การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก
คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 4 ข้อ
ข้อ 1 จงอธิบายถึงหลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองทั้งในตะวันออกและในโลกกว้าง
แนวคําตอบ
หลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองตะวันออก
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมากในประเทศอินเดีย โดยมีผู้นับถือศาสนา ฮินดูมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรอินเดียทั้งหมด ชาวฮินดูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่แถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศอินเดีย เพราะมีความเชื่อว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาฮินดูจะกระทําได้ในประเทศอินเดียเท่านั้น และการข้ามทะเลดําจะทําให้ไม่บริสุทธิ์ รวมทั้งไม่สามารถเป็นชาวฮินดูได้ต่อไป แต่การที่ชาวฮินดูย้ายถิ่นไปอยู่ในประเทศ อื่น ๆ ในระยะหลังนั้นเนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจมากที่สุด ปัจจุบันประเทศที่มีชาวฮินดูจํานวนมาก ได้แก่ อินเดีย เนปาล มาเลเซีย และกายานา
นิกายที่ใหญ่ที่สุดในศาสนาฮินดูมี 2 นิกาย คือ 1 นิกายไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะ 2 นิกาย ไวษณวะ ซึ่งนับถือพระวิษณุ โดยจะมีความเชื่อที่สําคัญคือ ความเชื่อในเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ เชื่อเรื่องธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ทางศาสนา และเชื่อเรื่องระบบวรรณะ ซึ่งระบบวรรณะนี้มีอิทธิพลทําให้เกิดความแตกต่างในด้าน เชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย
ประชากรอินเดียไม่เกินร้อยละ 10 จะอยู่ในสามวรรณะแรก คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพศย์ ซึ่งจะมีอํานาจในสังคม และประชากรสามวรรณะนี้ก็ได้ทํางานเป็นข้าราชการมากกว่าร้อยละ
นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า โฌติ (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย
ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญ ได้แก่ มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) และ ยวาหร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)
ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี มีดังนี้
1 เน้นการศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
2 เน้นการมีอุดมการณ์
3 เน้นศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม
4 เน้นการใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์
5 เน้นการเสียสละ
6 เน้นความเสมอภาคและความเป็นธรรม
7 เน้นวิธีการทํางานและการตัดสินใจ
8 เน้นการมีระเบียบวินัย
ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของ ยวาหร์ลาล เนห์รู มีดังนี้
เนห์รู เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่งและได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยอินเดีย โดยได้ให้เห็นว่าสาระสําคัญของศาสนาฮินดูก็คือ “จงมีชีวิตอยู่และจงให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ด้วย (to live and let live)”
เนห์รู มีแนวความคิดแตกต่างจากคานธีหลายอย่าง เช่น ไม่เห็นด้วยที่คานธีนําศาสนามาผสมผสานกับการเมือง เห็นว่าการทําสัตยาเคราะห์ใช้ได้ผลในบางสถานการณ์เท่านั้น และเชื่อว่าอินเดียต้องมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ในขณะที่คานธีเน้นการทําสัตยาเคราะห์และไม่ใช้ความรุนแรง เน้นการปั่นด้าย การทําหัตถกรรมในครัวเรือน และคัดค้านการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคานธีก็คิดว่าเนห์รูเป็นทายาททางการเมืองของเขา