การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีจํานวนสมาชิกกี่ประเทศ
(1) 189 ประเทศ
(2) 190 ประเทศ
(3) 191 ประเทศ
(4) 192 ประเทศ
(5) 193 ประเทศ
ตอบ 5 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 77 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีสาธารณรัฐซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

Advertisement

2.ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติประเทศล่าสุดคือประเทศใด
(1) สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์
(2) สาธารณรัฐประชาชนลูฮานสค์
(3) สาธารณรัฐประชาชนใครเมีย
(4) สาธารณรัฐซูดานใต้
(5) สาธารณรัฐเซาท์ออสซีเชีย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียและการผนวกสาธารณรัฐไครเมียของรัสเซียเกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. ใด
(2) ค.ศ. 2010
(1) ค.ศ. 2008
(3) ค.ศ. 2012
(4) ค.ศ. 2014
(5) ค.ศ. 2016
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของใครเมียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งผลการลงประชามติพบว่าคนส่วนใหญ่เห็นชอบที่จะแยกดินแดนออกจาก ยูเครนเพื่อผนวกดินแดนกับรัสเซีย แต่การลงประชามติดังกล่าวถูกคัดค้านและประณาม จากกลุ่มประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของความชอบธรรม

4.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 2025
(2) ค.ศ. 2030
(3) ค.ศ. 2035
(4) ค.ศ. 2040
(5) ค.ศ. 2045
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่สํานักงานใหญ่ สหประชาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการประชุมเพื่อกําหนด เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการบรรลุการพัฒนา ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาตามเป้าหมายจะเริ่มในปี ค.ศ. 2015 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายทั้งสิ้น 17 ข้อ เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษา ที่มีคุณภาพ การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ การจัดการน้ําและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน เป็นต้น

5.การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่ใด
(1) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
(2) ลอนดอน สหราชอาณาจักร
(3) ปารีส ฝรั่งเศส
(4) อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
(5) มาดริด สเปน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายทั้งสิ้นกี่ข้อ
(1) 8 ข้อ
(2) 10 ข้อ
(3) 12 ข้อ
(4) 15 ข้อ
(5) 17 ข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตกได้นําวิธีการการลงประชามติ
มาใช้กับดินแดนใดก่อน
(1) โคโซโว
(2) บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
(3) นอร์ทมาซิโดเนีย
(4) นากอร์โน คาราบัค
(5) อาร์ทซัค
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตก
ได้นําวิธีการลงประชามติมาใช้กับโคโซโว เพื่อแยกดินแดนโคโซโวออกจากเซอร์เบีย

8.สงคราม 5 วันที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย เกิดขึ้นในประเทศใด
(1) ยูเครน
(2) จอร์เจีย
(3) อาร์เมเนีย
(4) อาเซอร์ไบจาน
(5) คาซัคสถาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงคราม 5 วัน เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศจอร์เจีย เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย โดยคู่สงครามประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายของจอร์เจียกับฝ่ายของเซาท์ออสเซเทียและรัสเซีย

9. สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างชาติใด
(1) รัสเซีย-จอร์เจีย
(2) อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
(3) รัสเซีย-อาร์เมเนีย
(4) รัสเซีย-อาเซอร์ไบจาน
(5) จอร์เจีย-อาเซอร์ไบจาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างอาร์เมเนีย กับอาเซอร์ไบจาน สองอดีตสาธารณรัฐสมาชิกสหภาพโซเวียตในภูมิภาคคอเคซัส โดยทั้งสองประเทศทําสงครามนองเลือดกันมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980

10. ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อใด
(1) 14 มกราคม ค.ศ. 2022
(2) 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(3) 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(4) 14 มีนาคม ค.ศ. 2022
(5) 18 มีนาคม ค.ศ. 2022
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เมื่อวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้แถลงผ่านโทรทัศน์ประกาศ เริ่มปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ดอนบาสหรือภูมิภาคตะวันออกของยูเครน โดยอ้างว่า มีจุดประสงค์เพื่อขจัดนาซี ปกป้องพลเรือน และรับมือภัยคุกคามที่มาจากยูเครน ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติความขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่และรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

11. คํากล่าวเกี่ยวกับความเป็นจริงในการเมืองระหว่างประเทศข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ในทางปฏิบัติทุกประเทศมีความเท่าเทียมกัน
(2) สัดส่วนการครอบครองทรัพยากรของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
(3) รัฐขนาดเล็กมักตกเป็นตัวเบี้ยของรัฐมหาอ่านาจ
(4) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีไม่เกิน 6 รัฐ
(5) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีเพียงร้อยละ 5 ของจํานวนรัฐทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 199 รัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศในทางปฏิบัติไม่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอํานาจของชาติโดยตรง

12. การจัดลําดับรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ
เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สบิกเนียฟ เบรเซนส
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 3 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้จัดลําดับรัฐในเวทีการเมือง ระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยเห็นว่า ลักษณะ ของการเมืองระหว่างประเทศจะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และ ไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น

13. มาตรฐานการแบ่งรัฐตามความสามารถในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนสกี
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 2 หน้า 200 เค. เจ. โฮลสติ (K. J. Holsti) เห็นว่า มาตรฐานของการจัดแบ่งรัฐเป็นประเภท ต่าง ๆ ที่สําคัญก็คือ ความสามารถของรัฐต่าง ๆ ที่จะสร้างพันธะกับรัฐอื่น ๆ ว่ามีขอบเขต แค่ไหน และรัฐนั้น ๆ สามารถจะปฏิบัติตามพันธะนั้น ๆ ได้แค่ไหน อย่างไร ความแตกต่าง ระหว่างรัฐมหาอํานาจกับรัฐเล็กพิจารณาได้จากการประเมินหรือคาดคิดเอาอย่างกว้าง ๆถึงปัจจัยทั้งที่มองเห็นได้ชัดและที่ไม่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ความสามารถหรือสมรรถภาพของรัฐ

14. โจเซฟ สตาลิน ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐในด้านใด
(1) กําลังทหาร
(2) อํานาจอธิปไตย
(3) นิติรัฐ นิติธรรม
(4) อํานาจนิติบัญญัติ
(5) อํานาจตุลาการ
ตอบ 1 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร (กําลังทหาร) ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นํา สหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

15. ขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรมตามแนวคิดของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี แบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
(5) 6 ขั้นตอน
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรม 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

16. นโยบายต่างประเทศของรัฐเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับอะไร
(1) การทูต
(2) นโยบายภายในประเทศ
(3) นโยบายต่างประเทศ
(4) ผลประโยชน์ของประเทศ
(5) ทรัพยากรของชาติ
ตอบ 4 หน้า 207 นโยบายต่างประเทศของรัฐ หมายถึง หลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกําหนด และควบคุมการกระทําของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่นโยบาย ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติโดยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความสามารถของแต่ละรัฐ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของรัฐจึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับผลประโยชน์ของชาติ

17. คําว่า “ชาติขนาดกลาง” ตามแนวคิดของศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือข้อใด
(1) ชาติที่มีประชากรจํานวนระหว่าง 5 – 10 ล้านคน
(2) ชาติที่มีสัดส่วนในการครอบครองทรัพยากรของโลกทั้งหมดเพียงแค่ร้อยละ 20
(3) ชาติที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10 ล้านตารางกิโลเมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 ล้านตารางกิโลเมตร
(4) ชาติที่ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่ง ประเภทของรัฐตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่ได้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

18. โครงสร้างอํานาจในการเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็นมีลักษณะเช่นไร
(1) การมีศูนย์อํานาจแห่งเดียว
(2) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยเคร่งครัด
(3) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยไม่เคร่งครัด
(4) การมีศูนย์แห่งอํานาจหลายศูนย์
(5) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน
ตอบ 5 หน้า 205 การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน (Bi-Multipolar Structure) คือ สภาพการเมืองระหว่างประเทศที่มีการผสมกันระหว่างการมีสองศูนย์แห่งอํานาจและการมีหลายศูนย์แห่งอํานาจในระบบการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็น เป็นต้น

19. นักวิชาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มองว่านโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศไม่สามารถแยกจากกันได้คือท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนส
(5) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
ตอบ 5 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) มองว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

20. ขั้นตอนแรกในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ คือ
(1) การกําหนดนโยบาย
(2) การประเมินนโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การวางแผน
(5) การสรุปผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 209 กระบวนการในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ประกอบด้วยขั้นตอนอย่างน้อย
2 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดหรือการวางนโยบาย
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติ

21. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ความอยู่รอด
(2) ความมั่นคง
(3) ความมั่งคั่ง
(4) เกียรติภูมิและศักดิ์ศรี
(5) ระเบียบวินัย
ตอบ 5 หน้า 25 – 30, (คําบรรยาย) เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศ

22. ข้อใดคือปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ
(1) สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
(2) ทรัพยากรทางธรรมชาติ
(3) ทรัพยากรมนุษย์
(4) องค์ความรู้และเทคโนโลยี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ได้แก่
1. สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
2. ทรัพยากรทางธรรมชาติ
3. ทรัพยากรมนุษย์
4. องค์ความรู้และเทคโนโลยี

23. ข้อใดถือว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ
(1) การเน้นการส่งออกมากกว่านําเข้า
(2) การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย
(3) การสร้างงานให้ประชาชนในรัฐ
(4) การพัฒนาการศึกษาและเทคโนโลยี
(5) การรักษาสนธิสัญญาที่รัฐให้สัตยาบัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่มีลักษณะไม่สามารถ ประนีประนอมได้ หากถูกละเมิดหรือถูกทําให้เสียหายรัฐพร้อมตอบโต้ด้วยทุกเครื่องมือและ สรรพกําลังทั้งหมดที่มี เช่น การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือ
(1) ต้นทุน
(2) ความเสี่ยง
(3) ประสิทธิผล
(4) บุคลิกภาพของผู้นํารัฐ
(5) ช่วงเวลาในการเลือกใช้เครื่องมือ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ได้แก่ 1. ต้นทุน 2. ความเสี่ยง 3. ประสิทธิผล 4. ช่วงเวลา

25. เครื่องมือประเภทใดที่รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้าย
(1) การเจรจา
(2) มาตรการเชิงลบในการค้าระหว่างประเทศ
(3) เครื่องมือทางการทหาร
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การทูตเชิงวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 43, (คําบรรยาย) เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ เครื่องมือนี้รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้ายเมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือ ทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

26. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง
(1) สหรัฐฯ ไม่พอใจที่รัฐบาลจีนแทรกแซงค่าเงินหยวน
(2) ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา
(3) เกาหลีใต้ใช้มาตรการคว่ําบาตรญี่ปุ่นทําให้ยอดส่งออกเบียร์ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 90
(4) จีนประกาศงดการนําเข้าข้าวบาร์เลย์จากออสเตรเลีย
(5) สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บ มะพร้าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง เป็นความ ขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นปัญหาด้านดินแดนและอาณาเขต อุดมการณ์ หรือผู้นําทางการเมือง เช่น ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ซึ่งนําไปสู่ สงครามเย็นในช่วง ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นต้น

27. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) การลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980
(2) การทําสงครามทางทะเลอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ในช่วง ค.ศ. 1652 – 1654
(3) สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย

(4) สงครามเย็น
(5) การยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930 อันนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997 เป็นต้น
2. ความแตกต่างทางด้านศาสนาและความเชื่อ เช่น สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วง ทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย เป็นต้น
3. ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บมะพร้าว เป็นต้น

28. ประเทศใดที่สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สวีเดนและเดนมาร์ก
(2) นอร์เวย์และเดนมาร์ก
(3) สเปนและนอร์เวย์
(4) ฟินแลนด์และสวิตเซอร์แลนด์
(5) สวีเดนและฟินแลนด์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) สวีเดนและฟินแลนด์ได้สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นการตัดสินใจ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัสเซียรุกรานยูเครน โดยทั้งสองประเทศหวังว่าการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับชาติของตน

29. เหตุการณ์ใดไม่ถือว่าเป็นการก่อการร้าย
(1) เหตุการณ์ 9/11
(2) การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914
(3) เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005
(4) ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดาระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997
(5) เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตันมาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง การใช้ความรุนแรงที่ผิดปกติ โดยมีเป้าหมายที่จะทําให้เกิดความหวาดกลัวด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อบีบบังคับหรือข่มขู่ หรือการทําลายล้างผลาญ หรือการข่มขู่ว่าจะสังหารหรือการสังหาร ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ถือว่า เป็นการก่อการร้าย เช่น เหตุการณ์ 9/11 การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914 เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005 เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตัน มาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013 เป็นต้น

30. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
(2) ความร่วมมือระหว่างประเทศสร้างข้อผูกพันระหว่างรัฐภายใต้กรอบความร่วมมือ
(3) ความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะรัฐเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
(4) ความร่วมมือระหว่างประเทศถูกจํากัดด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
(5) ความร่วมมือระหว่างประเทศช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
2. เป็นการสร้างข้อผูกพันระหว่างกันภายใต้กรอบความร่วมมือ
3. เกิดขึ้นเพราะเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
4. เป็นการลดข้อจํากัดด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
5. ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ

31. ข้อใดกล่าวถึงการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธีได้ไม่ถูกต้อง
(1) การทูต คือ การใช้การเจรจาต่อรองระหว่างคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย
(2) การใช้คนกลาง คือ การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่อํานวยความสะดวกเพื่อให้ ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากัน แต่ประเทศที่สามไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการเจรจา
(3) การไกล่เกลี่ย คือ การที่ประเทศที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจากับคู่กรณี
(4) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติ
(5) การใช้องค์การสหประชาชาติ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทขึ้นสู่คณะมนตรีความมั่นคงเพื่อให้ตัดสิน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทําหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้มาจากคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งโดยใช้หลักการของกฎหมาย มิใช่วิธีการที่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งให้

32. ข้อใดเรียงลําดับพัฒนาการของความสัมพันธ์จากปกติไปสู่สงครามได้ถูกต้อง
(1) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์สงคราม
(2) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์สงคราม
(3) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์ ความขัดแย้ง-สงคราม
(4) ความสัมพันธ์แบบปกติ-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-สงคราม
(5) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-สงคราม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัฒนาการของความสัมพันธ์ของรัฐจากปกติไปสู่สงคราม สามารถเรียงลําดับ ได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์แบบปกติ
2. ความขัดแย้ง
3. ความตึงเครียด
4. วิกฤติการณ์
5. สงคราม

33. “เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก” ถือเป็นการ ก่อการร้ายประเภทใด
(1) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism)
(2) การก่อการร้ายเพื่อล้มอํานาจ (Insurrectionary Terrorism)
(3) การก่อการร้ายชาตินิยม (Nationalist Terrorism)
(4) การก่อการร้ายระดับโลก (Global Terrorism)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism) เป็นการก่อการร้ายที่มีผู้ก่อการ เพียงคนเดียว ซึ่งเป้าหมายของการก่อการร้ายอาจจะเป็นการต่อต้านประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทางการเมืองก็ได้ เช่น เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก เป็นต้น

34. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบหลักของระบอบระหว่างประเทศ
(1) กติกาหรือบรรทัดฐาน
(2) หลักการ
(3) สถานที่ตั้ง
(4) กฎเกณฑ์
(5) กระบวนการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 122, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่าย ทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เป็นต้น

35. ข้อใดจัดว่าเป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศมหาอํานาจ
(1) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
(2) การจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
(3) ความร่วมมือทางการทูตเรื่องความปลอดภัยของนักการทูต
(4) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(5) ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 เป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศ มหาอํานาจ คือ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธ นิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ และส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

36. สถาบันใดที่นับว่ามีลักษณะเป็นระบอบระหว่างประเทศ
(1) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GAT)
(2) องค์การการค้าโลก (WTO)
(3) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
(4) องค์การสหประชาชาติ (UN)
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

37. ข้อใดจัดว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ
(1) บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC)
(2) แกนแห่งความชั่วร้าย (Axis of Evil)
(3) ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
(4) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) กลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสาน ของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการก่อตั้ง มีสนธิสัญญาเป็นกรอบชัดเจนที่จะผูกมัดประเทศสมาชิกทุกประเทศ และมีการก่อตั้งในรูปขององค์การระหว่างประเทศ มีสถาบันบริหาร ระเบียบกระบวนการบริหาร และแนวทางการทํางานรวมทั้งโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน กลุ่มพันธมิตรนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งหรือ มีแนวโน้มว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้น เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นต้น

38. ข้อใดกล่าวถึง “ความเท่าเทียมกัน” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในการครอบครองทรัพยากร
(2) รัฐในคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) มีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎขององค์การสหประชาชาติ
(3) อํานาจอธิปไตยของรัฐทําให้รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย
(4) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความสามารถเท่าเทียมกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตยที่ทําให้แต่ละรัฐในสังคมระหว่าง ประเทศมีความเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริงกลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

39. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะ “อนาธิปไตย” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ
(2) รัฐมหาอํานาจในแต่ละยุคสมัยเป็นผู้กําหนดกฎเกณฑ์สากลให้สังคมระหว่างประเทศ
(3) สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นลําดับชั้นระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก
(4) ศูนย์กลางทางอํานาจของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ที่องค์การสหประชาชาติ
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้มีอํานาจตุลาการสูงสุดในสังคมระหว่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) ลักษณะ “อนาธิปไตย” (Anarchy) ในสังคมระหว่างประเทศ คือ การที่สังคมระหว่างประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

40. ข้อใดกล่าวถึงการขึ้นต่อกัน (Interdependence) ระหว่างรัฐในสังคมระหว่างประเทศได้ไม่ถูกต้อง
(1) ข้อจํากัดและความแตกต่างของการถือครองทรัพยากรธรรมชาติทําให้รัฐต้องพึ่งพาอาศัยกัน
(2) รัฐเล็กต้องพึ่งพารัฐใหญ่เสมอ
(3) การกระจายตัวของทรัพยากรทําให้เกิดระบบการแบ่งงานกันทําระหว่างประเทศ
(4) ปัญหาที่สังคมระหว่างประเทศต้องเผชิญ เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทําให้รัฐ ต้องขึ้นต่อกันมากขึ้น
(5) การขึ้นต่อกันระหว่างรัฐเป็นผลมาจากการผลิตตามความถนัดของแต่ละรัฐ
ตอบ 2 หน้า 193 – 195 ในสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะของการขึ้นต่อกันและการต้องพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน (Interdependence) ในบรรดารัฐต่าง ๆ ทั้งรัฐเล็กและรัฐใหญ่อยู่เสมอ ไม่เฉพาะ รัฐเล็กเท่านั้นที่มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐใหญ่ แต่รัฐใหญ่ก็มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐเล็กเช่นกัน เพราะรัฐใหญ่ต้องอาศัยการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากรัฐเล็กต่าง ๆ ในการดําเนินนโยบายต่างประเทศของตน

41. เหตุการณ์ใดที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มจํานวนของรัฐในสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน
(1) การแยกตัวของปากีสถานออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947
(2) การแยกตัวของยูโกสลาเวีย
(3) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(4) แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวันในปี ค.ศ. 2022
(5) การแยกตัวของสิงคโปร์จากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965
ตอบ 4 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนรัฐในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม เช่น ปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947 บังกลาเทศแยกตัวออกจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1973 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ในปี ค.ศ. 1965 เป็นต้น
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

42. สันนิบาตชาติกําเนิดขึ้นจากข้อเสนอของ…………การจัดระเบียบระหว่างประเทศ
(1) จิมมี่ คาร์เตอร์
(2) เอมมานูเอล คานท์
(3) เดวิด โจนส์
(4) วูดโรว์ วิลสัน
(5) แซงต์ ปีแยร์
ตอบ 4 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยเกิดจากข้อเสนอของ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ในการจัดระเบียบระหว่างประเทศ

43. สหประชาชาติมีอายุกี่ปีในปี ค.ศ. 2022
(1) 76
(2) 77
(3) 78
(4) 75
(5) 79
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

44. เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติในปัจจุบันคือใคร
(1) นายบัน คี-มูน
(2) นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช
(3) นายเดวิด มัลพาสส์
(4) นายโรเบิร์ต ซิลแคล
(5) นายโคฟี แอนนั้น
ตอบ 2 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตาม
คําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

45. กฎบัตรสหประชาชาติมีวิวัฒนาการมาจาก
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) กฎบัตรฮาวานา
(3) กฎบัตรสันนิบาตชาติ
(4) กฎบัตรซานฟรานซิสโก
(5) กฎบัตรเจนีวา
ตอบ 1หน้า 150, 227 – 246, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ มีวิวัฒนาการมาจากกฎบัตร แอตแลนติก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวดที่ 5 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง, หมวดที่ 6 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การมอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการ ระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวดที่ 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคาม ต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน การดําเนินการของคณะมนตรี ความมั่นคงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพ, หมวดที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ ความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

46. สหประชาชาติมีองค์กรสําคัญ…….องค์กร
(1) 8
(2) 9
(3) 7
(4) 5
(5) 6
ตอบ 5 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
2. คณะมนตรีความมั่นคง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
6. สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

47. การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติจัดทุกปีที่
(1) ปารีส
(2) เจนีวา
(3) นิวยอร์ก
(4) ลอนดอน
(5) บรัสเซลล์
ตอบ 3 หน้า 144, (คําบรรยาย) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียง 1 เสียง ซึ่งสมัชชาจะจัดประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง เดือนกันยายน – ธันวาคม ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีผู้นําหรือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุม

48. คณะกรรมการที่ 6 ในสมัชชาสหประชาชาติรับผิดชอบปัญหา
(1) กฎหมาย
(2) เศรษฐกิจ
(3) การเมือง
(4) สังคม
(5) การบริหาร
ตอบ 1 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้
1. คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและสันติภาพของโลก
2. คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง
3. คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม
4.คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
5.คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและงบประมาณ
6. คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

49. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 14
(2) 18
(3) 16
(4) 15
(5) 13
ตอบ 4 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

50. คณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ในหมวด…….
(1) 6
(2) 8
(3) 7
(4) 5
(5) 9
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

51. ในปัจจุบันองค์กรที่มีบทบาทในการส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจ คือ
(1) เลขาธิการสหประชาชาติ
(2) สมัชชาสหประชาชาติ
(3) ศาลโลก
(4) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 150 กองกําลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นตามหลักการความมั่นคงร่วม เป็นกองกําลังทหารที่รัฐสมาชิกส่งไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็น หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตัดสินใจส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสันติภาพตามที่รัฐสมาชิกร้องขอ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ ปฏิบัติภารกิจในระยะ 6 เดือน และอาจต่อเวลาออกไปอีกได้เป็นกรณี ๆ ไป

52. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก…….ประเทศ
(1) 30
(2) 35
(3) 40
(4) 45
(5) 54
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ ซึ่งเลือก โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และทุก ๆ ปี 1 ใน 3 ของ สมาชิกจะต้องจับสลากออก แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้

53. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกามีที่ตั้งอยู่ที่
(1) กรุงเทพ
(2) ซานติเอโก
(3) เบรุต
(4) เจนีวา
(5) กาตาร์
ตอบ 2 หน้า 154 – 155, (คําบรรยาย) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมมีคณะกรรมาธิการส่วนภูมิภาค ทั้งหมด 5 คณะกรรมาธิการ คือ
1. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับยุโรป มีสํานักงานอยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกา มีสํานักงานอยู่ที่ซานติเอโก ประเทศชิลี
3. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก มีสํานักงานอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
4. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับเอเชียตะวันตก มีสํานักงานอยู่ที่เบรุต ประเทศเลบานอน
5. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับแอฟริกา มีสํานักงานอยู่ที่แอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย

54. ศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษา…….คน
(1) 10
(2) 20
(3) 14
(4) 15
(5) 16
ตอบ 4 หน้า 41 – 42, 167, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกของ องค์การสหประชาชาติ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

55. องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้าน
(1) เศรษฐกิจ การเมือง
(2) การทหาร
(3) การทหาร เศรษฐกิจ การเมือง
(4) เศรษฐกิจ
(5) อวกาศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization : SCO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้านการทหาร เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีสํานักเลขาธิการถาวรตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้มีสมาชิก 9 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ปากีสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และอิหร่าน

56. SAARC คือสมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคใด
(1) แอฟริกา
(2) เอเชีย
(3) เอเชียเหนือ
(4) เอเชียใต้
(5) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 เป็นองค์กรความร่วมมือองค์กรแรก ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

57.BIMSTEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุทวีป มีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 5
(2) 8
(3) 4
(4) 6
(5) 7
ตอบ 5 หน้า 223 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจในอ่าวเบงกอล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย

58. สํานักเลขาธิการถาวรองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ที่……
(1) เทียนสิน
(2) เซี่ยงไฮ้
(3) ปักกิ่ง
(4) ซีอาน
(5) หางโจว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

59.RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคพัฒนามาจาก
(1) อาเซียน + 6
(2) อาเซียน + 3
(3) อาเซียน + 8
(4) อาเซียน + 7
(5) อาเซียน + 5
ตอบ 1 (คําบรรยาย) RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) เป็นการพัฒนามาจากแนวคิดอาเซียน + 6 ถือเป็นความร่วมมือ ข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก ทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา และประเทศ คู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

60. อาเซียนใน ค.ศ. 2022 มีอายุ…..ปี
(1) 45 ตอบ 5
(2) 56
(3) 46
(4) 64
(5) 55
หน้า 180, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 55 ปี) โดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันอาเซียน (ASEAN Day)

61. ความร่วมมือข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก คือ
(1) RCEP
(2) ASEAN
(3) SCO
(4) ADB
(5) SAARC
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือข้อใด
(1) Dialogue
(2) Negotiation
(3) Treaty
(4) Document
(5) Declaration
ตอบ 3, 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา (Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เป็นต้น

63. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศตวรรษที่ 20
(1) เกิดสงครามสามสิบปีในยุโรป
(2) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) เกิดสงครามเย็น
(5) อเมริกาทําสงครามที่เวียดนาม
ตอบ 1 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง
ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

64. กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น
(1) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ
(2) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ
(3) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
(4) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ

ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

65. สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แก่
(1) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และจีน
(2) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน
(3) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่น
(4) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น
(5) สหรัฐฯ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

66. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 4 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) จัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สําคัญ โดยเป้าหมายของรัฐที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ ต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย หรือของรัฐอื่น ๆ และบีบบังคับหรือโน้มน้าวจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

67. อนุสัญญาใดที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต
(1) Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961
(2) Westphalia Convention on Diplomatic Relations 1961
(3) Paris Convention on Diplomatic Relations 1961
(4) Geneva Convention on Diplomatic Relations 1961
(5) Havana Convention on Diplomatic Relations 1961
ตอบ 1 หน้า 131 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) เป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต ในการทําหน้าที่ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้หลักประกันแก่นักการทูตในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลหรือการคุกคามของประเทศที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือประเทศผู้รับ

68. ประเทศใดที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม
(1) บรูไน
(2) อินเดีย
(3) ญี่ปุ่น
(4) อียิปต์
(5) ชิลี
ตอบ 3 หน้า 81, (คําบรรยาย) ในยุคล่าอาณานิคมมีหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกาที่ตกเป็น เมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่น อินเดีย บรูไน พม่า มาเลเซีย อียิปต์ เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซิลี ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้นของสเปน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สําหรับ ญี่ปุ่นและไทยนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย

69. สหรัฐอเมริกาทําสงครามการค้ากับจีนโดยใช้วิธีใด
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาได้ทําสงครามการค้ากับจีน โดยการขึ้นภาษีนําเข้าสินค้าจากจีน รวมทั้งสั่งให้บริษัทสหรัฐอเมริกาที่มีฐานผลิตในจีนถอนตัวออกจากจีนและกลับมาผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาแทน

70. กษัตริย์องค์ปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ
(1) Queen Elizabeth II
(2) King George I
(3) King Charles III
(4) Queen Mary I
(5) King James II
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 (King Charles III) เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบันของ สหราชอาณาจักร พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) พระมารดา ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022

71. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่าเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone)
(1) นานาชาติเดินเรือได้อย่างเสรี
(2) มีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
(3) รัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและนําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้
(4) รัฐชายฝั่งเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
(5) นานาชาติมีสิทธิหาปลาบริเวณนั้นได้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone) เป็นพื้นที่ทะเล ซึ่งมีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งรัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและ นําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้ ส่วนรัฐนานาชาติสามารถเดินเรือได้อย่างเสรี แต่ไม่สามารถ ทํากิจกรรมเพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ขุดเจาะหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล หรือทําประมง จับปลาในบริเวณ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ เพราะถือเป็นสิทธิของรัฐชายฝั่งแต่เพียงผู้เดียว

72. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 2
(2) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
(3) สงครามครูเสด
(5) สงครามเย็น
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและ วิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลกซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
1. การปฏิวัติการค้า มีการขยายการค้านอกยุโรปและมีบรรษัทข้ามชาติ
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม
3. การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

73. สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 1 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

74. วันอาเซียน (ASEAN Day) คือวัน เดือน อะไรของทุกปี
(1) 1 ตุลาคม
(2) 8 สิงหาคม
(3) 4 กรกฎาคม
(4) 24 ตุลาคม
(5) 1 มกราคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

75. สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

76. สงครามเย็นเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อได
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

77. เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 ด้วยการสนับสนุนของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต ซึ่งการบุกกัมพูชาของเวียดนามนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้สงครามเย็น ที่ผ่อนคลายความตึงเครียดลงในช่วงทศวรรษที่ 1970 กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง

78. รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในยุคใด
(1) สงครามสามสิบปี
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) สงครามโลกครั้งที่ 2
(4) สงครามเย็น
(5) หลังสงครามเย็น
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ พายุ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรม ทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

79. สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1988
(2) 1989
(3) 1990
(4) 2001
(5) 2003
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกองกําลังผสมจาก 34 ชาตินําโดย สหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรัก โดยสงครามนี้อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “สงครามอ่าว” (Gulf War)

80. ข้อใดคือภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่
(1) อาวุธเคมี
(2) พายุไต้ฝุ่นโนรู
(3) อาวุธนิวเคลียร์
(4) คอมมิวนิสต์
(5) การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ใครคือผู้นําของสหภาพโซเวียตที่ดําเนินนโยบาย “Glasnost and Perestroika” และได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022
(1) Nikita Khrushchev
(2) Leonid Brezhnev
(3) Yuri Andropov
(4) Mikhail Gorbachev
(5) Boris Yeltsin
ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นําสหภาพโซเวียต ที่ดําเนินนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) และนโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และได้รับ การยกย่องว่าเป็นผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2022

82.Kamala Harris คือใคร
(1) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(5) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจําประเทศไทยคนปัจจุบัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) นางกมลา แฮร์ริส (Kamata Harris) เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบันภายใต้การนําของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021

83. ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศท่านใดไม่ได้ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม
(1) ชินโซ อาเบะ / ญี่ปุ่น
(2) อับราฮัม ลินคอล์น / สหรัฐอเมริกา
(3) กษัตริย์พิเรนทรา / เนปาล
(4) ยิตส์ฮัก ราบิน / อิสราเอล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศที่ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม ได้แก่
1. อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถูกลอบสังหารโดยจอห์น วิลค์ส บูธ นักแสดงในโรงละครเมื่อปี ค.ศ. 1865
2. ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ถูกลอบสังหารโดยเกล แอไมร์ นักศึกษาชาวยิว ฝ่ายขวาออร์ธอด็อกซ์เมื่อปี ค.ศ. 1955
3. กษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์เนปาล ถูกสังหารโดยพระราชโอรสเมื่อปี ค.ศ. 2001
4. ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถูกลอบสังหารโดยอดีตเจ้าหน้าที่กองกําลังป้องกันตนเองทางทะเลเมื่อปี ค.ศ. 2022

84. การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุมสุดยอดผู้นํา (Summit) ค.ศ. 2022 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
(1) จีน
(2) ไทย
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุม สุดยอดผู้นํา (Summit) ปี ค.ศ. 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

85. ข้อตกลงใดที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State)
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) สนธิสัญญาโรม
(3) สนธิสัญญาปารีส
(4) ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 79 ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 เป็นข้อตกลงที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร(Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย(Sovereignty)

86. ข้อตกลงที่ใช้เป็นข้อตกลงเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
คือข้อตกลงใด
(1) Japan Alliance Treaty
(2) Paris Peace Treaty
(4) Treaty of Peace with Japan
(3) World War II Peace Treaty
(5) Treaty of Peace for World War II
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น (Treaty of Peace with Japan) เป็นข้อตกลง เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดทําขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951

87. ข้อใดไม่เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
(2) แนวพฤติกรรม
(3) แนวระบบ
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวผู้นํา
ตอบ 5 หน้า 8 – 13 วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 8 แนวทาง คือ
1. แนวนโยบาย
2. แนวประวัติศาสตร์
3. แนวภูมิรัฐศาสตร์
4. แนวอํานาจ
5. แนวดุลแห่งอํานาจ
6. แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
7. แนวพฤติกรรม
8. แนวระบบ

88. ข้อใดไม่เป็นการศึกษาในแนวพฤติกรรม
(1) การสังเกต
(2) การตั้งปัญหาและสมมติฐาน
(3) การวัด
(4) การทดลอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น

89. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันได้แก่ผู้ใด
(1) Henry Kissinger
(2) Hillary Clinton
(3) John Kerry
(4) Antony Blinken
(5) Mike Pompeo
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน คือ นายแอนโทนี บลิงเคน (Antony Blinken) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2021

90. หนังสือที่เขียนขึ้นโดยการศึกษาตามแนวทางอํานาจได้แก่เรื่องใด
(1) Politics Among Nations
(2) Wealth of Nations
(3) Communist Manifesto
(4) The Geography of the Peace
(5) Das Kapital
ตอบ 1 หน้า 11 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอํานาจ (Power Approach) ได้แก่
1. หนังสือเรื่อง “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” ของ ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)
2. หนังสือเรื่อง “Power and International Relations” ของไอนิส แอล, เคลาด์ จูเนียร์
(Inis L. Cloude, JR.)

91. การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เกิดขึ้นในช่วงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใด
(1) Harry Truman
(2) Ronald Reagan
(3) Woodrow Wilson
(4) John F. Kennedy
(5) Richard Nixon
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนในช่วงสงครามเย็น ซึ่งตรงกับสมัยริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียตเป็นภัยคุกคาม ที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

92. นักวิชาการคนใดเป็นนักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์
(1) Raymond Aron
(2) Sir Halford Mackinder
(3) Nicholas Spykman
(4) K. J. Holsti
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 8 – 9 นักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ได้แก่
1. เรมอนด์ อารอน (Raymond Aron)
2. ชาร์ล เอ. แมคเคลแลนด์ (Charles A. McClelland)
3. ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance)
4. ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)

93. องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ให้หน่วยงานใดที่จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศ
ที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ
(1) คณะมนตรีสังคมและเศรษฐกิจ
(2) ที่ประชุมสมัชชาใหญ่
(3) คณะทรัสตี
(4) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 51 องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ในการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติให้กับคณะมนตรีความมั่นคง

94. ใครเป็นคนกล่าวคําที่ว่า “ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหารแต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะ วิถีทางเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”
(1) Margaret Thatcher
(2) George W. Bush
(3) Boris Johnson
(4) Woodrow Wilson
(5) George Washington
ตอบ 4 หน้า 52 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “การที่สามารถได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหาร แต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”

95. การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจยามสันติแบบหนึ่ง คือ การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ เกิดขึ้นกับ
การดําเนินการของหน่วยงานระหว่างประเทศใด
(1) WTO
(2) IMF
(3) OPEC
(4) AIIB
(5) ADB
ตอบ 3 หน้า 56 การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ คือ การรวมตัวกันของธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะควบคุมการแข่งขันของธุรกิจประเภทนั้น ๆ และให้กลุ่มของตนมีอิทธิพล สูงสุดในตลาดระหว่างประเทศของธุรกิจประเภทนั้นด้วย เช่น การรวมตัวกันขององค์การ ประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC) เป็นต้น

96. ปีหน้า ค.ศ. 2023 เป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับประเทศใดครบ 190 ปี
(1) จีน
(2) ฝรั่งเศส
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1833 โดยการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ดังนั้นในปี ค.ศ. 2023 จึงเป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับ ประเทศสหรัฐอเมริกาครบ 190 ปี

97.สหภาพแอฟริกา (African Union) ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
(1) 49
(2) 51
(3) 53
(4) 55
(5) 59
ตอบ 4 หน้า 136, (คําบรรยาย) สหภาพแอฟริกา (African Union : AU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยปรับปรุงโครงสร้างมาจาก องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity : OAU) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศ

98. กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ (UN Charter) ในมาตรา 51 กล่าวถึงการใช้กําลังทหารที่ถูกต้อง
และได้รับการยอมรับจากนานาชาติในลักษณะใด
(1) ป้องกันตนเอง
(2) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ
(3) มีมติเห็นชอบจากศูนย์อํานวยการความมั่นคงนานาชาติ
(4) มีมติเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 99, (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาตินั้น การใช้กําลังทหารอย่างถูกต้อง และได้รับการยอมรับจากนานาชาติจะต้องดําเนินการตามมาตรา 51 ที่กําหนดให้รัฐสมาชิก สามารถใช้กําลังป้องกันตนเองได้หากมีการโจมตีด้วยกําลังอาวุธจากประเทศผู้รุกราน และจะต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทราบ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่งคงมีมติตามมาตรา 42 ในการใช้กองกําลังรักษาสันติภาพเข้าช่วยเหลือประเทศที่ถูกรุกราน

99. กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งต่อไป ค.ศ. 2024 จัดขึ้นที่ประเทศใด
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) จีน
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี ค.ศ. 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม ค.ศ. 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

100. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกาที่จัดขึ้นในปีนี้ จัดขึ้นที่เมืองใด
(1) กรุงพนมเปญ
(2) กรุงเทพฯ
(3) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
(4) กรุงฮานอย
(5) กรุงมะนิลา
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ (ASEAN-US Special Summit) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครบ 45 ปี และหารือแนวทางกระชับความสัมพันธ์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ความร่วมมือทางทะเล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและ การส่งเสริมนวัตกรรม เป็นต้น

Advertisement