การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.สังคมข้อมูลข่าวสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Information Social
(2) Information Society
(3) Informations Social
(4) Informations Society
ตอบ 2 หน้า 1 ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และกว้างขวาง ตลอดจนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่อาจกล่าวได้ว่า สังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมข้อมูล ข่าวสาร (Information Society) นั่นคือ ข่าวสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสําคัญหรือมีบทบาท ในการดํารงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ

Advertisement

2. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึง การถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และซูเมคเกอร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) เจอร์เกน รอยซ์ (Jurgen Ruesch) และเกรกอรี เบทสัน (Gregory Bateson) กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึง การถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งคํานิยามการสื่อสารนี้ยึดหลักที่ว่า การกระทําและเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นการสื่อสาร หากมี ผู้เข้าใจการกระทําและเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การที่เราเห็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่ง และสามารถ ตีความหมายของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ ก็นับว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

3. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 4 หน้า 4 เอเวอเร็ต เอ็ม. โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) และเอฟ. ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (F. Floyd Shoemaker) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร

4.ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายความเพียงแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 3 หน้า 3 วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์ (Warren W. Weaver) ได้ให้คําอธิบายไว้ว่า การสื่อสาร มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจ ของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงการพูดและเขียนเท่านั้น หากแต่ยัง รวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดงบัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย

5.การสื่อสาร 2 ทาง ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communication
(2) Two – way Communicate
(3) Two – ways Communication
(4) Two – ways Communicate
ตอบ 1 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่มีความหมายความรวมไปถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสาร แล้วมีการตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) ซึ่งปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่อง ของความหมายอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลาย ๆ อย่าง

6. การมีปฏิกิริยาต่อกันที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Interaction
(2) Feedback
(3) Meaning
(4) Effect
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) ความสําคัญต่อการศึกษา
(2) ความสําคัญต่อการเกษตร
(3) ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
(4) ความสําคัญต่อวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

8.การที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารมีความต้องการบอกกล่าวหรือ ชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวันไปให้ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น

9. ปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
(1) ผลสะท้อนกลับ
(2) อันตรกิริยา
(3) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน
แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(1) Intercultural Communication
(2) International Communication
(3) Development Communication
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2หน้า 45 – 46 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการ สื่อสารระดับชาติระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน (รัฐกับรัฐ) แต่มีความเป็น ทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรมในแง่ที่ว่า ผู้ที่ทําการสื่อสารนั้นทําหน้าที่เป็นตัวแทน ของประเทศ ได้แก่ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล (เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ฯลฯ) และข้าราชการ เป็นต้น

11. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ International Communication เกิดขึ้นภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน
(1) อินเดีย
(2) มาเลเซีย
(3) เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
(4) คนผิวขาวและคนผิวดํา
ตอบ 3 หน้า 47, (ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ) การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน คือ
ในกรณีที่ประชาชนมีขนบประเพณีเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แต่ถูกแบ่งแยกโดยดินแดน หรือแยกกันอยู่คนละประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้, เยอรมนีตะวันตก และตะวันออก เป็นต้น

12. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของแซนนั้น และวีเวอร์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 2 หน้า 48 – 51, (คําบรรยาย) แชนนั้น (C. Shannon) นักคํานวณด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ วีเวอร์ (W. Weaver) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของเขา ได้ร่วมกันสร้างแบบจําลองการสื่อสาร ขั้นพื้นฐานเมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้น ในชื่อว่า “แบบจําลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์” เพราะได้เอาวิชาการหรือทฤษฎี ทางคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการทางการสื่อสาร โดยเน้นเรื่องช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถส่งสารจากแหล่งสารสนเทศไปสู่จุดหมายปลายทางได้มากที่สุด และเกิดอุปสรรคระหว่างการสื่อสารน้อยที่สุด

13. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ เกิดขึ้นเมื่อปีใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 1หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการ สื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร ซึ่งกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการ ในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสม แก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ แต่แบบจําลองนี้ก็ยังขาดปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งนั่นก็คือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับที่ เรียกกันว่า “Feedback”

14. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 3 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของออสกูด (Osgood) และ วิลเบอร์ ซแรมม์ (Schramm) ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็น วงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็กระทําหน้าที่เหมือน ๆ กัน 3 ประการใน กระบวนการสื่อสาร คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกัน ก็มักขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

15.แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเดวิด เค. เบอร์โล เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 4 หน้า 57 – 58 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berto) ที่เสนอเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ได้อธิบายว่า กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย ส่วนประกอบพื้นฐานสําคัญ 6 ประการ คือ
1. ต้นแหล่งสาร (Communication Source)
2. ผู้เข้ารหัส (Encoder)
3. สาร (Message)
4. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
5. ผู้ถอดรหัส (Decoder)
6. ผู้รับสาร (Communication Receiver)

16. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและ
การโน้มน้าวใจ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

17. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ขาดปัจจัยสําคัญเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

18. การเข้ารหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

19. การถอดรหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

20. การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่ วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นการทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การเข้ารหัส
(2) ผู้เข้ารหัส
(3) การถอดรหัส
(4) ผู้ถอดรหัส
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด สื่อหรือช่องทาง การสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย

21. การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมาย ออกมา นับเป็นการทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การเข้ารหัส
(2) ผู้เข้ารหัส
(3) การถอดรหัส
(4) ผู้ถอดรหัส
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมา หรือต้องการสื่อความหมายมา

22. การตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Frame of Experience
(2) Frame of Reference
(3) Field of Reference
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

23. การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ในข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) รหัสสาร
(2) เนื้อหาสาร
(3) การจัดสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 การจัดสาร (Treatment) ตามความคิดของเบอร์โลนั้น คือ วิธีการที่ผู้ส่งสาร เลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ และศัพท์ในข้อความที่ใช้ ในการสื่อสาร รวมไปถึงคําถาม คําอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสารที่ถูกจัดเตรียมไว้อย่างดี จะทําให้เกิดการรับรู้ความหมายในตัวผู้รับสารได้

24. สื่อมวลชนได้รับความสนใจและศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น เพราะสาเหตุใดต่อไปนี้
(1) สื่อมวลชนเติบโตอย่างรวดเร็ว
(2) สื่อมวลชนเป็นแหล่งผลิตและแพร่กระจายความรู้
(3) สื่อมวลชนเป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคน
(4) การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังเป็นไปโดยสมัครใจ
ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจและมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น อาจเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1. กิจการสื่อสารมวลชน เป็นกิจกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
3. สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตของคนในสังคม มากขึ้น ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อมวลชนก่อให้เกิดค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

25. โครงสร้างของสื่อมวลชนของสาธารณชน เกิดจากความกดดันด้านใดต่อไปนี้
(1) ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม
(2) ความสามารถเข้าถึงแหล่งข่าวที่เหมือนกันของสื่อม
(3) ความสนใจของสาธารณชนที่เหมือนกัน
(4) ความสามารถแยกผลกระทบที่ชัดเจนภายในโครงสร้างสังคม
ตอบ 1 หน้า 100 – 101 ตามบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะนั้น โครงสร้าง
สื่อมวลชนของสาธารณชนจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้จากความกดดันต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสนใจของสาธารณชน เช่น ความสามารถของสื่อมวลชนในการเข้าถึงแหล่งข่าวที่ มีความแตกต่างกัน ทําให้ข่าวสารที่ออกมามีความหลากหลายในรสนิยม การศึกษา และ สถานการณ์ทั่วไป
2. ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายของสื่อมวลชนตั้งแต่เริ่มทําข่าวหรือหาข่าวสารข้อมูล จนกระทั่งนําเสนอต่อสาธารณชน
3. ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย ชนชั้น ศาสนา รสนิยม การศึกษา ฐานะการเงิน และสถานภาพทางสังคม

26. จากโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน สามารถพิจารณาจากหัวข้อใดต่อไปนี้
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่นๆ
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสาธารณชน
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับแหล่งข่าว
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 93 – 94, 98 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะเกี่ยวข้องกับ บทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะ
ความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม
2. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะ ความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

27. องค์กรหรือหน่วยงานลักษณะใดต่อไปนี้สามารถเรียกว่า “สถาบันสื่อสารมวลชน”
(1) เป็นหน่วยงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยสถาบันการเมือง
(2) เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ
(3) เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้
1. มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม
2. เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ
3. มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ
4. การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ
5. มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน 6. ไม่มีอํานาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอยู่เสมอ

28. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณชน สามารถรับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและ ความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลหรือสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทําให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

29. ผู้ใดต่อไปนี้ที่มีภาพพจน์ต่อสื่อมวลชนว่า เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือปมปัญหาของ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(1) นักการเมือง
(2) นักข่าว
(3) สาธารณชน
(4) สถาบันสังคม
ตอบ 3 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) ตามบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของ สาธารณชนนั้น ผู้รับสารหรือสาธารณชนทั่วไปจะมีภาพพจน์ต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชน ดังนี้

1. เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์กว้างขึ้น โดยการบอกให้ประชาชน ทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทําไม
2. เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือชี้ปมปัญหาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3. เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4. เป็นตัวกรองข่าวเพื่อเสนอต่อประชาชน ซึ่งจะต้องกระทําอย่างตั้งใจ โดยคํานึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของสื่อนั้น ๆ ฯลฯ

30. รูปแบบการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะที่สุดกับกระบวนการสื่อสารมวลชน
(1) รูปแบบการสื่อสารแบบการบริการ
(2) รูปแบบการสื่อสารแบบการเป็นสมาชิก
(3) รูปแบบการสื่อสารแบบการสั่งการ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 หน้า 113 – 116 รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสารไม่มีความเสมอภาคกัน
2. แบบการบริการ (Service Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีสถานภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดกับกระบวนการสื่อสารมวลชน
3. แบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็นแบบอย่าง ของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

31. อวัจนภาษา ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) เวลา
(2) รูปร่าง
(3) พื้นที่และระยะห่าง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร มี 2 ประเภท ได้แก่
1. วัจนภาษา (Verbal Language) คือ ภาษาที่เป็นคําพูด ได้แก่ ภาษาพูดและภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (Nonverbal Language) คือ ภาษาที่ไม่ใช่คําพูด ได้แก่ สัญลักษณ์ สัญญาณ หรืออากัปกิริยาต่าง ๆ (เช่น การยิ้ม, การหาว, การโบกมือ, การพยักหน้า ฯลฯ) รวมไปถึง รหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูดแต่สื่อความหมายได้ (เช่น เวลา, พื้นที่และระยะห่าง, รูปร่าง ฯลฯ)

32. ข้อใดจัดเป็น Interpersonal Communication
(1) แดงฝันถึงดํา
(2) แดงแชทไลน์กับสมชาย
(3) แดงละเมอว่าพูดกับดํา
(4) แดงแชทไลน์กลุ่มกับเพื่อน ๆ ยี่สิบคน
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนสาร สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้โดยตรงและรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือแบบเผชิญหน้า เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง, การพูดคุย ปรึกษาหารือกัน 2 คน, การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแบบตัวต่อตัว ฯลฯ หรืออาจเป็นการสื่อสาร แบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์, การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้, การส่ง E-mail, การสนทนาโต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

33. สื่อใดมักจะเป็นสื่อที่ถูกจับตามองโดยผู้มีอํานาจของรัฐ
(1) สื่อใหม่
(2) หนังสือพิมพ์
(3) สื่อวิทยุและโทรทัศน์
(4) สื่อสังคมออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 89 สื่อวิทยุและโทรทัศน์ จัดเป็นสื่อการกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ซึ่งนอกจาก ทําหน้าที่เสนอข่าวสารการเมือง และเรื่องที่คนนิยมหรืออยู่ในความสนใจของประชาชนแล้ว ก็ยังเป็นสื่อที่แพร่กระจายได้กว้างไกล มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นทางการเมือง และการดําเนิน ชีวิตของประชาชนในสังคมเป็นอย่างมาก จึงมักเป็นสื่อที่ถูกจับตามองโดยผู้มีอํานาจของรัฐและมีอิสระในการเสนอความคิดเห็นทางการเมืองได้น้อยกว่าหนังสือพิมพ์

34. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้กล่าวถึงองค์ประกอบของการสื่อสารรวม 6 ตัว ได้แก่ ต้นแหล่งสาร เข้ารหัส สาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้ถอดรหัส และผู้รับสาร
(1) เดวิด เค. เบอร์โล
(2) แซนนั้นและวีเวอร์
(3) ฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) ออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

35. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่ทําให้ตัวแปรต้นกับตัวแปรผลไม่มีความสัมพันธ์กัน
(1) ตัวแปรกด
(2) ตัวแปรอิสระ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรตาม
ตอบ 1 หน้า 24 – 25 (คําบรรยาย) ตัวแปรในการวิจัย มี 4 ประเภท ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ) หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกําหนดให้เป็นตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความคงทนถาวรมากที่สุด
2. ตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) หมายถึง ตัวแปรอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม)
3. ตัวแปรแทรก หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
และตัวแปรตาม (ตัวแปรผล)
4. ตัวแปรกด หมายถึง ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น) และตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) ไม่มีความสัมพันธ์กันทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้

36. ในศตวรรษใดที่เริ่มมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น โดยในระยะเริ่มแรกจัดทําในลักษณะจดหมายข่าว
(1) ศตวรรษที่ 16
(2) ศตวรรษที่ 17
(3) ศตวรรษที่ 18
(4) ศตวรรษที่ 16 – 17
ตอบ 4 หน้า 81 ราวศตวรรษที่ 16 – 17 เริ่มมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น โดยหนังสือพิมพ์ระยะเริ่มแรกนี้ จะมีลักษณะเป็นจดหมายข่าวมากกว่า ซึ่งจดหมายข่าวเหล่านี้จะเป็นการสื่อข่าวสารเกี่ยวกับ การพาณิชย์และการค้าระหว่างประเทศ โดยส่งถึงผู้รับทางไปรษณีย์ (เจาะจงผู้รับสารมากกว่า สาธารณชนทั่วไป) แต่หลังจากนั้นลักษณะของข่าวสารจึงขยายออกมาสู่สาธารณชนมากขึ้น

37. ทฤษฎีการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่มีรากฐานมาจากคําว่า “มโนภาพในหัว
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 4 หน้า 179, 200 – 201 ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ (Agenda-setting Theory) ถือเป็น ทฤษฎีที่เน้นวิเคราะห์ประสิทธิผลของการสื่อสารมวลชนที่มีต่อประชาชนระยะยาวไม่ใช่ทันทีทันใด โดยนักวิชาการที่สนับสนุนแนวความคิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Walter Lippman ที่คิดคําว่า “Pictures in our heads” (มโนภาพในหัว), Robert Ezra Park และ Cohen แต่หัวเลี้ยว หัวต่อที่ถือเป็นรากฐานของการค้นคว้าวิจัยจริง ๆ จะเริ่มขึ้นเมื่อนักสังคมวิทยา คือ พอล เอฟ ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) และคณะ ได้ทําวิจัยบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1942 และ ค.ศ. 1948

38. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คํานิยาม และสมมุติฐานเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(1) เคอร์ลินเกอร์
(2) เคอร์ลิงเกอร์
(3) เคอร์ลิงเจอร์
(4) เคอร์ลินเจอร์
ตอน 4 หน้า 15, 22 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของ แนวความคิด คํานิยาม และสมมุติฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

39. ข้อความใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication)
(1) การคิดคํานวณเลขในใจ
(2) การพูดเตือนตัวเอง
(3) การฝันและการละเมอว่ากําลังคุยกับเพื่อน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัย ระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน ได้แก่ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

40. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนสมมุติฐานมีหน้าที่และความสําคัญอย่างไร
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) กําจัดความซับซ้อน
(4) กําจัดความไม่คงที่
ตอบ 2 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท
(Description and Classification)
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ (Analysis)
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด
(Meaning and Measurement)
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (Plausibility and Testability)
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม
เข้ามาอีก 2 ประการ คือ
1. การจัดลําดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความซ้ําซ้อน
(Elimination of Tautology)
2. การจัดลําดับสมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความไม่คงที่
(Elimination of Inconsistency)

41. ทฤษฎีใดต่อไปนี้กล่าวถึงเรื่องผู้นําความคิดเห็น
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 2 หน้า 180, 182 – 183 ลาซาร์สเฟลด์และคณะ ได้ค้นพบทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) โดยบังเอิญไม่มีการวางแผนการมาก่อน เพราะเดิมทีพวกเขา มุ่งศึกษาวิจัยอิทธิพลของสื่อมวลชนตามทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียวหรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ) แต่กลับพบว่าการกระจายหรือการไหลของข่าวสารใน การสื่อสารมวลชนเกิดขึ้น 2 จังหวะ คือ จากสื่อมวลชนไปถึงผู้นําความคิดเห็น (Opinion Leader) จังหวะหนึ่ง และจากผู้นําความคิดเห็นไปถึงประชาชนทั่วไปอีกจังหวะหนึ่ง

42. ข้อใดไม่ใช่การสื่อสารสาธารณะ
(1) การอภิปรายในหอประชุม
(2) การสัมมนาวิชาการ
(3) การปราศรัยหาเสียง
(4) การประชุมบุคลากร
ตอบ 4 หน้า 42 – 43 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) หรือการสื่อสาร สาธารณะ (Public Communication) จะประกอบไปด้วย ผู้รับสารจํานวนมากมารวมอยู่ ในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจะอยู่ห่างไกลกัน จึงทําให้โอกาสที่จะ แลกเปลี่ยนข่าวสารกันโดยตรงมีน้อย ได้แก่ การจัดนิทรรศการ, การปาฐกถา, การปราศรัย หาเสียง, การอภิปรายหรือสัมมนาในหอประชุม หรือแม้แต่การเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็น จํานวนมากจนต้องอาศัยสื่อการสอนเข้ามาช่วยในการสอน เช่น การใช้โทรทัศน์วงจรปิด, การใช้ไมโครโฟน ฯลฯ (ส่วนการประชุมบุคลากร เป็นการสื่อสารในองค์การ)

43. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่เน้นว่าสื่อมวลชนมีผลต่อผู้รับสารโดยตรงและรวดเร็ว
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181 ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสาร เล็งผลเลิศ) เสนอว่า สื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใดต่อมวลชน กล่าวคือ สื่อมวลชนเป็นเหมือนอาวุธที่มีอํานาจมหาศาลสามารถดลบันดาลให้ประชาชนเป็น อะไรก็ได้ ข่าวสารจากสื่อมวลชนจะถึงและมีผลต่อประชาชนโดยตรงและรวดเร็วทันทีทันใดโดยไม่มีอะไรกีดขวางและปราศจากการต่อต้านจากผู้รับสาร

44. แบบจําลองของใครต่อไปนี้ที่เน้นว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือ ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ
(1) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(2) วิลเบอร์ ชแรมม
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 3 หน้า 61-62 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ จัดเป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นมาเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือเกิด ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารช่วยให้ เกิดการตกลงใจหรือยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อใดที่มีความไม่สมดุล เกิดขึ้น มนุษย์ก็จะแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อขจัดความยุ่งยากหรือ ความเครียดอันเกิดจากความไม่สมดุลนั้น ๆ

45. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นําวิธีการกําหนดสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการอนุมานอย่างมีเหตุผล
(1) Aristotle
(2) Schramm
(3) Francis Bacon
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง 3. ข้อสรุป

46. แบบจําลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโน้มน้าวใจ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

47. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย
(1) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
(2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(3) วิลเบอร์ ชแรมม
(4) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
ตอบ 1 หน้า 4 ชาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย

48. บทวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชนนั้น สามารถจัดเป็นสารประเภทใด
(1) สารประเภทความรู้สึก
(2) สารประเภทข้อคิดเห็น
(3) สารประเภทข้อเท็จจริง
(4) ทั้งประเภท 1 และประเภท 2 รวมกัน
ตอบ 2 หน้า 69 – 71 สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เกิดขึ้นจากการประเมินของผู้ส่งสาร ซึ่งอาจเป็นความรู้สึก แนวความคิด และความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเอง บุคคลอื่น วัตถุ หรือ เหตุการณ์ใดก็ตาม ซึ่งสารประเภทนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ เมื่อไปปรากฏ อยู่ในเนื้อหาของข่าวก็จะทําให้ประชาชนผู้รับสารเกิดความสับสนและไขว้เขวได้ง่าย เช่น บทวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน เป็นต้น

49. ปฏิกิริยาตอบกลับหรือปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นับว่าเข้าข่ายการสื่อสารแบบใด
(1) Two-ways Communication
(2) One-way Communication
(3) Two-way Communication
(4) Interaction
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. ช่องทางติดต่อทั้งห้าของมนุษย์ อยู่ในแบบจําลองการสื่อสารตามทัศนะของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ชแรมม์
(2) เบอร์โล
(3) ออสกูด
(4) นิวคอมบ์
ตอบ 2 หน้า 59, 61, 72, (ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ) ตามทัศนะของเบอร์โล ช่องทางติดต่อหรือ ช่องทางการสื่อสาร (Channel or C) ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกของมนุษย์
มี 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

51. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึงการเข้ารหัส การถอดรหัส และการตีความ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

52. จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีเพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งใดต่อไปนี้ในการช่วย ทํานายเหตุการณ์เหล่านั้น
(1) การนิยาม
(2) ตัวแปร
(3) องค์ประกอบหรือปัจจัย
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสําคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิด ๆ อะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

53. การตั้งสมมุติฐานโดยวิธีอุปนัย ผู้คิดค้นวิธีนี้คือใครต่อไปนี้
(1) ชาร์ลส์ อี. ออสกุด
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) วิลเบอร์ ชแรมม
(4) อริสโตเติล
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นผู้คิดค้นวิธีตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดย วิธีอุปนัย (Induction) หรือการอุปมานอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยที่ผู้วิจัย หรือผู้สํารวจขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่เคยมีผู้ใดทําการวิจัยมาก่อน ดังนั้น ผู้วิจัยต้องใช้วิธีวิจัยขั้นสํารวจมาช่วย เพื่อให้สามารถสร้างสมมุติฐานขึ้นมาเองได้ จึงถือเป็นวิธี การได้ความรู้โดยการศึกษาคุณลักษณะของข้อมูลทีละหน่วย (Unit) หลาย ๆ หน่วย

54. ผู้ใดต่อไปนี้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”
(1) Cart I. Hoveland
(2) Warren W. Weaver
(3) George A. Miller
(4) Jurgen Ruesch
ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า “การสื่อสาร หมายถึง
การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”

55. สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) สื่อเฉพาะกิจ
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์ มี 5 ประเภท คือ
1. สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ พ่อสื่อแม่สื่อ ฯลฯ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ ฯลฯ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
5. สื่อระคน คือ สื่อที่ทําหน้าที่นําสารได้แต่ไม่อาจจัดไว้สื่อหนึ่งสื่อใดใน 4 ประเภทข้างต้น ได้แก่ หนังสือพิมพ์กําแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

56. ตัวแปรแทรก ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) ตัวแปรที่เปลี่ยนตามตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น
(3) ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน
(4) ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

57. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร มีสาระสําคัญที่สอดคล้องกับแนวความคิดของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ดี.เอ็ม.ไรท์
(2) ดี.เอ็น.ไวท์
(3) ดี.เอ็ม.ไวท์
(4) ดี.เอ็น.ไรท์
ตอบ 3 หน้า 197 – 198 แบบจําลองหรือทฤษฎีสื่อสารมวลชนของ ดี.เอ็ม.ไวท์ ได้อธิบายอย่างง่าย ๆ ถึงบทบาทของผู้ปิดและเปิดประตูสาร หรือผู้เฝ้าประตูของสื่อมวลชน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนกว่านี้ และข่าวสารจากสื่อมวลชนก็มักจะไหลผ่านผู้เฝ้าประตู หรือผู้ปิดและเปิดประตูสารต่าง ๆ มากมายหลายชั้นทีเดียว

58. ทฤษฎีที่ใช้และอ้างอิงถึงในวงการสื่อสารมวลชนแบ่งเป็นกลุ่มอะไรบ้าง
(1) 3 กลุ่ม คือ ทฤษฎีเข็มฉีดยา ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ และจังหวะเดียว
(2) 2 กลุ่ม คือ ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูข่าวสาร และทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) 3 กลุ่ม คือ ทฤษฎีจุลภาค มหภาค และมัชฌิมภาค
(4) 2 กลุ่ม คือ ทฤษฎีจุลภาค และมหภาค
ตอบ 3 หน้า 176 ทฤษฎีที่ใช้และอ้างอิงถึงในการวิจัยของวงการสื่อสารมวลชน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ทฤษฎีมหภาค (ระดับรวมเบ็ดเสร็จ หรือระดับสังคม)
2. ทฤษฎีจุลภาค (ระดับบุคคล)
3. ทฤษฎีมัชฌิมภาค (ระดับกลาง หรือระดับระหว่างบุคคล) ทั้งนี้หนังสือเรียนบางเล่มอาจจําแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ทฤษฎีมหภาค และทฤษฎีจุลภาค ซึ่งเป็นไปเพื่อความสะดวกมากกว่า แต่ไม่ควรถือเป็นข้อยุติเด็ดขาด เพราะระหว่างมหภาคและ จุลภาคนั้นยังมีมัชฌิมภาคอยู่

59. สื่อข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามจํานวนและลักษณะของการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) สื่อมนุษย์
(2) สื่อเฉพาะกิจและสื่อประสม
(3) สื่อธรรมชาติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 73 – 74 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้จํานวนผู้เข้าร่วมในกระบวนการสื่อสาร และลักษณะการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์ มี 4 ประเภท คือ
1. สื่อระหว่างบุคคล ได้แก่ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ
2. สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
3. สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ การจัดทํานิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน ฯลฯ
4. สื่อประสม ได้แก่ การนําสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นไปใช้ในการสื่อสาร

60. ท่านใดต่อไปนี้ที่ให้ความหมายว่า “การสื่อสารครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง และรวมไปถึงพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์”
(1) วิลเบอร์ ชแรมม
(2) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(3) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(4) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

61. การตั้งสมมุติฐาน มักประกอบด้วยตัวแปรใดกับตัวแปรใดต่อไปนี้
(1) ตัวแปรกดกับตัวแปรแทรก
(2) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรแทรก
(3) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรกด
(4) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
ตอบ 4 หน้า 20, 24, 26, (คําบรรยาย) สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว (ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม) หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้สมมุติฐานอาจหมายถึง ข้อความที่กําลังจะถูก ทดสอบว่าถูกหรือน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลถูกทดสอบจนเป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้ว และไม่ต้องถูกทดสอบอีก ข้อความนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นสมมุติฐานอีกต่อไป

62. สื่อมวลชนจะต้องเป็นผู้นําประชาชนไปสู่โลกทัศน์กว้าง ถือเป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ในลักษณะใด
(1) สื่อกลางของสาธารณะ
(2) สื่อกลางความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ
(3) สื่อกลางความสัมพันธ์ของสถาบันที่มีอํานาจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

63. แบบจําลองการสื่อสารตามภาพด้านล่าง เป็นแนวคิดของผู้ใดต่อไปนี้

(1) ออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) เดวิด เค. เบอร์โล
(4) แชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

64. ผู้ใดต่อไปนี้อธิบายว่า การสื่อสาร คือ “การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) วิลเบอร์ ชแรมม
(3) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(4) ชาร์ลส์ อี. ออสกัด
ตอบ 2 หน้า 4 วิลเบอร์ ซแรมม์ (Wilbur Schramm) อธิบายว่า “การสื่อสาร คือ การมีความเข้าใจ ร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (Information Signs)”

65. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงเนื้อหาและความหมายของวัฒนธรรมมวลชนได้ถูกต้อง
(1) มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(2) เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือการตกแต่งเพื่อความสวยงาม
(3) มีลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง เป็นอมตะ
(4) มีลักษณะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ตอบ 1 – หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี

3. เนื้อหาและความหมาย มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

66. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงเนื้อหาและความหมายของวัฒนธรรมพื้นบ้านได้ถูกต้อง
(1) มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(2) เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือการตกแต่งเพื่อความสวยงาม
(3) มีลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง เป็นอมตะ
(4) มีลักษณะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ตอบ 2 , 4 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน โดยปกติแล้วจะถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับการเหลียวแล แต่ปัจจุบันได้รับการ ปกป้องจากทางการมากขึ้น
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะลอกแบบหรือผลิตขึ้นตามแบบแผนทางประเพณี ออกแบบ ด้วยมือ และไม่เห็นความจําเป็นของการตลาด
3. เนื้อหาและความหมาย อาจจะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ มีลักษณะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือเป็น การตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
4. ผู้รับสาร เป็นสมาชิกของวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ถูกจํากัดด้วยวัฒนธรรม
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความเป็นปึกแผ่นและการรวมตัวกัน

67. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงกับวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อนําไปสู่
การอธิบายคําว่า “วัฒนธรรมมวลชน”
(1) Blume
(2) Bauman
(3) Wilensky
(4) Wilenski
ตอบ 3 หน้า 119 Wilensky ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคํา 2 คํา คือ วัฒนธรรมชั้นสูง (High Culture) กับวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) เพื่อจะนําไปสู่การอธิบายถึงคําว่า “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture)

68.Cohen เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการสื่อสารใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

69. ทฤษฎีใดเสนอว่าสื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใดต่อมวลชน
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

70.Baumen ได้อธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนในลักษณะใดต่อไปนี้
(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) เป็นมรดกทางสังคมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
(3) เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิต
(4) เป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากต้องการก้าวสู่ความเป็นสากล
ตอบ 4 หน้า 120 Baumen ได้อธิบายไว้ว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) เป็นผลผลิตที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของกระบวนการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของสังคมสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะความรุ่งโรจน์ของการตลาด การประสบความสําเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ และ ความหลากหลายของเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ได้สร้างให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมขึ้นมา

71. การสื่อสารของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ นโยบาย การจัดองค์การ และการแบ่งงานกันทํา เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย เรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารสาธารณะ
(2) การสื่อสารในองค์การ
(3) การสื่อสารระหว่างองค์การ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 43 การสื่อสารในองค์การ (Organizational Communication) เป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานที่เป็นทางการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ นโยบาย การจัดองค์การ และการแบ่งงานกันทํา เพื่อปฏิบัติภารกิจขององค์การหรือหน่วยงานให้บรรลุ เป้าหมายและสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์การ เช่น การสื่อสารในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

72. การสื่อสารที่มีรองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดเป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารระหว่างประเทศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

73. จากข้อ 72. รองนายกรัฐมนตรีจะนับเป็นสื่อใดต่อไปนี้ หากดูถึงคุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่อมนุษย์
(3) สื่อเฉพาะกิจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

74. แบบจ่าลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานในเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ลาสเวลล์
(2) แชนนั้นและวีเวอร์
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) ออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

75. การทํานิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน หากดูจากจํานวนผู้เข้าร่วมในกระบวนการสื่อสาร
เป็นเกณฑ์แล้ว นับเป็นสื่อใดต่อไปนี้
(1) สื่อเฉพาะกิจ
(2) สื่อนิตยสาร
(3) สื่อมวลชน.
(4) สื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

76. สมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยการคาดการณ์คําตอบที่คาดหวังจะได้รับจากการวิจัยของผู้ทําการวิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผลและผลการวิจัยที่มีมาก่อน เรียกว่า
(1) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยวิธีนิรนัย
(2) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการอุปมานอย่างมีเหตุผล
(3) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยวิธีอุปนัย
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

77.Cognitive Dissonance Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดสอดคล้องกับแบบจําลองของผู้ใดต่อไปนี้
(1) Walter Lippman
(2) Newcomb
(3) Wilbur Schramm
(4) Osgood
ตอบ 2 หน้า 63 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าแบบจําลองของนิวคอมบ์ (Newcomb) จนนําไปสู่ การตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) เพื่อที่จะ อธิบายการสื่อสารภายในตัวบุคคลในแง่ที่ว่า การตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือความไม่เหมือนกันทางความคิดขึ้น

78. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มีการเน้นถึงเรื่องการแสวงหาข่าวสาร
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 214 – 215, 222 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับ จากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่อง การแสวงหาข่าวสาร(Information-seeking) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสารหรือ มวลชนสนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการเน้นว่า “มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้” (Need for Cognition) อันเป็น ความต้องการที่จะแสวงหาระเบียบและความเข้าใจที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของตนเอง โดยความต้องการอยากจะรู้นี้เป็นแรงผลักดันที่มนุษย์เราเรียนรู้มาจากการอยู่ในสังคม

79. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มีการเน้นว่า มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. ในช่วงต้นของการค้นพบทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะได้มาจากการศึกษาวิจัยในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) ทฤษฎีเล็งผลเลิศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

81.Walter Lippman เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

82. การที่นักสื่อสารมวลชนทําหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอ
ไปยังผู้รับสาร อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 2 หน้า 195, 198, (คําบรรยาย) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน ที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเลือก หรือปฏิเสธข่าวสารต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น ยังทําหน้าที่จัดสารให้อยู่ในรูปที่ต้องการ ตลอดจน กําหนดการนําเสนอข่าวสาร กําหนดเวลาว่าจะเสนอในช่วงเวลาใด ลดหรือเพิ่มจํานวนข่าวสาร หรือเลือกเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น ฯลฯ

83. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแบบจําลอง PSI
(1) ไฮเดอร์
(2) นิวคอมบ์
(3) จอร์จ เฮอเบิร์ด มีด
(4) ออสกูด
ตอบ 1 หน้า 37 แบบจําลองการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) ที่นิยม ใช้อย่างแพร่หลาย คือ แบบจําลองการสื่อสาร PSI ของไฮเดอร์ (Heider) ซึ่งอาศัยทฤษฎีหรือ แบบของความคิด (Cognitive Model) จากสาขาจิตวิทยาทางสังคมมาใช้ในการอธิบาย

84.Rewriter ของหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ทําหน้าที่ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) ผู้รายงานข่าว
(2) ผู้เขียนข่าว
(3) ผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ผู้สื่อข่าว
ตอบ 3 หน้า 200 Rewriter (ผู้เรียบเรียงข่าว) จะทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูหรือผู้ปิดและเปิดประตูสาร
อีกต่อหนึ่ง โดยทําหน้าที่ตบแต่งข่าวด้วยการตัดทอนย่อหน้า ตัดบางประโยคและบางคําของข่าว หรืออาจไม่แก้ไขต้นฉบับข่าวที่นักข่าวคนนั้นส่งมาเลยก็ได้ หลังจากนั้นจึงส่งข่าวออกไปตีพิมพ์หรือออกอากาศ

85. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชั้นสูง และวัฒนธรรมมวลชน สามารถพิจารณาได้จากประเด็นใดต่อไปนี้
(1) เนื้อหาและความหมาย
(2) วัตถุประสงค์ของการใช้
(3) ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 120 – 122 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูง วัฒนธรรมพื้นบ้าน และวัฒนธรรมมวลชน จะพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต
3. เนื้อหาและความหมาย
4. ผู้รับสาร
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล

86. การผลิตจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่และใช้เทคโนโลยีอย่างมีแบบแผน จัดอยู่ในวัฒนธรรมใดต่อไปนี้
(1) วัฒนธรรมสื่อมวลชน
(2) วัฒนธรรมมวลชน
(3) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(4) วัฒนธรรมชั้นสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

87. วัฒนธรรมใดต่อไปนี้ที่เน้นถึงเรื่องความพอใจอย่างฉับพลัน
(1) วัฒนธรรมสื่อมวลชน
(2) วัฒนธรรมมวลชน
(3) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(4) วัฒนธรรมขั้นสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

88. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่ไม่จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภท Effect Approach
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 178 – 180 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องประสิทธิผลสื่อมวลชน
(Effect Approach) อิทธิพล หรือผลกระทบจากสื่อ มีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ)
2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
4. ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
5. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

89. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภท Functional Approach
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 178, 222 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องการใช้สื่อของมวลชน (Functional Approach) มีดังนี้
1. ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับจากสื่อ หรือทฤษฎี
อรรถประโยชน์ของผู้บริโภค
2. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. ทฤษฎีสังคมมวลชน ฯลฯ

90. ทฤษฎีเข็มฉีดยา จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภทใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องผลจากการกระทําของสื่อมวลชน
(2) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างหน้าที่
(3) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องการใช้สื่อของมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

91. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่สื่อต้องอยู่ภายใต้การเสนอแนะของรัฐบาล
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(3) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(4) ทฤษฎีสื่อเสรี
ตอบ 3 หน้า 254 ทฤษฎีอํานาจนิยม มักจะใช้กับประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองแบบ เผด็จการ โดยสื่อมวลชนจะไม่มีอิสรภาพและต้องอยู่ภายใต้การชี้นําหรือการเสนอแนะ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล มีการตรวจข่าวและลงโทษผู้ที่เสนอข่าวผิดไปจากแนวนโยบาย ทางการเมืองที่กําหนดมาจากผู้มีอํานาจ

92. ผู้ใดที่มีส่วนในการวางรากฐานทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(1) โจเซฟ พูลิตเซอร์
(2) มิลตัน
(3) เรอเน มาเออ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 263 จากพฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์ระบบเสรีในสหรัฐฯ ได้ผลักดันให้นักคิด นักวิชาการเข้ามาช่วยนักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์ผู้โฆษณาสร้างจรรยาบรรณสําหรับวิชาชีพนี้ มาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานของทฤษฎีความรับผิดชอบ ทางสังคมเป็นอย่างมาก คือ โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) ที่ได้พยายามต่อสู้เพื่อตั้ง สถาบันการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ขึ้น (ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก)

93. ทฤษฎีอํานาจนิยม เสรีนิยม ความรับผิดชอบทางสังคม เบ็ดเสร็จนิยม สื่อสารเพื่อการพัฒนา และทฤษฎี สื่อมวลชนของประชาชน สามารถจัดอยู่ในประเภทของทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีสังคมศาสตร์
(2) ทฤษฎีปทัสถาน
(3) ทฤษฎีแนวปฏิบัติ
(4) ทฤษฎีสามัญสํานึก
ตอบ 2 หน้า 253 – 276, 279 – 281 ทฤษฎีด้านการสื่อสารมวลชนที่จัดอยู่ในประเภทของ
ทฤษฎีปทัสถาน อาจแบ่งได้ดังนี้
1. ทฤษฎีอํานาจนิยม
2. ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม
3. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
4. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
5. ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
6. ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

94. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มักใช้กับประเทศที่เพิ่งประสบกับภาวะสงคราม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 4 หน้า 272 – 274 ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ มักใช้กับประเทศเกิดใหม่หรือเพิ่งประสบกับภาวะสงคราม รวมทั้งประเทศยากจนในโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนา เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอจึงไม่อาจนําทฤษฎีอื่น ๆ มาใช้ได้เลย นอกจากทฤษฎีนี้

95. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึงปัญหาว่า ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของสื่อมักมีเสรีภาพมากกว่าบุคคลธรรมดา
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 256, 258 – 262 ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยมมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1. ไม่อาจกําหนดได้อย่างชัดเจนว่าสุดขอบเขตของเสรีภาพอยู่ที่จุดใด
2. ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของสื่อมักมีเสรีภาพมากกว่าบุคคลธรรมดา
3. เน้นถึงความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่าเรื่องข่าวสารข้อมูลที่มีแง่มุมสลับซับซ้อน ฯลฯ

96. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดต่อไปนี้ที่เป็นทฤษฎียากที่สุดในการทําความเข้าใจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(3) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน
ตอบ 4 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย จัดเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดากลุ่ม ทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทําความเข้าใจ เนื่องจากเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นถึง ความสําคัญของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและ สังคม จึงเป็นรูปแบบของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในแนวปฏิบัติ

97. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นปัญหาของทฤษฎีเสรีนิยม
(1) สุดขอบเขตของเสรีภาพไม่มีการกําหนดไว้
(2) หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือการแสดงออกของบุคคล
(3) หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือในการแสวงหาสัจจะของสังคม
(4) การเสนอข่าวสารได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมในระยะเริ่มต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุใดต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์ในระบบเสรี
(2) การสร้างจรรยาบรรณสําหรับวิชาชีพ
(3) การตั้งสถาบันการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

99. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม ห้ามไม่ให้สื่อมวลชนทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) ห้ามละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
(2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้
(3) ห้ามละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
(4) ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 2 หน้า 280 ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียตมีบทบาทหน้าที่ต้องทํา และบทบาทหน้าที่ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. บทบาทหน้าที่ (Functions) คือ สื่อมวลชนถือเป็นอุปกรณ์ของรัฐในการสร้างความสําเร็จ และความสืบเนื่องของระบบสังคมนิยมภายใต้อํานาจเผด็จการของพรรค ซึ่งมาจากชนชั้น กรรมาชีพ โดยจะเน้นเสนอข่าวสาร ความคิดเห็น และการศึกษาภายในกรอบอุดมการณ์ ของสังคมนิยม
2. บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) คือ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรค ที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้

100. ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน ห้ามไม่ให้สื่อมวลชนทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) ห้ามละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
(2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้
(3) ห้ามละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
(4) ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 4 หน้า 281 ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือสื่อมวลชนประชาธิปไตย มีบทบาทหน้าที่ ต้องทํา และบทบาทหน้าที่ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. บทบาทหน้าที่ (Functions) คือ ต้องสนับสนุนบทบาทและสิทธิของบุคคล ชุมชนเล็ก และ ชนกลุ่มน้อย มุ่งส่งเสริมประชาธิปไตยจากฐานล่าง โดยให้ข่าวสาร ความคิดเห็น การศึกษา และที่สําคัญคือ ให้สิทธิในการสื่อสารและให้โอกาสกับประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมกับ สื่อมวลชน
2. บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) คือ ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

Advertisement