การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3105 (LAW 3005) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายพุธเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายพฤหัสเป็นจําเลยต่อศาล ขอให้นายพฤหัสออกจากที่ดินแปลงพิพาท ของนายพุธ ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวนายพุธได้มาโดยการยกให้จากนายอังคารซึ่งเป็นบิดาของนายพุธระหว่างการพิจารณาคดี นายพุธประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จึงขายที่ดินแปลงพิพาท ให้กับนางสาวจุ้ยเพื่อนสาวคนสนิท กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงพิพาทจึงตกแก่นางสาวจุ้ย ต่อมานางสาวจุ้ยและนายอังคารต้องการยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าว

Advertisement

ให้วินิจฉัยว่า นางสาวจุ้ยและนายอังคารจะร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคําร้องขอ ต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย”

วินิจฉัย

การร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ผู้ร้องสอดจะต้อง เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น ซึ่งหมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคําพิพากษาคดีนั้นโดยตรงหรือผลของคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วยนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพุธเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายพฤหัสเป็นจําเลยต่อศาล ขอให้นายพฤหัส ออกจากที่ดินแปลงพิพาทของนายพุธ ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวนายพุธได้มาโดยการยกให้จากนายอังคารซึ่งเป็นบิดาของนายพุธ และระหว่างการพิจารณาคดีนายพุธได้ขายที่ดินแปลงพิพาทให้กับนางสาวจุ้ยเพื่อนสาวคนสนิท ทําให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงพิพาทตกแก่นางสาวจุ้ยนั้น เมื่อนางสาวจุ้ยต้องการยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าว นางสาวจุ้ยย่อมสามารถยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้ ทั้งนี้เพราะแม้ว่านางสาวจุ้ย จะไม่มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีก็ตาม แต่นางสาวจุ้ยมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี จึงสามารถ ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2)

ส่วนนายอังคารซึ่งได้ยกที่ดินให้กับนายพุธไปแล้วก่อนฟ้องคดีนั้น จะยื่นคําร้องสอดขอเข้ามาเป็น โจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะนายอังคารไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 57 (2)
สรุป นางสาวจุ้ยสามารถร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวได้ แต่นายอังคารจะร้องสอด เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ได้มีข้อตกลงด้วยวาจาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจํากัดจดทะเบียน มีสํานักงานใหญ่ ที่จังหวัดกระบี่ เพื่อค้าขายเครื่องปรับอากาศ มีนายแอปเปิ้ล นายส้ม นายกล้วย เป็นหุ้นส่วนไม่จํากัด ความรับผิด และนายจัตวากับนายเบญจ เป็นหุ้นส่วนจํากัดความรับผิด บุคคลทั้งห้าเป็นผู้ร่วมกัน ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนฯ นั้น โดยนายแอปเปิ้ลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดสงขลาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมา เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 นายแอปเปิ้ลได้ทําสัญญาที่จังหวัดพัทลุงกับนายเอซึ่งเป็นผู้อํานวยการ โรงเรียนเด็กดีจังหวัดตรัง สัญญามีข้อความว่า นายแอปเปิ้ลต้องส่งมอบเครื่องปรับอากาศ 10 เครื่อง ที่ซื้อขายให้แก่นายเอที่โรงเรียนดังกล่าวตามคุณสมบัติของเครื่องปรับอากาศที่กําหนดในเอกสาร แนบท้ายสัญญาซื้อขาย ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2565 ปรากฏว่าได้ติดตั้งแล้ว แต่เครื่องปรับอากาศ ใช้งานไม่ได้ 3 เครื่อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเอฟ้องห้างหุ้นส่วนดังกล่าวและนายแอปเปิ้ล และฟ้องนายจัตวาเพื่อเรียก เงินคืนตามสิทธิในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ที่ศาลจังหวัดตรังได้หรือไม่ เพราะเหตุผลใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(2) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน เขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคล ต้องฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่มูลคดี เกิดขึ้นในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดีเกิด” หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะ ทําให้เกิดอํานาจฟ้อง ซึ่งในกรณีของสัญญานั้น สถานที่ที่มูลคดีเกิดคือสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแอปเปิ้ล นายส้ม นายกล้วย นายจัตวา และนายเบญจ ร่วมกันจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจํากัดจดทะเบียน มีสํานักงานใหญ่ที่จังหวัดกระบี่ เพื่อค้าขายเครื่องปรับอากาศ โดยมีนายแอปเปิ้ล ซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดสงขลาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น เมื่อปรากฏว่าในวันที่ 4 กันยายน 2555 นายแอปเปิ้ลได้ ทําสัญญาที่จังหวัดพัทลุงกับนายเอซึ่งเป็นผู้อํานวยการโรงเรียนเด็กดีจังหวัดตรัง ในสัญญามีข้อความว่านายแอปเปิ้ล ต้องส่งมอบเครื่องปรับอากาศ 10 เครื่องที่ซื้อขายให้แก่นายเอที่โรงเรียนดังกล่าว แต่เมื่อถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เมื่อได้ติดตั้งแล้ว แต่เครื่องปรับอากาศนั้นใช้งานไม่ได้ 3 เครื่อง ดังนี้ หากนายเอจะฟ้องห้างหุ้นส่วนดังกล่าว และนายแอปเปิ้ล และฟ้องนายจัตวา เพื่อเรียกเงินคืนตามสิทธิในสัญญาซื้อขายดังกล่าว นายเอจะต้องยื่นคําฟ้อง ต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาในเขตศาล หรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

และจากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมถือว่ามูลคดีหรือต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้ เกิดอํานาจฟ้องนั้น ได้เกิดขึ้นที่สถานที่ที่มีการทําสัญญาซื้อขายกันคือที่จังหวัดพัทลุง ส่วนจังหวัดตรังเป็นเพียง สถานที่ส่งมอบสินค้าเท่านั้นมิใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิด ดังนั้น นายเอจะฟ้องห้างหุ้นส่วน นายแอปเปิ้ล และนายจัตวา
ที่ศาลจังหวัดตรังไม่ได้

สรุป นายเอจะฟ้องห้างหุ้นส่วนดังกล่าวและนายแอปเปิ้ล และฟ้องนายจัตวา เพื่อเรียกเงินคืน ตามสิทธิในสัญญาซื้อขายดังกล่าวที่ศาลจังหวัดตรังไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นคําฟ้องจําเลยที่ 1 – 3 ร่วมก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ไม่ดี ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จําเลยที่ 1 – 2 ยื่นคําให้การแล้ว แต่จําเลยที่ 3 มิได้ยื่นคําให้การ โจทก์จึงมีคําขอให้ตนเองชนะคดี โดยขาดนัดแล้ว ศาลจึงสั่งให้พิจารณาคดีต่อไป ต่อมาโจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องจําเลยที่ 2 – 3 โดยทนายความของจําเลยที่ 2 แถลงว่าการขอถอนฟ้องนั้นไม่มีเหตุผล ส่วนจําเลยที่ 3 ไม่มาศาล ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องจําหน่ายคดีของจําเลยที่ 2 – 3 ออกจากสารบบความ และดําเนินกระบวน พิจารณาของจําเลยที่ 1 ต่อโดยโจทก์และจําเลยที่ 1 ตกลงกันให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญมาคนละหนึ่งคน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มสิ่งปลูกสร้างโจทก์ได้หรือไม่ โดยตกลงกันว่า ถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมแซมได้โจทก์จะถอนฟ้อง ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญเสียงข้างมากมีความเห็นว่า ซ่อมแซมได้ ศาลจึงมีคําสั่งให้โจทก์ไปถอนฟ้องภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้องจําเลยที่ 1 ให้ท่านวินิจฉัยดังต่อไปนี้

(ก) การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องจําเลยที่ 2 – 3 นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(ข) การที่โจทก์ไม่ไปถอนฟ้องจําเลยที่ 1 นั้น ศาลต้องมีคําสั่งอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 174 “ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ

(2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว”

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาต
ให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องจําเลยที่ 1 – 3 ร่วมก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ไม่ดี ขอให้ชดใช้ ค่าเสียหายแต่โจทก์ จําเลยที่ 1 – 2 ยื่นคําให้การแล้ว แต่จําเลยที่ 3 มิได้ยื่นคําให้การ โจทก์จึงมีคําขอให้ตนเอง ชนะคดีโดยขาดนัดแล้ว ศาลจึงสั่งให้พิจารณาคดีต่อไป ต่อมาโจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องจําเลยที่ 2 – 3 โดยทนายความของจําเลยที่ 2 แถลงว่าการขอถอนฟ้องนั้นไม่มีเหตุผล ส่วนจําเลยที่ 3 ไม่มาศาล ศาลจึงอนุญาตให้ ถอนฟ้องจําหน่ายคดีของจําเลยที่ 2 – 3 ออกจากสารบบความ และดําเนินกระบวนพิจารณาของจําเลยที่ 1 ต่อนั้น

1. กรณีของจําเลยที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จําเลยที่ 3 มิได้ยื่นคําให้การ การที่โจทก์ยื่น คําร้องขอถอนฟ้องจําเลยที่ 3 จึงเป็นการยื่นขอถอนฟ้องก่อนจําเลยยื่นคําให้การ การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง โดยมิได้ฟังจําเลยก่อน จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง
2. กรณีของจําเลยที่ 2 การที่ทนายความของจําเลยที่ 2 แถลงว่าการขอถอนฟ้องไม่มีเหตุผลนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่ศาลได้ฟังจําเลยแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องจําเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม
ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1)

(ข) การที่โจทก์และจําเลยที่ 1 ได้ตกลงกันให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญมาคนละ 1 คน ร่วมกันตรวจสอบ ชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มสิ่งปลูกสร้างโจทก์ได้หรือไม่ โดยตกลงกันว่าถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมแซมได้โจทก์จะ ถอนฟ้อง ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญเสียงข้างมากมีความเห็นว่าซ่อมแซมได้ และศาลได้มีคําสั่งให้โจทก์ไปถอนฟ้อง ภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้องจําเลยที่ 1 นั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 174 (2) แล้ว เพราะเมื่อศาลได้มีคําสั่งให้โจทก์ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่โจทก์มิได้ดําเนินการตามนั้นภายในระยะเวลา ตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนดไว้ และศาลได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนั้น เมื่อถือว่าโจทก์ทั้งฟ้อง ศาลจึงต้องมีคําสั่ง จําหน่ายคดีออกจากสารบบความ

สรุป
(ก) การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องจําเลยที่ 2 – 3 นั้น ชอบด้วยกฎหมาย
(ข) การที่โจทก์ไม่ไปถอนฟ้องจําเลยที่ 1 ศาลต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องอ้างว่า จําเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินจากโจทก์จํานวน 2 ล้านบาท ขอให้ศาลบังคับให้ จําเลยทั้งสองชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จําเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดี ขอให้ศาลยกฟ้อง ส่วนจําเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคําให้การ ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์มาศาล แต่จําเลยทั้งสองทราบนัดโดย ชอบแล้วไม่มาศาล ศาลชั้นต้นจึงสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์นําพยานเข้าสืบแล้ว 2 ปาก แล้วแถลงว่ายังมีพยานที่ต้องสืบเพิ่มอีก 1 ปาก ขอเลื่อนไปนัดหน้า ศาลอนุญาต ในวันสืบพยาน โจทก์ต่อ จําเลยทั้งสองมาศาล แต่โจทก์ไม่มา ศาลถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานต่อไป และมีคําสั่ง นัดสืบพยานจําเลยทั้งสอง จําเลยที่ 1 นําพยานเข้าสืบ ส่วนจําเลยที่ 2 ไม่สืบพยาน ต่อมาศาลมี คําพิพากษาให้จําเลยที่ 2 ชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ ยกฟ้องในส่วนของจําเลยที่ 1 โจทก์ยื่น อุทธรณ์คําพิพากษา จําเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แต่ยื่นคําร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า จําเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 199 “ถ้าจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาล ในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคําให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุ
อันสมควร ให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและดําเนิน
กระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การมิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศาลเห็นว่าการขาดนัด ยื่นคําให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จําเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนําสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้

ในกรณีที่จําเลยมิได้ยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือศาลไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคยมีคําสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ตามคําขอของจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ ตามมาตรา 199 ตรี มาก่อน จําเลยนั้นจะขอยื่นคําให้การตามมาตรานี้อีกหรือจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า จําเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินจากโจทก์จํานวน 2 ล้านบาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยทั้งสองชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จําเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดี ขอให้ศาลยกฟ้อง ส่วนจําเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคําให้การนั้น เมื่อปรากฏว่าในวันสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์มาศาล แต่จําเลยทั้งสองทราบนัด โดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลจึงสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และในวันนัดสืบพยานจําเลย จําเลยทั้งสองมาศาล จําเลยที่ 1 นํายานเข้าสืบ ส่วนจําเลยที่ 2 ไม่สืบพยาน อีกทั้งปรากฏว่า จําเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคําให้การนั้น ไม่ได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี ดังนั้น เมื่อศาลมีคําพิพากษาให้จําเลยที่ 2 ชําระหนี้ เงินกู้คืนแก่โจทก์ จําเลยที่ 2 จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 วรรคสาม

สรุป จําเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่

Advertisement