การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. เมื่อตั๋วแลกเงินขาดความเชื่อถือและเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงินได้ทําคัดค้านไว้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ จะฟ้องบุคคลใดได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตัวเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 937 “ผู้จ่ายได้ทําการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจํานวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคํารับรองของตน”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

ตามกฎหมายตั๋วเงินนั้น เมื่อตั๋วแลกเงินขาดความเชื่อถือและเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงินได้ทําคําคัดค้านไว้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ย่อมสามารถที่จะฟ้องให้บุคคลผู้ที่ได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น รับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ตนได้ (ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง) และบุคคลที่เจ้าหนี้สามารถฟ้องให้รับผิด ตามตั๋วแลกเงินได้ ได้แก่

1 ผู้สั่งจ่าย ซึ่งจะต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914

2 ผู้สลักหลัง (ถ้ามี) ซึ่งจะต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914 เช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย

3 ผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ซึ่งหมายถึง ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน และถ้าได้ทําการรับรอง ตั๋วแลกเงินไว้ถูกต้องตามมาตรา 931 ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 937

4 ผู้รับอาวัล ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ได้เข้ามารับประกันหรือค้ำประกันการใช้เงินตาม ตั๋วแลกเงินให้แก่ผู้เป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงินนั้น โดยการลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วเงิน ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 940 วรรคหนึ่ง

และในการฟ้องให้บุคคลดังกล่าวรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้น เจ้าหนี้อาจจะฟ้องเรียงตัวหรือฟ้องรวมกันก็ได้ (มาตรา 967 วรรคสอง)

 

ข้อ 2. (ก) การโอนตั๋วแลกเงินนั้นมีหลักเกณฑ์ที่สําคัญในทางกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

(ข) นายวารินได้รับโอนเช็คฉบับหนึ่งมาจากนายทุ่งสงเพื่อชําระหนี้ราคาค่าสินค้าที่นายทุ่งสงมีอยู่กับนายวาริน โดยที่เช็คฉบับดังกล่าวนั้นมีการระบุรายละเอียดในเช็คครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทางกฎหมาย โดยระบุให้จ่ายเงินจํานวน 100,000 บาท และระบุชื่อนายทุ่งสงอยู่ในช่องของผู้รับเงิน พร้อมทั้งมีข้อความว่า “หรือตามคําสั่ง” ต่อท้ายชื่อของนายทุ่งสง โดยในการโอนเช็คนั้น นายทุ่งสงได้เพียงแต่ส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวนั้นให้แก่นายวาริน โดยมิได้ระบุรายละเอียดอื่นใด ลงในเช็ค ดังนี้ ให้นักศึกษาอธิบายว่าการโอนเช็คระหว่างนายทุ่งสงและนายวารินนั้นเป็นการโอน ที่ชอบด้วยกฎหมายตัวเงินหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

(ก) ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น มีหลักเกณฑ์ที่สําคัญในทางกฎหมายอยู่ 2 ประการ คือ

ประการแรก จะต้องเป็นการโอนเพื่อการชําระหนี้เงินที่ผู้รับโอนเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับชําระหนี้ เงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชําระหนี้อย่างอื่นแทนการชําระหนี้ ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป”

ประการที่สอง ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น จะต้องโอนโดยวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ

การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ผู้รับเงิน นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่ บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 919 วรรคสอง)

อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลัง ระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ ตั๋วแลกเงินนั้นมาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรือ อาจจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)

 

ข้อ 3. เมฆาออกเช็คระบุชื่อสั่งธนาคารให้จ่ายเงิน 50,000 บาทแก่นาคี นาคีทําเช็คหาย นทีเก็บได้เอาไปสลักหลังปลอมลายมือชื่อว่า นาคีโอนให้ธารา ธารารับโอนเช็คไว้โดยสุจริต ต่อมาธาราสลักหลัง เช็คฉบับนี้โอนให้นภา ซึ่งรับโอนโดยสุจริต จงตอบคําถามต่อไปนี้พร้อมหลักกฎหมายประกอบมา โดยละเอียด

(ก) ธาราจะใช้สิทธิบังคับให้เมฆา (ผู้สั่งจ่าย) และนที (ซึ่งปลอมลายมือชื่อนาคี) ใช้เงินตามเช็คได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) นภามีสิทธิเรียกเงินตามเช็คจากธาราได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 1006 “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตัวเงินนั้น”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตัวนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อสายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจาก อํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เมฆาออกเช็คระบุชื่อสั่งธนาคารให้จ่ายเงิน 50,000 บาทแก่นาคี เมื่อ นาคีทําเช็คหาย และนทีเก็บได้ นทีได้ปลอมลายมือชื่อของนาคีสลักหลังโอนให้ธารา ซึ่งธาราได้รับโอนเช็คไว้โดยสุจริต และต่อมาธาราได้สลักหลังเช็คฉบับนี้ให้แก่นภา ซึ่งนภาก็ได้รับโอนไว้โดยสุจริตนั้น ย่อมถือว่าเช็คฉบับดังกล่าว ได้มีการสลักหลังที่ขาดสาย และจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง คือให้ถือว่าลายมือชื่อของนาคีนั้นเป็นอันใช้ ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยลายมือชื่อปลอมของนาคีเพื่อไปบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตัวนั้นไม่ได้ ดังนั้น ตามอุทาหรณ์วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ธารา แม้จะได้รับโอนเช็คไว้โดยสุจริต ก็จะใช้สิทธิบังคับให้เมฆา (ผู้สั่งจ่าย) ซึ่งได้ลงลายมือชื่อ ไว้ก่อนมีการลงลายมือปลอมใช้เงินตามเช็คฉบับนี้ไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการอาศัยลายมือชื่อปลอมของนาคี เพื่อไปบังคับเอากับเมฆา ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ธาราสามารถใช้สิทธิบังคับให้นทีซึ่งได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คใช้เงินตามเช็ค ได้ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง เพราะแม้นที่จะได้ลงลายมือชื่อเป็นนาคี ก็ถือว่าเป็นลายมือชื่อของนทีเอง

(ข) นภามีสิทธิเรียกเงินตามเช็คจากธาราได้ เพราะแม้ลายมือชื่อของนาคีจะเป็นลายมือปลอม ก็ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ที่ได้ลงไว้ในตั๋วเงินนั้น (มาตรา 1006) กล่าวคือให้ถือว่า ลายมือชื่อของธารายังคงสมบูรณ์และต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง อีกทั้งการที่นภาได้เรียกเงินตามเช็คจากธารา ก็มิได้เป็นการอาศัยลายมือชื่อปลอมของนาคีเพื่อบังคับเอาแก่ธาราแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

สรุป

ก ธาราจะใช้สิทธิบังคับให้เมฆา (ผู้สั่งจ่าย) ใช้เงินตามเช็คไม่ได้ แต่สามารถบังคับให้

นที (ซึ่งปลอมลายมือชื่อของนาคี) ใช้เงินตามเช็คได้

ข นภามีสิทธิเรียกเงินตามเช็คจากธาราได้

Advertisement