การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง
1 ชนชั้นที่จะมีความสนใจในด้านการเมืองมาก คือ
(1) ชนชั้นนํา
(2) ชนชั้นผู้ปกครอง
(3) ชนชั้นกลาง
(4) ชนชั้นล่าง
(5) สนใจอัตราใกล้เคียงกัน
ตอบ 3 หน้า 172 การขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมได้ทําให้มี “ชนชั้นกลาง” เกิดขึ้น ซึ่งชนชั้นกลางนี้ก็คือพวกพ่อค้า โดยพวกนี้ต่อมาได้ยกระดับจากการเป็นพ่อค้าไปเป็นนักอุตสาหกรรมที่มีความมั่งคั่งและเป็นผู้ที่มีความสนใจในด้านการเมืองอย่างมาก
2 นักคิดคนใดที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของ Kart Mark
(1) ฟรีดริช เฮเกล
(2) เซ็นต์ โธมัส อไควนัส
(3) โธมัส ฮอบส์
(4) มาเคียเวลลี่
(5) เจอเรมี เบนธัม
ตอบ 1 หน้า 173 – 175, 177 นักคิดที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของ Max ได้แก่ ซัง ซิมองต์ (Saint Simon),ฟรีดริช เฮเกล (Friedr ch Hegel), อดัม สมิธ (Adam Smith), เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo),ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นต้น
3 สิ่งที่ Kart Marx มองว่าเป็นเครื่องมือในการเกลี้ยกล่อมให้คนทุกคนยอมรับสภาพของตนเอง คือ
(1) การศึกษา
(2) สถานภาพทางเศรษฐกิจ
(3) ชนชั้นในสังคม
(4) วัฒนธรรม
(5) ศาสนา
ตอบ 5 หน้า 174 – 175 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มองว่า ศาสนาเป็นวิธีที่คนที่ถูกกดขี่แสดงความรู้สึกออกมา เมื่อหมดหวังที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นคนที่กดขี่จึงใช้ศาสนา เป็นเครื่องมือในการเกลี้ยกล่อมให้ทุกคนยอมรับสภาพของตนเอง โดย Marx จะเรียกศาสนาว่าเป็น “ฝิ่นของประชาชน” 4 Adam Smith และ David Ricardo เป็นนักคิดที่มีผลต่อแนวคิดในด้านใดของ Marx
(1) การศึกษาด้านการเมือง
(2) เศรษฐกิจการเมือง
(3) ศาสนาและการเมือง
(4) วัฒนธรรมทางการเมือง
(5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 2 หน้า 175, 182 พื้นฐานความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ Marx ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Adam Smith และ David Ricardo นักคิดแบบเสรีนิยม โดย Max ได้เขียนบทความเรื่อง “ข้อเขียนทางเศรษฐกิจและทางปรัชญา” ขึ้น เพื่อวิพากษ์วิจารณ์เศรษฐกิจการเมืองที่เป็นจริง
5 แนวคิดของ Kart Marx ที่มีผลมาจากการปฏิวัติในฝรั่งเศส คือ
(1) การกดขี่ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน
(2) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคต่าง ๆ
(3) แนวคิดด้านวัตถุนิยม
(4) การต่อสู้ทางชนชั้น
(5) เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ
ตอบ 4 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น Max และ Engels ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้น โดย Marx ได้ใช้ความวุ่นวาย ทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริม “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศ ออกจากกรุงบรัสเซล
6 สิ่งที่ “Marx” เห็นว่าเป็นตัวจัดระบบสังคม คือ
(1) ระบบการศึกษา
(2) ระบบการเมือง
(3) ระบบเศรษฐกิจ
(4) ระบบสาธารณสุข
(5) ระบบด้านศาสนา
ตอบ 3 หน้า 177 Marx เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคมก็คือระบบเศรษฐกิจ โดยเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการควบคุมสังคม การเมือง และความคิดของคน
7 ระบบเศรษฐกิจที่ “Marx” เห็นว่าเลวร้ายมากที่สุด คือ
(1) ระบบเศรษฐกิจแบบทาส
(2) ระบบเศรษฐกิจแบบศักดินา
(3) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
(4) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
(5) ระบบเศรษฐกิจแบบยูโทเปีย
ตอบ 3 หน้า 177 Marx เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวการที่ทําให้คนจนต้องทุกข์ยากลําบากเป็นระบบที่เลวร้ายมากที่สุด โดยดูได้จากประวัติศาสตร์การเกิดและวิธีการทํางานของ ระบบทุนนิยมที่ทําลายความเป็นมนุษย์ ซึ่งทั้งประวัติศาสตร์และวิธีการทํางานของระบบนี้ Marx ใช้เป็นพื้นฐานในการทํานายอนาคตของโลกคือ ผลสุดท้ายสังคมทุนนิยมจะทําลายตัวเอง และสุดท้ายสังคมจะพัฒนาเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมาชิกทุกคนเสมอภาคและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง
8 แนวคิดที่ว่า “ทุกอย่างในโลกนี้มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนี้จะช่วยพัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ” ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
(1) กระบวนการวิภาษวิธี
(2) โครงสร้างส่วนบน
(3) โครงสร้างส่วนกลาง
(4) ความสัมพันธ์ทางการผลิต
(5) รูปแบบการผลิต
ตอบ 1 หน้า 178 Max ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจาก “กระบวนการวิภาษวิธี”หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของ Friedrich Hegel โดยเขาเชื่อว่า ทุกอย่างในโลกนี้มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนี้จะช่วยพัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ
9 “Marx” บอกว่าสังคมมีการพัฒนาโดยมีอะไรเป็นตัวกําหนด
(1) แนวคิด
(2) จิตใจ
(3) วัตถุ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 178 – 180 Marx ได้นําเอาแนวความคิดที่ผสมระหว่างความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้ง (Dialectic) ความคิดวัตถุนิยม (Materialism) และหลักเศรษฐกิจกําหนด (Economic Determinism) มาอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสังคม โดยเขาพยายามชี้ให้เห็นว่า สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการพัฒนาโดยมีวัตถุหรือรูปแบบการผลิตเป็นเครื่องกําหนดรูปแบบของสังคมและชีวิตนั้นเรียกว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism)
10 มูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) คือ
(1) กําไรของนายทุน
(2) การขาดทุนของกรรมกร
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 183 มูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) คือ ส่วนของผลตอบแทนหรือค่าแรงที่เกิดจากเวลาส่วนเกินที่กรรมกรควรจะได้รับแต่นายทุนโกงไป เช่น ในการผลิตสินค้า นายทุนจะให้ค่าจ้าง กรรมกรโดยให้ทํางาน 16 ชั่วโมง แต่เวลาที่กรรมกรต้องใช้ตามค่าจ้างจริง ๆ เพียง 9 ชั่วโมง ดังนั้นเวลาที่เหลืออีก 7 ชั่วโมง จึงเป็นเวลาส่วนเกินหรือมูลค่าส่วนเกินที่นายทุนเอาไปเป็น กําไรของตัวเอง