การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
มาเคียเวลลี่
1 “สิ่งที่ประชาชนปรารถนาจากผู้ปกครอง”
(1) เสรีภาพ
(2) ความเสมอภาค
(3) ความยุติธรรม
(4) ความรัก
(5) การกินดีอยู่ดี
ตอบ 1 หน้า 3, 8 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า เสรีภาพเป็นสิ่งสําคัญที่ระบบการปกครองที่ดีที่สุดต้องรักษาไว้ เนื่องจากประชาชนต้องการเสรีภาพ อันเป็นอิสรภาพจากการกดขี่ข่มเหงของพวกขุนนางที่ มักจะมุ่งแข่งอํานาจกับผู้ปกครองอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ปกครองจําต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก เพราะความมั่นคงของผู้ปกครองนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่ากลุ่มขุนนางหรือข้าราชการ
2 มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ
(1) ต้องมีพรรคพวก
(2) ต้องมีความเฉลียวฉลาด
(3) ต้องมีความเย่อหยิ่ง
(4) ต้องรักษาสัจจะ
(5) ต้องทําร้ายผู้อื่นลับหลัง
ตอบ 2 หน้า 7 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้นั่นเอง
3 “ความยุ่งเหยิงทางการเมือง”
(1) ประชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ราชาธิปไตย
(4) ทรราช
(5) แบบผสม
ตอบ 1 หน้า 8 มาเคียเวลลี่พอใจในรูปการปกครองแบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย โดยเขาเห็นว่ารูปการปกครองแบบประชาธิปไตยจะก่อให้เกิด ความยุ่งเหยิงวุ่นวายทางการเมืองได้ เพราะถ้าให้ประชาชนทั่วไปเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพแล้วพวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรือปฏิวัติขึ้นได้
4 ในทัศนะของมาเคียเวลลี่ มุขบุรุษต้องเล่นการเมืองเพื่อ
(1) รักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนเอง
(2) เพื่อสร้างความชอบธรรม
(3) เพื่อขยายฐานอํานาจ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 9 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องของอํานาจ นักการเมืองปรารถนาที่จะได้มาหรือผดุงรักษาไว้ซึ่งอํานาจ ดังนั้นจุดประสงค์ที่ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษต้องเข้ามาเล่นการเมืองก็เพื่อการรักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนหรือเพื่อการเพิ่มขยายฐานอํานาจทางการเมืองโดยเฉพาะ
5 ผลงานส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี ผลิตในช่วง
(1) ที่เขาเรืองอํานาจ
(2) ตกอับหมดอํานาจ
(3) ประจําการอยู่ในกองทัพ
(4) อยู่ต่างประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 1 – 2 มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469 โดยเขาได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา (The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลีนั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมดอํานาจวาสนาทางการเมือง
6 ความรักของผู้ใต้ปกครองในที่สุดแล้วมักจะนําไปสู่สิ่งใด
(1) ความยําเกรง
(2) ความไม่ยําเกรง
(3) ความสามัคคี
(4) ความร่วมมือ
(5) ความมั่นคงของผู้ปกครองเอง
ตอบ 2 หน้า 6, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระหว่างความรักและความยําเกรงของประชาชนนั้น หากผู้ปกครองเลือก “ความรัก” ประชาชนจะไม่ยําเกรง แต่ถ้าเลือก “ความยําเกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจําเป็นแล้วผู้ปกครองจะต้องเลือกเอาความยําเกรงมากกว่าความรัก เพราะความยําเกรงนั้นจะทําให้ผู้ใต้ปกครองเกิดความเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง
7 มาเคียเวลลี่ ผลิตงานชิ้นสําคัญ คือ
(1) Modern Machine
(2) The Fox
(3) The Prince
(4) Magna Carta
(5) The Element of Law
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
8 “กฎหมาย”
(1) เมตตาธรรม
(2) ขนบธรรมเนียมประเพณี
(3) เสรีภาพของผู้ปกครอง
(4) เสรีภาพของรัฐบาล
(5) สาธารณรัฐ
ตอบ 4 หน้า 9, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การปกครองด้วยกฎหมายจะสร้างเสถียรภาพหรือเสรีภาพของรัฐบาลและเป็นสิ่งที่จะควบคุมผู้ปกครองไม่ให้ใช้อํานาจเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเพียงกลุ่มเดียว
9 “ธรรมชาติของมนุษย์”
(1) ความเมตตา
(2) ชอบท้าทายอํานาจ
(3) ความเห็นแก่ตัว
(4) อยากอยู่ร่วมกัน
(5) เกรงกลัวต่ออํานาจ
ตอบ 3 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกําไร จึงทําให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้คนยังปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้การครอบงําของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาเพื่อทําให้ละเลิกกิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคนโดยการใช้อํานาจบังคับ
10 มาเคียเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ
(1) นินทาผู้ปกครอง
(2) เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน
(3) แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย
(4) แสวงหาอามิสสินจ้าง
(5) มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย
ตอบ 2 หน้า 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกําจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทําลาย เสถียรภาพของผู้ปกครอง