การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3105 (LAW 3005) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
ข้อแนะนํา ข้อสอบนี้เป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายชูวิทย์เช่ารถยนต์จากบริษัท ม้าบิน จํากัด มาใช้เพื่อขับรถพาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อนที่ ภูสอยดาว จังหวัดน่าน ระหว่างทางได้ถูกนายอนุทินที่เพิ่งเสพกัญชามา ทําให้เกิดภาพหลอน ขับรถมาด้วยความเร็วสูงเฉี่ยวชนท้ายรถยนต์ที่นายชูวิทย์เช่ามาได้รับความเสียหาย นายชูวิทย์จึง ต้องการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายอนุทินเป็นเงิน 500,000 บาท นายอนุทินต่อสู้ว่านายชูวิทย์ ไม่ใช่เจ้าของรถที่แท้จริง ไม่มีอํานาจฟ้อง ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายชูวิทย์จะฟ้องนายอนุทินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 55 “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 บุคคลผู้ที่อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่และจะเสนอคดีต่อศาล ส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้นั้น จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่อย่างแท้จริงด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชูวิทย์ได้เช่ารถยนต์จากบริษัท ม้าบิน จํากัด มาใช้ เพื่อขับรถ พาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อนที่ภูสอยดาว จังหวัดน่าน ระหว่างทางได้ถูกนายอนุทินซึ่งขับรถมาด้วยความเร็วสูง เฉี่ยวชนท้ายรถยนต์ที่นายชูวิทย์เช่ามาได้รับความเสียหาย นายชูวิทย์จึงต้องการฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก นายอนุทินเป็นเงิน 500,000 บาท แต่นายอนุทินต่อสู้ว่านายชูวิทย์ไม่ใช่เจ้าของรถที่แท้จริง ไม่มีอํานาจฟ้องนั้น กรณีนี้เห็นว่า แม้ในขณะเกิดเหตุนั้นนายชูวิทย์จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันพิพาทก็ตาม แต่เมื่อนายชูวิทย์ได้เช่า รถยนต์คันพิพาทจากบริษัท ม้าบิน จํากัด นายชูวิทย์ย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่ามา และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ในลักษณะที่เรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่า เมื่อรถยนต์คันที่นายชูวิทย์เช่ามาถูกเฉี่ยวชน ได้รับความเสียหาย นายชูวิทย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอํานาจฟ้องได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 2204/2542) ดังนั้น
กรณีดังกล่าวนายชูวิทย์จึงสามารถฟ้องนายอนุทินได้

สรุป นายชูวิทย์สามารถฟ้องนายอนุทินได้

 

ข้อ 2. นายพิธามีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดชลบุรี เป็นเพื่อนกับนางสุดารัตน์ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดระยอง ทั้งสองคนชวนกันไปเที่ยวเกาะช้างในจังหวัดตราด ระหว่างนั่งพักทานอาหารเที่ยงริมชายหาด นายพิธาได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายสวนทุเรียนของนางสุดารัตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี โดย ทําสัญญาจะซื้อจะขายกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้มีการชําระราคา ที่ดิน และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายพิธาเรียบร้อยแล้ว แต่นางสุดารัตน์ยังไม่ขนย้ายทรัพย์สินและคนงานออกจากสวนทุเรียนแปลงดังกล่าว นายพิธา ต้องการฟ้องขับไล่นางสุดารัตน์ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายพิธาต้องยื่นคําฟ้องต่อศาลใด เพราะเหตุใดจงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 4 ทวิ “คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือ ต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล”

มาตรา 5 “คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ ได้วางหลักไว้ว่า คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่ จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพิธามีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดชลบุรี เป็นเพื่อนกับนางสุดารัตน์ซึ่งมี ภูมิลําเนาอยู่จังหวัดระยอง ทั้งสองคนชวนกันไปเที่ยวเกาะช้างในจังหวัดตราด และในระหว่างนั่งพักทานอาหารเที่ยง ริมชายหาด นายพิธาได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายสวนทุเรียนของนางสุดารัตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี โดยทํา สัญญาจะซื้อจะขายกันที่สนามบินสุวรรณภูมิจังหวัดสมุทรปราการ และต่อมาได้มีการชําระราคาที่ดิน และมีการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายพิธาเรียบร้อยแล้ว แต่นางสุดารัตน์ยังไม่ขนย้าย ทรัพย์สินและคนงานออกไปจากสวนทุเรียนแปลงดังกล่าว นายพิธาจึงต้องการฟ้องขับไล่นางสุดารัตน์ ดังนี้ นายพิธาจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลใดนั้น กรณีนี้เห็นว่าการฟ้องขับไล่ให้บุคคลออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น แม้จะไม่ได้เป็นการขอบังคับเอาแก่ตัวอสังหาริมทรัพย์โดยตรงก็ตาม แต่การฟ้องขับไล่ให้บุคคลออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น จําเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นด้วยว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของใคร คําฟ้องดังกล่าวจึงเป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่นายพิธาจะฟ้องขับไล่นางสุดารัตน์ให้ ออกไปจากสวนทุเรียนซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น จึงต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ นายพิธาจึงต้องยื่นคําฟ้อง ต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล คือศาลจังหวัดจันทบุรี หรือศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล คือศาลจังหวัดระยองเท่านั้น

และเมื่อคําฟ้องของนายพิธาอาจยื่นฟ้องต่อศาลได้สองศาล คือ ศาลจังหวัดจันทบุรี และศาล
จังหวัดระยอง ดังนั้น นายพิธาจะยื่นคําฟ้องต่อศาลจังหวัดจันทบุรีหรือศาลจังหวัดระยองศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5

สรุป นายพิธาจะต้องยื่นคําฟ้องขับไล่นางสุดารัตน์ต่อศาลจังหวัดจันทบุรีหรือศาลจังหวัดระยอง ศาลใดศาลหนึ่ง ด้วยเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากบ้านเช่าอ้างว่า จําเลยผิดสัญญาเช่าเนื่องจากต่อเติมบ้านเช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา สัญญาเช่าได้ครบกําหนด โจทก์มาฟ้อง ขับไล่จําเลยออกจากบ้านเช่าอีก อ้างว่าสัญญาเช่าครบกําหนดแล้ว จําเลยต่อสู้ว่าคดีดังกล่าวเป็น ฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ํา ขอให้ศาลยกฟ้อง ดังนี้ การฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ําหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 148 “คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้อง
ฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน…”

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น…”

วินิจฉัย

กรณีที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้ําตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 มีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
1. คดีนั้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้ว
2. คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นจะต้องถึงที่สุด
3. ห้ามคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
4. ห้ามเฉพาะประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้ว
5. ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้วโดยอาศัยเหตุใด ก็ห้ามฟ้องเฉพาะอ้างเหตุนั้นอีก

กรณีที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) มีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
1. คดีเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา
2. คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3. คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4. ห้ามโจทก์ฟ้อง
5. ในศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากบ้านเช่าโดยอ้างว่าจําเลยผิดสัญญาเช่า เนื่องจากไปต่อเติมบ้านเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา สัญญาเช่าได้ครบกําหนด โจทก์มาฟ้องขับไล่จําเลยออกจากบ้านเช่าอีก โดยอ้างว่าสัญญาเช่าครบกําหนดแล้ว จําเลยต่อสู้ว่าคดีดังกล่าวเป็น ฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำ ขอให้ศาลยกฟ้อง ดังนี้ การฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำหรือไม่นั้น แยกวินิจฉัย ได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่

ตามอุทาหรณ์ แม้คดีเดิมจะอยู่ในระหว่างพิจารณาและคู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลัง จะเป็นคู่ความเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อคดีเดิมนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยโดยอ้างว่าจําเลยผิดสัญญาเช่า
เนื่องจากต่อเติมบ้านเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่ในคดีหลังโจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยโดยอ้างว่าสัญญาเช่า ครบกําหนดแล้ว การฟ้องคดีแรกกับคดีหลังจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์จึงขาดหลักเกณฑ์ของ การเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน (คําพิพากษาฎีกาที่ 316/2511)

ประเด็นที่ 2 ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 นั้น จะมีหลักเกณฑ์ที่สําคัญอยู่ประการหนึ่งคือ ในคดีแรกหรือคดีเดิมนั้นจะต้องได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว และคู่ความเดียวกันได้นําคดีนั้นมาฟ้องร้อง กันอีก แต่กรณีตามอุทาหรณ์นี้นั้น คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ยังไม่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยในคดีหลังจึงขาดหลักเกณฑ์ของการเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

สรุป ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ําแต่อย่างใด

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้จําเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวออกไป แต่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์จึงยื่นคําขอให้ศาลพิพากษาให้ตนชนะคดี ศาลจึงพิพากษาว่าคดีโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย จําเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จริง ให้จําเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ําออกไปโดยไม่ได้มีการสืบพยาน ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําพิพากษาของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 198 วรรคหนึ่ง “ถ้าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ให้โจทก์มีคําขอต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่ระยะเวลาที่กําหนดให้จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้ตนเป็น
ฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด”

มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ศาลจะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็น ฝ่ายชนะคดี โดยจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลําพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้

เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคําสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้าง ของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจําเป็นก็ได้ แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม”

วินิจฉัย

การที่โจทก์ฟ้องจําเลย แต่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์ เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การนั้น เป็นการดําเนินการตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และถ้าศาลเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอาจมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้โจทก์ เป็นฝ่ายชนะคดีก็ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม (ป.วิ.แพ่งมาตรา 198 ทวิ วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้จําเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปนั้น ถือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้เพราะในการพิจารณานั้นจําเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์ด้วยว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของใคร กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง แม้ว่าตามข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ และโจทก์ได้ยื่นคําขอให้ศาลพิพากษาให้ตนชนะคดีโดยจําเลยขาดนัดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และศาลเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานไม่ได้ เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง ได้กําหนดให้ศาลต้องสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่ เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาว่าคดีโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย จ่าเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ดินของโจทก์จริง และให้จําเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปโดยไม่มีการสืบพยานนั้น คําพิพากษาของศาลจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําพิพากษาของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

Advertisement