POL2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 4 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 หลักการปกครองประเทศมีกี่หลักการ อะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง จุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละหลักการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 27 – 30)

โดยทั่วไปหลักการปกครองประเทศนิยมแบ่งเป็น 3 หลัก คือ หลักการรวมอํานาจปกครอง (Centralization) หลักการแบ่งอํานาจปกครอง (Deconcentration) และหลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization)

1 หลักการรวมอํานาจปกครอง (Centralization) หมายถึง หลักการจัดวางระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินโดยรวมอํานาจในการปกครองไว้ให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองต่าง ๆ ของรัฐ และมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง โดยให้ขึ้นต่อกัน ตามลําดับขั้นการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ดําเนินการปกครองตลอดทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ

ลักษณะสําคัญของหลักการรวมอํานาจปกครอง

1) มีการรวมกําลังทหารและกําลังตํารวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง เพื่อให้การบังคับบัญชาเป็นไปอย่างเด็ดขาดและทันท่วงที

2) มีการรวมอํานาจวินิจฉัยสั่งการไว้ในส่วนกลาง

3) มีการลําดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ลดหลั่นกันไป (Hierarchy)

จุดแข็งของหลักการรวมอํานาจปกครอง

1) การที่รัฐบาลมีอํานาจแผ่ขยายไปทั่วราชอาณาเขต ทําให้นโยบาย แผน หรือคําสั่งเกิดผลได้ทั่วประเทศอย่างทันที

2) ให้บริการและประโยชน์แก่ประชาชนโดยเสมอหน้าทั่วประเทศ ไม่ได้ทําเพื่อ ท้องถิ่นใดโดยเฉพาะ

3) ทําให้เกิดการประหยัด เพราะสามารถหมุนเวียนเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดต่าง ๆ ของประเทศได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อจัดหาประจําทุกจุด

4) มีความเป็นเอกภาพในการปกครองและการบริหารงาน การปกครองในท้องถิ่น เป็นไปแนวเดียวกัน

5) มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น ทําให้บริการสาธารณะดําเนินการไปโดยสม่ําเสมอ และเป็นไปตามระเบียบแบบแผนอันเดียวกัน

จุดอ่อนของหลักการรวมอํานาจปกครอง

1) ไม่สามารถดําเนินกิจการทุกอย่างให้ได้ผลดีทั่วทุกท้องที่ในเวลาเดียวกัน เพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่จึงไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ทั่วถึง

2) ไม่สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

3) การปฏิบัติงานมีความล่าช้า เพราะมีแบบแผนและขั้นตอนมากมายตามลําดับขั้นการบังคับบัญชา

4) ไม่อาจตอบสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง เพราะความหลากหลายของความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่น

2 หลักการแบ่งอํานาจปกครอง (Deconcentration) หมายถึง หลักการที่การบริหารราชการ ส่วนกลางได้จัดแบ่งอํานาจวินิจฉัยและสั่งการบางส่วนไปให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาค โดยให้มีอํานาจในการใช้ ดุลยพินิจ ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ตลอดจนริเริ่มได้ ในกรอบแห่งนโยบายของรัฐบาลที่ได้วางไว้

ลักษณะสําคัญของหลักการแบ่งอํานาจปกครอง

1) เป็นการบริหารโดยใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไปจากส่วนกลางไปประจําตามเขตการปกครองในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง ได้แก่ ภาค มณฑล จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน เป็นต้น และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็อยู่ในระบบการบริหารงานบุคคลของรัฐบาลกลางอันเดียวกัน

2) เป็นการบริหารโดยใช้งบประมาณซึ่งส่วนกลางเป็นผู้อนุมัติและควบคุมให้

เป็นไปตามวิธีการงบประมาณแผ่นดิน

3) เป็นการบริหารภายใต้นโยบายและวัตถุประสงค์ของรัฐบาลกลาง

จุดแข็งของหลักการแบ่งอํานาจปกครอง

1) หลักการนี้เป็นก้าวแรกที่จะนําพาไปสู่การกระจายอํานาจการปกครอง

2) ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้นในการมาติดต่อในเรื่องที่ราชการส่วนภูมิภาคมีอํานาจวินิจฉัยสั่งการ เพราะไม่ต้องรอให้ส่วนกลางมาวินิจฉัยสั่งการ

3) เป็นจุดเชื่อมระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ทําให้การติดต่อประสานงานระหว่างทั้ง 2 ส่วนดีขึ้น

4) มีประโยชน์ต่อประเทศที่ประชาชนยังไม่รู้จักการปกครองตนเอง

จุดอ่อนของหลักการแบ่งอํานาจปกครอง

1) เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะการที่ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปบริหารงานในท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่เชื่อในความสามารถของท้องถิ่น

2) เกิดความล่าช้าในการบริหารงาน เพราะต้องผ่านระเบียบแบบแผนถึง 2 ระดับ คือ ระดับส่วนกลาง และระดับส่วนภูมิภาค

3) ทําให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่โต เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ

4) ทําให้ทรัพยากรที่มีคุณค่าบางอย่างในท้องถิ่นไม่เกิดประโยชน์ เช่น บุคลากร เจ้าหน้าที่ เพราะถูกส่งมาจากที่อื่น

5) บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่อาจจะเนื่องมาจากไม่ใช่คนในพื้นที่จึงไม่เข้าใจพื้นที่ และอาจเกิดความขัดแย้ง กับคนในพื้นที่

3 หลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง หลักการที่รัฐมอบ อํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง ให้ไปจัดทํา บริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร เป็นการมอบอํานาจให้ทั้งในด้านการเมืองและการบริหาร เป็นเรื่อง ที่ท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่ที่จะกําหนดนโยบายและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายท้องถิ่นของตนเองได้

ลักษณะสําคัญของหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผลแห่งกฎหมาย ให้มีส่วนเป็นนิติบุคคล หน่วยการปกครองท้องถิ่นเหล่านี้มีหน้าที่ งบประมาณ และทรัพย์สินเป็นของตนเองต่างหาก และ ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยการปกครองส่วนกลาง ส่วนกลางเพียงแต่กํากับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปกฎหมายเท่านั้น

2) มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง

3) มีอํานาจอิสระในการบริหารงาน จัดทํากิจกรรมและวินิจฉัยสั่งการได้เองพอสมควรด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตน

4) มีอํานาจในการจัดเก็บรายได้ เช่น ภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่รัฐอนุญาตเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินกิจการต่าง ๆ

จุดแข็งของหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1) ทําให้มีการสนองตอบความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้ดีขึ้น เพราะผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งในท้องถิ่นจะรู้ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นได้ดีกว่า

2) เป็นการแบ่งเบาภาระของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง

3) เป็นการส่งเสริมและพัฒนาการเมืองในระดับท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตยเพราะการกระจายอํานาจทําให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักรับผิดชอบในการปกครองท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น

จุดอ่อนของหลักการกระจายอํานาจปกครอง

1) อาจก่อให้เกิดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อเอกภาพทางการปกครองและความมั่นคงของประเทศ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นอาจมุ่งแต่ประโยชน์ของท้องถิ่นตน ไม่ให้ความสําคัญกับส่วนรวม

2) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งอาจใช้อํานาจบังคับกดขี่คู่แข่งหรือประชาชนที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายตนเอง

3) ทําให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ และบุคลากรประจําอยู่ทุกหน่วยการปกครองท้องถิ่น ไม่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเหมือน การบริหารราชการส่วนกลาง

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายและลักษณะของผู้นําท้องถิ่น พรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 100, 104 – 106), (คําบรรยาย)

ความหมายและลักษณะของผู้นําท้องถิ่น พรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ ผู้นําท้องถิ่น

ผู้นําท้องถิ่น หมายถึง บุคคลที่มีคนในท้องถิ่นนับถือไว้วางใจ หรือมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและการตัดสินใจของคนในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้นําท้องถิ่นที่เป็นทางการ คือ ผู้นําที่รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ จากส่วนกลาง แต่งตั้งไปประจํายังส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจําตําบล กรรมการหมู่บ้าน ครู พัฒนากร เป็นต้น

2 ผู้นําท้องถิ่นที่ไม่เป็นทางการ คือ ผู้นําที่มีบารมี มีอิทธิพล หรือมีความรู้ความชํานาญ เป็นพิเศษเกี่ยวกับอาชีพหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้นําท้องถิ่นที่เป็นทางการในการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านและตําบลของตน เช่น ผู้นํากลุ่มอาชีพ ผู้นํากลุ่มสตรี ผู้นํา กลุ่มสันทนาการ ผู้นํากลุ่มเยาวชน ผู้นําทางศาสนา เป็นต้น

พรรคการเมือง

พรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน รวมถึงมีอุดมการณ์ และแนวปฏิบัติที่ตกลงกันแน่นอน โดยพรรคการเมืองต้องมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 อุดมการณ์หรือหลักการ คือ คณะบุคคลที่รวมกันเป็นพรรคการเมืองจะต้องมีอุดมการณ์ หรือหลักการปกครองร่วมกันเพื่อเป็นแรงจูงใจในการจัดตั้งพรรคการเมือง

2 การจัดตั้งเป็นองค์กร คือ มีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานมีพนักงานประจํา มีระเบียบข้อบังคับ ในการดําเนินงาน มีการแบ่งงานกันทํา และมีผู้รับผิดชอบงานชัดเจน

3 ความเชื่อมโยงกับประชาชน คือ พรรคการเมืองต้องทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ประชาชนกับรัฐบาล เช่น สะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน การดําเนินการต่าง ๆ หรือผลักดัน ให้รัฐบาลนําความคิดเห็นนั้นไปปฏิบัติ

วิสุทธิ์ โพธิแท่น กล่าวว่า พรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มคนที่มีแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน รวมกันจัดตั้งเป็นรากฐานที่มีการจัดองค์กรที่แน่นอนชัดเจน มีการกําหนดทางเลือกเกี่ยวกับนโยบาย ที่สําคัญในการปกครองและบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ มีการคัดเลือกคนเข้าดํารงตําแหน่งทางการเมือง พยายาม เข้าไปมีส่วนร่วมในอํานาจรัฐจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ โดยพรรคการเมืองมีองค์ประกอบที่จําเป็น เช่น คน สถานที่ และอุปกรณ์ โครงสร้างของพรรคการเมืองและระเบียบข้อบังคับ

กลุ่มผลประโยชน์

กลุ่มผลประโยชน์ หมายถึง การรวมกลุ่มของผู้ที่มีผลประโยชน์อย่างเดียวกัน เพื่อให้สามารถ ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มตนหรือเพื่อผลประโยชน์ ของส่วนรวมก็ตาม โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 กลุ่มทางเศรษฐกิจ คือ กลุ่มผลประโยชน์ด้านอาชีพไม่ว่าจะเป็นทางธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคเอกชนหรือภาครัฐ โดยจะมีบทบาททางการเมืองสูง และมีอํานาจในการต่อรองกับรัฐบาลมาก เช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มหอการค้าจังหวัด เป็นต้น

2 กลุ่มทางเกษตรกรรม คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มชาวนาชาวไร่ผู้เป็นเจ้าของผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจํานวนมาก และมีบทบาทในการต่อรองกับรัฐบาล เช่น สหพันธ์ ชาวนาชาวไร่ กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น

3 กลุ่มทางสังคม คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่ปฏิบัติงานทางด้านสังคมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ ของกลุ่มและเพื่อสวัสดิการทางสังคม โดยเฉพาะการตั้งกลุ่มเพื่อสร้างความสามัคคีของคนในท้องถิ่น เช่น สมาคม ภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

4 กลุ่มโลกทัศน์ คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม มิใช่ของกลุ่ม เป็นการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องต่อมหาชนให้คล้อยตามความคิดเห็นของกลุ่ม เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาล กระทําตาม เช่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มสื่อสารมวลชน เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมาย วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของการปกครองส่วนท้องถิ่นมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 43 – 47)

ความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่น ความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองท้องถิ่นนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายหรือ คํานิยามไว้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคํานิยามเหล่านั้นต่างมีหลักการที่สําคัญคล้ายคลึงกัน จะมีต่างกันบ้างก็คือ สํานวนและรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

เดเนียล วิท (Daniel Wit) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลาง ให้อํานาจ หรือกระจายอํานาจ (Decentralization) ไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนใน ท้องถิ่นได้มีอํานาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่าถ้าอํานาจ การปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้นการบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจําเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอํานาจ ของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง มีอํานาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายใน ท้องถิ่นในเขตอํานาจของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การปกครองท้องถิ่นเป็นผลจากการกระจายอํานาจทางการ ปกครองของรัฐบาลไปให้กับองค์การในระดับท้องถิ่น ซึ่งองค์การนั้นต้องไม่เป็นองค์การภายใต้การบังคับบัญชาของ รัฐบาลกลาง และต้องมีอํานาจอิสระในการกําหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการดําเนินการใด ๆ ภายใต้ท้องถิ่น ของตนเท่านั้น

วิลเลี่ยม วี. ฮอลโลเวย์ (William V. Holloway) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ มีอํานาจการปกครองตนเอง มีการบริหาร การคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

แฮรีส จี. มอนตาก (Harris G. Mongtagu) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครอง ซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระ เพื่อเลือกผู้ทําหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอํานาจอิสระ พร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้ได้โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางหรือ ภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอํานาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้กลายเป็น รัฐอิสระใหม่แต่อย่างใด

วิลเลี่ยม เอ. ร็อบสัน (William A. Robson) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วย การปกครองซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้อํานาจปกครองตนเอง (Autonomy) มีสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) และต้องมีองค์กรที่จําเป็นในการปกครอง (Necessary Organization) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สมความมุ่งหมายของ การปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ

ประทาน คงฤทธิศึกษาการ กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง ระบบการปกครองที่เป็น ผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอํานาจทางการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทําหน้าที่ปกครอง ท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งองค์การนี้จัดตั้งและถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่ก็มีอํานาจในการกําหนดนโยบาย และควบคุมให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของตน

อุทัย หิรัญโต กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลมอบอํานาจให้ ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดําเนินกิจการบางอย่าง โดยดําเนินการกันเองเพื่อบําบัด ความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทําให้เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการปกครองส่วนท้องถิ่น

1 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ทั้งทางด้านการเงิน ตัวบุคคล ตลอดจนเวลาที่ใช้ในการดําเนินการ

2 เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

3 เพื่อให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน องค์ประกอบของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อุทัย หิรัญโต (2523 : 22) อธิบายว่า องค์ประกอบของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มี 8 ประการ คือ

1 สถานะตามกฎหมาย (Legal Status) หมายความว่า หากประเทศใดกําหนดเรื่อง การปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ การปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศนั้นจะมีความเข้มแข็ง กว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งโดยกฎหมายอื่น

2 พื้นที่และระดับ (Area and Level) โดยปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการกําหนดพื้นที่ และระดับของหน่วยการปกครองท้องถิ่นมีหลายประการ เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และ ความสํานึกในการปกครองตนเองของประชาชน

3 การกระจายอํานาจและหน้าที่ ซึ่งการที่จะกําหนดให้ท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่มากน้อย เพียงใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเมืองและการปกครองของรัฐบาลเป็นสําคัญ

4 องค์กรนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นโดยผลแห่งกฎหมายแยกจากรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติ มีขอบเขตการปกครองที่แน่นอน มีอํานาจในการกําหนดนโยบาย ออกกฎ ข้อบังคับควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม นโยบายนั้น ๆ

5 การเลือกตั้ง สมาชิกองค์การหรือคณะผู้บริหารจะต้องได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ในท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อแสดงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน โดยเลือกผู้บริหารท้องถิ่นของตนเอง

6 อิสระในการปกครองท้องถิ่น สามารถใช้ดุลยพินิจของตนเองในการปฏิบัติกิจการภายใน ขอบเขตของกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐบาลกลาง และไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานทางราชการ

7 งบประมาณเป็นของตนเอง มีอํานาจในการจัดเก็บรายได้ การจัดเก็บภาษีตามขอบเขต ที่กฎหมายให้อํานาจในการจัดเก็บ เพื่อให้ท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอที่จะทํานุบํารุงท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

8 การควบคุมดูแลของรัฐ เมื่อได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้วท้องถิ่นนั้นยังคงอยู่ในการกํากับดูแลจากรัฐ เพื่อประโยชน์และความมั่นคงของรัฐและประชาชนโดยส่วนรวม แต่มีอิสระในการดําเนินงานของหน่วย การปกครองท้องถิ่นนั้น

 

ข้อ 4 หลักธรรมาภิบาลคือหลักการในเรื่องอะไร สามารถนํามาแก้ไขปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นได้หรือไม่อย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 90, 93), (คําบรรยาย)

หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Governance) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ได้กําหนดหลักการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีหรือหลักการบริหารจัดการที่ดีหรือ หลักธรรมาภิบาลไว้ 6 ประการ ดังนี้

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็น การปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทํางานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่าง ตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชน ตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

4 หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาสําคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

หลักธรรมาภิบาลตามหลักการดังกล่าวสามารถนํามาแก้ไขปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นได้ดังนี้

1 ช่วยขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบ และการหลีกเลี่ยงกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ ใส่ตนของนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสํานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกันกับคนในท้องถิ่น

2 ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และวิธีการทํางานของนักการเมืองท้องถิ่นให้ถือเอา ประโยชน์ของประชาชนเป็นจุดมุ่งหมายในการทํางาน และสามารถร่วมทํางานกับประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างราบรื่น

3 ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความตื่นตัวและรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจน มีความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นการสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนได้เห็นความสําคัญของการเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและท้องถิ่น

4 ช่วยให้นักการเมืองท้องถิ่นยึดถือหลักคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่ สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นพัฒนาตัวเองไปพร้อมกัน

5 ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางการเมืองให้เกิดขึ้นอยู่เสมอในท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ จึงส่งผล ทําให้เกิดความคึกคัก และทําให้การเมืองท้องถิ่นมีชีวิตชีวา เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

6 ช่วยยกระดับความเป็นผู้นําและขีดความสามารถของผู้บริหารท้องถิ่นในการตอบสนอง ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

POL2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 4 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 แนวคิดเรื่องการกระจายอํานาจถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 เป็นผลให้เกิดกฎหมายกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ดังนั้นอยากทราบว่าสาระสําคัญดังกล่าวมีอะไรบ้าง

แนวคําตอบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540) ถือเป็นกฎหมายแม่บทสําหรับการกระจายอํานาจการปกครองจากส่วนกลางไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น และถึงแม้ปัจจุบัน จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 18) หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 281 – 290 แล้วก็ตาม แต่ยังคงสาระสําคัญของบทบัญญัติว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ซึ่งหลักการเดิม ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ดังนั้นแนวคิดเรื่องการกระจายอํานาจจึงถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 จนเป็นผลให้เกิดกฎหมายกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในที่สุด

สรุปว่า การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีผลมาจาก รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540

จากบทบัญญัติมาตราต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 สามารถสรุปสาระสําคัญของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย ดังนี้

1 ความเป็นอิสระของท้องถิ่น ได้แก่ ความเป็นอิสระในการกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของตน ความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และความเป็นอิสระด้านการเงินและการคลัง

2 โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องประกอบด้วยสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือการกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แยกออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ มีวาระ ในการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

3 อํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดให้บริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

4 รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดําเนินกิจการต่าง ๆ ของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญจึงมีการบัญญัติให้มีการจัดสรรสัดส่วนภาษี และอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง

5 การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดให้มีคณะกรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ ทําหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบการบริหารงานบุคคลในกรณีต่าง ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และมีสิทธิ์ในการ เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

7 การกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การปกครองประเทศเป็นไปอย่าง เป็นระบบและถูกต้อง ส่วนกลางยังคงมีอํานาจในการกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ต้องทําเท่าที่จําเป็น ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม โดยจะกระทบถึงสาระสําคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้

 

ข้อ 2 การปกครองท้องถิ่นมีบทบาทต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร และองค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยฝ่ายอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 44), (คําบรรยาย)

อุทัย หิรัญโต กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น (Local Government) หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลมอบอํานาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดําเนินกิจการบางอย่าง โดยดําเนินการกันเองเพื่อบําบัดความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชน เลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทําให้เกิดขึ้น

การปกครองท้องถิ่นกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง โดยการปกครองท้องถิ่นจะมีบทบาทต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งในระดับชุมชนและ ระดับประเทศ ดังนี้

1) เป็นสถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ซึ่งรูปแบบการ

ปกครองท้องถิ่นถือเป็นรูปแบบการจําลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ในระดับรากหญ้า

2) ก่อให้เกิดความรับผิดชอบของผู้นําต่อประชาชน

3) การเมืองท้องถิ่นเป็นเวทีสร้างนักการเมืองระดับชาติ

4) มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับชาติ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าการปกครองในระดับชาติ และช่วยให้ประชาชนเห็นความสําคัญในสิทธิหน้าที่ของตัวเองและเรียนรู้ประชาธิปไตยมากขึ้น

5) ทําให้ประชาชนมีความรู้ทางการเมือง

6) ทําให้เกิดการเข้าสู่วิถีทางการเมืองของประชาชน โดยช่วยเตรียมผู้นําทางการเมืองและคัดสรรผู้นําทางการเมืองที่มีความสามารถให้แก่ประเทศในอนาคต

7) การปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็งจะขจัดระบบเผด็จการโดยรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการต่อต้านการผูกขาดอํานาจ และผลประโยชน์โดยไม่ชอบ

รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1 รูปแบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล

2 รูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา องค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรูปแบบดังกล่าวจะประกอบด้วย 2 ฝ่าย ได้แก่

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาท้องถิ่น) โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

2 ฝ่ายบริหาร โดยคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้

 

ข้อ 3 ปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยมีอะไรบ้าง จงอธิบาย และเสนอแนวทางการปรับพื้นฐานพฤติกรรมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 87 – 105), (คําบรรยาย)การเมืองส่วนท้องถิ่นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะมีศูนย์กลางอํานาจการปกครองอยู่ที่ประชาชน โดยประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจเลือกตัวแทนไปบริหารท้องถิ่น ซึ่งตัวแทนประชาชนจะถูกเลือกขึ้นมา ผ่านกลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

ปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มีดังนี้

1 ปัญหาการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยการปกครองท้องถิ่น ได้แก่

1) มีค่าใช้จ่ายสูง (Cost) คือ เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นขึ้นมามาก ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นด้วย เช่น การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) หรือการยกฐานะของเทศบาลขึ้นมาก็ต้อง มีการเพิ่มคน เพิ่มอุปกรณ์ และเพิ่มค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนอาจต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมาใช้ ดังนั้นการจัดตั้ง หน่วยการปกครองท้องถิ่นให้มากขึ้นจึงต้องมองในแง่ของการประหยัดด้วย เพราะในบางตําบลมีเพียงหมู่บ้านเดียว และมีประชากรจํานวนไม่มากนัก

2) ความไร้ประสิทธิภาพ (Inefficiency) คือ ในการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่น ไม่สามารถหาคนที่มีความรู้เพียงพอมาทํางานได้ ดังนั้นความก้าวหน้าในการพัฒนาท้องถิ่นจึงไม่สามารถทําได้ดีเท่าที่ควร

3) ความเฉื่อยชา (Inertia) จากการใช้คนในพื้นที่เข้ามาบริหารอํานาจ เพราะบางครั้ง แทนที่จะทําให้ท้องถิ่นก้าวหน้า แต่กลับทําให้ท้องถิ่นเฉื่อยชาลง เนื่องจากยึดติดกับความคิดดั้งเดิม

4) ความไม่เสมอภาค (Inequality) ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันของหน่วยงาน เพราะท้องถิ่นบางแห่งรวยจนไม่เท่ากัน บางแห่งมีทรัพยากรมาก บางแห่งมีคนที่มีความคิดริเริ่มมาก แต่บางแห่งผู้นําไม่มีวิสัยทัศน์และความรู้เพียงพอ ซึ่งในระยะแรกของการจัดตั้ง อบต. ขึ้นจะมีการจัดสรรเงินให้กับ หน่วยงานนั้นเท่ากันทุก อบต. แต่ต่อมาได้พิจารณาเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของหน่วยงาน การจัดสรรรายได้จึง เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ถ้า อบต. ใดมีรายได้มากก็จัดสรรเงินให้น้อยลง แต่ถ้ามีฐานะไม่ดีนักหรือมีรายได้น้อยก็จะ จัดสรรเงินให้มากขึ้น จึงทําให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานเล็ก ๆ เพราะบางครั้งทั้ง อบต. มีคนอยู่เพียง 50 – 60 คน แต่ได้รับเงินมาเป็นล้าน แล้วก็จะนํามาแบ่งกันได้มาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอีก เพราะเมื่อมีการคิดที่จะยกเลิก อบต. ขึ้นมา หน่วยงานเล็ก ๆ ก็ต่อต้านเนื่องจากกลัวเสียประโยชน์จากเงินอุดหนุนของรัฐบาล

5) ความเห็นแก่ตัว (Selfishness) คือ ท้องถิ่นมักจะไม่ค่อยบังคับใช้กฎหมายที่ทําให้ ตนเองเสียประโยชน์ เช่น ไม่ยอมเก็บภาษีจากคนรวยและญาติพี่น้อง ให้ความสําคัญกับประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ประโยชน์สาธารณะ เพราะถือว่ามีอํานาจอยู่ในมือ ซึ่งในวงการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นการจัดเก็บภาษีมาบํารุงท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ถูกปล่อยปละละเลย เพราะมัวแต่คิดว่าหากมีการจัดเก็บภาษีขึ้นจะทําให้ฐานเสียงน้อยลงไป

6) ความอ่อนแอ (Weakness) ของประชาชนหรือชุมชน คือ การยอมสยบต่อผู้มี อิทธิพล ซึ่งถ้าหากกลไกของหน่วยงานต้องไปสยบต่อผู้มีอิทธิพลมาก ก็จะทําให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม

7) ความเป็นเจ้าของ (Possessiveness) ของผู้กุมอํานาจ คือ นักการเมืองประจํา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพื้นที่เดิมมักเป็นพวกอนุรักษนิยม มีการผูกขาดอํานาจ ไม่ยอมให้มีการคลายอํานาจ ไปสู่เบื้องล่าง

2 ปัญหาผู้นําท้องถิ่น เนื่องจากว่าผู้นําท้องถิ่นเป็นผู้ที่ทําให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนา แต่ ผู้นําท้องถิ่นกลับหวงอํานาจที่ชาวบ้านนับถือไว้วางใจ จึงทําให้ผู้นําท้องถิ่นมีอิทธิพลในการกดขี่ ข่มขู่ และชี้นํา ชาวบ้านให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ไปตามความต้องการของตน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น การออกมาเดินขบวนเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านไม่มีโอกาสที่จะเข้ามาเป็นผู้นําในการ เรียกร้องผลประโยชน์ตามความต้องการได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นถ้าอยากให้การเมืองส่วนท้องถิ่นมีการพัฒนาไปสู่ รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนาผู้นําท้องถิ่นก่อน

3 ปัญหาพรรคการเมือง เนื่องจากว่าพรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่ทําให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนา แต่พรรคการเมืองกลับเข้ามาครอบงําการเมืองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแหล่งผลประโยชน์และฐานอํานาจ ที่สําคัญ ซึ่งพรรคการเมืองพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือการเมืองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ได้ โดยอาศัยระบบราชการ กลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดตั้งตัวแทนของพรรคเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างฐานอํานาจของตนเองจากท้องถิ่นขึ้นไปก่อน ซึ่งจะเห็นได้จากนักการเมืองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด พรรคการเมืองมักจะได้รับการเลือกตั้งมากกว่านักการเมืองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง จึงทําให้พรรคการเมืองสามารถใช้การเมืองส่วนท้องถิ่นเป็นฐานอํานาจที่สําคัญยิ่งในการก้าวเข้าสู่อํานาจทางการเมือง และแสวงหาผลประโยชน์จากอํานาจทางการเมืองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไม่จํากัด การจัดสรรผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับ ท้องถิ่นจึงเป็นการทําเพื่อรักษาและสร้างฐานอํานาจของพรรคการเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น และนโยบายของแต่ละ พรรคการเมืองที่เข้ามาพัฒนาท้องถิ่นก็ไม่สอดคล้องกัน และบางครั้งก็ยกเลิกแนวนโยบายของพรรคการเมืองเดิม ทําให้เกิดเป็นปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขได้ยาก

4 ปัญหากลุ่มผลประโยชน์ เนื่องจากว่ากลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายในการจัดตั้งคือ ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มในการเข้าไปดูแลผลประโยชน์เมื่อมีการเรียกร้อง จึงทําให้กลุ่มผลประโยชน์พยายามเข้ามามีบทบาทในการชี้นําการเมืองส่วนท้องถิ่น โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการ กําหนดนโยบายของการเมืองส่วนท้องถิ่นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มของตนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอ ความคิดเห็น การเรียกร้องให้ดําเนินการ หรือการคัดค้านการดําเนินการบางอย่างในประเด็นสาธารณะ ซึ่งมี ผลประโยชน์ทับซ้อนในการเอื้อประโยชน์ต่อกันกับนักการเมืองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากลุ่มผลประโยชน์ มักจะก่อให้เกิดเป็นปัญหาของการเมืองส่วนท้องถิ่นในลักษณะของการครอบงําและชี้นํานักการเมืองส่วนท้องถิ่น อยู่เบื้องหลังในการกําหนดนโยบายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของตน แต่ไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการ ของชาวบ้านอย่างแท้จริง ทั้งนี้หากต้องการให้การเมืองส่วนท้องถิ่นเกิดการพัฒนาไปสู่รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนากลุ่มผลประโยชน์ก่อน

แนวทางการปรับพื้นฐานพฤติกรรมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น มีดังนี้

1 หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Governance)

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ได้กําหนดหลักการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีหรือหลักการบริหารจัดการที่ดีหรือ หลักธรรมาภิบาลไว้ 6 ประการ ดังนี้

1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของบุคคล

2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไป พร้อมกันเพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทํางานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชน ตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และ เสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสําคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความ รับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพ ในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทําของตน

6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการ ที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

2 หลักธรรมทางพุทธศาสนา หมายถึง หลักธรรมที่สอนให้คนมีความเสมอภาคและเสรีภาพ แต่ไม่ได้บังคับให้เชื่อ สอนให้คนใช้เหตุผล สอนให้สังคมเกิดความสามัคคีและรวมกลุ่ม และสอนให้คนประพฤติดี มีศีลธรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น

1) หลักสามัคคีธรรม หมายถึง ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะที่จะนําความสุขมาให้ โดยความสามัคคีจะเป็นตัวกําหนดความประพฤติของคนในสังคม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ได้แก่ เมตตา การเผื่อแผ่ การมีศีลเสมอกัน และการเห็นชอบเสมอกัน

2) หลักการพึ่งตนเอง เป็นพุทธวัจนะ เป็นธรรมกํากับจิตใจให้คนรู้จักพึ่งตนเองและ ทําอะไรด้วยตนเอง ซึ่งสะท้อนถึงเรื่องการพัฒนาชุมชนอันเป็นหลักการเมืองการปกครองที่ให้คนรู้จักพึ่งตนเองก่อน โดยหลักธรรมที่ใช้ในการปกครองตนเองมีอยู่ 3 ระดับ คือ การครองตน การครองคน และการครองสมบัติ

3) หลักสหกรณ์ หมายถึง การทําร่วมกันตามภาระหน้าที่ เป็นหลักธรรมกํากับจิตใจ หรือการรวมตัวกันโดยสมัครใจของคนหลาย ๆ คน เพื่อบํารุงตนและหมู่คณะให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน นั่นคือ การทําตามภาระหน้าที่หรือตามตําแหน่งของตน โดยไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น หลักสหกรณ์นี้สามารถนําไปปรับใช้ในการบริหารบ้านเมือง หรือในการทํากิจกรรมใด ๆ ก็ได้ เพราะว่าต่างคนต่างมี หน้าที่สอดคล้องกัน ซึ่งจะส่งผลทําให้ชุมชนมีความเจริญรุ่งเรืองได้ โดยหลักสหกรณ์ไม่ว่ารูปแบบใดจะมีหลักการ ที่สําคัญ 4 ประการ คือ

(1) การรวมคน แต่ไม่ถือหลักการรวมทุน

(2) เป็นสมาชิกโดยสมัครใจ

(3) มีความเสมอภาคกัน โดยใช้หลักประชาธิปไตยในการดําเนินงาน

(4) มีลักษณะองค์กรแบบเปิด เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคน

 

ข้อ 4 ให้อธิบายทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ก  ความหมายและความสําคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 43 – 44, 47)

ความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่น

ความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองท้องถิ่นนั้น ได้มีผู้ให้ความหมาย หรือคํานิยามไว้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคํานิยามเหล่านั้นต่างมีหลักการที่สําคัญคล้ายคลึงกัน จะมีต่างกันบ้าง ก็คือสํานวนและรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

เดเนียล วิท (Daniel Wit) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลาง ให้อํานาจ หรือกระจายอํานาจ (Decentralization) ไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน ในท้องถิ่นได้มีอํานาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอํานาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้นการบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจําเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจาก การกระจายอํานาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง มีอํานาจในการตัดสินใจ และบริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอํานาจของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การปกครองท้องถิ่นเป็นผลจากการ กระจายอํานาจทางการปกครองของรัฐบาลไปให้กับองค์การในระดับท้องถิ่น ซึ่งองค์การนั้นต้องไม่เป็นองค์การ ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลกลาง และต้องมีอํานาจอิสระในการกําหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการ ดําเนินการใด ๆ ภายใต้ท้องถิ่นของตนเท่านั้น

วิลเลี่ยม วี. ฮอลโลเวย์ (William V. Holloway) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ มีอํานาจการปกครองตนเอง มีการบริหาร การคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

แฮรีส จี. มอนตากู (Haris G. Mongtagu) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครอง ซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระ เพื่อเลือกผู้ทําหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอํานาจอิสระ พร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้ได้โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง หรือภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอํานาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้ กลายเป็นรัฐอิสระใหม่แต่อย่างใด

วิลเลี่ยม เอ. ร็อบสัน (William A. Robson) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วย การปกครองซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้อํานาจปกครองตนเอง (Autonomy) มีสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) และต้องมีองค์กรที่จําเป็นในการปกครอง (Necessary Organization) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สมความมุ่งหมายของ การปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ

ประทาน คงฤทธิศึกษาการ กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง ระบบการปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอํานาจทางการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทําหน้าที่ปกครอง ท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งองค์การนี้จัดตั้งและถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่ก็มีอํานาจในการกําหนดนโยบาย และควบคุมให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของตน

อุทัย หิรัญโต กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลมอบอํานาจให้ ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดําเนินกิจการบางอย่าง โดยดําเนินการกันเองเพื่อบําบัด ความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทําให้เกิดขึ้น

ความสําคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

1 การปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นสถาบันฝึกสอนการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชน ทําให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้สิทธิและหน้าที่พลเมือง อันจะนํามาสู่ความศรัทธาเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย

2 การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล

3 การปกครองส่วนท้องถิ่นจะทําให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเอง เพราะเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งจะทําให้ประชาชนเกิดสํานึกใน ความสําคัญของตนเองต่อท้องถิ่น ประชาชนจะมีส่วนรับรู้ถึงอุปสรรค ปัญหา และช่วยกันแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นของตน

4 การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

5 การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นแหล่งสร้างผู้นําทางการเมือง การบริหารของประเทศในอนาคต

6 การปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาชนบทแบบพึ่งตนเอง

 

ข ความหมายและรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55287 หน้า 19, 22), (คําบรรยาย)

การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) นั้นมีหลายความหมาย ซึ่งสามารถ พิจารณาได้ดังนี้

การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลมีจุดประสงค์เพื่อที่จะมีอิทธิพลใน กระบวนการตัดสินใจทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องของทัศนคติ แต่เป็นเรื่องของความสมัครใจ และไม่มีการบังคับ ซึ่งรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สําคัญในท้องถิ่น ได้แก่ การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการช่วย ผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้ง

การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง ประชาชนไม่ใช่นักการเมือง นั่นคือ ประชาชนควรเข้าไป มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกนักการเมืองว่าจะเอาใครมาเป็นตัวแทน

การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง การให้การสนับสนุนและเรียกร้องต่อผู้นํารัฐบาล การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมทางการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง การใช้สิทธิเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปใช้อํานาจแทนตนเอง การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมที่มีความตื่นตัวทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดที่เป็นการเมือง

การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง แนวคิดที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของประชาชนที่จะเข้าไปร่วม กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม โดยต้องเกิดจากความเต็มใจและความตั้งใจ ที่จะเข้าร่วม และต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพ ความเสมอภาค และขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปรากฏการณ์ของกิจกรรมทางการเมืองหลายอย่างรวมกันอยู่ จึงมีลักษณะหรือรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้

Verba เห็นว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 4 รูปแบบ คือ

1 การใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมของบุคคลแต่ละคนที่จะเลือกตัวแทนของตนเข้าไปใช้อํานาจในการปกครอง

2 กิจกรรมการรณรงค์หาเสียง เป็นกิจกรรมในลักษณะเดียวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งแต่เป็นรูปของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง

3 กิจกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กรที่ประชาชนร่วมกันดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง

4 การติดต่อเป็นการเฉพาะ โดยรูปแบบกิจกรรมที่มีการติดต่อปัญหาใดเฉพาะตัวหรือของครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายของรัฐบาลน้อยมาก

Huntington & Nelson เห็นว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่

1 กิจกรรมการเลือกตั้ง

2 การล็อบบี้

3 การติดต่อ

4 การใช้กําลังรุนแรง

Almond & Powell เห็นว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 Conventional Forms ได้แก่

1) การออกเสียงเลือกตั้ง

2) การพูดจาปรึกษาเรื่องการเมือง

3) กิจกรรมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

4) การจัดตั้งการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

5) การติดต่อส่วนตัว

2 Unconventional Forms ได้แก่

1) การยื่นข้อเสนอ

2) การเดินขบวน

3) การประจันหน้า

4) การละเมิดกฎของสังคม

5) การใช้ความรุนแรง

6) สงครามกองโจรและการปฏิวัติ

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วม ทางการเมืองจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียกร้องแข่งขันทางการเมืองเป็นสําคัญ โดยรูปแบบ ของการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมชุมนุม เข้าร่วมการออกเสียงเลือกตั้ง เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เข้าร่วมลงสมัครเลือกตั้งเป็นนักการเมือง เข้าร่วมถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทาง การเมือง เข้าร่วมเสนอกฎหมายและเสนอนโยบาย ฯลฯ ทั้งนี้ประชาชนผู้ใดจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ในลักษณะใดก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสนใจและโอกาสของประชาชนผู้นั้นด้วย

POL2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 4 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้วางหลักเกณฑ์ใหม่สําหรับใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีสาระสําคัญเป็นการกระจายอํานาจเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง ดังนั้นอยากทราบว่า สาระในหมวดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นกล่าวไว้อย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540) ได้วางหลักเกณฑ์ใหม่สําหรับใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีสาระสําคัญเป็นการกระจายอํานาจเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง ดังนั้นจึงถือเป็นกฎหมายแม่บทสําหรับการกระจายอํานาจการปกครองจากส่วนกลางไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของประชาชน

สรุปว่า การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีผลมาจาก รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540

จากบทบัญญัติมาตราต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 สามารถสรุปสาระสําคัญของ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยได้ ดังนี้

1 ความเป็นอิสระของท้องถิ่น ได้แก่ ความเป็นอิสระในการกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของตน ความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และความเป็นอิสระด้านการเงินและการคลัง

2 โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้อง ประกอบด้วยสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือการกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แยกออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ มีวาระ ในการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

3 อํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดให้บริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

4 รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ดําเนินกิจการต่าง ๆ ของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญจึงมีการบัญญัติให้มีการจัดสรรสัดส่วนภาษีและ อากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง

5 การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดให้มีคณะกรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ ทําหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบการบริหารงานบุคคลในกรณีต่าง ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และมีสิทธิในการ เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

7 การกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การปกครองประเทศเป็นไปอย่าง เป็นระบบและถูกต้อง ส่วนกลางยังคงมีอํานาจในการกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ต้องทําเท่าที่จําเป็น ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม โดยจะกระทบถึงสาระสําคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้

 

ข้อ 2 จากที่ได้ศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยากทราบว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นไปในลักษณะใด ให้นักศึกษาอธิบายตามความเข้าใจ

แนวคําตอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นไปใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ในเชิงการจัดภารกิจระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความสัมพันธ์ในเชิงการควบคุม

กํากับดูแล

1 ความสัมพันธ์ในเชิงการจัดภารกิจระหว่างภารกิจของรัฐบาลกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ ภารกิจของรัฐบาล จําแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ภารกิจทางปกครอง ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ การอํานวยความยุติธรรม ฯลฯ ซึ่งภารกิจประเภทนี้เป็นภารกิจโดยแท้ ของรัฐบาลที่รัฐบาลจะเป็นผู้ดําเนินการเอง

2) ภารกิจทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การให้บริการสาธารณะทางอุตสาหกรรม และ พาณิชยกรรม เช่น การขนส่ง การเดินรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลข การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ ซึ่งภารกิจประเภทนี้ รัฐบาลอาจเป็นผู้ดําเนินการเองโดยผ่านส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือมอบให้เอกชนเป็นผู้ดําเนินการแทน ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐบาลก็ได้

3) ภารกิจทางสังคม ได้แก่ การให้บริการสาธารณะทางสังคม เช่น การให้บริการ การศึกษา การรักษาพยาบาล การสาธารณสุข การกีฬา การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งภารกิจประเภทนี้ รัฐบาลอาจเป็นผู้ดําเนินการเองโดยผ่านส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือมอบให้เอกชนเป็นผู้ดําเนินการแทน ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐบาลก็ได้

ภารกิจของท้องถิ่น จะเกิดขึ้นจากลักษณะของสภาพชุมชนเอง โดยภารกิจดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปสอดส่องดูแลได้โดยทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งโดยลักษณะของภารกิจ ก็เป็นเรื่องของความต้องการเฉพาะแต่ละชุมชน เช่น การรักษาความสะอาด การกําจัดขยะมูลฝอย การให้มี น้ําสะอาด ตลาด โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน ฯลฯ

2 ความสัมพันธ์ในเชิงการควบคุมกํากับดูแล

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ที่การควบคุมกํากับ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สําคัญประการหนึ่งของการกระจายอํานาจ การกระจายอํานาจโดยปราศจากการควบคุมกํากับ ย่อมทําให้รัฐเดียวไม่สามารถดํารงตนอยู่ได้

การควบคุมกํากับนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1) การควบคุมกํากับโดยตรง แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ

(1) การควบคุมกํากับตัวบุคคลหรือองค์กร เป็นการควบคุมสถานภาพทาง กฎหมายของคณะบุคคลหรือบุคคลคนเดียวที่อยู่ในรูปของคณะบุคคล (เช่น คณะเทศมนตรี สภาเทศบาล นายกเทศมนตรี) อย่างเช่นกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางที่จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ ตําแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจเสนอความเห็น ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกจากตําแหน่งได้

(2) การควบคุมกํากับการกระทํา โดยการกระทําที่สําคัญขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกํากับของรัฐบาล ได้แก่ การให้ความเห็นชอบต่องบประมาณขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น การสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง

2) การควบคุมกํากับโดยอ้อม แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ

(1) การให้เงินอุดหนุน นับเป็นมาตรการในการควบคุมกํากับโดยทางอ้อม ประการหนึ่ง โดยทุกปีรัฐจะจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(2) การใช้สัญญามาตรฐาน ในการจัดทําสัญญาต่าง ๆ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกําหนดว่าจะต้องทําตามแบบที่อยู่ในส่วนที่แนบท้ายระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงสัญญาจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากอัยการจังหวัด

 

ข้อ 3 ปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ผู้นําท้องถิ่น พรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์เป็นปัญหาของการเมืองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ อย่างไร

แนวคําตอบ (หน้า 97 – 106), (คําบรรยาย)

การเมืองส่วนท้องถิ่นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะมีศูนย์กลางอํานาจการปกครองอยู่ที่ ประชาชน โดยประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจเลือกตัวแทนไปบริหารท้องถิ่น ซึ่งตัวแทนประชาชนจะถูกเลือกขึ้นมา ผ่านกลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

ปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มีดังนี้

1 ปัญหาการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยการปกครองท้องถิ่น ได้แก่

1) มีค่าใช้จ่ายสูง (Cost) คือ เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นขึ้นมามาก ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นด้วย เช่น การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) หรือการยกฐานะของเทศบาลขึ้นมาก็ต้อง มีการเพิ่มคน เพิ่มอุปกรณ์ และเพิ่มค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนอาจต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมาใช้ ดังนั้นการจัดตั้ง หน่วยการปกครองท้องถิ่นให้มากขึ้นจึงต้องมองในแง่ของการประหยัดด้วย เพราะในบางตําบลมีเพียงหมู่บ้านเดียว และมีประชากรจํานวนไม่มากนัก

2) ความไร้ประสิทธิภาพ (Inefficiency) คือ ในการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่น ไม่สามารถหาคนที่มีความรู้เพียงพอมาทํางานได้ ดังนั้นความก้าวหน้าในการพัฒนาท้องถิ่นจึงไม่สามารถทําได้ดี เท่าที่ควร

3) ความเฉื่อยชา (Inertia) จากการใช้คนในพื้นที่เข้ามาบริหารอํานาจ เพราะบางครั้ง แทนที่จะทําให้ท้องถิ่นก้าวหน้า แต่กลับทําให้ท้องถิ่นเฉื่อยชาลง เนื่องจากยึดติดกับความคิดดั้งเดิม

4) ความไม่เสมอภาค (Inequality) ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันของหน่วยงาน เพราะท้องถิ่นบางแห่งรวยจนไม่เท่ากัน บางแห่งมีทรัพยากรมาก บางแห่งมีคนที่มีความคิดริเริ่มมาก แต่บางแห่งผู้นําไม่มีวิสัยทัศน์และความรู้เพียงพอ ซึ่งในระยะแรกของการจัดตั้ง อบต. ขึ้นจะมีการจัดสรรเงินให้กับหน่วยงานนั้นเท่ากันทุก อบต. แต่ต่อมาได้พิจารณาเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของหน่วยงาน การจัดสรรรายได้จึง เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ถ้า อบต. ใดมีรายได้มากก็จัดสรรเงินให้น้อยลง แต่ถ้ามีฐานะไม่ดีนักหรือมีรายได้น้อยก็จะจัดสรรเงินให้มากขึ้น จึงทําให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานเล็ก ๆ เพราะบางครั้งทั้ง อบต. มีคนอยู่เพียง 50 – 60 คน แต่ได้รับเงินมาเป็นล้าน แล้วก็จะนํามาแบ่งกันได้มาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอีก เพราะเมื่อมีการคิดที่จะยกเลิก อบต. ขึ้นมา หน่วยงานเล็ก ๆ ก็ต่อต้านเนื่องจากกลัวเสียประโยชน์จากเงินอุดหนุนของรัฐบาล

5) ความเห็นแก่ตัว (Selfishness) คือ ท้องถิ่นมักจะไม่ค่อยบังคับใช้กฎหมายที่ทําให้ ตนเองเสียประโยชน์ เช่น ไม่ยอมเก็บภาษีจากคนรวยและญาติพี่น้อง ให้ความสําคัญกับประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ประโยชน์สาธารณะ เพราะถือว่ามีอํานาจอยู่ในมือ ซึ่งในวงการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นการจัดเก็บภาษีมาบํารุงท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ถูกปล่อยปละละเลย เพราะมัวแต่คิดว่าหากมีการจัดเก็บภาษีขึ้นจะทําให้ฐานเสียงน้อยลงไป

6) ความอ่อนแอ (Weakness) ของประชาชนหรือชุมชน คือ การยอมสยบต่อผู้มี อิทธิพล ซึ่งถ้าหากกลไกของหน่วยงานต้องไปสยบต่อผู้มีอิทธิพลมาก ก็จะทําให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม

7) ความเป็นเจ้าของ (Possessiveness) ของผู้กุมอํานาจ คือ นักการเมืองประจํา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพื้นที่เดิมมักเป็นพวกอนุรักษนิยม มีการผูกขาดอํานาจ ไม่ยอมให้มีการคลายอํานาจ ไปสู่เบื้องล่าง

2 ปัญหาผู้นําท้องถิ่น เนื่องจากว่าผู้นําท้องถิ่นเป็นผู้ที่ทําให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนา แต่ผู้นําท้องถิ่นกลับหวงอํานาจที่ชาวบ้านนับถือไว้วางใจ จึงทําให้ผู้นําท้องถิ่นมีอิทธิพลในการกดขี่ ข่มขู่ และชี้นํา ชาวบ้านให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ไปตามความต้องการของตน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น การออกมาเดินขบวนเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านไม่มีโอกาสที่จะเข้ามาเป็นผู้นําในการ เรียกร้องผลประโยชน์ตามความต้องการได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นถ้าอยากให้การเมืองส่วนท้องถิ่นมีการพัฒนาไปสู่ รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนาผู้นําท้องถิ่นก่อน

3 ปัญหาพรรคการเมือง เนื่องจากว่าพรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่ทําให้ท้องถิ่นเกิดการ พัฒนา แต่พรรคการเมืองกลับเข้ามาครอบงําการเมืองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแหล่งผลประโยชน์และฐานอํานาจ ที่สําคัญ ซึ่งพรรคการเมืองพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือการเมืองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ได้ โดยอาศัยระบบราชการ กลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดตั้งตัวแทนของพรรคเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างฐานอํานาจของตนเองจากท้องถิ่นขึ้นไปกอน ซึ่งจะเห็นได้จากนักการเมืองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด พรรคการเมืองมักจะได้รับการเลือกตั้งมากกว่านักการเมืองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง จึงทําให้ พรรคการเมืองสามารถใช้การเมืองส่วนท้องถิ่นเป็นฐานอํานาจที่สําคัญยิ่งในการก้าวเข้าสู่อํานาจทางการเมือง และแสวงหาผลประโยชน์จากอํานาจทางการเมืองส่วนท้องถิ่นได้อย่างไม่จํากัด การจัดสรรผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับ ท้องถิ่นจึงเป็นการทําเพื่อรักษาและสร้างฐานอํานาจของพรรคการเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น และนโยบายของแต่ละ พรรคการเมืองที่เข้ามาพัฒนาท้องถิ่นก็ไม่สอดคล้องกัน และบางครั้งก็ยกเลิกแนวนโยบายของพรรคการเมืองเดิม ทําให้เกิดเป็นปัญหาการเมืองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขได้ยาก

4 ปัญหากลุ่มผลประโยชน์ เนื่องจากว่ากลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายในการจัดตั้งคือ ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มในการเข้าไปดูแลผลประโยชน์เมื่อมีการเรียกร้อง จึงทําให้กลุ่มผลประโยชน์พยายามเข้ามามีบทบาทในการขึ้นําการเมืองส่วนท้องถิ่น โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการ กําหนดนโยบายของการเมืองส่วนท้องถิ่นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มของตนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอ ความคิดเห็น การเรียกร้องให้ดําเนินการ หรือการคัดค้านการดําเนินการบางอย่างในประเด็นสาธารณะ ซึ่งมี ผลประโยชน์ทับซ้อนในการเอื้อประโยชน์ต่อกันกับนักการเมืองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากลุ่มผลประโยชน์ มักจะก่อให้เกิดเป็นปัญหาของการเมืองส่วนท้องถิ่นในลักษณะของการครอบงําและชี้นํานักการเมืองส่วนท้องถิ่น อยู่เบื้องหลังในการกําหนดนโยบายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของตน แต่ไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการ ของชาวบ้านอย่างแท้จริง ทั้งนี้หากต้องการให้การเมืองส่วนท้องถิ่นเกิดการพัฒนาไปสู่รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนากลุ่มผลประโยชน์ก่อน

 

ข้อ 4 จงอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตตามประกาศของ คสช. มาพอสังเขป

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภา กรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราวตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สามารถอธิบายได้ดังนี้

รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

ตามที่มีประกาศ คสช. ที่ 85/2557 เรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นการชั่วคราว ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ครบวาระหรือพ้นจาก ตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยในระหว่างนี้ ให้ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้

สมาชิกสภาท้องถิ่น

ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลง ให้ใช้วิธีตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือก บุคคลที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและ สาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง หรือ โครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร เข้ามาทําหน้าที่สมาชิกสภาท้องถิ่นไปพลางก่อน โดยอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ ระดับชํานาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ให้คํานึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย โดยคณะกรรมการสรรหาต้อง ดําเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นมิได้

เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิก สภาท้องถิ่นภายใน 3 วัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ต้องดํารงตําแหน่งจนกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับ เลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วย สมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดําเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตําแหน่งที่ว่าง

ผู้บริหารท้องถิ่น

ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลง ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกําหนดไว้แล้วนั้น

รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต

ตามที่มีประกาศ คสช. ที่ 86/2557 เรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและ สมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตที่ ครบวาระหรือพ้นจากตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครจนกว่าจะมีประกาศ เปลี่ยนแปลง โดยในระหว่างนี้ให้ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้

ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครครบวาระหรือว่างลง ให้ใช้วิธีตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อ คัดเลือกบุคคลจํานวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญา ท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร เข้ามาทําหน้าที่ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครไปพลางก่อน โดยอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด ต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต เละความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย โดยคณะกรรมการสรรหาต้องดําเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีเหตุให้มี การเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการนี้คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมิได้

เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายใน 3 วัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ต้องดํารงตําแหน่งจนกว่าจะจัดให้ มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดําเนินการคัดเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนตําแหน่งที่ว่าง

 

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

1 จงอธิบายความหมายดังต่อไปนี้

1.1 คุณสมบัติของพระจักรพรรดิ / ผู้ปกครองประเทศ

แนวคําตอบ

พระจักรพรรดิหรือผู้ปกครองประเทศในลัทธิชินโตนั้น จะต้องมีคุณสมบัติและคุณธรรมที่สําคัญ คือ มีศีลธรรม ปัญญา ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความนอบน้อม ความอ่อนโยน และการบําเพ็ญประโยชน์

1.2 ทัศนะของลัทธิเต๋า ในเรื่องของรัฐบาล 3 แบบ

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของลัทธิเต๋ (เหลาจื้อ) นั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครองเพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครอง

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรักซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

1.3 แนวคิดของขงจื้อ ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีแนวคิดที่สําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

6 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

1.4 การปกครองแบบพ่อป

แนวคําตอบ

การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองแบบครอบครัว โดยมีลักษณะสําคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์นั้นเปรียบเสมือนพ่อ ส่วนราษฎรในปกครองเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัว ตัวอย่างเช่น ในอาณาจักรสุโขทัยและล้านนา เป็นต้น

1.5 นิกายสุหนี่มีความแตกต่างจากนิกายชีอะฮ์ อย่างไร ?

แนวคําตอบ

นิกายสุหนี่ เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคร่งครัดเป็นอย่างมากในคําสอนตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คัมภีร์มิสคาต (จารีต) ที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยถือว่าผู้ที่สืบทอดตําแหน่งประมุขทางศาสนาและการปกครอง แทนพระนบีมุฮัมหมัด ซึ่งเรียกว่า คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ

กายสุหนี่ เห็นว่าศาสนาอิสลามมีฐานะ 2 อย่าง คือ เป็นศาสนาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้ และเป็นการเมืองกับกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์และเจตนารมณ์ในเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยส่วนรวม ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกา

นิกายชีอะฮ์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอาบูบัคร์ โอมาร์ และโอธมาน โดยเห็นว่าผู้ที่สมควรได้รับตําแหน่งประมุขต่อจากพระนบีมุฮัมหมัด คือ อาลี เพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระนบีมุฮัมหมัด หลังจากไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะครั้งสุดท้าย อาลีจึงเป็นอิหม่ามคนแรก ซึ่งอิหม่ามก็คือผู้นําในการสวดของชาวมุสลิม มีบทบาทเป็นผู้นําทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้แทนของพระอัลลอฮ์ จึงปลอดจากบาป

นิกายชีอะฮ์ เห็นว่าภาวะผู้นําทางการเมืองของชุมชนมุสลิมเป็นหน้าที่พื้นฐานทางศาสนา ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากความชอบธรรมทางศาสนา ซึ่งมาจากพระอัลลอฮ์และสื่อผ่านทางศาสดาพยากรณ์ อํานาจทางการเมืองมาจากภาวะผู้นําทางจิตวิญญาณ คอลีฟะฮ์เป็นเพียงผู้ปกครอง แต่อิหม่ามจะเป็นผู้นํา

ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศอิหร่าน อิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย และอินเดีย นิกายชีอะฮ์นี้ได้แตกแยกออกไปอีกหลายนิกายที่สําคัญคือ นิกายเจ้าเซนหรือมะหงุ่น

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศแถบตะวันออก จะเห็นได้จากแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเช่น มหาตมะ คานธี

แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี

1 การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คานธี เห็นว่า ศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และการเมืองต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องมีศีลธรรม

2 การมีอุดมการณ์ คานธี เน้นว่าการกระทําของมนุษย์ควรมีอุดมการณ์ เพราะเป็นเป้าหมายในการดําเนินชีวิต คนที่ไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ ซึ่งเรือที่ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเข็มทิศ ย่อมเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย เหมือนกับการทํางานที่ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ก็ย่อมปราศจากประโยชน์

3 ศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม คานธี เห็นว่า การพัฒนาสังคมและประเทศชาติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนมีการพัฒนาตนเองก่อน และการที่จะพัฒนาตนเองได้ก็ต้องมีศาสนา

4 การใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ คานธี เห็นว่า นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือผู้ที่ใช้วิธีการของอหิงสาเข้ามาปกป้องอิสรภาพของตนเอง ของประเทศชาติ และของมนุษยชาติทั้งมวล ซึ่งการรักษาสัจจะและยึดหลักอหิงสานั้นจะต้องมีความกล้าด้วย คือ ถ้าผู้ปกครองกระทําผิด ผู้ใต้ปกครองจะต้องกล้าแสดงความเห็นและให้คําแนะนําแก่ผู้ปกครองนั้น พร้อมกับเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย

5 การเสียสละ คานธี เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีนอกจากจะต้องมีอหิงสธรรมแล้วต้องมีความเสียสละ และต้องเป็นความเสียสละอย่างมีความสุขด้วย ความเสียสละที่แท้จริงจะต้องให้ความปีติแก่ผู้เสียสละ เพราะการเสียสละเป็นการกระทําที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวผู้เสียสละโดยหวังที่จะให้ผู้อื่นเห็นใจในการเสียสละของตน เป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด

6 ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สืบเนื่องมาจากระบบวรรณะและการถูกกดขี่ทางเพศในสังคมอินเดีย โดยคานธีได้เสนอแนวคิดที่ส่งเสริมความเสมอภาคขึ้นมา และกล่าวถึงการดูถูกเหยียดหยามในหมู่มนุษย์ว่า การกระทําสองประการของมนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์นั้นต้องให้ทั้งคนดีและคนชั่ว

7 วิธีการทํางานและการตัดสินใจ คานธี ชี้ให้เห็นในเรื่องของการทํางานว่า ถ้ามัวแต่คิดถึงความมากมายใหญ่โตของการงาน เราจะเกิดความสับสนและทําอะไรไม่ได้เลย ตรงข้าม หากเราจับงานขึ้นมาทําทันที เราจะพบว่าแม้ใหญ่เท่าภูเขางานก็จะค่อยลดน้อยลง ทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะสําเร็จลงได้ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจนั้น ถ้าหากว่ามีความจําเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจด้วยความรอบคอบเป็นที่สุดแล้วปฏิบัติตนไปตามนั้นโดยไม่มีการท้อถอย

8 การมีระเบียบวินัย คานธี เน้นว่าในการกระทําใด ๆ ก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะต้องยึดก็คือระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยจะทําให้เราควบคุมตนเองได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักปกครองรับใช้ประชาชนจึงจําเป็นต้องมีระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตนเองและผู้ใต้ปกครอง

สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการเมือง การปกครองของไทย โดยปรากฏออกมาในรูปพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชา แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนา แต่ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เชื่อในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีพราหมณ์ปุโรหิตประจําราชสํานัก อีกทั้งยังเชื่อว่ากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นอวตารของพระนารายณ์ โดยจะเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย บางพระองค์มีคําว่า “ราม” หรือ “นารายณ์” เช่น พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระรามาธิบดี พระราเมศวร พระนารายณ์มหาราช และพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์แม้จะมีพระนามเฉพาะแล้วก็ยังเรียกกันว่า พระรามที่ 1 จนถึงพระรามที่ 9 นอกจากนี้ ตราแผ่นดินของไทยก็ยังใช้ตรา “ครุฑ” ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

 

ข พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

พุทธศาสนา ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คําสอนทางพุทธศาสนาก็ได้เผยแผ่ ไปยังประเทศต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อแนวคิด วิถีชีวิต และระบบสังคมในประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบตะวันออกหลายประเทศ เช่น อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา จีน เกาหลี เป็นต้น

พุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 นิกายที่สําคัญ คือ

1 นิกายหินยานหรือเถรวาทเป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายใต้ ได้แก่ อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา เป็นต้น

2 นิกายมหายานหรืออาจริยวาท เป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายเหนือ ได้แก่ การจัดการอาหาร จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

กรณีประเทศอินเดีย

พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองอย่างเห็นได้ชัดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงยึดธรรมาธิปไตยเป็นหลักในการปกครองประเทศ และทรงส่งเสริมการเมืองแบบพุทธ คืออยู่เหนือ ลัทธิที่เต็มไปด้วยความโลภ (ลัทธิทุนนิยม) ความเกลียดชัง (ลัทธิคอมมิวนิสต์) และความหลง (ลัทธิเผด็จการ) โดยทรงมีพระราชกรณียกิจซึ่งมีลักษณะเด่นดังต่อไปนี้

1 เน้นการปกครองแบบบิดากับบุตร โดยมีข้าราชการเป็นพี่เลี้ยงประชาชน

2 เน้นการถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหน้าที่สําคัญที่สุด

3 เน้นความยุติธรรมและความฉับไวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

4 เน้นการจัดให้มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งสอนธรรม คอยดูแลแนะนําประชาชนเกี่ยวกับความประพฤติและการดํารงชีวิตอย่างทั่วถึง ตลอดจนวางระบบข้าราชการควบคุมเป็นชั้น ๆ

5 มีการตั้งธรรมมหาอํามาตย์เพื่อตรวจสอบความประพฤติของข้าราชการ และชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม เป็นต้น

กรณีประเทศศรีลังกา

พุทธศาสนาได้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลเมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระสหายพระเจ้าอโศก มหาราช ทรงรับเป็นพุทธมามกะ โดยนิกายที่เข้าไปตอนนั้นเป็นนิกายเถรวาท ซึ่งรับถ่ายทอดมาจากอินเดีย โดยการนํามาเผยแผ่ของพระมหินทเถระและพระนางสังฆมิตตาเถรี ซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาจึงเข้าไปมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการตัดสินใจของกษัตริย์ลังกาตั้งแต่นั้นมา โดยในสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ได้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วย เช่น พม่า ไทย ลาว เป็นต้น

กรณีประเทศไทย

พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงยึดแนวทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมิกราช” หรือ “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึงพระราชาผู้มีความชาญฉลาดในการปกครองทางธรรม อันได้แก่ พระเจ้าเม็งรายมหาราช พระเจ้ากือนา พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วง พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระเจ้ามหาธรรมราชาลิไท พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ รัชกาลที่ 4, 5 และ 9 เป็นต้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน

กรณีประเทศจีน

พุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปมีบทบาทต่อการเมืองการปกครองของประเทศจีนอย่างชัดเจนมากที่สุด ในรัชสมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “อโศกของจีน” เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เสวยมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด และทรงออกกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ทั่วประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนกลางสมัยราชวงศ์ถัง พระนางบูเช็กเทียนขึ้นครองราชย์ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามากที่สุด ควบคู่กับการปกครอง ประเทศอย่างดีที่สุด

กรณีประเทศทิเบต

พุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนมากจนทําให้ประเทศทิเบตนั้นได้รับการกล่าวขานว่า เป็นเมืองพระ (พุทธนคร) ทั้งนี้เพราะมีพลเมืองหรือประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นพระ เรียกว่า “ลามะ” ซึ่งรวมถึงรัฐบาลที่เป็นพระ และมีประมุขของประเทศที่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสังฆราชในองค์เดียวกัน เรียกว่า “องค์ดาไลลามะ” หรือที่ชาวทิเบตเรียกว่า “กยันโปรินโปเช” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แบ่งภาคลงมา เมื่อองค์ดาไลลามะสิ้นพระชนม์ รัฐบาลก็จะมีหน้าที่แสวงหาเด็กศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากดวงพระวิญญาณ ขององค์ดาไลลามะองค์เก่าที่สิ้นพระชนม์มาสถาปนาขึ้นเป็นองค์ดาไลลามะแทน

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 รัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่วๆไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม จะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

1.2 ลัทธิไต้ท้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนดีมีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

1.3 การปกครองแบบยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

การปกครองแบบยิ้นเจ่ง (ธรรมานุภาพ) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณาในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเทานั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

1.4 สมบัติพระจักรพรรดิ 3 อย่างในลัทธิชินโต

แนวคําตอบ

ความเป็นพระจักรพรรดิในลัทธิชินโตนั้นจะต้องมีสมบัติ 3 อย่าง คือ

1 กระจก หมายถึง ศีลธรรมและความบริสุทธิ์

2 ดาบ หมายถึง ความฉลาดและความเที่ยงธรรม

3 รัตนมณี หมายถึง ความเชื่อฟังและความนอบน้อม

1.5 รัฐบาล 3 แบบตามลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) นั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง เพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีที่สุด

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรัก ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก จงอธิบายถึงอิทธิพลของแนวคิดและจริยธรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองตะวันออก มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

อิทธิพลของแนวคิดและจริยธรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองตะวันออก จะเห็นได้จากแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเช่น มหาตมะ คานธี

แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี

1 การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คานธี เห็นว่า ศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการเมืองต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องมีศีลธรรม

2 การมีอุดมการณ์ คานธี เน้นว่าการกระทําของมนุษย์ควรมีอุดมการณ์ เพราะเป็นเป้าหมายในการดําเนินชีวิต คนที่ไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ ซึ่งเรือ ที่ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเข็มทิศ ย่อมเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย เหมือนกับการทํางานที่ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ก็ยอมปราศจากประโยชน์

3 ศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม คานธี เห็นว่า การพัฒนาสังคมและประเทศชาติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนมีการพัฒนาตนเองก่อน และการที่จะพัฒนาตนเองได้ก็ต้องมีศาสนา

4 การใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ คานธี เห็นว่า นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือผู้ที่ใช้วิธีการของอหิงสาเข้ามาปกป้องอิสรภาพของตนเอง ของประเทศชาติ และของมนุษยชาติทั้งมวล ซึ่งการรักษาสัจจะและยึดหลักอหิงสานั้นจะต้องมีความกล้าด้วย คือ ถ้าผู้ปกครองกระทําผิด ผู้ใต้ปกครองจะต้องกล้าแสดงความเห็นและให้คําแนะนําแก่ผู้ปกครองนั้น พร้อมกับเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย

5 การเสียสละ คานธี เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีนอกจากจะต้องมือหิงสธรรมแล้วต้องมีความเสียสละ และต้องเป็นความเสียสละอย่างมีความสุขด้วย ความเสียสละที่แท้จริงจะต้องให้ความปีติแก่ผู้เสียสละ เพราะการเสียสละเป็นการกระทําที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ผู้เสียสละโดยหวังที่จะให้ผู้อื่นเห็นใจในการเสียสละของตน เป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด

6 ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สืบเนื่องมาจากระบบวรรณะและการถูกกดขี่ทางเพศในสังคมอินเดีย โดยคานธีได้เสนอแนวคิดที่ส่งเสริมความเสมอภาคขึ้นมา และกล่าวถึงการดูถูกเหยียดหยามในหมู่มนุษย์ว่า การกระทําสองประการของมนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์นั้นต้องให้ทั้งคนดีและคนชั่ว

7 วิธีการทํางานและการตัดสินใจ คานธี ชี้ให้เห็นในเรื่องของการทํางานว่า ถ้ามัวแต่คิดถึงความมากมายใหญ่โตของการงาน เราจะเกิดความสับสนและทําอะไรไม่ได้เลย ตรงข้ามหากเราจับงานขึ้นมาทําทันที เราจะพบว่าแม้ใหญ่เท่าภูเขางานก็จะค่อยลดน้อยลง ทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะสําเร็จลงได้ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจนั้น ถ้าหากว่ามี ความจําเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจด้วยความรอบคอบเป็นที่สุด แล้วปฏิบัติตนไปตามนั้นโดยไม่มีการท้อถอย

8 การมีระเบียบวินัย คานธี เน้นว่าในการกระทําใด ๆ ก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะต้องยึดก็คือระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยจะทําให้เราควบคุมตนเองได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักปกครอง รับใช้ประชาชนจึงจําเป็นต้องมีระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตนเองและผู้ใต้ปกครอง

สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการเมือง การปกครองของไทย โดยปรากฏออกมาในรูปพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชา แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนา แต่ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เชื่อในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีพราหมณ์ปุโรหิตประจําราชสํานัก อีกทั้ง ยังเชื่อว่ากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นอวตารของพระนารายณ์ โดยจะเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย บางพระองค์มีคําว่า “ราม” หรือ “นารายณ์” เช่น พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระรามาธิบดี พระราเมศวร

พระนารายณ์มหาราช และพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์แม้จะมีพระนามเฉพาะแล้วก็ยังเรียกกันว่า พระรามที่ 1 จนถึงพระรามที่ 9 นอกจากนี้ ตราแผ่นดินของไทยก็ยังใช้ตรา “ครุฑ” ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

ข จงอธิบายถึงแนวคิดเรื่องการเกิดรัฐในศาสนาพุทธ มาพอเข้าใจ

แนวคําตอบ

แนวคิดเรื่องการเกิด “รัฐ” ในศาสนาพุทธนั้น จะเห็นได้จากคําสอนในอัคคัญญสูตรซึ่ง ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมย่อมตามมา มีการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข ทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่ง ที่บรรยายไว้ว่า เมื่อมีการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลีในเขต ของคนอื่น เมื่อถูกจับได้ก็ถูกลงโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตักเตือน ตบด้วยมือ ขว้างด้วยก้อนหิน ตีด้วยไม้ เป็นต้น แต่พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีกแต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งคนทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเขาจะแบ่งส่วนข้าวสาลี ให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกคนเป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือการทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติเตียน และขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งทําให้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ “มหาสมมุติ” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง), “กษัตริย์” (ผู้เป็นใหญ่แห่งนา) และ “ราชา” (ผู้ทําตามความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น)

ดังนั้นมหาสมมุติหรือกษัตริย์หรือราชาจึงเป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือก และแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใด ๆ แต่เป็นผู้ที่มีจริยธรรมหรือคุณธรรม มากกว่าผู้อื่นและเป็นผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนชั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การเกิดปัญหาสังคมนั้นเป็นที่มาของการปกครองระบบกษัตริย์นั่นเอง

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างลัทธิและนิกายดังต่อไปนี้

1.1 นิกายสุหนี่กับนิกายชีอะฮ์

แนวคําตอบ

นิกายสุหนี่ เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคร่งครัดเป็นอย่างมากในคําสอนตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คัมภีร์มิสคาต จารีต) ที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยถือว่าผู้ที่สืบทอดตําแหน่งประมุขทางศาสนาและการปกครอง แทนพระนบีมุฮัมหมัด ซึ่งเรียกว่า คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ

นิกายสุหนี่ เห็นว่าศาสนาอิสลามมีฐานะ 2 อย่าง คือ เป็นศาสนาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้ และเป็นการเมืองกับกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์และเจตนารมณ์ในเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยส่วนรวม ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกา

นิกายชิอะฮ์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอาบูบัคร์ โอมาร์ และโอธมาน โดยเห็นว่าผู้ที่สมควรได้รับตําแหน่งประมุขต่อจากพระนบีมุฮัมหมัด คือ อาลี เพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระนบีมุฮัมหมัด หลังจากไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะครั้งสุดท้าย อาลีจึงเป็นอิหม่ามคนแรก ซึ่งอิหม่ามก็คือผู้นําในการสวดของชาวมุสลิม มีบทบาทเป็นผู้นําทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้แทนของพระอัลลอฮ์ จึงปลอดจากบาป

นิกายชีอะฮ์ เห็นว่าภาวะผู้นําทางการเมืองของชุมชนมุสลิมเป็นหน้าที่พื้นฐานทางศาสนา ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากความชอบธรรมทางศาสนา ซึ่งมาจากพระอัลลอฮ์และสื่อผ่านทางศาสดาพยากรณ์ อํานาจทางการเมืองมาจากภาวะผู้นําทางจิตวิญญาณ คอลีฟะฮ์เป็นเพียงผู้ปกครอง แต่อิหม่ามจะเป็นผู้นํา

ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศอิหร่าน อิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย และอินเดีย นิกายชีอะฮ์นี้ได้แตกแยกออกไปอีกหลายนิกายที่สําคัญคือ นิกายเจ้าเซนหรือมะหงุ่น

1.2 ลัทธิเซียวคังกับพ่อปกครองลูก

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

1.3 ลัทธิป้าเจ่งกับลัทธิยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยิ้นเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณา ในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

1.4 ลัทธิบัคจื้อกับลัทธิชินโต

แนวคําตอบ

ลัทธิบัคจื้อ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์อยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้าและผีสางเทวดา พระเจ้าเป็นผู้ให้รางวัลแก่ผู้ทําดีและลงโทษผู้ทําชั่ว ผู้ทําดีเป็นผู้ที่ทําตามเจตนารมณ์ของพระเจ้า คือแผ่ความรักให้แก่คนอื่นและกระทําการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ผู้ทําชั่วเป็นผู้ที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระเจ้า คือไม่รักคนอื่นและทําลายหักล้างประโยชน์ของกันและกัน การทําตามเจตนารมณ์ของพระเจ้าดังกล่าวเรียกว่า “เทียนจี่”

ลัทธิบัคจื้อ เห็นว่าคนเรามิอาจมีความสุขอยู่ได้คนเดียวในขณะที่สังคมพังพินาศ เพราะคนเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม บัคจื้อเรียกหลักการนี้ว่า “หลักแผ่ความรักร่วมกันและมีผลประโยชน์สัมพันธ์กัน” (เกียมเชียงไอ่เกาเชียงหลี) หลักการดังกล่าวนี้จะส่งเสริมให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดความขัดแย้งทางสังคม และก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทํางานต่าง ๆ มากขึ้น

ลัทธิชินโต สอนให้เชื่อฟังคําสอนของเทพเจ้าทั้งหลาย และทําหน้าที่ของตนให้บริบูรณ์ด้วย ความซื่อสัตย์ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของวิญญาณบรรพบุรุษ ผู้นับถือศาสนาชินโตจึงต้องประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา บูชาเทพเจ้า และวิญญาณบรรพบุรุษ ส่วนเรื่องจริยธรรมที่สอนไว้ ได้แก่ ให้พูดความจริง ให้เว้นจากความตะกละตะกลามและความละโมบโลภมาก ไม่ให้ทําร้ายผู้อื่น ให้กล้าหาญ ให้เว้นจากความโกรธเคือง ให้เว้นจากกิริยาท่าทางที่แสดงความโกรธเคือง อย่าเป็นคนริษยา เป็นต้น

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิของตน ซึ่งเรียกว่า “มิกาโด” หรือ “เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจากพระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิเป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

1.5 กลุ่มที่ 3 กับลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

แนวความคิดเกี่ยวกับจริยธรรมการเมืองในลัทธิปรัชญาจีน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 เป็นพวกที่พยายามฟื้นฟูลัทธิธรรมเนียมการปกครองแบบเก่าให้รุ่งโรจน์ เรียกว่า พวกอนุรักษนิยม ได้แก่ ขงจื้อ เม่งจื้อ

กลุ่มที่ 2 เป็นพวกที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิธรรมเนียมการปกครองแบบเก่า ต้องการที่จะปรับปรุง ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ได้แก่ บัคจื้อ

กลุ่มที่ 3 เป็นพวกที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับสังคมมากเกินไป เพราะจะทําให้ยุ่งไม่รู้จักจบ เห็นว่าควรจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่ เหลาจื้อ

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเชื่อว่า กฎ ธรรมชาติเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงเต่ชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี่ยงกฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการ มีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยังน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี่” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชน มากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสรเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วย ความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กล และหลอกลวง

 

ข้อ 2 อธิบายแนวคิดต่อไปนี้มาโดยละเอียด

2.1 แนวคิดทัศนะศาสนาพราหมณ์ในความคิดของนักศึกษา ?

แนวคําตอบ

แนวคิดทัศนะศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่มีลักษณะแบบ “เทวนิยม” หรือ “พหุเทวนิยม” คือ เป็นศาสนาที่มีความเชื่อในเรื่องของการมีพระผู้เป็นเจ้า และภูตผีปีศาจ เทวดา เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุมากกว่า 4,000 ปี จึงเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา และไม่อาจสืบค้นหาหลักฐานได้ว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งศาสนา

พระเจ้าสูงสุดของชาวฮินดู มี 3 องค์ รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” คือ

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล

ตามคําสอนของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูนั้นมีความเชื่อที่สําคัญ คือเรื่องพระพรหม โดยการอธิบายเรื่องพระพรหมนั้นมี 2 แนว คือ

1 แนวเอกเทวนิยม (Monotheism) จะเชื่อในเรื่องเทพองค์เดียว คือ พระพรหม โดย อธิบายว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นอปรพรหมหรือพระอิศวรซึ่งสร้างและทําลายโลกได้ กล่าวคือ จะมองว่า พระพรหมนั้นมีรูปร่างมีตัวมีตนเหมือนมนุษย์ แต่จะสมบูรณ์แบบกว่ามนุษย์

2 แนวเอกนิยม (Monism) หรือแนวสัมบูรณนิยม (Absolutism) จะเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยอธิบายว่า พระพรหมเป็นสิ่งแท้จริงสูงสุดและเป็นหนึ่ง ถือว่าเป็นแนวที่มองว่า พระพรหมเป็นสภาวะ ๆ หนึ่ง ที่ไม่เหมือนมนุษย์ เรียกว่า ปรพรหม (The Absolute) ซึ่งมีลักษณะ 3 ประการ คือ

(1) สัต หมายถึง ความมีอยู่จริง

(2) จิต หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์

(3) อานันทะ หมายถึง ความสุขสูงสุด

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ได้แบ่งสังคมอินเดียออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็นหลักการ สูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษา แก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น โดยเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากปากของพระพรหม และมีสีขาว เป็นสีประจําวรรณะ

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์เกิดจากแขนของพระพรหม และมีสีแดงเป็นสีประจําวรรณะ

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย โดยเชื่อกันว่าแพศย์เกิดจากตะโพกของพระพรหม และมีสีเหลือง เป็นสีประจําวรรณะ

4 ศูทร (ชนชั้นารรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ โดยเชื่อกันว่าศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม และมีสีดําเป็นสีประจําวรรณะ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อสังคมอินเดีย ได้แก่

1 ทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใด วรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

2 การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นั้นถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

3 วรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของมนุษย์ ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน

4 การแบ่งวรรณะถือเป็นการจัดระเบียบของสังคมที่ยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีสถานะทาง สังคมสูง-ต่ำ ลดหลั่นกันตามลําดับ ทําให้มีการดูหมิ่นคนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่า

5 ระบบวรรณะนี้จะก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย สังคม และศักดิ์ศรีของมนุษย์

6 ประชาชนจะผูกพันกับครอบครัว วรรณะ กลุ่มอาชีพ และหมู่บ้านมากกว่ารัฐ

7 มีกลุ่มประชาชนที่มิได้อยู่ในระบบสังคม คือ พวก “จัณฑาล” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการ ดูถูกเหยียดหยามหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไม่สามารถจะสนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนในระบบได้ เป็นต้น

 

2.2 แนวคิดทัศนะศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย ?

แนวคําตอบ

แนวคิดทัศนะศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย

พุทธศาสนา เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนไทยในพุทธศตวรรษที่ 6 สมัยอาณาจักรอ้ายลาว โดยกษัตริย์ไทยองค์แรกที่นับถือพุทธศาสนาก็คือ ขุนหลวงเม้า ในดินแดนสุวรรณภูมินี้มีการสันนิษฐานกันว่า เริ่มมีการรับพุทธศาสนาเข้ามาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ซึ่งมีอาณาจักรอยู่ระหว่างพม่ากับขอม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตอนใต้ แผ่คลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงภาคใต้บริเวณเมืองนครศรีธรรมราช โดยเชื่อกันว่าเมืองหลวงของ ทวาราวดี คือ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน พุทธศาสนาในอาณาจักรทวาราวดีมีทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน แต่นิกายเถรวาทรุ่งเรืองกว่า

นับตั้งแต่การสร้างบ้านแปลงเมืองจนกระทั่งกลายมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อชนชาติไทยและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองของไทย พระมหากษัตริย์ไทยหลายองค์ ทรงยึดแนวคิดทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครองประเทศ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมมิกราช” หรือ “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึง พระราชาผู้มีความชาญฉลาดในการปกครองทางธรรม อันได้แก่ พระเจ้าเม็งรายมหาราช พระเจ้ากือนา พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชหรือพระเมืองแก้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วง พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระเจ้ามหาธรรมราชาลิไท พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) เป็นต้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน และจะเห็นได้ว่า พุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครองไทยมาโดยตลอด ศาสนจักร และอาณาจักรมีความเกี่ยวข้องกันมาก ท่ามกลางการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของการปกครองประเทศไทย

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงหลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองทั้งในตะวันออกและในโลกกว้าง

แนวคําตอบ

หลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองตะวันออก

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมากในประเทศอินเดีย โดยมีผู้นับถือศาสนา ฮินดูมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรอินเดียทั้งหมด ชาวฮินดูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่แถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศอินเดีย เพราะมีความเชื่อว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาฮินดูจะกระทําได้ในประเทศอินเดียเท่านั้น และการข้ามทะเลดําจะทําให้ไม่บริสุทธิ์ รวมทั้งไม่สามารถเป็นชาวฮินดูได้ต่อไป แต่การที่ชาวฮินดูย้ายถิ่นไปอยู่ในประเทศ อื่น ๆ ในระยะหลังนั้นเนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจมากที่สุด ปัจจุบันประเทศที่มีชาวฮินดูจํานวนมาก ได้แก่ อินเดีย เนปาล มาเลเซีย และกายานา

นิกายที่ใหญ่ที่สุดในศาสนาฮินดูมี 2 นิกาย คือ  1 นิกายไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะ 2 นิกาย ไวษณวะ ซึ่งนับถือพระวิษณุ โดยจะมีความเชื่อที่สําคัญคือ ความเชื่อในเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ เชื่อเรื่องธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ทางศาสนา และเชื่อเรื่องระบบวรรณะ ซึ่งระบบวรรณะนี้มีอิทธิพลทําให้เกิดความแตกต่างในด้าน เชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย

ประชากรอินเดียไม่เกินร้อยละ 10 จะอยู่ในสามวรรณะแรก คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพศย์ ซึ่งจะมีอํานาจในสังคม และประชากรสามวรรณะนี้ก็ได้ทํางานเป็นข้าราชการมากกว่าร้อยละ

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า โฌติ (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย

ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญ ได้แก่ มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) และ ยวาหร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)

ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี มีดังนี้

1 เน้นการศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า

2 เน้นการมีอุดมการณ์

3 เน้นศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม

4 เน้นการใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์

5 เน้นการเสียสละ

6 เน้นความเสมอภาคและความเป็นธรรม

7 เน้นวิธีการทํางานและการตัดสินใจ

8 เน้นการมีระเบียบวินัย

 

ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของ ยวาหร์ลาล เนห์รู มีดังนี้

เนห์รู เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่งและได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยอินเดีย โดยได้ให้เห็นว่าสาระสําคัญของศาสนาฮินดูก็คือ “จงมีชีวิตอยู่และจงให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ด้วย (to live and let live)”

เนห์รู มีแนวความคิดแตกต่างจากคานธีหลายอย่าง เช่น ไม่เห็นด้วยที่คานธีนําศาสนามาผสมผสานกับการเมือง เห็นว่าการทําสัตยาเคราะห์ใช้ได้ผลในบางสถานการณ์เท่านั้น และเชื่อว่าอินเดียต้องมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ในขณะที่คานธีเน้นการทําสัตยาเคราะห์และไม่ใช้ความรุนแรง เน้นการปั่นด้าย การทําหัตถกรรมในครัวเรือน และคัดค้านการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคานธีก็คิดว่าเนห์รูเป็นทายาททางการเมืองของเขา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงแนวคิดเรื่องรัฐและอํานาจในทัศนะของพุทธศาสนาว่า มีรากเหง้าเกิดจากอะไร มาให้ เข้าใจโดยชัดเจน

แนวคําตอบ

แนวคิดเรื่องรัฐและอํานาจในทัศนะของพุทธศาสนา

ในอัคคัญญสูตรชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมย่อมตามมา มีการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข ทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่งที่บรรยายไว้ว่า เมื่อมีการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลีในเขตของคนอื่น เมื่อถูกจับได้ก็ถูกลงโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ

พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีกแต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งคนทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเขาจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกคนเป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือการทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติเตียน และขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งทําให้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ

1 มหาสมมุติ แปลว่า ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง

2 กษัตริย์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนา

3 ราชา แปลว่า ผู้ทําความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น

ดังนั้นมหาสมมุติหรือกษัตริย์หรือราชา จึงเป็นคนที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือก และแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใดๆ แต่เป็นผู้ที่มีจริยธรรมหรือคุณธรรม มากกว่าผู้อื่นและเป็นผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนนั้น

ปัญหาของสังคมเป็นที่มาของการปกครองในระบบกษัตริย์ ซึ่งการปกครองดังกล่าวจะดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของพระราชาและบริวารด้วย ในจักกวัตติสูตรและมหาสุทัสสนสูตรได้กล่าวถึงบุญญาธิการ ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิที่มีบริวารดี คือ รัตนะ 7 ประการ ได้แก่

1 จักกรัตนะ คือ จักรแก้วที่มีลักษณะเหมือนลูกล้อรถ ประกอบด้วยกํา กง และดุม ซึ่งหมุนไปหยุด ณ ประเทศใด ผู้ปกครองประเทศนั้นจะเข้ามาสวามิภักดิ์ หมายความว่าพระราชาที่มีจักรแก้วเมื่อ ทรงไปที่ไหนก็จะพระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนประพฤติธรรม ดังนั้นจักรแก้วจึงหมายถึงธรรมจักร ซึ่งหมุนไปที่ใดย่อมทําให้คนทั้งหลายประพฤติธรรม

2 หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว ซึ่งเป็นช้างเผือกแสนรู้ สีขาวปลอด และเหาะได้ ชื่ออุโบสถ หมายความว่าผู้ปกครองควรมีช้างที่ดีเป็นพาหนะในการเดินทาง

3 อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้วสีขาวล้วน ศีรษะดําเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง และเหาะได้ ชื่อวลาหก หมายความว่าผู้ปกครองจําเป็นต้องมีม้าที่ดีเป็นพาหนะในการเดินทาง เพราะการเดินทาง สมัยก่อนทุรกันดาร และยังต้องใช้ในการออกรบด้วย

4 มณีรัตนะ คือ แก้วมณี ซึ่งเป็นแก้วไพฑูรย์เนื้องาม ทรงแปดเหลี่ยม เจียระไนเป็นอย่างดี และแวววาวสุกใสสว่างมาก หมายความว่าผู้ปกครองควรมีเครื่องประดับที่มีค่าและสวยงามเหมาะกับเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

5 อิตถีรัตนะ คือ นางแก้วผู้เป็นหญิงงาม ร่างไม่สูงไม่เตี้ย ไม่ผอมไม่อ้วน ไม่ดําไม่ขาว ผิวพรรณดี สัมผัสนุ่มนวล กลิ่นกายหอม บุคลิกน่าเลื่อมใส เปรียบได้กับผู้ปกครองประเทศที่ต้องมีภริยาที่ดีมีคุณธรรม จึงจะส่งเสริมให้ผู้ปกครองก้าวหน้าในการทํางานต่อไปได้

6 คหปติรัตนะ คือ คฤหบดีแก้วหรือขุนคลังแก้ว ซึ่งมีตาทิพย์สามารถทอดพระเนตรเห็น ขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของได้ จึงช่วยจัดการทรัพย์สินได้อย่างดีเลิศ ถ้าเปรียบกับสมัยปัจจุบันก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยมในทางเศรษฐกิจ จึงจะทําให้การบริหารการคลังดําเนินไปอย่างราบรื่น และสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้

7 ปริณายกรัตนะ คือ ปริณายกแก้วหรือขุนพลแก้ว ซึ่งเป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีความสามารถและเข้มแข็ง ทําหน้าที่ถวายคําแนะนํา ซึ่งขุนพลุในที่นี้หมายถึงนักรบด้วย หมายความว่าพระราชาควรมี นักรบที่ดีเป็นบริวารจึงจะทําให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและพัฒนาได้ โดยนักรบที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1) ฉลาด หมายถึง มีการศึกษาดีจนมีความรอบรู้ เทียบได้กับภิกษุผู้มีศีล

2) ยิงไกล หมายถึง ทรงปัญญาและมีวิสัยทัศน์ เทียบได้กับภิกษุผู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือขันธ์ 5

3) ยิ่งไว หมายถึง มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เทียบได้กับภิกษุผู้รู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง

4) ทําลายกายใหญ่ หมายถึง ไม่เห็นแก่ตัว และไม่ยึดตนเป็นใหญ่ เทียบได้กับภิกษุผู้ทําลายอวิชชาได้

รัตนะทั้ง 7 ประการนี้เปรียบเสมือนสมบัติและบริวารที่ดีพร้อมทุกอย่างของพระราชา ถ้าพระราชาองค์ใดมีสมบัติและบริวารที่ดีพร้อมดังกล่าวก็จะช่วยส่งเสริมให้การปกครองราชอาณาจักรดําเนินไปได้อย่างราบรื่น และมีโอกาสขยายพระราชอํานาจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม อํานาจสูงสุดตามแนวคิดทางพุทธศาสนา ก็คือ อํานาจทางธรรม ดังพุทธธรรมที่ว่า “โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในปฐพี การไปสู่สวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง”

การมีบริวารที่ดีนั้นมีความสําคัญอย่างยิ่ง โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า บุคคลในโลกมี 4 จําพวก คือ

1 คนอสูร มีอสูรเป็นบริวาร หมายถึง คนไม่ดีและมีคนไม่ดีเป็นบริวาร

2 คนอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร หมายถึง คนไม่ดีแต่มีคนดีเป็นบริวาร

3 คนเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร หมายถึง คนดีแต่มีคนไม่ดีเป็นบริวาร

4 คนเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร หมายถึง คนดีและมีคนดีเป็นบริวาร ซึ่งบุคคลประเภทนี้ ว่า ถือว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุด

แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองนั้น พุทธศาสนามีคําสอนที่สําคัญเรื่องอธิปไตยหรือความ เป็นใหญ่ 3 ประการ คือ

1 อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ และเชื่อว่าความเห็นของตนถูกต้องเหมาะสมที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการปกครองที่คน ๆ เดียวใช้อํานาจ อธิปไตยของปวงชนตามอําเภอใจเพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่หากเป็นการปกครองที่ผู้บริหารหรือคณะรัฐบาลใช้ อํานาจอธิปไตยที่ปวงชนมอบหมายมาตามอําเภอใจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนกับเพื่อพวกพ้องเป็นเกณฑ์ ก็จะเป็นการปกครองแบบ “คณาธิปไตย” ซึ่งเป็นรูปการปกครองที่แสดงให้เห็นว่ามีความคิดแบบเผด็จการ

2 โลกาธิปไตย หมายถึง การถือโลกเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความคิดเห็นของคนส่วนมากเป็นใหญ่ และเชื่อว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด ซึ่งถือเป็นคําสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน โดยการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือ ระบอบการปกครองที่ใช้ อํานาจอธิปไตยของปวงชนเพื่อปวงชนอย่างแท้จริง แต่หากมีจุดมุ่งหมายเพื่อผู้ปกครองและพวกพ้อง ก็จะถือว่า เป็นกบฏต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีจิตวิญญาณเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

3 ธัมมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ยึดถือสัจธรรม หลักความถูกต้อง และการมีเหตุผลเป็นใหญ่ โดยจะใช้หลักธรรมในการวิเคราะห์และตัดสินใจ

ในอธิปไตยทั้ง 3 ประการนี้ พุทธศาสนา เน้นว่าธัมมาธิปไตยเหมาะสมและดีที่สุดที่จะนํามาใช้ ในการปกครอง เพราะการยึดความเห็นส่วนตัวเป็นใหญ่ (อัตตาธิปไตย) และการยึดความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่ (โลกาธิปไตย) อาจเป็นไปในทางที่ผิดหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวกของตนโดยไม่ถูกต้องตาม ทํานองคลองธรรมก็ได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงจริยธรรมของผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองในทัศนะของศาสนาอิสลามมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

จริยธรรมของผู้ปกครองและนักการเมืองในทัศนะของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

1 ต้องทํางานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

2 ต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชนและบริการประชาชน

3 ต้องทํางานรับผิดชอบตามหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน

4 ต้องปกครองตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน

5 การพิจารณากฎหมายต้องปรึกษาประชาชน ฟังเสียงประชาชน หรือหารือกับประชาชนก่อน

6 ให้ปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรม ใช้หลักเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์

นอกจากนี้ ศาสนาอิสลามยังเห็นว่า การปกครองด้วยความยุติธรรมนั้นถือว่าเป็นจริยธรรม ที่สําคัญสําหรับผู้ปกครองอย่างหนึ่ง ดังคําสอนที่ว่า “บุคคลที่เป็นที่รักยิ่งของพระอัลลอฮ์ และเป็นผู้ที่ใกล้ชิด พระองค์ในวันคืนชีพ คือ ผู้นําที่มีความยุติธรรม” โดยการให้ความยุติธรรมนั้น ผู้ปกครองจะต้องให้ความยุติธรรม แม้กระทั่งแก่คนชั่ว ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ท่านนบีมุฮัมหมัด ได้กล่าวว่า คําวิงวอนของ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น เป็นที่ยอมรับแม้ว่าเขาจะเป็นคนชั่วก็ตาม”

จริยธรรมของผู้ใต้ปกครองและประชาชนในทัศนะของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

1 ยึดมั่นในพระอัลลอฮ์และปฏิบัติตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน

2 เชื่อฟังผู้ปกครองที่เลือกตั้งไป

3 เชื่อฟังผู้ปกครองในสิ่งที่ดีตามพระคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษ

4 ห้ามก่อการกบฏหรือต่อต้านผู้ปกครอง

5 ให้ยึดมั่นและรักษาความยุติธรรม

 

ข้อ 4 จงอธิบายศัพท์ดังต่อไปนี้มาให้เข้าใจ คาดหวังคําตอบข้อละ 3 – 5 บรรทัดขึ้นไป

4.1 ลัทธิไต้ท้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิไต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาล ที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

4.2 ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

4.3 บ้ออุ้ยยื่อตี่

แนวคําตอบ

บ้ออุ้ยยื่อตี่ เป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด ตามแนวคิดของเหลาจื้อ คือ การปกครองโดย ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสรเสรีเต็มที่ รัฐบาลอย่าไปก้าวก่ายเสรีภาพของประชาชน ประชาชนก็อย่าก้าวก่ายเสรีภาพซึ่งกันและกัน การปกครองประเทศจะต้องไม่มีการทําร้ายซึ่งกันและกัน

4.4 ลัทธิมิกาโด

แนวคําตอบ

ลัทธิมิกาโด (Mikadoism) ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิของตน ซึ่งเรียกว่า “มิกาโด” หรือ “เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจาก พระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิเป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่น ถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือ เป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและ การปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ ๆ ละ 50 คะแนน

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป (50 คะแนน)

1.1 รัฐอิสลามกับลัทธิบูชิโด

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

ลัทธิบูชิโด เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างแรงกล้าของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหลักจรรยาของชนชาติทหาร และเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ โดยจะมีหน้าที่สําคัญดังนี้

1 ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ

2 ทหารทุกคนต้องยอมตายแทนพระจักรพรรดิ

3 ทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

4 ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร

5 ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์

6 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

ในปี พ.ศ. 2447 – 2448 ปรากฏว่าทหารของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิสามารถทําสงครามชนะ ประเทศรัสเซียได้ ทําให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอํานาจ และเกิดความรู้สึกว่าญี่ปุ่นก็สามารถเป็นมหาอํานาจ ทางตะวันออกได้เช่นเดียวกับมหาอํานาจทางตะวันตก ทําให้ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอํานาจแห่งเอเชียบูรพา ซึ่งความรักชาติได้กลายเป็นความหลงชาติ และทําให้บูชิโดกลายเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

1.2 ลัทธิไต้ทั้งกับรัฐเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

รัฐเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้าง รัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือ เจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติ เฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

1.3 การปกครองแบบป้าเจ่งกับยินเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยินเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณา ในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อม ที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก ระบบวรรณะมีผลกระทบต่อการเมืองการปกครองในประเทศอินเดียอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

ผลกระทบของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองการปกครองของประเทศอินเดีย

ระบบวรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของคนอินเดีย ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งทําให้สามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน โดยศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูได้แบ่งสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้ การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ

การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

ระบบวรรณะดังกล่าวนั้นทําให้สังคมอินเดียเกิดความเกลียดชังระหว่างวรรณะ และยังส่งผล ให้มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใดวรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้

ระบบวรรณะในอินเดีย จึงเป็นสถาบันที่มีโครงสร้างและกลไกการทํางานเป็นระเบียบชัดเจน และ มีความละเอียดซับซ้อนเป็นอย่างมาก โดยมีลักษณะเป็นทั้งจารีตและเป็นเสมือนกฎหมาย เนื่องจากเป็นบรรทัดฐานที่ กําหนดให้คนในสังคมทําตามต่อกันมาอย่างเข้มงวดและรุนแรง ในแง่ที่ว่ามีการกําหนดบทลงโทษไว้ และมี สถาบันกลางที่ใช้อํานาจบังคับให้เป็นไปตามกฏที่กําหนดไว้ ดังนั้นระบบชนชั้นวรรณะจึงถูกฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม ของชาวอินเดียมาอย่างช้านาน ทั้งในด้านสังคมและการเมือง แม้จะมีกฎหมายออกมาห้ามการเลือกปฏิบัติก็ตาม แต่ ด้วยความเชื่อที่ฝังลึกในเรื่องวรรณะนี้จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แม้กฎหมายเปลี่ยนไป แต่อคติต่อคนต่าง วรรณะนั้นฝังรากลึก โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติต่อคนวรรณะศูทรและวรรณะจัณฑาล ก็ไม่สามารถทําให้หมดไปได้

ความเชื่อในเรื่องระบบวรรณะนี้ยังสร้างให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย โดยพบว่าประชากรอินเดียไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ใน 3 วรรณะแรก คือ วรรณะ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ จะมีอํานาจในสังคมและได้ทํางานราชการมากกว่าร้อยละ 50

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า “โณติ” (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย และส่งผลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญหลายคน เช่น มหาตมะ คานธี (Mahatma Grandhi) ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการใช้หลักอหิงสาและสัจจะในการปกครองหรือการต่อสู้ ทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เป็นต้น

ข ในศาสนาพุทธมีคําสอนหลายหมวดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ปกครอง ให้นักศึกษายกตัวอย่างคุณธรรมและจริยธรรมดังกล่าวมา 4 หมวด พร้อมทั้งอธิบายความหมาย ให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ปกครองในทัศนะของพุทธศาสนา ได้แก่

1 พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

2) กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3) มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา

4) อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรักและความชัง

2 สังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) ปิยวาจา หมายถึง การมีวาจาสุภาพไพเราะ ซาบซึ้ง จริงใจ

3) อัตถจริยา หมายถึง การบําเพ็ญประโยชน์หรือทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4) สมานัตตตา หมายถึง การทําตนเสมอต้นเสมอปลาย หรือการวางตนให้เหมาะสม

3 ราชสังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ครองแผ่นดินประกอบด้วย

1) สัสสาเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหาร และส่งเสริมการเกษตร

2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดี และมีความสามารถ

3) สัมมาปาสะ หมายถึง ความรู้จักผูกน้ำใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

4) วาชเปยะ (วาจาเปยะ) หมายถึง ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย วาจาไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ในทางสามัคคี ทําให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดความนิยมเชื่อถือ

4 อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและผู้ปกครองไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่

1) ฉันทาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่

2) โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะขังหรือความโกรธเกลียด

3) โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา

4) ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ ๆ ละ 50 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้ (50 คะแนน)

1.1 ลัทธิใต้ท้งกับรัฐอิสลาม

แนวคําตอบ

ลัทธิไต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาล ที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อมาร์ อุธมาน และอาลี

 

1.2 รัฐบาล 3 แบบกับการปกครองแบบลัทธิขงจื้อ

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของเหลาจื้อนั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครองเพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีที่สุด

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรัก ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

การปกครองแบบลัทธิขงจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวลโดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

2 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

3 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

4 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

 

1.3 การทําสงครามแบบบัคจื้อกับการทําสงครามแบบบูชิโด

แนวคําตอบ

การทําสงครามแบบบัคจื้อ

1 ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเกิดจากความเห็นแก่ตัว และขยายออกไปเป็นความเห็นแก่ครอบครัวของตนและเห็นแก่ประเทศชาติของตนตามลําดับ ซึ่งจะเป็นที่มาของสงคราม

2 บัคจื้อต่อต้านการแสวงหาอํานาจของรัฐต่าง ๆ โดยการทําสงคราม เพราะสงครามเปรียบเสมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก และสงครามก็เปรียบเสมือนงานศพ

3 การทําสงครามรุกรานบ้านเมืองอื่นก็เหมือนกับการปล้นบ้านคนอื่นนั่นเอง เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม ไม่ควรจะได้รับการสดุดีว่าเป็นวีรกรรม

4 บัคจื้อเรียกนักรุกรานเหล่านี้ว่า “นักโทษของมนุษยชาติ” และจะเรียกหลักการต่อต้านสงครามนี้ว่า “ฮุยกง”

5 เน้นหลักการแผ่ความรักร่วมกัน นั่นคือ ถ้ารักตัวเอง ต้องรักคนอื่นด้วย ถ้ารักครอบครัวของตัวเอง ต้องรักครอบครัวคนอื่นด้วย และถ้ารักประเทศชาติของตัวเอง ต้องรักประเทศชาติคนอื่นด้วย

การทําสงครามแบบบูชิโด

1 ส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นมีจิตใจกล้าหาญ จนกลายเป็นลัทธิชาตินิยมรุนแรง

2 เป็นหลักจรรยาของชนชาติทหารและเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ คือ ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ ต้องมีความกล้าหาญ ยอมตายแทนพระจักรพรรดิ และต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

3 เชื่อว่าชาวญี่ปุ่นมีความสูงส่งและศักดิ์ศรีเหนือกว่าชนชาติอื่น เพราะเป็นลูกหลานของเทพเจ้า มีความชอบที่จะปกครองชาติอื่น ๆ

4 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

5 ส่งเสริมให้สมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้ปกครองโลก เพราะเป็นผู้สืบสายมาจากโลกสวรรค์

6 มนุษยชาติทั้งหลายจะพ้นอันตรายได้ต่อเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากอาณาจักรญี่ปุ่น

7 การสงครามเป็นบิดาของการสร้างและเป็นมารดาของวัฒนธรรม สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับความคิดที่ว่าอํานาจเป็นธรรม

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก. การเมืองของประเทศอินเดียได้รับอิทธิพลมาจากระบบวรรณะในอินเดียอย่างไร

แนวคําตอบ

อิทธิพลของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองของประเทศอินเดีย

ระบบวรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของคนอินเดีย ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งทําให้สามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน โดยศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูได้แบ่งสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็นหลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความ มั่นคงของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ

การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

ในเรื่องของการเมืองการปกครองนั้น รัฐมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญ 3 ด้าน ได้แก่

1 ธรรม คือ รัฐมีหน้าที่ทําให้คนมีสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม อุปถัมภ์บํารุงศาสนา และจัด สวัสดิการต่าง ๆ แก่ประชาชน “ธรรม” ในฤคเวทหมายถึงกฎหมาย การลงโทษผู้กระทําผิดจะมีการแยกตาม วรรณะ ศูทรซึ่งเป็นวรรณะต่ำสุดจะถูกลงโทษสูงสุด ไม่มีการแยกความยุติธรรม ศาสนา และกฎหมายออกจากกัน

2 อรรถ คือ รัฐมีหน้าที่ทํานุบํารุงให้เกิดความเจริญทางวัตถุ เช่น การค้า เกษตรกรรม การผลิต การรักษาทรัพยากร เป็นต้น โดยรัฐจะทําหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน

3 กาม คือ รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความสุขด้านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจในศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ความรื่นเริงและความสุขทางกายอื่น ๆ

 

ข คําสอนในพระพุทธศาสนาคือ พรหมวิหาร 4 กับอคติ 4 มีความสัมพันธ์กับผู้บริหารอย่างไร

แนวคําตอบ

หลักพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1 เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กล่าวคือ ผู้บริหารควรใช้หลักเมตตากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีความปรารถนาดีที่จะให้บุคลากรอย่างจริงใจ มีการเสริมสร้างและป้องกันการกระทําผิด วินัยที่จะเกิดขึ้นในการทํางาน และปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

2 กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ กล่าวคือ ผู้บริหารต้องให้ ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และดําเนินการให้ความรู้ฝึกอบรมการสร้างขวัญและกําลังใจในอันที่จะเสริมสร้าง และพัฒนาเจตคติจิตสํานึกและพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา หมั่นสังเกตตรวจสอบดูแลเอาใจใส่และขจัดเหตุ ตามควรแก่กรณี ส่งเสริมความร่วมมือร่วมใจความสามัคคีกลมเกลียวและปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาโดย ความตั้งใจดี

3 มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา กล่าวคือ ผู้บริหารควรมีความชื่นชม ยินดีกับความสําเร็จของผู้อื่น ส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าโดยไม่อคติและไม่อิจฉาหรือเกรงว่าจะได้ดีกว่าตนเอง ผู้บริหารต้องมีความยินดีและส่งเสริมสนับสนุนให้รางวัลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาวินัย ในการทํางาน สร้างแนวทางการยอมรับบุคลากรตัวอย่างของหน่วยงานที่รักษาระเบียบวินัยที่ดี

4 อุเบกขา หมายถึง การวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรัก และความชัง กล่าวคือ ผู้บริหารควรพิจารณาบุคลากรด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และมีใจเป็นกลางในการรับฟัง ความคิดเห็นของบุคลากรทุกฝ่าย จะทําให้กระบวนการบริหารงานเป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดําเนินงานในหน่วยงานหรือองค์กร

หลักอคติ 4

อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและผู้ปกครอง ไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วย

1 ฉันทาคติ หมายถึง ความสําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่ กล่าวคือ แม้ความรักจะเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยปกติสุข แต่หากความรักทําให้จิตใจของเราไม่ตรง คิดเอนเอียง ความรักก็จะนํา ผลร้ายเข้ามาสู่ตัวเองได้ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องไม่อ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอส่วนตัวของตนเองไปสร้าง ประโยชน์ให้ญาติพี่น้อง พวกพ้องและคนสนิท เมื่อมีความอคติ ใจไม่เป็นกลางก็จะมีการปฏิบัติต่อทุกคนไม่เหมาะสม เช่น การตัดสินความผิดทั้งที่รู้ว่าพรรคพวกของตนเองผิด แต่มิได้กระทําการลงโทษตามระเบียบวินัยขององค์กร เป็นต้น

2 โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชังหรือความโกรธเกลียด กล่าวคือ ผู้บริหารที่มีความสําเอียงเพราะความโกรธ ไม่ชอบหรือเกลียดชังนั้นมักจะทําการกลั่นแกล้ง ทําร้ายคนที่ตัวเองเกลียดชังโดย ไม่แยกแยะเรื่องความถูกต้อง ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่พึงปฏิบัติ หากตัดสินใจเพียงเพราะความโกรธเกลียดแล้ว ย่อม มีผลกระทบถึงผู้ที่ทําการตัดสินใจได้ เช่น ผู้บริหารทําการกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ตนไม่ชอบเป็นการส่วนตัว เพียงเพราะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทําให้มีอคติต่อกัน เมื่อถึงคราวพิจารณาความดีความชอบ กลับมองข้ามไป ทั้งที่เป็นสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาคนนั้นควรจะได้ เป็นต้น ดังนั้นการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้บริหาร ควรระมัดระวังในเรื่อง การใช้อารมณ์ ต้องระงับอารมณ์โกรธและอารมณ์ไม่พอใจให้ได้

3 โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา กล่าวคือ หากผู้บริหาร มีความหลงผิด ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะความสะเพร่า ไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วน ว่าสิ่งใดควร สิ่งใดมิควร หลงไปตามคําพูดที่กล่าวอ้าง ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ทันทีที่ผู้บริหารได้รับข้อมูลในทาง ที่ไม่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชา ก็หลงเชื่อในสิ่งนั้น และเรียกมาลงโทษว่ากล่าวตักเตือน โดยมิได้มีการสอบสวนให้แน่ชัด ถึงความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นการกระทําทุกอย่างไม่ว่าจะแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ผู้บริหารควรใช้ สติปัญญาในการไตร่ตรอง รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่แท้จริง ใจต้องหนักแน่น มิหลงเชื่อในสิ่งที่งมงายที่คอยขัดขวาง ความเจริญขององค์กร

4 ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล กล่าวคือ ผู้บริหาร จะต้องมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาดในการตัดสินใจ ไม่เกรงกลัวต่ออํานาจอิทธิพล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เช่น ผู้บริหารใช้ระบบการปกครองแบบเสรี ขาดการควบคุมในการทํางาน เพียงเพราะเกรงว่าลูกน้องจะไม่รัก หรือในกรณีที่ลูกน้องทําผิดก็ไม่กล้าลงโทษ เพราะกลัวว่าภัยจะมาถึงตัวเอง เป็นต้น ซึ่งความลําเอียงดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ตัวบั่นทอนความเชื่อถือ ความศรัทธาในการปกครองคนของผู้นํา หากเกิดขึ้นในตัวผู้นําเมื่อใดแล้ว ความเดือดร้อน ก็จะตามมาอย่างแน่นอน

 

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ

(2) การสรรหาคัดเลือกบุคคล

(3) การบริหารและการบรรจุแต่งตั้งบุคคลในองค์การ

(4) การพัฒนาและการประเมินผลการปฏิบัติงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกบุคคล มาปฏิบัติงาน การบรรจุแต่งตั้ง การให้ค่าตอบแทน การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงานตลอดถึงการให้พ้นจากงาน

ตั้งแต่ข้อ 2 – 8 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักความเสมอภาค

(2) หลักความสามารถ

(3) หลักความมั่นคง

(4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง

(5) หลักการกระจายอํานาจ

 

2 การเปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการสะท้อนถึงหลักการใด

ตอบ 1 หน้า 3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติและมีพื้นฐานความรู้ตามที่กําหนดไว้มีสิทธิที่จะสมัครเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้ทุกคน โดย ไม่คํานึงถึงความแตกต่างในเรื่องชาติตระกูล ศาสนา เป็นการให้โอกาสแก่ผู้มีสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน และในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของข้าราชการก็ควรยึดหลักความเสมอภาคเช่นกัน กล่าวคือ งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันหรือระดับเดียวกันควรด้รับเงินเดือน

หรือค่าตอบแทนเท่ากัน

3 งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันควรได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสอดคล้องกับหลักการในข้อใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการควรยึดหลักการในข้อใด

ตอบ 2 หน้า 4 หลักความสามารถ (Competence) หมายถึง การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการหรือการแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่งใด ๆ จะต้องยึดหลักความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นสําคัญ โดยต้องพยายามหาทางคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตําแหน่ง (put the right mar on the right job)

5 “out the right man on the right job” สะท้อนให้เห็นถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

6 หลักประกันแก่ผู้จะมาทํางานราชการสามารถยึดเป็นอาชีพได้สะท้อนถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 3 หน้า 4 หลักความมั่นคง (Security) หมายถึง การให้หลักประกันแก่ผู้ที่จะมาทํางานราชการว่าจะมี ว่าจะมีความมั่นคงในชีวิต สามารถยึดราชการเป็นอาชีพได้ตราบเท่าที่ยังมีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยให้มีเงินเดือน เพียงพอกับการครองชีพ และให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการประกัน มิให้ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งหรือถูกออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ ได้มีกําลังใจที่จะปฏิบัติราชการให้บังเกิดผลดีที่สุด ไม่ต้องกังวลในการหาเลี้ยงชีพหรือถูกกลั่นแกล้งในทางที่ไม่เป็นธรรม

7 การให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลส่งเสริมให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้าราชการต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตามสะท้อนถึงหลักการข้อใด

ตอบ 4 หน้า 4 – 5 หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) หมายถึง ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพราะว่าตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นถือว่านโยบายของรัฐบาลเป็นการ แสดงออกโดยปริยายถึงความต้องการหรือเจตนารมณ์ของประชาชน ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลชุดใด เข้ามาบริหารประเทศ ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้น ๆ อย่างเต็มความสามารถจะละเลยเพิกเฉยมิได้

9 การพัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นมาจากเรื่องราวในช่วงใด

(1) การต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์โบราณ

(2) ความต้องการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร

(3) ความต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ยุคอารยธรรมตะวันตก

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 5 – 6 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นเกิดจากโมเสส (Mosses) พบปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ และได้รับคําแนะการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร (Jetro) ซึ่งเป็นพ่อตา ดังนี้ “ต้องสอนให้คนงานรู้จักเชื่อฟังคําสั่ง เคารพและปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับอย่างเคร่งครัด จะต้องสาธิตให้ดูว่าเส้นทางที่จะต้องเดินไปจะไปทางไหน และ ภารกิจของงานที่จะต้องปฏิบัติมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากนั้นจะต้องคัดเลือกเอาแต่บุคคลที่มีความเก่งทุกคน ตลอดจนนักปกครองที่เก่งด้วย”

10 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด

(1) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

(2) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางสังคม

(3) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง

(4) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการลงทุน

(5) เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยในสมัยนี้ได้มีการรวบรวมคนจํานวนมากมาทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ดูแลจากนายจ้าง ทําให้คนงานไม่พอใจในสภาพการทํางานที่เป็นอยู่

11 ข้อใดคือความหมายของการสรรหา

(1) กระบวนการในการพิจารณาเลื่อนระดับ

(2) กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่ง

(3) กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 56 – 58 การสรรหา (Recruitment) หมายถึง กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ หรือค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งให้สนใจสมัคร เข้าร่วมงานกับองค์กร ซึ่งแหล่งที่ใช้ในการสรรหาบุคคล มี 2 แหล่ง คือ

1 การสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ

2 การสรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ

12 แหล่งที่ใช้ในการสรรหาประกอบไปด้วยกี่แหล่ง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลภายในคือข้อใด

(1) ประหยัดค่าใช้จ่าย

(2) ลดขวัญและกําลังใจ

(3) ขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 57 58 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ มีดังนี้

1 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ในการประเมินโอกาส การแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

2 ไม่สามารถสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งงานที่มีความต้องการบุคลากรได้

3 ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรขึ้นภายในองค์การ

ตั้งแต่ข้อ 14 – 22 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น

(2) การให้กรอกใบสมัครงาน

(3) การทดสอบ

(4) การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน

(5) การตรวจร่างกาย

 

14 การคัดเลือกในข้อใดเน้นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสมของผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดในการคัดเลือก บุคคลเข้าทํางาน โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของ องค์การหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะกระทําสําเร็จได้ต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์

15 Application Blank หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 65 การให้กรอกใบสมัครงาน Application Blank) เป็นการให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน เป็นต้น

16 การคัดเลือกในข้อใดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

17 ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

18 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ตอบ 4 หน้า 64, 66 – 67 การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน (Background Investigation) เป็นขั้นตอนตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าการทํางาน ต่าง ๆ ที่แล้วมา หรือข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร ตลอดจนสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์ถูกต้องหรือไม่

20 ข้อใดเป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่ เช่น การทดสอบความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

21 Employment Test หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 การคัดเลือกในขั้นตอนใดจะกระทําสําเร็จต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าศาสตร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 23 – 26 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

23 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol ตอบ 5 (คําบรรยาย) Henri Fayol เสนอหลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ ประกอบด้วย

1 การแบ่งงานกันทํา

2 อํานาจและความรับผิดชอบ

3 ความมีวินัย

4 เอกภาพของการบังคับบัญชา

5 เอกภาพของการอํานวยการ

6 การให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากร

7 ความมั่นคงของคนทํางาน

8 ความรัก/ความสามัคคีของหมู่คณะ ฯลฯ

24 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้เสนอหลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม โดยเห็นว่ากลุ่มนั้นเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดปริมาณผลผลิตของคนงานในองค์การ ไม่ใช่ปัจจัยด้านกายภาพและพฤติกรรมของคนงาน

25 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 หน้า 149 150 A.H. Maslow ได้เสนอหลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น โดยเห็นว่าความต้องการของบุคคลจะเรียงเป็นลําดับขั้นตอนตามความสําคัญ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลจะให้ความสนใจกับความต้องการระดับสูงต่อไป ซึ่งความต้องการ ของบุคคลมี 5 ขั้น ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

3 ความต้องการความรัก

4 ความต้องการยกย่อง

5 ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง

 

26 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick w. Taylor

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เสนอหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดดังนี้

1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา

2 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก หรือการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 27 – 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความต้องการทางกายภาพ

(2) ความต้องการความรัก

(3) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

(4) ความต้องการยกย่อง

(5) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง

 

27 การที่แดงขยันมาทํางานเช้าทุกวัน ส่งผลให้แต่งได้รับการขึ้นเงินเดือน ตอบ 1 หน้า 150 ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อความมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มยารักษาโรค เงิน เป็นต้น

28 ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ

ตอบ 4 หน้า 150 ความต้องการยกย่อง เป็นความต้องการให้คนอื่นยกย่อง ให้เกียรติ และเห็นความสําคัญ เช่น ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ เป็นต้น

29 แม้จะไม่ได้รับโบนัสในปีนี้แต่พนักงานทุกคนก็ดีใจที่ไม่มีการปลดใครออก

ตอบ 3 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

30 รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้

ตอบ 5 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง เป็นความต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เป็นการสนองต่อความพอใจของตนเอง ความต้องการนี้เพื่อกระทําในสิ่งที่ เหมาะสมกับตนเองของมนุษย์แต่ละคนและเป็นความต้องการเพื่อการบรรลุสมความปรารถนาของ ตนเอง ให้ตนเองได้กระทําในสิ่งที่ตนเองมีศักยภาพพอที่จะทําได้ เช่น รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้ เป็นต้น

 

31 การฝึกอบรม หมายถึงข้อใด

(1) กรรมวิธีในการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการทํางาน

(2) กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางาน

(3) กรรมวิธีการลดขั้นตอนการทํางาน

(4) กรรมวิธีการรักษาบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 120 การฝึกอบรม คือ กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางานทั้งในด้านความคิดการกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และการแสดงออก

ตั้งแต่ข้อ 32 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง

(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด

(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา

 

32 “On-the-Job Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 1 หน้า 126 127, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) เป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในทุกวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ บรรยากาศ รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ สําหรับดําเนินการให้ลูกจ้างใหม่มีประสบการณ์การทํางานเหมือนกับลูกจ้างเก่า หรือฝึกอบรมซูเปอร์ไวเซอร์ให้มีประสบการณ์ไปทําหน้าที่นิเทศพนักงานได้เป็นอย่างดี

33 “Apprenticeship Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ

34 “Orientation Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะ ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํา เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้ ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น

35 “Case Study Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาถือเป็นวิธีการที่มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเหมาะสําหรับการฝึกอบรมผู้บริหาร

36 การฝึกอบรมในข้อใดเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะในด้านฝีมือ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

37 การฝึกอบรมในข้อใดใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 การฝึกอบรมในข้อใดเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

39 การฝึกอบรมในข้อใดให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

40 การฝึกอบรมในข้อใดมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(4) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

 

41 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (F qual Work for Equal Pay)

ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด เงินเดือนหรือคาตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

42 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดีนั้น จะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถรวมทั้งสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

43 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) สามารถนําไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ เช่น การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคคล การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การประเมินผลการทํางาน การประเมินค่างาน การกําหนด ค่าตอบแทน การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน การออกแบบงาน (Job Design) เป็นต้น

44 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงานและเนื้อหาของงาน

ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน

2 พฤติกรรมของบุคคล

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน

5 เนื้อหาของงาน

6 ความต้องการบุคลากร

45 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

46 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นการกําหนดรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่าง เพื่อให้งานประสบความสําเร็จ เช่น วุฒิการศึกษา เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งข้อมูล ที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานนี้จะพิจารณาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skit) และความสามารถ (Abilities)

47 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบระยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานนี้จะพิจารณาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

48 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในข้อใดที่ใช้ในการกําหนดฐานเงินเดือน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

49 การระบุในส่วนของอายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก แสดงถึงข้อใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

50 การระบุถึงรายละเอียดของเนื้องาน แสดงถึงคุณสมบัติใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 60 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) หลักการเสริมประสิทธิภาพ

(2) หลักพิทักษ์คุณธรรม

(3) หลักระบบค่าตอบแทน

(4) หลักจริยธรรมและวินัย

(5) การกระจายอํานาจ

 

51 คณะกรรมการมีมติลงโทษให้ไล่ออกข้าราชการที่ลวนลามลูกจ้าง

ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกัน เป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น

3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง ฯลฯ

52 กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ส. ก่อนการรับรองผลการเลือกตั้ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 มีการตรวจสอบกรณีรองนายกรัฐมนตรีสวมใส่เครื่องประดับมูลค่าสูง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 การให้ผู้กํากับสถานีในพื้นที่ต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลาง ตอบ 2 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล

3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว “ลฯ

55 มีนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

56 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักการกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจ สั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

57 การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกตรวจสอบจากองค์กรภายนอก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ

2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ

3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช.,กกต.,จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

58 ให้ข้าราชการต้องไปเพิ่มพูนความรู้ เข้าฝึกอบรมเป็นประจํา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

59 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ

ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ มีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

6 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ฯลฯ

60 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่ม (Cluster)

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยประเด็นใดซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(1) Liberty

(2) Majority Rule

(3) Transparency

(4) Participation

(5) Accountability

 

61 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดําเนินการที่เปิดเผยตรงไปตรงมาประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 เป็นต้น

62 ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายและการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจน มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมฟังและการทํา ประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ เป็นต้น

63 ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ ในการดําเนินการใด ๆ บุคคล หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทํา ของตนเองที่มีต่อสาธารณชน รวมทั้งมีการกําหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

64 ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้อง เป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว เป็นต้น

65 โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิด กฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

(2) โครงสร้างประชากร

(3) ปัจจัยระหว่างประเทศ

(4) ทรัพยากรธรรมชาติ

(5) นวัตกรรมเทคโนโลยี

 

66 ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจัยระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือภาพลักษณ์ของประเทศ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2 เป็นต้น

67 ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประชากร เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจํานวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกําลังศึกษา วัยทํางาน วัยเกษียณอายุวัยชรา) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ (ชาย : หญิง) สัดส่วนของอายุ (เด็ก : วัยทํางาน : คนโสด : ผู้สูงอายุ) จํานวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเจริญพันธุ์ การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจํานวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัย สิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

68 การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (ได้แก่สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบ เชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การออกกฎหมาย ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม เป็นต้น

69 แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการเทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวย ความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ในเรื่องนี้ เช่น การที่หน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ การใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด เป็นต้น

70 การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ำ เป็นต้น ถือเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ การรู้จักนําเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จะช่วยให้เกิดความอยู่ดีกินดีแก่ประชากร สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานการใช้อย่างชาญฉลาด ประหยัด และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน การขุดเจาะบ่อน้ํามันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง เป็นต้น

 

71 ข้อใดคือขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) 4P

(2) 3P

(3) 3R

(4) 4M

(5) BSC

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ขอบเขต/กระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 R คือ

1 Recruit คือ การสรรหาคัดเลือก

2 Retain คือ การรักษาคนไว้ในองค์การ

3 Retire คือ การเลิกจ้าง

72 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์สิ้นสุดที่เรื่องใด

(1) Reject

(2) Recruit

(3) Reused

(4) Retire

(5) Return

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์เริ่มต้นที่เรื่องใด

(1) Retain

(2) Recruit

(3) Reused

(4) Retire

(5) Return

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 “อัตราการลาออกลดลง” เป็นเป้าหมายของเรื่องใด

(1) การจูงใจ

(2) การประเมินค่างาน

(3) การรักษาคนไว้ในองค์การ

(4) การสรรหา

(5) การเลื่อนตําแหน่ง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรักษาคนไว้ในองค์การ (Retain) คือ การสร้างแรงจูงใจให้คนทํางานอยู่กับองค์การยาวนานหรือพยายามลดอัตราการลาออกของคนให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อ

1 คงความต่อเนื่องในการทํางาน

2 รักษาประสิทธิผลขององค์การ

3 ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรม

4 รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์การ ฯลฯ

75 “พอเริ่มจะรู้งานก็ไปเสียแล้ว” ข้อความดังกล่าวสะท้อนเรื่องใด

(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(2) การฝึกอบรม

(3) การจูงใจ .

(4) การรักษาคนไว้ในองค์การ

(5) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการรักษากําลังคน

(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา

(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน

(3) รักษาชื่อเสียงองค์การ

(4) รักษาภาพลักษณ์องค์การ

(5) สร้างความจงรักภักดี

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

77 ทําไมต้องรักษากําลังคนไว้กับองค์การ

(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา

(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน

(3) ลดความสิ้นเปลืองในการฝึกอบรม

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

78 การรักษากําลังคนไว้กับองค์การมีความสําคัญเพราะเหตุใด

(1) รักษาความต่อเนื่องในการทํางาน

(2) รักษาประสิทธิผลขององค์การ

(3) ความสะดวกในการประเมินผลการทํางาน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

79 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุที่คนเลือกอยู่กับองค์การ

(1) ชื่อเสียงขององค์การ

(2) ค่าตอบแทน

(3) วัฒนธรรมองค์การ

(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

(5) เป็นไปได้ทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานที่สามารถจูงใจและรักษาคนให้อยู่กับองค์การ ดังนั้นการที่คนจะอยู่กับองค์การยาวนาน ไม่ลาออกไปหางานใหม่ทําจึงไม่ใช่เพราะ เรื่องค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความมั่นคงของงาน โอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ชื่อเสียงขององค์การวัฒนธรรมองค์การ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

 

80 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาคนไว้กับองค์การ

(1) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐาน

(2) ค่าตอบแทนที่สูงสามารถจูงใจและรักษาคน

(3) คนอยู่กับองค์การไม่ใช่เฉพาะเรื่องค่าตอบแทน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินค่างาน

(1) การตีค่างาน ประสิทธิภาพในงาน กับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย

(2) การประเมินคุณค่าของงานเทียบกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย

(3) การประเมินคุณค่าว่างานใดควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด

(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) การประเมินค่างาน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ ตีค่างานประเมินหรือเปรียบเทียบคุณค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน หรือประสิทธิภาพในงานกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย หรือเป็นการประเมินคุณค่าว่างานใด ควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน ได้แก่ การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification) และประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

82 ข้อใดคือลักษณะของการประเมินค่างาน

(1) งานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ

(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ

(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ

(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกันในทุกองค์การ (5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การตีค่างานนั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ ดังนั้นในองค์การต่าง ๆ ที่มีงานแบบเดียวกัน หรือมีปัจจัยในการทํางาน เช่น ทักษะ ความชํานาญ ความพยายามความรับผิดชอบ หรือสภาพการทํางานแบบเดียวกัน การตีค่างานอาจไม่เหมือนกันก็ได้

83 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเงินค่างาน

(1) งานแบบเดียวกันมีคาเท่ากันทุก ๆ องค์การ

(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากัน

(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ

(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกัน

(5) ทักษะแบบเดียวกัน มีค่าเท่ากัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 ในการประเมินค่างานต้องใช้ข้อมูลจากที่ใด

(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(2) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)

(3) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ

81 ประกอบ

85 ข้อใดคือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน

(1) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)

(2) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)

(3) ประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Job Analysis

(2) Job Ranking

(3) Job Classification

(4). Point Rating

(5) Factor Comparison

 

86 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดลําดับความสําคัญ ความยากง่ายของงาน

ตอบ 2 หน้า 76 – 7 การเรียงลําดับ (Job Ranking) เป็นวิธีดั้งเดิมหรือเก่าแก่ที่สุด ซึ่งไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน สาระสําคัญของวิธีนี้คือ การนําเอางานที่มีอยู่ ทั้งหมดมาจัดลําดับความสําคัญจากงานที่ง่ายที่สุดไปยังงานที่ยากที่สุด โดยใช้การเปรียบเทียบ เป็นคู่ ๆ แล้วตัดสินใจว่างานใดสําคัญหรือยากกว่า จึงเป็นวิธีที่มีข้อโต้แย้งในเรื่องมาตรฐานที่ใช้ตัดสินความสําคัญของงาน

87 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน ตอบ 3 หน้า 77 การจัดระดับงาน (Job Classification/Grading Method) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน กล่าวคือ งานที่มีลักษณะของความยากง่ายเหมือนกัน จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งปัจจัยที่กําหนดความยากง่ายของงาน ได้แก่ ความรู้ความสามารถความชํานาญ ความรับผิดชอบ และสภาพการทํางาน

88 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) การให้คะแนน (Point Rating) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ เช่น งานธุรการ ให้คะแนนการศึกษาร้อยละ 20 ประสบการณ์ ร้อยละ 25 ความยุ่งยากในงานร้อยละ 35 ความรับผิดชอบร้อยละ 15 และสภาพการทํางาน ร้อยละ 5 เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

89 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ตอบ 5 หน้า 78 79 การเปรียบเทียบปัจจัย (Factor Comparison) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ซึ่งเป็นวิธีที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือกว่า วิธีการอื่น ๆ ข้อดีของวิธีนี้ คือ เหมาะสําหรับการกําหนดมาตรฐานเฉพาะงานของแต่ละองค์การและสามารถเปรียบเทียบค่างานแต่ละงานได้แน่นอนว่าแต่ละงานมีค่าตีเป็นเงินเท่าไร

90 เป็นวิธีที่ใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

91 ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการประเมินค่างาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ 81 ประกอบ

92 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

94 เป็นวิธีการประเมินค่างานดั้งเดิม ที่ง่าย แต่มีข้อโต้แย้งเรื่องมาตรฐาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

95 สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

96 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ

(1) Intrinsic Rewards

(2) Extrinsic Rewards

(3) Non-Financial Rewards

(4) Official Rewards

(5) Accomplishment

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ มีดังนี้

1 รางวัลที่เป็นตัวเงิน (Financial Rewards) หรือรางวัลภายนอก (Extrinsic Rewards) เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น โบนัส หุ้นปันผล เป็นต้น

2 รางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน (Non-Financial Rewards) หรือรางวัลภายใน (Intrinsic Rewards) เช่น ประกันชีวิต สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล วันหยุดพักผ่อนประจําปี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสําเร็จในงาน (Accomplishment) เป็นต้น

97 ข้อใดไม่ใช่ Financial Rewards

(1) เงินเดือน

(2) ค่าคอมมิชชั่น

(3) โบนัส

(4) สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล

(5) หุ้นปันผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 ข้อใดคือความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง (1) การปรับตามค่าแรงขั้นต่ำ

(2) การปรับตามค่าครองชีพ

(3) การปรับตามอัตราเงินเฟ้อ

(4) การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้าง

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 82, (คําบรรยาย) ความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง หมายถึง เงินเดือนและค่าจ้างที่กําหนดจะต้องสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงาน ซึ่งพิจารณาจากค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้างในตลาดแรงงาน เป็นต้น

99 ข้อใดคือปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของพนักงาน (Hygiene Factors)

(1) เงินเดือน/ค่าจ้าง

(2) โบนัส

(3) ประกันชีวิต

(4) รถประจําตําแหน่ง

(5) ห้องทํางานส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 156, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทํางานตามทฤษฎีของ Herzberg ประกอบด้วย

1 ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของ พนักงานในการทํางาน เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง สภาพการทํางาน (เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ) นโยบายและการบริหารงาน การควบคุมบังคับบัญชา เป็นต้น

2 ปัจจัยกระตุ้น (Motivator Factors) เป็นปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงานในการทํางาน เช่น การยอมรับนับถือ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ (เช่น โบนัส ประกันชีวิต รถประจําตําแหน่ง ห้องทํางานส่วนตัว) เป็นต้น

100 ข้อใดคือปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงาน (Motivation Factors)

(1) โต๊ะทํางาน

(2) ห้องทํางานส่วนตัว

(3) เครื่องปรับอากาศ

(4) คอมพิวเตอร์

(5) เงินเดือน/ค่าจ้าง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!