การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง
1 ชนชั้นกลางเกิดขึ้นจากการขยายตัวของ
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) สังคม
(4) วัฒนธรรม
(5) อุตสาหกรรม
ตอบ 5 หน้า 172 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) อธิบายว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1815 – 1848 เยอรมนีกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือ สังคมกําลังพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคม อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ผลจากการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมได้ทําให้มีชนชั้นกลางเกิดขึ้น ซึ่งชนชั้นกลางนี้ก็คือพวกพ่อค้า พวกนี้ต่อมายกระดับจากการเป็นพ่อค้าไปเป็นนักอุตสาหกรรมที่มีความมั่งคั่ง และเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการเมืองมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
2 ความเป็นชนชั้นกลางวัดได้จาก
(1) ความสนใจในการเมืองมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
(2) ความสนใจในเศรษฐกิจมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
(3) ความสนใจในสังคมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
(4) ความสนใจในวัฒนธรรมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
(5) ความสนใจในอุตสาหกรรมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3 แนวคิด “อนุรักษนิยม” ก่อนปี ค.ศ. 1848 มีอิทธิพลมาจากข้อใด
(1) ชนชั้นกลาง
(2) ชนชั้นสูง
(3) กลุ่มศาสนา
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 หน้า 173 สถานการณ์ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1848 การเมืองพัฒนาล้าหลังกว่าทางเศรษฐกิจกล่าวคือ ยังไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีรัฐธรรมนูญ และคนมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกัน ออกไป โดยชนชั้นฟิวดัลและกลุ่มศาสนาจะมีแนวความคิดอนุรักษนิยม ส่วนชนชั้นกลางจะมีแนวความคิดแบบเสรีนิยม
4 นักคิดจากประเทศใดต่อไปนี้ที่มีอิทธิพลต่อ Kart Marx ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาคนจน
(1) ประเทศอังกฤษ
(2) ประเทศฝรั่งเศส
(3) ประเทศอิตาลี
(4) ประเทศสวีเดน
(5) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 173 Kart Mar. ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ซัง ซิมองต์ (Saint Simon) ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาคนจน โดยมีผลต่อการกําหนดทัศนะในการมองโลกของ Marx ตั้งแต่เด็ก ซึ่งก็คือการให้ “ความสนใจต่อชนชั้นที่ยากจน” ในสังคมนั่นเอง
5 ผู้ที่มีอิทธิพลต่อ Kart Marx ในเรื่อง “Dialectic Process”
(1) Friedrich Engels
(2) George Wilhelm Friedrich Hegel
(3) Ludwig Feuerbach
(4) Adam Smith
(4) David Ricardo
ตอบ 2 หน้า 174, 178, (คําบรรยาย) Kart Marx ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจากกระบวนการวิภาษวิธี (Dialectic Process) หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของจอร์จ วิลเลียม – ฟรีดริช เฮเกล (George Wilhelm Friedrich Hegel) โดยเขาเชื่อว่า ทุกอย่างในโลกนี้ มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนั้นมีรากมาจากความคิดแบบวัตถุนิยม
6 “การต่อสู้ทางชนชั้น” เป็นทฤษฎี Marx ใช้สถานการณ์ของประเทศใด
(1) ประเทศอังกฤษ
(2) ประเทศฝรั่งเศส
(3) ประเทศอิตาลี
(4) ประเทศเบลเยียม
(5) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น Marx และ Engels ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดย Marx ได้ใช้ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริมทฤษฎี “การต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศออกจากกรุงบรัสเซล
7 “คําประกาศคอมมิวนิสต์” เกิดขึ้นในปี
(1) ค.ศ. 1818
(2) ค.ศ. 1836
(3) คศ. 1848
(4) ค.ศ. 1865
(5) ค.ศ. 1883
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ ภาพ
8 สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคม ในทัศนะของ Mark
(1) ระบบสังคม
(2) ระบบเศรษฐกิจ
(3) ระบบการเมือง
(4) ระบบความเชื่อ
(5) ระบบวัฒนธรรม ตอบ 2 หน้า 177 Marx เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคมก็คือระบบเศรษฐกิจ โดยเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการควบคุมสังคม การเมือง และความคิดของคน
9 ระบบที่ Marx ระบุว่า เป็นระบบที่เลวร้าย คือ
(1) บุพกาล
(2) ทาส
(3) ศักดินา
(4) ทุนนิยม
(5) คอมมิวนิสต์
ตอบ 4 หน้า 177 Max เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบบที่เลวร้ายมากที่สุด โดยดูได้จากประวัติศาสตร์การเกิดและวิธีการทํางานของระบบทุนนิยมที่ทําลายความเป็นมนุษย์ ซึ่งทั้งประวัติศาสตร์และวิธีการทํางานของระบบนี้ Marx ใช้เป็นพื้นฐานในการทํานายอนาคตของโลก คือ ผลสุดท้ายสังคมทุนนิยมจะทําลายตัวเอง และสุดท้ายสังคมจะพัฒนาเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมาชิกทุกคนเสมอภาคและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง ๆ
10 Marx เชื่อว่า ทุกอย่างในโลกมีความขัดแย้งในตัวเอง โดย Marx เชื่อว่า ความขัดแย้งนั้นมีรากมาจาก
(1) วัตถุนิยม
(2) จิตนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ชาตินิยม
(5) เชื้อชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ