การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายนัทจะต้องเดินทางไปทํางานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี จึงได้นํากุญแจบ้านของตนไปฝาก ไว้กับนายนิวเพื่อนบ้าน พร้อมบอกให้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในบ้านของตนด้วย หลังจากที่นายนัทเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น นายนิวเห็นว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่นายนัททําไว้หมดอายุความคุ้มครองแล้ว จึงติดต่อไปยังบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด เพื่อขอทําประกันอัคคีภัย บ้านของนายนัท แต่บริษัทฯ ปฏิเสธคําขอเอาประกันของนายนิวโดยอ้างว่านายนิวไม่ใช่เจ้าของบ้าน โดยแท้จริง จึงไม่สามารถทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัทได้ นายนิวต่อสู้ว่าการปฏิเสธของ บริษัทฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยตามกฎหมายประกันภัยว่าการปฏิเสธของบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 869 “อันคําว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดา ซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้”

วินิจฉัย

เนื่องจากสัญญาประกันอัคคีภัยบ้านเป็นสัญญาประกันวินาศภัยตามนัยของมาตรา 869 ซึ่งถือว่า เป็นสัญญาประกันภัยประเภทหนึ่ง ดังนั้น จึงต้องนําบทบัญญัติในหมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นด้วย สัญญาประกันภัยจึงจะมีผลผูกพัน คู่สัญญา (มาตรา 683)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนัทจะต้องเดินทางไปทํางานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 ปี จึงได้นํากุญแจบ้านของตนไปฝากไว้กับนายนิวเพื่อนบ้านพร้อมบอกให้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในบ้านของตนด้วยนั้น ย่อมถือว่านายนิวเป็นผู้รับฝากทรัพย์ของนายนัทจากการส่งมอบการครอบครองโดยปริยายและมีหน้าที่รักษาทรัพย์
(บ้าน) ของนายนัทไว้ในอารักขาของตน ดังนั้น แม้นายนิวจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าว แต่ก็ถือว่า นายนิวมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตามมาตรา 863

การที่นายนิวเห็นว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่นายนัททําไว้หมดอายุความคุ้มครองแล้ว จึงได้
ติดต่อไปยังบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด เพื่อขอทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัท แต่บริษัทฯ ปฏิเสธคําขอ เอาประกันของนายนิวโดยอ้างว่านายนิวไม่ใช่เจ้าของบ้านโดยแท้จริง จึงไม่สามารถทําประกันอัคคีภัยบ้านของนายนัทได้นั้น ข้ออ้างของบริษัทฯ ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การปฏิเสธของบริษัท ชํานาญประกันภัย จํากัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2 นายเอี่ยมเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่ง นายเอี่ยมใช้รถยนต์คันดังกล่าวมาได้ปีกว่า หลังจากนั้น นายเอี่ยมได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปให้กับนางอรทัย วันที่ 25 มิถุนายน 2562 ภายหลังจาก ทําสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว ในวันนั้นเองนายเอี่ยมก็ได้ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด เป็นการประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับ ตัวรถที่เอาประกันรวมทั้งความรับผิดต่อบุคคลที่สามด้วย จํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัยสองแสนบาท มีกําหนดเวลา 1 ปี หลังจากทําสัญญา วันที่ 24 มิถุนายน 2563 นายอ่องขับรถบรรทุกโดยความประมาทเลินเล่อชนกับรถยนต์ของนางอรทัยได้รับความเสียหาย ตีราคาความเสียหายเป็นเงิน หนึ่งแสนบาท ปรากฏว่าบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ได้นํารถยนต์ของนางอรทัยไปซ่อม และสามารถนํากลับไปใช้ได้แล้ว

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่องได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 880 วรรคหนึ่ง “ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจํานวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอี่ยมซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่งได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับนางอรทัยไปแล้ว และภายหลังจากการทําสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว นายเอี่ยมก็ได้ทําสัญญาประกันภัย รถยนต์คันดังกล่าวไว้กับบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด นั้น จะเห็นได้ว่าในขณะที่ทําสัญญาประกันภัย นายเอี่ยมไม่ได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวแล้ว และแม้ว่าการประกันภัยจะได้ทําในนามของนายเอี่ยมเอง ก็ไม่ถือว่านายเอี่ยมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงไม่ผูกพันคู่สัญญา (มาตรา 863)

และเมื่อสัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญา ดังนั้น การที่นายอ่องขับรถบรรทุกโดยความประมาท เลินเล่อชนกับรถยนต์ของนางอรทัยได้รับความเสียหาย และบริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ได้นํารถยนต์ของ นางอรทัยไปซ่อมและสามารถนํากลับไปใช้ได้แล้ว บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ก็จะใช้สิทธิตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง เพื่อเข้ารับช่วงสิทธิของนายเอี่ยมในการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่องไม่ได้ (ฎีกาที่ 115/2511และ 961/2522)

สรุป บริษัท เชี่ยวชาญประกันภัย จํากัด ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายอ่อง

 

ข้อ 3 นายชัยเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางแวว นายชัยทําสัญญาประกันชีวิตตนเองแบบอาศัย ความมรณะไว้กับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง วงเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท ระบุนางแววเป็น ผู้รับประโยชน์ระยะเวลา 20 ปี อีก 1 ปีต่อมานายชัยโต้เถียงกับนางแววอย่างรุนแรงสาเหตุเกิดจาก นายชัยเกิดความหวาดระแวงว่านางแววจะกลับไปอยู่กับสามีเก่า และสมคบกันวางแผนฆ่าตนเอง เพื่อเอาเงินประกันชีวิต นางแววเกิดความเสียใจจึงหนีไปอยู่กับน้องสาว ครั้นต่อมาบริษัทประกันได้ออกกรมธรรม์และส่งมาให้แล้ว นายชัยได้ทําหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันภัยว่าตนเองต้องการเปลี่ยนผู้รับประโยชน์เป็นนายเอกลูกชายซึ่งเกิดกับภรรยาคนก่อน หลังจากนั้นอีก 2 ปีในระหว่างที่ สัญญามีผลบังคับนายชัยขับรถไปต่างจังหวัดรถคว่ําเป็นเหตุให้นายชัยถึงแก่ความตาย นางแววทราบข่าวทางหนังสือพิมพ์จึงยื่นขอรับเงินประกัน แต่บริษัทประกันภัยแจ้งว่าได้จ่ายเงินให้นายเอกไปแล้ว

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า นางแววมีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่
ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 891 วรรคหนึ่งนั้น แม้ผู้เอาประกันชีวิตจะได้กําหนดตัวผู้รับประโยชน์ตาม
สัญญาประกันชีวิตไว้แล้ว ผู้เอาประกันชีวิตก็ยังมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์ตามสัญญานั้นให้บุคคลอื่นได้ (โอนสิทธิ เรียกร้องตามสัญญาประกันชีวิตในการที่จะได้รับชดใช้เงินที่เอาประกันภัย) เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ต่อไปนี้ ผู้เอาประกันชีวิตไม่มีสิทธิโอนประโยชน์ให้แก่ผู้ใดอีก คือ

1 ได้ส่งมอบกรมธรรม์นั้นให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และ

2 ผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอาประโยชน์ แห่งสัญญานั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชัยทําหนังสือแจ้งไปที่บริษัทประกันภัยว่าต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับ ประโยชน์เป็นนายเอกลูกชายนั้น ถือเป็นการโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งคือ จากนางแววเป็นนายเอก เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางแววผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัย เนื่องจากหนีไปอยู่กับน้องสาว และไม่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังบริษัทประกันภัยว่าตนเองประสงค์จะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยนั้น ดังนั้น การโอนประโยชน์ในสัญญาประกันภัยที่นายชัยได้กระทํานั้นจึงมีผลสมบูรณ์ นายเอกจึงเป็นผู้รับโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัยตามมาตรา 891 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า นายชัยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย การที่บริษัทประกันภัยจ่ายเงินประกันภัยตามที่ได้กําหนดไว้ในสัญญาให้ นายเอกนั้นจึงชอบด้วยกฎหมาย นางแววไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิต

สรุป นางแววไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันจากบริษัทประกันชีวิต

Advertisement