POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีจํานวนสมาชิกกี่ประเทศ
(1) 189 ประเทศ
(2) 190 ประเทศ
(3) 191 ประเทศ
(4) 192 ประเทศ
(5) 193 ประเทศ
ตอบ 5 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 77 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีสาธารณรัฐซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

2.ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติประเทศล่าสุดคือประเทศใด
(1) สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์
(2) สาธารณรัฐประชาชนลูฮานสค์
(3) สาธารณรัฐประชาชนใครเมีย
(4) สาธารณรัฐซูดานใต้
(5) สาธารณรัฐเซาท์ออสซีเชีย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียและการผนวกสาธารณรัฐไครเมียของรัสเซียเกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. ใด
(2) ค.ศ. 2010
(1) ค.ศ. 2008
(3) ค.ศ. 2012
(4) ค.ศ. 2014
(5) ค.ศ. 2016
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของใครเมียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งผลการลงประชามติพบว่าคนส่วนใหญ่เห็นชอบที่จะแยกดินแดนออกจาก ยูเครนเพื่อผนวกดินแดนกับรัสเซีย แต่การลงประชามติดังกล่าวถูกคัดค้านและประณาม จากกลุ่มประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของความชอบธรรม

4.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 2025
(2) ค.ศ. 2030
(3) ค.ศ. 2035
(4) ค.ศ. 2040
(5) ค.ศ. 2045
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่สํานักงานใหญ่ สหประชาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการประชุมเพื่อกําหนด เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการบรรลุการพัฒนา ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาตามเป้าหมายจะเริ่มในปี ค.ศ. 2015 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายทั้งสิ้น 17 ข้อ เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษา ที่มีคุณภาพ การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ การจัดการน้ําและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน เป็นต้น

5.การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่ใด
(1) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
(2) ลอนดอน สหราชอาณาจักร
(3) ปารีส ฝรั่งเศส
(4) อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
(5) มาดริด สเปน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายทั้งสิ้นกี่ข้อ
(1) 8 ข้อ
(2) 10 ข้อ
(3) 12 ข้อ
(4) 15 ข้อ
(5) 17 ข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตกได้นําวิธีการการลงประชามติ
มาใช้กับดินแดนใดก่อน
(1) โคโซโว
(2) บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
(3) นอร์ทมาซิโดเนีย
(4) นากอร์โน คาราบัค
(5) อาร์ทซัค
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตก
ได้นําวิธีการลงประชามติมาใช้กับโคโซโว เพื่อแยกดินแดนโคโซโวออกจากเซอร์เบีย

8.สงคราม 5 วันที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย เกิดขึ้นในประเทศใด
(1) ยูเครน
(2) จอร์เจีย
(3) อาร์เมเนีย
(4) อาเซอร์ไบจาน
(5) คาซัคสถาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงคราม 5 วัน เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศจอร์เจีย เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย โดยคู่สงครามประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายของจอร์เจียกับฝ่ายของเซาท์ออสเซเทียและรัสเซีย

9. สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างชาติใด
(1) รัสเซีย-จอร์เจีย
(2) อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
(3) รัสเซีย-อาร์เมเนีย
(4) รัสเซีย-อาเซอร์ไบจาน
(5) จอร์เจีย-อาเซอร์ไบจาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างอาร์เมเนีย กับอาเซอร์ไบจาน สองอดีตสาธารณรัฐสมาชิกสหภาพโซเวียตในภูมิภาคคอเคซัส โดยทั้งสองประเทศทําสงครามนองเลือดกันมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980

10. ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อใด
(1) 14 มกราคม ค.ศ. 2022
(2) 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(3) 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(4) 14 มีนาคม ค.ศ. 2022
(5) 18 มีนาคม ค.ศ. 2022
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เมื่อวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้แถลงผ่านโทรทัศน์ประกาศ เริ่มปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ดอนบาสหรือภูมิภาคตะวันออกของยูเครน โดยอ้างว่า มีจุดประสงค์เพื่อขจัดนาซี ปกป้องพลเรือน และรับมือภัยคุกคามที่มาจากยูเครน ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติความขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่และรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

11. คํากล่าวเกี่ยวกับความเป็นจริงในการเมืองระหว่างประเทศข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ในทางปฏิบัติทุกประเทศมีความเท่าเทียมกัน
(2) สัดส่วนการครอบครองทรัพยากรของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
(3) รัฐขนาดเล็กมักตกเป็นตัวเบี้ยของรัฐมหาอ่านาจ
(4) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีไม่เกิน 6 รัฐ
(5) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีเพียงร้อยละ 5 ของจํานวนรัฐทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 199 รัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศในทางปฏิบัติไม่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอํานาจของชาติโดยตรง

12. การจัดลําดับรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ
เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สบิกเนียฟ เบรเซนส
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 3 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้จัดลําดับรัฐในเวทีการเมือง ระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยเห็นว่า ลักษณะ ของการเมืองระหว่างประเทศจะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และ ไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น

13. มาตรฐานการแบ่งรัฐตามความสามารถในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนสกี
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 2 หน้า 200 เค. เจ. โฮลสติ (K. J. Holsti) เห็นว่า มาตรฐานของการจัดแบ่งรัฐเป็นประเภท ต่าง ๆ ที่สําคัญก็คือ ความสามารถของรัฐต่าง ๆ ที่จะสร้างพันธะกับรัฐอื่น ๆ ว่ามีขอบเขต แค่ไหน และรัฐนั้น ๆ สามารถจะปฏิบัติตามพันธะนั้น ๆ ได้แค่ไหน อย่างไร ความแตกต่าง ระหว่างรัฐมหาอํานาจกับรัฐเล็กพิจารณาได้จากการประเมินหรือคาดคิดเอาอย่างกว้าง ๆถึงปัจจัยทั้งที่มองเห็นได้ชัดและที่ไม่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ความสามารถหรือสมรรถภาพของรัฐ

14. โจเซฟ สตาลิน ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐในด้านใด
(1) กําลังทหาร
(2) อํานาจอธิปไตย
(3) นิติรัฐ นิติธรรม
(4) อํานาจนิติบัญญัติ
(5) อํานาจตุลาการ
ตอบ 1 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร (กําลังทหาร) ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นํา สหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

15. ขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรมตามแนวคิดของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี แบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
(5) 6 ขั้นตอน
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรม 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

16. นโยบายต่างประเทศของรัฐเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับอะไร
(1) การทูต
(2) นโยบายภายในประเทศ
(3) นโยบายต่างประเทศ
(4) ผลประโยชน์ของประเทศ
(5) ทรัพยากรของชาติ
ตอบ 4 หน้า 207 นโยบายต่างประเทศของรัฐ หมายถึง หลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกําหนด และควบคุมการกระทําของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่นโยบาย ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติโดยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความสามารถของแต่ละรัฐ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของรัฐจึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับผลประโยชน์ของชาติ

17. คําว่า “ชาติขนาดกลาง” ตามแนวคิดของศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือข้อใด
(1) ชาติที่มีประชากรจํานวนระหว่าง 5 – 10 ล้านคน
(2) ชาติที่มีสัดส่วนในการครอบครองทรัพยากรของโลกทั้งหมดเพียงแค่ร้อยละ 20
(3) ชาติที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10 ล้านตารางกิโลเมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 ล้านตารางกิโลเมตร
(4) ชาติที่ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่ง ประเภทของรัฐตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่ได้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

18. โครงสร้างอํานาจในการเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็นมีลักษณะเช่นไร
(1) การมีศูนย์อํานาจแห่งเดียว
(2) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยเคร่งครัด
(3) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยไม่เคร่งครัด
(4) การมีศูนย์แห่งอํานาจหลายศูนย์
(5) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน
ตอบ 5 หน้า 205 การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน (Bi-Multipolar Structure) คือ สภาพการเมืองระหว่างประเทศที่มีการผสมกันระหว่างการมีสองศูนย์แห่งอํานาจและการมีหลายศูนย์แห่งอํานาจในระบบการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็น เป็นต้น

19. นักวิชาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มองว่านโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศไม่สามารถแยกจากกันได้คือท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนส
(5) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
ตอบ 5 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) มองว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

20. ขั้นตอนแรกในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ คือ
(1) การกําหนดนโยบาย
(2) การประเมินนโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การวางแผน
(5) การสรุปผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 209 กระบวนการในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ประกอบด้วยขั้นตอนอย่างน้อย
2 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดหรือการวางนโยบาย
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติ

21. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ความอยู่รอด
(2) ความมั่นคง
(3) ความมั่งคั่ง
(4) เกียรติภูมิและศักดิ์ศรี
(5) ระเบียบวินัย
ตอบ 5 หน้า 25 – 30, (คําบรรยาย) เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศ

22. ข้อใดคือปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ
(1) สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
(2) ทรัพยากรทางธรรมชาติ
(3) ทรัพยากรมนุษย์
(4) องค์ความรู้และเทคโนโลยี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ได้แก่
1. สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
2. ทรัพยากรทางธรรมชาติ
3. ทรัพยากรมนุษย์
4. องค์ความรู้และเทคโนโลยี

23. ข้อใดถือว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ
(1) การเน้นการส่งออกมากกว่านําเข้า
(2) การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย
(3) การสร้างงานให้ประชาชนในรัฐ
(4) การพัฒนาการศึกษาและเทคโนโลยี
(5) การรักษาสนธิสัญญาที่รัฐให้สัตยาบัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่มีลักษณะไม่สามารถ ประนีประนอมได้ หากถูกละเมิดหรือถูกทําให้เสียหายรัฐพร้อมตอบโต้ด้วยทุกเครื่องมือและ สรรพกําลังทั้งหมดที่มี เช่น การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือ
(1) ต้นทุน
(2) ความเสี่ยง
(3) ประสิทธิผล
(4) บุคลิกภาพของผู้นํารัฐ
(5) ช่วงเวลาในการเลือกใช้เครื่องมือ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ได้แก่ 1. ต้นทุน 2. ความเสี่ยง 3. ประสิทธิผล 4. ช่วงเวลา

25. เครื่องมือประเภทใดที่รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้าย
(1) การเจรจา
(2) มาตรการเชิงลบในการค้าระหว่างประเทศ
(3) เครื่องมือทางการทหาร
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การทูตเชิงวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 43, (คําบรรยาย) เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ เครื่องมือนี้รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้ายเมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือ ทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

26. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง
(1) สหรัฐฯ ไม่พอใจที่รัฐบาลจีนแทรกแซงค่าเงินหยวน
(2) ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา
(3) เกาหลีใต้ใช้มาตรการคว่ําบาตรญี่ปุ่นทําให้ยอดส่งออกเบียร์ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 90
(4) จีนประกาศงดการนําเข้าข้าวบาร์เลย์จากออสเตรเลีย
(5) สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บ มะพร้าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง เป็นความ ขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นปัญหาด้านดินแดนและอาณาเขต อุดมการณ์ หรือผู้นําทางการเมือง เช่น ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ซึ่งนําไปสู่ สงครามเย็นในช่วง ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นต้น

27. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) การลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980
(2) การทําสงครามทางทะเลอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ในช่วง ค.ศ. 1652 – 1654
(3) สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย

(4) สงครามเย็น
(5) การยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930 อันนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997 เป็นต้น
2. ความแตกต่างทางด้านศาสนาและความเชื่อ เช่น สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วง ทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย เป็นต้น
3. ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บมะพร้าว เป็นต้น

28. ประเทศใดที่สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สวีเดนและเดนมาร์ก
(2) นอร์เวย์และเดนมาร์ก
(3) สเปนและนอร์เวย์
(4) ฟินแลนด์และสวิตเซอร์แลนด์
(5) สวีเดนและฟินแลนด์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) สวีเดนและฟินแลนด์ได้สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นการตัดสินใจ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัสเซียรุกรานยูเครน โดยทั้งสองประเทศหวังว่าการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับชาติของตน

29. เหตุการณ์ใดไม่ถือว่าเป็นการก่อการร้าย
(1) เหตุการณ์ 9/11
(2) การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914
(3) เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005
(4) ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดาระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997
(5) เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตันมาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง การใช้ความรุนแรงที่ผิดปกติ โดยมีเป้าหมายที่จะทําให้เกิดความหวาดกลัวด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อบีบบังคับหรือข่มขู่ หรือการทําลายล้างผลาญ หรือการข่มขู่ว่าจะสังหารหรือการสังหาร ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ถือว่า เป็นการก่อการร้าย เช่น เหตุการณ์ 9/11 การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914 เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005 เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตัน มาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013 เป็นต้น

30. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
(2) ความร่วมมือระหว่างประเทศสร้างข้อผูกพันระหว่างรัฐภายใต้กรอบความร่วมมือ
(3) ความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะรัฐเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
(4) ความร่วมมือระหว่างประเทศถูกจํากัดด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
(5) ความร่วมมือระหว่างประเทศช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
2. เป็นการสร้างข้อผูกพันระหว่างกันภายใต้กรอบความร่วมมือ
3. เกิดขึ้นเพราะเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
4. เป็นการลดข้อจํากัดด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
5. ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ

31. ข้อใดกล่าวถึงการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธีได้ไม่ถูกต้อง
(1) การทูต คือ การใช้การเจรจาต่อรองระหว่างคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย
(2) การใช้คนกลาง คือ การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่อํานวยความสะดวกเพื่อให้ ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากัน แต่ประเทศที่สามไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการเจรจา
(3) การไกล่เกลี่ย คือ การที่ประเทศที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจากับคู่กรณี
(4) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติ
(5) การใช้องค์การสหประชาชาติ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทขึ้นสู่คณะมนตรีความมั่นคงเพื่อให้ตัดสิน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทําหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้มาจากคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งโดยใช้หลักการของกฎหมาย มิใช่วิธีการที่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งให้

32. ข้อใดเรียงลําดับพัฒนาการของความสัมพันธ์จากปกติไปสู่สงครามได้ถูกต้อง
(1) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์สงคราม
(2) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์สงคราม
(3) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์ ความขัดแย้ง-สงคราม
(4) ความสัมพันธ์แบบปกติ-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-สงคราม
(5) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-สงคราม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัฒนาการของความสัมพันธ์ของรัฐจากปกติไปสู่สงคราม สามารถเรียงลําดับ ได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์แบบปกติ
2. ความขัดแย้ง
3. ความตึงเครียด
4. วิกฤติการณ์
5. สงคราม

33. “เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก” ถือเป็นการ ก่อการร้ายประเภทใด
(1) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism)
(2) การก่อการร้ายเพื่อล้มอํานาจ (Insurrectionary Terrorism)
(3) การก่อการร้ายชาตินิยม (Nationalist Terrorism)
(4) การก่อการร้ายระดับโลก (Global Terrorism)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism) เป็นการก่อการร้ายที่มีผู้ก่อการ เพียงคนเดียว ซึ่งเป้าหมายของการก่อการร้ายอาจจะเป็นการต่อต้านประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทางการเมืองก็ได้ เช่น เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก เป็นต้น

34. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบหลักของระบอบระหว่างประเทศ
(1) กติกาหรือบรรทัดฐาน
(2) หลักการ
(3) สถานที่ตั้ง
(4) กฎเกณฑ์
(5) กระบวนการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 122, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่าย ทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เป็นต้น

35. ข้อใดจัดว่าเป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศมหาอํานาจ
(1) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
(2) การจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
(3) ความร่วมมือทางการทูตเรื่องความปลอดภัยของนักการทูต
(4) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(5) ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 เป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศ มหาอํานาจ คือ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธ นิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ และส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

36. สถาบันใดที่นับว่ามีลักษณะเป็นระบอบระหว่างประเทศ
(1) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GAT)
(2) องค์การการค้าโลก (WTO)
(3) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
(4) องค์การสหประชาชาติ (UN)
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

37. ข้อใดจัดว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ
(1) บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC)
(2) แกนแห่งความชั่วร้าย (Axis of Evil)
(3) ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
(4) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) กลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสาน ของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการก่อตั้ง มีสนธิสัญญาเป็นกรอบชัดเจนที่จะผูกมัดประเทศสมาชิกทุกประเทศ และมีการก่อตั้งในรูปขององค์การระหว่างประเทศ มีสถาบันบริหาร ระเบียบกระบวนการบริหาร และแนวทางการทํางานรวมทั้งโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน กลุ่มพันธมิตรนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งหรือ มีแนวโน้มว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้น เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นต้น

38. ข้อใดกล่าวถึง “ความเท่าเทียมกัน” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในการครอบครองทรัพยากร
(2) รัฐในคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) มีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎขององค์การสหประชาชาติ
(3) อํานาจอธิปไตยของรัฐทําให้รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย
(4) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความสามารถเท่าเทียมกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตยที่ทําให้แต่ละรัฐในสังคมระหว่าง ประเทศมีความเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริงกลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

39. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะ “อนาธิปไตย” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ
(2) รัฐมหาอํานาจในแต่ละยุคสมัยเป็นผู้กําหนดกฎเกณฑ์สากลให้สังคมระหว่างประเทศ
(3) สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นลําดับชั้นระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก
(4) ศูนย์กลางทางอํานาจของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ที่องค์การสหประชาชาติ
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้มีอํานาจตุลาการสูงสุดในสังคมระหว่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) ลักษณะ “อนาธิปไตย” (Anarchy) ในสังคมระหว่างประเทศ คือ การที่สังคมระหว่างประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

40. ข้อใดกล่าวถึงการขึ้นต่อกัน (Interdependence) ระหว่างรัฐในสังคมระหว่างประเทศได้ไม่ถูกต้อง
(1) ข้อจํากัดและความแตกต่างของการถือครองทรัพยากรธรรมชาติทําให้รัฐต้องพึ่งพาอาศัยกัน
(2) รัฐเล็กต้องพึ่งพารัฐใหญ่เสมอ
(3) การกระจายตัวของทรัพยากรทําให้เกิดระบบการแบ่งงานกันทําระหว่างประเทศ
(4) ปัญหาที่สังคมระหว่างประเทศต้องเผชิญ เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทําให้รัฐ ต้องขึ้นต่อกันมากขึ้น
(5) การขึ้นต่อกันระหว่างรัฐเป็นผลมาจากการผลิตตามความถนัดของแต่ละรัฐ
ตอบ 2 หน้า 193 – 195 ในสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะของการขึ้นต่อกันและการต้องพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน (Interdependence) ในบรรดารัฐต่าง ๆ ทั้งรัฐเล็กและรัฐใหญ่อยู่เสมอ ไม่เฉพาะ รัฐเล็กเท่านั้นที่มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐใหญ่ แต่รัฐใหญ่ก็มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐเล็กเช่นกัน เพราะรัฐใหญ่ต้องอาศัยการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากรัฐเล็กต่าง ๆ ในการดําเนินนโยบายต่างประเทศของตน

41. เหตุการณ์ใดที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มจํานวนของรัฐในสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน
(1) การแยกตัวของปากีสถานออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947
(2) การแยกตัวของยูโกสลาเวีย
(3) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(4) แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวันในปี ค.ศ. 2022
(5) การแยกตัวของสิงคโปร์จากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965
ตอบ 4 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนรัฐในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม เช่น ปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947 บังกลาเทศแยกตัวออกจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1973 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ในปี ค.ศ. 1965 เป็นต้น
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

42. สันนิบาตชาติกําเนิดขึ้นจากข้อเสนอของ…………การจัดระเบียบระหว่างประเทศ
(1) จิมมี่ คาร์เตอร์
(2) เอมมานูเอล คานท์
(3) เดวิด โจนส์
(4) วูดโรว์ วิลสัน
(5) แซงต์ ปีแยร์
ตอบ 4 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยเกิดจากข้อเสนอของ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ในการจัดระเบียบระหว่างประเทศ

43. สหประชาชาติมีอายุกี่ปีในปี ค.ศ. 2022
(1) 76
(2) 77
(3) 78
(4) 75
(5) 79
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

44. เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติในปัจจุบันคือใคร
(1) นายบัน คี-มูน
(2) นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช
(3) นายเดวิด มัลพาสส์
(4) นายโรเบิร์ต ซิลแคล
(5) นายโคฟี แอนนั้น
ตอบ 2 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตาม
คําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

45. กฎบัตรสหประชาชาติมีวิวัฒนาการมาจาก
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) กฎบัตรฮาวานา
(3) กฎบัตรสันนิบาตชาติ
(4) กฎบัตรซานฟรานซิสโก
(5) กฎบัตรเจนีวา
ตอบ 1หน้า 150, 227 – 246, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ มีวิวัฒนาการมาจากกฎบัตร แอตแลนติก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวดที่ 5 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง, หมวดที่ 6 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การมอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการ ระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวดที่ 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคาม ต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน การดําเนินการของคณะมนตรี ความมั่นคงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพ, หมวดที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ ความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

46. สหประชาชาติมีองค์กรสําคัญ…….องค์กร
(1) 8
(2) 9
(3) 7
(4) 5
(5) 6
ตอบ 5 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
2. คณะมนตรีความมั่นคง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
6. สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

47. การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติจัดทุกปีที่
(1) ปารีส
(2) เจนีวา
(3) นิวยอร์ก
(4) ลอนดอน
(5) บรัสเซลล์
ตอบ 3 หน้า 144, (คําบรรยาย) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียง 1 เสียง ซึ่งสมัชชาจะจัดประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง เดือนกันยายน – ธันวาคม ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีผู้นําหรือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุม

48. คณะกรรมการที่ 6 ในสมัชชาสหประชาชาติรับผิดชอบปัญหา
(1) กฎหมาย
(2) เศรษฐกิจ
(3) การเมือง
(4) สังคม
(5) การบริหาร
ตอบ 1 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้
1. คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและสันติภาพของโลก
2. คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง
3. คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม
4.คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
5.คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและงบประมาณ
6. คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

49. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 14
(2) 18
(3) 16
(4) 15
(5) 13
ตอบ 4 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

50. คณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ในหมวด…….
(1) 6
(2) 8
(3) 7
(4) 5
(5) 9
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

51. ในปัจจุบันองค์กรที่มีบทบาทในการส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจ คือ
(1) เลขาธิการสหประชาชาติ
(2) สมัชชาสหประชาชาติ
(3) ศาลโลก
(4) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 150 กองกําลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นตามหลักการความมั่นคงร่วม เป็นกองกําลังทหารที่รัฐสมาชิกส่งไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็น หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตัดสินใจส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสันติภาพตามที่รัฐสมาชิกร้องขอ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ ปฏิบัติภารกิจในระยะ 6 เดือน และอาจต่อเวลาออกไปอีกได้เป็นกรณี ๆ ไป

52. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก…….ประเทศ
(1) 30
(2) 35
(3) 40
(4) 45
(5) 54
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ ซึ่งเลือก โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และทุก ๆ ปี 1 ใน 3 ของ สมาชิกจะต้องจับสลากออก แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้

53. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกามีที่ตั้งอยู่ที่
(1) กรุงเทพ
(2) ซานติเอโก
(3) เบรุต
(4) เจนีวา
(5) กาตาร์
ตอบ 2 หน้า 154 – 155, (คําบรรยาย) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมมีคณะกรรมาธิการส่วนภูมิภาค ทั้งหมด 5 คณะกรรมาธิการ คือ
1. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับยุโรป มีสํานักงานอยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกา มีสํานักงานอยู่ที่ซานติเอโก ประเทศชิลี
3. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก มีสํานักงานอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
4. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับเอเชียตะวันตก มีสํานักงานอยู่ที่เบรุต ประเทศเลบานอน
5. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับแอฟริกา มีสํานักงานอยู่ที่แอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย

54. ศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษา…….คน
(1) 10
(2) 20
(3) 14
(4) 15
(5) 16
ตอบ 4 หน้า 41 – 42, 167, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกของ องค์การสหประชาชาติ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

55. องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้าน
(1) เศรษฐกิจ การเมือง
(2) การทหาร
(3) การทหาร เศรษฐกิจ การเมือง
(4) เศรษฐกิจ
(5) อวกาศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization : SCO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้านการทหาร เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีสํานักเลขาธิการถาวรตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้มีสมาชิก 9 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ปากีสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และอิหร่าน

56. SAARC คือสมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคใด
(1) แอฟริกา
(2) เอเชีย
(3) เอเชียเหนือ
(4) เอเชียใต้
(5) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 เป็นองค์กรความร่วมมือองค์กรแรก ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

57.BIMSTEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุทวีป มีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 5
(2) 8
(3) 4
(4) 6
(5) 7
ตอบ 5 หน้า 223 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจในอ่าวเบงกอล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย

58. สํานักเลขาธิการถาวรองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ที่……
(1) เทียนสิน
(2) เซี่ยงไฮ้
(3) ปักกิ่ง
(4) ซีอาน
(5) หางโจว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

59.RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคพัฒนามาจาก
(1) อาเซียน + 6
(2) อาเซียน + 3
(3) อาเซียน + 8
(4) อาเซียน + 7
(5) อาเซียน + 5
ตอบ 1 (คําบรรยาย) RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) เป็นการพัฒนามาจากแนวคิดอาเซียน + 6 ถือเป็นความร่วมมือ ข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก ทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา และประเทศ คู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

60. อาเซียนใน ค.ศ. 2022 มีอายุ…..ปี
(1) 45 ตอบ 5
(2) 56
(3) 46
(4) 64
(5) 55
หน้า 180, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 55 ปี) โดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันอาเซียน (ASEAN Day)

61. ความร่วมมือข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก คือ
(1) RCEP
(2) ASEAN
(3) SCO
(4) ADB
(5) SAARC
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือข้อใด
(1) Dialogue
(2) Negotiation
(3) Treaty
(4) Document
(5) Declaration
ตอบ 3, 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา (Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เป็นต้น

63. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศตวรรษที่ 20
(1) เกิดสงครามสามสิบปีในยุโรป
(2) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) เกิดสงครามเย็น
(5) อเมริกาทําสงครามที่เวียดนาม
ตอบ 1 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง
ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

64. กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น
(1) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ
(2) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ
(3) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
(4) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ

ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

65. สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แก่
(1) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และจีน
(2) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน
(3) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่น
(4) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น
(5) สหรัฐฯ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

66. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 4 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) จัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สําคัญ โดยเป้าหมายของรัฐที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ ต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย หรือของรัฐอื่น ๆ และบีบบังคับหรือโน้มน้าวจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

67. อนุสัญญาใดที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต
(1) Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961
(2) Westphalia Convention on Diplomatic Relations 1961
(3) Paris Convention on Diplomatic Relations 1961
(4) Geneva Convention on Diplomatic Relations 1961
(5) Havana Convention on Diplomatic Relations 1961
ตอบ 1 หน้า 131 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) เป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต ในการทําหน้าที่ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้หลักประกันแก่นักการทูตในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลหรือการคุกคามของประเทศที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือประเทศผู้รับ

68. ประเทศใดที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม
(1) บรูไน
(2) อินเดีย
(3) ญี่ปุ่น
(4) อียิปต์
(5) ชิลี
ตอบ 3 หน้า 81, (คําบรรยาย) ในยุคล่าอาณานิคมมีหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกาที่ตกเป็น เมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่น อินเดีย บรูไน พม่า มาเลเซีย อียิปต์ เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซิลี ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้นของสเปน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สําหรับ ญี่ปุ่นและไทยนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย

69. สหรัฐอเมริกาทําสงครามการค้ากับจีนโดยใช้วิธีใด
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาได้ทําสงครามการค้ากับจีน โดยการขึ้นภาษีนําเข้าสินค้าจากจีน รวมทั้งสั่งให้บริษัทสหรัฐอเมริกาที่มีฐานผลิตในจีนถอนตัวออกจากจีนและกลับมาผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาแทน

70. กษัตริย์องค์ปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ
(1) Queen Elizabeth II
(2) King George I
(3) King Charles III
(4) Queen Mary I
(5) King James II
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 (King Charles III) เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบันของ สหราชอาณาจักร พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) พระมารดา ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022

71. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่าเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone)
(1) นานาชาติเดินเรือได้อย่างเสรี
(2) มีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
(3) รัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและนําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้
(4) รัฐชายฝั่งเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
(5) นานาชาติมีสิทธิหาปลาบริเวณนั้นได้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone) เป็นพื้นที่ทะเล ซึ่งมีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งรัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและ นําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้ ส่วนรัฐนานาชาติสามารถเดินเรือได้อย่างเสรี แต่ไม่สามารถ ทํากิจกรรมเพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ขุดเจาะหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล หรือทําประมง จับปลาในบริเวณ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ เพราะถือเป็นสิทธิของรัฐชายฝั่งแต่เพียงผู้เดียว

72. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 2
(2) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
(3) สงครามครูเสด
(5) สงครามเย็น
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและ วิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลกซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
1. การปฏิวัติการค้า มีการขยายการค้านอกยุโรปและมีบรรษัทข้ามชาติ
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม
3. การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

73. สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 1 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

74. วันอาเซียน (ASEAN Day) คือวัน เดือน อะไรของทุกปี
(1) 1 ตุลาคม
(2) 8 สิงหาคม
(3) 4 กรกฎาคม
(4) 24 ตุลาคม
(5) 1 มกราคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

75. สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

76. สงครามเย็นเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อได
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

77. เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 ด้วยการสนับสนุนของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต ซึ่งการบุกกัมพูชาของเวียดนามนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้สงครามเย็น ที่ผ่อนคลายความตึงเครียดลงในช่วงทศวรรษที่ 1970 กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง

78. รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในยุคใด
(1) สงครามสามสิบปี
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) สงครามโลกครั้งที่ 2
(4) สงครามเย็น
(5) หลังสงครามเย็น
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ พายุ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรม ทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

79. สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1988
(2) 1989
(3) 1990
(4) 2001
(5) 2003
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกองกําลังผสมจาก 34 ชาตินําโดย สหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรัก โดยสงครามนี้อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “สงครามอ่าว” (Gulf War)

80. ข้อใดคือภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่
(1) อาวุธเคมี
(2) พายุไต้ฝุ่นโนรู
(3) อาวุธนิวเคลียร์
(4) คอมมิวนิสต์
(5) การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ใครคือผู้นําของสหภาพโซเวียตที่ดําเนินนโยบาย “Glasnost and Perestroika” และได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022
(1) Nikita Khrushchev
(2) Leonid Brezhnev
(3) Yuri Andropov
(4) Mikhail Gorbachev
(5) Boris Yeltsin
ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นําสหภาพโซเวียต ที่ดําเนินนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) และนโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และได้รับ การยกย่องว่าเป็นผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2022

82.Kamala Harris คือใคร
(1) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(5) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจําประเทศไทยคนปัจจุบัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) นางกมลา แฮร์ริส (Kamata Harris) เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบันภายใต้การนําของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021

83. ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศท่านใดไม่ได้ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม
(1) ชินโซ อาเบะ / ญี่ปุ่น
(2) อับราฮัม ลินคอล์น / สหรัฐอเมริกา
(3) กษัตริย์พิเรนทรา / เนปาล
(4) ยิตส์ฮัก ราบิน / อิสราเอล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศที่ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม ได้แก่
1. อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถูกลอบสังหารโดยจอห์น วิลค์ส บูธ นักแสดงในโรงละครเมื่อปี ค.ศ. 1865
2. ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ถูกลอบสังหารโดยเกล แอไมร์ นักศึกษาชาวยิว ฝ่ายขวาออร์ธอด็อกซ์เมื่อปี ค.ศ. 1955
3. กษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์เนปาล ถูกสังหารโดยพระราชโอรสเมื่อปี ค.ศ. 2001
4. ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถูกลอบสังหารโดยอดีตเจ้าหน้าที่กองกําลังป้องกันตนเองทางทะเลเมื่อปี ค.ศ. 2022

84. การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุมสุดยอดผู้นํา (Summit) ค.ศ. 2022 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
(1) จีน
(2) ไทย
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุม สุดยอดผู้นํา (Summit) ปี ค.ศ. 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

85. ข้อตกลงใดที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State)
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) สนธิสัญญาโรม
(3) สนธิสัญญาปารีส
(4) ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 79 ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 เป็นข้อตกลงที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร(Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย(Sovereignty)

86. ข้อตกลงที่ใช้เป็นข้อตกลงเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
คือข้อตกลงใด
(1) Japan Alliance Treaty
(2) Paris Peace Treaty
(4) Treaty of Peace with Japan
(3) World War II Peace Treaty
(5) Treaty of Peace for World War II
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น (Treaty of Peace with Japan) เป็นข้อตกลง เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดทําขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951

87. ข้อใดไม่เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
(2) แนวพฤติกรรม
(3) แนวระบบ
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวผู้นํา
ตอบ 5 หน้า 8 – 13 วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 8 แนวทาง คือ
1. แนวนโยบาย
2. แนวประวัติศาสตร์
3. แนวภูมิรัฐศาสตร์
4. แนวอํานาจ
5. แนวดุลแห่งอํานาจ
6. แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
7. แนวพฤติกรรม
8. แนวระบบ

88. ข้อใดไม่เป็นการศึกษาในแนวพฤติกรรม
(1) การสังเกต
(2) การตั้งปัญหาและสมมติฐาน
(3) การวัด
(4) การทดลอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น

89. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันได้แก่ผู้ใด
(1) Henry Kissinger
(2) Hillary Clinton
(3) John Kerry
(4) Antony Blinken
(5) Mike Pompeo
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน คือ นายแอนโทนี บลิงเคน (Antony Blinken) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2021

90. หนังสือที่เขียนขึ้นโดยการศึกษาตามแนวทางอํานาจได้แก่เรื่องใด
(1) Politics Among Nations
(2) Wealth of Nations
(3) Communist Manifesto
(4) The Geography of the Peace
(5) Das Kapital
ตอบ 1 หน้า 11 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอํานาจ (Power Approach) ได้แก่
1. หนังสือเรื่อง “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” ของ ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)
2. หนังสือเรื่อง “Power and International Relations” ของไอนิส แอล, เคลาด์ จูเนียร์
(Inis L. Cloude, JR.)

91. การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เกิดขึ้นในช่วงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใด
(1) Harry Truman
(2) Ronald Reagan
(3) Woodrow Wilson
(4) John F. Kennedy
(5) Richard Nixon
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนในช่วงสงครามเย็น ซึ่งตรงกับสมัยริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียตเป็นภัยคุกคาม ที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

92. นักวิชาการคนใดเป็นนักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์
(1) Raymond Aron
(2) Sir Halford Mackinder
(3) Nicholas Spykman
(4) K. J. Holsti
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 8 – 9 นักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ได้แก่
1. เรมอนด์ อารอน (Raymond Aron)
2. ชาร์ล เอ. แมคเคลแลนด์ (Charles A. McClelland)
3. ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance)
4. ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)

93. องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ให้หน่วยงานใดที่จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศ
ที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ
(1) คณะมนตรีสังคมและเศรษฐกิจ
(2) ที่ประชุมสมัชชาใหญ่
(3) คณะทรัสตี
(4) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 51 องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ในการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติให้กับคณะมนตรีความมั่นคง

94. ใครเป็นคนกล่าวคําที่ว่า “ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหารแต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะ วิถีทางเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”
(1) Margaret Thatcher
(2) George W. Bush
(3) Boris Johnson
(4) Woodrow Wilson
(5) George Washington
ตอบ 4 หน้า 52 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “การที่สามารถได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหาร แต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”

95. การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจยามสันติแบบหนึ่ง คือ การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ เกิดขึ้นกับ
การดําเนินการของหน่วยงานระหว่างประเทศใด
(1) WTO
(2) IMF
(3) OPEC
(4) AIIB
(5) ADB
ตอบ 3 หน้า 56 การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ คือ การรวมตัวกันของธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะควบคุมการแข่งขันของธุรกิจประเภทนั้น ๆ และให้กลุ่มของตนมีอิทธิพล สูงสุดในตลาดระหว่างประเทศของธุรกิจประเภทนั้นด้วย เช่น การรวมตัวกันขององค์การ ประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC) เป็นต้น

96. ปีหน้า ค.ศ. 2023 เป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับประเทศใดครบ 190 ปี
(1) จีน
(2) ฝรั่งเศส
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1833 โดยการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ดังนั้นในปี ค.ศ. 2023 จึงเป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับ ประเทศสหรัฐอเมริกาครบ 190 ปี

97.สหภาพแอฟริกา (African Union) ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
(1) 49
(2) 51
(3) 53
(4) 55
(5) 59
ตอบ 4 หน้า 136, (คําบรรยาย) สหภาพแอฟริกา (African Union : AU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยปรับปรุงโครงสร้างมาจาก องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity : OAU) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศ

98. กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ (UN Charter) ในมาตรา 51 กล่าวถึงการใช้กําลังทหารที่ถูกต้อง
และได้รับการยอมรับจากนานาชาติในลักษณะใด
(1) ป้องกันตนเอง
(2) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ
(3) มีมติเห็นชอบจากศูนย์อํานวยการความมั่นคงนานาชาติ
(4) มีมติเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 99, (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาตินั้น การใช้กําลังทหารอย่างถูกต้อง และได้รับการยอมรับจากนานาชาติจะต้องดําเนินการตามมาตรา 51 ที่กําหนดให้รัฐสมาชิก สามารถใช้กําลังป้องกันตนเองได้หากมีการโจมตีด้วยกําลังอาวุธจากประเทศผู้รุกราน และจะต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทราบ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่งคงมีมติตามมาตรา 42 ในการใช้กองกําลังรักษาสันติภาพเข้าช่วยเหลือประเทศที่ถูกรุกราน

99. กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งต่อไป ค.ศ. 2024 จัดขึ้นที่ประเทศใด
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) จีน
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี ค.ศ. 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม ค.ศ. 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

100. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกาที่จัดขึ้นในปีนี้ จัดขึ้นที่เมืองใด
(1) กรุงพนมเปญ
(2) กรุงเทพฯ
(3) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
(4) กรุงฮานอย
(5) กรุงมะนิลา
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ (ASEAN-US Special Summit) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครบ 45 ปี และหารือแนวทางกระชับความสัมพันธ์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ความร่วมมือทางทะเล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและ การส่งเสริมนวัตกรรม เป็นต้น

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ประเทศไทยมีคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดคือใคร
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) รัสเซีย
(4) ลาว
(5) กัมพูชา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ จีน ซึ่งครองอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2013 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน

2. จากประโยคที่ว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครองดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้น กุมชะตากรรมของโลก” ประโยคดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman) ซึ่งเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครอง ดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้นกุมชะตากรรมของโลก”

3.Human Rights Watch มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศใด
(1) จีน
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) ไทย
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 หน้า 22 (คําบรรยาย) องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1978 โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

4 กฎหมายว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตตามที่ปรากฏในอนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนาถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 4 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการ สร้างความสงบและความเป็นระเบียบแบบแผนให้กับสังคมโลก เช่น การกําหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่ละประเทศจึงยึดถือและปฏิบัติตาม โดยกฎเกณฑ์หรือระเบียบดังกล่าว อาจปรากฏในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา (Treaty) อนุสัญญา (Convention) ความตกลง (Agreement) กติกาสัญญา (Pact) หรืออาจปรากฏในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี (Customary) ตัวอย่างของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายว่าด้วย เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์แบบเบ็ดเสร็จ เป็นต้น

5.ข้อใดต่อไปนี้คือตัวย่อของ “ศาลโลก” หรือ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ”
(1) ICC
(2) IC
(3) ICRC
(4) World Court
(5) UNHCR
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ โดยคําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการตั้งขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

6. ข้อใดต่อไปนี้คือขอบข่ายของกฎหมายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ
(2) ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ
(3) กฎบัตรสหประชาชาติ
(4) กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(5) กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ตอบ 3 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล เป็นต้น

7. ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศล่าอาณานิคม
(1) ไทย
(2) จีน
(3) ญี่ปุ่น
(4) มาเลเซีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้นจึงถือว่า วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

8.ข้อใดไม่ใช่แหล่งมรดกโลก
(1) ป่าแก่งกระจาน
(2) เขาใหญ่
(3) เขาพนมรุ้ง
(4) ปราสาทเขาพระวิหาร
(5) ห้วยขาแข้ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกจาก UNESCO เพราะมีลักษณะสําคัญ ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามสนธิสัญญา โดยแหล่งมรดกโลกที่สําคัญ ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ป่าแก่งกระจาน เขาใหญ่ ห้วยขาแข้งในประเทศไทย ประสาทเขาพระวิหารในประเทศกัมพูชา เมืองหลวงพระบางในประเทศลาว กําแพงเมืองจีนในประเทศจีน เป็นต้น

9.ข้อต่อไปนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามมาจากวลีที่ว่า “An Absent of Supreme Power” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) Serfdom
(2) Self-Esteem
(3) Self-Help
(4) Leviathan
(5) Social Contract
ตอบ 3 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลาง อํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดง ต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

10.Pacta Sunt Servanda ของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ
(1) การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
(2) พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
(3) การทําสงครามบังคับใช้
(4) การประณามเชิงศีลธรรม
(5) การนิ่งเฉย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กติกาเกี่ยวกับการรักษาสัญญาตามหลัก Pacta Sunt Servanda ของ สังคมระหว่างประเทศ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งคริสตจักร คือ การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
2. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งยุโรป คือ การทําข้อตกลงร่วมและสงครามบังคับใช้
3. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งโลก คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
4. สังคมระหว่างประเทศยุคโลกาภิวัตน์ (ปัจจุบัน) คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ

11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(1) ตั้งอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
(2) เน้นความร่วมมือด้านการทหารเป็นหลัก
(3) มีหน้าที่จัดการเรื่องทุจริต
(4) คําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

12. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่มีสํานักงานใหญ่ในประเทศไทย
(1) United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
(2) World Health Organization (WHO)
(3) Organization for Security and Co-Operation in Europe (OSCE)
(4) United Nations Environment Programme (UNEP)
(5) Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ESCAP) เป็น 1 ใน 5 คณะกรรมาธิการ ส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ปัจจุบันมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

13. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มควอด
(1) ลาว
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อินเดีย
(5) ออสเตรเลีย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กลุ่มควอด (Quadrilateral Security Dialogue : Quad) เป็นกลุ่มความร่วมมือ ด้านความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลีย

14. ข้อใดคือ Jus ad Bellum ในปัจจุบัน
(1) การป้องกันเชิงรุก (Preemptive Strike)
(2) การประณาม (Denounce)
(3) การป้องปราม (Deterrence)
(4) การคว่ำบาตร (Sanction)
(5) การป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Jus ad Bellum (กติกาที่ว่าด้วยการเริ่มสงคราม) ในปัจจุบัน มี 2 ประการ คือ
1. การอ้างสิทธิในการป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
2. การประกาศสงครามโดยองค์การสหประชาชาติภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

15. องค์การระหว่างประเทศที่รัฐเป็นสมาชิกได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การนานารัฐอเมริกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), สหภาพยุโรป (EU), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), กองทุนสงเคราะห์ เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), การประชุมสหประชาชาติว่าด้วย การค้าและการพัฒนา (UNCTAD), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

16. หากมีผู้กล่าวว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันได้…” คํากล่าวนี้สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Path Dependence
(2) Scope of International Relations
(3) Current Affairs
(4) International Relations
(5) Diplomacy
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าวที่ว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้…” เป็นคํากล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้น ส่งผลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือเรียกว่า Path Dependence

17. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “League of Nations” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Non-Governmental Organizations
(3) Multi-National Corporation
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) บนเวทีระหว่างประเทศหรือเวทีโลก มีดังนี้
1. องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN), สหประชาชาติ (United Nations : UN), สหภาพยุโรป (European Union : EU), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

2. องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organizations : NGOs) เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น

3. บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporation : MNCs) เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Unilever เป็นต้น

4. ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorists) เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS, กลุ่ม Al Qaeda, กลุ่ม Abu Sayyaf เป็นต้น

5. ปัจเจกบุคคล (Individual) เช่น นางอองซาน ซูจี, นายอังตอนี มานูแวล กูแตช เลขาธิการ สหประชาชาติ เป็นต้น

18. ข้อใดไม่ใช่สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

19. ข้อใดกล่าวถึงบริบทด้านนโยบายต่างประเทศอย่างถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เฉพาะด้านการทหาร
(2) นโยบายต่างประเทศคือนโยบายภายในของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ปฏิบัติต่อรัฐฝ่ายตรงข้าม
(4) รัฐชาติไม่ได้มีความจําเป็นต้องมีเป้าหมายทางด้านการต่างประเทศมากนัก (5) ผลประโยชน์ของชาติเกี่ยวข้องกับนโยบายภายในประเทศมากกว่า
ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) หมายถึง กลุ่มของมาตรการ หรือยุทธศาสตร์ที่รัฐก้าหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติต่อรัฐอื่นหรือรัฐฝ่ายตรงข้ามในอันที่จะให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ที่ต้องการ โดยจุดประสงค์ของการดําเนินนโยบายต่างประเทศก็คือ การรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ

20. คําว่า “Apartheid” หมายถึงอะไร
(1) นโยบายส่งเสริมผลประโยชน์ของคนในชาติ
(2) ขบวนการติดอาวุธประเทศฟิลิปปินส์
(3) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(4) ขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์
(5) นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Apartheid หมายถึง นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นนโยบายของ รัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1948 โดยมีการแบ่งแยกคนผิวดําออกจากคนผิวขาว กีดกันคนผิวดําออกจากสถานะความเป็นพลเมือง ไม่สามารถอาศัยในพื้นที่เดียวกันกับคนผิวขาว รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การพยาบาล และบริการสาธารณะแบบเดียวกับคนผิวขาวได้ ทั้งนี้นโยบาย Apartheid ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1994 เมื่อเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) ซึ่งเป็นแกนนําในการต่อสู้กับระบบ Apartheid ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

21. เลขาธิการสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียคนแรก คือ
(1) อู ถั่น
(2) บัน คี-มูน
(3) โคฟี แอนนัน
(4) ทรีฟ ลี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 167 – 168, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชา ตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ทั้งนี้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียมี 2 คน โดยคนแรกคือ นายอู ถั่น (U Thant) ชาวพม่า และคนที่ 2 คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ ส่วนเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรีซ (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR)
(1) สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก
(2) ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
(3) สิทธิในการเข้าถึง Internet
(4) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก
(5) มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน
ตอบ 3 หน้า 165 – 166 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ระบุไว้ว่า “สิทธิมนุษยชน เป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ภาษา เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ํารวยหรือทรัพย์สิน มีอิสรภาพจากการตกเป็นทาส จากการถูกทรมาน ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก สิทธิที่จะได้รับการศึกษา มีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งการมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่อาศัยและอาหาร เพียงพอ มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน

23. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก
(1) WHO
(2) IMF
(3) UN
(4) WTO
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 135 – 136, 158, 160 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ฯลฯ

2. องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ฯลฯ

24. องค์การระหว่างประเทศ (IGOs) ในข้อใดที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับโลก
(1) ASEAN Community
(2) African Union
(3) Organization of American States
(4) Gulf Cooperation Council
(5) Intergovernmental Panel on Climate Change
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เพื่อทําหน้าที่ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทั่วโลกได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ แนวโน้มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม (ดูคําอธิบายข้อ 23, ประกอบ)

25. ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก
(1) รัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อินเดีย
(4) อังกฤษ
(5) จีน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น อังกฤษถือเป็นประเทศมหาอํานาจทางด้าน เศรษฐกิจและการเมืองอันดับหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอังกฤษมีสถานีการค้าและอาณานิคม อยู่ทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา จนทําให้ได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

26. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความท้าทายของยุคโควิด
(1) กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
(2) การเมืองโลกผันผวน
(3) เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
(4) เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความท้าทายของยุคโควิด มีดังนี้
1. กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
2. การเมืองโลกผันผวน
3. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
4. เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฯลฯ

27.ผลงานที่มีชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” เป็นผลงาน
ของใครและถูกจัดกลุ่มอยู่ในทฤษฎีกลุ่มใด
(1) Hans Morgenthau – Realism
(2) Hans Morgenthau – Neo-Realism
(3) Robert Keohane – Liberalism
(4) Robert Keohane – Neo-Liberal Institutionalism
(5) K. J. Holsti – Neo-Realism
ตอบ 1 หน้า 11 ฮันส์ เจ. มอร์เกนซอ (Hans J. Morgenthau) นักทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของสํานัก สัจนิยม (Realism) เป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace”

28. ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์การระหว่างประเทศที่เกิดจากการผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้และความสนับสนุนด้านเทคนิคต่าง ๆ

29. ความร่วมมือและความขัดแย้งในสังคมระหว่างประเทศสามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมระหว่างประเทศ
มักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
(1) สันติภาพ
(2) เสรีภาพ
(3) เหตุผล
(4) อํานาจ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติ
ตอบ 5 หน้า 192 ในสังคมหรือการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศ มีต่อกันจะมี 2 ประเภท คือ ความร่วมมือ (Cooperation) และความขัดแย้ง (Conflict) ทั้งนี้สภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ๆ จะปรากฏออกมาในลักษณะใดมักจะขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นสําคัญ

30. สงครามประเภทใดจําเป็นต้องอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์
(1) สงครามตัวแทน
(2) สงครามกลางเมือง
(3) สงครามการทําลายล้างสูง
(4) สงครามกองโจร
(5) สงครามปิดล้อมทางทะเล
ตอบ 4 หน้า 22,104, 215 สงครามนอกรูปแบบหรือสงครามกองโจร คือ การสู้รบโดยการซุ่มโจมตี ฝ่ายตรงข้ามโดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ และพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างซึ่งหน้าการทําสงครามแบบนี้ไม่สามารถกําหนดสมรภูมิได้อย่างชัดเจน ผู้ปฏิบัติการในสงครามจะไม่ใส่เครื่องแบบทหาร แต่จะอําพรางตัวเพื่อการก่อวินาศกรรมต่อชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามโดยจุดมุ่งหมายในการทําลายมิได้จํากัดเฉพาะเป้าหมายที่มีความสําคัญทางการทหาร แต่อาจรวมถึงประชาชนของฝ่ายตรงข้ามด้วย ซึ่งวิธีการทําสงครามแบบนี้มักเป็นที่นิยมใช้กันใน ฝ่ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งขบวนการก่อการร้าย (Terrorists) ต่าง ๆ

31. วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใดไม่ได้มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐอิตาลี
(1) การถ่วงดุลอํานาจ
(2) การมีสถานทูตประจําการ
(3) หลักเหตุผลแห่งรัฐ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) บริษัทมหาชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐ อิตาลี ได้แก่ ระบบธนาคาร การถ่วงดุลอํานาจ การมีสถานทูตประจําการ หลักเหตุผลแห่งรัฐ บริษัทมหาชน เป็นต้น

32. สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกจํานวน
(1) 190
(2) 191
(3) 192
(4) 193
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกทั้งหมด 193 รัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็น สมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

33. เหตุการณ์ใดสะท้อนถึงแนวคิด Raison d’état ได้ดีที่สุด
(1) นิกายโปรเตสแตนต์และคาลแวงต่อต้านการผูกขาดอํานาจของพระสันตะปาปา
(2) ขุนนางโบฮีเมียที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ทําการปลดแฟร์ดีนันท์ที่ 2 ที่นับถือนิกายคาทอลิก ออกจากการเป็นกษัตริย์โบฮีเมีย และมอบมงกุฎให้กับฟรีดริชที่ 5 ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
(3) ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี
(4) อังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้มีผลผลิตมากขึ้น
(5) การประกาศหลักสิทธิพลเมืองและการปฏิวัติฝรั่งเศส
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ที่สะท้อนถึงแนวคิดหลักเหตุผลแห่งรัฐ (Raison d’état) คือ เหตุการณ์ ที่ฝรั่งเศสภายใต้การนําของคาร์ดินัลริเชอริเออร์ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13) ให้ความช่วยเหลือ ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี โดยมีเป้าหมายเพื่อทําให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีความอ่อนแอและจะได้ไม่กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อฝรั่งเศสในภายภาคหน้า

34. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศมีลักษณะคล้ายนโยบายภายในของรัฐ
(2) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเปรียบเสมือนเครื่องมือทางสันติและการใช้กําลัง
(4) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้มีที่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 212 – 216 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ แบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เครื่องมือทางสันติหรือเครื่องมือทางการทูต
2. เครื่องมือทางการใช้กําลังหรือเครื่องมือทางการทหาร

35. ข้อใดต่อไปนี้คือรูปแบบของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปรากฏชัดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2

(1) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีคิดเชิงสถาบันนิยมมากยิ่งขึ้น
(2) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
(3) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางปรัชญาการเมืองมากยิ่งขึ้น
(4) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการแบบอัตวิสัยเหนือกว่าวัตถุวิสัย
(5) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่หลีกเลี่ยงการตั้งสมมติฐานไว้ล่วงหน้าแต่อาศัยเหตุการณ์ในอดีตเป็นจุดตั้งต้นสําคัญ
ตอบ 2 หน้า 4 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้พยายามใช้ ระเบียบวิธีวิจัยแบบใหม่ที่มีลักษณะวัตถุวิสัย (Objective) คือ การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นกลางโดยไม่ใช้ความรู้สึกนึกคิดหรือค่านิยมของตนเองมาวิเคราะห์ หากแต่ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ ได้แก่ การตั้งสมมติฐาน และการทดลองตัวแปรต่าง ๆ ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นความพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

36. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) โปรตุเกส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

37. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของคําว่า “สังคมระหว่างประเทศ” ได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้ง
(2) เป็นพื้นที่ของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ
(3) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
(4) เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกันระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ
(5) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่เป็นรัฐเท่านั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สังคมระหว่างประเทศ เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ

38. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สภาวะอนาธิปไตย” ไม่ถูกต้อง
(1) เป็นคําที่ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Anarchy
(2) เป็นคําที่ใช้แบ่งการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศออกจากกันได้
(3) เป็นสภาวะของการที่มีตัวแสดงหนึ่งทําหน้าที่ในการดูแลปกป้องตัวแสดงอื่น
(4) เป็นสภาวะของการปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด
(5) เป็นสภาวะพื้นฐานของการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

39. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
(1) โรคระบาด
(2) สงคราม
(3) ภัยพิบัติ
(4) การทําสงคราม
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

40. สันนิบาตชาติ (League of Nations) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 1919
(2) ค.ศ. 1921
(3) ค.ศ. 1945
(4) ค.ศ. 1949
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ตามแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและสร้างสันติภาพของโลกบนพื้นฐานของ ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security)

41.ข้อใดเป็น Constitutive Norms ทั้งหมด
(1) Ius Gentium, Ius Naturale, Jus ad Bellum
(2) Divined Sovereignty, Popular Sovereignty, Dynastic Sovereignty
(3) Pacta Sunt Servanda, Clausula Rebus Sic Stantibus, Jus Cogens
(4) Animus Dominandi, Homo-Economicus, Sui Generis
(5) Cuius Regio, Eius Religio, Reservatum Ecclesiasticum, Declaratio Ferdinandei
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Constitutive Norms หรือเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกของสังคมที่ชอบธรรม มีดังนี้
1. Divined Sovereignty หรือการได้รับอาณัติมาจากพระเจ้า
2. Dynastic Sovereignty หรือการสืบสายเลือด
3. Popular Sovereignty หรือการได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน

42. กฎหมายระหว่างประเทศ คือ
(1) เครื่องมือในการธํารงไว้ซึ่งการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
(2) เครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) ตัวบทกฎหมายภายในที่นําไปบังคับใช้กับรัฐภายนอก
(4) ตัวบทกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 128 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวกําหนดควบคุมอํานาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐทั้งนี้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่เหมือนกับกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ (National Laws) เพราะว่าการได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติหรือ อํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ได้ลงนามเห็นชอบ โดยแต่ละรัฐ

43. สงครามที่มีชื่อเรียกว่า “สงครามสามสิบปี” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Treaty of Vienna
(2) Plaza Accord
(3) Treaty of Westminster
(4) Treaty of Versailles
(5) Treaty of Westphalia
ตอบ 5 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

44. รัฐประเภทใดถือครองทรัพยากรในสัดส่วนที่มากที่สุด
(1) มหาอํานาจขนาดใหญ่
(2) มหาอํานาจขนาดกลาง
(3) รัฐอาณานิคม
(4) รัฐอิสระ
(5) รัฐเล็ก
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้แบ่งประเภทของรัฐ ตามความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเห็นว่า ลักษณะของการเมืองระหว่างประเทศ จะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น

45. ประเทศใดเป็นพันธมิตรกับจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) เกาหลีใต้
(3) ญี่ปุ่น
(4) ไต้หวัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Attied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

46. ประเทศใดที่มีพันธมิตรมากที่สุดในภูมิภาค
(1) ลาว
(2) จีน
(3) ไทย
(4) กัมพูชา
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศมหาอํานาจและเป็นประเทศที่มีพันธมิตรมากที่สุด
ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

47. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของสงครามเย็น (Cold War)
(1) การสู้กันทางเศรษฐกิจ
(2) การใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน
(3) สงครามตัวแทน
(4) การให้ความช่วยเหลือประเทศที่ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต
ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

48. การอาศัยหลักการที่เรียกว่า “ดินแดนร่วม” (Common Land) เป็นคุณลักษณะสําคัญของรัฐแบบใด
(1) รัฐมหาอํานาจ
(2) รัฐชาติ
(3) รัฐชาติสมัยใหม่
(4) รัฐโบราณ
(5) รัฐอารยะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของ “รัฐโบราณ” คือ การมีดินแดนร่วม (Common Land) หรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในสมัยปัจจุบันหรือรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีการ แบ่งเขตแดนหรือปักปันเขตแดนระหว่างรัฐที่ชัดเจน ทําให้แต่ละรัฐมีดินแดนที่แน่นอน

49. องค์การอนามัยโลก มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WHO
(2) ICAO
(3) FAO
(4) WTO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

50. สงครามประเภทใดใช้อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction)
(1) สงครามเคมี
(2) สงครามเย็น
(3) สงครามตัวแทน
(4) สงครามโจมตีก่อน
(5) สงครามป้องกันตัวเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) คือ อาวุธ ที่สามารถสังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจํานวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลก อย่างมหาศาล โดยสงครามที่ใช้อาวุธประเภทนี้ ได้แก่ สงครามนิวเคลียร์ สงครามเคมี และสงครามชีวภาพ

51. ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับจีน
(1) ญี่ปุ่น
(2) ฟิลิปปินส์
(3) บรูไน
(4) เวียดนาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีปัญหาข้อพิพาทกับจีน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และบรูไน กรณีหมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) ในทะเลจีนใต้ และญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเซนกากุหรือหมู่เกาะเตียวหยู

52. จากนิยามที่ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐ

ที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ” เป็นนิยามของนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใด
(1) Karl W. Deutsch
(2) K. J. Holsti
(3) Michael G. Roskin and Nicholas O. Berry
(4) Charles W. Kegley, Jr. and Gregory
(5) จุฑาทิพ คล้ายทับทิม
ตอบ 1 หน้า 2 คาร์ล ดับเบิลยู คอยซ์ (Kart W. Deutsch) ได้ให้นิยามว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ”

53.Belt and Road Initiative (BRI) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกเ มทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง
เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศ ต่าง ๆ เพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

54. ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์
(1) ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง
(2) การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรู
(3) การถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบ
(4) การครอบครองพื้นที่ที่ได้เปรียบของฝ่ายตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์ คือ ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง (Second Strike Capability)ไม่ใช่การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรูหรือการถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน

55. ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) ประเทศโลกที่ 2 หมายถึงสิ่งใด
(1) ประชาธิปไตยทุนนิยม
(2) ประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Allied Movement)
(3) ยูเครน
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ประเทศกําลังพัฒนา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) แบ่งประเทศต่าง ๆ ในโลกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ประเทศโลกที่ 1 หมายถึง สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

2. ประเทศโลกที่ 2 หมายถึง สหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ซึ่งมีการปกครองระบอบ คอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น โปแลนด์ ฮังการี ยูเครน เป็นต้น

3. ประเทศโลกที่ 3 หมายถึง ประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งไม่มีระบอบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจเป็นของตนเอง แต่พยายามนําระบอบการปกครองและระบบเศรษฐกิจ ของประเทศโลกที่ 1 และประเทศโลกที่ 2 มาปรับใช้ เช่น ไทย กัมพูชา อินเดีย เป็นต้น

56. นักวิชาการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใดที่เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
(1) Hans Morgenthau
(2) E. H. Carr
(3) Karl Polanyi
(4) Karl Popper
(5) Robert Gilpin
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต ศิลปิน (Robert Gitpin) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาวอเมริกัน เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”

57. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) มีสมาชิกจํานวนเท่าไหร่
(1) 5 ประเทศ
(2) 7 ประเทศ
(3) 13 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) 15 ประเทศ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) คือ ความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่

ที่สุดในโลก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และ กัมพูชา และประเทศคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

58. หมู่เกาะใดที่มีปัญหาในทะเลจีนใต้
(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์
(2) หมู่เกาะพาราเซล
(3) หมู่เกาะฮาวาย
(4) หมู่เกาะสุรินทร์
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติจํานวน มหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาทหรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบ โดยหมู่เกาะที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิในการครอบครอง มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

59. หลักการสําคัญของ Peace of Westphalia ค.ศ. 1648 คืออะไร
(1) Ius Gentium
(2) Pacta Sunt Servanda
(3) Clausula Rebus Sic Stantibus
(4) Cuius Regio, Eius Religio
(5) Jus in Bello
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 ได้นําหลักการ Cuius Regio, Eius Religio มาใช้ปฏิบัติได้จริงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหลักการ สําคัญที่ทําให้เกิดอธิปไตยของรัฐ หรือการไม่แทรกแซงการเมืองภายในระหว่างกันของรัฐ ทั้งนี้หลักการ Cuius Regio, Eius Religio ได้ถูกนํามาใช้ครั้งแรกภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพ ออกสเบิร์ก (Peace of Augsburg) แต่ไม่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง

60.ตําแหน่งเลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติ จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

61. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FUND
(2) IMF
(3) WTO
(4) AIIB
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 172, 222, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือ ทางการเงินระหว่างประเทศ โดยเริ่มเปิดดําเนินการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 มีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 190 ประเทศ

62. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) UNICEF
(2) UNESCO
(3) UNHCR
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

63. สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีจํานวนกี่ประเทศ
(1) 3 ประเทศ
(2) 4 ประเทศ
(3) 5 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

64. ตัวแสดงในข้อใดต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับ “สงครามนอกรูปแบบ” (Non-Conventional Warfare)
มากที่สุด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

65. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ต้องประกอบไปด้วยรัฐมากกว่าหนึ่ง
(2) เพื่อเตรียมพร้อมในการทําสงครามครั้งต่อไป
(3) ตระหนักถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากผลประโยชน์ของรัฐ
(4) ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
(5) ตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 159, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ซึ่งลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
4. ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. ต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
6. ต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์การเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

66. ความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจ อวกาศ ถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 5 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน การพัฒนาความรู้ การวิจัยค้นคว้า และการสร้างสรรค์ นวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและอินเดียในการพัฒนาเซลล์ แสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน ความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจอวกาศ การจัดแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก การจัดสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

67. บุคคลที่มีส่วนสําคัญผลักดันให้มีการก่อตั้งสันนิบาตชาติ คือ
(1) ไกเซอร์ วิลเลี่ยม
(2) วูดโรว์ วิลสัน
(3) นโปเลียน
(4) เหมาเจ๋อตุง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

68.องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FAO
(2) ITU
(3) IMF
(4) ILO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

69. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) ความสัมพันธ์อาจมีความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็เป็นได้
(2) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน
(3) ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นทางการเท่านั้นและไม่นับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
(4) การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนับเป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 4 – 5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ข้ามพรมแดนของรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

70. “การสร้างเกียรติภูมิของชาติ” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Self-Preservation
(2) Security
(3) Prestige
(4) Well-Being
(5) Power
ตอบ 3หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ (Self-Preservation)
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ (Security)
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ (Well-Being)
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ (Prestige)
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ (Ideology)
6.การแสวงหาอํานาจ (Power)

71. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest)
(1) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสิ่งที่นําไปสู่ความขัดแย้งเท่านั้น
(2) อุดมการณ์และความเชื่อถือเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์แห่งชาติ
(3) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กําหนดนโยบายการต่างประเทศได้
(4) ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติมีทั้งส่วนที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่แท้จริงและผลประโยชน์แห่งชาติลําดับรอง
ตอบ 1 หน้า 192 ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นปัจจัยสําคัญที่จะกําหนดลักษณะ ความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งอาจปรากฏออกมาในลักษณะของ ความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศก็ได้ กล่าวคือ ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐ เข้ากันได้หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความร่วมมือกัน แต่ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐขัดแย้งกันหรือไม่อาจปรับเข้าหากันได้ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความขัดแย้งกัน (ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ)

72. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “Royal Dutch Shell” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

73. จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด
(1) หนองคาย
(2) เชียงราย
(3) เชียงใหม่
(4) นครพนม
(5) อุบลราชธานี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย
ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan Asia Railway
Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

74. ดินแดนที่เรียกว่า “เขตปกครองพิเศษฮ่องกง” ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) เป็น เนื่องจากฮ่องกงนับเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีอิสระในการกําหนดนโยบายของตนเอง
(2) เป็น เพราะฮ่องกงมีรัฐบาลเป็นของตนเอง
(3) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
(4) ไม่เป็น เพราะประชากรของฮ่องกงทุกคนคือคนจีน
(5) ไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนในเรื่องสถานะของฮ่องกง
ตอบ 3 หน้า 20 – 21, (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ทั้งนี้การที่จะเรียกว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดน (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ดังนั้น “เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง” ไม่ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ เพราะฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง

75. บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติข้อใดเป็นสําคัญ
(1) มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
(2) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ
(3) มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
(4) มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
2. มีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี
3. มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
4. มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก ฯลฯ

76. ในการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศมีต่อกันมีกี่ประเภท และแบบไหนบ้าง
(1) 3 ประเภท การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ
(2) 2 ประเภท ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ
(3) 2 ประเภท สงครามร้อน สงครามเย็น
(4) 2 ประเภท ทวิภาคี พหุภาคี
(5) 5 ประเภท สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

77. ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3(คําบรรยาย)ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

78. เหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
(2) การประกาศยุบสภาในประเทศไทย
(3) การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
(5) การสอบปลายภาค S/63 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ออสเตรเลียได้จัดการเลือกตั้งระดับ
สหพันธรัฐ ซึ่งการเลือกตั้งนี้พรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาจะได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีหัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคแรงงานได้รับชัยชนะมีที่นั่งในสภา มากที่สุดจึงได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายแอนโทนี อัลบานีส (Anthony Albanese) หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี

79. ข้อใดต่อไปนี้คือผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา
(1) Withdrawal Symptom
(2) The Network Monarchy
(3) The Siamese Revolution
(4) Siam Mapped
(5) A History of Thailand
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล คือ Siam Mapped หรือกําเนิดสยาม จากแผนที่ (ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา อดีตเป็น ผู้นํานักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปัจจุบันดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ ประจําภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัย วิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา)

80. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่จุดประสงค์ของสหประชาชาติ
(1) เตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นเอกราชให้กับอาณานิคม
(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
(4) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
(5) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง
ตอบ 1 หน้า 141 – 142, 165 – 166 จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้
1. ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
3. พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
4. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

81. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political
Realism” ในสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 11 แนวอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political Realism” ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาแนวนี้ ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของรัฐในการควบคุมพฤติกรรมของ รัฐอื่น โดยมีความเชื่อว่าอํานาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

82. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
(1) เกาหลีเหนือ
(2) ซีเรีย
(3) ยูเครน
(4) ไต้หวัน
(5) อิหร่าน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

83. เหตุการณ์ใดที่จัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศ
และศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ
(1) สงครามครูเสด
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามโลกครั้งที่ 2
(5) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นสงครามที่ทําให้ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจํานวนมาก และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างมหาศาล ดังนั้นสงครามนี้จึงจัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศและศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ ทั้งนี้เพราะผลจากสงครามได้สร้างความพินาศและหายนะ อันใหญ่หลวงแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมสงคราม

84. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม
(1) องค์การนิรโทษกรรมสากล
(2) AIIB
(3) ADB
(4) GMS
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

85. การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WTO
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

86. ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นขององค์การใด
(1) WHO
(2) ICOMOS
(3) IUCN
(4) IMF
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นจาก 2 องค์การ คือ
1. สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites : ICOMOS)
2. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN)

87. จักรวรรดิในข้อใดจัดว่าเป็น Ius Gentium ทั้งหมด
(1) จักรวรรดิจีน จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิมองโกล
(2) จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส
(3) จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิสเปน จักรวรรดิโปรตุเกส
(4) จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิมาซิโดเนีย จักรวรรดิเอเธนส์
(5) ทุกจักรวรรดิล้วนแล้วแต่เป็น Ius Gentium
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Ius Gentium คือ การส่งทหาร ตั้งป้อมปราการ และปกครองดินแดน ที่อยู่ใต้อิทธิพลโดยตรง ซึ่งเป็นลักษณะของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิ ฝรั่งเศส ซึ่งแตกต่างจากจักรวรรดิจีนและจักรวรรดิเปอร์เซียที่ดินแดนที่อยู่ใต้อิทธิพลต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เพื่อแสดงถึงความสวามิภักดิ์

88. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ” (IMF) จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. และ 17. ประกอบ

89. “สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางอํานาจ” เป็นลักษณะสําคัญของสังคมระหว่างประเทศข้อใด
(1) อนาธิปไตย
(2) ความไม่เท่าเทียมกัน
(3) การเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง
(4) จํานวนสมาชิกรัฐมีจํานวนตายตัว
(5) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

90. สานักงานใหญ่ขององค์การใดที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
(1) WHO
(2) IMF
(3) ILO
(4) WIPO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. ฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการใช้กําลังของรัสเซียเพื่อโจมตียูเครน คือ
(1) เหยี่ยว
(2) นกอินทรี
(3) นกเขา
(4) นกพิราบ
(5) นกนางนวล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรณีการทําสงครามระหว่างรัฐเซียกับยูเครนนั้น แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายเหยี่ยว (Hawks) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้รัสเซียใช้กําลังโจมตียูเครน
2. ฝ่ายนกพิราบ (Doves) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการทางการทูตในการสงบศึกระหว่าง รัสเซียกับยูเครน

92. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค
(1) ASEAN
(2) BRI
(3) UN
(4) FAO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

93. ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องอะไร
(1) มรดก
(2) การผูกขาด
(3) ประชาธิปไตย
(4) การกระทําที่นอกรีต
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องของมรดกและทรัพย์สมบัติ

94. สมมติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่า ในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด
(1) แนวคิดสากลนิยม
(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม
(3) แนวคิดศาสนานิยม
(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม
(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมติฐานที่ว่า การป้องกัน ตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับ สากล ด้วยข้อสมมติฐานนี้เองพวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบ การป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัยเนื่องจากเมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ

95. คําว่า “เขตเศรษฐกิจจําเพาะ” (Exclusive Economic Zone) มีความสอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใด
ต่อไปนี้มากที่สุด
(1) พื้นดิน
(2) พื้นน้ำ
(3) ห้วงอากาศ
(4) ทิวเขา
(5) รัฐที่ไม่มีชายฝั่งทะเล
ตอบ 2 หน้า 20 – 21 อาณาเขตดินแดน (Territory) ของรัฐ หมายถึง บริเวณซึ่งอยู่ใต้อธิปไตย ของรัฐ ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอนและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ประกอบด้วย
1. พื้นดิน หรือเขตแดนทางบก ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยอาศัยความตกลงกัน โดยอาจใช้ทิวเขา สันปันน้ำ ชะง่อนผา แนวกึ่งกลางแม่น้ำหรือแนวกึ่งกลางร่องน้ำลึก
2. พื้นน้ำ ได้แก่ น่านน้ําภายใน ทะเลอาณาเขต ผิวท้องทะเล สิ่งที่อยู่ใต้ผิวท้องทะเล และเขตเศรษฐกิจจําเพาะ
3. ห้วงอากาศ คือ ท้องฟ้า หรือขอบเขตของท้องฟ้าเหนือพื้นดิน

96. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับการทํานายปรากฏการณ์ การวัด การทดลอง
การสร้างทฤษฎี หรือการสร้างแบบจําลอง การศึกษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น

97. ข้อใดต่อไปนี้อยู่ในฐานะทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
(1) ศาลโลก
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 156, 169 ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ มีดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
2. องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
4. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
5. สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU)
6. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
7. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ฯลฯ

98. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐบนเวทีโลก
(1) อิตาลี
(2) องค์การระหว่างประเทศในภาคประชาสังคม
(3) บรรษัทข้ามชาติ
(4) สิงคโปร์
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

99. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงกระบวนการโลกาภิวัตน์
(1) รัฐอธิปไตยถูกท้าทาย
(2) การเพิ่มบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ
(3) การแพร่สะพัดของทุนนิยม
(4) การอยู่อาศัยในหมู่บ้านโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ สภาวะโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นผลมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้เสมือนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันหรือที่เรียกว่า“หมู่บ้านโลก” (Global Village)

100. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงเหตุผลในการศึกษา “กฎหมายระหว่างประเทศ” “องค์การระหว่างประเทศ” และ “การทูต” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
(1) เพราะสามารถใช้ในการทําความเข้าใจสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้ดีที่สุด
(2) เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้
(3) เพราะเป็นคุณสมบัติของนักการทูตทุกคน
(4) เพราะเป็นเนื้อหาหลักที่ปรากฏอยู่ในตําราเรียน
(5) เพราะใช้ในการทําความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) องค์การระหว่าง ประเทศ (International Organization) และการทูต (Diplomacy) ถือว่าเป็นสิ่งสําคัญ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้

 

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
(1) เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อป้อมปรามคดีอาญาระหว่างกัน
(2) สนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(3) การลงโทษผู้กระทําผิดทางอาญาแล้วหลบหนีไปรัฐอื่น
(4) การลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้
(5) กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐหนึ่งตกลงยอมรับการพิจารณาโทษของศาลส่วนอาญาของอีกรัฐ
ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ รัฐหนึ่งตกลงยอมให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันปราบปรามการกระทําความผิดทางอาญาซึ่งในบางครั้งได้กระทําในต่างแดนหรือผู้กระทําได้หลบหนีไปรัฐอื่น ฉะนั้น เพื่อป้องกันปราบปรามคดีอาญาดังกล่าวรัฐต่าง ๆ จะต้องทําสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อสะดวกในการนําผู้กระทําผิดมาลงโทษตามความผิดนั้น ๆ

2. ในสมัยล่าอาณานิคม การที่สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส นับเป็นการดําเนิน
นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาหน้า
(2) นโยบายตีสองหน้า
(3) นโยบายรักษาความเป็นมิตร
(4) นโยบายแห่งการเอาใจ
(5) นโยบายรักษาดุลอํานาจ
ตอบ 4 หน้า 85, 216 – 217 นโยบายแห่งการเอาใจหรือนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมาย ของนโยบายดําเนินการอันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการด้วยความหวังว่า รัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจและยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษยอมให้เยอรมนีครอบครองดินแดนซูเดเทนของเซโกสโลวาเกีย ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์เลน การที่สยาม (ไทย) ยอมเสียดินแดนบางส่วน ให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยล่าอาณานิคม เป็นต้น

3. ชาติใดไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) อิตาลี
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ฝรั่งเศส
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

4. หลักบรรทัดฐานของระบอบการค้าระหว่างประเทศคือข้อใด
(1) สัจนิยม
(2) การค้าเป็นธรรม
(3) สังคมนิยม
(4) เศรษฐกิจเสรีนิยม
(5) โครงสร้างนิยม
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) หลักบรรทัดฐานสําคัญของระบอบการค้าระหว่างประเทศ คือ เศรษฐกิจเสรีนิยมทางการค้าหรือระบบตลาดเสรี ซึ่งเชื่อว่าการค้าเสรีดีกว่าการค้าแบบควบคุม สามารถสร้างประโยชน์และสวัสดิการสาธารณะให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นอีกด้วย

5.การขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างประเทศมักเกิดได้จาก
(1) ความหวาดระแวง
(2) การไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน
(3) การกีดกันทางการค้า
(4) การเอารัดเอาเปรียบ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) การขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ถือเป็นมูลเหตุสําคัญ ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้ง ในผลประโยชน์อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน ความหวาดระแวงกันการเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งผลประโยชน์กัน การกีดกันทางการค้า เป็นต้น

6. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) ความเห็นนักนิติศาสตร์
(2) เอกสารระหว่างประเทศ
(3) คําวินิจฉัยของศาล
(4) ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ
(5) ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) แหล่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ เอกสารระหว่างประเทศ (ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศ) และคําพิพากษาหรือ คําวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
2. ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป และความเห็นของนักนิติศาสตร์

7. ระบอบระหว่างประเทศไม่ครอบคลุมประเด็นเรื่องใด
(1) พฤติกรรม
(2) ความเป็นทางการ
(3) เวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล
(4) บรรทัดฐาน
(5) ลดความหวาดระแวง
ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่ายทั้งที่ เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งประโยชน์ของระบอบระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เป็นเวทีเจรจาและสร้างแบบแผนสําหรับอนาคต
2. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐ ทําให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของรัฐสมาชิก และช่วยลดความหวาดระแวงได้
4. ช่วยลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ

8.ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล
(1) จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง
(2) รัฐนั้นจะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกัน
(3) มีการสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
(4) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
(5) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 159 – 160 ลักษณะและโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็น หน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ
4. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
5. รัฐสมาชิกต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
6. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ
และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
7. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ฯลฯ

9.องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร
(1) สถาบันที่สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช
(2) เวทีที่รัฐต้องการแสวงหาสันติภาพ และความมั่นคงร่วมกัน
(3) รัฐมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างหลวม ๆ
(4) เวทีสําหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์
(5) สถาบันที่รัฐตั้งแต่สองรัฐจัดตั้งขึ้นมา
ตอบ 5 หน้า 159 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการ ด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร
2. องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

10. ข้อตกลงใดมีสาระสําคัญคือ ประเทศสัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน
การรุกรานจากฝ่ายอักษะ
(1) ปฏิญญาสหประชาชาติ
(2) ข้อตกลงยัลต้า
(3) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(4) กฎบัตรแอตแลนติก
(5) ปฏิญญามอสโคว์
ตอบ 3 หน้า 164 ในปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร (Inter-Allied Declaration) ได้กําหนด สาระสําคัญไว้ว่า ประเทศ สัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน การรุกรานจากฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจและสังคม

11. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป
(1) ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป
(2) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส
(4) ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป
(5) วิกฤติการเงินยูโรโซน
ตอบ 3 หน้า 178 – 179, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญา มาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ซึ่งเป็นการรวม 3 ประชาคม เข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่ง ยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ส่วน “วิกฤติการณ์ยูโรโซน” นั้น เป็นปัญหาวิกฤติ ทางด้านการเงินและหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นกับสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อฐานะเศรษฐกิจการคลัง ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเป็นอย่างมาก

12. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
(1) ความต้องการทรัพยากรที่จํากัด
(2) การส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยมเข้มข้น
(3) การแย่งชิงหมู่เกาะกลางมหาสมุท
(4) ความยึดมั่นในคําสัญญาของมหาอํานาจ
(5) ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 4หน้า 31, 97, (คําบรรยาย) สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. การแข่งขันเป็นมรดกของรัฐ
2. ความมั่นคงที่สมบูรณ์ไม่มีอยู่จริงในโลก
3. ความต้องการผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งได้แก่ ความต้องการเพิ่มเกียรติยศของรัฐ ความต้องการขยายอํานาจของรัฐ ความต้องการส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ และ ความต้องการดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัตถุดิบของรัฐ
4. ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มทุน

13. เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) ประเทศใดนํามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) จีน
(2) อิตาลี
(3) ญี่ปุ่น
(4) เยอรมนี
(5) โซเวียต
ตอบ 4 หน้า 65 เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาที่เยอรมนีนํามาใช้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทําให้ชาวเยอรมันอุทิศตนเพื่อชาติ เครื่องหมายนี้ปรากฏทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ในห้องเรียน บนฝาผนัง และในที่สุดได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ ความเชื่อทางศาสนา

14. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นด้านใด
(1) สังคม
(2) กฎหมาย
(3) เศรษฐกิจ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 5 – 6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

15. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีไม่ได้ถูกยึดครองโดยชาติใด
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) สหภาพโซเวียต
(4) ฝรั่งเศส
(5) อิตาลี
ตอบ 5 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

16. “นิโคโล มาเคียเวลลี” กล่าวถึงพื้นฐานสําคัญของทุกรัฐที่ต้องมีก่อนสิ่งอื่นใด คือ
(1) ระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
(2) พระสงฆ์ผู้ทรงธรรม
(3) กองทัพที่เข้มแข็ง
(4) ระบบรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง
(5) ผู้ปกครองที่มีความสามารถและศีลธรรม
ตอบ 3 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicoto Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

17. ธนาคารใดจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI)
(1) BRIB
(2) ADIB
(3) BRDB
(4) AIDB
(5) AIIB
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศต่าง ๆเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

18. เครื่องมือใดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ควรใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด
(1) เครื่องมือทางการเมือง
(2) เครื่องมือทางการทูต
(3) เครื่องมือทางเศรษฐกิจ
(4) เครื่องมือทางการทหาร
(5) เครื่องมือทางจิตวิทยา
ตอบ 4 หน้า 43 เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ โดยทั่วไปมักใช้เมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

19. การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุมการผลิตน้ํามันนับเป็นการนําเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายใด
(1) จุดมุ่งหมายทางการทหาร
(2) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร
(3) จุดมุ่งหมายในการลงโทษ
(4) จุดมุ่งหมายทางการเมือง
(5) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 50 จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร เป็นจุดมุ่งหมายที่ส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ นั่นคือ การนําเอาเศรษฐกิจมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าควบคุมดินแดนสําคัญที่มีวัตถุดิบที่มีความจําเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เช่น การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุม การผลิตน้ํามัน เป็นต้น

20. ประเทศใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565
(1) สิงคโปร์
(2) ไทย
(3) นิวซีแลนด์
(4) มาเลเซีย
(5) เวียดนาม
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค: (APEC) ในปี 2565 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศไทย หลังจาก
ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 2546 โดยหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open, Connect, Balance”

21. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบอยคอต (Boycott)
คือการใช้วิธีการใด
(1) การงดส่งสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทออกไปขาย
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู
(4) การตั้งกําแพงภาษี
(5) การห้ามนําสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทเข้ามาขาย
ตอบ 5 หน้า 53 การกีดกันทางการค้าหรือการบอยคอต (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้า บางประเภทหรือทั้งหมดจากประเทศที่รัฐบาลมุ่งตอบโต้หรือต้องการให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางประการเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ได้ทําการค้าโดยตรงกับประเทศที่ถูกกีดกัน ทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้าหากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

22. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลตอบแทนต่ํามีนัยถึงข้อใด
(1) ร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
(2) ไม่มีกรอบข้อตกลง
(3) ร่วมมือกันเพียงเรื่องเดียว
(4) ร่วมมือกันน้อยประเทศ
(5) ต้นทุนต่ำ
ตอบ 5 หน้า 121 ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนให้การดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ
ตามกรอบข้อตกลงหรือกติกาของสนธิสัญญาเป็นไปได้ด้วยดีและมีความยั่งยืน คือ ความร่วมมือ ระหว่างประเทศนั้นต้องมีผลตอบแทนต่ำ ทั้งนี้เพราะผลตอบแทนต่ําสะท้อนถึงต้นทุนต่ำ ทําให้แต่ละประเทศสามารถตัดสินใจดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบข้อตกลงได้ไม่ยาก

23. นักการทูตที่ไปสืบหาข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ อาจถูกกล่าวหาว่าทําการจารกรรมและจะทําให้นักการทูตผู้นั้นมีสถานะเป็นอะไร
(1) บุคคลที่ไม่ชอบธรรม
(2) บุคคลที่น่าละอาย
(3) บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา
(4) บุคคลที่ควรถูกประจาน
(5) บุคคลผู้เป็นภัยคุกคาม
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 นักการทูตมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ท่าที ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่สถานทูตไปตั้งอยู่แล้วรายงานต่อรัฐบาลของตน ซึ่งมีบ่อยครั้ง ที่นักการทูตจะต้องสืบเสาะหาข้อมูลโดยใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องตามครรลองหรือขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ จึงทําให้นักการทูตผู้นั้นถูกกล่าวหาว่าทําจารกรรม และต้องกลายเป็น “บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา” (Persona Non Grata)

24. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศมีองค์การใดดูแล
(1) WTO
(2) World Bank
(3) UNDP
(4) IMF
(5) UNESCO
ตอบ 1 หน้า 122, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO)
2. ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. ระบอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมีองค์การที่ดูแลคือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
4. ระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26)

25. รัฐขนาดเล็กขาดอิสระในทางการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากเหตุผลข้อใด
(1) ความเสียเปรียบทางการทหาร
(2) นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
(3) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
(4) อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้รัฐขนาดกลางและรัฐขนาดเล็กขาดอิสระในการดําเนิน กิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
2. นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
3. ความเสียเปรียบทางการทหาร (ขนาดของกองทัพ)
4. อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ

26. ข้อใดเป็นผลจากการเกิดการปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)
(1) ยุคมืด
(2) ระบบศักดินา
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) สงครามครูเสด
(5) มีการแยกนิกายจากคาทอลิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1517 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา ซึ่งผลจากการปฏิรูปทําให้เกิดการแยกนิกายจากคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์

27. ชาติใดเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) เซอร์เบีย
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) ออตโตมาน
(5) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

28. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน
(1) มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร
(2) มีอํานาจในการสั่งการต่อรัฐสมาชิก
(3) ตั้งขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
(4) เป็นความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(5) รัฐสมาชิกต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและเสมอภาคต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

29. ประเทศใดไม่ได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC)
(1) ลาว
(2) เวียดนาม
(3) กัมพูชา
(4) มาเลเซีย
(5) พม่า
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation : LMC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2016 มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา (พม่า) เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา อนุภาคลุ่มน้ําโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ําด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภาค ลุ่มน้ําโขง และระหว่างอนุภาคลุ่มน้ําโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม

30. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ค.ศ. 1929 – 1933
(2) ควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(3) Bretton Woods Conference
(4) ป้องกันการลดค่าเงิน
(5) เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประเทศด้อยพัฒนา
ตอบ 5 หน้า 173, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถือกําเนิดขึ้นมาจากปัญหา ทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในช่วงปี ค.ศ. 1920 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นําไปสู่ภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ําทั่วโลก (Great Depression) ในระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1933 และการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือการประชุมเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Conference) ที่จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ณ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศประการหนึ่งก็คือ การสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน

31. หน่วยงานใดไม่ได้อยู่ในระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน
(1) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
(2) คณะมนตรีความมั่นคง
(3) สํานักเลขาธิการ
(4) สมัชชาใหญ่
(5) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) ระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน ประกอบด้วย สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ และสํานักงานเลขาธิการ ส่วนคณะมนตรีภาวะทรัสตีซึ่งทําหน้าที่ดูแลดินแดน ที่ยังไม่ได้รับเอกราชนั้น ปัจจุบันได้หยุดการปฏิบัติงานแล้วแต่อาจจะมีการพบปะประชุมกัน ตามโอกาสที่เห็นจําเป็น

32. วิกฤติการณ์คิวบาเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
(2) สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น
(3) คิวบากับสหภาพโซเวียต
(4) คิวบากับเม็กซิโก
(5) คิวบากับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 1หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบาทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

33. การใช้กําลังทหารของสหรัฐอเมริกาไม่อาจทําให้เป็นผู้ชนะในสงครามใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามอ่าวเปอร์เซีย
(3) สงครามเวียดนาม
(4) สงครามโคโซโว
(5) สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 หน้า 45 – 46 อํานาจทางการทหารเป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ต่างแสวงหาหรือสะสมเพื่อดํารงสถานะของตนไว้ในเวทีระหว่างประเทศ แต่การมีอํานาจทางการทหารมากมิได้หมายความว่าเวลาเกิดสงครามจะสามารถเอาชนะประเทศที่มีอํานาจทางการทหารน้อยกว่าได้เสมอไป เช่น กรณีสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกามีอํานาจทางการทหารมากกว่าเวียดนาม แต่ไม่สามารถ เอาชนะเวียดนามได้ เป็นต้น

34. การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) นํามาใช้ในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
(2) จีนกับสหรัฐอเมริกา
(3) จีนกับสหภาพโซเวียต
(4) จีนกับญี่ปุ่น
(5) สหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 89 การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

35. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในยามสันติ
(1) การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ
(2) การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า
(3) การกว้านซื้อสินค้า
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) กําแพงภาษี
ตอบ 3 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้า การงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกัน ทางธุรกิจระหว่างประเทศ การตกลงเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างรัฐบาล การตกลง แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การจ่ายเงินอุดหนุน การกําหนด ราคาสินค้าโดยรัฐบาล

2. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อ ผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม ได้แก่ นโยบายทางการค้า การกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

36. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
(1) ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
(2) ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
(3) สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย
(4) ต่อต้านกีดกันไม่คบค้าซื้อขายอาวุธกับชาติอาหรับใด ๆ
(5) กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) บทบาทของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
2. ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
3. ตัดสินใจขายอาวุธให้กับชาติอาหรับ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจอร์แดน
4. กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
5. สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย

37. ข้อใดเป็นหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(2) ให้การประกันแก่นักลงทุนต่างชาติ
(3) ป้องกันการลดค่าเงิน
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) วางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน
ตอบ 3 หน้า 173, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ
2. เพื่ออํานวยความสะดวกให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุล
3. เพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมเงินไปแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของการเงินภายในประเทศ
4. เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกในการปรับปรุงฐานะดุลการชําระเงิน ให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ เช่น การตั้งข้อจํากัดทางการค้าและการชําระเงิน
5. เพื่อสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน
6. เพื่อลดการขาดดุลชําระเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ)

38. การที่ผลตอบแทนของความร่วมมือระหว่างประเทศต่ำสะท้อนข้อเท็จจริงข้อใด
(1) สมาชิกน้อย
(2) ต้นทุนต่ำ
(3) สมาชิกมาก
(4) ต้นทุนสูง
(5) ผลตอบแทนสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

39. อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด
(1) บุคลิกลักษณะของผู้นํา
(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(3) ขนาดกองทัพและขีดความสามารถในการรบ
(4) ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุทรัพยากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 211, (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ขนาดกองทัพและขีดความสามารถ ในการรบ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น 2. อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆ ขวัญและ วินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

40. “รัฐขั้นแรก” ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด
(1) รัฐที่เริ่มมีอุตสาหกรรมพื้นฐาน
(2) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
(3) รัฐที่ผู้นําไม่มีความรู้ความชํานาญในงาน
(4) รัฐที่เน้นผลิตผลทางเกษตรกรรม
(5) รัฐที่มีอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศอยู่บ้าง
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้
ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว
ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

41. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้
ในยามสงคราม
(1) กําแพงภาษี
(2) การกีดกันทางการค้า
(3) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(4) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(5) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

42. ข้อใดไม่สะท้อนถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(1) การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
(2) การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี
(3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างชาติ
(4) การให้เงินอุดหนุน “ชิมช้อปใช้
(5) การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างมาตรการและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค การส่งเสริมการท่องเที่ยว จากต่างชาติ การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี ฯลฯ

43. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ควรให้มีรัฐเข้ามาร่วมมือกันให้มากที่สุด
(2) ผลตอบแทนต้องเท่าเทียมกันเสมอ
(3) ผลตอบแทนไม่ต้องสูงก็ได้
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) ความร่วมมือระหว่างประเทศ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความร่วมมือที่ดําเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมกันนั้นจะเป็นไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ
มีจํานวนประเทศน้อย
2. จํานวนประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันนั้นไม่สามารถกําหนดจํานวนได้แน่นอนว่าควรจะเป็น เท่าใด ขึ้นอยู่กับสภาพหรือธรรมชาติของปัญหาของความร่วมมือนั้น
3. หากประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันมีจํานวนมาก ความร่วมมือจะยังคงอยู่ต่อไปได้ก็ต่อเมื่อ ผลตอบแทนจากความร่วมมือนั้นต่ำ เพราะผลตอบแทนต่ำสะท้อนถึงต้นทุนที่ต่ำ
4. ความร่วมมือควรนําไปสู่การที่ทุกประเทศได้ผลตอบแทน แต่ไม่จําเป็นว่าทุกประเทศ จะต้องได้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมกันเสมอไป และผลตอบแทนไม่จําเป็นต้องสูง ฯลฯ

44. ในยุคสงครามเย็นสหรัฐกับจีนกระชับความสัมพันธ์กันผ่านการทูตทางกีฬาประเภทใด
(1) บาสเกตบอล
(2) ยิมนาสติก
(3) ปิงปอง
(4) แบดมินตัน
(5) วอลเลย์บอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

45. การศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเชื่อว่าเป็นการอธิบายกรณีใด
(1) การค้าสําเภา
(2) สงครามระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา
(3) การขยายอํานาจทางทะเลของเอเธนส์
(5) การขยายอํานาจของเปอร์เซีย
(4) ระบบบรรณาการจีน
ตอบ 2 หน้า 76 – 77 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเป็นการอธิบายกรณีสงคราม ระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา หรือเรียกว่า สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponesian) ซึ่งเกิดขึ้น ในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล โดยชูซิดิดิส (Thucydides) นักปรัชญา กรีกโบราณ ได้อธิบายถึงสาเหตุของสงครามว่าเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์ และสปาตาร์ ซึ่งสปาตาร์หวาดระแวงว่าในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และเอเธนส์จะเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้สปาตาร์พ่ายแพ้ ดังนั้นสปาตาร์จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นสปาตาร์จึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน

46. ปัจจัยใดมีส่วนทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
(1) การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน
(2) การถอนกําลังทหารของมหาอํานาจจากภูมิภาค
(3) การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกา
(4) การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และปัจจุบันก็ยังไม่ยุติ โดยปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มีหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ความต้องการทรัพยากรน้ํามัน การตั้งถิ่นฐาน ของกลุ่มไซออนส์ การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา การถอนกําลังทหารของสหรัฐอเมริกาจาก ภูมิภาค การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้กับชาติอาหรับ เป็นต้น

47. ชาติใดที่กลายเป็นมหาอํานาจโลกได้ชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
(5) เยอรมนี
ตอบ 1 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นการเปลี่ยนแปลง ระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจโลกเป็นชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

48. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของนักการทูต
(1) การมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย
(2) การเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศที่สถานทูตไปตั้งอยู่
(3) การรวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
(4) การให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
(5) การเป็นตัวแทนของประเทศ
ตอบ 2 หน้า 67 – 72 บทบาทและหน้าที่ของนักการทูต มีดังนี้
1. ให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
2. เป็นตัวแทนของประเทศ
3. รวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
4. มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย

49. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลาง (Heartland) เป็นการศึกษา
แนวทางใด
(1) พฤติกรรม
(2) นโยบาย
(3) ภูมิรัฐศาสตร์
(4) อํานาจ
(5) จิตวิทยา
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Halford Mackinder) ที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลางทวีป (Heartland) โดยเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมยุโรปตะวันออกผู้นั้นครองดินแดนใจกลางทวีป ผู้ใดควบคุมดินแดนใจกลางทวีปผู้นั้นครองเกาะโลก ผู้ใดควบคุมเกาะโลกผู้นั้นครองโลก”

50. แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากที่ใด
(1) เงินตราต่างประเทศที่ผูกไว้กับทองคํา
(2) กู้ยืมจากประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) กําไรจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(5) การชําระเงินค่าโควตาของสมาชิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากการชําระเงิน ค่าโควตาของประเทศสมาชิก ดังนั้นความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงกําหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก

51. ข้อตกลงใดลงนามเพื่อรับรู้ความจําเป็นในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาค
ระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(3) ปฏิญญามอสโคว์
(4) ข้อตกลงยัลต้า
(5) ปฏิญญาสหประชาชาติ
ตอบ 3 หน้า 164 ปฏิญญามอสโคว์ (Moscow Declaration) เป็นข้อตกลงเพื่อรับรู้ความจําเป็นใน การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาคระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ ซึ่งในปฏิญญานี้เป็นการลงนามร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สหภาพโซเวียต อังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา

52. ประเทศใดเป็นสมาชิกล่าสุดของสหประชาชาติ
(1) ลิทัวเนีย
(2) ซูดานใต้
(3) ชิลี
(4) จอร์แดน
(5) ไนจีเรีย
ตอบ 2 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมี ประเทศซูดานใต้หรือเซา ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

53. การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขหรือผู้นําสูงสุดของประเทศเรียกว่าอะไร
(1) Head Diplomacy
(2) Leadership Diplomacy
(3) Ad hoc Diplomacy
(4) State Diplomacy
(5) Summit Diplomacy
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Summit Diplomacy คือ การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุข หรือผู้นําสูงสุดของประเทศ

54. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค
(1) บังกลาเทศ
(2) ไต้หวัน
(3) ปาปัวนิวกินี
(4) รัสเซีย
(5) เม็กซิโก
ตอบ 1 หน้า 186, (คําบรรยาย) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 21 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี และเปรู

55. ประเทศใดไม่เคยได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
(1) ทาจิกิสถาน
(2) คาซัคสถาน
(3) เติร์กเมนิสถาน
(4) อุซเบกิสถาน
(5) อัฟกานิสถาน
ตอบ 5 หน้า 90 ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991) ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan), เบลารุส (Belarus), เอสโตเนีย (Estonia), จอร์เจีย (Georgia), คาซัคสถาน (Kazakhstan), คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan), ลัตเวีย (Latvia), ลิทัวเนีย (Lithuania), มอลโดวา (Moldova), รัสเซีย (Russia), ทาจิกิสถาน (Tajikistan), เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan), ยูเครน (Ukraine) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

56. วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นสหวิทยาการแต่ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านใด
(1) อายุรเวช
(2) ภูมิศาสตร์
(3) เศรษฐศาสตร์
(4) ประวัติศาสตร์
(5) นิติศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ (Political Science) และมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ มีเนื้อหาสาระกว้างขวางครอบคลุมองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น

57. พลวัตในสังคมระหว่างประเทศมีส่วนทําให้เกิดสภาวะเช่นไรในศตวรรษที่ผ่านมา
(1) ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวร
(2) สันติภาพยาวนาน
(3) อนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 195 ความเป็นพลวัตหรือความไม่อยู่นิ่ง (Dynamic) ของสังคมระหว่างประเทศ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศนั้นมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามโอกาสและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้สังคมระหว่างประเทศไม่อาจมี “มิตรแท้ และศัตรูถาวร” ได้นาน เช่น กรณีเยอรมนีกับฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นศัตรูกันอย่างรุนแรง ตลอดมาจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลับมาเป็นมิตรกันเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้กับยุโรปตะวันตก เป็นต้น

58. ความร่วมมือแบบพันธมิตรต่างจากการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ในข้อใด
(1) การป้องปราม
(2) การต่อต้านตัวแสดงอื่น
(3) การร่วมป้องกัน
(4) มีความขัดแย้งกับตัวแสดงอื่น
(5) ความเป็นสถาบัน
ตอบ 5 หน้า 125, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐ ที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือแบบ พันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก มีความเป็นสถาบัน มีระเบียบ กระบวนการบริหารและแนวทางการทํางาน มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

59. วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปีใด
(1) ค.ศ. 1960
(2) ค.ศ. 1961
(3) ค.ศ. 1962
(4) ค.ศ. 1963
(5) ค.ศ. 1964
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

60. ข้อใดเกี่ยวข้องกับระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
(1) International Atomic Energy Agency
(2) UNICEF
(3) COP26
(4) Non-Proliferation Treaty
(5) UNESCO
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

61. ผู้นําสหภาพโซเวียตคนใดที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นส่วนสําคัญในอํานาจของรัฐ
(1) เลนิน
(2) สตาลิน
(3) ปูติน
(4) ครุสชอฟ
(5) กอร์บาชอฟ
ตอบ 2 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

62. สนธิสัญญาใดว่าด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) สนธิสัญญาปารีส
(2) สนธิสัญญาเบอร์ลิน
(3) สนธิสัญญาเวียนนา
(4) สนธิสัญญาแวร์ซายส์
(5) สนธิสัญญาตริอานอง
ตอบ 4 หน้า 85 สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการยอมแพ้ของ เยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผลของสนธิสัญญาทําให้เยอรมนีต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมาก และต้องเสียดินแดนหลายแห่ง

63. ข้อเลือกข้อใดเป็นหน้าที่ของธนาคารโลก
(1) ให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปพัฒนาประเทศ
(2) ดูแลให้สมาชิกมีระบบแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) แก้ไขการตกต่ําของเศรษฐกิจโลก
ตอบ 1. 4 หน้า 170, 222 วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคาร เพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) มีดังนี้
1. เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้สมาชิกกู้ยืมเงินเพื่อบูรณะพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ
2. เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทําการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศกําลังพัฒนา รวมทั้ง ยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก
4. เพื่อให้บริการด้านความรู้และคําแนะนําเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและการบริหารการเงิน

64. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม
(1) การกําหนดโควตาและออกใบอนุญาต
(2) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(3) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) การกว้านซื้อสินค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

65. ข้อใดถือเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) เป็นทางการ
(2) ไม่เป็นทางการ
(3) ความร่วมมือ
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

66. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก
(1) กําหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(2) การเปิดตลาดด้วยการลดภาษี
(3) ตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อกีดกันการค้าอย่างไม่เป็นธรรม
(4) อนุญาตให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบมาตรฐานสินค้าได้ตามต้องการ
(5) ปรับเปลี่ยนการใช้มาตรการภาษีศุลกากร
ตอบ 4 หน้า 175 – 176 ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรฐานการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยอนุญาตให้ประเทศสมาชิกกําหนด
ระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านําเข้าได้ แต่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้แต่ละประเทศกําหนดมาตรฐานตามใจชอบซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้า

67. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) มากที่สุด
(1) ประชาชนเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด
(2) การปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด
(3) การมีรัฏฐาธิปัตย์
(4) อํานาจเป็นของกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคล
(5) การปราศจากซึ่งสงครามและความขัดแย้ง
ตอบ 2 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษา กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งปกป้องสิทธิของสมาชิกในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้สังคมระหว่างประเทศอาจเกิดสภาวะยุ่งเหยิง วุ่นวาย และความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ เพราะแต่ละรัฐจะดําเนินนโยบายตามที่แต่ละรัฐต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดของรัฐนั้น ๆ

68. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(2) สิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน
(3) บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน
(5) การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล
(4) การแต่งงานระหว่างคนต่างชาติ
ตอบ 4 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เป็นต้น

69.Status Quo คือ นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาสถานะความเป็นกลางของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(2) นโยบายการรักษาสถานะความชอบธรรมของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(3) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการเพิ่มอํานาจให้รัฐตน
(4) นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ
(5) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการลดอํานาจของรัฐตน
ตอบ 4 หน้า 211 นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ (Policy of the Status Quo) หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบาย ลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เป็นต้น

70. ประเทศใดไม่เคยรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเลย
(1) เกาหลีเหนือ
(2) รัสเซีย
(3) อังกฤษ
(4) ญี่ปุ่น
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศที่เคยรุกรานและรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น

71. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ระบบ “Bretton Woods”
(1) ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา
(2) ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
(3) ใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว
(4) ใช้แก้ปัญหาในการชําระเงินล่าช้า
(5) ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบ Bretton Woods เป็นผลมาจากการประชุมปฏิรูประบบการเงิน ระหว่างประเทศที่เมืองเบรตตัน วูดส์ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ของตัวแทนประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะสงคราม โดยระบบ Bretton Woods มีลักษณะสําคัญดังนี้ 1. เป็นการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว 2. ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ 3. ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา 4. ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ

72. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มบริคส์ (BRICS)
(1) อินเดีย
(2) รัสเซีย
(3) จีน
(4) บราซิล
(5) สิงคโปร์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัย เศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G-7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

73. การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในยุคของผู้นําจีนคนใด
(1) สีจิ้นผิง
(2) เติ้งเสี่ยวผิง
(3) เหมาเจ๋อตง
(4) เจียงเจ๋อหมิน
(5) หูจิ่นเทา
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ในยุคของผู้นําเติ้งเสี่ยวผิง โดยแนวคิดสําคัญของการปฏิรูปนี้คือการรื้อถอนเศรษฐกิจจาก ส่วนกลางซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด และหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เปิดให้เกิดการลงทุนของเอกชนภายในประเทศและทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ จีนกลายเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจจนถึงทุกวันนี้

74. การกระทําของรัฐในข้อใดไม่มีผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ
(1) การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม
(2) การปกป้องกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศจากการแข่งขันในระดับโลก
(3) การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง
(4) การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน
(5) การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ระหว่างประเทศ (International Interest) เป็นผลประโยชน์ที่ รัฐไม่สามารถบรรลุได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐในการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นการกระทําของรัฐที่ถือว่าเป็นการสร้างเสริมผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ จึงได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ เป็นต้น

75. ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐไม่รวมถึงข้อใด
(1) อุดมการณ์ของชาติ
(2) ความกินดีอยู่ดี
(3) อํานาจ
(4) เกียรติภูมิ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ
6. การแสวงหาอํานาจ

76. ปัจจัยใดมีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติน้อยที่สุด
(1) ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ
(2) เครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็ง
(3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด
(4) มาตรฐานความเป็นอยู่และการศึกษา
(5) โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่เข้มแข็ง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติ ได้แก่ ระบบการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่ เข้มแข็ง มาตรฐานการศึกษาและความเป็นอยู่ของประชาชน ความเปิดกว้างในระบบเศรษฐกิจ และสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด ระบบการขนส่งและท่าเรือน้ําลึก เป็นต้น ส่วนเครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถ ของชาติน้อยที่สุดหรืออาจจะไม่มีผลใด ๆ เลย

77. องค์กรใดไม่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศเลย
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การการค้าโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศขึ้น แนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ให้องค์การระหว่างประเทศเข้ามาช่วยลดความขัดแย้ง โดยองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งระหว่างประเทศนั้น มีทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

78. การทูตเรือปืน หมายถึงการทูตในลักษณะใด
(1) การเจรจาการทูตบนเรือรบ
(2) การเจรจาต่อรองการเป็นมหาอํานาจทางทะเล
(3) การที่ประเทศที่แข็งแรงบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า
(4) การทูตที่ประเทศอ่อนแอใช้ตอบโต้ประเทศที่แข็งแรงกว่า
(5) การแข่งขันทางอํานาจของกองทัพเรือโดยใช้อาวุธ
ตอบ 3 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งเป็นวิธีการดําเนิน นโยบายต่างประเทศของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม หรือในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

79. ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นสาเหตุให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
(1) ไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
(2) นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
(3) ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
(4) รักสันติภาพและปกป้องประชาชนของสหราชอาณาจักร
(5) ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่
1. อังกฤษไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
2. นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
3. ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
4. ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

80. การเพิ่มจํานวนประเทศในโลกของเราเป็นผลมาจาก
(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(2) การปลดปล่อยอาณานิคม
(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม
(4) การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนประเทศในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

81. สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1918
(2) 1941
(3) 1945
(4) 1980
(5) 2001
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

82. ข้อใดถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
(1) กําหนดสัญลักษณ์ของอาเซียน
(2) มีการเจรจาระหว่างคู่พิพาท
(3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน
(4) ใช้การลงมติในลักษณะฉันทามติ
(5) มีองค์กรสิทธิมนุษยชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การใช้หลักฉันทามติ (Consensus) ในการลงมติหรือตัดสินใจในญัตติต่าง ๆ ของอาเซียน โดยอาศัยความเห็นชอบ ของผู้แทนรัฐสมาชิกทั้งหมดเป็นฉันทานุมัติ

83. “ชาติมหาอํานาจ” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด
(1) ชาติที่มีพัฒนาการในอุตสาหกรรมชั้นสูง
(2) ชาติที่มีกองทัพขนาดใหญ่พร้อมอาวุธสมรรถนะสูง
(3) ชาติที่มีประชากรมากกว่า 100 ล้านคน
(4) ชาติทมิ ติที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าประเทศเพื่อนบ้านรวมกัน
(5) ชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ตอบ 1 หน้า 200 – 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐ ตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

84. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G-20
(1) ซาอุดีอาระเบีย
(2) เม็กซิโก
(3) ตุรกี
(4) อาร์เจนตินา
(5) อียิปต์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศกลุ่ม G-20 ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

85. ข้อใดที่ไม่ใช่ตัวแสดงที่เป็นองค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐ
(1) Amnesty International
(2) Human Rights Watch
(3) Unilever
(4) Greenpeace
(5) Oxfam
ตอบ 3 หน้า 22, 159 องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นองค์การ ระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGOs) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวัง ผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่ให้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การ นิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA), องค์การออกแฟม (Oxfam), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น (ส่วน Unilever เป็นตัวแสดงที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ)

86. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) ผู้โฆษณาชวนเชื่อ
(3) สัญลักษณ์
(4) สื่อที่ใช้
(5) กลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 62 – 63 องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ มี 4 ประการ คือ
1. ตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ หรือผู้แทนที่มีความปรารถนาหรือตั้งใจที่จะเปลี่ยน ท่าที ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลอื่น
2. สัญลักษณ์ในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นการพูด การเขียน หรือพฤติกรรมที่ใช้ โดยตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ
3. สื่อที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ
4. กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ

87. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน ได้แก่
(1) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
(2) นายสิระ เจนจาคะ
(3) นายไพบูลย์ นิติตะวัน
(4) นายจุติ ไกรฤกษ์
(5) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรี, นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายธานี ทองภักดี เป็นปลัดกระทรวง

88. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ในยามสันติ
(1) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(2) การกว้านซื้อสินค้า
(3) การปิดล้อมฝั่ง
(4) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(5) การยึดทรัพย์ของศัตรู
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

89. ในการตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศ รัฐควรให้ความสําคัญกับผลประโยชน์เรื่องใดมากที่สุด
(1) ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
(2) ผลประโยชน์ด้านวัฒนธรรม
(3) ผลประโยชน์ด้านการเมือง
(4) ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงอยู่รอด
(5) ผลประโยชน์ด้านอุดมการณ์
ตอบ 4 หน้า 207 – 208 การตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและ เสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ความมั่นคงอยู่รอด ปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง อุดมการณ์ วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะให้ความสําคัญกับ ผลประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป โดยผลประโยชน์ที่รัฐควรให้ความสําคัญ มากที่สุดก็คือ ความมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยของรัฐ

90. เงื่อนไขสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติมีลักษณะความไม่เท่าเทียมกันคือกลไกลในข้อใด
(1) ความเป็นอนาธิปไตยของชาติสมาชิก
(2) การใช้อํานาจในการวีโต้ (Veto)
(3) โครงสร้างการจัดการบริหารองค์กร
(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
(5) การคัดเลือกประเทศสมาชิกเข้าเป็นกองกําลังรักษาสันติภาพ
ตอบ 2 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กร สมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

91. ข้อใดคือบทบาทหน้าที่ขององค์การการค้าโลก
(1) ปรับปรุงดุลการชําระเงินให้ดีขึ้น
(2) พัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(3) ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(4) จัดตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศ
(5) เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ตอบ 5 หน้า 175 บทบาทและหน้าที่ขององค์การการค้าโลก มีดังนี้
1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO
ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ
ตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ
4. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อให้นโยบายทางเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น ฯลฯ

92. หลักการใดในสังคมระหว่างประเทศยืนยันว่า “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน”
(1) หลักพฤตินัย
(2) หลักอํานาจ
(3) หลักกฎหมาย
(4) หลักเอกภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

93. ข้อเลือกข้อใดเป็นหลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
(1) ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
(2) เคารพซึ่งกันและกันในเอกราชอธิปไตย
(3) สามารถแทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
(4) บังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามข้อบังคับ
(5) มุ่งเน้นการทําให้เกิดระบบการใช้เงินสกุลเดียวในอาเซียน
ตอบ 1, 2 (คําบรรยาย) หลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน มีดังนี้
1. การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดน และเอกลักษณ์ประจําชาติของทุกชาติ
2. การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
3. การระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
4. การยึดหลักฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจและกําหนดนโยบาย ฯลฯ

94. ความร่วมมือแบบระบอบ (Regime) ไม่มีลักษณะเกี่ยวกับข้อใด
(1) เวทีเจรจา
(2) กติกา
(3) กฎเกณฑ์
(4) บรรทัดฐาน
(5) ป้องกันกาฝากได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

95. การศึกษาการทํางานของอาเซียนจัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาขาใด
(1) องค์การระหว่างประเทศ
(2) การเมืองระหว่างประเทศ
(3) เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) ประวัติศาสตร์การทูต
ตอบ 1 หน้า 14 : การศึกษาองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เป็นการศึกษา ที่เน้นหนักไปที่วิวัฒนาการ โครงสร้าง อํานาจและหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาท สําคัญในเวทีโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), สหภาพยุโรป (EU), เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

96. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) มาจากจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
(3) มาจากสนธิสัญญาต่าง ๆ
(2) ไม่มีสภาพบังคับโทษกับทุกรัฐ
(4) มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) ไม่มีการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ
ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

97. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคา ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเพื่อทําให้คู่แข่งอ่อนแอลง เรียกว่าวิธีการใด
(1) การตั้งกําแพงภาษีสินค้า
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การกําหนดโควตา
(4) การกดดันราคาสินค้า
(5) การกีดกันทางการค้า
ตอบ 2 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมาก หรือขายในราคาต่ํากว่าต้นทุนการผลิต โดยมีเป้าหมายหลายประการ เช่น ทําให้สินค้าที่ตกค้างอยู่ สามารถขายยังต่างประเทศได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศตนเอง แนะนําสินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จักทําให้คู่แข่งขันอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด เป็นต้น

98. ประเทศใดในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
(1) เอสโตเนีย
(2) ไอร์แลนด์
(3) สวีเดน
(4) อังกฤษ
(5) เดนมาร์ก
ตอบ 1.2 (คําบรรยาย) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มี 19 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม ฟินแลนด์ สเปน ออสเตรีย ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก สโลวีเนีย ไซปรัส มอลตา สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย

99. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ประวัติศาสตร์
(2) การขยายอํานาจของประเทศ
(3) เกียรติภูมิของประเทศ
(4) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(5) ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ
ตอบ 1 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิของประเทศ

100. ใครที่กล่าวว่า “ในปัจจุบันไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป”
(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
(2) นิโคลัส สปิคแมน
(3) เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์
(4) เค. เจ. โฮลสติ
(5) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบ เป็นส่วนสําคัญด้วย

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คณะกรรมการที่……ของสมัชชารับผิดชอบปัญหาสังคม
(1) 5
(2) 4
(3) 3
(4) 2
(5) 1
ตอบ 3 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้
1. คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและ สันติภาพของโลก
2. คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง
3. คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม
4. คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
5. คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและ
งบประมาณ
6. คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

2. การรับรองผู้แทนของชาติต่าง ๆ ให้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติดําเนินการโดย
(1) Confidential Committee
(2) Predential Committee
(3) Financial Committee
(4) Credential Committee
(5) Presidential Committee
ตอบ 4 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีอํานาจหน้าที่ในการรับรองผู้แทนของชาติต่าง ๆ ให้เป็นสมาชิก ของสหประชาชาติ โดยดําเนินการผ่านคณะกรรมาธิการสารตราตั้ง (Credential Committee)

3.กฎบัตรสหประชาชาติมี……มาตรา
(1) 113
(2) 111
(3) 110
(4) 114
(5) 115
ตอบ 2 หน้า 150, 227 – 246, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวดที่ 5 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของ คณะมนตรีความมั่นคง, หมวดที่ 6 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การมอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวดที่ 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิด สันติภาพ และการกระทําการรุกราน, หมวดที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง ประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

4.หมวดที่ 9 ของกฎบัตรสหประชาชาติเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
(1) สันติภาพ
(2) ความร่วมมือ
(3) ความมั่นคง
(4) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
(5) สิทธิมนุษยชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5.อํานาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงกําหนดไว้ในหมวด…….ของกฎบัตรสหประชาชาติ
(1) 5
(2) 4
(3) 7
(4) 8
(5) 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6.สมัชชาใหญ่สหประชาชาติมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 191
(2) 194
(3) 192
(4) 195
(5) 193
ตอบ 5 หน้า 144, (คําบรรยาย) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียง 1 เสียง ซึ่งสมัชชาจะจัดประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง เดือนกันยายน – มกราคม ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีผู้นําหรือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุม

7.สันนิบาตชาติทํางานไม่สําเร็จเท่าที่ควรเพราะ
(1) งบประมาณ
(2) กติกาสัญญาของสันนิบาตชาติ
(3) ผู้นําโลก
(4) การบริหาร
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ตอบ 2 หน้า 140 สาเหตุประการหนึ่งที่ทําให้สันนิบาตชาติไม่ประสบความสําเร็จในการดําเนินงาน เท่าที่ควรก็คือ การกําหนดให้กติกาสัญญาสันนิบาตชาติเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพทําให้รัฐที่แพ้สงครามเห็นว่าสันนิบาตชาติคือองค์กรของผู้ชนะสงคราม หรือเป็นเครื่องมือ กํากับดูแลผู้แพ้สงครามจึงนําไปสู่การละเมิดกติกาสัญญาสันนิบาตชาติ อีกทั้งการลงมติต่าง ๆในสมัชชาและคณะมนตรีต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์จึงทําให้เกิดการชะงักงันในการดําเนินงานในกรณีที่สมาชิกมีความเห็นไม่ตรงกัน

8. ศาลโลกมีที่ตั้งที่กรุง
(1) เฮก
(2) บรัสเซลส์
(3) ปารีส
(4) เจนีวา
(5) เบิร์น
ตอบ 1หน้า 41 42, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้เริ่มมีมาตั้งแต่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการตั้งขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบัน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

9.คณะมนตรีความมั่นคงประเภทไม่ถาวรมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 10
(2) 15
(3) 12
(4) 18
(5) 14
ตอบ 1 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

10. สหประชาชาติปัจจุบันมีอายุ……ปี
(1) 74
(2) 77
(3) 75
(4) 78
(5) 76
ตอบ 5 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2021 อายุ 76 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหประชาชาติมีรัฐสมาชิกซึ่งรวมไปถึงรัฐที่ได้รับการรับรองว่าเป็นเอกราชทั้งหมด 193 รัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน เป็นต้น

11. สหประชาชาติมีองค์กรสําคัญ……..องค์กร
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 6
(5) 9
ตอบ 4 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
2. คณะมนตรีความมั่นคง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
6. สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

12. สหประชาชาติเป็น………ของระเบียบระหว่างประเทศ
(1) หลัก
(2) ต้นแบบ
(3) อัตลักษณ์
(4) เอกลักษณ์
(5) สัญลักษณ์
ตอบ 5หน้า 142 สหประชาชาติเป็นสัญลักษณ์ของระเบียบระหว่างประเทศและเอกลักษณ์ ของโลก อีกทั้งเป็นองค์กรที่เปิดเวทีทางการเมืองให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันได้แสดงออกถึง ทัศนะ ความเห็น ซึ่งทําให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลายจากปัญหาหนักหน่วงระหว่างประเทศ หรือเรียกว่าเป็นกลไกนําไปสู่ข้อยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศที่กระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก

13. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว
(1) ฝรั่งเศส
(2) โปรตุเกส
(3) สเปน
(4) เยอรมนี
(5) อิตาลี
ตอบ 2 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรีช (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

14. ประเทศแกนนําของสหภาพยุโรป คือ
(1) ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
(2) ฝรั่งเศส ออสเตรีย
(4) ฝรั่งเศส เยอรมนี
(3) เยอรมนี เดนมาร์ก
(5) ฝรั่งเศส เบลเยียม
ตอบ 4 หน้า 178, 221, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1933 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) มีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ โดยประเทศที่แกนนําของสหภาพยุโรป คือ ฝรั่งเศส และเยอรมนี

15. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่ดูแลปัญหาเรื่อง COVID-19
(1) WHO
(2) FAO
(3) UNEP
(4) UNSC
(5) UNDP
ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ก่อตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. 1948 มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์การที่มี หน้าที่หลักในการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสุขระหว่างประเทศ และช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพให้แก่ประเทศสมาชิก รวมถึงการควบคุม ป้องกัน และ รักษาโรคระบาดต่าง ๆ เช่น โรค COVID-19 โรคเอดส์ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือ เมอร์ส (MERS) โรคอีโบลา เป็นต้น

16. สหประชาชาติให้การรับรองรัฐทั้งสิ้น……รัฐ
(1) 194
(2) 196
(3) 193
(4) 195
(5) 191
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

17. สหภาพยุโรปกับอังกฤษตกลงปัญหา Brexit กันได้เมื่อ
(1) ค.ศ. 2020
(2) ยังตกลงกันไม่ได้
(3) ค.ศ. 2019
(4) ค.ศ. 2021
(5) ค.ศ. 2018
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 หลังจากที่สามารถตกลงปัญหา ด้านการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปได้สําเร็จ

18. ผู้ให้กําเนิดแนวคิด Self-Determination คือ
(1) เจมส์ มอนโร
(2) แฮร์รี่ ทรูแมน
(3) จอห์น ไทเลอร์
(4) แอนดรู แจ็กสัน
(5) วูดโรว์ วิลสัน
ตอบ 5(คําบรรยาย) หลักการ Self-Determination หรือการกําหนดเจตจํานงของตนเอง เกิดขึ้น จากแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาที่ต้องการ จะยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และเสริมสร้างสันติภาพของโลก โดยหลักการนี้ได้ปรากฏครั้งแรก ในหลัก 14 ประการของประธานาธิบดีวิลสัน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงหลักการนี้ ก็ถูกนําไปใช้อ้างอิงในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในหมวด 1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1514 เป็นต้น

19. สหประชาชาติมีที่ตั้งสํานักงานใหญ่อยู่ที่
(1) นิวยอร์ก
(2) วอชิงตัน
(3) บรัสเซลส์
(4) สตาร์บูร์ก
(5) เจนีวา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

20.ACMECS ประกอบด้วยสมาชิก………ประเทศ
(1) 5
(2) 4
(3) 6
(4) 7
(5) 3
ตอบ 1 หน้า 223, (คําบรรยาย) ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล โดย ACMECS ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา (พม่า) ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

21. ใครที่กล่าวว่า “ในปัจจุบันไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป”
(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
(2) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์
(5) นิโคลัส สปิคแมน
ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

22. นักวิชาการท่านใดที่ไม่ได้กล่าวถึงอนาธิปไตยในสังคมระหว่างประเทศ
(1) ริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค
(2) นิโคลัส สปิคแมน
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) เรย์มอนด์ เอฟ, ฮอพกินส์
(5) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
ตอบ 3 หน้า 197 นักวิชาการที่กล่าวถึงอนาธิปไตยในสังคมระหว่างประเทศ ได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes), นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman), มอร์ตัน เอ. แคปแลน (Morton A. Kaplan), เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์ (Raymond F. Hopkins) และริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค (Richard W. Mansbach)

23. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ
(1) การเจรจาโดยตรงต่อประเทศที่มีปัญหากัน
(2) การไกล่เกลี่ยประนีประนอม
(3) การใช้มหาอํานาจกดดัน
(4) การตัดสินใจโดยศาลระหว่างประเทศ
(5) การใช้อนุญาโตตุลาการ
ตอบ 3 หน้า 41 – 42 กระบวนการในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. การเจรจาโดยตรงระหว่างประเทศที่มีปัญหากัน
2. การไกล่เกลี่ยประนีประนอม
4. การตัดสินใจโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
3. การใช้อนุญาโตตุลาการ
5. การสงคราม

24. Islamic State หรือ IS จัดว่าเป็นตัวแสดงแบบใดในเวทีระหว่างประเทศ
(1) รัฐ
(2) บรรษัทข้ามชาติ
(3) ปัจเจกบุคคล
(4) ขบวนการก่อการร้าย
(5) องค์การระหว่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, 115, (คําบรรยาย) ขบวนการ/กลุ่มก่อการร้าย (Terrorist) เป็นตัวแสดง ในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีบทบาทสําคัญมากในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งตัวอย่างของขบวนการก่อการร้ายที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้
1. กลุ่ม Al Qaeda ในอัฟกานิสถาน
2. กลุ่ม Abu Nidal ในอิสราเอล
3. กลุ่ม IS หรือ ISIS หรือ ISIL ในอิรักและซีเรีย
4. กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน
5. กลุ่ม PLO และกลุ่ม Hamas ในปาเลสไตน์
6. กลุ่ม ETA ในสเปน
7. กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย
8. กลุ่ม Abu Sayyaf, กลุ่ม MNLF และกลุ่ม MILF ในฟิลิปปินส์
9. กลุ่ม Bersatu, กลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ฯลฯ

25. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ประวัติศาสตร์
(2) การขยายอํานาจของประเทศ
(3) เกียรติภูมิของประเทศ
(4) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(5) ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ
ตอบ 1 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิของประเทศ

26. “การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวแสดงระหว่างประเทศทําให้เกิดความขัดแย้งและความร่วมมือ”
เป็นคําอธิบายของอะไร
(1) International Relations
(2) Regionalism
(3) National Interest
(4) Liberalism
(5) Nationalism
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) คือ
การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวแสดงระหว่างประเทศทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งหรือความร่วมมือกันในมิติทางการเมือง การทหาร การทูต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มิติใดมิติหนึ่งหรือหลายมิติพร้อม ๆ กัน

27. ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีบทบาทสําคัญในการร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ คือ
(1) ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
(2) ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
(3) ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
(4) ประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมน
(5) ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด
ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) จัดทําขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการร่างสนธิสัญญา ฉบับนี้ ได้แก่
1. ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา
2. นายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George) แห่งสหราชอาณาจักร
3. ประธานาธิบดีฌอร์ฌ เกลม็องโซ (Georges Clemenceau) แห่งฝรั่งเศส
4. นายกรัฐมนตรีวิตโตริโอ ออลันโด (Vittorio Orlando) แห่งอิตาลี

28. การดําเนินนโยบายต่างประเทศ มีขั้นตอนอย่างน้อยกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน การกําหนดนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) 2 ขั้นตอน การประเมินนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) 3 ขั้นตอน การวางแผน การกําหนดนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) 3 ขั้นตอน การกําหนดนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย
(5) 4 ขั้นตอน การวางแผน การกําหนดนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 209 กระบวนการในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ประกอบด้วยขั้นตอนอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดหรือการวางนโยบาย
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติ

29. แนวการศึกษาใดที่ใช้การสังเกตตามความเป็นจริง และใช้เทคนิคด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) แนวพฤติกรรม
(2) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(3) แนวอํานาจ
(4) แนวประวัติศาสตร์
(5) แนวนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมุติฐาน และ การทดสอบสมมุติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ได้แก่ การวัด การทดลอง และการสร้างทฤษฎี

30. การพิจารณาถึงลักษณะที่ตั้ง ขนาดของประเทศว่ามีผลต่อการกระทําของรัฐ เป็นการศึกษาแนวใด
(1) แนวพฤติกรรม
(2) แนวนโยบาย
(3) แนวอํานาจ
(4) แนวประวัติศาสตร์
(5) แนวภูมิรัฐศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 9 แนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเพื่อทําความเข้าใจการเมืองระหว่างประเทศโดยพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐอย่างไร นอกจากนี้ลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ยังสามารถส่งผลต่อฐานะความเป็นมหาอํานาจหรือส่งผลต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐอีกด้วย

31. เครื่องมือในการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท เครื่องมือทางสันติ และเครื่องมือทางการใช้กําลัง
(2) 2 ประเภท เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการทหาร
(3) 3 ประเภท เครื่องมือทางสันติ เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการใช้กําลัง
(4) 3 ประเภท เครื่องมือทางสันติ เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการทหาร
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 212 – 216 เครื่องมือของรัฐในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ แบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางสันติหรือเครื่องมือทางการทูต
2. เครื่องมือทางการใช้กําลังหรือเครื่องมือทางการทหาร

32. ใครเป็นผู้กล่าวว่า สังคมระหว่างประเทศเป็นสังคมที่ไม่มีศูนย์อํานาจกลางที่จะรักษากฎหมาย
และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
(1) ริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค
(2) เรย์มอนด์ เอฟ, ฮอพกินส์
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
(5) นิโคลัส สปิคแมน
ตอบ 5 หน้า 197 นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman) กล่าวว่า สังคมระหว่างประเทศเป็นสังคมที่ไม่มีศูนย์อํานาจกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และ ไม่มีองค์กรกลางที่จะมีอํานาจป้องกันสิทธิของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ ผลก็คือ รัฐแต่ละรัฐจะต้องยึดถือเอาการรักษาไว้และการเสริมสร้างฐานะแห่งอํานาจของตนเป็นจุดประสงค์อันแรกของนโยบายต่างประเทศ

33. อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
(1) โครงสร้างในการบริหารองค์กร
(2) การใช้อํานาจทางทหารเข้าไปควบคุมรัฐสมาชิก
(3) การใช้อํานาจในการวีโต้ (Veto)
(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
(5) ความเป็นอนาธิปไตยของสมาชิก
ตอบ 3 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กร สมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

34. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
(1) การขึ้นภาษีนําเข้า
(2) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(3) การทุ่มสินค้า
(4) การกําหนดโควตา
(5) การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 5 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) จัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สําคัญโดยเป้าหมายของรัฐที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ ต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย หรือของรัฐอื่น ๆ และบีบบังคับหรือโน้มน้าวจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

35. ฝ่ายนิติบัญญัติมีความสําคัญต่อกระบวนการกําหนดนโยบายต่างประเทศในขั้นตอนใด
(1) การควบคุมและให้การรับรองนโยบายต่างประเทศ
(2) การกําหนดนโยบายต่างประเทศ
(3) การนํานโยบายต่างประเทศไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลการดําเนินนโยบายต่างประเทศ
(5) การให้ความเห็นและคําแนะนําในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 210 ในกระบวนการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐนั้น ฝ่ายบริหารจะมีบทบาท
ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติจะมีบทบาทในการควบคุมและ
ให้การรับรองการกําหนดและการดําเนินนโยบายต่างประเทศของฝ่ายบริหาร

36. ในศตวรรษที่ 20 ลักษณะที่สําคัญที่สุดในการเมืองและสังคมระหว่างประเทศ คือ
(1) ความเป็นพลวัต
(2) ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจํากัด
(3) ความเป็นอนาธิปไตย
(4) ความไม่เท่าเทียมกัน
(5) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างรัฐ
ตอบ 1 หน้า 195 – 196 สเปราท์ (Sprout) กล่าวว่า ในสังคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในศตวรรษที่ 20 ความเป็นพลวัตหรือความไม่อยู่นิ่ง (Dynamic) ของสังคมระหว่างประเทศ เป็นลักษณะสําคัญที่สุดในการเมืองและสังคมระหว่างประเทศ

37.Starbucks จัดว่าเป็นตัวแสดงแบบใดในเวทีระหว่างประเทศ
(1) ขบวนการก่อการร้าย
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) บรรษัทข้ามชาติ
(4) รัฐ
(5) ปัจเจกบุคคล
ตอบ 3 หน้า 22 (คําบรรยาย) บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Cooperation or Multi-National
Company : MNCs) เป็นองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือให้บริการ ในประเทศต่าง ๆ เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Tata, Samsung, Alibaba, McDonald, Nestle, Red Bulls, Coca Cola, Pepsi, Unilever เป็นต้น

38. ประเทศอะไรที่ทําสงครามกับอิรักและโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซ็น
(1) อังกฤษ
(2) จีน
(3) ซาอุดิอาระเบีย
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) รัสเซีย
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สหรัฐอเมริกาภายใต้การนําของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ได้ทําสงครามกับอิรักและโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซ็น ในปี ค.ศ. 2003

39. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2564) คือใคร
(1) นายกษิต ภิรมย์
(2) นายวีรศักดิ์ ฟูตระกูล
(3) นายธานี ทองภักดี
(4) นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี
(5) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรี นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายธานี ทองภักดี เป็นปลัดกระทรวง

40. การงดส่งสินค้าออกไปขาย คือข้อใด
(1) Embargo
(2) Boycott
(3) Tariff
(4) Dumping
(5) Subsidies
ตอบ 1 หน้า 54 การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo) คือ การระงับการส่งออกสินค้าอันเป็น ที่ต้องการของประเทศอื่นไปขายในต่างประเทศเพื่อเป้าหมายทางการเมืองบางประการ เช่น ในปี ค.ศ. 1949 สหภาพยุโรปได้ใช้นโยบายนี้กับยูโกสลาเวียเนื่องจากยูโกสลาเวียทําการค้ากับ ประเทศคอมมิวนิสต์ ทําให้ยูโกสลาเวียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนต้องหันมา ทําการค้าและรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป เป็นต้น

41. การมุ่งศึกษาภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับใด
(1) Foreign Policy
(2) National Level
(3) Individuals
(4) Regional Level
(5) Global Level
ตอบ 4(คําบรรยาย) ระดับในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ระดับโลก (Global Level) คือ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็น
2. ระดับภูมิภาค (Regional Level) คือ การศึกษาภูมิภาคต่าง ๆ โดยอาจเน้นที่ภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ที่สนใจ เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชียอาคเนย์
3. ระดับชาติ (National Level) คือ การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติ นโยบายของ ประเทศต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงภายในของชาตินั้น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นํา การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
4. ระดับปัจเจกบุคคล (Individuals) คือ การศึกษาบุคคล ซึ่งจะมีเรื่องของจิตวิทยาเข้ามา เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิหลังของผู้ปกครอง มุมมองของผู้ปกครอง

42. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
(1) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
(2) สงครามโลกครั้งที่ 2
(3) สงครามครูเสด
(4) การล่าอาณานิคม
(5) สงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 79 – 81, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น
ในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลกซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
1. การปฏิวัติการค้า มีการขยายการค้านอกยุโรปและมีบรรษัทข้ามชาติ
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม
3. การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

43. ประเทศใดที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม
(1) บรูไน
(2) ญี่ปุ่น
(3) ชิลี
(4) อินเดีย
(5) อียิปต์
ตอบ 2 หน้า 81, (คําบรรยาย) ในยุคอาณานิคมมีหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกาที่ตกเป็น เมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่น อินเดีย บรูไน พม่า มาเลเซีย อียิปต์ เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ชิลี ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้นของสเปน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สําหรับ ญี่ปุ่นและไทยนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย

44. กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น
(1) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
(2) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ
(3) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ
(4) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ
(5) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ
ตอบ 5 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

45. ข้อใดคือภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่
(1) โคโรนาไวรัส
(2) อาวุธเคมี
(3) คอมมิวนิสต์
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) อาวุธนิวเคลียร์
ตอบ 1 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็นเป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

46. ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือข้อใด
(1) Negotiation
(2) Dialogue
(3) Declaration
(4) Document
(5) Treaty
ตอบ 3, 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา
(Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เป็นต้น

47. การก่อตั้งสันนิบาตชาติเพื่อแก้ปัญหาสันติภาพของโลกเป็นแนวคิดของ
(1) เจมส์ เมดิสัน
(2) แฟรงกลิน โรสเวลต์
(3) จอห์น อดัมส์
(4) วูดโรว์ วิลสัน
(5) เจมส์ มอนโร
ตอบ 4 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ตามแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและสร้างสันติภาพของโลกบนพื้นฐานของ ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security)

48. การจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใด
(1) ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ
(2) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(5) ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ตอบ 3 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการ แลกเปลี่ยนทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว เช่น การส่งคณะนาฏศิลป์ไทย ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การส่งคณะสงฆ์ไปเผยแผ่ ศาสนาในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางสังคมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการเมือง เช่น การจัดแข่งขันกีฬาปิงปองระหว่างนักกีฬาชาวจีน และสหรัฐอเมริกาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งนิยม เรียกการดําเนินความสัมพันธ์ดังกล่าวว่า “การทูตปิงปอง” (Ping Pong Diplomacy)

49. รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในยุคใด
(1) สงครามเย็น
(2) หลังสงครามเย็น
(3) สงครามโลกครั้งที่ 2
(4) สงครามสามสิบปี
(5) สงครามโลกครั้งที่ 1
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

50. สงครามเย็นเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1921 – 1927
(3) ค.ศ. 1939 – 1945
(4) ค.ศ. 1947 – 1991
(5) ค.ศ. 1618 – 1648
ตอบ 4 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมือง
แบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

51. การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ
(1) การใช้เครื่องจักรในการผลิต
(2) การใช้สื่อในการผลิต
(3) การใช้คนในการผลิต
(4) การใช้หุ่นยนต์ในการผลิต
(5) การใช้นิวเคลียร์ในการผลิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

52. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศตวรรษที่ 20
(1) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(2) เกิดสงครามเย็น
(3) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(4) เกิดสงครามตัวแทนที่เกาหลี
(5) เกิดสงครามสามสิบปีในยุโรป
ตอบ 5 หน้า 79 สงครามสามสิบปีในยุโรป เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ที่เวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia)

53. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่าเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone)
(1) นานาชาติเดินเรือได้อย่างเสรี
(2) รัฐชายฝั่งเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
(3) รัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและนําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้
(4) นานาชาติมีสิทธิหาปลาบริเวณนั้นได้
(5) มีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone) เป็นพื้นที่ทะเล ซึ่งมีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งรัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและ นําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้ ส่วนรัฐนานาชาติสามารถเดินเรือได้อย่างเสรี แต่ไม่สามารถ ทํากิจกรรมเพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ขุดเจาะหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล หรือทําประมง จับปลาในบริเวณ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ เพราะถือเป็นสิทธิของรัฐชายฝั่งแต่เพียงผู้เดียว

54. องค์การระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นความหวังของนัก
(1) ธรรมชาติวิทยา
(2) ปรัชญา
(3) ศาสนา
(4) วิทยาศาสตร์
(5) อุดมคตินิยม
ตอบ 5 หน้า 137 องค์การระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นความหวังของ นักอุดมคตินิยม (Idealist) ทั่วไปที่ยังเห็นว่า องค์การระหว่างประเทศจะเป็นองค์กรกลาง ในระบบการเมืองโลกที่กํากับดูแลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดําเนินไปอย่างถูกทํานองคลองธรรม

55. อนุสัญญาใดที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต
(1) Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961
(2) Paris Convention on Diplomatic Relations 1961
(3) Havana Convention on Diplomatic Relations 1961
(4) Westphalia Convention on Diplomatic Relations 1961
(5) Geneva Convention on Diplomatic Relations 1961
ตอบ 1 หน้า 131 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) เป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต ในการทําหน้าที่ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้หลักประกันแก่นักการทูตในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลหรือการคุกคามของประเทศที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือประเทศผู้รับ

56. องค์การระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกในฐานะเป็นตัวแสดงเมื่อ
(1) ก่อน ค.ศ. 1914
(2) ค.ศ. 1919
(3) ค.ศ. 1991
(4) ค.ศ. 1920
(5) ค.ศ. 1914
ตอบ 1 หน้า 82, 135, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็นตัวแสดง บนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (ก่อน ค.ศ. 1914) โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้ง องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและ การอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

57. สันนิบาตชาติจัดตั้งขึ้นบนพื้นฐาน
(1) Collective Security
(2) Rule of Law
(3) Rule of Game
(4) Rule of Origin
(5) Collective Cycle
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

58. การรอดพ้นจากการเสียเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดเป็นผลประโยชน์แห่งชาติข้อใด
(1) การขยายอํานาจของประเทศ
(2) เกียรติภูมิของประเทศ
(3) การเผยแพร่อุดมการณ์
(4) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
(5) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
ตอบ 4 หน้า 25 – 26 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศถือเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ ที่สําคัญที่สุด เป็นผลประโยชน์อันดับแรกที่ประเทศจะต้องคํานึงถึง เช่น การยอมเสียดินแดน บางส่วนให้อังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้สยามรอดพ้นจากการเสียเอกราช หรือการยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธจรวดออกจากคิวบาในวิกฤติการณ์คิวบา เป็นต้น

59. แนวคิดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศแสดงออกมาในรูป
(1) ภาพยนตร์
(2) งานเขียน
(3) การจัดตั้งองค์กร
(4) บทละคร
(5) นิทรรศการ
ตอบ 2 หน้า 137 องค์การระหว่างประเทศเป็นปรากฏการณ์ในยุคใหม่ แต่มีรากฐานมาจาก ประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของงานเขียนที่โน้มน้าวให้จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ

60. การปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้ประเทศใดเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) อิตาลี
(4) สเปน
(5) รัสเซีย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

61. ประเทศใดที่เป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลกในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา
(1) เวียดนาม
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อินเดีย
(4) จีน
(5) ไทย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลกในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา คือ จีน ส่วนประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุด คือ อินเดีย

62. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวพฤติกรรม
(1) การทํานาย
(2) การทดลอง
(3) การตั้งปัญหาและสมมุติฐาน
(4) การสังเกตสภาพตามความเป็นจริง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

63. อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1967 โดยมีสมาชิกกี่ประเทศ
(1) 4
(2) 5
(3) 7
(4) 9
(5) 10
ตอบ 2 หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนามในปฏิญญา กรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา

64. ประเทศใดในปัจจุบันที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
(1) ปากีสถาน
(2) อินเดีย
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ครอบครองอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน ปากีสถาน อินเดีย และเกาหลีเหนือ สําหรับ ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี อิสราเอล แคนาดา แอฟริกาใต้ เป็นต้น มีความสามารถที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้แต่ปัจจุบันยังไม่ทํา

65. ข้อตกลงที่เป็นการยุติสงครามใด ๆ ที่เกิดขึ้นทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องมีการระบุ คําว่าอะไรอยู่ในข้อตกลงนั้น ๆ ๆ
(1) Peace
(2) End
(3) Finish
(4) Politics
(5) Pacifist
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อตกลงที่เป็นการยุติสงครามใด ๆ ที่เกิดขึ้นทางการทูตหรือความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศต้องมีการระบุคําว่า “Peace” อยู่ในข้อตกลงนั้น ๆ เช่น ข้อตกลงสันติภาพ เวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เป็นข้อตกลงที่ยุติสงครามสามสิบปีในยุโรป เป็นต้น

66. ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่เมื่อใด
(1) 5 พฤษภาคม 1789
(2) 23 กรกฎาคม 1921
(3) 1 ตุลาคม 1949
(4) 1 กรกฎาคม 1975
(5) 4 กรกฎาคม 1776
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทย กับโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

67. สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.
(1) 1991
(2) 1945
(3) 1840
(4) 1918
(5) 1970
ตอบ 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง
ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

68. ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นไปในรูปแบบใดได้บ้าง
(1) ความร่วมมือ
(2) เป็นทางการ
(3) ไม่เป็นทางการ
(4) ขัดแย้ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

69. ประเด็นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA)
(1) การลดอุปสรรคกีดกันทางการค้า
(2) การลดอุปสรรคกีดกันที่เป็นภาษี
(3) การลดอุปสรรคกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี
(4) หลักการดําเนินการซึ่งกันและกัน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เป็นหลักการ ดําเนินการซึ่งกันและกันทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็น กลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือลดอุปสรรคกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากร และไม่ใช่ภาษีศุลกากร

70. หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่ลักษณะที่ปรึกษาและระดมสมอง (รวบรวม ให้ข้อมูล) ทางความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(1) Chatham House
(2) International Crisis Group
(3) Council on Foreign Relations
(4) Institute of World Economy and International Relations
(5) International Institute for Strategic Studies
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Council on Foreign Relations (CFR) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เป็นหน่วยงาน ที่ทําหน้าที่ในลักษณะที่ปรึกษาและระดมสมอง (รวบรวม ให้ข้อมูล) ทางความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

71. สหราชอาณาจักรได้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) พฤษภาคม 2016
(2) มกราคม 2019
(4) ธันวาคม 2019
(3) มกราคม 2021
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

72. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวใดที่ไปเกี่ยวข้องกับสํานักศึกษา Political Realism
(1) แนวระบบ
(2) แนวพฤติกรรม
(3) แนวนโยบาย
(4) แนวอํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 แนวอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของสํานัก “Political Realism” ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาแนวนี้ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของรัฐในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐอื่น โดยมีความเชื่อว่าอํานาจ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

73. การใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อคิดคํานวณจากองค์ประกอบเรื่องต้นทุน ความเสี่ยง และประสิทธิผลแล้ว เครื่องมือใดที่เหมาะสมกับการดําเนินการในเวทีโลกมากที่สุด
(1) เศรษฐกิจ
(2) การทหาร
(3) การเมือง
(4) จิตวิทยา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อคิดคํานวณ จากองค์ประกอบเรื่องต้นทุน (Cost) ความเสี่ยง (Risk) และประสิทธิผล (Effectiveness) แล้ว เครื่องมือที่เหมาะสมกับการดําเนินการในเวทีโลกมากที่สุดก็คือ เครื่องมือทางการเมืองหรือ เครื่องมือทางการทูต เพราะเป็นเครื่องมือที่มีต้นทุนต่ํา มีความเสี่ยงน้อย และมีประสิทธิผลในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

74. ข้อใดเป็นข้อตกลงที่กล่าวถึง รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ว่ามีลักษณะอย่างไร
(1) Declaration of Independence
(2) Treaty of Versailles
(3) Peace of Westphalia
(4) Plaza Accord
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3หน้า 79 ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 เป็นข้อตกลงที่กล่าวถึงรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ว่ามีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

75. ชาติมหาอํานาจอย่างสหรัฐอเมริกาเคยละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กําลังทหารอย่างถูกต้องได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในเหตุการณ์ใด
(1) การทําสงครามเวียดนาม ค.ศ. 1964
(2) การรุกรานอิหร่าน ค.ศ. 1979
(3) การรุกรานเกาหลีเหนือ ค.ศ. 1951
(4) การรุกรานอิรัก ค.ศ. 1991
(5) การรุกรานอิรัก ค.ศ. 2003
ตอบ 5 หน้า 2 สหรัฐอเมริกาเคยละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กําลังทหารอย่างถูกต้อง
ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในการรุกรานอิรักในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเหตุการณ์นี้ทําให้สหรัฐอเมริกาสามารถยึดครองอิรักโดยปราศจากการลงโทษทางกฎหมายของสหประชาชาติ

76. เกาหลีเหนือเริ่มทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 ตุลาคม 1945
(2) 9 ตุลาคม 2006
(3) 2 สิงหาคม 1990
(4) 28 มีนาคม 2003
(5) 8 สิงหาคม 1967
ตอบ 2(คําบรรยาย) เกาหลีเหนือเริ่มทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ที่ฐานทดลองอาวุธนิวเคลียร์ทุ่งเกรี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

77. ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เมื่อเข้ารับตําแหน่งแล้วมีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาคือท่านใด
(1) อับราฮัม ลินคอล์น
(2) โดนัลด์ ทรัมป์
(3) โรนัลด์ เรแกน
(4) จอร์จ วอชิงตัน
(5) โจ ไบเดน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) นายโจ ไบเดน หรือโจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดน จูเนียร์ (Joseph Robinette Biden, Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน (คนที่ 46) สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการ เป็นประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดเมื่อเข้ารับตําแหน่งด้วยวัย 78 ปี

78. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน (ASEAN Summit) ใน ค.ศ. 2021 ประเทศที่เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม จะต้องเป็นประธานอาเซียนด้วย ซึ่งได้แก่ประเทศใด
(1) Thailand
(2) Vietnam
(3) Cambodia
(4) Brunei
(5) Indonesia
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) บรูไน (Brunei) จะเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม สุดยอดผู้นําอาเซียน (ASEAN Summit) ในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งการเป็นประธานอาเซียนและ เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนั้นจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกปีในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน

79. ข้อใดมิใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) บรรษัทข้ามชาติ
(2) กลุ่มก่อการร้าย
(3) เขตพื้นที่ของชนชาวเคิร์ด
(4) ปัจเจกบุคคล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actors) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ เช่น นครรัฐวาติกัน (Vatican City) สวิตเซอร์แลนด์ อิรัก อิหร่าน ยูเครน ยูกันดา มาดากัสการ์ ฟิจิ มัลดีฟส์ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล รัฐมนตรี ต่างประเทศ ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต) กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2. ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN) สหภาพยุโรป (EU) อาเซียน (ASEAN), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace), บรรษัทข้ามชาติหรือ ธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCs/TNCs) เช่น บริษัท Unilever บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda, ปัจเจกบุคคล เช่น นางอองซาน ซูจี เป็นต้น

80. รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
(1) รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบกฎหมาย อํานาจอธิปไตย
(2) การทูต ระบอบการเมืองการปกครอง คณะผู้บริหาร ประชากร
(3) ระบบกฎหมาย ดินแดน ประชากร ระบอบการปกครอง
(4) ดินแดน รัฐบาล ประชากร อํานาจอนาธิปไตย
(5) อํานาจอธิปไตย รัฐบาล ดินแดน ประชากร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

81. รองประธานาธิบดีสตรีคนแรกของสหรัฐคือใคร
(1) นางลอเร็ตตา แซนเซช
(2) นางแทมมี่ ดักเวิร์ธ
(3) นางแชราห์ เพลิน
(4) นางอาฟริล เฮย์นส
(5) นางกมลา แฮร์ริส
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) นางกมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) เป็นรองประธานาธิบดีสตรีคนแรกของสหรัฐอเมริกา เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021 เธอเป็นนักการเมืองและ ทนายความชาวอเมริกัน เป็นวุฒิสมาชิกจากรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 และเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครต

82. ผู้นําคนไหนที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นอํานาจของรัฐ
(1) วลาดิมีร์ ปูติน
(2) วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน
(3) ดมิทรี เมดเวเดฟ
(4) นิกิตา ครุสชอฟ
(5) โจเซฟ สตาลิน
ตอบ 5 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียตและนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

83. นายโจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดน จูเนียร์ หรือนายโจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีคนที่เท่าไรของสหรัฐอเมริกา
(1) 45
(2) 46
(3) 48
(4) 47
(5) 44
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

84. วันสตรีสากลตรงกับวันที่เท่าใดของทุกปี
(1) 1 พฤษภาคม
(2) 8 มีนาคม
(3) 1 กุมภาพันธ์
(4) 30 มิถุนายน
(5) 23 กุมภาพันธ์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของ ทุกปี เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสําคัญของผู้หญิงทั่วโลก เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทของผู้หญิงที่มีต่อการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ

85. หลักการใดในสังคมระหว่างประเทศที่กล่าวว่า “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน”
(1) หลักกฎหมาย
(2) หลักพฤตินัย
(3) หลักเอกภาพ
(4) หลักอานาจ
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

86. อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด
(1) ความเข้มแข็งทางการทหาร
(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(3) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
(4) บุคลิกลักษณะของผู้นํา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 211 อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

2. อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆ ขวัญและวินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

87. รัฐขั้นแรก ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด
(1) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับสูง
(2) รัฐที่เริ่มใช้อุตสาหกรรมแทนที่เกษตรกรรม
(3) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่
(4) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมเลย
(5) รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้าง
ตอบ 4 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้

ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม

ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว

ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

88. ข้อใดคือสาเหตุที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(2) การล่มสลายของยูโกสลาเวีย
(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม
(4) การปลดปล่อยอาณานิคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 189 – 190 สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต

89. เมื่อมีการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ระหว่างจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศประการต่าง ๆ จะต้องทําอย่างไร
(1) ไม่ดําเนินการนโยบายที่มีความขัดกัน
(2) ดําเนินนโยบายที่ไม่ขัดกับนโยบายอื่น
(3) ให้ผู้นําเป็นผู้ตัดสินใจจะเลือกดําเนินนโยบายใด
(4) จัดลําดับความสําคัญของนโยบาย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 207 – 208 เมื่อมีการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ระหว่างจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ ประการต่าง ๆ รัฐมักจะมีการจัดลําดับความสําคัญ (Priority) ของจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ของนโยบายต่างประเทศ โดยจะให้ความสําคัญกับจุดมุ่งหมายระยะยาวมากกว่าจุดมุ่งหมายระยะสั้น

90. สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศใด
(1) จอร์เจีย-รัสเซีย
(2) จอร์เจีย-อาร์เมเนีย
(3) อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย
(4) อาเซอร์ไบจาน-รัสเซีย
(5) อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค ในปี พ.ศ. 2563 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างอาร์เมเนียกับอาร์เซอร์ไบจาน ซึ่งการแย่งชิงพื้นที่พิพาทแห่งนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมา ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น

91. ข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ
(1) RCEP
(2) IMF
(3) WTO
(4) WHO
(5) ASEAN
ตอบ 1 หน้า 21 – 22 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศ (International Organization)เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN), สหประชาชาติ (United Nations : UN), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF), องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO), อาเซียน(Association of Southeast Asia Nations : ASEAN) เป็นต้น

92. “นิโคโล มาเคียเวลลี” ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Prince” กล่าวว่า พื้นฐานที่สําคัญของทุกรัฐ คือ
(1) การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง
(2) การมีกองทัพที่เข้มแข็ง
(3) ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี
(4) การมีเศรษฐกิจที่ดี
(5) การมีผู้ปกครองที่ดีและการมีกองทัพที่เข้มแข็ง
ตอบ 1 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

93. กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อโตเกียว 2020 เป็นกีฬาโอลิมปิกครั้งที่เท่าไหร่
(1) ครั้งที่ 31
(2) ครั้งที่ 32
(3) ครั้งที่ 28
(4) ครั้งที่ 30
(5) ครั้งที่ 29
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ “ซัมเมอร์โอลิมปิกเกมส์” (Summer Olympic Games) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน 2020 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อโตเกียว 2020 เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 ซึ่งกําหนดจัดขึ้นในปี ค.ศ.2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปจัดในปี ค.ศ. 2021 (21 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

94. ในสังคมระหว่างประเทศความแตกต่างกันทางกฎหมาย (De Jure) กับทางความจริง (De facto) คือเรื่องใด
(1) ความเท่าเทียมกัน
(2) ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัด
(3) ความเป็นพลวัตในทางสังคมระหว่างประเทศ
(4) การพึ่งพาอาศัยกัน
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

95. ประเทศที่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ติดทะเลคือประเทศใด
(1) โบลิเวีย
(2) ปารากวัย
(3) มองโกเลีย
(4) ลักเซมเบิร์ก
(5) เวเนซุเอลา
ตอบ 5 หน้า 20, 34, (คําบรรยาย) ประเทศที่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ เวเนซุเอลา จีน ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ส่วนประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Land-Locked State) ได้แก่ ลาว เนปาล ยูกันดา มาลี ไนเจอร์ ชาด มองโกเลีย โบลิเวีย เบลารุส ปารากวัย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน ลักเซมเบิร์ก เป็นต้น

96. ข้อใดมิใช่เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่มีการใช้กันในยามสันติ
(1) การกว้านซื้อสินค้า
(2) การจ่ายเงินอุดหนุน
(3) การทุ่มสินค้า/ทุ่มตลาด
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) การให้ความช่วยเหลือ
ตอบ 1 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้า การงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้าหรือการทุ่มตลาด การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ การตกลงเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างรัฐบาล การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การจ่ายเงินอุดหนุน การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล

2. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อ ผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม ได้แก่ นโยบายทางการค้า การกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

97. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบันคือใคร
(1) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
(2) นายถนัด คอมันตร์
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

98. แคว้นแคชเมียร์เป็นข้อขัดแย้งทางพื้นที่ระหว่างประเทศใดกับประเทศใด
(1) เนปาล-ภูฏาน
(2) ศรีลังกา-อินเดีย
(3) ปากีสถาน-อินเดีย
(4) อินเดีย-บังกลาเทศ
(5) อินเดีย-เนปาล
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) แคว้นแคชเมียร์เป็นข้อขัดแย้งทางพื้นที่ระหว่างปากีสถานกับอินเดีย ซึ่งเป็น ปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ก่อนปากีสถานและอินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 โดยความขัดแย้งได้ส่งผลทําให้ทั้งสองประเทศทําสงครามระหว่างกันมาแล้วหลายครั้ง

99.เค. เจ. โฮลสติ ใช้สิ่งใดเป็นมาตรฐานในการจัดประเภทของรัฐออกเป็นประเภทต่าง ๆ
(1) การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
(2) จํานวนประชากรในดินแดนของรัฐ
(3) อํานาจรัฐในทางเศรษฐกิจ
(4) ระดับของการด้อยพัฒนา
(5) ความสามารถของรัฐในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น
ตอบ 5 หน้า 191, 200, (คําบรรยาย) เค. เจ. โฮลสติ (K. J. Holsti) ได้จัดประเภทของรัฐ ตามความสามารถหรือสมรรถภาพของรัฐ (Capabilities) ในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งที่เห็นได้ชัด (Tangible) และที่ไม่เห็นได้ชัด (Intangible) เช่น การพัฒนาทางอุตสาหกรรม กําลังทางทหาร ระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง การมีประชากรมากและมีความสามารถสูง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

100. วัคซีนโควิดที่ล็อตแรกประเทศไทยนําเข้ามาฉีดให้ประชาชนมาจากบริษัทอะไร
(1) บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
(2) บริษัทซิโนแวค
(3) บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
(4) บริษัทโนวาแวค
(5) บริษัทไฟเซอร์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกที่ประเทศไทยนําเข้ามาฉีดให้กับประชาชนก็คือ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) เป็นวัคซีนที่มาจากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยา และชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน

LAW4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

1. นายทองครอบครองที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามที่กฎหมายกําหนดเมื่อตอนเริ่มใช้ประมวลกฎหมายที่ดินต่อมาปี พ.ศ. 2537 นายทองได้ขายที่ดินให้แก่นายเพชร ต่อมาปี พ.ศ. 2563 ได้มีประกาศเดินสํารวจ ออกโฉนดที่ดิน นายเพชรได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการรังวัดที่ดินจึงได้รับโฉนดที่ดินในปีเดียวกัน ขณะนี้นายเพชรต้องการจะจดทะเบียนโอนที่ดินผืนนั้นให้แก่นายเงินบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ อยากทราบว่านายเพชรจะโอนที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี “เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสํารวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคําสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทําการสํารวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิด ประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานําหรือส่งตัวแทนมานําพนักงานเจ้าหน้าที่ ทําการสํารวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกําหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้ให้ได้ คือ

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง

(2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทองได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และเมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายทองไม่ได้แจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา และในปี พ.ศ. 2537 นายทองได้ขายที่ดินให้แก่นายเพชร การที่นายเพชรได้ครอบครองที่ดินต่อจากนายทองนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่งด้วย (มาตรา 27 ตรี วรรคสอง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใน พ.ศ. 2563 ทางราชการได้มีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชร ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง คือได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดิน จึงได้รับโฉนดที่ดินในปีนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2) โฉนดที่ดินที่นายเพชรได้รับมาจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปีนับแต่ วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ดังนั้น เมื่อนายเพชรต้องการจะโอน ที่ดินนั้นให้แก่นายเงินบุตรชอบด้วยกฎหมาย นายเพชรจึงสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเงินได้

สรุป นายเพชรสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเงินได้

 

ข้อ 2. นายอาทิตย์ยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์โดยส่งมอบที่ดินและเอกสารหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นางจันทร์ครอบครองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ต่อมานางจันทร์ ได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน โดยอ้างว่าตนมีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินได้เพราะเป็นผู้ครอบครอง ต่อเนื่องจากผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน

ดังนี้ อยากทราบว่าข้ออ้างของนางจันทร์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี
ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์ โดยส่งมอบที่ดินและเอกสารหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นางจันทร์ครอบครองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 นั้น เมื่อไม่ได้มีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมถือว่าเป็นการโอนที่ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่ง มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”
ดังนั้น การที่นายอาทิตย์ยกที่ดินที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ และส่งผลให้นางจันทร์เป็น เพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497) และเมื่อนางจันทร์ได้นําที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นการออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย โดยอ้างว่าตนมีสิทธิ ขอออกโฉนดที่ดินได้ เพราะเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น ข้ออ้างของนางจันทร์ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59

การออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่จะขอ ออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเท่านั้น กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยมีใบจอง หรือมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง หรือโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย เมื่อนางจันทร์เป็นเพียงผู้ที่ได้ครอบครองที่ดินมาจากการโอนให้ของ นายอาทิตย์ซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ และการโอนตกเป็นโมฆะ ไม่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองแต่อย่างใด นางจันทร์จึงนําที่ดินไปขอออก โฉนดที่ดินไม่ได้ และนางจันทร์จะอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองเพราะเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องมาจากผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะกรณีนี้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 วรรคสอง

สรุป ขออ้างดังกล่าวของนางจันทร์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 3. นายเอกได้จดทะเบียนจํานองที่ดินไว้กับนางสมศรีเพื่อเป็นประกันเงินที่กู้ยืมมา ต่อมานายเอกได้ ชําระหนี้ครบถ้วนและขอรับโฉนดที่ดินคืนเพื่อจะไปทําการจดทะเบียนไถ่ถอนจํานอง แต่นางสมศรีไม่ยอมคืนให้และบ่ายเบี่ยงเรื่อยมานายเอกกลัวว่านางสมศรีจะนําโฉนดที่ดินไปกระทําการที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ จึงไปขออายัดที่ดินไว้

ดังนี้ อยากทราบว่านายเอกจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ ที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดิน โดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้เจ้าของที่ดินทําการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้จดทะเบียนจํานองที่ดินไว้กับนางสมศรีเพื่อเป็นประกันเงินที่ กู้ยืมมานั้น แม้จะมีการจดทะเบียนจํานองก็ตาม แต่ในโฉนดที่ดินยังเป็นชื่อของนายเอก นายเอกยังคงเป็น เจ้าของที่ดินนั้น และมีสิทธิในที่ดินในอันที่จะให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินนั้นอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่านายเอกเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้น ดังนั้น การที่นายเอกได้ชําระหนี้ครบถ้วนและขอรับโฉนด ที่ดินคืนเพื่อจะไปทําการจดทะเบียนไถ่ถอนจํานอง แต่นางสมศรีไม่ยอมคืนให้และบ่ายเบี่ยงเรื่อยมา นายเอกกลัวว่า นางสมศรีจะนําโฉนดที่ดินไปกระทําการที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ จึงไปขออายัดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินของตนเองนั้นนายเอกจะขออายัดที่ดินไม่ได้

สรุป นายเอกจะขออายัดที่ดินไม่ได้

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. กรณีผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นโดยทําสัญญา ซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ดังนี้ อยากทราบว่าผู้ซื้อที่ดินในกรณีดังกล่าวจะขอออก โฉนดที่ดินได้หรือไม่ กรณีขอออกเป็นการเฉพาะราย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี
ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

อธิบาย

การขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่ จะขอออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีหนังสือแสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใบจอง หลักฐานแจ้งการครอบครอง เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

ดังนั้น หากมีการขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นโดยทําสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ถ้าที่ดินโอนนั้นเป็นที่ดินที่ผู้โอนมีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ผู้รับโอนซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้โอน ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองด้วย ตามมาตรา 59 วรรคสอง และสามารถนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายได้ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่ถ้าหากที่ดินที่โอนโดยทําสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กันนั้น เป็นที่ดินที่ผู้โอน มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทอื่น เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือใบจอง ผู้รับโอนแม้จะได้ ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อเนื่องมาจากผู้โอน ผู้รับโอนก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะไม่ได้ครอบครองฯ ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ดังนั้น ผู้รับโอนจะนํา ที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งไม่ได้

 

ข้อ 2. นายเอกได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ต่อมา ใน พ.ศ. 2550 นายเอกได้ยกที่ดินนั้นให้แก่นางจันทร์พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยส่งมอบที่ดิน พร้อมทั้งใบจองให้นางจันทร์ครอบครอง ขณะนี้ได้มีประกาศเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่นั้น

ดังนี้ อยากทราบว่านางจันทร์จะนําที่ดินนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจังหวัด ที่จะทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์สําหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จําแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสํารวจรังวัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สํานักงานที่ดิน ที่ว่าการอําเภอ ที่ว่าการกิ่งอําเภอ ที่ทําการกํานัน และที่ทําการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสํารวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทําการสํารวจรังวัด ทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการ ทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคสอง “ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง แต่ยังไม่ได้ รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดก

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกเจ้าของที่ดินที่มีเพียงใบจองได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางจันทร์ โดยส่งมอบที่ดินและใบจองให้นางจันทร์ครอบครองนั้น การยกที่ดินให้นางจันทร์ดังกล่าวถือเป็นการโอน ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคสอง เพราะไม่ได้เป็นการตกทอดทางมรดก ส่งผลให้ นางจันทร์เป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีใบจอง หรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ดังนั้น นางจันทร์จะ สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ก็ต่อเมื่อได้มีประกาศของทางราชการตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 เท่านั้น

และเมื่อได้ความว่า ในขณะนี้ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน อันถือว่า เป็นการออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น นางจันทร์ จึงสามารถนําที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้ โดยมานําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายเพื่อทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลา ที่พนักงานเจ้าหน้าที่นัดหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคสาม และนางจันทร์จะได้รับโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

สรุป นางจันทร์นําที่ดินแปลงนี้มาขอออกโฉนดที่ดินได้

 

ข้อ 3. นายใหญ่มีบุตร 2 คน คือ นายกลางและนางเล็ก นายกลางไปทํางานและมีครอบครัวที่ต่างจังหวัด ส่วนนางเล็กก็ทําหน้าที่ดูแลนายใหญ่ผู้เป็นบิดาตลอดมา นายใหญ่ได้ยกที่ดินตามโฉนดเนื้อที่ 10 ไร่ ให้แก่นางเล็กโดยมอบที่ดินพร้อมทั้งโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครอง ต่อมานายกลางทราบเรื่องจึงไปขอแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งแต่นางเล็กไม่ยอม วันหนึ่งนายกลางได้แอบเอาโฉนดที่ดินจากในห้องนอนของนางเล็กไป หลังจากนั้นนางเล็กจึงไปขออายัดที่ดินไว้ ดังนี้ อยากทราบว่านางเล็กจะขออายัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 33 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในที่ดินโดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
เช่น เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะผู้จะซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดิน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่มีบุตร 2 คน คือ นายกลางและนางเล็ก นายกลางไปทํางาน และมีครอบครัวที่ต่างจังหวัด ส่วนนางเล็กก็ทําหน้าที่ดูแลนายใหญ่ผู้เป็นบิดาตลอดมา ต่อมานายใหญ่ได้ยกที่ดิน ตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 10 ไร่ ให้แก่นางเล็ก โดยมอบที่ดินพร้อมทั้งโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครอง เมื่อนายกลาง ทราบเรื่องจึงไปขอแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง แต่นางเล็กไม่ยอม วันหนึ่งนายกลางได้แอบเอาโฉนดที่ดินจากในห้องนอน ของนางเล็กไป และหลังจากนั้นนางเล็กจึงไปขออายัดที่ดินไว้นั้น กรณีดังกล่าว นางเล็กจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า การที่นายใหญ่ได้ยกที่ดินโดยมอบที่ดินและโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครองโดยไม่ได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือเป็นคํามั่นว่าจะให้ที่ดินแก่นางเล็ก จึงถือว่านางเล็กเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ดังนั้น นางเล็กจึงสามารถ ขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 วรรคหนึ่งได้

สรุป นางเล็กจะขออายัดที่ดินได้

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน ใน พ.ศ. 2550 ได้มีประกาศ เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเพชรไม่ได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดินขณะนี้นายเพชรตกลงจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายเงิน จึงไปขอคําแนะนําจากนายอาทิตย์ซึ่งเป็นนักศึกษากฎหมาย นายอาทิตย์แนะนําว่าให้นายเพชรผู้ขายและนายเงินผู้ซื้อไปทําหนังสือและ จดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่า คําแนะนําของนายอาทิตย์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทํา ประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า ที่ดินที่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยการทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่า ได้ทําประโยชน์แล้ว)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเพียงหลักฐานการแจ้งการครอบครองนั้นไม่ถือว่านายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์แต่อย่างใด การที่นายเพชร
ตกลงขายที่ดินนั้นให้แก่นายเงิน นายเพชรจึงไม่สามารถนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่นายเงินได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9

ดังนั้น การที่นายเพชรไปขอคําแนะนําจากนายอาทิตย์ และนายอาทิตย์แนะนําว่าให้นายเพชร ผู้ขายและนายเงินผู้ซื้อไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 ทวิ แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินนั้น คําแนะนําของนายอาทิตย์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป คําแนะนําของนายอาทิตย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายหนึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน ใน พ.ศ. 2558 นายหนึ่งถึงแก่ความตาย และนายสองบุตรชายเพียงคนเดียวได้ครอบครอง ที่ดินตลอดมาจนได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการใน พ.ศ. 2561 ขณะนี้นายสองต้องการจะ จํานองที่ดินนั้นไว้กับนางเดือนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อเป็นประกันเงินกู้

ดังนี้ อยากทราบว่า นายสองจะจํานองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้า และวรรคหก “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้น ครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์

ภายในกําหนดระยะเวลาห้ามโอนตามวรรคห้า ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดย ไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ในปี พ.ศ. 2558 นายหนึ่งถึงแก่ความตาย และนายสองบุตรชายเพียงคนเดียว ได้ครอบครองที่ดินตลอดมาจนได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการในปี พ.ศ. 2561 นั้น ถือว่านายสองเป็นผู้ที่ได้รับ โฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดิน และทําประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และโดยไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ดังนั้น นายสองจึงอยู่ในบังคับห้ามโอนที่ดินดังกล่าว ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 วรรคห้า

แต่อย่างไรก็ดี การจํานองที่ดินนั้นไม่ถือว่าเป็นการโอนที่ดิน ดังนั้น นายสองจึงสามารถนําที่ดินไป จํานองไว้กับนางเดือนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อเป็นประกันเงินกู้ได้ เพียงแต่เมื่อมีการจํานองแล้ว และหนี้ถึงกําหนด ชําระ นายสองไม่ชําระหนี้ นางเดือนผู้รับจํานองก็ไม่สามารถฟ้องบังคับจํานองเอากับที่ดินนั้นได้ หากยังไม่พ้น
กําหนดห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ วรรคท้าย

สรุป นายสองสามารถจํานองที่ดินได้

 

ข้อ 3. นายดําเจ้าของบ้านเรือนแพตกลงขายเรือนแพนั้นให้แก่นายแดง บุคคลทั้งสองจึงนําเอกสาร หลักฐานไปขอทําการจดทะเบียนซื้อขาย ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ เจ้าพนักงานที่ดิน ปฏิเสธการจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าไม่มีอํานาจ ดังนี้อยากทราบว่า ข้ออ้างของเจ้าหนักงานที่ดิน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 71 วรรคหนึ่ง “ให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สําหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตท้องที่ สํานักงานที่ดินจังหวัดหรือสํานักงานที่ดินสาขานั้น”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักไว้ว่า เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ที่จะต้องนําเอกสารหลักฐาน ไปขอทําการจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ไม่ได้หมายความว่า การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทุกประเภทจะต้องไปขอจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดิน ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่แต่อย่างใด

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําเป็นเจ้าของเรือนแพและได้ตกลงขายเรือนแพนั้นให้แก่นายแดง เมื่อเรือนแพนั้นเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ และเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ มิใช่ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น นายดําและนายแดงจะนําเอกสารหลักฐานไปขอ ทําการจดทะเบียนซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ไม่ได้ การที่บุคคลทั้งสอง ได้นําเอกสารหลักฐานไปขอทําการจดทะเบียนจดทะเบียนซื้อขาย ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ และ เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าไม่มีอํานาจนั้น ข้ออ้างของเจ้าพนักงานที่ดินจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของเจ้าพนักงานที่ดินชอบด้วยกฎหมาย

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าโอนที่ดินโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดิน ให้แก่กัน อยากทราบว่าผู้รับโอนจะนําที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายโดยอ้างสิทธิ เป็นผู้ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

อธิบาย

การขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่จะขอโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีหนังสือแสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใบจอง หลักฐานแจ้งการครอบครอง เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสองได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้นให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

ดังนั้น หากมีการโอนที่ดินโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ถ้าที่ดินที่โอนนั้นเป็นที่ดินที่ ผู้โอนมีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ผู้รับโอนซึ่งได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้โอน ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองด้วยตามมาตรา 59 วรรคสอง และ สามารถนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายได้ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่ถ้าหากที่ดินที่โอนโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กันนั้น เป็นที่ดินที่ผู้โอนมีหนังสือสําคัญ แสดงสิทธิในที่ดินประเภทอื่น เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือใบจอง ผู้รับโอนแม้จะได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อเนื่องมาจากผู้โอน ผู้รับโอนก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะ ไม่ได้ครอบครองฯ ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ดังนั้น ผู้รับโอนจะนําที่ดินไปขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งไม่ได้

 

ข้อ 2. นายหนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ใน พ.ศ. 2545 ได้มีประกาศ เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายหนึ่งไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินของตน ใน พ.ศ. 2562 นายหนึ่งต้องการจะนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน จึงได้ไปยื่นคําร้องต่อศาล และศาลได้มีคําสั่งรับรองว่านายหนึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองจริง ขณะนี้นายหนึ่งตกลงจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายสอง ดังนี้ อยากทราบว่านายหนึ่งจะจดทะเบียน ขายที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า ที่ดินที่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอ ว่าได้ทําประโยชน์แล้ว)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง เมื่อนายหนึ่งต้องการจะนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินจึงได้ไปยื่นคําร้องต่อศาล และศาลได้มีคําสั่งรับรองว่านายหนึ่ง ได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองจริงนั้น ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้ง การครอบครองเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีคําสั่งศาล รับรองก็ไม่ใช่การรับรองว่าได้ทําประโยชน์แล้วตามนัยของมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น นายหนึ่งจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไม่ได้

สรุป นายหนึ่งจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 3. นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดินสองแปลงเนื้อที่ติดต่อกัน ขณะนี้นายเอกต้องการที่จะรวม ที่ดินทั้งสองแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด นายเอกไม่สะดวกที่จะ เดินทาง นายเอกจึงนําโฉนดที่ดินพร้อมเอกสารหลักฐานไปยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ เพื่อให้รับเรื่องและส่งไปที่สํานักงานที่ดินที่มีอํานาจดําเนินการรวมที่ดินให้ ดังนี้ อยากทราบว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 72 “ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คู่กรณีนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง สําหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินใบไต่สวนหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ คู่กรณีอาจยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน หรือสํานักงานที่ดิน แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ดําเนินการจดทะเบียนให้ เว้นแต่การจดทะเบียน ที่ต้องมีการประกาศหรือต้องมีการรังวัด”

วินิจฉัย

ผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากจะมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แล้ว บทบัญญัติมาตรา 72 วรรคสอง ยังให้สิทธิคู่กรณีอาจจะมายื่นคําขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินหรือสํานักงานที่ดินแห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1. ที่ดินที่จะต้องจดทะเบียนนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ กล่าวคือ ถ้ามีเอกสารอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะยื่นคําขอไม่ได้

2. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการประกาศก่อน กล่าวคือ กรณีใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องทําเรื่องประกาศก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจะมาใช้มาตรา 72 วรรคสองไม่ได้

3. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการรังวัดก่อน

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องการจดทะเบียนรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 79 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ดังกล่าว ข้างต้น แม้ที่ดินที่นายเอกจะรวมเข้าด้วยกันนั้นจะเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน และการจดทะเบียนดังกล่าวจะไม่ต้อง มีการประกาศก่อนก็ตาม แต่การจดทะเบียนรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันนั้น บทบัญญัติมาตรา 79 ให้นํามาตรา 69 ทวิ มาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ จะต้องมีการรังวัดสอบเขตที่ดินก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 72 วรรคสอง ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ไม่ได้ นายเอกจะต้องยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินที่มีอํานาจดําเนินการรวมที่ดินให้เท่านั้นตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71

สรุป พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ไม่ได้

 

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายทองครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน ใน พ.ศ. 2541 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายทอง ไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดิน ใน พ.ศ. 2553 นายทองขายที่ดินแปลงนั้น ให้แก่นายเพชรโดยทําหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองที่บ้านของนายทองแล้วส่งมอบที่ดินให้นายเพชร ครอบครองต่อมา ขณะนี้นายเพชรได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน อยากทราบว่านายเพชรจะขอ ออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

มาตรา 59 ทวิ “ผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ
โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจําเป็นจะขอออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเพชรจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า การที่นายทองซึ่งเป็นผู้ครอบครอง และทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ได้ขายที่ดินแปลงนั้นให้แก่ นายเพชร โดยทําหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองแล้วมอบที่ดินให้นายเพชรครอบครองนั้น ย่อมส่งผลให้นายเพชร เป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

และในขณะนี้นายเพชรได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประกาศของทาง ราชการเพื่อจะออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จึงต้องพิจารณาการออกโฉนดที่ดิน แบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สําหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายเพชรเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังนั้นนายเพชรจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวล กฎหมายที่ดินมาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายเพชรก็จะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนายเพชรมิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่งมี หลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้นั้น กฎหมายกําหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นายเพชรเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นายเพชรจึงไม่สามารถขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นายเพชรเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จะขอ ออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย

 

ข้อ 2. นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองทําประโยชน์ ใน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศของทาง ราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเอกไม่ได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการรังวัดที่ดินใน พ.ศ. 2550 นายเอกถึงแก่ความตาย นายโทบุตรชายรับมรดกที่ดินนั้น ขณะนี้นายโทได้ตกลง ขายที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายตรี ดังนี้ อยากทราบว่า นายโทจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าว ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้วจึงสามารถโอนให้แก่กันได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 แต่การโอนนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์นั้น แม้จะ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเอก ไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดินจึงไม่ได้รับโฉนดที่ดินนั้น เมื่อนายเอกได้ถึงแก่ความตาย ใน พ.ศ. 2550 และนายโทบุตรชายได้เข้ามารับมรดกที่ดินนั้น นายโทซึ่งเป็นทายาทของนายเอกย่อมมีสิทธิ เช่นเดียวกับนายเอก คือให้ถือว่านายโทเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ด้วย ดังนั้น เมื่อนายโท ได้ตกลงจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์แปลงนั้นให้กับนายตรี นายโทย่อมสามารถที่จะจดทะเบียนโอนขายที่ดินนั้นให้แก่นายตรีได้ แต่การโอนนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ

สรุป นายโทสามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่นายตรีได้

 

ข้อ 3. กรณีโฉนดที่ดินหาย อยากทราบว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในที่ดินโดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โฉนดที่ดินหาย ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่นั้น เห็นว่าการเป็นเจ้าของที่ดินนั้น บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิในที่ดินในวันที่จะให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะ ฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้น ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจึงขออายัดที่ดินของตนเองไม่ได้

สรุป ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดที่ดินของตนไม่ได้

LAW4008 กฎหมายที่ดิน 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4008 กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายสง่าครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายสง่าไม่ได้แจ้งการครอบครองตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ใน พ.ศ. 2528 นายสง่าถึงแก่ความตายและนายเพชรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ครอบครองที่ดิน ต่อมา ใน พ.ศ. 2559 ทางราชการได้เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชรไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ สํารวจรังวัดที่ดินจึงได้โฉนดที่ดินในปีนั้น ขณะนี้นายเพชรต้องการจะโอนที่ดินให้แก่นายทอง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ อยากทราบว่า นายเพชรจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้นายทองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี “เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสํารวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคําสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทําการสํารวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิด ประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานําหรือส่งตัวแทนมานําพนักงานเจ้าหน้าที่ ทําการสํารวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกําหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสง่าได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และเมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายสง่าไม่ได้แจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา และในปี พ.ศ. 2528 นายสง่าถึงแก่ความตายและนายเพชรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ครอบครองที่ดินต่อจาก นายสง่านั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่งด้วย (มาตรา 27 ตรี วรรคสอง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใน พ.ศ. 2559 ทางราชการได้มีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชร ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง คือได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัด ที่ดิน จึงได้รับโฉนดที่ดินในปีนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2) โฉนดที่ดินที่นายเพชรได้รับมาจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ดังนั้น เมื่อนายเพชรต้องการจะ โอนที่ดินนั้นใน นให้แก่นายทอง นายเพชรจึงสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองได้

สรุป นายเพชรสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองได้

 

ข้อ 2. นายมกราเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใน พ.ศ. 2535 นายมกราได้ ยกที่ดินนั้นก็ใช้หนี้ให้แก่นายมีนาแทนหนี้เงินที่ค้างชําระ โดยส่งมอบที่ดินพร้อมหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์ให้นายมีนา และนายมีนาก็ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องมา ใน พ.ศ. 2552 นายมีนาถึงแก่ความตาย นายพฤษภาบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียวของนายมีนาได้เข้า ครอบครองและทําประโยชน์ตลอดมา ขณะนี้นายพฤษภาได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่า นายพฤษภาจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

มาตรา 59 ทวิ “ผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจําเป็นจะขอออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมกราซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ ยกที่ดินนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายมีนา โดยมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือเป็น การโอนที่ไม่ทําตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ที่กําหนดว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกที่ดินที่ใช้หนี้ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายมีนาเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ใน พ.ศ. 2552 นายมีนาถึงแก่ความตาย และนายพฤษภาบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายมีนาได้เข้าครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ดังนี้ นายพฤษภาซึ่งเป็นทายาท ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับนายมีนา คือ เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

และในขณะนี้นายพฤษภาได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประกาศของทางราชการ เพื่อจะออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 จึงต้องพิจารณาการออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สําหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ผู้ที่จะขอออก โฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายพฤษภาเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมาย ที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังนั้นนายพฤษภาจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายพฤษภาจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่อง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนายพฤษภามิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่ง มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้นั้น กฎหมายกําหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นายพฤษภาเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นายพฤษภาจึงไม่สามารถ ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นายพฤษภาเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับจะขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย

 

ข้อ 3. นางสมรซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมได้นําเอกสารหลักฐานไปที่สํานักงานที่ดิน
ซึ่งที่ดินที่เป็นมรดกตั้งอยู่เพื่อขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่านางสมรไม่มีคําสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดง

ดังนี้ อยากทราบว่า การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก ให้ผู้ได้รับมรดกนําหลักฐานสําหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานใน การได้รับมรดกมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวนั้นได้

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐาน และเชื่อได้ว่าผู้ขอเป็นทายาทแล้ว ให้ประกาศ โดยทําเป็นหนังสือปิดไว้ในที่เปิดเผยมีกําหนดสามสิบวัน ณ สํานักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ สํานักงานเทศบาล ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล ที่ทําการแขวงหรือที่ทําการกํานันท้องที่ ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่า เป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกโต้แย้งภายในกําหนดเวลา ที่ประกาศและมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิได้รับมรดกแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียน ให้ตามที่ผู้ขอแสดงหลักฐานการมีสิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 82 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดิน ให้ยื่นคําขอพร้อมด้วยนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคําสั่งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียน ให้ตามคําขอ แต่ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจสอบหลักฐาน และให้ นําความในมาตรา 61 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อ ผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสมรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมนั้น ถือว่า นางสมรเป็นผู้จัดการมรดกโดยทางอื่นนอกจากโดยคําสั่งศาล เมื่อนางสมรได้นําเอกสารหลักฐานไปยื่นคําขอ จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงในโฉนดที่ดิน พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดําเนินการตามมาตรา 82 ประกอบ มาตรา 81 วรรคสอง กล่าวคือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง ประกาศเป็นหนังสือก่อนมีกําหนด 30 วัน ณ สํานักงานที่ดิน และให้ส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่า เป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีผู้โต้แย้งภายในกําหนดเวลาที่ประกาศและมีหลักฐาน เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิตามกฎหมาย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดง สิทธิในที่ดินได้เลย แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือ คําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์เมื่อนางสมรได้ไปยื่นคําขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้ โดยอ้างว่านางสมรไม่มีคําสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงนั้น การปฏิเสธของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

WordPress Ads
error: Content is protected !!