LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2548

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2548

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน

ข้อ 1. นายเพชรอายุ 17 ปี ได้เสียกับ น.ส. หญิงอายุ 20 ปี น.ส. หญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตร 1 คน คือ ด.ญ. สวย นายเพชรรัก ด.ญ. สวยมาก นายเพชรต้องการจดทะเบียนรับรอง ด.ญ. สวยให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นายเพชรไม่ต้องการให้บิดามารดาของตนทราบ ต่อมานายโชติคุณลุง ของนายเพชรได้ให้สร้อยทองเป็นของขวัญวันเกิดแก่นายเพชร นายเพชรได้นำสร้อยทองดังกล่าวไป ให้กับ น.ส. หญิง ดังนี้

ก) นายเพชรจะจดทะเบียนรับรอง ด.ญ. สวยว่าเป็นบุตรของตนโดยไม่ขอความยินยอมจากบิดามารดา ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ข) ถ้าบิดามารดาของนายเพชรทราบเรื่องที่นายเพชรนำสร้อยทองไปให้ น.ส. หญิง บิดามารดาของ นายเพชรจะบอกล้างนิติกรรมการให้สร้อยทองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนี้คือ

1.         ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงโดยปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้น การนั้นเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 21)

2.         ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว (ป.พ.พ. มาตรา 23)
ก) ตามปัญหาการที่นายเพชรอายุ 17 ปี ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องการจดทะเบียนรับ ด.ญ. สวย เป็น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือได้ว่านิติกรรมการจดทะเบียนรับรองบุตรเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. มาตรา 21 ที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพังตนเองโดย ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนั้นนายเพชรจึงสามารถที่จะจดทะเบียนรับ ด.ญ. สวย เป็น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากบิดามารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม

ข) การที่นายเพชรผู้เยาว์ได้นำสร้อยทองไปให้ น.ส. หญิงนั้น นิติกรรมการให้ดังกล่าวไม่เข้าข้อยกเว้น ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์ทำได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้นถ้าผู้เยาว์จะทำจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 21 เมื่อไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมการให้ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆียะ และเมื่อบิดามารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมทราบ ย่อมมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้สร้อยทองดังกล่าวได้

สรุป

ก) นายเพชรสามารถจดทะเบียนรับ ด.ญ. สวย เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่ต้อง ขอความยินยอมจากบิดามารดา

ข) บิดามารดาของนายเพชรสามารถบอกล้างนิติกรรมการให้สร้อยทองได้ เพราะนิติกรรม การให้ดังกล่าวเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2 ก. เป็นนักธุรกิจซึ่งกำลังประสบกับการขาดทุน มีเจ้าหนี้หลายรายติดตามทวงถามหนี้อยู่ ก. มีรถยนต์โบราณอยู่คันหนึ่งเกรงว่าเจ้าหนี้จะมายึดเอารถยนต์นั้นไป ก. จึงทำเป็นขายรถยนต์นั้นให้ ข. ไป โดย ก. และ ข. รู้กันดีว่าการซื้อขายนี้ไม่ได้เจตนาทำกันจริงจังแต่อย่างไร

ดังนี้สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่าง ก. และ ข. มีผลอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง

เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพี่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าว เป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่ ก. ได้ทำนิติกรรมขายรถยนต์โบราณให้ ข. โดย ก. และ ข. รู้กันดีว่าการซื้อขายนี้ไม่ได้เจตนาทำกันจริงจังแต่อย่างไร แต่ทำขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้ของ ก. เท่านั้น ดังนั้นนิติกรรมใน รูปสัญญาซื้อขายระหว่าง ก. และ ข. จึงมีผลเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงของคู่ กรณี คือ ก. และ ข.

สรุป สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่าง ก. และ ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549      นายสิรายุขอซื้อที่ดินจากนายปรเมศวร์ในราคาหนึ่งล้านบาทนายปรเมศวร์ยอมขายที่ดินให้แก่นายสิรายุในราคาหนึ่งล้านบาทตามที่นายสิรายุเสนอ โดยนายสิรายุ จ่ายเงินให้แก่นายปรเมศวร์หนึ่งล้านบาทในวันที่ตกลงซื้อขายกัน และนายสิรายุกับนายปรเมศวร์ ตกลงกันว่าจะไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 แต่เมื่อถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 นายปรเมศวร์ไมjไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ดังนี้สัญญาซื้อขายระหว่างนายสิรายุกับนายปรเมศวร์เป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และ นายสิรายุจะสามารถฟ้องร้องบังคับให้นายปรเมศวร์ไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

“สัญญาจะซื้อขาย” คือสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทำตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในภายหน้า คือเมื่อ ได้ไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้นเอง

ตามปัญหา สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายสิรายุกับนายปรเมศวร์ ที่ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขาย กันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 และมีข้อตกลงกันว่าจะไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 นั้นเป็นสัญญาจะซื้อขาย เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และคู่กรณีมีเจตนาที่จะไปทำสัญญาซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ไนภายหน้า

และตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2)

ข้อเท็จจริงตามปัญหา เมื่อในวันที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันนั้น นายสิรายุได้จ่ายเงินให้แก่ นายปรเมศวร์แล้วหนึ่งล้านบาท จึงถือได้ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายสิรายุกับนายปรเมศวร์นั้นมีหลักฐาน ที่สามารถใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ถ้าฝายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา คือมีการชำระหนี้บางส่วน ดังนั้น เมื่อครบกำหนด คือวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 นายปรเมศวร์ไม่ไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ นายสิรายุย่อมสามารถฟ้องร้องบังคับให้นายปรเมศวร์ไปทำการซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้

สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนายสิรายุกับนายปรเมศวร์เป็นสัญญาจะซื้อขาย และนายสิรายุ สามารถฟ้องร้องบังคับให้นายปรเมศวร์ไปทำการซื้อขายเป็นหนังสือและชุดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาเลือกทำคำตอบเพียงข้อเดียว

ก) ที่ว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอัน หลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่จะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสสักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”       ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบายหลักกฎหมายพอสังเขป และยกตัวอย่างประกอบหรือ

ข) นายแดงเป็นผู้ทรงเช็คฉบับหนึ่งซึ่งธนาคารได้รับรองเช็คแล้ว มาปรึกษาท่านว่าถ้านำเช็คนี้ไปยื่น กับธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ธนาคารจะปฏิบัติการใช้เงินตามเช็คนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึง กำหนดเวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามตัวเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดชอบได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่าตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำเป็น ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครองของ เหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

ข) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 993 วรรค 1 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการรับรองเช็คและผลของการรับรองเช็ค ไว้ว่า “ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า ถ้าธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ลงลายมือชื่อ รับรองเช็คไว้แล้ว ธนาคารผู้รับรองเช็คจะต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันที่จะต้องใช้เงินตามเช็คนั้นเสมอ เมื่อผู้ทรงเช็คได้นำเช็คนั้นมายื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค

ดังนั้นเมื่อนายแดงเป็นผู้ทรงเช็คฉบับหนึ่งซึ่งธนาคารได้รับรองเช็คไว้แล้ว นำเช็คนี้ไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ด ธนาคารจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คไม่ได้

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2548

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2548

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน
ข้อ1. นากรกฎอายุ 30 ปีเป็นคนวิกลจริต ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ วันหนึ่งนายกรกฎ ไปซื้อรถจากนายอาร์ต โดยขณะที่นายกรกฎซื้อรถจากนายอาร์ต นายกรกฎไม่มีอาการวิกลจริต แต่นายอาร์ตทราบว่านายกรกฎเป็นคนวิกลจริต

ดังนี้ นิติกรรมการซื้อขายรถของนายกรกฎกับนายอาร์ตมีผลทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 ได้บัญญัติหลักการทำนิติกรรมของคนวิกลจริต ไว้ว่า “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว เมื่อคนวิกลจริตทำนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะตกเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ แรกรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำ เป็นคนวิกลจริต

ตามปัญหา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่นายกรกฎซึ่งเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังมิได้สั่งให้ เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำการซื้อรถจากนายอาร์ตนั้น นายกรกฎไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด และถึงแม้ นายอาร์ตจะทราบว่านายกรกฎเป็นคนวิกลจริต ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการซื้อขายรถของนายกรกฎกับนายอาร์ตมีผล เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 ดังนั้นนิติกรรมการซื้อขายรถดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์

สรุป นิติกรรมการซื้อขายรถของนายกรกฎกับนายอาร์ตมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ2. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดที่มีผล เป็นโมฆะและโมฆียะ โดยอาศัยหลักกฎหมายจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ครบถ้วน

ธงคำตอบ

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักไว้ดังนี้คือ

1) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น (ป.พ.พ. มาตรา 156)

2)         การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่า เป็นสาระสำคัญ เป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 157)

3)         ความสำคัญผิด ตามมาตรา 156 หรือมาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 158)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดที่มีผลเป็นโมฆะและโมฆียะจะเหมือนและแตกต่างกันดังนี้ คือ

ความเหมือน

1.         เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญเช่นเดียวกัน

2.         มีข้อยกเว้นที่เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าความสำคัญผิดนั้นเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้

ความแตกต่าง

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น สิ่งซึ่งเป็น

สาระสำคัญ ได้แก่ ลักษณะของนิติกรรม ตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม

ส่วนการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดที่มีผลเป็นโมฆียะ คือ สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล

หรือทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ

 

ข้อ 3. จงอธิบายหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาเมื่อมีกรณีต้องฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างคู่สัญญาจะซื้อขาย

ธงคำตอบ

ตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้  หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2)

จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อมีกรณีต้องฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างคู่สัญญาจะซื้อขาย ตามสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าคู่สัญญาฝ่ายที่จะฟ้องร้องจะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ จึงจะฟ้องร้องเพื่อให้มีการบังคับคดีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3        มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว

 

ข้อ 4. นายแหลมสั่งจ่ายเช็คธนาคารหัวหมาก จำกัด (มหาชน) จำนวน 50,000 บาท แล้วส่งมอบชำระหนี้ ค่าสินค้าให้แก่นายคม โดยหลังจากที่นายคมได้รับเช็คฉบับดังกล่าวมาแล้วก็นำไปเก็บไว้จนหลงลืม มิได้นำไบ่ยื่นให้ธนาคารหัวหมากฯ ใช้เงินตามเช็คให้ จนเวลาล่วงเลยไปเจ็ดเดือนเศษนับแต่วันที่ ลงไว้ในเช็ค นายคมจึงนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารหัวหมากฯ ชำระเงินให้ ในกรณีนี้หากเงินในบัญชี ของนายแหลมที่สั่งจ่ายเช็คไปนั้นยังมีเพียงพอที่จะชำระให้แก่นายคมได้ ธนาคารหัวหมากฯ จะสามารถ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายคมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็คของธนาคารไว้ว่า “ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีอย่าง ใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ที่ธนาคารมีสิทธิไม่ใช้เงินตามเช็คได้ คือ

(1)       ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2)       เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เลือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3)       ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

ตามปัญหา การที่นายคมผู้ทรงเช็คได้นำเช็คไปยื่นให้ธนาคารหัวหมากฯ ใช้เงินตามเช็คเมื่อพ้น เวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ลงไว้ในเช็ค) ดังนั้นแม้ว่าเงินในบัญชีของนายแหลมผู้สั่งจ่ายเช็ค จะมีเพียงพอ ที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คได้ก็ตาม ธนาคารหัวหมากฯ ก็สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นายคมได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 (2)

สรุป ธนาคารหัวหมากฯ สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายคมได้

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบใส่ภาค 1 ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้ในกรณีใดบ้าง จงอธิบาย
ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเหตุที่จะทำให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะไว้ 2 กรณีดังต่อไปนี้ คือ

1.         บรรลุนิติภาวะโดยอายุ            กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมบรรลุนิติภาวะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
2.         บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส กล่าวคือ ผู้เยาว์อาจจะบรรลุนิติภาวะได้ ถ้าหากชายและหญิง ได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ชายและหญิงนั้นมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรืออาจมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถ้าหากได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์ย่อม บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448” และในมาตรา 1448 ก็ได้ บัญญัติไว้ว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้”

 

ข้อ 2. นาย ก. และนาย ข. ได้ตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน จึงได้ไปแสดงความจำนงต่อเจ้าพนักงาน แต่เจ้าพนักงานบอกว่าไม่สะดวก ให้ทำเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งกันและกันเพื่อสะดวกในการโอน นาย ก. และ นาย ข. จึงได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันไว้ แต่มิได้มีการชำระราคาที่ดินกันแต่อย่างไร

ดังนั้น ในระหว่างนาย ก. และนาย ข. ต้องนำนิติกรรมลักษณะใดมาใช้บังคับจึงจะชอบด้วย กฎหมายลักษณะนิติกรรมอำพราง

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรค 2 บัญญัติว่า

“ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องนิติกรรมอำพรางนั้น จะมีการทำนิติกรรมขึ้น 2 ลักษณะคือ

1.         นิติกรรมที่คู่กรณีได้ทำขึ้น และต้องการให้มีผลผูกพันบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้ ปกปิดหรืออำพรางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง

2.         นิติกรรมที่คู่กรณีได้ทำขึ้น แต่ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันบังคับกัน เป็นเพียงนิติกรรม ที่ทำขึ้นมาโดยเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น หรือเพื่อที่จะอำพรางนิติกรรมอันแรก ซึ่งนิติกรรมอันนี้ถือว่าเป็นเพียง นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง ตามกฎหมายถือว่าเป็นโมฆะ ในระหว่างคู่กรณีให้บังคับกันด้วยนิติกรรม ที่ถูกอำพราง

ตามปัญหา การที่นาย ก. และนาย ข. ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน แต่ได้ไปทำเป็นสัญญา ซื้อขายที่ดินกันนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินถือว่าเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงตกเป็นโมฆะ ใน ระหว่างคู่กรณีคือ นาย ก. และนาย ข. จึงต้องบังคับกันตามสัญญาแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง และเป็นนิติกรรมที่แท้จริงที่คู่กรณีต้องการให้เกิดผลบังคับกัน

สรุป ในระหว่างนาย ก. และนาย ข. จะต้องนำนิติกรรมในลักษณะสัญญาแลกเปลี่ยนมาใช้ บังคับกันจึงจะชอบด้วยกฎหมายลักษณะนิติกรรมอำพราง

 

ข้อ 3. พิมพ์อรไปซื้ออาหารที่ตลาด เห็นร้านขายเป็ดย่างของนิดมีเป็ดย่างแขวนอยู่ 4 ตัว ปิดป้ายราคา เป็ดย่างไว้ว่าราคาตัวละ 150 บาท พิมพ์อรเลือกเป็ดย่างตัวที่อ้วนที่สุด นิดนำเป็ดย่างตัวที่พิมพ์อรเลือกใส่ถุงเตรียมจะส่งให้ และพิมพ์อรกำลังจะจ่ายเงินให้นิด ทันใดนั้นมีสุนัขจรจัดกระโดดงับ เป็ดย่างตัวดังกล่าว แล้ววิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว นิดวิ่งตามแต่ไม่ทัน ดังนี้ พิมพ์อรยังคงต้องชำระ ราดาค่าเป็ดย่างให้กับนิดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้บัญญัติหลักในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไว้ดังนี้

1)         กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อนับตั้งแต่ที่ได้ทำ สัญญาวื้อขายกัน (ป.พ.พ. มาตรา 458)

2)         ในการซื้อขายทรัพย์สินที่ยังไม่ได้กำหนดลงไว้เป็นที่แน่นอน กรรมสิทธิ์จะโอนไปยัง ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อได้มีการหมายหรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อ บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้ว (ป.พ.พ. มาตรา 46)

ตามปัญหา การที่พิมพ์อรได้ตกลงทำสัญญาซื้อเป็ดย่างของนิด 1 ตัว ราคา 150 บาท แม้ว่า เป็ดย่างที่แขวนไว้จะมี 4 ตัว แต่เมื่อพิมพ์อรได้ตกลงเลือกเป็ดย่างหรือบ่งตัวเป็ดย่างที่จะซื้อเป็นที่แน่นอนแล้ว กรรมสิทธิ์ของเป็ดย่างตัวที่พิมพ์อรได้ตกลงซื้อนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพิมพ์อรแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 และ 460 และการที่สุนัขได้กระโดดงับเป็ดย่างตัวดังกล่าวหนีไปก็ไม่ใช่ความผิดของนิดแต่อย่างใด ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดชื้นย่อมตกเป็นพับแก่พิมพ์อร (ป.พ.พ. มาตรา 370) คือพิมพ์อรต้องเป็นผู้รับบาปเคราะห์ใน ความเสียหายนั้น และจะต้องชำระราคาค่าเป็ดย่างให้กับนิดตามสัญญาซื้อขาย

สรุป พิมพ์อรจะต้องชำระราคาค่าเป็ดย่างให้กับนิด เพราะกรรมสิทธิ์ของเป็ดย่างตัวนั้นได้ตก เป็นของพิมพ์อรแล้ว ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาเลือกทำเพียงข้อเดียว

ก) การเขียนตั๋วให้เป็นตั๋วแลกเงิน มีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

หรือ ข) มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึง กำหนด ย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวมานี้ จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลัง ติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง” ท่านเข้าใจว่า อย่างไร จงอธิบายหลักกฎหมาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ก) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักใน การเขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้คือ

ในการเขียนตั๋วแลกเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ นั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ

1.         คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2.         คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน

3.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

5.         ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินไต้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้ นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสอง ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงินก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ)

ข) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกไต้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้[ชู้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายไต้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน    เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำเป็น ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการ โอนตัวแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครองของ เหลืองซึงเป็นผู้ทรง    ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม

เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน

ข้อ 1. นายสมบัติ อายุ 15 ปี ทำพินัยกรรมฉบับหนึ่งในขณะที่จิตปกติยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนแก่ น.ส.ผึ้งเพื่อนรักของนายสมบัติ โดยบิดามารดาของนายสมบัติไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ให้ความยินยอม ในการทำพินัยกรรมนั้น สิบปีต่อมานายสมบัติป่วยเป็นโรคจิต บิดามารดาของนายสมบัติได้ร้องขอ ต่อศาลให้นายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลมีคำสั่งให้นายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถ วันหนึ่งนายสมบัติซื้อวิทยุ 1 เครื่องจากนายชัยโดยในขณะซื้อนายสมบัติไม่มีอาการวิกลจริต และ นายชัยไม่ทราบว่านายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า

1)         ถ้านายสมบัติถึงแก่ความตาย พินัยกรรมที่นายสมบัติทำไว้มีผลทางกฎหมายอย่างไร

2)         สัญญาซื้อขายวิทยุระหว่างนายสมบัติและนายชัยมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ตามปัญหามีหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้วินิจฉัย คือ

1.         ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว (ป.พ.พ.มาตรา 23)

2.         ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ (ป.พ.พ. มาตรา 25)

3.         นิติกรรมใด ๆ ที่บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง นิติกรรมนั้น ตกเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 29)
ข้อเท็จจริงตามปัญหาวินิจฉัยได้ ดังนี้คือ

1)         การที่นายสมบัติได้ทำพินัยกรรมในขณะที่มีอายุครบ 15 ปี และได้ทำในขณะจิตปกติแม้ว่าการทำพินัยกรรมนั้นจะไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมพินัยกรรมที่นายสมบัติได้ทำขึ้นนั้นก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะตามกฎหมายถือว่า การทำพินัยกรรมนั้น เป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเป็นการเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 และในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ก็มี อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว ดังนั้นนายสมบัติผู้เยาว์ จึงสามารถทำพินัยกรรมได้โดยสำพังตนเอง และโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากบิดามารดา ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 25
2)         การที่นายสมบัติได้ทำสัญญาซื้อขายวิทยุกับนายชัย ในขณะที่นายสมบัติได้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ แม้นายสมบัติจะได้ทำนิติกรรมในขณะไม่มีอาการวิกลจริต และนายชัยไม่ทราบ ว่านายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถ สัญญาซื้อขายวิทยุระหว่างนายสมบัติและนายชัยก็มีผลเป็นโมฆียะ เพราะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 29 นั้น คนไร้ความสามารถจะทำนิติกรรมใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น นิติกรรมที่คนไร้ความสามารถ ได้กระทำลงย่อมตกเป็นโมฆียะ

สรุป 1) พินัยกรรมที่นายสมบัติได้ทำไว้ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

2) สัญญาซื้อขายวิทยุระหว่างนายสมบัติและนายชัยมีผลเป็นโมฆียะ

 

ข้อ2. กลฉ้อฉลโดยการนิ่งมีลักษณะอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างไร อธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง” ซึ่งจะมีลักษณะ อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1.         จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในนิติกรรมสองฝ่ายที่เรียกว่า สัญญา เท่านั้น

2.         คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งซึ่งคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ คือคู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นได้จงใจหรือตั้งใจที่จะปกปิดข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่ตนมีหน้าที่ที่จะต้องบอกความจริงนั้น

3.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย

ตัวอย่าง. เช่น ในสัญญาประกันชีวิต   ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย

โรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษา และอาจตายได้ภายใน 7 วัน 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี ซึ่งผู้เอาประกันชีวิต มีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อนี้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ได้ปกบัดความจริงไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยได้ทราบ ความจริงนั้น

 

ข้อ3.    ให้นักศึกษาอธิบายว่าสัญญาดังต่อไปนี้ มีผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน ทุกข้อ

ก) นายเอกตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายโทในราคา 1 ล้านบาท โดยปากเปล่า (10 คะแนน)

ข) นายดินตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับนายน้ำโดยปากเปล่า (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

ก) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกบัญญัติหลักไว้ว่า

“สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ ”

ตามปัญหาการที่นายเอกตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายโทนั้น เป็นการตกลงทำสัญญา ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามกฎหมายสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะมีผลสมบูรณ์จะต้องได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที ดังนั้นเมื่อสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างนายเอกและนายโทที่ได้ตกลง โดยปากเปล่ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า1หน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ

ข) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า “สัญญา จะซื้อหรือจะขายอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับ คดีกันไม่ได้”

ตามปัญหา สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายดินกับนายน้ำเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแม้จะตกลงกันโดยปากเปล่าก็มีผลสมบูรณ์ เพียงแต่ไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันเท่านั้น เพราะตามกฎหมายสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้น จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่

1)         หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2)         มีการวางประจำไว้ หรือ

3)         มีการชำระหนี้บางส่วน

สรุป ก) สัญญาซื้อชายที่ดินระหว่างนายเอกกับนายโทที่ตกลงโดยวาจาเป็นโมฆะ

ข) สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายดินกับนายน้ำซึ่งเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ มีผลสมบูรณ์ แต่ไม่มีหลักฐานที่จะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกัน

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาเลือกทำเพียงข้อเดียว

ก) มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังติดต่อกัน เรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบายหลักกฎหมายพอสังเขป และยกตัวอย่างประกอบ

หรือ ข) ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินเกินเวลา 1 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (สำหรับเช็คที่ออก ในเมืองหรือจังหวัดเดียวกัน) จะมีผลต่อผู้สลักหลังเช็ค ผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นอย่างไรบ้าง จงอธิบาย หลักกฎหมายพอสังเขป

ธงคำตอบ

ก) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดชอบตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน    เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         จะต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการโอน ตั๋วแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครองของ เหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม

เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น   แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตามป.พ.พ. มาตรา 949

ข) ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินไว้ ว่า “ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่น ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรง สิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ในกรณีที่เป็นเช็คที่ออกและให้ใช้เงินในเมืองหรือจังหวัดเดียวกันนั้น ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็ค  ถ้าผู้ทรงเช็คละเลยไม่ยืนเช็คภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะมีผลต่อผู้สลักหลังเช็ค และผู้สั่งจ่ายเช็คดังนี้คือ

1.         ผู้ทรงเช็คจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง และ

2.         ผู้ทรงเช็คจะเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเช็คเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด แก่ผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015  กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายอาร์ต อายุ 25 ปี เป็นคนวิกลจริตซึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยมีนายกัลป์เป็นผู้อนุบาล วันหนึ่งนายอาร์ตซื้อรถยนต์จากนายสรรชัย อายุ 28 ปี ในราคา 300,000 บาท โดยในขณะที่นายอาร์ตซื้อรถยนต์จากนายสรรชัย นายอาร์ตไม่มีอาการวิกลจริต และนายสรรชัย ไม่ทราบว่านายอาร์ตเป็นคนไร้ความสามารถ อีกทั้งนายอาร์ตยังได้รับความยินยอมจากนายกัลป์ ผู้อนุบาลให้ซื้อรถยนต์จากนายสรรชัยได้

ดังนี้ นิติกรรมที่นายอาร์ตทำกับนายสรรชัยจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาล สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ

วินิจฉัย

กรณีตามปัญหา นายอาร์ตอายุ 25 ปี เป็นคนวิกลจริต ซึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถนั้นต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ มิฉะนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะ แต่ตามปัญหานายอาร์ตเข้าทำนิติกรรมด้วยตนเอง แม้จะทำนิติกรรมในขณะที่ไม่มีอาการวิกลจริตและนายสรรชัยไม่รู้ว่านายอาร์ตเป็นคนวิกลจริต อีกทั้งยังได้รับความ ยินยอมจากนายกัลป์ผู้อนุบาลให้ทำนิติกรรมก็ตาม นิติกรรมระหว่างนายอาร์ตกับนายสรรชัยก็มีผลเป็นโมฆียะ
ดังนั้น นิติกรรมที่นายอาร์ตทำกับนายสรรชัยจะมีผลเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. หลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของนิติกรรมมีอยู่อย่างไร อธิบาย

ธงคำตอบ

หลักเกณฑ์แห่งความสมบูรณ์ของนิติกรรม มีดังนี้ คือ

1.         ผู้กระทำนิติกรรมจะต้องมีดวามสามารถตามกฎหมายที่จะทำนิติกรรมได้ กล่าวคือ ผู้ที่ จะทำนิติกรรมจะต้องไม่เป็นบุคคลที่กฎหมายได้จำกัดสิทธิหรือความสามารถในการทำนิติกรรมไว้ เช่น จะต้องไม่ เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

2.         วัตถุประสงค์ของนิติกรรมจะต้องไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จะต้องไม่ เป็นการพ้นวิสัย และจะต้องไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.         นิติกรรมนั้นจะต้องได้กระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ กล่าวคือ นิติกรรมใดถ้ากฎหมายได้กำหนดแบบไว้ ก็จะต้องทำตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้น ถ้าไม่ทำตามแบบที่กฎหมาย ได้กำหนดไว้ นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ

4.         การแสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องไม่บกพร่อง คือ จะต้องไม่เป็นการแสดงเจตนาที่เกิดขึ้น เพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เป็นต้น

นิติกรรมใด ถ้าได้ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์แห่งความสมบูรณ์ของนิติกรรมดังกล่าว ข้างต้น นิติกรรมนั้นจะไม่สมบูรณ์ คือ จะตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะแล้วแต่กรณี

 

ข้อ 3. นายพุธต้องการจะซื้อที่ดินของนายศุกร์ จำนวน 1 ไร่ ราคา 1,000,000 บาท แต่นายพุธมีเงิน ไม่พอจึงทำสัญญาซื้อขายกับนายศุกร์ในเบื้องต้นว่า ขอจ่ายเป็นบางส่วนก่อนจำนวน 300,000 บาท หลังจากนั้นอีก 3 เดือน ให้ไปทำหนังสือและจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับเจ้าพนักงาน ที่ดินที่สำนักงานที่ดินอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อครบ 3 เดือน นายพุธยังมีเงินไม่พอและไม่ยอมไป สำนักงานที่ดินกับนายศุกร์ เช่นนี้หากนายศุกร์จะฟ้องร้องบังคับให้นายพุธปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย ฉบับนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ข้อตกลงระหว่างนายพุธกับนายศุกร์เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นอสังหาริมทรัพย์ และคู่กรณีมีข้อตกลงกันว่าในภายภาคหน้า คืออีก 3 เดือนทั้งสองจะไปทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดิน และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว ก็มีผลสมบูรณ์ แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ตาม

และตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาจะชื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2)

ตามปัญหา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สัญญาจะชื้อจะขายที่ดินระหว่างนายพุธและนายศุกร์นั้น ได้กระทำกันโดยมีหลักฐานคือการชำระหนี้บางส่วน ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดการที่นายพุธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา คือ ไม่ยอมไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดิน นายศุกร์ย่อม สามารถฟ้องร้องบังคับให้นายพุธปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นได้ เพราะสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และมีหลักฐานที่จะนำมาใช้เพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ คือการที่นายพุธได้มีการชำระหนี้ บางส่วนนั่นเอง

สรุป นายศุกร์สามารถฟ้องร้องบังคับให้นายพุธปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ เพราะมี หลักฐานคือได้มีการชำระหนี้บางส่วนกันไว้แล้ว

 

ข้อ 4. นายชัยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 100,000 บาท ระบุชื่อนายเดช เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก และส่งมอบให้นายเดชเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาชื้อขายที่มีต่อกัน หากต่อมานายเดชต้องการ จะโอนเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ค่าเช่าบ้านให้แก่นางสาวหญิง นายเดชจะต้องกระทำการโอนอย่างไร จึงจะถือว่าเป็นการโอนเช็คฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

ตามหลักกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือนั้น ถ้าจะมีการโอน ให้แก่กัน การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วเงินให้แก่กันเท่านั้นไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด

จากข้อเท็จจริง เช็คที่นายชัยสั่งจ่ายระบุชื่อนายเดชเป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือ ผู้ถือ” ในเช็คออก ถือว่าเป็นเช็คแบบระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ดังนั้นหากต่อมานายเดชต้องการจะโอนเช็คฉบับ ดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่นางสาวหญิง นายเดชสามารถโอนได้โดยการส่งมอบเช็คนั้นให้แก่นางสาวหญิงเท่านั้น โดยไม่ต้องสลักหลัง ก็ถือว่าการโอนเช็คดังกล่าวเป็นการโอนโดยชอบด้วยกฎหมาย

สรุป นายเดชจะต้องกระทำการโอนด้วยการส่งมอบเช็คให้แก่นางสาวหญิงเท่านั้น จึงจะถือว่า เป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน

ข้อ1. นายสิทธิ์ อายุ 30 ปี เป็นคนไร้ความสามารถ โดยศาลได้ตั้งนางสวยภริยาเป็นผู้อนุบาล วันหนึ่ง นายสิทธิ์ขายแหวนของตนให้กับนายขาว นางสวยเห็นว่านายสิทธิ์ไม่มีอาการวิกลจริตในขณะขายแหวน นางสวยจึงได้ให้ความยินยอมในการขายแหวนดังกล่าว ต่อมานายสิทธิ์ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดก ทั้งหมดของตนให้กับนางสวยแต่เพียงผู้เดียว โดยขณะทำพินัยกรรมนายสิทธิ์ไม่มีอาการวิกลจริต แต่อย่างใด ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมการขายแหวนและพินัยกรรมของนายสิทธิ์มีผลทาง กฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักในการทำนิติกรรมและหลักในการทำพินัยกรรม ของคนไร้ความสามารถไว้ดังนี้คือ

1)         นิติกรรมเด ๆ ซึ่งบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง นิติกรรมนั้น ตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 29)

2)         พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ (มาตรา 1704)
ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายไต้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถกระทำ นิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำนิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 29) ส่วน พินัยกรรมนั้น ถ้าคนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่มีอาการวิกลจริตหรือไม่ พินัยกรรมนั้น ก็จะตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1704)
ดังนั้น ตามปัญหา การที่นายสิทธิ์ได้ทำนิติกรรมโดยการขายแหวนของตนให้กับนายขาว แม้ว่า ในขณะทำนิติกรรมนั้น นายสิทธิ์จะไม่มีอาการวิกลจริต และนางสวยซึ่งเป็นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมด้วยก็ตาม นิติกรรมการขายแหวนดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 29

ส่วนพินัยกรรมซึ่งนายสิทธิ์ได้กระทำขึ้น แม้ในขณะทำพินัยกรรมนายสิทธิ์จะไม่มีอาการวิกลจริต แต่อย่างใด พินัยกรรมดังกล่าวก็มีผลเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1704

สรุป นิติกรรมการขายแหวนของนายสิทธิ์มีผลเป็นโมฆียะ ส่วนพินัยกรรมเป็นโมฆะตามเหตุผล และหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2. นิติกรรมอำพรางมีลักษณะและผลบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่กรณีอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่าง ประกอบ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 บัญญัติว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ…

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่ง ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรค 2 ดังกล่าว เป็น บทบัญญัติเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งในเรื่อง “นิติกรรมอำพราง” นั้น เป็นเรื่องที่ในระหว่างคู่กรณีได้มีการทำ นิติกรรมขึ้นมา 2 ลักษณะ ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงอันหนึ่ง กับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ อีกอันหนึ่ง

1.         นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง (นิติกรรมที่เปิดเผย) หมายถึง นิติกรรมที่คู่ กรณีได้ทำขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาให้มีผลใช้บังคับกัน       แต่ได้ทำขึ้นมาเพี่อลวงให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลง ทำนิติกรรมลักษณะนี้กัน และเพี่อเป็นการอำพรางหรือปกปิดนิติกรรมที่แท้จริงนั่นเอง

2.         นิติกรรมที่ถูกอำพราง หมายถึง นิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ได้ทำขึ้นมา และต้องการให้มีผลใช้บังคับกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นรู้

ตามกฎหมายได้บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ มาใช้บังคับ หมายความว่า ให้คู่กรณีบังคับกันด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั่นเอง ส่วนนิติกรรมที่เกิดจากการ แสดงเจตนาลวงจะมีผลเป็นโมฆะ

ตัวอย่าง ปู่ได้ยกรถยนต์คันหนึ่งให้แก่หลานที่ชื่อ ก. โดยเสน่หา แต่เกรงว่าหลานคนอื่นรู้จะหาว่าปู่ลำเอียง จึงได้ทำสัญญาชื้อขายกับ ก. ไว้เพื่อลวงหลานคนอื่น ดังนี้นิติกรรมที่จะมีผลใช้บังคับกันระหว่าง ปู่กับหลานที่ชื่อ ก. คือนิติกรรมให้ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง ส่วนนิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะเป็น นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3. จงอธิบายถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดในการรอนสิทธิ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดในการ

รอนสิทธิ ไว้ดังนี้คือ

1.         ความรับผิดในการรอนสิทธิจะเกิดขึ้นโดยผลแห่งกฎหมาย คือมีบุคคลภายนอกได้มา ก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในการที่จะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข โดยอ้างว่าตนมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ที่ได้ซื้อขายกันนั้นดีกว่าผู้ซื้อ หรืออาจเป็นเพราะความผิดของผู้ขาย ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สิน นั้นได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2.         ความรับผิดในการรอนสิทธิของผู้ขายนั้น มีได้ทั้งกรณีที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นมี การรอนสิทธิไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน

3.         ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในกรณีที่มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้ขายจะได้รู้หรือไม่รู้ ถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิที่เกิดขึ้นนั้น

เช่น ก. ได้ขายรถยนต์คันหนึ่งให้ ข. ต่อมา ค. ได้มาเรียกรถยนต์คันดังกล่าวคืนจาก ข. โดย อ้างว่ารถยนต์คันนั้นเป็นของตนและถูกขโมยไป พร้อมแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่แท้จริง ทำให้ ข. ต้องคืนรถยนต์ให้แก่ ค. ดังนี้ถือว่า ข. ผู้ชื้อถูกรอนสิทธิ ซึ่ง ก. ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อ ข. แม้ ก. ผู้ขายจะไม่ได้รู้มาก่อนว่ารถยนต์คันนั้นจะถูกขโมยมาจาก ค. ก็ตาม

4.         ในกรณีที่มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ผู้ขายอาจจะไม่ต้องรับผิดต่อผู้ซื้อก็ได้ ถ้าเข้าข้อยกเว้น ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เช่น

–           ถ้าผู้ซื้อได้รู้ถึงสิทธิของผู้ก่อการรบกวนนั้นแล้วในเวลาซื้อขาย หรือ

–           ถ้าเหตุแห่งการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่เหตุแห่งการรอนสิทธินั้น จะได้เกิดขึ้นเพราะ ความผิดของผู้ขาย

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาเลือกทำเพียงข้อเดียว

ก) การเขียนตั๋วแลกเงินมีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

หรือ ข) แดงเป็นผู้ทรงเช็คฉบับหนึ่ง เช็คนี้ธนาคารได้รับรองเช็คแล้ว ถ้าแดงนำเช็คไปยื่นกับธนาคาร เพื่อให้ชำระเงิน ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ก) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักใน การเขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้คือ

ในการเขียนตั๋วแลกเงิน ไม่วาจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตั๋วแลกเงิน ชนิดผู้ถือนั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ

1.         คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2.         คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน

3.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

5.         ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินได้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้ นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสอง ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงินก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ)

ข) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 993 วรรค 1 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการ รับรองเช็คและผลของการรับรองเช็ค ไว้ว่า “ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า ถ้าธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ลงลายมือชื่อรับรอง เช็คไว้แล้ว ธนาคารผู้รับรองเช็คจะต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันที่จะต้องใช้เงินตามเช็คนั้นเสมอ เมื่อผู้ทรงเช็คได้นำเช็คนั้นมายื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค

ดังนั้นเมื่อนายแดงเป็นผู้ทรงเช็คฉบับหนึ่งซึ่งธนาคารได้รับรองเช็คไว้แล้ว นำเช็คนี้ไปยื่นให้ ธนาคารใช้เงินตามเช็ค ธนาคารจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คไม่ได้

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายชาญเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ วันหนึ่งนายชาญได้ไปซื้อ โทรศัพท์มือถือจากนายพร โดยในขณะที่นายชาญซื้อโทรศัพท์มือถือนั้นนายชาญไม่ได้มีอาการวิกลจริต แต่อย่างใด แต่นายพรซึ่งเป็นเพื่อนพี่ชายนายชาญทราบดีว่านายชาญเป็นคนวิกลจริต ดังนี้ให้ท่าน วินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือของนายชาญจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทำนิติกรรมของคน วิกลจริตไว้ว่า “คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อนิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้ว ว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ทำนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อ

1.         นิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และ

2.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำนิติกรรมนั้นเป็นคนวิกลจริต

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายชาญซึ่งเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความ

สามารถ ได้ไปทำนิติกรรมโดยการซื้อโทรศัพท์มือถือจากนายพร โดยในขณะที่นายชาญซื้อโทรศัพท์มือถือจากนาย พรนั้น นายชาญไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนั้นแม้นายพรจะทราบดีว่านายชาญเป็นคนวิกลจริต ก็ไม่ทำให้ นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆียะ เพราะไม่เข้าองค์ประกอบตาม ป.พ.พ. ม”:ตรา 30 ดังนั้นนิติกรรมการซื้อ โทรศัพท์มือถือของนายชาญจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
สรุป นิติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือของนายชาญมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. เหตุแห่งโมฆะกรรมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ธงคำตอบ

เหตุแห่งโมฆะกรรม (เหตุที่ทำให้นิติกรรมมีผลเป็นโมฆะ) มีดังนี้คือ

1.         วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

2.         นิติกรรมที่มิได้ทำให้ ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้

3.         นิติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องของการแสดงเจตนา (การแสดงเจตนาโดยวิปริต) ได้แก่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง          และนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

 

ข้อ 3. นายดำตกลงชื้อไข่เป็ดของนายแดง จำนวน 500 ฟอง เป็นเงิน 2,000 บาท โดยนายแดงจะนำ ไข่เป็ดนั้นมาส่งมอบให้แก่นายดำที่บ้านในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าในเวลาที่นายแดงมาส่งมอบไข่ ที่ตกลงซื้อกันไว้นั้นกลับพบว่ามีทั้งไข่ไก่และไข่เป็ดระคนปนกันมา จำนวน 500 ฟอง นายดำ จึงปฏิเสธที่จะรับมอบไข่ดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งปฏิเสธที่จะชำระราคาค่าไข่เป็ดแก่นายแดง เช่นนี้ นักศึกษาจงวินิจฉัยว่านายดำมีสิทธิตามกฎหมายที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ที่นายแดงนำมา ส่งมอบทั้งหมดและไม่ชำระราคาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และความ รับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือ ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1)       ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2)       ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะที่ ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3)       ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีได้รวมอยู่ ในข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดำได้ตกลงซื้อไข่เป็ดจากนายแดง ซึ่งเป็นการตกลงซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อนายแดงผู้ขายได้ส่งมอบไข่ไก่ระคนปนกันมากับไข่เป็ด ดังนี้ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตามหลักกฎหมาย ดังกล่าวข้างต้น คือมีสิทธิที่จะรับเอาไว้เฉพาะไข่เป็ดซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและบอกปัดไม่รับมอบ ไข่ไก่ หรือจะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ไก่และไข่เป็ดนั้นทั้งหมดตลอดจนไม่ชำระราคาค่าไข่นั้นก็ได้

สรุป นายดำมีสิทธิตามกฎหมายที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบไข่ที่นายแดงนำมาส่งมอบทั้งหมด และไม่ชำระราคาได้ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. การเขียนตั๋วให้เป็นตั๋วแลกเงินมีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่าง

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักในการ เขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้อือ

ในการเขียนตั๋วแลกเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตัวแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการ ให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ

1.         คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2.         คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน

3.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

5.         ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินได้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้ นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสอง ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงินก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ)

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ1 นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยลำพังโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จงอธิบาย
ธงคำตอบ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยลำพัง โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น มี 3 ประเภท ได้แก่

1.         นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว   ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”
นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1)         นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดย ไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2)         นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรม รับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ เป็นต้น
2.         นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์ อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว”

ค่าว่า “นิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว” ที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพังตนเองนั้น หมายถึงนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำด้วยตนเอง จะให้บุคคลอื่นทำแทนไม่ได้นั่นเอง เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือการทำพินัยกรรมในขณะที่ผู้เยาว์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

3.         นิติกรรมที่เป็นการอันจำเป็นในการคำรงชีพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร”

ซึ่งนิติกรรมที่ได้รับการยกเว้นว่าผู้เยาว์สามารถกระทำได้โดยลำพัง โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 24 นี้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1)         ต้องเป็นนิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพจริง ๆ อันขาดเสียไม่ได้ และ

2)         ต้องเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และฐานะการเงินของผู้เยาว์ด้วย

 

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2551 นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์ของตนคันหนึ่งเลขทะเบียน กท 5855 ให้แก่นาย ข. ในราคา 3 แสนบาท ข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุ ไฟไหม้เสียหายไปหมดทั้งคันตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 โดยที่นาย ก. และนาย ข. มิได้รู้แต่ ประการใด

ดังนี้ สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลตามกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“นิติกรรมใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ”

คำว่า “พ้นวิสัย” หมายถึง การใด ๆ ที่ไม่สามารถกระทำได้โดยแน่แท้ และให้หมายความรวมถึง การทำนิติกรรมที่มุ่งถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่ง ๆ นั้นไม่มีตัวตนอยู่ในขณะทำนิติกรรม

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์หมายเลขทะเบียน กท 5855 ของตนให้แก่นาย ข. ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2551 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้เสียหาย ไปหมดทั้งคันตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 จึงถือว่าสิ่งที่นาย ก. และนาย ข. ได้มุ่งถึงโดยเฉพาะจากการทำ นิติกรรมคือรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นไม่มีตัวตนอยู่ในขณะทำนิติกรรม ดังนั้นนิติกรรมซื้อขายรถยนต์ ดังกล่าวถือว่าเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมจึงมีผลเป็นโมฆะ

สรุป นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย

 

ข้อ 3. จงอธิบายถึงหลักเกณฑ์ที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น

ธงคำตอบ

โดยปกติถ้าทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้น ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบ เพื่อความชำรุดบกพร่องนั้น แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์เป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ขายไม่ต้องรับผิด เพื่อความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น ถ้าเข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

1.         ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาเอขายว่าทรัพย์สินนั้นมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้น หรือ ควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้อย่างวิญญูชน

2.         ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นได้เห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ แต่ผู้ซื้อได้รับเอาทรัพย์สินนั้นไว้ โดยมิได้โต้แย้งแต่อย่างใด

3.         ถ้าทรัพย์สินนั้นผู้ซื้อได้ซื้อมาจากการขายทอดตลาด

4.         ถ้าคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายว่า ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องนั้น แต่ข้อตกลงนี้จะไม่คุ้มครองผู้ขาย ถ้าผู้ขายได้ปกปิดความจริงถึงการชำรุดบกพร่องอัน ผู้ขายได้รู้อยู่แล้ว หรือถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นได้เกิดจากการกระทำของผู้ขายเอง

5.         ถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นได้เกิดขึ้น “ภายหลัง” จากที่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินแล้ว

 

ข้อ 4. นายคาวีสั่งจ่ายเช็คจำนวน 100,000 บาท ระบุชื่อนางสาวนารีเป็นผู้รับเงิน พร้อมทั้งขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก และส่งมอบให้นางสาวนารีเพี่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีต่อกัน หากต่อมา นางสาวนารีต้องการจะโอนเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ค่าเช่าบ้านให้แก่นายวิชัย นางสาวนารีจะต้อง กระทำการโอนอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นการโอนเช็คฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จงอธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า

1. ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917)

2.         การสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้น อาจจะเป็นการสลักหลังระบุชื่อ หรือจะเป็นการสลักหลัง ลอยก็ได้ (มาตรา 919)

3.         หลักกฎหมายในข้อ 1) และ 2) ให้นำมาใช้กับการโอนเช็คด้วย (มาตรา 989)

จากข้อเท็จจริงนั้น เช็คที่นายคาวีสั่งจ่ายระบุชื่อนางสาวนารี เป็นผู้รับเงิน พร้อมทั้งขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก ถือเป็นเช็คแบบระบุชื่อผู้รับเงิน ดังนั้น หากต่อมานางสาวนารีต้องการจะโอนเช็คฉบับ ดังกล่าวชำระหนี้ค่าเช่าบ้านให้แก่นายวิชัย นางสาวนารีจะต้องกระทำการโอนโดยการสลักหลัง ซึ่งอาจจะเป็นการ สลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอย ให้แก่นายวิชัยก็ได้ แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้แก่นายวิชัย จึงจะถือว่าเป็นการ โอนเช็คฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย

สรุป นางสาวนารีจะต้องกระทำการโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเช็คให้แก่นายวิชัย จึงจะ ถือว่าเป็นการโอนเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015  กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ1 จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใด เป็นคนสาบสูญไว้ดังนี้คือ

1.         บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
ในกรณีธรรมดา การนับระยะเวลา 5 ปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือวันที่มีผู้พบเห็นหรือวันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้นเป็นครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

ในกรณีพิเศษ การนับระยะเวลา 2 ปี ให้เริ่มนับดังนี้ คือ

1)         ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2)         ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป
3)         ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ไน 1) หรือ 2) ได้ฝาน พ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2.         ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

 

ข้อ 2. นาย ก. สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า นาย ก. ขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่ นาย ข. ในราคาสามแสนบาท โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์คันนั้นให้แก่นาย ข. แต่มีได้ มีการชำระราคากันแต่อย่างไร

ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง

เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าว เป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า ได้ทำนิติกรรมชื้อ ขายรถยนต์กัน โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นาย ข. แต่นาย ข. มิได้มีการชำระราคาให้แก่นาย ก. แต่ อย่างใดนั้น ถือว่านิติกรรมในรูปของสัญญาชื้อขายดังกล่าว มีผลเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดง เจตนาลวงของคู่กรณี คือ นาย ก. และ นาย ข.

สรุป สัญญาชื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรม ที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3  นายหนึ่งเห็นว่านายดำได้ซื้อนาฬิกาข้อมือเรือนใหม่มาสองเรือน ตัวเรือนสีแดงและสีเขียว นายหนึ่ง อยากได้นาฬิกาของนายดำสักเรือน จึงแจ้งแก่นายดำว่า นายหนึ่งขอซื้อนาฬิกาจากนายดำสักเรือน นายดำตกลงขายเรือนสีเขียวในราคาเรือนละ 5,000 บาท แต่นายหนึ่งไม่ได้นำเงินสดติดตัวมา จึงตกลงขอชำระราคาค่านาฬิกาโดยใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งนายหนึ่งเพิ่งซื้อมาชำระแทน นายดำตกลง เช่นนี้นักศึกษาจงพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่ และเป็นสัญญาซื้อขาย ประเภทใด เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ปัญญัติว่า

“อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จะเป็นสัญญาซื้อขายนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.         จะต้องเป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ผู้ขายและผู้ซื้อ

2.         ผู้ขายมีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ

3.         ผู้ซื้อตกลงที่จะใช้ราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย

ตามปัญหา การที่นายหนึ่งได้ขอซื้อนาฬิกาหนึ่งเรือนจากนายดำ และนายดำได้ตกลงขายให้ในราคา 5,000 บาท แต่นายหนึ่งได้ชำระราคาค่านาฬิกาให้แก่นายดำโดยใช้โทรศัพท์มือถือชำระแทน ซึ่งนายดำ ตกลง ดังนี้สัญญาที่นายหนึ่งได้ทำกับนายดำนั้น แม้ทั้งสองจะได้ตกลงทำกันเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อพิจารณา หลักเกณฑ์ของสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าสัญญาระหว่างนายหนึ่งกับนายดำนั้นมิใช่สัญญาชื้อขาย เพราะนายหนึ่งผู้ซื้อไม่ได้ชำระราคาที่เป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย แต่เป็นกรณีที่คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สินให้แก่กัน ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนมิใช่สัญญาซื้อขาย และเมื่อไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จึงไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด

สรุป สัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่างนายหนึ่งและนายดำไม่เป็นสัญญาซื้อขาย

 

ข้อ 4. แดงได้รับโอนตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งมาอย่างถูกต้อง มีความประสงค์จะโอนตั๋วฯ นี้ให้เหลือง แต่แดง ไม่รู้วิธีโอนตั๋ว จึงมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำวิธีโอนตั๋วฯ แก่แดงอย่างไรบ้าง จงอธิบาย หลักกฎหมาย พอสังเขป

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตัวแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1.         ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรค 1)

2.         ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3.         การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของ ผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลัง ลอยก็ได้ (มาตรา 919)

4.         ในกรณีที่มีการสลักหลังลอย ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอยจะโอนตัวเงินนั้น

ต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอนตั๋วเงินนั้นโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

กรณีดังกล่าว ถ้าแดงมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง และมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำวิธีการโอนตั๋วฯ แก่แดง ดังนี้ คือ

กรณีที่ 1 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงให้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แดงสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง โดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

กรณีที่ 2 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การที่แดงจะโอนตั๋ว ชนิดนี้ให้แก่เหลือง แดงจะต้องสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลือง ซึ่งการสลักหลังนั้น อาจจะเป็น การสลักหลังระบุชื่อเหลืองผู้รับโอน หรืออาจจะเป็นการสลักหลังลอยคือไม่ระบุชื่อเหลืองผู้รับโอนก็ได้ (มาตรา 917 วรรค 1 และมาตรา 919)

แต่ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมานั้น มีการสลักหลังลอยให้แก่แดง ดังนี้ถ้าแดงจะโอนตั๋วเงินนั้น ให้แก่เหลืองต่อไป แดงอาจจะโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะโอนโดยการส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบใส่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

การสอบใส่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ให้ทำทุกข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคแรก มีดังนี้คือ

1.         บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(1)       กายพิการ

(2)       จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(3)       ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ

(4)       ติดสุรายาเมา

(5)       มีเหตุอื่นในทำนองเดียวกันกับ (1) – (4)

2.         บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทำ การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว
3.         ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล

4.         ศาลได้มีคำสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

ข้อ 2. กลฉ้อฉลโดยการนิ่งมีองค์ประกอบตามกฎหมายอย่างไร อธิบาย

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง” ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้คือ

1.         จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในนิติกรรมสองฝ่ายที่เรียกว่า สัญญา เท่านั้น

2.         คู่กรณีฝายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งซึ่งคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ คือคู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นได้จงใจหรือตั้งใจที่จะปกปิดข้อความจริงหรือ ข้อคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่ตนมีหน้าที่ที่จะต้อง บอกความจริงนั้น

3.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย

ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย โรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษา และอาจตายได้ภายใน 7 วัน 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี ซึ่งผู้เอาประกันชีวิต มีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อนี้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ได้ปกปิดความจริงไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยได้ทราบ ความจริงนั้น เช่นนี้ ถือว่าผู้เอาประกันชีวิตได้ใช้กลฉ้อฉลแก่ผู้รับประกันภัยแล้ว โดยเป็นการใช้กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง

 

ข้อ 3. นายจันทร์ได้ตกลงด้วยวาจากับนายพุธเจ้าของที่ดินว่า ตกลงจะซื้อขายที่ดินของนายพุธหนึ่งแปลง ในราคา 500,000 บาท และกำหนดจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินอีกครั้ง ในอีก 15 วันข้างหน้า ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนด 15 วัน นายพุธกลับไม่ยอมไปทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เช่นนี้ สัญญาจะซื้อขายด้วยวาจาดังกล่าวนี้ มีความสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และจะสามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้กำหนดแบบของสัญญาซื้อขายไว้ว่า “สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก)

แบบของสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น หมายความถึง เฉพาะการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ที่กฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ดังนั้นถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จึงไม่ต้องกระทำตามแบบแต่อย่างใด คู่สัญญาอาจจะตกลงทำ สัญญาจะซื้อขายกันด้วยวาจาหรือจะทำเป็นหนังสือสัญญากันก็ได้ สัญญาจะซื้อขายนั้นก็จะมีผลสมบูรณ์ตาม กฎหมายเสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจะฟ้องร้องบังคับคดีกัน ได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน”

ดังนั้น การที่นายจันทร์กับนายพุธได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันด้วยวาจา สัญญาจะซื้อขาย ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อครบกำหนด 15 วันตามที่ตกลงกันนั้น นายพุธกลับไม่ยอม ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายจันทร์ ดังนี้นายจันทร์ก็ไม่สามารถนำสัญญาจะซื้อขายนั้น ไปฟ้องร้องบังคับคดีได้ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์กับนายพุธ แม้จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่มีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อที่จะนำไปใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกัน

สรุป สัญญาจะซื้อขายด้วยวาจาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. ป.พ.พ. มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลา ถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อย ไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง” ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย หลักกฎหมาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลาใช้เงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการ โอนตัวแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครอง ของเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

WordPress Ads
error: Content is protected !!