การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง
1 “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” คํากล่าวนี้เป็นของใคร
(1) เลนิน
(2) มาร์กซ์
(3) เมา เซ ตุง
(4) อันโตนิโอ กรัม
(5) จิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 2 หน้า 181 182, (คําบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) มองว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” โดย สรุปว่า การเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือการถือครองเครื่องมือการผลิตที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุทําให้เกิดชนชั้น เกิดทรัพย์สินส่วนตัว และการแบ่งงานกันทํา ซึ่งเป็นมูลเหตุทําให้เกิดการปฏิปักษ์ระหว่างชนชั้น และในที่สุดชนชั้นก็จะต่อสู้กัน
2 ใครที่เป็นผู้นําของ “พรรคบอลเชวิค”
(1) เลนิน
(2) มาร์กซ์
(3) เมา เซ ตุง
(4) อันโตนิโอ กรัมซี่
(5) จิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 1 หน้า 200, (คําบรรยาย) เลนิน (Lenin) เป็นผู้นําของพรรคบอลเชวิค ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมก่อตั้งพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยขึ้นในปี ค.ศ. 1893 โดยมีแกนนํา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบอลเชวิค และกลุ่มเมนเชวิค จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1912 กลุ่มบอลเชวิคได้จัดการประชุมใหญ่ เฉพาะกลุ่มที่กรุงปราก เพื่อประกาศขับกลุ่มเมนเชวิคออกจากพรรค และประกาศตัวเป็นพรรคอิสระที่มีชื่อว่า พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (บอลเชวิค)
3 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นทัศนะที่ชัดเจนของ “มาร์กซ์”
(1) เน้นเรื่องจิตนิยม
(2) เน้นเรื่องธรรมชาตินิยม
(3) เน้นเรื่องวัตถุนิยม
(4) เน้นเรื่องศาสนานิยม
(5) เน้นเรื่องประวัติศาสตร์นิยม
ตอบ 3 หน้า 178 179, (คําบรรยาย) มาร์กซ์ ได้เน้นแนวคิดเรื่องวัตถุนิยม (Materialism) โดยเขาเห็นด้วยว่าประวัติศาสตร์มีการพัฒนาแบบความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้ง (Dialectic) แต่ไม่เห็นด้วย กับเฮเกลที่ว่า ประวัติศาสตร์เป็นผลพวงของการพัฒนาทางความคิด แต่ตรงกันข้ามกลับเห็นว่า ประวัติศาสตร์เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาแบบ Dialectic ของวัตถุมากกว่า ดังนั้น ประวัติศาสตร์จึงมีความเป็นมาจากวัตถุนิยม มิใช่ของความคิด (จิตนิยม)
4 “ประวัติศาสตร์” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” หมายถึง
(1) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากจิตนิยม
(2) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากธรรมชาตินิยม
(3) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากวัตถุนิยม
(4) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากศาสนานิยม
(5) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากปรัชญานิยม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ
5 “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” มีที่มาจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศใด
(1) ประเทศเยอรมนี
(2) ประเทศอังกฤษ
(3) ประเทศอเมริกา
(4) ประเทศสเปน
(5) ประเทศฝรั่งเศส
ตอบ 5 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น มาร์กซ์และเองเกลส์ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้น โดยมาร์กซ์ได้ใช้ ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริม “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศออกจากกรุงบรัสเซล
6 ความทุกข์ยากของคนในทัศนะของ “มาร์กซ์” เกิดจากข้อใด
(1) การครอบครองปัจจัยการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน
(2) การครอบครองกําลังอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน
(3) การที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากการมีแนวคิดจิตนิยมไปสู่วัตถุนิยม
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 177, (คําบรรยาย) มาร์กซ์ เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวการที่ทําให้คนจนต้องทุกข์ยากลําบาก และเป็นระบบที่เลวร้ายมากที่สุด ซึ่งความทุกข์ยากของคนจนนั้นจะเกิดจากการครอบครองปัจจัยการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน นั่นคือ นายทุนจะเป็นผู้ถือครองปัจจัยการผลิต เช่น เครื่องจักร แรงงาน ฯลฯ ส่วนคนจนที่เคยเป็นช่างจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรรมกรในโรงงานต้องทํางานหนัก แต่ได้ค่าจ้างน้อย เป็นสภาพที่น่าเวทนาและมีความเป็นอยู่อย่างลําบาก
7 ข้อใดที่มีผลต่อการจัดระบบสังคมตามทัศนะของ “มาร์กซ์”
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) สังคม
(4) วัฒนธรรม
(5) ขวัญ-กําลังใจ
ตอบ 2 หน้า 177 มาร์กซ์ เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคมก็คือระบบเศรษฐกิจ โดยเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการควบคุมสังคม การเมือง และความคิดของคน
8 ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นแนวคิดที่ทําให้คนจนต้องทุกข์ยากลําบากในทัศนะของ “มาร์กซ์”
(1) สังคมนิยม
(2) ชาตินิยม
(3) ทุนนิยม
(4) เชื้อชาตินิยม
(5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ
9 “ความขัดแย้งเป็นที่มาของความก้าวหน้า” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” เขาได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้จากใคร
(1) เฮเกล
(2) อดัม สมิธ
(3) เดวิด ริคาร์โด
(4) ซัง ซิมองต์
(5) ชาร์ลส์ ฟูเรเย
ตอบ 1 หน้า 178 มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจาก “กระบวนการวิภาษวิธี” หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของเฮเกล โดยเขาเชื่อว่า ทุกอย่างในโลกนี้ มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนี้จะช่วยพัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ
10 “Dialectic” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” เป็นผลมาจาก
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) สังคม
(4) วัตถุ
(5) ความคิด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ