การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2113 (LAW 2013) ป.พ.พ.ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 (ก) การโอนตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทําอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงิน

(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทอง ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่า คําว่าหรือผู้ถือออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรีสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา ต่อมาจัตวาได้นําเช็คไปส่งมอบชําระหนี้ให้กับ บ้านไร่ เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บ้านไร่นําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน โดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโยนเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้ออ้างของ ธนาคารอ่างทองถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

(ก) อธิบาย

ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น การโอนจะชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงิน ผู้โอนจะต้องทําให้ถูกต้องตามวิธีการ
ที่กฎหมายลักษณะตั๋วเงินได้กําหนดไว้ ดังนี้คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ
การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่
ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ใน ตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับ ประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น (ป.พ.พ.
มาตรา 919 วรรคสอง)

อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลังระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วแลกเงินนั้น มาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอน ตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)

2 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ

การโอนตั๋วเงินชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียวไม่ต้องมีการสลักหลังตาม
ป.พ.พ.มาตรา 918 ซึ่งบัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทํา อะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การ สลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923…

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่เอกออกเช็คชําระหนี้แก่โท โดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า หรือผู้ถือออกนั้น ถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ดังนั้นถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนจะถูกต้องตาม กฎหมายก็จะต้องมีการสลักหลังและส่งมอบ โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ดังนั้นเมื่อโทสลักหลังโดยระบุชื่อตรี เป็นผู้รับประโยชน์ และตรีได้สลักหลังลอยและส่งมอบให้แก่จัตวา การโอนเช็คระหว่างโทกับตรี และระหว่างตรีกับจัตวาย่อมเป็นการโอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

และเมื่อเช็คนั้นได้ตกอยู่ในความครอบครองของจัตวา ซึ่งเป็นผู้ทรงที่ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังลอย ของตรี จัตวาย่อมมีสิทธิตามมาตรา 920 (3) ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง คือสามารถโอนเช็คนั้นต่อไปได้โดย ไม่ต้องสลักหลังแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้นเมื่อจัตวาส่งมอบเช็คให้แก่บ้านไร่ การโอนเช็คของจัตวาให้แก่บ้านไร่ จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และถือว่าบ้านไร่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้รับโอนเช็คมาโดย ถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ และบ้านไร่ย่อมมีสิทธินําเช็คไปยื่นให้ธนาคารอ่างทองจ่ายเงินได้เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค การที่ธนาคารอ่างทองไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโอนเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นข้ออ้างของธนาคารอ่างทองจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของธนาคารอ่างทองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 2 นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้าให้กับนายสามจํานวน 100,000 บาท โดยสั่งให้ นายสองจ่ายเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่นายสามหรือผู้ถือ เมื่อนายสามได้รับตั๋วมา นายสามได้ไปติดต่อ ขอซื้อนาฬิกากับนายสี่ โดยบอกว่าตนจะขอชําระหนี้ค่านาฬิกาด้วยตั๋วแลกเงิน นายสี่บอกจะยอมรับ หากนายสามไปหาคนมาค้ำประกัน นายสามจึงไปหานายเอมาค้ําประกันตัวแลกเงิน ซึ่งนายเอ ได้เขียนข้อความว่า “ค่ําประกันนายสาม 50,000 บาท” พร้อมทั้งลงชื่อนายเอไว้ที่ด้านหน้าของ ตั๋วแลกเงินนั้น นายสี่จึงยอมรับตั๋วแลกเงินนั้น โดยนายสามได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่นายสี่ ต่อมาเมื่อตัวนั้นถึงกําหนดใช้เงิน นายสี่นําตัวไปยื่นให้นายสองผู้จ่ายจ่ายเงิน แต่นายสอง ปฏิเสธ ให้ท่านวินิจฉัยว่านายสีจะเรียกให้ใครรับผิดได้บ้างในฐานะอะไร และรับผิดอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ ใช้เงินตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 938 “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ําประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจํานวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”

มาตรา 939 “อันการรับอาวัลย่อมทําให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจําต่อ

ในการนี้จึงใช้ถ้อยคําสํานวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดทํานองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว
เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคํารับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินโดยสั่งให้นายสองจ่ายเงินจํานวน 100,000 บาท ให้แก่นายสามหรือผู้ถือนั้น ย่อมถือว่าตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น เมื่อนายสาม จะโอนตัวฉบับดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่นายสี่ นายสามย่อมสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่นายสี่ โดยไม่ต้องสลักหลังตามมาตรา 918 แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายสามได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น

ให้แก่นายสี่ การสลักหลังของนายสี่ให้ถือว่าเป็นเพียงการประกันหรือการอาวัลนายหนึ่งผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ดังนั้น เมื่อนายสีนําตัวไปยื่นให้นายสองจ่ายเงินเมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกําหนด แต่นายสองปฏิเสธการจ่ายเงิน นายสี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมมีสิทธิเรียกให้นายหนึ่งรับผิดตามตัวนั้นได้ เพราะนายหนึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงิน จึงต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914
และนายสี่สามารถ เรียกให้นายสามรับผิดตามตั๋วแลกเงินได้ในฐานะผู้รับอาวัลนายหนึ่งผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 921 โดยนายสามจะต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับนายหนึ่งบุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง คือ ต้องรับผิดในจํานวนเงิน 100,000 บาท เช่นเดียวกับนายหนึ่ง

สําหรับนายเอซึ่งได้เขียนข้อความว่า “ค้ำประกันนายสาม 50,000 บาท” พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ นายเอไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินนั้น ถือได้ว่านายเอได้เข้ามาผูกพันกับตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับอาวัล
นายสาม และเป็นการรับอาวัลแต่เพียงบางส่วน คือ รับอาวัลเพียง 50,000 บาท ตามมาตรา 938 และมาตรา 939 ดังนั้น นายสี่จึงสามารถเรียกให้นายเอรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลนายสามได้ในจํานวนเงิน 50,000 บาท ส่วนนายสอง ไม่ต้องรับผิดต่อนายสี่ เพราะนายสองไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วแลกเงินแต่อย่างใด
สรุป นายสามารถเรียกให้นายหนึ่งผู้สั่งจ่ายและนายสามผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายรับผิดในจํานวนเงิน ตามตั๋วแลกเงิน คือ 100,000 บาท และเรียกให้นายเอรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลนายสามได้ในจํานวน 50,000 บาท แต่จะเรียกให้นายสองรับผิดไม่ได้

ข้อ 3 ฐิติสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเช็คธนาคารมหารวย จ่ายเงินจํานวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ระบุวัฒธาเป็นผู้รับเงิน ขีดฆ่า “หรือผู้ถือ” ออก เพื่อชําระหนี้ในการทําสัญญา ซื้อขายที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครสาขาบึงกุ่ม ก่อนถึงกําหนดใช้เงินตามเช็ค วัฒธาทําเช็คตกหายไม่รู้ตัว ณภณาเก็บได้จึงปลอมลายมือชื่อวัฒธา สลักหลังโอนเช็คนั้นให้แก่ปาเนียซึ่งรับโอนเช็คไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายคอนโดย่านสุขุมวิท ปาณีย์ได้นําเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินที่ ธนาคารมหารวย เพื่อฝากเข้าบัญชีของตน แต่ทางธนาคารปฏิเสธการจ่าย เพราะได้มีคําบอกกล่าวว่า เช็คนั้นหายให้ติดต่อฐิติผู้สั่งจ่าย และเมื่อวัฒธาทราบจึงขอเช็คคืน ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า ปาณีย์ ต้องคืนเช็คให้วัฒธาหรือไม่ และบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาตามเช็คตนใดได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ
ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตัวเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ฐิติสั่งจ่ายเช็คขัดซ่อมทั่วไป สั่งธนาคารมหารวย จ่ายเงินจํานวน 10,000,0000 บาท ระบุวัฒธาเป็นผู้รับเงิน และขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออกนั้น ถือว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คชนิด สั่งจ่ายระบุชื่อ การที่วัฒธาทําเช็คตกหาย และณภณาเก็บได้จึงปลอมลายมือชื่อวัฒธา สลักหลังโอนเช็คให้แก่ ปาณีย์ไปนั้น ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าลายมือชื่อปลอมของวัฒธาเป็นอันใช้ไม่ได้ ถือเสมือนหนึ่งว่า วัฒธาไม่เคยสลักหลังเช็คดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่าปาณีย์จะได้รับโอนเช็คไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงก็ตาม ก็ไม่ถือว่าปาณีย์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 905 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด เพราะ ปาณีย์ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังที่ขาดสาย และเมื่อปาณีย์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ปาณีย์จะ อ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงเช็คไว้ย่อมไม่อาจทําได้เป็นอันขาด เมื่อวัฒธาขอเช็คคืน ปาณีย์จึงต้องคืนเช็คให้แก่วัฒธาตามมาตรา 905 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

และเมื่อปาณีย์ได้นําเช็คไปเรียกเก็บเงินที่ธนาคารฯ แต่ธนาคารฯ ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ปาณีย์ จะบังคับการใช้เงินเอาแก่ฐิติซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ได้ ต้องห้ามตามาตรา 1008 วรรคหนึ่ง แต่ปาณีย์สามารถบังคับ การใช้เงินเอาจากณาณาผู้ที่ลงลายมือของตนไว้ในเช็คในฐานะเป็นผู้สลักหลังได้ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 914

สรุป ปาณีย์จะต้องคืนเช็คให้แก่วัฒธา และสามารถบังคับการใช้เงินเอากับณภณาได้

Advertisement