จ คือ
(1) James Clerk Maxwell
(2) Heinrich Rudolf Hertz
(3) Marconi
(4) Samuel F.B. Morse
ตอบ 4 หน้า 161 Samuel F.B. Morse นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า “เครื่องส่งโทรเลขทางไกล” (The Long – distance Telegraph) ได้สําเร็จ ซึ่งเขาได้พัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าของเดิมที่นักประดิษฐ์รุ่นก่อน ๆ ได้เริ่มไว้

65 สถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดอีกด้วย คือ
(1) สถานี 8XK
(2) สถานี KDKA
(3) สถานี VOA
(4) สถานี NBC
ตอบ 2 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

66 พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงขึ้น เป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

67 วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับวันที่
(1) 1 มกราคม
(2) 25 กุมภาพันธ์
(3) 3 พฤษภาคม
(4) 24 มิถุนายน
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

68 สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยชื่อว่า
(1) สถานี 4 พีเจ
(2) สถานีกรุงเทพที่พญาไท
(3) สถานีวิทยุ 1 ปณ.
(4) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69 ปัจจุบันคลื่นวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดอยู่ในความดูแลของ
(1) กรมประชาสัมพันธ์
(2) กระทรวง ICT
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตามที่ระบุ ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทําหน้าที่กํากับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

70. สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของสหรัฐอเมริกา คือสถานี
(1) NBC
(2) CES
(3) RCA
(4) PBS
ตอบ 3 หน้า 176, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1932 บริษัท RCA (The Radio Corporation of America) ได้สร้างสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นที่ตึกเอ็มไพร์สเตท เมืองนิวยอร์ก ซึ่งมีอุปกรณ์สําหรับใช้ในห้องส่งและการถ่ายทอดสดอย่างสมบูรณ์ที่สุด ต่อมาใน ค.ศ. 1936 เริ่มมีการทดสอบระบบโดยถ่ายทอดรายการเพียง 2 รายการต่อสัปดาห์ และใน ค.ศ. 1939 จึงถ่ายทอดงาน World Fair New York

71 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ อยู่ในช่วงใด
(1) 1930 1940
(3) 1950 1960
(2) 1940 1950
(4) 1960 – 1980

ตอบ 4 หน้า 180 ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์หรือยุคแห่งความรุ่งเรืองของวิทยุโทรทัศน์ เป็นยุคที่ อาจกล่าวได้ 2 ประการ ดังนี้
1 สื่อวิทยุโทรทัศน์อยู่ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
2 เป็นยุคที่ยาวนานอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1980 ซึ่งเป็นยุคที่เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ มีการแข่งขันกันมากขึ้น

72 “เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Marconi
(2) David Sarnoff
(3) Frank Conrad
(4) Newton Minow
ตอบ 4 หน้า 181 Newton Minow ซึ่งเป็นอดีตประธาน FCC (Federal Communications Commission) กล่าวว่า เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ คือ อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ไร้ความคิด (Vast Wasteland of Mindless) เนื่องจากรายการวิทยุโทรทัศน์มีแต่รายการตลกที่สิ้นคิด ละครชีวิตที่เพ้อฝันเกินจริง การแสดงมวยปล้ํา การ์ตูนที่มีแต่ความรุนแรง กีฬาที่น่าตื่นเต้น การแข่งขันตอบปัญหา และรายการตลกฝืดในเรื่องครอบครัว

73 ผู้ดําริให้มีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย คือ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ 1 หน้า 184, 186 กิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและเป็นผู้ดําริให้มีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น จึงได้ให้อธิบดีกรมโฆษณาการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการส่งวิทยุโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในเวลาต่อมาก็ได้มีคําสั่งราชการเพื่อแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นกรรมการพิจารณาจัดซื้อเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์

74 การแพร่ภาพสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทยทางช่อง 4 บางขุนพรหมเมื่อใด
(1) 22 มิถุนายน 2466
(2) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 1 มกราคม 2500
ตอบ 3 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการ ดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

75 การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ในไทยครั้งแรกนั้น ตั้งเป็นบริษัทชื่อว่า
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 อ.ส.ม.ท. รับโอนกิจการมาจาก
(1) บริษัท ไทยโทรภาพ จํากัด
(2) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
(3) บริษัท กรุงเทพและวิทยุโทรทัศน์
(4) บริษัท บางกอกเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด

ตอบ 2 หน้า 190, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งในรูปของบริษัทไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้โอนกิจการมาเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (องค์การ สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยให้เป็นสถานีโทรทัศน์ ที่อยู่ภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของสํานักนายกรัฐมนตรีในลักษณะของรัฐวิสาหกิจ

77 สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
(2) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
ตอบ 3 หน้า 189, (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีลักษณะเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้ง โดยเริ่มแพร่ภาพออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

78 สถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
(2) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(3) สถานีโทรทัศน์ ETV กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์ สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่าง เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

79 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และมีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์

80 บิดาแห่งเว็บ คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3 หน้า 194, (คําบรรยาย) Sir Timothy John Berners – Lee หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี เป็นชาวอังกฤษที่ได้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็นคนแรกของโลก ทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งเว็บ

81 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมออนไลน์สะท้อนแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญ คือ
(1) รูปแบบการสื่อสารแบบจุดต่อจุดไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน
(2) มีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
(3) การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากผู้ให้บริการมาเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 195 – 196 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสื่อสังคมออนไลน์ ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของแนวโน้มการสื่อสารที่สําคัญใน 2 ด้าน ได้แก่
1 รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนจากการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point to Point) และสองทาง (Two Way) ไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน (Many to Many) และมีการใช้ Link วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น
2 การควบคุมการสื่อสารเปลี่ยนจากระบบที่ครอบครองโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบเดิม
ไปสู่ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มแบบเปิดบนอินเทอร์เน็ต

82 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และสื่อสังคมออนไลน์ (Sccial Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

83 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,
del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

84 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Bill Gates
(2) Mark Zuckerberg
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page

ตอบ 2 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ที่ก่อตั้ง Facebook ซึ่งถือว่าเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social – networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Facebook ขึ้นขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี

86 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 110 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4 หน้า 204หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่มักใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา

87 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Bill Gates
(2) Mark Zuckerberg
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 4 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

88 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

89 Facebook กลุ่มวิชานี้ คือ
(1) MCS 1150
(2) MCS 1150 (MCS 1100)
(3) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
(4) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Facebook ของกลุ่มวิชานี้ คือ MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง

90 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
PR Ramkhamhaeng University

91 สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio

ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU Easy Radio คือ สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งจะออกอากาศทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16.00 – 19.00 น. โดยสามารถเข้าไปรับฟังได้ที่ www.masscomradio.com

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็น ฉบับปัจจุบัน ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในรัฐบาล ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม พ.ร.บ. (ปัจจุบัน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากมีการเปลี่ยนชื่อ กระทรวงในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูล
คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน….
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 ถ้าใครส่งภาพไม่เหมาะสมให้นักศึกษาแล้วนักศึกษาแชร์ต่อให้เพื่อน จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98 เลิกกับแฟนเก่าแล้วเอาภาพส่วนตัวมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้แฟนเก่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือว่า ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ…

99 การพบกันของสื่อส่วนตัว สื่อมวลชน สื่อโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ต เรียกว่า
(1) ICT
(2) Convergence
(3) Mass Media
(4) User Generate Content
ตอบ 2(คําบรรยาย) คําว่า “Convergence” หมายถึง กระบวนการเข้ามาบรรจบกัน รวมศูนย์ ดังนั้นการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) จึงหมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยี สื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่ หรือการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว เช่น การพบกันของสื่อส่วนตัว สื่อมวลชน สื่อโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

100 ปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารลุกขึ้นมาทําการสื่อสารเอง เรียกว่าอะไร
(1) ICT
(2) Convergence
(3) Mass Media
(4) User Generate Content
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่สื่อใหม่เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่ พื้นที่สาธารณะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารลุกขึ้นมาทําการ สื่อสารเอง เรียกว่า “ User Generate Content” (UGC) ซึ่งก็คือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ที่ผลิต เนื้อหาเอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ

LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2112 (LAW2012) ป.พ.พ.ว่าด้วยประกันภัย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายต่อทําประกันชีวิตโดยอาศัยความมรณะไว้กับ บมจ.ชํานาญประกันชีวิต จํานวนเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท ระบุนางสาวพอใจเป็นผู้รับประโยชน์ ในขณะที่ทําสัญญาประกันชีวิต นายต่อเป็นโรคมะเร็งแต่ไม่แสดงอาการ จึงไม่รู้ว่าตนเป็นโรคร้ายแรงที่ บมจ.ชํานาญประกันชีวิตจะไม่รับทําสัญญา นายต่อจึงระบุในแบบคําขอเอาประกันชีวิตว่าตนสุขภาพแข็งแรงดี ทั้งนี้นางสาวพอใจทราบถึงโรคมะเร็งดังกล่าวของนายต่อแต่ปกปิดไม่แจ้งให้ บมจ.ชํานาญประกันชีวิตทราบ ปรากฏต่อมาว่า นายต่อและนางสาวพอใจทะเลาะกัน นายต่อจึงทําการเปลี่ยนแปลงนางสาวนวลบุตรของตนมาเป็นผู้รับประโยชน์แทนนางสาวพอใจ ต่อมานายต่อถึงแก่ความตายจากโรคมะเร็งดังกล่าว นางสาวพอใจ และนางสาวนวลต่างทําหนังสือไปยัง บมจ.ชํานาญประกันชีวิตเพื่อขอรับเงินตามสัญญา

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า บมจ.ชํานาญประกันชีวิตจะต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต 2 ล้านบาท หรือไม่ และถ้าหากมีความรับผิดจะต้องใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตของนายต่อแก่ผู้ใด ระหว่างนางสาวพอใจกับนางสาวนวล

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้

คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวนเงินใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 865 “ถ้าในเวลาทําสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทําสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้ว แถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกําหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้าง
ได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกําหนดห้าปีนับแต่วันทําสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง”
มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ในขณะทําสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
มิเช่นนั้นสัญญาประกันภัยจะไม่ผูกพันคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้รับประกันภัยให้ต้องรับผิดในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย (มาตรา 863) อีกทั้งผู้เอาประกันภัยยังมีหน้าที่จะต้องแถลงข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจ ผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทําสัญญา ถ้าในขณะทําสัญญาผู้เอาประกันปกปิด ข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ สัญญาประกันภัยย่อมตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 865)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายต่อได้ทําสัญญาประกันชีวิตโดยอาศัยความมรณะไว้กับ บมจ.ชํานาญ ประกันชีวิต จํานวนเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท ระบุนางสาวพอใจเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามมารถทําได้ เพราะถือว่านายต่อผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพัน คู่สัญญา ดังนั้น เมื่อนายต่อได้ถึงแก่ความตายในระหว่างอายุสัญญา บมจ.ชํานาญประกันชีวิตจึงต้องใช้เงิน 2 ล้านบาท ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นตามมาตรา 889

และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่ทําสัญญาประกันชีวิตนั้น นายต่อผู้เอาประกันภัยเป็น โรคมะเร็งแต่ไม่แสดงอาการ จึงไม่รู้ว่าตนเป็นโรคร้ายแรงที่ บมจ. ชํานาญประกันชีวิตจะไม่รับทําสัญญา นายต่อจึงระบุในแบบคําขอเอาประกันชีวิตว่าตนสุขภาพแข็งแรงดี จึงไม่ใช่กรณีที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง หรือแถลงข้อความเท็จตามมาตรา 865 แม้ว่านางสาวพอใจซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จะรู้ข้อความจริงแต่ก็มิได้มีหน้าที่ ตามมาตรา 865 ในการเปิดเผยข้อความจริง ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตซึ่งนายต่อทําไว้กับ บมจ.ชํานาญประกันชีวิต จึงไม่ตกเป็นโมฆียะ

การที่นายต่อและนางสาวพอใจทะเลาะกัน นายต่อจึงทําการเปลี่ยนแปลงนางสาวนวลบุตรของตน มาเป็นผู้รับประโยชน์แทนนางสาวพอใจนั้น เมื่อนางสาวพอใจผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ แห่งสัญญา สิทธิในการรับประโยชน์จึงยังไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 862 ประกอบมาตรา 891 ดังนั้น นายต่อจึง สามารถทําการเปลี่ยนแปลงนางสาวนวลบุตรของตนมาเป็นผู้รับประโยชน์แทนนางสาวพอใจได้ และเมื่อนางสาวนวล ได้ทําหนังสือบอกกล่าวไปยัง บมจ.ชํานาญประกันชีวิตเพื่อขอรับเงินตามสัญญา สิทธิในการได้รับประโยชน์ของนางสาวนวลจึงสมบูรณ์ตามมาตรา 891 ดังนั้น เมื่อนายต่อถึงแก่ความตาย บมจ.ชํานาญประกันชีวิตจึงต้องรับผิด ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต 2 ล้านบาท ให้แก่นางสาวนวล

สรุป
บมจ.ชํานาญประกันชีวิต จะต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต 2 ล้านบาท ให้แก่นางสาวนวล

 

ข้อ 2 นายบัวขาวซื้อรถเบนซ์ด้วยเงินสดราคา 3 ล้านบาท นายบัวขาวทําสัญญาประกันภัยรถเบนซ์คันดังกล่าวไว้กับบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง เป็นการประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองทุกอย่าง รวมถึงตัวรถของผู้เอาประกันภัยด้วย จํานวนเงินเอาประกันภัย 2 ล้านบาท ในระหว่างที่สัญญา มีผลบังคับ นายหมอกเป็นผู้ทําให้เกิดอุบัติเหตุโดยขับรถกระบะด้วยความประมาท แซงรถบรรทุก คันหน้าเข้าไปในช่องเดินรถที่นายบัวขาวแล่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิด โดยนายหมอกไม่รอให้รถเบนซ์ของนายบัวขาวขับแล่นผ่านไปก่อน เป็นเหตุให้นายบัวขาวจําต้องขับรถเบนซ์หลบไป ด้านซ้ายของถนนเพื่อไม่ให้ถูกรถของนายหมอกชนประสานงากัน จึงทําให้รถเบนซ์ของนายบัวขาว พลิกคว่ำเสียหาย นายบัวขาวจึงแจ้งผู้รับประกันภัย บริษัทประกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ นายบัวขาวตามทุนประกัน คือ 2 ล้านบาท แต่ปรากฏว่านายบัวขาวนํารถเบนซ์คันนั้นเข้าอู่ซ่อม และจ่ายค่าซ่อมให้แก่นายเมฆเจ้าของอู่ไป 1 ล้าน 8 แสนบาท อยากทราบว่า บริษัทประกันภัย มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจํานวน 2 ล้านบาท จากนายหมอกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 880 วรรคหนึ่ง “ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจํานวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 880 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของบุคคลภายนอก และผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจํานวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อม มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น แต่ผู้รับประกันภัย สามารถเข้ารับช่วงสิทธิไปเรียกเอาแก่บุคคลภายนอกเพียงเท่าที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้รับ
ความเสียหายจริงเท่านั้น จะเรียกเอาจากบุคคลภายนอกเกินความเสียหายจริงที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้รับไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่รถของนายบัวขาวผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายโดยการพลิกคว่ำนั้น เป็นผลโดยตรงมาจากความประมาทเลินเล่อของนายหมอก ซึ่งขับรถแซงเข้ามาในช่องเดินรถสวนจึงต้องถือว่า วินาศภัยดังกล่าวได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของบุคคลภายนอก และการที่บริษัทประกันวินาศภัยได้ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่นายบัวขาว 2 ล้านบาท ถือว่าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วบริษัทประกันภัยจึงสามารถเข้ารับช่วงสิทธิของนายบัวขาวที่มีต่อนายหมอกบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยในการเรียกร้องเอาจากนายหมอกนั้นจะต้องไม่เกินความเสียหายจริงที่นายบัวขาวได้รับจากการกระทําของนายหมอก ดังนั้น เมื่อความเสียหายที่นายบัวขาวได้รับจากการกระทําของนายหมอก คือ 1 ล้าน 8 แสนบาท บริษัทจึงเข้ารับช่วงสิทธิของนายบัวขาว ในการเรียกร้องเอาแก่นายหมอกได้เพียง 1 ล้าน 8 แสนบาทเท่านั้น ส่วนที่เกินความเสียหายอีก 2 แสนบาท นายหมอกหาจําต้องรับผิดต่อบริษัทประกันภัยแต่อย่างใดไม่

สรุป
บริษัทประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจํานวน 2 ล้านบาท จากนายหมอก แต่สามารถเรียกได้เพียง 1 ล้าน 8 แสนบาทเท่านั้น

 

ข้อ 3 นายปรีชาและนางบุญมีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย นางบุญมีได้ทําสัญญากู้เงินจากนายเจริญมาจํานวน 500,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในกิจการค้าของตน ต่อมาวันที่ 25 สิงหาคม 2563 นายปรีชาได้ทําสัญญาเอาประกันชีวิตตนเองต่อบริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงิน เอาประกัน 700,000 บาท โดยทําสัญญาแบบอาศัยเหตุมรณะ ระบุให้นางบุญมีเป็นผู้รับประโยชน์ โดยได้ชําระเบี้ยประกันไปจํานวน 100,000 บาท วันที่ 25 สิงหาคม 2564 นายปรีชาประสบอุบัติเหตุ ระหว่างเดินทางไปเที่ยวกับเพื่อน ทําให้นายปรีชาถึงแก่ความตาย นางบุญมีจึงแจ้งไปยังบริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด เพื่อขอรับเงินประกันตามสัญญา และนอกจากนั้นนายเจริญเจ้าหนี้ของ นางบุญมีก็ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด ใช้เงินให้แก่นายเจริญก่อน ในฐานะเจ้าหนี้ของผู้รับประโยชน์

ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จะต้องใช้เงินตามสัญญาให้กับนางบุญมีและ นายเจริญหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง”
มาตรา 897 วรรคสอง “ถ้าได้เอาประกันภัยไว้โดยกําหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จํานวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้นจักเป็น
สินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปรีชาและนางบุญมีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และนายปรีชา ได้ทําสัญญาเอาประกันชีวิตตนเองต่อบริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 700,000 บาท โดย ทําสัญญาแบบอาศัยเหตุมรณะ และระบุให้นางบุญมีเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามารถทําได้ เพราะถือว่านายปรีชา ผู้เอาประกันมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้น เมื่อ นายปรีชาถึงแก่ความตาย บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จึงต้องใช้เงินตามสัญญาให้แก่นางบุญมีผู้รับประโยชน์ จํานวน 700,000 บาท ตามมาตรา 889

ส่วนกรณีที่นางบุญมีได้ทําสัญญากู้เงินจากนายเจริญมาจํานวน 500,000 บาทนั้น บริษัท เมืองดี ประกันชีวิต จํากัด ไม่ต้องใช้เงินให้กับนายเจริญ เนื่องจากกรณีตามมาตรา 897 วรรคสองนั้น จะใช้กับกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตตนเองนั้นมีเจ้าหนี้ และเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย เฉพาะจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วจึงจะตกเข้ากองมรดกของผู้เอาประกันภัยซึ่งเจ้าหนี้สามารถเอาไปใช้หนี้ได้ แต่จากข้อเท็จจริง นายเจริญเป็นเจ้าหนี้นางบุญมีผู้รับประโยชน์ มิได้เป็นเจ้าหนี้นายปรีชาผู้เอาประกันภัย กรณีนี้จึง
ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 897 วรรคสอง

สรุป
บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จะต้องใช้เงินตามสัญญาจํานวน 700,000 บาท ให้แก่ นางบุญมี แต่ไม่ต้องใช้ให้แก่นายเจริญ

LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายคิวทําสัญญาประกันชีวิตนายบาร์มเพื่อนสนิทด้วยเหตุมรณะกับ บมจ. ชื่นชมประกันชีวิต กําหนดนายโต๊ะเพื่อนนายบาร์มเป็นผู้รับผลประโยชน์ (นายคิวส่งมอบกรมธรรม์ให้นายโก๊ะ และนายโก๊ะมีหนังสือแสดงความจํานงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้ว) ระยะเวลาทําประกัน 5 ปี ทําสัญญาประกันได้ 7 เดือน นายบาร์มถูกนายคังคู่อริยิงเสียชีวิต นายโก๊ะจึงเรียกร้องเงินประกัน ตามสัญญา แต่บริษัทผู้รับประกันภัยปฏิเสธการจ่ายเงินให้แก่นายโต๊ะด้วยข้ออ้าง 2 ข้อ คือ

(1) นายคิวและนายบาร์มไม่มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ไม่ต้องจ่ายเงิน

(2) นายบาร์มถูกคู่อริคือนายคังยิงเสียชีวิต หากจะจ่ายเงิน บริษัทฯ จะจ่ายให้แก่ทายาท นายโก๊ะ ไม่มีสิทธิรับเงินตามสัญญา

ให้นักศึกษาอธิบายข้ออ้างทั้ง 2 ข้อ ของ บมจ. ชื่นชมประกันชีวิต ว่าถูกต้องหรือไม่ และให้ตอบว่า นายโก๊ะจะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิตหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้
คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้

คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวนเงินใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่
ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญานั้น”
มาตรา 896 “ถ้ามรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยหาอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจํานวนเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะ
หวนกลับมาได้แก่ตนด้วย”

วินิจฉัย

(1) ในการทําสัญญาประกันชีวิตโดยอาศัยเหตุมรณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมิใช่ตัวของผู้เอาประกันภัยนั้น การพิจารณาส่วนได้เสียของผู้เอาประกันภัยกับเหตุที่ประกันภัยไว้ตามมาตรา 863 นั้น จะต้อง
เป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้นด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายคิวทําสัญญาประกันชีวิตนายบาร์มเพื่อนสนิทด้วยเหตุมรณะกับ บมจ. ชื่นชมประกันชีวิต โดยกําหนดให้นายโก๊ะเพื่อนของนายบาร์มเป็นผู้รับประโยชน์ และนายคิวได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้นายโก๊ะ และนายโก๊ะมีหนังสือแสดงจํานงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้วนั้น เมื่อนายคิวเป็นเพียง
ผู้เอาประกันภัยแต่มิได้เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต จึงไม่เข้ากรณีที่จะต้องพิจารณาว่าผู้เอาประกันภัย มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ตามมาตรา 863 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อนายบาร์มถูกนายคังคู่อริยิงเสียชีวิต ภายในอายุความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิต บริษัทฯ จึงต้องจ่ายเงินให้แก่นายโต๊ะผู้รับประโยชน์ตามที่ ระบุไว้ในสัญญาตามมาตรา 862 ประกอบมาตรา 891 บริษัทฯ จะปฏิเสธการจ่ายเงินให้แก่นายโต๊ะโดยกล่าวอ้าง การไม่มีส่วนได้เสียระหว่างนายคิวและนายบาร์มไม่ได้

(2) การที่บริษัทฯ กล่าวอ้างว่านายบาร์มถูกคู่อริคือนายคงยิ่งเสียชีวิต หากจะจ่ายเงิน บริษัทฯ จะจ่าย ให้แก่ทายาทนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวของบริษัทฯ ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อนายคิวผู้เอาประกันได้กําหนดตัวผู้รับประโยชน์คือนายโต๊ะไว้แล้ว สิทธิในการได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิตด้วยเหตุมรณะของนายบาร์มจึงเป็น สิทธิของนายโก๊ะ ส่วนทายาทของนายบาร์มย่อมได้สิทธิในส่วนของค่าสินไหมทดแทนจากนายคงตามมาตรา 896

สรุป ข้ออ้างทั้ง 2 ข้อของ บมจ. ชื่นชมประกันชีวิตไม่ถูกต้อง และนายโต๊ะมีสิทธิได้รับเงินตาม
สัญญาประกันชีวิต

 

ข้อ 2 นายกบเจ้าของรถยนต์ ได้นํารถยนต์ไปทําสัญญาประกันวินาศภัยในความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้น กับรถยนต์นั้นกับบริษัท รวยดี ประกันวินาศภัย จํากัด จํานวนเงินเอาประกันภัย 5 แสนบาท และนายกบได้ทําสัญญาประกันภัยในความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกไว้ด้วยจํานวนเงินเอาประกันภัย 3 แสนบาท โดยในกรมธรรม์ประกันวินาศภัยในความเสียหายกับรถยนต์นั้นมีเงื่อนไขกําหนดไว้ว่าห้ามไม่ให้ผู้เอาประกันภัยนํารถยนต์นั้นไปรับจ้างหรือให้เช่า ปรากฏว่านายกบได้นํารถยนต์คันดังกล่าวไปรับจ้างส่งของให้กับนายเขียด วันเกิดเหตุด้วยความประมาทเลินเล่อของนายกบได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวนั้น ช่วงเวลาที่ไปส่งของให้กับนายเขียดเฉี่ยวชนนายอ๊อดได้รับบาดเจ็บ มีค่ารักษาพยาบาลจํานวน 50,000 บาท นายอ๊อดจึงมาเรียกให้บริษัท รวยดีประกันวินาศภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากนายกบได้ทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้ แต่ถูกบริษัท รวยดีประกันวินาศภัย จํากัด ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าไม่อยู่ในส่วนที่ผู้รับประกันภัย จะต้องรับผิดเนื่องจากนายกบผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์

ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า ข้อปฏิเสธของ บริษัท รวยดีประกันวินาศภัย จํากัด ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 887 วรรคหนึ่ง “อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่า จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอา
ประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกบได้นํารถยนต์ไปทําประกันวินาศภัยไว้กับบริษัท รวยดีประกัน วินาศภัย จํากัด ในความเสียหายที่เกิดกับตัวรถยนต์ที่เอาประกันรวมทั้งประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นประกันภัยค้ำจุนด้วยนั้น บุคคลที่ถือว่าเป็นคู่สัญญาคือนายกบ (ผู้เอาประกันภัย) และบริษัท รวยดีประกัน วินาศภัย จํากัด (ผู้รับประกันภัย) ซึ่งตามมาตรา 887 วรรคหนึ่งนั้น สัญญาประกันภัยค้ำจุน เป็นสัญญาซึ่งผู้รับ ประกันภัยได้ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่ง
และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ

จากข้อเท็จจริง การที่นายกบได้ทําประกันภัยค้ำจุนในความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ไว้ด้วยนั้น โดยไม่ได้มีเงื่อนไขความรับผิดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อนายกบได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปเฉี่ยวชนนายอ๊อด ได้รับบาดเจ็บมีค่ารักษาพยาบาลจํานวน 50,000 บาท นายอ๊อดจึงมีสิทธิเรียกให้บริษัทฯ ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่กําหนดห้ามไม่ให้ผู้เอาประกันภัยนํารถยนต์ไปรับจ้างหรือให้เช่านั้น เป็นเงื่อนไขในส่วนประกัน ความเสียหายอันเกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอ๊อด จะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าไม่อยู่ในส่วนที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดเนื่องจากนายกบผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ไม่ได้

สรุป ข้อปฏิเสธของบริษัท รวยดีประกันวินาศภัย จํากัด ฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 3 นายวอกกับนางนวลเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรชายหนึ่งคนคือนายเทพ โดยนายเทพ เอาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะให้แก่นางนวลมารดาของตนไว้กับ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 จํานวนเงินเอาประกัน 5 ล้านบาท คุ้มครองตลอดชีพ ไม่ได้ระบุตัว ผู้รับประโยชน์ ต่อมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นายเทพได้เอาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะ ให้แก่นายวอกบิดาของตนอีกฉบับหนึ่งไว้กับ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิตเช่นกัน จํานวนเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท คุ้มครองตลอดชีพ ไม่ได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ ปรากฏต่อมาว่า วันที่ 31 ธันวาคม 2564 นายวอกกับนางนวลทะเลาะกันอย่างรุนแรง เพราะเหตุชู้สาวของนายวอก นางนวลเผลอใช้อาวุธปืน ยิงนายวอกถึงแก่ความตาย และด้วยความเสียใจนางนวลจึงยิงตัวตายตามไปด้วย หลังจากนั้น นายเทพจึงทําหนังสือถึง บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต ให้ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับแก่ตน ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิตจะต้องชดใช้เงินหรือปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่นายเทพ เนื่องจากเหตุการณ์ตายของนายวอกกับนางนวลได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของ บุคคลคนหนึ่ง”

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จํานวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัย จําต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทําอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทําสัญญา หรือ

(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ในกรณีที่ 2 นี้ ท่านว่าผู้รับประกันภัยจําต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือ ให้แก่ทายาทของผู้นั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเทพบุตรชายของนายวอกและนางนวล เอาประกันชีวิตแบบอาศัย ความมรณะให้แก่นางนวลมารดาของตนไว้กับ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 จํานวนเงิน เอาประกัน 5 ล้านบาท และเอาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะให้แก่นายวอกบิดาของตนอีกฉบับหนึ่งไว้กับ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิตเช่นกัน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จํานวนเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท สัญญาทั้งสองฉบับ จึงเป็นสัญญาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะตามมาตรา 889 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ถูกเอาประกันชีวิต คือนายวอกและนางนวลทะเลาะกันอย่างรุนแรงเพราะเหตุชู้สาวของนายวอก นายนวลเผลอใช้อาวุธปืนยิงนายวอก ถึงแก่ความตาย และด้วยความเสียใจนางนวลจึงยิงตัวตายตามไปด้วย โดยเหตุเกิดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และต่อมานายเทพได้ทําหนังสือถึง บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต ให้ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับแก่ตน ดังนี้ บริษัทฯ จะต้องชดใช้เงินหรือปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่นายเทพได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

กรณีของนายวอก การที่นายวอกถึงแก่ความตายภายในอายุความคุ้มครองของสัญญาประกันชีวิต จากการกระทําโดยประมาทเลินเล่อของนางนวลนั้น ไม่ถือว่านายวอกได้กระทําอัตตวินิบาตด้วยใจสมัครหรือถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาตามมาตรา 895 ดังนั้น นายเทพชอบที่จะเรียกร้องให้ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต รับผิดใช้เงินตามสัญญาจํานวน 2 ล้านบาทแก่ตนได้ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต จึงต้องใช้เงินให้แก่นายเทพในกรณีนี้

กรณีของนางนวล การที่นางนวลได้ยิงตัวตายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นั้น ถือว่านางนวล ผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้กระทําอัตตวินิบาตด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทําสัญญาประกันชีวิต ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 895 (1) บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต จึงสามารถอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธความรับผิดใช้เงิน ตามสัญญาจํานวน 5 ล้านบาทแก่นายเทพได้ บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต จึงไม่ต้องใช้เงินให้แก่นายเทพในกรณีนี้

สรุป บมจ. ยั่งยืนประกันชีวิต จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตเฉพาะตามสัญญาประกันชีวิต กรณีของนายวอกแก่นายเทพจํานวน 2 ล้านบาท เพียงสัญญาเดียว

LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2112 (LAW 2012) ป.พ.พ. ว่าด้วยประกันภัย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายพอยื่นคําขอทําสัญญาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะกับบริษัทมั่นคงประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) จํานวนเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท ความคุ้มครองตามสัญญาเป็นแบบตลอดชีพ ระบุ นางสวยภริยาของตนเป็นผู้รับประโยชน์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ในขณะที่ทําสัญญา แพทย์ ผู้ตรวจสุขภาพของนายพอแจ้งว่านายพอมีอาการหัวใจเต้นเร็วแต่ยังไม่พบว่าเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับหัวใจ ให้ทําการตรวจวินิจฉัยต่อ นายพอจึงระบุในคําขอเอาประกันชีวิตว่าตนไม่มีโรค ร้ายแรง ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 นายพอเข้าตรวจสุขภาพทรวงอกอีกครั้ง ต่อมาในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 แพทย์ผู้ตรวจทําการติดต่อนายพอแจ้งว่านายพอเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (เป็นโรคร้ายแรงที่บริษัทมั่นคงประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ไม่รับทํากระกันชีวิต) แต่นายพอไม่ได้ แจ้งไปยังบริษัทฯ ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 บริษัทฯ ได้ตอบรับคําขอเอาประกันชีวิตของ นายพอและออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้นายพอ 1 ฉบับ ปรากฏว่าในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 นายพอและนางสวยเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นางสาวส้มทายาทเพียงคนเดียวของ นายพอจึงทําหนังสือแจ้งไปยังบริษัทฯ เพื่อขอรับเงินตามสัญญาประกันชีวิตของนายพอ

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางสาวส้มชอบที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิตของนายพอจาก บริษัทมั่นคงประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ
ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้
คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวนเงินใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 865 “ถ้าในเวลาทําสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิต บุคคล อันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทําสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้ว แถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆuยะ

ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกําหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้
ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกําหนดห้าปีนับแต่วันทําสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายนั้น ในขณะทําสัญญาประกันภัย นอกจากผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุ ที่เอาประกันภัย (มาตรา 863) แล้ว ผู้เอาประกันภัยยังมีหน้าที่ที่จะต้องแถลงข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับ ประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทําสัญญา ถ้าในขณะทําสัญญาผู้เอาประกันปกปิด ข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ สัญญาประกันภัยย่อมตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 865) ซึ่งหน้าที่ในการ แถลงข้อความจริงนั้นมิได้สิ้นสุดลงในชั้นยื่นคําขอเอาประกันภัยเท่านั้น แต่มีอยู่เรื่อยไปจนกว่าผู้รับประกันภัยจะรับทําสัญญาประกันภัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพอยื่นคําขอทําสัญญาประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะกับบริษัท มั่นคงประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ระบุนางสวยภริยาของตนเป็นผู้รับประโยชน์นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะทําสัญญานายพอได้ระบุในคําขอเอาประกันชีวิตว่าตนไม่มีโรคร้ายแรง เนื่องจากแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพของนายพอแจ้งว่านายพอมีอาการหัวใจเต้นเร็วแต่ยังไม่พบว่าเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับหัวใจ
แต่ในระหว่างที่รอการสนองรับทําสัญญาประกันชีวิตของบริษัทฯ นายพอได้รับแจ้งจากแพทย์ผู้ตรวจว่านายพอ เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่บริษัทฯ ไม่รับทําประกันชีวิต แต่นายพอไม่ได้แจ้งไปยังบริษัทฯ จนทําให้ต่อมาบริษัทฯ ได้ตอบรับคําขอเอาประกันชีวิตของนายพอนั้น ถือว่านายพอผู้เอาประกันรู้อยู่แล้วละเว้นเสีย ไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจทําให้ผู้รับประกันบอกปัดไม่ยอมทําสัญญา สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็น โมฆียะตามมาตรา 865 ซึ่งบริษัทฯ สามารถบอกล้างให้ตกเป็นโมฆะได้ ดังนั้น ต่อมาเมื่อนายพอและนางสวย ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นางสาวส้มทายาทเพียงคนเดียวของนายพอจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตาม สัญญาประกันชีวิตของนายพอ

สรุป นางสาวส้มไม่มีสิทธิได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิตของนายพอจากบริษัทมั่นคงประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)

 

ข้อ 2 นายหมื่นเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่งได้นํารถยนต์คันดังกล่าวไปทําสัญญาประกันภัยในความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ กับบริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด จํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัย ห้าแสนบาท มีกําหนดเวลา 1 ปี หลังจากทําสัญญาประกันภัยได้ 5 เดือน นายเรืองมาติดต่อนายหมื่น เพื่อขอซื้อรถยนต์จากนายหมื่น และนัดทําสัญญาซื้อขายกันในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ปรากฏว่าในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นายหมื่นขับรถยนต์คันนั้น ไปทําธุระ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทําให้เกิดเหตุขับไปเฉี่ยวชนกับเสาไฟฟ้าข้างทางเป็นเหตุให้รถยนต์คันนั้นได้รับความเสียหายตีราคาความเสียหายเป็นจํานวนห้าหมื่นบาท โดยนายหมื่นยังไม่ได้เรียกค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด ซึ่งนายหมื่นได้มีการบอกกล่าว การโอนขายรถยนต์คันนั้นเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ แล้ว

ดังนั้น เมื่อครบกําหนดวันนัดทําสัญญาซื้อขาย นายเรืองได้มาทําสัญญาตามนัดไว้ และแม้นายเรือง
จะเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหายแต่ก็ต้องการที่จะซื้อเพราะเห็นว่ารถยนต์คันนี้ มีประกัน นายเรืองก็สามารถเรียกให้บริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด นั้นชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนได้ ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมาโดยสัญญาซื้อขาย

จงวินิจฉัยว่า นายเรืองมีสิทธิเรียกให้บริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่นายเรืองได้ซื้อมาจากนายหมื่นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 306 วรรคหนึ่ง “การโอนหนี้อันจะพึงต้องชําระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทําเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คําบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ ท่านว่าต้องทําเป็นหนังสือ”

มาตรา 875 “ถ้าวัตถุอันได้เอาประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยบทบัญญัติกฎหมายก็ดี ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ย่อมโอนตามไปด้วย

ถ้าในสัญญามิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าว การโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย อนึ่ง ถ้าในการโอน เช่นนี้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหมื่นซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ได้นํารถยนต์ไปทําสัญญาประกันภัย ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์กับบริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด มีกําหนดเวลา 1 ปี และหลังจากทํา สัญญาประกันภัยได้ 5 เดือน นายหมื่นได้ตกลงขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายเรือง และนัดทําสัญญาซื้อขายกัน ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นายหมื่นได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปเฉี่ยวชนกับเสาไฟฟ้าข้างทางเป็นเหตุให้รถยนต์คันนั้นได้รับความเสียหาย ตีราคาความเสียหายเป็นจํานวนเงินห้าหมื่นบาท โดยนายหมื่นยังไม่ได้เรียกค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท ยั่งยืน ประกันวินาศภัย จํากัด ซึ่งนายหมื่นได้มีการบอกกล่าวการโอนขายรถยนต์นั้นเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ แล้ว

และเมื่อครบกําหนดวันนัดทําสัญญาซื้อขาย นายเรืองได้มาทําสัญญาตามที่นัดไว้นั้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยคือ นายเรือง จะมีสิทธิเรียกให้บริษัทฯ ใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่นายเรืองได้ซื้อมาจากนายหมื่นได้หรือไม่

กรณีดังกล่าว นายเรืองย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้บริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหม ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่นายเรืองได้ซื้อมาจากนายหมื่นได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์การโอน วัตถุที่เอาประกันภัยตามมาตรา 875 วรรคสอง เนื่องจากนายเรืองได้รับโอนรถยนต์ที่เอาประกันภัยมาภายหลัง ที่เกิดวินาศภัยแล้ว สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยจึงไม่โอนตามไปด้วย ซึ่งตามมาตรา 875 วรรคสองนั้น การโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยย่อมโอนตามไปด้วยนั้นจะต้องเป็นการโอน
ก่อนเกิดวินาศภัยเท่านั้น ดังนั้น หากเกิดวินาศภัยขึ้นแล้วและภายหลังมีการโอนเกิดขึ้นก็จะต้องทําตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ จะต้องทําเป็นหนังสือระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนและมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือ ไปยังลูกหนี้ (ผู้รับประกันภัย) ก่อน สิทธิที่มีอยู่จึงจะโอนตามไปด้วย

สรุป นายเรืองไม่มีสิทธิเรียกให้บริษัท ยั่งยืนประกันวินาศภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่นายเรืองได้ ได้ซื้อมาจากนายหมื่น

ข้อ 3 นายปรีชาและนางบุญมีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย นายปรีชาได้ทําสัญญากู้เงินจากนายเจริญ มาจํานวน 200,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในกิจการค้าของตน ต่อมาวันที่ 25 สิงหาคม 2563 นายปรีชา ได้ทําสัญญาเอาประกันชีวิตนางบุญมีต่อบริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 500,000 บาท โดยทําสัญญาแบบอาศัยเหตุมรณะ ระบุให้นายปรีชาเป็นผู้รับประโยชน์โดยได้ชําระ เบี้ยประกันไปจํานวน 50,000 บาท วันที่ 25 สิงหาคม 2564 นางบุญมีประสบอุบัติเหตุระหว่าง เดินทางไปเที่ยวกับเพื่อน ทําให้นางบุญมีถึงแก่ความตาย นายปรีชาจึงแจ้งไปยังบริษัท เมืองดี ประกันชีวิต จํากัด เพื่อขอรับเงินประกันตามสัญญา และนอกจากนั้นนายเจริญเจ้าหนี้ของนายปรีชา ก็ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด ใช้เงินให้แก่นายเจริญก่อนในฐานะเจ้าหนี้ ของผู้เอาประกันภัย

ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จะต้องใช้เงินตามสัญญาให้กับนายปรีชาและ นายเจริญหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง”
มาตรา 897 วรรคสอง “ถ้าได้เอาประกันภัยไว้โดยกําหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จํานวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปรีชาและนางบุญมีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และนายปรีชา ได้ทําสัญญาเอาประกันชีวิตนางบุญมีต่อบริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 500,000 บาท โดยทําสัญญาแบบอาศัยเหตุมรณะ และระบุให้นายปรีชาเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ถือว่าเป็นการประกันชีวิตของผู้อื่น และเมื่อนายปรีชามีความสัมพันธ์กับนางบุญมีในฐานะคู่สมรส จึงถือว่านายปรีชามีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ ตามมาตรา 863 และมาตรา 889 สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้น เมื่อนางบุญมีถึงแก่ความตาย บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จึงต้องใช้เงินตามสัญญาให้แก่นายปรีชาผู้รับประโยชน์ จํานวน 500,000 บาท

ส่วนกรณีของนายเจริญซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนายปรีชานั้น บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด ไม่ต้อง ใช้เงินให้กับนายเจริญเนื่องจากกรณีตามมาตรา 897 วรรคสองนั้น จะใช้กับกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้ทําสัญญา ประกันชีวิตตนเอง และเมื่อผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย เฉพาะจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ ส่งไปแล้วจึงจะตกเข้ากองมรดกของผู้เอาประกันภัยซึ่งเจ้าหนี้สามารถเอาไปใช้หนี้ได้ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องเอาประกันชีวิตผู้อื่น ย่อมไม่มีโอกาสที่เงินประกันภัยหรือเบี้ยประกันภัยจะตกเข้ากองมรดกของผู้เอาประกันชีวิตได้
เพราะผู้เอาประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามสัญญานั้น

สรุป
บริษัท เมืองดีประกันชีวิต จํากัด จะต้องใช้เงินตามสัญญาให้กับนายปรีชาแต่ไม่ต้องใช้ให้แก่นายเจริญ

LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายหงส์มีอาการปวดที่ท้องจึงไปพบแพทย์ แพทย์ตรวจแล้วพบว่านายหงส์เป็นมะเร็งลําไส้ระยะ เริ่มต้น นายหงส์จึงทําประกันชีวิตตนเองกับบริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด ด้วยเหตุมรณะ ระยะเวลา 10 ปี จํานวนเงินประกันห้าแสนบาท โดยไม่เปิดเผยให้บริษัทประกันชีวิตทราบว่า ตนเป็นโรคมะเร็ง นายหงส์กําหนดให้นางอ้อยภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้รับประโยชน์ และนายหงส์ได้มอบกรมธรรม์ให้นางอ้อยไว้และบอกให้นางอ้อยนํากรมธรรม์ไปรับเงินห้าแสนบาทจากบริษัทประกันชีวิต นายหงส์เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและแพทย์ทําการผ่าตัดนําส่วนของลําไส้ที่เป็นมะเร็งออกและลงความเห็นว่านายหงส์สามารถรักษาหายได้เพราะมะเร็งยังไม่ลุกลามไปมาก ผ่านไปเป็นเวลา 1 ปี นายหงส์และนางอ้อยหย่าขาดจากกัน นายหงส์จดทะเบียนสมรสใหม่กับนางบุปผา นายหงส์จึงแจ้งไปยังบริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ จากนางอ้อยเป็นนางบุปผา

หลังจากนั้นอีก 7 เดือน นายหงส์ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิต นางบุปผาจึงเรียกร้องเงินห้าแสนบาทจากบริษัทประกัน แต่นางอ้อยคัดค้านว่านายหงส์ส่งมอบ กรมธรรม์ให้ตนเองแล้วนางบุปผาไม่มีสิทธิ ส่วนบริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด ก็ปฏิเสธการจ่าย อ้างว่านายหงส์ไม่เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการเป็นมะเร็งลําไส้กับบริษัทและใช้สิทธิบอกล้างสัญญา เพื่อให้สัญญาฯ เป็นโมฆะ แต่นางบุปผาและนางอ้อยอ้างว่านายหงส์ไม่ได้ตายเพราะโรคมะเร็ง จึงเรียกร้องให้บริษัทฯ จ่ายเงินเอาประกัน

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า บริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด บอกล้างสัญญาได้หรือไม่ นางอ้อยหรือนางบุปผา จะมีสิทธิในเงินห้าแสนบาทหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้เงินใช้ให้

คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวน
อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 865 “ถ้าในเวลาทําสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิต บุคคล อันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่ง
อาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทําสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้ว แถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกําหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้าง
ได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกําหนดห้าปีนับแต่วันทําสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”

มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่
ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

มาตรา 892 “ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความในมาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอน กรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหงส์ได้ทําสัญญาประกันชีวิตตนเองกับบริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด ด้วยเหตุมรณะระยะเวลา 10 ปี จํานวนเงินเอาประกัน 5 แสนบาท โดยระบุให้นางอ้อยภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามารถทําได้เพราะถือว่านายหงส์ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นตามมาตรา 863

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่จะมีการทําสัญญาประกันชีวิตนั้น นายหงส์ซึ่งมีอาการปวดที่ท้องได้ไปพบแพทย์ แพทย์ตรวจแล้วพบว่านายหงส์เป็นมะเร็งลําไส้ระยะเริ่มต้น นายหงส์จึงได้ทํา สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวโดยไม่เปิดเผยให้บริษัทประกันชีวิตทราบว่าตนเป็นโรคมะเร็ง ดังนี้ แม้ว่านายหงส์ได้
เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและแพทย์ได้ทําการผ่าตัดนําส่วนของลําไส้ที่เป็นมะเร็งออกและลงความเห็นว่านายหงส์สามารถรักษาหายได้เพราะมะเร็งยังไม่ลุกลามไปมาก และต่อมานายหงส์ได้ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิตไม่ได้ตายเพราะโรคมะเร็งก็ตาม แต่การที่นายหงส์เป็นมะเร็งซึ่งเป็นโรคร้ายแรงแต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวให้บริษัทไทยรักประกันชีวิตจํากัดทราบ กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 865 วรรคหนึ่ง ที่ทําให้สัญญาประกัน ชีวิตดังกล่าวตกเป็นโมฆียะตั้งแต่เริ่มแรก บริษัทฯ จึงสามารถบอกล้างสัญญาเพื่อให้สัญญาประกันชีวิตนั้นตกเป็น โมฆะได้ และเมื่อบริษัทฯ ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลาที่สามารถบอกล้างได้ตามมาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ บริษัทฯ จึงไม่ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์

และแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ในการทําสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว นายหงส์ได้ระบุให้นางอ้อย ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้รับประโยชน์ตามมาตรา 862 และต่อมานายหงส์ได้โอนประโยชน์แห่งสัญญานั้น ให้แก่นางบุปผาโดยถูกต้องตามมาตรา 891 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่นางบุปผาก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงิน 5 แสนบาท ในฐานะผู้รับประโยชน์ เนื่องจากสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวได้ถูกบริษัทฯ บอกล้างให้ตกเป็นโมฆะแล้วนั่นเอง นางบุปผาจะมีสิทธิก็แต่เฉพาะค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ในฐานะทายาทตามมาตรา 892 เท่านั้น

สรุป
บริษัท ไทยรักประกันชีวิต จํากัด สามารถบอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวได้ และนางอ้อยหรือนางบุปผาจะไม่มีสิทธิในเงิน 5 แสนบาทนั้นแต่อย่างใด

 

ข้อ 2 นายหมึกเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่ง ได้นํารถยนต์ไปทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท รุ่งดี ประกันภัย จํากัด เป็นการประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับตัวรถที่เอา ประกันทุกกรณี จํานวนเงินซึ่งเอาประกันหนึ่งล้านบาท มีกําหนดเวลา 1 ปี หลังจากทําสัญญาประกัน วินาศภัยได้ 5 เดือน ปรากฏว่านายหมึกได้ขับรถยนต์ด้วยความคึกคะนองและประมาทเลินเล่อ ขับรถไปชนเสาไฟฟ้า รถยนต์ได้รับความเสียหายเป็นเงินสองแสนบาท โดยเหตุความเสียหายนั้น เกิดขึ้นวันที่ 25 มกราคม 2561 นายหมึกจึงไปเรียกให้บริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหม ทดแทนแต่ถูกปฏิเสธโดยบริษัทฯ อ้างว่าไม่อยู่ในส่วนที่ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในความเสียหาย ดังกล่าว ต่อมาวันที่ 25 มกราคม 2563 นายหมึกจึงฟ้องให้บริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัด ใช้ค่าสินไหม ทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าว แต่บริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัด ต่อสู้ว่า การฟ้องของนายหมึกนั้นเลยกําหนดอายุความแล้ว แต่นายหมึกอ้างว่ายังไม่เลยกําหนดอายุความ ดังนี้ จงวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของบริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัด ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด อธิบาย โดยยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 879 วรรคหนึ่ง “ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุ ไว้ในสัญญานั้น ได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ ประโยชน์”

มาตรา 882 วรรคหนึ่ง “ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกําหนด สองปีนับแต่วันวินาศภัย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหมึกเป็นเจ้าของรถยนต์ได้นํารถยนต์ไปทําสัญญาประกันวินาศภัย กับบริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัด เป็นการประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถที่ เอาประกันทุกกรณี จํานวนเงินซึ่งเอาประกัน 1 ล้านบาท มีกําหนดเวลา 1 ปี หลังจากทําสัญญาประกันวินาศภัย ได้ 5 เดือน นายหมึกได้ขับรถยนต์ด้วยความคึกคะนองและประมาทเลินเล่อขับรถไปชนเสาไฟฟ้า รถยนต์ได้รับ ความเสียหายเป็นเงิน 2 แสนบาทนั้น เมื่อความวินาศภัยดังกล่าวได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของ นายหมึกผู้เอาประกันเท่านั้น มิใช่เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ดังนั้นกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วย บทบัญญัติมาตรา 879 วรรคหนึ่งที่จะทําให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด บริษัทฯ จะปฏิเสธโดยอ้างว่าไม่อยู่ใน ส่วนที่ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวไม่ได้ บริษัทฯ จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นายหมึก และเมื่อความวินาศภัยดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2561 และนายหมึกได้ฟ้องให้บริษัทฯ ใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวในวันที่ 25 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นการฟ้องคดี ในขณะที่ยังไม่เกินอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นการฟ้องขณะ ครบกําหนดอายุความพอดี นายหมึกจึงสามารถฟ้องได้ ดังนั้น การที่บริษัทฯ ต่อสู้ว่าการฟ้องคดีของนายหมึกนั้น เลยอายุความแล้ว ข้อต่อสู้ของบริษัทฯ จึงฟังไม่ขึ้น

สรุป
ข้อต่อสู้ของบริษัท รุ่งดีประกันภัย จํากัดที่ว่าการฟ้องคดีของนายหมึกนั้นเลยอายุความแล้วฟังไม่ขึ้น

ข้อ 3 นายวอกทําสัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด ในวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมธรรม์คุ้มครองกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 200,000 บาท กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 200,000 บาท และทําสัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอีกฉบับไว้กับบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ในวันที่ 2 กันยายน 2563 กรมธรรม์คุ้มครองกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท โดยทั้งสองกรมธรรม์มิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์เอาไว้ แต่นายวอกมีทายาทเพียงคนเดียวคือ นายสุด ปรากฏว่านายวอกประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย จากการขับรถโดยประมาทของนายต่อ บริษัท นิยมประกันภัย จํากัด ทําการจ่ายเงินตามสัญญาให้แก่ นายสุด 200,000 บาท แต่บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาโดยอ้างว่า นายสุดได้รับเงินจากบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด ซึ่งเป็นผู้รับประกันลําดับแรกไปเต็มจํานวนแล้ว ส่วนนายต่อได้ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่านายสุดได้ค่าเสียหายจากบริษัท นิยมประกันภัยจํากัด แล้ว ตนไม่จําต้องรับผิดต่อนายสุดอีก

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยตามกฎหมายประกันภัยว่า นายสุดทายาทเพียงคนเดียวของนายวอกจะสามารถ เรียกให้บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด และนายต่อรับผิดต่อตนได้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะ
ของบุคคลคนหนึ่ง”

มาตรา 896 “ถ้ามรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยหาอาจจะ เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจํานวนเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะ
หวนกลับมาได้แก่ตนด้วย”

วินิจฉัย

สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งมีเงื่อนไขการจ่ายเงินในกรณีบาดเจ็บรวมทั้งเสียชีวิตนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้เงินในกรณีที่ผู้เอาประกันอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ถือเป็นการใช้เงินโดยอาศัยความมรณะ ของบุคคล เป็นการประกันชีวิตตามนัยของมาตรา 889 ดังนั้นการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลในส่วนที่มีการจ่ายเงิน จากกรณีผู้เอาประกันถึงแก่ความตายจากอุบัติเหตุที่นายวอกทําไว้กับบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด และบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด จึงเป็นสัญญาประกันชีวิตตามมาตรา 889 ซึ่งผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกัน ชอบที่จะได้รับเงินเต็มจํานวนจากผู้รับประกันภัยทุกราย โดยจะไม่อยู่ในบังคับที่ต้องมีการจ่ายเงินตามลําดับ ผู้รับประกันก่อนหลังดังเช่นประกันวินาศภัยตามมาตรา 870

ตามอุทาหรณ์ การที่นายวอกทําสัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด ในวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมธรรม์คุ้มครองกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 200,000 บาท กรณีเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุ 200,000 บาท และทําสัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอีกฉบับไว้กับบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ในวันที่ 2 กันยายน 2563 กรมธรรม์คุ้มครองกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท โดยทั้งสองกรมธรรม์มิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์เอาไว้นั้น เมื่อนายวอกประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย

จากการขับรถโดยประมาทของนายต่อ นายสุดซึ่งเป็นทายาทเพียงคนเดียวของนายวอกจึงชอบที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจากบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด 200,000 บาท และจากบริษัท ชํานาญ ประกันภัย จํากัด 100,000 บาท การที่บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาโดยอ้างว่า นายสุดได้รับเงินจากบริษัท นิยมประกันภัย จํากัด ซึ่งเป็นผู้รับประกันลําดับแรกไปเต็มจํานวนแล้วนั้น ข้ออ้างของ บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสุดสามารถเรียกให้บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด รับผิดต่อตนอีก 100,000 บาทได้

และในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะความผิดของบุคคลภายนอก และผู้เอาประกันมิได้ระบุผู้รับประโยชน์เอาไว้ ทายาทของผู้เอาประกันชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากจํานวนเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตตามมาตรา 896 ดังนั้นนายสุดจึงสามารถ เรียกให้นายต่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ นายต่อจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่านายสุดได้ค่าเสียหายจาก บริษัท นิยมประกันภัย จํากัดแล้ว ตนจึงไม่ต้องรับผิดต่อนายสุดอีกหาได้ไม่

สรุป นายสุดทายาทเพียงคนเดียวของนายวอกสามารถเรียกให้บริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด
และนายต่อรับผิดต่อตนได้ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

LAW2112 (LAW2012) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายนัทจะต้องเดินทางไปทํางานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี จึงได้นํากุญแจบ้านของตนไปฝาก ไว้กับนายนิวเพื่อนบ้าน พร้อมบอกให้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในบ้านของตนด้วย หลังจากที่นายนัทเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น นายนิวเห็นว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่นายนัททําไว้หมดอายุความคุ้มครองแล้ว จึงติดต่อไปยังบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด เพื่อขอทําประกันอัคคีภัย บ้านของนายนัท แต่บริษัทฯ ปฏิเสธคําขอเอาประกันของนายนิวโดยอ้างว่านายนิวไม่ใช่เจ้าของบ้าน โดยแท้จริง จึงไม่สามารถทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัทได้ นายนิวต่อสู้ว่าการปฏิเสธของ บริษัทฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยตามกฎหมายประกันภัยว่าการปฏิเสธของบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 869 “อันคําว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดา ซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้”

วินิจฉัย

เนื่องจากสัญญาประกันอัคคีภัยบ้านเป็นสัญญาประกันวินาศภัยตามนัยของมาตรา 869 ซึ่งถือว่า เป็นสัญญาประกันภัยประเภทหนึ่ง ดังนั้น จึงต้องนําบทบัญญัติในหมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นด้วย สัญญาประกันภัยจึงจะมีผลผูกพัน คู่สัญญา (มาตรา 683)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนัทจะต้องเดินทางไปทํางานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี จึงได้นํากุญแจบ้านของตนไปฝากไว้กับนายนิวเพื่อนบ้านพร้อมบอกให้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในบ้านของตนด้วยนั้น ย่อมถือว่านายนิวเป็นผู้รับฝากทรัพย์ของนายนัทจากการส่งมอบการครอบครองโดยปริยายและมีหน้าที่รักษาทรัพย์
(บ้าน) ของนายนัทไว้ในอารักขาของตน ดังนั้น แม้นายนิวจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าว แต่ก็ถือว่า นายนิวมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตามมาตรา 863

การที่นายนิวเห็นว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่นายนัททําไว้หมดอายุความคุ้มครองแล้ว จึงได้
ติดต่อไปยังบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด เพื่อขอทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัท แต่บริษัทฯ ปฏิเสธคําขอ เอาประกันของนายนิวโดยอ้างว่านายนิวไม่ใช่เจ้าของบ้านโดยแท้จริง จึงไม่สามารถทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัทได้นั้น ข้ออ้างของบริษัทฯ ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การปฏิเสธของบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2 นายเอี่ยมเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่ง นายเอี่ยมใช้รถยนต์คันดังกล่าวมาได้ปีกว่า หลังจากนั้น นายเอี่ยมได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปให้กับนางอรทัย วันที่ 25 มิถุนายน 2562 ภายหลังจาก ทําสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว ในวันนั้นเองนายเอี่ยมก็ได้ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด เป็นการประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับ ตัวรถที่เอาประกันรวมทั้งความรับผิดต่อบุคคลที่สามด้วย จํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัยสองแสนบาท มีกําหนดเวลา 1 ปี หลังจากทําสัญญา วันที่ 24 มิถุนายน 2563 นายอ่องขับรถบรรทุกโดยความประมาทเลินเล่อชนกับรถยนต์ของนางอรทัยได้รับความเสียหาย ตีราคาความเสียหายเป็นเงิน หนึ่งแสนบาท ปรากฏว่าบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ได้นํารถยนต์ของนางอรทัยไปซ่อม และสามารถนํากลับไปใช้ได้แล้ว

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่องได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 880 วรรคหนึ่ง “ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจํานวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอี่ยมซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่งได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับนางอรทัยไปแล้ว และภายหลังจากการทําสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว นายเอี่ยมก็ได้ทําสัญญาประกันภัย รถยนต์คันดังกล่าวไว้กับบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด นั้น จะเห็นได้ว่าในขณะที่ทําสัญญาประกันภัย นายเอี่ยมไม่ได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวแล้ว และแม้ว่าการประกันภัยจะได้ทําในนามของนายเอี่ยมเอง ก็ไม่ถือว่านายเอี่ยมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงไม่ผูกพันคู่สัญญา (มาตรา 863)

และเมื่อสัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญา ดังนั้น การที่นายอ่องขับรถบรรทุกโดยความประมาท เลินเล่อชนกับรถยนต์ของนางอรทัยได้รับความเสียหาย และบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ได้นํารถยนต์ของ นางอรทัยไปซ่อมและสามารถนํากลับไปใช้ได้แล้ว บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ก็จะใช้สิทธิตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง เพื่อเข้ารับช่วงสิทธิของนายเอี่ยมในการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่องไม่ได้ (ฎีกาที่ 115/2511และ 961/2522)

สรุป บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่อง

 

ข้อ 3 นายชัยเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางแวว นายชัยทําสัญญาประกันชีวิตตนเองแบบอาศัย ความมรณะไว้กับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง วงเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท ระบุนางแววเป็น ผู้รับประโยชน์ระยะเวลา 20 ปี อีก 1 ปีต่อมานายชัยโต้เถียงกับนางแววอย่างรุนแรงสาเหตุเกิดจาก นายชัยเกิดความหวาดระแวงว่านางแววจะกลับไปอยู่กับสามีเก่า และสมคบกันวางแผนฆ่าตนเอง เพื่อเอาเงินประกันชีวิต นางแววเกิดความเสียใจจึงหนีไปอยู่กับน้องสาว ครั้นต่อมาบริษัทประกันได้ออกกรมธรรม์และส่งมาให้แล้ว นายชัยได้ทําหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันภัยว่าตนเองต้องการเปลี่ยนผู้รับประโยชน์เป็นนายเอกลูกชายซึ่งเกิดกับภรรยาคนก่อน หลังจากนั้นอีก 2 ปีในระหว่างที่ สัญญามีผลบังคับนายชัยขับรถไปต่างจังหวัดรถคว่ําเป็นเหตุให้นายชัยถึงแก่ความตาย นางแววทราบข่าวทางหนังสือพิมพ์จึงยื่นขอรับเงินประกัน แต่บริษัทประกันภัยแจ้งว่าได้จ่ายเงินให้นายเอกไปแล้ว

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า นางแววมีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่
ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 891 วรรคหนึ่งนั้น แม้ผู้เอาประกันชีวิตจะได้กําหนดตัวผู้รับประโยชน์ตาม
สัญญาประกันชีวิตไว้แล้ว ผู้เอาประกันชีวิตก็ยังมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์ตามสัญญานั้นให้บุคคลอื่นได้ (โอนสิทธิ เรียกร้องตามสัญญาประกันชีวิตในการที่จะได้รับชดใช้เงินที่เอาประกันภัย) เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ต่อไปนี้ ผู้เอาประกันชีวิตไม่มีสิทธิโอนประโยชน์ให้แก่ผู้ใดอีก คือ

1 ได้ส่งมอบกรมธรรม์นั้นให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และ

2 ผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอาประโยชน์ แห่งสัญญานั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชัยทําหนังสือแจ้งไปที่บริษัทประกันภัยว่าต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับ ประโยชน์เป็นนายเอกลูกชายนั้น ถือเป็นการโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งคือ จากนางแววเป็นนายเอก เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางแววผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัย เนื่องจากหนีไปอยู่กับน้องสาว และไม่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังบริษัทประกันภัยว่าตนเองประสงค์จะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยนั้น ดังนั้น การโอนประโยชน์ในสัญญาประกันภัยที่นายชัยได้กระทํานั้นจึงมีผลสมบูรณ์ นายเอกจึงเป็นผู้รับโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยตามมาตรา 891 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า นายชัยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย การที่บริษัทประกันภัยจ่ายเงินประกันภัยตามที่ได้กําหนดไว้ในสัญญาให้ นายเอกนั้นจึงชอบด้วยกฎหมาย นางแววไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิต

สรุป นางแววไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิต

WordPress Ads
error: Content is protected !!