POL3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง

1 ข้อสอบมี 6 ข้อ ให้นักศึกษาทําข้อที่ 1 ทุกคน

2 เลือกทําในข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 6 อีก 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

เกศินี หงสนันทน์ อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงและยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ขอบเขตของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการและการดําเนินงานทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านอุตสาหกรรม กสิกรรม และธุรกิจการค้า

2 ผู้รับผิดชอบในการควบคุมดําเนินงานเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม

3 รัฐทําหน้าที่ในการริเริ่ม กระตุ้น และส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจแก่ภาคเอกชนและเป็นประโยชน์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 รัฐทําหน้าที่ในการนําเสนอการบริการแก่ประชาชนและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

5 ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ก่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบของสังคมในท้ายที่สุด

6 รัฐอาจเข้าไปดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจร่วมลงทุนกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นการกระตุ้นวิสาหกิจเอกชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

2 เพื่อเข้ามาดําเนินงานแทนวิสาหกิจเอกชนโดยวิธีการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ หรือโดยการที่รัฐใช้สิทธิที่จะซื้อกิจการใด ๆ ในสาขาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจได้ก่อนเอกชนอื่น ๆในฐานะที่เป็นกิจการที่อยู่ภายในขอบเขตที่สงวนไว้เฉพาะรัฐบาล

3 เป็นการช่วยเสริมวิสาหกิจเอกชนโดยการทําให้ข้อบกพร่องหรือช่องโหว่บางประการซึ่งวิสาหกิจเอกชนอาจมีอยู่ให้หมดสิ้น

4 เพื่อเข้าร่วมกับวิสาหกิจเอกชน (Joint Enterprise) ในการดําเนินโครงการต่าง ๆ

5 เพื่อบริการด้านสาธารณะ รวมทั้งการรักษาประโยชน์ ป้องกันการเสียหายและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของประชาชนส่วนรวม เช่น การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

6 เพื่อเตรียมพร้อมแก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และเชื้อเพลิง เป็นต้น

7 เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเกียรติคุณของประเทศชาติ เช่น การส่งเสริมกีฬาการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น

8 การผูกขาดเพื่อหากําไร เช่น การผลิตและจําหน่ายสุรา ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

9 เพื่อเผยแพร่วิชาการใหม่ ๆ และวิธีประกอบกิจการด้านต่าง ๆ

 

ข้อ 2 จงอธิบายแนวคิด ความหมายและวัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และรูปแบบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ในช่วงทศวรรษ 1950s และ 1960s รัฐบาลของหลายประเทศต่างเห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ ที่ดีที่จะช่วยให้นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลบรรลุผลตามเป้าหมาย แต่ความเติบโตของรัฐวิสาหกิจในระยะต่อมา กลับส่งผลในเชิงลบ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ อย่างมาก จนนําไปสู่การประเมินบทบาท ของรัฐวิสาหกิจกันใหม่

ในช่วงทศวรรษ 1970s กระแสความคิดที่จะให้เอกชนเข้ามาดําเนินงานแทนรัฐวิสาหกิจ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ในบางประเทศได้มีการดึงภาคเอกชนเข้ามาถือหุ้น หรือแม้กระทั่งขายกิจการ รัฐวิสาหกิจ กระแสความคิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความชัดเจนมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1980s โดยเฉพาะใน ประเทศอังกฤษที่มีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สําหรับประเทศไทย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 นับแต่นั้นมาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาโดยตลอด แต่ก็ไม่เป็นรูปธรรมมากเท่าที่ควร

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งประเทศไทยต้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย IMF ได้กําหนดเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย ซึ่งเงื่อนไขที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ Yair Aharoni อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความหมายครอบคลุมถึงนโยบายต่าง ๆ ดังนี้

1 การโอนความเป็นเจ้าของ คือ การขายทรัพย์สินและกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจให้ผู้ถือหุ้นเอกชน

2 การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันหรือเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น หรือลดอุปสรรคที่มีต่อการแข่งขันให้น้อยลงในการประกอบกิจการธุรกิจต่าง ๆ

3 การส่งเสริมธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับงานบริการต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นการดําเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เพื่อเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ

2 เพื่อดึงดูดเงินลงทุน ความรู้ด้านการจัดการ และเทคโนโลยีจากภาคเอกชนหรือนักลงทุนทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ

3 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

4 เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ

5 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

6 เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยมีค่าบริการที่เหมาะสม

 

รูปแบบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มี 6 รูปแบบ ดังนี้

1 การทําสัญญาจ้างเอกชนให้บริหารงาน โดยรัฐจ่ายค่าจ้างตามผลงานหรือเหมาจ่าย ให้เอกชนที่ทําหน้าที่บริหารงาน ขณะที่รัฐยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินและมีหน้าที่ในการกําหนดนโยบายบริหารและ รับภาระด้านการลงทุน

2 การให้เอกชนทําสัญญาเช่าดําเนินการ คือ การให้เอกชนเป็นผู้เช่าดําเนินการใน โครงการของรัฐและจ่ายเงินตอบแทนให้รัฐบาลตามอัตราที่ทําสัญญากัน โดยรัฐยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นผู้กําหนดอัตราค่าบริการ ส่วนเอกชนมีหน้าที่ในการดําเนินงานและลงทุน

3 การให้สัมปทานเอกชน คือ การที่รัฐให้สิทธิผูกขาดกับเอกชนในการผลิตสินค้าหรือ ให้บริการบางอย่างภายใต้การกํากับดูแลของรัฐ โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบด้านการลงทุน การจัดการ และการ ปฏิบัติงานในทรัพย์สินที่รัฐให้สัมปทาน ทั้งนี้เอกชนที่ได้สัมปทานจะได้รับค่าตอบแทนจากประชาชนผู้ใช้บริการ โดยตรง ขณะที่รัฐจะเก็บค่าสิทธิหรือส่วนแบ่งตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาการให้สัมปทาน ซึ่งหากคุณภาพการบริการ ไม่ดีหรือไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ รัฐมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งรูปแบบการให้สัมปทานมีหลายวิธี เช่น

1) Build-operate-Transfer (BOT) คือ เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการ และเมื่อครบสัญญาสัมปทานเอกชนจะทําการโอนคืนกิจการทั้งหมดให้กับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ

2) Build-Own-Operate (BOO) คือ การให้เอกชนลงทุนดําเนินการและเป็นเจ้าของกิจการ แต่รัฐรับซื้อผลผลิต โดยเปิดโอกาสให้เอกชนประมูลแข่งขันเพื่อดําเนินกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจ

3) Build-Transfer-Operate (BTO) คือ เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนออกแบบและดําเนินการก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้รับสิทธิจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ให้แก่รัฐก่อนการบริหาร โดยเอกชนจะเป็นผู้บริหารกิจการตลอดอายุสัมปทาน

4 การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มี 3 วิธี ได้แก่

1) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจลงบางส่วน แต่รัฐยังคงถือหุ้นอยู่เกินร้อยละ 50 กรณีนี้บริษัทฯ ยังคงสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่

2) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจลงบางส่วน โดยรัฐยังคงถือหุ้นอยู่ไม่เกินร้อยละ 50 ซึ่งมีผลให้บริษัทฯ พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ

3) รัฐวิสาหกิจตั้งบริษัทลูกเพื่อดําเนินกิจกรรม โดยรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทลูกทั้งหมดในขั้นแรก แล้วดําเนินการเพิ่มทุนในบริษัทลูกหรือกระจายหุ้นเดิมในบริษัทลูกด้วยการนําเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 51

5 การร่วมทุนกับภาคเอกชน คือ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจกับบริษัทเอกชนที่มี ประสบการณ์ในกิจการนั้น ๆ อยู่แล้ว ซึ่งรัฐจะถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 50 โดยการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนสามารถ กระทําได้ 2 วิธี คือ

1) รัฐวิสาหกิจร่วมลงทุนในภาคเอกชนโดยจัดตั้งบริษัทขึ้นดําเนินการบางกิจกรรมที่เคยทําอยู่และบริษัทเอกชนเป็นผู้บริหารในกิจกรรมนั้น

2) รัฐวิสาหกิจประเมินทรัพย์สินของตนแล้วนําไปลงทุนกับภาคเอกชน ซึ่งกิจการส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่ภาคเอกชนทําได้ดีอยู่แล้วหรือมีการแข่งขันสูง

6 การยุบเลิกและจําหน่ายจ่ายโอนกิจการ คือ การที่รัฐบาลมีมติยุบเลิกกิจการรัฐวิสาหกิจ โดยจําหน่ายจ่ายโอนกิจการหลังชําระบัญชีเพื่อให้ภาคเอกชนมาซื้อกิจการนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่รัฐ หมดความจําเป็นในการดําเนินการและภาคเอกชนทํากิจการประเภทนี้ได้ดีกว่า

 

ข้อ 3 จงอธิบายนโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละแผนระบุไว้ว่าอย่างไร

แนวคําตอบ

นโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มีดังนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 2509)

1 สาขาอุตสาหกรรม รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่อันเป็นการแข่งขันกับเอกชน ส่วนกิจการที่รัฐอํานวยการอยู่แล้วจะจัดการให้บังเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

2 สาขาการคมนาคม ปรับปรุงกิจการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งปรับปรุงกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมให้มีบริการสะดวกและรวดเร็ว

3 สาขาการพลังงาน ดําเนินงานพลังงานต่าง ๆ เพื่อความต้องการของประเทศ

4 สาขาการสาธารณูปโภค ให้ท้องถิ่นหรือจังหวัดเป็นผู้ดําเนินกิจการด้านสาธารณูปโภค

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)

1 ดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม ความมั่นคงของชาติ และเพื่อหารายได้ของประเทศเท่านั้น

2 รัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นใหม่ เว้นแต่ที่จําเป็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริงเท่านั้น

3 ส่งเสริมและปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่จําเป็นจะต้องรักษาไว้ โดยการปรับปรุงสมรรถภาพในการบริหารงานให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องขอความอุดหนุนด้านการเงินจากรัฐ

4 ควบคุมการขยายงานของรัฐวิสาหกิจให้ดําเนินการเฉพาะโครงการที่แน่นอนและเหมาะสมเท่านั้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) มีนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจโดยมุ่งสนับสนุนเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทต่อไปนี้

1 รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขนาดใหญ่ซึ่งจัดทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ

2 รัฐวิสาหกิจประเภทยุทธปัจจัยเพื่อการทหารและความมั่นคงของประเทศ

3 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ

4 รัฐวิสาหกิจบระเภทส่งเสริมอาชีพของคนไทยหรือเศรษฐกิจของประเทศ

5 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนมากเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่ได้ผลตอบแทนน้อย

6 รัฐวิสาหกิจประเภทที่รัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเพื่อรักษาระดับราคา ทั้งนี้รัฐจะไม่ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการค้าขึ้นใหม่เพื่อทําการแข่งขันกับเอกชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)

1 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาดเพื่อการควบคุมคุณภาพ ราคา และหารายได้เป็นพิเศษ เช่น โรงงานยาสูบ โรงงานสุราโรงงานเภสัชกรรม เป็นต้น

2 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธปัจจัยที่จําเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น โรงงานผลิตวัตถุระเบิด เป็นต้น

3 รัฐมุ่งสนับสนุนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่

1) จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐานสูง

2) มีการลงทุนสูงและเอกชนไม่สามารถดําเนินการได้โดยลําพัง

3) มีกระบวนการดําเนินงานซับซ้อนที่เอกชนยังไม่สามารถดําเนินการได้

4) ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมีปัญหาในเรื่องการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะการให้สัมปทาน

4 รัฐมีนโยบายยกเลิกหรือจําหน่ายจ่ายโอนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อเป็นผู้ริเริ่มแต่ปัจจุบันยังคงดําเนินการอยู่อย่างขาดประสิทธิภาพ

5 ในกิจการที่รัฐวิสาหกิจและเอกชนดําเนินกิจการควบคู่กันไป รัฐจะใช้มาตรการในการควบคุมในลักษณะคล้ายคลึงกัน

6 รัฐจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

1 ปรับปรุงกลไกในการควบคุมการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น ดังนี้

1) พิจารณานําระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานมาใช้ใน 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสํานักงบประมาณ และสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

2) พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการประสานงานกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้เป็นแนวทางเดียวกัน

2 ปรับปรุงการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกําหนดเป้าหมายและระยะเวลาการทํางานให้ชัดเจน

2) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีแผนหลักเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3) รัฐจะลดการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจจากงบประมาณแผ่นดิน

4) รัฐจะดูแลให้รัฐวิสาหกิจใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

3 การปรับราคาสินค้าหรือค่าบริการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนอกจากจะต้องมีรายได้มากพอสําหรับจ่ายค่าดอกเบี้ยและชําระคืนต้นเงินกู้แล้ว จะต้องมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลด้วย

4 วางหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาฐานะและกิจการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) กําหนดระยะเวลาให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกิจการตนเอง

2) รัฐวิสาหกิจใดที่มีผลการดําเนินการไม่ดีเท่าที่ควร รัฐจะพิจารณาดําเนินการยุบเลิก แปรสภาพ หรือจําหน่ายต่อไป

3) กิจการสาธารณูปโภคหากไม่ปรับปรุงการบริหารงาน ก็จะพิจารณาโอนกิจการให้เป็นของเอกชน

4) รัฐจะคงรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) 1 มุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจไปสู่เชิงธุรกิจให้มากขึ้น โดย

1) ยกระดับคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม

2) หาลู่ทางเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต

3) ลงทุนในกิจการที่ผลตอบแทนดี และจํากัดขนาดการลงทุน

2 กําหนดนโยบายการกําหนดราคาสินค้าและค่าบริการของรัฐวิสาหกิจให้คุ้มกับต้นทุน

3 กําหนดแนวนโยบายการบริหารบุคคล โดยกําหนดให้มีการจัดทําแผนอัตรากําลังรวมอยู่ในแผนรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการว่าจ้างใช้บริการเอกชน และส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมบริหารงาน

4 กําหนดแนวนโยบายให้มีการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาให้มีการร่วมทุนกับภาคเอกชน ดําเนินการจําหน่ายจ่ายโอนหรือยุบเลิกกิจการที่ดําเนินการไม่ได้ผลติดต่อกันมาโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร

5 ทบทวนบทบาทและปรับปรุงระบบการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งระดับชาติ ระดับกระทรวงให้เข้าเป้าที่กําหนดไว้ในแผนวิสาหกิจแต่ละแห่ง และจัดให้มีการปรับปรุงกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารงานได้คล่องตัวในเชิงธุรกิจมากขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539)

1 ลดบทบาทการกํากับดูแลของรัฐ

2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

3 รัฐวิสาหกิจต้องดําเนินงานเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

4 เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดําเนินงานกับรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่าง ๆ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) 1 เพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

2 สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถระดมทุนจากประชาชนได้อย่างกว้างขวาง

3 จัดตั้งองค์กรกลางเป็นการถาวร เพื่อบริหารนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน

4 นําระบบประเมินผลการดําเนินงานมาใช้แทนการกํากับดูแล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)

1 ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

2 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพการดําเนินงานมาตรฐานและคุณภาพของการผลิตและบริการ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)

1 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักการบริหารจัดการที่ดี

2 ปรับบทบาท โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ลดการบังคับควบคุม

3 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ และลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 พัฒนากลไกการกํากับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรม

 

ข้อ 4 จงอธิบายแนวทางการควบคุมและการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย

แนวคําตอบ

แนวทางการควบคุมรัฐวิสาหกิจของไทย แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1 การควบคุมภายใน หมายถึง การควบคุมโดยองค์กรภายในของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง ได้แก่

1) ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เป็นองค์กรที่มีเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจํากัดและธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องสําคัญต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาอนุมัติ เกี่ยวกับงบดุล บัญชีกําไรขาดทุน การจ่ายเงินปันผลและบําเหน็จรางวัลอื่น ๆเป็นต้น

2) คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่ในการวางนโยบายและระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ และควบคุมดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป

3) หน่วยควบคุมภายในของรัฐวิสาหกิจ ในบางรัฐวิสาหกิจจะมีหน่วยควบคุมภายในของตนเองทําหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆภายในรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 การควบคุมภายนอก หมายถึง การควบคุมจากภายนอกรัฐวิสาหกิจ โดยองค์กรต่าง ๆของรัฐ ได้แก่

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนงานและโครงการพัฒนา รวมทั้งเสนอข้อเท็จจริงที่จําเป็นเพื่อพิจารณาผลงานของโครงการพัฒนาที่กําลังดําเนินการอยู่

(2) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาร่วมกับรัฐวิสาหกิจ

(3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการเพื่อให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนงานและโครงการพัฒนาที่จะขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

(4) ติดตามและประเมินผลงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

2) สํานักงบประมาณ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุม รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับและรายจ่าย

(2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

(3) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร

(4) ในกรณีรัฐวิสาหกิจขอเงินจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ

(5) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(6) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

3) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีและรับรองงบดุลรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

4) กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) ตรวจสอบบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

(2) กําหนดหลักเกณฑ์การทําบัญชีแสดงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

(3) อนุมัติการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคา

(4) อนุมัติการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการผลิต และการตีราคาของคงเหลือ

(5) อนุมัติการจัดสรรกําไรสะสมของรัฐวิสาหกิจ

(6) อนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเป็นโบนัสกรรมการและพนักงาน และจ่ายเงินปันผลหรือเงินรายได้นําส่งคลัง

(7) วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่รัฐวิสาหกิจไม่เห็นด้วยกับความเห็นของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการสอบบัญชี

(8) ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจะฝากเงินกับธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน

(9) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

(10) การจ่ายเงินยืมทดรองแก่พนักงานที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกําหนดขึ้นนั้นต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังก่อน

(11) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน

(12) รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีผู้แทนกระทรวงการคลังซึ่งเป็นข้าราชการประจําเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

5) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัด

6) คณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) อนุมัติการเพิ่มหรือลดทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

(2) อนุมัติงบลงทุนหรือการลงทุนเพื่อขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่

(3) อนุมัติการกู้ยืมเงิน

(4) อนุมัติการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์

(5) อนุมัติการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นศูนย์

(6) อนุมัติการกําหนดราคาสินค้าหรือบริการ

(7) อนุมัติการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน

(8) อนุมัติการจําหน่ายกิจการหรือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ

(9) อนุมัติการเข้าถือหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่น

(10) อนุมัติการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด

7) รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

(3) เสนอญัตติในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

(4) ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบ

(5) อภิปรายไม่ไว้วางใจ

แนวทางการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย มีดังนี้

1 จัดทําบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานในแต่ละปี โดยบันทึกข้อตกลงจะต้องลงนามโดยปลัดกระทรวง เจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ

2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กํากับดูแลให้รัฐวิสาหกิจดําเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง โดยรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจบริหารงานได้คล่องตัวมากขึ้น

3 การกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานจะต้องคํานึงถึงลักษณะของแต่ละรัฐวิสาหกิจ และกําหนดตัวแปรซึ่งครอบคลุมด้านสําคัญทุกด้านรวมถึงคุณภาพในการบริการ และเป็นผลงานที่รัฐ ต้องการจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการพิจารณากําหนดตัวแปรและเป้าหมายจะคํานึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

4 การประเมินผลงานจะแบ่งผลงานออกเป็น 5 ระดับ และมีการกําหนดระบบผลตอบแทน ที่สะท้อนระดับผลการดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจใดดําเนินการได้ดีกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงจะได้รับ ผลตอบแทนมากกว่า

5 การประเมินผลงานคณะกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องใช้ตัวแปรชุดเดียวกับ การประเมินผลงานของรัฐวิสาหกิจ

 

ข้อ 5 A Public Development Program for Thailand เป็นผลการวิจัยของคณะทํางานธนาคารโลกเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจของไทย ได้วิจารณ์รัฐวิสาหกิจไทยไว้ว่าอย่างไร และมีข้อเสนอแนะสําหรับรัฐวิสาหกิจของไทยอย่างไร

แนวคําตอบ

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายชาตินิยมทาง เศรษฐกิจ เพื่อให้คนไทยมีงานทําและขจัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของคนต่างชาติ รวมทั้งลดบทบาทการผูกขาดทาง เศรษฐกิจของชาติตะวันตกและชาวจีน โดยรัฐบาลได้จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาหลายแห่ง และเข้าไปควบคุมภาคการผลิต สําคัญ ๆ เช่น การผลิตแป้ง โรงสี น้ำแข็ง น้ำตาลทราย สุรา เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น แต่บุคคลที่เข้ามาดํารงตําแหน่ง ระดับสูงในรัฐวิสาหกิจเป็นข้าราชการซึ่งไม่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนในการ ดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในสมัยนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางการเมือง และกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมือง คือ กลุ่มสี่เสาเทเวศร์และกลุ่มราชครู จึงทําให้ รัฐวิสาหกิจสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มมากกว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ

ในระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2501 คณะทํางานธนาคารโลกได้เข้ามาศึกษาวิจัยสภาวะเศรษฐกิจไทย และได้เสนอผลการศึกษาวิจัยไว้ในรายงานชื่อ A Public Development Program for Thailand ซึ่งได้วิจารณ์ รัฐวิสาหกิจไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามไว้ 3 ประการ คือ

1 ปราศจากการวางแผนที่ดี

2 การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

3 ไม่ก่อให้เกิดผลกําไรเท่าที่ควร

คณะทํางานธนาคารโลกได้ให้ข้อเสนอแนะสําหรับรัฐวิสาหกิจของไทย ดังนี้

1 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม

2 รัฐบาลควรทําหน้าที่ในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสาธารณูปการเท่านั้น ” ส่วนกิจการด้านอื่น ๆ ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ

 

ข้อ 6 จงอธิบายความคิดเห็นทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจตามแนวความคิดของสํานักต่าง ๆ ดังนี้

1 สํานักพาณิชย์นิยม (Mercantilism)

2 สํานักเสรีนิยม (Liberalism) และ

3 สํานักสังคมนิยม (Socialism)

แนวคําตอบ

นักเศรษฐศาสตร์สํานักต่าง ๆ มีความคิดเห็นทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1 สํานักพาณิชย์นิยม (Mercantilism) เป็นสํานักที่มองเห็นความสําคัญของรัฐบาลใน การดําเนินการทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการดําเนินการทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าเอกชนมักจะ ดําเนินการทางเศรษฐกิจโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่ และผลประโยชน์ส่วนตัวก็มักจะขัดกับ ผลประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นสํานักพาณิชย์นิยมจึงเห็นว่า

1) ในทางการค้านั้น รัฐควรกระทําอย่างเต็มความสามารถเพื่อนําผลประโยชน์เข้าสู่ประเทศ โดยรัฐจะต้องนําความมั่งคั่งมาสู่ประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

2) ควรเพิ่มอํานาจของรัฐด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น การออกกฎหมายตั้งกําแพงภาษี การจํากัดการนําสินค้าเข้า การห้ามนําเงินและทองแท่งออกนอกประเทศ เป็นต้น

2 สํานักเสรีนิยม (Liberalism) ได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากนักคิดสํานักคลาสสิก ที่ให้ความสําคัญกับเสรีภาพของมนุษย์ในทางการเมืองและเศรษฐกิจ การให้สิทธิและความรับผิดชอบแก่ปัจเจกชน และปฏิเสธการบังคับการจํากัดการค้าและการไม่ให้เสรีภาพในการประกอบการ ซึ่งนักคิดคนสําคัญของสํานัก คลาสสิก ได้แก่ John Locke และ Adain Smith John Locke ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “Two Treatises of Government” ว่า

1) อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินเป็นส่วนตัวได้ หรือควรได้สิทธิในการครอบครองกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน

2) หน้าที่ของรัฐและรัฐบาล คือ การรักษาสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ ชีวิตเสรีภาพ และทรัพย์สิน

3) รัฐควรเป็นรัฐเสรี มีอํานาจจํากัด ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องบังคับในกิจการของปัจเจกชนนอกจากในกรณีจําเป็นเพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของสมาชิกนอกเหนือจากนั้นควรปล่อยให้สมาชิกจัดการเอง

Adam Smith ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “The Wealth of Nations” ว่า การจัดตัวของ ระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่เสรีของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจเอง มิต้องมีการแทรกแซงโดยรัฐและรัฐบาล เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมี “มือที่มองไม่เห็น” (The Invisible Hand) ซึ่งเป็นธรรมชาติของการแลกเปลี่ยนและ ผสานผลประโยชน์ของมนุษย์คอยกํากับให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายดําเนินไปได้โดยเป็นประโยชน์ทั้งแก่ ปัจเจกชนและสังคม ดังนั้นบทบาทของรัฐบาลควรมีจํากัด เพราะการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลมากเกินไปจะเป็น การทําลายธรรมชาติของการติดต่อแลกเปลี่ยนของมนุษย์ โดยรัฐบาลควรมีหน้าที่จํากัดเพียง 3 ประการ คือ

1) การป้องกันประเทศ

2) การคุ้มครองสมาชิกของสังคมจากความอยุติธรรม

3) การก่อตั้งและบํารุงรักษาสถาบันสาธารณะและกิจการสาธารณะซึ่งเป็นประโยชน์แก่สังคม แต่มีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย

จากอิทธิพลแนวความคิดของนักคิดสํานักคลาสสิกทําให้นักเศรษฐศาสตร์สํานักเสรีนิยม เห็นว่า รัฐที่เจริญมั่นคงได้นั้นไม่ใช่เป็นรัฐที่ทําการผูกขาดตัดตอนทางการค้าหรือเลี้ยงตัวโดยกระทําเฉพาะแต่หา วัตถุแร่ธาตุที่มีค่าเข้ามาภายในประเทศอย่างเดียว ยังจําเป็นที่จะต้องให้มีเสรีภาพในการประกอบการที่จะทําการ แลกเปลี่ยนโภคทรัพย์ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศได้ และถือว่าชีวิตเศรษฐกิจของประชาชนนั้นควรจะปล่อยให้ เป็นอิสระถูกต้องตามระเบียบธรรมชาติ โดยปล่อยให้เอกชนมีเสรีในการประกอบการ ฉะนั้นบทบาทของรัฐที่จะ เข้าไปแทรกแซงในชีวิตเศรษฐกิจของประชาชนก็ควรที่จะลดลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็น โดยถือว่าเอกชน เท่านั้นที่จะเป็นผู้ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และควรให้เอกชนมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยกเว้นแต่ในบางกรณีซึ่งจําเป็นต้องอาศัยรัฐเป็นผู้ช่วยเหลือ

3 สํานักสังคมนิยม (Socialism) สํานักนี้มีอยู่หลายสํานักด้วยกัน ซึ่งมีความคิดเห็น แตกต่างกันในเรื่องเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามอาจสรุปรวบรวมหลักการสําคัญของสํานักสังคมนิยมสํานักต่าง ๆ ที่ ถือแนวทางร่วมกันได้ดังนี้

1) ถือว่าการจัดการเศรษฐกิจตามแบบของสํานักเสรีนิยมเป็นการก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วนทรัพย์สิน คือทําให้มีคนรวยและคนจน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านชนชั้นระหว่างมนุษย์

2) ผลของเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนและการแข่งขันก่อให้เกิดชนชั้นกรรมกร ซึ่งนับเป็นเหตุอันสําคัญที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและอยุติธรรมทางสังคม

3) ต้องการที่จะยกเลิกกรรมสิทธิ์ของเอกชน และให้กรรมสิทธิ์ของเอกชนกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ นอกจากนั้นยังต้องการที่จะให้การประกอบกิจกรรมทั้งหลาย ของเอกชนกลายเป็นของรัฐอีกด้วย

POL3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง 1 ข้อสอบมี 7 ข้อ ให้นักศึกษาทําทั้งหมด 4 ข้อ โดย

ข้อที่ 1 บังคับทํา ถ้าไม่ทําถือว่าสอบไม่ผ่าน

2 ให้นักศึกษาเลือกทําตามความพึงพอใจ 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ความสําคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ลักษณะ และรูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

แนวคําตอบ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

เกศินี หงสนันทน์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็น เจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง และยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น

ติน ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงานเชิงธุรกิจ กิจการ ของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบัน การเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ํามัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่ง รัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมาย และกฎเกณฑ์หลายประการ คือ

1 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย

2 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีลักษณะเป็นบริษัทจํากัด ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาที่ให้อํานาจไว้โดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เช่น องค์การตลาด

4 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย ประกาศคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

5 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจโดยนัยนี้ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ เช่น โรงงานยาสูบ

6 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาตามนัยของกฎหมายธนาคารพาณิชย์ที่รัฐบาลถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 เช่น ธนาคารกรุงไทย ความสําคัญของรัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของการบริหารจัดการในภาครัฐ และเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม พัฒนา และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจส่วนมาก เป็นการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น ด้านพลังงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการคมนาคม ด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกิจการสาธารณะเหล่านี้ต้องใช้เงินทุนในการดําเนินการสูง แต่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนตําและมีอัตราการคืนทุนที่ใช้ระยะเวลานาน ทําให้เอกชนขาดความสนใจที่จะ เข้ามาลงทุน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาดําเนินการเองในรูปแบบของ “รัฐวิสาหกิจ” เพื่อให้ประชาชนได้รับกา ยกระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และสามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ

2 เพื่อส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม

3 เพื่อความมั่นคงของประเทศ

4 เพื่อควบคุมสินค้าอันตราย

5 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ

6 เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ

7 เพื่อเป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ

8 เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ

9 เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ประเทศ

ลักษณะของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานร่วมกับเอกชนหรือกลุ่มบุคคล

2 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานแบบธุรกิจ ไม่ใช่ในฐานะผู้ปกครอง

3 เป็นกิจการที่มีอิสรภาพทางการบริหารและการจัดการทรัพยากรของตนเองภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล

4 การจัดโครงสร้างขององค์การรัฐวิสาหกิจควรมีลักษณะพิเศษที่เหมาะสมแก่การบริหารงาน

5 ผู้ใช้บริการ คือบุคคลที่จะต้องจ่ายค่าบริการของสินค้านั้น ๆ

6 ราคาของสินค้าและบริการอาจจะมีความผันแปรไปตามความต้องการของผู้บริโภคหรือกลไกของราคาตลาด

7 ประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของการบริหารในด้านต่าง ๆ จะต้องมีความคล้ายคลึงกับบริษัทเอกชน

รูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามหน่วยงานราชการที่สังกัด ตัวอย่างเช่น

1) สํานักนายกรัฐมนตรี มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 2 แห่ง คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

3) กระทรวงสาธารณสุข มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ องค์การเภสัชกรรม

2 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกลุ่มสาขา ตัวอย่างเช่น

1) สาขาพลังงาน แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)

2) สาขาสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

3 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มประเภทของการจัดตั้ง ดังนี้

1) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511

2) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกําหนด เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันจัดตั้งโดยพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน พ.ศ. 2540

3) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การสวนยาง จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504

4) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด เช่น บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535

5) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 พ.ศ. 2515

6) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น องค์การสุรา จัดตั้งขึ้นโดยระเบียบจัดตั้งองค์การสุรา กรมสรรพสามิต พ.ศ. 2506

4 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ เช่น การจัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการให้บริการด้านพลังงานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ในราคา ที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาความสมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมาย หลักการ บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

แนวคําตอบ

ความหมายของการบริการสาธารณะ

นันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้อธิบายว่า การบริการสาธารณะ คือ กิจกรรมประเภทหนึ่งซึ่งรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชน หรือ การดําเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ ให้ความหมายว่า การบริการสาธารณะ หมายถึง การที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่ ในการส่งต่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน โดยส่วนรวม การให้บริการสาธารณะมีลักษณะที่เป็น “ระบบ” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ส่วน คือ

1 สถานที่และบุคคลที่ให้บริการ

2 ปัจจัยนําเข้าหรือทรัพยากร

3 กระบวนการและกิจกรรม

4 ผลผลิตหรือตัวบริการ

5 ช่องทางการให้บริการ

6 ผลกระทฯ ที่มีต่อผู้รับบริการ

หลักการให้บริการสาธารณะ

ปราโมทย์ สัจจรักษ์ กล่าวถึง หลักสําคัญเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะไว้ 5 ประการ คือ

1 บริการสาธารณะเป็นกิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง

2 บริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ในการสนองตอบความต้องการส่วนรวมของประชาชน

3 การจัดระเบียบและวิธีดําเนินการบริการสาธารณะย่อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อให้เหมาะสมแก่ความจําเป็นแห่งกาลสมัย

4 บริการสาธารณะจะต้องจัดดําเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอ ไม่มีการหยุดชะงักถ้าบริการสาธารณะหยุดชะงักด้วยประการใด ๆ ประชาชนย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย

5 เอกชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเทียมกัน การให้บริการ สาธารณะมีเป้าหมายที่สําคัญ คือ การสร้างความพึงพอใจในการให้บริการแก่ประชาชน

บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

1 ด้านสังคม การบริการสาธารณะด้านสังคมเป็นรูปแบบของการบริการที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ต้องการตอบสนองความมีน้ำใจ และความปรารถนาดีที่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับความสะดวกสบาย เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยการบริการสาธารณะ ทางด้านสังคม ได้แก่

1) การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน คือ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การเก็บขยะการติดตั้งไฟแสงสว่าง น้ําประปา คลองชลประทาน เป็นต้น

2) การบริการสาธารณะด้านสุขภาพ เช่น การป้องกันโรคระบาด การรักษาพยาบาล เป็นต้น

3) การบริการสาธารณะด้านสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การไปรษณีย์ โทรศัพท์เป็นต้น

4) การบริการสาธารณะด้านนันทนาการและการกีฬา เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา เป็นต้น

5) การบริการสาธารณะด้านการประกันภัย เช่น การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การประกันการว่างงาน เป็นต้น

2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม โดยนโยบายทางด้านเศรษฐกิจมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการส่งเสริม การลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ นโยบายการประกันสังคมและสวัสดิการ นโยบายการเกษตร นโยบาย ที่อยู่อาศัย นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนโยบาย การกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

จุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะด้านเศรษฐกิจ มีดังนี้

1) เพื่อให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของคนสูงขึ้น

2) เพื่อให้เกิดความสมดุลและความมีเสถียรภาพของตลาดในประเทศ

3) เพื่อให้มีการกระจายรายได้ และการกําหนดราคาที่ทําให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน

4) เพื่อให้มีเสรีภาพ และมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการดํารงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

5) เพื่อให้ฐานะทางการเงินของประเทศมีความมั่นคง

6) เพื่อให้มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ

7) เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

 

3 ด้านการปกครอง การบริการสาธารณะทางด้านการปกครองเป็นกิจกรรมสาธารณะที่รัฐทําหน้าที่ในงานด้านการปกครองจะต้องจัดกระทํา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประกอบกับบริบทของงานสาธารณะด้านการปกครองเป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ ในการดําเนินงาน รวมทั้งการมอบอํานาจให้ฝ่ายปกครองในการจัดทําบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางการปกครอง และมีการกําหนดวิธีปฏิบัติงานที่รัฐกําหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน และเป็นระบบเดียวกัน ในการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถให้เอกชนเข้ามาดําเนินการแทนได้ และโดยมากบริการสาธารณะ ด้านการปกครองเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทําขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม เช่น ตํารวจทําหน้าที่ในการ รักษาความสงบสุขภายในประเทศ ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ข้าราชการฝ่ายปกครองทําหน้าที่ในการ เอื้ออํานวยสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายบทบาทของรัฐต่อระบบเศรษฐกิจตามแนวความคิดของ

3.1 แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism)

3.2 แนวคิดแบบลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)

3.3 แนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarians)

3.4 แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-Classical Liberalism)

3.5 แนวคิดสังคมนิยม (Socialist)

แนวคําตอบ

3.1 แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism)

แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิกมีบทบาทอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีรากฐานมาจากแนวความคิดในการเรียกร้องไม่ให้รัฐเข้ามาแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบบเศรษฐกิจของสังคม ซึ่งนักคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิกที่สําคัญ ได้แก่ Adam Smith, Jean Baptiste Say. Thomas Robert Malthus, David Ricardo และ Nassau Senior

Adam Smith เป็นผู้ต้นคิดแนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก ได้เขียนแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ในปี ค.ศ. 1776 ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้

1 นับถือธรรมชาติ โดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติและกลไกของสิ่งต่าง ๆ

2 รัฐบาลไม่ควรแทรกแซงธุรกิจเอกชน ถือหลักเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการค้าขายใน ตลาดเสรี

3 คัดค้านการวางข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาล เนื่องจากระบบเศรษฐกิจจะดําเนินไปด้วยดี หากให้เอกชนริเริ่มในการดําเนินธุรกิจเสรีเพราะทําให้เกิดการแข่งขันกันเองในอุตสาหกรรมนั้น

4 การให้เอกชนสามารถเข้ามาดําเนินธุรกิจ เนื่องจากสิ่งจูงใจจากความเห็นแก่ตัวจะส่งผล ให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมเอง

5 รัฐควรเข้ามาแทรกแซงในกิจการสาธารณะบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ และการลงทุนทําธุรกิจที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หากให้เอกชนทําจะขาดทุน ซึ่ง Adam Smith เรียกว่า เสรีภาพ ตามธรรมชาติ

6 ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงของรัฐในการเกษตร เพราะเชื่อว่าอุตสาหกรรมและ การพัฒนาเศรษฐกิจยังมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรเป็นพื้นฐาน

7 ไม่เห็นด้วยกับการช่วยเหลือคนยากจนที่มีร่างกายปกติตามกฎหมาย เพราะทําให้คน ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง

8 ในกรณีที่มีการแทรกแซงรัฐบาลไม่แทรกแซงอย่างเข้มงวด บางอย่างสามารถผ่อนปรนลง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยทั่วไปเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลช่วยเหลือโรงงานที่ยังไม่สามารถดําเนินการได้เอง ตามลําพัง และการศึกษาฟรี

9 มนุษย์จึงแสวงหาความพอใจมากที่สุดโดยให้มีความเจ็บปวดแต่น้อยในการทําธุรกิจ ซึ่งบุคคลแต่ละคนเลือกทําเองตามวิจารณญาณของตน โดยคิดจากประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อตนพอใจมากที่สุด

3.2 แนวคิดแบบลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)

แนวคิดแบบลัทธิพาณิชย์นิยมเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 จัดอยู่ในแนวคิดแบบเสรีนิยมคลาสสิก แนวคิดนี้ให้ความสนใจความมั่งคั่งของชาติ โดยมีความเชื่อว่า ประเทศชาติจะมีความร่ํารวยมั่งคั่งได้นั้นจําเป็น ที่จะต้องสะสมโลหะที่มีค่าไว้มาก ๆ เช่น ทองคํา ดังนั้นแนวคิดของนักคิดพาณิชย์นิยมจึงนําไปสู่นโยบายการค้า ต่างประเทศที่มุ่งทําให้มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนําเข้า เพื่อที่ประเทศจะได้รับทองคําเป็นค่าตอบแทน จากการขายสินค้า

นอกจากนี้ แนวคิดลัทธิพาณิชย์นิยมได้ส่งผลให้ประชาชนตื่นตัวในการแสวงหาความมั่งคั่ง เริ่มรู้จักใช้เงินตราเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ความมั่งคั่ง การมีทรัพย์สิน และความร่ำรวยทําให้ประชาชนดํารงชีวิต ง่ายขึ้น มีเครื่องอํานวยความสะดวกต่าง ๆ และผู้ที่มีความมั่งคั่งถือเป็นผู้มีเกียรติ มีอํานาจและเพื่อนฝูงมาก

นักคิดที่สําคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ Thomas Mun, Edward Misselden และ Antonie de Montchretien

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Antonie de Montchrefien มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 ตําหนิการดําเนินงานของรัฐบาลฝรั่งเศสในเรื่องของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ที่เปิดประตูการค้ากับต่างประเทศ โดยยอมให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศฝรั่งเศสทั้งที่ประเทศ ฝรั่งเศสสามารถผลิตสินค้านั้นได้เอง

2 ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ และกอบโกยเอาทรัพยากรธรรมชาติของฝรั่งเศสออกไปด้วย

3 เห็นว่า รัฐบาลควรจะส่งเสริมการค้าในประเทศ เพราะถ้าทุกคนทุ่มเทกําลังกายด้วย ความขยันในการผลิตเพื่อการจําหน่ายภายในประเทศจะส่งผลให้ประเทศสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ความมั่งคั่งของ ประเทศที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดจากเงินตราเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการมีสินค้าเพื่อใช้ยังชีพด้วย ดังนั้นรัฐควรมีหน้าที่ ส่งเสริมการผลิตสินค้าให้เพียงพอเลี้ยงประชากรทุกคน เพื่อให้ประชากรอยู่ดีกินดี

3.3 แนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarians)

ในช่วงศตวรรษที่ 13 – 19 สภาพบรรยากาศในทวีปยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะประเทศอังกฤษที่เป็นประเทศแรกที่ดําเนินการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งยังผลให้ เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคมอังกฤษ คือ ชนชั้นกรรมกร และเรียกร้องความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่ได้รับการขัดขวางจากชนชั้นเจ้าของที่ดิน อันนํามาซึ่งการแสวงหาแนวคิดหรือหลักการเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างชนชั้น การเกิดขึ้นของสํานักประโยชน์นิยมก็ด้วยเหตุผลทํานองเดียวกัน อีกทั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทําให้หลักการแบบสัญญาประชาคมถูกโจมตีว่าเป็นเพียงเรื่องของ “การนึกคิดขึ้นมาเองโดยไม่มี ข้อพิสูจน์” (Arm-Chair Thinking) ซึ่งทฤษฎีของสํานักประโยชน์นิยมจึงดูเหมือนจะเข้ามาแทนที่ในความคิดของ ชนชั้นผู้ใช้แรงงานได้อย่างเหมาะสมตามสภาวการณ์

นักคิดสํานักประโยชน์นิยม ได้แก่ Jeremy Bentham, James Mill และ John Stuart Mill

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Jeremy Bentham ซึ่งเป็นผู้นําของแนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 หลักประโยชน์นิยมตามแนวคิดของ Bentham คือ วลีที่กล่าวว่า “The greatest happiness of the greatest number” (การกระทําที่ดีที่สุด คือการกระทําที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดของ คนจํานวนมากที่สุด) ดังนั้นกฎหมายที่ดีจริงก็จะให้ผลประโยชน์แก่คน เป็นกฎหมายเพื่อความสุขของมนุษย์ทุกคน หรือคนจํานวนมากที่สุด

2 เห็นว่า รัฐที่ดีควรปกครองระบบประชาธิปไตย เพราะในหลักการของระบบประชาธิปไตย ที่ว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องมาจากความพอใจ – ของคนส่วนใหญ่ในสังคม

3 มีทัศนะที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจว่า ให้รัฐใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (ทุนนิยม) ให้เอกชน ดําเนินกิจการโดยเสรี โดยที่รัฐบาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด

4 เห็นว่า การแสวงหาวิธีวัดสวัสดิการควรมีลักษณะที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ คือ ศีลธรรมควรมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นความสุข (Pleasure) และความทุกข์ (Pai) จึงควรที่จะวัดได้ในเชิงปริมาณ

5 รัฐควรดําเนินการออกกฎหมายที่สามารถใช้ตัดสินบนมูลฐานของสวัสดิการเพื่อให้ ประชาชนเกิดความสุขมากที่สุดและมีความทุกข์น้อยที่สุด

6 แนวคิดของ Bentham เกี่ยวกับหลักผลประโยชน์ กล่าวได้ว่า เป็นแบบประชาธิปไตย และถือความเสมอภาคไม่ว่าคนยากจนหรือเป็นกษัตริย์ ผลประโยชน์ของแต่ละคนควรได้รับเท่ากันจากสวัสดิการ ที่รัฐสร้างขึ้น ดังนั้นถ้ารัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในกิจการเชิงนโยบายสาธารณะแล้วก่อให้เกิดความสุขแก่ส่วนรวม อาจกล่าวได้ว่า นโยบายนั้นมีประสิทธิภาพ

3.4 แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-Classical Liberalism)

แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเสรีนิยม คลาสสิก โดยมี Alfred Marshall เป็นผู้ค้นคิด แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ถือว่าตลาดเป็นสถาบันที่มีความสลับซับซ้อน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทําให้กลไกตลาดสามารถดําเนินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งระบบเศรษฐกิจตามอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มเสรีนิยมแนวใหม่มองว่า

1 ระบบเศรษฐกิจจะต้องประกอบไปด้วยธุรกิจที่มีขนาดเล็กเป็นจํานวนมากที่ทําให้ธุรกิจ แต่ละธุรกิจเกิดการแข่งขันกัน และไม่มีธุรกิจใดสามารถที่จะผูกขาดตลาดได้

2 รัฐควรดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยการเน้นบทบาทการให้เสรีภาพของตลาดเพื่อ การผลิต การกระจาย และการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

3 รัฐบาลควรจํากัดบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทําหน้าที่ในการรักษากฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

นักคิดเสรีนิยมแนวใหม่ที่สําคัญ ได้แก่ Alfred Marshall, Friedrich August Von Hayek, Robert Nozick และ Mitton Friedman

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Robert Nozick มีทัศนะเกี่ยวกับรัฐว่า รัฐที่มีความชอบธรรม คือ รัฐที่มีบทบาทหน้าที่ที่จํากัด โดยมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการใช้กําลัง การขโมย การคดโกง และการทําสัญญาต่าง ๆ ให้มีผลบังคับใช้ในกรณีที่รัฐขยายบทบาทหน้าที่ของตนเองออกไปมากจนเกินไปจะเป็น การกระทําที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบธรรม นอกจากนี้ Nozick ยังมองว่า คนที่ไม่ได้ลงมือทํางานด้วยตนเองก็สามารถมีสิทธิในทรัพย์สินได้ เช่น การได้รับมรดก ดังนั้นรัฐจึงไม่มีความชอบธรรม ในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อบีบบังคับเอาทรัพย์สินส่วนบุคคลไปจัดสรรหรือกระจายให้ผู้อื่นเพื่อให้เกิด ความยุติธรรม

3.5 แนวคิดสังคมนิยม (Socialist)

แนวคิดสังคมนิยมเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาและความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากกลไกตลาดเสรี ตามแนวคิดเสรีนิยมคลาสสิก เช่น การกระจายทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน การแบ่งชนชั้นวรรณะทางเศรษฐกิจ ความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ มลภาวะที่เป็นพิษ การทําลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชน แออัด อาชญากรรม โรคระบาด ความอดอยาก ปัญหาขยะ ตลอดจนปัญหาด้านสวัสดิการต่าง ๆ ทางสังคม เช่น อุบัติเหตุจากการทํางานโดยไม่มีค่าทดแทนใด ๆ แก่ครอบครัวของผู้บาดเจ็บและถึงแก่กรรม คนงานไม่มีสิทธิ ทางการเมือง สหภาพแรงงานถูกห้ามตั้ง เป็นต้น

นักคิดสังคมนิยมที่สําคัญ ได้แก่ Kart Marx, Robert Owen, Pierre Joseph Proudhon และ Simonde de Sismondi

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Kart Marx มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 เห็นว่า การแบ่งงานกันทําตามแนวคิดของ Adam Smith ทําให้เกิดผลประโยชน์ขัดกัน เพราะต้องแยกคนงานออกเป็นภาคส่วน คือ คนงานอุตสาหกรรม คนงานในการค้า คนงานเกษตรกรรม และ แยกย่อยลงอีกแต่ละชนิดของภาคส่วน ซึ่งนําไปสู่การขัดผลประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ ของชุมชนและผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ

2 เห็นว่า พลังของคนงานที่มารวมกันเป็นสหภาพแรงงาน และมีชนชั้นขึ้นในสังคม ชนชั้นเหล่านี้ต่างแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่พวกตนโดยอ้างว่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เมื่อคนงานมีพลังขึ้นเป็น สหภาพแรงงาน รัฐก็ไม่สามารถควบคุมได้ ภายใต้ระบบนายทุนนําไปสู่สภาวการณ์อย่างเลี่ยงไม่ได้ 2 ประการ คือ ผู้มีทรัพย์สิน และผู้ที่ไม่มีทรัพย์สิน

3 มองว่า การแบ่งงานกันทํานําไปสู่การแบ่งชนชั้นวรรณะทางสังคม และผลประโยชน์ขัดกัน เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง คนรวยกับคนจน เป็นต้น โดยเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างต่ําต้อยกว่านายจ้าง ส่วน นายจ้างถือว่าตนเหนือกว่า เมื่อลูกจ้างมีปมด้อยจึงรวมกันเพื่อต่อสู้กับนายจ้าง โดยวิธีเรียกร้องขึ้นค่าแรงงาน และให้จัดสวัสดิการให้คนงาน ส่วนนายจ้างถ้ายินยอมตามคําขอของลูกจ้าง ผลประกอบการจะเข้าสู่สภาวะขาดทุน หรือมีกําไรน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ธุรกิจดําเนินต่อไปได้ยาก ซึ่งนําไปสู่ระบบสังคมนิยมระยะแรกของการแปลสภาพ ไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์

4 Mark คัดค้านการยอมให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แรงงานเป็นแหล่งเกิดของความมั่งคั่ง แต่ได้รับผลตอบแทนเพียงพอต่อการดํารงชีวิตเท่านั้น ส่วนผลผลิตที่เกิดจากแรงงานเป็นของนายทุน แรงงานจึงเป็นสินค้าอย่างหนึ่งภายใต้ลัทธิทุนนิยม

5 เห็นว่า ในเรื่องของกําไร ธุรกิจมักจะมีลักษณะของการผูกขาด อันเป็นผลให้กําไรเพิ่ม และเพิ่มความทุกข์เข็ญให้แก่คนงาน ในที่สุดความขัดกันระหว่างชนชันในระบบทุนนิยมนี้จะนําไปสู่การสิ้นสุดของ ระบบนายทุน คนงานจะมีอิสระขึ้น เข้ายึดอํานาจตั้งผู้เผด็จการของตนเพื่อบีบบังคับนายจ้างเป็นผลให้ประเทศ กลายเป็นระบบสังคมนิยมที่ละน้อย เมื่อมากขึ้นก็จะกลายเป็นระบบคอมมิวนิสต์

6 เชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเกิดขึ้นก่อน เพราะเป็นวิสัยของมนุษย์ชอบอิสรเสรี แต่ควรใช้ระบบคอมมิวนิสต์เข้าแทน ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ทรัพย์สินของชาติจะเป็นของส่วนรวมแทนที่จะให้เป็น ของบุคคลแต่ละคน

 

ข้อ 4 จงอธิบายแนวคิด หลักการ และแนวทางในการบริหารรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดในการบริหารรัฐวิสาหกิจ

การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความยากลําบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทําให้ปัญหาอุปสรรคมีความซับซ้อนตามขึ้นไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจําเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจเลือก แนวทางการจัดการเพื่อดําเนินกิจรรมต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความพึงพอใจต่อประชาชนได้อย่างสูงสุด

ดังนั้นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจําเป็นต้องมีทักษะในการเลือกแนวทางดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวัฒนธรรม ค่านิยม คน เวลา สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ เพราะในปัจจุบัน การบริหารงานในองค์การไม่สามารถให้ผู้บริหารลองผิดลองถูกได้ และแนวคิดการบริหารที่ดีมีประโยชน์จะเป็น สิ่งที่ผู้บริหารสามารถนํามาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การต่อไปได้

หลักการและแนวทางในการบริหารรัฐวิสาหกิจ

หลักการและแนวทางในการบริหารรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามหลักการจัดระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน ซึ่งมี 2 หลักการ คือ

1 หลักการรวมอํานาจ คือ อํานาจและการตัดสินใจในการบริหารราชการแผ่นดินรวมไว้ ที่ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง และกรมต่าง ๆ ดังนั้นอํานาจของส่วนกลางจึงแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1) การบริหาร ได้แก่

(1) การกําหนดนโยบายทั่วไปและกฎระเบียบการบริหารรัฐวิสาหกิจ

(2) การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูง

(3) การอนุมัติการกระทําบางอย่างของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่

– การเปลี่ยนอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการ

– การเปลี่ยนอัตราราคาสินค้าหรือบริการ

– การทําสัญญา

– กิจการที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน

– กิจการที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาลและผลประโยชน์ของประชาชน

(4) การจัดตั้งคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเฉพาะ เช่น คณะกรรมการติดตามการดําเนินงานตามนโยบายการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการ กํากับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ กระทรวงหรือกรมที่เป็นต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เป็นต้น

2) การควบคุม การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจําแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กฎระเบียบเกี่ยวกับบุคลากรของรัฐวิสาหกิจ กฎระเบียบเกี่ยวกับการเงินของรัฐวิสาหกิจ และกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ

3) การประเมินผล เป็นเครื่องมือตรวจสอบการทํางานด้านต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อสร้างความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือและความมั่นใจแก่ประชาชน ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน รวมทั้งเพื่อเป็น ข้อเสนอแนะให้กับรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงแก้ไขการดําเนินงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

2 หลักการกระจายอํานาจ เป็นวิธีการที่รัฐบาลกลางมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้กับองค์การที่มิใช่องค์การส่วนกลางในการจัดทําบริการสาธารณะ โดยออกกฎหมายจัดตั้งองค์การให้มีลักษณะเป็น นิติบุคคล เพื่อให้องค์การนั้นสามารถที่จะบริหารจัดการองค์การได้อย่างอิสระภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายจัดตั้ง องค์การนั้น ๆ โดยรัฐบาลและหน่วยงานราชการกลางทําหน้าที่ในการกํากับดูแลเท่านั้นและเป็นการแบ่งภาระงาน จากหน่วยงานราชการกลาง

การกระจายอํานาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1) การกระจายอํานาจแบบแบ่งพื้นที่ เป็นการมอบอํานาจให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะที่อยู่ในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และรวดเร็ว

2) การกระจายอํานาจแบบทางเทคนิค คือ การมอบบริการสาธารณะอย่างใด อย่างหนึ่งให้องค์การที่ไม่ได้อยู่ในระบบราชการในการดําเนินกิจการ องค์การที่จัดตั้งด้วยวิธีนี้จะจัดตั้งด้วยเงินทุน และบุคลากรขององค์การนั้น และอยู่ในรูปของรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน ซึ่งลักษณะของการจัดตั้งองค์การ ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางเทคนิคของการจัดตั้ง ความหลากหลายของกิจการและการบริหาร เช่น องค์การ โทรศัพท์ การประปา มหาวิทยาลัย การไฟฟ้า เป็นต้น

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงสร้างการจัดระเบียบ การบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ

1 การบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการบริหารที่ยึดหลักการรวมอํานาจ โดยอํานาจ การตัดสินใจในการดําเนินงานขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ส่วนกลาง ดังนั้นการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจโดยอาศัยหลักการบริหารราชการส่วนกลางจึงทําให้รัฐบาลสามารถจัดทําบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีเอกภาพ และส่งผลให้ ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้รับประโยชน์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนวิธีการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจจากส่วนกลางเป็นรูปแบบที่มีความประหยัด เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และงบประมาณ การลงทุนจากส่วนกลาง และเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพโดยอาศัยอํานาจการบริหารจากส่วนกลาง ทําให้การโยกย้ายเจ้าหน้าที่ วัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นของรัฐวิสาหกิจเดียวกันไปปฏิบัติหน้าที่หรือใช้ประโยชน์ ได้สะดวกและรวดเร็ว

รัฐวิสาหกิจที่สังกัดการบริหารราชการส่วนกลาง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) องค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา ทําหน้าที่เป็นองค์การของรัฐในการดําเนินงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศ

2) หน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ จัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดกระทรวง ทบวง หรือกรม  ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

3) บริษัทจํากัด โดยรัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือบางส่วน จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารที่ส่วนกลางได้แบ่งอํานาจบริหาร บางส่วนให้เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางไปปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค แต่อํานาจในการตัดสินใจในการดําเนินงาน ต่าง ๆ ในขั้นสุดท้ายยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง ดังนั้นรัฐวิสาหกิจในส่วนภูมิภาคจึงมีอํานาจในการตัดสินใจในการจัดทํา บริการสาธารณะบางประการ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการตัดสินใจที่สอดคล้องกับความต้องการของ แต่ละภูมิภาค และเจ้าหน้าที่ประจําในแต่ละส่วนภูมิภาคสามารถที่จะใช้อํานาจแทนส่วนกลางได้ แต่ส่วนกลาง ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่แต่ละภูมิภาคยังคงมีอํานาจควบคุมและวินิจฉัยสั่งการเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ได้อย่างใกล้ชิด

การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจในส่วนภูมิภาคทําให้การวินิจฉัย การสั่งการ และลําดับขั้น ของการบังคับบัญชาน้อยลง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงตามความต้องการ ประหยัด ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ รวมทั้งรัฐและเจ้าหน้าที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนและเข้าใจปัญหาได้ดีกว่า การตัดสินใจจากส่วนกลาง

3 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอํานาจการบริหารให้ประชาชน ในท้องถิ่นปกครองกันเอง เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนภายในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้น การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในท้องถิ่นจึงเป็นการมอบอํานาจหน้าที่ในการดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจบางส่วนจากราชการ บริหารส่วนกลางให้ท้องถิ่นดําเนินกิจการได้เองโดยตรง ไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับบัญชาสั่งการของราชการบริหาร ส่วนกลาง จึงทําให้การตัดสินใจปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจในท้องถิ่น เป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของประชาชนใน ท้องถิ่น ตลอดจนช่วยส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย เพราะประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทํา บริการสาธารณะท้องถิ่น

 

ข้อ 5 จงอธิบายแนวคิด หลักการ และแนวทางในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ

แม้รัฐวิสาหกิจจะมีอิสระในการบริหารและการจัดการรัฐวิสาหกิจของตนเองตามหลักการ กระจายอํานาจ เช่น มีอิสรภาพทางด้านการคลังด้วยการมีงบประมาณเป็นของตนเอง แต่รัฐวิสาหกิจก็ยังคงต้อง อยู่ภายใต้การกํากับดูแลและการควบคุมจากส่วนกลาง เพื่อให้การกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามประเภทของ การกระจายอํานาจตามกรอบกฎหมายที่กําหนด และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

หลักการและแนวทางในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ ฝ่ายบริหารมีอํานาจในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1 อํานาจในการกําหนดนโยบายทั่วไป เป็นอํานาจของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เป็นต้นสังกัด ของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยกฎหมายไม่ได้ระบุถึงความหมายและขอบเขตของคําว่า “นโยบายทั่วไป” แต่สิ่งดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงอํานาจของรัฐบาลในการกํากับดูแลกิจการที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณประโยชน์ ของประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เป็นต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเกี่ยวกับ การดําเนินธุรกิจในกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยที่รัฐวิสาหกิจนั้นจะเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซง จากฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติ

2 อํานาจในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูง เป็นอํานาจ ของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี โดยอํานาจดังกล่าวนี้เป็นเครื่องมือสําคัญที่จะทําให้ฝ่ายบริหารสามารถควบคุม รัฐวิสาหกิจให้ดําเนินงานเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เเละตามความต้องการของฝ่ายบริหาร โดยกฎหมาย กําหนดให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคลดังต่อไปนี้

1) กรรมการบริหารหรือคณะกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจ

2) หัวหน้าฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น ผู้อํานวยการ หรือผู้ว่าการ

3 อํานาจในการบริหารของฝ่ายบริหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) การกํากับดูแลด้านการดําเนินงาน กําหนดเป็นกฎหมายไว้ 5 วิธี คือ

(1) ให้ฝ่ายบริหารมีคําสั่งให้องค์กรรัฐวิสาหกิจปฏิบัติตามคําสั่งได้ในบางกรณีตามอํานาจที่ระบุไว้ในกฎหมาย

(2) ให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจถอดถอนเจ้าหน้าที่ขององค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือสั่งให้พักราชการได้

(3) ให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจเข้าไปร่วมมือกับองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่นการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นกรรมการร่วมกับองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

(4) กิจการสําคัญบางอย่างขององค์กรรัฐวิสาหกิจจะมีอํานาจในการดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหารแล้วเท่านั้น

(5) รัฐวิสาหกิจจะดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารเสียก่อน ได้แก่

– การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

– การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ

– การทําสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ เช่น การเช่าที่ดิน

– อื่น ๆ ที่ฝ่ายบริหารเห็นว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาลและผลประโยชน์ของประชาชน

2) การกํากับดูแลทางด้านการเงิน มี 3 วิธี คือ

(1) กําหนดให้องค์กรรัฐวิสาหกิจทํางบประมาณ ซึ่งจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องมีหลักว่า จะไม่อนุมัติต่อเมื่อผิดกฎหมาย หรือไม่มีเหตุผลสมควร เช่น พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 บัญญัติว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดําเนินกิจการดังต่อไปนี้ได้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ การเลิกสร้างทางรถไฟที่ได้เริ่มสร้างแล้วหรือเลิกกิจการในทางที่เปิดให้เห็นแล้ว การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

(2) กําหนดให้ฝ่ายบริหารกําหนดรายละเอียดได้ว่าเงินที่ให้เป็นการอุดหนุนองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องใช้จ่ายในกิจการอย่างไร

(3) กําหนดให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจดูบัญชีและการใช้จ่ายว่าใช้จ่ายโดยถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจยังถูกควบคุมและกํากับดูแลโดยองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล ได้แก่

1 รัฐสภา ทําหน้าที่ในการดําเนินการควบคุมดูแลการบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ โดยการพิจารณาอนุมัติพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี ด้วยการตั้งกระทู้ถาม หรือการขอเปิดอภิปราย เพื่อลงมติพิจารณาอนุมัติงบประมาณในการจัดทําบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาของรัฐวิสาหกิจ

2) จัดทําข้อเสนอเกี่ยวกับรายจ่ายประจําปีของรัฐวิสาหกิจ

3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการดําเนินการร่วมกัน และประสานงานเกี่ยวกับการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในทางวิชาการ การจะกู้ยืมเงินและการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4) สํารวจรายงานเกี่ยวกับผลงานตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการให้เร่งรับ การปรับปรุง หรือล้มเลิกโครงการ

3 สํานักงบประมาณ มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียดตามที่ผู้อํานวยการกําหนด

2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

3) กําหนดเพิ่มหรือลดเงินประจํางวดตามความจําเป็นของการปฏิบัติงาน และตามกําลังเงินของแผ่นดิน

4 กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) จัดให้มีบัญชีประมวลการเงินแผ่นดิน กําหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินคงคลัง การเก็บรักษา และการนําเงินส่งคลัง

2) จัดให้มีการตรวจเอกสารขอเบิกเงิน การจ่ายเงิน และการก่อหนี้ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษา และการนําเงินส่งคลัง

3) กําหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้

4) กําหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยเงินทดรองจ่ายราชการ

5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) ตรวจสอบบัญชีเงิน รายรับรายจ่ายของแผ่นดิน หรืองบแสดงฐานะการเงินของแผ่นดินประจําปี

2) ตรวจสอบบัญชี ทุนสํารอง เงินตราประจําปี และแสดงความเห็นว่าการรับจ่ายเงินเป็นการถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

3) ตรวจสอบบัญชีเอกสาร และทรัพย์สินของทบวงการเมือง

 

ข้อ 6 จงอธิบายปัญหาของระบบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารรัฐวิสาหกิจ และเหตุผล ความสําคัญแนวทาง และหลักการในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ปัญหาของระบบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารรัฐวิสาหกิจ

1 ความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ เนื่องจากภารกิจของราชการเป็นภารกิจ ที่จะต้องดําเนินการไปตามกฎหมายของการจัดตั้งที่กําหนด จึงส่งผลให้ระบบราชการมีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และระเบียบแบบแผนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนและรัดกุม ทําให้ขาดความยืดหยุ่นในการทํางานและไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป

2 ระบบสายการบังคับบัญชา ทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่ง ที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ ลักษณะดังกล่าวทําให้การทํางานของระบบราชการขาดความเป็นอิสระ ข้าราชการขาดความ เป็นตัวของตัวเอง และขาดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

3 การควบคุมที่รัดกุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการทุจริตของข้าราชการ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนที่กําหนด การตรวจสอบจึง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริบททางกฎหมายมากกว่าการเน้นการบริหารงานโดยยึดหลักประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ ระบบราชการขาดความยืดหยุ่นในการบริหารราชการ

4 รูปแบบโครงสร้างของระบบราชการ มีการแบ่งอํานาจการบริหารออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้า ขาดความคล่องตัว เนื่องจากมีขั้นตอน การปฏิบัติงานที่สลับซับซ้อน

5 ความสลับซับซ้อนของหน่วยงานในระบบราชการ ในกระบวนการจัดทําบริการ สาธารณะของรัฐเองนั้นมีความสลับซับซ้อนในโครงสร้างของระบบราชการเองที่มีลักษณะผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่สังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกัน และยังให้เอกชนเข้ามาดําเนินการด้วย เช่น

กระทรวงศึกษาธิการที่ก รับดูแลวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยพาณิชยการ วิทยาลัยการเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป์ และวิทยาลัยเอกชน

กระทรวงสาธารณสุขที่กํากับดูแลวิทยาลัยของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ สมาน รักสิโยกฤษฎ์ ได้เสนอปัญหาของระบบราชการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ

1 ปัญหาอันเนื่องมาจากการติดยึดกับปรัชญาการบริหารราชการยุคเก่า ได้แก่

1) เน้นบทบาทของรัฐในฐานะเป็นผู้ควบคุมและดําเนินกิจการทุกอย่างเสียเอง ทําให้การบริหารราชการมีลักษณะผูกขาดสูง ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพ

2) เน้นการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

3) เน้นการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานแบบระบบราชการ ทําให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการตัดสินใจและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ

4) เน้นการขยายตัวของหน่วยราชการ ทําให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่โต และเกิดความซ้ําซ้อนในภารกิจ

5) เน้นการใช้กฎระเบียบและการควบคุม โดยมีการใช้กฎระเบียบเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงานแทนที่จะใช้เป็นเพียงเครื่องมือ

6) เน้นการผูกขาดแนวคิดและยัดเยียดการให้บริการแก่ประชาชน ทําให้กิจการของรัฐขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และประชาชนขาดความศรัทธาในบริการของรัฐ

7) เน้นให้หน่วยราชการขยายฐานของงบประมาณในแต่ละปีให้มากขึ้นโดยไม่คํานึงถึงผลลัพธ์ และไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลแบบเปิด ทําให้กระบวนการงบประมาณไม่สามารถสะท้อนการแก้ปัญหาของประเทศได้

2 ปัญหาอันเกิดจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้แก่

1) เค้าโครงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

2) การจัดโครงสร้างส่วนราชการมีความแข็งตัว ไม่เอื้ออํานวยต่อการนําเทคนิคการบริหารงานแบบใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่ามาปรับใช้

3) ความยุ่งยากและความล่าช้าในการจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงส่วนราชการระดับต่าง ๆ

4) การรวมอํานาจและการใช้อํานาจในการบริหาร การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไว้กับหัวหน้าส่วนราชการระดับสูงมาก ทําให้การบริหารงานไม่คล่องตัวและล่าช้า

5) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ ระดับจังหวัดและอําเภอ ไม่มีเอกภาพและไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน

6) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นยังไม่มีความเข้มแข็งและมีหลายรูปแบบเกินไป

7) การจัดระบบโครงสร้างส่วนราชการและการบริหารราชการไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เหตุผลและความสําคัญของการพัฒนารัฐวิสาหกิจเนื่องจากพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม รูปแบบตลาด พฤติกรรมการบริโภคของประชาชน รูปแบบการแข่งขันทางธุรกิจของภาคเอกชน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ทําให้รัฐวิสาหกิจในปัจจุบันไม่สามารถใช้วิธีการบริหาร จัดการแบบเดิมได้ ดังนั้นรัฐวิสาหกิจจึงมีความจําเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1 เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 เพื่อช่วยลดภาระทางด้านการเงินของรัฐบาล

3 เพื่อแก้ปัญหาผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจที่ประสบกับภาวะขาดทุน

4 เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสาธารณะ แนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

สํานักงานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ เสนอแนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ไว้ 6 ประการ ดังนี้

1 ปรับปรุงหน่วยงานที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ โดยให้เขียนรายละเอียดหน้าที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน

2 ตั้งกรรมการที่ปรึกษา โดยไม่ต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพื่อทําหน้าที่เสนอแนวทางการปรับปรุงและวางแผนโดยส่วนรวม เพื่อเสนอรัฐบาล

3 ปรับปรุงกองรัฐวิสาหกิจในกรมบัญชีกลาง โดยให้ย้ายไปสังกัดสํานักปลัดกระทรวงการคลัง

4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อควบคุมติดตามการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

5 จัดตั้งสํานักงานรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยให้มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับที่กล่าวไว้ในข้อ 4

6 ตั้งทบวงหรือกระทรวงรัฐวิสาหกิจขึ้นโดยตรง

หลักการในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

1 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางการบริหาร ได้แก่

1) ปรับบทบาทของราชการจากการตรวจสอบควบคุมเป็นการกํากับดูแลและส่งเสริม

2) ปรับขนาดและโครงสร้างขององค์การภาครัฐให้มีขนาดกะทัดรัด โดยใช้มาตรการเสริมต่าง ๆ เช่น การจ้างเหมาเอกชนในงานบางเรื่อง

3) ปรับระบบราชการให้เป็นระบบวิชาชีพ เพื่อให้ข้าราชการมีโอกาสก้าวหน้าตามความสามารถและมีดุลยภาพกับระบบการควบคุมทางการเมือง

4) ปรับระบบบริหารราชการ กฎระเบียบต่าง ๆ และขั้นตอนการอนุมัติ อนุญาตและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สั้นและรวดเร็ว

5) ปรับปรุ้งบรรยากาศและระบบการทํางานภาคราชการให้ทันสมัยและเอื้ออํานวยให้เกิดประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็ว

6) ปรับระบบการทํางานของข้าราชการโดยการกระจายความรับผิดชอบและอํานาจการตัดสินใจให้แก่ข้าราชการในระดับปฏิบัติการให้มากขึ้น

7) ปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ระบบการบริหารและการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความคล่องตัวและเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

2 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางธุรกิจ ได้แก่

1) ลดบทบาทกํากับดูแลจากหน่วยงานของรัฐ โดยกํากับเฉพาะงานที่เป็นนโยบายสําคัญของรัฐ เช่น การก่อหนี้ การนํารายได้ส่งรัฐ การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เป็นต้น

2) กําหนดให้การบริหารรัฐวิสาหกิจภายในอยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการและฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการตัดสินใจ

3) ให้ความสําคัญกับแผนวิสาหกิจ

4) ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการกํากับดูแลให้เกิดความคล่องตัวแก่รัฐวิสาหกิจ

5) ใช้นโยบายราคาเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกําหนดราคาสินค้าและบริการที่คุ้มกับต้นทุน

6) ปรับปรุงระบบการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยการเพิ่มบทบาทการดําเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เช่น การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาดําเนินการในกิจการ ซึ่งเดิมรัฐทําในลักษณะผูกขาดแต่ผู้เดียว การร่วมทุนกับเอกชน การทําสัญญาจ้างเอกชนเพื่อดําเนินการกิจกรรมบางอย่างของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

7) ส่งเสริมการประกอบการเชิงธุรกิจ โดยแก้กฎหมายบางฉบับที่เป็นอุปสรรคต่อการให้เอกชนดําเนินกิจการ ลดเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจให้อยู่ในรูปบริษัทจํากัด

3 การพัฒนารัฐวิสาหากิจตามแนวทางกฎหมาย ได้แก่

1) จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย

2) ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ บุคลากร และเรื่องอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่องค์กรปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายของประเทศเป็นไปอย่างมีระบบ

4 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางสังคมวิทยา ได้แก่

1) วางแผนพัฒนาบุคลากรและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดแรงงาน

(2) กําหนดสิ่งจูงใจและผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้ค่าตอบแทนพนักงานโดยพิจารณาความเหมาะสมเป็นกรณี การจัดฝึกอบรมเพื่อหางานใหม่ให้

3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยราชการนําระบบ “การพัฒนาคุณภาพของการทํางาน” มาปรับใช้ให้เหมาะสม

4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานราชการมีระบบข้อมูลกําลังคนที่เหมาะสม

5) จัดทําระบบค่าตอบแทนใหม่

6) จํากัดการเพิ่มและลดขนาดบุคลากรตามภาระหน้าที่หลักของหน่วยงาน

7) สร้างกลไกการโยกย้ายถ่ายเทกําลังคนระหว่างส่วนราชการเพื่อเกลี่ยกําลังคนจากจุดที่หมดความจําเป็นหรือจําเป็นน้อยไปให้จุดที่มีความจําเป็นมาก

8) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ

9) สร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

10) ปรับปรุงให้แผนงานมีความกระจ่างชัด

11) เสริมสร้างความเข้าใจและเผยแพร่บทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อสาธารณชน

5 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางเศรษฐศาสตร์ ตามหลักการเศรษฐศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ถือเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างรายได้เข้าสู่รัฐ และเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อให้ประชาชน ในสังคมมีความกินดีอยู่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลว อันเกิดมาจากระบบตลาดเสรีที่ไม่ต้องการให้คนส่วนน้อยได้รับผลประโยชน์ ดังนั้นการพัฒนารัฐวิสาหกิจตาม แนวทางเศรษฐศาสตร์จึงมุ่งเน้นการพิจารณากิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจ เช่น การระดมทุน การลงทุน การค้ําประกัน เงินกู้ และการกําหนดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น

 

ข้อ 7 จงอธิบายแนวคิด หลักการ รูปแบบ และแนวทางในการควบคุมและประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดการควบคุมรัฐวิสาหกิจ

การควบคุมเป็นกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงาน และการสร้างความมั่นใจว่าจะได้ผลการ ปฏิบัติงานเป็นไปตามปริมาณและคุณภาพที่กําหนด การควบคุมเกิดขึ้นในทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ก่อนกระบวนการ จะเริ่มต้นขึ้นซึ่งเป็นการควบคุมการใช้ทรัพยากรให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในระหว่าง กระบวนการทําให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคและหาทางแก้ไขหรือทางออกได้ทันท่วงที และหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ ช่วยให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่กําหนดขึ้นว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะในการบริหารงานในยุคปัจจุบันที่เน้น ประสิทธิภาพทั้งด้านคน เงิน วัสดุ เทคโนโลยี เวลา เป็นต้น ส่วนจําเป็นต้องอาศัยกระบวนการควบคุมที่รัดกุม และมีประสิทธิผลเนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้การบริหารองค์การได้รับผลกระทบ และต้องเปลี่ยนแปลงตามสภาพที่เป็นไป

หลักการควบคุมรัฐวิสาหกิจ วิเชียร วิทยอุดม เสนอหลักการพื้นฐานของระบบการควบคุม 4 ประเด็น คือ

1 การตั้งบนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีความเที่ยงตรง สามารถวัดและปฏิบัติได้ และเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2 การจัดเตรียมข้อมูลที่เพียงพอและมาจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพราะจะเป็น ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถปฏิบัติได้จริง

3 เกณฑ์หรือมาตรฐานที่กําหนดขึ้นควรได้รับการยอมรับจากพนักงาน ไม่ควรเคร่งหรือ หย่อนจนเกินไปจนพนักงานยากที่จะปฏิบัติตามได้ และควรสร้างมาตรฐานที่มีเหตุผลและให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาร่วม กําหนดมาตรฐาน และหาแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

4 เกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมควรมีวิธีการที่หลากหลาย โดยคํานึงถึง ความเหมาะสมทั้งลักษณะงานที่ปฏิบัติ พนักงาน กลุ่ม วัฒนธรรม หรือค่านิยมของบุคคลหรือหน่วยงานนั้น ๆ และเกณฑ์ที่ใช้ควรอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและเป็นที่ยอมรับของทุกกลุ่มในองค์การ

รูปแบบการควบคุมรัฐวิสาหกิจ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

1 การควบคุมก่อนกระบวนการ เป็นการดําเนินการก่อนกิจกรรมการผลิตหรือบริการ ต่าง ๆ จะเริ่มขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายมีความชัดเจน และมีแนวทางหรือเป้าหมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับ ผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นต้น

2 การควบคุมระหว่างกระบวนการ เป็นการควบคุมกํากับตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในระหว่างการทํางานเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่ดําเนินเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ หรือต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนใดที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการดําเนินงาน

3 การควบคุมหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เป็นการตรวจสอบหลังเสร็จสิ้นการดําเนินกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ในขั้นตอนนี้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขปรับปรุงอะไรได้เลย ทําได้เพียงทราบผลที่เกิดขึ้นและนําข้อมูลไปใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานการดําเนินกิจกรรมในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แนวทางการควบคุมรัฐวิสาหกิจ

1 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยธรรมชาติของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจจะมีโครงสร้างองค์กร และการดําเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งผู้ว่าการรัฐวิสาหกิจ ผู้อํานวยการรัฐวิสาหกิจ หรือผู้จัดการรัฐวิสาหกิจ นั้น ๆ จะไม่สามารถตัดสินใจในการดําเนินงานใด ๆ ได้โดยปราศจากการพิจารณาจากคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ นั้น ๆ ดังนั้นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจจึงเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานและการกําหนดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในการดําเนินงานภายในรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 กระทรวงต้นสังกัด ตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 กําหนดให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังกําหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนําทุนหรือกําไรเข้าบัญชี เงินคงคลัง และในระเบียบและการเงินรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2507 กําหนดให้มีผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นคณะกรรมการ ของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้การจัดสรรกําไร การกําหนดอัตราค่าเบี้ยประชุม ค่าตอบแทนอื่น ๆ ตลอดจนเงินรางวัล หรือโบนัสของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากกระทรวงการคลังก่อน

3 การควบคุมโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในรัฐวิสาหกิจ องค์กรรัฐวิสาหกิจทุกองค์กร จะมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลและตรวจสอบรายรับและรายจ่ายให้เป็นไปตามกฎระเบียบของการเบิกจ่าย ตลอดจนมีการสอบบัญชีภายในองค์กรรัฐวิสาหกิจ และในกรณีที่รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติจะต้อง มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและบัญชีรายรับรายจ่ายให้ประชาชนทราบตามพระราชบัญญัติเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ของภาครัฐ

แนวคิดการประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

การประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจเป็นระบบที่นํามาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐจะประเมินผลการดําเนินงานของผู้บริหารและคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ด้วยตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการกําหนดตัวชี้วัดจะคํานึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ รัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจแต่ละหน่วยมีความคล่องตัวในการดําเนินงานมากขึ้น และจะ

มุ่งเน้นให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้รับผิดชอบในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐจะประเมินผลงานจริงของรัฐวิสาหกิจในช่วงสิ้นปีโดยดําเนินการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานประจําปีกับ เป้าหมายของตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงการประเมินผลงานตอนต้นปี

หลักการของระบบการประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

1 เป็นการนํานโยบายของรัฐบาลมาช่วยในการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการดําเนินงานเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติ

2 เป็นระบบที่ทําให้รัฐวิสาหกิจทราบถึงระดับความสามารถในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

3 เป็นระบบที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลการดําเนินงาน

4 เป็นระบบที่มุ่งเน้นการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของฝ่ายบริหาร

5 ใช้แผนธุรกิจ/แผนกลยุทธ์/แผนวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกําหนดเป้าหมายและประเมินผล รวมถึงการติดตามผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

6 เป็นการกําหนดตัวชี้วัดหลัก ๆ ที่สะท้อนผลการดําเนินงาน โดยไม่ต้องพิจารณาในรายละเอียดมากเกินไป

7 เป็นการกําหนดเป้าหมายตัวชี้วัดโดยมุ่งเน้นให้รัฐวิสาหกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบผลการดําเนินงานกับมาตรฐานสากล

8 เป็นการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ แนวทางในการประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

บันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ เป็นบันทึกข้อตกลงระหว่าง รัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจเพื่อกําหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่รัฐต้องการจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถแบ่งการดําเนินงาน ออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกําหนดตัวชี้วัดการประเมินผลงาน เพื่อวัดประสิทธิภาพการดําเนินงาน ของรัฐวิสาหกิจตามกรอบในการประเมินผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และน้ําหนักในแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งแบ่งเป็น

1) ผลการดําเนินงานที่สามารถวัดเป็นตัวเงิน ได้แก่

(1) รัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ (น้ำหนักร้อยละ 65)

การบริหารจัดการองค์กร (น้ำหนักร้อยละ 35)

(2) รัฐวิสาหกิจที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

– การดําเนินงานตามนโยบาย (น้ำหนักร้อยละ 20 +/-10)

– ผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ (น้ําหนักร้อยละ 45 +/-10)

2) ผลการดําเนินงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงิน ได้แก่

(1) การบริหารจัดการองค์กร (น้ำหนักร้อยละ 35)

(2) บทบาทของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (น้ำหนักร้อยละ 6)

(3) การบริหารความเสี่ยง (น้ำหนักร้อยละ 7)

(4) การควบคุมภายใน (น้ำหนักร้อยละ 4)

(5) การตรวจสอบภายใน (น้ำหนักร้อยละ 6)

(6) การบริหารจัดการสารสนเทศ (น้ำหนักร้อยละ 6)

(7) การบริหารทรัพยากรบุคคล (น้ำหนักร้อยละ 6)

ขั้นตอนที่ 2 การกําหนดค่าน้ําหนักหรือความสําคัญของตัวชี้วัดไม่เกิน 10 ตัวชี้วัด โดยแต่ละตัวชี้วัดจะกําหนดน้ําหนักความสําคัญในระดับที่ต่างกัน ซึ่งจะทําให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง สามารถบริหารงานได้อย่างสอดคล้องกับความความต้องการของรัฐบาล

ขั้นตอนที่ 3 การกําหนดเป้าหมายในการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 5 ดีขึ้นมาก, ระดับที่ 4 ดีขึ้น, ระดับที่ 3 ปกติ, ระดับที่ 2 ต่ำ และระดับ 1 ต่ำมาก

2 ระบบแรงจูงใจหรือค่าตอบแทน ประกอบด้วย

1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ โบนัส และการเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างประจําปี

2) ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ การประกาศจัดอันดับผลงานจริงของรัฐวิสาหกิจประจําปี และการให้ความอิสระในการบริหารงาน

3 วิธีการและขั้นตอนในการดําเนินการระบบประเมินผล แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่

1) รัฐวิสาหกิจเสนอแผนธุรกิจ/แผนกลยุทธ์/แผนวิสาหกิจต่อสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและกระทรวงเจ้าสังกัด

2) คณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาแผนธุรกิจ/แผนกลยุทธ์/แผนวิสาหกิจเพื่อกําหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเป้าหมาย

3) กระทรวงการคลังโดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแจ้งผลการกําหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเป้าหมายในการประเมินผลการดําเนินงานให้รัฐวิสาหกิจทราบเพื่อจัดทําบันทึกข้อตกลง

4) รัฐวิสาหกิจรายงานผลการดําเนินงานรายไตรมาสและรายปีต่อกระทรวงการคลัง

5) คณะกรรมการประเมินผลรัฐวิสาหกิจรับทราบผลการดําเนินงานครึ่งปี และ ณ สิ้นปีบัญชีของรัฐวิสาหกิจ

6) รายงานผลการดําเนินงานประจําปีของรัฐวิสาหกิจให้คณะรัฐมนตรีทราบ

POL3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 6 ข้อ ให้เลือกตอบเพียง 4 ข้อ

ข้อที่ 1 บังคับทํา และให้เลือกทําอีก 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

เกศินี หงสนันทน์ อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงและยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

Encyclopedia Britannica Online อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การธุรกิจที่รัฐเป็น เจ้าของทั้งหมดหรือบางส่วนและถูกควบคุมโดยอํานาจรัฐขอบเขตของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการและการดําเนินงานทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านอุตสาหกรรม กสิกรรม และธุรกิจการค้า

2 ผู้รับผิดชอบในการควบคุมดําเนินงานเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม

3 รัฐทําหน้าที่ในการริเริ่ม กระตุ้น และส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจแก่ภาคเอกชนและเป็นประโยชน์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 รัฐทําหน้าที่ในการนําเสนอการบริการแก่ประชาชนและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

5 ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ก่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบของสังคมในท้ายที่สุด

6 รัฐอาจเข้าไปดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจร่วมลงทุนกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นการกระตุ้นวิสาหกิจเอกชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

2 เพื่อเข้ามาดําเนินงานแทนวิสาหกิจเอกชนโดยวิธีการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ หรือโดยการที่รัฐใช้สิทธิที่จะซื้อกิจการใด ๆ ในสาขาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจได้ก่อนเอกชนอื่น ๆในฐานะที่เป็นกิจการที่อยู่ภายในขอบเขตที่สงวนไว้เฉพาะรัฐบาล

3 เป็นการช่วยเสริมวิสาหกิจเอกชนโดยการทําให้ข้อบกพร่องหรือช่องโหว่บางประการซึ่งวิสาหกิจเอกชนอาจมีอยู่ให้หมดสิ้น

4 เพื่อเข้าร่วมกับวิสาหกิจเอกชน (Joint Enterprise) ในการดําเนินโครงการต่าง ๆ

5 เพื่อบริการด้านสาธารณะ รวมทั้งการรักษาประโยชน์ ป้องกันการเสียหายและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของประชาชนส่วนรวม เช่น การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

6 เพื่อเตรียมพร้อมแก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และเชื้อเพลิง เป็นต้น

7 เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเกียรติคุณของประเทศชาติ เช่น การส่งเสริมกีฬาการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น

8 การผูกขาดเพื่อหากําไร เช่น การผลิตและจําหน่ายสุรา ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

9 เพื่อเผยแพร่วิชาการใหม่ ๆ และวิธีประกอบกิจการด้านต่าง ๆ

 

ข้อ 2 จงอธิบายแนวคิด ความหมายและวัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และรูปแบบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ในช่วงทศวรรษ 1950s และ 1960s รัฐบาลของหลายประเทศต่างเห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ ที่ดีที่จะช่วยให้นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลบรรลุผลตามเป้าหมาย แต่ความเติบโตของรัฐวิสาหกิจในระยะต่อมา กลับส่งผลในเชิงลบ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ อย่างมาก จนนําไปสู่การประเมินบทบาท ของรัฐวิสาหกิจกันใหม่

ในช่วงทศวรรษ 1970s กระแสความคิดที่จะให้เอกชนเข้ามาดําเนินงานแทนรัฐวิสาหกิจ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ในบางประเทศได้มีการดึงภาคเอกชนเข้ามาถือหุ้น หรือแม้กระทั่งขายกิจการ รัฐวิสาหกิจ กระแสความคิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความชัดเจนมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1980s โดยเฉพาะใน ประเทศอังกฤษที่มีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สําหรับประเทศไทย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 นับแต่นั้นมาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาโดยตลอด แต่ก็ไม่เป็นรูปธรรมมากเท่าที่ควร

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในช่วงเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อ ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งประเทศไทยต้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย IMF ได้กําหนดเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย ซึ่งเงื่อนไขที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

Madsen Pirie อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) หมายถึง กระบวนการ ถ่ายโอนการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน

Yair Aharoni อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความหมายครอบคลุมถึงนโยบายต่าง ๆ ดังนี้

1 การโอนความเป็นเจ้าของ คือ การขายทรัพย์สินและกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจให้ผู้ถือหุ้นเอกชน

2 การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันหรือเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น หรือลดอุปสรรคที่มีต่อการแข่งขันให้น้อยลงในการประกอบกิจการธุรกิจต่าง ๆ

3 การส่งเสริมธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับงานบริการต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นการดําเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เพื่อเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ

2 เพื่อดึงดูดเงินลงทุน ความรู้ด้านการจัดการ และเทคโนโลยีจากภาคเอกชนหรือนักลงทุนทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ

3 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

4 เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ

5 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

6 เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยมีค่าบริการที่เหมาะสม

รูปแบบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มี 6 รูปแบบ ดังนี้

1 การทําสัญญาจ้างเอกชนให้บริหารงาน (Contract Out) คือ การที่รัฐจ่ายค่าจ้าง ตามผลงานหรือเหมาจ่ายให้เอกชนที่ทําหน้าที่บริหารงาน ขณะที่รัฐยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินและมีหน้าที่ในการ กําหนดนโยบายบริหารและรับภาระด้านการลงทุน

2 การให้เอกชนทําสัญญาเช่าดําเนินการ (Lease Contract) คือ การให้เอกชนเป็น ผู้เช่าดําเนินการในโครงการของรัฐและจ่ายเงินตอบแทนให้รัฐบาลตามอัตราที่ทําสัญญากัน โดยรัฐยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นผู้กําหนดอัตราค่าบริการ ส่วนเอกชนมีหน้าที่ในการดําเนินงานและลงทุน

3 การให้สัมปทานเอกชน (Concession) คือ การที่รัฐให้สิทธิผูกขาดกับเอกชนในการ ผลิตสินค้าหรือให้บริการบางอย่างภายใต้การกํากับดูแลของรัฐ โดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบด้านการลงทุน การจัดการ และการปฏิบัติงานในทรัพย์สินที่รัฐให้สัมปทาน ทั้งนี้เอกชนที่ได้สัมปทานจะได้รับค่าตอบแทนจากประชาชน ผู้ใช้บริการโดยตรง ขณะที่รัฐจะเก็บค่าสิทธิหรือส่วนแบ่งตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาการให้สัมปทาน ซึ่งหากคุณภาพ การบริการไม่ดีหรือไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ รัฐมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งรูปแบบการให้สัมปทานมีหลายวิธี เช่น

1) Build-Operate-Transfer (BOT) คือ เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการ และเมื่อครบสัญญาสัมปทานเอกชนจะทําการโอนคืนกิจการทั้งหมดให้กับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ

2) Build-Own-Operate (BOO) คือ การให้เอกชนลงทุนดําเนินการและเป็นเจ้าของกิจการ แต่รัฐรับซื้อผลผลิต โดยเปิดโอกาสให้เอกชนประมูลแข่งขันเพื่อดําเนินกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจ

3) Build-Transfer-Operate (BTO) คือ เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนออกแบบและดําเนินการก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้รับสิทธิจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ให้แก่รัฐก่อนการบริหาร โดยเอกชนจะเป็นผู้บริหารกิจการตลอดอายุสัมปทาน

4 การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Divestiture) มี 3 วิธี ได้แก่

1) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจลงบางส่วน แต่รัฐยังคงถือหุ้นอยู่เกินร้อยละ 50 กรณีนี้บริษัทฯ ยังคงสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่

2) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจลงบางส่วน โดยรัฐยังคงถือหุ้นอยู่ไม่เกินร้อยละ 50 ซึ่งมีผลให้บริษัทฯ พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ

3) รัฐวิสาหกิจตั้งบริษัทลูกเพื่อดําเนินกิจกรรม โดยรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทลูกทั้งหมดในขั้นแรก แล้วดําเนินการเพิ่มทุนในบริษัทลูกหรือกระจายหุ้นเดิมใน บริษัทลูกด้วยการนําเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 51 เพื่อให้บริษัทลูกมีสภาพเป็นบริษัทมหาชน

5 การร่วมทุนกับภาคเอกชน (Joint-Venture) คือ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจ กับบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์ในกิจการนั้น ๆ อยู่แล้ว ซึ่งรัฐจะถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 50 โดยการร่วมลงทุนกับ ภาคเอกชนสามารถกระทําได้ 2 วิธี คือ

1) รัฐวิสาหกิจร่วมลงทุนในภาคเอกชนโดยจัดตั้งบริษัทขึ้นดําเนินการบางกิจกรรมที่เคยทําอยู่และบริษัทเอกชนเป็นผู้บริหารในกิจกรรมนั้น

2) รัฐวิสาหกิจประเมินทรัพย์สินของตนแล้วนําไปลงทุนกับภาคเอกชน ซึ่งกิจการส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่ภาคเอกชนทําได้ดีอยู่แล้วหรือมีการแข่งขันสูง

6 การยุบเลิกและจําหน่ายจ่ายโอนกิจการ (Trade Sate and Liquidation) คือ การที่รัฐบาลมีมติยุบเลิกกิจการรัฐวิสาหกิจ โดยจําหน่ายจ่ายโอนกิจการหลังชําระบัญชีเพื่อให้ภาคเอกชนมาซื้อกิจการนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่รัฐหมดความจําเป็นในการดําเนินการและภาคเอกชนทํากิจการประเภทนี้ได้ดีกว่า

 

ข้อ 3 จงอธิบายนโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละแผนระบุไว้ว่าอย่างไร

แนวคําตอบ

นโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มีดังนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509)

1 สาขาอุตสาหกรรม รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่อันเป็นการแข่งขันกับเอกชน ส่วนกิจการที่รัฐอํานวยการอยู่แล้วจะจัดการให้บังเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

2 สาขาการคมนาคม ปรับปรุงกิจการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งปรับปรุงกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมให้มีบริการสะดวกและรวดเร็ว

3 สาขาการพลังงาน ดําเนินงานพลังงานต่าง ๆ เพื่อความต้องการของประเทศ

4 สาขาการสาธารณูปโภค ให้ท้องถิ่นหรือจังหวัดเป็นผู้ดําเนินกิจการด้านสาธารณูปโภค

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)

1 ดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม ความมั่นคงของชาติ และเพื่อหารายได้ของประเทศเท่านั้น

2 รัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นใหม่ เว้นแต่ที่จําเป็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริงเท่านั้น

3 ส่งเสริมและปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่จําเป็นจะต้องรักษาไว้ โดยการปรับปรุงสมรรถภาพในการบริหารงานให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องขอความอุดหนุนด้านการเงินจากรัฐ

4 ควบคุมการขยายงานของรัฐวิสาหกิจให้ดําเนินการเฉพาะโครงการที่แน่นอนและเหมาะสมเท่านั้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) , มีนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจโดยมุ่งสนับสนุนเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทต่อไปนี้

1 รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขนาดใหญ่ซึ่งจัดทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ

2 รัฐวิสาหกิจประเภทยุทธปัจจัยเพื่อการทหารและความมั่นคงของประเทศ

3 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ

4 รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมอาชีพของคนไทยหรือเศรษฐกิจของประเทศ

5 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนมากเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่ได้ผลตอบแทนน้อย

6 รัฐวิสาหกิจประเภทที่รัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเพื่อรักษาระดับราคา ทั้งนี้รัฐจะไม่ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการค้าขึ้นใหม่เพื่อทําการแข่งขันกับเอกชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)

1 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาดเพื่อการควบคุมคุณภาพ ราคา และหารายได้เป็นพิเศษ เช่น โรงงานยาสูบ โรงงานสุราโรงงานเภสัชกรรม เป็นต้น

2 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธปัจจัยที่จําเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น โรงงานผลิตวัตถุระเบิด เป็นต้น

3 รัฐมุ่งสนับสนุนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่

1) จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐานสูง

2) มีการลงทุนสูงและเอกชนไม่สามารถดําเนินการได้โดยลําพัง

3) มีกระบวนการดําเนินงานซับซ้อนที่เอกชนยังไม่สามารถดําเนินการได้

4) ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมีปัญหาในเรื่องการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะการให้สัมปทาน

4 รัฐมีนโยบายยกเลิกหรือจําหน่ายจ่ายโอนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อเป็นผู้ริเริ่มแต่ปัจจุบันยังคงดําเนินการอยู่อย่างขาดประสิทธิภาพ

5 ในกิจการที่รัฐวิสาหกิจและเอกชนดําเนินกิจการควบคู่กันไป รัฐจะใช้มาตรการในการควบคุมในลักษณะคล้ายคลึงกัน

6 รัฐจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

1 ปรับปรุงกลไกในการควบคุมการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น ดังนี้

1) พิจารณานําระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานมาใช้ใน 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ และสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

2) พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการประสานงานกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้เป็นแนวทางเดียวกัน

2 ปรับปรุงการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกําหนดเป้าหมายและระยะเวลาการทํางานให้ชัดเจน

2) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีแผนหลักเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3) รัฐจะลดการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจจากงบประมาณแผ่นดิน

4) รัฐจะดูแลให้รัฐวิสาหกิจใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

3 การปรับราคาสินค้าหรือค่าบริการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนอกจากจะต้องมีรายได้มากพอสําหรับจ่ายค่าดอกเบี้ยและชําระคืนต้นเงินกู้แล้ว จะต้องมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลด้วย

4 วางหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาฐานะและกิจการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) กําหนดระยะเวลาให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกิจการตนเอง

2) รัฐวิสาหกิจใดที่มีผลการดําเนินการไม่ดีเท่าที่ควร รัฐจะพิจารณาดําเนินการยุบเลิก – แปรสภาพ หรือจําหน่ายต่อไป

3) กิจการสาธารณูปโภคหากไม่ปรับปรุงการบริหารงาน ก็จะพิจารณาโอนกิจการให้เป็นของเอกชน

4) รัฐจะคงรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534)

1 มุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจไปสู่เชิงธุรกิจให้มากขึ้น โดย

1) ยกระดับคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม

2) หาลู่ทางเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต

3) ลงทุนในกิจการที่ผลตอบแทนดี และจํากัดขนาดการลงทุน

2 กําหนดนโยบายการกําหนดราคาสินค้าและค่าบริการของรัฐวิสาหกิจให้คุ้มกับต้นทุน

3 กําหนดแนวนโยบายการบริหารบุคคล โดยกําหนดให้มีการจัดทําแผนอัตรากําลังรวมอยู่ในแผนรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการว่าจ้างใช้บริการเอกชน และส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมบริหารงาน

4 กําหนดแนวนโยบายให้มีการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาให้มีการร่วมทุนกับภาคเอกชน ดําเนินการจําหน่ายจ่ายโอนหรือยุบเลิกกิจการที่ดําเนินการไม่ได้ผลติดต่อกันมาโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร

5 ทบทวนบทบาทและปรับปรุงระบบการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งระดับชาติ ระดับกระทรวงให้เข้าเป้าที่กําหนดไว้ในแผนวิสาหกิจแต่ละแห่ง และจัดให้มีการปรับปรุงกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารงานได้คล่องตัวในเชิงธุรกิจมากขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539)

1 ลดบทบาทการกํากับดูแลของรัฐ

2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

3 รัฐวิสาหกิจ ดําเนินงานเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

4 เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดําเนินงานกับรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่าง ๆ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)

1 เพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

2 สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถระดมทุนจากประชาชนได้อย่างกว้างขวาง

3 จัดตั้งองค์กรกลางเป็นการถาวร เพื่อบริหารนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน

4 นําระบบประเมินผลการดําเนินงานมาใช้แทนการกํากับดูแล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)

1 ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

2 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพการดําเนินงานมาตรฐานและคุณภาพของการผลิตและบริการ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)

1 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักการบริหารจัดการที่ดี

2 ปรับบทบาท โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ลดการบังคับควบคุม

3 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ และลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 พัฒนากลไกการกํากับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรม

 

ข้อ 4 จงอธิบายแนวทางการควบคุมและการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย

แนวคําตอบ

แนวทางการควบคุมรัฐวิสาหกิจของไทย แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1 การควบคุมภายใน หมายถึง การควบคุมโดยองค์กรภายในของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง ได้แก่

1) ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เป็นองค์กรที่มีเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจํากัดและธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องสําคัญต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาอนุมัติ เกี่ยวกับงบดุล บัญชีกําไรขาดทุน การจ่ายเงินปันผลและบําเหน็จรางวัลอื่น ๆเป็นต้น

2) คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่ในการวางนโยบายและระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ และควบคุมดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป

3) หน่วยควบคุมภายในของรัฐวิสาหกิจ ในบางรัฐวิสาหกิจจะมีหน่วยควบคุมภายในของตนเองทําหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 การควบคุมภายนอก หมายถึง การควบคุมจากภายนอกรัฐวิสาหกิจ โดยองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ได้แก่

1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนงานและโครงการพัฒนา รวมทั้งเสนอข้อเท็จจริงที่จําเป็นเพื่อพิจารณาผลงานของโครงการพัฒนาที่กําลังดําเนินการอยู่

(2) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาร่วมกับรัฐวิสาหกิจ

(3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการเพื่อให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนงานและโครงการพัฒนาที่จะขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

(4) ติดตามและประเมินผลงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

2) สํานักงบประมาณ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุม รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับและรายจ่าย

(2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

(3) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร

(4) ในกรณีรัฐวิสาหกิจขอเงินจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ

(5) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้

ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(6) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

3) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีและรับรองงบดุลรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

4) กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) ตรวจสอบบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

(2) กําหนดหลักเกณฑ์การทําบัญชีแสดงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

(3) อนุมัติการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคา

(4) อนุมัติการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการผลิต และการตีราคาของคงเหลือ

(5) อนุมัติการจัดสรรกําไรสะสมของรัฐวิสาหกิจ

(6) อนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเป็นโบนัส กรรมการและพนักงาน และจ่ายเงินปันผลหรือเงินรายได้นําส่งคลัง

(7) วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่รัฐวิสาหกิจเม่เห็นด้วยกับความเห็นของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการสอบบัญชี

(8) ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจะผ่ากเงินกับธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน

(9) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

(10)การจ่ายเงินยืมทดรองแก่พนักงานที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกําหนดขึ้นนั้น ต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังก่อน

(11) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน

(12) รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีผู้แทนกระทรวงการคลังซึ่งเป็นข้าราชการประจําเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

5) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัด

6) คณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) อนุมัติการเพิ่มหรือลดทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

(2) อนุมัติงบลงทุนหรือการลงทุนเพื่อขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่

(3) อนุมัติการกู้ยืมเงิน

(4) อนุมัติการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์

(5) อนุมัติการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นศูนย์

(6) อนุมัติการกําหนดราคาสินค้าหรือบริการ

(7) อนุมัติการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน

(8) อนุมัติการจําหน่ายกิจการหรือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ

(9) อนุมัติการเข้าถือหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่น

(10) อนุมัติการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด

7) รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

(3) เสนอญัตติในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

(4) ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบ

(5) อภิปรายไม่ไว้วางใจ

แนวทางการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย มีดังนี้

1 จัดทําบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานในแต่ละปี โดยบันทึกข้อตกลงจะต้องลงนามโดยปลัดกระทรวง เจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ

2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กํากับดูแลให้รัฐวิสาหกิจดําเนินงานให้บรรลุตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง โดยรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจบริหารงานได้ คล่องตัวมากขึ้น

3 การกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานจะต้องคํานึงถึงลักษณะของแต่ละรัฐวิสาหกิจ และกําหนดตัวแปรซึ่งครอบคลุมด้านสําคัญทุกด้านรวมถึงคุณภาพในการบริการ และเป็นผลงานที่รัฐ ต้องการจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการพิจารณากําหนดตัวแปรและเป้าหมายจะคํานึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

4 การประเมินผลงานจะแบ่งผลงานออกเป็น 5 ระดับ และมีการกําหนดระบบผลตอบแทน ที่สะท้อนระดับผลการดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจใดดําเนินการได้ดีกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงจะได้รับ ผลตอบแทนมากกว่า

5 การประเมินผลงานคณะกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องใช้ตัวแปรชุดเดียวกับ การประเมินผลงานของรัฐวิสาหกิจ

 

ข้อ 5 จงอธิบายความคิดเห็นของสํานักพาณิชย์นิยม สํานักสังคมนิยม และสํานักเสรีนิยม ต่อการดําเนินการทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาล

แนวคําตอบ

นักเศรษฐศาสตร์สํานักต่าง ๆ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อการดําเนินการทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาล ดังนี้

1 สํานักพาณิชย์นิยม (Mercantilism) เป็นสํานักแรกที่มองเห็นความสําคัญของรัฐบาล ในการดําเนินการทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการดําเนินการทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าเอกชน มักจะดําเนินการทางเศรษฐกิจโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่ และผลประโยชน์ส่วนตัวก็มักจะขัดกับ ผลประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นสํานักพาณิชย์นิยมจึงเห็นว่า

1) ในทางการค้านั้น รัฐควรกระทําอย่างเต็มความสามารถเพื่อนําผลประโยชน์เข้าสู่ “ ประเทศ โดยรัฐจะต้องนําความมั่งคั่งมาสู่ประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

2) ควรเพิ่มอํานาจของรัฐด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น การออกกฎหมายตั้งกําแพงภาษี การจํากัดการนําสินค้าเข้า การห้ามนําเงินและทองแท่งออกนอกประเทศ เป็นต้น

  1. สํานักสังคมนิยม (Socialism) สํานักนี้มีอยู่หลายสํานักด้วยกัน ซึ่งมีความคิดเห็น แตกต่างกันในเรื่องเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามอาจสรุปรวบรวมหลักการสําคัญของสํานักสังคมนิยมสํานักต่าง ๆ ที่ ถือแนวทางร่วมกันได้ดังนี้

1) ถือว่าการจัดการเศรษฐกิจตามแบบของสํานักเสรีนิยมเป็นการก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วนทรัพย์สิน คือทําให้มีคนรวยและคนจน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านชนชั้นระหว่างมนุษย์

2) ผลของเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนและการแข่งขันก่อให้เกิดชนชั้นกรรมกรซึ่งนับเป็นเหตุอันสําคัญที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและอยุติธรรมทางสังคม

3) ต้องการที่จะยกเลิกกรรมสิทธิ์ของเอกชน และให้กรรมสิทธิ์ของเอกชนกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ นอกจากนั้นยังต้องการที่จะให้การประกอบกิจกรรมทั้งหลายของเอกชนกลายเป็นของรัฐอีกด้วย

3 สํานักเสรีนิยม (Liberalism) ได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากนักคิดสํานักคลาสสิก ที่ให้ความสําคัญกับเสรีภาพของมนุษย์ในทางการเมืองและเศรษฐกิจ การให้สิทธิและความรับผิดชอบแก่ปัจเจกชน และปฏิเสธการบังคับการจํากัดการค้าและการไม่ให้เสรีภาพในการประกอบการ ซึ่งนักคิดคนสําคัญของสํานัก คลาสสิก ได้แก่ John Locke และ Adam Smith John Locke ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “Two Treatises of Government” ว่า

1) อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินเป็นส่วนตัวได้ หรือควรได้สิทธิในการครอบครองกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน

2) หน้าที่ของรัฐและรัฐบาล คือ การรักษาสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ ชีวิตเสรีภาพ และทรัพย์สิน

3) รัฐควรเป็นรัฐเสรี มีอํานาจจํากัด ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องบังคับในกิจการของปัจเจกชนนอกจากในกรณีจําเป็นเพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของสมาชิกนอกเหนือจากนั้นควรปล่อยให้สมาชิกจัดการเอง

Adam Smitา ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “The Wealth of Nations” ว่า การจัดตัวของ ระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่เสรีของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจเอง มิต้องมีการแทรกแซงโดยรัฐและรัฐบาล เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมี “มือที่มองไม่เห็น” (The Invisible Hand) ซึ่งเป็นธรรมชาติของการแลกเปลี่ยนและ ผสานผลประโยชน์ของมนุษย์คอยกํากับให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายดําเนินไปได้โดยเป็นประโยชน์ทั้งแก่ ปัจเจกชนและสังคม ดังนั้นบทบาทของรัฐบาลควรมีจํากัด เพราะการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลมากเกินไปจะเป็น การทําลายธรรมชาติของการติดต่อแลกเปลี่ยนของมนุษย์ โดยรัฐบาลควรมีหน้าที่จํากัดเพียง 3 ประการ คือ

1) การป้องกันประเทศ

2) การคุ้มครองสมาชิกของสังคมจากความอยุติธรรม

3) การก่อตั้งและบํารุงรักษาสถาบันสาธารณะและกิจการสาธารณะซึ่งเป็นประโยชน์แก่สังคม แต่มีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย

จากอิทธิพลแนวความคิดของนักคิดสํานักคลาสสิกทําให้นักเศรษฐศาสตร์สํานักเสรีนิยม เห็นว่า รัฐที่เจริญมั่นคงได้นั้นไม่ใช่เป็นรัฐที่ทําการผูกขาดตัดตอนทางการค้าหรือเลี้ยงตัวโดยกระทําเฉพาะแต่หาวัตถุแร่ธาตุที่มีค่าเข้ามาภายในประเทศอย่างเดียว ยังจําเป็นที่จะต้องให้มีเสรีภาพในการประกอบการที่จะทําการ แลกเปลี่ยนโภคทรัพย์ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศได้ และถือว่าชีวิตเศรษฐกิจของประชาชนนั้นควรจะปล่อยให้ เป็นอิสระถูกต้องตามระเบียบธรรมชาติ โดยปล่อยให้เอกชนมีเสรีในการประกอบการ ฉะนั้นบทบาทของรัฐที่จะ เข้าไปแทรกแซงในชีวิตเศรษฐกิจของประชาชนก็ควรที่จะลดลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็น โดยถือว่าเอกชน เท่านั้นที่จะเป็นผู้ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และควรให้เอกชนมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยกเว้นแต่ในบางกรณีซึ่งจําเป็นต้องอาศัยรัฐเป็นผู้ช่วยเหลือ

 

ข้อ 6 A Public Development Program for Thailand เป็นผลการวิจัยของคณะทํางานธนาคารโลกเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจของไทย ได้วิจารณ์รัฐวิสาหกิจไทยไว้ว่าอย่างไร และมีข้อเสนอแนะสําหรับรัฐวิสาหกิจของไทยอย่างไร

แนวคําตอบ

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คนไทยมีงานทําและขจัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของคนต่างชาติ รวมทั้งลดบทบาทการผูกขาดทาง เศรษฐกิจของชาติตะวันตกและชาวจีน โดยรัฐบาลได้จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาหลายแห่ง และเข้าไปควบคุมภาคการผลิต สําคัญ ๆ เช่น การผลิตแป้ง โรงสี น้ำแข็ง น้ำตาลทราย สุรา เบียร์ บุหรี เป็นต้น แต่บุคคลที่เข้ามาดํารงตําแหน่ง ระดับสูงในรัฐวิสาหกิจเป็นข้าราชการซึ่งไม่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนในการดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจ ประกอบกับการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในสมัยนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางการเมืองและ กอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมือง คือ กลุ่มสี่เสาเทเวศร์และกลุ่มราชครู จึงทําให้ รัฐวิสาหกิจสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มมากกว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ

ในระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2501 คณะทํางานธนาคารโลกได้เข้ามาศึกษาวิจัยสภาวะเศรษฐกิจไทย และได้เสนอผลการศึกษาวิจัยไว้ในรายงานชื่อ A Public Development Program for Thailand ซึ่งได้วิจารณ์ รัฐวิสาหกิจไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามไว้ 3 ประการ คือ

1 ปราศจากการวางแผนที่ดี

2 การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

3 ไม่ก่อให้เกิดผลกําไรเท่าที่ควร

คณะทํางานธนาคารโลกได้ให้ข้อเสนอแนะสําหรับรัฐวิสาหกิจของไทย ดังนี้

1 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม

2 รัฐบาลควรทําหน้าที่ในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสาธารณูปการเท่านั้นส่วนกิจการด้านอื่น ๆ ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ

POL3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 7 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําตามความพึงพอใจ 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ความสําคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ลักษณะ และรูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

แนวคําตอบ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

เกศินี หงสนันทน์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง และยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น

ติน ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงานเชิงธุรกิจ กิจการ ของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบัน การเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่ง รัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมาย และกฎเกณฑ์หลายประการ คือ

1 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย

2 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีลักษณะเป็นบริษัทจํากัด ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาที่ให้อํานาจไว้โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เช่น องค์การตลาด

4 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยประกาศคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

5 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจโดยนัยนี้ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ เช่น โรงงานยาสูบ

6 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาตามนัยของกฎหมายธนาคารพาณิชย์ที่รัฐบาลถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 เช่น ธนาคารกรุงไทย ความสําคัญของรัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของการบริหารจัดการในภาครัฐ และเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม พัฒนา และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจส่วนมาก เป็นการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น ด้านพลังงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการคมนาคม ด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกิจการสาธารณะเหล่านี้ต้องใช้เงินทุนในการดําเนินการสูง แต่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำและมีอัตราการคืนทุนที่ใช้ระยะเวลานาน ทําให้เอกชนขาดความสนใจที่จะ เข้ามาลงทุน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาดําเนินการเองในรูปแบบของ “รัฐวิสาหกิจ” เพื่อให้ประชาชนได้รับการ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และสามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ

2 เพื่อส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม

3 เพื่อความมั่นคงของประเทศ

4 เพื่อควบคุมสินค้าอันตราย

5 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ

6 เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ

7 เพื่อเป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ

8 เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ

9 เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ประเทศ

ลักษณะของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานร่วมกับเอกชนหรือกลุ่มบุคคล

2 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานแบบธุรกิจ ไม่ใช่ในฐานะผู้ปกครอง

3 เป็นกิจการที่มีอิสรภาพทางการบริหารและการจัดการทรัพยากรของตนเองภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล

4 การจัดโครงสร้างขององค์การรัฐวิสาหกิจควรมีลักษณะพิเศษที่เหมาะสมแก่การบริหารงาน

5 ผู้ใช้บริการ คือบุคคลที่จะต้องจ่ายค่าบริการของสินค้านั้น ๆ

6 ราคาของสินค้าและบริการอาจจะมีความผันแปรไปตามความต้องการของผู้บริโภคหรือกลไกของราคาตลาด

7 ประสิทธิภาพ และความต่อเนื่องของการบริหารในด้านต่าง ๆ จะต้องมีความคล้ายคลึงกับบริษัทเอกชน รูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามหน่วยงานราชการที่สังกัด ตัวอย่างเช่น

1) สํานักนายกรัฐมนตรี มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ บริษัท อสมทจํากัด (มหาชน)

2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 2 แห่ง คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

3) กระทรวงสาธารณสุข มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ องค์การเภสัชกรรม

2 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกลุ่มสาขา ตัวอย่างเช่น

1) สาขาพลังงาน แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)

2) สาขาสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน)บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

3 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มประเภทของการจัดตั้ง ดังนี้ 1) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511

2) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกําหนด เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันจัดตั้งโดยพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน พ.ศ. 2540

3) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การสวนยาง จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504

4) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด เช่น บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535

5) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 29๐ พ.ศ. 2515 6) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น องค์การสุรา จัดตั้งขึ้นโดยระเบียบจัดตั้งองค์การสุรา กรมสรรพสามิต พ.ศ. 2506

4 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ เช่น การจัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการให้บริการด้านพลังงานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาความสมดุลกับ+ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 2 จงอธิบายความหมาย หลักการ บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

แนวคําตอบ

ความหมายของการบริการสาธารณะ

นันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้อธิบายว่า การบริการสาธารณะ คือ กิจกรรมประเภทหนึ่งซึ่งรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชน หรือ การดําเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ ให้ความหมายว่า การบริการสาธารณะ หมายถึง การที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่ ในการส่งต่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน โดยส่วนรวม การให้บริการสาธารณะมีลักษณะที่เป็น “ระบบ” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ส่วน คือ

1 สถานที่และบุคคลที่ให้บริการ

2 ปัจจัยนําเข้าหรือทรัพยากร

3 กระบวนการและกิจกรรม

4 ผลผลิตหรือตัวบริการ

5 ช่องทางการให้บริการ

6 ผลกระทบที่มีต่อผู้รับบริการ

หลักการให้บริการสาธารณะ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ กล่าวถึง หลักสําคัญเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะไว้ 5 ประการ คือ

1 บริการสาธารณะเป็นกิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง

2 บริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ในการสนองตอบความต้องการส่วนรวมของประชาชน

3 การจัดระเบียบและวิธีดําเนินการบริการสาธารณะย่อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพื่อให้เหมาะสมแก่ความจําเป็นแห่งกาลสมัย

4 บริการสาธารณะจะต้องจัดดําเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอ ไม่มีการหยุดชะงักถ้าบริการสาธารณะหยุดชะงักด้วยประการใด ๆ ประชาชนย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย

5 เอกชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเทียมกัน การให้บริการสาธารณะมีเป้าหมายที่สําคัญ คือ การสร้างความพึงพอใจในการให้บริการแก่ประชาชน

บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

1 ด้านสังคม การบริการสาธารณะด้านสังคมเป็นรูปแบบของการบริการที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ต้องการตอบสนองความมีน้ำใจ และความปรารถนาดีที่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับ ความสะดวกสบาย เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยการบริการสาธารณะ ทางด้านสังคม ได้แก่

1) การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน คือ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การเก็บขยะการติดตั้งไฟแสงสว่าง น้ําประปา คลองชลประทาน เป็นต้น

2) การบริการสาธารณะด้านสุขภาพ เช่น การป้องกันโรคระบาด การรักษาพยาบาลเป็นต้น

3) การบริการสาธารณะด้านสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การไปรษณีย์ โทรศัพท์เป็นต้น

4) การบริการสาธารณะด้านนันทนาการและการกีฬา เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬาเป็นต้น

5) การบริการสาธารณะด้านการประกันภัย เช่น การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การประกันการว่างงาน เป็นต้น

2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม โดยนโยบายทางด้านเศรษฐกิจมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการส่งเสริม “การลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ นโยบายการประกันสังคมและสวัสดิการ นโยบายการเกษตร นโยบาย ที่อยู่อาศัย นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนโยบาย การกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

จุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะด้านเศรษฐกิจ มีดังนี้

1) เพื่อให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของคนสูงขึ้น

2) เพื่อให้เกิดความสมดุลและความมีเสถียรภาพของตลาดในประเทศ

3) เพื่อให้มีการกระจายรายได้ และการกําหนดราคาที่ทําให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน

4) เพื่อให้มีเสรีภาพ และมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการดํารงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

5) เพื่อให้ฐานะทางการเงินของประเทศมีความมั่นคง

6) เพื่อให้มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ

7) เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

3 ด้านการปกครอง การบริการสาธารณะทางด้านการปกครองเป็นกิจกรรมสาธารณะที่รัฐทําหน้าที่ในงานด้านการปกครองที่จะต้องจัดกระทํา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประกอบกับบริบทของงานสาธารณะด้านการปกครองเป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษในการดําเนินงาน รวมทั้งการมอบอํานาจให้ฝ่ายปกครองในการจัดทําบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางการปกครอง และมีการกําหนดวิธีปฏิบัติงานที่รัฐกําหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน และเป็นระบบเดียวกัน ในการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถให้เอกชนเข้ามาดําเนินการแทนได้ และโดยมากบริการสาธารณะ ด้านการปกครองเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทําขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม เช่น ตํารวจทําหน้าที่ในการ รักษาความสงบสุขภายในประเทศ ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ข้าราชการฝ่ายปกครองทําหน้าที่ในการ เอื้ออํานวยสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายบทบาทของรัฐต่อระบบเศรษฐกิจตามแนวความคิดของ

3.1 แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism)

3.2 แนวคิดแบบลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)

3.3 แนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitariansm)

3.4 แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-Classical Liberalism)

3.5 แนวคิดสังคมนิยม (Socialist)

แนวคําตอบ

3.1 แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism) แนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism) มีบทบาทอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีรากฐานมาจากแนวความคิดในการเรียกร้องไม่ให้รัฐเข้ามาแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบบ เศรษฐกิจของสังคม ซึ่งนักคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิกที่สําคัญ ได้แก่ Adam Smith, Jean Baptiste Say, Thomas Robert Malthus, David Ricardo bay Nassau Senior

Adam Smith เป็นผู้ต้นคิดแนวคิดเสรีนิยมแบบคลาสสิก ได้เขียนแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ในปี ค.ศ. 1776 ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้

1 นับถือธรรมชาติ โดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติและกลไกของสิ่งต่าง ๆ

2 รัฐบาลไม่ควรแทรกแซงธุรกิจเอกชน ถือหลักเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการค้าขายใน ตลาดเสรี

3 คัดค้านการวางข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาล เนื่องจากระบบเศรษฐกิจจะดําเนินไปด้วยดี หากให้เอกชนริเริ่มในการดําเนินธุรกิจเสรีเพราะทําให้เกิดการแข่งขันกันเองในอุตสาหกรรมนั้น

4 การให้เอกชนสามารถเข้ามาดําเนินธุรกิจ เนื่องจากสิ่งจูงใจจากความเห็นแก่ตัวจะส่งผล ให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมเอง

5 รัฐควรเข้ามาแทรกแซงในกิจการสาธารณะบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ และการลงทุนทําธุรกิจที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หากให้เอกชนทําจะขาดทุน ซึ่ง Adam Smith เรียกว่า เสรีภาพ ตามธรรมชาติ

6 ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงของรัฐในการเกษตร เพราะเชื่อว่าอุตสาหกรรมและ การพัฒนาเศรษฐกิจยังมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรเป็นพื้นฐาน

7 ไม่เห็นด้วยกับการช่วยเหลือคนยากจนที่มีร่างกายปกติตามกฎหมาย เพราะทําให้คน ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง

8 ในกรณีที่มีการแทรกแซงรัฐบาลไม่แทรกแซงอย่างเข้มงวด บางอย่างสามารถผ่อนปรนลง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยทั่วไปเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลช่วยเหลือโรงงานที่ยังไม่สามารถดําเนินการได้เอง ตามลําพัง และการศึกษาฟรี

9 มนุษย์จึงแสวงหาความพอใจมากที่สุดโดยให้มีความเจ็บปวดแต่น้อยในการทําธุรกิจ ซึ่งบุคคลแต่ละคนเลือกทําเองตามวิจารณญาณของตน โดยคิดจากประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อตนพอใจมากที่สุด

3.2 แนวคิดแบบลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)

แนวคิดแบบลัทธพาณิชย์นิยม (Mercantilism) เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 จัดอยู่ในแนวคิด แบบเสรีนิยมคลาสสิก แนวคิดนี้ให้ความสนใจความมั่งคั่งของชาติ โดยมีความเชื่อว่า ประเทศชาติจะมีความร่ำรวย มั่งคั่งได้นั้นจําเป็นที่จะต้องสะสมโลหะที่มีค่าไว้มาก ๆ เช่น ทองคํา ดังนั้นแนวคิดของนักคิดพาณิชย์นิยมจึงนําไปสู่ นโยบายการค้าต่างประเทศที่มุ่งทําให้มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนําเข้า เพื่อที่ประเทศจะได้รับทองคําเป็น ค่าตอบแทนจากการขายสินค้า

นอกจากนี้ แนวคิดลัทธิพาณิชย์นิยมได้ส่งผลให้ประชาชนตื่นตัวในการแสวงหาความมั่งคั่ง เริ่มรู้จักใช้เงินตราเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ความมั่งคั่ง การมีทรัพย์สิน และความร่ำรวยทําให้ประชาชนดํารงชีวิต ง่ายขึ้น มีเครื่องอํานวยความสะดวกต่าง ๆ และผู้ที่มีความมั่งคั่งถือเป็นผู้มีเกียรติ มีอํานาจและเพื่อนฝูงมาก

นักคิดที่สําคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ Thomas Mun, Edward Misselden และ Antonie de Montchretien

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Antonie de Montchrefien มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 ตําหนิการดำเนินงานของรัฐบาลฝรั่งเศสในเรื่องของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ที่เปิดประตูการค้ากับต่างประเทศ โดยยอมให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศฝรั่งเศสทั้งที่ประเทศ ฝรั่งเศสสามารถผลิตสินค้านั้นได้เอง

2 ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ และกอบโกยเอาทรัพยากรธรรมชาติของฝรั่งเศสออกไปด้วย

3 เห็นว่า รัฐบาลควรจะส่งเสริมการค้าในประเทศ เพราะถ้าทุกคนทุ่มเทกําลังกายด้วย ความขยันในการผลิตเพื่อการจําหน่ายรายในประเทศจะส่งผลให้ประเทศสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ความมั่งคั่งของ ประเทศที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดจากเงินตราเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการมีสินค้าเพื่อใช้ยังชีพด้วย ดังนั้นรัฐควรมีหน้าที่ ส่งเสริมการผลิตสินค้าให้เพียงพอเลี้ยงประชากรทุกคน เพื่อให้ประชากรอยู่ดีกินดี

3.3 แนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarians)

ในช่วงศตวรรษที่ 13 – 19 สภาพบรรยากาศในทวีปยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะประเทศอังกฤษที่เป็นประเทศแรกที่ดําเนินการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งยังผลให้ เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคมอังกฤษ คือ ชนชั้นกรรมกร และเรียกร้องความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่ได้รับการขัดขวางจากชนชั้นเจ้าของที่ดิน อันนํามาซึ่งการแสวงหาแนวคิดหรือหลักการเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างชนชั้น การเกิดขึ้นของสํานักประโยชน์นิยมก็ด้วยเหตุผลทํานองเดียวกัน อีกทั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทําให้หลักการแบบสัญญาประชาคมถูกโจมตีว่าเป็นเพียงเรื่องของ “การนึกคิดขึ้นมาเองโดยไม่มี ข้อพิสูจน์” (Arm-Chair Thinking) ซึ่งทฤษฎีของสํานักประโยชน์นิยมจึงดูเหมือนจะเข้ามาแทนที่ในความคิดของ ชนชั้นผู้ใช้แรงงานได้อย่างเหมาะสมตามสภาวการณ์

นักคิดสํานักประโยชน์นิยม ได้แก่ Jeremy Bentham, James Mitt และ John Stuart Mill

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Jeremy Bentham ซึ่งเป็นผู้นําของแนวคิดแบบลัทธิประโยชน์นิยม มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 หลักประโยชน์นิยมตามแนวคิดของ Bentham คือ วลีที่กล่าวว่า “The greatest happiness of the greatest number” (การกระทําที่ดีที่สุด คือการกระทําที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดของ คนจํานวนมากที่สุด) ดังนั้นกฎหมายที่ดีจริงก็จะให้ผลประโยชน์แก่คน เป็นกฎหมายเพื่อความสุขของมนุษย์ทุกคน หรือคนจํานวนมากที่สุด

2 เห็นว่า รัฐที่ดีควรปกครองระบบประชาธิปไตย เพราะในหลักการของระบบประชาธิปไตย ที่ว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องมาจากความพอใจ ของคนส่วนใหญ่ในสังคม

3 มีทัศนะที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจว่า ให้รัฐใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (ทุนนิยม) ให้เอกชน ดําเนินกิจการโดยเสรี โดยที่รัฐบาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด

4 เห็นว่า การแสวงหาวิธีวัดสวัสดิการควรมีลักษณะที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ คือ ศีลธรรมควรมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นความสุข (Pleasure) และความทุกข์ (Pain) จึงควรที่จะวัดได้ในเชิงปริมาณ

5 รัฐควรดําเนินการออกกฎหมายที่สามารถใช้ตัดสินบนมูลฐานของสวัสดิการเพื่อให้ ประชาชนเกิดความสุขมากที่สุดและมีความทุกข์น้อยที่สุด

6 แนวคิดของ Bentham เกี่ยวกับหลักผลประโยชน์ กล่าวได้ว่า เป็นแบบประชาธิปไตย และถือความเสมอภาคไม่ว่าคนยากจนหรือเป็นกษัตริย์ ผลประโยชน์ของแต่ละคนควรได้รับเท่ากันจากสวัสดิการ ที่รัฐสร้างขึ้น ดังนั้นถ้ารัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในกิจการเชิงนโยบายสาธารณะแล้วก่อให้เกิดความสุขแก่ส่วนรวม อาจกล่าวได้ว่า นโยบายนั้นมีประสิทธิภาพ

3.4 แนวคิดเสรีนิยม

(Neo-Classical Liberalism)

แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-Classical Liberalism) เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ได้รับ อิทธิพลมาจากแนวคิดเสรีนิยมคลาสสิก โดยมี Alfred Marshall เป็นผู้ค้นคิด แนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ถือว่าตลาด เป็นสถาบันที่มีความสลับซับซ้อน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทําให้กลไกตลาดสามารถดําเนินได้ด้วยตัวเอง ซึ่ง ระบบเศรษฐกิจตามอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มเสรีนิยมแนวใหม่มองว่า

1 ระบบเศรษฐกิจจะต้องประกอบไปด้วยธุรกิจที่มีขนาดเล็กเป็นจํานวนมากที่ทําให้ธุรกิจ แต่ละธุรกิจเกิดการแข่งขันกัน และไม่มีธุรกิจใดสามารถที่จะผูกขาดตลาดได้

2 รัฐควรดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยการเน้นบทบาทการให้เสรีภาพของตลาดเพื่อ การผลิต การกระจาย และการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

3 รัฐบาลควรจํากัดบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทําหน้าที่ในการรักษากฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

นักคิดเสรีนิยมแนวใหม่ที่สําคัญ ได้แก่ Alfred Marshall, Friedrich August Von Hayek, Robert Nozick และ Milton Friedman

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Robert Nozick มีทัศนะเกี่ยวกับรัฐว่า รัฐที่มีความชอบธรรม คือ รัฐที่มีบทบาทหน้าที่ที่จํากัด โดยมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการใช้กําลัง การขโมย การคดโกง และมีหน้าที่ในการทําสัญญาต่าง ๆ มีผลบังคับใช้ ในกรณีที่รัฐขยายบทบาทหน้าที่ของตนเองออกไปมากจนเกินไป จะเป็นการกระทําที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบธรรม นอกจากนี้ Nozick ยังมองว่าคนที่ไม่ได้ลงมือทํางานด้วยตนเองก็สามารถมีสิทธิในทรัพย์สินได้ เช่น การได้รับมรดก ดังนั้นรัฐจึงไม่มี ความชอบธรรมในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อบีบบังคับเอาทรัพย์สินส่วนบุคคลไปจัดสรรหรือกระจายให้ผู้อื่น เพื่อให้เกิดความยุติธรรม

3.5 แนวคิดสังคมนิยม (Socialist)

แนวคิดสังคมนิยม (Socialist) เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาและความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจาก กลไกตลาดเสรีตามแนวคิดเสรีนิยมคลาสสิก เช่น การกระจายทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน การแบ่งชนชั้นวรรณะทางเศรษฐกิจ ความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ มลภาวะที่เป็นพิษ การทําลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชนแออัด อาชญากรรม โรคระบาด ความอดอยาก ปัญหาขยะ ตลอดจนปัญหาด้านสวัสดิการต่าง ๆ ทางสังคม เช่น อุบัติเหตุจากการทํางานโดยไม่มีค่าทดแทนใด ๆ แก่ครอบครัวของผู้บาดเจ็บและถึงแก่กรรม คนงาน ไม่มีสิทธิทางการเมือง สหภาพแรงงานถูกห้ามตั้ง เป็นต้น

นักคิดสังคมนิยมที่สําคัญ ได้แก่ Kart Marx, Robert Owen, Piere Joseph Proudhon และ Simonde de Sismondi

ตัวอย่างเช่น แนวคิดของ Kart Marx มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้

1 เห็นว่า การแบ่งงานกันทําตามแนวคิดของ Adam Smith ทําให้เกิดผลประโยชน์ขัดกัน เพราะต้องแยกคนงานออกเป็นภาคส่วน คือ คนงานอุตสาหกรรม คนงานในการค้า คนงานเกษตรกรรม และ แยกย่อยลงอีกแต่ละชนิดของภาคส่วน ซึ่งนําไปสู่การขัดผลประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ ของชุมชนและผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ

2 เห็นว่า พลังของคนงานที่มารวมกันเป็นสหภาพแรงงาน และมีชนชั้นขึ้นในสังคม ชนชั้นเหล่านี้ต่างแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่พวกตนโดยอ้างว่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เมื่อคนงานมีพลังขึ้นเป็น สหภาพแรงงาน รัฐก็ไม่สามารถควบคุมได้ ภายใต้ระบบนายทุนนําไปสู่สภาวการณ์อย่างเลี่ยงไม่ได้ 2 ประการ คือ ผู้มีทรัพย์สิน และผู้ที่ไม่มีทรัพย์สิน

3 มองว่า การแบ่งงานกันที่นําไปสู่การแบ่งชนชั้นวรรณะทางสังคม และผลประโยชน์ขัดกัน เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง คนรวยกับคนจน เป็นต้น โดยเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างต่ำต้อยกว่านายจ้าง ส่วนนายจ้างถือว่าตนเหนือกว่า เมื่อลูกจ้างมีปมด้อยจึงรวมกันเพื่อต่อสู้กับนายจ้าง โดยวิธีเรียกร้องขึ้นค่าแรงงาน และให้จัดสวัสดิการให้คนงาน ส่วนนายจ้างถ้ายินยอมตามคําขอของลูกจ้าง ผลประกอบการจะเข้าสู่สภาวะขาดทุน หรือมีกําไรน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ธุรกิจดําเนินต่อไปได้ยาก ซึ่งนําไปสู่ระบบสังคมนิยมระยะแรกของการแปลสภาพ ไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์

4 Mark คัดค้านการยอมให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แรงงานเป็นแหล่งเกิดของ ความมั่งคั่ง แต่ได้รับผลตอบแทนเพียงพอต่อการดํารงชีวิตเท่านั้น ส่วนผลผลิตที่เกิดจากแรงงานเป็นของนายทุน แรงงานจึงเป็นสินค้าอย่างหนึ่งภายใต้ลัทธิทุนนิยม

5 เห็นว่า ในเรื่องของกําไร ธุรกิจมักจะมีลักษณะของการผูกขาด อันเป็นผลให้กําไรเพิ่ม และเพิ่มความทุกข์เข็ญให้แก่คนงาน ในที่สุดความขัดกันระหว่างชนชั้นในระบบทุนนิยมนี้จะนําไปสู่การสิ้นสุดของ ระบบนายทุน คนงานจะมีอิสระขึ้น เข้ายึดอํานาจตั้งผู้เผด็จการของตนเพื่อบีบบังคับนายจ้างเป็นผลให้ประเทศ กลายเป็นระบบสังคมนิยมทีละน้อย เมื่อมากขึ้นก็จะกลายเป็นระบบคอมมิวนิสต์

6 เชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเกิดขึ้นก่อน เพราะเป็นวิสัยของมนุษย์ชอบอิสรเสรี แต่ควรใช้ระบบคอมมิวนิสต์เข้าแทน ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ทรัพย์สินของชาติจะเป็นของส่วนรวมแทนที่จะให้เป็น ของบุคคลแต่ละคน

 

ข้อ 4 จงอธิบายความหมาย ความสําคัญ และบทบาทของระบบราชการในการดําเนินเศรษฐกิจโดยรัฐบาล

แนวคําตอบ

ความหมายและความสําคัญของการดําเนินเศรษฐกิจโดยรัฐบาล

การดําเนินเศรษฐกิจโดยรัฐบาล คือ การที่รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือดําเนินกิจการทางเศรษฐกิจ ที่มีความสําคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันประเทศ การคมนาคมและการขนส่ง เป็นต้น เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และหากปล่อยให้เอกชนเข้ามาดําเนินการก็อาจจะทําให้เกิดปัญหาการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบประชาชน ทําให้ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึงและเสมอภาคเท่าเทียมกัน

บทบาทของภาครัฐในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น ได้ปรากฏพัฒนาการในทาง ประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สังคมมนุษย์รู้จักระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและการให้บริการซึ่งเป็นระบบ ที่ทําให้เกิดการกําหนดหน้าที่ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสังคม เกิดระบบการแบ่งหน้าที่ในการทํางาน ตามความถนัดแต่ละคน และเกิดระบบเงินตราซึ่งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เมื่อพัฒนาการ ทางสังคมได้วิวัฒนาการเป็นรัฐสมัยใหม่ (Modern State) จึงเกิดการควบคุมระบบเศรษฐกิจโดยการแทรกแซง ของภาครัฐขึ้น

ในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รัฐมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการกําหนด บทบาทของตนในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถกําหนดพฤติกรรมในการประกอบการทางเศรษฐกิจ ของภาคเอกชนได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้มาตรการทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสมก็อาจทําให้เกิดกลไกตลาดไม่เป็นไป ตามธรรมชาติ ทําให้เอกชนขาดแรงจูงใจในการผลิตและอาจทําให้เกิดการว่างงาน แต่หากรัฐเข้ามาแทรกแซงใน ระบบเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมก็จะทําให้การกระจายทรัพยากรและการควบคุมสินค้าที่ไม่เหมาะสมเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ

 

บทบาทในการดําเนินเศรษฐกิจโดยรัฐบาล

1 บทบาทในการลงทุนและการผลิต รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงการทํางานของระบบ เศรษฐกิจเมือกลไกการทํางานของตลาดเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เกิดการผูกขาด ของผู้ประกอบการเอกชน เป็นต้น ซึ่งคุณลักษณะของความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1) ระหว่างเอกชนกับเอกชน เป็นแนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี หรือลัทธิ ระบบนายทุน ซึ่งเอกชนมีสิทธิและเสรีภาพในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและประกอบอาชีพตามความสามารถ ที่ตนเองชํานาญ สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินอื่น ๆ ได้อย่างเสรี

2) รัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมด เป็นแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยรัฐบาลจะใช้อํานาจ ของตนควบคุมปัจจัยการผลิตและดําเนินธุรกิจเอง โดยเชื่อว่า การดําเนินกิจการโดยรัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมดจะช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศทั้งหมดให้มีสถานะที่เท่าเทียมกัน และสามารถตัดการแข่งขันออกไปได้

3) เอกชนและรัฐบาลเป็นเจ้าของร่วม เป็นแนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งรัฐบาลสามารถกระทําได้โดยการถ่ายโอนการถือหุ้นบางส่วนให้เอกชนเข้ามาถือหุ้นในกิจการของรัฐที่รัฐเป็นเจ้าของเองทั้งหมด หรือก่อตั้งองค์การใหม่ขึ้นมาเพื่อการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน แต่ต้องไม่มุ่งหวัง ผลกําไรเกินควร เพื่อช่วยประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะที่รัฐจัดทําขึ้นได้ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การรถไฟ รถโดยสารประจําทาง พลังงานเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เป็นต้น

2 บทบาทในการกําหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องของการวางแผนที่อาศัย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจดําเนินไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์ กับสังคมส่วนรวม ซึ่งรัฐบาลจําเป็นจะต้องสร้างเงื่อนไข ส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดบรรยากาศแห่งการลงทุน หรือจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน รัฐบาลอาจแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยเครื่องมือทางการบริหารของรัฐบาล เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ย การกําหนดอัตราภาษี เป็นต้น ซึ่ง การแทรกแซงเหล่านี้มีผลต่อการลงทุน การบริโภค และการประกอบกิจกรรมอื่น ๆ

3 บทบาทในการกําหนดปัจจัยการผลิต ซึ่งปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย

1) ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องจัดสรรทรัพยากร ธรรมชาติอย่างระมัดระวังเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดจากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนให้ความสําคัญต่อ ผลกระทบของการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชน

2) ทุน เป็นปัจจัยการผลิตที่สําคัญมาก และเป็นกุญแจที่นําไปสู่การเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ โดยทุนไม่ได้หมายถึงเฉพาะแค่สินทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายถึง

(1) ทุนพื้นฐานทางสังคม (Social Overhead Capital) คือ การลงทุนที่ช่วยพัฒนาหรือปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของสังคมให้สูงขึ้น เช่น สนามออกกําลังกาย สวนสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตํารวจ เป็นต้น

(2) ทุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Overhead Capital) คือ ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนน รถไฟ สนามบิน เป็นต้น

3) ทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่มีความสําคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยศักยภาพของประชากรในประเทศ เช่น ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ความชํานาญ ทักษะ กําลังกาย เป็นต้น เป็นปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถของประเทศในการนําทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมาใช้ เพื่อการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ

4) ผู้ประกอบการ มีบทบาทที่สําคัญต่อการลงทุน การจ้างงาน และการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

5) เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าต้นทุน หรือปัจจัยการผลิตที่ส่งผลต่อการขยายการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ตลอดจน ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

4 บทบาทในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลจะเข้ามาทําหน้าที่ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเมื่อปัญหานั้น ๆ มีผลกระทบต่อประชาชน หรือปัญหานั้นขัดขวางอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ปัญหาการส่งออก ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว ปัญหาการว่างงาน ปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เป็นต้น

 

ข้อ 5 จงอธิบายแนวคิดในการบริหาร และการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

แนวคิดในการบริหารรัฐวิสาหกิจ

การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความยากลําบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทําให้ปัญหาอุปสรรคมีความซับซ้อนตามขึ้นไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจําเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจเลือก แนวทางการจัดการเพื่อดําเนินกิจรรมต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความพึงพอใจต่อประชาชนได้อย่างสูงสุด

ดังนั้นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจําเป็นต้องมีทักษะในการเลือกแนวทางดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวัฒนธรรม ค่านิยม คน เวลา สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ เพราะในปัจจุบัน การบริหารงานในองค์การไม่สามารถให้ผู้บริหารลองผิดลองถูกได้ และแนวคิดการบริหารที่ดีมีประโยชน์จะเป็น สิ่งที่ผู้บริหารสามารถนํามาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การต่อไปได้

การบริหารรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันเป็นไปตามหลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมี 2 หลักการ คือ หลักการรวมอํานาจ (Centralization) และหลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) โดย การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางและส่วนภูมิภาคใช้หลักการรวมอํานาจ ซึ่งอํานาจในการบริหาร ถูกรวมไว้ที่ส่วนกลาง ส่วนการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยมอบหมายงาน การบริหารราชการบางส่วนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและปกครองตนเอง

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงสร้างการจัดระเบียบ การบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ

1 การบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการบริหารที่ยึดหลักการรวมอํานาจ โดยอํานาจ การตัดสินใจในการดําเนินงานขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ส่วนกลาง ดังนั้นการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจโดยอาศัยหลักการบริหาร ราชการส่วนกลางจึงทําให้รัฐบาลสามารถจัดทําบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีเอกภาพ และส่งผลให้ ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้รับประโยชน์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

รัฐวิสาหกิจที่สังกัดการบริหารราชการส่วนกลาง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) องค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ทําหน้าที่เป็นองค์การของรัฐในการดําเนินงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศ

2) หน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ จัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดกระทรวง ทบวง หรือกรมไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

3) บริษัทจํากัด โดยรัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือบางส่วน จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารที่ส่วนกลางได้แบ่งอํานาจบริหาร บางส่วนให้เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางไปปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค แต่อํานาจในการตัดสินใจในการดําเนินงาน ต่าง ๆ ในขั้นสุดท้ายยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง ดังนั้นรัฐวิสาหกิจในส่วนภูมิภาคจึงมีอํานาจในการตัดสินใจในการจัดทํา บริการสาธารณะบางประการ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการตัดสินใจที่สอดคล้องกับความต้องการของ แต่ละภูมิภาค และเจ้าหน้าที่ประจําในแต่ละส่วนภูมิภาคสามารถที่จะใช้อํานาจแทนส่วนกลางได้ แต่ส่วนกลาง ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่แต่ละภูมิภาคยังคงมีอํานาจควบคุมและวินิจฉัยสั่งการเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ได้อย่างใกล้ชิด

การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจในส่วนภูมิภาคทําให้การวินิจฉัย การสั่งการ และลําดับขั้น ของการบังคับบัญชาน้อยลง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงตามความต้องการ ประหยัด ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ รวมทั้งรัฐและเจ้าหน้าที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนและเข้าใจปัญหาได้ดีกว่า การตัดสินใจจากส่วนกลาง

3 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอํานาจการบริหารให้ประชาชน ในท้องถิ่นปกครองกันเอง เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนภายในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้น การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในท้องถิ่นจึงเป็นการมอบอํานาจหน้าที่ในการดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจบางส่วนจากราชการ บริหารส่วนกลางให้ท้องถิ่นดําเนินกิจการได้เองโดยตรง ไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับบัญชาสั่งการของราชการบริหาร ส่วนกลาง จึงทําให้การตัดสินใจปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจในท้องถิ่น เป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของประชาชนใน ท้องถิ่น ตลอดจนช่วยส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย เพราะประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทํา บริการสาธารณะท้องถิ่น

การกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ ฝ่ายบริหารมีอํานาจในการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1 อํานาจในการกําหนดนโยบายทั่วไป เป็นอํานาจของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เป็นต้นสังกัด ของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยกฎหมายไม่ได้ระบุถึงความหมายและขอบเขตของคําว่า “นโยบายทั่วไป แต่สิ่งดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงอํานาจของรัฐบาลในการกํากับดูแลกิจการที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณประโยชน์ ของประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เป็นต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเกี่ยวกับ การดําเนินธุรกิจในกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยที่รัฐวิสาหกิจนั้นจะเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซง จากฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติ

2 อํานาจในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูง เป็นอํานาจ ของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี โดยกฎหมายกําหนดให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคล ดังต่อไปนี้

1) กรรมการบริหารหรือคณะกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจ

2) หัวหน้าฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น ผู้อํานวยการ หรือผู้ว่าการ

3 อํานาจในการบริหารของฝ่ายบริหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) การกํากับดูแลด้านการดําเนินงาน กําหนดเป็นกฎหมายไว้ 5 วิธี คือ

(1) ให้ฝ่ายบริหารมีคําสั่งให้องค์กรรัฐวิสาหกิจปฏิบัติตามคําสั่งได้ในบางกรณีตามอํานาจที่ระบุไว้ในกฎหมาย

(2) ให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจถอดถอนเจ้าหน้าที่ขององค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือสั่งให้พักราชการได้

(3) ให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจเข้าไปร่วมมือกับองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น การส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นกรรมการร่วมกับองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

(4) กิจการสําคัญบางอย่างขององค์กรรัฐวิสาหกิจจะมีอํานาจในการดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหารแล้วเท่านั้น

(5) รัฐวิสาหกิจจะดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารเสียก่อน ได้แก่

การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

– การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ

– การทําสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจเช่น การเช่าที่ดิน

– อื่น ๆ ที่ฝ่ายบริหารเห็นว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาลและผลประโยชน์ของประชาชน

2) การกํากับดูแลทางด้านการเงิน มี 3 วิธี คือ

(1) กําหนดให้องค์กรรัฐวิสาหกิจทํางบประมาณ ซึ่งจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหาร

(2) กําหนดให้ฝ่ายบริหารกําหนดรายละเอียดได้ว่าเงินที่ให้เป็นการอุดหนุนองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องใช้จ่ายในกิจการอย่างไร

(3) กําหนดให้ฝ่ายบริหารมีอํานาจส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจดูบัญชีและการใช้จ่ายว่าใช้จ่ายโดยถูกต้องหรือไม่

นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจยังถูกควบคุมและกํากับดูแลโดยองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล ได้แก่

1 รัฐสภา ทําหน้าที่ในการดําเนินการควบคุมดูแลการบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ โดยการพิจารณาอนุมัติพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี ด้วยการตั้งกระทู้ถาม หรือการขอเปิดอภิปราย เพื่อลงมติพิจารณาอนุมัติงบประมาณในการจัดทําบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาของรัฐวิสาหกิจ

2) จัดทําข้อเสนอเกี่ยวกับรายจ่ายประจําปีของรัฐวิสาหกิจ

3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการดําเนินการร่วมกัน และประสานงานเกี่ยวกับการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในทางวิชาการ การจะกู้ยืมเงินและการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4) สํารวจรายงานเกี่ยวกับผลงานตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการให้เร่งรับ การปรับปรุง หรือล้มเลิกโครงการ

3 สํานักงบประมาณ มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียดตามที่ผู้อํานวยการกําหนด

2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

3) กําหนดเพิ่มหรือลดเงินประจํางวดตามความจําเป็นของการปฏิบัติงาน และตามกําลังเงินของแผ่นดิน

4 กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) จัดให้มีบัญชีประมวลการเงินแผ่นดิน กําหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินคงคลัง การเก็บรักษา และการนําเงินส่งคลัง

2) จัดให้มีการตรวจเอกสารขอเบิกเงิน การจ่ายเงิน และการก่อหนี้ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษา และการนําเงินส่งคลัง

3) กําหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้

4) กําหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยเงินทดรองจ่ายราชการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1) ตรวจสอบบัญชีเงิน รายรับรายจ่ายของแผ่นดิน หรืองบแสดงฐานะการเงินของแผ่นดินประจําปี

2) ตรวจสอบบัญชี ทุนสํารองเงินตราประจําปี และแสดงความเห็นว่าการรับจ่ายเงินเป็นการถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

3) ตรวจสอบบัญชีเอกสาร และทรัพย์สินของทบวงการเมือง

 

ข้อ 6 จงอธิบายปัญหาของระบบราชการ และอธิบายความสัมพันธ์ของระบบราชการกับรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ปัญหาของระบบราชการ

1 ความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ เนื่องจากการมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานและ ระเบียบแบบแผนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนและรัดกุม ทําให้ขาดความยืดหยุ่นในการทํางานและไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป

2 ระบบสายการบังคับบัญชา ทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งที่ ผู้บังคับบัญชาสั่งการ จึงทําให้การทํางานของระบบราชการขาดความเป็นอิสระ ข้าราชการขาดความเป็นตัวของตัวเอง และขาดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

3 การควบคุมที่รัดกุม ทําให้ระบบราชการขาดความยืดหยุ่นในการบริหารราชการ

4 รูปแบบโครงสร้างของระบบราชการ ซึ่งมีการแบ่งอํานาจการบริหารออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทําให้เกิดความล่าช้า และขาดความคล่องตัว เนื่องจากมีขั้นตอน การปฏิบัติงานที่สลับซับซ้อน

5 ความสลับซับซ้อนของหน่วยงานในระบบราชการ ในกระบวนการจัดทําบริการ สาธารณะของรัฐเองนั้นมีความสลับซับซ้อนในโครงสร้างของระบบราชการเองที่มีลักษณะผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่สังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกัน และยังให้เอกชนเข้ามาดําเนินการด้วย เช่น

– กระทรวงศึกษาธิการที่กํากับดูแลวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยพาณิชยการ วิทยาลัยการเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัย

– ช่างศิลป์ และวิทยาลัยเอกชน

– กระทรวงสาธารณสุขที่กํากับดูแลวิทยาลัยของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ สมาน รักสิโยกฤษฎ์ ได้เสนอปัญหาของระบบราชการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ

1 ปัญหาอันเนื่องมาจากการติดยึดกับปรัชญาการบริหารราชการยุคเก่า ได้แก่

1) เน้นบทบาทของรัฐในฐานะเป็นผู้ควบคุมและดําเนินกิจการทุกอย่างเสียเองทําให้การบริหารราชการมีลักษณะผูกขาดสูง ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพ

2) เน้นการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

3) เน้นการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานแบบระบบราชการ ทําให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการตัดสินใจและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ

4) เน้นการขยายตัวของหน่วยราชการ ทําให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่โต และเกิดความซ้ำซ้อนในภารกิจ

5) เน้นการใช้กฎระเบียบและการควบคุม โดยมีการใช้กฎระเบียบเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงานแทนที่จะใช้เป็นเพียงเครื่องมือ

6) เน้นการผูกขาดแนวคิดและยัดเยียดการให้บริการแก่ประชาชน ทําให้กิจการของรัฐขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และประชาชนขาดความศรัทธาในบริการของรัฐ

7) เน้นให้หน่วยราชการขยายฐานของงบประมาณในแต่ละปีให้มากขึ้นโดยไม่คํานึงถึงผลลัพธ์ และไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลแบบเปิด ทําให้กระบวนการงบประมาณไม่สามารถสะท้อนการแก้ปัญหาของประเทศได้

2 ปัญหาอันเกิดจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้แก่

1) เค้าโครงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

2) การจัดโครงสร้างส่วนราชการมีความแข็งตัว ไม่เอื้ออํานวยต่อการนําเทคนิคการบริหารงานแบบใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่ามาปรับใช้

3) ความยุ่งยากและความล่าช้าในการจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงส่วนราชการระดับต่าง ๆ

4) การรวมอํานาจและการใช้อํานาจในการบริหาร การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไว้กับหัวหน้าส่วนราชการระดับสูงมาก ทําให้การบริหารงานไม่คล่องตัวและล่าช้า

5) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ ระดับจังหวัดและอําเภอ ไม่มีเอกภาพและไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน

6) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นยังไม่มีความเข้มแข็งและมีหลายรูปแบบเกินไป

7) การจัดระบบโครงสร้างส่วนราชการและการบริหารราชการไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับรัฐวิสาหกิจในสภาวะที่สังคมมีความเรียบง่ายในช่วงยุคสมัยของ Max Weber ระบบราชการสามารถ ให้บริการสาธารณะและบริหารราชการแผ่นดินได้ระดับหนึ่ง การบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และผ่านบันทึกอย่างเป็น ขั้นตอนอาจมีความเหมาะสมในช่วงเวลาที่ Max Weber นําเสนอแนวคิดดังกล่าว แต่แนวคิดของ Max Weber ทําให้องค์การขาดความยืดหยุ่น ขาดความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงทีแม้ระบบราชการจะมีข้อจํากัดหลายประการ แต่การจะทําให้ไม่มีระบบราชการนั้นเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถกระทําได้ เนื่องจากการบริการสาธารณะบางอย่างยังคงต้องดําเนินการโดยไม่มุ่งหวังผลในทางธุรกิจ ซึ่งการบริการสาธารณะดังกล่าว ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การกระจายรายได้ การป้องกันการผูกขาด การรักษา ผลประโยชน์ของส่วนรวม การชดเชยที่เป็นผลมาจากความไม่มีประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี การส่งเสริม การลงทุนของภาคเอกชน การรักษากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐจึงได้นําระบบการทํางานที่ไม่ถือระเบียบแบบแผนแบบราชการอย่าง เต็มที่มาใช้ และเรียกระบบนี้ว่า “รัฐวิสาหกิจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องดําเนินการในการจัดการบริการสาธารณะ

 

ข้อ 7 จงอธิบายเหตุผล ความสําคัญ แนวทาง และหลักการในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

เหตุผลและความสําคัญของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

เนื่องจากพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม รูปแบบตลาด พฤติกรรมการบริโภคของประชาชน รูปแบบการแข่งขันทางธุรกิจของภาคเอกชน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ทําให้รัฐวิสาหกิจในปัจจุบันไม่สามารถใช้วิธีการบริหาร จัดการแบบเดิมได้ ดังนั้นรัฐวิสาหกิจจึงมีความจําเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1 เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 เพื่อช่วยลดภาระทางด้านการเงินของรัฐบาล

3 เพื่อแก้ปัญหาผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจที่ประสบกับภาวะขาดทุน

4 เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสาธารณะ

 

แนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

สํานักงานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ เสนอแนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจไว้ 6 ประการ ดังนี้

1 ปรับปรุงหน่วยงานที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ โดยให้เขียนรายละเอียดหน้าที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน

2 ตั้งกรรมการที่ปรึกษา โดยไม่ต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพื่อทําหน้าที่เสนอแนวทางการปรับปรุงและวางแผนโดยส่วนรวม เพื่อเสนอรัฐบาล

3 ปรับปรุงกองรัฐวิสาหกิจในกรมบัญชีกลาง โดยให้ย้ายไปสังกัดสํานักปลัดกระทรวงการคลัง

4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อควบคุมติดตามการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

5 จัดตั้งสํานักงานรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยให้มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับที่กล่าวไว้ในข้อ 4

6 ตั้งทบวงหรือกระทรวงรัฐวิสาหกิจขึ้นโดยตรง

หลักการในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

1 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางการบริหาร ได้แก่

1) ปรับบทบาทของราชการจากการตรวจสอบควบคุมเป็นการกํากับดูแลและส่งเสริม

2) ปรับขนาดและโครงสร้างขององค์การภาครัฐให้มีขนาดกะทัดรัด โดยใช้มาตรการเสริมต่าง ๆ เช่น การจ้างเหมาเอกชนในงานบางเรื่อง

3) ปรับระบบราชการให้เป็นระบบวิชาชีพ เพื่อให้ข้าราชการมีโอกาสก้าวหน้าตามความสามารถและมีดุลยภาพกับระบบการควบคุมทางการเมือง

4) ปรับระบบบริหารราชการ กฎระเบียบต่าง ๆ และขั้นตอนการอนุมัติ อนุญาตและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สั้นและรวดเร็ว

5) ปรับปรุงบรรยากาศและระบบการทํางานภาคราชการให้ทันสมัยและเอื้ออํานวยให้เกิดประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็ว

6) ปรับระบบการทํางานของข้าราชการโดยการกระจายความรับผิดชอบและอํานาจการตัดสินใจให้แก่ข้าราชการในระดับปฏิบัติการให้มากขึ้น

7) ปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ระบบการบริหารและการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความคล่องตัวและเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

2 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางธุรกิจ ได้แก่

1) ลดบทบาทกํากับดูแลจากหน่วยงานของรัฐ โดยกํากับเฉพาะงานที่เป็นนโยบายสําคัญของรัฐ เช่น การก่อหนี้ การนํารายได้ส่งรัฐ การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เป็นต้น

2) กําหนดให้การบริหารรัฐวิสาหกิจภายในอยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการและฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการตัดสินใจ

3) ให้ความสําคัญกับแผนวิสาหกิจ

4) ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการกํากับดูแลให้เกิดความคล่องตัวแก่รัฐวิสาหกิจ

5) ใช้นโยบายราคาเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกําหนดราคาสินค้าและบริการที่คุ้มกับต้นทุน

6) ปรับปรุงระบบการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยการเพิ่มบทบาทการดําเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เช่น การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาดําเนินการในกิจการซึ่งเดิม รัฐทําในลักษณะผูกขาดแต่ผู้เดียว การร่วมทุนกับเอกชน การทําสัญญาจ้างเอกชนเพื่อดําเนินการกิจกรรมบางอย่างของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 7) ส่งเสริมการประกอบการเชิงธุรกิจ โดยแก้กฎหมายบางฉบับที่เป็นอุปสรรคต่อการให้เอกชนดําเนินกิจการ ลดเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจให้อยู่ในรูปบริษัทจํากัด

3 การพัฒนารัฐวิสาหากิจตามแนวทางกฎหมาย ได้แก่

1) จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย

2) ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ บุคลากร และเรื่องอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่องค์กรปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายของประเทศเป็นไปอย่างมีระบบ

4 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางสังคมวิทยา ได้แก่

1) วางแผนพัฒนาบุคลากรและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดแรงงาน

2) กําหนดสิ่งจูงใจและผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้ค่าตอบแทนพนักงานโดยพิจารณาความเหมาะสมเป็นกรณี การจัดฝึกอบรมเพื่อหางานใหม่ให้

3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยราชการนําระบบ “การพัฒนาคุณภาพของการทํางาน” มาปรับใช้ให้เหมาะสม

4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานราชการมีระบบข้อมูลกําลังคนที่เหมาะสม

5) จัดทําระบบค่าตอบแทนใหม่

6) จํากัดการเพิ่มและลดขนาดบุคลากรตามภาระหน้าที่หลักของหน่วยงาน

7) สร้างกลไกการโยกย้ายถ่ายเทกําลังคนระหว่างส่วนราชการเพื่อเกลี่ยกําลังคนจากจุดที่หมดความจําเป็นหรือจําเป็นน้อยไปให้จุดที่มีความจําเป็นมาก

8) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ

9) สร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

10) ปรับปรุงให้แผนงานมีความกระจ่างชัด

11) เสริมสร้างความเข้าใจและเผยแพร่บทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อสาธารณชน

5 การพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทางเศรษฐศาสตร์ ตามหลักการเศรษฐศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ถือเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างรายได้เข้าสู่รัฐ และเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อให้ประชาชน ในสังคมมีความกินดีอยู่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลว อันเกิดมาจากระบบตลาดเสรีที่ไม่ต้องการให้คนส่วนน้อยได้รับผลประโยชน์ ดังนั้นการพัฒนารัฐวิสาหกิจตามแนวทาง เศรษฐศาสตร์จึงมุ่งเน้นการพิจารณากิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจ เช่น การระดมทุน การลงทุน การค้ำประกัน เงินกู้ และการกําหนดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น

POL3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้เลือกตอบเพียง 3 ข้อ

ข้อที่ 1 บังคับทํา และให้เลือกทําอีก 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

เกศินี หงสนันทน์ อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงและยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ขอบเขตของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการและการดําเนินงานทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านอุตสาหกรรม กสิกรรม และธุรกิจการค้า

2 ผู้รับผิดชอบในการควบคุมดําเนินงานเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม

3 รัฐทําหน้าที่ในการริเริ่ม กระตุ้น และส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจแก่ภาคเอกชนและเป็นประโยชน์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 รัฐทําหน้าที่ในการนําเสนอการบริการแก่ประชาชนและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

5 ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ก่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบของสังคมในท้ายที่สุด

6 รัฐอาจเข้าไปดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจร่วมลงทุนกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นการกระตุ้นวิสาหกิจเอกชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

2 เพื่อเข้ามาดําเนินงานแทนวิสาหกิจเอกชนโดยวิธีการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ หรือโดยการที่รัฐใช้สิทธิที่จะซื้อกิจการใด ๆ ในสาขาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจได้ก่อนเอกชนอื่น ๆในฐานะที่เป็นกิจการที่อยู่ภายในขอบเขตที่สงวนไว้เฉพาะรัฐบาล

3 เป็นการช่วยเสริมวิสาหกิจเอกชนโดยการทําให้ข้อบกพร่องหรือช่องโหว่บางประการซึ่งวิสาหกิจเอกชนอาจมีอยู่ให้หมดสิ้น

4 เพื่อเข้าร่วมกับวิสาหกิจเอกชน (Joint Enterprise) ในการดําเนินโครงการต่าง ๆ

5 เพื่อบริการด้านสาธารณะ รวมทั้งการรักษาประโยชน์ ป้องกันการเสียหายและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของประชาชนส่วนรวม เช่น การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

6 เพื่อเตรียมพร้อมแก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และเชื้อเพลิง เป็นต้น

7 เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเกียรติคุณของประเทศชาติ เช่น การส่งเสริมกีฬาการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น

8 การผูกขาดเพื่อหากําไร เช่น การผลิตและจําหน่ายสุรา ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

9 เพื่อเผยแพร่วิชาการใหม่ ๆ และวิธีประกอบกิจการด้านต่าง ๆ

 

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายและเหตุผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ Yair Aharoni อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความหมายครอบคลุมถึงนโยบายต่าง ๆ ดังนี้

1 การโอนความเป็นเจ้าของ คือ การขายทรัพย์สินและกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจให้ผู้ถือหุ้นเอกชน

2 การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันหรือเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น หรือลดอุปสรรคที่มีต่อการแข่งขันให้น้อยลงในการประกอบกิจการธุรกิจต่าง ๆ

3 การส่งเสริมธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับงานบริการต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นการดําเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน เหตุผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

จากการศึกษาของ Aharoni สรุปว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ มักจะ มีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้

1 อุดมการณ์ กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของรัฐบาล หากรัฐบาล ยึดอุดมการณ์ว่า การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง นโยบาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็จะถูกเมิน แต่ถ้า รัฐบาลยึดอุดมการณ์ว่า การลดอํานาจรัฐลงจะทําให้ความมั่งคั่ง ความสุข และเสรีภาพของบุคคลเพิ่มพูนมากขึ้น รัฐบาลก็จะเห็นว่านโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นสิ่งที่สมควรกระทํา ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยของการปกครองประเทศเกิดขึ้นแต่ละครั้งและอุดมการณ์ของรัฐบาลเปลี่ยนไปจากเดิม ก็มักจะมีผลกระทบต่อกระแสการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกครั้ง เช่น ในประเทศอังกฤษ สมัยรัฐบาลนายวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) พรรคอนุรักษนิยม (Conservative) ได้ทําการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าให้แก่ ภาคเอกชนในช่วงทศวรรษ 1950s ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 เมื่อพรรคแรงงาน (Labour) ขึ้นเป็นรัฐบาลก็ได้โอนกิจการ ดังกล่าวกลับมาเป็นของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1979 1990 รัฐบาลนางมาร์กาเร็ต แธตเซอร์ (Margaret Thatcher) พรรคอนุรักษนิยม ได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เพราะต้องการลดอํานาจรัฐลง และมีเจตนารมณ์ที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะมีความเชื่อว่ากิจการสาธารณูปโภค ที่เอกชนเป็นเจ้าของนั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นรัฐวิสาหกิจ

2 การเมือง กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคล ที่มีอํานาจทางการเมือง เช่น

– ประเทศชิลี ผลจากการทํารัฐประหารประธานาธิบดี Attende Gossens ในปีค.ศ. 1973 ทําให้มีการโอนรัฐวิสาหกิจคืนเอกชนจํานวน 259 แห่ง รวมทั้งมีการขายรัฐวิสาหกิจ 133 แห่ง และธนาคารอีก 21 แห่ง

– ประเทศกานา ผลจากการทํารัฐประหารประธานาธิบดี Nkrumah ในปี ค.ศ. 1966 ทําให้มีการเสนอขายรัฐวิสาหกิจจํานวน 30 แห่ง

– ประเทศปากีสถาน ผลจากการทํารัฐประหารรัฐบาลพรรคประชาชนในปี ค.ศ. 1977 ทําให้มีการโอนรัฐวิสาหกิจคืนแก่เอกชนหลายแห่ง

3 เศรษฐกิจ กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นเพื่อต้องการลดการขาดดุลงบประมาณ แผ่นดินลง เช่น ประเทศอิตาลีในช่วงปี ค.ศ. 1985 รัฐบาลประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินอย่างมาก จึงแก้ปัญหาโดยการขายรัฐวิสาหกิจทั้งประเภทที่เป็นบริษัทและธนาคารหลายแห่ง รวมทั้งได้นําหุ้นของรัฐวิสาหกิจอื่น อีก 13 แห่งเข้าตลาดหลักทรัพย์

 

ข้อ 3 จงอธิบายนโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มาโดยสังเขป

แนวคําตอบ

นโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มีดังนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509)

1 สาขาอุตสาหกรรม รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่อันเป็นการแข่งขันกับเอกชน ส่วน กิจการที่รัฐอํานวยการอยู่แล้วจะจัดการให้บังเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

2 สาขาการคมนาคม ปรับปรุงกิจการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งปรับปรุงกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมให้มีบริการสะดวกและรวดเร็ว

3 สาขาการพลังงาน ดําเนินงานพลังงานต่าง ๆ เพื่อความต้องการของประเทศ

4 สาขาการสาธารณูปโภค ให้ท้องถิ่นหรือจังหวัดเป็นผู้ดําเนินกิจการด้านสาธารณูปโภค

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)

1 ดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม ความมั่นคงของชาติ และเพื่อหารายได้ของประเทศเท่านั้น

2 รัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นใหม่ เว้นแต่ที่จําเป็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริงเท่านั้น

3 ส่งเสริมและปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่จําเป็นจะต้องรักษาไว้ โดยการปรับปรุงสมรรถภาพในการบริหารงานให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องขอความอุดหนุนด้านการเงินจากรัฐ

4 ควบคุมการขยายงานของรัฐวิสาหกิจให้ดําเนินการเฉพาะโครงการที่แน่นอนและเหมาะสมเท่านั้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) มีนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจโดยมุ่งสนับสนุนเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทต่อไปนี้

1 รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขนาดใหญ่ซึ่งจัดทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ

2 รัฐวิสาหกิจประเภทยุทธปัจจัยเพื่อการทหารและความมั่นคงของประเทศ

3 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ

4 รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมอาชีพของคนไทยหรือเศรษฐกิจของประเทศ

5 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนมากเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่ได้ผลตอบแทนน้อย

6 รัฐวิสาหกิจประเภทที่รัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเพื่อรักษาระดับราคา ทั้งนี้รัฐจะไม่ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการค้าขึ้นใหม่เพื่อทําการแข่งขันกับเอกชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)

1 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาดเพื่อการควบคุมคุณภาพ ราคา และหารายได้เป็นพิเศษ เช่น โรงงานยาสูบ โรงงานสุราโรงงานเภสัชกรรม เป็นต้น

2 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธปัจจัยที่จําเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น โรงงานผลิตวัตถุระเบิด เป็นต้น

3 รัฐมุ่งสนับสนุนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่

1) จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐานสูง

2) มีการลงทุนสูงและเอกชนไม่สามารถดําเนินการได้โดยลําพัง

3) มีกระบวนการดําเนินงานซับซ้อนที่เอกชนยังไม่สามารถดําเนินการได้

4) ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมีปัญหาในเรื่องการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะการให้สัมปทาน

4 รัฐมีนโยบายยกเลิกหรือจําหน่ายจ่ายโอนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อเป็นผู้ริเริ่มแต่ปัจจุบันยังคงดําเนินการอยู่อย่างขาดประสิทธิภาพ

5 ในกิจการที่รัฐวิสาหกิจและเอกชนดําเนินกิจการควบคู่กันไป รัฐจะใช้มาตรการในการควบคุมในลักษณะคล้ายคลึงกัน

6 รัฐจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

1 ปรับปรุงกลไกในการควบคุมการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น ดังนี้  1) พิจารณานําระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานมาใช้ใน 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ และสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

2) พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการประสานงานกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้เป็นแนวทางเดียวกัน

2 ปรับปรุงการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกําหนดเป้าหมายและระยะเวลาการทํางานให้ชัดเจน

2) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีแผนหลักเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3) รัฐจะลดการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจจากงบประมาณแผ่นดิน

4) รัฐจะดูแลให้รัฐวิสาหกิจใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3 การปรับราคาสินค้าหรือค่าบริการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนอกจากจะต้องมีรายได้มากพอสําหรับจ่ายคาดอกเบี้ยและชําระคืนต้นเงินกู้แล้ว จะต้องมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลด้วย

4 วางหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาฐานะและกิจการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) กําหนดระยะเวลาให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกิจการตนเอง

2) รัฐวิสาหกิจใดที่มีผลการดําเนินการไม่ดีเท่าที่ควร รัฐจะพิจารณาดําเนินการยุบเลิกแปรสภาพ หรือจําหน่ายต่อไป

3) กิจการสาธารณูปโภคหากไม่ปรับปรุงการบริหารงาน ก็จะพิจารณาโอนกิจการให้เป็นของเอกชน

4) รัฐจะคงรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) มุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจไปสู่เชิงธุรกิจให้มากขึ้น โดย

1) ยกระดับคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม

2) หาลู่ทางเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต

3) ลงทุนในกิจการที่ผลตอบแทนดี และจํากัดขนาดการลงทุน

2 กําหนดนโยบายการกําหนดราคาสินค้าและค่าบริการของรัฐวิสาหกิจให้คุ้มกับต้นทุน

3 กําหนดแนวนโยบายการบริหารบุคคล โดยกําหนดให้มีการจัดทําแผนอัตรากําลังรวมอยู่ในแผนรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการว่าจ้างใช้บริการเอกชน และส่งเสริมให้เอกชน เข้าร่วมบริหารงาน

4 กําหนดแนวนโยบายให้มีการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาให้มีการร่วมทุนกับภาคเอกชน ดําเนินการจําหน่ายจ่ายโอนหรือยุบเลิกกิจการที่ดําเนินการไม่ได้ผลติดต่อกันมาโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร

5 ทบทวนบทบาทและปรับปรุงระบบการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งระดับชาติ ระดับกระทรวงให้เข้าเป้าที่กําหนดไว้ในแผนวิสาหกิจแต่ละแห่ง และจัดให้มีการปรับปรุงกฎหมาย

ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารงานได้คล่องตัวในเชิงธุรกิจมากขึ้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539)

1 ลดบทบาทการกํากับดูแลของรัฐ

2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

3 รัฐวิสาหกิจต้องดําเนินงานเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

4 เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดําเนินงานกับรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่าง ๆ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)

1 เพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

2 สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถระดมทุนจากประชาชนได้อย่างกว้างขวาง

3 จัดตั้งองค์กรกลางเป็นการถาวร เพื่อบริหารนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน

4 นําระบบประเมินผลการดําเนินงานมาใช้แทนการกํากับดูแล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)

1 ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

2 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพการดําเนินงาน

มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตและบริการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)

1 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักการบริหารจัดการที่ดี

2 ปรับบทบาท โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ลดการบังคับควบคุม

3 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ และลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 พัฒนากลไกการกํากับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรม

ข้อ 4 จงอธิบายแนวทางการควบคุมและการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย แนวคําตอบ

แนวทางการควบคุมรัฐวิสาหกิจของไทย แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1 การควบคุมภายใน หมายถึง การควบคุมโดยองค์กรภายในของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง ได้แก่

1) ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เป็นองค์กรที่มีเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจํากัด และธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องสําคัญต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาอนุมัติ เกี่ยวกับงบดุล บัญชีกําไรขาดทุน การจ่ายเงินปันผลและบําเหน็จรางวัลอื่น ๆเป็นต้น

2) คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่ในการวางนโยบายและระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ และควบคุมดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป

3) หน่วยควบคุมภายในของรัฐวิสาหกิจ ในบางรัฐวิสาหกิจจะมีหน่วยควบคุมภายในของตนเองทําหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆภายในรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 การควบคุมภายนอก หมายถึง การควบคุมจากภายนอกรัฐวิสาหกิจ โดยองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ได้แก่

1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนงานและโครงการพัฒนา รวมทั้งเสนอข้อเท็จจริงที่จําเป็นเพื่อพิจารณาผลงานของโครงการพัฒนาที่กําลังดําเนินการอยู่

(2) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาร่วมกับรัฐวิสาหกิจ

(3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการเพื่อให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนงานและโครงการพัฒนาที่จะขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

(4) ติดตามและประเมินผลงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

 

2) สํานักงบประมาณ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุม รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับและรายจ่าย

(2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

(3) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร

(4) ในกรณีรัฐวิสาหกิจขอเงินจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ

(5) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้ . แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(6) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

3) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีและรับรองงบดุลรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

4) กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) ตรวจสอบบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

(2) กําหนดหลักเกณฑ์การทําบัญชีแสดงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

(3) อนุมัติการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคา

(4) อนุมัติการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการผลิต และการตีราคาของคงเหลือ

(5) อนุมัติการจัดสรรกําไรสะสมของรัฐวิสาหกิจ

(6) อนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเป็นโบนัสกรรมการและพนักงาน และจ่ายเงินปันผลหรือเงินรายได้นําส่งคลัง

(7) วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่รัฐวิสาหกิจไม่เห็นด้วยกับความเห็นของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการสอบบัญชี

(8) ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจะฝากเงินกับธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน

(9) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

(10) การจ่ายเงินยืมทดรองแก่พนักงานที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกําหนดขึ้นนั้นต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังก่อน

(11) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน

(12) รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีผู้แทนกระทรวงการคลังซึ่งเป็นข้าราชการประจําเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

5) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัด

6) คณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) อนุมัติการเพิ่มหรือลดทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

(2) อนุมัติงบลงทุนหรือการลงทุนเพื่อขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่

(3) อนุมัติการกู้ยืมเงิน

(4) อนุมัติการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์

(5) อนุมัติการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นศูนย์

(6) อนุมัติการกําหนดราคาสินค้าหรือบริการ

(7) อนุมัติการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน

(8) อนุมัติการจําหน่ายกิจการหรือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ

(9) อนุมัติการเข้าถือหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่น

(10) อนุมัติการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด

7) รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

(3) เสนอญัตติในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

(4) ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบ

(5) อภิปรายไม่ไว้วางใจ แนวทางการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย มีดังนี้

 

1 จัดทําบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานในแต่ละปี โดยบันทึกข้อตกลงจะต้องลงนามโดยปลัดกระทรวง เจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ

2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กํากับดูแลให้รัฐวิสาหกิจดําเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง โดยรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจบริหารงานได้คล่องตัวมากขึ้น

3 การกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานจะต้องคํานึงถึงลักษณะของแต่ละ รัฐวิสาหกิจ และกําหนดตัวแปรซึ่งครอบคลุมด้านสําคัญทุกด้านรวมถึงคุณภาพในการบริการ และเป็นผลงานที่รัฐ ต้องการจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการพิจารณากําหนดตัวแปรและเป้าหมายจะคํานึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

4 การประเมินผลงานจะแบ่งผลงานออกเป็น 5 ระดับ และมีการกําหนดระบบผลตอบแทน ที่สะท้อนระดับผลการดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจใดดําเนินการได้ดีกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงจะได้รับ ผลตอบแทนมากกว่า

5 การประเมินผลงานคณะกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องใช้ตัวแปรชุดเดียวกับ การประเมินผลงานของรัฐวิสาหกิจ

 

ข้อ 5 คณะทํางานธนาคารโลกได้วิจารณ์รัฐวิสาหกิจไทยไว้ 3 ประการ คือ 1) ปราศจากการวางแผนที่ดี

2) การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

3) ไม่ก่อให้เกิดผลกําไร

ท่านมีความคิดเห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ดังกล่าวหรือไม่อย่างไร และท่านคิดว่าควรมีการแก้ไขอย่างไร

แนวคําตอบ

เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ของคณะทํางานธนาคารโลก เนื่องจากในช่วงที่คณะทํางานของธนาคารโลก ได้เข้ามาศึกษาสภาวะเศรษฐกิจไทยเป็นช่วงที่รัฐบาลในขณะนั้น คือ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจขึ้นมาหลายแห่ง เพื่อขจัดอิทธิพลและลดบทบาทการผูกขาดทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตกและชาวจีน ตามนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมของรัฐบาล แต่บุคคลที่เข้ามาดํารงตําแหน่งระดับสูงในรัฐวิสาหกิจเป็นข้าราชการ ซึ่งไม่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนในการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจในสมัยนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางการเมืองและกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ กลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมือง คือ กลุ่มสี่เสาเทเวศร์และกลุ่มราชครู ทําให้รัฐวิสาหกิจสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่ม ผู้มีอํานาจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มมากกว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ จึงทําให้ผลการดําเนินงาน ปรากฏออกมาตามข้อวิจารณ์ของคณะทํางานของธนาคารโลก ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามข้อวิจารณ์ของ คณะทํางานของธนาคารโลก มีดังนี้

1 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม

2 รัฐบาลควรทําหน้าที่ในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสาธารณูปการเท่านั้น ส่วนกิจการด้านอื่น ๆ ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชาติมีความมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองอย่างสมดุล คําถามหากจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพดังกล่าว ข้างต้นนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญและสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา ที่เน้นการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยควรเป็นอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-1 หน้า 19 – 24), (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2, 12 – 13, 17 – 21), (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพ

การพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และต้องเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล มนุษย์จะมีคุณภาพ มีบทบาทต่อสังคมทั้งสามด้านดังกล่าวได้ จะต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และ การดํารงชีวิตในสังคมในวัยต่าง ๆ ไปจนตาย ซึ่งอธิบายได้ว่าต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่ ปฏิสนธิ สู่วัยเด็ก เข้าสู่วัยแรงงาน วัยชรา จนถึงตาย ซึ่งเกี่ยวพันกับหลายกระบวนการคือ บาทบาทของบิดา มารดา ครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ มีผลต่อการพัฒนามนุษย์ด้วย

การพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพต้องพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สําคัญ คือ

1 สถาบันครอบครัว (Family)

2 การศึกษา (Education)

3 การฝึกอบรม (Trawing)

4 การมีสุขภาพอนามัยและโภชนาการที่ดี (Health and Nutrition) 5 การอพยพ (Migration)

6 ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน (Job-Market Information)

7 ประสบการณ์ในการทํางาน (Work Experience)

8 สภาวะสิ่งแวดล้อม (Environment)

 

การลงทุนด้านการศึกษา

– การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลัก ห้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การลงทุนในการศึกษาเป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความชํานาญ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และข่าวสารใหม่ ๆ ได้ดี ทําให้เขาสามารถ ทํางานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้มีการศึกษาด้อยกว่า การลงทุนในการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ เพิ่มผลผลิตและรายได้ในอนาคต

การศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ และการศึกษาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลการศึกษาเป็นสินค้า (Goids) ที่เรียกว่า Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษา ก็คือ การเพิ่มความรู้ (Stock of Knowledge) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะ (Skills) ด้านต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการศึกษา และเป็นการสะสมทุนมนุษย์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และหากการศึกษาสามารถทําให้ได้คนเก่ง คนดี และมีชีวิตอยู่ด้วย ความสุขนั้นแหละคือมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพที่เรียกว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม – (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

 

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุมนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “คนไทย 4.0” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

คนไทย 4.0

คนไทย 4.0 เปรียบเสมือนการตระเตรียมเมล็ดพันธุ์ใหม่ ด้วยการบ่มเพาะคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการพัฒนา “คนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง”

คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 คือ คนไทยที่มีปัญญาที่เฉียบแหลม (Head) มี ทักษะที่เห็นผล (Hand) มีสุขภาพที่แข็งแรง (Health) และมีจิตใจที่งดงาม (Heart)

การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นเงื่อนไขที่จําเป็นในการเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง ซึ่งจะ ครอบคลุมการปรับเปลี่ยนใน 4 มิติดังต่อไปนี้

1 เปลี่ยนจากคนไทยที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จํากัด เป็นคนไทยที่มีความรู้และทักษะสูง มีความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากคนไทยที่มองเน้นประโยชน์ส่วนตน เป็นคนไทยที่มีจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

3 เปลี่ยนจากคนไทยแบบ Thai-Thai เป็นคนไทยแบบ Global Thai มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสามารถยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีสากล

4 เปลี่ยนจากคนไทยที่เป็น Analog Thai เป็นคนไทยที่เป็น Digital Thai สามารถดํารงชีวิต เรียนรู้ทํางาน และประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นปกติสุขในโลกยุคดิจิตอล โดยเริ่มจากการเสริมสร้างให้เกิดการเจริญเติบโตในตัวคน (Growth for People) ผ่านการ สร้างสังคมแห่งโอกาส เพื่อเติมเต็มศักยภาพ เมื่อคนเหล่านี้ได้รับการเติมเต็มศักยภาพอย่างเต็มที่ จะกลายเป็นตัว หลักในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (People for Growth) และนําพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างแท้จริง

ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยทั้งระบบ

1 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีพลังและมีความหมาย (Purposeful Learning)

2 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ (Generative Learning)

3 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (Mindful Learning)

4 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อมุ่งการทํางานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Learning)

การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 และการตระเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง โดยผ่าน 4 กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จะเป็นหัวใจสําคัญในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่“สังคมไทย 4.0” นั่นคือ สังคมที่มีความหวัง (Hope) สังคมที่เปี่ยมสุข (Happiness) และสังคมที่มีความ สมานฉันท์ (Harmony) ในที่สุด

นอกจากนี้ยังจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป้าหมายและระบบการบริหารจัดการ การเรียนรู้ กระบวนทัศน์และทักษะครู หลักสูตรการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนระบบนิเวศน์ของ การเรียนรู้

กรอบยุทธศาสตร์ Brain Power Development

เพื่อให้ Thailand 4.0 บรรลุผลสัมฤทธิ์ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกรอบยุทธศาสตร์ “National Brain Power Development” เพื่อพัฒนาและยกระดับแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงที่ชัดเจน โดยเน้นการบริหารจัดการ Stock & Flow ของแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงผ่านกลไกของ Talent Development และ Talent Mobility ทําให้ตลาดแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง เป็นตลาดแรงงานที่มี ประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการมีระบบสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่ เหมาะสม เป้าหมายเพื่อยกระดับผลิตภาพของแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสําคัญ ของการยกระดับผลิตภาพของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในที่สุด

การเตรียมคนไทย 4.0 จึงเป็นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ทักษะ (Skit-Set) และพฤติกรรม (Behavior Set) ของคนไทยทั้งระบบ เพื่อให้คนไทย 4.0 เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเปลี่ยน ผ่านสู่ Thailand 4.0 ที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยังยืนอย่างแท้จริง

รากฐานการพัฒนา Thailand 4.0. เริ่มต้นที่ “คนไทยทุกคน”

ปัจจัยสําคัญที่สุดการขับเคลื่อนประเทศไทย ตาม Thailand 4.0 ก็คือ “คนไทย” เนื่องจาก การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จะเป็นรากฐานในการเสริมสร้างคุณภาพและความ เข้มแข็งให้กับสังคมไทย รวมทั้งสร้างรากฐานความมั่นคงของประเทศในทุกด้าน และเมื่อคนไทยมีคุณภาพก็จะ สามารถลดความเหลื่อมล้ําทางสังคมได้ การพัฒนาสังคมจึงต้องมุ่งพัฒนาโดยเน้นเรื่องคุณภาพและความยั่งยืน บนพื้นฐานแนวคิดของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

คนไทยทุกคนเป็นคนที่สําคัญของประเทศ คนไทยบางกลุ่มอาจมีศักยภาพหรือความพร้อม อยู่แล้ว แต่คนไทยบางกลุ่มอาจอยู่ระหว่างการค้นหาศักยภาพ ลองผิดลองถูก และขาดเพียงโอกาสเท่านั้น ประเทศไทยจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้หากละทิ้งคนไทยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้ ดังนั้นการพัฒนาคนไทยทุกคนจึงเป็นสิ่ง ที่มีความสําคัญยิ่ง

เป้าหมายการพัฒนา Thailand 4.0 คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทุก กลุ่มให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ยังต้องการเติมเต็มศักยภาพ หรือผู้ด้อยโอกาส หรือที่กําลังประสบกับ ปัญหาความยากจนอย่างมาก จะต้องทําให้คนในกลุ่มเหล่านี้สามารถมี “โอกาสทางสังคม (Social Mobility)”

โดยเน้นป้องกันความเสี่ยงจากการตกอยู่ในวงจรแห่งความล้มเหลวหรือกับดักความยากจน ในลักษณะการให้แต้มต่อและสร้างโอกาส พร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพไปที่ตัวคน ครอบครัว และชุมชน

2.2 อธิบายคําว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมา ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 ( Century Skills) มาจากการประชุมร่วมกันของนักวิชาการ หลากหลายสาขา ได้ให้ข้อสรุปร่วมกันถึงทักษะเพื่อดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพในยุคของศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ๆ ที่สําคัญ คือ

1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

– การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration)

– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)

2 ทักษะชีวิตและงานอาชีพ

– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)

– การริเริ่มสร้างสรรค์และกํากับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction)

– ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Interaction)

– การเป็นผู้สร้างผลงานหรือผลผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability)

– ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)

 

3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

– การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy)

– การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

– การรู้ทันเทคโนโลยี (ICT : Information, Communication and Technology Literacy)

 

2.3 การเข้าสู่ Thailand 4.0 กับแนวคิดนวัตกรรม จะมีความเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์อย่างไรบ้างและจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายมาเป็น ประเด็น ๆ ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Thailand 4.0

ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก Thailand 1.0 ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ปสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และได้ก้าวสู่ Thailand 3.0

ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้มาใช้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดโลก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ Thailand 3.0 นั้น แม้จะทําให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นแต่ ก็ต้องเผชิญกับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ําของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่ สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบันนําไปสู่การปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจเพื่อก้าวข้าม Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 –

Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะนําพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจาก 3 กับดักดังกล่าว  พร้อมๆ กับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ”

Thailand 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value-Based Economy” : หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กล่าวคือ ในปัจจุบันเรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทํามาก ได้ น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทําน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึง

การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติสําคัญ คือ

1 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

3 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

 

องค์ประกอบในระบบหลักสําคัญ 4 ประการ ในการขับเคลื่อน คือ

1 เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) เป็นการเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) เกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

2 เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

3 เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services ที่มีศักยภาพสูง

4 เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเครื่องมือในการพัฒนา Thailand 4.0 ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของ ประเทศไทย เรียกว่า “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ที่มี อยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม”

โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ คือ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

1 กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโยลีชีวภาพ (Food, Agriculture& Bio-Tech) ซึ่งจะเป็น – แพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech)

2 กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา

3 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริการ (Service Enhancing)

4 กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ (Digital, Artificial Intelligence& Embedded Technology) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี-มาร์เก็ตเพลส (E-Marketplace) อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)

5 กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech)

พลังประชารัฐในการขับเคลื่อน

Thailand 4.0 จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ํา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ํา และ Startups ต่าง ๆ ที่อยู่ปลายน้ํา โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการ “ขับเคลื่อน

ผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และ สถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน

โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (5 อุตสาหกรรมที่เป็น Extending S-Curve บวก 5 อุตสาหกรรมที่เป็น New SCurve) กล่าวคือ ใน 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ยังต้องพึ่งพิงการลงทุน จากต่างประเทศเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมการบิน (Aviation)

ส่วนใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 จะเป็นส่วนที่ ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งสอด รับกับ “บันได 3 ขั้น” ของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็น กลุ่มอย่างมีพลัง” นั่นเอง

สรุปกระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ Thailand 4.0 มี 3 ประเด็นที่สําคัญ คือ

1 เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม

2 เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูป การวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน

3 เป็นการผนึกกําลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึก กําลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

ประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การ ใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การ ดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวางแผนกําลังคน เป็นการดําเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับ อุปสงค์และอุปทานด้านกําลังคน เพื่อนําไปสู่การกําหนดกลวิธีที่จะให้ได้กําลังคนในจํานวนและสมรรถนะที่เหมาะสม มาปฏิบัติงานในเวลาที่ต้องการ โดยมีแผนการใช้และพัฒนากําลังคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อธํารงรักษากําลังคนที่เหมาะสมไว้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของการวางแผนกําลังคนภาครัฐ มีดังนี้

1 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน

2 ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจํานวน ประเภท และระดับทักษะของกําลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม

3 ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด

4 ทําให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 สามารถรักษากําลังคนที่ดีไว้ในองค์กร

6 ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาด

7 ทําให้ไม่เกิดช่องว่างในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่

8 ทําให้มีการตรวจสอบสภาพกําลังคน และการวิเคราะห์ และวางยุทธศาสตร์กําลังคนได้ถูกต้อง

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1. ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

จงอธิบายแนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในปัจจุบันตามช่วงวัย ดังนี้

1.1 ตั้งครรภ์/แรกเกิด/ปฐมวัย

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัย ปี 2560 ช่วงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด/ปฐมวัย (0 – 5) ปี มีดังนี้

 

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การเกิดอย่างมีคุณภาพและการมีพัฒนาการสมวัย จุดเน้นคือ

– กระบวนการทําให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ และมีพัฒนาการตามวัย

– การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของเด็กแรกเกิด/ปฐมวัย

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต การเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยเป็นคนไทยที่มีความมั่นคงในชีวิต จุดเน้นคือ

– เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาจากศูนย์เด็กเล็กที่มีมาตรฐาน

– การที่เด็กปฐมวัยมีโอกาสเข้าถึงสิทธิและบริการต่าง ๆ ของรัฐ

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างความอบอุ่นให้เด็กปฐมวัย จุดเน้นคือ

– การเตรียมพร้อมครอบครัวก่อนมีบุตร (รวมปู่ย่าตายาย)

– การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็ก

 

1.2 วัยเรียน/วัยรุ่น/นักศึกษา

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยเรียน (5 – 14 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะชีวิต จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะชีวิต

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต

การสร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับสูง เพื่อโอกาสการทํางานและการสร้างความมั่นคงใน ชีวิต จุดเน้นคือ

– การให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนอกระบบโรงเรียน

– การสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การวางรากฐานจริยธรรม คุณธรรมเพื่อความอยู่ดีมีสุข จุดเน้นคือ

– การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม

– การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็กในวัยเรียน

– การเฝ้าระวังการลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในกลุ่มเด็กวัยเรียน

 

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยรุ่น นักศึกษา (15 – 21 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1: การพัฒนาศักยภาพคนไทย การมีทักษะชีวิต และทักษะการทํางาน จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะการทํางาน

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต

การสร้างโอกาสในการศึกษาระดับสูงและประสบการณ์การทํางานจริงเพื่อวางรากฐานความมั่นคง ในชีวิต จุดเน้นคือ

– กํารส่งเสริมโอกาสในการศึกษาที่สูงขึ้น และความพร้อมในทักษะอาชีพ

– การส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ จุดเน้นคือ

– การลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

– ลดพฤติกรรมมั่วสุม การขับขี่ยานพาหนะกระทําผิดกฎหมาย

– การลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น

 

1.3 วัยแรงงาน

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยแรงงาน (15 – 59 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย การพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง จุดเน้นคือ

– กลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ

เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต

– การสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แรงงาน จุดเน้นคือ

– ขยายการเข้าถึงหลักประกันสังคมและสวัสดิการสังคมให้กับแรงงานนอกระบบ

– ลดการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรวัยทํางานและครอบครัว

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัวสําหรับวัยแรงงาน จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ สําหรับวัยแรงงาน

– การส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว

 

1.4 วัยผู้สูงอายุ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการดํารงชีวิต จุดเน้นคือ

– การเสริมสร้างทักษะของผู้สูงอายุให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

– การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต การ การสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ จุดเน้นคือ

– ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเข้าถึงสวัสดิการสังคม

– ส่งเสริมผู้สูงอายุได้รับการประเมินทั้งด้านสุขภาพและสังคม

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างคุณค่าและความอบอุ่นในวัยผู้สูงอายุ จุดเน้นคือ

– ผู้สูงอายุมีคุณค่าทางสังคม และได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

– ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “โรคเซลฟี่ (Selfie)” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้ เข้าใจ

แนวคําตอบ

โรคเซลฟี่ (Selfie) คือ พฤติกรรมที่ชอบถ่ายรูปตัวเองในอิริยาบถต่าง ๆ แล้วนําไปแชร์ใน เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อหวังให้คนกดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็น

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้ข้อมูลว่า ในยุคที่คนนิยมใช้ สื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ได้ทําให้คนจํานวนไม่น้อยโดยเฉพาะวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา มีพฤติกรรมที่เรียกว่า “เซลฟี่ (Selfie)” กันมาก โดยเป็นพฤติกรรมที่ชอบถ่ายรูปตัวเองในอิริยาบถต่าง ๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน ทําอะไร กินอะไร แล้วนําไปแชร์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อรอให้เพื่อน ๆ มากดไลค์ หรือเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ

– สิ่งนี้กลายเป็นพฤติกรรมเคยชินของหลายคนไปแล้ว ซึ่งถ้าดูเผิน ๆ ก็อาจคิดว่าไม่เห็นจะเป็น อะไร แต่จิตแพทย์กลับมองว่า พฤติกรรมเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจในตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจําวันและการส่งผลต่ออนาคต การงาน และการพัฒนาประเทศอย่างคาดไม่ถึง

ปกติของมนุษย์ทั่วไป ถ้าอะไรที่ทําแล้วได้รางวัลก็จะทําซ้ำ แต่ว่ารางวัลของแต่ละบุคคล มีผลกระทบต่อความรู้สึกไม่เท่ากัน บางคนลงรูปไปแล้วได้แค่สองไลค์เขาก็มีความสุขแล้ว เพราะถือว่าพอแล้ว แต่บางคนต้องให้มียอดคนกดไลค์มาก ๆ พอมากแล้วก็ยิ่งติด เพราะถือว่าเป็นรางวัล

ในทางตรงกันข้ามหากโพสต์รูปไปแล้วได้รับการตอบรับน้อย คนกดไลค์น้อย ไม่เป็นอย่างที่ คาดหวังไว้ และทําใหม่แล้วก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ จะทําให้บุคคลนั้นสูญเสียความมั่นใจไปเลย และส่งผลต่อ ทัศนคติด้านลบของตัวเองได้ เช่น ไม่ชอบตัวเอง ไม่พอใจรูปลักษณ์ตัวเอง แต่หากบุคคลนั้นสามารถรักษา ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้เป็นปกติด้เซลฟี่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิต

ด้วยเหตุนี้จึงแนะนําให้ทุกคนต้องมีความมั่นใจในตัวเอง เพราะถ้าขาดความมั่นใจจะทําให้ เกิดความกังวล ความลังเล ชีวิตไม่มีความสุข เมื่อคิดสะสมไปเรื่อย ๆ อาจทําให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจและ อารมณ์ได้ง่าย เช่น หวาดกลัว หวาดระแวง เครียด อิจฉา ชอบจับผิดคนอื่น ซึมเศร้า หรืออาจทําพฤติกรรมแปลก ๆ มีลักษณะตรงข้ามกับความมั่นใจตัวเอง ซึ่งหากเยาวชนขาดความมั่นใจในตัวเองแล้ว จะทําให้พัฒนาตัวเองยาก ขาดผู้นํา โอกาสการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เป็นไปได้ยากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการ พัฒนาประเทศในอนาคต

วิธีป้องกันการเสพติดเซลฟี่ (Selfie) และการสร้างความมั่นใจตัวเองบนโลกความเป็นจริงอาจทําได้โดย

1 ต้องให้ความสําคัญกับคนรอบข้างที่เป็นสิ่งแวดล้อมจริงในชีวิตประจําวัน

2 หากิจกรรมยามว่างทํากับคนในครอบครัว เพื่อน ๆ เช่น ออกกําลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยว พักผ่อน

3 ต้องยอมรับในความแตกต่างของคนที่ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ข้อนี้ถือว่าสําคัญมากเพื่อที่เราจะได้เข้าใจ ไม่นําตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

4 ต้องฝึกความอดทนให้กับตัวเอง เพราะการถ่ายเซลฟี่ไม่สามารถที่จะทําได้ตลอดเวลา ครั้งที่ทําไม่ได้ต้องยอมฝืนใจที่จะไม่ทํา หากผ่านจุดนั้นไปได้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะสามารถ ควบคุมพฤติกรรมการถ่ายเซลฟีได้เช่นกัน

 

2.2 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Workerประกอบด้วย เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง  (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing) ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วยังต้อง

มีความรู้ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น

2.3 การเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้กับแนวคิดสุขภาพองค์รวม จะมีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ในชาติกันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ใน ภาครัฐหรือไม่อย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 24), (คําบรรยาย)

สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ คือ เป็นสังคมที่เศรษฐกิจมีผลิตผลที่เกิดจากความรู้ การให้หรือส่งผ่านความรู้ ตลอดจนการใช้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเป็นรากฐานเป็นเครื่องผลักดันหลักที่ก่อให้เกิดการเติบโต ความมั่นคง การจ้างงานในแวดวงอุตสาหกรรม และความรู้ที่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ต้องการนั้นไม่ใช่เพียงความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่หมายรวมไปถึงความรู้อื่น ๆ อย่างเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคม และการจัดการด้วย

ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในด้านสังคมความรู้จะทําให้ประชาชนมีอํานาจ ความมั่งคั่งทางวัตถุ และวัฒนธรรม และเป็นสังคมที่ยั่งยืน ในด้านเศรษฐกิจความรู้จะถูกแปรเป็นสินทรัพย์และปัจจัยการผลิตที่สําคัญ ในการสร้างการเจริญเติบโตในทุกสาขาเศรษฐกิจ

สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ที่เน้นการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ นําความรู้ไปใช้ในการทํางาน หรือสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในระดับชาติและนานาชาติ ในขณะเดียวกันก็ยังคง ความเป็นไทยไว้ได้อย่างภาคภูมินั้น ต้องการมีการจัดการความรู้ที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีการแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างเป็นแบบแผน และมีค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดความรู้ลดลง เพื่อ นําไปสู่แนวทางการทํางาน การผลิต การบริโภคและการศึกษาแบบใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลของประเทศเป็น ผู้ที่มีความรู้และทักษะเป็น Knowledge Workers หรือเป็น High-skin Workers ที่สามารถสร้างผลิตผลที่มี ความเป็นนานาชาติ เปิดตัวสู่ตลาดโลกได้อย่างสง่างาม และสามารถลงทุนร่วมกับต่างประเทศได้อย่างทัดเทียม

 

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการ ลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

แนวคิดของสุขภาพองค์รวม

สุขภาพองค์รวม (Holistic Health) หมายถึง ความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วยหรือไม่มีโรคหากยังครอบคลุมถึงการดําเนินชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข ของทุกคนด้วย

สุขภาพองค์รวม แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ

1 องค์รวมระดับบุคคล หมายถึง การทําให้เกิดความสมดุลภายในตัวคนแต่ละคนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เกิดเป็นเอกภาพที่กลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

2 องค์รวมระดับครอบครัวและชุมชน หมายถึง การมีครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกในครอบครัวมีความรักให้กันและกัน ดูแลให้ทุกคนมีสุขภาพดีทั้งกายใจ มีชุมชนที่เกื้อกูลเอื้ออาทร

3 องค์รวมระดับสังคม (สังคมจะรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติด้วย) หมายถึง การทําให้ คนในสังคมมีเจตจํานงอย่างเดียวกันจะสร้างสังคมที่ดีและงดงาม มีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างคนกับธรรมชาติ

โดยสรุป การดูแลสุขภาพองค์รวมจึงเป็นความสมดุลกลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจ และ สังคมสิ่งแวดล้อม เป็นวิถีของการมีสุขภาพที่ดีและงดงาม

องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม มี 4 มิติ ได้แก่

1 มิติทางกาย (Physical Dimension) เป็นมิติทางร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงปราศจาก โรคหรือความเจ็บป่วย มีปัจจัยองค์ประกอบทั้งด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ปัจจัยเกื้อหนุนทางเศรษฐกิจ ที่เพียงพอและส่งเสริมภาวะสุขภาพ

2 มิติทางจิตใจ (Psychological Dimension) เป็นมิติที่บุคคลมีสภาวะทางจิตใจที่แจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่มีความกังวล มีความสุข มีเมตตา และลดความเห็นแก่ตัว

3 มิติทางสังคม (Social Dimension) เป็นความผาสุกของครอบครัว สังคม และชุมชน โดยชุมชนสามารถให้การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สังคมมีความเป็นอยู่ที่เอื้ออาทร เสมอภาค มีความยุติธรรม และมีระบบบริการที่ดีและทั่วถึง

4 มิติทางจิตวิญญาณ (Spiritual Dimension) เป็นความผาสุกที่เกิดจากจิตสัมผัส กับสิ่งที่มีบุคคลยึดมั่นและเคารพสูงสุด ทําให้เกิดความคาดหวัง ความเชื่อมั่นศรัทธา มีการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ด้วยความเมตตากรุณา ไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ และยินดีในการที่ได้มองเห็นความสุขหรือความสําเร็จของ บุคคลอื่น ทั้งนี้สุขภาวะทางจิตวิญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหลุดพ้นจากตัวเอง (Self Transcending)

มิติสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 มิติ ถือเป็นสุขภาวะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยสุขภาวะทาง จิตวิญญาณ (Spiritual Dimension) จะเป็นมิติที่สําคัญที่บูรณาการความเป็นองค์รวมของกาย จิต และสังคม ของบุคคล และชุมชนให้สอดประสานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

โดยที่การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1. นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

จงอธิบาย “กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์” มาให้เข้าใจ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ (Objective) เป็นการวางกรอบของการวางแผนทรัพยากร มนุษย์ว่าต้องการครอบคลุมทุกแผนกงานในองค์การ หรือเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ระยะเวลาในการวางแผน ทรัพยากรมนุษย์ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น

2 การคาดคะเนอุปสงค์ (Projected Demand) เป็นการพยากรณ์หรือคาดคะเน ความต้องการกําลังคนของหน่วยงานต่าง ๆ ว่าต้องการใช้คนจํานวนเท่าไร คุณสมบัติอย่างไร เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ขององค์การ

3 การคาดคะเนอุปทาน (Projected Supply) เป็นการสํารวจตรวจสอบเกี่ยวกับอุปทาน ของกําลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าเพียงพอกับความต้องการหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะหาได้จากที่ไหน หรือแหล่งใด

4 การคาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ (Projected Human Resource Need) เป็นขั้นตอนที่ต้องการทราบว่าจํานวนกําลังคนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้จากการคาดคะเนอุปสงค์และ อุปทานของกําลังคน ทําให้ทราบข้อมูลกําลังคน คุณสมบัติของคน และระยะเวลาที่ต้องการ :

5 การตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning Decision) หลังจากทราบข้อมูลของกําลังคนเมื่อเปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานของแรงงานแล้ว หากกําลังคน ที่ต้องการ (Demand) มีมากหรือน้อยกว่าอุปทาน (Supply) การตัดสินใจว่าจะวางแผนทรัพยากรมนุษย์อย่างไร จึงเกิดขึ้นในขั้นตอนการประเมินผล (ขั้นตอนที่ 8)

6 จัดโครงการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Program) หลังจากตัดสินใจว่า การดําเนินวิธีการใดในเรื่องเกี่ยวกับกําลังคนแล้ว ในขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนจัดทําโครงการเกี่ยวกับทรัพยากร มนุษย์ เช่น การสรรหา การคัดเลือก การวางแผนอาชีพ เป็นต้น

7 การควบคุม (Control Data) เมื่อมีการจัดทําโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ไปแล้ว จําเป็นต้องมีการติดตามและควบคุมงานให้เป็นไปตามแผนงาน และหากมีปัญหาและอุปสรรคจะได้ดําเนินการ แก้ไขได้ทันที ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

8 การประเมินผล (Evaluation) เป็นการตรวจวัดเพื่อให้ทราบผลการดําเนินงานของ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ว่าประสบผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เราสามารถดูได้จากการประเมินผล โดยนําสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไปเทียบกับสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ดังนั้นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องมีขั้นตอนการประเมินผลด้วย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2. นี้เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

2.1 อธิบายคําว่า “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา คือ พัฒนาการต้องเกิดจากการกระทําของมนุษย์ ผลประโยชน์ ของการพัฒนาจะต้องเป็นของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ตระหนักถึงความต้องการหรือความจําเป็นของมนุษย์ มนุษย์จะเป็น ผู้กําหนดความมุ่งหมายของการพัฒนาโดยอาศัยความต้องการของตนเป็นเครื่องนําทาง และมนุษย์จะเป็นผู้จัดการ องค์ประกอบของการพัฒนาให้สําเร็จตามความมุ่งหมายที่ตนตั้งขึ้น เช่น การสร้างสถาบันทางสังคม การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของระบบต่าง ๆ ถึงแม้กิจกรรมนั้นเป็นสภาพแวดล้อมที่ทําให้เกิดการพัฒนา แต่มนุษย์จะพัฒนาอย่าง โดดเดี่ยวไม่ได้ มนุษย์จะต้องพัฒนาในสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการพัฒนามนุษย์โดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางจึงเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ โดยต้องพิจารณาทุกส่วน ขององค์ประกอบในการพัฒนาและทุกด้านของชีวิตซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

 

2.2 อธิบายคําว่า “Human Development” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามความหมายของ United Nation Development Program (UNDP) หมายถึง การขยายทางเลือกของคนในสังคมหนึ่ง ๆ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคนยากจนและเสียเปรียบในสังคม (คนตกขอบ) เช่น การให้การศึกษาสุขภาพ การให้โอกาส รวมทั้งการนํา เทคโนโลยีมาใช้ในการทํางานเพื่อให้คนขยับขึ้นมาทํางานดีกว่านั้น การพัฒนามนุษย์จึงมีคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว มีอนามัยที่ดี สุขภาพที่ดี มีชีวิตที่สร้างสรรค์

การพัฒนามนุษย์ (Human Development) คือ เป็นการมองคนในฐานะเป็นมนุษย์ มีความ เป็นมนุษย์ของเขาเอง มีจุดมุ่งหมายของชีวิต คือ ความสุข อิสรภาพ และความดีงามของชีวิต ซึ่งการพัฒนามนุษย์นี้ มีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนามนุษย์ให้มีสุขภาพดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนามนุษย์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนามนุษย์ในเรื่องของคุณค่า ความเป็นมนุษย์ พัฒนามนุษย์ให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

ดังนั้นการพัฒนามนุษย์ จะต้องทําการพัฒนาทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสุขภาพ ความรู้ สติปัญญา พฤติกรรม และจิตใจด้วย

 

2.3 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกับการเป็น Human Resource มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การหรือไม่ อย่างไร อธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

สังคมผู้สูงอายุกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)

สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ

ประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยพบว่าหลังจาก ปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจํานวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธุ์ อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทําให้จํานวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุ ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้นทําให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลง การออมลดลง รัฐบาล จําเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและปฐมพยาบาล ผู้สูงอายุมากขึ้น ทําให้การลงทุนลดลง รายได้ประชาชาติลดลง ทั้งนี้การที่แรงงานลดลงอาจแก้ไขโดยการนําเทคโนโลยี เครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน หรือใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น หากไม่มีการเตรียมความพร้อม การจัดสรรทรัพยากรแรงงานที่จะลดลงจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทําให้รายได้ประชาชาติลดลงได้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้นโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปมีสัดส่วน ของผู้สูงอายุมากขึ้น ย่อมทําให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ดังนั้นในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ควรจะร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน องค์การ และประเทศ โดยเฉพาะการร่วมกันกระตุ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญของ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีการเตรียมวางแผนการออม การใช้ชีวิตในบั้นปลาย การร่วมมือกันในชุมชน การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ การปรับตัวทางด้านจิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุ รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งสําหรับบางประเทศได้มีการขยายอายุผู้เกษียณอายุและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีงานทํามากขึ้นเพื่อไม่ให้รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า และเป็นภาระกับสังคมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้สูงอายุ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

โดยที่การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไรระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อนี้เป็นของ รศ.ชลิดา

จากที่นักศึกษาได้ศึกษาเรื่อง “ดัชนีวัดระดับการพัฒนามนุษย์” (Indicators of Human Resource Development) มาแล้วนั้น ให้นักศึกษาตอบคําถามว่า ดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนามนุษย์ที่กําหนด โดยสหประชาชาติ ที่เรียกว่า Human Development Index (HDL) นั้น ประกอบด้วยตัวชี้วัด (ตัวบ่งชี้) ที่ประเมินการพัฒนามนุษย์ระดับสากลในปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านใดบ้าง จงระบุและอธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 10, เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 25), (คําบรรยาย)

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index : HDI)สํานักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme : UNDP) ได้ศึกษาและจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Index : HDI) คือ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ซึ่ง หลายคนก็ใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กําลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนามนุษย์ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 3 ด้าน ดังนี้

1 การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy Index)

2 ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับ ประถม มัธยม และอุดมศึกษา (Education Index)

3 มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ต่อหัว และความเท่าเทียมกันของอํานาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP), (GDP Index)

ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ในแต่ละปี ประเทศที่ได้รับ การจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรี ของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น เพื่อเป็นทรัพยากร มนุษย์ในทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก

ทั้งนี้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index :HDI) ยังถูกนําไปใช้วัดการพัฒนา เศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจคือการคํานึงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยไม่ได้จํากัด อยู่เพียงรายได้ หากแต่รวมถึงสุขภาพและการศึกษาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของดัชนีการพัฒนามนุษย์ด้วย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อนี้เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา

2.1 อธิบายคําว่า “Human Resource” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2)

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของ ประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ

ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือรายได้ ประชากรชาติจะต่ำลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี

2.2 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น

2.3 จงอธิบายคําว่า คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีลักษณะอย่างไร และจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทยด้วยการลงทุนด้านการศึกษาได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 10, 45 – 46), (คําบรรยาย)

คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะทํา ให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่มี ความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้านของ คนทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้วก็ สามารถนําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่าความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบและนําไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้เน้นที่การพัฒนาคน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงประสงค์ในระยะยาว ซึ่งวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเน้นการ พัฒนาที่ตัวคนทั้งสิ้น ดังนี้

1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

2 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม

4 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

5 เพื่อปรับระบบบริหารจัดการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่า มากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทาง ศีลธรรมเพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้น การศึกษาจึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาการขาดดุลทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้น การศึกษาที่ควรจะเป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วย สร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่ง ดําเนินการก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษา ภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชาติมีความมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล คําถามหากจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพดังกล่าว ข้างต้นนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญและสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมควรเป็นอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 12 -13), (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพ

การพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และต้องเป็น มนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล มนุษย์จะมีคุณภาพ มีบทบาทต่อสังคมทั้งสามด้านดังกล่าวได้ จะต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และ การดํารงชีวิตในสังคมในวัยต่าง ๆ ไปจนตาย ซึ่งอธิบายได้ว่าต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่ ปฏิสนธิ สู่วัยเด็ก เข้าสู่วัยแรงงาน วัยชรา จนถึงตาย ซึ่งเกี่ยวพันกับหลายกระบวนการคือ บาทบาทของบิดา มารดา ครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ มีผลต่อการพัฒนามนุษย์ด้วย

การพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพต้องพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สําคัญ คือ

1 สถาบันครอบครัว (Family) บิดามารดา สิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นที่หล่อหลอมคุณค่า หรือคุณภาพของบุตร คนในสมัยก่อนจึงทูดเสมอว่า มารดาเป็นครูคนแรกของบุตร ถ้ามารดามีการศึกษาและมีเวลา ดูแลและอบรมบ่มนิสัยบุตร หรือให้การศึกษาเบื้องต้นแก่บุตรย่อมทําให้เด็กมีคุณภาพและมีคุณธรรม ในปัจจุบันเริ่ม จะไม่เป็นจริง แม้มารดาหรือบิดาจะมีการศึกษา แต่มักจะไม่มีเวลาดูแลบุตรธิดา บางครอบครัวอาจจะปล่อยให้ เด็กรับใช้ในบ้านเป็นผู้ดูแล ฉะนั้นเด็กรับใช้ในบ้านจึงกลายเป็นครูคนแรกของบุตร แล้วคุณภาพของบุตรธิดาจะ เป็นอย่างไรในครอบครัวเช่นนี้ และกําลังสําคัญของชาติในอนาคตจะมีคุณภาพอย่างไรก็พอจะเดาได้เช่นกัน

ครอบครัวที่ดีมีความรักและความอบอุ่นเป็นรากฐานสําคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้เด็ก และเยาวชนอันเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาคน พัฒนาสังคมในอนาคตให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ สิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กทุกด้าน เมื่อใดที่ครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหา เมื่อนั้นย่อมมีผลกระทบต่อสถานภาพของครอบครัว รวมทั้งความมั่นคง ของสังคมด้วย เนื่องจากครอบครัวเป็นภารกิจที่สําคัญของชีวิตมนุษย์

ดังนั้น ครอบครัวที่ดีเท่านั้นจะสามารถป้องกันและแก้ไขต้นเหตุของปัญหาสังคมได้ เด็กจะมีสุขภาพกายและใจที่ดี และมีคุณภาพตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละคนได้ในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับการ เลี้ยงดูและการอบรมเด็กในสถาบันครอบครัวเป็นเบื้องต้น

2 การศึกษา (Education) การศึกษาในความหมายอย่างกว้าง คือ กระบวนการเรียนรู้ทุก รูปแบบตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นขบวนการของชีวิต เป็นขบวนการหาความรู้และประสบการณ์ทุกอย่างที่ได้รับ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วันรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา กระบวนการดังกล่าวอาจจะอาศัยสื่อการศึกษา คือ บ้าน โรงเรียน วัด สังคมและสิ่งแวดล้อม ในกรณีนี้ชีวิตและกิจกรรมเพื่อชีวิตทุกอย่างของเราล้วนเป็น โรงเรียนหรือแหล่งการศึกษาที่แท้จริงการศึกษาจึงหมายถึง ประสบการณ์รวมที่บุคคลได้รับทั้งในและนอก โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และได้สะสมมาตลอดชีวิต การศึกษาในกรณีนี้คือ ชีวิต (Education is Life)

การศึกษาในความหมายอย่างแคบ คือ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเท่านั้น การศึกษาจะเริ่มเมื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนและสถานศึกษา จะสิ้นสุดเมื่อออกจากโรงเรียน และสถาบันการศึกษา กรณีนี้มักจะเป็นการศึกษาที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และอาจารย์ ได้เตรียมการจัดการเรียน การสอนไว้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาได้มีความรู้ และความสามารถเพื่อจะดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีสวัสดิภาพ และเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้วย

คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษา ได้ให้ความหมายของการศึกษาที่พึง ประสงค์สําหรับประเทศไทยไว้ว่า เป็นการเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติให้คนไทยรู้จักตนเอง รู้จักชีวิต เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อันตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วย แล้วนําความรู้ความเข้าใจใช้แก้ปัญหา และ เสริมสร้างชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นโดยกลมกลืนกับธรรมชาติ

3 การฝึกอบรม (Training) คือ กรรมวิธีที่จะเพิ่มพูนสมรรถภาพในการทํางานของผู้ปฏิบัติ งานให้พัฒนาในด้านความคิด การกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และทัศนคติต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะยกระดับประสิทธิภาพการทํางาน และการผลิตในปัจจุบันและอนาคต

4 การมีสุขภาพอนามัยและโภชนาการที่ดี (Health and Nutrition) คงจะได้ยินสุภาษิต ที่ว่า จิตใจที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) จิตใจและร่างกายมีความสัมพันธ์กัน

เวลาเจ็บป่วยไม่สบายจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่อยากจะทํางานหรือแม้จะทํางานก็ไม่ได้ผลเต็มที่ ในทํานองเดียวกันหาก – เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาถ้าสุขภาพไม่ดีเจ็บออด ๆ แอด ๆ ก็ไม่สามารถจะรับการศึกษาได้เต็มที่ การเรียนก็จะ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ความรู้ ความสามารถ หรือคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่ควรจะได้รับเต็มที่ก็ได้รับน้อยกว่าปกติ

การลงทุนในสุขภาพอนามัยจึงเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) กับการลงทุน ในการศึกษา สุขภาพดีเรียนย่อมได้ผลดี และในทางกลับกันบุคคลที่ได้รับการศึกษาดีย่อมรู้จักรักษาสุขภาพ อนามัยของตนมากกว่าบุคคลที่ด้อยการศึกษา มารดาที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี บุตรในครรภ์ย่อมจะสมบูรณ์ คลอด ออกมาแล้วก็สมบูรณ์ มีน้ํานมดี ลูกก็จะเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมอง และถ้ามารดามีการศึกษาที่ดีย่อมรู้จัก รักษาสุขภาพ หรือสามารถเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพได้ดีกว่ามารดาที่ด้อยการศึกษา ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายในการ บํารุงสุขภาพอนามัย หรือมีโภชนาการที่ดี มีการป้องกันและรักษาสุขภาพเวลาเจ็บป่วย ทําให้เป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพหรือมีคุณค่าในสังคม แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี นอกจากจะเรียนศึกษา หรือทํางานไม่ได้เต็มที่แล้ว ยัง จะเป็นคนแพร่เชื้อโรคในสังคม ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้ใด

5 การอพยพ (Migration) การที่บุคคลใดจะต้องตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยจากที่ หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่ง ผู้อพยพได้พินิจและพิจารณาแล้วว่า ผลประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น รายได้ และผลประโยชน์อื่นใดที่ * เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน จากการอพยพครั้งนั้นต้องสูงกว่าต้นทุนหรือรายจ่ายที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินที่ ต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการอพยพครั้งนั้น หรือจะพูดได้ว่า ผลได้จะต้องมากกว่าผลเสียเขาจึงจะตัดสินใจอพยพแรงงานที่อพยพเข้ามาในกรุงเทพมหานคร หรือไปต่างประเทศ ย่อมได้รับความรู้ ประสบการณ์และรายได้มากกว่าที่จะอยู่ถิ่นเดิม จึงเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ อันที่จริงแล้วแรงงานไทยที่ อพยพไปขุดทองในต่างประเทศนั้นก็คือ “นักเรียนนอก”ระดับหนึ่งไปหาความรู้ ประสบการณ์ และรายได้ใน ต่างประเทศ กลับมาคงจะได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และรายได้ที่จะทําให้เขามีฐานะดีขึ้น มีเงินที่จะลงทุนใน การศึกษาของตนหรือสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือสามารถจะใช้ในการบํารุงสุขภาพ อนามัย ป้องกันหรือรักษา สุขภาพเวลาเจ็บป่วย ย่อมเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของสังคมและประเทศชาติ

6 ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน (Job-Market Information) ข่าวสารเกี่ยวกับ ตลาดแรงงาน เช่น ตําแหน่งว่างงาน คุณสมบัติแรงงานที่ต้องการ และแหล่งที่ต้องการแรงงาน ข่าวสารดังกล่าวนี้ มีประโยชน์มากสําหรับนายจ้างและลูกจ้าง การจะได้ข่าวสารเช่นนี้จะต้องมีการเสาะแสวงหาและเสียค่าใช้จ่าย ปกติรัฐบาลจะเป็นผู้ให้บริการข่าวสารนี้เละตั้งเป็นศูนย์บริการหางาน จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการหางาน และช่วยลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการหาแรงงานของนายจ้างด้วย ทําให้ตลาดแรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการ ว่างงานและเพิ่มการจ้างงาน เมื่อแรงงานหางานทําได้เร็วย่อมมีรายได้และเวลาในการหาประสบการณ์มากขึ้น กว่าปกติ ข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดงานจึงช่วยในการเพิ่มความรู้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในการหางาน ของแรงงานด้วย

7 ประสบการณ์ในการทํางาน (Work Experience) บุคคลที่ได้ลงทุนในการศึกษาตั้งแต่ต้น จนจบมหาวิทยาลัย ย่อมต้องการที่จะได้งานทําสมกับความรู้ที่ตนได้เรียนมา การทํางานเป็นการนําเอาความรู้ที่ได้ ศึกษาเล่าเรียนมา เอามาใช้ในทางปฏิบัติ เป็นการฝึกฝนจากของจริง การทํางานในหน้าที่จะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ ในการทํางาน ทําให้เกิดความชํานาญ ล้วนเป็นการเพิ่มพูนคุณค่าในตัวทรัพยากรมนุษย์

8 สภาวะสิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อพฤติกรรมมนุษย์ ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งถึงวันตาย ในปัจจุบันภัยอันตรายที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนกําลังคืบคลานเข้ามา ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลก และการนําเอา วิทยาการใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยในบางครั้งไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สภาพแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ หรือของโลกได้เลวร้ายลงตามลําดับ อันสืบเนื่องมาจากอากาศเป็นพิษ อากาศ บริสุทธิ์ สําหรับมนุษย์หายใจในปัจจุบันนี้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ มนุษย์ที่มองไม่เห็นทําให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะ ทําให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่ มีความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้าน ของคนทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้ว ก็สามารถนําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่า ความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “การลงทุนด้านการศึกษา” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมา ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 19 – 21), (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 2, 17 – 21),

(คําบรรยาย)

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การลงทุนในการศึกษาเป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความชํานาญ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และข่าวสารใหม่ ๆ ได้ดี ทําให้เขาสามารถ ทํางานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้มีการศึกษาด้อยกว่า การลงทุนในการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ เพิ่มผลผลิตและรายได้ในอนาคต

การศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ และการศึกษาเป็นกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีผลการศึกษาเป็นสินค้า (Goods) ที่เรียกว่า Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษา ก็คือ การเพิ่มความรู้ (Stock of Knowledge) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะ (Skills) ด้านต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการศึกษา และเป็นการสะสมทุนมนุษย์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุส ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และหากการศึกษาสามารถทําให้ได้คนเก่ง คนดี และมีชีวิตอยู่ด้วย ความสุขนั้นแหละคือมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพที่เรียกว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ

2.2 อธิบายคําว่า “สังคมก้มหน้า” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (ความรู้ทั่วไป)

สังคมก้มหน้า

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สังคมก้มหน้า คือ ในยุคที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งจําเป็นในการติดต่อสื่อสาร หลายคนมีพฤติกรรมติดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา เช่น พกติดตัว ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ รู้สึกกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัวหรือแบตเตอรี่หมด คอยเช็คข้อความจากโซเชียลมีเดีย หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อยแม้ไม่มีเรื่องด่วน ตื่นนอนจะเช็ค โทรศัพท์ก่อนและยังคงเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน ติดเกม หรือในแต่ละวัน ใช้เวลาพูดคุยกับผู้คนผ่านโทรศัพท์ในโลก ออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับคนรอบข้าง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ จะถูกวินิจฉัยว่า เป็นอาการติดโทรศัพท์มือถือ (Nomophobia) และบางรายอาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว หรือแบตเตอรีหมด หรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ

อาการติดโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและสังคม โดยเฉพาะด้าน สุขภาพร่างกาย ตัวอย่างเช่น

1 นิ้วล็อก เกิดจากการใช้นิ้ว กด จิ้ม สไลด์ หน้าจอเป็นระยะเวลานาน

2 อาการทางสายตา เช่น ตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง เกิดจากเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็ก ๆ ที่มีแสงจ้านานเกินไป อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม

3 ปวดเมื่อคอ บ่า ไหล่ จากการก้มหน้า ค้อมตัวลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเล่นนาน ๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา รวมไปถึงหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร

4 โรคอ้วน แม้พฤติกรรมจะไม่ส่งผลโดยตรง แต่การนั่งทั้งวันโดยไม่ลุกเดินไปไหนเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

ด้าน พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน แพทย์ประจําสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (รพ.เด็ก) กล่าวว่า โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคําว่า “no mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่หน่วยงานวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 ที่ใช้เรียกอาการที่เกิดจากความ

หวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 70 ในกลุ่มเยาวชน 18-24 รองลงมาคือ กลุ่ม คนวัยทํางานช่วงอายุ 25-34 ปี และกลุ่มวัยใกล้เกษียณ 55 ปีขึ้นไป ตามลําดับ ปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นกําหนดเกณฑ์ การวินิจฉัยโรคหลักทางจิตเวช (DSM5) เนื่องจากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค พยาธิสภาพทางจิตใจ และผลกระทบต่อสุขภาพจิตในระยะยาวยังมีไม่มากพอ

ทั้งนี้แนวทางการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนด้วยตนเองมีหลายวิธี เช่น กําหนด ช่วงเวลาในการใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวัน กําหนดสถานการณ์ที่จะไม่เล่นสมาร์ทโฟน เช่น ขณะเดิน กิน ก่อน นอน ตื่นนอนใหม่ ๆ ขับรถ อยู่บนรถโดยสาร เรียน ทํางาน หรือแม้แต่อยู่ในห้องน้ํา ควรหากิจกรรม งานอดิเรก เล่นกีฬา กิจกรรมผ่อนคลายในครอบครัวทดแทนเวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด เป็นต้น

 

2.3 การเข้าสู่ Thailand 4.0 กับแนวคิดนวัตกรรม จะมีความเกี่ยวข้องกับ Knowledge Worker อย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย มาเป็นประเด็น ๆ ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Thailand 4.0

ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก Thailand 1.0 ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ไปสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และได้ก้าวสู่ Thailand 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้มาใช้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดโลก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ Thailand 3.0 นั้น แม้จะทําให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นแต่ ก็ต้องเผชิญกับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ําของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่ สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบันนําไปสู่การปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจเพื่อก้าวข้าม Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0

Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะนําพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจาก 3 กับดักดังกล่าว พร้อมๆ กับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ”

Thailand 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบันเรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทํามาก ได้ น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทําน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึง การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติสําคัญ คือ

1 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

3 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วย

เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม องค์ประกอบในระบบหลักสําคัญ 4 ประการ ในการขับเคลื่อน คือ

1 เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) เป็นการเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) เกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

2 เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

3 เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value – Services ที่มีศักยภาพสูง

4 เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเครื่องมือในการพัฒนา Thailand 4.0 ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของ ประเทศไทย เรียกว่า “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ที่มี อยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม”

โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ คือ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

1 กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโยลีชีวภาพ (Food, Agriculture& Bio-Tech) ซึ่งจะเป็น แพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech)

2 กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีสุขภาพ (Health tech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา

3 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริการ (Service Enhancing)

4 กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ (Digital, Artificial Intelligence& Embedded Technology) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี-มาร์เก็ตเพลส (E-Marketplace) อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)

5 กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech)

พลังประชารัฐในการขับเคลื่อน

Thailand 4.0 จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ํา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ํา และ Startups ต่าง ๆ ที่อยู่ปลายน้ํา โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการ ขับเคลื่อน

ผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และ สถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน

โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (5. อุตสาหกรรมที่เป็น Extending S-Curve บวก 5 อุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve) กล่าวคือ ใน 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ยังต้องพึ่งพิงการลงทุน จากต่างประเทศเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมการบิน (Aviation)

ส่วนใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 จะเป็นส่วนที่ ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งสอด รับกับ “บันได 3 ขั้น” ของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็น กลุ่มอย่างมีพลัง” นั่นเอง

สรุปกระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ Thailand 4.0 มี 3 ประเด็นที่สําคัญ คือ

1 เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม

2 เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูป การวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน

3 เป็นการผนึกกําลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึก กําลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

ประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การ ใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การ ดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวางแผนกําลังคน เป็นการดําเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับ อุปสงค์และอุปทานด้านกําลังคน เพื่อนําไปสู่การกําหนดกลวิธีที่จะให้ได้กําลังคนในจํานวนและสมรรถนะที่เหมาะสม มาปฏิบัติงานในเวลาที่ต้องการ โดยมีแผนการใช้และพัฒนากําลังคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อธํารงรักษากําลังคนที่เหมาะสมไว้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของการวางแผนกําลังคนภาครัฐ มีดังนี้

1 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน

2 ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจํานวน ประเภท และระดับทักษะของกําลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม

3 ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด

4 ทําให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 สามารถรักษากําลังคนที่ดีไว้ในองค์กร

6 ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาด

7 ทําให้ไม่เกิดช่องว่างในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่

8 ทําให้มีการตรวจสอบสภาพกําลังคน และการวิเคราะห์ และวางยุทธศาสตร์กําลังคนได้ถูกต้อง

WordPress Ads
error: Content is protected !!