การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1. ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

จงอธิบายแนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในปัจจุบันตามช่วงวัย ดังนี้

1.1 ตั้งครรภ์/แรกเกิด/ปฐมวัย

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัย ปี 2560 ช่วงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด/ปฐมวัย (0 – 5) ปี มีดังนี้

 

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การเกิดอย่างมีคุณภาพและการมีพัฒนาการสมวัย จุดเน้นคือ

– กระบวนการทําให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ และมีพัฒนาการตามวัย

– การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของเด็กแรกเกิด/ปฐมวัย

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต การเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยเป็นคนไทยที่มีความมั่นคงในชีวิต จุดเน้นคือ

– เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาจากศูนย์เด็กเล็กที่มีมาตรฐาน

– การที่เด็กปฐมวัยมีโอกาสเข้าถึงสิทธิและบริการต่าง ๆ ของรัฐ

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างความอบอุ่นให้เด็กปฐมวัย จุดเน้นคือ

– การเตรียมพร้อมครอบครัวก่อนมีบุตร (รวมปู่ย่าตายาย)

– การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็ก

 

1.2 วัยเรียน/วัยรุ่น/นักศึกษา

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยเรียน (5 – 14 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะชีวิต จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะชีวิต

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต

การสร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับสูง เพื่อโอกาสการทํางานและการสร้างความมั่นคงใน ชีวิต จุดเน้นคือ

– การให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนอกระบบโรงเรียน

– การสนับสนุนการสร้างโอกาสในการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การวางรากฐานจริยธรรม คุณธรรมเพื่อความอยู่ดีมีสุข จุดเน้นคือ

– การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม

– การลดความรุนแรงที่มีต่อเด็กในวัยเรียน

– การเฝ้าระวังการลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในกลุ่มเด็กวัยเรียน

 

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยรุ่น นักศึกษา (15 – 21 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1: การพัฒนาศักยภาพคนไทย การมีทักษะชีวิต และทักษะการทํางาน จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะการทํางาน

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต

การสร้างโอกาสในการศึกษาระดับสูงและประสบการณ์การทํางานจริงเพื่อวางรากฐานความมั่นคง ในชีวิต จุดเน้นคือ

– กํารส่งเสริมโอกาสในการศึกษาที่สูงขึ้น และความพร้อมในทักษะอาชีพ

– การส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ จุดเน้นคือ

– การลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

– ลดพฤติกรรมมั่วสุม การขับขี่ยานพาหนะกระทําผิดกฎหมาย

– การลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น

 

1.3 วัยแรงงาน

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยแรงงาน (15 – 59 ปี) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย การพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง จุดเน้นคือ

– กลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ

เป้าหมายที่ 2 การสร้างความมั่นคงในชีวิต

– การสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แรงงาน จุดเน้นคือ

– ขยายการเข้าถึงหลักประกันสังคมและสวัสดิการสังคมให้กับแรงงานนอกระบบ

– ลดการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรวัยทํางานและครอบครัว

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัวสําหรับวัยแรงงาน จุดเน้นคือ

– การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ สําหรับวัยแรงงาน

– การส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว

 

1.4 วัยผู้สูงอายุ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ตามช่วงวัยปี 2560 วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคนไทย การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการดํารงชีวิต จุดเน้นคือ

– การเสริมสร้างทักษะของผู้สูงอายุให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

– การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

 

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความมั่นคงในชีวิต การ การสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ จุดเน้นคือ

– ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเข้าถึงสวัสดิการสังคม

– ส่งเสริมผู้สูงอายุได้รับการประเมินทั้งด้านสุขภาพและสังคม

 

เป้าหมายที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นของครอบครัวไทย การสร้างคุณค่าและความอบอุ่นในวัยผู้สูงอายุ จุดเน้นคือ

– ผู้สูงอายุมีคุณค่าทางสังคม และได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

– ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “โรคเซลฟี่ (Selfie)” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้ เข้าใจ

แนวคําตอบ

โรคเซลฟี่ (Selfie) คือ พฤติกรรมที่ชอบถ่ายรูปตัวเองในอิริยาบถต่าง ๆ แล้วนําไปแชร์ใน เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อหวังให้คนกดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็น

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้ข้อมูลว่า ในยุคที่คนนิยมใช้ สื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ได้ทําให้คนจํานวนไม่น้อยโดยเฉพาะวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา มีพฤติกรรมที่เรียกว่า “เซลฟี่ (Selfie)” กันมาก โดยเป็นพฤติกรรมที่ชอบถ่ายรูปตัวเองในอิริยาบถต่าง ๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน ทําอะไร กินอะไร แล้วนําไปแชร์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อรอให้เพื่อน ๆ มากดไลค์ หรือเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ

– สิ่งนี้กลายเป็นพฤติกรรมเคยชินของหลายคนไปแล้ว ซึ่งถ้าดูเผิน ๆ ก็อาจคิดว่าไม่เห็นจะเป็น อะไร แต่จิตแพทย์กลับมองว่า พฤติกรรมเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจในตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจําวันและการส่งผลต่ออนาคต การงาน และการพัฒนาประเทศอย่างคาดไม่ถึง

ปกติของมนุษย์ทั่วไป ถ้าอะไรที่ทําแล้วได้รางวัลก็จะทําซ้ำ แต่ว่ารางวัลของแต่ละบุคคล มีผลกระทบต่อความรู้สึกไม่เท่ากัน บางคนลงรูปไปแล้วได้แค่สองไลค์เขาก็มีความสุขแล้ว เพราะถือว่าพอแล้ว แต่บางคนต้องให้มียอดคนกดไลค์มาก ๆ พอมากแล้วก็ยิ่งติด เพราะถือว่าเป็นรางวัล

ในทางตรงกันข้ามหากโพสต์รูปไปแล้วได้รับการตอบรับน้อย คนกดไลค์น้อย ไม่เป็นอย่างที่ คาดหวังไว้ และทําใหม่แล้วก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ จะทําให้บุคคลนั้นสูญเสียความมั่นใจไปเลย และส่งผลต่อ ทัศนคติด้านลบของตัวเองได้ เช่น ไม่ชอบตัวเอง ไม่พอใจรูปลักษณ์ตัวเอง แต่หากบุคคลนั้นสามารถรักษา ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้เป็นปกติด้เซลฟี่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิต

ด้วยเหตุนี้จึงแนะนําให้ทุกคนต้องมีความมั่นใจในตัวเอง เพราะถ้าขาดความมั่นใจจะทําให้ เกิดความกังวล ความลังเล ชีวิตไม่มีความสุข เมื่อคิดสะสมไปเรื่อย ๆ อาจทําให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจและ อารมณ์ได้ง่าย เช่น หวาดกลัว หวาดระแวง เครียด อิจฉา ชอบจับผิดคนอื่น ซึมเศร้า หรืออาจทําพฤติกรรมแปลก ๆ มีลักษณะตรงข้ามกับความมั่นใจตัวเอง ซึ่งหากเยาวชนขาดความมั่นใจในตัวเองแล้ว จะทําให้พัฒนาตัวเองยาก ขาดผู้นํา โอกาสการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เป็นไปได้ยากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการ พัฒนาประเทศในอนาคต

วิธีป้องกันการเสพติดเซลฟี่ (Selfie) และการสร้างความมั่นใจตัวเองบนโลกความเป็นจริงอาจทําได้โดย

1 ต้องให้ความสําคัญกับคนรอบข้างที่เป็นสิ่งแวดล้อมจริงในชีวิตประจําวัน

2 หากิจกรรมยามว่างทํากับคนในครอบครัว เพื่อน ๆ เช่น ออกกําลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยว พักผ่อน

3 ต้องยอมรับในความแตกต่างของคนที่ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ข้อนี้ถือว่าสําคัญมากเพื่อที่เราจะได้เข้าใจ ไม่นําตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

4 ต้องฝึกความอดทนให้กับตัวเอง เพราะการถ่ายเซลฟี่ไม่สามารถที่จะทําได้ตลอดเวลา ครั้งที่ทําไม่ได้ต้องยอมฝืนใจที่จะไม่ทํา หากผ่านจุดนั้นไปได้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะสามารถ ควบคุมพฤติกรรมการถ่ายเซลฟีได้เช่นกัน

 

2.2 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Workerประกอบด้วย เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง  (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing) ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วยังต้อง

มีความรู้ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น

2.3 การเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้กับแนวคิดสุขภาพองค์รวม จะมีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ในชาติกันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ใน ภาครัฐหรือไม่อย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 24), (คําบรรยาย)

สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ คือ เป็นสังคมที่เศรษฐกิจมีผลิตผลที่เกิดจากความรู้ การให้หรือส่งผ่านความรู้ ตลอดจนการใช้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเป็นรากฐานเป็นเครื่องผลักดันหลักที่ก่อให้เกิดการเติบโต ความมั่นคง การจ้างงานในแวดวงอุตสาหกรรม และความรู้ที่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ต้องการนั้นไม่ใช่เพียงความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่หมายรวมไปถึงความรู้อื่น ๆ อย่างเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคม และการจัดการด้วย

ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในด้านสังคมความรู้จะทําให้ประชาชนมีอํานาจ ความมั่งคั่งทางวัตถุ และวัฒนธรรม และเป็นสังคมที่ยั่งยืน ในด้านเศรษฐกิจความรู้จะถูกแปรเป็นสินทรัพย์และปัจจัยการผลิตที่สําคัญ ในการสร้างการเจริญเติบโตในทุกสาขาเศรษฐกิจ

สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ที่เน้นการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ นําความรู้ไปใช้ในการทํางาน หรือสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในระดับชาติและนานาชาติ ในขณะเดียวกันก็ยังคง ความเป็นไทยไว้ได้อย่างภาคภูมินั้น ต้องการมีการจัดการความรู้ที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีการแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างเป็นแบบแผน และมีค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดความรู้ลดลง เพื่อ นําไปสู่แนวทางการทํางาน การผลิต การบริโภคและการศึกษาแบบใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลของประเทศเป็น ผู้ที่มีความรู้และทักษะเป็น Knowledge Workers หรือเป็น High-skin Workers ที่สามารถสร้างผลิตผลที่มี ความเป็นนานาชาติ เปิดตัวสู่ตลาดโลกได้อย่างสง่างาม และสามารถลงทุนร่วมกับต่างประเทศได้อย่างทัดเทียม

 

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการ ลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

แนวคิดของสุขภาพองค์รวม

สุขภาพองค์รวม (Holistic Health) หมายถึง ความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วยหรือไม่มีโรคหากยังครอบคลุมถึงการดําเนินชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข ของทุกคนด้วย

สุขภาพองค์รวม แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ

1 องค์รวมระดับบุคคล หมายถึง การทําให้เกิดความสมดุลภายในตัวคนแต่ละคนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เกิดเป็นเอกภาพที่กลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

2 องค์รวมระดับครอบครัวและชุมชน หมายถึง การมีครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกในครอบครัวมีความรักให้กันและกัน ดูแลให้ทุกคนมีสุขภาพดีทั้งกายใจ มีชุมชนที่เกื้อกูลเอื้ออาทร

3 องค์รวมระดับสังคม (สังคมจะรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติด้วย) หมายถึง การทําให้ คนในสังคมมีเจตจํานงอย่างเดียวกันจะสร้างสังคมที่ดีและงดงาม มีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างคนกับธรรมชาติ

โดยสรุป การดูแลสุขภาพองค์รวมจึงเป็นความสมดุลกลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจ และ สังคมสิ่งแวดล้อม เป็นวิถีของการมีสุขภาพที่ดีและงดงาม

องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม มี 4 มิติ ได้แก่

1 มิติทางกาย (Physical Dimension) เป็นมิติทางร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงปราศจาก โรคหรือความเจ็บป่วย มีปัจจัยองค์ประกอบทั้งด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ปัจจัยเกื้อหนุนทางเศรษฐกิจ ที่เพียงพอและส่งเสริมภาวะสุขภาพ

2 มิติทางจิตใจ (Psychological Dimension) เป็นมิติที่บุคคลมีสภาวะทางจิตใจที่แจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่มีความกังวล มีความสุข มีเมตตา และลดความเห็นแก่ตัว

3 มิติทางสังคม (Social Dimension) เป็นความผาสุกของครอบครัว สังคม และชุมชน โดยชุมชนสามารถให้การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สังคมมีความเป็นอยู่ที่เอื้ออาทร เสมอภาค มีความยุติธรรม และมีระบบบริการที่ดีและทั่วถึง

4 มิติทางจิตวิญญาณ (Spiritual Dimension) เป็นความผาสุกที่เกิดจากจิตสัมผัส กับสิ่งที่มีบุคคลยึดมั่นและเคารพสูงสุด ทําให้เกิดความคาดหวัง ความเชื่อมั่นศรัทธา มีการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ด้วยความเมตตากรุณา ไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ และยินดีในการที่ได้มองเห็นความสุขหรือความสําเร็จของ บุคคลอื่น ทั้งนี้สุขภาวะทางจิตวิญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหลุดพ้นจากตัวเอง (Self Transcending)

มิติสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 มิติ ถือเป็นสุขภาวะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยสุขภาวะทาง จิตวิญญาณ (Spiritual Dimension) จะเป็นมิติที่สําคัญที่บูรณาการความเป็นองค์รวมของกาย จิต และสังคม ของบุคคล และชุมชนให้สอดประสานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

โดยที่การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

Advertisement