การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2113 (LAW 2013) ป.พ.พ.ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ฐิติออกเช็คสั่งธนาคารจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ให้กิตติหรือตามคําสั่ง เพื่อชําระหนี้ค่าซื้อสินค้า หากแต่ฐิติเขียนเช็คเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเช็คให้กิตติ เพราะนัดส่งมอบเช็คหลังเวลาเลิกงาน จึงได้เก็บเช็คไว้ในกระเป๋า แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ศศิได้ขโมยเช็คในกระเป๋าของฐิติไว้เอง โดย ไม่ได้ส่งมอบเช็คให้กิตติ ให้นักศึกษาจงวินิจฉัยว่า

Advertisement

(ก) ใครคือผู้ทรงโดยชอบระหว่าง ศศิ กับ กิตติ
(ข) บุคคลใดที่สามารถใช้สิทธิเรียกคืนเช็คฉบับนี้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน
หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ประกอบมาตรา 905 จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น บุคคลนั้นจะต้องมีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้สลักหลัง และต้องได้ตั๋วเงินไว้ในความ ครอบครองโดยสุจริตและโดยมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และในกรณีที่เป็นผู้รับสลักหลัง ก็จะต้องแสดง ให้ปรากฏสิทธิในการสลักหลังที่ไม่ขาดสายด้วย แม้การสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่ฐิติออกเช็คสั่งธนาคารจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ให้กิตติหรือตามคําสั่ง เพื่อชําระหนี้ค่าซื้อ สินค้านั้น ถือว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คชนิดระบุชื่อ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าฐิติยังไม่ได้ส่งมอบเช็คให้แก่กิตติ กิตติ จึงยังไม่มีตั๋วเงิน (เช็คฉบับดังกล่าว) ไว้ในความครอบครองในฐานะผู้รับเงิน ดังนั้น จึงยังไม่ถือว่ากิตติเป็นผู้ทรง
โดยชอบตามนัยของมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905

ส่วนศศินั้น แม้จะมีเช็คฉบับดังกล่าวไว้ในครอบครอง แต่ศศิไม่อยู่ในฐานะผู้รับสลักหลัง เนื่องจากกิตติไม่ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ศศิ อีกทั้งศศิก็ได้เช็คมาไว้ในความครอบครองโดยทุจริต เพราะ ได้เช็คนั้นมาโดยการขโมยมาจากกระเป๋าของฐิติ ดังนั้น ศศิจึงไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบเช่นเดียวกัน

(ข) ตามมาตรา 905 วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงิน ไปจากครอบครอง…..” นั้น หมายถึง บุคคลที่เป็นเจ้าของตั๋วเงินที่แท้จริงนั่นเอง ดังนั้น เมื่อฐิติยังไม่ได้สั่งมอบเช็ค ฉบับดังกล่าวให้แก่กิตติ ย่อมถือว่าฐิติยังเป็นเจ้าของเช็คฉบับดังกล่าวอยู่ ฐิติจึงเป็นบุคคลที่ต้องปราศจากตั๋วเงิน ไปจากครอบครองตามนัยมาตรา 905 วรรคสอง ดังนั้น ฐิติจึงสามารถใช้สิทธิเรียกคืนเช็คฉบับดังกล่าวได้

สรุป
(ก) ทั้งสติและกิตติไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายในเช็คฉบับดังกล่าว
(ข) ฐิติเป็นบุคคลที่สามารถใช้สิทธิเรียกคืนเช็คฉบับดังกล่าว

ข้อ 2. นายแดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายหนึ่งจ่ายเงินให้นายเหลืองเป็นจํานวน 10,000 บาท โดยระบุชื่อ นายเหลืองเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก ขณะที่คั่วอยู่กับนายเหลือง มีนายเอลูกของ นายแดงต้องการที่จะมาค้ําประกันการจ่ายเงิน จึงเข้ามาเซ็นชื่อที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงิน ต่อมา นายเหลืองลงลายมือชื่อที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินฉบับนั้นแล้วส่งมอบตั๋วแลกเงินให้นายฟ้า และนายฟ้า ได้ส่งมอบตัวต่อไปให้กับนายดํา จากข้อเท็จจริงข้างต้น เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกําหนด นายดํานําตั๋ว ไปยื่นให้นายหนึ่งจ่ายเงิน แต่นายหนึ่งปฏิเสธ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายดําจะเรียกให้ใครรับผิดตาม ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ได้บ้าง และให้รับผิดในฐานะอะไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 905 วรรคหนึ่ง ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา 914 “ บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตัว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง
ก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทํา อะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลัง
เช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 938 “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ําประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจํานวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล”

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”

มาตรา 939 “อันการรับอาวัลย่อมทําให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจําต่อ ในการนี้จึงใช้ถ้อยคําสํานวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดทํานองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคํารับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายหนึ่งจ่ายเงินให้นายเหลืองเป็นจํานวน
10,000 บาท โดยระบุชื่อนายเหลืองเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออกนั้น ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวถือว่า เป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ดังนั้น หากนายเหลืองจะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไป นายเหลืองจะต้องโอน โดยการสลักหลังและส่งมอบตามมาตรา 917 วรรคหนึ่ง และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเหลืองได้ลงลายมือชื่อ ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวแล้วส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่นายฟ้าไปนั้น การกระทําของนายเหลืองถือว่า เป็นการสลักหลังลอย ตามมาตรา 919 วรรคสอง ดังนั้น การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ นายฟ้าจึง เป็นผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังจากการสลักหลังลอยของนายเหลือง นายฟ้าจึงสามารถโอนตั๋วแลกเงินฉบับ ดังกล่าวต่อไปได้โดยไม่ต้องสลักหลัง ตามมาตรา 920 วรรคสอง (3) และเมื่อนายฟ้าได้ส่งมอบตัวต่อไปให้แก่ นายดํา การโอนตั๋วระหว่างนายฟ้าและนายดําจึงมีผลสมบูรณ์ และมีผลทําให้นายดําเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 905 วรรคหนึ่ง

ส่วนกรณีที่นายเอลูกชายนายแดงต้องการที่จะมาค้ําประกันการจ่ายเงิน จึงเข้ามาเซ็นชื่อที่ด้านหน้า
ของตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวนั้น ย่อมถือว่านายเอได้เข้ามาอาวัล (รับประกัน) ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นแล้ว ตาม มาตรา 938 ประกอบมาตรา 939 วรรคสาม และเมื่อไม่ได้ระบุว่ารับประกันผู้ใด ให้ถือว่าเป็นการรับประกัน นายแดงผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสี่)

เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกําหนด นายดําได้นําตัวไปยื่นให้นายหนึ่งจ่ายเงินแต่นายหนึ่งปฏิเสธ นายดํา ย่อมสามารถเรียกให้บุคคลดังต่อไปนี้รับผิดตามตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ คือ

1. นายแดง ซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง
ประกอบมาตรา 914
2. นายเหลือง ซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินในฐานะผู้สลักหลังตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง
ประกอบมาตรา 914
3. นายเอ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินในฐานะผู้รับอาวัลนายแดงผู้สั่งจ่าย ซึ่งต้องรับผิด เป็นอย่างเดียวกันกับนายแดง ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 940 วรรคหนึ่ง

แต่นายดําจะเรียกให้นายหนึ่งและนายฟ้ารับผิดตามตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวไม่ได้ เพราะทั้งสองคน
ไม่ได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินแต่อย่างใด

สรุป นายดําสามารถเรียกให้นายแดงผู้สั่งจ่าย นายเหลืองผู้สลักหลัง และนายเอผู้รับอาวัลนายแดง รับผิดตามตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ แต่จะเรียกให้นายหนึ่งและนายฟ้ารับผิดไม่ได้

ข้อ 3. (ก) การที่มีลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้นจะมีผล
ทางกฎหมายเป็นอย่างไร
(ข) นายไก่สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่งระบุชื่อนายนกเป็นผู้รับเงินตามเช็คและขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ ในเช็คออก และส่งมอบชําระหนี้ค่าสินค้าให้กับนายนก ต่อมานายนกทําเช็คดังกล่าวหล่นหาย นายแมวเก็บเช็คนั้นได้ แล้วทําการปลอมลายมือชื่อนายนกเพื่อทําการสลักหลังเช็คนั้น พร้อมระบุข้อความว่า “ให้แก่นายแมว” จากนั้นนายแมวจึงนําเช็คนั้นมาทําการลงลายมือชื่อของนายแมวเพื่อสลักหลังลอยเช็คนั้นและส่งมอบชําระหนี้ค่าเช่าอาคารให้กับนายหนู โดยที่ นายหนูก็รับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ดังนี้ หากเช็คฉบับดังกล่าวขาดความเชื่อถือ นายหนูจะสามารถเรียกให้นายไก่ นายนก และนายแมว รับผิดตามเช็คฉบับนี้กับตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1008 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงิน เป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตัวนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้น

คนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้น จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อ
ซึ่งลงโดยปราศจากอํานาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่มีลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจ
ปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้น จะมีผลทางกฎหมายดังนี้ คือ

1. ผลต่อเจ้าของลายมือชื่อ ลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจนั้นย่อม ไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของลายมือชื่อ กล่าวคือ เจ้าของลายมือชื่อไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทั้งนี้เพราะ เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมมิได้เป็นผู้เขียนลายมือชื่อนั้นลงไว้ในตั๋วเงิน หรือมิได้มอบอํานาจให้บุคคลใดลงลายมือชื่อ ในตั๋วเงินในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอํานาจ เว้นแต่กรณีที่เป็นตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อที่ลงไว้โดยปราศจากอํานาจนั้นอาจมีผลผูกพันเจ้าของลายมือชื่อได้ หากเจ้าของลายมือชื่อได้ให้สัตยาบันตามมาตรา 1008 วรรคท้าย

2. ผลต่อคู่สัญญาคนอื่น ๆ ในตั๋วเงิน ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อปลอม ย่อมไม่มีผลกระทบ ถึงความรับผิดของคู่สัญญาคนอื่น ๆ ที่ลงไว้ในตั๋วเงินโดยถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเพราะความรับผิดของลูกหนี้แต่ละคนที่ได้ ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วเงิน และต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 900 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัว ของลูกหนี้แต่ละคนนั่นเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1006 ที่บัญญัติไว้ว่า

“การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์
แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

3. ผลต่อผู้ที่ได้ตั๋วเงินไว้ในความครอบครองและบุคคลอื่น ๆ ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีการลง ลายมือชื่อปลอม หรือมีการลงลายมือโดยปราศจากอํานาจจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง คือ ให้ถือว่าลายมือชื่อ ปลอมหรือลงโดยปราศจากอํานาจนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย และผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อ

(1) จะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้ เว้นแต่ผู้ที่จะพึงถูกยึดหน่วง อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(2) จะทําให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้ เว้นแต่ ได้ใช้เงินไป
ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม (ตามมาตรา 1009)

(3) จะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้ เว้นแต่คู่สัญญา ผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจาก
อํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตัวเงินนั้น”
มาตรา 1006 “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้
มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย

คนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้น จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อ
ซึ่งลงโดยปราศจากอํานาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่มีลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจ
ปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้น จะมีผลทางกฎหมายดังนี้ คือ

1. ผลต่อเจ้าของลายมือชื่อ ลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจนั้นย่อม ไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของลายมือชื่อ กล่าวคือ เจ้าของลายมือชื่อไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทั้งนี้เพราะ เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมมิได้เป็นผู้เขียนลายมือชื่อนั้นลงไว้ในตั๋วเงิน หรือมิได้มอบอํานาจให้บุคคลใดลงลายมือชื่อ ในตั๋วเงินในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอํานาจ เว้นแต่กรณีที่เป็นตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อที่ลงไว้โดยปราศจากอํานาจนั้นอาจมีผลผูกพันเจ้าของลายมือชื่อได้ หากเจ้าของลายมือชื่อได้ให้สัตยาบันตามมาตรา 1008 วรรคท้าย

2. ผลต่อคู่สัญญาคนอื่น ๆ ในตั๋วเงิน ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อปลอม ย่อมไม่มีผลกระทบ ถึงความรับผิดของคู่สัญญาคนอื่น ๆ ที่ลงไว้ในตั๋วเงินโดยถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเพราะความรับผิดของลูกหนี้แต่ละคนที่ได้ ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วเงิน และต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 900 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัว ของลูกหนี้แต่ละคนนั่นเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1006 ที่บัญญัติไว้ว่า

“การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์
แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

3. ผลต่อผู้ที่ได้ตั๋วเงินไว้ในความครอบครองและบุคคลอื่น ๆ ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีการลง ลายมือชื่อปลอม หรือมีการลงลายมือโดยปราศจากอํานาจจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง คือ ให้ถือว่าลายมือชื่อ ปลอมหรือลงโดยปราศจากอํานาจนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย และผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อ

(1) จะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้ เว้นแต่ผู้ที่จะพึงถูกยึดหน่วง อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(2) จะทําให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้ เว้นแต่ ได้ใช้เงินไป
ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม (ตามมาตรา 1009)

(3) จะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้ เว้นแต่คู่สัญญา ผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจาก
อํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตัวเงินนั้น”
มาตรา 1006 “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้
มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย

แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตัวนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่งระบุชื่อนายนกเป็นผู้รับเงินตามเช็คและ ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออกและส่งมอบชําระหนี้ค่าสินค้าให้กับนายนก เมื่อนายนกทําเช็คดังกล่าวหล่นหาย และนายแมวเก็บได้ แล้วทําการปลอมลายมือชื่อนายนกและทําการสลักหลังเช็คนั้นพร้อมระบุข้อความว่า “ให้แก่นายแมว” จากนั้นนายแมวได้ลงลายมือชื่อนายแมวเพื่อสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คให้แก่นายหนูเพื่อ ชําระหนี้ค่าเช่าอาคารนั้น ย่อมถือว่าเช็คฉบับดังกล่าวได้มีการการสลักหลังที่ขาดสาย และจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง คือให้ถือว่าลายมือชื่อของนายนกนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยลายมือชื่อปลอม ของนายนกเพื่อไปบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตัวนั้นไม่ได้ และเมื่อเช็คฉบับดังกล่าวขาดความเชื่อถือ นายหนูจะสามารถเรียกให้นายไก่ นายนก และนายแมวรับผิดตามเช็คฉบับนี้กับตนได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้คือ

1. กรณีของนายไก่ผู้สั่งจ่าย แม้นายหนูจะได้รับเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง แต่นายหนูจะเรียกให้นายไก่รับผิดตามเช็คไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการอาศัยลายมือชื่อปลอม ของนายนกเพื่อไปบังคับเอากับนายไก่ ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

2. กรณีของนายนก เมื่อนายนกไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็ค อีกทั้งลายมือชื่อของนายนกที่ นายแมวปลอมนั้นก็ใช้ไม่ได้ นายหนูจึงเรียกให้นายนกรับผิดตามเช็คไม่ได้

3. กรณีของนายแมว นายหนูสามารถเรียกให้นายแมวรับผิดตามเช็คได้ ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง เพราะแม้ลายมือชื่อของนายนกจะเป็นลายมือปลอมก็ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของลายมือชื่อ อื่น ๆ ที่ลงไว้ในตั๋วเงินนั้น (มาตรา 1006) อีกทั้งการที่นายหนูเรียกให้นายแมวรับผิดตามเช็ค ก็ไม่ได้เป็นการอาศัย ลายมือชื่อปลอมของนายนกเพื่อบังคับเอากับนายแมวแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง สรุป นายหนูสามารถเรียกให้นายแมวรับผิดตามเช็คฉบับนี้ได้ แต่จะเรียกให้นายไก่และนายนกรับผิดไม่ได้

Advertisement