การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 3. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด

(1) วัจนภาษา (2) อวัจนภาษา

Advertisement

1. การแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์เกี่ยวกับวัคซีน
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร มี 2 ประเภท ได้แก่
1. วัจนภาษา (Verbal Language) คือ ภาษาที่เป็นคําพูด ได้แก่ ภาษาพูดและภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (Nonverbal Language) คือ ภาษาที่ไม่ใช่คําพูด ได้แก่ สัญลักษณ์ สัญญาณ หรืออากัปกิริยาต่าง ๆ (เช่น การหาว, การโบกมือ, การพยักหน้า, การสวมหน้ากากอนามัย ๆ ออกนอกบ้าน, การเว้นระยะห่างทางสังคม ฯลฯ) รวมไปถึงรหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูด แต่ว่า สามารถสื่อความหมายได้ (เช่น ป้ายจราจร ฯลฯ)

2.การสวมหน้ากากอนามัยออกนอกบ้าน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เวลาเข้าแถวขึ้นรถไฟฟ้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4. สื่อใดไม่ใช่สื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นกิจกรรมด้านการ สื่อสารที่เกี่ยวข้องกับมวลชนจํานวนมากที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างหลากหลาย ซึ่งต้อง อาศัยสื่อมวลชน (Media of Mass Communication/Mass Media) เป็นช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนจํานวนมากที่อยู่กระจัดกระจาย ตามที่ต่าง ๆ ได้พร้อมกัน โดยไม่ถูกจํากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ เช่น การดูละครทางโทรทัศน์, การฟังวิทยุ, การอ่านหนังสือพิมพ์, การดูภาพยนตร์ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ

5. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการสื่อสารแบบเส้นตรง
(1) การโฆษณาชวนเชื่อ
(2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(4) การปฏิบัติตาม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบเส้นตรง หรือเรียกว่า “การสื่อสารทางเดียว” (One – way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึงการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ (Feedback) จากผู้รับสาร ซึ่งเป็นการสื่อสารที่เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือคําสั่งที่เน้นให้ต้องปฏิบัติ ตามอย่างทันที โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการปฏิบัติตาม เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือ ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ

6. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการสื่อสารแบบสองทาง
(1) การโฆษณาชวนเชื่อ
(2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(4) การปฏิบัติตาม
ตอบ 3 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54, (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบวงกลม หรือเรียกว่า “การสื่อสาร สองทาง” (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่มีความหมายความรวมไปถึง การรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสาร ได้รับสารแล้วตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสาร (Interaction) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการแชร์ความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจับเข่าคุยกัน หรือการพบกันครึ่งทาง (Win – Win)

7. ข้อใดคือการเข้ารหัส (Encoding) ของสื่อมวลชน
(1) การใช้เสียงขนหัวลุกในภาพยนตร์สยองขวัญ
(2) การนําคลิปจากสื่อออนไลน์มานําเสนอ
(3) การแต่งกายของพิธีกร
(4) การตอบคําถามจากผู้ชมทางบ้าน
ตอบ 1 หน้า 55 – 56, 66 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาสาร สื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือกิริยาท่าทางที่คาดหวังไว้ว่าผู้รับสาร (Receiver) จะเข้าใจสารนั้น

8. สถานการณ์ในข้อใดที่ผู้รับสารมีสถานะตรงกับคุณสมบัติของ “มวลชน” (Mass) มากที่สุด
(1) ม็อบนักศึกษาหน้าเซ็นทรัลเวิลด์
(2) นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน
(3) ผู้ชมภาพยนตร์ช่อง Mono 29 ทางบ้าน
(4) แฟนคลับน้องสายฟ้า – น้องพายุ
ตอบ 3 หน้า 80 คําว่า “มวลชน” หมายถึง กลุ่มผู้ชม – ผู้ฟังโทรทัศน์ (Audience) ภาพยนตร์ วิทยุ และกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน อาจไม่รู้จักกันเลย และ อาจอยู่กระจัดกระจายจากกัน ดังนั้นกลุ่มผู้ชม ผู้ฟังของสื่อมวลชนเหล่านี้ อาจจะหมายถึง กลุ่มผู้บริโภคสําหรับวงการตลาด หรือผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวงการเมืองก็ได้

9. ข้อใดที่สะท้อนคุณสมบัติของความเป็น “ดิจิทัล” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) การทะเลาะกับเพื่อนในไลน์กลุ่ม
(2) การแย่งรีโมตคอนโทรล
(3) การนัดชุมนุมประท้วงผ่านแอปพลิเคชัน
(4) การดูรายการย้อนหลังในห้องนั่งเล่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สื่อใหม่ หมายถึง สื่อที่มีความเป็นดิจิทัล โดยมีลักษณะการทํางานและมีการ ประมวลผลแบบดิจิทัล ซึ่งมีความหลากหลาย รวดเร็ว และแม่นยํามากกว่าระบบแอนะล็อก ทั้งนี้สิ่งที่สะท้อนคุณสมบัติของความเป็นดิจิทัลได้ชัดเจนที่สุดก็คือ การดูรายการย้อนหลังได้ หรือสามารถแยกดูได้เป็นตอน ๆ

10. รายการที่นําเสนอผ่านสื่อมวลชนควรมีเนื้อหาในรูปแบบใด
(1) เน้นสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ
(2) ออกแบบเนื้อหาจากความต้องการของผู้รับสาร
(3) เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ชม
(4) เน้นนําเสนอสิ่งที่คนส่วนมากเข้าใจง่าย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รายการที่นําเสนอผ่านสื่อมวลชน ควรเน้นนําเสนอสิ่งที่คนส่วนมากเข้าใจง่าย ตามความเชื่อที่ว่า “One Message Fits All” คือ เนื้อหาแบบเดียวสื่อสารกับคนจํานวนมาก ได้ทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่ต้องออกแบบเนื้อหาให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละสื่อ

11. ข้อใดคือการถอดรหัสสาร (Decoding) แบบต่อรองความหมายของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสาร
(1) นายเอยินยอมไปฉีดวัคซีนตามที่ข่าวนําเสนอทันทีโดยไม่เกี่ยงยี่ห้อ
(2) นายปีไม่ยินยอมฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวผลข้างเคียง
(3) นายไม่รู้เรื่องข่าวสารการฉีดวัคซีนเลย
(4) นายดีอยากฉีดวัคซีน แต่ขอรอเลือกยี่ห้อที่ตนเองไว้วางใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสารจะมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้
1. เห็นด้วย/ยอมรับ เช่น นายเอยินยอมไปฉีดวัคซีนตามที่ข่าวนําเสนอทันทีโดยไม่เกี่ยงยี่ห้อ
2. ต่อรอง/ยอมรับเฉพาะบางส่วน เช่น นายดีอยากฉีดวัคซีน แต่จะขอรอเลือกยี่ห้อที่ตนเอง
ไว้วางใจก่อน
3. ไม่เห็นด้วย/ไม่ยอมรับ เช่น นายปีไม่ยินยอมฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวผลข้างเคียง

12.การสื่อสารแบบ “พบกันครึ่งทาง”, “จับเข่าคุยกัน” เป็นเอกลักษณ์ของการสื่อสารรูปแบบใด
(1) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(2) การสื่อสารแบบสองทาง
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสั่งการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

13. การสื่อสารแบบใดที่ทั้งสองฝ่ายมีสถานะเป็น “ผู้มีคว
(1) การสื่อสารแบบสั่งการ
(2) การสื่อสารแบบบริการ
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสนทนา
ตอบ 4หน้า 127, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบสนทนา (Conversation) คือ การสื่อสารแบบสนทนา ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. เน้นการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การพูดคุยซีรีส์ที่ตนเองชอบกับเพื่อน เป็นต้น
2. เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
3. เน้นการแสดงออก การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
4. ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีอํานาจในการสื่อสารเท่าเทียมกัน หรือมีสถานะเป็น “ผู้มีความ

14. ข้อใดไม่ใช่อวัจนภาษา
(1) การพยักหน้า
(2) การเว้นระยะห่างทางสังคม
(3) การตอบข้อสอบแบบอัตนัย
(4) ป้ายจราจร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

15. การที่บุคคลนั่งรถมากกว่า 1 คน แล้วไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยจะถูกปรับ 20,000 บาท สอดคล้องกับ
การสื่อสารรูปแบบใด
(1) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(2) การสื่อสารแบบสองทาง
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสั่งการ
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่มีความเสมอภาคกัน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ผู้ส่งสารมีอํานาจเหนือกว่าผู้รับสาร และผู้รับสารต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีทางเลือก
2. เกี่ยวข้องกับการปราศรัยของนักการเมือง การโฆษณาชวนเชื่อ การสื่อสารมวลชน การบังคับ และการครอบงําทางชนชั้น
3. เป็นประโยคคําสั่งจากบุคคลที่มีอํานาจมากกว่า เช่น การบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยก่อน ออกจากบ้าน, การที่ประชาชนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เป็นต้น
4. มักเกี่ยวกับเรื่องการบังคับทางกฎหมาย มาตรการด้านการควบคุมโรค จารีตประเพณีและ ขนบธรรมเนียมของแต่ละสังคมที่จะต้องปฏิบัติตาม

ข้อ 16. – 19. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด

(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน

16. การที่นักศึกษาแซ็ตคุยกับเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันเมสเซนเจอร์
ตอบ 1 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนสาร สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้โดยตรงและรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือแบบเผชิญหน้า เช่น การพูดคุยปรึกษาหารือกันกับเพื่อน ฯลฯ หรืออาจเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การสนทนาโต้ตอบกันหรือแช็ตคุยผ่านทาง อินเทอร์เน็ต, การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์, การส่ง E-mail ฯลฯ

17. การที่นักศึกษาดูภาพยนตร์เรื่องร่างทรงทางเน็ตฟลิกซ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

18. การที่นักศึกษาไปดูคอนเสิร์ตลิซ่า แบล็คพิงค์
ตอบ 3 หน้า 43, (คําบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) มีลักษณะดังนี้
1. เกิดขึ้นในที่สาธารณะมากกว่าในที่ส่วนบุคคล เช่น ห้องประชุม เวทีคอนเสิร์ต ฯลฯ
2. มีลักษณะการพูดเป็นทางการหรือกึ่งทางการ
3. มีประเด็นในการสื่อสาร มีขั้นตอนและรูปแบบการดําเนินการที่ชัดเจน
4. ผู้รับสารแม้จะมีจํานวนมาก แต่ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน

19. การที่นักศึกษาประชุมงานกลุ่ม ผ่านฟังก์ชันวิดีโอคอล
ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small Group Communication) หมายถึง การสื่อสารกลุ่มเล็กที่มีสมาชิกจํานวน 3 คนขึ้นไป (แต่สมาชิกต้องไม่มากเกินไป สามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง) โดยคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ส่วนคนอื่น ๆ ก็จะเป็น ผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงแบบตัวต่อตัว แต่จะช้ากว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การที่นักศึกษาประชุมงานกลุ่ม ผ่านทางฟังก์ชัน วิดีโอคอล, การประชุมกลุ่มย่อย ฯลฯ

20. การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารมวลชนมีความแตกต่างใดที่ชัดเจนที่สุด
(1) มีมวลชนมารวมกันจํานวนมาก
(2) ประเด็นในการสื่อสาร
(3) การมีเป้าหมายชัดเจนของการมารวมตัวร่วมกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. และ 18. ประกอบ

21.การสื่อสารตามแบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล (S-M-C-R) เหมาะกับรูปแบบการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย
(3) การสื่อสารองค์กร
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 59 – 61, (คําบรรยาย) แบบจําลองการสื่อสาร S-M-C-R ของเดวิด เค. เบอร์โล เป็นแบบจําลองที่เหมาะกับรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยปัจจัยที่มีความสําคัญ ต่อการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลต่อคุณลักษณะของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ได้แก่
1. ทักษะการสื่อสาร
2. ทัศนคติ/เจตคติ
3. ระดับความรู้
4. ประสบการณ์
5. ระบบสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ข้อ 22 – 24. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับแบบจําลองใด
(1) แบบจําลองของออสกูตและแชรมม
(2) แบบจําลองของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล
(4) แบบจําลองของธีโอดอร์ นิวคอมบ์

22. การที่นักศึกษาปลอบใจตัวเองว่า “ไม่เป็นไรหรอก นาน ๆ กินที” ขณะทานเค้กในช่วงลดน้ำหนัก
ตอบ 4 หน้า 61- 64 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ จัดเป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นมาเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือเกิด ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารช่วยให้ เกิดการตกลงใจหรือยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อใดที่มีความไม่สมดุล เกิดขึ้น มนุษย์ก็จะแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อขจัดความยุ่งยากหรือ ความเครียดอันเกิดจากความไม่สมดุลนั้น ๆ

23. เนื้อหาสารสามารถเป็นได้ทั้งคําพูด รหัส ภาษาเขียน ภาษาสัญลักษณ์ (วัจนภาษาและอวัจนภาษา)
ตอบ 3 หน้า 60 – 61, 68 แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล (S-M-C-R) กล่าวว่า สารมีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้
1. รหัสของสาร (Message Code) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษา ท่าทาง สัญลักษณ์หรือรหัสอื่น ๆ เช่น รหัสสารเชิงวัฒนะ (วัจนภาษา) และรหัสสารเชิงอวัจนะ (อวัจนภาษา)
2. เนื้อหา (Content)
3. การจัดสาร (Treatment)

24. การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีสถานะเท่าเทียมกัน คือ “ผู้ตีความ” (Interpreter)
ตอบ 1 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของออสกูด (Osgood) และ วิลเบอร์ ซแรมม์ (Schramm) ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็น วงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็กระทําหน้าที่เหมือน ๆ กัน 3 ประการใน กระบวนการสื่อสาร คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกัน ก็มักขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

25. การที่ผู้ส่งสารต้องพิจารณาทักษะการสื่อสาร ความรู้ ทัศนคติ สังคมและวัฒนธรรมของทั้งตนเองและ ผู้รับสาร เป็นเป้าหมายของแบบจําลองการสื่อสารใด
(1) แบบจําลองของออสกูดและแซรมม์
(3) แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองของแซนนั้นและวีเวอร์
(4) แบบจําลองของธีโอดอร์ นิวคอมบ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

26.แบบจําลองการสื่อสารของลาสเวลล์ เหมาะกับบริบทการสื่อสารแบบใด
(1) การเมืองการปกครอง
(2) สื่อสังคมออนไลน์
(3) โทรคมนาคม
(4) จิตวิทยา
ตอบ 1 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการ สื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร ซึ่งกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการ ในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสม แก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองการปกครองและการโน้มน้าวใจ แต่ก็ยัง ขาดปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งนั่นก็คือ ผลสะท้อนกลับ หรือปฏิกิริยาตอบกลับ ที่เรียกกันว่า “Feedback

27. แบบจําลองการสื่อสารของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ เหมาะกับบริบทการสื่อสารแบบใด
(1) การเมืองการปกครอง
(2) สื่อสังคมออนไลน์
(3) โทรคมนาคม
(4) จิตวิทยา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

ข้อ 28 – 30. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารแบบสั่งการ
(2) การสื่อสารแบบบริการ
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก

28. การที่นักศึกษาจ่ายค่าสมาชิกรายปี เพื่อรับชมภาพยนตร์ผ่านเน็ตฟลิกซ์ (Netflix)
ตอบ 3 หน้า 115, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบอย่างของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ซึ่งจะ
มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสาร ผู้รับสารเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน
2. เน้นความต้องการของผู้รับสารมากกว่าผู้ส่งสาร
3. ผู้รับสารเลือกเป็นสมาชิกหรือติดตามในสิ่งที่ตนเองสนใจโดยปราศจากการบังคับ
เน้นความสมัครใจและความพึงพอใจของผู้รับสารเป็นหลัก
4. เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมและการปฏิสัมพันธ์ การแบ่งแยกทางสังคม บรรทัดฐานของสื่อ และการเชื่อมโยงระหว่างสื่อกับผู้รับสาร

29. การที่นักศึกษาเกิดความประทับใจในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน
ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบการบริการ (Service Mode) มีดังนี้
1. เน้นความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร
2. เป็นความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร เช่น การเสียเงินดูภาพยนตร์แล้วได้รับ ความบันเทิงกลับมา, การเกิดความประทับใจในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน
3. เกี่ยวข้องกับการโฆษณา พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารการตลาด และสังคมข้อมูลข่าวสาร

30. การที่นักศึกษาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อที่จะได้กลับเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

ข้อ 31 – 34. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารแบบ Allocation
(3) การสื่อสารแบบ Conversation
(2) การสื่อสารแบบ Registration
(4) การสื่อสารแบบ Consultation

31. การที่นักศึกษาสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าจึงนัดพูดคุยกับจิตแพทย์
ตอบ 4 หน้า 127, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการปรึกษาหารือ (Consultation) คือ การให้คําปรึกษา ให้คําแนะนํา จากผู้ที่มีอํานาจมากกว่าไปยังผู้มีอํานาจน้อยกว่า หรือจาก ผู้มีข้อมูลมากกว่าไปยังผู้ที่ไม่มีข้อมูล เช่น แม่-ลูก, ครู-นักเรียน, จิตแพทย์-คนไข้ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจึงมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน แต่มีความผูกพัน

32. การที่นักศึกษาเข้าไปแก้ข้อมูลดาราที่ตนเองเป็นแฟนคลับใน Wikipedia
ตอบ 2 หน้า 128, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการบันทึกข้อความ (Registration) คือ การบันทึกข้อความที่เป็นเอกสาร เช่น ตํารา หนังสือ จดหมายเหตุ บทความในโลกออนไลน์ วิกิพีเดีย ฯลฯ โดยบันทึกในสิ่งที่ตนสนใจหรือต้องการจะเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารนั้น ๆ ไว้ เพื่อที่จะนําไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป จึงเป็นรูปแบบการไหลของข่าวสารที่มีความเสมอภาคกัน ระหว่างผู้ส่งสารผู้รับสาร

33. การที่นักศึกษาพูดคุยซีรีส์ที่ตนเองชอบกับเพื่อน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

34. การที่นักศึกษาปฏิบัติตามมาตรการการฉีดวัคซีนของมหาวิทยาลัย เมื่อกลับเข้ามาเรียนในชั้นเรียน
ตอบ 1 หน้า 126, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการส่งข่าวสารจากผู้นําถึงผู้ตาม (Allocation) คือ การส่งข่าวสารจากผู้ที่มีอํานาจจํานวนน้อยไปถึงผู้รับข่าวสารจํานวนมาก (มวลชน) ซึ่งผู้ส่งสารเป็นผู้ควบคุมข่าวสารและช่องทางการสื่อสาร โดยใช้สื่อมวลชนเป็นหลัก

ข้อ 35 – 37. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบใด
(1) วัฒนธรรมชั้นสูง
(2) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(3) วัฒนธรรมมวลชน

35. การที่นักศึกษาเข้าร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่
ตอบ 2 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน โดยปกติแล้วจะถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับการเหลียวแล แต่ปัจจุบันได้รับการ ปกป้องจากทางการมากขึ้น
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะลอกแบบหรือผลิตขึ้นตามแบบแผนทางประเพณี ออกแบบ ด้วยมือ และไม่เห็นความจําเป็นของการตลาด
3. เนื้อหาและความหมาย อาจจะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ มีลักษณะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือเป็น การตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
4. ผู้รับสาร เป็นสมาชิกของวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ถูกจํากัดด้วยวัฒนธรรม
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความเป็นปึกแผ่นและการรวมตัวกัน

36. การที่นักศึกษารู้สึกดื่มดํากับการเข้าชมพระบรมมหาราชวัง
ตอบ 1 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมชั้นสูง (High Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน มักได้รับการยอมรับ คุ้มครอง และส่งเสริมโดยองค์กรทางสังคม
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อตลาดใดตลาดหนึ่งโดยเฉพาะ
3. มีเนื้อหาและความหมายในลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง แต่เป็นอมตะ
4. ผู้รับสารเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรม
5. มีวัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผลกว้างและลึก เพื่อประสบการณ์ เพื่อประเทือง ปัญญา เพื่อความพอใจและความภาคภูมิใจ

37. การที่นักศึกษาซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน
ตอบ 3 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี
3. เนื้อหาและความหมาย มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

38. การไหลเวียนข่าวสารของทั่วโลกเป็นแบบใด
(1) ไหลเวียนจากประเทศกลุ่มโลกใต้ไปยังกลุ่มโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร
(2) ไหลเวียนอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก
(3) ไหลเวียนจากโลกตะวันตกไปยังโลกตะวันออก
(4) ไหลเวียนจากประเทศที่มีข่าวสารมากไปยังประเทศที่มีข่าวสารน้อย
ตอบ 4 หน้า 133, (คําบรรยาย) ลักษณะการไหลเวียนข่าวสารของทั่วโลก มีดังนี้
1. ข่าวสารมักจะไหลเวียนจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกําลังพัฒนา
2. ข่าวสารส่วนมากจะไหลเวียนจากประเทศเหนือเส้นศูนย์สูตร เช่น ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ไปสู่ประเทศใต้เส้นศูนย์สูตร
3. ข่าวสารจะไหลเวียนจากประเทศที่มีข่าวสารมาก (Information Rich) ไปยังประเทศ ที่มีข่าวสารน้อย (Information Poor)
4. การจัดระเบียบข้อมูลข่าวสารใหม่ หรือ NWIO ช่วยแก้ปัญหาการไหลเวียนข่าวสาร ให้มีความสมดุลมากขึ้น

ข้อ 39. – 42. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับสื่อใด
(1) สื่อมวลชน
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(3) สื่อกิจกรรม
(4) การบูรณาการสื่อ

39. การที่นักศึกษาดูภาพยนตร์เรื่องร่างทรงผ่านเน็ตฟลิกซ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

40. เสื้อยืดงานวิ่งมินิมาราธอนปี 2565 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) สื่อเฉพาะกิจ มีลักษณะดังนี้
1. แผ่นพับ โบรชัวร์ ป้ายประกาศ ป้ายโปสเตอร์ (Poster Billboard) ที่ใช้ประชาสัมพันธ์ ตราสินค้าที่ติดตามสถานีรถไฟฟ้า หรือป้ายรถประจําทาง และป้ายโฆษณาบนทางเท้า
2. เสื้อที่ใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น เสื้อยืดสําหรับโครงการรณรงค์งดเหล้า, เสื้อยืดงานวิ่ง มินิมาราธอนปี 2565 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ฯลฯ

41. การที่นักศึกษาติดตามไลฟ์สดของพิมรี่พาย
ตอบ 4 หน้า 74, (คําบรรยาย) สื่อประสม หรือการบูรณาการสื่อ (Hybrid Media) คือ การผสมผสาน สื่อมากกว่า 1 ประเภทขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เช่น การที่นักศึกษาติดตามไลฟ์สดของพิมรี่พาย หรือ การฟังแพทย์หญิงอภิสมัยแถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจําวัน ผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ จะเป็น การใช้ทั้งสื่อบุคคล (พิมรี่พาย, แพทย์หญิงอภิสมัย) และสื่อออนไลน์ (เฟซบุ๊ก, ยูทูบ) ซึ่งส่งสาร ไปยังผู้รับสารจํานวนมากภายในคราวเดียวกัน เป็นต้น

42. การจัดงานเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ลานชั้น 1 ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สื่อกิจกรรม มีลักษณะดังนี้
1. เป็นสื่อที่ใช้มากในงานพัฒนาต่าง ๆ เพราะเป็นสื่อที่เปิดพื้นที่ให้ผู้รับสารเข้ามามีส่วนร่วม ได้อย่างมาก เช่น สื่อค่ายนิทรรศการ กิจกรรมการปลูกป่า และตลาดนัดสุขภาพ เป็นต้น
2. เป็นกลยุทธ์ที่นิยมในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การจัดโรดโชว์ (Road Show), การเปิดตัว สินค้าใหม่ (Launching Presentation), การเป็นผู้สนับสนุนโครงการหรือรายการต่าง ๆ (Sponsorship) และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Sales Promotion) เช่น การลด แลก แจก แถม, การสาธิตสินค้า, การชิงโชค ฯลฯ
3. การจัดโครงการหรือแคมเปญต่าง ๆ เพื่อการประกวดแข่งขัน, การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมและ การบริจาคเงินหรือสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือสังคมหรือองค์กรการกุศล

43. ประสบการณ์หรือกรอบอ้างอิง มีความสําคัญกับองค์ประกอบใดในกระบวนการการสื่อสาร
(1) ผู้ส่งสาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) ผู้รับสาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

44. การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส การได้เห็น และการได้ลิ้มรส นับว่าเป็น “ช่องทางการสื่อสาร” หรือ “สื่อ” ตามแบบจําลองการสื่อสารของใคร
(1) เดวิด เค. เบอร์โล
(2) ออสกูดและชแรมม
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) ลาสเวลล์
ตอบ 1 หน้า 59, 61, 72 แบบจําลองการสื่อสาร S-M-C-R ของเดวิด เค. เบอร์โล กล่าวว่า ช่องทาง การสื่อสาร (Channel or C) หรือสื่อ ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกของมนุษย์
มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

45. ข้อใดคือสิ่งที่ควรคํานึงในการเข้ารหัสสาร (Encoding)
(1) ประเภทของผู้รับสาร
(2) ประเภทของเนื้อหาสาร
(3) ประเภทของช่องทางการสื่อสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

46. การฟังแพทย์หญิงอภิสมัยแถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจําวัน ผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ เป็นรูปแบบการ
ใช้ช่องทางการสื่อสารใด
(1) สื่อใหม่
(2) สื่อมวลชน
(3) สื่อบุคคล
(4) การบูรณาการสื่อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

47. ข้อใดไม่ใช่การถอดรหัสของผู้รับสาร (Decoding)
(1) การเห็นด้วย
(2) การเลียนแบบ
(3) การต่อรอง
(4) การไม่เห็นด้วย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

ข้อ 48 – 53. ข้อใด “ใช่” (ฝนข้อ 1) หรือ “ไม่ใช่” (ฝนข้อ 2) ในเรื่องคุณลักษณะของสื่อมวลชน และการสื่อสารมวลชน
(1) ใช่
(2) ไม่ใช่

48. ผู้สงสารและผู้รับสารอยู่กันคนละเวลาและสถานที่
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ), (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อมวลชนและการสื่อสารมวลชน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ผู้ส่งสารมีจํานวนน้อย แต่ผู้รับสารมีจํานวนมาก ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
3. ผู้ส่งสาร-ผู้รับสารอยู่คนละเวลาและสถานที่
4. ผู้รับสารอาจเป็นกลุ่มคนที่มีจํานวนมากหรือน้อยแตกต่างกันไป หรืออาจเป็นคนไม่กี่คนก็ได้
5. ผู้รับสารไม่มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันในการเปิดรับข่าวสาร
6. การผลิตเนื้อหาต้องคํานึงถึงความต้องการของผู้รับสารเป็นตัวตั้ง
7. เนื้อหาสารเข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความมาก เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่เจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเน้นสื่อสารเนื้อหาแบบเดียวไปยังผู้รับสารมวลชนทุกกลุ่ม (One Message Fits All)
8. การมีส่วนร่วมจากผู้รับสารทําได้จํากัด เช่น การตอบกลับทําได้ทางโทรศัพท์, การส่ง SMS, E-mail, เขียนจดหมาย ฯลฯ

49. ผู้ส่งสารมีจํานวนน้อย ผู้รับสารมีจํานวนมาก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. เน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมจากผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

51. การผลิตเนื้อหาต้องคํานึงถึงความต้องการของผู้รับสารเป็นตัวตั้ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

52. สื่อสารเนื้อหาแบบเดียวไปยังผู้รับสารมวลชน ดังสโลแกนที่ว่า One Message Fits All
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10. และ 48. ประกอบ

53. ผู้รับสารมีจุดมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการเปิดรับข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

54. สื่อมวลชนถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องบน การนําเสนอข่าวสารจะมีลักษณะแบบใด
(1) เน้นการนําเสนอข่าวสารที่มาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(2) เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ
(3) เน้นการสื่อสารสองทางแบบมีส่วนร่วม
(4) เน้นข่าวสารที่มาจากความคิดเห็นของมวลชน
ตอบ 2 หน้า 102 การดําเนินกิจการของสื่อมวลชนที่เป็นการรับใช้เบื้องบนจะมีลักษณะของข่าวสาร ที่มาจากศูนย์กลางเดียว โดยพลังอํานาจต่าง ๆ ชื่อเสียง ลักษณะการเข้าถึง ทิศทาง ตลอดจน มาตรฐาน สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดเอง เช่น เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ เป็นต้น ส่วนสื่อมวลชนที่ถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องล่างนั้น จะเน้นข่าวสารที่หลากหลายตามความสนใจ หรือความคิดเห็นของมวลชนแต่ละสังคมที่สื่อมวลชนนั้น ๆ ดําเนินกิจการอยู่

55. สื่อมวลชนถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องล่าง การนําเสนอข่าวสารจะมีลักษณะแบบใด
(1) เน้นการนําเสนอข่าวสารที่มาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(2) เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ
(3) เน้นการสื่อสารสองทางแบบมีส่วนร่วม
(4) เน้นข่าวสารที่มาจากความคิดเห็นของมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56. ทฤษฎีใดให้ความสําคัญกับการตอบกลับ (Feedback) ผู้รับสาร
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 4 หน้า 214 – 218, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสามัญสํานึก มีลักษณะดังนี้
1. ผู้รับสารตั้งคําถามว่า “รายการนี้นําเสนออะไร เพื่ออะไรหรือให้อะไรกับผู้ชม
2. ผู้รับสารจะเลือกบริโภคสื่อตามความพึงพอใจของตน
3. ให้ความสําคัญกับการตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร
4. ตัวอย่างของทฤษฎีสามัญสํานึก ได้แก่ ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่องการแสวงหาข่าวสาร (Information-seeking)

57. สื่อมวลชนได้รับอิทธิพลจากศาสตร์ใด
(1) จิตวิทยา
(2) สังคมวิทยา
(3) โทรคมนาคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) สื่อมวลชน/นิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นทีหลัง ศาสตร์อื่น ๆ จึงได้รับอิทธิพลจากศาสตร์รุ่นพี่ ได้ ได้แก่
1. มนุษยศาสตร์ เช่น ภาษาศาสตร์ สัญวิทยา และการตีความ
2. สังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และจิตวิทยา
3. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ โทรคมนาคม ฯลฯ

58. เหตุการณ์ใดที่เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบ Consultation
(1) การไปปรึกษาจิตแพทย์
(2) การใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่นอกบ้าน
(3) การคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ
(4) การพูดคุยกับเพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

59. สื่อมวลชนถูกกําหนดให้เป็น “ระบบเปิด” เนื่องจากสาเหตุใด
(1) มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง
(2) มีหลายแผนกข่าวในหน่วยงาน
(3) ต้องประสานงานด้านข่าวสารจากสถาบันอื่น
(4) มีหลายช่องทางสื่อในองค์กรเดียว
ตอบ 3 หน้า 152, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนถูกกําหนดให้เป็น “ระบบเปิด” เนื่องจากสื่อมวลชนต้อง ประสานงานด้านข่าวสารจากสถาบันอื่น ๆ ในสังคม เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงไม่อาจแยกออกจากสังคมหรือสถาบันใด ๆ ได้อย่างชัดเจน

60. เหตุการณ์ใดสะท้อนการเกิด “ช่องว่างทางดิจิทัล”
(1) การที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตบ้านมีปัญหาขัดข้องบ่อย
(2) การที่ผู้สูงอายุใช้งานสมาร์ตโฟนไม่เป็น ทําให้เข้าไม่ถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ
(3) การที่นักศึกษาไม่มีเงินซื้อสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ ทําให้ต้องใช้รุ่นเก่า
(4) การแย่งรีโมตคอนโทรล เพื่อดูรายการโปรดในโทรทัศน์
ตอบ 2 หน้า 172, (คําบรรยาย) การเกิด “ช่องว่างทางดิจิทัล” คือ การที่เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ยังเข้าไม่ถึงทุกคน ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําทางข้อมูล เกิดการกีดกันการเข้าถึงข่าวสาร และ เกิดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เช่น การที่ผู้สูงอายุใช้งานสมาร์ตโฟนไม่เป็น ทําให้เข้าไม่ถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น

61. ยุคใดที่ผู้นําทางความคิดมีบทบาทต่อผู้รับสารมากกว่าสื่อมวลชน
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 2หน้า 149, (คําบรรยาย) พัฒนาการของทฤษฎีสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1.ยุคสื่ออันทรงพลัง คือ ยุคที่เชื่อในพลังของสื่อที่สามารถโน้มน้าวใจผู้รับสารจํานวนมาก ให้เชื่อหรือทําตามได้ ดังนั้นสื่อจึงมีอิทธิพลแบบทันทีทันใดต่อผู้รับสาร
2. ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ คือ ยุคที่ผู้นําทางความคิดเห็นมีบทบาทต่อกระบวนการ ตัดสินใจของผู้รับสารมากกว่าสื่อมวลชน
3.ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง คือ ยุคที่สื่อเป็นผู้กําหนดว่า ข่าวสารใดมีความสําคัญ และ ในแต่ละวันผู้รับสารจะต้องให้ความสําคัญกับเรื่องใดบ้าง
4. ยุคสื่อมีผลกระทบในระดับปานกลาง คือ ยุคที่สื่อไม่ได้มีอิทธิพลแบบทันทีทันใด แต่สื่อ จะค่อย ๆ หล่อหลอมให้ผู้รับสารเป็นไปตามที่สื่อนําเสนอ
5. ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล คือ ยุคของการที่ผู้รับสารมีบทบาทในการ สร้างข้อมูลข่าวสารเอง โดยสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาสารและเป็นสื่อได้ด้วยตนเอง เช่น การมีช่องยูทูบเป็นของตนเอง, การรายงานน้ําท่วมผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์, การคอมเมนต์ผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจสถานีข่าว ฯลฯ

62. ยุคใดที่ผู้รับสารสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาสารและเป็นสื่อได้ด้วยตนเอง
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. ยุคใดที่สื่อเป็นผู้กําหนดว่า ในแต่ละวันผู้รับสารจะต้องให้ความสําคัญกับเรื่องใดบ้าง
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64. ยุคใดที่เชื่อในพลังของสื่อที่โน้มน้าวใจผู้รับสารจํานวนมากให้เชื่อหรือทําตามได้
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65. ข้อใดคือตัวอย่างของการที่ผู้รับสารมีบทบาทในการสร้างข้อมูลข่าวสาร
(1) การคอมเมนต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสถานีข่าว
(2) การมีช่องยูทูบเป็นของตนเอง
(3) การรายงานน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

66. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน
(1) สนับสนุนความเห็นต่างในสังคม
(2) ประสานรอยร้าว/ความขัดแย้งในสังคม
(3) สืบทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรม
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 153, (คําบรรยาย) หน้าที่หรือวัตถุประสงค์หลักของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. การรายงานข่าวสารให้ประชาชนรับรู้
3. การสืบทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรม
2. การประสานรอยร้าว/ความขัดแย้งในสังคม
4. การให้ความบันเทิง ฯลฯ

67. ข้อใดคือตัวอย่างของหน้าที่สื่อมวลชนในการก่อให้เกิดความแจ่มชัดทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) รายการเรื่องเล่าเช้านี้
(2) ละครบุพเพสันนิวาส
(3) ซีรีส์เกาหลี
(4) รายการตลาดสดพระรามสี่
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ), (คําบรรยาย) หน้าที่การสืบทอดมรดกทางสังคมและ วัฒนธรรม คือ หน้าที่สื่อมวลชนในการก่อให้เกิดความแจ่มชัดทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การใช้สื่อเพื่อความบันเทิงเป็นเครื่องมือให้การศึกษาหรือเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส, ภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวร เป็นต้น

68. การที่สื่อมวลชนนําวิดีโอคลิปที่ตํารวจท่านหนึ่งทําร้ายผู้ต้องสงสัยยาเสพติดจนเสียชีวิตจากสื่อสังคมออนไลน์ มานําเสนอ จนนําไปสู่การติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้ในที่สุด เหตุการณ์ดังกล่าวตรงกับคําจํากัดความใด
(1) การบูรณาการสื่อ
(2) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(3) การสื่อสารแบบสองทาง
(4) การหลอมรวมสื่อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) คือ การบรรจบกันของเทคโนโลยี สื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่ หรือการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว เช่น การที่สื่อมวลชนได้นําวิดีโอคลิปที่ตํารวจท่านหนึ่งทําร้ายผู้ต้องสงสัยยาเสพติดจนเสียชีวิตจาก สื่อสังคมออนไลน์มานําเสนอ จนนําไปสู่การติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้ในที่สุด เป็นต้น

69. ข้อใดคือตัวอย่างของการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์
(1) การบล็อกไม่ให้แสดงความคิดเห็น
(2) พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
(3) การสั่งปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 171, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันแม้อํานาจในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์จะอยู่ ในมือของภาครัฐ แต่ก็ทําได้ยากกว่าสื่อดั้งเดิม ซึ่งตัวอย่างของการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
2. การบล็อกไม่ให้แสดงความคิดเห็น
3. การสั่งปิดเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ

70. ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)
(1) องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อและเนื้อหาที่หลากหลาย
(2) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(3) กองบรรณาธิการของแต่ละสื่อแยกส่วนกันทํางาน
(4) เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าวของแต่ละสถานีมีความแตกต่างกันมากขึ้น
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ), (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) มีดังนี้
1. สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัล ออนไลน์ และแพลตฟอร์ม
2. เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
3. พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมีการนําเสนอรูปแบบการสื่อสารใหม่ ๆ
4. องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ เช่น รูปแบบออนไลน์ ทีวีดิจิทัล ฯลฯ และเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น มีละคร รายการเพลง ท่องเที่ยว ฯลฯ

71. ปัจจัยใดที่ทําให้การทํางานของสื่อมวลชนอาจไม่เป็นกลาง
(1) นโยบายของสถานี
(2) ความต้องการของสปอนเซอร์
(3) ถูกเฉพาะข้อ 1
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้การทํางานของสื่อมวลชนอาจไม่เป็นกลาง ได้แก่
1. นโยบายของสถานี หรือจุดยืนของสถานี
2. ความต้องการของสปอนเซอร์ เช่น โฆษณา, กลุ่มนายทุนที่สนับสนุน ฯลฯ

72. การที่รายการข่าวเข้านําเสนอข่าวแรกของรายการว่า “วันนี้ผู้ชมทุกท่านต้องติดตามการแถลงข่าวค้นพบ สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทยเป็นครั้งแรก” ตรงกับจุดมุ่งหมายของทฤษฎีใด
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 3 หน้า 195, 198, (คําบรรยาย) ทฤษฎีผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน ที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเลือก หรือปฏิเสธข่าวสารต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น ยังทําหน้าที่จัดสารให้อยู่ในรูปที่ต้องการ ตลอดจน กําหนดการนําเสนอข่าวสาร กําหนดเวลาว่าจะเสนอในช่วงเวลาใด ลดหรือเพิ่มจํานวนข่าวสาร หรือเลือกเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น ฯลฯ

73. ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper) ในยุคปัจจุบันคือใคร
(1) ยูทูบเบอร์
(2) บล็อกเกอร์รีวิว
(3) ผู้ที่คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 198, (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ), (คําบรรยาย) วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) ได้กล่าวว่า Gatekeeper เป็นผู้ที่มีสิทธิในการเปิดและปิดประตูข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เช่น นักข่าว/ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว หัวหน้าฝ่ายข่าว ผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ ผู้จัดการโฆษณา นักวิจารณ์ ฯลฯ (ส่วนผู้ควบคุมประตูข่าวสาร หรือ Gatekeeper ในสื่อออนไลน์ยุคปัจจุบัน คือ ผู้ที่เลือกถ่ายทอดเนื้อหาหรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร เช่น ยูทูบเบอร์, บล็อกเกอร์รีวิว, ผู้ที่คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ฯลฯ)

74. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคสื่ออันทรงพลัง
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎีในยุค สื่ออันทรงพลัง คือ ทฤษฎีกระสุนปืน/เข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎี การสื่อสารเล็งผลเลิศ) เสนอว่า สื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใด ต่อมวลชน กล่าวคือ สื่อมวลชนจะเปรียบเหมือนเข็มฉีดยา ส่วนมวลชนเปรียบเหมือนคนไข้ ดังนั้นข่าวสารจากสื่อมวลชนจะถึงและมีผลต่อประชาชนโดยตรง รวดเร็วทันทีทันใด ไม่มีอะไร กีดขวาง และปราศจากการต่อต้านจากผู้รับสาร ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ผู้สูงอายุควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เร็วที่สุด เป็นต้น

75. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืนเข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 4 หน้า 182 – 183, 194, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ คือ ทฤษฎีการสื่อสารแบบสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. สื่อมวลชนไม่ได้มีอิทธิพลแบบทันทีทันใดต่อผู้รับสาร
2. มีผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) มาคั่นกลางในกระบวนการตัดสินใจของผู้รับสาร
3. ผู้นําทางความคิด คือ ผู้ที่เปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าผู้รับสารคนอื่น มีความรู้หรือเป็นกูรู ในเรื่องนั้น ๆ
4. ในยุคปัจจุบัน ผู้นําทางความคิดมาในรูปแบบของยูทูบเบอร์ บล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์
5. ตัวอย่างของการสื่อสารแบบสองจังหวะ เช่น การที่ผู้รับสารเปิดดูช่องยูทูบเบอร์รีวิวสินค้า ก่อนซื้อเครื่องสําอาง เป็นต้น

76. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 195, 200, (ดูคําอธิบายข้อ 61. และ 72. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง ได้แก่
1. ทฤษฎีผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
2. ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)

77. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคผู้รับสารเป็นผู้เลือกใช้สื่อ
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 4 หน้า 214 – 215, 222, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคผู้รับสารเป็นผู้เลือกใช้สื่อ หรือยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล คือ ทฤษฎี การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. เน้นเรื่องการแสวงหาข่าวสาร (Information-seeking) หมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสาร สนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสี่
2. เชื่อว่าผู้รับสารมีความกระตือรือร้นในการเลือกเปิดรับสื่อ (Active audience)
3. ผู้รับสารเป็นฝ่ายเลือกใช้สื่อที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองในขณะนั้น น ๆ
4. ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อมาจากความต้องการ (Need) ของแต่ละคน

78. ข้อใดคือทฤษฎีในกลุ่มการสื่อสารมวลชนแบบมาร์กซิสม์
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) การศึกษาเชิงวัฒนธรรม
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 3 หน้า 241 – 250, (คําบรรยาย) ทฤษฎีในกลุ่มการสื่อสารมวลชนแบบมาร์กซิสม์ มีดังนี้
1. ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง
2. ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต
3. ทฤษฎีการครอบงําของสื่อมวลชน
4. ทฤษฎีวัฒนธรรมสังคม หรือแนวทางการศึกษาเชิงวัฒนธรรม

79. ผู้สูงอายุควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เร็วที่สุด สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) กระสุนปืนเข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

80. การที่ผู้รับสารเปิดดูช่องยูทูบเบอร์รีวิวสินค้าก่อนซื้อเครื่องสําอาง สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

81. ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์แจ้งว่า ช่วงนี้ประชาชนต้องให้ความสําคัญกับข่าวการระบาดของโควิด-19 และ
น้ำท่วม สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting) มีแนวคิดว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ที่กําหนดหรือวางระเบียบวาระในการรับรู้เหตุการณ์แก่ประชาชน ทั่วไป ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดว่า ในวันนี้สาธารณชนควรรับรู้ข่าวสารอะไร และต้องให้ความสําคัญ กับประเด็นใดบ้าง เช่น ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์แจ้งว่า ช่วงนี้ประชาชนต้องให้ความสําคัญกับ ข่าวการระบาดของโควิด-19 และน้ำท่วม เป็นต้น
2. สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดว่า ข่าวสารใดควรพาดหัวข่าวหรือรายงานในแต่ละวัน และอะไรคือ “Talk of the town” ของวันนี้
3. การค้นคว้าด้าน Agenda Setting มักทําในการสื่อสารการเมือง เช่น ทัศนคติทางการเมือง, การแบ่งขั้วทางการเมือง เป็นต้น

82. การเกิดความขัดแย้งในครอบครัว เนื่องจากมีความเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน สอดคล้องกับทฤษฎีใด (1) ความโน้มเอียงร่วม (Co-orientation)
(2) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 1 หน้า 201 – 202 ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม (Co-orientation Theory) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในวงการวิจัยสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นโดย Newcomb นักจิตวิทยาสังคม ซึ่งตามแนวคิดของเขา บุคคล 2 คน คือ A และ B ถ้าหาก A ชอบ B แต่พบว่าทั้งคู่มีทัศนคติเกี่ยวกับวัตถุ X ไม่ตรงกัน ดังนั้น A จะต้องทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน ได้แก่
1. A เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองเกี่ยวกับ B หรือ X
2. A พยายามเปลี่ยนความคิดของ B เกี่ยวกับ X
3. A เลิกติดต่อสื่อสารกับ B หรือการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
4. A พยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง

ข้อ 83 – 86. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารใด
(1) ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต
(2) ทฤษฎีการศึกษาเชิงวัฒนธรรม
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง

83. นักร้องลูกทุ่งต้องเปลี่ยนแนวเพลงให้เข้าสมัยและแต่งตัววาบหวิวมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 243 – 244, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง มีลักษณะดังนี้
1. สถาบันสื่อมวลชนถูกอํานาจทางเศรษฐกิจการเมืองเข้าไปกําหนดการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร
และรูปแบบรายการ
2. ในระบบทุนนิยม ผลงานที่เกิดจากการผลิตของสื่อมวลชนจะต้องได้กําไร เช่น นักร้องลูกทุ่ง ต้องเปลี่ยนแนวเพลงให้เข้าสมัยและแต่งตัววาบหวิวมากขึ้นเพื่อให้ขายได้ ฯลฯ
3. ส่งผลให้สื่อมวลชนมีความอิสระในการผลิตลดน้อยลง เนื่องจากต้องเอาใจผู้สนับสนุนรายการ ผู้ถือหุ้น เจ้าของสถานี และตลาดมวลชน

84. การแต่งกายชุดไทยประยุกต์ของ LISA Black Pink ในการโปรโมตอัลบั้ม LA-LI-SA
ตอบ 2 หน้า 250 – 251, (คําบรรยาย) ทฤษฎีวัฒนธรรมสังคม หรือแนวทางการศึกษาเชิงวัฒนธรรม มีลักษณะดังนี้
1. ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของสํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองและสํานักแฟรงเฟิร์ต
2. ให้ความสนใจกับกลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่เรียกว่า “วัฒนธรรมร่วมสมัย” (Pop Culture) เช่น การแต่งกายชุดไทยประยุกต์ของ LISA Black Pink ในการโปรโมตอัลบั้ม LA-LI-SA ฯลฯ
3. สนใจการผลิตซ้ำของ “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture) เช่น การใส่กางเกงยีนส์, การซื้อหวย, การร้องคาราโอเกะ, การมีช่องยูทูบและติ๊กต็อกเป็นของตนเอง, การเต้น คัฟเวอร์วงไอดอลเกาหลี ฯลฯ
4. ให้ความสําคัญกับกระบวนการสื่อสารแบบสองทางและการถอดรหัสจากผู้รับสาร

85. การฟังเพลงคลาสสิกของโมสาร์ทผ่านแอปพลิเคชั่นยูทูบ
ตอบ 1 หน้า 245 – 247, (คําบรรยาย) ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต มีลักษณะดังนี้
1. ให้ความสนใจกับการเก็บรักษาวัฒนธรรมชั้นสูง ด้อยค่าวัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture)
2. ระบบทุนนิยมทําให้เกิดการผลิตคราวละมาก ๆ และนําชิ้นงานวัฒนธรรมชั้นสูงไปทําให้เป็น วัฒนธรรมมวลชน เช่น การฟังเพลงคลาสสิกของโมสาร์ทผ่านแอปพลิเคชั่นยูทูบ ฯลฯ
3. ระบบทุนนิยมทําให้มนุษย์ในสังคมขาดความคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็น “มนุษย์มติเดียว” ที่คิดได้แต่สิ่งที่เป็นความต้องการของตลาดมวลชน

86. การที่มีช่องยูทูบและติ๊กต็อกเป็นของตนเอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ

ข้อ 87. – 90. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารใด
(1) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(2) ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร
(3) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(4) ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ

87. ผู้รับสารเป็นฝ่ายเลือกสื่อที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองในขณะนั้น ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

88. กลุ่มที่ไร้ราก ไร้ความสัมพันธ์ ขาดที่ยึดเหนี่ยว โดดเดี่ยว และถูกโน้มน้าวได้ง่าย
ตอบ 3 หน้า 236, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสังคมมวลชน มีลักษณะดังนี้
1. รัฐมองมวลชนว่า เป็นกลุ่มที่ไร้ราก ไร้ความสัมพันธ์ ขาดที่ยึดเหนี่ยว โดดเดี่ยว และมักจะ ถูกโน้มน้าวได้ง่าย
2. การนําเสนอข่าวสารมักนําเสนอในประเด็นที่รัฐคิดว่า มวลชนจําเป็นต้องรู้เพื่อตอบสนอง
ผลประโยชน์ของภาครัฐ
3. เป็นทฤษฎีที่เน้นการสื่อสารแบบทางเดียว เช่น การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ, การสื่อสาร เพื่อการครอบงํา และการโฆษณาชวนเชื่อ

89. ผู้ที่กําหนดว่า ข่าวสารใดควรพาดหัวข่าว/รายงานในแต่ละวัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

90. สังคมเปรียบเหมือนกับร่างกายมนุษย์ และอวัยวะเปรียบเหมือนสถาบันต่าง ๆ
ตอบ 1 หน้า 222 – 223, (คําบรรยาย) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม มีลักษณะดังนี้
1. สังคมเปรียบเหมือนกับร่างกายมนุษย์ และอวัยวะเปรียบเหมือนสถาบันต่าง ๆ
2. ถ้าอวัยวะต่าง ๆ ทําหน้าที่ได้ดี ร่างกายก็แข็งแรง เหมือนกับสถาบันถ้าทําหน้าที่ได้ดี สังคมก็มีเสถียรภาพ
3. เน้นการ “ทําหน้าที่” และ “ไม่ทําหน้าที่” ของสื่อมวลชนต่อสังคม

91. ข้อใดคือสมญานามของสื่อมวลชนเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
(1) ทนายหน้าห้อง
(2) ฐานันดรที่ 4
(3) ผู้ชี้ทางสว่าง
(4) สุนัขเฝ้าบ้าน
ตอบ 4 หน้า 266, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่ประการหนึ่ง คือ เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog) เพื่อติดตามผลงานของรัฐบาลและดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน

92.“ตลาดเสรีทางความคิด” เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2)ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 256 – 258, 279 ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม (ทฤษฎีสื่อเสรี) ได้กล่าวถึงเสรีภาพ ของหนังสือพิมพ์ว่ามิได้เป็นแต่เพียงเครื่องมือในการแสดงออกของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้อง กับกระบวนการพิสูจน์ตนเองของสัจจะหรือเป็นเครื่องมือแสวงหาสัจจะของสังคม โดยเปิดหนทาง และโอกาสให้กับทัศนะต่าง ๆ ทั้งผิดและถูกมาประชันแข่งขันกันใน “ตลาดเสรีทางความคิด” (Free Market of Ideas) และให้สาธารณชนเป็นผู้ตัดสิน

93. การที่รัฐบาลใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็น สิ่งผิด เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 267 – 271, (คําบรรยาย) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในรัสเซียแล้วจึงขยายตัวไปที่เยอรมันยุคนาซีและประเทศที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์
2. มีรากฐานมาจากปรัชญาอุดมการณ์สุดของมาร์กซิสต์และเลนินนิสต์
3. ใช้เครื่องมือในการปลุกระดมและการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อชี้นําให้ประชาชน เห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็นสิ่งผิด
4. ผู้ประกอบกิจการสื่อและการดําเนินงานของสื่อจะมีรัฐ พรรคคอมมิวนิสต์เป็นเจ้าของหรือ
เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
5. ควบคุมสื่อโดยการห้ามวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ ฯลฯ

94. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 263 – 267, (คําบรรยาย) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในสหรัฐเมริกาเมื่อ “คณะกรรมการที่ทํางานเพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์” ได้จัดทํา รายงาน และสรุปว่า “แม้ว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์จะเป็นสิ่งที่ต้องมี แต่ก็ต้องสอดแทรก ความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย”
2. สื่อมวลชนต้องสร้างเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชน
3. สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
4. สื่อต้องมีเสรีภาพภายใต้การควบคุมตัวเอง
5. ในบางสถานการณ์ รัฐอาจเข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

95. ข้อใดไม่ใช่ “บรรทัดฐาน” ในการทํางานของสื่อมวลชน
(1) จริยธรรมสื่อมวลชน
(2) กฎหมายสื่อมวลชน
(3) ค่านิยมของหน่วยงาน
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 3 หน้า 254, (คําบรรยาย) บรรทัดฐาน (Norms) คือ สิ่งที่สังคมแต่ละยุคสมัยคาดหวังให้เรา ปฏิบัติ (แต่จะปฏิบัติหรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง) เช่น สื่อมวลชนจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพ และจริยธรรมสื่อมวลชน เป็นสิ่งที่คอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อตกต่ํา หรือเบี่ยงเบน ไปจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อมวลชน การกํากับดูแล และจรรยาบรรณของสื่อ

96. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

97. ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นในยุคระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบ
(1) เริ่มมีกระบวนการตรวจสอบกันเองขององค์กรสื่อ
ประชาธิปไตย
(2) การเกิดขึ้นของสื่อชุมชนขนาดเล็กที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(3) ยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมในการทํางาน
(4) มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ 2 หน้า 276 – 278, (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชน เป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในยุคสมัยที่สื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าบรรดาสื่อใหม่เหล่านี้จะสามารถ ทํางาน และปรับตัวไปตามกระแสกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ดีกว่าหนังสือพิมพ์
2. ทฤษฎีนี้ปฏิเสธการสื่อสารแบบรวมศูนย์ที่ถูกควบคุมโดยรัฐ หรือกลุ่มนายทุน
3. เน้นการสื่อสารแบบสองทางมากกว่าการสื่อสารแบบทางเดียว
4. เน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และนําเสนอข่าวสารที่มาจากความต้องการของคนในชุมชน
5. พลเมืองทุกคนและทุกชนชั้นมีสิทธิในการเข้าถึงสื่อ และใช้สื่อเพื่อตอบสนองความต้องการ
6. องค์กรสื่อจะต้องไม่ถูกครอบงําจากรัฐ

7. สื่อต้องมีอยู่เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อกําไรขององค์กรเอง
8. การเกิดขึ้นของสื่อขนาดเล็ก เช่น วิทยุชุมชน สื่อพื้นบ้าน หอกระจายข่าว การประชุมหมู่บ้าน และโทรทัศน์ท้องถิ่น จะมีลักษณะของการสื่อสารแบบสองทาง และเปิดโอกาสให้ผู้รับสาร มีส่วนร่วมมากกว่าสื่อมวลชนขนาดใหญ่ ฯลฯ

98. สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ แต่รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 254 – 256, (คําบรรยาย) ทฤษฎีอํานาจนิยม มีสาระสําคัญดังนี้
1. ในศตวรรษที่ 16 สังคมยุโรปมีการปกครองด้วยระบบอํานาจนิยม เช่น การมีระบบศักดินา
2. บรรทัดฐานของสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคแรกจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนนโยบายของรัฐ และรับใช้
ความมั่นคงของรัฐ
3. ชนชั้นปกครองใช้สื่อหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารที่ผู้ปกครองคิดว่า
ประชาชนต้องทราบ
4. การควบคุมหนังสือพิมพ์ด้วยกลไกต่าง ๆ เช่น การออกใบอนุญาตการพิมพ์, การเซ็นเซอร์ และการควบคุมผ่านสมาคมวิชาชีพ เพื่อป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ
5. รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ แต่มีการอนุญาตให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ (ถือเป็นข้อแตกต่างจากทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ ) ฯลฯ

99. การที่สื่อมวลชนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียง ก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจาก ประเทศตะวันตก เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3หน้า 272 – 276, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และใช้กับประเทศเกิดใหม่หรือเพิ่งประสบกับภาวะสงคราม รวมทั้งประเทศยากจนใน โลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนา ซึ่ง Denis McQuail ได้สรุปสาระสําคัญดังนี้
1. สื่อมวลชนต้องเข้าร่วมการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาสังคม
2. เนื้อหาสื่อต้องให้ความสําคัญกับภาษาและวัฒนธรรมของชาติ
3. ข่าวสารที่นําเสนอต้องให้ความสนใจกับประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียง ก่อนนําเสนอ
ข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตก
4. นักข่าวและสื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ
5. รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซง เช่น การเซ็นเซอร์, การให้ทุนสนับสนุน และการเข้าควบคุมโดยตรง

100. ทฤษฎีอํานาจนิยมและทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีความแตกต่างกันในประเด็นใด
(1) การควบคุมเนื้อหาสื่อ
(2) เสรีภาพในการนําเสนอข่าวสาร
(3) การอนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของสื่อ
(4) การสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 93. และ 98. ประกอบ

Advertisement