การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2010 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จํานอง จํานํา

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. วันที่ 20 เมษายน 2560 นายดําทําสัญญากู้เงินจากนายแดงเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยในวันที่ 25 เมษายน 2562 นายเขียวทําสัญญาค้ำประกันการชําระหนี้เงินกู้ของนายดําดังกล่าว ต่อมา ในวันที่ 27 เมษายน 2562 นายดําจดทะเบียนจํานองที่ดินมูลค่า 7 แสนบาทของตนเป็นประกันหนี เงินกู้ของตน และวันที่ 29 เมษายน 2562 นางม่วงส่งมอบเครื่องเพชรมูลค่า 4 แสนบาทของตน เป็นประกันการชําระหนี้ งินกู้ให้แก่นายดําด้วย เมื่อหนี้เงินกู้ถึงกําหนดนายดําผิดนัดไม่ชําระหนี้

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า ถ้าหากว่านายแดงได้เรียกร้องให้นายเขียวรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน นายเขียวจะเกียงให้นายแดงไปบังคับจํานองเอากับที่ดินที่นายดําจํานองไว้ และไปบังคับจํานํา เอากับเครื่องเพชรที่นางม่วงจํานําไว้ก่อนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 680 “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น

อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 681 วรรคหนึ่ง “อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์”

มาตรา 686 “ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ได้แต่นั้น”

มาตรา 690 “ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชําระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน”

วินิจฉัย

ในกรณีที่การกู้เงินและการค้ําประกันนั้นได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานในการฟ้องร้อง บังคับคดี หากลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการบังคับการชําระหนี้เอาจากลูกหนี้และ ผู้ค้ำประกันได้ตามมาตรา 680 และมาตรา 686 และในส่วนของผู้ค้ำประกันอาจจะบ่ายเบียงขอให้เจ้าหนี้บังคับ เอาจากลูกหนี้ก่อนได้ตามมาตรา 690 คือ เมื่อเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกัน และการประกันนั้น ได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําทําสัญญากู้เงินจากนายแดงเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยมีนายเขียว ทําสัญญาค้ำประกันการชําระหนี้เงินกู้ของนายดําดังกล่าวนั้น สัญญาค้ำประกันระหว่างนายเขียวผู้ค้ำประกันและ นายแดงเจ้าหนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับคดีกันได้ตามมาตรา 680 และมาตรา 681 วรรคหนึ่ง

ต่อมาการที่นายดําลูกหนี้ได้จดทะเบียนจํานองที่ดินมูลค่า 7 แสนบาทของตนเป็นประกันหนี้ของตน และนางม่วงได้ส่งมอบเครื่องเพชรมูลค่า 4 แสนบาทของตนเป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้ให้แก่นายดําด้วยนั้น เมื่อหนี้เงินกู้ถึงกําหนดนายดําผิดนัดไม่ชำระหนี้ และนายแดงได้เรียกร้องให้นายเขียวรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ นายเขียวย่อมสามารถเกี่ยงให้นายแดงไปบังคับจํานองเอากับที่ดินที่นายดําได้จํานองไว้ก่อนได้ เพราะที่ดิน ที่จํานองไว้นั้นเป็นทรัพย์สินของนายดําลาหนี้ตามมาตรา 690 แต่นายเขียวจะเกี่ยงให้นายแดงไปบังคับจํานําเอากับ เครื่องเพชรที่นางม่วงจํานําไว้ก่อนไม่ได้ เพราะเครื่องเพชรดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน

เสรุป

หากนายแดงได้เรียกร้องให้นายเขียวรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน นายเขียวจะเกี่ยงให้นายแดง ไปบังคับจํานองเอากับที่ดินที่นายดําจํานองไว้ก่อนได้ แต่จะเกี่ยงให้นายแดงไปบังคับจํานําเอากับเครื่องเพชรที่ นางม่วงจํานําไว้ก่อนไม่ได้

 

ข้อ 2. กวางนําที่ดินไปจดทะเบียนจํานองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไก่จํานวน 500,000 บาท ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 หลังจากที่จดทะเบียนจํานอง กวางได้ให้เป็ดเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านโดยจดทะเบียน การเช่า ต่อมาไก่จะฟ้องบังคับจํานองที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ไก่จะขอให้มีการลบสิทธิตามสัญญาเช่านั้น ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 722 “ถ้าทรัพย์สินได้จํานองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียนจํานองมีจดทะเบียนภาระจํายอม หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจํานองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจํานองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจํายอม หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจํานองในเวลาบังคับจํานองก็ให้ลบสิทธิที่ กล่าวหลังนั้นเสียจากทะเบียน”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 722 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้รับจํานอง กล่าวคือ ถ้าหากภายหลัง ที่ได้จดทะเบียนจํานองแล้ว ผู้จํานองได้ไปก่อตั้งภาระจํายอมหรือจดทะเบียนทรัพยสิทธิในทรัพย์สินที่จํานองขึ้น โดยผู้รับจํานองมิได้ยินยอมด้วย กฎหมายให้ถือว่าสิทธิจํานองย่อมเป็นใหญ่กว่าสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้จํานองได้ก่อขึ้นนั้น และเมื่อในขณะบังคับจํานอง ภาระจํายอมหรือทรัพยสิทธิที่ผู้จํานองได้ก่อขึ้นนั้นจะเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของ ผู้รับจํานอง ผู้รับจํานองมีสิทธิที่จะให้ลบทรัพยสิทธิ์เหล่านั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่กวางได้นําที่ดินไปจดทะเบียนจํานองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไก่จํานวน 500,000 บาท ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 และหลังจากที่จดทะเบียนจํานองกวางได้ให้เป็ดเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้าน โดยจดทะเบียนการเช่านั้น การกระทําของกวางย่อมไม่กระทบสิทธิของไก่แต่อย่างใด เพราะการที่กวางให้เป็ด เช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านนั้น มิใช่เป็นการจดทะเบียนภาระจํายอมหรือจดทะเบียนทรัพยสิทธิในทรัพย์สินที่จํานอง แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างกวางและเป็ดเท่านั้น แม้สิทธิตามสัญญาเช่าจะได้จดทะเบียนภายหลัง การจดทะเบียนจํานองก็ตาม เมื่อมีการบังคับจํานองสิทธิของไก่ผู้รับจํานองก็มิได้เสื่อมเสียแต่อย่างใด ดังนั้น ไก่จะขอให้มีการลบสิทธิตามสัญญาเช่านั้นเสียจากทะเบียนไม่ได้

สรุป

ไก่จะขอให้มีการลบสิทธิตามสัญญาเช่านั้นเสียจากทะเบียนไม่ได้

 

ข้อ 3. นายแสงกู้เงินจากนายสี 50,000 บาท โดยนําแม่โคไปจํานําไว้เป็นประกันหนี้โดยมิทราบว่าแม่โคได้มีลูกติด ท้องไปด้วย นายแสงค้างชําระดอกเบี้ยและไม่ได้ส่งให้นายสีเจ้าหนี้เลย ระหว่างนั้นแม่โค ได้ตกลูกออกมาและเมื่อลูกโคแข็งแรงดีแล้ว นายสีจึงเอาลูกโคไปขายแล้วนําเงินมาชําระค่าดอกเบี้ย ที่ค้างนั้น ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า

(ก) นายสีสามารถบังคับชําระหนี้จากแม่โคได้หรือไม่ โดยวิธีใดและอย่างไร

(ข) นายสีสามารถบังคับชําระหนี้จากลูกโคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”

มาตรา 761 “ถ้ามิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผลนิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้น อย่างไร ท่านให้ผู้รับจํานําจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชําระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชําระ ท่านให้ จัดสรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จํานําทรัพย์สินเป็นประกันนั้น”

มาตรา 764 “เมื่อจะบังคับจํานํา ผู้รับจํานําต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชําระหนี้ และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกําหนดให้ในคําบอกกล่าวนั้น

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าว ผู้รับจํานําชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจํานําออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด

อนึ่งผู้รับจํานําต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จํานําบอกเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย”

วินิจฉัย

มาตรา 761 ได้วางหลักไว้ว่า หากทรัพย์สินที่จํานํามีดอกผลนิตินัย (เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือ เงินปันผล) เกิดขึ้น ให้ผู้รับจํานําจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชําระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชําระก็ให้ จัดสรรใช้เงินต้นแห่งหนี้ที่ได้จํานําทรัพย์สินเป็นประกันนั้น เว้นแต่ในสัญญาจํานําจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายแสงกู้เงินจากนายสี 50,000 บาท โดยนําแม่โคไปจํานําไว้เป็นประกันหนี้นั้น สัญญาจํานําระหว่างนายแสงและนายสีมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 747 ต่อมาเมื่อนายแสงค้างชําระดอกเบี้ยและ ไม่ได้ส่งให้แก่นายสีเลย ย่อมถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ดังนั้น นายสีเจ้าหนี้ผู้รับจํานํามีสิทธิที่จะบังคับจํานํา เอาจากทรัพย์สินที่จํานําคือแม่โคได้ตามมาตรา 764 โดยนายสีจะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังนายแสงซึ่งเป็น ลูกหนี้ให้ชําระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อน ถ้านายแสงยังละเลยไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าวคือไม่ยอมชําระหนี้ นายสีผู้รับจํานําก็สามารถนําเอาทรัพย์สินที่จํานําคือแม่โคนั้นออกขายทอดตลาดเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ได้

(ข) สําหรับลูกโคนั้น เมื่อทรัพย์สินที่จํานําคือแม่โคยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายแสงผู้จํานํา เมื่อแม่โคออกลูกมา ลูกโคจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายแสง ดังนั้น นายสีซึ่งมิใช่เจ้าของลูกโคจึงไม่มีสิทธินําลูกโค ไปขายเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ที่นายแสงค้างชําระ อีกทั้งลูกโคก็ถือว่าเป็นเพียงดอกผลธรรมดา มิใช่ดอกผลนิตินัย นายสีจึงไม่มีสิทธิที่จะนําลูกโคออกขายเพื่อนําเงินมาจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยที่นายแสงค้างชําระตามมาตรา 761 เนื่องจากสิทธิของผู้รับจํานําที่จะนําเอาดอกผลของทรัพย์สินที่จํานํามาจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชําระ แก่ตนนั้น ต้องเป็นดอกผลนิตินัยเท่านั้น

สรุป

(ก) นายสีสามารถบังคับชําระหนี้จากแม่โคซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จํานําได้ โดยวิธีนําออกขายทอดตลาด

(ข) นายสีจะบังคับชําระหนี้จากลูกโคซึ่งเป็นดอกผลธรรมดาไม่ได้

Advertisement