การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 6. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ออสกูด และชแรมม
(2) ลาสเวลล์
(3) เบอร์โล
(4) นิวคอมบ์

Advertisement

1.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองเชิงจิตวิทยา
ตอบ 4 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์ (Newcomb) เป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่าการสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการรักษาความสมดุลหรือความเหมือนกัน ทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่าการสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เกิดความไม่สมดุลขึ้น มนุษย์ก็จะพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสมดุลยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นไปเพื่อยืนยันความแตกต่างกัน หรือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบาย การสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้

2. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่กล่าวถึงการตีความหมายของสารว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรอบแห่ง
การอ้างอิง และสนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 1 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของออสกูด (Osgood) และวิลเบอร์ ชแรมม์ (Schramm) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้ เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างมีหน้าที่เหมือนกัน 3 อย่าง คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

3. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้อง
มีผลเสมอไป
ตอบ 2 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการสื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่า ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะ
มีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร โดยกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปนั้นจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสมแก่การใช้ วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ แต่แบบจําลองนี้ขาดปัจจัยสําคัญ ในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)

4.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นเรื่องการรักษาความสมดุลทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงทางความคิด พฤติกรรม เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองการสื่อสารที่ไม่สามารถนําไปอธิบายสังคม
ที่มีขนาดใหญ่โตได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่มีการกล่าวถึงช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้งห้า
ประการของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 57, 61 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berto) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ได้กล่าวถึงช่องทางการสื่อสาร (Channel : C) ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ผู้รับสาร โดยทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทสัมผัส ที่รับความรู้สึกของมนุษย์มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

7.ทฤษฎีตามความหมายของเคอร์ลินเจอร์ หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) สมมุติฐาน
(2) แนวความคิด
(3) คํานิยาม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, 22 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของ แนวความคิด คํานิยาม (คําจํากัดความ) และสมมุติฐาน (คําตอบล่วงหน้า) ซึ่งแสดงให้เห็น อย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

8.จากคําจํากัดความทฤษฎีของเคอร์ลินเจอร์ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีสมมุติฐาน
(3) มีตัวแปรและทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้ให้ไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบ ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

9. สมมุติฐาน หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือมากกว่านั้น
(2) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น
(3) ข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่าถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 20, 26 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น หรือหมายถึงข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่า ถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลนั้นถูกทดสอบแล้ว เป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้ว และ ไม่ต้องถูกทดสอบอีก ข้อความนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นสมมุติฐานอีกต่อไป

10. หากจะศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและความตั้งใจเปิดรับนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
สามารถนําแนวคิดและทฤษฎีใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสารจากสื่อมวลชน
(2) แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์
(3) แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยข้างต้น สามารถนําแนวคิดทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือทฤษฎีการปลูกฝัง (Cultivation Theory) มาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับ การเปิดรับสารจากสื่อมวลชนว่า ข่าวสารหรือรายการต่าง ๆ ในสื่อมวลชนได้ปลูกฝังปั้นแต่ง ความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนได้ทําให้ผู้รับสารเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และการเปิดรับสารจากสื่อมวลชนมากหรือน้อยจะทําให้ผลของการอบรมบ่มเพาะแตกต่างกันซึ่งจะส่งผลให้มีเจตคติหรือทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แตกต่างกันไปด้วย

11. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรตามคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 24 – 25, (คําบรรยาย) จากการตั้งสมมุติฐานการวิจัยข้างต้นมีตัวแปรในการวิจัย ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) อาจเรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกําหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความ คงทนถาวรมากที่สุด ซึ่งในที่นี้คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) อาจเรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรผล” หมายถึง ตัวแปรอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระ จะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม) ซึ่งในที่นี้คือ ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์

12. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรอิสระคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

13. สังคมข้อมูลข่าวสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Information Social
(2) Information Society
(3) Informations Social
(4) Informations Society
ตอบ 2 หน้า 1 ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และกว้างขวาง ตลอดจนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่อาจกล่าวได้ว่าสังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร (Information Society) นั่นคือ ข่าวสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสําคัญหรือมีบทบาทในการ ดํารงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ

14. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้ง
และแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) เจอร์เกน รอยซ์ (Jurgen Ruesch) และเกรกอรี แบทสัน (Gregory Bateson) กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย
ซึ่งคํานิยามการสื่อสารนี้ยึดหลักที่ว่าการกระทําและเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นการสื่อสาร หากมี ผู้เข้าใจการกระทําและเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การที่เราเห็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่งและสามารถ ตีความหมายของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ ก็นับว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

15. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โอฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 4 หน้า 4 เอเวอเร็ต เอ็ม. โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) และเอฟ. ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (F. Floyd Shoemaker) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร

16. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายความเพียงแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และซูเมคเกอร์
ตอบ 3 หน้า 3 วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์ (Warren W. Weaver) กล่าวว่า การสื่อสารมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงการพูดและเขียนเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดงบัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย

17. การสื่อสาร 2 ทาง ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two-way Communication
(2) Two-way Communicate
(3) Two-ways Communication
(4) Two-ways Communicate
ตอบ 1 หน้า 4 – 5, 14, 53 – – 54 การสื่อสารแบบสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two-way Communication) คือ การสื่อสารที่หมายความรวมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วตอบโต้กลับ และ อันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) ซึ่งปฏิกิริยา ที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวนําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย (Meaning) อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลาย ๆ อย่าง

18. การมีปฏิกิริยาต่อกันที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two-way Communication
(2) Two-way Communicate
(3) Two-ways Communication
(4) Two-ways Communicate
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) ความสําคัญต่อการศึกษา
(2) ความสําคัญต่อการเกษตร
(3) ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
(4) ความสําคัญต่อวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

20. วารสารการเงินการธนาคาร ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 2 หน้า 11 เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการสอน วิชาความรู้หรือเรื่องราวที่มีลักษณะเป็นวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ วารสารหรือจุลสารเฉพาะด้าน เช่น วารสารเพื่อสุขภาพอนามัย วารสารการเงินการธนาคาร เป็นต้น

21. การที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการบอกกล่าวหรือชี้แจง ข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง ลงตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวันไปให้ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น

22. นวนิยายและการแสดงคอนเสิร์ต ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 3 หน้า 11 เพื่อสร้างความพอใจหรือเพื่อให้ความบันเทิง (Please or Entertain) หมายถึง
ผู้ส่งสารต้องการที่จะทําให้ผู้รับสารเกิดความรื่นเริงบันเทิงใจจากสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร การ์ตูน เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขัน เป็นต้น

23. การอ่านข่าวเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ตนมีอยู่เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นนั้น ผู้รับสารมีวัตถุประสงค์
ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 1 หน้า 13 เพื่อทราบ (Understand) หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะทราบเรื่องราว ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งหากข่าวสารนั้นเป็นของใหม่ก็จะทําให้ผู้รับสารได้ข่าวสารเพิ่มเติม แต่ถ้าหากข่าวสารนั้นเป็นสิ่งที่เคยได้รับทราบมาก่อน ก็จะเป็นการยืนยันความถูกต้องของข่าวสารที่ตนมีอยู่ให้เกิด ความมั่นใจยิ่งขึ้น

24. การที่ผู้รับสารเปิดฟังรายการเพลงนั้น มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 13 เพื่อหาความพอใจหรือเพื่อหาความบันเทิง (Enjoy) หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะ แสวงหาสิ่งที่สามารถช่วยสร้างความบันเทิง ช่วยสร้างความสบายใจหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ให้แก่ตนเองบ้าง เช่น การเปิดฟังรายการเพลง ชมรายการเกมโชว์ ละคร และอ่านหนังสือพิมพ์ หน้าบันเทิง เป็นต้น

25. การที่ผู้รับสารอ่านสารเกี่ยวกับวิชาความรู้ มักจะอยู่ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 2 หน้า 13 เพื่อเรียนรู้ (Learn) หมายถึง ผู้รับสารแสวงหาความรู้โดยการอ่านสารที่มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับวิชาความรู้และวิชาการ เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมและทําความเข้าใจกับเนื้อหาสาระ ในการสอนของผู้ส่งสาร เช่น การชมรายการสอนภาษาอังกฤษ รายการทําอาหาร เป็นต้น

26. ปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
(1) Feedback
(2) Interaction
(3) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

27. ทฤษฎีตามความหมาย Keringer สามารถแยกความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ยกเว้นข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความที่ใช้อธิบายการทํางานสิ่งต่าง ๆ โดยมีการจัดระเบียบให้มีความหมายขึ้นมา
(2) มีกลุ่มของข้อความหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง
(3) การมีสมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
(4) การมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร ทําให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

28. ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ เขียนหนังสือชื่อว่า Four Theories of the Press ในปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 3หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert) ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramim) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press หรือ หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ซึ่งแปลโดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

29. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน แปลโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) ดร.สมควร กวียะ
(2) ดร.เสรี วงษ์มณฑา
(3) ดร.บุญเลิศ ศุภดิลก
(4) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน บรรยายเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ
(2) การสื่อสารมวลชนของประเทศใดย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ของประเทศนั้น
(3) สื่อมวลชนย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ในประเทศนั้น ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 16 หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ได้บรรยายเปรียบเทียบทฤษฎีหรือแนวคิดในเชิง ปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมือง และเศรษฐกิจแตกต่างกัน จึงนับเป็นหนังสือเล่มแรกที่ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารมวลชนของประเทศใด ย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศนั้น สื่อมวลชนย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ใน ประเทศนั้น ๆ หรือ

31. มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ บรรยายเปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะเหตุผลในข้อใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีต้องเป็นหลักการที่แน่นอนและพิสูจน์แล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งขึ้น จะต้องเกิด ข้อเท็จจริงอีกอย่างขึ้นอย่างแน่นอน
(2) ต้องเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(3) ต้องเป็นทฤษฎีที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(4) ต้องเป็นหลักการที่แน่นอนเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 16 เหตุผลที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ บรรยาย เปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะทฤษฎีย่อมจะต้องหมายถึง หลักการที่แน่นอนและ พิสูจน์กันแล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อย่างหนึ่งขึ้นแล้ว ก็จะต้องเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อีกอย่างขึ้นอย่างแน่นอน

32. การแสดงทัศนะว่าสื่อมวลชนเป็นอย่างไร หรือคาดหมายว่าควรจะทําอย่างไร ปฏิบัติบทบาทหน้าที่อย่างไร ภายในกรอบของเงื่อนไข ค่านิยม หรือกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ผู้ใดต่อไปนี้ที่เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ว่าเป็นทฤษฎีปทัสถาน
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) ดอยซ์
(3) บานลุนด์
(4) ฮาร์ดเกรฟ
ตอบ 1 หน้า 18 จากข้อความข้างต้น เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ว่า “ทฤษฎีปทัสถาน” (Normative Theories) ที่ฟังดูแล้วค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นทฤษฎีมากกว่า คําว่า “ทฤษฎีสื่อสารมวลชน” ซึ่งในปัจจุบันมักจะหมายความรวมถึง แนวความคิดทฤษฎี ทุกเรื่องทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน

33. ทฤษฎีที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ ๆ
(4) 7 ประการ
ตอบ 3 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท (Description and Classification)
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ (Analysis)
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด (Meaning and Measurement)
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (Plausibility and
Testability)
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม
เข้ามาอีก 2 ประการ คือ
1. การจัดลําดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความซ้ําซ้อน (Elimination of Tautology)
2. การจัดลําดับสมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความไม่คงที่ (Elimination of Inconsistency)

34. การวิเคราะห์ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ความสําคัญเกี่ยวกับเหตุผลและการทดสอบ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

36. ความสําคัญเกี่ยวกับความหมายและการวัด เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

37. ความสําคัญเกี่ยวกับการแยกประเภท เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

38. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 21 ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่ประดิษฐ์คิดค้น และวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการ (Discipline) สาขาเดียวกัน (ศาสตร์แขนงเดียวกัน) ส่วน Paradigm นิยมใช้เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจาก สาขาวิชาอื่น (ศาสตร์หรือวิชาการต่างสาขากัน)

39. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Paradigm ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ทฤษฎีต่าง ๆ ทางด้านสื่อสารมวลชน ส่วนใหญ่ได้มาจากสาขาวิชาด้านอื่น ๆ ยกเว้นสาขาใดต่อไปนี้
(1) Sociology Psychology
(2) Political Science
(3) Linguistics
(4) Pure Science
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีต่าง ๆ ส่วนมากทางด้านสื่อสารมวลชน ได้วิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาการ ด้านอื่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sociology Psychology (Social Psychology),
Political Science, Linguistics, Economics, Anthropology ba Mathematics

41. โดยทั่วไปทฤษฎีมีหน้าที่ตามตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Explanation
(2) Reinforcement
(3) Prediction
(4) Explanation and Prediction.
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การอธิบาย (Explanation)
2. การทํานายหรือคาดคะเน (Prediction)

42. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า การวิจัยกับทฤษฎีเป็นของคู่กัน
(1) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์
(2) รศ.ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ
(3) รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี
(4) รศ.ดร.พีระ จีระโสภณ
ตอบ 1หน้า 22 (คําบรรยาย) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ กล่าวไว้ ในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานในการแนะแนวการวิจัยและยังช่วย กําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ทฤษฎีก้าวหน้าได้
และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับการวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

43. ตัวแปรอิสระ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

44. ตัวแปรตาม ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. ตัวแปรเหตุ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

46. ตัวแปรผล ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

47. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 3หน้า 25 ตัวแปรแทรก หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและ ตัวแปรตาม เช่น ผู้มีการศึกษาสูงโดยเฉลี่ยแล้วจะมีบุตรน้อยกว่าผู้มีการศึกษาต่ํา โดยตัวแปรที่ เข้ามาแทรกระหว่างการศึกษา (ตัวแปรอิสระ) กับการมีบุตรนั้น (ตัวแปรตาม) ก็คือ การคุมกําเนิด ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นตัวแปรแทรก

48. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 4 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ตัวแปรกด หมายถึง ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้ หรือเป็นตัวแปรที่ ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเบี่ยงเบนไปจากเดิม ต่อเมื่อเราควบคุม
ตัวแปรกดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจึงจะเกิดขึ้น

49. ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของ 2 สิ่ง หรือตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่านั้น
(1) กระบวนทัศน์
(2) ทฤษฎี
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

50. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะของสมมุติฐาน
(1) สามารถที่จะทดสอบได้หรือไม่ก็ได้
(2) บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
(3) กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
(4) แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ตอบ 1 หน้า 26 คุณลักษณะของสมมุติฐาน มีดังนี้
1. สามารถที่จะทดสอบได้ และนําไปสู่การสร้างทฤษฎี
2. บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
3. กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
4. แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจและขั้นตอนของกระบวนการทางสถิติแล้ว

51. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของ
ทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) สเวน วินดาห์ล และเดนิส แม็คเควล
ตอบ 3 หน้า 28 บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ (Bill and Hardgrave) ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า “ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ”

52. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน
รูปความเป็นจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 4 หน้า 29 เดนิส แม็คเควล และสเวน วินดาห์ล (Danis McQuail and Sven Windahl) ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า “คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย

53. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าเป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือสิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 2 หน้า 29 ดีน ซี. บานลุนด์ (Dean C. Barnlund) นักทฤษฎีสื่อสารภายในตัวบุคคล ให้ความหมาย ของแบบจําลองว่า “เป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือสิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้

54. แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของ Heider เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Newcomb
(2) แบบจําลอง ABX
(3) Co-orientation Model
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 37, 40 – 41 แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคล (ABX Model) ของ Newcornb นักจิตวิทยาสังคม ได้ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของการสื่อสารภายในตัวบุคคลของ Heider ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาสังคมเหมือนกัน แต่ Newcomb ได้เรียกแบบการสื่อสารของเขาว่า “Co-orientation Model” (แบบของความคิดโน้มเอียงร่วม) คือ ในสถานการณ์หนึ่ง จะประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม และ เกี่ยวกับวัตถุ (Objece) หรือปัญหา (Issue) เดียวกัน

55. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า “การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัว” จะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสอง
เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) เบอร์โล
(2) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) ลาสเวลล์
(4) นิวคอมบ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

56. แบบจําลองข้อใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า “ในสถานการณ์หนึ่งที่ประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิด หรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม และเกี่ยวกับวัตถุหรือปัญหาเดียวกัน”
(1) ABX Model
(2) Co-orientation Model
(3) แบบจําลองของความคิดโน้มเอียงร่วม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

57. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นนักจิตวิทยาสังคม
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 หน้า 37 Heider เป็นผู้คิดค้นแบบของการสื่อสารภายในตัวบุคคลที่นิยมแพร่หลาย โดยอาศัย ทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model จากสาขาจิตวิทยา และเขาได้เสนอแบบของ ความคิด (Cognitive Configurations) ซึ่งประกอบด้วยบุคคล (P) ที่มีทัศนคติหรือความคิด เกี่ยวกับบุคคลอื่น (S) และปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง (I)

59. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้ค้นคว้าวิจัยเรื่อง Symbolic Interaction
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37 George Herbert Mead เป็นผู้นําในการค้นคว้าวิจัยทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่อง “Symbolic Interaction” (ปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอาศัยสัญลักษณ์) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการศึกษา Intrapersonal Communication เป็นอย่างมาก

60. ตามทัศนะของผู้ใดต่อไปนี้ที่บอกว่า การสื่อสารภายในตัวบุคคลเป็นเสมือนสะพานเชื่อมพฤติกรรมของ บุคคลและสิ่งแวดล้อม บุคคลจะไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจทัศนคติของบุคคลอื่นหรือส่วนรวมได้ จนกว่า เขาจะสามารถพิจารณาและเข้าใจตัวเอง และสามารถตอบสนองต่อการกระทําของตนเอง เหมือนเช่นที่ เขาคาดจะได้รับสนองตอบจากคนอื่น
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37, (ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ) จากข้อความข้างต้นเป็นทัศนะของ George Herbert Mead ที่ได้ให้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1934

61. ผลการศึกษาวิจัยของผู้ใดต่อไปนี้ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา Intrapersonal Communication เป็นอย่างมาก
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Large Group Communication
(4) Public Communication

ตอบ 1 หน้า 36 – 37 โดยทั่วไปแล้วถือว่าการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด (Cognitive Structure) เพราะ การสื่อสารประเภทนี้มีขอบเขตครอบคลุมไปถึงโครงสร้างของความคิด การพัฒนาด้านสติปัญญา การรับรู้ การเรียนรู้ การแปลข่าวสาร การรับรอง และกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างอื่น

63. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน
แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธ
(1) Intercultural Communication
(2) International Communication
(3) Development Communication
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 45 – 46 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการ สื่อสารระดับชาติระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน (รัฐกับรัฐ) แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรมในแง่ที่ว่าผู้ที่ทําการสื่อสารนั้นจะทําหน้าที่เป็นตัวแทน ของประเทศ ได้แก่ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล (เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ฯลฯ) และข้าราชการ รวมทั้งการประชุมของคณะผู้แทน ประเทศต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

64. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ International Communication เกิดขึ้นภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน
(1) อินเดีย
(2) มาเลเซีย
(3) เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
(4) คนผิวขาวและคนผิวดํา
ตอบ 3 หน้า 47 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) อาจเกิดขึ้นได้ ภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน คือ ในกรณีที่ประชาชนมีขนบประเพณีเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แต่ถูกแบ่งแยกโดยดินแดนหรือแยกกันอยู่คนละประเทศ เช่น เยอรมนีตะวันตกและตะวันออก เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นต้น

65. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของแชนนั้น และวีเวอร์เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 2 หน้า 48 – 51, (คําบรรยาย) แชนนั้น (C. Shannon) และวีเวอร์ (W. Weaver) ได้สร้าง แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ซึ่งรู้จักกันแพร่หลาย ในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้นในชื่อว่า “แบบจําลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์” เพราะได้เอาวิชาการหรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการทางการสื่อสาร โดยเน้นเรื่องช่องทางการสื่อสารที่จะสามารถส่งสารจากแหล่งสารสนเทศไปสู่จุดหมายปลายทางได้มากที่สุด และเกิดอุปสรรคระหว่างการสื่อสารน้อยที่สุด

66. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

67. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

68. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเดวิด เค. เบอร์โล เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและ
การโน้มน้าวใจ
(1) แชนนัน และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ขาดปัจจัยสําคัญเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

71. การเข้ารหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

72. การถอดรหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

73. การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่ วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด สื่อหรือช่องทาง การสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย

74. ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 2 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้เข้ารหัส (Encoder) หมายถึง ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ที่ ทําหน้าที่เข้ารหัสก็คือ ผู้ส่งสารนั่นเอง

75. การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมานับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมา หรือต้องการสื่อความหมายมา

76. ผู้ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 4 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้ถอดรหัส (Decoder) หมายถึง ผู้ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษากลับเป็น ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ซึ่งผู้ที่ทําหน้าที่ถอดรหัสก็คือ ผู้รับสารนั่นเอง

77. การตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Frame of Experience
(2) Frame of Reference
(3) Field of Reference
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

78. การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ในการสื่อสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) รหัสสาร
(2) เนื้อหาสาร
(3) การจัดสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 การจัดสาร (Treatment) ตามความคิดของเบอร์โลนั้น คือ วิธีการที่ผู้ส่งสาร เลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ และศัพท์ในการสื่อสาร รวมไปถึงคําถาม คําอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดีจะทําให้เกิดการรับรู้ ความหมายในตัวผู้รับสารได้

79. เฟสติงเจอร์ สร้างทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิดเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 4 หน้า 63 – 64 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) เมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยเขาเป็นผู้ค้นพบว่าการตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือ ความไม่เหมือนกันทางความคิด ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากใจ อันเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา จนนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ หรือการเลือกทางเลือกที่ได้ตัดสินใจกระทําลงไป

80. ความไม่เหมือนกันทางความคิด ทําให้เกิดความยุ่งยากใจ และนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุน การตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Cognitive Theory
(2) Cognition Dissonance Theory
(3) Cognitive Dissonance Theory
(4) Cognition Theory
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณชนสามารถ รับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและความเชื่อที่เป็น เอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูล หรือสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทําให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

82. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารมวลชน
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารสาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 42 – 43 (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการสื่อสารกลุ่มใหญ่ หรือการสื่อสารสาธารณะ
(Large Group Communication or Public Communication)
1. ผู้รับสารเป็นคนจํานวนมากที่มาอยู่รวมในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งสาร และ ใครเป็นผู้รับสาร
3. ผู้ส่งสารทําหน้าที่ส่งสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของสถาบันและเป็นตัวแทนของตัวเอง
4. ปฏิกิริยาตอบกลับจะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก
5. ผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน ฯลฯ

83. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

84. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นการแบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) การสื่อสารมวลชน
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(4) การสื่อสารในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ

85. มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สาเหตุที่สําคัญที่สุด
น่าจะเป็นข้อใดต่อไปนี้
(1) มนุษย์มีการใช้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ
(2) มนุษย์อยู่ลําพังคนเดียวไม่ได้
(3) มนุษย์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย
(4) มนุษย์มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ตอบ 4 หน้า 1 การติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายของมนุษย์ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการใช้ อาณัติสัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงกลอง ควันไฟ ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร จากนั้น จึงเริ่มรู้จักขีดเขียนภาพบนผนังถ้ํา และต่อมาก็มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้ในลักษณะ ของการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เองที่เป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

86. ผู้ใดต่อไปนี้ค้นพบทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด
(1) เฟสติงเจอร์
(2) เฟสติงเกอร์
(3) เฟสลิงเตอร์
(4) เฟสติงเยอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

87. การอ่านทวนจดหมายที่เราเขียนขึ้นเองก่อนส่งไปให้เพื่อนเรา สามารถเรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 2 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน คือ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงฟังคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

88. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจน
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

89. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาร
(1) รหัสสารเชิงวัจนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 60 – 61, 68 ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้
1. รหัสของสาร (Message Code) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทางหรือภาษากาย หรือรหัสอื่น ๆ เช่น รหัสสารเชิงวัจนะ (ใช้คําพูด) และรหัสสารเชิงอวัจนะ (ไม่ใช้คําพูด)
2. เนื้อหา (Content
3. การจัดสาร (Treatment)

90. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่สลับกันในเวลาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
ตอบ 2 หน้า 41 – 42, 75, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยน ข่าวสารกันได้โดยตรง สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้รวดเร็ว ทันที ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือการสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็ ทําหน้าที่เข้ารหัส ตีความ และถอดรหัสโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การพูดคุย และส่ง SMS ทางโทรศัพท์ การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้ การส่ง E-mail และการสนทนา โต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

91. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีความคงทนมากที่สุด
(1) ตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรกด
(3) ตัวแปรตาม
(4) ตัวแปรแทรก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

92. “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ตา หู จมูก ลิ้น กาย
(2) วิทยุและโทรทัศน์
(3) หนังสือพิมพ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 72 คําว่า “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึง ทางที่ทําให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารติดต่อกันได้ ซึ่งก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคําว่า “สื่อ”
หมายถึง สื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารไปถึงกันและกัน

93. อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นความหมายของข้อใดต่อไปนี้
(1) ช่องทาง
(2) พาหนะ
(3) สื่อ
(4) เครื่องมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. อาจารย์ใช้แผ่นใส วิดีโอ และการเขียนไวท์บอร์ดสอนนักศึกษาขณะบรรยายในชั้นเรียน ถือว่าอาจารย์ ใช้สื่อประเภทใดต่อไปนี้ ถ้าดูจากจํานวนการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) สื่อมวลชน
(3) สื่อประสม
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(4) สื่อระหว่างบุคคล
ตอบ 4 หน้า 73 – 74 สื่อระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน จนไม่อาจจะติดต่อกันโดยไม่ผ่านสื่อหรือไม่มีสื่อได้ จึงจัดเป็นสื่อที่ใช้เฉพาะบุคคล มีลักษณะ เป็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในขณะนั้น ๆ เช่น จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ภาพถ่ายในครอบครัว บันทึกช่วยจํา อนุทิน เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์บางชนิดที่จัดว่าเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย การเรียนการสอน ซึ่งจําเป็นจะต้องใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หนังสือ เอกสาร แผ่นใส วิดีโอ กระดานดํา/ไวท์บอร์ด เป็นต้น

95. การสื่อสารที่เน้น Interaction ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร สามารถเรียกได้อย่างไรต่อไปนี้
(1) One-way Communication
(2) Two-way Communication
(3) Mass Communication
(4) Public Communication
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

96. การสื่อสารที่ครอบคลุมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ และปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและ
ผู้รับสาร สามารถนําไปสู่กระบวนการใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การเข้ารหัส
(3) การเข้าใจความหมายร่วมกัน
(4) การเข้ารหัส-ถอดรหัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

97. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความการสื่อสารว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งส่งสิ่งเร้าเพื่อเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของบุคคลอื่น
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) เจอร์เกน รอยซ์
(3) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(4) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์ (Cart I. Hoveland) และคณะ ให้ความเห็นว่า การสื่อสาร
คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่น ๆ (ผู้รับสาร)

98. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน”
(1) อ.ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ
(2) รศ.ดร.สมควร กวียะ
(3) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

99. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความจริง
หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

100. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูป
ของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

101. หากผู้วิจัยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อน เป็นตัวกําหนดสมมุติฐาน สามารถเรียก การตั้งสมมุติฐานลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) การตั้งสมมุติฐานแบบนิรนัย
(2) การตั้งสมมุติฐานแบบอุปนัย
(3) การตั้งสมมุติฐานโดยวิธีพฤตินัย
(4) การตั้งสมมุติฐานแบบพฤตินัย
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง 3. ข้อสรุป

102. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาวิชาเดียวกัน
(2) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาเดียวกันหรือต่างสาขากันก็ได้
(3) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์แขนงเดียวกัน
(4) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์ต่างสาขากัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

103. ตัวแปรตาม สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) ตัวแปรผล
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

104. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

105. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) วารสาร
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) คอมพิวเตอร์
ตอบ 4 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์มี 5 ประเภท คือ
1. สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ ผู้ทําการสื่อสาร ฯลฯ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ โฟลเดอร์
(ใบโฆษณาที่เป็นกระดาษแข็งพับ) ฯลฯ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ (เช่น เว็บไซต์ฝ้ายคําของ ม.รามคําแหง) ฯลฯ
5. สื่อระคน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กําแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

106. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารในสังคมกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม (1) วิทยุและโทรทัศน์
(2) หนังสือพิมพ์
(3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 94 – 95 สถาบันสื่อมวลชนนับว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้รับสาร (สาธารณชนหรือมวลชน) กับสถาบันอื่น ๆ หรือระหว่างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมด้วยกันเอง จึงมีการเปรียบสื่อมวลชนว่า เป็นเสมือนสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมหรือในโลก เพราะไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ แห่งหนตําบลใด หรือในซีกโลกใด สื่อมวลชนก็สามารถ นํามาเสนอสู่สายตาของสาธารณชนได้

107. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

108. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

109. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) Heider
(2) Herbert Mead
(3) Newcomb
(4) Herbert Blumer
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

110. แบบจําลองการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
(1) แบบจําลองที่แสดงโครงสร้างและแบบจําลองตัวแปร
(2) แบบจําลองแสดงหน้าที่และแบบจําลองแสดงเหตุการณ์
(3) แบบจําลองแสดงโครงสร้างและแบบจําลองแสดงหน้าที่
(4) แบบจําลองจัดระเบียบและแบบจําลองแสดงหน้าที่
ตอบ 3 หน้า 29 – 30 แบบจําลองการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบจําลองที่แสดงโครงสร้างหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็น การย่อส่วนหรือจําลองของจริง เช่น แบบจําลองบ้านจัดสรรของโครงการหมู่บ้านต่าง ๆ
2. แบบจําลองที่แสดงหน้าที่หรือการทํางานของระบบ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น ภาพเชิงเส้นแสดงระบบการทํางาน เช่น แบบจําลองระบบการทํางานของสมองมนุษย์

111. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของสมมุติฐาน มีหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) กําจัดความซับซ้อน
(4) กําจัดความไม่คงที่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

112. แบบจําลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของลาสเวลล์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูด
(3) แบบจําลองการสื่อสารของเอ็ดเวิร์ด สะเพียร์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของคาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

113. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นําวิธีนี้มาใช้
(1) Aristotle
(2) Fransis Bacon
(3) Francis Bacom
(4) Francis Bacon
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ

114. การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อเชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย เป็นการให้ความหมายของการสื่อสารโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(3) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
(4) วิลเบอร์ ซแรมม
ตอบ 3 หน้า 4 ชาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย

115. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่มีทั้งสารประเภทข้อเท็จจริง สารประเภทข้อคิดเห็น สารประเภทความรู้สึก
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารในองค์การ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4หน้า 69 – 71 การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จะมีเนื้อหาของสารทั้ง 3 ประเภทปรากฏอยู่ ได้แก่
1. สารประเภทข้อเท็จจริง ได้แก่ สารที่เป็นความจริง และสามารถตรวจสอบได้
2. สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เป็นความรู้สึก แนวคิด และความเชื่อที่ไม่สามารถ ตรวจสอบความจริงได้
3. สารประเภทความรู้สึก ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ

116. ผู้รับสารในกระบวนการสื่อสารต้องมีบทบาทหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การรับรู้ความหมายตามที่ผู้ส่งสารส่งมา
(2) การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร
(3) การถอดรหัสและการเข้ารหัส
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 75 ในกระบวนการสื่อสารนั้น ผู้รับสารมีบทบาทหน้าที่ขั้นพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1. การรับรู้ความหมายตามเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงตน
2. การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร

117. จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วย ทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นคือข้อใดต่อไปนี้
(1) ตัวแทน
(2) ตัวแปร
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสําคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้ โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

118. ใครเป็นผู้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”
(1) Cart I. Hoveland
(2) Warren W. Weaver
(3) George A. Miller
(4) Jurgen Ruesch
ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอด ข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

119. สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) สือเฉพาะกิจ
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

120. Communication Breakdown เกิดจากสาเหตุอะไรต่อไปนี้
(1) สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน
(2) ประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน
(3) วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 10, 14, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวนที่เรียกว่า “Noise” ทําให้ การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย หรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร และเกิดความล้มเหลว ในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่ตรงกัน สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน และประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน ฯลฯ

Advertisement