การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางกอบกุลยื่นคําฟ้องแทน ด.ช.ชนินทร์ว่า จําเลยขับรถด้วยความประมาทชนนายมั่งมีบิดาของ ด.ช.ชนินทร์เสียชีวิต ขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะจํานวนทั้งสิ้น 500,000 บาท ในระหว่างที่คดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณา นางสมรมารดาของนายมั่งมีต้องการยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะเช่นกัน โดยเรียกมาจํานวนเงินทั้งสิ้น 1,000,000 บาท กรณีนี้ ศาลจะอนุญาตให้ร้องสอดได้หรือไม่ และถ้าศาลเห็นว่าจําเลยประมาทจริง สามารถให้จําเลยชดใช้ต่อผู้ร้องสอด 1,000,000 บาท ได้หรือม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น”

มาตรา 58 วรรคหนึ่ง “ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุมาตรา (1) และ (3) แห่ง มาตราก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนํา พยานหลักฐานใหม่มาแสดง คัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐาน ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางกอบกุลยื่นคําฟ้องแทน ด.ช.ชนินทร์ว่า จําเลยขับรถด้วยความประมาทชนนายมั่งมีบิดาของ ด.ช.ชนินทร์เสียชีวิต ขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะจํานวนทั้งสิ้น 500,000 บาท และ ในระหว่างที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณา นางสมรมารดาของนายมั่งมีต้องการยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีขอเรียก ค่าขาดไร้อุปการะเช่นเดียวกัน โดยเรียกมาเป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 1,000,000 บาทนั้น ถือว่านางสมรซึ่งมิใช่ คู่ความในคดีนี้ได้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความด้วยความสมัครใจเอง เพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) ดังนั้น นางสมรจึงสามารถร้อง สอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้

และเมื่อนางสมรสามารถร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ได้ นางสมรย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยประมาทจริง ศาลย่อมสามารถสั่งให้จําเลยชดใช้เงินจํานวน 1,000,000 บาท ให้แก่นางสมรผู้ร้องสอดได้

สรุป

ศาลจะอนุญาตให้นางสมรร้องสอดได้ และถ้าศาลเห็นว่าจําเลยประมาทจริง ศาลสามารถสั่งให้จําเลยชดใช้เงินจํานวน 1,000,000 บาท แก่นางสมรผู้ร้องสอดได้

 

ข้อ 2. นายสุธรรมทําสัญญาให้นายอเนกกับนายอนันต์กู้ยืมเงินร่วมกันโดยทําสัญญากันที่บนเครื่องบินการบินไทยที่จอดอยู่ที่จังหวัดน่าน โดยนายอเนกและนายอนันต์มีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดน่าน หลังจากนั้นนายอเนกย้ายภูมิลําเนาไปที่จังหวัดตาก และนายอนันต์ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ที่ประเทศ อังกฤษเป็นเวลา 1 ปี นายสุธรรมเห็นว่านายอเนกและนายอนันต์ผิดสัญญากู้จะสามารถฟ้องนายอเนก และนายอนันต์เป็นจําเลยร่วมกันได้หรือไม่ และยื่นได้ยังเขตอํานาจศาลใดบ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

มาตรา 5 “คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้”

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วม หรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้”

 

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอเนกและนายอนันต์ได้กู้ยืมเงินจากนายสุธรรม โดยทําสัญญายืมฉบับเดียวกันนั้น ถือว่านายอเนกและนายอนันต์มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ดังนั้น นายสุธรรม จึงเป็นโจทก์ฟ้องนายอเนกและนายอนันต์เป็นจําเลยร่วมกันได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59

ซึ่งการฟ้องคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) กําหนดไว้ว่า โจทก์จะต้องฟ้องจําเลยต่อศาลที่ จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้น และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5 ได้กําหนด ไว้ว่าคําฟ้องซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลําเนาของบุคคล หรือเพราะ สถานที่ที่เกิดมูลคดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันโจทก์จะเสนอคําฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งก็ได้

ในกรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายอเนกมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดตาก นายสุธรรมจึงต้องฟ้องนายอเนก ต่อศาลจังหวัดตาก หรือต่อศาลจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ส่วนนายอนันต์เมื่อมิได้มี ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร นายสุธรรมจึงต้องฟ้องนายอนันต์ต่อศาลจังหวัดน่านซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน เขตศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายอเนกและนายอนันต์มีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี คือมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นนายสุธรรมจึงสามารถฟ้องทั้งนายอเนกและนายอนันต์ ยังเขตศาลเดียวกันได้ โดยฟ้องได้ที่ศาลจังหวัดน่าน หรือต่อศาลจังหวัดตาก ศาลใดศาลหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5

สรุป

นายสุธรรมสามารถฟ้องนายอเนกและนายอนันต์เป็นจําเลยร่วมกันได้ และสามารถ ฟ้องจําเลยทั้งสองได้ที่ศาลจังหวัดน่าน หรือต่อศาลจังหวัดตาก ศาลใดศาลหนึ่ง

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่นายรวยเป็นจําเลยที่ 1 และนายชาวนาเป็นจําเลยที่ 2 นายชาวนายื่นคําให้การและฟ้องแย้งว่า นายชาวนาขายที่ดินดังกล่าวไปให้กับนายรวยจําเลยที่ 1 แต่จริง ๆ แล้วนายรวย เป็นตัวแทนของชาวต่างชาติ การซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ ดังนั้นนายรวยจึงไม่มีสิทธินําไปขายต่อ ให้กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินเช่นกัน ขอให้บุคคลทั้งสองโอนที่ดินคืนมายังนายชาวนา จําเลยที่ 2 หากท่านเป็นศาลในกรณีนี้จะสามารถรับฟ้องแย้งของนายชาวนาจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 177 วรรคสาม “จําเลยจะฟ้องแย้งมาในคําให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จําเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก”

วินิจฉัย

“ฟ้องแย้ง” คือ การฟ้องซึ่งจําเลยฟ้องกลับโจทก์ในคดีเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจําเลย โดย ฟ้องขอให้โจทก์รับผิดต่อจําเลย กล่าวคือ โจทก์เป็นผู้เริ่มคดีโดยฟ้องจําเลยก่อน แล้วจําเลยจึงได้ฟ้องโจทก์บ้างใน คดีเดียวกัน โดยกล่าวรวมมาในคําให้การ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่นายรวยเป็นจําเลยที่ 1 และนายชาวนาเป็น จําเลยที่ 2 และนายชาวนาจําเลยที่ 2 ยื่นคําให้การและฟ้องแย้งว่า นายชาวนาจําเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวไปให้ นายรวยจําเลยที่ 1 แต่จริง ๆ แล้ว นายรวยจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของชาวต่างชาติ การซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ดังนั้นนายรวยจึงไม่มีสิทธินําไปขายต่อให้กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินเช่นกัน และขอให้บุคคลทั้งสองโอนที่ดิน คืนมายังนายชาวนาจําเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีที่นายชาวนาจําเลยที่ 2 ได้ฟ้องแย้งกลับมายังนายรวยจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจําเลยด้วยกันเอง ดังนั้น คําฟ้องของนายชาวนาจําเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็น “ฟ้องแย้ง” ตามนัยของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถที่จะรับฟ้องแย้งของนายชาวนาจําเลยที่ 2 ได้

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลในกรณีนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถรับฟ้องแย้งของนายชาวนาจําเลยที่ 2 ได้

 

ข้อ 4. นายสมชายเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายสิบล้อให้ออกไปจากที่ดินเนื่องจากนายสมชายกับนายสิบล้อทําสัญญาเช่าที่ดินกันเป็นเวลา 2 ปี แต่นายสิบล้อผู้เช่าไม่ยอมชําระค่าเช่าในเดือนที่ 7 – 12 ขอให้ขับไล่นายสิบล้อออกไปจากที่ดิน นายสิบล้อยื่นให้การต่อสู้ว่าตนไม่ได้ผิดสัญญาเช่า แต่นายสมชาย จงใจไม่รับค่าเช่าเอง ขอให้ยกฟ้อง

ในระหว่างที่คดีแรกอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น นายสมชายยื่นฟ้องนายสิบล้อเป็นคดีใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากว่าในคดีแรกนายสมชายไม่ได้ขอเงินค่าเช่าจากการผิดสัญญามาเดือนละ 100,000 บาท เป็นจํานวน 6 เดือน รวมแล้ว 6 แสนบาท นายสมชายจึงได้มายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ว่านายสิบล้อ ไม่ชําระค่าเช่าในเดือนที่ 7 – 12 รวมมูลค่า 6 แสนบาท ถ้าท่านเป็นศาลจะรับฟ้องนายสมชายในคดีหลังนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น”

วินิจฉัย

การที่จะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ คือ

1 คดีเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา

2 คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

3 คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน

4 ห้ามโจทก์ฟ้อง

5 ในศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ ในคดีแรกนายสมชายเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายสิบล้อให้ออกไปจากที่ดิน เนื่องจากนายสิบล้อผู้เช่าผิดสัญญาเช่าไม่ยอมชําระค่าเช่าในเดือนที่ 7 – 12 ขอให้ขับไล่นายสิบล้อออกไปจากที่ดิน และในระหว่างที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณานั้น นายสมชายได้ยื่นฟ้องนายสิบล้อเป็นคดีใหม่ว่านายสิบล้อ ไม่ชําระค่าเช่าในเดือนที่ 7 – 12 รวมเป็นเงิน 6 แสนบาท เนื่องจากในคดีแรกนายสมชายไม่ได้ขอเงินค่าเช่าจาก การผิดสัญญาเดือนละ 100,000 บาท เป็นจํานวน 6 เดือน รวมแล้วเป็นเงิน 6 แสนบาท

จากข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ จะเห็นได้ว่าในคดีแรกการที่ศาลจะตัดสินขับไล่จําเลยหรือไม่ ศาลต้องตัดสินก่อนว่าจําเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ และในคดีหลัง ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยก็เป็นประเด็นเดียวกัน กับคดีแรก คือ นายสิบล้อจําเลยผิดสัญญาเช่าเดือนที่ 7 – 12 หรือไม่ ดังนั้นจึงถือว่าคดีแรกและคดีหลังมีประเด็น เป็นอย่างเดียวกัน เป็นเรื่องเดียวกัน และเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ความเดียวกัน และคดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณา การที่นายสมชายโจทก์ได้นําเรื่องเดียวกันมาฟ้องเป็นคดีใหม่อีก จึงถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ดังนั้นถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะไม่รับฟ้องของนายสมชายโจทก์ในคดีหลัง

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่รับฟ้องของนายสมชายโจทก์ในคดีหลัง เพราะเป็นฟ้องซ้อน

 

Advertisement