การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
(1) เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อป้อมปรามคดีอาญาระหว่างกัน
(2) สนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(3) การลงโทษผู้กระทําผิดทางอาญาแล้วหลบหนีไปรัฐอื่น
(4) การลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้
(5) กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐหนึ่งตกลงยอมรับการพิจารณาโทษของศาลส่วนอาญาของอีกรัฐ
ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ รัฐหนึ่งตกลงยอมให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันปราบปรามการกระทําความผิดทางอาญาซึ่งในบางครั้งได้กระทําในต่างแดนหรือผู้กระทําได้หลบหนีไปรัฐอื่น ฉะนั้น เพื่อป้องกันปราบปรามคดีอาญาดังกล่าวรัฐต่าง ๆ จะต้องทําสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อสะดวกในการนําผู้กระทําผิดมาลงโทษตามความผิดนั้น ๆ

Advertisement

2. ในสมัยล่าอาณานิคม การที่สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส นับเป็นการดําเนิน
นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาหน้า
(2) นโยบายตีสองหน้า
(3) นโยบายรักษาความเป็นมิตร
(4) นโยบายแห่งการเอาใจ
(5) นโยบายรักษาดุลอํานาจ
ตอบ 4 หน้า 85, 216 – 217 นโยบายแห่งการเอาใจหรือนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมาย ของนโยบายดําเนินการอันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการด้วยความหวังว่า รัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจและยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษยอมให้เยอรมนีครอบครองดินแดนซูเดเทนของเซโกสโลวาเกีย ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์เลน การที่สยาม (ไทย) ยอมเสียดินแดนบางส่วน ให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยล่าอาณานิคม เป็นต้น

3. ชาติใดไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) อิตาลี
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ฝรั่งเศส
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

4. หลักบรรทัดฐานของระบอบการค้าระหว่างประเทศคือข้อใด
(1) สัจนิยม
(2) การค้าเป็นธรรม
(3) สังคมนิยม
(4) เศรษฐกิจเสรีนิยม
(5) โครงสร้างนิยม
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) หลักบรรทัดฐานสําคัญของระบอบการค้าระหว่างประเทศ คือ เศรษฐกิจเสรีนิยมทางการค้าหรือระบบตลาดเสรี ซึ่งเชื่อว่าการค้าเสรีดีกว่าการค้าแบบควบคุม สามารถสร้างประโยชน์และสวัสดิการสาธารณะให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นอีกด้วย

5.การขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างประเทศมักเกิดได้จาก
(1) ความหวาดระแวง
(2) การไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน
(3) การกีดกันทางการค้า
(4) การเอารัดเอาเปรียบ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) การขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ถือเป็นมูลเหตุสําคัญ ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้ง ในผลประโยชน์อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน ความหวาดระแวงกันการเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งผลประโยชน์กัน การกีดกันทางการค้า เป็นต้น

6. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) ความเห็นนักนิติศาสตร์
(2) เอกสารระหว่างประเทศ
(3) คําวินิจฉัยของศาล
(4) ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ
(5) ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) แหล่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ เอกสารระหว่างประเทศ (ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศ) และคําพิพากษาหรือ คําวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
2. ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป และความเห็นของนักนิติศาสตร์

7. ระบอบระหว่างประเทศไม่ครอบคลุมประเด็นเรื่องใด
(1) พฤติกรรม
(2) ความเป็นทางการ
(3) เวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล
(4) บรรทัดฐาน
(5) ลดความหวาดระแวง
ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่ายทั้งที่ เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งประโยชน์ของระบอบระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เป็นเวทีเจรจาและสร้างแบบแผนสําหรับอนาคต
2. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐ ทําให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของรัฐสมาชิก และช่วยลดความหวาดระแวงได้
4. ช่วยลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ

8.ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล
(1) จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง
(2) รัฐนั้นจะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกัน
(3) มีการสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
(4) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
(5) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 159 – 160 ลักษณะและโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็น หน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ
4. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
5. รัฐสมาชิกต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
6. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ
และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
7. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ฯลฯ

9.องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร
(1) สถาบันที่สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช
(2) เวทีที่รัฐต้องการแสวงหาสันติภาพ และความมั่นคงร่วมกัน
(3) รัฐมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างหลวม ๆ
(4) เวทีสําหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์
(5) สถาบันที่รัฐตั้งแต่สองรัฐจัดตั้งขึ้นมา
ตอบ 5 หน้า 159 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการ ด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร
2. องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

10. ข้อตกลงใดมีสาระสําคัญคือ ประเทศสัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน
การรุกรานจากฝ่ายอักษะ
(1) ปฏิญญาสหประชาชาติ
(2) ข้อตกลงยัลต้า
(3) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(4) กฎบัตรแอตแลนติก
(5) ปฏิญญามอสโคว์
ตอบ 3 หน้า 164 ในปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร (Inter-Allied Declaration) ได้กําหนด สาระสําคัญไว้ว่า ประเทศ สัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน การรุกรานจากฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจและสังคม

11. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป
(1) ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป
(2) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส
(4) ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป
(5) วิกฤติการเงินยูโรโซน
ตอบ 3 หน้า 178 – 179, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญา มาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ซึ่งเป็นการรวม 3 ประชาคม เข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่ง ยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ส่วน “วิกฤติการณ์ยูโรโซน” นั้น เป็นปัญหาวิกฤติ ทางด้านการเงินและหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นกับสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อฐานะเศรษฐกิจการคลัง ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเป็นอย่างมาก

12. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
(1) ความต้องการทรัพยากรที่จํากัด
(2) การส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยมเข้มข้น
(3) การแย่งชิงหมู่เกาะกลางมหาสมุท
(4) ความยึดมั่นในคําสัญญาของมหาอํานาจ
(5) ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 4หน้า 31, 97, (คําบรรยาย) สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. การแข่งขันเป็นมรดกของรัฐ
2. ความมั่นคงที่สมบูรณ์ไม่มีอยู่จริงในโลก
3. ความต้องการผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งได้แก่ ความต้องการเพิ่มเกียรติยศของรัฐ ความต้องการขยายอํานาจของรัฐ ความต้องการส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ และ ความต้องการดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัตถุดิบของรัฐ
4. ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มทุน

13. เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) ประเทศใดนํามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) จีน
(2) อิตาลี
(3) ญี่ปุ่น
(4) เยอรมนี
(5) โซเวียต
ตอบ 4 หน้า 65 เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาที่เยอรมนีนํามาใช้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทําให้ชาวเยอรมันอุทิศตนเพื่อชาติ เครื่องหมายนี้ปรากฏทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ในห้องเรียน บนฝาผนัง และในที่สุดได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ ความเชื่อทางศาสนา

14. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นด้านใด
(1) สังคม
(2) กฎหมาย
(3) เศรษฐกิจ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 5 – 6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

15. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีไม่ได้ถูกยึดครองโดยชาติใด
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) สหภาพโซเวียต
(4) ฝรั่งเศส
(5) อิตาลี
ตอบ 5 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

16. “นิโคโล มาเคียเวลลี” กล่าวถึงพื้นฐานสําคัญของทุกรัฐที่ต้องมีก่อนสิ่งอื่นใด คือ
(1) ระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
(2) พระสงฆ์ผู้ทรงธรรม
(3) กองทัพที่เข้มแข็ง
(4) ระบบรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง
(5) ผู้ปกครองที่มีความสามารถและศีลธรรม
ตอบ 3 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicoto Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

17. ธนาคารใดจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI)
(1) BRIB
(2) ADIB
(3) BRDB
(4) AIDB
(5) AIIB
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศต่าง ๆเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

18. เครื่องมือใดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ควรใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด
(1) เครื่องมือทางการเมือง
(2) เครื่องมือทางการทูต
(3) เครื่องมือทางเศรษฐกิจ
(4) เครื่องมือทางการทหาร
(5) เครื่องมือทางจิตวิทยา
ตอบ 4 หน้า 43 เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ โดยทั่วไปมักใช้เมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

19. การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุมการผลิตน้ํามันนับเป็นการนําเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายใด
(1) จุดมุ่งหมายทางการทหาร
(2) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร
(3) จุดมุ่งหมายในการลงโทษ
(4) จุดมุ่งหมายทางการเมือง
(5) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 50 จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร เป็นจุดมุ่งหมายที่ส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ นั่นคือ การนําเอาเศรษฐกิจมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าควบคุมดินแดนสําคัญที่มีวัตถุดิบที่มีความจําเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เช่น การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุม การผลิตน้ํามัน เป็นต้น

20. ประเทศใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565
(1) สิงคโปร์
(2) ไทย
(3) นิวซีแลนด์
(4) มาเลเซีย
(5) เวียดนาม
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค: (APEC) ในปี 2565 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศไทย หลังจาก
ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 2546 โดยหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open, Connect, Balance”

21. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบอยคอต (Boycott)
คือการใช้วิธีการใด
(1) การงดส่งสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทออกไปขาย
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู
(4) การตั้งกําแพงภาษี
(5) การห้ามนําสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทเข้ามาขาย
ตอบ 5 หน้า 53 การกีดกันทางการค้าหรือการบอยคอต (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้า บางประเภทหรือทั้งหมดจากประเทศที่รัฐบาลมุ่งตอบโต้หรือต้องการให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางประการเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ได้ทําการค้าโดยตรงกับประเทศที่ถูกกีดกัน ทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้าหากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

22. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลตอบแทนต่ํามีนัยถึงข้อใด
(1) ร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
(2) ไม่มีกรอบข้อตกลง
(3) ร่วมมือกันเพียงเรื่องเดียว
(4) ร่วมมือกันน้อยประเทศ
(5) ต้นทุนต่ำ
ตอบ 5 หน้า 121 ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนให้การดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ
ตามกรอบข้อตกลงหรือกติกาของสนธิสัญญาเป็นไปได้ด้วยดีและมีความยั่งยืน คือ ความร่วมมือ ระหว่างประเทศนั้นต้องมีผลตอบแทนต่ำ ทั้งนี้เพราะผลตอบแทนต่ําสะท้อนถึงต้นทุนต่ำ ทําให้แต่ละประเทศสามารถตัดสินใจดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบข้อตกลงได้ไม่ยาก

23. นักการทูตที่ไปสืบหาข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ อาจถูกกล่าวหาว่าทําการจารกรรมและจะทําให้นักการทูตผู้นั้นมีสถานะเป็นอะไร
(1) บุคคลที่ไม่ชอบธรรม
(2) บุคคลที่น่าละอาย
(3) บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา
(4) บุคคลที่ควรถูกประจาน
(5) บุคคลผู้เป็นภัยคุกคาม
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 นักการทูตมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ท่าที ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่สถานทูตไปตั้งอยู่แล้วรายงานต่อรัฐบาลของตน ซึ่งมีบ่อยครั้ง ที่นักการทูตจะต้องสืบเสาะหาข้อมูลโดยใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องตามครรลองหรือขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ จึงทําให้นักการทูตผู้นั้นถูกกล่าวหาว่าทําจารกรรม และต้องกลายเป็น “บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา” (Persona Non Grata)

24. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศมีองค์การใดดูแล
(1) WTO
(2) World Bank
(3) UNDP
(4) IMF
(5) UNESCO
ตอบ 1 หน้า 122, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO)
2. ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. ระบอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมีองค์การที่ดูแลคือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
4. ระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26)

25. รัฐขนาดเล็กขาดอิสระในทางการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากเหตุผลข้อใด
(1) ความเสียเปรียบทางการทหาร
(2) นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
(3) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
(4) อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้รัฐขนาดกลางและรัฐขนาดเล็กขาดอิสระในการดําเนิน กิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
2. นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
3. ความเสียเปรียบทางการทหาร (ขนาดของกองทัพ)
4. อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ

26. ข้อใดเป็นผลจากการเกิดการปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)
(1) ยุคมืด
(2) ระบบศักดินา
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) สงครามครูเสด
(5) มีการแยกนิกายจากคาทอลิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1517 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา ซึ่งผลจากการปฏิรูปทําให้เกิดการแยกนิกายจากคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์

27. ชาติใดเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) เซอร์เบีย
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) ออตโตมาน
(5) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

28. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน
(1) มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร
(2) มีอํานาจในการสั่งการต่อรัฐสมาชิก
(3) ตั้งขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
(4) เป็นความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(5) รัฐสมาชิกต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและเสมอภาคต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

29. ประเทศใดไม่ได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC)
(1) ลาว
(2) เวียดนาม
(3) กัมพูชา
(4) มาเลเซีย
(5) พม่า
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation : LMC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2016 มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา (พม่า) เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา อนุภาคลุ่มน้ําโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ําด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภาค ลุ่มน้ําโขง และระหว่างอนุภาคลุ่มน้ําโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม

30. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ค.ศ. 1929 – 1933
(2) ควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(3) Bretton Woods Conference
(4) ป้องกันการลดค่าเงิน
(5) เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประเทศด้อยพัฒนา
ตอบ 5 หน้า 173, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถือกําเนิดขึ้นมาจากปัญหา ทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในช่วงปี ค.ศ. 1920 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นําไปสู่ภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ําทั่วโลก (Great Depression) ในระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1933 และการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือการประชุมเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Conference) ที่จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ณ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศประการหนึ่งก็คือ การสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน

31. หน่วยงานใดไม่ได้อยู่ในระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน
(1) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
(2) คณะมนตรีความมั่นคง
(3) สํานักเลขาธิการ
(4) สมัชชาใหญ่
(5) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) ระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน ประกอบด้วย สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ และสํานักงานเลขาธิการ ส่วนคณะมนตรีภาวะทรัสตีซึ่งทําหน้าที่ดูแลดินแดน ที่ยังไม่ได้รับเอกราชนั้น ปัจจุบันได้หยุดการปฏิบัติงานแล้วแต่อาจจะมีการพบปะประชุมกัน ตามโอกาสที่เห็นจําเป็น

32. วิกฤติการณ์คิวบาเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
(2) สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น
(3) คิวบากับสหภาพโซเวียต
(4) คิวบากับเม็กซิโก
(5) คิวบากับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 1หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบาทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

33. การใช้กําลังทหารของสหรัฐอเมริกาไม่อาจทําให้เป็นผู้ชนะในสงครามใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามอ่าวเปอร์เซีย
(3) สงครามเวียดนาม
(4) สงครามโคโซโว
(5) สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 หน้า 45 – 46 อํานาจทางการทหารเป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ต่างแสวงหาหรือสะสมเพื่อดํารงสถานะของตนไว้ในเวทีระหว่างประเทศ แต่การมีอํานาจทางการทหารมากมิได้หมายความว่าเวลาเกิดสงครามจะสามารถเอาชนะประเทศที่มีอํานาจทางการทหารน้อยกว่าได้เสมอไป เช่น กรณีสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกามีอํานาจทางการทหารมากกว่าเวียดนาม แต่ไม่สามารถ เอาชนะเวียดนามได้ เป็นต้น

34. การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) นํามาใช้ในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
(2) จีนกับสหรัฐอเมริกา
(3) จีนกับสหภาพโซเวียต
(4) จีนกับญี่ปุ่น
(5) สหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 89 การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

35. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในยามสันติ
(1) การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ
(2) การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า
(3) การกว้านซื้อสินค้า
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) กําแพงภาษี
ตอบ 3 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้า การงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกัน ทางธุรกิจระหว่างประเทศ การตกลงเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างรัฐบาล การตกลง แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การจ่ายเงินอุดหนุน การกําหนด ราคาสินค้าโดยรัฐบาล

2. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อ ผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม ได้แก่ นโยบายทางการค้า การกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

36. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
(1) ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
(2) ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
(3) สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย
(4) ต่อต้านกีดกันไม่คบค้าซื้อขายอาวุธกับชาติอาหรับใด ๆ
(5) กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) บทบาทของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
2. ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
3. ตัดสินใจขายอาวุธให้กับชาติอาหรับ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจอร์แดน
4. กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
5. สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย

37. ข้อใดเป็นหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(2) ให้การประกันแก่นักลงทุนต่างชาติ
(3) ป้องกันการลดค่าเงิน
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) วางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน
ตอบ 3 หน้า 173, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ
2. เพื่ออํานวยความสะดวกให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุล
3. เพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมเงินไปแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของการเงินภายในประเทศ
4. เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกในการปรับปรุงฐานะดุลการชําระเงิน ให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ เช่น การตั้งข้อจํากัดทางการค้าและการชําระเงิน
5. เพื่อสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน
6. เพื่อลดการขาดดุลชําระเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ)

38. การที่ผลตอบแทนของความร่วมมือระหว่างประเทศต่ำสะท้อนข้อเท็จจริงข้อใด
(1) สมาชิกน้อย
(2) ต้นทุนต่ำ
(3) สมาชิกมาก
(4) ต้นทุนสูง
(5) ผลตอบแทนสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

39. อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด
(1) บุคลิกลักษณะของผู้นํา
(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(3) ขนาดกองทัพและขีดความสามารถในการรบ
(4) ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุทรัพยากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 211, (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ขนาดกองทัพและขีดความสามารถ ในการรบ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น 2. อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆ ขวัญและ วินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

40. “รัฐขั้นแรก” ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด
(1) รัฐที่เริ่มมีอุตสาหกรรมพื้นฐาน
(2) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
(3) รัฐที่ผู้นําไม่มีความรู้ความชํานาญในงาน
(4) รัฐที่เน้นผลิตผลทางเกษตรกรรม
(5) รัฐที่มีอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศอยู่บ้าง
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้
ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว
ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

41. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้
ในยามสงคราม
(1) กําแพงภาษี
(2) การกีดกันทางการค้า
(3) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(4) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(5) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

42. ข้อใดไม่สะท้อนถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(1) การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
(2) การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี
(3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างชาติ
(4) การให้เงินอุดหนุน “ชิมช้อปใช้
(5) การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างมาตรการและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค การส่งเสริมการท่องเที่ยว จากต่างชาติ การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี ฯลฯ

43. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ควรให้มีรัฐเข้ามาร่วมมือกันให้มากที่สุด
(2) ผลตอบแทนต้องเท่าเทียมกันเสมอ
(3) ผลตอบแทนไม่ต้องสูงก็ได้
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) ความร่วมมือระหว่างประเทศ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความร่วมมือที่ดําเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมกันนั้นจะเป็นไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ
มีจํานวนประเทศน้อย
2. จํานวนประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันนั้นไม่สามารถกําหนดจํานวนได้แน่นอนว่าควรจะเป็น เท่าใด ขึ้นอยู่กับสภาพหรือธรรมชาติของปัญหาของความร่วมมือนั้น
3. หากประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันมีจํานวนมาก ความร่วมมือจะยังคงอยู่ต่อไปได้ก็ต่อเมื่อ ผลตอบแทนจากความร่วมมือนั้นต่ำ เพราะผลตอบแทนต่ำสะท้อนถึงต้นทุนที่ต่ำ
4. ความร่วมมือควรนําไปสู่การที่ทุกประเทศได้ผลตอบแทน แต่ไม่จําเป็นว่าทุกประเทศ จะต้องได้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมกันเสมอไป และผลตอบแทนไม่จําเป็นต้องสูง ฯลฯ

44. ในยุคสงครามเย็นสหรัฐกับจีนกระชับความสัมพันธ์กันผ่านการทูตทางกีฬาประเภทใด
(1) บาสเกตบอล
(2) ยิมนาสติก
(3) ปิงปอง
(4) แบดมินตัน
(5) วอลเลย์บอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

45. การศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเชื่อว่าเป็นการอธิบายกรณีใด
(1) การค้าสําเภา
(2) สงครามระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา
(3) การขยายอํานาจทางทะเลของเอเธนส์
(5) การขยายอํานาจของเปอร์เซีย
(4) ระบบบรรณาการจีน
ตอบ 2 หน้า 76 – 77 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเป็นการอธิบายกรณีสงคราม ระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา หรือเรียกว่า สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponesian) ซึ่งเกิดขึ้น ในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล โดยชูซิดิดิส (Thucydides) นักปรัชญา กรีกโบราณ ได้อธิบายถึงสาเหตุของสงครามว่าเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์ และสปาตาร์ ซึ่งสปาตาร์หวาดระแวงว่าในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และเอเธนส์จะเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้สปาตาร์พ่ายแพ้ ดังนั้นสปาตาร์จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นสปาตาร์จึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน

46. ปัจจัยใดมีส่วนทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
(1) การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน
(2) การถอนกําลังทหารของมหาอํานาจจากภูมิภาค
(3) การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกา
(4) การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และปัจจุบันก็ยังไม่ยุติ โดยปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มีหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ความต้องการทรัพยากรน้ํามัน การตั้งถิ่นฐาน ของกลุ่มไซออนส์ การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา การถอนกําลังทหารของสหรัฐอเมริกาจาก ภูมิภาค การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้กับชาติอาหรับ เป็นต้น

47. ชาติใดที่กลายเป็นมหาอํานาจโลกได้ชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
(5) เยอรมนี
ตอบ 1 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นการเปลี่ยนแปลง ระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจโลกเป็นชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

48. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของนักการทูต
(1) การมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย
(2) การเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศที่สถานทูตไปตั้งอยู่
(3) การรวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
(4) การให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
(5) การเป็นตัวแทนของประเทศ
ตอบ 2 หน้า 67 – 72 บทบาทและหน้าที่ของนักการทูต มีดังนี้
1. ให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
2. เป็นตัวแทนของประเทศ
3. รวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
4. มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย

49. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลาง (Heartland) เป็นการศึกษา
แนวทางใด
(1) พฤติกรรม
(2) นโยบาย
(3) ภูมิรัฐศาสตร์
(4) อํานาจ
(5) จิตวิทยา
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Halford Mackinder) ที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลางทวีป (Heartland) โดยเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมยุโรปตะวันออกผู้นั้นครองดินแดนใจกลางทวีป ผู้ใดควบคุมดินแดนใจกลางทวีปผู้นั้นครองเกาะโลก ผู้ใดควบคุมเกาะโลกผู้นั้นครองโลก”

50. แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากที่ใด
(1) เงินตราต่างประเทศที่ผูกไว้กับทองคํา
(2) กู้ยืมจากประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) กําไรจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(5) การชําระเงินค่าโควตาของสมาชิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากการชําระเงิน ค่าโควตาของประเทศสมาชิก ดังนั้นความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงกําหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก

51. ข้อตกลงใดลงนามเพื่อรับรู้ความจําเป็นในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาค
ระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(3) ปฏิญญามอสโคว์
(4) ข้อตกลงยัลต้า
(5) ปฏิญญาสหประชาชาติ
ตอบ 3 หน้า 164 ปฏิญญามอสโคว์ (Moscow Declaration) เป็นข้อตกลงเพื่อรับรู้ความจําเป็นใน การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาคระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ ซึ่งในปฏิญญานี้เป็นการลงนามร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สหภาพโซเวียต อังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา

52. ประเทศใดเป็นสมาชิกล่าสุดของสหประชาชาติ
(1) ลิทัวเนีย
(2) ซูดานใต้
(3) ชิลี
(4) จอร์แดน
(5) ไนจีเรีย
ตอบ 2 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมี ประเทศซูดานใต้หรือเซา ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

53. การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขหรือผู้นําสูงสุดของประเทศเรียกว่าอะไร
(1) Head Diplomacy
(2) Leadership Diplomacy
(3) Ad hoc Diplomacy
(4) State Diplomacy
(5) Summit Diplomacy
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Summit Diplomacy คือ การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุข หรือผู้นําสูงสุดของประเทศ

54. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค
(1) บังกลาเทศ
(2) ไต้หวัน
(3) ปาปัวนิวกินี
(4) รัสเซีย
(5) เม็กซิโก
ตอบ 1 หน้า 186, (คําบรรยาย) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 21 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี และเปรู

55. ประเทศใดไม่เคยได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
(1) ทาจิกิสถาน
(2) คาซัคสถาน
(3) เติร์กเมนิสถาน
(4) อุซเบกิสถาน
(5) อัฟกานิสถาน
ตอบ 5 หน้า 90 ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991) ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan), เบลารุส (Belarus), เอสโตเนีย (Estonia), จอร์เจีย (Georgia), คาซัคสถาน (Kazakhstan), คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan), ลัตเวีย (Latvia), ลิทัวเนีย (Lithuania), มอลโดวา (Moldova), รัสเซีย (Russia), ทาจิกิสถาน (Tajikistan), เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan), ยูเครน (Ukraine) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

56. วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นสหวิทยาการแต่ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านใด
(1) อายุรเวช
(2) ภูมิศาสตร์
(3) เศรษฐศาสตร์
(4) ประวัติศาสตร์
(5) นิติศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ (Political Science) และมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ มีเนื้อหาสาระกว้างขวางครอบคลุมองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น

57. พลวัตในสังคมระหว่างประเทศมีส่วนทําให้เกิดสภาวะเช่นไรในศตวรรษที่ผ่านมา
(1) ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวร
(2) สันติภาพยาวนาน
(3) อนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 195 ความเป็นพลวัตหรือความไม่อยู่นิ่ง (Dynamic) ของสังคมระหว่างประเทศ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศนั้นมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามโอกาสและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้สังคมระหว่างประเทศไม่อาจมี “มิตรแท้ และศัตรูถาวร” ได้นาน เช่น กรณีเยอรมนีกับฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นศัตรูกันอย่างรุนแรง ตลอดมาจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลับมาเป็นมิตรกันเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้กับยุโรปตะวันตก เป็นต้น

58. ความร่วมมือแบบพันธมิตรต่างจากการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ในข้อใด
(1) การป้องปราม
(2) การต่อต้านตัวแสดงอื่น
(3) การร่วมป้องกัน
(4) มีความขัดแย้งกับตัวแสดงอื่น
(5) ความเป็นสถาบัน
ตอบ 5 หน้า 125, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐ ที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือแบบ พันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก มีความเป็นสถาบัน มีระเบียบ กระบวนการบริหารและแนวทางการทํางาน มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

59. วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปีใด
(1) ค.ศ. 1960
(2) ค.ศ. 1961
(3) ค.ศ. 1962
(4) ค.ศ. 1963
(5) ค.ศ. 1964
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

60. ข้อใดเกี่ยวข้องกับระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
(1) International Atomic Energy Agency
(2) UNICEF
(3) COP26
(4) Non-Proliferation Treaty
(5) UNESCO
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

61. ผู้นําสหภาพโซเวียตคนใดที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นส่วนสําคัญในอํานาจของรัฐ
(1) เลนิน
(2) สตาลิน
(3) ปูติน
(4) ครุสชอฟ
(5) กอร์บาชอฟ
ตอบ 2 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

62. สนธิสัญญาใดว่าด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) สนธิสัญญาปารีส
(2) สนธิสัญญาเบอร์ลิน
(3) สนธิสัญญาเวียนนา
(4) สนธิสัญญาแวร์ซายส์
(5) สนธิสัญญาตริอานอง
ตอบ 4 หน้า 85 สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการยอมแพ้ของ เยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผลของสนธิสัญญาทําให้เยอรมนีต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมาก และต้องเสียดินแดนหลายแห่ง

63. ข้อเลือกข้อใดเป็นหน้าที่ของธนาคารโลก
(1) ให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปพัฒนาประเทศ
(2) ดูแลให้สมาชิกมีระบบแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) แก้ไขการตกต่ําของเศรษฐกิจโลก
ตอบ 1. 4 หน้า 170, 222 วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคาร เพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) มีดังนี้
1. เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้สมาชิกกู้ยืมเงินเพื่อบูรณะพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ
2. เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทําการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศกําลังพัฒนา รวมทั้ง ยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก
4. เพื่อให้บริการด้านความรู้และคําแนะนําเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและการบริหารการเงิน

64. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม
(1) การกําหนดโควตาและออกใบอนุญาต
(2) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(3) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) การกว้านซื้อสินค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

65. ข้อใดถือเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) เป็นทางการ
(2) ไม่เป็นทางการ
(3) ความร่วมมือ
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

66. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก
(1) กําหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(2) การเปิดตลาดด้วยการลดภาษี
(3) ตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อกีดกันการค้าอย่างไม่เป็นธรรม
(4) อนุญาตให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบมาตรฐานสินค้าได้ตามต้องการ
(5) ปรับเปลี่ยนการใช้มาตรการภาษีศุลกากร
ตอบ 4 หน้า 175 – 176 ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรฐานการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยอนุญาตให้ประเทศสมาชิกกําหนด
ระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านําเข้าได้ แต่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้แต่ละประเทศกําหนดมาตรฐานตามใจชอบซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้า

67. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) มากที่สุด
(1) ประชาชนเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด
(2) การปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด
(3) การมีรัฏฐาธิปัตย์
(4) อํานาจเป็นของกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคล
(5) การปราศจากซึ่งสงครามและความขัดแย้ง
ตอบ 2 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษา กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งปกป้องสิทธิของสมาชิกในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้สังคมระหว่างประเทศอาจเกิดสภาวะยุ่งเหยิง วุ่นวาย และความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ เพราะแต่ละรัฐจะดําเนินนโยบายตามที่แต่ละรัฐต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดของรัฐนั้น ๆ

68. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(2) สิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน
(3) บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน
(5) การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล
(4) การแต่งงานระหว่างคนต่างชาติ
ตอบ 4 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เป็นต้น

69.Status Quo คือ นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาสถานะความเป็นกลางของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(2) นโยบายการรักษาสถานะความชอบธรรมของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(3) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการเพิ่มอํานาจให้รัฐตน
(4) นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ
(5) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการลดอํานาจของรัฐตน
ตอบ 4 หน้า 211 นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ (Policy of the Status Quo) หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบาย ลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เป็นต้น

70. ประเทศใดไม่เคยรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเลย
(1) เกาหลีเหนือ
(2) รัสเซีย
(3) อังกฤษ
(4) ญี่ปุ่น
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศที่เคยรุกรานและรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น

71. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ระบบ “Bretton Woods”
(1) ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา
(2) ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
(3) ใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว
(4) ใช้แก้ปัญหาในการชําระเงินล่าช้า
(5) ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบ Bretton Woods เป็นผลมาจากการประชุมปฏิรูประบบการเงิน ระหว่างประเทศที่เมืองเบรตตัน วูดส์ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ของตัวแทนประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะสงคราม โดยระบบ Bretton Woods มีลักษณะสําคัญดังนี้ 1. เป็นการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว 2. ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ 3. ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา 4. ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ

72. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มบริคส์ (BRICS)
(1) อินเดีย
(2) รัสเซีย
(3) จีน
(4) บราซิล
(5) สิงคโปร์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัย เศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G-7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

73. การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในยุคของผู้นําจีนคนใด
(1) สีจิ้นผิง
(2) เติ้งเสี่ยวผิง
(3) เหมาเจ๋อตง
(4) เจียงเจ๋อหมิน
(5) หูจิ่นเทา
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ในยุคของผู้นําเติ้งเสี่ยวผิง โดยแนวคิดสําคัญของการปฏิรูปนี้คือการรื้อถอนเศรษฐกิจจาก ส่วนกลางซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด และหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เปิดให้เกิดการลงทุนของเอกชนภายในประเทศและทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ จีนกลายเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจจนถึงทุกวันนี้

74. การกระทําของรัฐในข้อใดไม่มีผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ
(1) การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม
(2) การปกป้องกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศจากการแข่งขันในระดับโลก
(3) การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง
(4) การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน
(5) การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ระหว่างประเทศ (International Interest) เป็นผลประโยชน์ที่ รัฐไม่สามารถบรรลุได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐในการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นการกระทําของรัฐที่ถือว่าเป็นการสร้างเสริมผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ จึงได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ เป็นต้น

75. ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐไม่รวมถึงข้อใด
(1) อุดมการณ์ของชาติ
(2) ความกินดีอยู่ดี
(3) อํานาจ
(4) เกียรติภูมิ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ
6. การแสวงหาอํานาจ

76. ปัจจัยใดมีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติน้อยที่สุด
(1) ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ
(2) เครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็ง
(3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด
(4) มาตรฐานความเป็นอยู่และการศึกษา
(5) โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่เข้มแข็ง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติ ได้แก่ ระบบการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่ เข้มแข็ง มาตรฐานการศึกษาและความเป็นอยู่ของประชาชน ความเปิดกว้างในระบบเศรษฐกิจ และสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด ระบบการขนส่งและท่าเรือน้ําลึก เป็นต้น ส่วนเครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถ ของชาติน้อยที่สุดหรืออาจจะไม่มีผลใด ๆ เลย

77. องค์กรใดไม่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศเลย
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การการค้าโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศขึ้น แนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ให้องค์การระหว่างประเทศเข้ามาช่วยลดความขัดแย้ง โดยองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งระหว่างประเทศนั้น มีทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

78. การทูตเรือปืน หมายถึงการทูตในลักษณะใด
(1) การเจรจาการทูตบนเรือรบ
(2) การเจรจาต่อรองการเป็นมหาอํานาจทางทะเล
(3) การที่ประเทศที่แข็งแรงบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า
(4) การทูตที่ประเทศอ่อนแอใช้ตอบโต้ประเทศที่แข็งแรงกว่า
(5) การแข่งขันทางอํานาจของกองทัพเรือโดยใช้อาวุธ
ตอบ 3 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งเป็นวิธีการดําเนิน นโยบายต่างประเทศของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม หรือในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

79. ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นสาเหตุให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
(1) ไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
(2) นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
(3) ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
(4) รักสันติภาพและปกป้องประชาชนของสหราชอาณาจักร
(5) ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่
1. อังกฤษไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
2. นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
3. ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
4. ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

80. การเพิ่มจํานวนประเทศในโลกของเราเป็นผลมาจาก
(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(2) การปลดปล่อยอาณานิคม
(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม
(4) การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนประเทศในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

81. สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1918
(2) 1941
(3) 1945
(4) 1980
(5) 2001
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

82. ข้อใดถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
(1) กําหนดสัญลักษณ์ของอาเซียน
(2) มีการเจรจาระหว่างคู่พิพาท
(3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน
(4) ใช้การลงมติในลักษณะฉันทามติ
(5) มีองค์กรสิทธิมนุษยชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การใช้หลักฉันทามติ (Consensus) ในการลงมติหรือตัดสินใจในญัตติต่าง ๆ ของอาเซียน โดยอาศัยความเห็นชอบ ของผู้แทนรัฐสมาชิกทั้งหมดเป็นฉันทานุมัติ

83. “ชาติมหาอํานาจ” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด
(1) ชาติที่มีพัฒนาการในอุตสาหกรรมชั้นสูง
(2) ชาติที่มีกองทัพขนาดใหญ่พร้อมอาวุธสมรรถนะสูง
(3) ชาติที่มีประชากรมากกว่า 100 ล้านคน
(4) ชาติทมิ ติที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าประเทศเพื่อนบ้านรวมกัน
(5) ชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ตอบ 1 หน้า 200 – 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐ ตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

84. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G-20
(1) ซาอุดีอาระเบีย
(2) เม็กซิโก
(3) ตุรกี
(4) อาร์เจนตินา
(5) อียิปต์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศกลุ่ม G-20 ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

85. ข้อใดที่ไม่ใช่ตัวแสดงที่เป็นองค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐ
(1) Amnesty International
(2) Human Rights Watch
(3) Unilever
(4) Greenpeace
(5) Oxfam
ตอบ 3 หน้า 22, 159 องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นองค์การ ระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGOs) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวัง ผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่ให้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การ นิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA), องค์การออกแฟม (Oxfam), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น (ส่วน Unilever เป็นตัวแสดงที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ)

86. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) ผู้โฆษณาชวนเชื่อ
(3) สัญลักษณ์
(4) สื่อที่ใช้
(5) กลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 62 – 63 องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ มี 4 ประการ คือ
1. ตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ หรือผู้แทนที่มีความปรารถนาหรือตั้งใจที่จะเปลี่ยน ท่าที ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลอื่น
2. สัญลักษณ์ในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นการพูด การเขียน หรือพฤติกรรมที่ใช้ โดยตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ
3. สื่อที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ
4. กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ

87. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน ได้แก่
(1) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
(2) นายสิระ เจนจาคะ
(3) นายไพบูลย์ นิติตะวัน
(4) นายจุติ ไกรฤกษ์
(5) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรี, นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายธานี ทองภักดี เป็นปลัดกระทรวง

88. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ในยามสันติ
(1) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(2) การกว้านซื้อสินค้า
(3) การปิดล้อมฝั่ง
(4) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(5) การยึดทรัพย์ของศัตรู
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

89. ในการตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศ รัฐควรให้ความสําคัญกับผลประโยชน์เรื่องใดมากที่สุด
(1) ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
(2) ผลประโยชน์ด้านวัฒนธรรม
(3) ผลประโยชน์ด้านการเมือง
(4) ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงอยู่รอด
(5) ผลประโยชน์ด้านอุดมการณ์
ตอบ 4 หน้า 207 – 208 การตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและ เสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ความมั่นคงอยู่รอด ปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง อุดมการณ์ วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะให้ความสําคัญกับ ผลประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป โดยผลประโยชน์ที่รัฐควรให้ความสําคัญ มากที่สุดก็คือ ความมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยของรัฐ

90. เงื่อนไขสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติมีลักษณะความไม่เท่าเทียมกันคือกลไกลในข้อใด
(1) ความเป็นอนาธิปไตยของชาติสมาชิก
(2) การใช้อํานาจในการวีโต้ (Veto)
(3) โครงสร้างการจัดการบริหารองค์กร
(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
(5) การคัดเลือกประเทศสมาชิกเข้าเป็นกองกําลังรักษาสันติภาพ
ตอบ 2 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กร สมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

91. ข้อใดคือบทบาทหน้าที่ขององค์การการค้าโลก
(1) ปรับปรุงดุลการชําระเงินให้ดีขึ้น
(2) พัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(3) ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(4) จัดตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศ
(5) เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ตอบ 5 หน้า 175 บทบาทและหน้าที่ขององค์การการค้าโลก มีดังนี้
1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO
ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ
ตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ
4. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อให้นโยบายทางเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น ฯลฯ

92. หลักการใดในสังคมระหว่างประเทศยืนยันว่า “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน”
(1) หลักพฤตินัย
(2) หลักอํานาจ
(3) หลักกฎหมาย
(4) หลักเอกภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

93. ข้อเลือกข้อใดเป็นหลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
(1) ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
(2) เคารพซึ่งกันและกันในเอกราชอธิปไตย
(3) สามารถแทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
(4) บังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามข้อบังคับ
(5) มุ่งเน้นการทําให้เกิดระบบการใช้เงินสกุลเดียวในอาเซียน
ตอบ 1, 2 (คําบรรยาย) หลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน มีดังนี้
1. การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดน และเอกลักษณ์ประจําชาติของทุกชาติ
2. การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
3. การระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
4. การยึดหลักฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจและกําหนดนโยบาย ฯลฯ

94. ความร่วมมือแบบระบอบ (Regime) ไม่มีลักษณะเกี่ยวกับข้อใด
(1) เวทีเจรจา
(2) กติกา
(3) กฎเกณฑ์
(4) บรรทัดฐาน
(5) ป้องกันกาฝากได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

95. การศึกษาการทํางานของอาเซียนจัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาขาใด
(1) องค์การระหว่างประเทศ
(2) การเมืองระหว่างประเทศ
(3) เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) ประวัติศาสตร์การทูต
ตอบ 1 หน้า 14 : การศึกษาองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เป็นการศึกษา ที่เน้นหนักไปที่วิวัฒนาการ โครงสร้าง อํานาจและหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาท สําคัญในเวทีโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), สหภาพยุโรป (EU), เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

96. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) มาจากจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
(3) มาจากสนธิสัญญาต่าง ๆ
(2) ไม่มีสภาพบังคับโทษกับทุกรัฐ
(4) มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) ไม่มีการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ
ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

97. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคา ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเพื่อทําให้คู่แข่งอ่อนแอลง เรียกว่าวิธีการใด
(1) การตั้งกําแพงภาษีสินค้า
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การกําหนดโควตา
(4) การกดดันราคาสินค้า
(5) การกีดกันทางการค้า
ตอบ 2 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมาก หรือขายในราคาต่ํากว่าต้นทุนการผลิต โดยมีเป้าหมายหลายประการ เช่น ทําให้สินค้าที่ตกค้างอยู่ สามารถขายยังต่างประเทศได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศตนเอง แนะนําสินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จักทําให้คู่แข่งขันอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด เป็นต้น

98. ประเทศใดในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
(1) เอสโตเนีย
(2) ไอร์แลนด์
(3) สวีเดน
(4) อังกฤษ
(5) เดนมาร์ก
ตอบ 1.2 (คําบรรยาย) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มี 19 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม ฟินแลนด์ สเปน ออสเตรีย ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก สโลวีเนีย ไซปรัส มอลตา สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย

99. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ประวัติศาสตร์
(2) การขยายอํานาจของประเทศ
(3) เกียรติภูมิของประเทศ
(4) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(5) ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ
ตอบ 1 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิของประเทศ

100. ใครที่กล่าวว่า “ในปัจจุบันไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป”
(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
(2) นิโคลัส สปิคแมน
(3) เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์
(4) เค. เจ. โฮลสติ
(5) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบ เป็นส่วนสําคัญด้วย

Advertisement