การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์มุ่งเน้นการสื่อสารระดับใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารในกลุ่ม
(3) การสื่อสารในที่ชุมชน
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 147, (คำบรรยาย) การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์จะมุ่งเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) เป็นสำคัญ เพราะการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ จะใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการดำรงชีวิตและเป็นสื่อสำคัญในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในสังคม
2. ข้อใดแสดงถึงความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง
(2) การเรียนรู้ที่จะสื่อสารให้ใจเข้าใจกัน
(3) การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม
(4) การเรียนรู้ให้เป็นคนดีของสังคม
ตอบ 3 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)ไว้มากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. ข้อใดแสดงถึงการมีแนวคิดเชิงบวก
(1) การยอมรับชะตากรรม (2) การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
(3) การยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ (4) การมองเห็นโอกาสในวิกฤต
ตอบ 2 หน้า 3, 17, 19, (คำบรรยาย) ปัจจัยหรือจุดเริ่มด้นของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ ตนเอง โดยเริ่มจากการรู้จักและเข้าใจตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักและเข้าใจผู้อื่นด้วย ทั้งนี้บุคคล ต้องรู้จักมองโลกในแง่ดีหรือมีทัศนคติ/แนวคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น การยอมรับความแตกต่างของบุคคล เป็นต้น
4. ข้อใดแสดงว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
(1) มนุษยสัมพันธ์เป็นกฎเกณฑ์ที่สามารถพัฒนาได้
(2) การสร้างมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยการเรียนรู้จากทฤษฎีและตำรา
(3) มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน
(4) การสร้างมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยหลักการและการฝึกทักษะ
ตอบ 4 หน้า 3-4, 16, (คำบรรยาย) แนวคิดที่ว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นั้น หมายถึง การศึกษามนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยการเรียนรู้จากหลักการ ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ และแนวคิดต่าง ๆ ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยการฝึกทักษะการแสดงออกอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เมื่อเริ่มรวมกลุ่มเป็นสังคม มีลักษณะอย่างไร
(1) อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข (2) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ
(3) อยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ และไม่เสมอภาค (4) อยู่ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นกันเอง
ตอบ 2 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้น จะมีลักษณะ ของการอยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็น สังคมใหญ่ขึ้น สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจำเป็น ทำให้ลักษณะ ความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ ที่ไม่เสมอภาค เพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน
6. ข้อใดแสดงถึงแนวคิดการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
(1) เข้าใจในความเป็นปัจเจกบุคคล (2) เคารพความเสมอภาคระหว่างบุคคล
(3) ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล (4) พยายามสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ตอบ 2 หน้า 2, 29 – 30, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควรติดต่อสัมพันธ์กับด้วย ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนของ องค์การสหประชาชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเคารพในความเสมอภาคระหว่างบุคคล โดยไม่แบ่งแยก ฐานะชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน
ข้อ 7. – 9. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม
(1) เฮ็นรี่ แกนต์
(2) เอลตัน เมโย (3) แอนดรู ยูรี (4) โรเบิร์ต โอเวน (5) เฟเดอริก เทย์เลอร์
7. ใครคือนายจ้างคนแรกที่จุดประกายให้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับคนงาน
ตอบ 4 หน้า 11-12, (คำบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์ คนแรกตามประวัติคาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ความเป็นอยู่ ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสำคัญกับจิตใจและความต้องการของลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทำงานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้าน การใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้นแนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล
8. ใครคือนายจ้างที่จูงใจให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยเงินรางวัลพิเศษ
ตอบ 1 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮ็นรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้คิดหา วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของเฟเดอริก ดับบลิว. เทย์เลอร์ (Federick W. Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทำงานเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด
9. ใครคือนายจ้างที่ริเริ่มในเรื่องสวัสดิการในการรักษาพยาบาล
ตอบ 3 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสำคัญแก่ “มนุษย์”และเป็นผู้ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้ 1. จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทำงาน
2. ปรับสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ 3. เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับการดูแล รักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย 4. ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกำลังกายแก่คนงาน
10. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่คณะผู้ศึกษากรณีฮอธอร์นตั้งใจศึกษา
(1) ระยะเวลาหยุดพักในการทำงาน (2) การรวมกลุ่มของคนงาน
(3) แสงสว่างในที่ทำงาน (4) ทัศนคติของลูกจ้างต่อนายจ้าง
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการทำงาน ในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลาหยุดพัก ในการทำงาน และแสงสว่างหรืออุณหภูมิในที่ทำงาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติของลูกจ้าง ต่อนายจ้าง (ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา คือ การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็นทางการ แต่ปัจจัย ดังกล่าวดึงดูดความสนใจของคณะผู้ศึกษาวิจัย จึงทำการศึกษาต่อ)