การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) สําคัญต่อความเป็นสังคม
(2) สําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
(3) สําคัญต่อสถาบันต่าง ๆ
(4) สําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2.อวัจนภาษา ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

Advertisement

2. ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
(1) เป็นรหัสของสารประเภทหนึ่ง
(2) เป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 2, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) หมายถึง การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ใช่คําพูดหรืออวัจนภาษา (Nonverbal Language) เช่น ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยก บนท้องถนน, การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการ กล่าววาจาทักทาย, การที่คู่สื่อสารยืนอยู่คนละฝั่งถนน แล้วฝ่ายหนึ่งพยายามกวักมือเรียก อีกฝ่ายหนึ่งให้เดินข้ามถนนมาหาตน เป็นต้น

3.การสื่อสารเชิงวัจนะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เป็นรหัสของสารประเภทหนึ่ง
(2) เป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2, 3 หน้า 2 (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งจัดเป็นภาษาที่เป็นคําพูดหรือวัจนภาษา
(Verbal Language) เช่น แดงพูดกับคําว่า “ทําไมมาสาย”, ส้มเขียนจดหมายถึงแฟนที่อยู่
ต่างประเทศ เป็นต้น

4. การสื่อสารเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ภายใน – ภายนอก ตรงกับความสําคัญของการสื่อสาร
ในข้อใดต่อไปนี้
(1) สําคัญต่อสังคมและธุรกิจ
(2) สําคัญต่อชีวิตประจําวันและธุรกิจ
(3) สําคัญต่อการเมืองและธุรกิจ
(4) สําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ คือ วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจในปัจจุบันจําเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถตรวจสอบประชามติ หรือความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีต่อองค์กร โดยใช้วิธีทางการสื่อสารที่เรียกกันว่า “การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์” ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

5. นาย ว นั่งอยู่กับนาง ค แล้วพูดกับนาง ค ว่า ลูกใครร้องไห้เป็นอะไรครับ การสนทนาดังกล่าวจัดเป็นการ สื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(3) การสื่อสารปัจเจกบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 39 – 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) หรืออาจจะเรียกว่า “การสื่อสารปัจเจกบุคคล, การสื่อสารตัวต่อตัว (Person – to – person), การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face – to – face)” หมายถึง กระบวนการของการติดต่อสื่อสาร หรือการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป ซึ่งทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถ แลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงผ่านสื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรืออาจผ่านสื่อที่มนุษย์ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมาก็ได้ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก ฯลฯ

6. การสื่อสารของมนุษย์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) หลักความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(2) หลักความสัมพันธ์ระหว่างคู่ของการสื่อสาร
(3) หลักความสัมพันธ์ของการสื่อสาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 จากคําจํากัดความของ “การสื่อสาร” ทั้งหมด สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่ ความหมายเหล่านี้ต่างมีร่วมกัน คือ การสื่อสารของมนุษย์ตั้งอยู่บนหลักของความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างคู่ของการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน

7. สัญลักษณ์ หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) รหัสสารเชิงวัจนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงวัฒนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) รหัสสารเชิงอวัจนะ หรือรหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูด (Nonverbal Message Codes) ได้แก่ ระบบสัญลักษณ์ สัญญาณ เครื่องหมาย หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ ในการสื่อสารและไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ถ้อยคํา เช่น การพยักหน้าเพื่อแสดงอาการตอบรับ เห็นด้วย หรือแสดงความเข้าใจ, การให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดเพื่อให้รถหยุด เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบของรหัสสารเชิงอวัจนะ ได้แก่
1. เวลาหรือช่วงเวลา
2. พื้นที่ เนื้อที่ และระยะห่าง
3. สิ่งของ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า ฯลฯ
4. อากัปกิริยา เช่น ภาษากาย ภาษาใบ้ ฯลฯ
5. ลักษณะทางร่างกาย เช่น รูปร่าง สีหน้า สีผิว ส่วนสูง ฯลฯ
6. ปริภาษา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแนบเนื่องกับภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น การพูดเร็ว/พูดช้า ลายมือบรรจง/ลายมือหวัด ฯลฯ

8.การสื่อสารสองทาง ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communicate
(2) Two – step Flow Communicate
(3) Two – way Communication
(4) Two – step Flow Communication
ตอบ 3 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่หมายความรวมถึงการรับสาร ปฏิกิริยา ตอบกลับ (Feedback) หรือผลย้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วตอบโต้กลับไป และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction)

9. จากเหตุการณ์สี่รัฐมนตรีเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทําเนียบรัฐบาล เพื่อส่งหนังสือเชิญให้เป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี ในนามของพรรคพลังประชารัฐ เหตุการณ์นี้เป็นการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
ตอบ 2หน้า 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารกลุ่มเล็ก (Small Group Communication) หมายถึง การสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อยที่มีสมาชิกจํานวน 3 คนขึ้นไป (แต่สมาชิกต้องไม่มากเกินไป สามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง) โดยคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ส่วนคนอื่น ๆ ก็จะเป็น ผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงแบบตัวต่อตัวแต่จะช้ากว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล

10.นาย ว ฝันว่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งสามสิบล้านบาท จัดเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารเชิงวัฒนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
ตอบ 2 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) คือ กระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยระบบ ประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน ได้แก่ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับ ตัวเอง, การร้องเพลงคนเดียว, การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ), การคิดคํานวณ, การนึก, การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง เป็นต้น และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน, การละเมอ เป็นต้น

11. ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยกบนท้องถนน การสื่อสารลักษณะเช่นนี้ตรงกับ
คําตอบข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Message Codes
(4) Nonverbal Message Codes
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

12. จากข้อ 11. พฤติกรรมข้างต้นจัดเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Message Codes
(4) Nonverbal Message Codes
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

13. การสื่อสารทางเดียว ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) การดู ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชน
(2) การเล่นไลน์
(3) การวิดีโอคอล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (MCS 1150 (MCS :100) เลขพิมพ์ 60182 หน้า 26) การสื่อสารทางเดียว (One – way Communication) คือ การสื่อสารที่เกิดจากผู้ส่งสารได้พูดบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสาร ส่งไปยังผู้รับสาร เมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น โดยไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ (Feedback) เช่น การที่ผู้รับสาร ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร เป็นต้น

14. การสื่อสารที่ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาจมีสาเหตุมาจาก
สิ่งใดต่อไปนี้
(1) กรอบแห่งการอ้างอิงต่างกัน
(2) กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมต่างกัน
(3) การมีประสบการณ์ร่วมเหมือนกัน
(4) การมีประสบการณ์ร่วมต่างกัน
ตอบ 2 หน้า 10, 14, 57, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวน (Noise) ที่ทําให้ การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร จนส่งผล ให้เกิดความล้มเหลวในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน, สารที่ใช้ในการสื่อสารไม่ชัดเจน, กรอบแห่งการอ้างอิง และประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่แตกต่างกัน ฯลฯ

15. การที่บุคคลอยากหาซื้อสินค้าแล้วเข้าไปเปิดอ่านโฆษณาจากเพจขายสินค้าในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ถือว่ามีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อการตัดสินใจ
(3) เพื่อความบันเทิง
(4) เพื่อความรู้
ตอบ 2 หน้า 13 – 14 วัตถุประสงค์ของผู้รับสารประการหนึ่ง คือ เพื่อใช้ในการตัดสินใจหรือกระทํา สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Decide or Dispose) หมายถึง ผู้รับสารได้ศึกษาทางเลือกต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ หรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การที่ผู้รับสาร ชม ฟัง อ่านโฆษณาเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้า หรือไม่ซื้อ, การฟังผู้สมัครรับเลือกตั้งปราศรัยหาเสียง ฯลฯ

16. การบอกกล่าวเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสาร ตรงกับวัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อแจ้งให้ทราบ
(2) เพื่อทราบ
(3) เพื่อให้การศึกษา
(4) เพื่อศึกษา
ตอบ 1 หน้า 10 – 11 วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารประการหนึ่ง คือ เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดที่เกิดขึ้น ในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสารให้ได้รับทราบหรือเกิดความเข้าใจ เช่น รายการข่าว รายการ วิเคราะห์ข่าว รายการสนทนาเหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ

17. การสื่อสารจะประสบความสําเร็จมักมีองค์ประกอบหลายประการ แต่ยกเว้นข้อใดต่อไปนี้
(1) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
(3) การรับรู้ความหมายร่วมกันได้
(4) ความคุ้นเคยที่มีต่อกัน
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, 14, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่ทําให้การสื่อสารประสบความสําเร็จ มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารสอดคล้องตรงกัน
2. การมีปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)
3. ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
4. การรับรู้ความหมายร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย
5. กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่คล้ายคลึงกัน ฯลฯ

18. การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Communicate
(4) Nonverbal Communicate
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการกล่าววาจาทักทาย
การกระทําเช่นนี้ถือเป็นการสื่อสารในรูปแบบใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

20. การที่ดวงกับเต้ยยืนอยู่คนละฝั่งถนน แล้วดวงพยายามกวักมือเรียกเต้ยให้เดินข้ามถนนมาหาตน พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารเชิงวัจนะ
(2) การสื่อสารเชิงวัฒนะและอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(4) การสื่อสารกึ่งอวัจนะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

21. การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีภาษาพูดที่แตกต่างกันแล้วมาคุยกัน หากคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นเกณฑ์ นับเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ตอบ 4 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (Interracial Communication)
Communication)
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Cross – Cultural or Intercultural
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication)

22. ซแรมม์ ซีเบอร์ต และปีเตอร์สัน ได้เขียนหนังสือชื่อ Four Theories of the Press ไว้ในปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1953
(3) 1956
(4) 1955
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert), ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramm) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press ซึ่งหนังสือ เล่มนี้ได้บรรยายเปรียบเทียบถึงทฤษฎีหรือแนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และ การควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน

23. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้ที่แนะนําวิธีแสวงหาความรู้แบบ “อุปมานอย่างมีเหตุผล”
(1) อริสโตเติล
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อริสโตเติล เบคอน
(4) ฟรานซิส อริสโตเติล
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นผู้คิดค้นวิธีตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดย วิธีอุปนัย (Induction) หรือการอุปมานอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยที่ผู้วิจัย หรือผู้สํารวจขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่เคยมีผู้ใดทําการวิจัยมาก่อน ดังนั้น ผู้วิจัยต้องใช้วิธีการวิจัยขั้นสํารวจมาช่วยเพื่อให้สามารถสร้างสมมุติฐานขึ้นมาเองได้ จึงถือเป็น วิธีการที่ได้ความรู้โดยการศึกษาคุณลักษณะของข้อมูลทีละหน่วย (Unit) หลาย ๆ หน่วย

24.องค์ประกอบหลัก ๆ ของทฤษฎีมีกี่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ
(4) 7 ประการ
ตอบ 1 หน้า 19 – 20 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ในการวิจัย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อใช้เป็น กรอบในการสร้างคําตอบล่วงหน้าหรือกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย เป็นต้น

3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด เช่น การกําหนดความหมาย ของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นต้น
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ)

25. จากความหมายของทฤษฎีที่เคอร์ลินเจอร์กล่าวไว้ สามารถแยกเป็นความหมายย่อย ๆ ในข้อใดต่อไปนี้
(1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีข้อความสมมุติ
(3) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประการ ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมมุติฐาน
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

26. ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) มีปัญหา
(2) มีแนวคิด ทฤษฎี
(3) มีวัตถุประสงค์
(4) มีสมมุติฐาน
ตอบ 1 หน้า 22 (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นที่ปัญหาของ การวิจัยที่ต้องการค้นหาคําตอบ แล้วจึงพิสูจน์ทดลอง วิเคราะห์ผล วัดผล จนเริ่มมีแนวคิดที่จะ อธิบายออกมาเป็นทฤษฎี โดยอาศัยการสังเกตค้นคว้าจากแนวการดําเนินงานอย่างมีระบบตาม ระเบียบวิธีวิจัย

27. การสร้างคําตอบล่วงหน้าในการวิจัย สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการสร้าง
(1) แนวคิดและทฤษฎี
(2) วัตถุประสงค์ในการวิจัย
(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

28. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ สิ่งที่ค้นพบจะเป็นที่ยอมรับได้ หรือมีความเป็นวิทยาศาสตร์ จะต้อง
อาศัยสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ระเบียบวิธีวิจัย
(2) สถิติ
(3) แนวคิดและทฤษฎี
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ), (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อนิยามหรือ กําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้นเพื่อให้สิ่งที่ค้นพบเป็นที่ยอมรับได้ และมีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology)
2. การใช้สถิติ
3. การสร้างข้อคําถามในการวัด
4. การใช้ข้อความสมมุติ (การตั้งสมมุติฐาน)
5. ใช้การสังเกตและทดลอง

29. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของความเชื่อม มีความสําคัญต่อสิ่งใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) เหตุผลและการทดสอบ
(4) ความหมายและการวัด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

30. การกําหนดความหมายของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย นับเป็นองค์ประกอบของทฤษฎีในตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) การจัดลําดับสมมุติฐาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

31. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของแบบจําลอง
(1) หน้าที่ในการจัดระเบียบ
(2) หน้าที่ในการทํานายหรือคาดการณ์
(3) หน้าที่ในการเป็นเครื่องมือที่แสดงภาพรวมทั้งหมด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 30 – 31 หน้าที่ของแบบจําลองมี 4 ประการด้วยกัน คือ
1. จัดระเบียบและเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน
2. ทํานายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
3. เป็นเครื่องมือแสดงภาพรวมทั้งหมดที่สลับซับซ้อนให้เป็นภาพหรือรูปที่ง่ายแก่การเข้าใจ
4. ทําให้ผู้ทํานายกําหนดทางเลือกหลาย ๆ ทางที่เกี่ยวเนื่องกับผลลัพธ์หรือสิ่งที่ได้คาดคะเนไว้

32. การที่กล่าวว่า หากมีปรากฏการณ์สองปรากฏการณ์ คือ A กับ B เกิดขึ้น เราสามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้ มากำหนดว่า หากมี A เกิดขึ้น B จะเกิดขึ้นตามมา
(1) ทฤษฎี
(2) ตัวแปร
(3) สมมุติฐาน
(4) แนวคิด
ตอบ 1 หน้า 21 – 22 ทฤษฎีมีหน้าที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การทํานายหรือคาดคะเน หมายถึง การคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เช่น เหตุการณ์ A กับ เหตุการณ์ B ทฤษฎีจะช่วยคาดคะเนได้ว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามี A เกิดขึ้น B ก็จะเกิดขึ้น ตามมา หรือถ้ามี B แล้วจะมี A เป็นต้น

33. จากข้อ 32. นับเป็นการใช้ตามหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) อธิบาย
(2) ทํานาย
(3) คาดคะเน
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า “เจตคติต่อวิทยาศาสตร์”
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติต่อวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของ บุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง การมีความสนใจและการเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์

35. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า “เจตคติทางวิทยาศาสตร์”
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติทางวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของ บุคคลที่แสดงถึงคุณลักษณะนิสัย อันเกิดจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง ความมีเหตุผล ความสนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ และการเป็น ผู้ที่มีใจกว้าง

36. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อกําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้น
ได้ด้วยวิธีการใดต่อไปนี้
(1) สร้างข้อคําถามในการวัด
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสมมุติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

37. จากข้อ 36. เราจะต้องทําอย่างไรต่อไปเพื่อให้การศึกษาของเรามีความน่าเชื่อถือและยอมรับได้
ทางวิทยาศาสตร์
(1) ใช้การทดลอง
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสังเกต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

38. แบบจําลองมีประโยชน์อย่างไรต่อไปนี้
(1) นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ
(2) ทําให้เรื่องยากลดความซับซ้อน
(3) สามารถสร้างความเกี่ยวโยงของตัวแปรที่ศึกษาได้ชัดเจน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 32 ประโยชน์ของแบบจําลอง มีดังนี้
1. นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ และสร้างความเกี่ยวโยงกันของตัวแปรที่ศึกษาได้อย่าง
ชัดเจนกว่าการอธิบายทฤษฎีหรือแนวคิดด้วยการเขียนคําอธิบายหรือการใช้คําพูด
2. ทําให้เรื่องยากที่สลับซับซ้อนลดความซับซ้อนลงได้ โดยอาศัยภาพเชิงเส้นจําลอง
เป็นกระบวนการทั้งหมด
3. ทําให้นักวิชาการหรือนักวิจารณ์ในสาขานั้น ๆ ทํางานได้ง่ายขึ้น

39. การกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย มักได้มาจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิด
(2) ทฤษฎี
(3) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

40. จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยายในชั้นเรียน สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดการเปิดรับสื่อ
(2) ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
(3) แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 34. และ 35. ประกอบ), (คําบรรยาย) จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยาย ในชั้นเรียน สามารถใช้แนวคิดและทฤษฎีมาเป็นกรอบในการศึกษา ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของครอบครัว แผนการเรียน ฯลฯ
2. ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือแนวคิดการเปิดรับสื่อ (ในที่นี้ก็คือ การเปิดรับ รายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ ความถี่ และความตั้งใจในการเปิดรับ)
3. ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับจากสื่อ (ในที่นี้ก็คือ ความพึงพอใจรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ รูปแบบและเนื้อหารายการ)

41. การอนุมานอย่างมีเหตุผล แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้คือ
(1) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อเท็จจริงรอง ข้อสรุป
(2) ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก
(3) ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป
(4) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้เรา สามารถแบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ข้อเท็จจริงหลัก
2. ข้อเท็จจริงรอง
3. ข้อสรุป

42. นอกจากคําว่า “ทฤษฎี” ยังมีคําศัพท์อื่นที่ใช้แทนกันได้ คําศัพท์นั้นตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4
หน้า 20 นอกจากคําว่า “ทฤษฎี” (Theory) ยังมีศัพท์อื่นอีก 2 คํา ที่ใช้สับเปลี่ยนแทนกัน อยู่เสมอ คือ Model และ Paradigm ซึ่งความจริงแล้วทั้ง 3 คํานี้ มีความหมายคล้ายคลึงกัน อย่างมาก แตกต่างกันเฉพาะในสาระปลีกย่อยเท่านั้นเอง

43. ทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ตรงกับตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 21 Paradigm หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่มีการประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการ มาจากศาสตร์หรือวิชาการ (Discipline) ต่างสาขากัน หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ส่วน Model หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการหรือพัฒนามาจากศาสตร์
ภายในสาขาวิชาแขนงเดียวกัน

44. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการคาดการณ์คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ และประสบการณ์ เรียกว่าอย่างไร
(1) Deduction
(2) Deductive
(3) Induction
(4) Inductive
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

45. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน
(1) ทฤษฎีช่วยแนะแนวการวิจัย
(2) ทฤษฎีกําหนดขอบเขตการวิจัย
(3) ผลการวิจัยช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของทฤษฎี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) ร.ศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติได้กล่าวไว้ในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานแนะแนวการวิจัย และยังช่วยกําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ ทฤษฎีก้าวหน้าได้ และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับ การวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

46. ตั้งแต่เกิดจนโต น้ําฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลงชาติไทยได้ จัดเป็นการ อนุมานแบบใดต่อไปนี้
(1) ข้อสรุปถูกต้อง
(2) ข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไป
(3) ข้อเท็จจริงหลักจริงแท้แน่นอน
(4) ข้อสรุปไม่แน่นอนเสมอไป
ตอบ 2 หน้า 27, (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ) วิธีการอนุมานอย่างมีเหตุผลข้างต้น จําเป็นจะต้อง อาศัยข้อเท็จจริงหลักเป็นสําคัญ เพราะถ้าหากไม่มีข้อเท็จจริงหลัก การได้ความรู้มาด้วยวิธีนี้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือถ้ามีข้อเท็จจริงหลักแต่ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป การสรุปนั้นก็จะไม่มีความหมาย เช่น คนที่อยู่เมืองไทยต้องพูดภาษาไทยได้ (ข้อเท็จจริงหลัก) ตั้งแต่เกิดจนโต น้ําฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด (ข้อเท็จจริงรอง) เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลง ชาติไทยได้ (ข้อสรุป) ในกรณีนี้ข้อสรุปอาจไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไป ว่าจะเป็นจริง เนื่องจากคนที่อยู่เมืองไทยมาโดยตลอดอาจเป็นคนต่างชาติที่พูดภาษาไทยไม่ได้

47. รูปแบบการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุดสําหรับการสื่อสารมวลชน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) รูปแบบความพึงพอใจ
ตอบ 2 หน้า 113 – 116 รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะไม่มีความเสมอภาคกัน
2. แบบการบริการ (Service Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสารจะมีสถานภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสําหรับ กระบวนการสื่อสารมวลชน
3. แบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็น แบบอย่างของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

48. รูปแบบการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีสถานภาพเท่าเทียมกัน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมเกิดขึ้นโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) Roger
(2) Miller
(3) Newcomb
(4) Schramm
ตอบ 3 หน้า 201 – 202 ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม (Co – orientation Theory) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในวงการวิจัยสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นโดย Newcomb นักจิตวิทยาสังคม ซึ่งตามแนวคิดของเขา บุคคล 2 คน คือ A และ B ถ้าหาก A ชอบ B แต่พบว่าทั้งสองมีทัศนคติเกี่ยวกับวัตถุ X ต่างกัน ดังนั้น A จะต้องทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
1. A เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองเกี่ยวกับ B หรือ X
2. A พยายามเปลี่ยนความคิดของ B เกี่ยวกับ X
3. A เลิกติดต่อสื่อสารกับ B หรือการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
4. A พยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง

50. การพยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง เป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธี
ตามทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่พยายามอธิบายถึงแนวความคิดที่ว่า สังคมคาดหวังที่จะได้รับอะไรบ้างจากกิจกรรม
ของสื่อมวลชน
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 222 – 223 ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชนได้อธิบายแนวคิดที่ว่า สังคมคาดหวัง ที่จะได้รับอะไรบ้างจากกิจกรรมของสื่อมวลชน นั่นคือ การกล่าวถึงภารกิจต่าง ๆ ของสื่อมวลชน ทางด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสื่อมวลชนในแง่ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหว ภายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะสงครามหรือในยามวิกฤติ ในสังคมที่กําลังพัฒนา และ ในรัฐสังคมนิยมบางรัฐ

52. ผู้ใดต่อไปนี้ที่บอกว่า สังคมใดต้องการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลมักไม่สามารถหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมมวลชนได้
(1) Bluner
(2) Baumen
(3) Blumer
(4) Bauman
ตอบ 2 หน้า 120 Baumen ได้อธิบายเอาไว้ว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) เป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของกระบวนการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของสังคมสมัยใหม่โดยความรุ่งโรจน์ของการตลาด และการประสบความสําเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ ตลอดจน ความหลากหลายของเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ได้สร้างให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมขึ้นมา

53. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และเข้ากันได้กับชีวิตประจําวันของประชาชนในท้องถิ่นนั้น (1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 Witensky กล่าวว่า วัฒนธรรมพื้นบ้าน คือ วัฒนธรรมที่เกิดจากประชาชน อาจเกิดขึ้นก่อนหรือไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับสื่อมวลชน โดยวัฒนธรรมพื้นบ้านแท้ ๆ ได้ถูกค้นพบ เมื่อศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีเนื้อหามาจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และต้องเข้ากันได้กับชีวิตประจําวัน ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทําให้ในบางครั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านอาจถูกพวกสังคมชั้นสูง รังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย เนื่องจากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและไม่เป็นไปตามสมัยนิยม

54. ข้อใดต่อไปนี้มักเป็นสิ่งที่พวกสังคมชั้นสูงรังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และมีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 1 หน้า 119 ในแนวของสังคมศาสตร์ ได้อธิบายไว้ว่า “วัฒนธรรม” หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีความเจริญตามยุคสมัย

56. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีแบบแผน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 4 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี
3. เนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

57. ข้อใดต่อไปนี้ที่มีเนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีความชัดเจนและมีความเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ข้อใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผลผลิตจะต้องมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค ผลงานอยู่ ภายใต้รูปแบบศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 2 หน้า 119 Wilensky ให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมชั้นสูงมีความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. เป็นผลงานที่อยู่ภายใต้รูปแบบประเพณีทางศิลปะ วรรณคดี หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นหรือภายใต้การกํากับของคนชั้นสูง
2. เป็นผลงานที่ผลิตขึ้นเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยเน้นว่าผลผลิตนั้นจะต้องมีมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคด้วย

59.แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้ส่งสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) การถ่ายทอดความหมาย
(2) การแสดง
(3) การเปิดเผย การแสดง การประกาศแจ้งความ
(4) ความสนใจ
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ (Attention Model) มีจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร คือ การเปิดเผย การแสดง และการประกาศแจ้งความ ส่วนจุดมุ่งหมายของผู้รับสาร คือ ความสนใจ และการเฝ้าดูเหตุการณ์

60. แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้รับสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) กระบวนการสร้างองค์ความรู้
(2) ความพอใจ/การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(3) ความสนใจ การเฝ้าดูเหตุการณ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อแพร่ภาพและการกระจายเสียง
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
ตอบ 1 หน้า 126 – 128 รูปแบบการไหลของข่าวสาร (Flow of Information) แบ่งได้ 4 ระดับ คือ
1. Allocation คือ การส่งจดหมายตรงจากผู้นําถึงผู้ตาม ซึ่งจะเหมาะกับสื่อการกระจายเสียง และแพร่ภาพของชาติที่มักมีอิทธิพลโดยตรง รวดเร็ว และทันทีทันใดกับผู้รับสาร
2. Consultation คือ การให้คําแนะนําปรึกษาหารือ มักพบในสื่อหนังสือพิมพ์และการสื่อสาร ระหว่างบุคคลที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน แต่มีความผูกพันกัน
3. Conversation คือ การสนทนา ซึ่งผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจมีสถานภาพเท่าเทียมกันหรือ เหนือกว่ากันก็ได้ จึงเป็นการไหลแบบพื้น ๆ ที่มักพบเห็นได้ทั่วไป
4. Registration คือ การจดบันทึกหรือขึ้นทะเบียน

62. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อหนังสือพิมพ์
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อภารกิจของการเป็นทนายหน้าหอ ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 222 – 229 ภารกิจของสื่อมวลชนตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. ภารกิจหรือหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนต่อสังคม
2. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อภารกิจของการเป็น “ทนายหน้าหอ”
3. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อภารกิจของตนเอง คือ ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชน มองบทบาทของเขาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ต่อสังคมอย่างไร
4. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อปัจเจกชน

64. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนมองบทบาทของตนเองในส่วนที่มีความสัมพันธ์
ต่อสังคมอย่างไร
(1) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65. ผู้ใดต่อไปนี้ที่มองว่า นักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ต้องการพูดกับสาธารณชน ที่บุคคลเหล่านั้นต้องการเข้าถึง โดยมีลักษณะเป็นกลางและไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
(1) Westley
(2) Maclean
(3) James Carey
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 128 Westley and Maclean กล่าวว่า นักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสาร ระหว่างผู้ต้องการพูดในสังคม (Acvocates หรือผู้สนับสนุน) กับสาธารณชนที่บุคคลเหล่านั้น ต้องการเข้าถึงหรือพูดด้วย โดยบทบาทของนักสื่อสารมวลชนจะต้องมีลักษณะเป็นกลางและ ไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
66. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า ปัจเจกชนควรจะได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ได้รับข้อเสนอแนะและ ทางเลือกเกี่ยวกับประเด็นที่จะนําไปสู่การปฏิบัติ ได้รับการเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง ตลอดจน ได้รับการตอบสนองความกระหายใคร่รู้และความสนใจทั่ว ๆ ไป
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) วินดาห์ล
(3) ชแรมม์
(4) ออสกุด
ตอบ 1 หน้า 230 เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เสนอว่า ปัจเจกชนควรได้รับข่าวสารหรือ สารสนเทศจากสื่อมวลชน ดังนี้
1. ได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
2. ได้รับข้อเสนอแนะและทางเลือกเกี่ยวกับประเด็นที่จะนําไปสู่การปฏิบัติ มติหรือการตัดสินใจ
3. ได้รับการตอบสนองความกระหายใคร่รู้และความสนใจทั่ว ๆ ไป
4. ได้รับการเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง
5. ได้รับความมั่นคงจากการสั่งสมประสบการณ์และความรู้

67. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า ปัจเจกชนควรได้รับความบันเทิง ได้ปลดปล่อยอารมณ์ ได้พักผ่อนหย่อนใจ ได้หลีกหนีปัญหาชั่วขณะ ได้ใช้เวลาว่าง และได้ความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรม
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) วินดาห์ล
(3) ชแรมม์
(4) ออสกุด
ตอบ 1 หน้า 230 – 231 เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เสนอว่า ปัจเจกชนควรจะได้รับ ความบันเทิงจากสื่อมวลชน ดังนี้
1. ทําให้คนเราสามารถหลีกหนีปัญหาได้ชั่วขณะ
2. ได้พักผ่อนหย่อนใจ
3. ได้ใช้เวลาว่าง
4. ได้ปลดปล่อยอารมณ์
5. กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
6. มีความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรมหรือศิลปกรรม

68. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของสาร ชนิดของสื่อ
ผู้รับสาร และผลที่เกิดจากการกระทําของการสื่อสาร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูตและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
ตอบ 4 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswelt) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ระบุว่า วิธีที่สะดวก ที่จะอธิบายการกระทําการสื่อสารก็คือ การวิเคราะห์และตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้
1. ใคร (ผู้ส่งสารหรือแหล่งสาร)
2. กล่าวอะไร (สารหรือเนื้อหาสาระของสาร)
3. ผ่านช่องทางใด (สื่อหรือชนิดของสื่อ)
4. ถึงใคร (ผู้รับสาร)
5. เกิดผลอะไร (ผลที่เกิดจากการกระทําการสื่อสาร)

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับ
สังคมที่ใหญ่โต
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
ตอบ 1 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ (Newcomb) จัดเป็น แบบจําลองเชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุล หรือเกิดความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนทางด้านพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่าการสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล จึงเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของ กลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้ เพราะสังคมที่ใหญ่โตนั้นมนุษย์ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้เหมือนกัน หรือไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้เหมือนในระดับบุคคล

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทําหน้าที่เข้ารหัส
ถอดรหัส และตีความ
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกุดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
ตอบ 3 หน้า 55 – 57 แบบจําลองการสื่อสารของออสกุดและวิลเบอร์ ซแรมม์ ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทํา หน้าที่อย่างเดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ(Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของทั้งผู้ส่งสารและ ผู้รับสารจะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันเพียงไรต้องดูที่สนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

71. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เน้นว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

72. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องมีคุณสมบัติเรื่องทักษะในการ สื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม
(1) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 4 หน้า 59 – 61 แบบจําลองการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค. เบอร์โล ได้กล่าวว่า ผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะทําหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
1. ทักษะในการสื่อสาร
2. ทัศนคติ
3. ความรู้
4. ระบบสังคม
5. ระบบวัฒนธรรม

73. แบบจําลองการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบจําลองเชิงเส้นตรงที่เกิดจากการ
กระทําของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกู๊ดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) แบบจําลองการสื่อสารของแซนนัน (Shannon) และวีเวอร์ (Weaver) เป็นแบบจําลองกระบวนการสื่อสารทางเดียวในเชิงเส้นตรงที่ถือว่า การสื่อสาร เกิดขึ้นจากการกระทําของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว (ไม่สนใจ Feedback ของ ผู้รับสาร) ซึ่งมีองค์ประกอบของการกระทําการสื่อสารอยู่ 6 ประการ ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศ
2. ตัวถ่ายทอด
3. สาร
4. ผู้รับสารหรือเครื่องรับ
5. จุดมุ่งหมายปลายทาง
6. แหล่งเสียงรบกวน

74. การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) บทบาทของสื่อมวลชน
(2) บทบาทของนักสื่อสารมวลชน
(3) บทบาทของมวลชน
(4) บทบาทของนักวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94, 98 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะเกี่ยวข้องกับ บทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม
2. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

75. สถาบันสื่อสารมวลชนจะมีการทําหน้าที่ในลักษณะใดต่อไปนี้
(1) การผลิตและแพร่กระจายความรู้
(2) เป็นสถาบันที่มีอํานาจในตัวเอง
(3) ไม่เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ
(4) เป็นสถาบันที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจ
ตอบ 1 หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้
1. มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม
2. เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ
3. มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ
4. การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ
5. มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน
6. ไม่มีอํานาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอยู่เสมอ

76. การศึกษาสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบมีสาเหตุมาจากเรื่องใดต่อไปนี้
(1) กิจการสื่อสารมวลชนโตเร็ว
(2) เทคโนโลยีก้าวหน้ารวดเร็ว
(3) ผู้รับสารมีการศึกษาสูงขึ้น
(4) การเมืองพัฒนาการเร็วมาก
ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจ และได้มีการศึกษาสื่อมวลชนอย่าง เป็นระบบมากขึ้น มีดังนี้
1. กิจการสื่อมวลชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
3. สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น
4. สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อมวลชนก่อให้เกิดค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

77. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ
(1) รับข้อมูลจากสถาบันส่งต่อสาธารณชน
(2) สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับโดยมีค่าใช้จ่ายปานกลาง
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนขึ้นอยู่กับโอกาส
(4) สื่อมวลชนส่งข่าวถึงประชาชนได้ทัดเทียมกับสถาบันอื่น ๆ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94 บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ มีดังนี้
1. ทําหน้าที่รับข้อมูลจากสถาบันต่าง ๆ ส่งต่อสาธารณชน
2. สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับได้อย่างเต็มใจและเปิดเผย โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนมีความพอดีกัน
4. สื่อมวลชนส่งข่าวสารถึงประชาชนจํานวนมากกว่าและในระยะยาวกว่าสถาบันอื่น ๆ

78. สื่อมวลชนในบทบาทของการเป็นสื่อกลางของสาธารณะนั้น สาธารณชนจะมีภาพลักษณ์ต่อสื่ออย่างไร (1) เป็นหน้าต่างที่ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
(2) สื่อมวลชนกรองข่าวเข้าข้างผู้มีอํานาจทางการเมือง
(3) สื่อทําหน้าที่เพียงบอก 5W1H
(4) สื่อเป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคมตามแนวทางของตน
ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของ สาธารณะจะมีภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น โดยการบอกให้ ประชาชนทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทําไม
2. เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็น หรือชี้ปมประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม
3. เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4. เป็นตัวกรองข่าว ซึ่งจะต้องมีการกระทําอย่างตั้งใจ มีหลักเกณฑ์ เป็นระบบ และต้อง มีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. เป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคม โดยภาพนี้จะเป็นไปตามที่สังคมต้องการเสมอ ฯลฯ

79. จากโครงร่างการศึกษาความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนนั้น สามารถดูได้จากประเด็นใดต่อไปนี้
(1) ดูที่บทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
(2) ดูที่บทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
(3) ดูที่สถาบันต่าง ๆ ในสังคมเป็นผู้มอบเรื่องราวให้กับสื่อมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 – 99, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ) จากโครงร่างของการศึกษา ความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนนั้นจะเห็นว่า สื่อมวลชน (องค์กรสื่อ) อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ปีก ดังต่อไปนี้
1. ปีกบน หมายถึง สถาบันต่าง ๆ ในสังคมที่มีอํานาจไม่อาจเอื้อมถึง ซึ่งมักสร้างเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ เองให้กับสื่อมวลชน (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ ของสถาบันต่าง ๆ)
2. ปีกล่าง หมายถึง ผู้รับสาร คือ ชุมชน องค์กร สมาคมต่าง ๆ และปัจเจกชนที่คอยดูแล ความเปลี่ยนแปลงในสังคม (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ)

80. บทบาทของสื่อมวลชนในข้อใดต่อไปนี้ที่มีหน้าที่ชี้ปมประเด็นปัญหาของสังคม
(1) บทบาทของการเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
(2) บทบาทของการเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
(3) บทบาทของการมอบเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับสังคม
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์จักรกลทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลัง
ทรงอํานาจ ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 2 หน้า 279 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม คือ การวิพากษ์วิจารณ์จักรกลทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังทรงอํานาจ

82. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการแสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย ยุยงให้เกิด
ความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 279 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีเสรีนิยมหรือ อิสรภาพนิยม คือ การแสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย และยุยงให้เกิด ความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม

83. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 280 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวของทฤษฎี ความรับผิดชอบทางสังคม คือ การละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่ สําคัญของสังคม

84. สถาบันสื่อสารมวลชน ตรงกับคําตอบข้อใดต่อไปนี้
(1) The Mass Media Institution
(2) The Mass Communication Institution
(3) The Mass Media Organization
(4) The Mass Communication Organization
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

85. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ
(1) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคมโดยยึดหลักเกณฑ์ของฝ่ายสื่อเอง
(2) สถาบันอื่น ๆ ในสังคมอาจสามารถควบคุมสื่อ หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อในการเสนอข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ
(3) สถาบันสื่อไม่จําเป็นต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน
(4) สถาบันด้านกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 99 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ มีดังนี้
1. เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม โดยยึดหลักเกณฑ์ของฝ่ายสื่อเอง
กับฝ่ายสาธารณชน
2. มีความสัมพันธ์กับกฎหมาย ซึ่งจะเป็นตัวกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
3. มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันการเงิน
4. มีความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม ซึ่งสังคมหรือสถาบันอื่น ๆ ในสังคมอาจจะ สามารถควบคุมสื่อมวลชน หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ

86. การที่สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรสําคัญในการสร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ทําให้สังคม มีความคิดอ่านสอดคล้องกัน ควบคุมง่าย จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตามแนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutat
(4) Centripegal
ตอบ 1 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centripetal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรในการ สร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ซึ่งจะมีผลทําให้สังคมนั้นมีความคิดอ่านที่สอดคล้องกัน และสามารถเข้าควบคุมได้ง่าย จึงเหมาะกับรัฐบาลที่ต้องการความมีเสถียรภาพ เพราะสามารถ ควบคุมสื่อและประชาชนได้

87.การที่สื่อมวลชนนําเสนอความก้าวหน้า เสรีภาพ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม แล้วทําให้ เกิดผลเสียกับสังคมที่แยกกันอยู่ เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตาม แนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutal
(4) Centripegal
ตอบ 2 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centrifugal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่นําความก้าวหน้า เสรีภาพ และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมที่สื่อมวลชนดําเนินการอยู่ แต่ทําให้เกิด ผลเสียก็คือ สังคมจะแยกกันอยู่หรือห่างเหินกัน มีความเป็นปัจเจกชนสูง ไม่มีการยึดติดกับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถ ควบคุมสื่อและคนในสังคมได้

88. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 280 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวของทฤษฎี เบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียต คือ การวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไป
จากยุทธวิธีที่กําหนดไว้

ข้อ 89 – 92. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(3) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีสื่อสารมวลชนของประชาชน
(5) ทฤษฎีอํานาจนิยม

89. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดาทฤษฎีปทัสถาน
ตอบ 4 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย จัดเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดากลุ่ม ทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทําความเข้าใจ เนื่องจากเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา ซึ่งทฤษฎีนี้จะเน้นถึง ความสําคัญของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและ สังคม จึงเป็นรูปแบบของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในแนวปฏิบัติ

90. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้น ห้ามสื่อมวลชนละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
ตอบ 3 หน้า 281 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวทางของทฤษฎี สื่อสารเพื่อการพัฒนา คือ การที่สื่อมวลชนได้กระทําการละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและ ผลประโยชน์ของสังคม

91. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีที่เปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีบทบาทร่วมกัน
ตอบ 4 หน้า 277 – 278 หัวใจสําคัญของทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน มีดังนี้
1. การตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และความปรารถนาที่ต่างกันของพลเมืองผู้รับสาร แต่ละคนในชุมชนขนาดเล็กและชนกลุ่มน้อย ทั้งในด้านสิทธิการรับรู้และสิทธิในการสื่อสาร
2. การเปิดโอกาสให้ผู้รับสารทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข่าวสาร ความคิดเห็น การศึกษา และการบริหารในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
มีบทบาทร่วมกัน

92. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ห้ามสื่อมวลชนใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 4 หน้า 281 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชน ของประชาชน หรือสื่อมวลชนประชาธิปไตย คือ การใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

ข้อ 93 – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(4) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(5) ทฤษฎีการใช้และการตอบสนองความพึงพอใจจากสื่อ

93. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เน้นว่า การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่า แรงจูงใจจากผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 189 ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะจะมีลักษณะที่เสนอแนะได้ ดังนี้
1. การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนนั้นได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่า แรงจูงใจจากผู้อื่น
2. บุคคลผู้ซึ่งจูงใจบุคคลอื่นหรือผู้นําความคิดเห็นตามทฤษฎีนี้เป็นบุคคลที่ชอบเปิดตัวเอง
ในการรับสารจากสื่อมวลชนมากกว่าบุคคลที่เขาทําการจูงใจ

94. ทฤษฎีใดข้างต้นที่มิได้จัดอยู่ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบ Effect Approach
ตอบ 5 หน้า 178 – 180 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องประสิทธิผลของสื่อมวลชน (Effect Approach) อิทธิพล หรือผลกระทบจากสื่อ มีดังนี้
1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ)
2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
4. ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
5. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

95. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ได้รับอิทธิพลจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยุ การขยายตัวของงานโฆษณาทางการค้าและการโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181 ความเชื่อในเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนตามแนวทางของทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ) มีสาเหตุสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. การกําเนิดและความก้าวหน้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยุทรานซิสเตอร์ (Transistor Radio)
2. การขยายตัวของงานโฆษณาการค้า (Advertising) ทางสื่อมวลชน
3. การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)

96. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับนักสื่อสารมวลชนว่า มีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นก่อนจะเสนอไปยังผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 195 ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชน มีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งมาจากข้อเขียนของ เค. เลวิน ที่ให้ข้อสังเกตว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยบริเวณประตูที่ซึ่งมีการปล่อยหรือกัก ข่าวสารต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยผู้เฝ้าประตูจะวินิจฉัยว่าข่าวสารใดควรไหลผ่านไปได้ ข่าวสารใดควรส่งไปถึงผู้รับสารช้าหน่อย หรือข่าวสารใดควรตัดออกไปทั้งหมด

97.แนวความคิดของ เค. เลวิน ที่ว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีประตู โดยแต่ละประตูจะมีเกณฑ์ ในการปล่อยหรือกักข่าวสารต่าง ๆ ตามการวินิจฉัยของคนเฝ้าประตู
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98. การที่สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป โดยมองว่าการกําหนดดังกล่าว เป็นการแนะประชาชนว่า น่าคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นสาระสําคัญในทฤษฎีใดข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ (Agenda – setting Theory) ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับผู้รับสารว่า ยิ่งสื่อมวลชนเลือกเน้นเสนอประเด็นสําคัญของ หัวข้อหรือปัญหาในการรายงานข่าวใด ๆ แล้ว ผู้รับสารหรือมวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญ ของเรื่องนั้น ๆ มากตามไปด้วย ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นผู้ที่กําหนดหรือวางระเบียบวาระในการ รับรู้เหตุการณ์แก่ประชาชนทั่วไป ดังที่ Cohen ได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ไว้ว่า “สื่อสารมวลชน อาจไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรเสมอไปในการเสนอแนะแก่ประชาชนว่าอะไรบ้าง (What) เป็นสิ่งที่น่าคิด แต่สื่อมวลชนมีผลอย่างมหาศาลในการเสนอแนะประชาชนว่า น่าคิดเกี่ยวกับ เรื่องอะไร (What About)”

99. ทฤษฎีใดข้างต้นมีสมมุติฐานที่สําคัญว่า การที่สื่อมวลชนเลือกเน้นประเด็นสําคัญของหัวข้อหรือปัญหา ในการรายงานข่าวสารใด ๆ มวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญดังกล่าวตามไปด้วย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ทฤษฎีใดข้างต้นเกี่ยวข้องกับคําว่า “Need for Cognition
ตอบ 5 หน้า 214 – 215, 222 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับ จากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่อง การแสวงหาข่าวสาร(Information – seeking) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสารหรือ มวลชนสนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการเน้นว่า มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้ (Need for Cognition) ซึ่งจัดเป็น ความต้องการที่จะแสวงหาระเบียบและความเข้าใจในสภาวะแวดล้อมของตนเอง

Advertisement