การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. (ก) การสลักหลังตัวเงินมีวิธีการอย่างไร จงอธิบายพร้อมหลักกฎหมาย
(ข) ปริมสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อให้ปริกและขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออกแล้วส่งมอบเช็คนั้นให้แก่ปริก เพื่อชําระราคาค่าซื้อแหวนเพชร หลังจากนั้นปริกได้ทําการสลักหลังลอยและส่งมอบ เช็คนั้นชําระค่าสร้างโรงงานเพชรของตนให้แก่ปริดซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต่อมาปริดต้องการจะนําเช็คฉบับนี้ไปโอนชําระหนี้ค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่เจ็จูวัสดุ ก่อสร้างแต่ไม่ทราบวิธีการ จึงมาปรึกษาปราดซึ่งเป็นนักศึกษานิติศาสตร์และเรียนวิชาตัวเงินแล้ว หากนักศึกษาเป็นปราด จะอธิบายวิธีการโอนเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่เจ๊จูตามหลักกฎหมายที่ ถูกต้องอย่างไรให้แก่ปริด
ธงคําตอบ
(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”
มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อ ผู้สลักหลัง
การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้ กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”
มาตรา 920 วรรคหนึ่ง “อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วแลกเงิน”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในการโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค) การโอนจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและทําให้บรรดาสิทธิทั้งหลายอันเกิดแต่ตั๋วเงินนั้นได้โอนไปยังผู้รับโอนด้วยนั้น ผู้โอนจะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง)
“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ใน ตั๋วเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือเป็นการสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)
“การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” คือ การสลักหลังที่มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับ ประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วเงินนั้นด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวเงินนั้นก็ได้ (มาตรา 919 วรรคหนึ่ง)
“การสลักหลังลอย” คือ การสลักหลังที่มิได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์ หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วเงิน เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินนั้นเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”
มาตรา 919 วรรคสอง “การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”
มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใด ก็ได้ คือ
(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลัง อย่างหนึ่งอย่างใด”
มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923…”
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่ปริมสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อให้ปริกและขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้แก่ปริก ถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ เมื่อปริกได้ทําการสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คนั้น ชําระค่าสร้างโรงงานเพชรของตนให้แก่ปริด การโอนเช็คระหว่างปริกและปริดจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) และให้ถือว่าปริดเป็นผู้ทรง ซึ่งได้รับตั๋วเงิน คือ เช็คฉบับดังกล่าวมาจากการสลักหลังลอยของปริก และปริดย่อมมีสิทธิที่จะโอนเช็คฉบับนี้ ให้แก่เจ๊จู โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 920 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ดังนี้คือ
1 เขียนชื่อของปริดลงในที่ว่าง (ซึ่งจะทําให้การสลักหลังลอยตอนแรกกลายเป็นสลักหลัง ระบุชื่อ) และปริดสามารถโอนเช็คให้แก่เจ๊จูได้ต่อไป แต่ต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเช็คนั้นให้แก่เจ๊จู
หรือปริดอาจจะเขียนชื่อเจ๊จูลงในที่ว่าง แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้แก่เจ๊จูก็ได้
2 สลักหลังเช็คนั้นต่อไปอีก โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อเจ๊จู) หรือ อาจจะเป็นการสลักหลังลอย (ไม่ระบุชื่อเจ๊จู) ก็ได้
3 โอนเช็คนั้นต่อไปโดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียว โดยไม่กระทําการตาม 1 หรือ 2 แต่อย่างใด คือไม่ต้องเขียนชื่อบุคคลใดลงในที่ว่าง และโดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ เลยก็ได้
สรุป หากข้าพเจ้าเป็นปราด ข้าพเจ้าจะอธิบายวิธีการโอนเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่ปริดตามที่ ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น