การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1. นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

จงอธิบาย “กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์” มาให้เข้าใจ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ (Objective) เป็นการวางกรอบของการวางแผนทรัพยากร มนุษย์ว่าต้องการครอบคลุมทุกแผนกงานในองค์การ หรือเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ระยะเวลาในการวางแผน ทรัพยากรมนุษย์ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น

2 การคาดคะเนอุปสงค์ (Projected Demand) เป็นการพยากรณ์หรือคาดคะเน ความต้องการกําลังคนของหน่วยงานต่าง ๆ ว่าต้องการใช้คนจํานวนเท่าไร คุณสมบัติอย่างไร เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ขององค์การ

3 การคาดคะเนอุปทาน (Projected Supply) เป็นการสํารวจตรวจสอบเกี่ยวกับอุปทาน ของกําลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าเพียงพอกับความต้องการหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะหาได้จากที่ไหน หรือแหล่งใด

4 การคาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ (Projected Human Resource Need) เป็นขั้นตอนที่ต้องการทราบว่าจํานวนกําลังคนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้จากการคาดคะเนอุปสงค์และ อุปทานของกําลังคน ทําให้ทราบข้อมูลกําลังคน คุณสมบัติของคน และระยะเวลาที่ต้องการ :

5 การตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning Decision) หลังจากทราบข้อมูลของกําลังคนเมื่อเปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานของแรงงานแล้ว หากกําลังคน ที่ต้องการ (Demand) มีมากหรือน้อยกว่าอุปทาน (Supply) การตัดสินใจว่าจะวางแผนทรัพยากรมนุษย์อย่างไร จึงเกิดขึ้นในขั้นตอนการประเมินผล (ขั้นตอนที่ 8)

6 จัดโครงการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Program) หลังจากตัดสินใจว่า การดําเนินวิธีการใดในเรื่องเกี่ยวกับกําลังคนแล้ว ในขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนจัดทําโครงการเกี่ยวกับทรัพยากร มนุษย์ เช่น การสรรหา การคัดเลือก การวางแผนอาชีพ เป็นต้น

7 การควบคุม (Control Data) เมื่อมีการจัดทําโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ไปแล้ว จําเป็นต้องมีการติดตามและควบคุมงานให้เป็นไปตามแผนงาน และหากมีปัญหาและอุปสรรคจะได้ดําเนินการ แก้ไขได้ทันที ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

8 การประเมินผล (Evaluation) เป็นการตรวจวัดเพื่อให้ทราบผลการดําเนินงานของ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ว่าประสบผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เราสามารถดูได้จากการประเมินผล โดยนําสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไปเทียบกับสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ดังนั้นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องมีขั้นตอนการประเมินผลด้วย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2. นี้เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

2.1 อธิบายคําว่า “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา คือ พัฒนาการต้องเกิดจากการกระทําของมนุษย์ ผลประโยชน์ ของการพัฒนาจะต้องเป็นของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ตระหนักถึงความต้องการหรือความจําเป็นของมนุษย์ มนุษย์จะเป็น ผู้กําหนดความมุ่งหมายของการพัฒนาโดยอาศัยความต้องการของตนเป็นเครื่องนําทาง และมนุษย์จะเป็นผู้จัดการ องค์ประกอบของการพัฒนาให้สําเร็จตามความมุ่งหมายที่ตนตั้งขึ้น เช่น การสร้างสถาบันทางสังคม การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของระบบต่าง ๆ ถึงแม้กิจกรรมนั้นเป็นสภาพแวดล้อมที่ทําให้เกิดการพัฒนา แต่มนุษย์จะพัฒนาอย่าง โดดเดี่ยวไม่ได้ มนุษย์จะต้องพัฒนาในสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการพัฒนามนุษย์โดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางจึงเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ โดยต้องพิจารณาทุกส่วน ขององค์ประกอบในการพัฒนาและทุกด้านของชีวิตซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

 

2.2 อธิบายคําว่า “Human Development” ว่าคืออะไร และยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามความหมายของ United Nation Development Program (UNDP) หมายถึง การขยายทางเลือกของคนในสังคมหนึ่ง ๆ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคนยากจนและเสียเปรียบในสังคม (คนตกขอบ) เช่น การให้การศึกษาสุขภาพ การให้โอกาส รวมทั้งการนํา เทคโนโลยีมาใช้ในการทํางานเพื่อให้คนขยับขึ้นมาทํางานดีกว่านั้น การพัฒนามนุษย์จึงมีคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว มีอนามัยที่ดี สุขภาพที่ดี มีชีวิตที่สร้างสรรค์

การพัฒนามนุษย์ (Human Development) คือ เป็นการมองคนในฐานะเป็นมนุษย์ มีความ เป็นมนุษย์ของเขาเอง มีจุดมุ่งหมายของชีวิต คือ ความสุข อิสรภาพ และความดีงามของชีวิต ซึ่งการพัฒนามนุษย์นี้ มีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนามนุษย์ให้มีสุขภาพดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนามนุษย์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนามนุษย์ในเรื่องของคุณค่า ความเป็นมนุษย์ พัฒนามนุษย์ให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

ดังนั้นการพัฒนามนุษย์ จะต้องทําการพัฒนาทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสุขภาพ ความรู้ สติปัญญา พฤติกรรม และจิตใจด้วย

 

2.3 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกับการเป็น Human Resource มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การหรือไม่ อย่างไร อธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

สังคมผู้สูงอายุกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)

สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ

ประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยพบว่าหลังจาก ปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจํานวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธุ์ อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทําให้จํานวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุ ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้นทําให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลง การออมลดลง รัฐบาล จําเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและปฐมพยาบาล ผู้สูงอายุมากขึ้น ทําให้การลงทุนลดลง รายได้ประชาชาติลดลง ทั้งนี้การที่แรงงานลดลงอาจแก้ไขโดยการนําเทคโนโลยี เครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน หรือใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น หากไม่มีการเตรียมความพร้อม การจัดสรรทรัพยากรแรงงานที่จะลดลงจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทําให้รายได้ประชาชาติลดลงได้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้นโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปมีสัดส่วน ของผู้สูงอายุมากขึ้น ย่อมทําให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ดังนั้นในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ควรจะร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน องค์การ และประเทศ โดยเฉพาะการร่วมกันกระตุ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญของ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีการเตรียมวางแผนการออม การใช้ชีวิตในบั้นปลาย การร่วมมือกันในชุมชน การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ การปรับตัวทางด้านจิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุ รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งสําหรับบางประเทศได้มีการขยายอายุผู้เกษียณอายุและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีงานทํามากขึ้นเพื่อไม่ให้รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า และเป็นภาระกับสังคมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้สูงอายุ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

โดยที่การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไรระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

Advertisement