LAW3016 กฎหมายปกครอง S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงทําตามคําสั่งต่อไปนี้

ก. หน่วยงานทางปกครองได้แก่อะไรบ้าง

ข. เจ้าหน้าที่หมายถึง

ค. จงให้คําจํากัดความของ กฎ คําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครอง

ง. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายถึง

จ. จงยกหลักสําคัญในการใช้อํานาจทางปกครองมาสามหลัก

ธงคําตอบ

ก. “หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่

(1) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม (เป็นนิติบุคคล)

(2) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด (เป็นนิติบุคคล) และอําเภอ(ไม่เป็นนิติบุคคล)

(3) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา (เป็นนิติบุคคล)

(4) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ธนาคารออมสิน  การท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น (เป็นนิติบุคคล)

(5) หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฯ เป็นต้น

(6) หน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจหรือได้รับให้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย ได้แก่ สํานักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ แพทยสภา เป็นต้น

ข. “เจ้าหน้าที่” หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทาง ปกครองตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย

ค. “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

“คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การ วินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

“การกระทําทางปกครอง” หมายความถึง การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นการกระทําในรูปของการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือเป็นการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การทําสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

ง. “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้

จ. “หลักการสําคัญในการใช้อํานาจทางปกครอง”

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่ กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

 

ข้อ 2. จงนํากฎหมายปกครองและหลักการใช้อํานาจปกครองไปใช้ในการบริหารเทศบาล พร้อมยกตัวอย่าง

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ซึ่งอํานาจหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการสาธารณะ รวมทั้ง การใช้อํานาจทางปกครอง ในการออกกฎ การออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และ การทําสัญญาทางปกครอง

สําหรับ “การบริหารราชการของเทศบาล” ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการใช้อํานาจทางปกครองตามที่ กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อํานาจทางปกครองเพื่อการออกกฏ ออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําในทางปกครองรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจ หน้าที่ในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวคือ “กฎหมายปกครอง” นั่นเอง

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการบริหารราชการของเทศบาลไม่ว่าจะเป็นการจัดทําบริการสาธารณะ หรือ การใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ เทศบาลจะสามารถดําเนินการได้ก็จะต้องมีกฎหมายซึ่งก็คือ กฎหมายปกครอง ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้องใช้อํานาจหน้าที่นั้นตามที่กฎหมายปกครองได้กําหนดไว้ ซึ่งกฎหมายปกครองดังกล่าว ได้แก่ พ.ร.บ. เทศบาลฯ นั่นเอง

และในการบริหารราชการของเทศบาลนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลนั้นเป็นผู้ใช้อํานาจ ตามกฎหมายเพื่อบริหารราชการให้เป็นไปตามนโยบาย และในการบริหารราชการของเทศบาลของเจ้าหน้าที่ ดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายในการบริหารบ้านเมืองที่ดีนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องใช้อํานาจตาม หลักกฎหมายปกครองด้วย ซึ่งการใช้อํานาจตามหลักกฎหมายปกครองนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติ ให้อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่ กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระยะทางไกลออก

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์ แก่ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อ บุคคลทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทําเพียง เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

 

ข้อ 3. จากการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง ท่านคิดว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

“อํานาจบังคับบัญชา” เป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาใช้ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอํานาจ ที่ไม่มีเงื่อนไข ผู้บังคับบัญชามีอํานาจในการให้คําแนะนําและสามารถที่จะสั่งการใด ๆ ก็ได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม สามารถที่จะกลับ แก้ไข ยกเลิก เพิกถอน คําสั่งหรือการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมาย บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น แต่อย่างไรก็ตามการใช้อํานาจบังคับบัญชานั้นจะต้องชอบด้วยกฎหมายด้วย จะใช้อํานาจบังคับบัญชาที่ขัดต่อกฎหมายไม่ได้แม้ว่าจะได้ใช้ไปในทางที่เหมาะสมก็ตาม อํานาจบังคับบัญชาจึง เป็นความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดภายในองค์กรเดียวกันที่มีขีดขั้นแห่งความรับผิดชอบตามลําดับชั้น

ลักษณะทั่วไปของอํานาจบังคับบัญชา

1 ไม่ต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติให้อํานาจไว้โดยชัดแจ้ง ถือเป็นหลักกฎหมาย มหาชนทั่วไป

2 ควบคุมได้ทั้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย และการใช้ดุลพินิจหรือความเหมาะสมของ การทําคําสั่งทางปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจเหนือการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการให้อํานาจแนะนําสั่งการ และวางแนวปฏิบัติเป็นคําสั่ง หนังสือเวียน หนังสือสั่งการต่าง ๆ หรือใช้อํานาจเพิกถอนการกระทํา แก้ไขเปลี่ยนแปลง การกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งผู้บังคับบัญชายังมีอํานาจเหนือตัวบุคคลคือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย เช่น มีอํานาจในการให้บําเหน็จความดีความชอบ รวมถึงการลงโทษทางวินัยด้วย

ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของอํานาจบังคับบัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจึงคิดว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่ง หรือคําแนะนําของผู้บังคับบัญชา เพียงแต่คําสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นจะต้องชอบด้วยกฎหมายด้วย เพราะถ้าเป็น คําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติตามก็ได้

 

 

ข้อ 4 สรรพสินค้าขนาดใหญ่ของบริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท มีผู้มาใช้บริการ เป็นจํานวนมาก ปรากฏว่ากรมทางหลวงขยายพื้นที่ถนนจากเดิม 4 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร ทําให้ ประชาชนที่มาห้างฯ จะต้องใช้สะพานกลับรถซึ่งระยะทางไกลจากห้างฯ มาก เป็นผลให้จํานวน ผู้ใช้บริการห้างฯ ลดลงอย่างมาก บริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด ทําสัญญาให้บริษัท ส. การช่าง จํากัด ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามหน้าห้างฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สะพานได้ และอุทิศให้แก่กรมทางหลวง ระหว่างก่อสร้างบริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด ขอปรับเปลี่ยนให้มีทางลาดสําหรับผู้ใช้รถเข็นได้ด้วยโดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเป็นสัญญาทางปกครอง ที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค บริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด จึงแก้ไขสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนี้ ท่านคิดว่าสัญญาที่บริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด กับ บริษัท ส. การช่าง จํากัด เป็นสัญญา ทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้คํานิยามของ “สัญญา ทางปกครอง” ไว้ในมาตรา 3 คือ

“สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานสัญญาที่ให้จัดทํา บริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ”

จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กรณีที่จะเป็นสัญญาทางปกครองตามที่กําหนดไว้ใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 เป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคล ผู้ซึ่งกระทําการแทนรัฐ

2 สัญญานั้นต้องเป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญาในลักษณะของสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้ จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือเป็นสัญญาแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

ตามปัญหา การที่บริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด ได้ทําสัญญาให้บริษัท ส. การช่าง จํากัด ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามหน้าห้างฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สะพานได้และอุทิศให้แก่ กรมทางหลวงนั้น แม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะมีวัตถุแห่งสัญญา เป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคก็ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเป็นเอกชนทั้งคู่ ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลผู้ซึ่งกระทํา การแทนรัฐเลย สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง เพราะขาดองค์ประกอบของสัญญาทางปกครอง ประการที่ 1 ดังกล่าวข้างต้น

สรุป

สัญญาที่บริษัท เวลคัมสรรพสินค้า จํากัด ทํากับ บริษัท ส. การช่าง จํากัด นั้น ไม่เป็น สัญญาทางปกครอง

 

LAW3016 กฎหมายปกครอง 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายอย่างละเอียดว่าหน่วยงานทางปกครองได้แก่หน่วยงานใดบ้าง และกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีความสําคัญต่อหน่วยงานทางปกครองดังกล่าวอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างให้ครบถ้วน

ธงคําตอบ

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

จากความหมายดังกล่าว สามารถแยกหน่วยงานทางปกครองออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่

(1) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม

(2) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ

(3) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

(4) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ธนาคารออมสิน

การท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

(5) หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง

(6) หน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจหรือได้รับให้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย ได้แก่

สํานักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ แพทยสภา เป็นต้น

“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการ สาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ ออกคําสั่ง ทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง

1 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น

2 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การรับรอง การรับจดทะเบียน เป็นต้น

3 การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การดับเพลิง การรื้อถอนอาคาร การรังวัดที่ดิน การวางท่อระบายน้ำ การซ่อมถนน หรือการซ่อมสะพาน เป็นต้น

4 การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่หน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญากับเอกชน โดยให้เอกชนจัดทําสิ่งสาธารณูปโภค อาทิเช่น การทําสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือถนน เป็นต้น

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5) โมเดลเปเบลอะลาน และสาร รองรับการออกแบบตก กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีความสําคัญต่อหน่วยงานทางปกครอง ดังนี้ คือ

หน่วยงานทางปกครอง จะมีอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ซึ่ง อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองดังกล่าว คือ การใช้อํานาจทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองในการออก กฎ ออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองนั่นเอง ซึ่ง หน่วยงานทางปกครองจะใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวได้ก็จะต้องมีกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจ และหน้าที่ไว้ด้วย และในการใช้อํานาจปกครองของหน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดําเนินการให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ซึ่งเรียกว่าวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองด้วย

ถ้าหน่วยงานทางปกครองได้ใช้อํานาจทางปกครองไม่เป็นไปตามที่กฎหมายปกครองได้ บัญญัติไว้ หรือได้ใช้อํานาจทางปกครองไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้ บัญญัติไว้ การใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวย่อมเป็นการใช้อํานาจทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจ ก่อให้เกิดข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาก็ได้

 

ข้อ 2. จงนํากฎหมายปกครองไปใช้ในการบริหารมหาวิทยาลัยพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ครบถ้วน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครอง อื่น ๆ รวมทั้งการทําสัญญาทางปกครองด้วย

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

“เจ้าหน้าที่” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย ม้าลานนาบง “การใช้อํานาจทางปกครอง” คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1) การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครองเป็นต้น

มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีอํานาจหน้าที่ ในทางปกครองตามที่กฎหมายปกครอง คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้กําหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย เช่น อธิการบดี คณบดี อาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ดําเนินการใช้ อํานาจปกครองตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

การใช้อํานาจในการออกกฎ เช่น อธิการบดี ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้กับ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่จะสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

การใช้อํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น อธิการบดีออกคําสั่งให้อาจารย์ทําการสอน วิชาต่าง ๆ หรือออกคําสั่งให้เพิกถอนสถานภาพของนักศึกษา หรือการประกาศผลสอบของนักศึกษาในการสอบ แต่ละวิชาของอาจารย์ เป็นต้น

การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การสอนหนังสือ หรือการทําวิจัยของอาจารย์ เป็นต้น

การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่มหาวิทยาลัยได้ทําสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชนสร้าง อาคารเรียน เป็นต้น

ซึ่งในการใช้อํานาจปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายปกครองคือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ไว้ เท่านั้น และจะต้องเป็นการใช้อํานาจปกครองตามหลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความสุจริต หลักประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัย

และเมื่อการใช้อํานาจปกครองดังกล่าวเกิดข้อพิพาทขึ้น ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องร้อง ยังศาลปกครองได้ เพราะถือว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อํานาจทางปกครองของมหาวิทยาลัยนั้นเป็นข้อพิพาท ทางปกครอง หรือคดีปกครองที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

และนอกจากนั้น ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด มหาวิทยาลัยก็จะต้องรับผิดชอบในผลของการกระทําละเมิดของ เจ้าหน้าที่นั้นด้วย

 

ข้อ 3. การที่ราชการบริหารส่วนกลางมอบอํานาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ส่วนกลางแต่งตั้งและส่งไปประจําเขตการปกครองต่าง ๆ โดยอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง เป็นลักษณะ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใด มีสาระสําคัญอย่างไร ดังนี้ ราชการบริหารดังกล่าวนี้ สามารถยกเลิกโดยมีผลกระทบต่อราชการบริหารส่วนกลางหรือไม่ จงอธิบายตามที่ท่านได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (การจัดตั้งองค์กรทางปกครองหรือการจัดส่วนราชการ) ของไทยนั้น จะใช้หลักการที่สําคัญอยู่ 2 หลัก คือ หลักการรวมอํานาจปกครองและหลักการกระจายอํานาจปกครอง

หลักการรวมอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยการมอบอํานาจ ปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ใช้อํานาจปกครอง ซึ่งหลักการรวมอํานาจปกครองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรวมศูนย์อํานาจปกครอง และการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือการแบ่งอํานาจปกครอง

1 การรวมศูนย์อํานาจปกครอง คือ การรวมอํานาจวินิจฉัยสั่งการทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง หรือส่วนกลาง และต้องมีระบบการบังคับบัญชาที่เคร่งครัด มีการรวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ คือ กําลังทหาร และกําลังตํารวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับชั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่

2 การแบ่งอํานาจปกครองหรือการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครอง เป็นรูปแบบ ที่อ่อนตัวลงมาของการรวมศูนย์อํานาจปกครอง โดยการมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการบางอย่าง ให้แก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจําอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง โดยองค์กรหรือ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของส่วนกลาง

ประเทศไทยได้นําหลักการรวมอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยการนําหลักการรวมศูนย์อํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง โดยการแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น และนําหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือหลักการแบ่งอํานาจ ปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล

ประเทศไทยได้นําหลักการกระจายอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น โดยจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ดังนั้น การที่ราชการบริหารส่วนกลางมอบอํานาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ ส่วนกลางแต่งตั้งและส่งไปประจําเขตการปกครองต่าง ๆ โดยอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง จึงเป็นลักษณะของ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครอง หรือหลักการแบ่งอํานาจปกครองนั่นเอง โดยหลักการดังกล่าวจะมีสาระสําคัญ ดังนี้คือ

1 ต้องมีราชการบริหารส่วนกลาง เพราะราชการบริหารส่วนกลางเป็นเจ้าของอํานาจ และจะเป็นผู้จัดแบ่งอํานาจของตนไปให้แก่ส่วนภูมิภาค

2 ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง โดยส่วนกลางจะเป็นผู้แต่งตั้งและจัดส่ง เจ้าหน้าที่เหล่านั้นไปประจําอยู่ตามเขตการปกครองในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ไปประจําอยู่ตามจังหวัด และอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น และเจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง

3 ส่วนกลางจะแบ่งอํานาจให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งไปประจําอยู่ในส่วนภูมิภาคเพื่อไป ดําเนินการเฉพาะบางเรื่องหรือบางขั้นตอนในขอบเขตที่ส่วนกลางกําหนด ซึ่งจะแบ่งอํานาจให้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับส่วนกลางโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสําคัญ

การที่ราชการบริหารส่วนกลางได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปประจําที่จังหวัด และอําเภอนั้น ทําให้เห็นว่าราชการบริหารส่วนกลางยังไม่ไว้วางใจประชาชนในท้องถิ่น ทําให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคเป็นอุปสรรค ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยได้ เพราะไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนอง ความต้องการของท้องถิ่นเอง ดังนั้นถ้ามีการยกเลิกราชการบริหารส่วนภูมิภาคนั้นเสียย่อมไม่มีผลกระทบต่อราชการ บริหารส่วนกลาง ทั้งนี้เพราะอํานาจปกครองยังคงอยู่ที่ราชการบริหารส่วนกลางซึ่งเป็นเจ้าของอํานาจอยู่นั่นเอง

 

ข้อ 4. นายหนึ่งเป็นข้าราชการครูได้ร้องเรียนข้อเท็จจริงต่อกระทรวงศึกษาธิการว่า นายสองผู้อํานวยการโรงเรียนที่นายหนึ่งรับราชการอยู่นั้น และคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบกระทําการ โดยมิชอบในการพิจารณาความดีความชอบประกอบกับบริหารงานขาดหลักธรรมาภิบาล นายสอง ไม่พอใจเห็นว่านายหนึ่งทําให้ภาพพจน์ของโรงเรียนเสียหาย นายสองจึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีตนเองเป็นประธานกรรมการ ปรากฏผลสอบสวนว่าการกระทําของ นายหนึ่งมีมูลเหตุวินัยไม่ร้ายแรง นายสองจึงออกคําสั่งตัดเงินเดือนนายหนึ่ง 10% เป็นเวลา 3 เดือน นายหนึ่งเห็นว่าการที่นายสองออกคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีนายสอง เป็นประธานนั้นถือว่านายสองมีส่วนได้เสียหรือมีเหตุความไม่เป็นกลาง อาจไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง นายหนึ่งจึงมาปรึกษาท่านว่าคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ และสามารถใช้กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นข้อต่อสู้นายสองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกเหตุผลตามหลักกฎหมาย ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองตาม (1) นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้

กรณีตามปัญหา การที่นายสองผู้อํานวยการโรงเรียนที่นายหนึ่งรับราชการอยู่ ได้มีคําสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่นายหนึ่งได้ร้องเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวนั้น การแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของนายสองเป็นเพียงการกระทําที่ยังไม่มุ่งหมายให้เกิดผลในทางกฎหมาย แต่เป็นการกระทําเพียงเพื่อให้บรรลุผลในการทราบข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น ดังนั้น คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะยังไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของนายหนึ่งแต่อย่างใด

และเมื่อคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นเพียงการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลในการทราบข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะแต่งตั้งหรือไม่ก็ได้ จึงมิใช่ เป็นการเตรียมการหรือการดําเนินการของเจ้าหน้าที่หรือเพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง (คําสั่งลงโทษตัดเงินเดือน ซึ่งเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง) แต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ต้องนํากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาบังคับใช้

สรุป

คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง และนายหนึ่ง ไม่สามารถใช้กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นข้อต่อสู้นายสองได้

LAW3016 กฎหมายปกครอง 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016  กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายอย่างละเอียดว่ากฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” และ “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” มีความสําคัญต่อการบริหาร ราชการแผ่นดิน ดังนี้ คือ

“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการ สาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ ออกคําสั่ง ทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง

1 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น

2 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การรับรอง การรับจดทะเบียน เป็นต้น

3 การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การดับเพลิง การรื้อถอนอาคาร การรังวัดที่ดิน การวางท่อระบายน้ำ การซ่อมถนน หรือการซ่อมสะพาน เป็นต้น

4 การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่หน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญากับเอกชน โดยให้เอกชนจัดทําสิ่งสาธารณูปโภค อาทิเช่น การทําสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือถนน เป็นต้น

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

การบริหารราชการแผ่นดินของไทยตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1 ราชการบริหารส่วนกลาง หมายความถึง ราชการที่ฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของประชาชนทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ เช่น การรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ การคมนาคม การคลัง เป็นต้น

องค์การที่จัดทําราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง และมีอํานาจหน้าที่จัดทําราชการในอํานาจหน้าที่ของตนตลอดทั้งประเทศ

2 ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็น องค์กรของราชการบริหารส่วนกลางที่ได้แบ่งแยกออกไปจัดทําตามเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อสนอง ความต้องการส่วนรวมของประชาชนในเขตการปกครองนั้น ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางซึ่ง สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ออกไปประจําตามเขตการปกครองนั้น ๆ เพื่อบริหารราชการภายใต้การ บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด และ อําเภอ รวมตลอดถึงตําบลและหมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค

3 ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หมายความถึง ราชการบางอย่างที่รัฐมอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทําเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง ซึ่งตามหลักไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ในการบริหารราชการแผ่นดินของไทยทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วน ภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนรวม และการใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครองใน รูปแบบอื่น ๆ และหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้ ก็จะต้องมีกฎหมายได้บัญญัติให้ อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายดังกล่าวคือกฎหมายปกครองนั้นเอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินฯ พ.ร.บ. เทศบาลฯ เป็นต้น

ซึ่งการดําเนินการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าว โดยเฉพาะที่สําคัญคือการใช้อํานาจทาง ปกครองของเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะออกคําสั่งทางปกครองนั้น ถ้าจะให้คําสั่งทางปกครองที่ออกมานั้นเป็นคําสั่งทาง ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องดําเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กําหนดไว้ เช่น ตามมาตรา 13 ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ตนมีอํานาจพิจารณาทางปกครอง จะทําการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ หรือ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เป็นต้น

และนอกจากนั้น ในการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องใช้อํานาจดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย “หลักประโยชน์สาธารณะ หลักความซื่อสัตย์สุจริต และหลักความเป็นธรรม เป็นต้น

ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายปกครองได้บัญญัติไว้ หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หรือไม่เป็นไปตามหลักการของ กฎหมายปกครอง ย่อมถือว่าเป็นการใช้อํานาจทางปกครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายและจะทําให้เกิดข้อพิพาท ทางปกครองขึ้นมาได้

 

ข้อ 2. จงนํากฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไปใช้ในการบริหารมหาวิทยาลัยพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ครบถ้วนชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครอง อื่น ๆ รวมทั้งการทําสัญญาทางปกครองด้วย

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชน ที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

“เจ้าหน้าที่” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย

“การใช้อํานาจทางปกครอง” คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1) การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีอํานาจหน้าที่ ในทางปกครองตามที่กฎหมายปกครอง คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้กําหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย เช่น อธิการบดี คณบดี อาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ดําเนินการใช้ อํานาจปกครองตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

การใช้อํานาจในการออกกฎ เช่น อธิการบดี ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้กับนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่จะสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

การใช้อํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น อธิการบดีออกคําสั่งให้อาจารย์ทําการสอน วิชาต่าง ๆ หรือออกคําสั่งให้เพิกถอนสถานภาพของนักศึกษา หรือการประกาศผลสอบของนักศึกษาในการสอบ แต่ละวิชาของอาจารย์ เป็นต้น

การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การสอนหนังสือ หรือการทําวิจัยของอาจารย์ เป็นต้น

การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่มหาวิทยาลัยได้ทําสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชนสร้าง อาคารเรียน เป็นต้น

ซึ่งในการใช้อํานาจปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายปกครองคือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ไว้ เท่านั้น และจะต้องเป็นการใช้อํานาจปกครองตามหลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความสุจริต หลักประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัย

และที่สําคัญในการใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ ในการบริหารมหาวิทยาลัยของ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองด้วย เช่น การที่อธิการบดีจะออกคําสั่งเพิกถอนสถานภาพของนักศึกษา ก็จะต้องให้นักศึกษาผู้นั้นได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้นักศึกษาผู้นั้นได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เป็นต้น

ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของมหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นไปตามที่ กฎหมายได้กําหนดไว้ หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หรือไม่ถูกต้อง ตามหลักการของกฎหมายปกครอง ย่อมถือว่าเป็นการใช้อํานาจทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมายและจะก่อให้เกิด ข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้

และเมื่อการใช้อํานาจปกครองดังกล่าวเกิดข้อพิพาทขึ้น ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องร้อง ยังศาลปกครองได้ เพราะถือว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อํานาจทางปกครองของมหาวิทยาลัยนั้นเป็นข้อพิพาท ทางปกครอง หรือคดีปกครองที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

และนอกจากนั้น ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด มหาวิทยาลัยก็จะต้องรับผิดชอบในผลของการกระทําละเมิดของ เจ้าหน้าที่นั้นด้วย

 

ข้อ 3. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างหลักกระจายอํานาจปกครองซึ่งใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกับอํานาจกํากับดูแลมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

“หลักการกระจายอํานาจปกครอง” เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยวิธีการ ที่รัฐจะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรทางปกครองอื่นที่ไม่ใช่องค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อไป จัดทําบริการสาธารณะบางอย่าง โดยมีความเป็นอิสระ เช่น การมอบอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไป ดูแลและจัดทําบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งองค์กรทางปกครองนั้นไม่ต้อง ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของส่วนกลางเพียงแต่ขึ้นอยู่ในความกํากับดูแลเท่านั้น

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นในรูปของ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจทางพื้นที่ คือการที่รัฐจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นนิติบุคคลมหาชนเพื่อมอบอํานาจให้ดําเนินกิจการของท้องถิ่นได้เองโดยมีหลักความเป็นอิสระ ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ กล่าวคือ สามารถดําเนินการที่ได้รับมอบหมายได้เองโดยไม่ต้องรับคําสั่ง หรืออยู่ภายใต้อํานาจบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการและดําเนินกิจการได้ด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง โดยราชการบริหารส่วนกลางจะใช้หลักการกํากับดูแลให้ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

และการที่ราชการบริหารส่วนกลางมิได้มอบอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการ จัดทําบริการสาธารณะโดยมีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ และจะต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของราชการบริหาร ส่วนกลางนั้น เป็นเพราะว่าไม่ต้องการให้มีผลกระทบต่อความเป็นเอกภาพของประเทศนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ราชการบริหารส่วนกลางจะกํากับดูแลเฉพาะความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น กล่าวคือจะควบคุมว่าราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่นทั้งหลายได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ และอํานาจกํากับดูแลจะไม่ก้าวล่วงไปควบคุมดุลพินิจหรือ ความเหมาะสมของการกระทําทั้งหลายของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้ยังคงหลักความเป็นอิสระแก่ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเหตุผลทางด้านการเมือง ได้แก่ การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ให้แก่คนในท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น และให้คนในท้องถิ่นมีความรับผิดชอบท้องถิ่นด้วย ตนเองอีกด้วย นอกเหนือจากเหตุผลของการแบ่งเบาภาระการจัดทําบริการสาธารณะทั้งหมดของราชการบริหาร ส่วนกลาง

 

ข้อ 4. ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับการร้องเรียนว่ามีการก่อสร้างรีสอร์ทของนายค้อไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ภูทับเบิก ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงทําหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงจากกรมป่าไม้ และกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบที่ดินที่ปลูกสร้างรีสอร์ทของนายค้อดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินทําหนังสือแจ้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ว่า นายค้อไม่มีเอกสารการครอบครองใด ๆ ตามกฎหมายที่ดิน ทําให้ที่ตั้ง รีสอร์ทของนายค้ออาจบุกรุกป่าตามกฎหมายป่าไม้ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงได้มีหนังสือสั่งการไปยัง นายอําเภอภูทับเบิกให้ชี้แจงทําความเข้าใจกับนายค้อว่าไม่สามารถดําเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ใด ๆ บนพื้นที่ดังกล่าวได้จนกว่าจะมีหนังสือตอบกลับจากกรมป่าไม้ก่อน นายค้อเห็นว่าหนังสือ สั่งการดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ไม่ถูกต้อง เพราะตนอาจได้รับความเสียหายเนื่องจาก ไม่สามารถเปิดบริการให้ทันฤดูท่องเที่ยวในปีนี้ได้ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามปัญหา การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีหนังสือสั่งการไปยังนายอําเภอภูทับเบิก ให้ชี้แจงทําความเข้าใจกับนายค้อว่านายค้อไม่สามารถดําเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ บนพื้นที่ของที่ดินดังกล่าว ได้จนกว่าจะได้มีหนังสือตอบกลับจากกรมป่าไม้ก่อนนั้น แม้หนังสือสั่งการดังกล่าวจะออกโดยเจ้าหน้าที่ แต่ก็เป็นเพียง คําสั่งภายในของเจ้าหน้าที่ที่มีไปยังองค์กรฝ่ายปกครองด้วยกัน ยังไม่มีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครองแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือสั่งการดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะขาดองค์ประกอบของ คําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวข้างต้น

สรุป หนังสือสั่งการดังกล่าวไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

LAW3016 กฎหมายปกครอง S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงนํากฎหมายปกครองไปใช้ในการบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามหลักกฎหมายปกครองพร้อมยกตัวอย่างให้ครบถ้วนชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครอง อื่น ๆ รวมทั้งการทําสัญญาทางปกครองด้วย

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

“เจ้าหน้าที่” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย อาการ “การใช้อํานาจทางปกครอง” คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1) การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครองเป็นต้น

มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีอํานาจหน้าที่ ในทางปกครองตามที่กฎหมายปกครอง คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้กําหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย เช่น อธิการบดี คณบดี อาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ดําเนินการใช้ อํานาจปกครองตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

การใช้อํานาจในการออกกฎ เช่น อธิการบดี ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้กับ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่จะสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

การใช้อํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น อธิการบดีออกคําสั่งให้อาจารย์ทําการสอน วิชาต่าง ๆ หรือออกคําสั่งให้เพิกถอนสถานภาพของนักศึกษา หรือการประกาศผลสอบของนักศึกษาในการสอบ แต่ละวิชาของอาจารย์ เป็นต้น

การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การสอนหนังสือ หรือการทําวิจัยของอาจารย์ เป็นต้น

การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่มหาวิทยาลัยได้ทําสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชนสร้าง อาคารเรียน เป็นต้น

 

ซึ่งในการใช้อํานาจปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายปกครองคือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยได้บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ไว้ เท่านั้น และจะต้องเป็นการใช้อํานาจปกครองตามหลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความสุจริต หลักประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัย

และเมื่อการใช้อํานาจปกครองดังกล่าวเกิดข้อพิพาทขึ้น ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องร้อง ยังศาลปกครองได้ เพราะถือว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อํานาจทางปกครองของมหาวิทยาลัยนั้นเป็นข้อพิพาททางปกครอง หรือคดีปกครองที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

และนอกจากนั้น ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด มหาวิทยาลัยก็จะต้องรับผิดชอบในผลของการกระทําละเมิดของ เจ้าหน้าที่นั้นด้วย

 

ข้อ 2. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายปกครอง หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หลักการใช้อํานาจปกครอง อํานาจปกครอง การบริการสาธารณะ และศาลปกครอง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

กฎหมายปกครอง ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทาง ปกครองอื่น ๆ รวมทั้งการทําสัญญาทางปกครองด้วย

หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่

(1) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม

(2) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ

(3) หน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

(4) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ธนาคารออมสินการท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

(5) หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง

(6) หน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจหรือได้รับให้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย ได้แก่ สํานักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ แพทยสภา เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย

การใช้อํานาจทางปกครอง คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1) การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

หลักการใช้อํานาจปกครอง ในการใช้อํานาจปกครองของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องเป็นไปตาม หลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่ กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อบุคคล ทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทําเพียงเพื่อให้ บรรลุตามเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

การบริการสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องจัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของ ประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชน หรือการดําเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

ศาลปกครอง คือ ศาลที่มีอํานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทาง ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง และ เป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

จากความหมายของกฎหมายปกครอง หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้ อํานาจปกครอง หลักการใช้อํานาจปกครอง การบริการสาธารณะ และศาลปกครองดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดจะมีความสัมพันธ์กันดังนี้ คือ

กฎหมายปกครอง เป็นเรื่องของการใช้อํานาจปกครอง ได้แก่ การออกกฎ การออกคําสั่ง ทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองซึ่งจะบัญญัติไว้ในกฎหมาย ต่าง ๆ ที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่แก่หน่วยงานทางปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้อํานาจนั้น และ หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องใช้อํานาจปกครองตามที่กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจ ไว้เท่านั้น และจะต้องเป็นการใช้อํานาจตามหลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลัก ประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น และต้องเป็นการใช้อํานาจปกครองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสาธารณะด้วย และในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้อํานาจทางปกครองหรือเกิดกรณีพิพาททางปกครองหรือที่เรียกว่าคดี ปกครองขึ้นมา จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องร้องยังศาลปกครองเนื่องจากศาลปกครองเป็นศาลที่มีอํานาจในการพิจารณา พิพากษาคดีปกครอง

ตัวอย่าง ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายปกครอง เนื่องจากเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้ อํานาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ เช่น บัญญัติให้อํานาจหน้าที่แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานที่ดินมีอํานาจหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ในที่ดิน เป็นต้น

ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายแล้วเกิดกรณีพิพาทขึ้น เช่น เจ้าพนักงานที่ดินได้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือว่าข้อพิพาทดังกล่าวเป็นข้อพิพาท ทางปกครอง หรือที่เรียกว่า คดีปกครอง ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงต้องนําคดีดังกล่าวไปฟ้องศาลปกครอง เนื่องจากศาลปกครองมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณา คดีปกครองตามมาตรา 9 ดังกล่าว

 

ข้อ 3. กฎหมายปกครองให้อํานาจผู้ว่าราชการจังหวัดใช้ทั้งอํานาจบังคับบัญชา และอํานาจกํากับดูแลแล้วแต่กรณี ดังนี้ อํานาจทั้งสองมีลักษณะสําคัญอย่างไร มีเงื่อนไขของการใช้อํานาจแตกต่างกัน หรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

อํานาจบังคับบัญชา คือ อํานาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้ใช้บังคับบัญชา เช่น การที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อํานาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในราชการส่วนภูมิภาค เช่น นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น อํานาจบังคับบัญชาเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใด ๆ ก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม สามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอนคําสั่ง หรือการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมาย บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อํานาจบังคับบัญชาแม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาก็สามารถใช้อํานาจตาม หลักกฎหมายทั่วไป

อํานาจกํากับดูแล ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลกับองค์กรที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล จึงเป็นอํานาจ ที่มีเงื่อนไข คือจะใช้ได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกําหนด เพื่อเป็นหลักประกัน ความเป็นอิสระขององค์กรภายใต้การกํากับดูแล

และในการกํากับดูแลนั้น องค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลไม่มีอํานาจสั่งการให้องค์กร ภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติการตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การกํากับดูแลมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย องค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลจึงเพียงแต่กํากับดูแลให้องค์กรภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติหน้าที่ให้ ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

อํานาจกํากับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น อํานาจในการเรียกให้เทศบาลซึ่งเป็นองค์กร ภายใต้การกํากับดูแลชี้แจง หรือรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดําเนินงานบางอย่างให้ทราบได้ เป็นต้น แต่ ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอํานาจบังคับหรือสั่งการให้เทศบาลดําเนินการตามที่ตนเห็นสมควร ทั้งนี้เพราะในการ ดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะต่าง ๆ นั้น เทศบาลสามารถดําเนินการได้โดยมีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้ อํานาจการสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัด เพียงแต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแลเท่านั้น

 

ข้อ 4. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้รับทราบข่าวเผยแพร่ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ว่าสํานักงานที่ดินอําเภอปากช่องออกโฉนดที่ดินให้แก่นายใหญ่ทับที่สาธารณประโยชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบเขตที่สาธารณประโยชน์ และคณะกรรมการฯ ได้สรุปข้อเท็จจริงรายงาน ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ว่ามีการออกโฉนดทับที่สาธารณประโยชน์จริง ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จึงได้ มีหนังสือสั่งการไปยังนายอําเภอปากช่องให้แก้ไขทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ให้ตรงตามผลรังวัด ของคณะกรรมการฯ นายใหญ่เห็นว่าหนังสือสั่งการดังกล่าวทําให้พื้นที่ลดลงและต้องรื้อถอนบ้านพัก ของตนอีกด้วย และตนเองไม่มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ เลย ดังนี้ นายใหญ่จึงมาปรึกษาท่านว่าหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองตาม (1) นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น

ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้มีหนังสือสั่งการไปยังนายอําเภอปากช่องให้แก้ไข ทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ให้ตรงตามผลรังวัดของคณะกรรมการฯ นั้น หนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นเพียงการใช้อํานาจ บังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นเพียงคําสั่งภายในของฝ่ายปกครองเท่านั้น ยังไม่มีผล โดยตรงไปสู่ภายนอกองค์กรฝ่ายปกครอง จึงขาดองค์ประกอบของคําสั่งทางปกครอง ข้อ 5 ตามนัยของ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 (1) ดังนั้น หนังสือสั่งการดังกล่าวจึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

สรุป หนังสือสั่งการดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

LAW3016 กฎหมายปกครอง 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 48 เตรส บัญญัติว่า นายกเทศมนตรีมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) กําหนดนโยบาย ..

(2) สั่งการ อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล

(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี

(4) ฯลฯ

ให้ร่างคําสั่งแต่งตั้งตัวเองเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรี

ธงคําตอบ

คําสั่งแต่งตั้งบุคคลเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีของนายกเทศมนตรีนั้น ถือว่าเป็นคําสั่ง ทางปกครอง เพราะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล และเมื่อเป็นคําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือ ดังนั้นอย่างน้อยจึงต้องระบุ

1 วัน เดือน และปีที่ทําคําสั่ง

2 ชื่อและตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่ง

3 ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งนั้น

4 ข้อกฎหมายที่อ้างอิง

5 ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ (มาตรา 5 และมาตรา 36 ประกอบมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539)

ร่างคําสั่งแต่งตั้ง (ชื่อ) เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรี

คําสั่งเทศบาล…………

ที่ ………… /2558

เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการนายกเทศมนตรี

………………….

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 58 เตรส แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ว่าด้วย อํานาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี และเพื่อให้การบริหารราชการของเทศบาล………. ดําเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพจึงขอแต่งตั้ง (ชื่อ) ผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม กับการบริหารงานของเทศบาล……………ดํารงตําแหน่งเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

(ลายเซ็นนายกเทศมนตรี)

…………………

( ชื่อนายกเทศมนตรี )

นายกเทศมนตรี…………

 

 

ข้อ 2. จงนํากฎหมายปกครองและหลักการใช้อํานาจปกครองไปใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ซึ่งอํานาจหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการสาธารณะ รวมทั้ง การใช้อํานาจทางปกครอง ในการออกกฏ การออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และ การทําสัญญาทางปกครอง กรม

สําหรับหน่วยงานทางปกครองของไทยที่อยู่ในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่

1 องค์การบริหารส่วนตําบล

2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด

3 เทศบาล

4 กรุงเทพมหานคร และ

5 เมืองพัทยา

“การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” ของไทยไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการใช้อํานาจทางปกครองตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อํานาจทางปกครองเพื่อการออกกฏ ออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําในทางปกครองรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวคือ “กฎหมายปกครอง” นั่นเอง

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทําบริการสาธารณะ หรือการใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นจะสามารถดําเนินการได้ก็จะต้องมีกฎหมายซึ่งก็คือ กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้องใช้อํานาจหน้าที่นั้นตามที่กฎหมายปกครอง ได้กําหนดไว้ในการบริหารราชการแผ่นดิน

ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะมี เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นผู้ใช้อํานาจตามกฎหมายเพื่อบริหารราชการให้เป็นไปตามนโยบาย และในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายในการบริหาร บ้านเมืองที่ดีนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องใช้อํานาจตามหลักกฎหมายปกครองด้วย ซึ่งการใช้อํานาจตามหลักกฎหมาย ปกครองนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติ ให้อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่ กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์ แก่ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อ บุคคลทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทําเพียง เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

 

 

ข้อ 3. หลักที่ใช้ในการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองภายใต้หลักกระจายอํานาจปกครองในรัฐเดียวนั้นมีสาระสําคัญอย่างไร และจากหลักดังกล่าวจะสามารถจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองได้อย่างไรบ้างจงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักที่ใช้ในการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองภายใต้หลักกระจายอํานาจปกครองในรัฐเดี๋ยวนั้น เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลางจะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่ องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระไม่อยู่ใน ความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล

และหลักดังกล่าวสามารถจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองได้ 2 รูปแบบ คือ

1 การกระจายอํานาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ (หรือกระจายอํานาจตามอาณาเขต) เป็นวิธีการกระจายอํานาจให้แก่ส่วนท้องถิ่น โดยให้ส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแยกต่างหากจากส่วนกลาง และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น แล้วส่วนกลางก็จะมอบอํานาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นไปดําเนินจัดทํากิจการบริการสาธารณะตามอํานาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ โดยจะมีการกําหนดขอบเขตหรือพื้นที่ไว้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นก็จะ ไปจัดทํากิจการนอกเขตหรือนอกพื้นที่ที่กําหนดไว้ไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยเฉพาะ

ซึ่งวิธีการกระจายอํานาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นวิธีนี้ กระทําโดยการมอบอํานาจการจัดทํา กิจการบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แก่ส่วนท้องถิ่นไปจัดทําโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นั้นเอง และด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อสนองตอบต่อความต้องการส่วนรวมของ ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ และประสานงานโครงการสานกรมการปกครองท้อง และการใช้สาระสําคัญของหลักการกระจายอํานาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ ได้แก่

1) มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากและเป็นอิสระจากราชการ บริหารส่วนกลางมีงบประมาณ และเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง เพื่อจัดทําบริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมาย

2) มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหลักการที่สําคัญของการกระจายอํานาจตามเขตแดนหรือ ตามพื้นที่ กล่าวคือ บุคลากรหรือผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาต่าง ๆ จะต้องมาจากการเลือกตั้งจากราษฎรใน ท้องถิ่นนั้น

3) มีความเป็นอิสระในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามอํานาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ต้องรับคําสั่งหรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง ซึ่งความเป็นอิสระในที่นี้ให้รวมถึงความเป็น อิสระในเรื่องงบประมาณและเจ้าหน้าที่ด้วย โดยส่วนกลางจะมีอํานาจแต่เพียงการกํากับดูแลให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

2 การกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิค เป็นวิธีการกระจายอํานาจ โดยที่ ส่วนกลางจะมอบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้แก่องค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยมิได้อยู่ใน สังกัดของส่วนกลาง ได้แก่ องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน รับไปดําเนินงานด้วยเงินทุนและ ด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์การนั้น ๆ เช่น การมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟทั่วทั้งประเทศให้แก่องค์การ ของรัฐคือการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือการมอบอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจําหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

ประการแรก การกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิคนั้น จะมีสาระสําคัญคล้ายกันกับ หลักกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือพื้นที่ เพียงแต่การกระจายอํานาจทั้งสองวิธีมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้คือ

(ก) การกระจายอํานาจทางบริการหรือกิจการไม่ถือเอาอาณาเขตเป็นข้อจํากัด อํานาจหน้าที่เป็นหลักสําคัญเหมือนกับการกระจายอํานาจทางเขตแดน ซึ่งองค์การอาจจัดทํากิจการได้ทั่วทั้ง ประเทศ หรือทําเฉพาะเขตใดเขตหนึ่งก็ได้ ตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์การนั้น

(ข) การกระจายอํานาจทางบริการหรือกิจการไม่ถือว่าการเลือกตั้งผู้บริหารเป็น เงื่อนไขในการจัดตั้งองค์กรที่ได้รับการกระจายอํานาจทางบริการ ซึ่งต่างจากการกระจายอํานาจทางเขตแดนที่ ผู้บริหารต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

 

ข้อ 4. มหาวิทยาลัยอาศัยอํานาจตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุฯ ออกประกาศสอบราคาจ้างเหมางานรวม 3 ประเภท ได้แก่ งานรักษาความปลอดภัย งานทําความสะอาด และใช้งานดูแลสนามหญ้าสวนหย่อมภายในมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 5 มกราคม 2558 โดยมีข้อกําหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาต้องสามารถทํางานทั้งสามประเภทได้ และจะต้องมีผลงานประเภทเดียวกัน กับหน่วยงานราชการอื่นมาก่อนในวงเงินค่าจ้างรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยให้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศเป็นต้นไป ปรากฏว่าบริษัทบิ๊กคลีนนิ่งจํากัด ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะงาน ทําความสะอาด และได้ยื่นซองสอบราคาเฉพาะในงานทําความสะอาดเท่านั้น เนื่องจากบริษัทฯขาดคุณสมบัติงานรักษาความปลอดภัย และงานดูแลสนามหญ้า มหาวิทยาลัยจึงมีคําสั่ง ไม่รับการเสนอราคาของบริษัทบิ๊กคลีนนิ่งจํากัด บริษัทฯ เห็นว่าประกาศฯ ดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย เพราะประกาศสอบราคาโดยรวมงานประเภทที่มีลักษณะงานทั้ง 3 ประเภทไว้ใน ประกาศฯ เดียวกัน และพิจารณาจากราคารวมของงานทุกประเภทนั้นมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(1) ประกาศสอบราคาจ้างเหมางานรวม 3 ประเภท ลงวันที่ 5 มกราคม 2558 เป็นคําสั่งทางปกครองหรือกฏ ไม่เป็นทั้งคําสั่งทางปกครองหรือกฏ เพราะเหตุใด

(2) คําสั่งไม่รับการเสนอราคาของบริษัทบิ๊กคลีนนิ่งจํากัด เป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

1 จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นิติกรรมทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคําสั่งทางปกครอง หรือกฏ หมายถึง การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล เพียงแต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ว่า “กฎ” นั้นจะมีผล ใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ แต่ “คําสั่งทางปกครอง จะมีผลใช้บังคับแก่กรณีหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะเท่านั้น

กรณีตามปัญหา แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) การที่มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศสอบราคาจ้างเหมางานรวม 3 ประเภท ดังกล่าวนั้น ประกาศสอบราคาจ้างเหมางานดังกล่าว ไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะแม้จะเป็นการใช้อํานาจ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่และก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงก็ตาม แต่ประกาศฯ ดังกล่าว ไม่สามารถระบุเจาะจงตัวบุคคลผู้อยู่ใต้ประกาศเป็นที่แน่นอนหรือเป็นการเฉพาะว่าหมายถึงบุคคลใด

และประกาศฯ ดังกล่าวก็ไม่เป็นกฎ เพราะกรณีที่จะเป็นกฎจะต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป แต่ประกาศฯ ดังกล่าวใช้กับการประกวดสอบราคากรณีนี้กรณีเดียว (ประกาศฯ ที่ลงวันที่ 5 มกราคม 2558) จึงขาดองค์ประกอบของการเป็นกฎ

(2) การที่มหาวิทยาลัยได้มีคําสั่งไม่รับการเสนอราคาของบริษัทบิ๊กคลีนนิ่งจํากัดนั้น คําสั่งไม่รับการเสนอราคาฯ ดังกล่าวมีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่คือมหาวิทยาลัย และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของบุคคลเป็นการเฉพาะ คือทําให้สิทธิที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานทางปกครองของบริษัทบิ๊กคลีนนิ่งจํากัด ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง

สรุป

(1) ประกาศสอบราคาจ้างเหมางานรวม 3 ประเภท ลงวันที่ 5 มกราคม 2558 ไม่เป็นทั้งคําสั่งทางปกครองหรือกฎ

(2) คําสั่งไม่รับการเสนอราคาฯ เป็นคําสั่งทางปกครอง

LAW3016 กฎหมายปกครอง 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงนํากฎหมายปกครองและหลักกฎหมายปกครองไปใช้ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล ให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ในทางปกครอง รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการใช้อํานาจทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกฎหมายปกครอง อาจจะเป็นกฎหมายที่อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด หรือ อาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายอื่น ๆ เช่น ในรูปของประมวลกฎหมาย เป็นต้น แต่อํานาจหน้าที่ในทางปกครองตามกฎหมายปกครอง หมายถึง การใช้อํานาจปกครองในการ ออกกฎและคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองนั่นเอง ซึ่งหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีอํานาจหน้าที่ในทางปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมี กฎหมายปกครองบัญญัติไว้ และการใช้อํานาจปกครองดังกล่าวก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปกครอง ได้กําหนดไว้ด้วย

สําหรับ “องค์การบริหารส่วนตําบล” เป็นหน่วยงานทางปกครองในรูปขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอํานาจปกครอง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตําบล รวมทั้งผู้บริหาร เช่น นายกองค์การ บริหารส่วนตําบล ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามที่กฎหมายปกครอง คือ พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบลฯ ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ เช่น หน้าที่ใน การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก หน้าที่ในการรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และ ที่สาธารณะ รวมทั้งมีหน้าที่กําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น

ในการใช้อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนั้น ก็โดย จุดประสงค์เพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่อการบริการสาธารณะนั้นเอง ซึ่งการใช้อํานาจและหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตําบลและของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ก็จะต้องมีการใช้อํานาจปกครองใน การออกกฎ คําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองด้วย ตัวอย่างเช่น

(1) องค์การบริหารส่วนตําบล ได้ออกข้อบัญญัติฯ ซึ่งเป็นกฎห้ามประชาชนเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ในขณะที่มีไข้หวัดนกระบาด เพื่อเป็นการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลได้มีคําสั่งเป็น หนังสือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลพ้นจากตําแหน่ง เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองรูปแบบอื่น เช่น การที่เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ทําความสะอาดถนนหรือทางระบายน้ำ เป็นต้น

(4) การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่องค์การบริหารส่วนตําบลได้ทําสัญญาจ้าง บริษัทเอกชนทําถนนหรือเก็บและกําจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น

 

ซึ่งในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวเพื่อการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลนั้น องค์การบริหารส่วนตําบลจะใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีกฎหมายปกครอง ซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และ การใช้อํานาจปกครองนั้น ก็จะต้องเป็นการใช้อํานาจปกครองตามหลักกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักประโยชน์สาธารณะ หลักความซื่อสัตย์สุจริต และหลักความเป็นธรรม เป็นต้น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมาย บัญญัติให้อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจ นอกเหนือจากที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายความว่า การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์ แก่ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต หมายความว่า การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทํา ด้วยความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม หมายความว่า การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อ บุคคลทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทํา เพียงเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

และนอกจากนั้น การใช้อํานาจปกครองดังกล่าวขององค์การบริหารส่วนตําบล ก็จะต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ด้วย เช่น การออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลก็จะต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบลฯ ได้กําหนดไว้ หรือในการออก คําสั่งทางปกครองก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กําหนดไว้ เป็นต้น ถ้าองค์การ บริหารส่วนตําบลได้ออกข้อบัญญัติฯ หรือคําสั่งทางปกครองไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ย่อมถือว่าเป็นการออกกฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจะก่อให้เกิดข้อพิพาททางปกครองหรือที่เรียกว่า คดีปกครองขึ้นมาได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครองขึ้นมาแล้ว ก็จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องร้อง ยังศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เพราะข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครองนั้นจะ อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

 

 

ข้อ 2. เรื่องใดในบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปนี้จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายถึงอะไร

(1) มาตรา…ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

(2) มาตรา… การเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

(3) มาตรา… พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

(4) มาตรา… สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ให้สามารถนําไปใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้โดยการจํานองได้

(5) มาตรา…การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า การให้เช่าช่วง การนําสิทธิการเช่าหลักประกันการชําระหนี้ การโอนสิทธิการเช่า หรือการตกทอดทางมรดก…

ธงคําตอบ

ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้

จากความหมายของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การดําเนินการของ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น จะต้องเป็นกรณีการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครองหรือกฏนั่นเอง

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรืบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

โดย “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

ดังนั้น จากบทบัญญัติของกฎหมายตามคําถาม เรื่องที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง ได้แก่

(1) มาตรา… ที่บัญญัติว่า “ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอํานาจออก กฎกระทรวง” ซึ่งการออกกฎกระทรวงเป็นกฎ ดังนั้น จึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(2) มาตรา… ที่บัญญัติว่า “การเช่า… ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่” ซึ่งเมื่อมีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การรับจดทะเบียนของ เจ้าหน้าที่ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(3) มาตรา ไม่ได้เป็นเรื่องของการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ในการจัด ให้มีคําสั่งทางปกครองหรือกฎ จึงไม่ต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(4) มาตรา ที่บัญญัติว่า “ โดยการจํานอง” ซึ่งการจํานองนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อมีการรับจดทะเบียน การรับจดทะเบียนถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(5) มาตรา… ที่บัญญัติว่า “การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า..” ซึ่งการแก้ไข รายการที่จดทะเบียนเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

 

 

ข้อ 3. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 วรรคสาม บัญญัติว่า

“ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ดังนี้ การบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อบรรลุเป้าหมายตามมาตรา 3/1 วรรคสาม ดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

1 เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ซึ่งได้แก่ การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุด ของประเทศ โดยส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ

2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ซึ่งได้แก่ การบริหารงานมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงานที่สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับภารกิจและวัตถุประสงค์ที่กําหนดขึ้นไว้สําหรับงานนั้น ๆ โดยผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจะต้องมีความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถกําหนดตัวชี้วัดผลการทํางานได้อย่างชัดเจน

3 มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ซึ่งเป็นการกําหนดวิธีการ ทํางานของส่วนราชการ ทั้งในกรณีที่ให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางานและสามารถวัดความคุ้มค่าในการปฏิบัติ แต่ละภารกิจ โดยกําหนดให้ส่วนรายการต้องปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้

(1) หลักความโปร่งใส ส่วนราชการต้องประกาศกําหนดเป้าหมาย และแผนการ ทํางาน ระยะเวลาแล้วเสร็จ และงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนทราบ ซึ่งจะทําให้การ ทํางานมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบแผนการทํางานได้

(2) หลักความคุ้มค่า กล่าวคือในการใช้ทรัพยากร (รายจ่ายหรืองบประมาณ) นั้น ให้คํานึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรด้วย โดยให้คํานึงถึงประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้รับจาก ภารกิจนั้น รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องกระทําโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม

(3) หลักความชัดเจนในการปฏิบัติราชการ (หลักความรับผิดชอบ) เช่น การสั่ง ราชการต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้ามีการสั่งการด้วยวาจาต้องบันทึกคําสั่งนั้นไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนใน การสั่งเพื่อปฏิบัติราชการที่ต้องมีหลักฐานยืนยันคําสั่งที่แน่นอน มีความรับผิดชอบทั้งผู้สั่งและผู้ปฏิบัติงาน

4 ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น ซึ่งได้แก่ การกําหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยกําหนดหน้าที่ให้ส่วนราชการปฏิบัติเพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการพิจารณา การสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่มีผลโดยตรงต่อประชาชนให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ดังนี้

(1) การกระจายอํานาจการตัดสินใจ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการกระจายอํานาจ การตัดสินใจลงไปสู่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง โดยมุ่งผลให้เกิด ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน แต่ต้องไม่เพิ่มขั้นตอนเกินความจําเป็น

(2) การจัดตั้งศูนย์การบริการร่วม โดยให้เป็นหน้าที่ของแต่ละกระทรวงต้องจัด ส่วนราชการภายในที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานกับประชาชนให้รวมเป็นศูนย์บริการร่วมแห่งเดียวที่ประชาชน จะสามารถติดต่อสอบถาม ขอข้อมูล ขออนุญาตหรือขออนุมัติได้พร้อมกันทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงนั้น เป็นการปฏิบัติงานในรูป One-Stop Service)

5 มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งได้แก่ การทบทวน และปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการทํางานใหม่อยู่เสมอ ทบทวนลําดับความสําคัญและความจําเป็นทาง แผนงานและโครงการทุกระยะ การยุบเลิกส่วนราชการที่ไม่จําเป็น และปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้ เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ

6 ประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ ซึ่ง ได้แก่ การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นกับความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลัก โดยมี การกําหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน การจัดระบบสารสนเทศ การรับฟังข้อร้องเรียน การเปิดเผยข้อมูล รวมทั้ง ให้มีการสํารวจความต้องการของประชาชน และความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนํามา ปรับปรุงการปฏิบัติราชการ

7 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ เพราะการประเมินผลถือว่าเป็น สิ่งสําคัญ ซึ่งจะทําให้ทราบได้ว่า การปฏิบัติราชการต่าง ๆ ที่ได้ทําไปแล้วนั้นได้ผลหรือไม่ หรือแผนที่กําหนดไว้นั้น เมื่อนําไปปฏิบัติแล้วบรรลุผลหรือไม่

 

 

ข้อ 4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ให้เทศบาลมีอํานาจหน้าที่รักษาความสะอาดของถนน ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยาเห็นว่าจัดซื้อ รถกวาดดูดฝุ่นเพื่อรักษาความสะอาดของถนนต้องใช้งบประมาณจํานวนมาก เมื่อปี พ.ศ. 2554 เทศบาล เมืองพระนครศรีอยุธยาจึงตกลงทําสัญญาเช่ารถกวาดดูดฝุ่น จํานวน 5 คัน จากบริษัท อินเตอร์คลีนนิ่ง จํากัด โดยบริษัทฯ ต้องส่งมอบรถกวาดดูดฝุ่นให้เทศบาลเดือนละ 1 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 1 ปี (12 ครั้ง) โดยเทศบาลฯ ให้พนักงานของเทศบาลเป็นผู้ขับรถและควบคุมการทํางานเอง ปรากฏว่าช่วง เดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ถนนหลายสายในตัวเมือง บางเส้นทางห้ามรถวิ่ง และทําให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ ให้ท่าน วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา กับบริษัท อินเตอร์คลีนนิ่ง จํากัด เป็นสัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ (สัญญาทางปกครอง) หรือไม่ หรือเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ตามกฎหมายเอกชน

ธงคําตอบ

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้คํานิยามของ “สัญญา ทางปกครอง” ไว้ในมาตรา 3 คือ

“สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทํา บริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ”

จากนิยามตามหลักกฎหมายดังกล่าวที่ใช้คําว่า “สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง นั้น ทําให้ตีความว่าสัญญาทางปกครองมี 2 ประเภท คือ

1 สัญญาทางปกครองโดยสภาพ เป็นกรณีที่ศาลปกครองได้สร้างหลักเกณฑ์ของสัญญา ทางปกครองขึ้นมาคล้ายกับในกฎหมายปกครองฝรั่งเศส กล่าวคือ เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคล

ซึ่งกระทําการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดําเนินการหรือเข้าร่วมดําเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกําหนดในสัญญา ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้อํานาจทาง ปกครอง หรือการดําเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะบรรลุผล

2 สัญญาทางปกครองตามที่กําหนดในมาตรา 3 ซึ่งต้องพิจารณาจากองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่

1) เป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือ เป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ

2) สัญญานั้นต้องเป็นสัญญาที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) สัญญาสัมปทาน หมายถึง สัญญาที่ให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนเอง และจะต้องรับเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเอง เช่น สัมปทานรถไฟฟ้า BTS หรือสัมปทาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

(ข) สัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ หมายถึง สัญญาที่ทําขึ้นเพื่อคุ้มครอง หรือเพื่อส่งเสริมความต้องการของประชาชนในลักษณะที่เป็นการบริการ เช่น สัญญาที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้างเอกชนมาแก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง สัญญาที่ทางราชการจ้างเอกชนให้ทําความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ หรือสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองจ้างเอกชนให้จัดเก็บและกําจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น

(ค) สัญญาที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หมายถึง สัญญาที่จัดให้มีทรัพย์สินที่ เป็นถาวรวัตถุเพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยตรง เช่น สัญญาจ้างเอกชนให้ก่อสร้างโรงพยาบาล หรือโรงเรียน สะพาน ถนน เขื่อน เป็นต้น

(ง) สัญญาแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สัญญาที่เกี่ยวกับ การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น สัญญาการทําเหมืองแร่หรือให้ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น

กรณีตามปัญหา การที่เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองได้ทํา สัญญาเช่ารถกวาดดูดฝุ่น กับบริษัท อินเตอร์คลีนนิ่ง จํากัด เพื่อนํามาใช้ในกิจการตามอํานาจหน้าที่ของเทศบาล ตามกฎหมายนั้น จะเห็นได้ว่าแม้สัญญาดังกล่าว จะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเอกชนก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของสัญญาแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นเพียง สัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดาเท่านั้น โดยบริษัทฯ มีหน้าที่เพียงส่งมอบรถกวาดดูดฝุ่นให้แก่เทศบาลฯ มิได้เป็นสัญญา ที่ให้บริษัทฯ ในฐานะคู่สัญญาไปจัดทําบริการสาธารณะ คือไปดําเนินการรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้แก่ประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้นสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญา ที่ให้จัดทําบริการสาธารณะหรือสัญญาทางปกครอง เป็นเพียงสัญญาเช่าทรัพย์ตามกฎหมายเอกชน หรือสัญญา ทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาเท่านั้น

สรุป

สัญญาระหว่างเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยากับบริษัท อินเตอร์คลีนนิ่ง จํากัด เป็น เพียงสัญญาเช่าทรัพย์ตามกฎหมายเอกชน มิใช่สัญญาทางปกครอง

 

LAW3016 กฎหมายปกครอง S/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงนํากฎหมายปกครองและหลักการของกฎหมายปกครองไปใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบให้ครบถ้วนชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการ สาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ ออกคําสั่ง ทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง

1 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น

2 การใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การรับรอง การรับจดทะเบียน เป็นต้น

3 การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การดับเพลิง การรื้อถอนอาคาร การรังวัดที่ดิน การวางท่อระบายน้ํา การซ่อมถนน หรือการซ่อมสะพาน เป็นต้น

4 การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่หน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญากับเอกชน โดยให้เอกชนจัดทําสิ่งสาธารณูปโภค อาทิเช่น การทําสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือถนน เป็นต้น

การบริหารราชการแผ่นดินของไทยตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1 ราชการบริหารส่วนกลาง หมายความถึง ราชการที่ฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของประชาชนทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ เช่น การรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ การคมนาคม การคลัง เป็นต้น อยากเป็นในการประสานงาน องค์การที่จัดทําราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง และมีอํานาจหน้าที่จัดทําราชการในอํานาจหน้าที่ของตนตลอดทั้งประเทศ

2 ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็น องค์กรของราชการบริหารส่วนกลางที่ได้แบ่งแยกออกไปจัดทําตามเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อสนอง ความต้องการส่วนรวมของประชาชนในเขตการปกครองนั้น ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ออกไปประจําตามเขตการปกครองนั้น ๆ เพื่อบริหารราชการภายใต้การ บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด และ อําเภอ รวมตลอดถึงตําบลและหมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค

3 ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หมายความถึง ราชการบางอย่างที่รัฐมอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทําเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง ซึ่งตามหลักไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการใช้อํานาจ ทางปกครองตามที่กฎหมายกําหนด ไม่ว่าจะเป็นการใช้อํานาจทางปกครองเพื่อการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําอื่นใดในทางปกครอง เช่น ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้อํานาจ แก่นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้กํากับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน หรือปลัดกระทรวง มีอํานาจในการออกกฏ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ รวมทั้งออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําอื่นใดในทางปกครองได้

ซึ่งในการใช้อํานาจปกครองตามกฎหมายปกครองของเจ้าหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายในการบริหารบ้านเมืองที่ดีนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องใช้อํานาจตามหลักการ ของกฎหมายปกครองด้วย ซึ่งการใช้อํานาจตามหลักการของกฎหมายปกครองนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่กฎหมาย บัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อบุคคล ทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทําเพียงเพื่อให้ บรรลุตามเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

 

ข้อ 2. พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า มาตรา 4 การเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว ผู้เช่าเเละผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่า ออกไปอีกได้มีกําหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่วันที่ตกลงกันและต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 6 สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ให้สามารถนําไปใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้โดยการจํานองได้และให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการจํานองอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 7 สิทธิและหน้าที่ตามการเข่าให้ตกทอดแก่ทายาทได้ และผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า

มาตรา 8 การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า การให้เช่าช่วง การนําสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชําระหนี้ การโอนสิทธิการเช่าหรือการตกทอดทางมรดกต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกมิได้

มาตรา 9 ให้นําบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 10 ให้นําบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินในหมวด 4 การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและหมวด 6 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้บังคับแก่การสอบสวน การจดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม

ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินโดยอนุโลม มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

จงอธิบายว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายความว่าอย่างไร และในมาตราใดและเรื่องใดในแต่ละมาตรานั้นที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการปกครอง

ธงคําตอบ

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

จากความหมายของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การดําเนินการของ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น จะต้องเป็นกรณีการเตรียมการและ การดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครองหรือกฎ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

ดังนั้นบทบัญญัติมาตราต่าง ๆ ของพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ตามปัญหา มาตราและเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ได้แก่

1 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า “การเช่า ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่” ซึ่งเมื่อมีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การรับจดทะเบียนของเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

2 มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า “ โดยการจํานอง.” ซึ่งการจํานองนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อมีการรับจดทะเบียน การรับจดทะเบียนถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3 มาตรา 8 ที่บัญญัติว่า “การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า” ซึ่งการแก้ไขรายการ ที่จดทะเบียนเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

4 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า “การออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การจดทะเบียน การเพิกถอนการจดทะเบียน…” ซึ่งการกระทําดังกล่าวถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการ ตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

5 มาตรา 11 ที่บัญญัติว่า “ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย…มีอํานาจออกกฎ กระทรวง” การออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้นถือว่าเป็นกฎ ดังนั้นจึงต้องมีการ ดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

ส่วนมาตรา 7 และมาตรา 9 ไม่ได้เป็นเรื่องของการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ ในการจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฏ จึงไม่ต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองแต่อย่างใด

 

ข้อ 3. จงอธิบายหลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการกระจายอํานาจปกครองมีสาระสําคัญเรื่องใดบ้าง และหากราชการบริหารส่วนกลาง (องค์กรกํากับดูแล) ใช้อํานาจกํากับดูแล ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (องค์กรภายใต้กํากับดูแล) จะสามารถ ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของอํานาจกํากับดูแลอย่างไร

ธงคำตอบ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยวิธีการที่รัฐ จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรทางปกครองอื่นที่ไม่ใช่องค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อไปจัดทํา บริการสาธารณะบางอย่าง โดยมีความเป็นอิสระ เช่น การมอบอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดูแลและ จัดทําบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งองค์กรทางปกครองนั้นไม่ต้องขึ้นอยู่ใน ความบังคับบัญชาของส่วนกลางเพียงแต่ขึ้นอยู่ในความกํากับดูแลเท่านั้น

สําหรับหลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําบริการสาธารณะนั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 283 คือย่อมมีความเป็นอิสระในการกําหนดนโยบายการบริหาร การจัดทําบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอํานาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และมาตรา 282 ได้กําหนดให้องค์กรปกครองอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของราชการ บริหารส่วนกลาง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกํากับดูแล (ราชการบริหารส่วนกลาง) กับองค์กรภายใต้กํากับดูแล (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) ให้เป็นไปตามหลักการกํากับดูแล กล่าวคือ จะต้องกํากับดูแลเท่าที่จําเป็น สอดคล้อง และเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และต้องเป็นไปเพื่อการ คุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสําคัญ แห่งหลักการปกครองตนเอง หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้

และหากราชการบริหารส่วนกลาง (องค์กรกํากับดูแล) ใช้อํานาจกํากับดูแลไม่เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติไว้ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (องค์กรภายใต้กํากับดูแล) สามารถฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ ศาลปกครองตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของอํานาจกํากับดูแลได้

 

ข้อ 4. นายพุธเป็นข้าราชการพลเรือนได้ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทําการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทําผิดวินัยไม่ร้ายแรง ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องดําเนินการทางวินัยกับนายพุธ ปรากฏว่ากฎหมายข้าราชการพลเรือนบัญญัติว่า กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณี ให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สําหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทําผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทําผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทําทัณฑ์บน เป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ผู้บังคับบัญชาของนายพุธเห็นว่านายพุธเป็นคนขยันขันแข็ง ไม่เกี่ยงงาน และตนเองมักใช้เพื่อทําธุระส่วนตัวเป็นประจําเสมอ ผู้บังคับบัญชาจึงเห็นว่าการกระทํา ของนายพุธเป็นกระทําผิดวินัยเล็กน้อย และอาศัยอํานาจตามมาตรา 57 ออกคําสั่งงดโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือนเท่านั้น ดังนี้ ท่านคิดว่าคําสั่งฯ ดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับ จดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองตาม (1) นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา การที่นายพุธข้าราชการพลเรือนได้กระทําผิดวินัยไม่ร้ายแรง ซึ่งผู้บังคับบัญชา ได้อาศัยอํานาจตามกฎหมายข้าราชการพลเรือน ออกคําสั่งงดโทษโดยว่ากล่าวตักเตือนเท่านั้น เพราะเห็นว่านายพุธ กระทําผิดวินัยเล็กน้อยนั้น คําสั่งดังกล่าวถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่มีลักษณะ เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายปกครอง และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของนายพุธ และคําสั่ง ให้งดโทษโดยว่ากล่าวตักเตือนดังกล่าวนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยแท้ของฝ่ายปกครอง อีกทั้งเป็นการปิดกระบวนการ พิจารณาทางปกครองเกี่ยวกับวินัยของข้าราชการด้วย

สรุป

คําสั่งงดโทษโดยว่ากล่าวตักเตือนดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครอง

LAW3016 กฎหมายปกครอง 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. เมื่อท่านสําเร็จการศึกษาแล้วได้เข้าไปเป็นปลัดอําเภอ จงอธิบายว่าปลัดอําเภอกับกฎหมายปกครองเกี่ยวข้องกันอย่างไร เพื่อจุดประสงค์ใด

ธงคําตอบ

ปลัดอําเภอกับกฎหมายปกครอง มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนี้คือ

“กฎหมายปกครอง” เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่ หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทํา บริการสาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบ ให้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทาง ปกครองตามกฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือคณะกรรมการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานทางปกครอง

ดังนั้นเมื่อข้าพเจ้าสําเร็จการศึกษาและสอบเข้าเป็นปลัดอําเภอได้ การรับราชการในตําแหน่ง ปลัดอําเภอนั้น ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งปลัดอําเภอนั้น ส่วนใหญ่ มักจะเป็นเรื่องของการใช้อํานาจทางปกครอง เพื่อการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการดําเนินการทาง ปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การกระทําทางปกครองที่เรียกว่าปฏิบัติการทางปกครอง และการทําสัญญาทาง ปกครองทั้งสิ้นซึ่งในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวนั้น ก็เพื่อจุดประสงค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริการสาธารณะนั้นเอง

ในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวนั้น ปลัดอําเภอจะใช้อํานาจทางปกครองได้ก็จะต้องมี กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจไว้ด้วย และในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้แต่กฎหมายได้บัญญัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือขั้นตอนในการใช้อํานาจทางปกครองไว้ด้วย ดังนี้การใช้อํานาจทางปกครองของปลัดอําเภอ ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือขั้นตอนที่กฎหมายได้กําหนดไว้ด้วย

ในกรณีที่ปลัดอําเภอได้ใช้อํานาจทางปกครอง เช่น การออกคําสั่งทางปกครองมาโดยที่ไม่มี กฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้หรือออกคําสั่งทางปกครองมาโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือขั้นตอนที่กฎหมาย ได้กําหนดไว้ คําสั่งทางปกครองนั้นก็จะเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจทําให้เกิดข้อพิพาททาง ปกครองขึ้นได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองขึ้น ก็จะต้องนําข้อพิพาทหรือที่เรียกว่าคดีปกครองนั้น ขึ้นฟ้องเป็นคดี ต่อศาลปกครอง เพราะศาลปกครองเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาททางปกครอง หรือคดีปกครอง

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า กฎหมายปกครองมีความสําคัญและเกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติราชการใน ตําแหน่งปลัดอําเภอเป็นอย่างมาก ปลัดอําเภอจึงต้องทราบว่ากฎหมายปกครองต่าง ๆ นั้นได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่ปลัดอําเภอไว้อย่างไรหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทําให้ปลัดอําเภอได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจ ทางปกครองได้อย่างถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง

 

ข้อ 2. พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 มาตรา 5 และ 11 บัญญัติว่า “มาตรา 5 ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงให้อธิบดีมีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่า มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง…”

จงอธิบายว่า ในมาตรา 5 และ 11 ดังกล่าวมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหรือไม่ หากมีได้แก่เรื่องอะไรบ้าง พร้อมอธิบายประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่มีบทบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่ หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจหน้าที่ในทางปกครองนั้น ก็คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของ เจ้าหน้าที่ในการออกคําสั่งทางปกครอง ออกกฎ หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ได้แก่ ปฏิบัติการทาง ปกครอง รวมถึงการทําสัญญาทางปกครอง นั่นเอง โดยการใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น

การใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การรับรอง การรับจดทะเบียน เป็นต้น

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

เมื่อพิจารณาความหมายของคําว่า “กฎหมายปกครอง” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ถือว่าเป็นกฎหมายปกครอง ฉบับหนึ่ง เพราะเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของมาตรา 5 และมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่ามีบทบัญญัติบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครอง และวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนี้

ตามมาตรา 5 บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือ บทบัญญัติที่ว่า

1 “ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น และการเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่จะต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดี” เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ (คืออธิบดี) เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง (การอนุมัติ)

2 “ ได้รับอนุมัติจากอธิบดี” การได้รับอนุมัติจากอธิบดีนั้น ถือได้ว่า การอนุมัติของ อธิบดีเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมายปกครอง คือตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในการ ออกคําสั่งทางปกครอง (การอนุมัติ)

3 “ ให้อธิบดีมีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่า” การเพิกถอนการจดทะเบียน การเช่าเป็นคําสั่งทางปกครอง และการที่อธิบดีจะเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่จะใช้อํานาจ ทางปกครองตามกฎหมายปกครองเพื่อออกคําสั่งทางปกครองและในการออกคําสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนนั้น ถ้าจะให้คําสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายและไม่ ก่อให้เกิดข้อพิพาททางปกครอง เจ้าหน้าที่ที่จะออกคําสั่งก็จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ ซึ่งการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครองนั้น เรียกว่าวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครองนั่นเอง

ตามมาตรา 11 บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครอง คือบทบัญญัติที่ว่า “รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย มีอํานาจออกกฎกระทรวง” ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ และ มีอํานาจออกกฎกระทรวง กฎกระทรวงถือว่าเป็น “กฎ” การออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรีฯ ถือว่าเป็นการใช้อํานาจ ทางปกครองในการออกกฎ

และในการออกกฏดังกล่าวของเจ้าหน้าที่นั้น ถ้าจะให้เป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมายและ ไม่ก่อให้เกิดข้อพิพาททางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ออกกฎก็จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ ซึ่งเรียกว่าวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั่นเอง

 

ข้อ 3.ผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้หลักการ รวมอํานาจปกครอง (Centralization) และหลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (การจัดตั้งองค์กรทางปกครองหรือการจัดส่วนราชการ) ของไทยนั้น จะใช้หลักการที่สําคัญอยู่ 2 หลัก คือ หลักการรวมอํานาจปกครองและหลักการกระจายอํานาจปกครอง

หลักการรวมอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยการมอบอํานาจ ปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ใช้อํานาจปกครอง ซึ่งหลักการรวมอํานาจปกครองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรวมศูนย์อํานาจปกครอง และการกระจาย การรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือการแบ่งอํานาจปกครอง

1 การรวมศูนย์อํานาจปกครอง คือ การรวมอํานาจวินิจฉัยสั่งการทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง หรือส่วนกลาง และต้องมีระบบการบังคับบัญชาที่เคร่งครัด มีการรวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ คือ กําลังทหาร และกําลังตํารวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับชั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่

2 การแบ่งอํานาจปกครองหรือการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครอง เป็นรูปแบบ ที่อ่อนตัวลงมาของการรวมศูนย์อํานาจปกครอง โดยการมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการบางอย่าง ให้แก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจําอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง โดยองค์กรหรือ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของส่วนกลาง

ประเทศไทยได้นําหลักการรวมอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยการนําหลักการรวมศูนย์อํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง โดยการแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น และนําหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือหลักการแบ่งอํานาจ ปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล

ประเทศไทยได้นําหลักการกระจายอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น โดยจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

จากหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้ว่าราชการ จังหวัดมีความเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้หลักการรวมอํานาจปกครอง และ หลักการกระจายอํานาจปกครอง ดังนี้คือ

ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นราชการส่วนกลางไปประจํายังเขตการปกครองระดับจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค ทั้งราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาคใช้หลักการรวมอํานาจปกครองในการจัดระเบียบบริหารราชการ ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดกับราชการส่วนกลางจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา ตามหลักการรวมอํานาจปกครอง และ ผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลางในการกํากับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมาย ได้กําหนดไว้ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เป็นต้น ซึ่งลักษณะของการกํากับดูแลนั้นจะแตกต่างกับ การบังคับบัญชา เพราะอํานาจกํากับดูแลจะกระทําได้ก็แต่เฉพาะที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น แต่อํานาจบังคับบัญชานั้น ผู้บังคับบัญชาจะสามารถควบคุมได้ทั้งความชอบด้วยกฎหมายและดุลพินิจด้วย

 

ข้อ 4. นายดําเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร้ายแรงกรณีมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผู้บังคับบัญชาจึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยนายดํา ซึ่ง ตามกฎหมายข้าราชการพลเรือนว่าด้วยการสอบสวน กําหนดให้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย จะต้องแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยระบุวัน เวลา สถานที่ และการกระทําที่มี ลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหา โดยคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยจะระบุชื่อของพยานบุคคล หรือไม่ก็ได้ ภายหลังการสอบสวนคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือถึงนายดํา แจ้งรายชื่อพยานบุคคลโดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนการกระทําและข้อกล่าวหาว่านายดํา มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อีกทั้งคณะกรรมการฯ ยังมีหนังสือถึงผู้บังคับบัญชานายดําว่า นายดํามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริง และเสนอความเห็นให้มีคําสั่งลงโทษไล่นายดําออกจาก ราชการ และในที่สุดผู้บังคับบัญชามีคําสั่งลงโทษไล่นายดําออกจากราชการตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ ซึ่งนายดําเห็นว่าไม่ชอบด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนี้ นายดํามาปรึกษาท่านว่า หนังสือของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงที่ตนเองได้รับและแจ้งแต่รายชื่อพยานบุคคลเท่านั้น มิได้มีการแจ้งสรุปพยานหลักฐานฯ ดังกล่าว เป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อม หลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามปัญหา การที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ได้มีหนังสือถึงนายดํา โดยในหนังสือ ดังกล่าวได้แจ้งแต่รายชื่อพยานบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนการกระทําและ ข้อกล่าวหาว่านายดํามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การกระทําของคณะกรรมการสอบสวนวินัยดังกล่าว จึง ไม่ถือว่าเป็นการกระทําที่มุ่งผลในทางกฎหมาย คือมิได้เป็นการกระทําที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นในระหว่างบุคคล จึงขาดองค์ประกอบของคําสั่งทางปกครองในข้อ 3. ดังนั้นหนังสือของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงที่นายดํา ได้รับ จึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

สรุป หนังสือของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงทุนายดําได้รับไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบของคําสั่งทางปกครอง ตามนัยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

 

LAW3016 กฎหมายปกครอง 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงนํากฎหมายปกครองและหลักกฎหมายปกครองไปอธิบายว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใน ด้าน ปัจจุบันต้องใช้กฎหมายปกครอง และหลักกฎหมายปกครองมาใช้ในการบริหารอย่างไรจึงจะทําให้การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายในการบริหารบ้านเมืองที่ดี

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ซึ่งอํานาจหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการสาธารณะ รวมทั้ง การใช้อํานาจทางปกครอง ในการออกกฎ การออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และ การทําสัญญาทางปกครอง

สําหรับหน่วยงานทางปกครองของไทยที่อยู่ในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่

1 องค์การบริหารส่วนตําบล

2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด

3 เทศบาล

4 กรุงเทพมหานคร และ

5 เมืองพัทยา

“การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” ของไทยไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการใช้อํานาจทางปกครองตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อํานาจทางปกครองเพื่อการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง การกระทําในทางปกครองรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวคือ “กฎหมายปกครอง” นั่นเอง

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทําบริการสาธารณะ หรือการใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นจะสามารถดําเนินการได้ก็จะต้องมีกฎหมายซึ่งก็คือ กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้องใช้อํานาจหน้าที่นั้นตามที่กฎหมายปกครอง ได้กำหนดไว้ในการบริหารราชการแผ่นดิน

ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะมีเจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานนั้นเป็นผู้ใช้อํานาจตามกฎหมายเพื่อบริหารราชการให้เป็นไปตามนโยบาย และในการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายในการบริหารบ้านเมืองที่ดีนั้น เจ้าหน้าที่ จะต้องใช้อํานาจตามหลักกฎหมายปกครองด้วย ซึ่งการใช้อํานาจตามหลักกฎหมายปกครองนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะใช้อํานาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจนอกเหนือจากที่กฎหมาย บัญญัติให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การใช้อํานาจนั้นจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

4 หลักความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องกระทําต่อบุคคล ทุกคนโดยยึดหลักว่าบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และมีความเสมอภาคกัน และต้องเป็นการกระทําเพียงเพื่อให้ บรรลุตามเป้าประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร

 

ข้อ 2. ประเทศไทยเรามีปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินตลอดมา จริงแล้วปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้อยู่ที่ตัวบทกฎหมายเสียทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้วอยู่ที่ผู้ใช้อํานาจตามกฎหมาย ไม่ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ให้ท่านยกตัวอย่างการใช้อํานาจที่ไม่ชอบและอยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองมีอะไรบ้าง

ธงคําตอบ

“การใช้อํานาจทางปกครอง” คือ การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่อันทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพหรือสิทธิของบุคคลไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

ซึ่งการใช้อํานาจทางปกครองนั้น ได้แก่

1 การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

2 การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

3 การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครอง

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคแรก (1) ได้บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือนอกเหนือ อํานาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่ กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็น การสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ”

จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การใช้อํานาจทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอยู่ ในอํานาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่ง ได้แก่ การกระทําที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

1 กระทําโดยไม่มีอํานาจ

2 กระทํานอกเหนืออํานาจหน้าที่

3 กระทําโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

4 กระทําโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน

5 กระทําโดยไม่ถูกต้องตามวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น

6 กระทําโดยไม่สุจริต

7 กระทําโดยมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

8 กระทําโดยมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น

9 กระทําโดยสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร

10 กระทําโดยเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

 

ข้อ 3. “หลักการกํากับดูแล” มีความสําคัญกับ “หลักความเป็นอิสระ” ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยอย่างไร จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

“หลักการกํากับดูแล” เป็นหลักการที่นํามาใช้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือบุคคล ที่มีอํานาจกํากับดูแลกับองค์กรที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล ซึ่งหลักการกํากับดูแลนั้น องค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจ กํากับดูแลจะไม่มีอํานาจสั่งการให้องค์กรภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติการตามที่ตนเห็นสมควร แต่มีอํานาจเพียง การกํากับดูแลให้องค์กรภายใต้การกํากับดูแลปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามอํานาจหน้าที่ที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น และอํานาจในการกํากับดูแลขององค์กรหรือบุคคลที่มีอํานาจกํากับดูแลนั้น เป็นอํานาจที่มีเงื่อนไข คือจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ มีกฎหมายให้อํานาจและต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระ ขององค์กรภายใต้การกํากับดูแล

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นในรูปของ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจทางพื้นที่ คือการที่รัฐจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นนิติบุคคลมหาชนเพื่อมอบอํานาจให้ดําเนินกิจการของท้องถิ่นได้เองโดยมีหลักความเป็นอิสระ ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ กล่าวคือ สามารถดําเนินการที่ได้รับมอบหมายได้เองโดยไม่ต้องรับคําสั่ง หรืออยู่ภายใต้อํานาจบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการและดําเนินกิจการได้ด้วย งบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง โดยราชการบริหารส่วนกลางจะใช้หลักการกํากับดูแลให้ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า “หลักการกํากับดูแล” มีความสําคัญกับ “หลักความเป็นอิสระ” ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นหลักประกันความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเอง และถ้าองค์กรใดไม่มีหลักความเป็นอิสระดังกล่าว ก็ไม่ถือว่าได้มีการกระจายอํานาจอย่างแท้จริง

 

ข้อ 4. มหาวิทยาลัยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ตามสัญญาจ้างก่อสร้างปรับปรุงหอนาฬิกาหน้ามหาวิทยาลัย มีระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จหนึ่งเดือน ปรากฏว่าผ่านไปหนึ่งเดือน มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือถึงบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ในฐานะคู่สัญญาแจ้งจะใช้สิทธิปรับบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด เนื่องจากไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กําหนด วันละ 20,000 บาท จนกว่างานจะแล้วเสร็จ บริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ปฏิเสธและไม่เห็นด้วยกับจํานวนเงินดังกล่าว บริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด มาปรึกษาท่านว่าหนังสือดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่จะต้องดําเนินการอุทธรณ์โต้แย้งก่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นในระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

ตามปัญหา การที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ตามสัญญาจ้างก่อสร้างปรับปรุงหอนาฬิกาหน้ามหาวิทยาลัย ได้มีหนังสือถึงบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ในฐานะคู่สัญญาแจ้งจะใช้สิทธิปรับบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด เนื่องจากไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จตามเวลา ที่กําหนดนั้น หนังสือแจ้งดังกล่าวแม้จะออกโดยเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าจะมีการใช้สิทธิ เรียกร้องค่าปรับเท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามสัญญามิได้เป็นการที่มหาวิทยาลัยใช้อํานาจตาม กฎหมายปกครอง ที่มีผลกระทบต่อสิทธิใด ๆ ของบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด แต่อย่างใด ดังนั้นหนังสือดังกล่าว จึงไม่เป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และเมื่อหนังสือดังกล่าวไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง จึงไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่จะต้องดําเนินการ อุทธรณ์โต้แย้งก่อนตามกฎหมายฉบับนี้ และถ้าหากบริษัท เค เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด เห็นว่าการใช้สิทธิของมหาวิทยาลัยไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะปฏิเสธการชําระหนี้อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาจ้างทําของมิใช่ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่ประการใด

สรุป

หนังสือดังกล่าวไม่เป็นคําสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่จะต้องดําเนินการอุทธรณ์โต้แย้งก่อนตามกฎหมายฉบับนี้

LAW3016 กฎหมายปกครอง S/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงทําตามคําสั่งต่อไปนี้

ก. จงอธิบายอํานาจดุลพินิจ และอํานาจผูกพัน หมายความว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ข. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายความว่าอย่างไร และบทบัญญัติต่อไปนี้เรื่องใดในมาตราใดบ้างที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

มาตรา 4 การเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว ผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลา การเช่าออกไปอีกได้ มีกําหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่วันที่ตกลงกันและต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 5 ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง การจดทะเบียนการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ การกําหนดประเภทของพาณิชยกรรมหรือ อุตสาหกรรมที่ให้ทําการเช่า และการใช้หรือการเปลี่ยนแปลง ประเภทการใช้อสังหาริมทรัพย์ ตามที่เช่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง ให้อธิบดีมีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าที่ฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามความในวรรคสองและวรรคสาม

มาตรา 6 สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ให้สามารถนําไปใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้โดยการจํานองได้และให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการจํานองอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 7 สิทธิและหน้าที่ตามการเช่าให้ตกทอดแก่ทายาทได้ และผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิ์การเช่าไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า

มาตรา 8 การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า การให้เช่าช่วง การนําสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชําระหนี้ การโอนสิทธิการเช่าหรือการตกทอดทางมรดกต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกมิได้

ธงคําตอบ

ก. “อํานาจดุลพินิจ” คืออํานาจที่กฎหมายได้บัญญัติให้แก่เจ้าหน้าที่ในการดําเนินการใช้อํานาจ ตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้หรือไม่ก็ได้ แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วนแล้ว เช่น กรณีที่ ประชาชนไปขออนุญาตพกพาอาวุธปืน แม้จะมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้ แต่กฎหมาย ก็ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจคือนายทะเบียนอาวุธปืนสามารถใช้ดุลพินิจว่าจะออกใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน ให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากสภาพและความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย

“อํานาจผูกพัน” คืออํานาจที่กฎหมายได้บัญญัติให้แก่เจ้าหน้าที่ว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงตามที่ กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่จะต้องดําเนินการใช้อํานาจตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยไม่ชักช้า เช่น กรณีที่ประชาชนมีอายุครบเกณฑ์ตามที่กฎหมายกําหนดได้ไปขอทําบัตรประจําตัวประชาชน ดังนี้ถ้ามีเอกสารหลักฐาน ครบถ้วนตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้ เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทําบัตรประจําตัวประชาชนให้ เนื่องจากเป็นหลักเกณฑ์ ของการทําบัตรประจําตัวประชาชนที่กฎหมายได้กําหนดไว้เช่นนั้น

ข. “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

จากความหมายของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การดําเนินการของ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น จะต้องเป็นกรณีการเตรียมการและ การดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครองหรือกฎ

ดังนั้น บทบัญญัติต่าง ๆ ตามปัญหา เรื่องและมาตราที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง ได้แก่

1 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า “การเช่า ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่” ซึ่งเมื่อมีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การรับจดทะเบียนของ เจ้าหน้าที่ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

2 มาตรา 5 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า “ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี” ซึ่งการอนุมัติของ อธิบดีนั้นถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3 มาตรา 5 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “การจดทะเบียนการเช่า” ซึ่งเมื่อมีการจดทะเบียน การรับจดทะเบียนถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

มาตรา 5 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “ให้อธิบดีมีอํานาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่า…” ซึ่งการเพิกถอนการจดทะเบียนของอธิบดีถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง

มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า “ โดยการจํานอง..” ซึ่งการจํานองนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อมีการรับจดทะเบียน การรับจดทะเบียนถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และ

มาตรา 8 ที่บัญญัติว่า “การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า” ซึ่งการแก้ไขรายการ ที่จดทะเบียนเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้นจึงต้องมีการดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

ส่วนมาตรา 7 ไม่ได้เป็นเรื่องของการเตรียมการและการดําเนินการของเจ้าหน้าที่ในการจัดให้มี คําสั่งทางปกครอง หรือกฎ จึงไม่ต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองแต่อย่างใด

 

ข้อ 2. จงนํากฎหมายปกครองไปอธิบายการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ว่ากฎหมายปกครองมีความสําคัญกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอํานาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการจัดทําบริการ สาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ ออกคําสั่ง ทางปกครอง การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ และการทําสัญญาทางปกครอง

1) การใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น

2) การใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การรับรอง การรับจดทะเบียน เป็นต้น

3) การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การดับเพลิง การรื้อถอนอาคาร การรังวัดที่ดิน การวางท่อระบายน้ำ การซ่อมถนน หรือการซ่อมสะพาน เป็นต้น

4) การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่หน่วยงานทางปกครองได้ทําสัญญากับเอกชน โดยให้เอกชนจัดทําสิ่งสาธารณูปโภค อาทิเช่น การทําสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หรือถนน เป็นต้น

ซึ่งกฎหมายปกครองนั้น อาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้ เช่น พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พระราชบัญญัติเทศบาล หรือประมวล กฎหมายที่ดิน เป็นต้น

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบ ให้ใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทาง ปกครองตามกฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือคณะกรรมการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง

“การบริหารราชการส่วนภูมิภาค” ได้แก่ จังหวัด (เป็นนิติบุคคล) และอําเภอ (ไม่เป็นนิติบุคคล) เป็นการบริหารราชการตามหลักการรวมอํานาจเช่นเดียวกับการบริหารราชการส่วนกลาง เพียงแต่การบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการแบบแบ่งอํานาจปกครอง โดยเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนภูมิภาคนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางที่ส่วนกลางได้ส่งไปประจําเพื่อปฏิบัติราชการตามเขตภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ และมีอํานาจวินิจฉัยสั่งการบางอย่างตามที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลาง ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะยังคง อยู่ภายใต้อํานาจบังคับบัญชาจากส่วนกลางโดยตรง

เมื่อพิจารณาจากความหมายของกฎหมายปกครอง การใช้อํานาจทางปกครอง หน่วยงาน ทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ และความหมายของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายปกครอง มีความสําคัญกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้คือ

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารราชการโดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้อํานาจทางปกครอง เช่น การออกกฎหรือระเบียบข้อบังคับ หรือการออกคําสั่งแต่งตั้งโยกย้าย รวมทั้งการดําเนินการบริการสาธารณะ หรือการจัดทําสัญญาจ้างบริษัทเอกชนมาจัดทําบริการสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนภูมิภาค จะใช้อํานาจปกครองในการดําเนินการต่าง ๆ ได้ ก็จะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ไว้ด้วย เพราะถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนภูมิภาคก็ไม่สามารถที่จะ ใช้อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการใด ๆ ได้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวก็คือกฎหมายปกครองนั่นเอง

ตัวอย่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีอํานาจออกคําสั่ง บรรจุ แต่งตั้ง ให้บําเหน็จ และลงโทษข้าราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดได้ ก็เพราะมีกฎหมายปกครอง คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ เป็นต้น

 

ข้อ 3. ส่วนราชการ “จังหวัด” กับ “องค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด” ใช้หลักในการจัดระเบียบบริหารส่วนราชการเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (การจัดตั้งองค์กรทางปกครองหรือการจัดส่วนราชการ) ของไทยนั้น จะใช้หลักการที่สําคัญอยู่ 2 หลัก คือ หลักการรวมอํานาจปกครองและหลักการกระจายอํานาจปกครอง

หลักการรวมอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยการมอบอํานาจ ปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ใช้อํานาจปกครอง ซึ่งหลักการรวมอํานาจปกครองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรวมศูนย์อํานาจปกครอง และการกระจาย การรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือการแบ่งอํานาจปกครอง

1 การรวมศูนย์อํานาจปกครอง คือ การรวมอํานาจวินิจฉัยสั่งการทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง หรือส่วนกลาง และต้องมีระบบการบังคับบัญชาที่เคร่งครัด มีการรวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ คือ กําลังทหาร และกําลังตํารวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับชั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่

2 การแบ่งอํานาจปกครองหรือการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครอง เป็นรูปแบบ ที่อ่อนตัวลงมาของการรวมศูนย์อํานาจปกครอง โดยการมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการบางอย่าง ให้แก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจําอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง โดยองค์กรหรือ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของส่วนกลาง

ประเทศไทยได้นําหลักการรวมอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยการนําหลักการรวมศูนย์อํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง โดยการแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น และนําหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือหลักการแบ่งอํานาจ ปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล

ประเทศไทยได้นําหลักการกระจายอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น โดยจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การจัดส่วนราชการเป็น “จังหวัด” กับ “องค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด” จะใช้หลักในการจัดระเบียบบริหารส่วนราชการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ จังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคใช้ หลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือหลักการแบ่งอํานาจปกครองส่วนองค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งใช้หลักกระจายอํานาจปกครอง และทั้งสองหลักก็ยังมีความแตกต่างกัน ในสาระสําคัญเกี่ยวกับความเป็นอิสระ กล่าวคือ องค์การบริหารราชการส่วนจังหวัดจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณและบุคลากรเป็นของตนเอง สามารถดําเนินการได้โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา ของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล ส่วนจังหวัดนั้น การบริหารราชการจะอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชา อย่างใกล้ชิดจากส่วนกลาง ไม่มีงบประมาณและบุคลากรเป็นของตนเอง เจ้าหน้าที่จะได้รับการแต่งตั้งจาก ส่วนกลางทั้งสิ้น

 

ข้อ 4. เก่งเป็นผู้สนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งให้กับแคนพี่เขยของตนซึ่งลงรับสมัครเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน เก่งได้แจ้งย้ายจากบ้านเลขที่ 11 เข้าบ้านเลขที่ 22 ปรากฏว่ามีผู้ร้องเรียนว่าเก่งหวังผลในการเลือก ผู้ใหญ่บ้าน เพราะย้ายแต่ชื่อเข้าทะเบียนบ้านเท่านั้น แต่ตัวบุคคลไม่ได้เข้าอยู่จริง นายทะเบียนอําเภอ จึงใช้อํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทําทะเบียนราษฎร ออกคําสั่งย้ายชื่อของเก่งออกจาก ทะเบียนบ้านเลขที่ 22 ไปเข้าทะเบียนบ้านกลาง สํานักทะเบียนประจําอําเภอ ทําให้เก่งไม่มีชื่อใน บัญชีรายชื่อเป็นผู้มีคุณสมบัติใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้ คําสั่งย้ายชื่อเก่งออกจากทะเบียน บ้านเลขที่ 22 เข้าทะเบียนบ้านกลาง เป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปจงอธิบายพร้อมเหตุผล

ธงคําตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ บางกระดาน ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

ตามปัญหา การที่นายทะเบียนอําเภอซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ได้ใช้อํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทํา ทะเบียนราษฎร ออกคําสั่งย้ายชื่อของเก่งออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 22 ไปเข้าทะเบียนบ้านกลาง ทําให้เก่งไม่มี รายชื่อในบัญชีรายชื่อเป็นผู้มีคุณสมบัติใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านนั้น ถือว่าคําสั่งย้ายชื่อเก่งออกจากทะเบียนบ้าน เลขที่ 22 เข้าทะเบียนบ้านกลาง เป็นคําสั่งทางปกครอง เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วนตามนัยของคําสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กล่าวคือ เป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่เป็น การใช้อํานาจตามกฎหมาย และมีผลกระทบต่อสถานภาพแห่งสิทธิของเก่ง คือทําให้เก่งไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อ เป็นผู้มีคุณสมบัติใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน

สรุป

คําสั่งย้ายชื่อเก่งออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 22 เข้าทะเบียนบ้านกลาง เป็นคําสั่งทาง ปกครอง

WordPress Ads
error: Content is protected !!