การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1101 ทฤษฎีการสื่อสาร

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

Advertisement

ข้อ 1. – 6. ตัวเลือกต่อไปนี้ใช้สำหรับการตอบคำถาม

(1)       ออสกูดและชแรมม์      (2) ลาสเวลส์   (3) เบอร์โล

(4) นิวคอมบ   (5) แชนนันและวีเวอร์

1.         แบบจำลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นถึงการสื่อสารเพื่อความเหมือนกันทางความคิด ความสมดุลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ตอบ 4 หน้า 61 – 63 แบบจำลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ (Newcomb)เป็นแบบจำลองเชิงจิตวิทยาที่เน้นว่าการสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุล หรือเกิดความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทำให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกัน อยู่ในสภาพสมดุล จึงเป็นแบบจำลองที่ไม่สามารถนำไปอธิบายการสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็ก ในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้ เพราะสังคมที่ใหญ่นั้นมนุษย์มิได้มีความต้องการที่จะให้เหมือนกัน หรือไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้เหมือนในระดับบุคคล

2.         แบบจำลองการลือสารของผู้ใดข้างต้น กล่าวถึง Communication Source, Encoder, Message, Channel, Decoder, Communication Receiver

ตอบ 3 หน้า 57 – 58 แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berlo) อธิบายว่า กระบวนการสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ คือ

1.         ต้นแหล่งสาร (Communication Source) 2. ผู้เข้ารหัส (Encoder)

3.         สาร (Message)   4. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)

5. ผู้ถอดรหัส (Decoder)  6. ผู้รับสาร (Communication Receiver)

ซึ่งจากส่วนประกอบเหล่านี้เขาได้นำเสนอเป็น แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล

ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งสาร (Sender or Source : S) 2. สาร (Message : M)

3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel : C)     4. ผู้รับสาร (Receiver : R)

3.         แบบจำลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นถึงกระบวนการสื่อสารเชิงโน้มน้าวใจ

ตอบ 2 หน้า 51-53 แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลส์(Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ.2491 (ค.ศ. 1948)ได้ระบุวา การที่จะเข้าใจกระบวนการสื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ซึ่งแบบจำลองนี้ถือเป็นตัวแทนของแบบจำลองการสื่อสารในระยะแรก โดยมองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร เพราะในช่วงระยะเวลานั้นนักวิชาการ เชื่อว่า กระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ ประกอบกับลาสเวลส์ เป็นผู้ที่สนใจการสื่อสารทางการเมืองและการโฆษณาชวนเชื่อ จึงทำให้แบบจำลองนี้เหมาะแก่การ ใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ

4.         แบบจำลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นถึงประสาทสัมผัสของมนุษย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

ตอบ 3 หน้า 5961, (ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ) แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล ได้กล่าวถึงช่องทางการสื่อสาร (Channel : C) ซึ่งเป็นพาหนะนำสารไปสู่ ผู้รับสาร โดยทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาทสัมผัสที่รับความรู้สึกของมนุษย์ มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่    1. การเห็น (ตา) 2. การได้ยิน (หู)         3. การสัมผัส (กาย)  4. การได้กลิ่น (จมูก)           5. การลิ้มรส (ลิ้น)

5.         แบบจำลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เป็นแบบจำลองกระบวนการสื่อสารเชิงเส้นตรง

ตอบ 5 หน้า 49, (คำบรรยาย) แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของแชนนัน (Shannon) และวีเวอร์ (Weaver) จะเน้นกระบวนการสื่อสารทางเดียวในเชิงเส้นตรงที่ถือว่า การสื่อสาร เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว (ไม่สนใจ Feedback ของผู้รับสาร) โดยกล่าวถึงเรื่องของช่องสัญญาณทางการสื่อสาร (Channel) และแหล่งเสียงรบกวนหรืออุปสรรค ระหว่างการสื่อสาร (Noise) ว่า ช่องทางใดที่จะสามารถนำสารจากแหล่งสารสนเทศ (ผู้ส่งสาร) ไปสู่จุดหมายปลายทาง (ผู้รับสาร) ได้มากที่สุด โดยให้เกิดแหล่งเสียงรบกวนน้อยที่สุด

6.         แบบจำลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่มีความเกี่ยวพันกับสนามแห่งประสบการณ์ร่วมและกรอบแห่งการอ้างอิง

ตอบ 1 หน้า 5557 แบบจำลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของออสกูด (Osgood) และวิลเบอร์ ชแรมม์ (Schramm) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างมีหน้าที่เหมือนกัน 3 อย่าง คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสาร จะตรงกันหรือแตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสำคัญ

7.         ทฤษฎี หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของคำตอบล่วงหน้า แนวความคิด คำจำกัดความ เป็นการให้ คำจำกัดความของผู้ใดต่อไปนี้

(1)       เคอร์ลินเจอร์    (2) เคอร์ลิงเจอร์           (3)       เคอร์รินเจอร์     (4)       เคอร์ริงเจอร์

ตอบ 1 หน้า 1522 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวความคิด คำนิยาม (คำจำกัดความ) และสมมติฐาน (คำตอบล่วงหน้า) ซึ่งแสดงให้เห็น อย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

8.         องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีมีกี่ประการต่อไปนี้

(1)       สามประการ    (2)สี่ประการ    (3)ห้าประการ  (4)หกประการ

ตอบ 2 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ

1.         ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสำคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท (Description and Classification)

2.         สมมติฐาน มีหน้าที่และความสำคัญในเรื่องการวิเคราะห์ (Analysis)

3.         นิยาม มีหน้าที่และความสำคัญในเรื่องความหมายและการวัด (Meaning and Measurement)

4.         ความเชื่อม มีหน้าที่และความสำคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (Plausibility and Testability)

ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม เข้ามาอีก 2 ประการ คือ 1. การจัดลำดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสำคัญในเรื่องการ กำจัดความซ้ำซ้อน (Elimination of Tautology) 2. การจัดลำดับสมมติฐาน มีหน้าที่และ ความสำคัญในเรื่องการกำจัดความไม่คงที่ (Elimination of Inconsistency)

9.         จากตัวอย่างการวิจัยเรื่อง การสื่อสารวิทยาศาสตร์ในรายการโทรทัศน์กับการมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่ได้บรรยายให้ชั้นเรียนนั้น ควรนำแนวคิดหรือทฤษฎีใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา

(1)       ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ         (2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ

(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) จากตัวอย่างการวิจัยเรื่องดังกล่าว สามารถนำแนวคิดทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือทฤษฎีการปลูกฝัง (Cultivation Theory) มาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดว่าข่าวสาร หรือรายการต่าง ๆ ในสื่อโทรทัศน์ได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง โดยอิทธิพลของโทรทัศน์ได้ทำให้ผู้รับสารเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และการเปิดรับรายการ ทางโทรทัศน์มากหรือน้อยจะทำให้ผลของการอบรมบ่มเพาะแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีเจตคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แตกต่างกันไปด้วย

10.       จากแนวคิดหรือทฤษฎีที่จะนำมาใช้ สามารถตั้งสมมติฐานได้ในข้อใดต่อไปนี้

(1)       ลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์แตกต่างกัน

(2)       การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับการมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์

(3)       ลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 2024 – 26, (ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ), (คำบรรยาย) จากแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาใช้ในข้อ 9. สามารถตั้งสมมติฐานการวิจัยได้ว่า การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทาง โทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับการมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจากสมมติฐานการวิจัยดังกล่าวมีตัวแปรในการวิจัย ดังนี้

1.         ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ) หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกำหนดให้เป็นตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความคงทนถาวรมากที่สุด ซึ่งในที่นี้คือ การเปิดรับรายการ วิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

2.         ตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) หมายถึง ตัวแปรอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม) ซึ่งในที่นี้คือ การมีเจตคติ ต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

11.       ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานข้างต้น

(1)       การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์  (2) ลักษณะทางประชากรศาสตร์

(3) ความพึงพอใจรายการ       (4) ความต้องการรายการวิทยาศาสตร์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       หากตั้งสมมติฐานว่า การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับการมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรอิสระ คือข้อใดต่อไปนี

(1)       ความพึงพอใจรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

(2)       การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

(3)       การมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

(4)       ความต้องการรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

13.       หากตั้งสมมติฐานว่า การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศนของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับการมี เจตคติตอวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ความพึงพอใจรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

(2)       การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

(3)       การมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

(4)       ความต้องการรายการวิทยาคาสตร์ทางโทรทัศน์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

14.       หากตั้งสมมติฐานว่า ลักษณะทางประชากรต่างกัน การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ แตกต่างกัน ตัวแปรอิสระ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ลักษณะทางประขากร (2) การเปิดรับ

(3) การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์         (4) อายุ ภูมิลำเนา

ตอบ 1 (ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ) จากสมมติฐานดังกล่าวมีตัวแปรในการวิจัย ดังนี้

1.         ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ) คือ ลักษณะทางประชากร

2.         ตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) คือ การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์

15.       หากตั้งสมมติฐานว่า ลักษณะทางประชากรต่างกัน การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ แตกต่างกับ ตัวแปรตาม คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ลักษณะทางประชากร (2) การเปิดรับ

(3) การเปิดรับรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์         (4) อายุ ภูมิลำเนา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16.       คำว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์” นิยามเชิงทฤษฎี หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1)       ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของบุคคลที่แสดงถึงคุณลักษณะนิสัย อันเกิดจาก การศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(2)       ความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์

(3)       แนวโน้มการแสดงออกของบุคคลที่มีต่อวิทยาคาสตร์ (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 20, (ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ), (คำบรรยาย) คำว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์” และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์” สามารถให้คำนิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้

1.         เจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีคำนิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้ม การแสดงออกของบุคคลที่แสดงถึงคุณลักษณะนิสัย อันเกิดจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนคำนิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง ความมีเหตุผล ความสนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ และความมีใจกว้าง

2.         เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ มีคำนิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้ม การแสดงออกของบุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์ ส่วนคำนิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง การมีความสนใจ วิทยาศาสตร์ และการเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์

17.       คำว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์” นิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1)       การมีความสนใจวิทยาศาสตร์ (2) การเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์

(3) สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์          (4) มีเหตุผล สนใจใฝ่รู้ ซื่อสัตย์ ใจกว้าง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       วิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

(2)       การทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเรืองน่าตื่นเต้น

(3)       กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ

(4)       ก่อนจะเชื่อสิ่งใดต้องใช้เหตุผลในการพิจารณา

ตอบ 1 (ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ), (คำบรรยาย) แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติของ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์” จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็นของบุคคลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มีดังนี้

1.         วิทยาศาสตร์ทำให้เป็นคนช่างสังเกต

2.         วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดสงคราม

3.         วิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

4.         วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น ฯลฯ

19.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีเหตุผล คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ควรซักถาม ฟัง และอ่านทุกครั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2)       กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

(3)       การลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(4)       ความคิดเห็นที่มีเหตุผลของคนอื่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ควรรับฟัง

ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ), (คำบรรยาย) แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีเหตุผล ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติของ เจตคติทางวิทยาศาสตร์” จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็นของบุคคลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มีดังนี้

1.         ก่อนจะเชื่อสิ่งใดต้องใช้เหตุผลในการพิจารณา

2.         กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

3.         การจะสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ต้องรวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอก่อน

4.         ควรทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ฯลฯ

20.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีใจกว้าง คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ควรซักถาม ฟัง และอ่านทุกครั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2)       กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

(3)       การลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(4)       ความคิดเห็นที่มีเหตุผลของคนอื่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ควรรับฟัง

ตอบ 4 (ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ), (คำบรรยาย) แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีใจกว้าง ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติของ เจตคติทางวิทยาศาสตร์” จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็นของบุคคลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มีดังนี้

1.         การบอกสิ่งที่ตนเองค้นพบให้ผู้อื่นทราบจะทำให้เกิดการเลียนแบบ

2.         ถ้าให้แสดงความคิดเห็นหลายคนจะทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย

3.         การขอความร่วมมือจากผู้อื่นทำให้เสียเวลา

4.         ความคิดเห็นที่มีเหตุผลของคนอื่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ควรรับฟัง ฯลฯ

21.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความสนใจใฝ่รู้ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ควรซักถาม ฟัง และอ่านทุกครั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2)       กระบวบการทางวิทยาศาสตร์สารถทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

(3)       การลอกเลียบแบบผลงานของผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(4)       ความคิดเห็นที่มีเหตุผลของคนอื่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ควรรับฟัง

ตอบ 1 (ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ), (คำบรรยาย) แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความสนใจใฝ่รู้ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติของ เจตคติทางวิทยาศาสตร์” จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็นของบุคคลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มีดังนี้

1.         ควรซักถาม ฟัง และอ่านทุกครั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.         ควรสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเสมอ

3.         การค้นคว้าทดลองเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ

4.         การติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์เป็นประจำทำให้เป็นคนรอบรู้ ฯลฯ

22.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความซื่อสัตย์ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       ควรซักถาม ฟัง และอ่านทุกครั้งที่ไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2)       กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

(3)       การลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(4)       ความคิดเห็นที่มีเหตุผลของคนอื่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ควรรับฟัง

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ), (คำบรรยาย) แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความซื่อสัตย์ ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติของ เจตคติทางวิทยาศาสตร์” จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็นของบุคคลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มีดังนี้

1.         การเขียนรายงานผลทางวิทยาศาสตร์ตามความเป็นจริงจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

2.         การลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ

3.         ควรอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ให้ผู้อื่นทราบ

4.         ควรเสนอผลการทดลองตามความเป็นจริง ถึงแม้จะเกิดความผิดพลาดในการทดลอง ฯลฯ

23.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความซื่อสัตย์ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       การบอกสิ่งที่ตนเองค้นพบให้ผู้อื่นทราบจะทำให้เกิดการเลียนแบบ

(2)       ควรอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ให้ผู้อื่นทราบ

(3)       การติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์เป็นประจำทำให้เป็นคนรอบรู้

(4)       ควรทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความสนใจใฝ่รู้ คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       การบอกสิ่งที่ตนเองค้นพบให้ผู้อื่นทราบจะทำให้เกิดการเลียนแบบ

(2)       ควรอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ให้ผู้อื่นทราบ

(3)       การติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์เป็นประจำทำให้เป็นคนรอบรู้

(4)       ควรทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

25.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีใจกว้าง คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       การบอกสิ่งที่ตนเองค้นพบให้ผู้อื่นทราบจะทำให้เกิดการเลียนแบบ

(2)       ควรอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ให้ผู้อื่นทราบ

(3)       การติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์เป็นประจำทำให้เป็นคนรอบรู้

(4)       ควรทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

26.       แนวคำถามที่สามารถใช้วัดความมีเหตุผล คือข้อใดต่อไปนี้

(1)       การบอกสิ่งที่ตนเองค้นพบให้ผู้อื่นทราบจะทำให้เกิดการเลียนแบบ

(2)       ควรอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ให้ผู้อื่นทราบ

(3)       การติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์เป็นประจำทำให้เป็นคนรอบรู้

(4)       ควรทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

27.       ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึงผลของการสื่อสารมวลชนในระยะยาว

(1)       ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว (2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ

(3) ทฤษฎีการกำหนดระเบียบวาระ    (4) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

ตอบ 3 หน้า 179200 – 201 ทฤษฎีการกำหนดระเบียบวาระ (Agenda – setting Theory) จะเน้นวิเคราะห์ประสิทธิผลของการสื่อสารมวลชนที่มีต่อประชาชนในระยะยาวไม่ใช่ทันทีทันใด โดยได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับผู้รับสารว่า ยิ่งสื่อมวลชนเลือกเน้นเสนอประเด็น หัวข้อสำคัญใดแล้ว ผู้รับสารก็จะตระหนักถึงสาระสำคัญของหัวข้อนั้น ๆ มากตามไปด้วย ดังนั้น สื่อมวลชนจึงมีผลอย่างมหาศาลต่อการเสนอแนะประชาชนว่าน่าคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร (What About)

28.       Bagdikian กล่าวถึง การที่นักข่าวและบรรณาธิการจะตัดสินใจเลือกข่าวอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดต่อไปนี้

(1) หลักการที่ยึดถือในการบริหารงานขององค์กร       (2) การมองความต้องการของผู้รับสาร

(3) การประเมินค่าของข่าวสาร            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 199 Bagdikian ได้เสนอข้อเขียนเกี่ยวกับทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) โดยกล่าวถึงการที่นักข่าวและบรรณาธิการข่าวจะตัดสินใจเลือกข่าวอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้            1. หลักที่ยึดถือในการบริหารงานขององค์กร  2. การมองโลกของความจริงและนิสัยของคน โดยมองว่าผู้อ่านหรือผู้รับสารต้องการอะไร และมีความปรารถนาอย่างไร         3. ค่านิยม ซึ่งยึดถือโดยกองบรรณาธิการที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ     4. การประเมินค่าของข่าวสารโดยการแข่งขันของสื่อ  5.ค่านิยมส่วนตัวและนิสัยแปลก ๆ ของบรรณาธิการ

29.       ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า Gatekeeper เป็นผู้มีสิทธิในการเปิดและปิดประตูข่าวสารต่าง ๆ ที่มีมาถึง Gatekeeper

(1) วิลเบอร์ ชแรมม์      (2) เค เลวิน     (3) ดี. เอ็ม. ไวท์            (4) เบอร์โล

ตอบ 1 หน้า 198 วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) กล่าวไว้ว่า Gatekeeper เป็นผู้ที่มีสิทธิ ในการเปิดและปิดประตูข่าวสารต่าง ๆ ที่มีมาถึง Gatekeeper ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ นักข่าว (ผู้สื่อข่าว) บรรณาธิการข่าว หัวหน้าฝ่ายข่าวต่าง ๆ ผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ หัวหน้าหน่วยงาน ด้านสื่อสาร ผู้จัดการโฆษณา สำนักข่าวต่าง ๆ ประธาน ครู และพ่อแม่ เป็นต้น

30.       ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึง การที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร

(1) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ         (2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร

(3) ทฤษฎีการกำหนดระเบียบวาระ    (4) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

ตอบ 2 หน้า 195197 – 198 ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่ นักสื่อสารมวลชนทำหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ลดหรือเพิ่มปริมาณความถี่ของข่าวสาร ก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับเป็น ผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) หรือนายทวารข่าวสาร เช่น บรรณาธิการข่าวคัดเลือกข่าวสารที่ เกิดขึ้นมากมายในวันหนึ่ง ๆ แล้วนำเสนอเพียงบางข่าว ส่วนอีกหลายข่าวก็อาจถูกโยนทิ้งไป

31.       ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึง ผู้นำความคิดเห็น

(1) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ         (2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร

(3) ทฤษฎีการกำหนดระเบียบวาระ    (4) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

ตอบ 1 หน้า 182187194 ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) ได้ชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารของสื่อมวลชนไม่ได้เข้าถึงและมีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับ แต่อิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) หรือความเป็นผู้นำความคิดเห็น (Opinion Leadership) กลับเป็นปัจจัยแทรกที่สำคัญ ในการโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้รับสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ และมีอิทธิพลเช่นนี้ได้ค่อนข้างบ่อย

32.       การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นการแบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์

(1) การสื่อสารมวลชน (2) การสื่อสารสาธารณะ

(3) การสื่อสารระหว่างประเทศ            (4) การสื่อสารในองค์การ

ตอบ 3 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ  2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม    3. การสื่อสารระหว่างประเทศ

33.       มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดน่าจะ เป็นข้อใดต่อไปนี้

(1) มนุษย์มีการใช้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ       (2) มนุษย์อยู่ลำพังคนเดียวไม่ได้

(3) มนุษย์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย (4) มนุษย์มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ 4 หน้า 1 การติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายของมนุษย์ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการใช้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงกลอง ควันไฟ ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร จากนั้นจึงเริ่มรู้จัก ขีดเขียนภาพบนผนังถ้ำ และต่อมาก็มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้ในลักษณะของการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เองที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

34.       ผู้ใดต่อไปนี้ค้นพบทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด

(1) เฟสติงเจอร์            (2) เฟสติงเกอร์            (3) เฟสลิงเตอร์            (4) เฟสติงเยอร์

ตอบ 1 หน้า 63 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) โดยเขาเป็นผู้ค้นพบว่า การตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสาร ใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือความไม่เหมือนกันทางความคิด ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากใจที่ถือได้ว่าเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา

35.       การอ่านทวนจดหมายที่เราเขียนขึ้นเองก่อนส่งไปให้เพื่อนเรา สามารถเรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคคล        (2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล

(3) การสื่อสารแบนตัวต่อตัว    (4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า

ตอบ 2 หน้า 73638 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication)เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัย ระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน คือ Motor Skills ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทำหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) การคิดคำนวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

36.       การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจน

(1)       การสื่อสารภายในตัวบุคคล     (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล

(3) การสื่อสารสาธารณะ         (4) การสื่อสารภาย ในองค์การ

ตอบ 3 หน้า 42 – 43, (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของการสื่อสารกลุ่มใหญ่หรือการสื่อสาร สาธารณะ (Large Group Communication or Public Communication) มีดังนี้

1.         ผู้รับสารเป็นคนจำนวนมากที่มาอยู่รวมในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

2.         ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งสาร และใครเป็นผู้รับสาร

3.         ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของตัวเอง องค์การและสถาบัน

4.         ปฏิกิริยาตอบกลับจะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก

5.         ผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน ฯลฯ

37.       รหัสของสารมีกี่ประเภท

(1)สอง (2)สาม            (3)สี่     (4)ห้า

ตอบ 1 หน้า 68 รหัสของสาร คือ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้แสดงออก แทนความคิดเกี่ยวกับบุคคลและสรรพสิ่งต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.         รหัสของสารที่ใช้คำพูด (Verbal Message Codes)

2.         รหัสของสารที่ไม่ใช้คำพูด (Nonverbal Message Codes)

38.       การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำหน้าที่สลับกันในเวลาใกล้เคียงกันมากที่สุด

(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล           (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล

(3) การสื่อสารกลุ่มเล็ก           (4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่

ตอบ 2 หน้า 41 – 4275, (คำบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยน ข่าวสารกันได้โดยตรง สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับ ได้รวดเร็วทันที ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือการสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสาร และผู้รับสารต่างก็ทำหน้าที่เข้ารหัส ตีความ และถอดรหัสโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า ก็ได้ เช่น การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์ การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้ การส่ง E-mail และการสนทนาโต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

39.       ตัวแปรใดต่อไปนี้มีความคงทนมากที่สุด

(1)       ตัวแปรเหตุ       (2) ตัวแปรกด  (3) ตัวแปรตาม            (4) ตัวแปรแทรก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

40.       ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1)       ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์           (2) วิทยุและโทรทัศน์

(3) หนังสือพิมพ์           (4) สื่อมวลชน

ตอบ 1 หน้า 72, (ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ) คำว่า ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึง ทางที่ทำให้ผู้ ส่งสารกับผู้รับสารติดต่อกันได้ซึ่งก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคำว่า สื่อ” หมายถึง สื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง ตลอดจน อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารไปถึงกันและกัน

41.       อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นหนึ่งของความหมายในข้อใดต่อไปนี้

(1)       ช่องทาง           (2)พาหนะ       (3)สื่อ   (4)เครื่องมือ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42.       อาจารย์ใช้แผ่นใส วิดีโอ และการเขียนกระดานดำสอนนักศึกษาขณะบรรยายในชั้นเรียน ถือว่าอาจารย์ ใช้สื่อประเภทใดต่อไปนี้ ถ้าดูจากจำนวนการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์

(1)       สื่อมวลชน        (2) สื่อเฉพาะกิจ          (3) สื่อประสม  (4) สื่อระหว่างบุคคล

ตอบ 4 หน้า 73 – 74 สื่อระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน จนไม่อาจจะติดต่อกันโดยไม่ผ่านสื่อหรือไม่มีสื่อได้ จึงจัดเป็นสื่อที่ใช้เฉพาะบุคคล มีลักษณะเป็น ส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในขณะนั้น ๆ เช่น จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ภาพถ่ายในครอบครัว บันทึกช่วยจำ อนุทิน เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ บางชนิดที่จัดว่าเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย การเรียน การสอน ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น กระดานดำ หนังสือ เอกสาร แผ่นใส วิดีโอ เป็นต้น

43.       การสื่อสารที่เน้น Interaction ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร สามารถเรียกได้อย่างไรต่อไปนี้

(1) One-way Communication   (2) Two-way Communication

(3) Mass Communication (4) Communications

ตอบ 2 หน้า 4-51454 การสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี หรือการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) จะมีความหมายครอบคลุมไปถึงการรับสาร ปฏิกิริยา สะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) และปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีต่อกันหรืออันตรกิริยา (Interaction) ซึ่งจะเป็นตัวนำไปสู่กระบวนการเข้าใจความหมาย (Meaning) ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ อย่าง

44.       การสื่อสารที่ครอบคลุมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ และปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร สามารถนำไปสู่กระบวนการใดต่อไปนี้

(1) การถอดรหัส          (2) การเข้ารหัส

(3) การเข้าใจความหมายร่วมกัน         (4) การเข้ารหัส – ถอดรหัส

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45.       ผู้ใดต่อไปนี้ให้คำจำกัดความการสื่อสารว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งส่งสิ่งเร้าเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่น  

(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์

(2)       เจอร์เกน รอยซ์ (3) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์           (4) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์

ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์ (Carl I. Hoveland) และคณะ ให้ความเห็นว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่น ๆ (ผู้รับสาร)

46.       ผู้เข้ารหัส” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1)       Decoder   (2)       Encoder   (3)       Sender     (4) Receiver

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

47.       ข้อความเฉพาะซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่านั้น’’เป็นคำจำกัดความของคำใดต่อไปนี้

(1)       ทฤษฎี  (2)       สมมติฐาน       (3)       ตัวแปร (4) แบบจำลอง

ตอบ 2 หน้า 2026 สมมติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น

48.       องค์ประกอบหลักของทฤษฎีมีกี่ประการ

(1) 3 ประการ  (2)       4 ประการ        (3)       5 ประการ        (4) 6 ประการ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

49.       องค์ประกอบที่ทำให้ทฤษฎีสมบูรณ์มีกี่ประการ

(1) 3 ประการ  (2)       4 ประการ        (3)       5 ประการ        (4) 6 ประการ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

50.       หากผู้วิจัยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นตัวกำหนดสมมติฐาน สามารถเรียก การตั้งสมมติฐานลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไรต่อไปนี้

(1)       การตั้งสมมติฐานแบบอุปมานอย่างมีเหตุผล

(2)       การตั้งสมมติฐานแบบการอนุมานอย่างมีเหตุผล

(3)       การตั้งสมมติฐานโดยวิธีพฤตินัย

(4)       การตั้งสมมติฐานแบบพฤตินัย

ตอบ 2 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่คิดค้นและนำวิธีการตั้งสมมติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คำตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานการวิจัย ที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสำนึก หรือเป็นสมมติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถแบ่งวิธี อนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง  3. ข้อสรุป

51.       ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง

(1)       Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาวิขาเดียวกัน

(2)       Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาเดียวกันหรือต่างสาขากันก็ได้

(3)       Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์แขนงเดียวกัน

(4)       Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์ต่างสาขากัน

ตอบ3 หน้า 21 Model หมายถึง ทฤษฎีหรือแบบจำลองที่ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการหรือ พัฒนามาจากศาสตร์ภายในสาขาวิขาแขนงเดียวกัน ส่วน Paradigm หมายถึง ทฤษฎีหรือ แบบจำลองที่ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากศาสตร์หรือวิชาการ (Discipline)ต่างสาขากัน หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น

52.       ตัวแปรเหตุ สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไรต่อไปนี้

(1) ตัวแปรตาม            (2) ตัวแปรอิสระ          (3) ตัวแปรแทรก          (4) ตัวแปรกด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

53.       การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ ผู้ส่งสารทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง

(1) การสื่อสารภายในองค์การ (2) การสื่อสารมวลชน

(3)       การสื่อสารระหว่างบุคคล        (4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

54.       หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคม ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) เป็นสื่อกลางของสถาบันหลัก ๆ     (2) เป็นสื่อกลางของสาธารณะ

(3) เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม      (4) ถูกทั้งข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 93 – 94. 97 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม

2.         บทบาทของสื่อมวลขนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

55.       ข้อใดต่อไปนี้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์

(1) วารสาร      (2) หนังสือพิมพ์           (3) นิตยสาร     (4) คอมพิวเตอร์

ตอบ 4 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์มี 5 ประเภท คือ

1.         สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

2.         สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ ผู้ทำการสื่อสาร ฯลฯ

3.         สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ โฟลเดอร์ (ใบโฆษณาที่เป็นกระดาษแข็งพับ) ฯลฯ

4.         สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ (เช่น เว็บไซต์ฝ้ายคำของ ม.รามคำแหง) ฯลฯ

5.         สื่อระคน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กำแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

56.       ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารในสังคมกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม

(1) วิทยุและโทรทัศน์   (2) หนังสือพิมพ์           (3) คอมพิวเตอร์           (4) สื่อมวลชน

ตอบ 4 หน้า 94 – 95 สถาบันสื่อมวลชนนับว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้รับสาร (สาธารณชนหรือมวลชน) กับสถาบันอื่น ๆ หรือระหว่างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมด้วยกันเอง จึงมีการเปรียบสื่อมวลชน ว่าเป็นเสมือนสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม หรือในโลก เพราะไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ แห่งหนตำบลใด หรือในซีกโลกใด สื่อมวลชน ก็สามารถนำมาเสนอสู่สายตาของสาธารณชนได้

57.       ในปัจจุบันสื่อใดต่อไปนี้สามารถคานอำนาจสื่อหนังสือพิมพ์

(1)       วิทยุและโทรทัศน์        (2) วิทยุกระจายเสียง  (3) คอมพิวเตอร์           (4) วิทยุโทรทัศน์

ตอบ 1 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ มีดังนี้

1.         เป็นเทคโนโลยีที่ตอบสนองการใช้งานในตัวของสื่อเอง มากกว่าตอบสนองความต้องการ ทางด้านเนื้อหาหรือบริการในรูปแบบใหม่

2.         สามารถเสนอข่าวสารได้รวดเร็วฉับพลัน

3.         ทำหน้าที่ได้ทั้งการเสนอข่าวสารการเมือง เรื่องที่คนนิยม หรือเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นสื่อที่สามารถคานอำนาจสื่อหนังสือพิมพ์ได้

4.         เป็นสื่อที่แพร่กระจายได้กว้างไกล มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นทางการเมืองและการดำเนินชีวิต ของประชาชนในสังคมเป็นอย่างมาก ฯลฯ

58.       วัฒนธรรม หมายถึงข้อใดต่อไปนี้      

(1) การแต่งกาย

(2)       ทรงผม            (3) สรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้น (4) มรดก

ตอบ 3 หน้า 118 – 119 คำวา วัฒนธรรม คือ สรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นจึงพอจะ สรุปความได้ว่า วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผน ในความคิดและการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยแต่ละสังคมมีวัฒนธรรม เฉพาะของตนเอง เพราะเป็นวิถีชีวิตที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มสังคม

59.       ผู้ใดต่อไปนี้ให้คำจำกัดความคำว่า มวลชน” โดยเปรียบเทียบกับคำที่มีลักษณะการรวมตัวกับของคนหมู่มาก

(1)       Blomer     (2) Blumer          (3) Bluner (4) Baumen

ตอบ 2 หน้า 77 เฮอร์เบิร์ท บลูเมอร์ (Herbert Blumer) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า มวลชน” (Mass) โดยนำไปเปรียบเทียบกับคำอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเกี่ยวข้องกับการรวมตัวกัน ของคนหมู่มาก ซึ่งได้แก่ คำว่ากลุ่มคน (Group), ฝูงชน (Crowd) และสาธารณชน (Public)

60.       การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้

(1) การถอดรหัส          

(2) การรับรู้

(3)       การแปลความหมาย   

(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

61.       สื่อมวลชนได้รับความสนใจ และศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น เพราะสาเหตุใดต่อไปนี้

(1)       สื่อมวลชนเติบโตอย่างรวดเร็ว

(2)       สื่อมวลชนเป็นแหล่งผลิตและแพร่กระจายความรู้

(3)       สื่อมวลชนเป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคน

(4)       การมีส่วนร่วมของผู้ชม/ผู้ฟังเป็นไปโดยสมัครใจ

ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจ และมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีดังนี้

1.         กิจการสื่อมวลชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

2.         สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ

3.         สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดำรงชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น

4.         สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ

5.         สื่อมวลชนก่อให้เกิดคำนิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

62.       โครงสร้างของสื่อมวลชนของสาธารณชน เกิดจากความกดดันด้านใดต่อไปนี้

(1)       ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม

(2)       ความสามารถเข้าถึงแหล่งข่าวที่เหมือนกันของสื่อมวลชน

(3)       ความสนใจของสาธารณชนที่เหมือนกัน

(4)       ความสามารถแยกผลกระทบที่ชัดเจนภายในโครงสร้างสังคม

ตอบ 1 หน้า 100 – 101 ตามบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะนั้นโครงสร้างของสื่อมวลชนของสาธารณชนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้จากความกดดันต่าง ๆ ดังนี้

1.         ความสนใจของสาธารณชน เช่น ความสามารถของสื่อมวลชนในการเข้าถึงแหล่งข่าวแตกต่างกัน ทำให้ข่าวสารที่ออกมามีความหลากหลายในรสนิยม การศึกษา และสถานการณ์ทั่วไป

2.         ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายของสื่อมวลชนตั้งแต่เริ่มทำข่าวหรือหาข่าวสารข้อมูล จนกระทั่ง นำเสนอต่อสาธารณชน

3.         ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย ชนชั้น ศาสนา รสนิยม การศึกษา ฐานะการเงิน และสถานภาพทางสังคม

63.       จากโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน สามารถพิจารณาจากหัวข้อใดต่อไปนี้

(1)       ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ

(2)       ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสาธารณชน

(3)       ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับแหล่งข่าว           

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

64.       องค์กรหรือหน่วยงานลักษณะใดต่อไปนี้ สามารถเรียกว่าสถาบันสื่อสารมวลชน

(1)       เป็นหน่วยงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยสถาบันการเมือง

(2)       เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ

(3)       เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร 

(4) ถูกทั้งข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้

1.         มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม

2.         เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ

3.         มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ

4.         การมีส่วนร่วมของผู้ชม/ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ

5.         มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน

6.         ไม่มีอำนาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐอยู่เสมอ

65.       บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทำให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้

(1)       ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกับได้

(2)       ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้

(3)       ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม  

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณขน สามารถรับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและความเชื่อ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน ก็จะทำให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

66.       ผู้ใดต่อไปนี้ที่มีภาพพจน์ต่อสื่อมวลชนว่า เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือปมปัญหาของ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

(1)       สาธารณชน     (2) สถาบันการเมือง    (3) สถาบันสังคม         (4) สถาบันสื่อมวลชน

ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คำบรรยาย) ตามบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของ สาธารณชนนั้น ผู้รับสารหรือสาธารณชนโดยทั่วไปจะมีภาพพจน์ต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชน ดังนี้

1.         เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทำให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์กว้างขึ้น โดยการบอกให้ประชาชน ทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทำไม

2.         เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือชี้ปมปัญหาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

3.         เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร

4.         เป็นตัวกรองข่าวเพื่อเสนอต่อประชาชน ซึ่งจะต้องกระทำอย่างตั้งใจ โดยคำนึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของสื่อนั้น ๆ ฯลฯ

67.       สื่อมวลชนเป็นตัวกรองข่าวเพื่อเสนอต่อประชาชน โดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม ของสื่อนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1)       เป็นภาพพจน์ที่สาธารณชนมีต่อสื่อในฐานะสื่อกลางของสาธารณชน

(2)       เป็นภาพพจน์ที่สถาบันการเมืองมีต่อสื่อ

(3)       เป็นภาพพจน์ที่สถาบันสื่อมวลชนมองตนเอง

(4)       เป็นภาพพจน์ที่สถาบันสังคมมองสื่อ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68.       กระแสการสื่อสาร มีตัวแปรสำคัญในข้อใดต่อไปนี้

(1) การเก็บข่าวสาร และการใช้ข่าวสาร          (2) การเก็บข่าวสารแบบศูนย์กลาง และปัจเจกบุคคล

(3) การเก็บข่าวสาร และการควบคุมการเข้าถึง          (4) ถูกทั้งข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 123 การไหลของข่าวสาร (Information Traffic) จะประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญของ กระแสการสื่อสาร (Communication Flow) จำนวน 2 ตัวแปร คือ

1.         การเก็บข่าวสาร (The Centrality)

2.         การควบคุมการเข้าถึงหรือการใช้ข่าวสาร (The Controlity)

69.       การสื่อสารสามารถมองได้ในลักษณะใดต่อไปนี้

(1)       เครื่องมือในการถ่ายทอดข่าวสาร

(2)       เป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนความเชื่อและการแสดงออก

(3)       เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้รับสาร           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 129 – 130 James Carey กล่าวว่า การสื่อสารสามารถมองได้หลายลักษณะ ดังนี้

1.         การสื่อสารในฐานะเครื่องมือในการถ่ายทอดข่าวสาร คือ การส่งผ่านหรือถ่ายทอดข่าวสาร จากศูนย์กลางไปยังบุคคลอื่น

2.         การสื่อสารในลักษณะของแบบแผนวัฒนธรรม คือ การสื่อสารที่เป็นเครื่องมือในการค้ำจุนเกื้อหนุน สังคมในเวลาที่สังคมต้องการ ตลอดจนเป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนความเชื่อและการแสดงออก

3.         การสื่อสารในฐานะของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ คือ การสื่อสารที่เป็นเครื่องมือในการดึงดูดความสนใจของผู้รับสาร (ผู้ชม/ผู้ฟัง) ตลอดจนความสามารถหรือความชำนาญ ของผู้รับสารในการพัฒนาตนเอง

70.       วัตถุประสงค์ของการใช้ที่เน้นความพึงพอใจอย่างฉับพลัน หรือเน้นความเพลิดเพลินนั้น จัดอยู่ใน วัฒนธรรมแบบใดต่อไปนี้

(1)       วัฒนธรรมขั้นสูง          (2) วัฒนธรรมมวลชน

(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ2 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.         ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด

2.         ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจำนวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี ที่ได้มีการวางแผนและการจัดการเป็นอย่างดี

3.         เนื้อหาและความหมาย มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน

4.         ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค

5.         วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

71.       ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิตที่เน้นการผลิตจำนวนมากด้วยการใช้เทคโนโลยี พร้อมกับมีการวางแผนและ การจัดการเป็นอย่างดี จัดอยู่ในวัฒนธรรมใดต่อไปนี้

(1) วัฒนาธรรมขั้นสูง   (2) วัฒนธรรมมวลชน

(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72.       สื่อมวลชนที่ทำหน้าที่เป็น Watchdog นั้น สามารถจัดอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้

(1) ทฤษฎีอำนาจนิยม (2) ทฤษฎีเสรีนิยม

(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม  (4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา

ตอบ3. หน้า 265 – 266 ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม จะเน้นที่ความรับผิดชอบในการ ปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง ได้แก่

1.         มีภาระหน้าที่หลักที่จะให้บริการแก่ระบบการเมือง

2.         ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและให้ความสว่างทางปัญญาแก่สาธารณชน

3.         พิทักษ์รักษาสิทธิของบุคคล โดยทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้ายาม (Watchdog) เพื่อคอยเฝ้าดู และตรวจสอบรัฐบาล ฯลฯ

73.       ทฤษฎีอำนาจนิยม เสรีนิยม ความรับผิดชอบทางสังคม เบ็ดเสร็จนิยม สื่อสารเพื่อการพัฒนา และทฤษฎี สื่อมวลชนของประชาชน สามารถจัดอยู่ในประเภทของทฤษฎีใดต่อไปนี้

(1) ทฤษฎีสังคมศาสตร์           (25 ทฤษฎีปทัสถาน

(3) ทฤษฎีแนวปฏิบัติ  (4) ทฤษฎีสามัญสำนึก

ตอบ 2 หน้า 253 – 276279 – 281 ทฤษฎีด้านการสื่อสารมวลชนที่จัดอยู่ในประเภทของ ทฤษฎีปทัสถาน อาจแบ่งได้ดังนี้ 1. ทฤษฎีอำนาจนิยม 2. ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม          3. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม  4.ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์  5.ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา            6. ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

74.       รูปแบบการไหลของข่าวสาร (Flow of Information) มีกี่ลักษณะ

(1) 2 ลักษณะ (2) 3 ลักษณะ (3) 4 ลักษณะ (4) 5 ลักษณะ

ตอบ 3 หน้า 126 – 128 รูปแบบการไหลของข่าวสาร (Flow of Information) แบ่งได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

1.         Allocution คือ การส่งจดหมายตรงจากผู้นำถึงผู้ตาม ซึ่งจะเหมาะกับสื่อกระจายเสียงและ แพร่ภาพของชาติ เช่น สื่อวิทยุและโทรทัศน์

2.         Consultation คือ การให้คำแนะนำปรึกษาหารือ มักพบในสื่อหนังสือพิมพ์และการสื่อสาร ระหว่างบุคคล

3.         Conversation คือ การสนทนา เป็นการไหลแบบพื้น ๆ มักพบเห็นได้ทั่วไป

4.         Registration คือ การจดบันทึกหรือขึ้นทะเบียน

75.       ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทำให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับ เรื่องเดียวกับอยู่ในสภาพสมดุล

(1) Heider (2) Herbert Mead      (3) Newcomb    (4) Herbert Blumer

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

76.       แบบจำลองการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

(1)       แบบจำลองที่แสดงโครงสร้างและแบบจำลองตัวแปร

(2)       แบบจำลองแสดงหน้าที่และแบบจำลองแสดงเหตุการณ์

(3)       แบบจำลองแสดงโครงสร้างและแบบจำลองแสดงหน้าที่

(4)       แบบจำลองจัดระเบียบและแบบจำลองแสดงหน้าที่

ตอบ 3 หน้า 29 – 30 แบบจำลองการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.         แบบจำลองที่แสดงโครงสร้างหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็น การย่อส่วนหรือจำลองของจริง เช่น แบบจำลองบ้านจัดสรรของโครงการหมู่บ้านต่าง ๆ

2.         แบบจำลองที่แสดงหน้าที่หรือการทำงานของระบบ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น ภาพเชิงเส้นแสดงระบบการทำงาน เช่น แบบจำลองระบบการทำงานของสมองมนุษย์

77.       ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดต่อไปนี้ถือเป็นทฤษฎีประวัติศาสตร์ 

(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม

(2)       ทฤษฎีอำนาจนิยม      (3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม  (4) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม

ตอบ 2 หน้า 254256 ทฤษฎีอำนาจนิยม ถือเป็นทฤษฎีประวัติศาสตร์ที่เกิดก่อนทฤษฎีอื่น ๆและมักจะถูกใช้ในประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ โดยปรัชญาพื้นฐาน ที่มาสนับสนุนทฤษฎีนี้สามารถวิเคราะห์ย้อนหลังได้ในหนังสืออุตมรัฐ (Republic) ของเพลโต (Plato) และต่อมาก็มีนักปรัชญาทางการเมืองหลายท่านได้แสดงความนิยมยึดมั่นในอุดมการณ์ ของทฤษฎีนี้ ได้แก่ มาเคียเวลลี่ (Machiavelli), ฮอบส์ (Hobbes) และเฮเกล (Hegel) เป็นต้น

78.       ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่เป็นทฤษฎีล่าสุดในบรรดากลุ่มทฤษฎีปทัสถาน

(1) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา         (2) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

(3)       ทฤษฎีเสรีนิยม            (4) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม

ตอบ 2 หน้า 276 – 277, (คำบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วม แบบประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดา กลุ่มทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจ เพราะเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา โดยจะเน้นถึงความสำคัญ ของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและสังคม จึงถือเป็นรูปแบบ ของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและน่าจะพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ในแนวปฏิบัติ

79.       ทฤษฎีใดต่อไปนี้ในกลุ่มทฤษฎีปทัสถานที่เป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจ

(1) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา         (2) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

(3) ทฤษฎีเสรีนิยม       (4) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80.       ตัวแปรใดต่อไปนี้เป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรเหตุ

(1) ตัวแปรกด  (2) ตัวแปรต้น  (3) ตัวแปรแทรก          (4) ตัวแปรผล

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

 

81.       นักปรัชญาทางการเมืองผู้ใดต่อไปนี้ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์และปรัชญาพื้นฐานที่สนับสนุนทฤษฎีอำนาจนิยม

(1) มาเคียเวลลี่           (2) ฮอบส์         (3) เฮเกล         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

82.       ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างทฤษฎีใดกับทฤษฎีใดต่อไปนี้

(1)       ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา

(2)       ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีเสรีนิยม

(3)       ทฤษฎีเสรีนิยมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา

(4)       ทฤษฎีอิสรภาพนิยมกับทฤษฎีอำนาจนิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

83.       องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนสมมติฐาน มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

(1) บรรยายและแยกประเภท  (2) วิเคราะห์

(3) กำจัดความซับซ้อน            (4) กำจัดความไม่คงที่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

84.       Free Market of Ideas อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้

(1) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา         (2) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

(3) ทฤษฎีเสรีนิยม       (4) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม

ตอบ 3 หน้า 256 – 258279 ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม หรือทฤษฎีสื่อเสรีได้กล่าวถึงเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ว่ามิได้เป็นแต่เพียงเครื่องมือในการแสดงออก ของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์ตนเองของสัจจะ หรือเป็นเครื่องมือ แสวงหาสัจจะของสังคม โดยเปิดหนทางและโอกาสให้กับทัศนะต่าง ๆ ทั้งผิดและถูก มาประชันแข่งขันใน ‘‘ตลาดเสรีความคิดอ่าน” (Free Market of Ideas) และให้สาธารณชน เป็นผู้ตัดสิน

85.       ผู้ใดต่อไปนี้มีส่วนวางรากฐานทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม

(1) โจเซฟ พูลิตเซอร์    (2) ฮอบส์         (3) เฮเกล         (4) โคเฮ็น

ตอบ 1 หน้า 263 โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) เป็นผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานของทฤษฎี ความรับผิดชอบทางสังคมเป็นอย่างมาก และนับตั้งแต่นั้นมาการพูดถึงทฤษฎีนี้ก็ขยายวงกว้าง ออกไป โดยมีแนวคิดว่าหนังสือพิมพ์ต้องมีเสรีภาพตามแนวความคิดเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วย

86.       แบบจำลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ

(1)       แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลส์

(2)       แบบจำลองการสื่อสารของออสกูด

(3)       แบบจำลองการสื่อสารของเอ็ดเวิร์ด สะเพียร์

(4)       แบบจำลองการสื่อสารของคาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

87.       ตัวแปรใดที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน

(1) ตัวแปรแทรก          (2) ตัวแปรตาม            (3) ตัวแปรกด  (4) ตัวแปรอิสระ

ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คำบรรยาย) ตัวแปรกด หมายถึง ตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้ หรือเป็นตัวแปร ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเบี่ยงเบนไปจากเดิม ต่อเมื่อเราควบคุม ตัวแปรกดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจึงจะเกิดขึ้น

88.       สมมติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) ซึ่งเป็นการอนุมานอย่างมีเหตุผล ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นำวิธีนี้มาใช้คือ

(1) Aristotle       (2) Leonado di Caprio

(3) Francis Bacom      (4) Francis Bacon

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

89.       การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อเชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย เป็นการให้ความหมายของการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้

(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์   (2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์

(3) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด  (4) วิลเบอร์ ชแรมม์

ตอบ 3 หน้า 4 ขาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า ความหมายโดยทั่วไป ของการสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างสองฝ่าย

90.       กรณีวาทกรรมต่าง ๆ ของบรรดานักการเมืองที่พูดในสังคมปัจจุบัน และสื่อมวลชนนำมาเผยแพร่เป็น ข่าวรายวัน ท่านคิดว่าการรายงานข่าวในลักษณะนั้นเป็นสารประเภทใดต่อไปนี้

(1) สารประเภทข้อเท็จจริง      (2) สารประเภทข้อคิดเห็น

(3) สารประเภทความรู้สึก       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 69 – 71 สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เกิดขึ้นจากการประเมินของผู้ส่งสาร อาจเป็นความรู้สึก แนวคิด และความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเอง บุคคลอื่น วัตถุ หรือต่อเหตุการณ์ ใดก็ตาม ซึ่งสารประเภทนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ เมื่อไปปรากฏอยู่ในเนื้อหาของข่าว ก็จะทำให้ประชาชนผู้รับสารเกิดความสับสนและไขว้เขวได้ง่าย เช่น กรณีวาทกรรมต่าง ๆ ของบรรดานักการเมืองที่พูดในสังคมปัจจุบัน แล้วสื่อมวลชนนำมาเผยแพร่เป็นข่าวรายวัน เป็นต้น

91.       ปฏิกิริยาตอบกลับและปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน อยู่ในการสื่อสารรูปแบบใด

(1) Interaction  (2) One-way Communication

(3) Two-way Communication   (4) การสื่อสารล้มเหลว

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

92.       จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อทำให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นก็คือ

(1) ตัวแทน       (2) ตัวแปร       (3) แบบจำลอง            (4) สมมติฐาน

ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทำให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่า จะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

93.       ใครเป็นผู้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “ การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง 

(1) Carl I. Hoveland   (2) Warren WWeaver

(3) George A. Miller  (4) Jurgen Ruesch

ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอด ข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

94.       สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ

(1) สื่อระหว่างบุคคล   (2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์

(3) สื่อเฉพาะกิจ          (4) สื่อมวลชน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

95.       Communication Breakdown เกิดจากสาเหตุใดต่อไปนี้

(1)       สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน

(2)       ประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน

(3)       วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 1014, (คำบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวนที่เรียกว่า “Noise”ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย หรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร ทำให้เกิด ความล้มเหลวในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ของ ผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน และประสบการณ์หรือ ภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน ฯลฯ

ข้อ 96. – 100. ตัวเลือกต่อไปนี้ใช้สำหรับการตอบคำถาม

(1) รูปแบบของการสื่อสารแบบการสั่งการ      (2) รูปแบบของการสื่อสารแบบการเป็นสมาชิก

(3) รูปแบบของการสื่อสารแบบการบริการ      (4) รูปแบบของการสื่อสารแบบการสนทนา

(5)       รูปแบบของการสื่อสารแบบการปรึกษาหารือ

96.       Manipulation ตรงกับรูปแบบการสื่อสารใดข้างต้น

ตอบ 1 หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการสั่งการ (Command Mode) ตรงกับประเด็น ของทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้ 1. Propaganda (การโฆษณาชวนเชื่อ) 2. Manipulation (การจัดการ) 3. Mass Society (สังคมมวลชน) 4. Class Dominance (การมีอิทธิพลเหนือกว่าด้านชนชั้น)

97.       Communication Market ตรงกับรูปแบบการสื่อสารใดข้างต้น

ตอบ 3 หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการบริการ (Service Mode) ตรงกับประเด็น ของทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้

1.         Commercialization (การค้าการพาณิชย์)

2.         Audience Behavior (พฤติกรรมของผู้รับสาร)

3.         Communication Market (ตลาดการสื่อสาร)

4.         Information Society (สังคมข้อมูลข่าวสาร)

98.       Information Society ตรงกับรูปแบบการสื่อสารใดข้างต้น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ

99.       Normative Media Theory ตรงกับรูปแบบการสื่อสารใดข้างต้น

ตอบ 2 หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการเน้นสมาชิก (Association Mode)ตรงกับประเด็นของทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้

1.         Participation and Interaction (การมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์)

2.         Social Fragmentation (การแบ่งแยกทางสังคม)

3.         Normative Media Theory (ทฤษฎีสื่อปทัสถาน)

4.         Media Audience Link (ความเกี่ยวข้องของผู้รับสารกับสื่อ)

100.    Audience Behavior ตรงกับรูปแบบการสื่อสารใดข้างต้น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ

Advertisement